ผมขออาจเอื้อมกล่าวธรรมเล็กๆ ตามที่ผมเข้าใจ เขียนจากความจำล้วนที่พอคิดได้ เมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2538 ดังนั้นท่านที่มีความรู้ มีปัญญา เมื่อเห็นว่าตรงส่วนไหนผิดหรือมีความเคลือบแคลง ขอให้หยิบส่วนนั้นมาแสดง เพื่อให้ท่านผู้รู้วิจาร ไม่ต้องเกรงใจกระผมเลย เพราะจะทำให้ผมหูตาสว่างขึ้น และผู้ที่ได้ร่วมเสวนาหรือมาอ่านก็จะได้มีความเข้าใจมากขึ้น ถือว่าเป็นประโยชน์กับทุกท่าน (ผมอาจใช่คำที่หยาบไปหน่อยในบางส่วนต้องขออภัยด้วย เพราะเป็นของเก่า ปี 2538)

                                          โลกนี้ว่างเมื่อวางเป็น
                                       โลกสงบเย็นเมื่อหยุดจริง

         หัวข้อธรรมที่ข้าพเจ้ากล่าว บางท่านก็เข้าใจทันที่ บางท่านอาจจะยังไม่เข้าใจหรือสงสัยว่ามันคืออะไร? แต่การที่จะแจ่มแจ้งในธรรมนั้นสำหรับผู้ที่เข้าใจแล้วก็ยังยากอยู่ เพราะมันไม่ใช้การเรียนรู้แบบธรรมดาเหมือนกับการเรียนในห้องเรียน หรือการศึกษาทั่วๆไป เพราะจะต้องเอาไปปฏิบัติด้วยจึงจะเห็นผล แต่ไม่ใช่แบบงูๆปลาๆนะ! ที่นี้ข้าพเจ้าจะอธิบายให้เข้าใจได้ตรงยิ่งขึ้น คำว่าโลกในที่นี้ ได้แก่โลกของเฉพาะบุคคล ก็คือกายกับใจของบุคคลนั้นๆ เช่น ข้าพเจ้าที่สาธยายอยู่นี้ก็เป็นโลกของข้าพเจ้า ที่กำลังดำเนินอยู่ตามที่สมมุติกัน เช่นเดียวกับท่านที่กำลังรับรู้อยู่ ก็เป็นโลกของท่านที่กำลังสัมผัสหรือสัมพันธ์กันตามธรรมชาติที่สมมุติขึ้น แต่สำหรับบุคคลอื่นที่ไม่ได้เกียวกับเรื่องที่ข้าพเจ้ากล่าวก็อยู่ในโลกของเขาที่เขารับรู้อยู่
           
จะเห็นว่าโลกของแต่ละคนก็ต่างๆกันไปแต่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันเพราะมีสถานภาพเป็นมนุษย์เหมือนกัน  และกำลังอยู่ในโลกวัตถุเดียวกัน เมื่อโลกของบุคคลใดบุคคลหนึ่งมีปัญหาหรือวุ่นวายขึ้นมา ก็อาจจะทำให้โลกของบุคคลอื่นพลอยสับสนไปด้วย เช่นผู้ที่สมมุติว่าเป็นพ่อเป็นแม่เป็นบุตรเป็นภรรยาเป็นญาติพี่น้องเป็นเพื่อนๆ แล้วอาจรุกรามใหญ่โตถึงหมู่บ้าน,ตำบล,อำเภอ,จังหวัด,ประเทศ,จนกระทั้งตั้งโลกก็ว่าได้   จะเห็นว่าทั้งหมดที่ก่อให้เกิดเป็นกระแสของโลก ทั้งเฉพาะบุคคลและส่วนรวม คือตัวแสดงออกและตัวรับรู้ เหตุต่างๆ เกิดขึ้นจากตัวแสดงออกหรือตัวเจตนา
           
และในตัวบุคคลแต่ละคนก็มีตัวแสดงออกและตัวรับรู้อยู่ในตัวของมันเอง ตัวแสดงออกและตัวรับรู้ที่ละเอียดที่มนุษย์หรือสรรพสัตว์ต่างๆ มีคือ ตัวความรู้สึกกับตัวรู้ความรู้สึกนั้น ท่านลองพิจารณาตัวท่านเองให้ดีแล้วท่านจะเห็นและเข้าใจ ให้สองตัวนี้และที่ตามตำราบัญญัติศัพท์ว่า เจตสิกและจิต บางท่านที่ศึกษามาบางก็อาจจะถึงบางอ้อ! เลยทันที่ แต่ท่านที่ไม่เคยศึกษามาทางนี้ก็คงเข้าใจได้ดังที่อธิบาย จะเห็นว่าเมื่อท่านเข้าไปพิจารณาอย่างนี้ท่านจะเห็นจิตและเห็นเจตสิกทันที่ทุกขณะทุกเวลาเมื่อเข้าดูมัน แต่ไม่ละเอียดตามตำรา ไม่จำเป็นต้องมีพิธีรีตรองอะไรมากเลย ไม่ใช่ว่าฝึกจิตจนเป็นสมาธิจนถึงอุปจาร  หรือฌานจึงจะเห็นจิต มันเป็นสิ่งที่ลึกไปและไกลตัวยิ่งในสมัยนี้ไม่มีเวลาที่จะควบคุมอย่างนั้นแต่ที่ข้าพเจ้ากล่าวนั้นสามารถเห็นได้ทุกเวลา  ไม่ได้เสียงานเสียการที่ตรงไหนยังสามารถดำรงณ์ชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ เพียงแต่ไปพิจารนาดูจิตและเจตสิกทุกเวลา หรือพิจารณาดูตัวที่รับรู้กับตัวที่แสดงออกเท่านั้นเอง
           
เอาละมาเข้าเรื่องที่จะบรรยายต่อไป บุคคลคนหนึ่งแสดงออกทางกาย ทางวาจา ทางทาที ตัวของเขาเองก็รับรู้ให้เป็นสุขเป็นทุกข์ ผู้อื่นก็พลอยรับรู้เป็นสุขเป็นทุกข์ตามเหตุตามปัจจัยของแต่ละบุคคล เอาแล้วท่านคงเข้าใจคำว่าโลกที่ข้าพเจ้าอธิบายแล้วนะก็คือตัวท่านเอง ข้าพเจ้าจะเข้าไปสู่คำว่าตัวท่านเองหรือตัวข้าเองหรือตัวกูเองหรือโลกของข้า มันจะมี 2 ส่วนคือร่างกายกับความรู้สึก ให้ร่างกายนั้นเป็นส่วนที่เห็นๆ กันอยู่ ส่วนใอ้ความรู้สึกนั้นไปเห็นมันไม่ได้แต่เข้าไปรู้เข้าไปพิจารนาได้ที่เป็นของตนเอง ให้ตัวความรู้สึกและตัวรู้นี้และเรียกว่าใจ ถ้าตามศัพท์เรียกว่าเจตสิกและจิต ในสมัยนี้จะเห็นว่ามีบัญญัติกันมากมายก่ายกอง  ผู้ที่มีความรู้สูงก็ยิ่งทำให้มีความฉลาดมากขึ้น แต่ผู้ที่มีความรู้ต่ำก็ต้องระกำไปตามกฎเกณฑ์ ให้ทำใจเสียแล้วพยายามหาความรู้เพิ่มเติม  เดี๋ยวตามโลกไม่ทัน
           
ขอวกกลับมาเข้าเรื่องเสียทีตามแนวธรรม ให้ร่างกายกับใจนั้นมันก็เป็นไปตามธรรมชาติ แต่เมื่อกายกับใจบวกกับความยึดมั่นถือมั่นที่เคยชินกลายเป็นตัวข้า ตัวกู และตัวเขาหรือตัวมึง ก่อให้เกิดตัวยึดถือกระจายออกไปเป็น ของกู ของมึง ของข้าใครอย่าแตะ ข้าต้องได้ใครขวางไม่ได้ เป็นเรื่องเป็นราวกันใหญ่โต  ที่ข้าพเจ้ากล่าวหวังว่าท่านพอจะเข้าใจละเอียดขึ้น แต่อาจจะมีบางผู้บางคนมาถึงตรงนี้ยังสับสนดังนั้นข้าพเจ้าขอสรุปอีกครั้งเพื่อให้เข้าใจได้ทันที่ว่าความวุ่นวาย สับสน ของแต่ละคนจนถึงส่วนรวมใหญ่โตขึ้นมาก็คือ   ร่างกายบวกใจแล้วบวกความยึดมั่นร่างกายและใจเป็นของข้า(กู) คราวนี้คงจะเข้าใจได้ทันที่เลยนะ มากล่าวถึงผลของมัน ทำให้เกิดความอยากเอาและไม่ยากเอา เป็นมายาล่อลวงตนเองอยู่ไม่สิ้นสุด พลอยยึดถือสิ่งนอกกายว่าข้าเอาในสิ่งที่ข้าอยากได้ ข้าไม่เอาในสิ่งที่ข้าไม่อยากได้ มันเกิดความยึดมั่นถือมั่นไปตลอด  จนถึงขั้นต้องให้ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในกำมือของข้าตามที่ข้าต้องการ ถ้าไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็เอาด้วยกลทำให้เกิดการล่อแหลมต่อการขัดแย้งกัน เพราะมนุษย์ทั้งหลายมีกิเลสเหมือนกัน   ดีนะที่มนุษย์สมัยนี้มีความฉลาดขึ้นจะไม่ขอกล่าวว่าเป็นปัญญานะ คือฉลาดในการเรียนรู้ที่จะไม่ให้กิเลสของแต่ละคนหรือของชุมชนปะทะกันรุนแรง เช่นมีกฎหมาย ระเบียบประเพณี พร้อมทั้งมีการศึกษาทางจริยธรรม ทางจิตวิทยา เพื่อให้สังคมพอเจริญอยู่ได้ทางวัตถุตามปกติ
           
แต่บางครั้งก็มีความสับสนขึ้นมาเพราะผลของความอยากที่รุนแรง หรือกว้างขวาง ทำให้ชาวประชาต้องทุกข์เป็นพักๆ ถ้าจะกล่าวตามธรรมมะก็คือ  ความโง่ หรือโมหะ ที่ปล่อยให้ครอบง่ำในบุคคลหรือชุมชน จนกลายเป็นการกระทำที่ผิดพลาดด้วย ราคะและโทสะ จนมีผลให้เกิดความทุกข์ขึ้นมาทั้งส่วนตัวหรือทั้งชุมชน แล้วมันก็เงียบหายไป  แม้ปัญหานั้นจะแก้ได้หรือไม่ได้ตามกฏของกาลเวลา  แล้วก็เกิดขึ้นอีกแต่อาจอยู่ในสถานการณ์รูปใหม่หมุนเวียนกันไปเรื่อยๆ เรียกว่าเป็นวัฏสงสาร  ซึงเป็นกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ คือมี เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วเงียบหายไปหรือดับไปตามกาลเวลา ซึ่งมนุษย์ทุกคนและสังคมทุกที่ได้สัมผัสได้เห็นกันอยู่เสมอ  แต่ก็ยังปล่อยให้ความหลงหรือโมหะมาบิดบัง ไม่หาสาเหตุที่แท้จริงของธรรมชาติ อัน เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป เป็นธรรมดา  มัวแต่ให้ความโง่หรือโมหะเข้าไปยึดมั่นถือมั่น  ในสิ่งที่เกิด ในสิ่งที่ตั้งอยู่ และในสิ่งที่ดับไป  ทำให้ถูกลากเข้าไปในวัฏฏสงสารเป็นตัวทุกข์ทุรนทุรายอยู่  เหมือนตกอยู่ในกองเพลิงของทุกข์อยู่ทุกขณะจิต   ด้วยความหลงอยากได้หรือไม่อยากได้ ต่อทุกสิ่งที่มากระทบมาสัมผัสกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ   ประสบการณ์เหล่านี้สัตว์ต่างๆ  หรือมนุษย์ทั้งหลายพบอยู่ทุกขณะจิต แต่ยังให้มันเผารนอยู่อย่างนั้น ด้วยความไม่รู้หรือไม่มีกำลังที่จะต่อสู้กับมันทั้งที่รู้  เขาเรียกว่าโง่หรือโมหะ
           
มาถึงตรงนี้ ถ้าท่านพิจารณาให้ดี ก็จะเข้าใจทันที่ว่า อันว่ากายหรือจิตนี้มันเป็นของธรรมชาติ เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมมีการผันแปร ของการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปเป็นธรรมดา ที่โลกวุ่นวายและไม่สงบอยู่นี้ เกิดจากความหลงยึดมั่นถือมั่นจนเคยชินว่า  ร่างกายและจิตใจนี้เป็นของเราทั้งที่มันเปลียนแปลงตามธรรมชาติ และขอให้เข้าใจเพิ่มเข้าไปอีกสักนิดหนึ่งสำหรับผู้ที่ขี้สงสัย อันธรรมชาตินั้นก็มี 2 อย่างตามที่พระพุทธเจ้าทรงกล่าวไว้ คือ
 
           1.ธรรมชาติที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคือธรรมชาติที่ไหลวนอยู่ เมื่อเข้าไปยึดมั่นถือมันด้วยความโง่หรือโมหะบังเกิดเป็นราคะโทสะไม่สินสุด
            2.ธรรมชาติที่สงบนิ่งที่เรียกว่านิพานหรือความว่างหรึอสูญญตาหรือสัจจะธรรม หรือความไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง หรือและก็หรืออีกมากมายตามที่สมมุติเรียกกันขึ้นมา มันไม่ใช้จิตหรือเจตสิค ดังที่ชาวเราชาวเขาหรือชาวอื่นที่ยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวตนอยู่
           
ในเมื่ออธิบายถึงจุดนี้ก็จะอธิบายให้ลึกลงไปอีก ซึ่งอาจจะล่อแหลมต่อการถูกกล่าวหา ทำให้ผู้อื่นสงสัยมากขึ้นคือ นิพพานไม่ใช่ทาน นิพพานไม่ใช่ศีล นิพพานไม่ใช่สมาธิ  นิพพานไม่ใช่สติ แต่ปัญญานั้นอยู่ใกล้นิพพานที่สุดหรืออาจจะเรียกว่าเป็นนิพพานก็ได้ สำหรับผู้ถึงโดยสมบูรณ์แต่ยังคง ร่างกายและจิตใจอยู่หรือยังมีชีวิต คำว่าปัญญาในที่กล่าวมานี้ไม่ใช้ความเฉลียวฉลาดของจิตเจตสิก แต่เป็นปัญญาที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเพื่อให้กระจ่างขึ้น คือการไม่ยึดมั่นกับสิ่งสัมผัส  ไม่ว่าการรับรู้หรือการแสดงออกหรือจิตเจตสิค แต่ไม่ใช้ว่าไม่ทำกิจกรรมตามฐานะอะไรเลยนะ  เดียวจะเข้าใจผิด เมื่อมาถึงจุดนี้จะขอย้ำอีกครั้งว่า นิพพานไม่ใช่ทาน นิพพานไม่ใช่ศีล นิพพานไม่ใช่สมาธิ นิพพานไม่ใช่ความฉลาดของจิตและเจตสิค และไม่ใช่จิตเจตสิก แม้แต่สิ่งที่ข้าพเจ้าบรรยายอยู่นี้ก็หาใช่นิพพาน แต่ผู้ถึงนิพพานตั้งแต่พระอริยะเบื้องต้นจนถึงสูงสุด จะต้องมีทาน ศีล สมาธิ สติ ความฉลาดของจิตเจตสิก และมีปัญญาซึ่งอาจจะกล่าวว่าเป็นนิพพาน ตั้งอยู่ในจิตทันทีตามฐานะของแต่ละท่าน ให้ท่านทั้งหลายเข้าใจด้วยว่ามันตั้งอยู่ที่จิตนะ! ไม่ใช่ตั้งอยู่ในตัวนิพพาน ข้ออธิบายนี้ก็ล่อแหลมน่าดู อาจจะก่อให้เข้าใจผิดได้ง่าย
           
คราวนี้จะกล่าวถึงทางเดินไปนิพพาน พระพุทธเจ้าและเหล่าผู้เป็นปราชญ์ทั้งหลายได้กล่าวว่า ทางเดินไปนิพพาน คือทาน ศีล สมาธิ และปัญญา แต่ทั้งหมดนี้รวมอยู่ในความเข้าใจถูก หรือการเห็นถูก หรือสัมมาฐิติ ในเรื่องของทานเรื่องศีลนั้นปฏิบัติกันง่าย  และเข้าใจได้ง่ายสำหรับบุคคลทั่วๆไป เพราะเพียงแต่สละเวลาเล็กๆ น้อยๆก็เสร็จกันไป  เช่นการให้ทานในวันหนึ่งอาจใช้เวลาเพียงครั้งเดียว และการรักษาศีลนั้น เมื่อตั้งใจรักษาไม่ใช้ว่าต้องรักษาทุกนาที เพราะว่าเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดผิดศีลนั้นไม่ใช้ว่าจะเกิดทุกนาที ในหนึ่งวันอาจเกิดสัก 2 หรือ 3 ครั้งเมื่อห้ามใจไว้ได้มันก็ผ่านไป แต่เรื่องทานเรื่องศีลนั้น ก็ยังมีบุคคลบางคนหรือบางกลุ่มยังทำไม่ได้เลย ผลของการกระทำจะส่งเป็นอย่างไรกับพวกเหล่านั้น  ก็ให้จิณตนาการกันไปเอง ซึ่งก็หนีกฏของธรรมชาติหรือกฏของกรรมไปไม่ได้ ที่นี้มาถึงการทำสมาธิ การทำสมาธิก็ต้องเรียนรู้หลักของสมาธิก่อนจึงจะเริ่มได้อย่างถูกต้องตามวิธี เช่นหลักอานาปานะสติ  หรือหลักพุทธโธ  หลักสมาอรหัง หลักยุบหนอพองหนอ หรือหลักกรรมฐานทั้ง 40 อย่างตามพุทธบัญญัติ พอถึงสมาธิจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติเป็นประจำทุกวัน  คือตั้งแต่ 5 นาทีขึ้นไปจน 24 ชั่วโมงสำหรับผู้ที่แก่กล้า บางท่านอาจสงสัยว่าทำได้อย่างไรทั้ง 24 ชั่วโมง ข้าพเจ้าขออธิบายให้ฟังว่าผู้ที่ฝึกสมาธิแก่กล้าแล้วจะกำหนดภาวนากรรมฐานอยู่ตลอดเวลา กำหนดภาวนาจนหลับและตื่นมาก็ภาวนาต่อจนทันทีโดยอัตโนมัติ   มาถึงเรื่องปัญญามันยิ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดยิ่งขึ้น แต่สามารถทำได้ทุกเวลาทุกขณะแม้จะทำงามทำการอยู่   มาถึงจุดนี้ข้าพเจ้าคิดว่าคนส่วนมากยังเคลือบแครงสงสัยอยู่มากที่เดียว เอาและก็จะอธิบายต่อ ถ้าเป็นปัญญาประสาโลกหรือความเฉลียวฉลาดของจิตเจตสิก เพียงแค่ศึกษาให้เข้าใจและฝึกคิดฝึกวิเคราะห์ข้อมูลให้ถูกต้อง ก็จะได้แนวทางของความฉลาดยิ่งขึ้นเป็นวัฏฐจักรหาที่จบสิ้นไม่ได้ ดังที่โลกเรานี้กำลังพัฒนาอยู่ คราวนี้จะมาพิจารนาถึงปัญญาที่หมายถึงนิพพาน ซึงจะต้องเดินมาจากทาน ศีล สมาธิ และภาวนา
           
มาถึงตรงนี้ผู้ที่มีความเข้าใจผิด ก็คิดว่ามันชั่งลำบากจังและมากมายเสียเหลือเกินคือ ต้องทำทาน ทำศีล ทำสมาธิ รู้สึกว่ามันจะยากเสียแล้วกระมังเอาแล้ว ข้าพเจ้าจะชักจูงความคิดของท่านไห้เข้าใจเสียใหม่ ให้ทาน ศีล สมาธิ จะเกิดขึ้นทันทีแม้กำลังจะยังอ่อนหรือมากตามฐานะของแต่ละบุคคล เมื่อตั้งใจที่จะรักษา ซึ่งแค่นี้ก็พอแล้วสำหรับที่จะพัฒนาไปสู่ปัญญาหรือนิพพาน ผู้ที่เข้าใจช้าอาจจะยังสงสัยว่าเป็นไปได้อย่างไร นิพพานของสูงแค่ตั้งใจรักษาจะไปถึงได้อย่างไร  ข้าพเจ้าก็ต้องอธิบายเพิ่มขึ้นไปอีก  เมื่อท่านตั้งใจรักษา เวลาที่มีเหตุการณ์ที่ให้ต้องทำทาน    ท่านก็ต้องทำทานตามฐานะ   เวลาที่มีเหตุการณ์ที่ต้องผิดศีลท่านก็ต้องพยายามรักษาศีล   ของท่านตามกำลังถ้ามีกำลังใจลอดพ้นไปได้ นั้นละ! เป็นกำลังสมาธิที่ไม่ต้องไปหาฝึกที่ใหน   มันเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติอย่างดีเยียม    แต่ถ้าขาดปัญญาที่แท้จริง เมื่อมีเหตุการณ์ที่จะต้องให้ผิดศีลอีก    ก็ไม่มีหลักประกันว่า จะลอดพ้นไปได้    เอาละหวังว่าคงจะเข้าใจขึ้นนะ จะได้เริ่มอธิบายการเกิดนิพพานเสียที่
    
มาเริ่มจากความเข้าใจมูลฐานก่อนคือ   ต้องรู้ว่าตัวประกอบเป็นบุคคลมี  2 อย่าง  คือ
        1. 
ร่างกาย
        2.  
ความรู้สึกนึกคิด หรือจิตใจ หรือจิต เจตสิก
   
ทั้ง อย่างถ้าแยกตามตำรา คือ    ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ   และสิ่งที่สัมผัสบังเกิดเป็น  รูป  เสียง  กลิ่น  รส  สัมผัส  และธรรมารมณ์  ชักจะเป็นวิชาการมากไปแล้วตอนนี้  แต่ถ้าไม่อธิบายอย่างนี้คนที่มีความรู้มากศึกษามากจะว่าได้   แต่ที่อธิบายนั้นต้องการให้เข้าใจในธรรมชาติของตนเองจริงๆ   ไม่ใช่วิชาการ   ให้ความรู้สึกนึกคิดนี้และสำคัญ และธรรมชาติก็ให้มันติดอยู่กับตัวมันเองอยู่ตลอดเวลา      จนกลายเป็นความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเป็นตน เวลามีอะไรมากระทบ   หรือกระทบตัวมันเองก็เกิดเป็นเวทนา แล้วเป็นตัณหาไหลเวียนเป็น ปฏิจสมุปบาทตามตำรา ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ ให้ตัวเวทนาและตัณหา เป็นตัวที่ทุกคนรู้จัก   จะขอแจกแจงให้ทราบอีกที่หนึ่ง    เวทนาก็ได้แก่เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เจ็บ ปวด ไฟเราะ ไม่ไฟเราะ หอม เหม็น รสดี รสไม่ดี สบาย ไม่สบายฯลฯ    ความจริงให้เวทนานี้ในเมื่อมีร่างกายและจิตใจ   มันต้องมีอยู่แล้วตามธรรมดา และต้องประสบพบกันอยู่ทุกวันหนีไม่พ้น   แม้แต่พระอรหันต์ที่ท่านมีชีวิตอยู่ก็ต้องประสบไม่ยกเว้น  ที่นี้มากล่าวถึงตัณหา ให้อันนี้และคือตัวปัญหา ที่เกิดความวุนวายและไม่สงบอยู่ในโลกปัจจุบันนี้    อันตัณหา ก็ได้แก่ความอยากเพิ่มความยึดมั่นถือมั่นมากเข้าไปอีก ข้าพเจ้าเคยกล่าวไว้ตอนต้นแล้วว่า  อันความยึดมั่นถือมั่นนั้นมันเกิดตั้งแต่จิตเจตสิก  หรือในความรูสึกนึกคิดตั้งแต่ต้น ที่หลงไปว่าเป็นตัวข้า หรือตัวกูของกู  ทั้งที่ไม่ต้องมีอะไรมากระทบมันก็สำคัญมั่นหน่ายในตัวมันเอง   นี้และเรียกว่าอวิชชา หรือโมหะ ที่แท้จริง เอาแล้วมากล่าวถึงตัณหาก่อน   แล้วค่อยวกกลับไปที่ตัวอวิชชาที่ว่านี้     ตัณหาแบ่งได้  3  อย่าง คือ
                    1 .
กามตัณหา ได้แก่ความชอบ กามราคะ
                    2 .
ภาวะตัณหา ได้แก่ความอยากมีอยากเป็น
                    3 .
วิภาวะตัณหา ได้แก่ความไม่อยากมีไม่ยากเป็น
           
ถ้ากล่าวตามภาษาไทยสมัยนี้ เวทนา+ตัณหา เรียกว่า  อารมณ์    ในเมื่อมีอารมณ์ก็สร้างอุปทานกันต่อ เพื่อปรุงแต่งอารมณ์ให้เป็นไปตามความอยากกลายเป็น  ภพ คือ   ตกอยู่อาณาจักของอารมณ์นั้นๆ  แล้วกลายเป็นชาติ คือต้องเป็นเช่นนั้นต้องเป็นเช่นนี้ ตามความอยาก     แล้วก็เกิด ชรา คืออารมณ์นั้นต้องเสื่อมต้องสลายไป แม้ว่าจะได้สมอยากหรือไม่สมอยากตามตัณหา    คราวนี้ละมาถึงอาการของทุกข์ ที่เห็นได้จากการคร่ำครวญของความรู้สึกของตนเอง แล้วแสดงมาทางอาการกริยาทาที หรือวาจา     เพราะสิ่งที่สมอยากก็จากไปสิ่งที่ไม่สมอยากก็จากไป จะเห็นว่ามันก็มาวนที่ความรู้สึกนึกคิดนี้เอง    แล้วก็ก่อให้เกิดเวทนากันใหม่ ปรุงแต่งกันใหม่หาที่สุดไม่ได้แม้แต่วินาทีเดียว ในเมื่อยังยึดมั่นว่าความรู้สึกนึกคิดหรือจิตเจตสิกเป็นตัวตนของตน  หรือเป็นกู     ตามความจริงแล้วความรู้สึกนึกคิดหรือใจหรือจิตเจตสิก มันเป็นของธรรมชาติ เมื่อมีเกิด ก็ต้องตั้งอยู่   และดับไปเป็นธรรมดา  เมื่อปล่อยวางจนว่างมันก็เป็นนิพพาน ไม่ใช้ไปผลักไสมันนะ! เดียวจะกลายเป็นคนบ้าดีหรือบ้าชั่วไปเสียก่อนที่จะมีปัญญาถึงนิพพาน   ก็เห็นตัวอย่างกันมากสำหรับนักปฏิบัติสมัยนี้ ที่อยากดีแต่กลายเป็นชั่วเพราะลาภ ยศ สรรเสริญเท่านั้นเอง     ที่ข้าพเจ้าอธิบายมาหวังว่าท่านทั้งหลายคงเข้าใจนะ! เอาและคราวนี้จะมาเริ่มที่ว่าทำอย่างไร   จึงจะวางให้ตัวตน หรืออัตตา หรือกู หรือข้า จนเป็นความว่าง หรือ สูญญตา หรือไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง หรือนิพพาน ธรรมดา ให้ตัวตน หรืออัตตา หรือข้า ท่านก็เห็นกันอยู่ทุกเวลา  แต่วางกันไม่คอยได้หรือไม่ยอมวางกันเสียเลย  จึงหลีกหนีความทุกข์กันไม่พ้นจะหลีกไปได้อย่างไร  ก็มันผูกติดกับความยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวตน จึงกล่าวได้ว่ามนุษย์นี้โง่เป็นหนักหนา ยืน นั่ง นอน เดิน กิน ในกองเพลิงของไฟแห่งทุกข์ ที่ร้อนรนก็ยังไม่หลีกหนี สาธยายมาถึงตรงนี้ถ้ามีความกลัว หรือต้องการความสงบจากความยึดมันถือมั่น  อันได้แก่นิพพานก็ตามข้าพเจ้ามา ในตอนต้นก็ได้กล่าวมาแล้วว่า อันความรู้สึกนึกคิดที่ยึดเป็นตัวเป็นตนอยู่ ตามธรรมชาติก่อให้เกิดเวทนาได้ 3 อย่างโดยรวม คือ สบาย ไม่สบาย และเฉย แต่ถ้ากล่าวตามตำราก็คือ สุขเวทนา  ทุกข์เวทนา เฉย  แต่ในสมัยนี้ยุคนี้คำว่าสุขเวทนาหรือทุกข์เวทนา  มันเอนเอียงไปทางตัณหาเสียแล้ว    เอาละต่อไปเป็นการปฏิบัติที่เหมาะกับทุกๆ คน ไม่ว่าจะไม่เคยฝึกสมาธิมาก่อนเลย  หรือฝึกสมาธิมาแก่กล้าแล้วก็ตาม  หรือคนที่เคยผิดพลาดที่เคยทำกรรมมากแล้วก็ตามเริ่มต้นได้เหมือนกัน แต่เหตุที่จะทำให้สบายหรือไม่สบาย  มันต่างกันตามฐานหรือตามกรรมที่ส่งผล   มาถึงจุดสำคัญคือให้ตั้งใจรักษาศีลตามฐานะของตน  เช่นรักษาศีล 5 ศีล 8 สำหรับฆารวาส ศีล 10 หรือศีล 227 สำหรับสัมเณรหรือพระ และก็ควรปรับเพศให้เหมาะสมเสียก่อนสำหรับผู้ที่ศรัทธาจะบวช และผู้ที่บวชอยู่ถ้าผิดศีลถึงขั้นปาราชิก  ก็ควรสึกออกจากพระเป็นปะขาวถือศีล 8 หรือ 10 หรือเป็นอย่างฆารวาส  ก็ไม่ได้ปิดทางนิพพาน ก่อนอื่นข้าพเจ้าขอถามว่าท่านเข้าใจ กับคำว่า  สต  ิบ้างหรือเปล่า? ข้าพเจ้าจะอธิบายให้ฟัง มีบุคคลจำนวนมากไม่รู้ว่า สติ คืออะไร? ท่านที่เรียนรู้หรือศึกษามากหน่อยก็ทราบตามความหมายว่า สติ คือความระลึกได้หมายรู้ แต่ไม่รู้ว่าจะให้มันเกิดขึ้นมาได้ให้เป็นปกติได้อย่างไร? เพราะมีความเข้าใจว่ามนุษย์ทุกคนมีสติอยู่แล้วถ้าไม่มีก็จะเป็นคนบ้าคนบอไป นี้เป็นความเข้าใจของทางโลกเขา หาใช้เป็นตัวมหาสติ ที่พระพุทธเจ้ากล่าวไว้   ข้าพเจ้าจะกล่าวในความหมายจริง ในภาษาไทยปัจจุบัน  ตามความหมายของพระพุทธองค์  สติในที่นี้ก็คือ  การระลึกรู้ในความรู้สึกที่เกิดจากผัสสะหรือสัมผัสกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่ชัดเจนที่สุดในขณะนั้นๆ เมื่อกล่าวถึงตรงนี้แล้วก็ต้องอธิบายไปอีก ให้คำว่าที่ชัดเจนที่สุดไม่ใช้ว่าพอมันสะลึมสะลือ แล้วไม่ต้องไปรู้มันอย่างนี้เรียกว่าขาดสติ ถ้ามีสติ ก็ต้องไปรู้มันให้ถึงที่สุด ขอย้ำอีกครั้งว่าไม่ใช่อยากไปรู้มัน  อย่างนี้ก็ขาดสติเพราะตัณหาเกิดแล้ว พอถึงตรงนี้อาจจะกล่าวได้ว่าไม่ปรุงแต่งในตัวรู้ที่ไปรู้ในความรู้สึกนั้นๆ หรือในเวทนานั้นๆ หรือในความคิดนั้นๆ หรือในกามารมณ์นั้นๆ เมื่ออธิบายมาถึงตรงนี้แล้วจะกล่าวต่อไปก็ลำบาก แต่มีวิธีเดียวที่แนะได้ก็คือ  ให้ลองไปฝึกหรือไปทำดู ฝึกรู้ในความรู้สึกให้กลายเป็นสติที่เป็นปัจจุบัน เพื่อปล่อยวางในสิ่งทั้งปวง  ดังที่กล่าวไว้ข้างบน  ก็จะเข้าใจเองไม่ต้องอธิบายกันมาก
           
มาถึงตรงนี้ก็จะอธิบายถึงความพร้อมขององค์ประกอบที่จะได้พบ  ความพร้อมต้องมีอยู่ 5 ประการด้วยกันได้แก่
                      1 .
ศรัทธา คือต้องมีความเชื่อว่าวิธีที่จะถึงนิพพานมีจริง
                     2.
ความเพียร คือความอดทดต่อการกำหนดรู้ในความรู้สึกนั้นทุกเวลาแล้วปล่อยวาง เมื่อมีความรุนแรงของความยึดมั่น หวังว่าคงเข้าใจในความหมายนี้นะ เช่น เวลาเสียใจ เวลาดีใจเวลาโกรธ และเวลาที่จิตใจไหลไปตามกามารมณ์ ต้องมีความอดทนในการปล่อยวาง เพราะถ้าปล่อยให้มันวางเองก็ไม่รู้ว่าการกระทำที่ก่อให้เกิดทุกข์หรือกรรมไปถึงไหนแล้ว
                    3. 
มีความตั้งมั่นในความสงบหรือมีสมาธิต่อเวทนาที่รุนแรงหรือความลุ่มหลงที่ลึกๆ สมาธิในทีนี้ไม่จำเป็นต้องได้ฌาณหรืออุปาจาระสมาธิมาก่อนแต่ถ้าได้มาก็ดี แต่ใครจะรู้ได้ขนาดผู้ได้แล้วอาจจะยังไม่รู้ก็เป็นไปได้ สมาธิที่กล่าวในที่นี้เพียงแต่มีความตั้งมั่นเหมือนกับเวลาอ่านหนังสือก็พอคือไม่วอกแวก
                    4. 
ปัญญา ในที่นี้ไม่ใช้ว่าต้องเลอเลิศจบปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก เพียงแต่ให้มองย้อนกลับไปตั้งแต่จำความได้จนถึงปัจจุบัน ที่ผ่านมาในชีวิตพิจารณาว่า ไม่มีความสุขหรือความทุกข์หรือความสงบใดคงที่เลย และให้เข้าใจว่า แม้แต่อารมณ์ที่คิดว่าเป็นของตนหรือเป็นตัวเป็นตนนั้น มันมีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วหายไปดับไป เป็นอยู่ประจำของมันอยู่อย่างนั้นยึดถือเป็นตัวตนไม่ได้เลย พิจารณาให้เห็นสภาพที่เป็นจริงทุกขณะเป็นปัจจุบัน
                   5.
คือ สติ
             
เอาแล้วละเมื่อมีทั้ง 5 อย่างพร้อมคือ สติ  ศรัทธา  ความเพียร  สมาธิ  ปัญญา ซึ่งผู้ปฏิบัติไม่จำเป็นต้องไปแจกแจงมันก็ได้ เพียงแต่ให้เน้นว่าให้รู้ในความรู้ในความรู้สึก หรือในความคิดหรือรู้ในเวทนาหรือรู้ในอารมณ์อยู่ตลอดเวลาเป็นปัจจุบัน ทุกนาที วินาที หรือทุกลมหายใจ กล่าวถึงการปฏิบัติอย่างนี้ก็ยังทำงานประจำได้เป็นปกติ เพราะสมารถรู้ในรู้สิ่งต่างๆได้ทุกเวลา ผู้ปฏิบัติไม่ต้องกังวลขอรับรองว่างานไม่เสียแน่นอน  แถมสมารถพัฒนาดีขึ้นไปอีก มีผู้ปฏิบัติส่วนมากรู้ในรู้อาจจะยังเผลอ หรือรู้ไม่ทันอารมณ์นั้นอาจจะไปไกลเสียแล้ว    ก็มีวิธีให้จะเห็นว่าพระพุทธเจ้าเป็นมหาปราชญ์จริงๆ  วิธีทีว่าคือภาวนา การภาวนาเพื่อให้ถึงนิพพานหรือความว่างหรือสูญญตานั้น   ไม่ใช้ว่าภาวนาเพียงคำใดคำหนึ่งตามแบบการผึกสมาธิ เป็นการภาวนาแบบที่อธิบายคือ   ภาวนาให้ตรงกับความหมายที่เข้าใจกับอารมณ์ที่เกิด   หรือสิ่งที่กำลังกระทบกับตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่ชัดเจนที่สุดขณะนั้นๆ   เช่น เมื่อเกิดอารมณ์โกรธก็ภาวนาว่า โกรธ ๆ  หรือ โกรธแล้ว ๆ  หรือโกรธหนอๆ และพยายามห้ามไว้เมื่อมันจะแสดงออกทางกายหรือทางวาจา    ซึ่งตามความจริงควรจะรู้ตั้งแต่ก่อนที่จะโกรธแล้ว เช่นเดียวกันในอารมณ์ของราคะก็ปฏิบัติเหมือนกัน  และเมื่อเกิดความเจ็บปวด ก็ภาวนา เจ็บ ๆ หรือ  เจ็บหนอๆ หรือ เจ็บอยู่ๆ ก็จะเห็นอาการหรืออารมณ์ต่างๆ ได้เด่นชัด เมื่อมีขันติอยู่ ก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ  ที่เกิดขึ้นกับกายใจ และสิ่งแวดล้อมตามสภาพความเป็นจริง ทุกวันทุกเวลา   เพราะมีสติปัญญาไปพิจารณารู้ทุกขณะ จนให้จิตใจมันยอมรับโดยตัวของมันเองว่า ทุกสิ่ง  เมื่อมีเกิดขึ้น   ก็ต้องตั้งอยู่   และดับไปเป็นธรรมดา    เมื่อปัญญาเห็นสภาพนี้บ่อย   ประจำ ๆ  ก็จะคลายความยึดมั่นถือมั่นลง จนแม้แต่ใจตนเองก็ไม่ยึดติดปล่อยวางจนว่าง หรือสูญญตา หรือนิพพาน หรือความไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง   ก็จะมีแต่ความสะอาด สว่างและบริสุทธิ์   มีใจใว้เพื่อรู้ชัวรู้ดี   แต่กระทำแต่สิ่งดีที่ไม่ก่อให้เกิดทุกข์ตนและผู้อื่น   ความวุ้นวายสับสนต่างๆ ก็จะหยุด ตามที่กล่าวไว้ว่า     โลกนี้ว่างเมื่อวางเป็น   โลกสงบเย็นเมื่อหยุดจริง

     อันยูงทองสูงศักดิ์ตามกล่าวขาน      ส่วนสันดานกาต่ำว่ากันไป
อันนิพพานนั้นไม่เป็นไปตามนัย         เพราะเป็นไปไม่เปรียบเทียบดังกล่าวเลย.

     ทางชีวิตคนหลงมิมีจุดหมาย       เวียนเกิดตายเป็นวัฏฏะไม่สิ้นสุด
เพราะยึดมั่นถือมั่นตามสมมุติ           จึงสะดุดกับสุขทุกข์ทุกวันคืน
    
ผู้มีทางเดินของชีวิตถึงที่สุด        ละสมมุตบริสุทธ์โดยไม่ผืน
ใจทรงธรรมความดีไม่เป็นอื่น          รอแต่คืนอัตตะภาพแก่โลกเอย.

      อ่านหน้าต่อไป  304.html           กลับไปหน้าแรก   100.html