เล่าพุทธประวัติตามลำดับ 45 พรรษา

คำนำ

             เป็นการเล่าบรรยายพุทธประวัติของพระพุทธองค์ตั้งแต่เริ่มตรัสรู้เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้า เรียงลำดับเป็นพรรษา(ปี) หรือเป็นปีๆ ไป ที่สัมพันธ์กับเหตุการณ์ต่างๆ เช่นระยะเวลา สถานที่ ระยะทาง และกับบุคคลโดยเฉพาะกับพระมหาสาวก เพื่อให้ได้เห็นภาพชีวะประวัติ ของพระพุทธเจ้า และเหล่าพระสาวกอย่างชัดเจน โดยไม่ข้ามไปข้ามมา ในเรื่องเล่าที่ยิบยกจากชีดีพระไตรปิฏก อรรถกถา สารานุกรม ฉบับธรรมทาน มีการเรียงลำดับเป็นปีๆ ไป ทำให้มองเห็นภาพรวม และบทธรรมก็พยายามเอามาแทรกให้อ่านด้วย แต่ถ้าเป็นเรื่องละเอียดหรือยาวก็จะมีลิงค์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องไปยังพระไตรปิฏก และสารานุกรม ของพระไตรปิฏกฉบับธรรมทาน ดังนั้นสำหรับผู้ที่มีจิตมีวาสนาชมชอบในเรื่องอิทธิอภินิหาร ก็จะอ่านได้จุใจในลิงค์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

หมายเหตุ เรื่องทั้งหมดที่พยามเรียงลำดับก็หาได้ถูกต้องไปทุกอย่าง และอาจมีที่ผิดพลาดอยู่มากด้วย แต่ก็คิดว่าเป็นการจุดประกาย เผื่อจะมีคณะบุคคลที่มีความสามารถรวมกันนำข้อมูลในพระไตรปิฏกและอรรถกถา มาทำการวิเคราะห์แล้วทำหนังสือสักเล่มที่เรียงตามปี ตามสถานที่ ตามอายุขัยของบุคคล เพื่อจะได้เห็นภาพชัดเจนจากทุกมุม ประโยชน์ก็จะตกทอดไปอีกนานไกล

พรรษาที่ 1

พรรษาที่ 2

พรรษาที่ 3

พรรษาที่ 4

พรรษาที่ 5

พรรษาที่ 6

พรรษาที่ 7

พรรษาที่ 8

พรรษาที่ 9

พรรษาที่ 10

พรรษาที่ 11

พรรษาที่ 12

พรรษาที่ 13

พรรษาที่ 14

พรรษาที่ 15

พรรษาที่ 16

พรรษาที่ 17

พรรษาที่ 18

พรรษาที่ 19

พรรษาที่ 20

พรรษาที่ 21

พรรษาที่ 22

พรรษาที่ 23

พรรษาที่ 24

พรรษาที่ 25

พรรษาที่ 26

พรรษาที่ 27

พรรษาที่ 28

พรรษาที่ 29

พรรษาที่ 30

พรรษาที่ 31

พรรษาที่ 32

พรรษาที่ 33

พรรษาที่ 34

พรรษาที่ 35

พรรษาที่ 36

พรรษาที่ 37

พรรษาที่ 38

พรรษาที่ 39

พรรษาที่ 40

พรรษาที่ 41

พรรษาที่ 42

 

 

 

 

 

 

เหตุการณ์เริ่มตรัสรู้และปีที่ 1

                เรื่องนางสุชาดา ถวายข้าวมธุปายาส เมื่อพระโพธิสัตว์ ได้คลายการบำเพ็ญเพียรอย่างทรมานตนเอง อย่างยิ่งยวดแล้ว กลับมาเสวยอาหารอย่างเป็นปกติ จนร่างกายมีความสมบูรณ์เป็นปกติ แล้วพวกปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้ทิ้งพระโพธิสัตว์เดินทางไปยังสถานที่อื่น แต่ในช่วงก่อนหน้านั้น นางสุชาดาได้เตรียมทำข้าวมธุปายาสมาเป็นเวลาเกือบ 1 ปี สาเหตุการเตรียมข้าวมธุปายาสมีดังนี้ นางสุชาดา เกิดในครอบครัวของกุฎุมพีชื่อเสนียะ ซึ่งเป็นเศรษฐีและหัวหน้าหมู่บ้าน ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในแคว้นมคธ ก่อนพระศาสดาของเราบังเกิด เจริญวัยแล้วได้ทำความปรารถนาไว้ ณ ต้นไทรต้นหนึ่งว่า ถ้านางไปมีเหย้าเรือนกะคนที่เสมอ ๆ กัน และได้บุตรชายในท้องแรกจักทำพลีกรรมประจำปี แล้วนางสุชาดา ก็ได้ไปแต่งงานกับ ยสเศรษฐี อยู่ที่ อิสิปตนมิคทายวัน แคว้นกาสี ซึ่งมีระยะห่างจาก ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม 18 โยชน์ หรือ 288 กิโลเมตร แล้วนางก็ได้บุตรชายคนแรก ชื่อว่า ยสบุตร ความปรารถนาของนางก็สำเร็จ นางจึงต้องเดินทางจากบ้านสามี ที่อิสิปตนมิคทายวัน แค้วนกาสี มายังอุรุเวลาเสนานิคม ทุก ๆ ปี เพื่อทำพลีกรรมตามที่ตั้งความปรารถนาไว้ ขั้นตอนในการทำข้าวมธุปายาส ของนางสุชาดาเป็นดังนี้ ได้ปล่อยแม่โคนมพันตัวให้เที่ยวไปในป่าชะเอม ให้แม่โคนม ๕๐๐ ตัว ดื่มน้ำนมของแม่โคนม ๑,๐๐๐ ตัวนั้น แล้วให้แม่โคนม ๒๕๐ ตัว ดื่มน้ำนมของแม่โคนม ๕๐๐ ตัวนั้นรวมความว่า นางต้องการความข้นความหวาน และความมีโอชะของน้ำนมจึงได้กระทำการหมุนเวียนไป จนกระทั่งแม่โคนม ๘ ตัวดื่มน้ำนมของแม่โคนม ๑๖ ตัว ด้วยประการฉะนี้ แล้วนำน้ำนมโคจาก 8 ตัวมาปรุงข้าวมธุปายาส. ในวันก่อนวันเพ็ญเดือน 6  นางสุชาดา ได้ให้คนใช้ คือนางปุณณาทาสี ไปทำความสะอาดที่บริเวณต้นไทร และในคืนนั้นพระโพธิสัตว์ ได้ทรงมหาสุบิน 5 ประการ

                (อ่านสุบินสูตร)   เมื่อทรงใคร่ครวญดู จึงทรงกระทำสันนิษฐานว่า วันนี้ เราจักได้เป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย เมื่อราตรีนั้นล่วงไป จึงทรงกระทำการปฏิบัติพระสรีระ ทรงคอยเวลาภิกขาจาร พอเช้าตรู่ จึงเสด็จมาประทับนั่งที่โคนไม้นั้น ยังโคนไม้ทั้งสิ้นให้สว่างไสวด้วยพระรัศมีของพระองค์. เมื่อนางสุชาดาและนางปุณณาทาสีเตรียมข้าวมธุปายาสจำนวน 49 ก้อน ไปยังโคนต้นไม้ ได้เห็นพระโพธิสัตว์ ก็เข้าใจว่าเป็นเทวดา จึงทำการถวายข้าวมธุปายาสพร้อมทั้งถาดทอง แล้วลาจากไป หลังจากนั้นพระโพธิสัตว์ก็เสวยข้าวมธุปายาสจนหมด แล้วทรงประสงค์ที่จะป้วนปากดื่มน้ำจึงนำถาดไปยังแม่น้ำเนรัญชรา เมื่อเสร็จกิจพระองค์ทรงอธิฐานลอยถาดทอง ว่าถ้าพระองค์จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าขอให้ถาดทองลอยทวนน้ำ แล้วถาดทองนั้นลอยทวนน้ำไป จนจมลง แล้วพระโพธิสัตว์ขึ้นจากฝั่งแม่น้ำ แสวงหาที่บำเพ็ญสมณธรรม จึงเจอต้นศรีมหาโพธิ์ แล้วพราหมณ์คนหนึ่งได้ถวายหญ้าคา ให้กับพระองค์เพื่อทำเป็นที่ลองนั่งที่ต้นโพธิ์นั้น

พระโพธิสัตว์ก็บำเพ็ญสมณธรรมตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในคืนนั้น เมื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วเสวยวิมุติสุขอยู่ 7 วัน และทรงพิจารณา ปฏิจจสมุปบาท แล้วย้ายไปยังโคนต้นไม้อีกต้นหนึ่งเข้าสมาธิเสวยวิมุติสุขอีก 7 วัน เมื่อออกมาได้พบกับ พราหมณ์หุหุกชาต แล้วย้ายไปยังโคนต้นไม้อีกต้นหนึ่งเข้าสมาธิเสวยวิมุติสุขอีก 7 วัน แล้วย้ายไปยังโคนต้นไม้อีกต้นหนึ่งเข้าสมาธิเสวยวิมุติสุขอีก 7 วัน เมื่อออกมาได้พบกับ ตปุสสะภัลลิกะ ๒ พ่อค้า ซึ่งได้ถวาย ข้าวสัตตุก้อนและสัตตุผง ให้พระพุทธองค์เสวย และทั้งสองก็ได้เป็น อุบาสกคู่แรกที่ถึง พระรัตนะ 2 แล้วพระองค์ย้ายไปยังโคนต้นไม้อีกต้น เข้าเสวยวิมุติสุขอีก 7 วัน แล้วจึงเกิดปริวิตกไม่ทรงแสดงธรรม พระมหาพรหม จึงลงมาอาราตนาให้พระพุทธองค์แสดงและสั่งสอนธรรม เพราะสัตว์ผู้ที่จะบรรลุธรรมมีอยู่ พระพุทธองค์จึงรับการสั่งสอนธรรมตามที่พระมหาพรหมอาราตนา  (อ่านใน โพธิกถา ปฏิจจสมุปบาทมนสิการ และการเสวยวิมุติสุข) พระพุทธองค์จึงคำนึงว่าจะแสดงธรรมแก่ใครก่อน ก็ทรงนึกถึง อาฬารดาบส และอุทกดาบส แต่พระองค์ทรงทราบว่า ท่านทั้ง 2 ได้ เสียชีวิตไปแล้วและไปบังเกิดใน อรูปพรหม ซึ่งไม่สามารถแสดงธรรมให้ได้ พระพุทธองค์ก็นึกถึงปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 แล้วพระองค์ทรงทราบว่า ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้อยู่ที่ป่าอิสิปตนมิคทายวัน

พระพุทธองค์จึงดำเนินไปด้วยพระบาทตลอด 18 โยชน์ (288 กิโลเมตร) โดยไม่ประสงค์ใช้อิทธิฤทธิ์ เพื่อจะอนุเคราะห์ อุปกาชีวก ให้ได้เข้ามาบวชพระในภายหลังจนบรรลุเป็นพระอนาคามี แล้วพระพุทธองค์ได้พบกับอุปกชีวกกลางทาง ได้สนทนากันเล็กน้อย แล้วจากไป  (อ่านเรื่อง อุปกาชีวก)  พระพุทธองค์ถึงป่าอิสิปตนมิคทายวัน ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ (อาสาฬหบูชา) หลังจากวันตรัสรู้สองเดือน และที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี พระพุทธองค์ได้แสดงธรรมซึ่งเรียกว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ในวันนั้นพระอัญญาโกณฑัญญะได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน มีปัญญาเห็นแจ้งว่า "สิ่งทั้งหลายย่อมเกิดจากเหตุเป็นธรรมดา แล้วสิ่งที่เกิดทั้งหมดทั้งปวงย่อมดับไปเป็นธรรมดา" ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสักกายทิฏฐิ ในมิฉาทิฏฐิ ในศีลปรามาส สิ้นความสงสัย(วิจิกิจฉา)ในธรรม ทำให้วันนั้นมีพระรัตนตรัยครบองค์ เป็นครั้งแรก หลังจากนั้นปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 ได้บวชเป็นพระภิกษุด้วยเอหิภิกษุ(พระพุทธเจ้าเป็นผู้บวชให้) หลังจากนั้นพระองค์ได้แสดง อนัตตลักขณสูตร จึงปรากฏมี พระอรหันต์ปรากฏขึ้นในโลก 6 องค์รวมพระพุทธเจ้า 1 พระองค์   (อ่าน ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร และ อนัตตลักขณสูตร)

ในเวลาก่อนรุ้งเช้าวันหนึ่ง ยสบุตร ซึ่งเป็นบุตรของ ยสเศรษฐี กับนางสุชาดา นางผู้ที่ถวายข้าวมธุปายาส กับพระโพธิสัตว์ก่อนพระโพธิสัตว์จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ยสบุตรได้รู้สึกตัวตื่นขึ้นมาแล้วมองไปรอบๆ ในวิหารของตนเอง เห็นเหล่าข้าทาส นางรำ และนางผู้บำเรอแก่ตน ต่างก็ยังนอนหลับอยู่ ในลักษณะท่าทางต่างๆ เห็นสภาพความจริงของหญิงเหล่านั้น เมื่อไม่ได้ประดับตกแต่งผมฟู นอนน้ำลายไหล นอนในท่าที่น่าเกียด จึงบังเกิดความเบื่อหน่ายขึ้นมา เห็นบุคคลเหล่านั้นเหมือนกับซากศพ จึงรำพึงขึ้นมาทำนองว่า

"ท่านผู้เจริญ ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ " แล้วเดินลงออกจากปราสาทของตนออกไป พร้อมทั้งรำพึงไปเรื่อย ตรงไปยังป่าอิสิปตนมิคทายวัน ที่พระพุทธเจ้ากับพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 พักอยู่ ในก่อนรุ้งวันนั้นพระพุทธเจ้าทรงกำลังเดินจงกรมอยู่ เมื่อใกล้รุ้งก็ได้ยินเสียงรำพึงของท่านยสบุตร ที่เดินเข้ามาใกล้ พระองค์จึงตรัสบอกไปว่า

"ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง จงเข้ามาเถอะท่าน"  ท่านยสบุตรพอได้ยินอย่างนั้นจงเดินเข้าไปหาพระพุทธเจ้า แล้วพระพุทธเจ้าจึงแสดงธรรมให้ท่านยสบุตรฟัง จนท่านยสบุตรได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน ปัญญาเห็นแจ้งว่า

"สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดา"

ในขณะเดียวกันมารดาบิดาของท่านยสบุตร ตื่นเช้าขึ้นมาก็ไปหาท่านยสบุตรที่วิหาร ของท่านยสบุตรก็ไม่เจอ ถามเหล่านางบริวารต่างๆ นางเหล่านั้นก็ไม่ทราบ บิดาของท่านยสบุตรจึงเดินลงจากปราสาทหาทั่วบริเวณก็ไม่พบ แล้วจึงเลยไปยังป่าอิสิปตนมิคทายวัน เห็นพระพุทธเจ้าทรงนั่งอยู่ จึงเข้าไปหาแต่ไม่เห็นบุตรของตนที่นั่งอยู่ด้วย (ไม่ขอกล่าวเรื่องอิทธิฤทธิ์มากนัก) จึงถามพระพุทธเจ้าทำนองว่า ได้เห็นลูกชายของตนหรือเปล่า? พระพุทธเจ้าจึงตรัสทำนองว่า ดูกรคหบดี ถ้าอย่างนั้น เชิญนั่ง บางทีท่านนั่งอยู่ ณ ที่นี้จะพึงได้เห็นยสกุลบุตรผู้นั่งอยู่ ณ ที่นี้ บิดาของยสบุตรก็ได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์ จนบรรลุเป็นพระโสดาบัน มีปัญญาแจ้งชัดว่า

"สิ่งทั้งหลายย่อมเกิดจากเหตุเป็นธรรมดา แล้วสิ่งที่เกิดทั้งหมดทั้งมวลย่อมดับไปเป็นธรรมดา" และขณะเดียวกันยสบุตรเมื่อได้ฟังธรรมเป็นคำรอบสอง จิตก็หลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลายไม่ยึดมั่นถือมั่นบรรลุเป็นพระอรหันต์ แล้วบิดาของท่านยสบุตรก็แลเห็นท่านยสบุตรนั่งอยู่ พระพุทธเจ้าจึงตรัสกับบิดาของท่านยสบุตรว่า ท่านยสบุตรบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ควรจะบวช บิดาของท่านยสบุตรก็เห็นว่าสมควร พระยสบุตรจึงได้บวชด้วยเอหิภิกษุ หลังจากนั้นบิดาของพระยสบุตรก็นิมนตร์ ว่า ขอจงทรงรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้า เพื่อเสวยในวันนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า.  พระผู้มีพระภาคทรงรับโดยดุษณีภาพ เมื่อบิดาของพระยสบุตรกลับมายังเรือน บอกกล่าวนางสุชาดาผู้เป็นภรรยาและให้คนใช้ข้าทาสจัดเตรียมภัตตาหารเพื่อ พระพุทธเจ้าและกับพระอรหันต์ทั้ง 6 (ปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 และพระยส) เมื่อถึงเวลาอันควร พระพุทธเจ้าและพระมาหาสาวกทั้ง6  ก็นุ่งห่มจีวรดำเนินไปยังบ้านเศรษฐีบิดาของพระยส  พระพุทธเจ้าเมื่อทรงเสวยภัตตาหารเสร็จ ก็ทรงแสดงธรรมให้ท่านเศรษฐี นางสุชาดา และภรรยาเก่าของท่านพระยส และเหล่าข้าทาสบริวาร ท่านเหล่านั้นพร้อมทั้งบริวารก็บรรลุเป็นพระโสดาบัน แล้วนางสุชาดา ก็แสดงตนเป็นอุบาสิกาผู้ถึงพระรันตนไตรเป็นคนแรกของพุทธศาสนานี้

หลังจากนั้น(ยกมาจาก สารานุกรม ของชุดพระไตรปิฏกฉบับธรรมทาน) " สหายคฤหัสถ์ ๔ คนของท่านพระยส คือ วิมล ๑ สุพาหุ ๑ ปุณณชิ ๑ ควัมปติ ๑ เป็นบุตรของสกุลเศรษฐีสืบ ๆ มา ในพระนครพาราณสี ได้ทราบข่าวว่า ยสกุลบุตรปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตแล้ว.

ครั้นทราบดังนั้นแล้ว ได้ดำริว่า ธรรมวินัยและบรรพชาที่ยสกุลบุตร ปลงผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสายะออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตแล้วนั้น คงไม่ต่ำทรามแน่นอน ดังนี้ จึงพากันเข้าไปหาท่านพระยส อภิวาทแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง จึงท่านพระยสพาสหายคฤหัสถ์ทั้ง ๔ นั้น เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า สหายคฤหัสถ์ของ ข้าพระองค์ ๔ คนนี้ ชื่อ วิมล ๑ สุพาหุ ๑ ปุณณชิ ๑ ควัมปติ ๑ เป็นบุตร ของสกุลเศรษฐี สืบๆ มาในพระนครพาราณสี ขอพระผู้มีพระภาคโปรดประทานโอวาทสั่งสอนสหายของข้า พระองค์เหล่านี้.

พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่พวกเขา คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถาสัคคกถา โทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลายและอานิสงส์ในความออกจากกาม เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า พวกเขามีจิตสงบ มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้า ทั้งหลายทรงยกขึ้น แสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค. ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา ได้เกิดแก่พวกเขา ณ ที่นั่งนั้นแล ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพวกข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วได้ตรัสต่อไปว่า ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว พวกเธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุเหล่านั้น.

ต่อมา พระผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุเหล่านั้น ด้วยธรรมีกถา เมื่อพระ ผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุเหล่านั้นด้วยธรรมีกถา จิตของภิกษุเหล่านั้น พ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น สมัยนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๑๑ องค์ รวมพระพุทธองค์ด้วย.

สหายคฤหัสถ์ของท่านพระยส เป็นชาวชนบทจำนวน ๕๐ คน เป็นบุตรของสกุลเก่าสืบๆ กันมา ได้ทราบข่าวว่า ยสกุลบุตร ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้ว ครั้นทราบดังนั้นแล้วได้ดำริว่า ธรรมวินัยและบรรพชาที่ ยสกุลบุตรปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้วนั้น คงไม่ต่ำทรามแน่นอน ดังนี้ จึงพากันเข้าไปหาท่านพระยส อภิวาทแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระยสพาสหาย คฤหัสถ์จำนวน ๕๐ คนนั้นเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า สหายคฤหัสถ์ของข้าพระองค์เหล่านี้เป็นชาวชนบท เป็นบุตรของสกุลเก่าสืบๆ กันมา ขอพระผู้มีพระภาคโปรดประทานโอวาทสั่งสอนสหาย ของข้าพระองค์เหล่านี้.

พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่พวกเขา คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในความออกจากกาม เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า พวกเขามีจิตสงบ มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค. ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลีปราศจากมลทิน ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา ได้เกิดแก่พวกเขา ณ ที่นั่งนั้นแล พวกเขาได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพวกข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วได้ตรัสต่อไปว่า ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว พวกเธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุเหล่านั้น.

ต่อมาพระผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุเหล่านั้น ด้วยธรรมีกถา. เมื่อพระ ผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุเหล่านั้นด้วยธรรมีกถา จิตของภิกษุเหล่านั้นพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น สมัยนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖๑ องค์. " (จบที่ยกมา จากสารานุกรม)

(อ่านพระยสและท่านที่เกี่ยวข้องในพระไตรปิฏกเล่มที่ 4 เรื่องยสกุลบุตร)

หลังจากนั้นพระพุทธองค์ทรงตรัสกับเหล่าพระอรหันต์สาวกทั้ง 60 รูป ทำนองว่า เพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย พวกท่านจงออกไปประกาศธรรมที่พระองค์แสดงไว้แล้วกล่าวไว้ดีแล้วแก่สัตว์ทั้งหลาย และอย่าไปในทิศทางเดียวกันพร้อมกัน 2 รูป (เพราะยังมีพระภิกษุน้อยอยู่มาก) และในช่วงเริ่มต้นพระศาสนานั้นเมื่อกุลบุตรประสงค์ที่จะบวช พระเถระเหล่านั้นต้องนำกุลบุตรนั้นไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อขอบวช พระภิกษุสงฆ์จึงมีความใคร่ชิดกับพระพุทธเจ้าเป็นอย่างมาก

หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าทรงพระประสงค์เสด็จไปยัง กรุงราชคฤห์ เมืองหลวงของแคว้นมคธตามที่พระองค์เคยสัญญาไว้กับพระเจ้าพิมพิสาร ซึ่งเป็นเจ้าแผ่นดินของแคว้นมคธและแคว้นอังคะ เพราะในสมัยเมื่อพระองค์ยังเป็นพระโพธิสัตว์ ตอนออกแสวงหาโมกธรรมอยู่ ได้พบกับพระเจ้าพิมพิสาร และพระเจ้าพิมพิสารได้ทูลกล่าวเชิญว่า เมื่อพระโพธิสัตว์ทรงตรัสรู้แล้ว ขอทรงมาโปรดแสดงธรรมให้กับพระองค์ด้วย เพื่อพระองค์จะได้รู้แจ้งถึงธรรมนั้น

อธิบายในด้านภูมิศาสตร์เพื่อจะได้เห็นภาพคร่าวๆ ในการเสด็จดำเนินของพระพุทธเจ้า โดยถือ เอาแคว้นมคธ อันมีเมืองราชคฤห์เป็นเมืองหลวง อยู่ตรงกลาง ดังนี้

----แค้วนสักกะ มีเมืองกบิลพัสด์เป็นเมืองหลวงอยู่ทางทิศเหนือของแค้วนมคธ ซึ่งเมืองกบิลพัสด์เป็นเมืองประสูตรของพระโพธิสัตว์ก่อนตรัสรู้ และเป็นแคว้นเล็ก เมืองกบิลพัสด์เป็นเมืองหลวงของแคว้นสักกะ และมีอิสระไม่ขึ้นกับใคร

----แคว้นอังคะมีเมือง จำปา เป็นเมืองหลวง อยู่ทางทิศตะวันออกของแคว้นมคธ และอยู่ในการปกครองของแคว้นมคธ

----แคว้นกาสี มีเมือง พาราณาสี เป็นเมืองหลวง อยู่ในการปกครองของพระเจ้าปสนธิโกศล(พระเจ้าปสนธิโกศล เป็นพระญาติกับพระเจ้าพิมพิสารปกครองทั้งแคว้นกาสี และแคว้นโกศล) อยู่ทางทิศตะวันตกของแค้วนมคธ และป่าอิสิปตนมิคทายวัน อยู่ในแคว้นกาสี

----แคว้นโกศลมีเมือง สาวัตถี เป็นเมืองหลวง อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของแคว้นกาสี เมืองสาวถีเป็นที่ประทับของพระเจ้าปสนธิโกศล

----แคว้นวัชชี มีเมือง เวสาลี เป็นเมืองหลวงอยู่ทางทิศเหนือของแคว้นมคธใกล้กับเมืองกบิพัสด์ ข้อสังเกต แคว้นอังคะ แค้วนมคธ แคว้นวัชชี แคว้นกาสี อยู่ในเขต พิหาร ของอินเดียปัจจุบัน และท่านผู้อ่านต้องทำความเข้าใจในที่ตั้งของแคว้นที่กล่าวไว้ข้างบนให้ดี เพราะจะได้เห็นภาพในการดำเนินเสด็จเผยแผ่พระสัจจะธรรมได้ดียิ่งขึ้น ยกตัวอย่างให้เห็นคร่าวๆ ดังข้างล่าง

________________________________สักก(กบิลพัสด์) วัชชี(เวสาลี)

_____________โกศล(สาวถี) กาสี(พาราณสี) มคธ(ราชคฤห์) อังคะ(จำปา)

แผนที่คร่าวๆ

                ซึ่งในสมัยเมื่อพระพุทธเจ้ายังคงมีพระชนม์ชีพอยู่ มีแคว้นใหญ่อยู่ 16 แคว้น 16 แคว้นนี้กินเนื้อที่มากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศอินเดียในขณะนี้  (อ่าน เรื่อง 16 แคว้น จากสารานุกรม)

พระพุทธเจ้าทรงพระประสงค์เสด็จไปยัง กรุงราชคฤห์ แต่หาได้ทรงรีบร้อนไม่ เพราะเจตนาแสดงพระสัจจะธรรมกับผู้ที่อยู่ในข่ายพระญาณในระหว่างการเดินทาง โดยประสงค์มุ่งตรงไปทางตำบลอุรุเวลาในแคว้นมคธ ซึ่งเป็นตำบลที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ขณะนั้นยังไม่ข้ามเขตของแคว้นกาสี(กรุงพาราณสี) พระพุทธเจ้าทรงแวะข้างทางไปประทับนั่งอยู่ที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง เพื่อโปรดแก่ สหายภัททวัคคีย์ ทั้ง 30 คน ดังเรื่องที่ยกมาจากพระไตรปิฏกเล่มที่ 4 เรื่องสหายภัททวัคคีย์

เรื่องสหายภัททวัคคีย์ [๓๖]

ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระนครพาราณสีตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จ จาริกไปโดยมรรคาอันจะไปสู่ตำบลอุรุเวลา และทรงแวะจากทาง แล้วเสด็จเข้าไปยังไพรสณฑแห่งหนึ่ง ครั้นถึงไพรสณฑ์นั้นแล้ว ประทับนั่ง ณ โคนไม้ต้นหนึ่ง. ก็โดยสมัยนั้นแล สหายภัททวัคคีย์จำนวน ๓๐ คน พร้อมด้วยปชาบดีบำเรอกันอยู่ ณ ไพรสณฑ์แห่งนั้น. สหายคนหนึ่งไม่มีประชาบดี. สหายทั้งหลายจึงได้นำหญิงแพศยามาเพื่อประโยชน์แก่เขา. ต่อมาหญิงแพศยานั้น เมื่อพวกสหายนั้นเผลอตัวมัวบำเรอกันอยู่ ได้ลักเครื่องประดับหนีไป. จึงพวกสหายนั้น เมื่อจะทำการช่วยเหลือสหาย เที่ยวตามหาหญิงแพศยานั้น ไปถึงไพรสณฑ์แห่งนั้น ได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับนั่งอยู่ ณ โคนไม้ต้นหนึ่ง ครั้นแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า พระผู้มีพระภาคเห็นหญิงบ้างไหมเจ้าข้า? พระผู้มีพระภาคทรงย้อนถามว่า ดูกรกุมารทั้งหลาย พวกเธอจะต้องการอะไรด้วย หญิงเล่า? ภัท. เจ้าข้า พวกข้าพเจ้าเป็นสหายภัททวัคคีย์จำนวน ๓๐ คน ในตำบลนี้ พร้อมด้วยปชาบดี บำเรอกันอยู่ในไพรสณฑ์แห่งนี้ สหายคนหนึ่งไม่มีปชาบดี พวกข้าพเจ้าจึงได้นำหญิงแพศยามาเพื่อประโยชน์แก่เขา ต่อมา หญิงแพศยานั้น เมื่อพวกข้าพเจ้าเผลอตัวมัวบำเรอกันอยู่ได้ลักเครื่อประดับหนีไป เพราะเหตุนั้น พวกข้าพระองค์ผู้เป็นสหายกัน เมื่อจะทำการช่วยเหลือสหาย จึงเที่ยวตามหาหญิงนั้นมาถึงไพรสณฑ์แห่งนี้ เจ้าข้า. . ดูกรกุมารทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ข้อที่พวกเธอแสวงหาหญิงหรือแสวงหาตนนั้น อย่างไหนเป็นความดีของพวกเธอเล่า? ภัท. ข้อที่พวกข้าพระองค์แสวงหาตนนั่นแล เป็นความดีของพวกข้าพเจ้า เจ้าข้า. . ดูกรกุมารทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้นพวกเธอนั่งลงเถิด เราจักแสดงธรรมแก่พวกเธอ. พวกสหายภัททวัคคีย์เหล่านั้น รับพระพุทธาณัติพจน์ว่า อย่างนั้น เจ้าข้า ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอนุปุพพิกถา แก่พวกเขา คือทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในความออกจากกาม. เมื่อพระองค์ทรงทราบว่า พวกเขามีจิตสงบมีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค. ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา ได้เกิดแก่พวกเขา ณ ที่นั่งนั่นแล ดุจผ้าที่สะอาด ปราศจากมลทินควรได้รับน้ำย้อมเป็นอย่างดี ฉะนั้น. พวกเขาได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วได้ตรัสต่อไปว่า ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว พวกเธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด. พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุเหล่านั้น. เรื่องสหายภัททวัคคีย์ จบ

ความจริงแล้วในขณะนั้นพระภิกษุสงฆ์น่าจะได้เข้ามาบวชกับพระพุทธเจ้าหลายร้อยหรือลายพันรูปแล้ว และส่วนมากเป็นพระอรหันต์ ที่มีปฏิสัมภทาญาณและมีอภิญญา แต่พระพุทธเจ้าทรงให้แยกย้ายกันออกไปเผยแผ่พระสัจจะธรรม โดยในทิศเดียวกันห้ามไปพร้อมกัน 2 รูป ดังนั้นเพียงแค่ไม่ถึงปี ในกรุงพาราณสีแคว้นกาสี พุทธสาวก(อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุสงฆ์) ก็ย่อมมีมากมายแล้ว และจะเห็นว่าในช่วงพรรษาต้นๆ พระพุทธเจ้าทรงเสด็จดำเนินไปโปรดแสดงธรรมแก่ผู้ที่อยู่ในข่ายพระญาณ ด้วยพระองค์เพียงผู้เดียว แล้วค่อยให้พระมหาสาวกติดตามไปภายหลัง ในทำนองเดียวกันพระมหาสาวกก็ออกไปแสดงธรรมกับผู้ที่มีวาสนาที่อยู่ในข่ายญาณของท่าน เมื่อผู้ใดประสงค์จะบวชก็ติดตามท่านไปเผ้าพระพุทธเจ้าในภายหลัง พระพุทธศาสนาแค่ช่วงพรรษาแรกก็แผ่ขยายไปทั่วกรุงพาราณสี ของแคว้นกาสี เหมือนไฟที่ลุกไหม้ดินประสิว และคำประกาศว่า พระพุทธเจ้าได้บังเกิดแล้วในโลกได้กระจายไปจากแคว้นกาสี ไปยังแคว้นโกศล แคว้นมคธ แคว้นวัชชี แคว้นอังคะ และกรุงกบิลพัสดุ์ เนื่องจากแคว้นเหล่านี้ประชาชนติดต่อไปมาค้าขายกันเป็นประจำ

หลังจากนั้นพระองค์ทรงดำเนินมุ่งตรงไปยังตำบลอุรุเวลา ในสมัยนั้นตำบลอุรุเวลา เป็นตำบลที่ฤาษีต่างๆ มาแสวงหาโมกธรรมกันจำนวนมาก และเนื่องด้วยชฎิล 3 พี่น้องอยู่ในข่ายพระญาณของพระพุทธองค์ ชฎิล 3 พี่น้อง ได้แก่ 1.อุรุเวลกัสสป 2.นทีกัสสป 3.คยากัสสป อุรุเวลกัสสป เป็นพี่คนโตมีลูกศิษย์ 500 คน มีอาศรมอยู่บนต้นน้ำ นทีกัสสปเป็นคนรองมีลูกศิษย์ 300 คน มีอาศรมถัดลงมา และคยากัสสปเป็นคนเล็กมีลูกศิษย์ 200 คนมีอาศรมถัดลงมา พระพุทธองค์ทรงมุ่งตรงไปยัง อุรุเวลกัสสป ทรงแสดงฤทธิ์ให้ปรากฏแค่ อุรุเวลกัสสปอยู่พักหนึ่ง จนอุรุเวลกัสสปศรัทธาในพระพุทธเจ้า แล้วได้บวชเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนาพร้อมทั้งลูกศิษย์ 500 คน ต่อมานทีกัสสปและคยากัสสปก็ได้ออกบวชตาม รวมทั้งหมด 1003 รูป และทั้งหมดก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ด้วย อาทิตตปริยายสูตรดังนี้

อาทิตตปริยายสูตร [๕๕]

ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลอุรุเวลา ตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จ จาริกไปโดยมรรคาอันจะไปสู่ตำบลคยาสีสะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ๑๐๐๐ รูป ล้วนเป็น ปุราณชฎิล. ได้ยินว่า พระองค์ประทับอยู่ที่ตำบลคยาสีสะ ใกล้แม่น้ำคยานั้น พร้อมด้วยภิกษุ ๑๐๐๐ รูป. ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่าดังนี้:-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน?  ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นของร้อน รูปทั้งหลายเป็นของร้อน วิญญาณอาศัยจักษุเป็นของร้อน สัมผัสอาศัยจักษุเป็นของร้อน ความเสวยอารมณ์ เป็นสุขเป็นทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่ เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย แม้นั้นก็เป็นของร้อน

ร้อนเพราะอะไร?   เรากล่าวว่า ร้อน เพราะไฟคือราคะ เพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ ร้อนเพราะความเกิด เพราะความแก่ และความตาย ร้อนเพราะความโศก เพราะความรำพัน เพราะทุกข์กาย เพราะทุกข์ใจ เพราะ ความคับแค้น. โสตเป็นของร้อน เสียงทั้งหลายเป็นของร้อน ... ฆานะเป็นของร้อน กลิ่นทั้งหลายเป็นของร้อน ... ชิวหาเป็นของร้อน รสทั้งหลายเป็นของร้อน ... กายเป็นของร้อน โผฏฐัพพะทั้งหลายเป็นของร้อน ... มนะเป็นของร้อน ธรรมทั้งหลายเป็นของร้อน วิญญาณอาศัยมนะเป็นของร้อน สัมผัสอาศัยมนะเป็นของร้อน ความเสวยอารมณ์เป็นสุข เป็นทุกข์หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข ที่ เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย แม้นั้นก็เป็นของร้อน

ร้อนเพราะอะไร?  เรากล่าวว่า ร้อน เพราะไฟคือราคะ เพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ ร้อนเพราะความเกิด เพราะความแก่ และความตาย ร้อนเพราะความโศก เพราะความรำพัน เพราะทุกข์กาย เพราะทุกข์ใจ เพราะ ความคับแค้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณอาศัยจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน สัมผัสอาศัยจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์ มิใช่สุข ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสต ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียงทั้งหลาย ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่นทั้งหลาย ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรสทั้งหลาย ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะทั้งหลาย ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมนะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน วิญญาณอาศัยมนะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัมผัสอาศัยมนะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย. เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้น แล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จ แล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี. ก็แล เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของภิกษุ ๑๐๐๐ รูปนั้น พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. อาทิตตปริยายสูตร จบ

(อ่าน รายละเอียด ชฎิล 3 พี่น้องได้จากพระไตรปิฏกเล่ม 4 เรื่องชฎิล ๓ พี่น้อง)

เหตุการณ์ประมาณปีที่ 2

หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าซึ่งมีพระภิกษุสงฆ์พันกว่ารูปห้อมล้อมอยู่ ก็ดำเนินมุ่งตรงไปสู่กรุงราชคฤห์ แล้วทรงแสดงธรรมไป ตามลำดับ แต่ปากต่อปากที่กล่าวว่า พระสิทธะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว และกำลังดำเนินไปยังกรุงราชคฤห์ กระจายไปเร็วกว่าการเสด็จไปของพระพุทธเจ้าเป็นร้อยเท่าพันเท่า จนถึงราชวังของพระเจ้าพิมพิสาร เมื่อพระเจ้าพิมพิสารได้ยินดังนั้นจึงสั่งให้ม้าเร็วไปตรวจดูว่าพระพุทธเจ้าเสด็จดำเนินมาถึงใหน แล้วให้รีบกลับมาบอก ซึ่งในขณะนั้นพระพุทธเจ้าประทับอยู่ใต้ต้นไทรชื่อสุประดิษฐเจดีย์ ในสวนตาลหนุ่ม เขตพระนครราชคฤห์นั้น เมื่อม้าเร็วกลับมาและทรงทราบว่าเป็นเรื่องจริง พระเจ้าพิมพิสารจึงประสงค์ออกไปรับเสด็จ จึงประกาศให้ข้าราชบริวารและชาวเมืองในกรุงราชคฤห์ให้ทราบกันทั่ว จนมีถึง 12 นหุตคน ที่จะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า

12 นหุต มีจำนวนเท่าไร? ในยุคปัจจุบัน ถ้าเทียบตามอัตราสูตรของยุคนั้น 1.นหุต มีมากกว่า 10 ล้าน มากๆ ๆ ดูแล้วจะกลายเป็นเรื่องเกินความจริงมากไป จึงขอประมาณให้พอทราบว่ามีมากจนสุดลูกหูลูกตาก็น่าจะพอเข้าใจ

ประชาชนทั้ง 12 นหุต ก็ได้มาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ.สวนตาลหนุ่ม แต่ประชาชนส่วนมากจะรู้จัก อุรุเวลกัสสป เพราะอุรุเวลกัสสปเป็นผู้มีอายุและมีชื่อเสียงมากในแคว้นมคธ ประชาชนจึงไม่รู้จักพระพุทธเจ้า ดังนั้น อุรเวลกัสสปจึงแสดงตนให้ประชาชนทราบว่าท่านเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า เมื่อประชาชนต่างก็คลายความสงสัยแล้ว พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงธรรมให้ฟัง จบการแสดงธรรมพระเจ้าพิมพิสารได้บรรลุโสดาบันบุคคล พร้อมทั้งประชาชน 11 นหุตบรรลุเป็นพระอริยะ เหลือเพียง 1 นหุตแสดงตนเป็นอุบาสก อุบาสิกา พระเจ้าพิมพิสารจึงทรงนิมนตร์พระพุทธเจ้ารับภัตตาหาร ในราชวังของพระองค์ แล้วพระเจ้าพิมพิสารก็ถวาย สวนเวฬุวัน ให้พระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์ เพื่อเป็นที่พัก และเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา

                (อ่านรายละเอียดพระเจ้าพิมพิสาร ได้ในพระไตรปิฏกเล่ม 4 เรื่องทรงเทศนาโปรดพระเจ้าพิมพิสาร)

การบังเกิดขึ้นของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะอัครสาวกเบื้องขวาและซ้าย

กล่าวถึงพระมหาสาวกเมื่อเสร็จกิจในกรุงพาราณสีแคว้นกาสี ก็เดินทางมายังกรุงราชคฤห์แคว้นมคธ เพื่อเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ซึ่งพระอัสสชิเถระ เป็นหนึ่งในพระปัญจวัคคีย์ก็เดินทางมาด้วย ขณะนั้นท่านสารีบุตรและท่านโมคคัลลานะเป็นชาวแคว้นมคธ มีชื่อเดิมว่า อุปัติสสะและโกลิตะ แต่นิยมเรียกท่านว่า พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ท่านทั้งสองได้แสวงหาโมกธรรมโดยได้บวชอยู่กับสัญชัยปริพาชก และในวันหนึ่งท่านสารีบุตร ได้พบกับพระอัสสชิเถระ ขณะที่กำลังเดินเพื่อบิณฑบาตรอยู่ ท่านสารีบุตรเห็นกริยาท่าทาง และความสงบ และความมีราสี ของพระอัสสชิเถระ ก็บังเกิดเลื่อมใสศรัทธาขึ้นมา จึงเดินตามไปห่างๆ เมื่อพระอัสสชิเถระเสร็จจากบิณฑบาต (ยกจากพระไตรปิฏก)

สารีบุตรปริพาชกจึงเข้าไปหาท่านพระอัสสชิ ถึงแล้วได้พูด ปราศรัยกับท่านพระอัสสชิ ครั้นผ่านการพูดปราศรัยพอให้เป็นที่บันเทิง เป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง. สารีบุตรปริพาชกยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวคำนี้ กะท่านพระอัสสชิว่า

อินทรีย์ของท่านผ่องใส ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง ท่านบวชเฉพาะใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร ขอรับ?

. มีอยู่ ท่าน พระมหาสมณะศากยบุตร เสด็จออกทรงผนวชจากศากยตระกูล เรา บวชเฉพาะพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นศาสดาของเรา และเรา ชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น.

สา. ก็พระศาสดาของท่านสอนอย่างไร แนะนำอย่างไร?

. เราเป็นคนใหม่ บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ ไม่อาจแสดงธรรมแก่ท่านได้กว้างขวาง แต่จักกล่าวใจความแก่ท่านโดยย่อ.

สา. น้อยหรือมาก นิมนต์กล่าวเถิด ท่านจงกล่าวแต่ใจความแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าต้องการใจความอย่างเดียว ท่านจักทำพยัญชนะให้มากทำไม.

พระอัสสชิเถระแสดงธรรม

[๖๕] ลำดับนั้น ท่านพระอัสสชิ ได้กล่าวธรรมปริยายนี้แก่สารีบุตรปริพาชก ว่าดังนี้:-

ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรม เหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติ ทรงสั่งสอนอย่างนี้.

สารีบุตรปริพาชกได้ดวงตาเห็นธรรม

[๖๖] ครั้นได้ฟังธรรมปริยายนี้ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใด สิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดา ได้เกิดขึ้นแก่สารีบุตรปริพาชก ธรรมนี้แหละถ้ามีก็เพียงนี้เท่านั้น ท่านทั้งหลายจงแทง ตลอดบทอันหาความโศกมิได้ บทอันหาความโศกมิได้นี้ พวกเรายังไม่เห็น ล่วงเลยมาแล้วหลายหมื่นกัลป์. (จบจากที่ยกมาจากพระไตรปิฏก)

หลังจากนั้นท่านสาริบุตรก็ไปหาท่านโมคคัลลานะ และบอกธรรมที่ท่านได้รับฟังจากพระอัสสชิเถระให้ทราบ ท่านโมคคัลลานะก็บรรุลุโสดาบันทันที ท่านสารีบุตรและท่านโมคคัลลานะได้กลับไปชวนอาจารย์สัญชัยปริพาชก ให้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าแต่สัญชัยปริพาชกไม่ย่อมไป แต่มีลูกศิษย์ 250 คนยอมติดตามไปกับท่านสารีบุตรและท่านโมคคัลลานะ ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่กรุงราชคฤห์ แล้วได้บวชเป็นภิกษุในพุทธศาสนา

พระโมคคัลลานะเมื่อบวชแล้วก็ปฏิบัติกรรมฐานอยู่ 7 วันจึงบรรลุเป็นพระอรหันต์ (****** อ่านในโมคคัลลานสูตร) เป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายผู้มีฤทธิ์เป็นเลิศ

ฝ่ายพระสารีบุตรก็ปฏิบัติกรรมฐานอยู่ 14 วัน จึงบรรลุเป็นพระอรหันต์ (****** อ่านในทีฆนขสูตร) เป็นอัครสาวกเบื้องขวาผู้มีปัญญาเป็นเลิศ พระสารีบุตร เมื่อใกล้จะนิพพาน ได้ไปลาพระพุทธเจ้าเพื่อไปนิพพานที่บ้านเกิด และได้มีโอกาส แสดงธรรมให้กับมารดาจนบรรลุเป็นพระโสดาบัน แล้วพระสาริบุตรท่านก็นิพพานด้วยโรคถ่ายเป็นโลหิต ปรินิพพานเมื่อวันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 ก่อนพระพุทธเจ้าปรินิพพาน 6 เดือน

ฝ่ายพระโมคคัลลานะ เมื่อใกล้นิพพานท่านถูกโจรทุบตีทำร้ายจนกระดูกแตกเป็นชิ้นเล็ก แต่ท่านใช้อิทธิฤทธิ์ประสานกระดูกของท่าน เพื่อไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อลานิพพาน เมื่อลาพระพุทธเจ้าแล้วท่านก็ไปที่ กาฬศิลาแคว้นมคธ แล้วปรินิพพาน ณ ที่นั้น เมื่อวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ หลังพระสารีบุตรนิพพานได้ ๑๕ วัน และก่อนพระพุทธเจ้าประมาณ ๕ เดือนครึ่ง

ดังนั้นอายุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ก็ประมาณ 70 ปี ขึ้นไป จึงปรินิพพาน เพราะพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ อายุอ่อนกว่าพระพุทธเจ้า กล่าวถึงน้องชายของพระสารีบุตร ก็เข้ามาบวชพระจนสิ้น แม้แต่น้องคนเล็ก อายุประมาณ 7 ขวบกว่าๆ ก็ยังเข้ามาบวช (อ่านในเรวตขทิรวนิยะในสารานุกรม) และได้เป็นพระเอตทัคคมหาสาวกผู้อยู่ป่าเป็นเลิศ

หลังจากนั้นก็มีเสียงติเตียนจากชาวบ้านชาวเมืองในแคว้นมคธ ว่าพระพุทธเจ้าเอาพวกผู้ชายไปบวชเกือบหมด พระพุทธเจ้าจึงต้องแก้ปัญหาการติเติยนนั้นดังที่ยกมาจากพระไตรปิฏก

เสียงติเตียน [๗๓]

ก็โดยสมัยนั้นแล พวกกุลบุตรชาวมคธที่มีชื่อเสียงๆ พากันประพฤติพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาค. ประชาชนพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะโคดมปฏิบัติเพื่อ ให้ชายไม่มีบุตร พระสมณโคดมปฏิบัติเพื่อให้หญิงเป็นหม้าย พระสมณโคดมปฏิบัติเพื่อตัดสกุล บัดนี้ พระสมณโคดมให้ชฎิลพันรูปบวชแล้ว และให้ปริพาชกศิษย์ของท่านสญชัย ๒๕๐ คนนี้ บวชแล้ว และกุลบุตรชาวมคธที่มีชื่อเสียงๆ พากันประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดม. อนึ่ง ประชาชนได้เห็นภิกษุทั้งหลายแล้วได้โจทย์ด้วยคาถานี้ ว่าดังนี้:-

พระมหาสมณะเสด็จมาสู่พระนครคอกเขาของ ชาวมคธแล้ว ได้ทรงนำปริพาชกพวกสญชัย ทั้งปวงไปแล้ว บัดนี้ จักทรงนำใครไปอีกเล่า.

[๗๔] ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เสียงนั้นจักอยู่ไม่ได้นาน จักอยู่ได้เพียง ๗ วันเท่านั้น พ้น ๗ วันก็จักหายไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าชนเหล่าใดกล่าวหาต่อพวกเธอ ด้วย คาถานี้ ว่าดังนี้:-

พระมหาสมณะเสด็จมาสู่พระนครคอกเขาของ ชาวมคธแล้ว ได้ทรงนำปริพาชกพวกสญชัย ทั้งปวงไปแล้ว บัดนี้ จักทรงนำใครไปอีกเล่า.

[๗๕] พวกเธอจงกล่าวโต้ตอบต่อชนเหล่านั้น ด้วยคาถานี้ ว่าดังนี้:-

พระตถาคตทั้งหลายผู้แกล้วกล้ามาก ย่อมทรง นำชนทั้งหลายไปด้วยพระสัทธรรม เมื่อชน ทั้งหลายอันพระองค์ทรงนำไปอยู่โดยธรรม ผู้ เข้าใจอย่างนี้จะริษยาทำไม.

ก็โดยสมัยนั้นแล ประชาชนทั้งหลายได้เห็นภิกษุทั้งหลายแล้ว ย่อมกล่าวหาด้วยคาถานี้ ว่าดังนี้:- พระมหาสมณะเสด็จมาสู่พระนครคอกเขาของ ชาวมคธแล้ว ได้ทรงนำปริพาชกพวกสญชัย ทั้งปวงไปแล้ว บัดนี้ จักทรงนำใครไปอีกเล่า.

ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวโต้ตอบต่อประชาชนพวกนั้น ด้วยคาถานี้ ว่าดังนี้:- พระตถาคตทั้งหลายผู้แกล้วกล้ามาก ย่อมทรง นำชนทั้งหลายไปด้วยพระสัทธรรม เมื่อชน ทั้งหลายอันพระองค์ทรงนำไปอยู่โดยธรรม ผู้ เข้าใจอย่างนี้จะริษยาทำไม.

[๗๖] ประชาชนกล่าวอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรทรงนำชน ทั้งหลายไปโดยธรรม ไม่ทรงนำไปโดยอธรรม. เสียงนั้นได้มีเพียง ๗ วันเท่านั้น พ้น ๗ วันก็หายไป. (จบที่ยกมาจากพระไตรปิฏก)

เมื่อมีผู้มาบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์มาก พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาติ ให้หมู่ภิกษุสงฆ์ ตั้งแต่ 10 รูปขึ้นไปบวชให้กับผู้พึงประสงค์จะบวชได้ เนื่องจากพระภิกษุสงฆ์มีจำนวนมาก มาจากฐานะต่างๆ มีอุปนิสัยต่างๆ กัน ทำให้เกิดความโกลาหลและความไม่มีระเบียบในคนหมู่มาก เช่นการนุ่งห่มจีวร การบิณฑบาต ฯลฯ พระพุทธเจ้าจึงทรงให้มี อุปัชฌาย์ ที่ค่อยแนะนำสั่งสอน และเป็นหัวหน้าในการบวชพระให้กับผู้พึงประสงค์จะบวช และคุณสมบัติข้อหนึ่งของอุปัชฌาย์ คือมีอายุพรรษา ตั้งแต่ 10 พรรษา และเป็นผู้มีความฉลาดและปัญญา

ท่านกัสสปะ(พระกัสสปเถระ)ได้พบกับพระพุทธเจ้า ที่ พุหุปุตตานิโครธ แคว้นมคธ หลังจากนั้น 8 วันท่านก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ท่านเป็นพระเอตทัคคมหาสาวกทางอยู่ธุดงค์วัตร ในขณะที่เข้ามาบวช พระกัสสปะมีอายุมากกว่าพระพุทธเจ้าเล็กน้อย และต่อมาภายหลังท่านก็เป็นผู้ที่ให้มีการทำสังคยนาพระไตรปิฏกเป็นครั้งแรกหลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน พระกัสสปเถระเป็นผู้มีอายุยืนท่านนิพพานเมื่อท่านได้ประมาณอายุ 120 ปี (อ่าน กัสสป(ปิปผลิ)ในสารานุกรม)

กล่าวถึงพระเจ้าสุทโธทนะได้ทราบข่าวว่า เจ้าชายสิทธถะผู้เป็นพระโอรสได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งขณะนั้นพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่เวฬุวัน กรุงราชคฤห์แคว้นมคธ ในต้นพระพรรษาที่ 2 พระเจ้าสุทโธทนะประสงค์เชิญพระพุทธเจ้าให้เสด็จมายังเมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ จึงได้ทรงส่งอำมาตย์คนหนึ่ง มีบุรุษพันหนึ่งเป็นบริวาร แต่เมื่อท่านเหลานันได้ฟังธรรมก็บรรลุเป็นพระอรหันต์จนหมด ไม่ได้กลับมาบอกข่าวคราวแก่พระเจ้าสุทโธทนะเลย พระเจ้าสุทโธทนะจึงส่งอำมาตย์ไปอีกพร้อมกับบุรุษพันคนไปอีก เมื่อท่านเหล่านั้นได้ได้ฟังธรรมก็บรรลุเป็นพระอรหันหมด ไม่ได้กลับมาบอกข่าวคราวอีก จึงทรงส่งอำมาตย์ไปอีกคราวนี้ส่งไป 8 คน พร้อมบุรุษ 8,000 คน เมื่อเล่านั้นได้ฟังธรรมก็บรรลุเป็นพระอรหันต์หมดไม่ได้กลับมาบอกข่าวคราวอีก พระเจ้าสุทโธทนะ จึงได้ส่งท่านกาฬุทายีผู้ซึ่งเกิดวันเดียวกับพระพุทธเจ้าและเป็นเพื่อนเล่นกันพระโพธิสัตว์ตอนวัยเด็ก พร้อมกับบุรุษหนึ่งพันคน แต่เมื่อท่านเหล่านั้นเมื่อได้ฟังธรรมก็บรรลุเป็นพระอรหันต์หมด ฝ่ายพระกาฬุทายีเถระเมื่อเห็นเวลาและโอกาสอันควรเพราะผ่านฤดูฝนไปแล้ว จึงเชิญพระพุทธเจ้าเสด็จไปยังเมืองกบิลพัสดุ์ สำเร็จ พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ ซึ่งห่างจากกรุงราชคฤห์แคว้นมคธเป็นระยะทางถึง 60 โยชน์ (960 กม.) มีพระอรหันต์ติดตามไปด้วยถึง สองหมืนรูป และเดินทางอย่างไม่รีบร้อน เพื่อประโยนช์แก่สรรพสัตว์ต่างๆ ตามรายทาง โดยเดินทางไปวันละ 1 โยชน์ หรือ 16 กิโลเมตร และในระหว่างทางมีผู้เข้ามาบวชเป็นพระภิกษุอีกมากมายแต่ไม่กล่าวถึง ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 2 เดือนจึงถึงกรุงกบิลพัสดุ์

หมายเหตุ ผู้ที่ศึกษาปัจจุบันและผู้ที่จะศึกษาในอนาคตคงกังขาในเรื่องจำนวนของพระอรหันต์ที่ติดตาม สองหมืนรูป นี้แน่นอน แต่กระผมผู้เล่าหาได้กังขาไม่ เพราะจากข้อมูลเบื้องต้นเมื่อนามาวิเคราะห์ก็จะได้ว่า ในขณะถึงพรรษาที่ 2 นี้มีมนุษย์เป็นพระอรหันต์บังเกิดขึ้นแล้วในโลกเป็นแสนรูปขึ้นไป และอาจมีบางท่านคิดไปว่าพระภิกษุถึง สองหมืนรูปเดินทางไปพร้อมกันโดยไม่เสบียงอาหารและไม่มีอุปกรณ์ทำที่พักเลย แล้วอยู่ได้อย่างไร? คำตอบคือพระภิกษุนั้นเป็นผู้อยู่ง่าย ฉัน(กิน)ง่าย ด้วยการบิณฑบาต ได้อาหารมามากน้อยแค่ไหนก็แบ่งกันเพื่อให้พอกันในการยังชีพเท่านั้น และนอนโคนต้นไม้ และฤดูนั้นไม่ใช่ฤดูฝน ต่อให้มีการเดินทางร่วมกันถึง แสนรูปก็หาได้มีปัญหาไม่ และเพราะในยุคนั้นการถวายอาหารแก่นักบวช หรือการเลี้ยงอาหารแก่ผู้มาเยือนเป็นเรื่องปกติของคนอินเดียในยุคนั้น

พระกาฬุทายีเถระมีบทบาทในการทำให้ชาวเมื่องและพระญาติของพระองค์ทรงเลื่อมใสอย่างมาก(อ่านในสารานุกรม กาฬุทายีเถระ) (ตัดตกแต่งจากสารานุกรม)

เมื่อพระพุทธเจ้าเข้ากรุงกบิลพัสดุ์ ในวันแรก ทรงกระทำฝนโปกขรพรรษา(เป็นฝนที่แปลกใครประสงค์ให้เปียกก็เปียกใครไม่ประสงค์ให้เปียกก็ไม่เปียก)ให้เป็นเหตุในหมูพระญาติทั้งหลายเพื่อทรงแสดงพระเวสสันดรชาดก ทำให้เหล่าพระญาติและประชาชนทั่วไปบรรลุเป็นพระอริยะกันมาก แล้วเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในวันที่ ๒ พระเจ้าสุทโธทนะทรงเห็นจึงออกมาห้าม ว่าวงศ์กษัตริย์ของพระองค์ไม่มีใครออกมาเดินถือกระเบื้องขอทานผู้คน พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า นั้นเป็นวงศ์ของพระเจ้าสุทโธทนะ แต่นี้เป็นวงศ์ของพระพุทธองค์ หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงธรรมให้ฟัง พระเจ้าสุทโธทนะก็บรรลุเป็นพระโสดาบัน แล้วเสด็จไปสู่นิเวศน์ ยังพระนางมหาปชาบดีให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล

(และ) รุ่งขึ้นวันหนึ่งเสวยพระกระยาหารเช้าในพระราชนิเวศน์แล้ว เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะประทับอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง ทูลเล่าว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเวลาที่พระองค์ทรงทำทุกรกิริยา เทวดาองค์หนึ่ง เข้ามาหาหม่อมฉันบอกว่า พระโอรสของพระองค์ทิวงคตแล้ว " หม่อมฉันไม่เชื่อถ้อยคำของเทวดานั้น จึงคัดค้านเทวดานั้นว่า ' บุตรของข้าพเจ้ายังไม่บรรลุโพธิญาณ ย่อมไม่ทำกาละ " ดังนี้แล้ว, ตรัสว่า " มหาบพิตร บัดนี้ พระองค์จักเชื่อได้อย่างไร ? แม้ในกาลก่อน เมื่อเขาแสดงร่างกระดูกแก่พระองค์ ทูลว่า ' บุตรของพระองค์ทิวงคตแล้ว ' พระองค์ยังไม่ทรงเชื่อ " ได้ตรัสมหาธรรมปาลชาดก เพราะอุบัติเหตุแห่งเรื่องนี้. ในกาลจบกถา พระเจ้าสุทโทธนะดำรงอยู่ในอนาคามิผล.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จไปยังปราสาทของพระนางพิมพาเทวี พระมารดาของพระราหุลกุมาร ทรงแสดงธรรมแก่พระนาง ทรงบรรเทาความเศร้าโศกแล้ว ทรงทำให้พระนางได้เกิดความเลื่อมใสด้วยเทศนาคือ จันทกินนีชาดก บรรลุเป็นโสดาบัน (อ่านพระนางพิมพาเทวี ในสารานุกรม) แล้ว ได้เสด็จไปยังนิโครธาราม ซึ่งนิโครธาราม ก็อยู่ในเขตแคว้นสักกะ ของกรุงกบิลพัสดุ์นี้ละ. .กรุงกบิลพัสดุ์ เจ้าชายนันทะซึ่งเป็นอนุชาของพระพุทธเจ้า ซึ่งประสูติจากพระนางปชาบดี กับพระเจ้าสุทโธทนะ กำลังจะเข้าพิธีวิวาหมงคล ในอีก 1-2 ข้างหน้า พระพุทธเจ้าทรงไปรับภัตตาหารในราชวังเมื่อเสร็จภาระกิจ จึงทรงวางบาตให้เจ้าชายนันทะรับไว้ เพื่อต้องถือและเดินติดตามพระพุทธเจ้าไป เจ้าชายนันทะต้องจำย่อมติดตามไป เมื่อถึงที่พักของสงฆ์ พระพุทธเจ้าจึงตรัสถามเจ้าชายนันทะว่า นันทะ ท่านจักบวชใหม? เจ้าชายนันทนั้น ด้วยความเคารพในพระพุทธเจ้า จึงไม่ทูลว่า " จักไม่บวช " กลับทูลรับว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จักบวชพระเจ้าข้า. " พระพุทธเจ้าจึงบวชเจ้าชายนันทะ และต่อมาพระนันทะเถระก็บรรลุเป็นพระอรหันต์มีเอตทัคคมหาสาวกผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์(อ่านในสารนุกรม พระนันทะ)

หลังจากนั้น ฝ่ายพระนางพิมพาเทวี ได้ตรัสกะพระราหุลกุมารผู้พระราชโอรสว่า "พ่อจงไปขอทรัพย์ที่มีอยู่ของพระบิดาของพ่อเถิด". พระกุมารทูลว่า ข้าแต่พระสมณะ ขอพระองค์จงพระราชทานสมบัติแก่หม่อมฉันเถิด แล้วติดตามประผู้มีพระภาคเจ้าไปพลางกราบทูลว่า ข้าแต่พระสมณะ พระองค์เป็นร่มเงาที่สุขสบายของหม่อมฉัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำพระราหุลกุมารนั้นไปยังนิโครธารามแล้วตรัสว่า เธอจงรับเอาทรัพย์สมบัติคือ โลกุตตรธรรมเถิด แล้วทรงให้พระสารีบุตรเป็นผู้บวชแก่พระราหุล. พระราหุลบวชเมื่ออายุ 7 และปฏิบัติธรรมอยู่ไม่นานก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ และท่านก็ปรินิพพานก่อนพระพุทธเจ้าปรินิพพานไม่นานนัก ดังนั้นอายุขัยของพระราหุลก็ประมาณ 50 กว่าปี (อ่านเรื่องพระราหุล ในสารานุกรม) พระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดพระบิดาให้ดำรงอยู่ในผล ๓ ด้วยประการฉะนี้แล้ว พระพุทธเจ้าได้ประทับอยู่ที่กรุงกบิลพัสดุ์ ทำให้มีพระอริยะและผู้ที่เข้ามาบวชมากมาย เมื่อถึงเวลาอันควรพระพุทธทรงให้ภิกษุสงฆ์ส่วนหนึ่งเผยแพร่พระศาสนาในแคว้นสักกะ กรุงกบิลพัสดุ์ แล้วพระพุทธเจ้าเสด็จกลับไปสู่กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธอีก เพราะยังมีพุทธกิจในกรุงราชคฤห์

กล่าวถึงเจ้าชายอานนท์ เป็นโอรสของพระเจ้าอมิโตทนศากยราช พระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช พระพุทธบิดา() ซึ่งประสูติพร้อมกับพระพุทธเจ้า มีฐานะเป็นพระอนุชาของพระพุทธเจ้า แต่ในพรรษที่ ๒ ในขณะพระพุทธเจ้าเสด็จมายังกรุงกบิลพัสดุ์ครั้งแรกนั้น ได้มีพระญาติหลายองค์ออกทรงผนวชตามเสด็จ ยังเหลือแต่ศากยกุมารเหล่านี้คือ พระมหามานะ พระอนุรุทธะ พระภัททิยะ พระภัคคุ (ยุ. ภคุ) พระกิมิละ (ยุ. กิมพิละ) พระอานนท์และพระเทวทัตต์ เมื่อพระพุทธเจ้าได้เสด็จกลับไปกรุงราชคฤห์แคว้นมคธ พวกศากยะทั้งหลายได้วิพากษ์วิจารณ์กันว่า พวกท่านได้ให้โอรสของตน ๆ ซึ่งมอบถวายให้เป็นเพื่อนเล่นของเจ้าชายสิทธัตถะ ในคราวทำพิธีขนานพระนามนั้น แต่คราวนี้ไม่ได้ออกผนวชตามเสด็จ ศากยกุมารเหล่านี้ชะรอยจะไม่ใช่เป็นพระญาติกับพระพุทธเจ้ากระมัง? พระมหานามะ ได้สดับคำวิพากษ์วิจารณ์นี้แล้ว ทรงรู้สึกละอาย จึงได้ปรึกษา พระอนุรุทธะ ว่า ในท่านทั้งสองนั้น ต้องออกผนวชองค์หนึ่ง ในที่สุดแห่งการสนทนา พระอนุรุทธะ ยอมออกผนวชตามเสด็จ จึงไปทูลลาพระมารดา แต่พระมาดราไม่ทรงอนุญาต ท่านได้ทูลอ้อนวอนจนพระมารดาทรงอนุญาต แต่ทรงวางเงื่อนไขไว้ว่า หากพระเจ้าภัททิยศากยราชพระสหายของท่านออกผนวชด้วย พระนางจึงจะทรงอนุญาต พระอนุรุทธะได้พยายามชักชวนพระเจ้าภัททิยะ จนตกลงพระทัยออกผนวชด้วยกันต่อจากนั้น ท่านได้ชักชวนศากยกุมารอีก ๕ องค์ มีพระอานนท์ เป็นต้นรวมทั้งอุบาลีด้วยเป็น ๗ คน ได้ตามเสด็จพระพุทธองค์ไปเพื่อขอบรรพชาอุปสมบท และได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่อนุปิยอัมพวัน เขตอนุปิยนิคม แคว้นมัลละ (แคว้นมัลละอยู่ด้านบนของแคว้นมคธ ใกล้กับแคว้นสักกะกรุงกบิลพัสดุ์) พระพุทธองค์ทรงอนุญาต ให้บรรพชาอุปสมบทตามประสงค์

() พระอุปัชฌายะของท่าน พระอานนท์ ชื่อพระเวลัฏฐสีสเถระ

() ครั้นอุปสมบทแล้ว ท่านพระอานนท์ได้ศึกษาธรรมจากสำนักของท่านพระปุณณมันตานีบุตร(อ่านพระปุณณมันตานีบุตร ในสารนุกรม)ไม่นานก็ได้สำเร็จชั้นโสดาบัน

(๑๐) ในกาลต่อมาท่านได้เล่าให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า ท่านพระปุณณมันตานีบุตร มีอุปการคุณต่อท่านและพวกภิกษุผู้นวกะมาก ท่านพระปุณณมันตานีบุตร ได้กล่าวสอนท่านว่า

"ดูกรอานนท์ เพราะถือมั่นจึงมีตัณหา มานะ ทิฐิว่าเป็นเรา เพราะไม่ถือมั่น จึงไม่มีตัณหามานะ ทิฐิ ว่าเป็นเรา เพราะถือมั่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงมีตัณหา มานะ ทิฐิ ว่าเป็นเรา เพราะไม่ถือมั่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงไม่มีตัณหา มานะ ทิฐิว่า เป็นเรา เปรียบเหมือนสตรีหรือบุรุษรุ่นหนุ่มสาวมีนิสัยชอบแต่งตัวส่องดูเงาของตนที่กระจกหรือ ภาชนะน้ำอันใสบริสุทธิ์ผุดผ่อง เพราะยึดถือจึงเห็น เพราะไม่ยึดจึงไม่เห็น ฉันใด เพราะถือมั่นรูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงมีตัณหา มานะ ทิฐิ ว่า เป็นเรา เพราะไม่ถือมั่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงไม่มีตัณหามานะ ทิฐิว่า เป็นเรา ฉันนั้นเหมือนกัน"

จากนั้น ท่านพระอานนท์เล่าต่อไปว่า ท่านพระปุณณมันตานีบุตรได้ถามท่านว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยงท่านตอบว่าไม่เที่ยง และในตอนสุดท้ายของการสอนธรรมครั้งนี้ ท่านบอกแก่พระภิกษุทั้งหลายว่าท่านได้ตรัสรู้ธรรมซึ่งหมายถึงได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน

(๑๑) พระอานนท์ท่านกว่าจะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ก็หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว เมื่ออายุของท่านก็ประมาณ 80 กว่าปีเล็กน้อย แต่ท่านมีอายุยืนมากคือ 120 ปี (อ่านเรื่องพระอานนท์ได้ในสารานุกรม อานนท)

กล่าวถึงพระอนุรุทธะ ท่านก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันพร้อมทั้งทิพย์จักษุ แต่กว่าจะบรรลุเป็นพระอรหันต์ก็ใช้เวลาในการบำเพ็ญธรรมถึง 8 ปี พระอนุรุทธะท่านเป็นเอตทัคคมหาสาวกผู้มีทิพย์จักษุ (อ่านในสารานุกรม อนุรุทธะ)

กล่าวถึง พระภัททิยะ ครั้นต่อมา ในระหว่างพรรษานั้นเอง ท่านพระภัททิยะได้ทำให้แจ้งซึ่งวิชชา ๓ ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ครั้งนั้น ท่านพระภัททิยะ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี ย่อมเปล่งอุทานเนืองๆ ว่า สุขหนอ สุขหนอ และท่านเป็นเอตทัคคมหาสาวกผู้เกิดในตระกูลสูง(อ่านในสารานุกรม ภัททิยะ)

กล่าวถึง พระภัคคุ ท่านก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์มหาสาวก

กล่าวถึง พระกิมพิละ ท่านก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์มหาสาวก(อ่านพระกิมพิละในสารานุกรม)

กล่าวถึง พระอุบาลี ก่อนบวชท่านเป็นเป็นช่างกัลบกประจำพระองค์เจ้าชายศากยะทั้งหลาย คือ พระเจ้าภัททิยศากยะ อนุรุทธะ อานนท์ ภัคคุ กิมพิละ และเทวทัต ความจริงพระอุบาลี ตั้งแต่แรกไม่ได้ตั้งใจที่จะออกบวช เพียง แต่ตามมาส่งพระศากยะทั้งหลายทั้ง ๖ พระองค์ ด้วยความจงรักภักดี อุบาลีผู้เป็นภูษามาลาเมื่อจะกลับ คิดว่าเจ้าศากยะทั้งหลายเหี้ยมโหดนัก จะพึงให้ฆ่าเราเสียด้วยเข้าพระทัยว่า อุบาลีนี้ให้พระกุมาร ทั้งหลายออกบวช ก็ศากยกุมารเหล่านี้ยังทรงผนวชได้ ไฉนเราจักบวชไม่ได้เล่า อุบาลีจึงกลับมาขอบวช ฝ่ายเจ้าชายทั้งหก จึงให้พระอุบาลีบวชก่อน เพื่อลดมานะของเจ้าชายทั้งหกเอง และต่อมาท่านพระอุบาลีก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์เป็นเอตทัคคมหาสาวกทางด้านเชียวชาญพระวินัย (อ่านในสารานุกรม อุบาลี)

กล่าวถึงพระเทวทัต เป็นเชษฐาของพระนางพิมพา ชายาของพระสิทธถะโพธิสัตว์ หลังจากบวชในพรรษานั้นก็ได้อภิญญา 5 แต่ยังเป็นปุถุชน (อ่านพระเทวทัตในสารานุกรม) และในภายหลังพระเทวทัตอิจฉา ในลาภ ยศ สรรเสริญ ที่ประชาชนมีใจต่อพระพุทธเจ้าและเหล่าพระมหาสาวกทั้งหลาย ส่วนตัวเองไม่มีฐานะอย่างนั้น ภายหลังได้แสดงฤทธิ์ ทำให้เจ้าชายอชาติศัตรู ซึ่งเป็นพระโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร หลงเชื่อ ศรัทธา ได้รับลาภ ยศ สรรเสริญ จากเจ้าชายอชาติศัตรูมากมาย จึงหลงระเริงพยายามทำความแตกแยกในหมู่สงฆ์เรื่อยๆ ต่อมาภายหลังจึงคิดตั้งตนเป็นพระพุทธเจ้า ฤทธิ์และฌานต่างๆ ที่มีอยู่ก็เสื่อมทันที หลังจากนั้นคิดปรงพระชนม์พระพุทธเจ้า จึงได้เจ้าชายอชาติศัตรูเป็นกำลังในการปรงพระชนม์พระพุทธเจ้า พระเทวทัตยุยงให้เจ้าชายอชาติศัตรู ปรงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสารเพื่อให้เจ้าชายอชาติศัตรูเป็นพระราชา เจ้าชายอชาตศัตรูปรงพระชนม์ชีพของพระเจ้าพิมพิสารสำเร็จ พระเจ้าพิมพิสารสวรรคตเมื่อมีพระชนม์มายุประมาณ 70 ปี

    ข้อสังเกต บางตำรากล่าวว่าพระเจ้าพิมพิสารสวรรคตก่อนพระพุทธเจ้าปรินิพพาน 8 ปี แต่เมื่อวิเคราะห์ดูตามข้อมูลที่มีอยู่ในขณะนี้ อาจจะสวรรคตเมื่ออายุ 70 ปี หมายถึงอายุขัยในการอยู่บนโลก น้อยกว่าพระพุทธเจ้า แต่หาใช่สวรรคตก่อนพระพุทธเจ้าปรินิพพาน 8 ปี ดังจะมีข้อมูลอ้างอิ่งในเรื่องของพระอชิติโพธิสัตว์ ซี่งเป็นโอรสของเจ้าชายอชาติศัตรู และเจ้าชายอภัยกุมารอันเป็นโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร แต่ต่างมารดากับเจ้าชายอชาติศัตรู และเรื่องการเสด็จสวรรคตของพระเจ้าพิมพิสารจะไปสัมพันธ์ กับพระนางมัลลิกา(ในพรรษาที่ 20-21) กับพระเจ้าปเสนธิโกศลและกับเจ้าชายวิฑูฑพภะโอรสของพระเจ้าปเสนธิโกศล ในภายหลัง ฝ่ายพระเทวทัตทำการปรงพระชนม์พระพุทธเจ้า หลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ หลังจากนั้นตรอมใจเป็นไข้อยู่ 9 เดือน เพราะสาเหตุที่พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ได้มาแสดงธรรมให้แก่เหล่าภิกษุ 500 รูปที่เป็นบริวาร ของพระเทวทัตเห็นแจ้งในธรรมแล้วติดตามพระสารีบุตรและโมคคัลนะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระเทวทัตเป็นไข้อยู่ 9 เดือนเกิดสำนึกได้ จึงประสงค์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าแต่ก็โดนธรณีสูบเสียก่อนที่จะได้เฝ้าพระพุทธเจ้า มีเรื่องอีกมากเกี่ยวกับพระเทวทัต และพระเจ้าอชาติศัตรู (อ่านในสารานุกรม อชาติศัตร)

จะเห็นว่าตลอดรายทางที่พระพุทธองค์เสด็จผ่าน พระพุทธเจ้าทรงโปรดแสดงพระสัทธรรมแก่ประชาชนไปตามลำดับหาได้รีบเร่ง และในคราใดที่มีบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ที่อยู่ในข่ายพระญาณที่พระพุทธเจ้าโปรดแสดงธรรมแต่อยู่ห่างไกล้จากหมู่สงฆ์ พระพุทธเจ้าจะทรงหลีกจากหมู่สงฆ์ เสด็จเพียงพระองค์เดียวไปโปรด แล้วให้หมู่สงฆ์ติดตามไปภายหลัง

เหตุการณ์ประมาณในปีที่ 3 และที่ 4

เมื่อพระพุทธเจ้าถึงกรุงราชคฤห์ ก็ทรงดำเนินพุทธกิจตามปกติ ช่วงนี้พระวรกายของพระพุทธเจ้ายังสมบูรณ์อยู่ ดังนั้นพระองค์เสด็จเผยแผ่พระสัทธรรม ยังแคว้นมัลละ แคว้นสักกะ แคว้นวัชชี แคว้นอังคะ แคว้นกาสี ที่อยู่รอบๆ แคว้นมคธ ได้อย่างไม่ยากลำบาก

.กรุงราชคฤห์ ท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐี เป็นชาวสาวัตถี แคว้นโกศล ซึ่งแคว้นโกศลมีพระเจ้าปสนธิโกศลปกครองอยู่ ได้เดินทางมาทำการค้าและพบปะกับญาติที่กรุงราชคฤห์แคว้นมคธ จึงได้พบกับพระพุทธเจ้าที่ ป่าสีตรันแคว้นมคธ ตามที่พี่เขยบอกและได้ฟังธรรมจนบรรลุเป็นพระโสดาบัน แล้วได้นิมนตร์ พระพุทธเจ้าให้ทรงเสด็จไปยังเมืองสาวัตถีแคว้นโกศล พระพุทธเจ้าทรงรับนิมนตร์นั้น หลังจากนั้นท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีได้กลับไปยังกรุงสาวัตถีแคว้นโกศล ซึ่งการเดินทางจากกรุงราชคฤห์แคว้นมคธ ต้องผ่านแคว้นกาสี(พาราณสี)จึงจะถึงแคว้นโกศลกรุงสาวัตถี( ถ้าท่านผู้อ่านทำความเข้าใจเรื่องตำแหน่งของแคว้นที่ผมกล่าวไว้ข้างบนให้ดี การอ่านก็จะมีรสชาติและเห็นภาพต่างๆ ได้) ท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีด้วยความศรัทธา จึงจะสร้างเชตวันวิหารเพื่อถวายพระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์

หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าก็เสด็จไปทางเหนือของแคว้นมคธตรงไป ยังนครเวสาลีแคว้นวัชชี แล้วพักอยู่ที่นั้น เพื่อเผยแผ่พระสัทธรรม แล้วมุ่งตรงไปทางตะวันตกตัดเข้ากรุงสาวัตถีแคว้นโกศล โดยที่ไม่ต้องผ่านแคว้นกาสี(กรุงพาราณสี) ตามคำทูลเชิญของท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐี เมื่อถึงนครสาวัตถี พระพุทธองค์ประทับ ณ เชตวนาราม ที่ท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีสร้างถวาย เพื่อเผยแผ่พระสัทธรรม ทั่วทั้งกรุงสาวัตถี ล่วงเลยไปยังแคว้นที่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของแคว้นโกศล คือแคว้นปัญจาละ และตะวันตกค่อนมาทางใต้คือแคว้นวังสะ

ณ แคว้นวังสะ มีกรุงโกสัมพีเป็นเมืองหลวง และที่เมืองนี้เมื่อพระพุทธองค์เข้าไปในเมื่องทรงถูกเหล่าชนมิจฉาทิฏฐิ ซึ่งได้รับสินจ้างจากพระนางมาคันทิยาผู้ผูกอาฆาตในพระพุทธองค์ ติดตามด่าว่าเยาะเย้ยด้วยประการต่าง ๆ จนท่านพระอานนท์ทนฟังไม่ไหว ได้กราบทูลพระพุทธองค์ว่าควรจะเสด็จหนีไปเมืองอื่นเสียแต่พระพุทธองค์ไม่ทรงเห็นด้วย ตรัสว่า เรื่องเกิดขึ้นที่ไหนก็ควรทำให้สงบ ณ ที่นั้นเสียก่อน จึงค่อยไปที่อื่น มูลเหตุที่พระนางมาคันทิยาผูกอาฆาตพระพุทธเจ้า ก็เกิดจากเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ๆ พระพุทธเจ้าทรงเสด็จไปโปรดแสดงธรรมแก่บิดาและมารดาของนางมาคันทิยา(ตอนนั้นยงเป็นเด็กรุ่น) เมื่อบิดามารดาของนางคันทิยาเห็นรูปลักษณะของพระพุทธเจ้า จึงประสงค์จะยกลูกสาวให้เป็นภรรยาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงตรัสทำนองว่า อย่าประสงค์ยกลูกสาวให้พระองค์เลย เพราะแม้แต่ปลายเล็บ พระองค์ก็ไม่พึ่งประสงค์ที่จะมองเลย นางคันทียาจึงโกรธและผูกอาฆาตตั้งแต่นั้นมา แต่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมให้บิดานางคันทิยาบรรลุเป็นพระอนาคามี ส่วนมารดาบรรลุเป็นพระโสดาบัน หลังจากนั้นนางคันทิยาก็ได้ไปอาศัยอยู่กับน้า ในกรุงโกสัมพีนี้แล้วน้าของนางเห็นว่านางมีรูปสดสวยสมควรแก่พระราชา จึงยกนางคันทียาให้กับพระเจ้าอุเทนและด้วยความหลงในรูป พระเจ้าอุเทนจึงแต่งตั้งให้เป็นมเหสีองค์หนึ่ง และเมื่อนางทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมายังเมืองโกสัมพี นางจึงระบายความอาฆาตดังที่กล่าวข้างบน ถึงแม้ในเมืองนี้จะมีปัญหาดังที่กล่าวมา แต่พระองค์ก็ทรงแสดงพระสัทธรรมต่อไป

พระเจ้าอุเทนยังมีมเหสีอีกองค์คือพระนางสามาวดี พระนางสามาวดีมีข้าทาสอยู่คนหนึ่งชื่อ นางขุธชุตตรา เป็นคนที่ต้องไปจัดซื้อดอกมะลิให้กับพระนาง และก็จะแอบขโมยเงินส่วนหนึ่งเก็บไว้ คือซื้อดอกมะลิไม่เต็มจำนวนเป็นประจำ วันหนึ่งคนขายดอกมะลิกล่าวชวนนางขุธชุตตราให้ทำบุญกับพระพุทธเจ้า นางขุธชุตตราจึงอยู่ถวายทานแก่พระพุทธเจ้า และได้ฟังธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงแจกแจงอย่างละเอียด เมื่อสิ้นสุดการแสดงธรรมนั้นนางก็ได้บรรลุเป็นโสดาบัน และเมื่อนางจะกลับไปในวังนางก็ต้องซื้อดอกมะลิกลับไปด้วยแต่คราวนี้นางละอายใจที่จะซื้อดอกมะลิไม่เต็มจำนวนเพราะเป็นพระโสดาบันแล้ว นางจึงซื้อดอกมะลิเต็มจำนวน แล้วเอาไปให้กับพระนางสามาวดี พระนางสามาวดีก็เห็นวันนี้มีดอกมะลิมากกว่าปกติ จึงถามนางขุธชุตตราว่า ทำไม่วันนี้มีดอกมะลิมากกว่าปกติ นางขุธชุตตราก็บอกตามความเป็นจริงว่า วันนางมีความละอายตัวเองที่แอบขโมยโดยซื้อดอกมะลิไม่เต็มจำนวน จึงซื้อมาเต็มจำนวนเงิน พระนางสามาวดีจึงถามว่า ทำไมจึงมีความละอายละ นางขุธชุตตราตอบว่า ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้ามา ด้วยธรรมนั้นนางจึงเกิดความละอายต่อบาป และไม่ก็ทำบาปอีก พระนางสามาวดีมีความสนใจจึงกล่าวว่า อย่างนั้นท่านจงบอกธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงให้เราทราบสิ นางขุธชุตตรากล่าวว่า อย่างนั้นขอให้พระนางจัดสถานที่ให้เหมาะกับการกล่าวธรรม ส่วนข้าทาสบริวารถ้าประสงค์ฟังธรรมก็ให้มาประชุมรวมกัน แล้วระหว่างที่จัดที่และรวมคนกันอยู่ นางขุธชุตตราก็ขอไปอาบน้ำแต่งตัวเพื่อให้เหมาะกับการแสดงธรรม พระนางสามาวดีได้เรียกให้บริวารของพระนางมาฟังธรรมทั้งหมด 500 คน หลังจากนั้นนางขุธชุตตราก็แสดงธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ดีแล้ว เมื่อจบการแสดงธรรมนั้น พระนางสามาวดีและเหล่าบริวารทั้งหลายก็บรรลุเป็นพระโสดาบันทั้งหมด หลังจากนั้นเหล่าบริวารทั้งหลายของพระนางสามาวดี จึงตั้งให้นางขุธชุตตราไม่ต้องทำหน้าที่อะไร เพียงแต่ให้ไปเข้าเฝ้าพุทธเจ้าหรือมหาสาวกเป็นประจำ แล้วฟังธรรมพระแสดงทั้งหมดแล้วกลับมาบอกกับพวกเขาเหล่านั้น ภายหลังนางขุธชุตตราได้เป็นเอคคทัตคะฝ่ายอุบาสิกาที่จดจำพระธรรมได้เป็นเลิศ หลังจากนั้นพระนางสามาวดีและเหล่าข้าทาสบริวารศรัทธาต่อต่อพระพุทธเจ้า จึงทำให้พระนางมาคันทิยาพุ่งความอาฆาตต่อพระนางสามาวดีมากยิ่งขึ้น เพราะไปศรัทธาและบูชากับบุคคลที่นางเกลียด และแถมยังมีสวามีคนเดียวกัน ส่วนมเหสีอีกคนหนึ่งของพระเจ้าอุเทน(พระเจ้าอุเทนมีมเหสีถึง 3 คน)คือพระนางวาสุลทัตตา ซึ่งเป็นราชธิดาของพระเจ้าปัทโชตแห่งกรุงอุเชนแคว้นอวันตีซึ่งอยู่ติดกับแคว้นวังสะทางทิศตะวันตกเฉียงไต้ พระนางวาสุลทัตตาเมื่อได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าก็บรรลุเป็นโสดาบัน แต่หาได้มีบทบาทที่นางคันทิยาต้องชิงดีชิงเด่นกับพระนางวาสุลทัตตามากมายไม่ พระนางมาคันทียาใส่ร้ายพระนางสามาวดีโดยเอางูเห่าใส่ตะกล้า(หรือพิณ)ของพระเจ้าอุเทน เมื่อพระเจ้าอุเทนไปประทับอยู่กับพระนางสามาวดี เมื่อพระเจ้าอุเทนเห็นงูออกมาจากตะกล้าก็ตกใจกลัว พระนางมาคันทิยาจึงทูลยุว่า พระนางสามาวดีและเหล่าบริวารของพระนางสามาวดีหวังจะปรงพระชนม์พระเจ้าอุเทน พระเจ้าอุเทนจึงสังจับพระนางสามาวดีและเหล่าบริวารไปประหาร โดยยิงด้วยลูกธนูอาบยาพิษเพื่อประหาร พระนางสามาวดีจึงบอกกับเหล่าบริวารให้แผ่เมตตาแก่พระเจ้าอุเทนและทหารเหล่านั้น เมื่อพระเจ้าอุเทนยกศรขึ้นง้างเพื่อยิงลูกธนูไปยังพระนาสามาวดี แต่ไม่สามารถง้างหรือปล่อยธนูไปได้ค้างเกร็งสั่นอยู่อย่างนั้น จนพระเจ้าอุเทนเกิดความกลัวขึ้นมาอย่างสุดกำลัง ต้องเอ่ยปากขอให้พระนางสามาวดียกโทษให้กับพระองค์ด้วย พระนางสามาวดีจึงเข้ามาใกล้พระเจ้าอุเทน แล้วจึงกล่าวยกโทษให้ พระเจ้าอุเทนจึงขยับตัวเองและลดธนูลงได้ และตอนหลังพระนางสามาวดีได้พาพระเจ้าอุเทนเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระเจ้าอุเทนเมื่อได้ฟังธรรม ก็มีความศรัทธาต่อพระพุทธเจ้าแสดงตนเป็นอุบาสก(ยังเป็นปุถุชน) ต่อมาในภายหลังพระนางสามาวดีเป็นเอคคทัคคะฝ่ายอุบาสิกาผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตาเป็นเลิศ เป็นอันว่าพระนางมาคันทิยาไม่สามารถปรงพระชนม์พระนางสามาวดีได้ แต่ก็จองหาโอกาสที่จะทำ เพราะความอาฆาต (ความอาฆาต ความพยาบาท ความผูกโกรธ เป็นสิ่งที่น่ากลัวมากสำหรับผู้ประสงค์สร้างบุญบารมีทั้งหลาย เพราะจะนำความทุกข์มาสู่ตนเองอย่างมากและพลาดโอกาศในการบรรลุธรรม เมื่อพยาบาทต่อผู้มีคุณใหญ่) พระนางมาคันทิยาได้เห็นโอกาสเมื่อ พระนางสามาวดีสร้างปราสาทหลังใหม่ ซึ่งพระนางสามาวดีและบริวารไปอยู่ยังปราสาทนั้น พระนางมาคันทิยาจึงให้น้าและเหล่าญาติพร้อมทั้งนักเลงที่จ้างมา ทำการปิดประตูปราสาทไม่ให้ออกมาได้ แล้วทำการวางเพลิงเผ่าปราสาทนั้นในเวลากลางคืน พระนางสามาวดีและเหล่าบริวารจึงถูกไฟเผ่าจนสิ้นชีพ เมื่อพระเจ้าอุเทนได้ทราบก็บังเกิดความเสียใจและเศร้าโศกเป็นอย่างยิ่ง เพราะพระองค์เห็นคุณของพระนางสามาวดีและศรัทธาในพระพุทธเจ้า แต่ต้องข่มใจไว้เพราะประสงค์หาผู้ที่วางเพลิง พระเจ้าอุเทนจึงประกาศออกไปว่า ผู้ใดที่วางเพลิงปรงพระชนม์พระนางสามาวดีจะได้รับรางวัล เพราะพระนางสามาวดีประสงค์จะปรงพระชนม์พระองค์หลายครั้ง พระนางคันทียาพอได้ทราบดังนั้นจึงกล่าวว่า พระนางเองพร้อมทั้งญาติช่วยกันวางเพลิง พระเจ้าอุเทนจึงให้พระนางมาคันทิยารวบรวมญาติและนักเลงทั้งที่ช่วยกันวางเพลิงมาเฝ้าพระองค์ แล้วพระเจ้าอุเทนก็จับทั้งหมดไว้ แล้วสั่งประหารจนหมดสิ้น แล้วพระพุทธเจ้าก็ทรงเสด็จกลับเผยแผ่พระสัทธรรมแคว้นกาสี แคว้นมัลละ แคว้นสักกะ แคว้นวัชชี ตามลำดับแล้วไปยังกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ แล้วพระพุทธเจ้าจำพรรษาที่ 4 ที่เวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์

หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าก็ออกเสด็จเผยแผ่ศาสนาต่อไป การเคลื่อนทัพธรรมเพื่อพระสัทธรรมแผ่กระจ่ายและมีความมั่นคงนั้น พระพุทธเจ้าจึงหาได้หยุดนิ่งอยู่เลยเพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย ทรงบัญญัติสิกขาบทและพระวินัยต่างๆ เพื่อให้มีความสงบ ไม่เป็นที่ติฉินนินทา ในกลุ่มสงฆ์ด้วยกันและจากประชาชนทั่วไป เหตุการณ์ใดบังเกิดก็บัญญัติสิกขาบทหรือพระวินัยในสิ่งนั้น เนื่องจากพระพุทธเจ้าทรงมีพระเมตตาแสดงพระธรรมแจกแจงอย่างละเอียดมีเหตุและผลแก่พระสาวก ทั้งยังทรงตรัสย้ำแก่พระสาวกว่าให้ทำความเข้าใจโดยแยบคายและให้จดจำไว้อย่างดี ก็เพื่อพระโยชน์แก่สัตว์อื่นหรือบุคคลผู้อื่น ที่ไม่ได้รับฟังจากพระองค์โดยตรง เพราะเพียงแต่ได้รับฟังธรรมจากพระสาวก ก็สามารถเข้าใจเนื้อความหรือเนื้อธรรมนั้นอย่างกระจ่าง แจ้งได้ ด้วยพุทธกิจที่พระพุทธองค์ทรงอุสาหะไม่เบื่อหน่ายในการแสดงแจกแจงธรรมอย่างละเอียดและบัญญัติพระวินัย เพราะเหตุเหล่านี้พระพุทธศาสนาจึงตกทอดจนถึงปัจจุบันนี้ และต่อไปในอนาคต

กล่าวถึง พระโพธิสัตว์ที่จะตรัสรู้เป็นพระศรีอริยเมตตรัยพุทธเจ้าในอนาคต ถัดจากพุทธภูมิปัจจุบัน คือพระอชิตะ (คัดจากสารานุกรม)

พระอชิตะ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอชาตศัตรู ประสูติแต่พระนางกาญจนาเทวี ซึ่งเป็นพระมารดา เป็นผู้มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้พาบริวาร ๑,๐๐๐ คน ออกบวชเป็นภิกษุ คราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จสู่กรุงกบิลพัสดุ์ครั้งที่สอง พระอชิตะเมื่อบวชใหม่ ๆ ได้เป็นผู้รับยุคลพัสตร์(ผ้า ๒ ผืน) ของ พระนางมหาปชาบดีโคตมี ซึ่งมีความพิสดารอย่างย่อว่า

พระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงเสียพระทัย ที่ตั้งใจจะถวายให้แด่พระพุทธองค์ แต่พระพุทธองค์ไม่ทรงรับเพราะเพื่อ อนุเคราะห์แก่สงฆ์ในอนาคต เพื่อให้ชนทั้งหลายซึ่งเกิด ภายหลังให้เกิดจิตคิดการกระทำเคารพสงฆ์ให้จงมาก และทรงอนุเคราะห์แก่พระนางเอง เพราะทานที่ให้แด่สงฆ์โดย มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขย่อมมีพลานิสงส์มากกว่า พระนางมหาปชาบดีโคตมีไม่ทรงทราบดำริของพระพุทธองค์ จึงเข้าไปหาพระอานนท์ ให้พระอานนท์ทูลถามว่า สาเหตุใดจึง ไม่ทรงรับยุคลพัสตร์(ผ้า ๒ ผืน) นั้น

กาลต่อมา พระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า มีสาเหตุใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่รับทรงรับยุคลพัสตร์(ผ้า ๒ ผืน) นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงปาฏิบุคลิกทักษิณาทานโดยพิสดาร แล้วตรัสเทศนาทักษิณาวิภังคสูตร จำแนกประเภท แห่งปาฏิบุคลิกทาน แลสังฆทาน โดยพิสดาร แก่พระอานนท์. เมื่อพระนางมหาปชาบดีโคตมีได้ทรงทราบในเทศนา ทักษิณาวิภังคสูตรในภายหลังแล้ว จึงทรงถือซึ่งภูษาทั้งคู่เข้าไป หาพระสารีบุตรท่านก็ไม่ได้รับ เข้าไปหาพระมหาโมคคัลลานะ ท่านก็ไม่ได้รับ แม้ในที่สุดแห่งพระอสีติมหาสาวกก็ไม่พระรูปใดรับไว้เลย จนกระทั่งองค์สุดท้ายซึ่งเป็นพระนวกะชื่อพระอชิตะท่านจึงรับไว้.

ในเวลานั้นพระนางปชาบดีโคตมีก็ทรงน้อยพระทัยว่า พระนางตั้งใจในการทำผ้าทั้งคู่นี้ด้วยว่า จะถวายแด่พระผู้มีพระภาค แต่ก็ไม่ทรงรับ แม้นพระอสีติมหาสาวกรูปใดรูปหนึ่งก็ไม่ทรงรับ แต่มาบัดนี้ พระภิกษุหนุ่มซึ่งเป็นพระนวกะมารับซึ่งผ้าของพระนาง พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นพระนางเสียพระทัย จึงทรงพระดำริว่า จะทำให้พระนางบังเกิดโสมนัสในวัตถุทานนี้ จึงมีพระพุทธดำรัสเรียกพระอานนท์ว่า ท่านจงไปนำบาตรของตถาคตมา แล้วทรงพุทธาธิษฐานว่า พระอัครสาวกและสาวกทั้งปวงอย่าได้ถือบาตรนี้ได้เลย ให้พระอชิตภิกษุหนุ่มนี้จงถือซึ่งบาตรของตถาคตได้ แล้วทรงโยนบาตรนั้นขึ้นไปบนอากาศ แลบาตรนั้นก็ลอยขึ้นไปในกลีบเมฆอันตธานไปมิได้ปรากฏ ในลำดับ พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ และพระอสีติสาวกทั้งหลาย ก็อาสานำบาตรนั้นกลับคืนมา แต่ก็หาไม่พบ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสสั่งพระอชิตภิกษุว่า ท่านจงไปนำบาตรของตถาคตมา

ในลำดับนั้น พระอชิตะได้มีดำริว่าควรจะเป็นอัศจรรย์ยิ่งนัก พระอสีติมหาสาวกนี้ ล้วนเป็นพระอรหันต์มีฤทธาอานุภาพมาก แต่มิอาจนำบาตรมาถวายแด่พระพุทธองค์ได้ แลอาตมะนี้ไซร้มีจิตอันกิเลสครอบงำอยู่ แลเหตุไฉน พระบรมครูจึงตรัสสั่งอาตมาให้แสวงหาซึ่งบาตรนั้น จะต้องมี เหตุอันใดอันหนึ่งเป็นมั่นคง จึงรับอาสาที่จะนำบาตรนั้นคืนมา พระอชิตะได้ไปยืนในที่สุดบริษัท มองขึ้นไปบนอากาศแล้วกระทำสัตยาธิษฐานว่า อาตมาบรรพชาในพระพุทธศาสนา ไม่ได้หวังซึ่งลาภยศทั้งหลาย แต่อาตมาบวชประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อประโยชน์ที่จะตรัสรู้ซึ่งธรรมทั้งปวง อันอาจสามารถรื้อสัตว์โลกให้พ้นจากสงสารทั้งสิ้น หากว่าศีลของอาตมามิขาดทำลายและด่างพร้อย บริสุทธิ์อยู่เป็นอันดี ขอให้บาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้าจงมาสถิตในมือของอาตมาด้วยเทอญ พระอชิตะทรงตั้งสัตยาธิษฐานแล้ว จึงเหยียดมือออกไป ขณะนั้นบาตรก็ปรากฏตกลงจากอากาศ ประดิษฐานอยู่ที่มือของพระอชิตะ พระอัครมหาสาวกและพระอสีติมหาสาวก ได้มีดำริว่าบาตรนี้ควรแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ควรแก่มหาสาวกทั้งหลาย แลภิกษุรูปนี้จะได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลเป็นแน่.

พระนางประชาบดีโคตมีได้ทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ก็มีความปิติโสมนัสเป็นกำลังด้วยวัตถุทานที่ถวายให้แก่พระอชิตะแล้วกราบทูลลาพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จคืนพระราชนิเวศน์สถาน เมื่อพระอชิตะได้รับผ้าคู่นั้นมาแล้ว เห็นว่า ไม่ควรแก่ท่านจึงนำผ้าผืนหนึ่งไปปูบนเพดานบนพระคันธกุฎี แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า อีกผืนหนึ่งแบ่งเป็น ๔ ท่อน ผูกเป็นม่านห้อยลงในที่สี่มุมแห่งเพดานนั้น แล้วอธิษฐานว่า ขอให้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต. พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ว่า ท่านอชิตภิกษุรูปนี้เป็นพระโพธิสัตว์ จะได้ตรัสรู้เป็นพระเมตไตรย พุทธเจ้าในอนาคต() (จบจากที่ยกมาจากสารานุกรม)

ข้อสังเกต เรื่องของพระโพธิสัตว์นั้นมีเรื่องบังเกิดขึ้นเมื่อ ปีที่ 2 หรือปีที่ 3 หลังจากการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และพระพุทธเจ้าทรงพุทธพยากรณ์ให้ทราบกันทั่วในหมู่พระสงฆ์ ส่วนพระ อชิตะโพธิสัตว์ก็บวชเป็นภิกษุในวัยหนุ่ม อายุประมาณ 20 ปี พร้อมทั้งบริวาร ดังนั้นการนับถือนิยตโพธิสัตว์องค์ที่จะตรัสรู้ต่อไปก็บังเกิดขึ้นมาตั้งแต่บัดนั้น แล้วค่อยแผ่ขยายในภายหลังเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วประมาณ 500 ปี

 ข้อวิเคราะห์ ในเมื่อพระอชิตะโพธิสัตว์ขณะนั้นอายุประมาณ 20 ปี ดังนั้นเจ้าชายอชาติศัตรู มีอายุอย่างน้อยสุด 35 ปี เพราะผู้ชายสมัยก่อนอายุ 15 หรือ 16 ก็แต่งงานแล้ว ดังนั้นพระเจ้าพิมพิสารมีอายุน้อยที่สุดในขณะนั้นประมาณ 35+15 = 50 ปี ซึ่งขณะนั้นพระพุทธเจ้ามีพระชนม์มายุอยู่ที่ 38-39 พรรษา แต่เมื่อย้อนกลับถอยหลังไป 9 ปี เมื่อเจ้าชายสิทธถะ อายุ 30 และพระเจ้าพิมพิสารอายุ 40 จึงดูเหมือนอยู่ในวัยไม่ไกลกัน ดั้งนั้นถ้าพระเจ้าพิมพิสารสวรรคตเมื่อมีพระชนม์มายุประมาณ 70 ปี ก็คงเป็นพรรษาที่ 20 ที่พระพุทธเจ้าทรงเผยแผ่พระสัทธรรม หรือขณะที่พระพุทธเจ้าทรงมีพระชนม์มายุ 60 พรรษา ซึ่งไปสัมพันธ์กับเรื่องพระนางมัลลิกากับพระเจ้าปเสนธิโกศล และจะไปสัมพันธ์กับเจ้าชายวิฑูฑพภะ อันเป็นโอรสของพระเจ้าปเสทธิโกศล กับราชธิดาของเจ้าสักกะซึ่งเป็นเชื่อพระวงค์ของพระพุทธเจ้ากับนางทาส ในสมัยที่พระเจ้าปเสนธิโกศลศรัทธาและใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้าแล้ว ซึ่งเรื่องเหล่านี้จะเกิดขึ้นหลังจากพระเจ้าพิมพิสารสวรรคตไม่นาน และถ้ายืนยันว่าพระเจ้าพิมพิสารสวรรคตก่อนพระพุทธเจ้าปรินิพพาน 8 ปี จะทำให้เรื่องเจ้าชายวิฑูฑพภะ และพระนางมัลลิกา ขัดแย้งกันในเรื่องอายุและวัย และการที่เอาพรรษาที่ 20 เป็นเกณฑ์ เพราะพระพุทธเจ้าเข้าจำพรรษาที่กรุงราชคฤห์เป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งประมาณว่าในพรรษานั้นหมอชิวกโกมารภัจ ได้นำพระเจ้าอชาติศัตรูไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า หลังจากที่ปรงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสารแล้วไม่นาน หลังจากพรรษาที่ 20 ไปแล้วนั้นพระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาอยู่ที่ กรุงสาวัตถีแคว้นโกศลตลอด จะเห็นว่าเมื่อเอา บุคคล เวลา สถานที่ มาสัมพันธ์กัน ทำให้การอ่าน อรรถกถา ต้องมีการเว้นวรรคบ้าง ในสิ่งที่ยังหาความสัมพันธ์ไม่ได้

 กล่าวถึง เจ้าชายอภัยกุมาร ซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้าพิมพิสารอีกองค์หนึ่ง ซึ่งมีพระชันษาไร่เรี่ยกับเจ้าชายอชาติศัตรู ซึ่งขณะนั้นอายุก็ประมาณ 30 ปี เจ้าชายอภัยมีครอบครัวและมีบุตรแล้ว และเจ้าชายอภัยกุมารก็ได้ชุบเลี้ยงหมอชิวกโกมารภัจที่พบอยู่ที่กองขยะ ทั้งแต่ยังเล็กเหมือนลูกชาย แต่เมื่อชิวกโกมารภัจโตขึ้นมาประมาณอายุ 15 - 16 ปี จึงขออนุญาติไปเรียนวิชาหมอที่เมืองตักกสิลา กล่าวถึงเจ้าชายอภัยในช่วงนั้นศรัทธาในพวกนิครนถ์ และพวกนิครนถ์ก็แต่งปัญหา 2 แง่ ถ้าพระพุทธเจ้าตอบว่าใช่ ก็จะโดนแย้งด้วยเหตุผลที่ตั้งไว้ ถ้าตอบว่าไม่ใช่ ก็จะโดนแย้งด้วยเหตุผลอีกเหตุผลหนึ่งที่ตั้งไว้ มอบให้กับเจ้าชายอภัยกุมารไปสนทนากับพระพุทธเจ้า แต่เมื่อเจ้าชายอภัยได้สนทนากับพระพุทธเจ้าแล้ว พระพุทธเจ้าทรงไม่ตอบว่าใช่หรือไม่ใช่ แต่ทรงนำไปสู่ให้รู้เหตุ(ทุกข์) และวิธีดับเหตุ(ทุกข์) โดยพระองค์ไม่ต้องตรัสว่าใช่หรือไม่ใช่ ตั้งแต่นั้นมาอภัยกุมารก็ศรัทธาพระพุทธเจ้า และได้บรรลุเป็นโสดาบันในภายหลัง กล่าวถึงหมอชีวกโกมารภัจเมื่อเรียนจบก็กลับมาอยู่กับเจ้าชายอภัยกุมาร แล้วเจ้าชายอภัยกุมารก็ได้ให้หมอชีวกโกมารภัจไปรักษาโรคริสิดวงทวารของพระเจ้าพิมพิสารจนหาย หมอชีวกโกมารภัจจึงได้เป็นแพทย์หลวงตั้งแต่นั้นมา หมอชิวกโกรมารภัจเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้าและได้ฟังธรรมก็บรรลุเป็นโสดาบันได้เป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสกผู้เลื่อมใสในบุคคล ฝ่ายเจ้าชายอภัยกุมารต่อมาในภายหลังได้มาบวชเป็นภิกษุแล้วบรรลุเป็นพระอรหันต์ เป็นพระมหาสาวกรูปหนึ่ง

กล่าวถึงพระมหากัจจายนะ พระสาวกชั้นผู้ใหญ่และสำคัญยิ่งองค์หนึ่ง ผู้ซึ่งได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ว่า เป็นยอดแห่งพระภิกษุ ผู้มีความสามารถอธิบายความแห่งคำที่ย่อให้พิสดาร ซึ่งขณะที่ท่านยังไม่ได้มาบวช ท่านเป็นปุโรหิตของพระเจ้าจัณฑปัชโชต ในกรุงอุชเชนแคว้นอวันตี แคว้นอวันติก็คือพื่นที่ตรงกลางเยื้องไปทางทิศตัวตกของแผ่นที่อินเดียในเขตมัธยประเทศในปัจจุบัน ถ้าผู้อ่านยืนอยู่ที่แคว้นมคธ แคว้นอวันตีจะอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีแคว้นกาสี(พาราณสี) และแคว้นวังสะ กั้นอยู่ตามลำดับ ไกลมากครับถ้าเทียบกับประเทศไทยก็พอๆ กับระยะทางจากภาคเหนือของไทยลงสู่ภาคไต้ของประเทศไทยเลยครับ ซึ่งขณะนั้นพระเจ้าพิมพิสารแห่งกรุงราชคฤห์แคว้นมคธ ได้ส่งสารไปบอกกับพระเจ้าจัณฑปัชโชต ในกรุงอุชเชนแคว้นอวันตี ว่าพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ได้บังเกิดขึ้นแล้วในโลก และอยู่ในแคว้นของพระองค์ พระเจ้าจัณฑปัชโชต จึงประสงค์จะเชิญเสด็จให้พระพุทธเจ้ามาแสดงธรรมยังอุชเชนแคว้นอวันตี จึงส่งท่านกัจจายนะปุโรหิตพร้อมกับข้าบริวารรวมเก้าคน แต่ท่านกัจจายนะบอกกับพระเจ้าจัณฑปัชโชตว่า ถ้าท่านไปถึงแล้วเกิดประสงค์จะบวช ขอให้พระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงอนุญาติ พระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงอนุญาติ ท่านกัจจายนะจึงได้เดินทางมายังกรุงราชคฤห์ ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์และได้บวชเป็นพระภิกษุ ภายหลังพระมหากัจจายนะเถระได้ทูลเชิญให้พระพุทธเจ้าเสด็จไปยังกรุงอุชเชน แต่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ให้พระมหากัจจายนะเถระไปเอง แล้วพระเจ้าจัณฆปัขโชตจะศรัทธาต่อพระมหากัจจยนะ และเมื่อพระมหากัจจายนะเถระกลับไปเผยแผ่พระธรรมที่แคว้นอวันตี ก็ทำให้พระเจ้าจัณฑปัชโชตศรัทธาทำให้พระพุทธศาสนาตั้งมั่นในแคว้นอวันตี และต่อมาหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานเพียงไม่นานก่อนการทำสังฆยานาพระไตรปิฏกครั้งแรก พระมหากัจจายนะก็ได้เผยแผ่พระธรรมที่แคว้นสุรเสนะ ทำให้พระเจ้ามธุราชอวันตีบุตรแห่งกรุงมธุราแคว้นสุรเสนะศรัทธา พระพุทธศาสนาจึงตั้งมั่นในแคว้นสุรเสนะ ต่อจากนั้นได้เผยแผ่พระธรรมไปยังแคว้นอัสสะกะ ทำให้เจ้าชายสุชาติและพระเจ้าอัสสะกะซึ่งเป็นพระราชบิดาของเจ้าชายสุชาติศรัทธาทำให้พระศาสนาตั้งมั่นในแคว้นอัสสะกะ จะเห็นว่าพระอรหันต์อเสติมหาสาวกเพียงองค์เดียวทำให้พระศาสนาตั้งมั่นอยู่ถึง 3 แคว้น คือแคว้นอวันติ แคว้นสุรเสนะ และแคว้นอัสสะกะ โดยที่ไม่ต้องให้พระพุทธเจ้าเสด็จไปแสดงธรรมด้วยพระองค์เองเลย

หลังจากพระองค์ทรงจำพรรษาที่ 4 ณ กรุงราชคฤห์แล้ว ทรงเห็นว่าพระศาสนาในกรุงราชคฤห์แคว้นมคธ มีความตั้งมั่นแล้ว พระองค์จึงทรงประสงค์ไปเผยแผ่พระสัทธรรมไปในที่ต่างๆ โดยไม่จำเป็นต้องกลับมาจำพรรษาที่กรุงราชคฤห์ เพื่อให้พระศาสนาในแคว้นอื่นๆ มีความตั้งมั่น

พระเจ้าสุทโธทนะบรรลุอรหันต์และนิพพาน ทำให้กรุงกบิลพัสดุ์ว่างจากกษัตริย์ และเพราะสาเหตุที่เชื่อพระวงค์ที่ใกล้ชิดได้ออกบวชตามเสด็จพระพุทธเจ้าเกือบทั้งหมด ทำให้ชาวพระนครแยกออกเป็น 2 ผ่าย เตรียมรบเพราะทะเลาะกันเรื่องมงกุฎ พระพุทธเจ้าเสด็จไปทำให้เจ้าเหล่านั้นให้เข้าใจกันแล้วตรัสอัตตทัณทสูตร เจ้าทั้งหลายทรงเลื่อมใสแล้วได้มอบถวายพระกุมารฝ่ายละ ๒๕๐ องค์ พระกุมาร ๕๐๐ องค์เหล่านั้นบวชในสำนักพระศาสดา แล้วเจ้าเหล่านั้นแต่งตั้งให้พระมหานามะ เป็นกษัตริย์ปกคลองกรุงกบิลพัสดุ์ต่อไป ลำดับนั้นพระชายาของพระภิกษุกุมารเหล่านั้นส่งข่าวไป ทำให้เกิดความไม่ยินดี ในการบวชของพระภิกษุกุมารเหล่านั้น พระศาสดาทรงทราบว่า ภิกษุเหล่านั้นเกิดความไม่ยินดี จึงนำภิกษุหนุ่ม ๕๐๐ รูปเหล่านั้นไปสู่สระชื่อว่า กุณาละ ประทับนั่งบนแผ่นหินที่ทรงเคยประทับนั่งใน ครั้งที่พระองค์เสวยพระชาติเป็นนกดุเหว่า. บรรเทาความไม่ยินดีของภิกษุเหล่านั้นด้วยเรื่องกุณาลชาดก แล้วให้ท่านทั้งหมดนั้นดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล แล้วนำกลับมาสู่ป่ามหาวันอีกครั้งหนึ่ง ให้ดำรงอยู่ในพระอรหัตตผลแล. พระชายาของภิกษุเหล่านั้นเพื่อจะรู้จิตของภิกษุเหล่านั้นว่าคิดอย่างไร จึงส่งข่าวไปอีกครั้ง ภิกษุเหล่านั้นส่งสาส์นตอบไปว่า พวกเราไม่ควรอยู่ครองเรือน.

ข้อสังเกต เรื่องพระเจ้าสุทโธทนะนิพพาน และเรื่องของพระภิกษุกุมาร 500 รูป จะนำไปสู่การบังเกิด ภิกษุณี ในปีต่อไป

เหตุการณ์ประมาณปีที่ 5

นางวิสาขาพบพระพุทธเจ้า (คัดตกแต่งจากสารานุกรม) นางวิสาขาเป็นธิดาของนางสุมนเทวี บิดาชื่อธนัญชัยเศรษฐี เป็นหลานของเมณฑกเศรษฐี และนางจันทปทุมาผู้เป็นปู่ย่า ในภัททิยนคร แคว้นอังคะ(อยู่ทางทิศตะวันออกของแคว้นมคธ) ประมาณพรรษาที่ ๕ แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า เวลานั้นนางวิสาขามี อายุได้ ๗ ขวบ พระทศพลทรงเห็นอุปนิสัยสมบัติของเสลพราหมณ์ และเหล่าสัตว์พวกจะตรัสรู้อื่น ๆ มีภิกษุสงฆ์เป็นบริวาร เสด็จจาริกไปถึงนครภัททิย ในแคว้นอังคะนั้น.

สมัยนั้น เมณฑกคฤหบดี เป็นหัวหน้าของเหล่าผู้มีบุญมาก ๕ คน ครองตำแหน่งเศรษฐี. เหล่าผู้มีบุญมาก ๕ คน คือ 1.เมณฑกเศรษฐี 2.ภริยาหลวงของเศรษฐีชื่อจันทปทุมา 3.บุตรชายคนโตของเศรษฐี ชื่อธนัญชัย 4. ภริยาของธนัญชัยนั้น ชื่อสุมนเทวี  5.ทาสของเมณฑกเศรษฐี ชื่อปุณณะ มิใช่แต่เมณฑกเศรษฐีอย่างเดียวดอก ถึงในราชอาณาจักรของพระเจ้าพิมพิสาร(ปกครองแคว้นมคธและแคว้นอังคะ) ก็มีบุคคลผู้มีโภคสมบัตินับไม่ถ้วนถึง ๕ คน คือ โชติยะ ชฏิละ เมณฑกะ ปุณณะ และกากพลิยะ

บรรดาคนทั้ง ๕ นั้น เมณฑกเศรษฐีนี้ ทราบว่าพระทศพลเสด็จมาถึงนครของตน จึงเรียกเด็กหญิงวิสาขา ซึ่งขณะนั้นนางมีอายุได้ ๗ ขวบ หลานสาว มาแล้วสั่งอย่างนี้ว่า แม่หนู เป็นมงคลทั้งเจ้า ทั้งปู่ เจ้าจงพาเกวียน ๕๐๐ เล่ม พร้อมด้วยเด็กหญิง ๕๐๐ คน บริวารของเจ้ามีทาสี ๕๐๐ นาง เป็นบริวาร จงทำการรับเสด็จพระทศพล. นางฟังคำของปู่ ก็ปฏิบัติตาม แต่เพราะนางเป็นผู้ฉลาดในเหตุและมิใช่เหตุ นางก็ไปด้วยยานเท่าที่พื้นที่ยานจะไปได้แล้ว ก็ลงจากยานเดินไปเข้าเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้วยืน ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง

ครั้งนั้น พระศาสดาทรงแสดงธรรมโปรดด้วยอำนาจจริยาของนาง จบเทศนา นางก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล พร้อมกับเด็กหญิง ๕๐๐ คน แม้เมณฑกเศรษฐี ก็เข้าไปเฝ้าถวายบังคมพระศาสดาแล้วนั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง พระศาสดาทรงแสดงธรรมโปรด ด้วยอำนาจจริยาของเศรษฐีนั้น จบเทศนา เมณฑกเศรษฐีก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล อาราธนาพระศาสดา เพื่อเสวยในวันพรุ่ง. วันรุ่งขึ้นก็เลี้ยงดูพระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยอาหารอย่างประณีตในนิเวศน์ของตน ได้ถวายมหาทานโดยอุบายนั้น ครึ่งเดือน. พระศาสดาประทับอยู่ ณ ภัททิยนคร ตามพุทธอัธยาศัยแล้วก็เสด็จหลีกไป.

นางวิสาขาย้ายครอบครัว จากนครภัททิยแคว้นอังคะ ไปสร้างเมืองสาเกตในแคว้นโกศลดังนี้ เนื่องจากพระเจ้าปเสนทิโกศลเจ้าครองแคว้นโกศลและแคว้นกาสี กับพระเจ้าพิมพิสารเจ้าครองแคว้นมคธและอังคะ ต่างก็เป็นพระภัสดา(สามี)ของพระภคินี(น้องสาว)ของกันและกัน และในกรุงสาวัตถีของพระเจ้าปเสนทิโกศลนั้นหาได้มีเศรษฐีใหญ่ เหมือนดังพระเจ้าพิมพิสาร เพราะพระเจ้าพิมพิสารมีเศรษฐีใหญ่ถึง 5 คน พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงได้ไปขอเศรษฐีเพียง 1 คนเพื่อให้มาอยู่ในกรุงสาวัตถี แคว้นโกศล พระเจ้าพิมพิสารจึงให้ ธนญชัยเศรษฐี ไป ซึ่งธนญชัยเศรษฐีเป็นบิดาของนางวิสาขา ดังนั้นธนญชัยเศรษฐีจึงยกครอบครัวและเหล่าบริวารขาทาสพร้อมทรัพสินต่างๆ ไปยังกรุงสาวัตถี แต่เมื่อใกล้ถึงเมืองสาวัตถีอีกประมาณ 7 โยชน์ (112 กม.) ธนญชัยเศรษฐีเห็นว่า กองบริวารของตนเองเป็นกองใหญ่มากๆ การที่จะเข้าไปอยู่ในเมืองสาวัตถีจะทำการขยับขยายไม่สะดวก จึงขอตั้งเมืองอยู่ตรงนั้น ซึ่งเรียกว่า เมืองสาเกต

เมื่อนางวิสาขาอายุประมาณ 13 -14 ปี ก็ได้แต่งงานกับ ปุณณวัฒกุมารบุตรของมิคารเศรษฐี ซึ่งอยู่ในกรุงสาวัตถี และนางวิสาขาต้องย้ายไปอยู่ในเรือนสามีในกรุงสาวัตถี ตามประเพณีของอินเดียในสมัยนั้น ในภายหลังนางวิสาขาสามารถทำให้ สามี พ่อสามี แม่สามีและบริวารต่างๆ ของเหล่าสามี มาศรัทธาในพระพุทธศาสนา จนได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน และนางวิสาขาก็ได้ถวายทานอย่างมากมายแก่พระพุทธศาสนา ได้สร้างวัดบุพพาราม และนางวิสาขาก็ได้เป็นมหาสาวกฝ่ายอุบาสิกาที่ให้ทานเป็นเลิศ

พระนางปชาบดีโคตมีทูลขอบวช (คัดตัดต่อจากสารานุกรม)

ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดี เกิดว้าเหว่พระหฤทัยจะทรงผนวช. แต่นั้น นางปาทปริจาริกาของพระกุมาร ๕๐๐ พระองค์ ผู้ซึ่งเสด็จออกทรงผนวชเมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าสงบเรื่องทะเลาะกันในการชิ่งมงกุฏ ทุกคนต่างก็มีจิตเป็นอันเดียวกันว่าพวกเราจักเข้าไปเฝ้าพระนางมหาปชาบดีแล้วบวชในสำนักพระศาสดาหมดทุกคน จึงให้พระนางมหาปชาบดีเป็นหัวหน้า ประสงค์จะไปเฝ้าพระศาสดา.

โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์ ในสักกะชนบท ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ขอประทานวโรกาส พระพุทธเจ้าข้า ขอสตรีพึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว

พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า อย่าเลย โคตมี เธออย่าชอบใจ การที่สตรี ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วเลย แม้ครั้งที่สอง ... แม้ครั้งที่สาม พระนางมหาปชาบดีโคตมี ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ขอประทานวโรกาส พระพุทธเจ้าข้า ขอสตรีพึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า อย่าเลย โคตมี เธออย่าชอบใจ การที่สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคต ประกาศแล้วเลย

ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงน้อยพระทัยว่า พระผู้มีพระภาค ไม่ทรงอนุญาตให้สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว มีทุกข์ เสียพระทัย มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ทรงกันแสง พลางถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณเสด็จกลับไป ฯ

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกรุงกบิลพัสดุ์ ตาม พระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จหลีกจาริกทางพระนครเวสาลี เสด็จจาริกโดยลำดับ ถึงพระนครเวสาลี ข่าวว่า พระองค์ประทับอยู่ที่กูฏาคารสาลาป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลีนั้น ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีให้ปลงพระเกสา ทรงพระภูษาย้อมฝาด พร้อมด้วยนางสากิยานีมากด้วยกัน เสด็จหลีกไปทางพระนครเวสาลี เสด็จถึงเมืองเวสาลี กูฏาคารสาลาป่ามหาวัน. โดยลำดับ

เวลานั้นพระนางมีพระบาททั้งสองพองมีพระวรกายเกลือกกลั้วด้วยธุลี มีทุกข์ เสียพระทัย มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ได้ประทับยืนกันแสงอยู่ที่ซุ้มพระทวารภายนอก ท่านพระอานนท์ได้เห็นพระนางมหาปชาบดีโคตมี มีพระบาททั้งสองพอง มีพระวรกายเกลือกกลั้วด้วยธุลี มีทุกข์ เสียพระทัย มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ประทับยืนกันแสงอยู่ที่ซุ้ม พระทวารภายนอก ครั้นแล้วได้ถามว่า ดูกรโคตมี เพราะเหตุไร พระนางจึงมีพระบาททั้งสองพองมีพระวรกายเกลือกกลั้ว ด้วยธุลีมีทุกข์ เสียพระทัย มีพระพักตร์ชุ่มด้วยน้ำพระเนตร ประทับยืนกันแสงอยู่ที่ซุ้มพระทวารภายนอก

พระนางตอบว่า พระอานนท์เจ้าข้า เพราะพระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาต ให้สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ฯ พระอานนท์กล่าวว่า ดูกรโคตมี ถ้าเช่นนั้น พระนางจงรออยู่ที่นี่แหละ สักครู่หนึ่ง จนกว่าอาตมาจะทูลขอพระผู้มีพระภาคให้สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่ พระตถาคตประกาศแล้ว ฯ

ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระนางมหาปชาบดีโคตมีนั้น มีพระบาททั้งสองพอง มีพระวรกายเกลือกกลั้วด้วยธุลี มีทุกข์ เสียพระทัย มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ประทับยืนกันแสงอยู่ที่ซุ้ม พระทวารภายนอก ด้วยน้อยพระทัยว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตให้สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัย ที่พระตถาคตประกาศแล้ว ขอประทานวโรกาส ขอสตรีพึงได้การ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า อย่าเลย อานนท์ เธออย่าชอบใจ การที่สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วเลย แม้ครั้งที่สอง ท่านพระอานนท์ได้กราบทูล... แม้ครั้งที่สาม ท่านพระอานนท์ได้กราบทูล... พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า อย่าเลย อานนท์ เธออย่าชอบใจการที่สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วเลย ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์คิดว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตให้สตรี ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ไฉนหนอ เราพึงทูลขอพระผู้มีพระภาคให้สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว โดยปริยายสัก อย่างหนึ่ง จึงทูลถามว่า

พระพุทธเจ้าข้า สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ควรหรือไม่เพื่อทำให้แจ้งแม้ซึ่งโสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล

. ดูกรอานนท์ สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ควรเพื่อทำให้แจ้งแม้ซึ่งโสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล

. พระพุทธเจ้าข้า ถ้าสตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ควรเพื่อทำให้แจ้งแม้ซึ่งโสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผลได้ พระพุทธเจ้าข้า พระนางมหาปชาบดีโคตมีพระมาตุจฉา ของพระผู้มีพระภาค ทรงมีอุปการะมาก ทรงประคับประคองเลี้ยงดู ทรงถวายขีรธารา เมื่อพระชนม์นีสวรรคต ได้ให้พระผู้มีพระภาคเสวยขีรธารา ขอประทานวโรกาส ขอสตรีพึงได้การออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัย ที่พระตถาคตประกาศแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ

ครุธรรม ๘ ประการ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรอานนท์ ถ้าพระนางมหาปชาบดี โคตมี ยอมรับครุธรรม ๘ ประการ ข้อนั้นแหละ จงเป็นอุปสัมปทาของพระนางคือ:

. ภิกษุณีอุปสมบทแล้ว ๑๐๐ ปี ต้องกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่ภิกษุที่อุปสมบทในวันนั้น ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพนับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต

. ภิกษุณีไม่พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ ธรรมแม้นี้ ภิกษุณี ต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต

. ภิกษุณีต้องหวังธรรม ๒ ประการ คือ ถามวันอุโบสถ ๑ เข้าไปฟังคำสั่งสอน ๑ จากภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต

. ภิกษุณีอยู่จำพรรษาแล้ว ต้องปวารณาในสงฆ์สองฝ่าย โดยสถานทั้ง ๓ คือ โดยได้เห็น โดยได้ยิน หรือโดยรังเกียจ ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิด ตลอดชีวิต

. ภิกษุณีต้องธรรมที่หนักแล้ว ต้องประพฤติปักขมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต

. ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสัมปทาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย เพื่อสิกขมานาผู้มีสิกขา อันศึกษาแล้วในธรรม ๖ ประการครบ ๒ ปีแล้ว ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะเคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิด ตลอดชีวิต

. ภิกษุณีไม่พึงด่า บริภาษภิกษุ โดยปริยายอย่างใดอย่างหนึ่ง ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต

. ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ปิดทางไม่ให้ภิกษุณีทั้งหลายสอนภิกษุ เปิดทางให้ภิกษุทั้งหลายสอนภิกษุณี ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือบูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต

ดูกรอานนท์ ก็ถ้าพระนางมหาปชาบดีโคตมี ยอมรับครุธรรม ๘ ประการนี้ ข้อนั้นแหละจงเป็นอุปสัมปทาของพระนาง ฯ ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เรียนครุธรรม ๘ ประการ ในสำนัก พระผู้มีพระภาค แล้วเข้าไปหาพระนางมหาปชาบดีโคตมีชี้แจงว่า พระนางโคตมีถ้าพระนางยอมรับครุธรรม ๘ ประการ ข้อนั้นแหละจักเป็นอุปสัมปทาของพระนาง พระนางมหาปชาบดีโคตมีกล่าวว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ดิฉันยอมรับครุธรรม ๘ ประการนี้ ไม่ละเมิดตลอดชีวิต เปรียบเหมือนหญิงสาว หรือชายหนุ่ม ที่ชอบแต่งกาย อาบน้ำสระเกล้าแล้ว ได้พวงอุบล พวงมะลิ หรือพวงลำดวนแล้ว พึงประคองรับด้วยมือทั้งสอง ตั้งไว้เหนือเศียรเกล้าฉะนั้น ฯ

พรหมจรรย์ไม่ตั้งอยู่นาน ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระนางมหาปชาบดีโคตมี ยอมรับครุธรรม ๘ ประการแล้ว พระมาตุจฉาของพระผู้มีพระภาค อุปสมบทแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ก็ถ้าสตรีจักไม่ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว พรหมจรรย์จักตั้งอยู่ได้นาน สัทธรรมจะพึงตั้งอยู่ได้ตลอดพันปี ก็เพราะสตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว บัดนี้ พรหมจรรย์จักไม่ตั้งอยู่ได้นาน สัทธรรมจักตั้งอยู่ได้เพียง ๕๐๐ ปีเท่านั้น ดูกรอานนท์ สตรีได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยใด ธรรมวินัยนั้นเป็นพรหมจรรย์ไม่ตั้งอยู่ได้นาน เปรียบเหมือนตระกูลเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่มีหญิงมาก มีชายน้อย ตระกูลเหล่านั้นถูกพวกโจรผู้ลักทรัพย์กำจัดได้ง่าย อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนหนอนขยอกที่ลงในนาข้าวสาลีที่สมบูรณ์ นาข้าวสาลีนั้นไม่ตั้งอยู่ได้นาน อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนเพลี้ยที่ลงในไร่อ้อยที่สมบูรณ์ ไร่อ้อยนั้นไม่ตั้งอยู่ได้นาน ดูกรอานนท์ บุรุษกั้น ทำนบแห่งสระใหญ่ไว้ก่อน เพื่อไม่ให้น้ำไหลไป แม้ฉันใด เราบัญญัติครุธรรม ๘ ประการแก่ภิกษุณี เพื่อไม่ให้ภิกษุณีละเมิดตลอดชีวิต ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ ก็พระนางมหาปชาบดีครั้นทรงอุปสมบทอย่างนี้แล้ว เข้าเฝ้าพระศาสดาถวายบังคมแล้ว ประทับ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง เวลานั้นพระศาสดาทรงแสดงธรรมโปรดพระนาง พระนางรับ กรรมฐานในสำนักพระศาสดาพระองค์เดียวก็บรรลุพระอรหัต. ต่อมาภายหลังภิกษุณี 500 รูปที่เหลือก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด

กล่าวถึงพระนางยโสธรา(พิมพา)อันเป็นอดีตชายาของเจ้าชายสิทธถะ เมื่อทรงเห็นพระนางมหาปชาบดีบวชเป็นภิกษุณี ตัวพระนางพิมพาเองพร้อมทั้งเหล่าบริวาร 1100 คน ก็ติดตามไปบวชเป็นภิกษุณี กับพระนางมหาปชาบดี พระนางยโสธรา(พิมพา)ได้ชื่อใหม่เมื่อบวชว่า พระภัททากัจจานาเถรี ซึ่งขณะที่บวชนั้นอายุ 40 พรรษา บวชอยู่เป็นเวลา 15 วันก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ และเป็นเอตทัคคผู้ได้บรรลุอภิญญาใหญ่ ส่วนภิกษุณีอีก 1100 รูปก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด และเมื่อถึงอายุ 78 ปี ก็นิพพานก่อนพระพุทธเจ้า 2 ปี รวมเวลาอยู่ในเพศภิกษุณี 38 ปี

เป็นอันว่า พระพุทธองค์ประทับเข้าพรรษาที่ 5 ที่กรุงเวสาลี แคว้นวัชชี ประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน แคว้นทั้ง 3 คือ แคว้นวัชชี(กรุงเวสาลี) แคว้นมัลละ(กรุงกุสินาราและปาวา) แคว้นสักกะ(กรุงกบิลพัสดุ์) เป็นแคว้นเล็กอยู่ใกล้กัน และอยู่ไปทางเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือของแคว้นมคธ(กรุงราชคฤห์)

เหตุการณ์ประมาณปีที่ 6

พรรษาที่ ๖ ประทับอยู่ ณ มกุลบรรพต (ยังหาข้อมูลเชือมต่อไม่พบจึงขอข้ามไปก่อน)

เหตุการณ์ประมาณปีที่ 7

พระปิณโฑลภารทวาชะ แสดงฤทธิ์เอาบาตรบนยอดไม้ไผ่ เรื่องมีดังนี้ เศรษฐีชาวราชคฤห์ ได้ปุ่มไม้จันทร์แดง แล้วมากลึงเป็นบาตร จึงคิดที่จะถวายบาตรกับพระอรหันต์ จึงออกอุบายเอาบาตรไม่จันทร์แดงนั้นไปแขวนไว้บนไม้ไผ่ ซึ่งต่อยาวถึง 60 ศอก หรือ 30 เมตร แล้วประกาศให้ชาวเมืองและนักบวชต่างๆ ให้ทราบกันทั่วทั้งกรุงราชคฤห์ ว่าขอถวายบาตรที่แขวนอยู่บนยอดไผ่แก่พระอรหันต์

บรรดาครูทั้ง 6 (เจ้าลัทธินอกพุทธศาสนา) ก็มีความต้องการบาตรนั้น จึงกล่าวขอบาตรนั้นจากท่านเศรษฐี ท่านเศรษฐีก็กล่าวว่าถ้าต้องการได้บาตรก็ให้เหาะขึ้นไปเอาเอง ฝ่ายนิครนถ์นาฏบุตร ออกอุบายให้ลูกศิษย์ ไปขอบาตรจากท่านเศรษฐีโดยให้พูดกับท่านเศรษฐีว่า บาตรนั้นสมควรแก่นิครนถ์นาฏบุตร ท่านเศรษฐี ควรถวายให้กับนิครนถ์นาฏบุตร อย่าท่านนิครนถ์นาฏบุตรแสดงฤทธิ์อันเล็กน้อยเลย แต่เศรษฐีตอบว่า ถ้าประสงค์ก็จงเหาะขึ้นไปเอาเอง ฝ่ายนิครนถ์นาฏบุตรกลัวเสียหน้า จึงออกอุบายให้ลูกศิษย์ว่า นิครนถ์นาฏบุตรทำทีจะเหาะขึ้นไปเอาบาตร และให้ลูกศิษย์จับเอาไว้ และให้กล่าวว่า เรื่องอะไร ที่จะแสดงฤทธิ์อันเล็กน้อยเพื่อบาตรนั้น จึงทำตามที่ออกอุบายไว้สุดท้ายก็ขอบาตรเอาดื้อๆ แต่เศรษฐีก็ยังบอกว่าถ้าจะเอาให้เหาะขึ้นไปเอาเอง นิครนถ์นาฏบุตรก็จากไป

เป็นเวลาถึง 7 วันแล้ว ก็ไม่มีใครขึ้นไปเอาบาตรนั้นได้ ชาวเมืองที่ยังเป็นปุถุชนทั้งหลาย ต่างก็เข้าใจว่าไม่มีพระอรหันต์ จึงพูดต่อๆ กันไป ในครั้งนั้นพระโมคคัลลานะและพระปิณโฑลภารทวาชะ ประสงค์เข้าไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ เมื่อเข้าไปในกรุงราชคฤห์ก็ได้ยินชาวบ้านพูดว่า ครูทั้ง 6 (เจ้าลัทธิทั้ง 6)อ้างตนเองว่าเป็นพระอรหันต์ แต่ก็ไม่มีความสามารถเอาบาตรที่ท่านเศรษฐถวายแก่พระอรหันต์ที่แขวนอยู่บนยอดไผ่ได้ พระปิณโฑลภารทวาชะ จึงกล่าวว่า ท่านโมคคัลลานะ ท่านจึงไปเอาบาตรนั้นเถิด ท่านโมคคัลลานะไม่ไปเอา พระปิณโฑลภารทวาชะ จึงเหาะไปเอาบาตรนั้นเอง ท่านเศรษฐีจึงถวายภัตตาหาร แก่พระโมคคัลลานะและพระปิณโฑลภารทวาชะ

หลังจากนั้นชาวเมืองต่างก็ติดตามพระปิณโฑลภารทวาชะเป็นกระบวนใหญ่ เพื่อให้ท่านแสดงฤทธิ์ให้ดูอีก พระปิณโฑลภารทวาชะด้วยความที่มีใจอนุเคราะห์จึงแสดงให้ดูเล็กๆ น้อยๆ ไปพลาง และชาวเมืองติดตามพระปิณโฑลภารทวาชะ จนถึงวิหารที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ เมื่อประชาชนหมู่มากติดตามมาย่อมส่งเสียงดัง เรื่องจึงทราบถึงพระพุทธเจ้า พระองค์จึงทรงห้ามไม่ให้พระภิกษุแสดงฤทธิ์(อวด)แก่ประชาชน

ตั้งแต่นั้นมา ฝ่ายพวกลัทธิทั้ง 6 เมื่อทราบว่าพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติศีลห้ามภิกษุแสดงฤทธิ์ และก็ทราบว่าเมื่อพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติศีลข้อใดแล้ว แม้แต่พระพุทธเจ้าเองก็ปฏิบัติตามที่พระองค์บัญญัติศีลนั้น ดังนั้นบรรดาพวกลัทธินอกพุทธศาสนา จึงหวังเรียกศรัทธาคืนจากชาวบ้านชาวเมืองจึงกล่าวว่า เราก็มีฤทธิ์สามารถแสดงฤทธิ์ท้าพระพุทธเจ้า ประกาศออกไปทั่ว จนพระเจ้าพิมพิสารก็ได้ยิน พระเจ้าพิมพิสารจึงเสด็จเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วทูลว่า

พระพุทธองค์ทรงบัญญัติศีลไม่ให้ภิกษุแสดงฤทธิ์แก่ประชาชน แล้วพวกนอกลัทธิกล่าวท้ากับพระพุทธองค์เพื่อแสดงฤทธิ์ ต่อประชาชนทั่วไป พระพุทธองค์จะทำอย่างไร?

พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า พระองค์ก็จะแสดงฤทธิ์ให้ปรากฏแก่ประชาชน

พระเจ้าพิมพิสารจึงทูลว่า ก็ในเมื่อพระพุทธองค์ทรงบัญญัติศีลไว้แล้ว การแสดงฤทธิ์ของพระองค์จะไม่ขัดกับที่พระองค์ทรงบัญญัติหรือ?

พระพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์ทรงบัญญัติไม่ให้ภิกษุแสดงฤทธิ์แก่ที่ชุมชนก็เพื่อประโยชน์แก่บรรดาพระภิกษุต่างๆ ในการอยู่อย่างปกติ แต่หาได้บัญญัติเพื่อพระองค์ไม่

พระเจ้าพิมพิสารทูลว่า ปัจจุบันนี้พวกนอกลัทธิกล่าวท้าพระพุทธองค์แสดงฤทธิ์

พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า พระองค์จะแสดงฤทธิ์ให้ปรากฏที่เมืองสาวัตถีในแคว้นโกศลในอีก 4 เดือนข้างหน้า

หลังจากนั้นข่าวการที่พระพุทธเจ้าจะทรงแสดงฤทธิ์ที่กรุงสาวัตถีแคว้นโกศลในอีก 4 เดือนข้างหน้าแผ่กระจายไปทุกแคว้นแบบปากต่อปาก ฝ่ายพวกเดียรถีย์(ลัทธินอกพระพุทธศาสนา ก็ประกาศว่าเราก็จะแสดงฤทธิ์เหมือนกัน ต่อจากนั้นพระพุทธเจ้าทรงดำเนินพุทธกิจตามปกติ และเมื่อใกล้ครบ 4 เดือนพระพุทธเจ้าก็ทรงเสด็จไปยังกรุงสาวัตถี โดยมีประชาชนจากแคว้นต่างๆ ได้ไปรอดูการแสดงฤทธิ์ของพระพุทธเจ้าอย่างเนืองแน่นกินอาณาบริเวณถึง 36 โยชน์(ตามอรรถกถา)

ฤทธิ์ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงอย่างแรกคือ พระพุทธองค์ทรงเอาเมล็ดมะม่วงที่พระองค์ทรงเสวยเสร็จแล้วเอาไปปลูก ก็เจริญเติบโตขึ้นทันทีเป็นต้นใหญ่โตและออกดอกออกผลสุก เอามาทานได้ทันที

ฤทธิ์ต่อไปพระองค์ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ แล้วทรงแสดงธรรมแก่มนุษย์และเหล่าเทวดา ต่างก็บรรลุเป็นพระอริยะกันมากมาย

หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าทรงดำหริถึงพุทธกิจ หลังจากแสดงยมกปาฏิหาริย์ ทรงเห็นว่าควรเสด็จไปโปรดพุทธมารดายังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พระองค์ทรงเทศนาสั่งสอนเหล่าเทพเทวดาพรหมด้วยพระอภิธรรม เป็นเวลา 3 เดือน ทำให้เหล่าเทพเทวดาพรหมบรรลุเป็นพระอริยะมากมายร่วมทั้งพุทธมารดาก็ได้บรรลุเป็นโสดาบัน

เป็นอันว่า พรรษาที่ ๗ ประทับอยู่ ( ณ ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ) บนสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ และเมื่อพระพุทธเจ้าทรงเสร็จจากการแสดงธรรมให้เหล่าเทพเทวดาและพรหมแล้ว ทรงเสด็จลงจากชั้นดาวดึงส์ ที่เมืองสังกัสสะอยู่ในแคว้นปัจจาบ ซึ่งประชาชนต่างๆ มารอดูอย่างมากมายสุดลูกหูลูกตา เพราะข่าวการที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ที่เมืองสังกัสสะนั้นมีการบอกปากต่อปาก มีเวลาเป็นเดือนแล้ว เมื่อเสด็จลงมาพระพุทธเจ้าก็ทรงเผยแผ่พระสัทธรรมที่แคว้นปัจจาบนั้นเพิ่มขึ้นมาอีก 1 แคว้น

ข้อสังเกต ถ้าไม่ต้องมองเรื่องอิทธิฤทธิ์ต่างๆ วิเคราะห์ได้ว่า ในปีที่ 1 ถึง 6 หลังจากการตรัสรู้ พุทธเจ้าทรงทำให้พระศาสนาตั้งมั่นในแคว้นต่างๆ เหล่านี้ คือ แคว้นอังคะ แคว้นมคธ แคว้นกาสี แคว้นสักกะ แคว้นวัชชี และแคว้นมัลละ แคว้นวังสะ โดยมีแคว้นมคธ(กรุงราชคฤห์)เป็นศูนย์กลาง พอขึ้นปีที่ 7 พระพุทธเจ้าก็ทรงเคลื่อนกองทัพธรรมไปทางทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือ เริ่มจากแคว้นโกศล(กรุงสาวัตถี) เพราะที่นั้นมีท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีเป็นหลัก ให้ความอนุเคราะห์แก่ภิกษุทั้งหลาย และในปีที่ 7 นี้พระพุทธเจ้าเผยแผ่พระสัทธรรมถึงแคว้นปัจจาบ ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของแคว้นโกศลไปอีก

เหตุการณ์ประมาณปีที่ 8

กล่าวถึงพระยามารหาโอกาสจองทำร้ายพระพุทธเจ้าตลอดเวลา 7 ปีแล้วก็ยังไม่มีโอกาส ดั่งยกมาจากพระไตรปิฏก เล่มที่ 15 สัตตวัสสสูตรที่ ๔ ว่าด้วยหาช่องทางทำลายพระพุทธเจ้าสิ้น ๗ ปี

[๔๙๖]ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับที่ต้นอชปาลนิโครธ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ณ ตำบลอุรุเวลา ฯ ก็สมัยนั้นแล มารผู้มีบาปติดตามพระผู้มีพระภาค คอยมุ่งหาช่องโอกาส สิ้น ๗ ปี ก็ยังไม่ได้ช่อง ฯ

[๔๙๗] ภายหลังมารผู้มีบาป จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้ทูล ถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่าท่านถูกความโศกทับถมหรือ จึงได้มาซบเซาอยู่ในป่าอย่างนี้ ท่านเสื่อมจากทรัพย์เครื่องปลื้มใจแล้วหรือ หรือว่ากำลังปรารถนาอยู่ ท่านได้ทำ ความชั่วอะไรๆ ไว้ในบ้านหรือ เหตุไรท่านจึงไม่ทำมิตรภาพกับชน ทั้งปวงเล่า หรือว่าท่านทำมิตรภาพกับใครๆ ไม่สำเร็จ ฯ

[๔๙๘] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรมารผู้เป็นเผ่าของบุคคลผู้ประมาทแล้ว เราขุดรากของความเศร้าโศกทั้งหมดแล้ว ไม่มีความชั่ว ไม่เศร้าโศก เพ่งอยู่ เราชนะความติดแน่น กล่าวคือความโลภในภพทั้งหมดเป็นผู้ไม่มีอาสวะ เพ่งอยู่ ฯ

[๔๙๙] มารทูลว่า ถ้าใจของท่านยังข้องอยู่ในสิ่งที่ชนทั้งหลาย กล่าวว่าสิ่งนี้เป็นของเราแลว่าสิ่งนี้เป็นเราแล้ว สมณะ ท่านจักไม่พ้นเราไปได้ ฯ

[๕๐๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สิ่งที่ชนทั้งหลายกล่าวว่าเป็นของเรานั้น ย่อมไม่เป็นของเรา และสิ่งที่ชนทั้งหลายกล่าวว่า เป็นเรา ก็ไม่เป็นเราเหมือนกัน แนะ มารผู้มีบาป ท่านจงทราบอย่างนี้เถิด แม้ท่านก็จักไม่เห็นทางของเรา ฯ

[๕๐๑] มารทูลว่า ถ้าท่านรู้จักทางอันปลอดภัย เป็นที่ไปสู่อมตมหานิพพาน ก็จงหลีกไปแต่คนเดียวเถิด จะพร่ำสอนคนอื่นทำไมเล่า ฯ

[๕๐๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ชนเหล่าใดมุ่งไปสู่ฝั่ง ย่อมถึงพระนิพพาน อันมิใช่โอกาสของมารเราถูกชนเหล่านั้นถามแล้ว จักบอกว่า สิ่งใดเป็นความจริง สิ่งนั้นหาอุปธิกิเลสมิได้ ฯ

[๕๐๓] มารทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหมือนอย่างว่ามีสระโบกขรณี ในที่ไม่ไกลแห่งบ้านหรือนิคม ในสระนั้นมีปูอยู่ ครั้งนั้น พวกเด็กชายหรือพวก เด็กหญิงเป็นอันมาก ออกจากบ้านหรือนิคมนั้นแล้วเข้าไปถึงที่สระโบกขรณีนั่นตั้งอยู่ ครั้นแล้วจึงจับปูนั้นขึ้นจากน้ำให้อยู่บนบก พระเจ้าข้า ก็ปูนั้นยังก้ามทุกๆ ก้ามให้ยื่นออก พวกเด็กชายหรือเด็กหญิงเหล่านั้น พึงริดพึงหักพึงทำลายก้ามนั้น เสียทุกๆ ก้ามด้วยไม้หรือก้อนหิน พระเจ้าข้า ก็เมื่อเป็นอย่างนั้น ปูนั้นมีก้ามถูกริด ถูกหัก ถูกทำลายเสียหมดแล้ว ย่อมไม่อาจก้าวลงไปสู่สระโบกขรณีนั้น อีกเหมือนแต่ก่อน ฉันใด อารมณ์แม้ทุกชนิดอันเป็นวิสัยของมาร อันให้สัตว์ เสพผิด ทำให้สัตว์ดิ้นรนอารมณ์นั้นทั้งหมด อันพระผู้มีพระภาคตัดรอน หักรานย่ำยีเสียหมดแล้ว บัดนี้ ข้าพระองค์ผู้คอยหาโอกาส ย่อมไม่อาจเข้าไปใกล้ พระผู้มีพระภาคได้อีก ฉันนั้น ฯ

[๕๐๔] ครั้นแล้ว มารผู้มีบาปได้ภาษิตคาถาอันเป็นที่ตั้งแห่งความเบื่อหน่ายเหล่านี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า ฝูงกาเห็นก้อนหินมีสีดุจมันข้น จึงบินเข้าไปใกล้ด้วยเข้าใจว่า เราทั้งหลาย พึงประสบอาหารในที่นี้เป็นแน่ ความยินดีพึงมีโดยแท้ ฯ เมื่อพยายามอยู่ไม่ได้อาหารสมประสงค์ในที่นั้น จึงบินหลีกไป ฯ ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ก็เหมือนกามาพบศิลา ฉะนั้นขอหลีกไป ฯ ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปครั้นกล่าวคาถาอันเป็นที่ตั้งแห่งความเบื่อหน่าย เหล่านี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงหลีกจากที่นั้น ไปนั่งขัดสมาธิที่พื้นดิน ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค เป็นผู้นิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมด ปฏิภาณ เอาไม้ขีดแผ่นดินอยู่ ฯ

ต่อมาพระพุทธเจ้าทรงไปแสดงพระสัทธรรม ที่แคว้นภัคคะ กรุงสุงสุมารคิร ณ เภสกฬาวัน และทรงบัญญัติสิกขา(ศีล) ห้ามภิกษุก่อไฟ เพื่อผิงไฟ ดังยกมา

[๖๐๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เภสกลามฤคทายวัน เขต เมืองสุงสุมารคิระ ในภัคคชนบท สมัยนั้น ถึงเดือนฤดูหนาว(ดังนั้นพระพุทธเจ้าจำพรรษาอยู่ที่นี้) ภิกษุทั้งหลายได้ก่อไฟที่ขอนไม้มีโพรงใหญ่ท่อนหนึ่งแล้วผิง ก็งูเห่าในโพรงไม้ท่อนใหญ่นั้นถูกไฟร้อนเข้า ได้เลื้อยออกไล่พวกภิกษุๆ ได้วิ่งหนีไปในที่นั้นๆ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่าไฉน ภิกษุทั้งหลาย จึงได้ก่อไฟผิงเล่า? แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ... ทรงสอบถาม พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกภิกษุก่อไฟผิง จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า. ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้ก่อไฟผิงเล่า? การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ ๑๐๕. . อนึ่ง ภิกษุใด มุ่งการผิง ติดก็ดี ให้ติดก็ดี ซึ่งไฟ เป็นปาจิตตีย์. แต่ต่อมาภายหลังพระองค์ทรงอนุญาติบัญญัติสิกขาให้พระภิกษุอาพาธผิงไฟได้

แคว้นภัคคะเป็นแคว้นเล็กมาก ชึ่งเรียกว่า ภัคคะชนบท อยู่ใกล้แคว้นวัชชี(กรุงเวสาลี) เมื่อดูจากแผ่นที่อินเดีย การเดินทางจาก แคว้นปัจจาบ แคว้นวัชชี แคว้นภัคคะ แคว้นมัลละ แคว้นสักกะ สามารถเดินทางติตต่อกันได้อยู่ทางตอนเหนือ โดยไม่ต้องผ่านแคว้นโกศล หรือแคว้นกาสี และแคว้นมคธ

การเดินทางเพื่อแสดงประสัทธรรมแต่ละปีๆ ของพระพุทธเจ้านั้นถ้านับเป็นกิโลเมตรก็หลายพันกิโลเมตรแน่นอน และในปีที่ 8 นี้ พระองค์ก็ทรงเผยแผ่พระสัทธรรม ในแคว้นวัชชี แคว้นภัคคะ แคว้นมัลละ และแคว้นสักกะ แล้วลงมาทางแค้วนอังคะ แคว้นมคธ แคว้นกาสี และอาจแวะเข้าแคว้นโกศล แล้วมุ่งตรงลงมาทางตะวันตกเฉียงไต้เข้าสู่แคว้นวังสะ ซึ่งมีกรุงโกสัมพีเป็นเมืองหลวง อันมีพระเจ้าอุเทนเป็นราชาปกครองแคว้นวังสะในสมัยนั้น

เหตุการณ์ประมาณปีที่ 9

ในแคว้นวังสะกรุงโกสัมพี พระพุทธศาสนาได้ตั้งมั่นอยู่แล้ว ตั้งแต่ในพรรษาที่ 3 – 4  ครั้งเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จไปยังกรุงสาวัตถี ตามคำนิมนตร์ของท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐี แล้วพระพุทธเจ้าก็ได้ไปเผยแผ่พระธรรมยังแคว้นวังสะ ทำให้พระเจ้าอุเทนนั้นศรัทธาในพระพุทธศาสนา และในกรุงโกสัมพี ก็มีวัดโฆสิตาราม และในพรรษาที่ 9 นี้พระพุทธเจ้าประทับเข้าพรรษาที่กรุงโกสัมพี แต่คงไม่ใช่ที่วัดโฆสิตาราม และหลังจากนั้นดำเนินเผยแผ่พระสัทธรรม แคว้นกาสี แคว้นโกศล แล้วกลับมาแคว้นวังสะ

เหตุการณ์ประมาณปีที่ 10

ที่วัดโฆสิตาราม กรุงโกสัมพี แคว้นวังสะ พระสงฆ์เกิดแตกแยกกันเป็นสองฝ่าย ทะเราะกันไม่ย่อมความกันในเรื่องอาบัติเล็กน้อย จึงได้มีภิกษุไปทูลบอกต่อพระพุทธเจ้าให้ทรงทราบ พระพุทธเจ้าก็ทรงไปแก้ปัญหาเรื่องอาบัติเล็กน้อยว่าควรปฏิบัติอย่างไรปัญหาก็จบไป (อ่านได้ในเล่มที่ 5 เรื่อง โกสัมพีขันธกะ) แต่เพราะความบาดหมางกันแม้เรื่องอาบัติเล็กน้อยนั้นจะสงบแล้ว แต่ต่างฝ่ายต่างเพ่งโทษกันและกัน จึงเกิดการทะเราะว่ากล่าวกันด้วยวาจา จนเป็นที่ติเตียนของชาวบ้าน พระรูปหนึ่งจึงได้ไปกราบทูลพระพุทธเจ้าอีก พระพุทธองค์ก็ทรงไปแก้ปัญหาอีก และทรงยกชาดก เรื่อง ทีฆาวุกุมาร ก็สงบไปพักหนึ่ง แต่ภายหลังก็ทะเราะกันอีก พระพุทธเจ้าก็เสด็จไปอีกเพื่อแก้ปัญหา แต่คราวนี้อธรรมวาทีได้กราบทูลกับพระพุทธเจ้าว่า

"ขอพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเจ้าของแห่งธรรมได้โปรดทรงยับยั้งเถิด ขอพระผู้มีพระภาค ได้โปรดทรงมีความขวนขวายน้อย ประกอบสุขวิหารธรรมในปัจจุบันอยู่เถิด พวกข้าพระพุทธเจ้าจักปรากฏด้วยความบาดหมางความทะเลาะ ความแก่งแย่ง การวิวาทนั้น"

แปรความ คือให้พระพุทธเจ้าอยู่ส่วนของพระองค์ ไม่ต้องมายุ่งเกี่ยว เพราะพวกกระผมจะทะเราะกันต่อ

พระพุทธเจ้าทรงดำริว่า โมฆบุรุษเหล่านี้หัวดื้อ พระพุทธองค์ทรงถือบาตรจีวรเสด็จออกจากวัดโฆสิตาราม แต่ผู้เดียว หลังจากบิณฑบาตและเสวยในกรุงโกสัมพีแล้ว พระพุทธองค์ก็ดำเนินไปเพียงพระองค์เดียว ออกจากกรุงโกสัมพี ตรงไปปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจดีย์เพื่อโปรดพระอนุรุทเถระ ซึ่งขณะนั้นพระอนุรุทเถระบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ที่นั้น และในช่วงนั้นพระอนุรุทเถระก็ยังบรรลุเป็นเพียงพระโสดาบันที่มีทิพย์จักษุ พระอนุรุทจึงเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าและทูลถามว่า ทิพย์จักษุของท่านนั้นยังตั้งได้อยู่ไม่นาน พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงธรรมเรื่องอุปกิเลสให้ฟัง หลังจากนั้นพระอนุรุทเถระก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ที่เป็นเอคคทัตคะมีทิพย์จักษุเป็นเลิศ เป็นอันว่าพระอนุรุทบวชอยู่เป็นเวลาถึง 8 ปี จึงจะบรรลุเป็นพระอรหันต์ หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าก็ปลีกออกไปเพียงพระองค์เดียว ไปยังป่าปาลิเลยยกะของแคว้นเจดีย์นั้น พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาอยู่ที่ปาลิเลยยะ

ที่วัดโฆสิตาราม ชาวเมืองเมื่อทราบว่าพระวัดโฆสิตารามทะเราะกัน จนพระพุทธเจ้าเสด็จปลีกวิเวกไปเพียงพระองค์เดียวยังป่าปาลิเลยยะแคว้นเจดีย์ ชาวบ้านจึงต่างก็ไม่ต้อนรับไม่ถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุวัดโฆสิตาราม ทำให้พระภิกษุวัดโฆสิตารามเป็นอยู่ด้วยความลำบากตลอดเข้าพรรษา 3 เดือน ทำให้พระเหล่านั้นระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าแล้วคลายทิฏฐิต่อกันเลิกทะเราะว่ากล่าวต่อกัน พอออกพรรษาก็รีบตามเสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วนิมนตร์พระพุทธองค์ให้เสด็จมายังวัดโฆสิตารามแคว้นวังสะ เมื่อพระพทธเจ้าทรงชำระสะสางปัญหาต่างๆ สมบูรณ์แล้ว พระพุทธเจ้าก็ทรงดำเนินเสด็จเผยแผ่พระสัทธรรมต่อไปตามลำดับ แล้วย้อนกลับไปยังแคว้นมคธ ระยะทางก็เป็นพันกิโลเมตรเลยนะครับ

หมายเหตุ แคว้นเจดีย์นั้นอยู่ทางตอนใต้ของแคว้นวังสะ ต่อจากแคว้นวังสะไปทางทิศตะวันออกก็เป็นแคว้นกาสี ถ้าขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือก็เป็นแค้วนโกศล และต่อไปทางทางตะวันออกของแคว้นกาสี ก็เป็นแคว้นมคธ พุทธกิจของพระพุทธองค์ไม่ใช่น้อยเลยในแต่ละปี และการที่พระพุทธเจ้าทรงย้อนไปย้อนมาในแคว้นต่างๆ นั้นในอรรถกถาชี้แจงไว้ว่า พระพุทธเจ้าจะทรงเสด็จไปโปรดแก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีอุปนิสัยพร้อมที่จะโปรดได้ในแคว้นต่างๆ แต่เวลาหรือกรรมที่เหมาะสมกับอุปนิสัยที่พร้อมจะรับพระธรรมนั้นต่างๆ กัน และอยู่คนละแคว้นคนละทิศคนละทางกัน ดังนั้นการดำเนินเสด็จของพระองค์จึงไม่ปรากฏแน่นอน จะเห็นว่าในเพียงหนึ่งเดือนหรือในหนึ่งปี พระพุทธเจ้าก็ทรงเสด็จไปปรากฏในแคว้นหรือเมืองต่างๆ ได้หลายเมืองแล้ว

เหตุการณ์ประมาณปีที่ 11

พระพุทธเจ้าทรงย้อนกลับมายังแคว้นมคธ แล้วเสด็จไปยัง พราหมณคามชื่อ เอกนาลา คำว่า พราหมณคาม ถ้าแปรตามภาษาไทยก็คือหมู่บ้านของพวกพราหมณ์ แต่หมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านใหญ่จนเป็นเมืองและมีชื่อเรียกว่า เอกนาลา หรือเมืองนาลา ดังยกมาจากพระไตรปิฏก เล่มที่ 15 กสิสูตรที่ ๑

ว่าด้วยการทำนาในทางธรรม

[๖๗๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับอยู่ ณ พราหมณคามชื่อว่าเอกนาลา ในทักขิณาคีรีชนบท แคว้นมคธ ก็ในสมัยนั้น กสิภารทวาชพราหมณ์เทียมไถมีจำนวน ๕๐๐ ในกาล (ฤดู) หว่านข้าว ฯ

[๖๗๒] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังที่ ทำการงานของกสิภารทวาชพราหมณ์ในเวลาเช้า ฯ สมัยนั้นแล กสิภารทวาชพราหมณ์กำลังเลี้ยงอาหาร (มื้อเช้า) ฯ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังที่เลี้ยงอาหาร (ของเขา) ครั้นแล้วประทับยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ กสิภารทวาชพราหมณ์ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับยืนบิณฑบาตอยู่ ครั้นแล้วได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระสมณะ ข้าพเจ้าไถและหว่านครั้นไถและหว่านแล้วย่อมบริโภค ข้าแต่พระสมณะ แม้พระองค์ก็จงไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้ว จงบริโภคเถิด ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรพราหมณ์ แม้เราก็ไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้ว ก็บริโภค ฯ กสิภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า ก็ข้าพเจ้าไม่เห็นแอก ไถ ผาล ประตัก หรือโคทั้งหลายของท่านพระโคดมเลย เมื่อเช่นนี้ท่านพระโคดมยังกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรพราหมณ์ แม้เรา ก็ไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้วก็บริโภค ฯ

[๖๗๓] ครั้งนั้นแล กสิภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า พระองค์ปฏิญาณว่าเป็นชาวนา แต่ข้าพเจ้าไม่เห็นการไถของพระองค์พระองค์ผู้เป็นชาวนา ข้าพเจ้าถามแล้วขอจงตรัสบอก ไฉน ข้าพระองค์จะรู้การทำนาของพระองค์นั้นได้ ฯ [๖๗๔] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่าศรัทธาเป็นพืช ความเพียรเป็นฝน ปัญญาของเราเป็นแอกและไถ หิริเป็นงอนไถ ใจเป็นเชือก สติของเราเป็นผาลและประตัก เรามีกายคุ้มครองแล้ว มีวาจาคุ้มครองแล้ว เป็นผู้สำรวมแล้วในการบริโภคอาหารเราทำการดายหญ้า (คือวาจาสับปรับ) ด้วยคำสัตย์ โสรัจจะของเราเป็นเครื่องให้แล้วเสร็จงาน ความเพียรของเราเป็นเครื่องนำธุระไปให้สมหวังนำไปถึงความเกษมจากโยคะ ไปไม่ถอยหลัง ยังที่ซึ่งบุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก ฯ เราทำนาอย่างนี้ นาที่เราทำนั้นย่อมมีผลเป็นอมตะ บุคคลทำนาอย่างนี้แล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ฯ กสิภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า ท่านพระโคดมผู้เป็นชาวนา ขอจงบริโภคอมฤตผล ที่ท่านพระโคดมไถนั้นเถิด ฯ

[๖๗๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เราไม่พึงบริโภคโภชนะ ซึ่งได้เพราะความขับกล่อม ดูกรพราหมณ์ นี่เป็นธรรมของบุคคล ผู้เห็นอรรถและธรรมอยู่ ท่านผู้รู้ทั้งหลาย ย่อมรังเกียจโภชนะที่ได้เพราะการขับกล่อม ดูกรพราหมณ์ เมื่อธรรมมีอยู่ ความเป็นไป (อาชีวะ) นี้ก็ยังมีอยู่ แต่ท่านจงบำรุง ซึ่งพระขีณาสพทั้งสิ้น ผู้แสวงหาคุณใหญ่ มีความคะนองระงับแล้วด้วยข้าวน้ำอันอื่น ด้วยว่าการบำรุงนั้นเป็นนาบุญของผู้มุ่งบุญ ฯ

[๖๗๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเช่นนี้แล้ว กสิภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดม ภาษิตของพระองค์ แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิดไว้ บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักมองเห็นได้ ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคกับพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะจนตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ (จบที่ยกมาจากพระไตรปิฏก)

หลังจากนั้นไม่นาน ภารทวาชพราหมณ์พร้อมทั้งบริวาร ก็ได้ออกบวชกับพระพุทธเจ้าและปฏิบัติธรรมจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ และในพรรษาที่ 11 นี้ พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษา ณ พราหมณคาม เมืองนาลา และเมื่อออกพรรษาแล้วพระพุทธเจ้าก็ทรงดำเนินพุทธกิจต่อไป

เหตุการณ์ประมาณปีที่ 12

พระพุทธเจ้าก็ได้เสด็จดำเนินพุทธกิจ มาถึงเมืองเวรัญชา ฝ่ายเวรัญชพราหมณ์เมื่อได้ยินว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาเมืองตนจึงได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วกล่าวคำถามตู่ (กล่าวตู่หรือถามตู่ คือพูดหรือถาม ในเชิงเสียหายทั้งที่ยังไม่รู้จริง และทำให้ผู้อื่นมองผู้ถูกพูดถึงหรือผู้ถูกถาม ในทางลบในทางไม่ดี) แต่พระพุทธเจ้าทรงแก้คำกล่าวตู่ได้ทั้งหมด ทำให้เวรัญชพราหมณ์ศรัทธาในพระพุทธเจ้า แล้วแสดงตนเป็นอุบาสก ทูลเชิญพระพุทธเจ้าจำพรรษาในเมืองเวรัญชา และพระพุทธเจ้ารับคำทูลเชิญนั้น

 แต่ในขณะนั้นที่เมืองเวรัญชานั้นข้าวยากหมากแพง ประชาชนอดๆ อยากๆ ตายไปเป็นจำนวนมาก และแล้วเวรัญชพราหมณ์ก็มาลืมคำที่ทูลเชิญพระพุทธเจ้า ได้ไปทำกิจที่เมืองอื่น ภิกษุสงฆ์ทั้ง 500 รูป เมื่อออกบิณฑบาต ชาวบ้านก็ไม่ได้ถวายอาหารเพราะความยากแค้น พอดีพ่อค้าม้าได้ต้อนม้าผ่านเมืองนี้และสร้างคอกม้าในหน้าฝน พระภิกษุจึงได้ไปบิณฑบาตที่คอกม้านั้น พ่อค้าม้านั้นก็ไม่มีอาหารมากพอที่จะถวายพระภิกษุจำนวนมากได้ จึงจำต้องถวายข้าวแล่ง (คือข้าวแดงข้าวลีบผสมแกลบ ที่จัดเตรียมสำรองไว้ให้ม้ากินในช่วงหน้าฝน) กับพระภิกษุ ไม่เช่นนั้นพระภิกษุต้อง อดตายแน่ เมื่อได้ข้าวแล่งแล้วต้องมาโครกและตำเพื่อแยกแกลบ จึงเอามาทานได้ พระพุทธเจ้าและเหล่าภิกษุ 500 รูป ก็อาศัยข้าวแล่งนี้ทั้ง 3 เดือน

เมื่อหมดพรรษาพระอานนท์รีบทูลให้พระพุทธเจ้าเสด็จไปยังเมืองอื่นทันที แต่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า เมื่อพระองค์รับนิมนตร์ประทับจำพรรษากับผู้ใด และเมื่อออกพรรษาเมื่อจะจากไปพระองค์ต้องบอกลาผู้นั้น ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงไปบอกลาเวรัญชพราหมณ์ เวรัญชพราหมณ์ก็นึกขึ้นได้ว่าตนเองได้นิมนตร์พระพุทธเจ้าให้ประทับจำพรรษา และเมื่อทราบว่าพระพุทธเจ้าและพระภิกษุอาศัยข้าวแล่งตลอด 3 เดือนจึงสลดใจอย่างยิ่ง จึงขอนิมนตร์ให้พระพุทธเจ้าและพระภิกษุรับภัตตาหารในบ้านตนในวันรุ้งขึ้น พระพุทธเจ้ารับนิมนตร์

ข้อสังเกต พระพุทธเจ้ามีใจเสมอด้วยเมตตาโดยตลอด แม้ขณะที่เวรัญชพราหมณ์กล่าวตู่ ขณะที่ลำบากเรื่องภัตตาหารตลอด 3 เดือน และขณะทรงรับนิมนตร์จากเวรัญชพราหมณ์อีกครั้ง ถ้าเป็นผู้ที่ยังมีกิเลสเหลืออยู่คงไม่ทำใจให้เสมอเรียบได้ดังนี้ และคงเจ็บแค้นเวรัญชพราหมณืน่าดู ในเช้าวันใหม่ เมื่อพระพุทธเจ้าเสวยภัตตาหารเสร็จ ก็ทรงแสดงพระสัทธรรมตามพุทธกิจ แล้วก็ทรงบอกลาเวรัญชพราหมณ์ ทรงเสด็จดำเนินดังนี้

เสด็จพระพุทธดำเนินไปยังเมืองท่าปยาคะ ไม่ทรงแวะเมืองโสเรยยะ เมืองสังกัสสะ เมืองกัณณกุชชะ ทรงข้ามแม่น้ำคงคาที่เมืองท่าปยาคะ เสด็จพระพุทธดำเนินถึงพระนครพาราณสี ครั้นพระองค์ประทับอยู่ที่พระนครพาราณสีตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จจาริกไปโดยมรรคาอันจะไปสู่พระนครเวสาลี เมื่อเสด็จจาริกไปโดยลำดับ ถึงพระนครเวสาลีนั้นแล้ว ทราบว่าพระองค์ประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลีนั้น.******* อ่านเรื่องละเอียดในพระไตรปิฏกเล่มที่ 1 เรื่อง เวรัญชกัณฑ์

ข้อสังเกต เมืองเวรัญชาน่าจะอยู่ในแคว้นไหน ผู้เขียนคิดว่าน่าจะอยู่ในแคว้นกาสี เนื่องจากแคว้นกาสีมีเมืองพาราณสีเป็นเมืองหลวง จากที่ยกมาข้างบน พระพุทธเจ้าดำเนินออกจากเวรัญชา ไปพาราณสี ซึ่งก็อยู่ในแคว้นกาสี หลังจากนั้นพระองค์มุ่งตรงไปทางตะวันออกเฉียงเหนือข้ามแคว้นกาสีไปยังแคว้นวัชชีเข้าสู่เมืองเวสาลี ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นวัชชี

เหตุการณ์ประมาณปีที่ 13

พรรษาที่ 13 พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาอยู่ ณ จาลิกบรรพต เมืองจาลิก (ผู้เขียนยังหาข้อมูลไม่เจอว่า เมืองจาลิก อยู่ในแคว้นไหน) แล้วพระพุทธเจ้าก็ดำเนินต่อไปตามลำดับ และเหตุการณ์ประมาณปีที่ 13 นี้ นางวิสาขา อายุประมาณ 15 ปี ซึ่งมิคารเศรษฐีในกรุงสาวัตถี ได้ขอนางวิสาขาแต่งงานกับบุตรชื่อปุณณวัฒนกุมาร แล้วนางวิสาขาจะต้องย้ายจากเมืองสาเกต ไปอยู่กรุงสาวัตถี

เหตุการณ์ประมาณปีที่ 14

พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับยังเชตวันวิหาร ที่ท่านอานาถบิณฑิกะเศรษฐีสร้างถวาย ณ กรุงสาวัตถี แคว้นโกศล ซึ่งขณะนั้นนางวิสาขาพร้อมทั้งทัพย์สินและบริวารมากมายก็ได้ย้ายมาอยู่กรุงสาวัตถีบ้านของสามี แต่ครอบครัวของมิคารเศรษฐีศรัทธาใน พวกอเจลกะ(ชีเปลือย) หาได้ศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงเกิดปัญหาขึ้นระหว่างนางวิสาขากับมิคารเศรษฐี ในคราวที่มิคารเศรษฐีนิมนตร์นักบวชอเจลกะ 500 คน มารับทานอาหารที่บ้าน จึงได้เรียกนางวิสาขาให้มาต้อนรับพระอรหันต์ชีเปลือย นางวิสาขาพอออกมาเห็นเป็นนักบวชอเจลกะ ก็หาได้ศรัทธาไม่จึงไม่ได้ทำความเครารพแต่อย่างใด นักบวชอเจลกะจึงติเตียนนางวิสาขาให้มิคารเศรษฐีฟัง ว่าไม่ควรรับมาเป็นลูกสะใภ้ ควรจะไล่ไปเสีย มิคารเศรษฐีจึงโกรธเคืองนางวิสาขา แต่ไม่สามารถว่าอะไรได้

ผ่านมาในเช้าวันหนึ่งมีพระภิกษุสงฆ์รูปหนึ่งได้เดินบิณฑบาตผ่านหน้าบ้านมิคารเศรษฐี นางวิสาขาและบริวารคนหนึ่งจึงนิมนตร์พระภิกษุเพื่อถวายบิณฑบาต ซึ่งขณะนั้นมิคารเศรษฐีก็เห็นอยู่ ฝ่ายนางวิสาขาเมือตักบาตรแล้วบริวารถามว่า บิดาของท่าน(พ่อสามี) ไม่ทำบุญด้วยหรือ?  นางวิสาขาตอบว่า บิดาประสงค์กินของเก่า

มิคารเศรษฐีได้ฟังดังนั้นโกรธจัด จึงไล่นางวิสาขาออกจากเรือน นางวิสาขาจึงกล่าวว่า พ่อท่านไปสู่ขอดิฉันมาจากพ่อแม่ของดิฉัน แต่เมื่อเวลาโกรธก็ไล่ดิฉันนั้นไม่ควร ควรจะพิสูจน์ความผิดหรือถูกก่อน มิคารเศรษฐีด้วยความเกรงนางวิสาขา เพราะนางวิสาขาเป็นบุตรสาวของมหาเศรษฐีธนชัย และนางวิสาขาเมื่อย้ายมาอยู่ก็นำทรัพย์สินบริวารก็เกือบมากว่าของตนที่มีอยู่ มิคารเศรษฐีจึงกล่าวว่า แล้วจะทำอย่างไร? นางวิสาขาจึงเสนอขึ้นว่า ให้เรียก กุฎุมพี(ผู้มีทรัพย์และมีชื่อเสียง) 8 คน ในกรุงสาวัตถีมาชำระความ มิคารเศรษฐีจึงตกลงตามนั้น กุฏุมพี 8 คน(มีอนาถบิณฑิกะเศรษฐีอยู่ด้วย) ชำระความแล้ว ได้ความว่านางวิสาขาหาได้มีความผิดถึงขนาดต้องไล่ออกไปจากเรือน

เมื่อผลออกมาเป็นที่ประจักแล้วนางวิสาขาจึงเรียกเหล่าบริวารจัดการเก็บทรัพย์สินทั้งหมดที่นำมาเตรียมกลับเมืองสาเกต มิคารเศรษฐีเมื่อทราบดังนั้นก็ตกใจ จึงรีบออกไปห้ามไม่ให้นางวิสาขาจากไป เพราะกลัวจะถูกชาวติฉินนินทา และเสียด้ายทรัพย์สินและบริวารของนางวิสาขา 

นางวิสาขาจึงเสนอเงื่อนไขว่า นางไม่จากไปก็ได้แต่ต้องอนุญาติให้นางทำบุญและถวายภัตตาหารแก่พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ภายในเรือนได้ เพราะนางศรัทธาในพระพุทธศาสนา มิคารเศรษฐีจึงต้องยินยอมตามที่นางประสงค์ ในวันหนึ่งนางวิสาขาได้นิมนตร์พระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์จำนวนหนึ่ง มารับภัตตาหารและเสวยที่เรือน ในวันนั้นมิคารเศรษฐีก็อยู่ที่เรือนแต่ไม่ยอมออกมา แต่แอบสังเกตอยู่ที่ข้างหลังฝาเรือน เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงพระสัทธรรม พระพุทธเจ้าทรงรู้อยู่ว่ามิคารเศรษฐีแอบฟังอยู่ และพระองค์ทรงแสดงธรรมไปลำดับเพื่อเหมาะกับอุปนิสัยของผู้ฝังทั้งหลายในที่นั้นรวมทั้งมิคารเศรษฐี เมื่อสิ้นสุดการแสดงธรรมมิคารเศรษฐีและเหล่าบริวารที่ตั้งใจฝังอยู่ก็บรรลุเป็นพระโสดาบัน รวมทั้งสามีของนางวิสาขา

ในพรรษานั้นพระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาที่ 14 ณ เชตวันวิหาร กรุงสาวัตถีแคว้นโกศล ซึ่งในขณะนั้นพระเจ้าปเสนธิโกศล ราชาของแคว้นโกศลและแคว้นกาสี หาได้ศรัทธาในพระพุทธศาสนา เพียงแค่ทรงรู้จักเท่านั้นหาได้สนิทสนมกับพระพุทธเจ้าและกับพระภิกษุสงฆ์

พระพุทธองค์เมื่อเสร็จภารกิจ(เป็นพุทธวิสัย) ก็ดำเนินเสด็จไปโปรดสรรพสัตว์ยังที่อื่นต่อตามลำดับ เช่นในแคว้นโกศล แคว้นวังสะ แคว้นกาสี แคว้นปัจจาบ ในแคว้นที่ใกล้เคียงกัน

เหตุการณ์ประมาณปีที่ 15

พระพุทธเจ้าก็ทรงดำเนินเสด็จกลับมายังแคว้นมคธ แคว้นอังคะ แคว้นมัละ แคว้นวัชชี แคว้นสักกะ แล้วพระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่ 15 ณ กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ เมื่อออกพรรษาแล้วก็ดำเนินโปรดสัตว์ต่อไป

เหตุการณ์ประมาณปีที่ 16

พระพุทธเจ้าย้อนกลับมายังกรุงสาวัตถีแคว้นโกศล หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงเสด็จไปยังเมืองอาฬวี ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองสาวัตถีไป 30 โยชน์ (480 กิโลเมตร) และที่เมืองอาฬวีนี้พระพุทธเจ้าก็ได้แสดงธรรมให้แก่พวกอาฬวกยักษ์ ที่มุ่งจะทำร้ายพระพุทธเจ้าด้วยอุบายดังเรื่องที่ยกมาจากพระไตรปิกฏเล่มที่ 25  อาฬวกสูตรที่ ๑๐

[๓๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในที่อยู่ของอาฬวกยักษ์ ใกล้เมืองอาฬวี ครั้งนั้นแล อาฬวกยักษ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่าจงออกไปเถิดสมณะ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดีละท่าน แล้วได้เสด็จออกไป อาฬวกยักษ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า จงเข้ามาเถิดสมณะ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละท่าน แล้วได้เสด็จเข้าไป แม้ครั้งที่ ๒... แม้ครั้งที่ ๓ ... แม้ครั้งที่ ๔ อาฬวกยักษ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่าจงออกไปเถิดสมณะ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรท่าน เราจักไม่ออกไปละท่านจงกระทำกิจที่ท่านจะพึงกระทำเถิด ฯ

อา. ดูกรสมณะ ข้าพเจ้าจะถามปัญหากะท่าน ถ้าว่าท่านจักไม่พยากรณ์แก่ข้าพเจ้าไซร้ ข้าพเจ้าจะควักดวงจิตของท่านออกโยนทิ้ง จักฉีกหัวใจของท่านหรือจักจับที่เท้าทั้งสองของท่าน แล้วขว้างไปที่ฝั่งแม่น้ำคงคา ฯ

. เรายังไม่มองเห็นบุคคลผู้ที่จะพึงควักดวงจิตของเราออกโยนทิ้ง จะพึงฉีกหัวใจของเรา หรือจะพึงจับที่เท้าทั้งสองแล้วขว้างไปที่ฝั่งแม่น้ำคงคาได้ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ ดูกรท่าน ก็และท่านหวังจะถามปัญหาก็จงถามเถิด ฯ ลำดับนั้น อาฬวกยักษ์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า

[๓๑๑] อะไรเล่าเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันประเสริฐที่สุดของบุรุษในโลกนี้ อะไรเล่าที่บุคคลประพฤติดีแล้วย่อมนำความสุขมาให้ อะไรเล่าเป็นรสยังประโยชน์ให้สำเร็จกว่ารสทั้งหลาย นักปราชญ์ทั้งหลาย ได้กล่าวชีวิตของบุคคลผู้เป็นอยู่อย่างไรว่าประเสริฐที่สุด ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า ศรัทธาเป็นทรัพย์ เครื่องปลื้มใจอันประเสริฐที่สุดของบุรุษในโลกนี้ ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้วย่อมนำความสุขมาให้ สัจจะแลเป็นรสยังประโยชน์ให้สำเร็จกว่ารสทั้งหลาย นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตของ บุคคลผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญาว่าประเสริฐที่สุด ฯ

อา. บุคคลย่อมข้ามโอฆะได้อย่างไร บุคคลย่อมข้ามอรรณพได้อย่างไร บุคคลย่อมล่วงทุกข์ได้อย่างไร ย่อมบริสุทธิ์ได้อย่างไร ฯ

. บุคคลย่อมข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา ย่อมข้ามอรรณพได้ด้วยความไม่ประมาท ย่อมล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา ฯ

อา. บุคคลย่อมได้ปัญญาอย่างไร ย่อมหาทรัพย์ได้อย่างไร ย่อมได้ชื่อเสียงอย่างไร ย่อมผูกมิตรทั้งหลายไว้ได้อย่างไร บุคคลละจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่นแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศกอย่างไร ฯ

. บุคคลเชื่อธรรมของพระอรหันต์ทั้งหลาย เพื่อบรรลุนิพพานเป็นผู้ไม่ประมาท มีปัญญาเป็นเครื่องสอดส่อง ฟังอยู่ด้วยดีย่อมได้ปัญญา บุคคลผู้มีธุระกระทำสมควร มีความหมั่นย่อมหาทรัพย์ได้ บุคคลย่อมได้ชื่อเสียงด้วยสัจจะ ผู้ให้ย่อมผูกมิตรไว้ได้ ผู้ใดมีศรัทธาอยู่ครองเรือนมีธรรม ๔ ประการนี้ คือ สัจจะ ธรรมะ ธิติ จาคะ ผู้นั้นแลละจากโลกนี้ไปแล้วย่อมไม่เศร้าโศก ถ้าว่าเหตุแห่งการได้ชื่อเสียงยิ่งไปกว่าสัจจะก็ดี เหตุแห่งถารได้ปัญญายิ่งไปกว่าทมะก็ดี เหตุแห่งการผูกมิตรยิ่งไปกว่าจาคะก็ดี เหตุแห่งการหาทรัพย์ได้ยิ่งไปกว่าขันติก็ดี มีอยู่ในโลกนี้ไซร้ เชิญท่านไปถามสมณพราหมณ์เป็นอันมากแม้เหล่าอื่นดูเถิด ฯ

อา. บัดนี้ ข้าพระองค์จะพึงถามสมณพราหมณ์เป็นอันมากทำไมเล่า วันนี้ ข้าพระองค์ทราบชัดประโยชน์อันเป็นไปในภพหน้า พระพุทธเจ้าเสด็จมาสู่เมืองอาฬวีเพื่อประทับอยู่ เพื่อประโยชน์แก่ข้าพระองค์หนอ วันนี้ ข้าพระองค์ทราบชัดพระทักขิไณยบุคคลผู้เลิศ ที่บุคคลถวายทานแล้วเป็นทานมีผลมาก ข้าพระองค์จักนอบน้อมพระสัมพุทธเจ้า และความที่พระธรรมเป็นธรรมดี เที่ยวไปจากบ้านสู่บ้านจากเมืองสู่เมือง ฯ

จบอาฬวกสูตรที่ ๑๐

หลังจากจบคำสนทนาและการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า เหล่าพวกอาฬวกยักษ์ 84000 ตนก็บรรลุเป็นพระอริยะตังแต่โสดาบันขึ้นไป แล้วพระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาที่เมืองอาฬวีนั้น เมื่อออกพรรษาแล้วพระพุทธเจ้าก็ดำเนินเสด็จออกโปรดสัตว์ตามพุทธกิจ

เหตุการณ์ประมาณปีที่ 17

พระพุทธเจ้าทรงย้อนกับมายังแคว้นมคธ กรุงราชคฤห์อีก แล้วประทับจำพรรษาที่กรุงราชคฤห์ แล้วทรงดำเนินเผยแผ่พระสัทธรรมต่อไป พระเทวทัตยุยงให้เจ้าชายอชาติศัตรูปรงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสาร แล้วเจ้าชายอชาติศัตรูทรงเชื่อ และพระเทวทัตพยายามปรงพระชนม์พระพุทธเจ้า (น่าจะเริ่มจากปีนี้)

เจ้าอชาติศัตรูพยายามปรงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสารดังนี้ ในวันหนึ่งเจ้าชายอชาติศัตรูแอบเอาดาบเข้าไปในห้องบรรทมของพระเจ้าพิมพิสาร แต่พระเจ้าพิมพิสารรู้สึกองค์เสียก่อน เจ้าชายอชาติศัตรูจึงตกใจทำดาบที่แอบไว้กับกายตกลงบนพื้น พระเจ้าพิมพิสารเห็นก็รู้ว่าเจ้าชายอชาติศัตรูประสงค์จะปรงพระชนม์พระองค์เพราะต้องการราชสมบัติ แล้วด้วยความเมตตาในเจ้าชายอชาติศัตรูราชโอรส พระเจ้าพิมพิสารจึงมอบราชสมบัติทั้งหมดให้เจ้าชายอชาติศัตรู พระเจ้าอชาติศัตรูจึงได้ครองกรุงราชคฤห์ เป็นกำลังให้กับพระเทวทัตที่พยายามปรงพระชนม์พระพุทธเจ้า

พระเทวทัตขอราชบุรุษจากพระเจ้าอชาติศัตรู เพื่อปรงพระชนม์พระพุทธเจ้า พระเจ้าอชาติศัตรูจึงให้ไปครั้งแรก 1 คน ครั้งต่อไป 2 ครั้งต่อไป 4 ครั้งต่อไป 8 ครั้งต่อไป 16 โดยแต่ละกลุ่มไม่ทราบกันเลย และพระเจ้าอชาติศัตรูสั่งราชบุรุษแต่ละกลุ่มว่า เมื่อพระเทวทัตสั่งให้ทำอะไรก็จงทำตามคำสั่งนั้น พระเทวทัตจึงวางแผน โดยบอกราชบุรุษเพียงคนเดียวให้ไปปรงพระชนม์พระพุทธเจ้า เมื่อปรงพระชนม์เสร็จให้วิ่งกลับไปตามทางที่กำหนด แล้ววางราชบุรุษอีก 2 คน ให้ฆ่าบุรุษคนแรก แล้ววิ่งมาตามทางที่กำหนด แล้ววางราชบุรุษอีก 4 คนให้ฆ่าบุรุษ 2 คนก่อน แล้วให้วิ่งมาตามทางที่กำหนด แล้ววางราชบุรุษอีก 8 คนเพื่อฆ่าบุรุษ 4 คนก่อน แล้วให้กลับตามทางที่กำหนด แล้ววางราชบุรุษ 16 คนสุดท้าย ฆ่า 8 คนก่อน เป็นอันว่าบุรุษเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ทราบว่าพระเทวทัตสั่งปรงพระชนม์พระพุทธเจ้า พระเทวทัตย่อมรู้ว่าพระพุทธเจ้าทรงอยู่พระองค์เดียวตรงไหน เวลาอะไร เมื่อบุรุษคนที่หนึ่ง กำลังจะเข้าไปปรงพระชนม์พระพุทธองค์ ก็เกิดความกลัวตัวสั่นไม่สามารถปรงพระชนม์ได้ แต่กลับไปกราบพระพุทธเจ้าแทนแล้วบอกความจริงให้ทราบ พระพุทธเจ้าจึงแสดงธรรมให้ฟังราชบุรุษนั้นก็บรรลุเป็นพระโสดาบัน แล้วพระพุทธองค์ทรงให้บุรุษนั้นกลับไปทางอื่นเสีย ส่วนพระพุทธเจ้าทรงดำเนินไปทางที่พระเทวทัตกำหนดไว้ ราชบุรุษ 2  คนนั้นไม่ได้คิดที่จะปรงพระชนม์พระพุทธเจ้าเพราะไม่อยู่ในคำสั่ง พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงธรรมให้ฟังก็บรรลุเป็นพระโสดาบัน แล้วทรงชี้ให้กลับไปทางอื่น พระพุทธเจ้าทรงกระทำอย่างนี้จนราชบุรุษเหล่านั้นบรรลุเป็นพระโสดาบันหมด ส่วนราชบุรุษคนแรกก็กลับไปบอกกับพระเทวทัตว่า ตนเองไม่สามารถคิดปรงพระชนม์พระพุทธเจ้าได้ พระเทวทัตจึงคิดปรงพระชนม์พระพุทธเจ้าด้วยตัวเอง

เหตุการณ์ประมาณปีที่ 18

พระพุทธเจ้าทรงเผยแผ่พระสัทธรรม แล้วทรงแวะเข้าประทับจำพรรษาที่ จาลิกบรรพต แล้วพระพุทธเจ้าก็ออกจาริกโปรดสัตว์ต่อไป พระเทวทัตพยายามปรงพระชนม์พระพุทธเจ้าด้วยกำลังของตนเอง โดยหาโอกาสและวางแผนอยู่พักหนึ่ง จึงเห็นโอกาส เห็นพระพุทธเจ้าเสด็จจงกรมอยู่ ณ เขาคิชฌกูฏ อยู่บ่อย พระเทวทัตเมื่อสังเกตบริเวณ เห็นหินก้อนใหญ่ตั้งอยู่ด้านบน บริเวณที่พระพุทธเจ้าเสด็จจงกลม และสามารถกลิ้งหินนั้นไปทับพระพุทธเจ้าที่อยู่ด้านล่างได้พอดี เมื่อใกล้เวลาเสด็จจงกลม พระเทวทัตก็ไปแอบที่นั้น เมื่อพระพุทธเจ้ากำลังเสด็จทรงกลม พระเทวทัตก็กลิ้งหินก้อนนั้นเพื่อให้ทับพระพุทธเจ้าทันที แต่ก้อนหินกระดอนเสียก่อน ไม่ถูกพระวรกายของพระพุทธเจ้า แต่เมื่อก่อนหินใหญ่กระทบกับพื้นหินเบื้องล้าง สะเก็ดหินเล็กๆ ก็กระเด็นถูกพระบาทของพระพุทธเจ้าจนห้อพระโลหิต พระพุทธเจ้าจึงแหนขึ้นดู เห็นว่าเป็นพระเทวทัต พระพุทธองค์จึงตรัสทำนองว่า พระเทวทัตท่านได้ทำอนันตริยกรรมแล้ว หลังจากนั้นหมอชีวกก็ได้ทำการฝ่าตัดและรักษาบาดพระบาทที่ห้อพระโลหิตจนหาย ในกาลต่อมาพระพุทธเจ้าก็เสด็จดำเนินเข้ากรุงราชคฤห์

เหตุการณ์ประมาณปีที่ 19

พระเทวทัตคิดจะปรงพระชนม์ เป็นครั้งที่ 3 เมื่อทราบว่ามีช้างที่ดูร้ายตัวหนึ่งซื่อ นาฬาคิรีในโรงช้างของพระเจ้าอชาติศัตรู จึงได้เข้าไปหาทหารที่เฝ้าในโรงช้างแล้วกล่าวกับทหารเหล่านั้นว่า พระเจ้าอชาติศัตรูมีความเครารพและศรัทธาในตน ดังนั้นจะเสนอทูลให้พระเจ้าอชาติศัตรูถวายรางวัลหรือเลือนตำแหน่งใครก็ได้ และสามารถทำให้ใครย่อยยับก็ได้ เหล่าทหารที่เฝ้าโรงช้างก็เชื่อและกลัวพระเทวทัต เพราะเห็นพระเจ้าอชาติศัตรูพร้อมข้าทาสไปหาพระเทวทัตพร้อมทั้งนำภัตตาหารคราวละมากมายเพื่อถวายให้กับพระเทวัตกับภิกษุที่เป็นพักพวกของพระเทวัต เป็นประจำ

พระเทวทัตจึงถามพนักงานโรงช้างว่า ช้างเชือกไหนดุร้ายที่สุด? พนักงานโรงช้างก็บอกว่า ช้างชื่อ นาฬาคิรี พระเทวทัตจึงวางแผนสั่งให้พนักงานทำให้ช้างนั้นตกมันและทำให้ดุร้ายที่สุด แล้วให้ล็อกตัวช้างไว้ในตรอกถนนที่พระพุทธเจ้าจะต้องดำเนินบิณฑบาตในยามเช้า เมื่อพระพุทธเจ้าประทับในกรุงราชคฤห์ เมื่อทุกอย่างเป็นไปตาแผนการณ์ที่พระเทวทัตจัดเตรียมไว้ ในเช้าวันนั้นเมื่อพระพุทธเจ้าดำเนินบิณฑบาตเข้าไปในตรอกถนนนั้น พระเทวทัตจึงให้สัญญาพนักงานโรงช้างปล่อยช้างจากที่ล็อกเอาไว้ ช้างเมื่อตกมันและถูกยั่วยุทำให้ดุร้ายเพิ่มขึ้นพอหลุดออกจากที่จับ ก็วิ่งตรงไปข้างหน้าตามถนนั้น อะไรขวางหน้าก็ชนแหลกรานไปหมด ตรงไปหาพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทอดพระเนตรเห็น พระพุทธองค์ก็ทรงแผ่พระเมตตาไปยังช้างนาฬาคีรี ด้วยกำลังพระเมตตาช้างนาฬาคิรี ทั้งที่วิ่งอย่างไม่สนใจอะไร เมื่อใกล้ถึงพระพุทธเจ้าก็เบรกหยุดตัวเองลงกะทันหัน แล้วลงไปหมอบแทบพระบาทของพระพุทธเจ้า แล้วยกงวงทำการสักการะพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงลูบศรีษะช้างด้วยพระเมตตา แล้วเสด็จดำเนินบิณฑบาตต่อไป

หลังจากนั้นข่าวก็แพร่ไปทุกหมู่บ้านทั้งกรุงราชคฤห์ ว่าพระเทวทัตต้องการปรงพระชนม์พระพุทธเจ้าด้วยช้างนาฬาคีรี และทำให้ข่าวการที่พระเทวทัตแอบปรงพระชนม์พระพุทธเจ้าสองครั้งก่อนดังขึ้นมาด้วย พระเทวทัตจึงกูกชาวบ้านด่าและติเตียน หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าก็ทรงกลับไปประทับจำพรรษาที่ จาลิกบรรพตอีกครั้ง

พระเทวทัตเห็นว่าจะปรงพระชนม์พระพุทธเจ้าเหมือนดังที่ผ่านมาไม่ได้ ดังนั้นต้องอาศัยกำลังของพระเจ้าอชาติศัตรูสั่งทหารให้ไปปรงพระชนน์พระพุทธเจ้าจึงจะสำเร็จ แต่ติดอยู่ที่พระเจ้าพิมพิสารต้องเข้ามาขัดขวาง ไม่ให้เจ้าอชาติศัตรูปรงพระชนม์พระพุทธเจ้าแน่นอน พระเทวทัตจึงคิดอุบายขึ้นมาได้ว่า ต้องยุยงให้พระเจ้าอชาติศัตรูปรงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสารเสียก่อน และในช่วงนั้นพระเจ้าอชาติศัตรูเชื่อและศรัทธาต่อพระเทวทัตอย่างมาก พระเทวทัตจึงกระซิบยุยงพระเจ้าอชาติศัตรูว่า พระเจ้าอชาติศัตรูอย่าวางใจ เพราะพระเจ้าพิมพิสารสามารถเอาราชสมบัติคืนแล้วปกครองเองหรืออาจให้เจ้าชายองค์อื่นปกครองแทนก็ได้ พระเจ้าอชาติศัตรูจึงถามว่า แล้วจะทำอย่างไร?

พระเทวทัตก็ทูลว่า ให้จับพระเจ้าพิมพิสารขังไว้ แล้วให้อดอาหารจนสิ้นพระชนม์ พระเจ้าอชาติศัตรูก็ทำตามคำยุยงของพระเทวทัต จับพระเจ้าพิมพิสารขังไว้และห้ามไม่ให้ผู้ใดถวายอาหารแก่พระเจ้าพิมพิสาร แต่พระมเหสีพระเจ้าพิมพิสาร(พระมารดาของพระเจ้าอชาติศัตรู) แอบเอาอาหารไปให้พระเจ้าพิมพิสารเสวยจึงดำรงค์ชีพอยู่ได้

ในช่วงออกพรรษานั้น พระพุทธเจ้าก็ทรงดำเนินไปยังกรุงสาวัตถีแคว้นโกศล

เหตุการณ์ประมาณปีที่ 20

พระเจ้าอชาติศัตรูขังพระเจ้าพิมพิสารมาเป็นเวลา 2-3 เดือนแล้วพระเจ้าพิมพิสารก็ยังไม่สวรรคต พระเจ้าอชาติศัตรูจึงรู้ว่าพระมารดาแอบเอาอาหารไปให้เสวย จึงสั่งห้ามให้ทหารคุมเข้มอย่างเด็ดขาด แต่พระมารดาก็หาอุบายนำอาหารชุกซ่อนเล็กๆ น้อยจนได้ 2 เดือนผ่านมาพระเจ้าพิมพิสารก็หาได้สวรรคต พระจ้าอชาติศัตรูจึงสั่งห้ามไม่ให้ใครเข้าเยี่ยมพระเจ้าพิมพิสารโดยเด็ดขาด เวลา 1 เดือนผ่านมาพระเจ้าพิมพิสารก็ยังไม่สวรรคต เพราะพระเจ้าพิมพิสารทรงอาศัยการนั่งสมาธิ และการเดินจงกรมอาศัยกำลังปีติหล่อเลี้ยงพระวรกาย พระเจ้าอชาติศัตรูจึงต้องไปปรึกษากับพระเทวทัตว่าจะทำอย่างไรต่อ พระเทวทัตรู้ว่าการที่พระเจ้าพิมพิสารยังไม่สวรรคตเพราะกำลังของปีติและตนเองก็เคยได้อภิญญามาก่อนจึงแนะให้พระเจ้าอชาติศัตรูทำการกรีดฝ่าเท้าทั้งสองของพระเจ้าพิมพิสาร เพื่อไม่ให้เดินทรงกรมได้ พระเจ้าอชาติศัตรูก็ทำตามคำแนะนำนั้น

แต่ในขณะเดียวกันพระมเหสีของพระเจ้าอชาติศัตรูกำลังพระครรภ์แก่แล้ว และเมื่อเวลาผ่านไปไม่น่านพระนางก็ประสูติพระราชโอรส พร้อมกับพระเจ้าพิมพิสารสวรรคต เจ้าพนักงานราชการจึงได้นำเรื่องสองเรื่องนี้เพื่อไปทูลพระเจ้าอชาติศัตรู พนักงานกราบทูลว่า มีเรื่องเป็นมงคลและเรื่องไม่เป็นมงคลกราบทูล พระเจ้าอชาติศัตรูจึงตรัสว่า อย่างนั้นบอกเรื่องเป็นมงคลก่อน พนักงานกราบทูลว่า พระมเหสีทรงประสูติพระราชโอรส พรเจ้าอชาติศัตรูพอได้ทราบดังนั้นก็ดีใจเป็นอย่างยิ่งประสงค์จะดูหน้าโอรสด้วยความรัก

ก็จุกคิดว่าตนเองเป็นพ่อ จึงนึกถึงพระเจ้าพิมพิสารพระราชบิดา ว่าพระเจ้าพิมพิสารก็ทรงรักพระองค์เหมือนที่พระองค์รักราชโอรส จึงได้กล่าวกับพนักงานว่า ให้พวกเจ้าไปปล่อยพระบิดา(พระเจ้าพิมพิสาร)เดี๋ยวนี้ แต่เจ้าพนักงานได้ทูลให้ทราบว่า เรื่องที่ไม่เป็นมงคลก็คือ พระเจ้าพิมพิสารสวรรคตเสียแล้วในเวลาไร่เรี่ยกัน พระเจ้าอชาติศัตรูทรงเสียใจเป็นอย่างยิ่ง หลังจากนั้นพระเจ้าอชาติศัตรูก็ตั้งในพระทัยว่าจะไม่ทำตามคำทูลของพระเทวทัตต่อไป เลิกคบค้ากับพระเทวทัต

ณ กรุงสาวัตถี พระเจ้าปเสนธิโกศลพอทราบข่าวว่า พระเจ้าอชาติศัตรูซึ่งมีฐานะเป็นนัดดา(หลาน)ได้ปรงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสาร และพระนางเวเทหิอัครมเหสีของพระเจ้าพิมพิสาร มารดาของพระเจ้าอชาติศัตรู ก็ได้สิ้นพระชนม์ตามไปด้วย เพราะทรงเศร้าโศกเสียพระทัย พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเสียพระทัยมากเพราะพระองค์เป็นพระเชษฐภาดาของพระนางเวเทหิ จึงเกิดความไม่พ่อใจ คิดที่เอาหมู่บ้านกาสี (กาสิกคาม) ที่พระมหาโกศลพระบิดาของพระเจ้าปเสนทิโกศส เคยยกให้พระเจ้าพิมพิสารในตอนแต่งงานลูกสาวคืน จึงยกทัพไปประชิดที่หมู่บ้านกาสี ทำการสู้รบกันอยู่ แต่พระเจ้าปเสนธิโกศลทรงพ้ายแพ้สงครามหนีกลับมา

เรื่องพระนางมัลลิกา ในขณะเดียวกันที่กรุงสาวัตถี (ยกมาจากอรรถกถา) นางมัลลิกานี้ เป็นธิดาของนายช่างทำดอกไม้ผู้เข็ญใจ วันหนึ่ง ถือขนมจากตลาด คิดว่าจักไปสวนดอกไม้แล้วจึงจักกินขนมเดินไปพบพระผู้มีพระภาคเจ้า มีภิกษุเป็นบริวาร เสด็จเข้าไปแสวงหาอาหารสวนทางกัน ก็มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายขนมนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอาการจะประทับนั่ง. พระอานนทเถระจึงได้ปูผ้าถวาย.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่ง ณ ที่นั้นแล้วเสวยขนม ล้างพระโอษฐ์แล้วได้ทรงทำความแย้มพระโอษฐ์ให้ปรากฏ. พระเถระทูลถามว่า ด้วยการถวายขนมนี้ จักมีผลอะไร พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อานนท์ วันนี้นี่แหละ นางมัลลิกานั้นได้ถวายโภชนะแก่ตถาคตเป็นคนแรก วันนี้นี่แหละนางก็จักได้เป็นอัครมเหสีของพระเจ้าโกศล

วันนั้นนั่นแล พระราชาผู้อันพระเจ้าหลาน (พระเจ้าอชาตศัตรู) ทรงให้ปราชัยในการรบที่หมู่บ้านกาสี (กาสิกคาม) พ่ายหนีไป กลับมาสู่พระนคร เสด็จเข้าไปยังสวนดอกไม้ ทรงคอยหมู่ทหารกลับมา. นางมัลลิกานั้น ได้ทำการปรนนิบัติถวายท้าวเธอ. พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงเลื่อมใสในข้อวัตรปฏิบัติที่นางทำถวาย จึงโปรดให้นำนางเข้าไปภายในพระบุรี ทรงสถาปนานางไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสี.

หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าก็เสด็จดำเนินกลับไปยังกรุงราชคฤห์ พระเทวทัตพอรู้ว่าพระพุทธเจ้าจะเสด็จกลับเสด็จกลับมายังกรุงราชคฤห์ จึงเข้าไปหาพระเจ้าอชาติศัตรู และทูลกล่าวว่า เสี้ยนหนามในราชบัลลังก์ของพระองค์ก็ทรงหมดแล้ว แต่เสี้ยนหนามของอาตมายังมีอยู่ ขอให้พระองค์ทรงยกกำลังทหารไปปรงพระชนม์พระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นเสี้ยนหนามของอาตมาด้วยเทอด พระเจ้าอชาติศัตรูเมื่อยินดังนั้นก็เฉย และไม่ตรัสอะไร พร้อมทั้งไม่ทำความเครารพเหมือนก่อน พระเทวทัตพอได้ทราบกริยาของพระเจ้าอชาติศัตรู ก็รู้ว่าพระเจ้าอชาติศัตรูหมดความศรัทธาในตน และอาจจะพาลฆ่าตนได้ จึงรีบลากลับทันที หลังจากนั้นลาภต่างๆ ที่เคยได้จากพระเจ้าอชาติศัตรูก็ไม่ได้อีกเลย ทำให้พระเทวทัตและเหล่าภิกษุบริวารเสื่อมจากลาภ มีความเป็นอยู่ฝืดเคือง

กล่าวถึงเจ้าชายอภัยกุมารขณะนั้นเป็นพระโสดาบัน ซึ่งเป็นขนิษฐาต่างมารดาของพระเจ้าอชาติศัตรู เมื่อเห็นว่า พระเจ้าพิมพิสารถูกปลงพระชนม์สวรรคต ก็ทรงเบื่อหน่ายในฆารวาสจึงเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้าและออกบวชเป็นพระภิกษุ บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ไม่นานก็บรรลุเป็นพระอรหันต์

เรื่องพระเจ้าอชาติศัตรูเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า (ยกมาจากสารานุกรม) หลังจากปรงพระชนม์พระราชบิดาแล้ว ด้วยความเสียพระทัยพระองค์กระสับกระส่าย บรรทมไม่หลับเป็นประจำ ณ ราตรีเพ็ญพระจันทร์เต็มดวงราตรีหนึ่ง พระองค์พร้อมด้วยอำมาตย์ราชบริพารประทับนั่งบนปราสาทชั้นบน ขณะนั้นพระองค์ทรงหารือกับเหล่าอำมาตย์ว่า ราตรีอันงดงามเช่นนี้ เราควรจะเข้าไปหาใครดี?

เหล่าอำมาตย์ได้กราบทูลให้เสด็จไปหาครูทั้ง ๖ พร้อมทั้งพรรณนาคุณของครูทั้ง ๖ แต่ละคนถวายให้ทราบอย่างละเอียด แต่พระองค์ไม่พอพระทัยตรัสถามหมอชีวกโกมารภัจ ซึ่งนั่งนิ่งอยู่ ณ ที่นั่นว่า ทำไมนั่งนิ่งเสีย หมอชีวกจึงกราบทูลให้เสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วได้พรรณนาพระคุณ ของพระพุทธเจ้าถวายอย่างแจ่มแจ้ง พระองค์ทรงพอพระทัย จึงเสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ ที่ประทับในอัมพวันของหมอชีวกในคืนนั้น

ครั้นเสด็จเข้าไปใกล้อัมพวัน ก็ทรงหวาดหวั่น มีพระโลมาชูชันตรัสกับหมอชีวกว่า "ชีวกะ ท่านไม่ได้ลวงเราหรือ ท่านไม่ได้หลอกเราหรือ ไม่ได้ล่อเรามาให้ศัตรูหรือ ไฉนเล่าพระสงฆ์จำนวน ๑๒๕๐ รูป จึงไม่มีเสียงจามเสียงกระแอม เสียงพึมพัมเลย,"

หมอชีวกกราบทูลว่าไม่ได้ลวงไม่ได้หลอก ไม่ได้ล่อพระองค์มาให้ศัตรู แล้วทูลเชิญเสด็จเข้าไปจนถึงที่ประทับ ครั้นเสด็จไปถึง ก็ตรัสถามว่า องค์ไหนคือพระผู้มีพระภาคเจ้า?

หมอชีวกกราบทูลว่า องค์ที่ประทับนั่งพิงเสากลาง ผินพระพักตร์ไปทางทิศบูรพา ภิกษุสงฆ์นั่งแวดล้อมอยู่นั่นแหละ คือพระผู้มีพระภาคเจ้า (ความเห็นผู้เขียน เป็นเรื่องแปลกที่พระเจ้าอชาติศัตรูไม่เคยเจอหรือไม่รู้จักพระพุทธเจ้า ทั้งที่พระเจ้าพิมพิสารใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้ามาก แต่ถ้าประโยคคำถามข้างบนเปลี่ยนเป็น พระพุทธเจ้านั่งอยู่ตรงไหน? หรือพระพุทธเจ้าอยู่ตรงไหน? ก็จะเป็นเรื่องธรรมดา เพราะคนเราเมื่อเข้ามาพบเจอคนหมู่มากย่อม ย่อมไม่รู้ว่าคนที่รู้จักอยู่ตรงไหน)  เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นภิกษุสงฆ์มีอาการสงบเช่นนั้น ได้ทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า ขอให้อุทยภัททกุมารบุตรของเรา จึงมีความสงบอย่างพระสงฆ์เดี๋ยวนี้

ครั้นประทับนั่งยังที่ควรแล้ว ได้ทูลถามพระพุทธองค์ว่า พระพุทธองค์ทรงบัญญัติสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบันเหมือนอย่างศิลปศาสตร์ทั้งหลายอื่นบ้างหรือไม่? และพร้อมกับทรงยอมรับว่า พระองค์เคยเสด็จไปตรัสถามพวกครูทั้ง ๖ มาแล้ว

ดังนั้นพระพุทธองค์จึงได้ตรัสเทศนาสามัญญผลสูตรโปรดพระองค์(๑๓) ครั้นจบพระธรรมเทศนา พระองค์ได้ชมเชยพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์ว่าแจ่มแจ้งชัดเจนดี แล้วทรงขอถึงพระพุทธ พระธรรมพระสงฆ์ เป็นสรณะตลอดชีวิต เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูเสด็จกลับแล้ว พระพุทธองค์ได้ตรัสกับพระภิกษุสงฆ์ว่า ถ้าพระเจ้าอชาตศัตรูไม่ทรงทำปีตุฆาตแล้ว วันนี้จักได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน(๑๔) นับจำเดิมแต่ให้ทรงสดับพระธรรมเทศนาจากพระพุทธองค์แล้ว พระเจ้าอชาตศัตรูก็ทรงเคารพนับถือพระพุทธองค์อย่างมาก และเมื่อเข้าพรรษาพระพุทธเจ้าก็ประทับจำพรรษาที่กรุงราชคฤห์นั้น และเมื่อออกพรรษาพระพุทธเจ้าก็ทรงดำเนินพุทธกิจไปตามลำดับ

เหตุการณ์ประมาณปีที่ 21

พระนางมัลลิกาถึงแม้ศรัทธาในพระพุทธศาสนา แต่ก็ยังเป็นปุถุชนอยู่และด้วยเหตุที่พระเจ้าปเสนทิโกศลก็หาได้ศรัทธาในพุทธศาสนามากนัก และในหมู่ข้าราชบริวารก็เป็นพราหมณ์เสียมากกว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงค่อนข้างเชื่อไปทางพราหมณ์มากกว่า พระนางมัลลิกาจึงต้องอนุเคราะห์นักบวชอื่นๆ ตามที่มีผู้มาขอในฐานะของผู้ปกครอง แต่พระนางมัลลิกาก็เข้าฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าและมหาสาวก ส่วนพระเจ้าปเสนทิโกศลนั้น มีความเชื่อในนักบวชต่างๆ รวมทั้งพระพุทธศาสนาด้วย แต่หาได้ใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้าเป็นพิเศษ

เมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี ในราชวังพระเจ้าปเสนทิโกศลได้ตรัสยอกล้อกับพระนางมัลลิกาว่า พระนางรักใครมากที่สุด? ส่วนพระนางมัลลิกาจึงเห็นว่าน่าจะตอบตามธรรมที่เป็นจริงจะไม่เอาตามใจพระเจ้าปเสนทิโกศล พระนางมัลลิกาจึงตอบว่า รักตัวเองมากที่สุด พระเจ้าปเสนทิโกศล ไม่พอพระทัยแต่ก็ข่มไว้ แล้วถามว่าเหตุอะไร? พระนางมัลลิลกา ก็อธิบายตามเหตุตามผลที่ได้ยินได้ฟังมาจากพระพุทธเจ้า จนพระเจ้าปเสนทิโกศลจนในเหตุผล และตอนท้ายพระนางก็กล่าว่า ถ้าพระเจ้าปเสนทิโกศลยังไม่ปรงใจในปัญหานี้ก็ให้ไปถามพระพุทธเจ้าเอง ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ที่เชตวันวิหาร ณ กรุงสาวัตถีนี้ พระเจ้าปเสนธิโกศลก็รีบเสด็จไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ทูลตามปัญหาดังที่ถามพระนางมัลลิกา แล้วพระพุทธเจ้าก็ทรงเทศนาชี้แจงถึงเหตุผลให้ฟัง จนพระเจ้าปเสนทิโกศลเห็นจริงตามนั้น ว่าคนเราทุกคนรักตัวเองมากที่สุด พระเจ้าปเสนทิโกศลก็เริ่มศรัทธาในเหตุผลขึ้น แต่ก็ยังคงเชื่อลัทธิอื่นๆ เหมือนกัน

มีอยู่ครั้งหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศล เกิดฝันนิมิตแปลกและได้ยินเสียงแปลกน่ากลัว เมื่อตื่นบรรทมพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงหวาดกลัว นำเรื่องความฝันกล่าวกับข้าราชบริวารที่เป็นพราหมณ์พราหมณ์เหล่านั้นก็ทำนายว่าพระองค์จะต้องสูญเสียพระราชบัลลังค์ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงตกพระทัย จึงถามพราหมณ์เหล่านั้นว่าจะแก่ไขอย่างไร? พราหมณ์เหล่ากับบอกให้พระเจ้าปเสนทิโกศลทำการบูชายัญ โดยการทำพิธีกลางกรุงสาวัตถี โดยเอา โคผู้ ๕๐๐ ตัว ลูกโคผู้ ๕๐๐ ตัว ลูกโคตัวเมีย ๕๐๐ ตัว แพะ ๕๐๐ ตัว และ แกะ ๕๐๐ ตัว ถูกนำไปผูกไว้ที่หลักเพื่อบูชายัญ แล้วทำการฆ่าเชือดคอถวายแด่เทพเจ้า พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงให้มีการทำบูชายัญ แต่การบูชายัญยังไม่เกิดขึ้นพระนางมัลลิกาเมื่อทราบข่าว จึงเขาไปหาพระเจ้าปเสนทิโกศล และกล่าวเตือนสติพระเจัาปเสนทิโกศลว่า เรายังมีพระพุทธเจ้าผู้รู้แจ้งโลกอยู่ ทำไมจึงไม่ไปถามพระพุทธเจ้าเสียก่อนถึงเหตุที่ฝันนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงระลึกขึ้นได้ จึงไปเฝ้าพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าจึงทรงพยากรณ์ความฝันทั้ง 16 อย่างของพระเจ้าปเสนทิโกศล ว่าหาได้เกิดขึ้นกับพระองค์ในปัจจุบัน แต่จะบังเกิดขึ้นในอนาคตอีกนาน ดังนั้นไม่ต้องกลัวว่าจะสูญเสียราชบัลลัง หลังจากนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลก็ให้ยกเลิกในการบูชายัญหลังจากนั้นเป็นต้นมาเมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงมีปัญหาอะไรที่เห็นว่าสมควร ก็จะเฝ้าทูลถามพระพุทธเจ้าเป็นส่วนมาก

กล่าวถึงพระเจ้าอชาติศัตรูเมื่อชนะพระเจ้าปเสนทิโกศลซึ่งเป็งลุงครั้งแรก จึ่งประสงค์จะยึดแคว้นกาสีมาเป็นของตน จึงจัดเตรียมทัพยึดแคว้นกาสี พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ยกทัพไปรบแต่พ่ายแพ้กลับมา แต่ตอนหลังพระเจ้าปเสนทิโกศลได้ศึกษากลการรบ(แอบได้ยินพระภิกษุสองรูปสนทนากันในกลการยุทธ์ที่จะเอาชนะพระเจ้าอชาติศัตรู)จึงยกทัพไปรบอีกครั้ง คราวนี้ชนะจับพระเจ้าอชาติศัตรูได้แต่เมื่อเห็นว่าเป็นลุงเป็นหลานกัน จึงเพียงแต่ริบกองทัพของพระเจ้าอชาติศัตรูเป็นของพระองค์ แล้วยกราชธิดาให้กับพระเจ้าอชาติศัตรู หลังจากนั้นก็ให้พระเจ้าอชาติศัตรูกลับไปครองเมืองดังเดิม ณ.กรุงราชคฤห์

กล่าวถึงพระเทวทัตและบริวารภิกษุเมื่อเสื่อมลาภจากพระเจ้าอชาติศัตรู ก็เทียวเอ่ยปากกล่าวคำขอภัตรตาหารจากชาวบ้าน ซึ่งผิดพระธรรมวินัย เพราะการบิณฑบาตนั้นผู้ใดประสงค์จะให้ก็จงให้ แต่ถ้าผู้ใดไม่พึงประสงค์จะให้ก็ไม่พึงเอ่ยคำขอ พึงหลีกไปบิณฑบาตยังเรือนอื่น เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาเยือนกรุงราชคฤห์ จึงเรียกพระเทวทัตมาสอบสวน พระเทวทัตก็รับว่าทำจริง พระพุทธเจ้าก็ทรงติเตียน และทรงตรัสห้ามไม่กระทำอีก หลังจากนั้นพระเทวทัตจึงคิดทำสังฆเเภท โดยรวบรวมพวกได้แก่ พระโกกาลิกะ พระกตโมรกติสสกะ พระขัณฑเทวีบุตร พระสมุททัตตะ แล้วนำเสนอ วัตถุ 5 ประการให้ให้ทราบเพื่อเสนอแก่พระพุทธเจ้าให้พระองค์บันยัญกับภิกษุทุกรูป และกล่าวว่าถ้าพระพุทธเจ้าไม่เห็นด้วย พวกเราก็จะแยกสงฆ์ออกมาเพราะข้อวัตถุของเราเคร่งและสมถะกว่า พระพวกเหล่านั้นก็เห็นด้วย วัตถุ 5 ประการคือ

1. ภิกษุทั้งหลายพึงถือการอยู่ป่าเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดอาศัยบ้านอยู่ รูปนั้นพึงต้องโทษ

2. ภิกษุทั้งหลายพึงถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดยินดีกิจนิมนต์ รูปนั้นพึงต้องโทษ

3. ภิกษุทั้งหลายพึงถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดยินดีคหบดีจีวร รูปนั้นพึงต้องโทษ

4. ภิกษุทั้งหลายพึงถืออยู่โคนไม้เป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดเข้าอาศัยที่มุงที่บัง รูปนั้นพึงต้องโทษ

5. ภิกษุทั้งหลายไม่พึงฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต รูปใดฉันปลาและเนื้อ รูปนั้นพึงต้องโทษ

เมื่อพระเทวทัตเสนอแก่พระพุทธเจ้า แต่พระพุทธเจ้าไม่ตรงยอมรับ กลุ่มพระเทวทัตจึงได้โอกาส ประกาศหาสมัคพรรคพวกกับพระภิกษุและชาวบ้านทั้งหลาย โดยกล่าวว่ากลุ่มตนมีศีลที่เคร่งและสมถะกว่าและเมื่อร่วมกลุ่มได้พระบวชใหม่ 500 รูป ก็ประกาศแยกไม่ร่วมลงอุโบสถกับพระพุทธเจ้าโดยอ้างเหตุผลว่าพวกตนมีศีลที่เคร่งและสมถะกว่า ชาวบ้านบางส่วนที่นิยมความเคร่งและสมถะกว่าจึงให้ความนุเคราะห์ถวายบิณฑบาต ต่อกลุ่มพระเทวทัต เป็นอันว่าพระเทวทัตสามารถเรียกความศรัทธาจากพระภิกษุและชาวบ้านได้ส่วนหนึ่ง นี้และหนอการลุ่มหลงในยศและชื่อเสียงเพื่อความเป็นใหญ่เป็นโตด้วยความไม่เป็นธรรม เมื่อพยายามใช้ความสามารถของตนที่มีอยู่ก็ย่อมประสบความสำเร็จได้ให้เชยชมอยู่เพียงเวลาไม่นาน ทั้งที่บทเรียนครั้งเก่าตั้งแต่พระเทวทัตทำให้พระเจ้าอชาติศัตรูหลงศรัทธา จนได้ลาภยศอย่างมากมาย แล้วมุ่งหมายปรงพระชนม์พระพุทธเจ้าถึง 3 ครั้งก็ไม่สำเร็จ แล้วยังทำอนันตรกรรม จนกรรมตัดรอนทำให้ตนเองต้องตกต่ำเสื่อมลาภและยศ ก็ยังไม่เข็ดกลับมาทำสังฆเภท เป็นอนันตรกรรมเป็นครั้งที่ 2 เมื่อทำกรรมหนักเพิ่มเช่นนี้การเสวยสุข ด้วยยศและชื่อเสียงก็คงหาได้ยาวนานเหมือนครั้งแรก

ในพรรษาที่ 21 พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่ วัดเชตวันวิหาร กรุงสาวัตถี จะเห็นว่าพระพุทธเจ้าหาได้ทรงหยุดพักอยู่ที่ใดนานยกเว้นในช่วงเข้าพรรษา

เหตุการณ์ประมาณปีที่ 22

เมื่อเทียบอายุพระเจ้าปเสนทิโกศลขณะนั้นอายุประมาณ 57 ปี ซึ่งมีอายุพอๆ กับพระพุทธเจ้า ส่วนพระนางมัลลิกาอายุประมาณ 21 ปี หลังจากนั้นพระนางมัลลิกาตั้งครรภ์และประสูติได้ราชธิดา แล้วพระเจ้าปเสนทิโกศลมีความคิดที่จะเป็นญาติกับพระพุทธเจ้าโดยตรง จึงได้ส่งสารไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อขอพระราชธิดาในวงค์กษัตริย์สักกยะ แต่เนื่องจากในวงค์สักกยะนั้นไม่มีการภิกเสกสมรสต่างวงค์มาเลย 7 ชั่วโคตร จึงไม่ประสงค์ให้แตกออกไป แต่ก็เกรงในอำนาจของพระเจ้าปเสนทิโกศล เพราะแม้แต่พระเจ้าอชาติศัตรูยังพ้ายแพ้แก่พระเจ้าปเสนทิโกศล จึงทำการปรึกษากันจึงได้ส่งราชธิดาที่เกิดจากเจ้าสักกะองค์หนึ่งที่ได้เสียกับทาส ไปให้พระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงรับมาเป็นชายาอย่างสมเกียรติ์โดยหารู้ไม่ ต่อมาพระราชธิดาองค์นี้ก็ทรงตั้งครรภ์ ประสูติออกมาเป็นพระราชโอรสมีชื่อว่า เจ้าชายวิฑูฑพกะกุมาร

ฝ่ายพระเทวทัตมีความลำพองในตัวเองอย่างยิ่งเรียนแบบตามพุทธรีราในแคว้นมคธกรุงราชคฤห์ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จกลับมาเยือนแคว้นมคธ ก็ได้ทราบข่าวคราว พระสารีบุตรีและโมคคัลลานะจึงได้กราบทูลพระพุทธเจ้าให้ทราบว่า พระเทวทัตได้นำหมู่พระสงฆ์ 500 รูปไปทางคยาสีสะประเทศ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ถ้าพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะมีความกรุณาต่อภิกษุทั้ง 500 รูป ก็จงนำกลับมา

พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะก็ออกติดตามไปเพียง 2 รูป ขณะนั้นพระเทวทัตซึ่งมีภิกษุประมาณ 500 รูปล้อมรอบอยู่ และเมื่อพระเทวทัตได้เห็นพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ก็มีความยินดีเข้าใจว่าพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะคงชอบในความเคร่งและสมถะที่ตนเสนอแยกออกจากสงฆ์ ทั้งที่พระโกกาลิเตือนให้พระเทวทัตระวังแล้วว่า อย่างวางใจในพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ แต่พระเทวทัตก็ไม่ฟัง นิมนต์ให้พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะนั่ง แล้วสนทนาว่า ท่านทั้ง 2 มาอยู่กับเรานั้นดีแล้ว หลังจากนั้นพระเทวทัตก็แสดงธรรมให้กับเหล่าหมู่ภิกษุ ให้เห็นให้ชมชอบในธรรมที่แสดง ด้วยจิตคิดจะแสดงว่าตนก็เป็นเสมือนพระพุทธเจ้า จึงกล่าวกับหมู่ภิกษุว่า เราเมื่อยหลังแล้วประสงค์จะเอนหลังพุทธไสญาติสักพัก ขอให้ท่านทั้งหลายจงฟังธรรมจากพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะต่อ แล้วพระเทวทัตก็เรียนแบบพุทธลีลาทุกประการแต่เผลอหลับไป

พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะก็ได้โอกาสแสดงธรรม แก่เหล่าภิกษุ ทำให้ภิกษุเหล่าเห็นแจ้งในธรรมว่า สิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งที่เกิดทั้งหมดทั้งมวลนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา หลังจากนั้นพระสารีบุตรและโมคัลลานะก็พาภิกษุทั้ง 500 รูปไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทิ่งพระเทวทัตผู้หลับไหลและลูกศิษย์ผู้มีธาตุเดียวกันเพียงไม่กี่รูปไว้เบื้องหลัง

ฝ่ายลูกศิษย์ที่มีความยึดมั่นกับพระเทวทัตรีบปลุกพระเทวทัต เมื่อตื่นขึ้นมาไม่เห็นหมู่ภิกษุแล้ว ก็บังเกิดมีความขุ่นแค้นอย่างมากถึงกระอักโลหิตออกมา แล้วป่วยไข้ต้องทรมานอยู่กับการป่วยไข้อยู่เกือบ 9 เดือน ก็เกิดสำนึกขึ้นมาได้ว่าพระพุทธเจ้าทรงเมตตาพระเทวทัตมาตลอด แม้พระเทวทัตทำการปรงพระชนม์มาแล้วถึง 3 ครั้ง แต่พระพุทธองค์ก็หาประสงค์ร้ายต่อพระเทวทัตและเบียดเบียนให้ถึงชีวิต เพียงแต่ห้ามปรามให้หยุดการกระทำของพระเทวทัตที่ไม่เป็นธรรมนั้นเสียด้วยพระเมตตา

เมื่อพระเทวทัตคิดได้ดังนี้ จึงประสงค์ที่จะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อขอขมา แต่มหาสาวกและอริยะสาวกที่มีอภิญญา ต่างทราบล่วงหน้าและทำนายไว้แล้วว่า พระเทวทัตจะถูกธรณีสูบ และพระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่า พระเทวทัตจะไม่ได้เฝ้าและจะไม่ได้เห็นพระพักต์ของพระองค์เพราะจะถูกธรณีสูบเสียก่อน เมื่อพระเทวทัตสำนึกได้ดังนี้และทราบว่าพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เชตวันวิหาร กรุงสาวัตถี ก็ให้ลูกศิษย์ทำเตียงเปลห้ามไปยังเชตวันวิหาร กลุ่มภิกษุและประชาชนก็ทราบข่าวกันทั่วและรู้ถึงคำทำนาย จึงส่งข่าวให้ทราบกันไปเป็นทอดๆ

เมื่อพระเทวทัตถูกหามมาถึงสระโบกขรณี ก่อนเข้าเชตวันวิหาร ลูกศิษย์ที่ช่วยกันหามก็เมื่อยล้าวางพระเทวัตไว้แล้วขอไปอาบน้ำก่อน พระเทวทัตจึงลุกขึ้นจากเตียงที่วางไว้ แผ่นดินก็แยกจากกันสูบเท้าพระเทวทัตลงไปเบื้องล่าง จนถึงคอ, ในเวลาที่กระดูกคางจดถึงพื้นดิน ได้กล่าวคาถานี้ว่า

" ข้าพระองค์ขอถึงพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้เป็นบุคคลเลิศ เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ เป็นสารถี ฝึกนรชน มีพระจักษุรอบคอบ มีพระลักษณะ ( แต่ละอย่าง ) เกิดด้วยบุญตั้งร้อย ว่าเป็นที่พึ่ง ด้วยกระดูกเหล่านี้พร้อมด้วยลมหายใจ. "

และหลังจากนั้นพระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่าพระเทวทัตจะได้เป็นปัจเจกพุทธเจ้าในอนาคต แต่ในหนังสือบางตำรากล่าวว่า พระเทวทัตจะได้เป็นปัจเจกพุทธเจ้าเมื่อใกล้สิ้นสุดกัปนี้ แต่บางตำรากล่าวว่าเมื่อสิ้นสุดแสนกัปจากนี้ไป แต่ตามหลักการที่ตกทอดกันมากล่าวว่า ผู้ที่ได้รับพุทธพยากรณ์เพื่อตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าครั้งแรกต้องสร้างสมบารมีต่อไปอีก ถึง 2 อสงไขย กับเศษแสนมหากัป จึงสรุปได้ว่าพระเทวทัตจะได้ตรัสรู้เป็นปัจเจกพุทธเจ้าแน่นอนแต่ไม่รู้ว่าเมื่อไหร ในพรรษาที่ 22 นี้พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาที่เชตวันวิหาร กรุงสาวัตถี

เหตุการณ์ประมาณปีที่ 23

พระพุทธเจ้าประทับเข้าพรรษาที่กรุงสาวัตถี แต่เมื่อยามไม่ใช่เข้าพรรษาพระพุทธเจ้าก็ทรงเสด็จดำเนินไปโปรดสัตว์ไปทั่ว ตามพุทธกิจ

หมายเหตุ ตั้งแต่ปี่ที่ 23 นี้ ผู้เขียนบังเกิดการล้าในการหาข้อมูลและการพิมพ์ และในเหตุการณ์ของปีที่ผ่านมา ก็ได้ข้ามไปมากเรื่อง แถมยังไม่ถูกต้องและคลาดเคลื่อนอีกมาก ก็รอแต่คณะบุคคลเท่านั้นที่จะเคราะห์วิจัยตามหลักฐานที่มีในพระไตรปิฏกและอรรถกถา อย่างละเอียดจึงจะทำได้ และมีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุดตามหลักฐานที่มี

เหตุการณ์ประมาณปีที่ 24

พระพุทธเจ้าประทับเข้าพรรษาที่กรุงสาวัตถี แต่เมื่อยามไม่ใช่เข้าพรรษาพระพุทธเจ้าก็ทรงเสด็จดำเนินไปโปรดสัตว์ไปทั่ว ตามพุทธกิจ

เหตุการณ์ประมาณปีที่ 25

พระพุทธเจ้าประทับเข้าพรรษาที่กรุงสาวัตถี แต่เมื่อยามไม่ใช่เข้าพรรษาพระพุทธเจ้าก็ทรงเสด็จดำเนินไปโปรดสัตว์ไปทั่ว ตามพุทธกิจ

เหตุการณ์ประมาณปีที่ 26

พระพุทธเจ้าประทับเข้าพรรษาที่กรุงสาวัตถี แต่เมื่อยามไม่ใช่เข้าพรรษาพระพุทธเจ้าก็ทรงเสด็จดำเนินไปโปรดสัตว์ไปทั่ว ตามพุทธกิจ

เหตุการณ์ประมาณปีที่ 27

พระพุทธเจ้าประทับเข้าพรรษาที่กรุงสาวัตถี แต่เมื่อยามไม่ใช่เข้าพรรษาพระพุทธเจ้าก็ทรงเสด็จดำเนินไปโปรดสัตว์ไปทั่ว ตามพุทธกิจ

เหตุการณ์ประมาณปีที่ 28

พระพุทธเจ้าประทับเข้าพรรษาที่กรุงสาวัตถี แต่เมื่อยามไม่ใช่เข้าพรรษาพระพุทธเจ้าก็ทรงเสด็จดำเนินไปโปรดสัตว์ไปทั่ว ตามพุทธกิจ

เหตุการณ์ประมาณปีที่ 29

พระพุทธเจ้าประทับเข้าพรรษาที่กรุงสาวัตถี แต่เมื่อยามไม่ใช่เข้าพรรษาพระพุทธเจ้าก็ทรงเสด็จดำเนินไปโปรดสัตว์ไปทั่ว ตามพุทธกิจ

เหตุการณ์ประมาณปีที่ 30

(ต่อไปนี้จะเขียนตามความจำที่พอจำได้จากอรรถกถา) เพื่อความเข้ากันได้ในเรื่อง พระนางมัลลิกา พระเจ้าปเสนทิโกศล เจ้าชายวิฑูพกะกุมารราชโอรสของพระเจ้าปเสนทิโกศลกับพระชายา   ซึ่งเป็นธิดาของวงค์สักกะกับนางทาส

ขณะนั้นเจ้าชายวิฑูพกะกุมาร ก็ทรงมีชันษา 8-9 ปี ก็ไม่เคยได้รู้จักเจ้าตากับเจ้ายาย หรือพระญาติฝ่ายพระมารดาเลย และได้ถามพระมารดาอยู่เป็นประจำแล้วอ้อนวอนให้พระมารดาพาไปหาเจ้าตากับเจ้ายาย หรือพระญาติฝ่ายพระมารดา พระมารดาก็บอกปัดมาตลอดแต่เมื่อเห็นว่าอายุมากขึ้นแล้วไม่สามารถบอกปัดได้ จึงยอมอนุญาติให้เจ้าชายวิฑูพกะกุมารไปเยี่ยมพระญาติวงค์สักกะพร้อมกับข้าราชบริภารกลุ่มใหญ่ แต่พระนางได้แอบส่งข่าวให้ญาติวงค์สักกะทราบไว้ก่อน เพราะทราบว่าการถือเรื่องวงค์ของเจ้าสักกะนั้นเป็นเรื่องใหญ่มากๆ และขออย่าทำให้ให้เจ้าชายวิฑูพกะทราบฐานะของพระนาง

ฝ่ายเจ้าสักกะก็จัดฉากในการต้อนรับเพราะมีความเกรงต่อพระเจ้าปเสนทิโกศล แล้วจัดพระญาติที่มีอาวุโสมากกว่าเจ้าชายวิฑูพกะมาคอยต้อนรับ ส่วนที่อายุน้อยกว่าให้ไปยังที่อื่นเสีย เพราะไม่ต้องให้วงค์ที่บริสุทธิ์ต้องมาไหว้วงค์ที่ไม่บริสุทธิ์ ดังนั้นเจ้าชายวิฑูพกะต้องยกมือไหว้อย่างเดียวตลอด จึงสงสัยถามเหล่าพระญาติว่าทำไม ไม่มีน้องๆ เลยหรือ? เจ้าสักกะก็บอกว่าไปเทียวเล่นที่อื่นหมดเลยไม่ได้มารวมงาน เจ้าชายวิฑูพกะก็ไม่คิดอะไร? ตามประสาเด็ก

งานการต้อนรับก็ดำเนินไปด้วยดี แต่มีปัญหาอยู่ตรงที่เจ้าสักกะบางองค์เกิดความรังเกียด ดังนั้น บัลลังก์หรือที่นั่งของเจ้าสักกะที่เจ้าชายวิฑูพกะนั่ง ได้สั่งให้ข้าทาสเอาล้างใหม่ทั้งหมดและทุกครั้ง ทำให้เหล่าข้าทาสนั้นเหนื่อยแล้วไม่พอใจ ขณะล้างที่นั่งก็ด่าไปว่า ไห้ลูกทาสวิฑูพกะไม่รู้มาทำไมทำให้เจ้านายสั่งให้กูล้างที่มันนั่ง พอดีเจ้าชายวิฑูพกะอยู่แถวนั้นและได้ยินอย่างชัดเจน ก็ขัดเคืองอย่างมากจึงเข้าไปถามเหล่าเจ้าสักกะด้วยความโกรธ ว่าเราเป็นลูกทาสจริงหรือ? และท่านรังเกียดเรามากขนาดไม่ย่อมให้น้องๆ มาไหว้เราหรือ? และยังรังเกียดเรามากแม้แต่ที่นั่งที่เรานั่งพวกท่านก็ให้ข้าทาสรีบไปล้างกันสเนียดจันไรหรือ? เหล่าเจ้าสักกะบางพวกก็นิ่งอึ่ง แต่พวกที่รังเกียดก็ตอบว่าจริง เจ้าชายวิฑูพกะได้ยินอย่างนั้นโกรธเป็นอย่างยิ่งตวาดออกไปตามประสาเด็กว่า เราจะฆ่าล้างโคตรพวกเจ้า แล้วข้าราชบริวารของเจ้าชายวิฑูพกะเข้ามานำเจ้าชายวิฑูพกะกลับกรุงสาวัตถีแคว้นโกศล

หลังจากนั้นเจ้าสักกะก็ลืมเลือนเหตุการณ์นี้ไป ในพรรษาที่ 30 พระพุทธเจ้าประทับเข้าพรรษาที่กรุงสาวัตถี แต่เมื่อยามไม่ใช่เข้าพรรษาพระพุทธเจ้าก็ทรงเสด็จดำเนินไปโปรดสัตว์ไปทั่ว ตามพุทธกิจ

เหตุการณ์ประมาณปีที่ 31

พระพุทธเจ้าประทับเข้าพรรษาที่กรุงสาวัตถี แต่เมื่อยามไม่ใช่เข้าพรรษาพระพุทธเจ้าก็ทรงเสด็จดำเนินไปโปรดสัตว์ไปทั่ว ตามพุทธกิจ

เหตุการณ์ประมาณปีที่ 32

พระพุทธเจ้าประทับเข้าพรรษาที่กรุงสาวัตถี แต่เมื่อยามไม่ใช่เข้าพรรษาพระพุทธเจ้าก็ทรงเสด็จดำเนินไปโปรดสัตว์ไปทั่ว ตามพุทธกิจ

เหตุการณ์ประมาณปีที่ 33

พระพุทธเจ้าประทับเข้าพรรษาที่กรุงสาวัตถี แต่เมื่อยามไม่ใช่เข้าพรรษาพระพุทธเจ้าก็ทรงเสด็จดำเนินไปโปรดสัตว์ไปทั่ว ตามพุทธกิจ

เหตุการณ์ประมาณปีที่ 34

พระพุทธเจ้าประทับเข้าพรรษาที่กรุงสาวัตถี แต่เมื่อยามไม่ใช่เข้าพรรษาพระพุทธเจ้าก็ทรงเสด็จดำเนินไปโปรดสัตว์ไปทั่ว ตามพุทธกิจ

เหตุการณ์ประมาณปีที่ 35

พระพุทธเจ้าประทับเข้าพรรษาที่กรุงสาวัตถี แต่เมื่อยามไม่ใช่เข้าพรรษาพระพุทธเจ้าก็ทรงเสด็จดำเนินไปโปรดสัตว์ไปทั่ว ตามพุทธกิจ

เหตุการณ์ประมาณปีที่ 36

พระพุทธเจ้าประทับเข้าพรรษาที่กรุงสาวัตถี แต่เมื่อยามไม่ใช่เข้าพรรษาพระพุทธเจ้าก็ทรงเสด็จดำเนินไปโปรดสัตว์ไปทั่ว ตามพุทธกิจ

เหตุการณ์ประมาณปีที่ 37

พระพุทธเจ้าประทับเข้าพรรษาที่กรุงสาวัตถี แต่เมื่อยามไม่ใช่เข้าพรรษาพระพุทธเจ้าก็ทรงเสด็จดำเนินไปโปรดสัตว์ไปทั่ว ตามพุทธกิจ

เหตุการณ์ประมาณปีที่ 38

เท้าความเดิมถึงความเกี่ยวพันธ์ระหว่างพระเจ้าปเสนทิโกศลกับเจ้าพันธุละเสนาบดี เจ้าพันธุละเสนาบดีเป็นทั้งนายทหารและเพื่อนคู่ใจของพระเจ้าปเสนทิโกศล ดังนั้นการปกครองด้านการทหารตกอยู่ในมือของเจ้าพันธุละเสนาบดีจนหมดสิ้น และเจ้าพันธุละก็เป็นผู้ที่ซื่อตรงชื่อสัตย์ต่อพระเจ้าปเสนทิโกศลโดยตลอด เจ้าพันธุละมีภรรยาชื่อ นางมัลลิกา มีชื่อเหมือนกับพระนางมัลลิกามเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศล แต่ในประมาณปีที่ 38 นี้พระนางมัลลิกามเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศลได้สวรรคตไปหลายปีแล้ว (เรื่อง สาเหตุการสวรรคตของพระนางมัลลิกา ไม่ประสงค์ที่จะเล่า)

เรื่องนางมัลลิกา นางมัลลิกาเป็นธิดาของเจ้าเมืองในแคว้นอังคะ(เจ้าเมืองมีอยู่เกือบทุกเมือง แต่หาได้เป็นราชาของแคว้น) และได้ถูกยกให้เป็นชายาของเจ้าพันธุละ อยู่ครองเรือนกับเจ้าพันธุละ 2-3 ปี ก็ไม่มีบุตร เจ้าพันธุละจึงส่งกลับเมืองของนางมัลลิกา ขณะกลับเมืองนางมัลลิกาก็ได้พบกับพระพุทธเจ้าในระหว่างทาง และได้ฟังธรรมจนบรรลุเป็นพระโสดาบันในประมาณปีต้นๆ หลังพระพุทธเจ้าตรัสรู้ แล้วพระพุทธเจ้าก็ให้กลับไปอยู่กับเจ้าพันธุละเหมือนเดิม ไม่นานก็ตั้งครรภ์คลอดเป็นบุตรชายฝาแผดติดต่อกันถึง 32 คน ถึงในปีที่ 38 นี้บุตรทุกคนก็เป็นหนุ่มแน่น เชียวชาญในการรบและการทหารเหมือนบิดา

ในวงการข้าราชบริพาร ย่อมมีการยุยงและใส่ร้ายกัน เมื่อมีอำมาตย์ผู้หนึ่งกระซิบบอกพระเจ้าปเสนทิโกศลขณะนั้นพระองค์อายุประมาณ 73 ปี ว่าเจ้าพันธุละและบุตรคิดจะแย่งราชสมบัติ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเชื่อและเห็นจริงเห็นจังด้วย จึงปรึกษากับอำมาตย์เหล่านั้นว่าจะทำอย่างไร? จึงได้ออกอุบายทำทีมีข้าศึกอยู่ที่ชายแดน และพระองค์ก็ได้ส่งเจ้าพันธุละพร้อมทั้งบุตรไปปราบ หลังจากนั้นพระองค์ก็ส่งกองกำลังไปอีกกองหนึ่งให้ฆ่าเจ้าพันธุละและบุตรทั้งหมดไม่ให้เหลือ ซึ่งทุกอย่างเป็นไปตามแผน เจ้าพันธุละและบุตรตายหมด

ในขณะนั้นที่เรือนนางมัลลิกาชายาของเจ้าพันธุระ ซึ่งนางมัลลิกาได้นิมนตร์พระพุทธเจ้าและพระภิกษุมารับภัตตาหารที่เรือน ขณะเดียวกันกันทหารได้ส่งหนังสือข่าวการตายของเจ้าพันธุละและบุตร 32 คนให้ทราบ นางเมื่อทราบความแล้วก็ยังสงบนิ่งถวายภัตตาหารแก่พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์อย่างปกติ เผอิญข้าทาสคนหนึ่งขณะยกหม้ออาหารได้ทำหม้ออาหารตกแตก พระพุทธเจ้าทรงเห็นเหตุที่จะทำให้นางมัลลิกาแสดงคุณของนางให้ทราบกันทั่ว พระพุทธองค์จึงตรัสว่า ท่านอย่าตกใจไปเลยด้วยหม้อและอาหารที่ตกแตกนั้น นางมัลลิกาจึงกราบทูลว่า อย่าว่าแต่หม้อเพียงเล็กน้อย แม้เดียวนี้ได้ทราบว่าสามีและบุตร 32 คนถูกฆ่าหมดแล้วก็ยังไม่ตกใจเลย พระเจ้าคะ คุณของนางมัลลิกาจึงได้ทราบกันทั่วในวงพุทธศาสนา

ต่อมาภายหลังพระเจ้าปเสนทิโกศลได้สอบส่วนทราบความจริงจากมัลลิกาว่า เจ้าพันธุละและบุตรไม่เคยคิดแม้แต่จะแย่งราชสมบัติและมีความชื่อสัตย์เป็นอย่างยิ่ง จึงเสียพระทัยเป็นอย่างมากที่ฆ่าเพื่อนที่ซือสัตย์ที่เคียงบ่าเคียงไหล่มาตั้งแต่เยาว์วัย จึงประสงค์จะทำคุณทดแทนโทษ ก็ได้แต่งตั้งหลานของเจ้าพันธุละเป็นเสนาบดีทางด้านการทหาร

ดังนั้นจะเห็นว่าวงค์ตระกุลของเจ้าพันธุละเชียวชาญทางการทหารทั้งสิ้น และมีอำนาจในวงการทหารทั้งวงค์ตระกุล แต่หลานของเจ้าพันธุละมีความโกรธแค้นพระเจ้าปเสนทิโกศลอยู่ในใจ ที่ฆ่าเจ้าพันธุละและน้องๆ ของตน จึงคิดว่าถ้ามีโอกาสจะปลดพระเจ้าปเสนทิโกศลออกจากราชบัลลังก์ให้ได้ และหลานของเจ้าพันธุละคนนี้สนิทสนมกับเจ้าชายวิฑูพกะกุมาร ก็คิดจะส่งเสริมเจ้าชายวิฑูพกะกุมารขึ้นครองราชถ้ามีโอกาส ซึ่งขณะนั้นเจ้าชายวิฑูพกะมีชนม์อายุประมาณ 17 ชันษา

หลานเจ้าพันธุละรอโอกาสไม่นาน ก็ประสบโอกาสเมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลประสงค์จะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ซึ่งอยู่ห่างไกลจากบริเวณเมืองมาก จึงเสด็จไปพร้อมกับเหล่าทหารที่คุ่มกันโดยมีหลานเจ้าพันธุละเป็นผู้นำกระบวน และจะมีเฉพาะข้าทาสเล็กน้อยไปคอยบริการเท่านั้น แต่เมื่อเข้าใกล้ก่อนถึงกุฏิของพระพุทธเจ้า ก็ให้ทิ้งกองทหารไว้ที่นั้นเพื่อไม่ให้เกิดเสียงรบกวน แล้วเสด็จเข้าไปเข้าไปกับเสนาบดีหลานเจ้าพันธุละและนางทาสีอีกคนหนึ่ง พอถึงกุฏิก็ทรงสั่งให้เสนาบดีและทาสีนั้นคอยอยู่ข้างนอก และทรงปรดอาวุธคู่กายและเครื่องทรงที่เกะกะให้เสนาบดีหลานเจ้าพันธุละถือไว้ แล้วก็ทรงเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า สนทนากับพระพุทธองค์

ฝ่ายเสนาบดีได้โอกาสจึงขู่ตะคอกทาสีว่า เจ้าจงอยู่ที่นี้นิ่งห้ามโวยวายไม่เช่นนั้นเจ้าหามีชีวิตไม่? เราจะชิงราชสมบัติของพระเจ้าปเสนทิโกศลให้กับเจ้าชายวิฑูพกะ แล้วขึ้นม้านำทหารกลับเข้าเมือง พระเจ้าปเสนธิโกศลเมื่อสนทนาธรรมกับพระพุทธเจ้าเสร็จก็เสด็จเดินออกมาเห็นนางทาสีคนเดียวก็เอะใจ แต่พอทราบว่าท่านเสนาบดีชิงราชบัลลังก์ให้กับเจ้าชายวิฑูพกะ จึงมีความโกรธแค้นอย่างมากตามประสาปุถุชน จึงคิดว่าจะกลับเข้าเมืองไม่ได้แล้วเพราะเข้าไปต้องถูกปรงพระชนม์แน่ จึงคิดที่จะเสด็จไปหาพระเจ้าอชาติศัตรูยังกรุงราชคฤห์แคว้นมคธจะเพื่อนำกองทัพกลับมายึดราชบัลลังก์คืน

คิดดูสิครับจากกรุงสาวัตถี เดินทางด้วยเท้าเปล่ากว่าจะผ่านแคว้นโกศล กว่าจะผ่านแคว้นกาสี ถึงแคว้นมคธ แต่ถ้าเดินทางทางเหนือต้องตัดผ่านแคว้นเล็กๆ จึงจะถึงแคว้นมคธ ระยะทางเป็นพันกิโลเมตร ด้วยวัยประมาณ 73 ปี ไม่เคยลำบากตรากตรำในภายหลังมาหลายปี เดินทางด้วยความใจร้อนและโกรธแค้นไปพร้อมกับนางทาสี เสบียงอาหารก็ไม่ได้มี ไม่ย่อมหยุดพักที่ใหนเพราะมีพระทัยรีบร้อน จึงป่วยไข้กลางทางและพระบาทนั้นระบมไปหมด ก็ยังฝืนเดินทางด้วยความโกรธ เมื่อเดินทางมาจะเข้ากรุงราชคฤห์ก็สวรรคตเสียก่อน

ในพรรษาที่ 38 พระพุทธเจ้าประทับเข้าพรรษาที่กรุงสาวัตถี แต่เมื่อยามไม่ใช่เข้าพรรษาพระพุทธเจ้าก็ทรงเสด็จดำเนินไปโปรดสัตว์ไปทั่ว ตามพุทธกิจ

เหตุการณ์ประมาณปีที่ 39

พระพุทธเจ้าประทับเข้าพรรษาที่กรุงสาวัตถี แต่เมื่อยามไม่ใช่เข้าพรรษาพระพุทธเจ้าก็ทรงเสด็จดำเนินไปโปรดสัตว์ไปทั่ว ตามพุทธกิจ

เหตุการณ์ประมาณปีที่ 40

พระเจ้าวิฑูพกะทรงคิดแก้แค้นเจ้าสักกยวงค์ จึงได้จัดเตรียมทัพเพื่อที่จะเคลื่อนทัพไปโจมตี พระพุทธเจ้าทรงทราบจึงเสด็จไปห้ามไว้ พระเจ้าวิฑูพกะก็ทรงยุติการเคลื่อนทัพ แต่เมื่อเวลาผ่านไปความแค้นของพระเจ้าวิฑูพกะก็ประทุขึ้นมาอีก ก็ทำการจัดเตรียมทัพแล้วเคลื่อนทัพ พระพุทธเจ้าเมื่อทรงทราบก็เสด็จไปห้ามกลางทาง พระเจ้าวิฑูพกะก็ใจอ่อนเคลื่อนทัพกลับเข้าเมือง

แต่เมื่อเวลาผ่านไปอีกความแค้นก็ปะทุขึ้นมาอีก จัดเตรียมทัพเคลื่อนทัพไป ครั้งนี้พระพุทธเจ้าทรงทราบแต่พระองค์ก็ไม่ไปห้ามทัพ และทรงตรัสกับภิกษุทำนองว่า กรรมเก่าของเหล่าเจ้าสักกยวงค์พระญาติของพระพุทธองค์เป็นกรรมที่แรงมากไม่มีผู้ใดช่วยได้ จะต้องถูกทำลายล้างเกือบหมดสิ้นด้วยกำลังความโกรธแค้นของพระเจ้าวิฑูพกะซึ่งเป็นพระญาติกัน และด้วยกรรมทีพระเจ้าวิฑูพกะทำลายล้างพระญาตินั้น ก็จะส่งผลพระเจ้าวิฑูพกะอย่างเร็วพลันแล้วลงสู่นรกทันที

ด้วยกำลังกองทัพที่เหนือกว่าในทุกด้าน พระเจ้าวิฑูพกะทำลายล้างเหล่าเจ้าสักกยวงค์พระญาติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ เกือบหมดสิ้นอย่างง่ายดาย ซึ่งพระญาติเหล่านั้นบ้างก็เป็นพระโสดาบัน บ้างเป็นพระสกิทาคามี บ้างเป็นพระอนาคามี ที่เป็นฆารวาส ถูกปรงพระชนม์เกือบหมด มีพระญาติบางส่วนซึ่งได้หลบหนีไปก่อนกระจัดกระจ่ายไปยังแคว้นต่างๆ เช่นแคว้นอวันตี กรุงอุเชน ซึ่งปรากฏให้ทราบในอีก 200 กว่าปีภายหลัง ในสมัยพระเจ้าอโศก เพราะเมื่อเจ้าชายอโศกได้มาครองกรุงอุเชนแคว้นอวันตี ก็ได้มเหสีองค์แรกคือราชธิดาที่เป็นเชื่อสายจากสักกยวงค์ ที่อพยพหนีมาในคราวนั้น และเป็นผู้นับถือพุทธศาสนา

กล่าวถึงพระเจ้าวิฑูพกะเมื่อสำเร็จโทษสมความแค้น ก็เคลื่อนทัพกลับและได้พักกองทัพที่แม่น้ำแห่งหนึ่ง ณ บริเวณริมชายหาดของแม่น้ำแห่งนั้น โดยไม่ได้ทราบพฤติกรรมของแม่น้ำแห่งนั้นว่า เวลากลางคืนน้ำจะขึ้นอย่างรวดเร็ว และถ้ามีฝนตกตรงต้นน้ำปริมาณมาก น้ำในแม่น้ำจะไหลบ่าอย่างมหาศาลท่วมล้นชายหาด ด้วยผลกรรมของพระเจ้าวิฑูพกะและเหล่าทหาร ฝนได้ตกที่ต้นน้ำอย่างมากมาย ทำให้พระเจ้าวิฑูพกะและเหล่าทหารได้เสียชีวิตเกือบทั้งหมดในกระแสน้ำนั้น

จะเห็นว่าพระพุทธเจ้าหาได้ไปยุ่งเกียวกับการบ้านการเมืองแม้แต่เพียงนิดเดียว พระพุทธเจ้าทรงเผยแผ่พระสัทธรรมตามพุทธกิจทุกๆ เมือง ทุกๆ แคว้น เมืองใดจะรบกันก็หาได้ยุ่งเกี่ยว ยกเว้นในเรื่องของพระญาติ เพราะพระพุทธองค์ทรงทำหน้าที่ของพระญาติ เช่นห้ามพระญาติในเรื่องการชิงมงกุฎจนสงบ เรื่องการแย้งน้ำในการทำนาจนสงบ และเรื่องพระเจ้าวิฑูพกะแก้แค้นพระญาติของตนเอง แต่เมื่อเห็นว่ากำลังของกรรมเก่านั้นมากพระพุทธเจ้าก็ทรงวางอุเบกขาเสียทั้งที่รู้ทุกประการว่าผลเป็นอย่างไร

จงสังเกตหมู่เหล่ากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่ไม่ใช่บวชเป็นพระภิกษุ ในช่วงต้นพุทธกาลดังนี้

พระเจ้าพิมพิสารเจ้าแห่งมคธกรุงราชคฤห์ ถูกพระเจ้าอชาติศัตรูราชโอรสปรงพระชนม์อย่างทรมาน กลุ่มเจ้าวัชชีก็โดนพระเจ้าอชาติศัตรูรกรานจนย่อยยับ

พระเจ้าอุเทนก็แย่งชิงราชบัลลังก์จากเสด็จอา เพราะเสด็จอาก็แย่งชิงราชสัมบัติจากราชบิดาของพระเจ้าอุเทน

พระเจ้าวิฑูพกะก็แย่งชิงราชบัลลังก์จากพระเจ้าปเสนทิโกศล ทำให้พระเจ้าปเสนทิโกศลต้องตรากตรำในการเดินทางจนสวรรคต ที่ร้ายที่สุดคือล้างโครตกันเองในหมู่พระญาติที่พระเจ้าวิฑูพกะสั่งฆ่าเจ้าสักกยะทั้งหลายที่เป็นฆารวาสเกือบหมดสิ้น แล้วพระเจ้าวิฑูพกะก็สวรรคตอย่างโหดร้ายเช่นกันจากธรรมชาติ  และหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปไม่นาน พระเจ้าอชาติศัตรู ก็ถูกราชโอรสปรงพระชนม์เพื่อชิงราชบัลลังก์เช่นกัน

แต่พระพุทธเจ้าและเหล่าภิกษุสงฆ์เหล่านั้นหมุนธรรมจักร ไปได้ทุกแคว้นโดยไม่มีผลกระทบเลย เพราะธรรมเหล่านั้นนำมาเพื่อความไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่นเป็นกำลัง มีเหตุมีผล นำไปสู่การดับทุกข์อย่างถาวร ในพรรษาที่ 40 พระพุทธเจ้าประทับเข้าพรรษาที่กรุงสาวัตถี แต่เมื่อยามไม่ใช่เข้าพรรษาพระพุทธเจ้าก็ทรงเสด็จดำเนินไปโปรดสัตว์ไปทั่ว ตามพุทธกิจ