กัปป์ อสงไขย อายุขัย กาลเวลา และการประมาณจำนวน

     ความจริงแล้วเรื่องเหล่านี้เป็นที่สนใจของคนทั้งหลาย ผมจึงเห็นว่าควรรวบรวมไว้เพื่อสะดวกในการค้นหาและอ่าน ซึ่งผมได้ทำการคำนวณให้เห็นโดยประมาณตัวเลข และวิเคราะห์ให้เห็นภาพที่พอจะชัดเจนขึ้นได้ เมื่อเทียบกับวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน
          เรื่องความยาวนานของกัปป์
          เรื่องพุทธเขต ทั้ง 3 พุทธเขต
          เรื่องอายุขัยของเทวดาและพรหม
          เรื่องอายุขัยของสัตว์อเวจีนรก 1 ปทุม
          เรื่องประมาณชาติที่เกิดตายในหนึ่งกัปป์
          เรื่องความยาวนานของอสงไขย
          เรื่องเปรียบเทียบจักรวาลแบบพุทธกับสุริยจักรวาล
          เรื่องหน่วยวัดระยะเวลา 1 กัปป์

         
 เรื่องประมาณจำนวนเทวดาและพรหมย่อกายรวมกันใน 12 โยชน

                    เรื่องความยาวนานของกัปป์
         
มีพระสุตรที่พระพุทธเจ้าได้กล่าวถึงความยาวนานของกัปป์ อยู่หลายพระสุตร แต่มีพระสุตรเดียวที่ผมสามารถยกมาเปรียบเทียบคำนวณ ประมาณเป็นปีของมนุษย์โลกเราได้ คือ
                    
. สาสปสูตร
       [
๔๓๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้น
ภิกษุนั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กัปหนึ่งนานเพียงไร
หนอแล ฯ
       
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ กัปหนึ่งนานแล มิใช่ง่ายที่จะนับกัปนั้นว่า เท่านี้ปี
ฯลฯ หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี ฯ
      
ภิ. ก็พระองค์อาจจะอุปมาได้ไหม พระเจ้าข้า ฯ
      [
๔๓๒] . อาจอุปมาได้ ภิกษุ แล้วจึงตรัสต่อไปว่า ดูกรภิกษุเหมือนอย่างว่า นคร
ที่ทำด้วยเหล็ก ยาวโยชน์ ๑ กว้างโยชน์ ๑ สูงโยชน์ ๑ เต็มด้วยเมล็ดพันธุ์ผักกาด มีเมล็ดพันธุ์
ผักกาดรวมกันเป็นกลุ่มก้อน บุรุษพึงหยิบเอาเมล็ดพันธุ์ผักกาดเมล็ดหนึ่งๆ ออกจากนครนั้น
โดยล่วงไปหนึ่งร้อยปีต่อเมล็ดเมล็ดพันธุ์ผักกาดกองใหญ่นั้น พึงถึงความสิ้นไป หมดไป
เพราะความพยายามนี้ ยังเร็วกว่าแล ส่วนกัปหนึ่งยังไม่ถึงความสิ้นไป หมดไป กัปนานอย่างนี้แล
บรรดากัปที่นานอย่างนี้ พวกเธอท่องเที่ยวไปแล้วมิใช่หนึ่งกัป มิใช่ร้อยกัป มิใช่พันกัป มิใช่
แสนกัป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ
พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ
                                         
จบสูตรที่ ๖

         จากพระสูตรข้างบนเมื่อผมนำมาคำนวณเป็นปีโดยประมาณว่า หนึ่งกัปมีระยะเวลากี่ปีดังนี้
สมมุติมีกล่องใบหนึ่ง กว้าง 1 โยชน์ ยาว 1โยชน์ และ สูง 1 โยชน์ ในเวลา 100 ปี ให้เอาเมล็ดผักกาด 1 เมล็ด ใส่ลงไปในกล่องนั้น ทำอย่างนี้จนเมล็ดผักกาดนั้นเต็มเสมอเรียบปากกล่อง นั้นละจึงเท่ากับ 1 กัป

          
วิเคราะห์คำนวณ 1 โยชน์ = 16 กิโลเมตร
          
ดังนั้นกล่องใบนี้มีปริมาตร = 16X16X16 = 4,096 ลูกบาตกิโลเมตร
          
ประมานว่า เมล็ดผักกาด มีขนาด .5 มิลลิเมตร
          1
กิโลเมตรเทียบเป็นมิลลิเมตรได้ดังนี้ 10X100X1000 = 1,000,000 มิลลิเมตร
จะได้  1 กิโลเมตรใช้เมล็ดผักกาดเรียงกัน = (1,000,000)/0.5 = 2,000,000 เมล็ด
ดังนั้น 16 กิโลเมตรใช้เมล็ดผักกาดเรียงกัน = 16X2,000,000 = 32,000,000 เมล็ด

          
ถ้าเป็นปริมาตร คือ กว้าง*ยาว*สูง ต้องใช้เมล็ดผักกาดทั้งหมด คือ
32,000,000X32,000,000X32,000,000 = 32,768,000,000,000,000,000,000
เมล็ด
ใน 100 ปี ใส่เมล็ดผักเพียง 1 เมล็ด ดังนั้นต้องใช้เวลาทั้งหมดคือ
32,768,000,000,000,000,000,000X100 = 3,276,800,000,000,000,000,000,000
ปี
           1
กัป >= 3.3 X 10**24 ปี

จึงได้เวลา 1 กัป ประมาณหรือมากกว่า สามล้านสองแสนเจ็ดหมื่นหกพันแปดร้อยล้านล้านล้าน ปี
ประมาณหรือมากกว่า 3.3 X 10**24 ปี
       
แต่ค่าที่ได้นี้จะไปขัดแย้งกับค่า 1 ปทุมะ ที่เป็นอายุขัยสูงสุดของสัตว์ในอเวจีนรก ซึ่งมีค่าประมาณหรือมากกว่า 2.62 X 10**26 ปี
จึงต้องขยับตัวเลข 1 กัปป์ เป็น 1 กัปป์ ประมาณหรือมากกว่า 3.3 X 10**26 ปี จึงดูใกล้เคียงมากกว่า
หมายเหตุ ถ้าโลกเราหรือสุริยจักรวาลนี้แตกดับไปแต่ภพของเทวดาหรือภพพรหมบางส่วนและดาวฤกษ์บริเวณใกล้เคียงโดยรอบยังไม่แตกดับไปด้วย ก็ยังไม่นับว่าเป็น 1 กัปป์ ดังนั้น 1 กัปป์อาจหมายความว่าโลกมนุษย์หรือสุริยจักรวาลเกิดและดับไปหลายครั้งแล้วก็เป็นได้ อ่านได้ในเปรียบเทียบจักรวาลพุทธกับสุริยจักรวาลตอนท้าย
    
หรือกล่าวได้ว่า 1 กปัป์ คือ หน่วยวัด ที่ทุกๆ โลก ทุกๆ จักรวาลที่อยู่ในอาณาบริเวณพุทธเขต บังเกิดขึ้นมาหนึ่งครั้ง และตั้งอยู่ เเละดับไปสลายไป 1 ครั้ง                   

    ความหมายของพุทธเขต และเมื่อกัปพินาศ จากอรรถกถาเล่มที่ 1
    
ในกาลใด กัปย่อมพินาศไปเพราะไฟ, ในกาลนั้น โลกย่อม ถูกไฟเผา ภายใต้ตั้งแต่ชั้นอาภัสสระลงมา.
    
ในกาลใด กัปย่อมพินาศไปเพราะน้ำ ในกาลนั้น โลกย่อมถูกน้ำทำลายให้แหลกเหลวไป ภายใต้ตั้งแต่ชั้นสุภกิณหะลงมา.
     
ในกาลใด กัปย่อมพินาศไปเพราะลม, ในกาลนั้น โลกย่อมถูกลมพัด ให้กระจัดกระจายไป ภายใต้ตั้งแต่ชั้นเวหัปผละลงมา.
    
ก็โดยส่วนมาก* พุทธเขตอย่างหนึ่ง (คือเขตของพระพุทธเจ้า) ย่อมพินาศไป แม้ในกาลทุกเมื่อ.
            [
พุทธเขต ๓ พร้อมทั้งอรรถาธิบาย]
    
ขึ้นชื่อว่า พุทธเขต (คือเขตของพระพุทธเจ้า) มี ๓ คือ ชาติเขต (คือเขตที่ประสูติ) ๑ อาณาเขต (คือเขตแห่งอำนาจ) ๑ วิสัยเขต (คือ เขตแห่งอารมณ์ หรือความหวัง) .
           
ในพุทธเขต ๓ อย่างนั้น
    
สถานเป็นที่หวั่นไหวแล้ว เพราะเหตุทั้งหลาย มีการถือปฏิสนธิเป็นต้น ของพระตถาคต ชื่อ ชาติเขต ซึ่งมีหมื่นจักรวาลเป็นที่สุด.
      
สถานที่อานุภาพแห่งพระปริตรเหล่านี้ คือ รัตนปริตร เมตตาปริตร
ขันธปริตร ธชัคคปริตร อาฏานาฏิยปริตร โมรปริตร เป็นไปชื่อว่า อาณาเขต
ซึ่งมีแสนโกฏิจักรวาลเป็นที่สุด.
      
เขตเป็นที่พึ่งซึ่งพระองค์ทรงระลึกจำนงหวัง ที่พระองค์ทรงหมายถึง
ตรัสไว้ว่า ก็หรือว่า ตถาคตพึงหวังโลกธาตุมีประมาณเพียงใด ดังนี้เป็นต้น ชื่อว่า วิสัยเขต ซึ่งมีประมาณหาที่สุดมิได้.
       
บรรดาพุทธเขตทั้ง ๓ เหล่านั้น อาณาเขตอย่างหนึ่ง ย่อมพินาศไป ดังพรรณนามาฉะนี้. ก็เมื่ออาณาเขตนั้นพินาศอยู่ ชาติเขตก็ย่อมเป็นอันพินาศ ไปด้วยเหมือนกัน. และชาติเขตเมื่อพินาศไป ก็ย่อมพินาศโดยรวมกันไปทีเดียว.
แม้เมื่อดำรงอยู่ ก็ย่อมดำรงอยู่โดยรวมกัน.

     
สรุปได้ว่า พุทธเขตมี 3 เขต คือ
     1.ชาติเขต     มีหมื่นจักรวาล ที่สว่างและหวั่นไหว เมื่อพระมหาโพธิสัตว์ ปฏิสนธิ ประสูติ และตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า
     2. อาณาเขต  มีล้านล้านจักรวาล ที่อำนาจของพุทธคุณไปถึงได้ (ก็คือกลุ่มกาแลคชี ที่รวมกาแลคชีทางช้างเผือกนี้ด้วย)
     3. วิสัยเขต    มีจักรวาลหรือโลกธาตุประมาณหาที่สุดมิได้ ที่พระพุทธเจ้าพึงรู้ได้ (ทรงรู้ไปได้ทั่วทุกๆ กาแลคชี)

      
วิเคราะห์ตามอรรถกถา เมื่อตอนสิ้นกัป หมายถึง 1. อาณาเขตและ 2. ชาติเขต  ที่มีจักรวาลถึงแสนโกฏิจักรวาล (ล้านล้านจักรวาล) ก็คือกลุ่มกาแลคชีในอาณาบริเวณทางช้างเผือกทั้งหมด พังจนหมดสิ้นจนไม่มีเหลือ ซึ่งไม่ใช่จักรวาลเดียวหรือโลกที่มนุษย์โลกเราอยู่นี้ พังจนหมดสิ้นเพียงจักรวาลเดียว  แต่หมายความว่าพังสลายไปทั้งหมดในกลุ่มกาแลคชีทางช้างเผือก(มีอยู่หลายกาแลคชีที่ใกล้กัน ที่อัดเข้ามารวมกัน)  แต่กาแลคชีอื่นหรือโลกธาตุอื่นที่อยู่ไกลออกไปมากๆ หาได้พังสลายไปพร้อมกันไม่  ก็คือ กลุ่มกาแลคชีแต่ละกลุ่มมีการเกิดแล้วยุบรวมตัวกันแล้วสลาย แล้วเกิดใหม่แล้วยุบรวมตัวกันแล้วสลาย ไปตามธรรมชาติแต่หาได้สลายไปพร้อมกันที่เดียว และการนับว่า 1 กัป นั้น จำนงหมายเอาแต่โลกธาตุหรือกาแลคชีที่จะมีหรือที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติปรากฏขึ้นได้เท่านั้น  เกิดขึ้นแล้วพังสลายไปหนึ่งรอบเป็น 1 กัป  และเมื่อก่อตัวเป็นโลกธาตุสมบูรณ์(กาแลคชี)ใหม่ จึงนับเป็น กัป ต่อไป     

                           เรื่องอายุขัยของเหลาเทวดา
  
อายุขัยของเหล่าเทวดานั้นมีอายุขัยยืนยาวมาก ผมขอตัดบางส่วนของ วิตถตสูตร ที่พระพุทธเจ้าตรงตรัสมาให้ดู
                             
วิตถตสูตร (บางส่วน เกียวกับอายุขัยเทวดา)
.............

           
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ บุคคลเข้าอยู่แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก
มีความรุ่งเรืองมาก มีความแพร่หลายมาก เพียงไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพระราชา
เสวยราชย์ดำรงอิสรภาพและอธิปไตยในชนบทใหญ่ๆ ๑๖ รัฐ มีรัตนะ ๗ ประการมากมาย
เหล่านี้ คือ อังคะ มคธะกาสี โกสละ วัชชี มัลละ เจดีย์ วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ
สุรเสนะอัสสกะ อวันตี คันธาระ กัมโพชะ การเสวยราชดำรงอิสรภาพและอธิปไตยของ
พระราชานั้น ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ประการ ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะราชสมบัติมนุษย์เป็นเหมือนของคนกำพร้าเมื่อเทียบสุขอันเป็นทิพย์
        
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๕๐ ปีมนุษย์ เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่งของเทวดาชั้นจาตุมมหาราช ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้น
เป็นเดือนหนึ่ง ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้นเป็นปีหนึ่ง ๕๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของ
เทวดาชั้นจาตุมมหาราช ..........
         
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๑๐๐ ปี มนุษย์เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่งของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ๓๐ ราตรี
โดยราตรีนั้นเป็นเดือนหนึ่ง ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้นเป็นปีหนึ่งพันปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณ
อายุของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ........
          
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒๐๐ ปีมนุษย์เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่งของเทวดาชั้นยามา ๓๐ ราตรีโดย
ราตรีนั้นเป็นเดือนหนึ่ง ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้นเป็นปีหนึ่ง ๒,๐๐๐ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณ
ของอายุเทวดาชั้นยามา .......
           
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๔๐๐ ปีมนุษย์เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่งของเทวดาชั้นดุสิต ๓๐ ราตรีโดย
ราตรีนั้นเป็นเดือนหนึ่ง ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้นเป็นปีหนึ่ง ๔,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็น
ประมาณอายุของเทวดาชั้นดุสิต .......
          
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๘๐๐ ปีมนุษย์เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่งของเทวดาชั้นนิมมานรดี ๓๐ ราตรี
โดยราตรีนั้นเป็นเดือนหนึ่ง ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้นเป็นปีหนึ่ง ๘,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็น
ประมาณอายุของเทวดาชั้นนิมมานรดี ......
         
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๑,๖๐๐ ปีมนุษย์เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่งของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี
๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้นเป็นเดือนหนึ่ง ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้นเป็นปีหนึ่ง ๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น
เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี .....
        
บุคคลไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้ พึง
เว้นจากเมถุนธรรม อันมิใช่ความประพฤติของพรหม ไม่พึง
พูดเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา ไม่พึงบริโภคอาหารในเวลาวิกาล
ในราตรี ไม่พึงทัดทรงดอกไม้และของหอม พึงนอนบน
เตียง บนแผ่นดิน หรือบนเครื่องลาดด้วยหญ้า บัณฑิต
ทั้งหลายกล่าวอุโบสถ ๘ ประการนี้แล ที่พระพุทธเจ้าผู้ถึง
ที่สุดแห่งทุกข์ทรงประกาศแล้ว
.............................

                              
จบสูตรที่ ๒
        
เมื่อนำมาเปรียบเทียบเป็นปีกับมนุษย์โลกได้ดังนี้
            
อายุขัยของเทวดาเทียบกับปีของมนุษย์โลก
  
หนึ่ง 1 ปีทิพย์ของสวรรค์แต่ละชั้น เท่ากับ 360 วันทิพย์ของสวรรค์แต่ละชั้น
ชั้นจาตุมีอายุ 500 ปีทิพย์ 1 วันทิพย์ เท่ากับ 50 ปีโลกมนุษย์ ดังนั้นเท่ากับ 500X360X50 = 9,000,000 ปี
ชั้นดาวดึงส์ " " 1000  " "  1       " "         100                            " " เท่ากับ 36,000,000 ปี
ชั้นยามา     " " 2000  " "  1       " "         200                           " " เท่ากับ 144,000,000 ปี
ชั้นดุสิต      " " 4000  " "  1       " "         400                           " " เท่ากับ 576,000,000 ปี
ชั้นนิมมา    " " 8000  " "  1       " "         800                         " " เท่ากับ 2,304,000,000 ปี
ชั้นปรมิน  " " 16000  " "  1        " "      1600                         " " เท่ากับ 9,216,000,000 ปี

             
อายุของพระพรหม รูปฌาน 1 ถึง รูปฌาน 4
รูปฌาน 1 มีอยู่ 3 ชั้น
      
สมาธิอย่างอ่อน ปาริสัชนาพรหม มีอายุ 1/3 กัป
      
สมาธิอย่างกลาง ปุโรหิตพรหม มีอายุ 1/2 กัป
      
สมาธิอย่างสูง มหาพรหม มีอายุ 1 กัป
รูปฌาน 2 มีอยู่ 3 ชั้น
      
สมาธิอย่างอ่อน ปริตตาภาพรหม มีอายุ 2 กัป
      
สมาธิอย่างกลาง อัปปมาณภาพรหม มีอายุ 4 กัป
      
สมาธิอย่างสูง อาภัสสราพรหม มีอายุ 8 กัป
รูปฌาน 3 มีอยู่ 3 ชั้น
     
สมาธิอย่างอ่อน ปริตตสุภาพรหม มีอายุ 16 กัป
     
สมาธิยย่างกลาง อัปปมาณสุภาพรหม มีอายุ 32 กัป
     
สมาธิอย่างสูง สุภกิณหาพรหม มีอายุ 64 กัป
รูปฌาน 4 มีอยู่ 2 ชั้น
     
เวหัปผลพรหม มีอายุ 500 กัป
     
อสัญญสัตราพรหม มีอายุ 500 กัป

สุทธาวาสพรหม มี 5 ชั้น เป็นภพของพระอนาคามี
     1.
อวิหา มีอายุ 1,000 กัป
     2.
อตัปปา มีอายุ 2,000 กัป
     3.
สุทัสสา มีอายุ 4,000 กัป
     4.
สุทัสสี มีอายุ 8,000 กัป
     5.
อกนิฏฐา มีอายุ 16,000 กัป

อรูปพรหม มี 4 ชั้น
     1.
อากาสานัญจายตนพรหม มีอายุ 20,000 กัป
     2.
วิญญาณัญจายตนพรหม มีอายุ 40,000 กัป
     3.
อากิญจัญญายตนพรหม มีอายุ 60,000 กัป
     4.
เนวสัญญานาสัญญายตนาพรหม มีอายุ 84,000 กัป

                  เรื่องอายุขัยของสัตว์อเวจีนรก 1 ปทุมะ
    
ผมขอยกพระสูตรบางส่วน จากเรื่องพระโกกาลิ ดังนี้
 
    ......  ครั้นพอล่วงราตรีนั้นไป พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว ท้าวสหัมบดีพรหม มีรัศมีอัน งามยิ่ง ทำวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วยืน
อยู่ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โกกาลิกภิกษุมรณภาพแล้วอุบัติในปทุมนรก เพราะจิตคิดอาฆาตในพระสารีบุตร และ พระโมคคัลลานะ ท้าวสหัมบดีพรหม ครั้นกล่าวดังนี้แล้ว กระทำประทักษิณ แล้ว ได้อันตรธานหายไปในที่นั้นเอง ฯ
[
๓๘๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ประมาณอายุในปทุมนรกนานเพียงใด พระเจ้าข้า ฯ
      
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ประมาณอายุในปทุมนรกนานนัก การนับประมาณอายุในปทุมนรกนั้นว่า เท่านี้ปี เท่านี้ร้อยปี เท่านี้พันปี หรือว่า เท่านี้แสนปี ไม่ใช่ทำได้ง่าย ฯ
     
. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระองค์สามารถจะทรงกระทำการเปรียบ เทียบได้หรือไม่ พระเจ้าข้า ฯ
       
พระผู้มีพระภาคทรงรับว่า สามารถ ภิกษุ ดังนี้แล้ว ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนเกวียนที่บรรทุกงาหนัก ๒๐ หาบของชาวโกศล เมื่อล่วงไปได้ ร้อยปี พันปี แสนปี บุรุษพึงหยิบเมล็ดงาขึ้นจากเกวียนนั้นออกทิ้งเมล็ดหนึ่งๆ
ดูกรภิกษุ เกวียนที่บรรทุกงาหนัก ๒๐ หาบของชาวโกศลนั้น จะพึงถึงความ สิ้นไปโดยลำดับนี้เร็วเสียกว่า แต่อัพพุทนรกหนึ่งจะไม่พึงถึงความสิ้นไปได้เลย
    
ดูกรภิกษุ ๒๐ อัพพุทนรกเป็นหนึ่งนิรัพพุทนรก
     
๒๐ นิรัพพุทนรกเป็นหนึ่ง อัพพนรก
     
๒๐ อัพพนรกเป็นหนึ่งอหหนรก
     
๒๐ อหหนรกเป็นหนึ่งอฏฏนรก
     
๒๐ อฏฏนรกเป็นหนึ่งกุมุทนรก
     
๒๐ กุมุทนรกเป็นหนึ่งโสคันธิกนรก
     
๒๐ โสคันธินรกเป็นหนึ่งอุปลกนรก
     
๒๐ อุปลกนรกเป็นหนึ่งปุณฑรีกนรก
     
๒๐ ปุณฑรีก นรกเป็นหนึ่งปทุมนรก อย่างนี้
ก็โกกาลิกภิกษุอุบัติในปทุมนรกเพราะจิตคิด อาฆาตในสารีบุตรและโมคคัลลานะ ฯ
     
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลงแล้ว
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า
       [
๓๘๗] ก็วาจาหยาบเช่นกับขวาน เกิดในปากของบุรุษแล้ว เป็น เหตุตัดรอนตนเองของบุรุษผู้เป็นพาล ผู้กล่าวคำทุภาษิต ผู้ใดสรรเสริญคนที่ควรนินทา หรือนินทาคนที่ควรสรรเสริญผู้นั้นย่อมก่อโทษเพราะปาก ย่อมไม่ได้ความสุขเพราะโทษนั้น การแพ้ด้วยทรัพย์เพราะเล่นการพนันเป็นโทษเพียงเล็กน้อย โทษของผู้ที่ยังใจให้ประทุษร้ายในท่านผู้ปฏิบัติดีนี้แล เป็นโทษมากกว่า บุคคลตั้งวาจาและใจอันลามกไว้แล้วเป็นผู้ติเตียนพระอริยะเจ้า ย่อมเข้าถึงนรกตลอดกาลประมาณ ด้วยการนับปี ๑๐๐,๐๐๐ นิรัพพุทะและ ๔๐ อัพพุทะ
.............
     
ต่อไปจะเป็นการคำนวณเทียบกับปีของโลกมนุษย์เรา
       
เมล็ดงา 1 เกวียน มีอัตรา 20 ขารี 1 ขารีเท่ากับ 256 ทะนาน เมื่อล่วงไป 1 แสนปีเอาเมล็ดงาออกจากเกวียน 1 เมล็ดทำจนหมดจากเกวียน ก็ยังไม่ถึง 1 อัพพุทะในนรกเลย
       
การเปรียบเทียบ 1 อัพพุทะ ตามมาตรตราปัจจุบันอย่างคล่าวๆ
1
ทะนาน เท่ากับ 1 ลิตร
1
ลิตร เท่ากับ 1000 ลูกบาศเชนติเมตร
เมล็ดงา 1 เมล็ด ประมาณ 1 มิลิเมตร ดังนั้น 1 เชนติเมตร เอาเมล็ดงาเรียงกันได้ 10 เมล็ด
   
จะได้ 1 ลูกบาศเชนติเมตร จะมีจำนวน เมล็ดงา ประมาณ 10 X10 X 10 = 1000 เมล็ด
    
จะได้ 1 ลิตรมีเมล็ดงาประมาณ 1000X1000 ประมาณ 1,000,000 เมล็ด
    
จะได้ 1 ทะนานจะมีเมล็ดงาประมาณ 1,000,000 เมล็ด
    
จะได้ 1 ขารีจะมีเมล็ดงาประมาน 256 X 1,000,000 ประมาณ 256,000,000 เมล็ด
    
จะได้ 1 เกวียนจะมีเมล็ดงาประมาณ 20 X 256,000,000 ประมาณ 5,120,000,000 เมล็ด
    
จะได้เวลาทั้งหมดเมื่อหยิบเมล็ดงาออกหมดเกวียน ประมาณ 100,000 X 5120,000,000 ปี
ประมาณ 512,000,000,000,000 ปี
      
ซึ่งยังไม่ถึง 1 อัพพุทะ แต่ก็ประมาณ 512,000,000,000,000 ปี หรือ 5.12 X 10**14 จึงเอาไปแทนค่าตามข้างล่าง
       20
อัพพุทะ เป็น 1 นิรัพพุทะ 20**1 X 5.12 X 10**14
       20
นิรัพพุทะเป็น 1 อพัพพะ 20**2 X 5.12 X 10**14
       20
อพัพพะเป็น 1 อหหะ 20**3 X 5.12 X 10**14
       20
อหหะเป็น 1 อฏฏะ 20**4 X 5.12 X 10**14
       20
อฏฏะเป็น 1 กุมุทะ 20**5 X 5.12 X 10**14
       20
กุมุทะเป็น 1 โสคันธิกะ 20**6 X 5.12 X 10**14
       20
โสคันธิกะเป็น 1 อุปปละ 20**7 X 5.12 X 10**14
       20
อุปปละเป็น 1 ปุณฑริกะ 20**8 X 5.12 X 10**14
       20
ปุณฑริกะเป็น 1 ปทุมะ 20**9 X 5.12 X 10**14
และ 20**9 = 512,000,000,000 = 5.12 X 10**11
ดังนั้น 1 ปทุมะนรก ประมาณหรือมากกว่า 5.12 X 10**11 X 5.12 X 10**14 ประมาณ 26.2144 X 10**25
ประมาณ 2.62 X 10**26 หรือ 1 ปทุมะนรก ประมาณหรือมากกว่า 262,144,000,000,000,000,000,000,000 ปีมนุษย์โลก
เมื่อเปรียบเทียบปีมนุษย์ กับ 1 ปทุมะนรก และปีของมนุษย์กับ 1 กัป ดังที่คำนวณมาแล้ว จะเห็นว่า มีเวลายาวนานมาก ดังนั้นในตำราของพระพุทธศาสนาจึงกล่าวว่า ผู้ที่ตกนรกอเวจี ต้องทรมานอยู่ตลอดกัป หรือชั่วกัปชั่วกัลป์
     
แต่จากที่คำนวณ เวลา 1 กัปป์ >= 3.3 X 10**24 ปี ซึ่งตัวเลขน้อยกว่า 1 ปทุมะของอเวจีนรก
   
ดังนั้น 1 กัปป์ ประมาณหรือมากกว่า 3.3 X 10**26 ปี น่าจะเป็นค่าที่หมดสมกว่า

                         เรื่องประมาณชาติที่เกิดตายในหนึ่งกัปป์
      
ผมขอยกเนื้อหาจากพระสูตรก่อนแล้วค่อยวิเคราะห์ในภายหลังดังนี้
                                 
๑๐. ปุคคลสูตร
[
๔๔๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฯ
[
๔๔๑] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น
เบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ เมื่อบุคคลหนึ่งท่องเที่ยวไปมาอยู่ตลอดกัปหนึ่งพึงมีโครงกระดูก ร่างกระดูก
กองกระดูก ใหญ่เท่าภูเขาเวปุลละนี้ ถ้ากองกระดูกนั้นพึงเป็นของที่จะขนมารวมกันได้ และ
กระดูกที่ได้สั่งสมไว้แล้ว ก็ไม่พึงหมดไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุด
เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ
[
๔๔๒] พระผู้มีพระภาค ผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงตรัส
พระคาถาประพันธ์ต่อไปว่า
       
เราผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า กระดูกของบุคคลคนหนึ่งที่
สะสมไว้กัปหนึ่ง พึงเป็นกองเท่าภูเขา ก็ภูเขาที่เรากล่าวนั้น คือ ภูเขา
ใหญ่ชื่อเวปุลละ อยู่ทิศเหนือของภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้เมืองราชคฤห์ อันมี
ภูเขาล้อมรอบเมื่อใดบุคคลเห็นอริยสัจ คือทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์
ความล่วงพ้นทุกข์ และอริยมรรคมีองค์ ๘ อันยังสัตว์ให้ถึงความสงบทุกข์
ด้วยปัญญาอันชอบ เมื่อนั้น เขาท่องเที่ยว ๗ครั้งเป็นอย่างมาก ก็เป็น
ผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ เพราะสิ้นสัญโญชน์ทั้งปวง ดังนี้แล ฯ
                         
จบสูตรที่ ๑๐

          ผมขอสมมุติประมาณขนาดภูเขาเวปุลละ สูงประมาณ 4000 เมตร และมีรัศมีของพื้นที่ฐานของภูเขาประมาณ 2000 เมตร
จากสูตร ปริมาตรของทรงกรวย คือ 1/3 x 3.143 x r**2 x h ดังนั้นจะได้ปริมาตรของภูเขาเวปุลละคือ
1/3 x 3.143 x 2000 x 2000 x 4000 = 16,762,666,666.66
ลูกบาตรเมตร

เมื่อเอา 0.5 หาร ก็ได้ 16,762,666,666.66/0.5 = 33,525,333,333.33 ชาติ
หรือประมาณ สามหมื่นสามพันล้านชาติ
       
ประมาณ สามหมื่นสามพันล้านชาตนี้ยังไม่รวมชาติที่เป็นโอปติกะที่เมื่อตายแล้วจะไม่มีเศษชากเหลืออยู่เลย เช่น สัตว์นรก เปรต อสุรกาย และเหล่าเทพเทวดาต่างๆ
        
ถ้านับเอาชาติที่เป็นอุปติกะไปรวมด้วย ถึงแม้อุปติกะบางภพภูมิ จะมีอายุยืนยาวมากๆ แต่เมื่อรวมชาติที่เป็นสัตว์เล็กเช่นแมลงเล็กจนแทบมองไม่เห็น กับอุปติกะที่มีชีวิตสั้นๆ ดังนั้นในกัปหนึ่งๆ ของผู้ที่ยังมีอวิชชาอยู่ เวียนว่ายตายเกิดมากกว่า สามหมื่นสามพันล้านชาติ อาจถึง ล้านล้านชาติก็เป็นไปได้ ยกเว้นท่านที่ได้ฌาน และสามารถทรงฌานไว้ได้ตอนตาย การเวียนว่ายตายเกิดในกัปนั้นก็ลดลง
        
แต่เมื่อยังมีอวิชชาอยู่ก็เสมือนได้พักเพียงแวบเดียวเท่านั้นเองแล้วต้องทุกข์กับการเวียนว่ายตายเกิดที่มากมายจนประมาณไม่ได้ต่อไปเป็นสิ่งที่ควรปรงสังเวชเป็นหนักหนา ซึ่งถ้าปฏิบัติตามสติปัฏฐาน 4 ให้ถูกทางติดต่อกัน ใช้เวลาอย่างมากเพียง 7 ปีเท่านั้นในฐานะของมนุษย์ ก็สามารถหยุดการเวียนว่ายตายเกิดเหล่านี้ได้
       
แต่ก็มีส่วนน้อยเท่านั้นที่หลุดรอดไปได้ ส่วนมากจึงค่อยๆ สั่งค่อยๆ สะสมกันไป ไม่รู้เมื่อไหรหนอจะสิ้นสุด

       เมื่อสมมุติ สมมุติฐานก็ต้องแสดงค่าโดยประมาณให้เห็นค่าที่คาดเคลื่อนโดย หาช่วงที่เป็นไปได้จากสมมุติฐานนั้น ดังนี้
ดังนั้นถ้าสมมุติให้ความสูงของภูเขาลดลง เป็น 2000 เมตร แต่รัศมีของพื้นที่ฐานเท่าเดิม คือ 2000 เมตร ก็จะได้ดังนี้
1/3 x 3.143 x 2000 x 2000 x 2000 = 8,381,333,333.33
ลูกบาตเมตร
เมื่อหารด้วย 0.5 ลูกบาตเมตร = 8,381,333,333.33/0.5 = 16,762,666,666.66 ชาติ
หรือประมาณ หนึ่งหมื่นหกพันเจ็ดร้อยหกสิบสามล้าน ชาติ
      
และถ้าสมมุติให้ความสูงของภูเขาลดลง เป็น 1000 เมตร และรัศมีของพื้นที่ฐาน คือ 1000 เมตร ก็จะได้ดังนี้
1/3 x 3.143 x 1000 x 1000 x 1000 = 1,047,666,666,66
เมื่อหารด้วย 0.5 ก็ได้ 1,047,666,666.66/0.5 = 2,095,333,333.33 ชาติ
หรือประมาณ สองพันเก้าสิบห้าล้าน ชาติ
      
และผมคิดว่าความสูงของภูเขาเวปุลละ คงไม่ต่ำกว่า 1000 เมตร หรือ 1 กิโลเมตร แต่รัศมีพื้นทีฐานอาจลดลงได้ผมสมมุติ ให้รัศมีลดลอง 500 เมตร ซึ่งเป็นค่าที่น้อยที่สุดแล้ว ก็จะได้ดังนี้
1/3 x 3.143 x 500 x 500 x 1000 = 83,333,333.33
เมื่อหารด้วย 0.5 ก็ได้ 83,333,333.33/0.5 = 166,666,666.66
หรือประมาณ หนึ่งร้อยหกสิบเจ็ดล้าน ชาติ

       ดังนั้นโดยประมาณ เวียนเกิดเวียนตายเป็นสัตว์ที่เมือตายแล้วมีกองกระดูเหลือในหนึ่งกัป และในกัปนั้นไม่ได้ไปเกิดเป็นพระพรหมเลย ถ้าสามารถเอากระดูกมารวมกองกันได้ เท่าภูเขาเวปุลละ ก็จะอยู่ในช่วง
ร้อยล้านชาติ ถึง สามหมื่นล้านชาติ ในหนึ่งกัปโดยประมาณ
       
ถ้ารวมชาติที่เกิดเป็นสัตว์เมื่อตายไปแล้วไม่มีกระดูกเหลือเช่นโอปาติกะและแมลงเล็กๆ โดยไม่เกิดเป็นพรหมเลยในกัปนั้น ก็คือ ร้อยล้านชาติ ขึ้นไปเป็นจนถึงแสนล้านชาติหรือล้านล้านชาติโดยประมาณ

                          เรื่องความยายนานของอสงไขย
     
เรื่องของอสงไขย จากหนังสือสัมภาระโพธิญาณ (จำไม่ค่อยได้) เป็นหนังสือเก่ามากแล้ว เรียบเรียงก่อนที่ผมเกิดเสียอีก เสียดายไม่ได้จดชื่อผู้เรียบเรียง แต่ค่าที่ได้ก็ตรงกับผู้ที่คำนวณไว้ก่อน สามารถนับ 1 อสงไขย และเทียบกับหน่วยนับปัจจุบันได้ดังนี้
   
สิบ สิบหน เป็น ร้อย 10**2
   
สิบร้อย เป็น พัน 10**3
   
สิบพัน เป็น หมื่น 10**4
   
สิบหมื่น เป็น แสน 10**5
   
ร้อยแสน เป็น โกฏิ 10**7
   
ร้อยแสนโกฏิ เป็น ปโกฏิ 10**7 X 10**7 = 10**14
   
ร้อยแสนปโกฏิ เป็น โกฏิปโกฏิ 10**7 X 10**14 = 10**21
   
ร้อยแสนโกฏิปโกฏิ เป็น นนุตหนึ่ง 10**7 X 10**21 = 10**28
   
ร้อยแสนนนุต เป็น นินนนุตหนึ่ง 10**7 X 10**28 = 10**35
   
ร้อยแสนนินนุต เป็น อักโขภินีหนึ่ง 10**7 X 10**35 = 10**42
   
ร้อยแสนอักโขภินี เป็น พินทะหนึ่ง 10**7 X 10**42 = 10**49
   
ร้อยแสนพินทะ เป็น อัพภูทะหนึ่ง 10**7 X 10**49 = 10**56
   
ร้อยแสนอัพภูทะ เป็น นิรพุทะหนึ่ง 10**7 X 10**56 = 10**63
   
ร้อยแสนนิรพุทะ เป็น อหนะหนึ่ง 10**7 X 10**63 = 10**70
   
ร้อยแสนอหนะ เป็น อพพะหนึ่ง 10**7 X 10**70 = 10**77
   
ร้อยแสนอพพะ เป็น อฏฏะหนึ่ง 10**7 X 10**77 = 10**84
   
ร้อยแสนอฏฏะ เป็น โสคันธิกะหนึ่ง 10**7 X 10**84 = 10**91
   
ร้อยแสนโสคันธิกะ เป็น อุปละหนึ่ง 10**7 X 10**91 = 10**98
   
ร้อยแสนอุปละ เป็น กมุมะหนึ่ง 10**7 X 10**98= 10**105
   
ร้อยแสนกมุมะ เป็น ปทุมะหนึ่ง 10**7 X 10**105= 10**112
   
ร้อยแสนปทุมะเป็น ปุณฑริกะหนึ่ง 10**7 X 10**112= 10**119
   
ร้อยแสนปุณฑริกะ เป็น อกถานหนึ่ง 10**7 X 10**119= 10**126
   
ร้อยแสนอกถาน เป็น มหากถานหนึ่ง 10**7 X 10**126= 10**133
   
ร้อยแสนมหากถาน เป็น อสงไขยหนึ่ง10**7 X 10**133= 10**140
         
ดังนั้น 1 อสงไขย = สิบยกกำลัง หนึ่งร้อยสีสิบ หรือ 1 ตามด้วย 0 จำนวน 140 มหากัป
ข้อสังเกต จำนวนปีของมนุษย์โลกเทียบกับ 1 กัปนั้นยังมีความคลาดเคลื่อนอีกมากมาย จึงไห้ถือกำหนดเอา โลกจักรวาลรวมทั้งเทพเทวดาและพรหมบางส่วน ในอาณาบริเวณพุทธเขต เมื่อก่อกำเนิดขึ้นจนกระทั้งพังทลายศูนย์หายไป 1 ครั้ง เป็น 1 กัป แต่จำนวน 1 อสงไขยมีกี่กัปนั้นเป็นจำนวนที่แน่นอน คือ 1 ตามด้วยเลข 0 จำนวน 140 ตัว หรือ 1 X 10**140

                             
เรื่องเปรียบเทียบจักรวาลแบบพุทธกับสริยุจักรวาล
        
สุริยจักรวาลทางวิทยาศาสตร์ ประกอบไปด้วยดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์ต่างๆ ที่เป็นบริวารโคจรรอบดวงอาทิตย์ และทางวิทยาศาสตร์คำนวณได้ตั้งแต่ก่อเกิดสุริยะจักรวาล ถึงปัจจุบันนี้มีอายุเพียง 4,500 ล้านปี (4,500,000,000) แล้วดวงอาทิตย์ก็จะหมดพลังงานที่จะส่องแสงสว่างและระเบิดเป็นดาวแคระขาว(ดาวนิวตรอน) ในอีกประมาณ 5,000 ล้านปี (5,000,000,000) ข้างหน้า
      
เมื่อรวมกันแล้วอายุของสุริยะจักรวาลเรานี้ก็จะตกอยู่ที่ ประมาณ 10,000 ล้านปี (10,000,000,000) ดวงอาทิตย์ จึงระเบิดกลายเป็นดาวแคระขาว(ดาวนิวตรอน)

      
จักรวาลแบบพุทธ ที่ยกมาจากพระสูตรมีดังนี้
                                    
จูฬนีสูตร(ตัดมาบางส่วน)
..........................

     
อา. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าแต่พระสุคต บัดนี้เป็นกาลเวลาแห่งเทศนาที่พระองค์
จะพึงตรัส ภิกษุทั้งหลายได้สดับธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ ฯ
     
. ดูกรอานนท์ ถ้าอย่างนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ท่านพระอานนท์
ทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคแล้ว
    
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรอานนท์ จักรวาลหนึ่ง มีกำหนดเท่ากับโอกาสที่พระจันทร์พระอาทิตย์โคจร ทั่วทิศสว่างไสวรุ่งโรจน์ โลกมีอยู่พันจักรวาลก่อน ในโลกพันจักรวาลนั้น มีพระจันทร์พันดวง มีอาทิตย์พันดวง มีขุนเขาสิเนรุพันหนึ่ง มีชมพูทวีปพันหนึ่ง มีอปรโคยานทวีปพันหนึ่ง มีอุตตรกุรุทวีปพันหนึ่งมีปุพพวิเทหทวีปพันหนึ่ง มีมหาสมุทรสี่พัน มีท้าวมหาราชสี่พัน มีเทวโลกชั้นจาตุ
มหาราชิกาพันหนึ่ง มีเทวโลกชั้นดาวดึงส์พันหนึ่ง มีเทวโลกชั้นยามาพันหนึ่ง มีเทวโลกชั้นดุสิตพันหนึ่ง มีเทวโลกชั้นนิมมานรดีพันหนึ่ง มีเทวโลกชั้นปรนิมมิตวสวัสตีพันหนึ่งมีพรหมโลกพันหนึ่ง ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าโลกธาตุอย่างเล็กมีพันจักรวาล โลกคูณโดยส่วนพันแห่งโลกธาตุ อย่างกลางมีล้านจักรวาลนั้น นี้เรียกว่าโลกธาตุอย่างใหญ่ประมาณ แสนโกฏิจักรวาล ดูกรอานนท์ตถาคตมุ่งหมายอยู่ พึงทำโลกธาตุอย่างใหญ่ประมาณแสนโกฏิจักรวาลให้รู้แจ้งได้ด้วยเสียง หรือทำให้รู้แจ้งได้เท่าที่มุ่งหมาย ฯ
     
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคพึงทำโลกธาตุอย่างใหญ่ประมาณแสน
โกฏิจักรวาล ให้รู้แจ้งด้วยพระสุรเสียง หรือทำให้รู้แจ้งได้เท่าที่พระองค์ทรงมุ่งหมายอย่างไร ฯ
     
. ดูกรอานนท์ พระตถาคตในโลกนี้ พึงแผ่รัศมีไปทั่วโลกธาตุอย่างใหญ่ประมาณ
แสนโกฏิจักรวาล เมื่อใด หมู่สัตว์พึงจำแสงสว่างนั้นได้ เมื่อนั้นพระตถาคตพึงเปล่ง
พระสุรเสียงให้สัตว์เหล่านั้นได้ยิน พระตถาคตพึงทำให้โลกธาตุอย่างใหญ่ประมาณแสนโกฏิจักรวาล
ให้รู้แจ้งได้ด้วยพระสุรเสียง หรือพึงทำให้รู้แจ้งได้เท่าที่พระองค์ทรงมุ่งหมาย ด้วยอาการเช่นนี้แล ฯ
..........................

                                           
จบอานันทวรรคที่ ๓
     
จากพระสูตรที่ว่า จักรวาลหนึ่ง มีกำหนดเท่ากับโอกาสที่พระจันทร์พระอาทิตย์โคจร ทั่วทิศสว่างไสวรุ่งโรจน์ ก็คงไม่ต่างจากสุริยจักรวาล แต่ต่างกันอยู่ที่แสงดวงอาทิตย์สว่างโสวรุ่งโรจน์ นั้นก็คือรวมอาณาบริเวณที่ไกลมากๆ ที่แสงสว่างไปถึงได้ จึงไม่เฉพาะเจาะจงแค่ดาวเคราะห์ที่โคจรรอบอยู่อย่างเดียว แต่กินอาณาบริเวณที่กว้างไกลมาก ๆ เป็นร้อยหรือเป็นพันเท่าของวงโคจรที่ดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์ คือรวมทั้งภพเทวดาและพรหมเข้าไปด้วย
     
และจากพระสูตรที่ว่า โลกมีอยู่พันจักรวาลก่อน ในโลกพันจักรวาลนั้น มีพระจันทร์พันดวง มีอาทิตย์พันดวง มีขุนเขาสิเนรุพันหนึ่ง มีชมพูทวีปพันหนึ่ง มีอปรโคยานทวีปพันหนึ่ง มีอุตตรกุรุทวีปพันหนึ่งมีปุพพวิเทหทวีปพันหนึ่ง มีมหาสมุทรสี่พัน มีท้าวมหาราชสี่พัน มีเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาพันหนึ่ง มีเทวโลกชั้นดาวดึงส์พันหนึ่ง มีเทวโลกชั้นยามาพันหนึ่ง มีเทวโลกชั้นดุสิตพันหนึ่ง มีเทวโลกชั้นนิมมานรดีพันหนึ่ง มีเทวโลกชั้นปรนิมมิตวสวัสตีพันหนึ่งมีพรหมโลกพันหนึ่ง ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าโลกธาตุอย่างเล็กมีพันจักรวาล โลกคูณโดยส่วนพันแห่งโลกธาตุ อย่างกลางมีล้านจักรวาลนั้น นี้เรียกว่าโลกธาตุอย่างใหญ่ประมาณ แสนโกฏิจักรวาล  
      
ก็หมายความว่า กลุ่มจักรวาลนั้นรวมกันเป็นกลุ่ม ๆ กลุ่มเล็กมี 1000 จักรวาล กลุ่มกลางมี 1,000,000 จักรวาล กลุ่มใหญ่มี 1,000,000,000,000 (ล้านล้าน) จักรวาล .ซึ่งอาจหมายถึงกาแลกชี ก็ได้
 
รูปโลกจากอาวกาศ     โลกห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 93 ล้านไมล์ แสงใช้เวลาเดินทางจากดวงอาทิตย์ถึงโลกประมาณ 8 นาที
 
รูปวงโคจรในสุริยจักรวาลบางส่วน ดาวพูลโต เป็นดาวเคาระห์ดวงที่ 9 ของสุริยะจักวาล อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 5,906,376,200 กิโลเมตร
      
หมายเหตุ ดังนั้นจักรวาลทางพุทศาสนาย่อมไกลกว่านี้หลายเท่ามากนัก เพราะจะเท่ากับที่ระยะทางที่แสงของดวงอาทิตย์ส่องไปถึง
 
รูปตำแหน่งสุริยจักรวาลในกาแลคชีทางช้างเผือก เป็นจุดเล็กในวงกลมสีฟ้า ทั้งกาแลคชี่เป็นระยะโดยประมาณห่างจากดวงอาทิตย์ 50,000 ปีแสง (หน่วย 1 ปีแสงคือระยะทางที่แสงเดินทางถึง ภายใน 1 ปี = 5,880,000,000,000 ไมล์)
     
หมายเหตุ ซึ่ง 1กาแลคชี่อาจจะหมายถึง 1โลกธาตุ ก็ได้ เพราะบางกาแลคชีก็มีดวงดาวฤกษรวมกันเพียงประมาณล้านดวง บางกาแลคชีก็หลายล้านดวง
 
รูปกลุ่มกาแลคชีที่อยู่เป็นกลุ่ม ซึ่งกาแลคชี่นั้นส่วนมากจะอยู่กันเป็นกลุ่มๆ เช่นเดียวกับกาแลคชีทางช้างเผือกของเราก็อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเรียกว่า Local Group (หรือ local Clusters) มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1Mpc( Megaparsec ~ 3,260,000ปีแสง) มีกาแลกชี่น้อยใหญ่อยู่ห่างๆ รวมกัน ประมาณ 30 กว่ากาแลกชี่ และเลยออกไปนอกเขตของ Local Group เป็นอวกาศที่ว่างเปล่า
       
หมายเหตุ ดังนั้นตอนสิ้นกัป นั้นอาจจะหมายถึง กาแลคชีทางช้างเผือกของเรา หรือรวมทั้งกลุ่ม กาแลคชี่ Local Group สูญสลายกลายเป็นบิกแบ็ง ไปพร้อมกัน เพราะว่ากาแลกชี่ภายในกลุ่มกำลังเคลื่อนที่เข้าหากัน หรือรวมกัน แล้วเกิดบิกแบ็งตามทฤษฏีใหม่แบบเส้นเชือก คือไม่เกิดบิกแบ็งพร้อมกันที่เดียวทั้งเอกภพ ตามทฤษีฏีเก่า แต่จะเกิดบิกแบ็งเป็นส่วนๆ ของกลุ่มกาแลคชี่ ทะยอยการเกิดและดับ เกิดและดับไป เรื่อยๆ
 
รูปเอกภพที่วิทยาศาสตร์ปัจจุบันรู้เห็นได้  ซึ่งมีระยะห่างจากสุริยจักรวาลเรา 15 พันล้านปีแสง ที่กล้องทางวิทยาศาสตร์สามารถเห็นได้  โดยมีกลุ่มกาแลคชีทางช้างเผือกเรา(มีอยู่หลายกาแลคชี) เป็นจุดเล็กๆๆ อยู่ตรงกลาง ส่วนที่นอกจากกรอบนี้นั้นยังมีกลุ่มกาแลคชีอีกมากมายที่ยังไม่เห็นไม่รู้จัก
     
หมายเหตุ ซึ่งตรงกับทางพุทธศาสนาที่ว่า จักรวาลนั้นหามีที่สิ้นสุด เมื่อไหรมีอาวกาศหรืออากาศอยู่ที่นั้นย่อมมีจักรวาล

     มาวิเคราะห์ เรื่องเวลา 1 กัปป์ ประมาณหรือมากกว่า 3.3 X 10**26 ปี กับอายุของสุริยจักรวาล ประมาณ 10000 ล้านปี ซึ่งมีค่าแตกต่างกันมาก ดังนั้นดวงอาทิตย์และโลกเกิดและพังทลายไปหนึ่งครั้ง ดวงอาทิตย์กลายเป็นดาวนิวตรอน ก็ไม่ใช่เป็นเวลา 1 กัปป์เสียแล้ว เป็นเพียงแต่วัตถุเช่นโลกพังทลายไปและดวงอาทิตย์ ยุบตัวเป็นดาวนิวตรอนเท่านั้น ซึ่งภพของเทวดาและพระพรหมยังหาได้พังทลายไปด้วย แล้วดาวนิวตรอนก็ค่อยพัฒนามาเป็นดวงอาทิตย์ใหม่ มีดาวเคราะห์ใหม่ เป็นบริวารโครจรรอบดวงอาทิตย์อีกครั้ง แต่ภพเทวดาและพรหมไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเลย
     
ดังนั้นในเวลา 1 กัปป์ นั้น ดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ มีการเกิดและพังไปจนนับครั้งไม่ถ้วน แต่ภพของเทวดาและพรหมไม่การเปลี่ยนแปลงเลย และดาวฤกษ์อื่นๆ ในบริวาณใกล้เคียงก็ยังมองเห็นได้อยู่ ไม่โดนทำลายไปด้วย เมื่อเทียบอายุดวงอาทิตย์ตามวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน ถ้าไม่ผิดพลาดไปจากการคำนวณของวิทยาศาสตร์ เพราะในพระสูตรนั้น การสิ้นกัปป์ นั้นทั้งโลก ดวงอาทิตย์ ดวงดาว(ดาวฤกษอื่น)ต่างๆ ที่สามารถมองเห็นได้ รวมทั้งภพเทวดาและพรหมบางส่วน หรือทุกๆ จักรวาลในพุทธเขต โดนทำลายเป็นจุลไม่มีเหลือ ดังยกตัดมาบางส่วนในพระสูตร
........................

       [
๕๖] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ มีสมัยบางครั้งบางคราว โดยล่วง ระยะกาลยืดยาว
ช้านานที่โลกนี้จะพินาศ เมื่อโลกกำลังพินาศอยู่ โดยมากเหล่า สัตว์ย่อมเกิดในชั้นอาภัสสร
พรหม สัตว์เหล่านั้นได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง
สัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิต อยู่ในภพนั้นสิ้นกาลยืดยาวช้านาน ดูกรวาเสฏฐะ
และภารทวาชะ มีสมัยบางครั้ง บางคราว โดยระยะกาลยืดยาวช้านาน ที่โลกนี้จะกลับเจริญ
เมื่อโลกกำลังเจริญ อยู่โดยมาก เหล่าสัตว์พากันจฺติจากชั้นอาภัสสรพรหมลงมาเป็นอย่างนี้ และ
สัตว์นั้น ได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ในอากาศ
อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้นสิ้นกาลยืดยาวช้านาน ก็แหละ สมัยนั้นจักรวาลทั้งสิ้นนี้
แลเป็นน้ำทั้งนั้น มืดมนแลไม่เห็นอะไร ดวงจันทร์และ ดวงอาทิตย์ก็ยังไม่ปรากฎ ดวงดาวนักษัตร
ทั้งหลายก็ยังไม่ปรากฎ กลางวันกลาง คืนก็ยังไม่ปรากฎ เดือนหนึ่งและกึ่งเดือนก็ยังไม่ปรากฎ
ฤดูและปีก็ยังไม่ปรากฎ เพศชายและเพศหญิงก็ยังไม่ปรากฎ สัตว์ทั้งหลาย ถึงซึ่งอันนับเพียงว่า
สัตว์เท่า นั้น ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้นต่อมา โดยล่วงระยะกาลยืดยาวช้านาน เกิด
ง้วนดินลอยอยู่บนน้ำทั่วไป ได้ปรากฎแก่สัตว์เหล่านั้นเหมือนนมสดที่บุคคลเคี่ยว ให้งวด แล้ว
ตั้งไว้ให้เย็นจับเป็นฝาอยู่ข้างบน ฉะนั้นง้วนดินนั้นถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น รส มีสีคล้ายเนยใส
หรือเนยข้นอย่างดี ฉะนั้น มีรสอร่อยดุจรวงผึ้ง เล็กอันหาโทษมิได้ ฉะนั้น ฯ
      
จากประโยคที่ว่า สมัยนั้นจักรวาลทั้งสิ้นนี้แลเป็นน้ำทั้งนั้น มืดมนแลไม่เห็นอะไร ดวงจันทร์และ ดวงอาทิตย์ก็ยังไม่ปรากฎ ดวงดาวนักษัตรทั้งหลายก็ยังไม่ปรากฎ ก็หมายความว่าเมื่อสิ้นกัปป์ นั้นดาวฤกษต่างๆ ก็พังทลายพร้อมกันไปหมด ไม่ใช่แต่เฉพาะดวงอาทตย์และโลกที่เราอาศัยอยู่เท่านั้น ซึ่งอาจหมายถึง กาแลกชี่ทั้งกาแลกชี่โดนทำลายไปพร้อมกัน หรือ หรือกลุ่มดาวฤกษ และทีโลกเราอยู่นี้รวมทั้งภพเทวดากับพรหมบางส่วนโดนทำลายไปพร้อมกัน จึงนับเป็น 1 กัปป์
     
ดังนั้นผมสามารถนิยาม คำว่า 1 กัปป์ได้ดังนี้ หมายถึงโลกจักรวาลรวมทั้งภพเทวดาและพรหมบางส่วนในอาณาบริเวณของพุทธเขต ที่ธรรมของพระพุทธเจัาแผ่ไปได้ ได้ก่อตัวเกิดขึ้นมาเป็นดวงดาว(ดาวฤกษ)ต่าง ๆ แล้วกลับไปพังทลาย 1 ครั้ง เรียกว่า 1 กัปป์
     
ส่วนการที่ดวงอาทิตย์และโลกที่เราอาศัยอยู่นี้ เกิดขึ้นและพังทลายไปตามการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน ก็ไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นเวลา 1 กัปป์ เพราะเป็นการแตกดับเฉพาะดาวฤกษ์เพียงดวงเดียว ไม่ได้กินบริเวณดาวฤกษ์ หรือภพเทวดาและพรหมบางส่วน ทั้งอาณาบริเวณของพุทธเขตไปด้วย
         เรามาเปรียบเทียบดูในพระไตรปิฏกที่ปรากฏถึงตอนโลกและจักรวาลโดนทำทลายอย่างไร
.....
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม.... ควรเบื่อหน่าย.... ควรคลายกำหนัด.... ควรหลุดพ้น “ขุนเขาสิเนรุโดยยาว ๘๔,๐๐๐ โยชน์ โดยกว้าง ๘๔,๐๐๐ โยชน์ หยั่งลงในมหาสมุทร ๘๔,๐๐๐ โยชน์ สูงจากมหาสมุทรขึ้นไป ๘๔,๐๐๐ โยชน์ มีกาลบางคราวที่ฝนไม่ตกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี เมื่อฝนไม่ตก พืชคาม ภูตคามและติณชาติป่าไม้ใหญ่ย่อมเฉา เหี่ยวแห้ง เป็นอยู่ไม่ได้
“.....
โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่สองปรากฏ...แม่น้ำลำคลองทั้งหมดย่อมงวดแห้ง.... ไม่มีน้ำ
“.....
โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๓ ปรากฏ...แม่น้ำสายใหญ่ ๆ คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรพู มหี ทั้งหมดย่อมงวดแห้ง.... ไม่มีน้ำ
“.....
โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๔ ปรากฏ...แม่น้ำสายใหญ่ ๆ ที่ไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำใหญ่ คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรพู มหี ทั้งหมดย่อมงวดแห้ง.... ไม่มีน้ำ
“.....
โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ...น้ำในมหาสมุทรลึก ๑๐๐ โยชน์ก็ดี.... ๗๐๐ โยชน์ก็ดี ย่อมงวดลงเหลืออยู่เพียง ๗ ชั่วต้นตาลก็มี ๖ ชั่วต้นตาลก็มี.... ชั่วต้นตาลเดียวก็มี แล้วยังจะเหลืออยู่ ๗ ชั่วคน ๖ ชั่วคน.... เพียงเขา... เพียงรอยเท้าโค
“.....
โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๖ ปรากฏ...แผ่นดินใหญ่นี้และเขาสินเนรุ ย่อมมีกลุ่มควันพลุ่งขึ้น เปรียบเหมือนนายช่างหม้อเผาหม้อที่ปั้นดีแล้ว ย่อมมีกลุ่มควันพลุ่งขึ้น ฉะนั้น
“.....
โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฏ...แผ่นดินใหญ่นี้และเขาสินเนรุ ไฟจะติดทั่วลุกโชติช่วง มีแสงเพลิงเป็นอันเดียวกัน....เมื่อแผ่นดินใหญ่และเขาสิเนรุ ถูกไฟเผาผลาญอยู่ ย่อมไม่ปรากฏขี้เถ้าและเขม่า.....
     
ก็หมายความว่าในตอนที่จะสิ้นกัปป์นั้น สุริยจักรวาลต่างๆ กำลังโดนอัดเข้ามารวมกัน โดยดวงดาวต่างๆ เคลื่อนที่เข้าหาจุดศูนย์กลางของกาแลกชี่ หรือศูนย์กลางของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จนอัดกันแน่น จนเผ่าผลาญกันเองจนหมดสิ้น พร้อมทั้งภพของเทวดาและพรหมบางส่วน

                                เรื่องหน่วยวัดระยะเวลา 1 กัปป์
จากหนังสือมุนีนาถทีปณีของพระเทพมุนี(วิลาศ ญาณวโร) ผมสามารถจัดลำดับได้ดังนี้
     1.
อันตรกัปป์ เป็นหน่วยที่เทียบกับการขึ้นลงโดยอาศัยอาขัยของมนุษย์ที่เพิ่มขึ้นและลดลงแล้วเพิ่มขึ้นดังนี้
เมื่ออายุมนุษย์สูงสุดคือ 1 อสงไขยปี(มีอายุมากจนนับไปม่ได้) แล้วเมื่อครบใน 100 ปี อายุขัยของมนุษย์ลดลง 1 ปี จะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่นถ้า ในขณะนี้อายุขัยของมนุษย์เท่ากับ 80 ปี ในอีก 100 ปี ข้างหน้าอายุขัยของมนุษย์จะลดลงเป็น 79 ปี ซึ่งจะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยจนอายุขัยของมนุษย์อยู่ที่ 10 ปี หลังจากนั้นอายุขัยของมนุษย์จะเพิ่มขึ้นเมื่อครบ 100 ปี ก็เพิ่มขึ้น 1 ปี จะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนอายุขัยของมนุษย์เพิ่มขึ้นเป็น 1 อสงไขยปี อย่างนี้แหละเรียกว่า 1 อันตรกัปป์
     
จะได้ 64 อันตรกัปป์ = 1 อสงไขยกัปป์ (ไม่ใช้ 1 อัสงไขย)
     
ในหนึ่งกัปป์ แบ่งออกเป็น 4 อสงไขยกัปป์ ดังนี้
     1.
สังวัฏฏอสงไขยกัปป์        มี 64 อันตรกัปป์ เป็นช่วงที่โลกและจักรวาลถูกทำลาย หรือกัปป์กำลังพังพินาศอยู่
     2.
สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัปป์  มี 64 อันตรกัปป์ เป็นช่วงที่โลกและจักรวาลถูกทำลายเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว
     3.
วิวัฏฏอสงไขยกัปป์          มี 64 อันตรกัปป์ เป็นช่วงที่โลกและจักรวาลกำลังพัฒนาเข้าสู่ภาวปกติ
     4.
วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัปป์   มี 64 อันตรกัปป์ เป็นช่วงที่โลกและจักรวลเจริญขึ้นพัฒนาเรียบร้อบแล้ว มีสัตว์และมนุษย์อาศัย
 
ดังนั้นในเวลา 1 กัปป์ ใช่เวลาทั้งหมด 256 อันตรกัปป์
    
ใน 1 อันตรกัปป์ ที่เทียบกับอายุของมนุษย์นั้น เป็นเพียงหน่วยวัดเทียบกัปป์เท่านั้น หาใช่ว่าต้องมีมนุษย์อาศัยอยู่ในโลกนี้ตลอด เพราะจะมีมนุษย์อาศัยอยู่ในก็ในช่วงที่ 4 ของกัปป์คือ วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัปป์เท่านั้น จึงไม่ใช่ว่าจะต้องมีมนุษย์ อาศัยอยู่ในโลกที่เราอยู่นี้โดยตลอด แต่เมื่อวิวัฒนาการปรากฏมีมนุษย์เมื่อไหร อายุขัยของมนุษย์ก็จะขึ้นหรือลงตาม อันตรกัปป์นั้นๆ
     
เช่นเดียวกันในตลอด 1 กัป โลกเราใบนี้มีการเปลี่ยนแปลงสลายไปและวิวัฒนาการมาใหม่หลายครั้งก็เป็นไปได้ เพราะดวงอาทีตย์นั้นมีอายุ ประมาณ 10,000 ล้านปี เท่านั้น ตามที่วิทยาศาสตร์ปัจจุบันคำนวณไว้ แต่ 1 กัปปนั้นประมาณหรือมากกว่า 3.3 X 10**26 ปี

                        เรื่องประมาณจำนวนเทวดาและพรหมย่อตัวในบริเวณ 12 โยชน์
      จากข้อมูลที่อยู่ในของอรรถกถาจารย์ และในพระไตรปิฏก เพื่อทราบปริมาณคล่าวๆ ของเหล่าเทวดาและพรหมทั้งหมื่นโลกธาตุ ที่ย่อกาย มาประชุมรวมกัน เพื่อทัศนาพระพุทธเจ้าก่อนที่พระองค์จะเสด็จปรินิพพานในอีก 3 เดือนอยู่เต็มพื้นที่โดยรอบ 12 โยชน์ ว่ามีประมาณเท่าใด ดังนี้
      
ผมขอเอาหลักฐาน ที่เทวดาและพระพรหมหมื่นโลกธาตุ มาประชุมรวมกันเพื่อทัศนาพระพุทธเจ้า ในพระไตรปิฏดังนี้
      "
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์ เทวดาในหมื่นโลกธาตุมา
ประชุมกันโดยมาก เพื่อจะเห็นตถาคต เมืองกุสินารา สาลวัน อันเป็นที่แวะพัก
แห่งพวกเจ้ามัลละเพียงเท่าใด โดยรอบถึง ๑๒ โยชน์ ตลอดที่เพียงเท่านี้ จะหา
ประเทศแม้มาตรว่าเป็นที่จรดลงแห่งปลายขนทราย อันเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ไม่ถูก
ต้องแล้วมิได้มี"
       
และข้อมูลจาก อรรถกถาจารย์ ได้แสดงถึงขนาดของเม็ดปรมาณู โดยเทียบส่วนกับศีรษะของเหา โดยอนุมานัย
ดังนี้
       
๑ ศีรษะเหา เท่ากับ ๗ ลิกขาณู
       
๑ ลิกขาณู เท่ากับ ๓๖ รถาเรณู
       
๑ รถาเรณู เท่ากับ ๓๖ ตัชชารี
       
๑ ตัชชารี เท่ากับ ๓๖ อณู
       
๑ อณู เท่ากับ ๓๖ ปรมาณู
       
๑ ปรมาณู เท่ากับ ๑ กลาป

      ได้ยินมาว่าพื้นที่ 1ปรมณู นี้เทวดาหรือพรหมสามารถย่อขนาดร่างกายเข้าไปอยู่
ได้อย่างพอดี 8 องค์
      
เริ่มการคำนวณ
       
ในการคำนวณ ต้องประมาณขนาดหัวเหาก่อน ในที่นี้ขอประมาณ ความกว้างหรือยาวของหัวเหาประมาณ .5 มิลลิเมตร
ดังนั้นพื้นที่ของหัวเหาประมาณ .5X.5 = .25 ตารางมิลลิเมตร
      
ต่อไปต้องคำนวณ จำนวนเทวดาหรือพรหมที่รวมอยู่อยู่ในพื้นที่ขนาด .25 ตารางมิลลิเมตร โดยคำนวณ ย้อนกลับ จากในตารางที่พระอรรถกถากล่าวไว้
     
๑ ศีรษะเหา เท่ากับ ๗ ลิกขาณู
     
๑ ลิกขาณู เท่ากับ ๓๖ รถาเรณู
     
๑ รถาเรณู เท่ากับ ๓๖ ตัชชารี
     
๑ ตัชชารี เท่ากับ ๓๖ อณู
     
๑ อณู เท่ากับ ๓๖ ปรมาณู
     
๑ ปรมาณู เท่ากับ ๑ กลาป
ได้ดังนี้
     1
ปรมาณู มีเทวดา 8 องค์
     1
อณู มีเทวดา 8 x 36 = 288
     1.
ตัชชารี มีเทวดา 288 x 36 = 10,368
     1.
รถาเรณู มีเทวาดา 10,368 x 36 = 373,248
     1.
ตกขาณู มีเทวดา 373,248 x 36 = 13,436,928
     1.
ศีรษะเหา มีเทวดา 13,436,928 x 7 = 94,058,496
    
ดังนั้นในพื้นที่ขนาดศีรษะเหา พระพรหมหรือเทวดาย่อกายอยู่ได้ ถึง 94,058,496 องค์ อย่างพอดี
จึงได้ พื้นที่ .25 ตารางมิลลิเมตร มีเทวดาย่อกายอยู่ได้ 94,058,496 องค์ อย่างพอดี

     ต่อไปต้องเทียบจาก 12 โยชน์ ให้เป็นมิลลิเมตร
จาก 1โยชน์ เท่ากับ 16 กิโลเมตร ได้ดังนี้ 16 x 1000 x 100 x 10 = 16,000,000 มิลลิเมตร
ดังนั้น 12 โยชน์ เท่ากับ 12 x 16,000,000 = 192,000,000 มิลลิเมตร

     แต่จากพระสูตรกล่าวว่า พื้นที่โดยรอบ 12 โยชน์ ก็ต้องหาพื้นที่เป็นวงกลม โดยมีรัศมี 12 โยชน์
จากสูตร พื้นที่วงกลม เท่ากับ 22/7 x (รัศมี)**2 ก็จะได้พื้นที่ทั้งหมด เมื่อเทียบเป็น มิลลิเมตรดังนี้
22/7 x 192,000,000 x 192,000,000 = 115,858,285,714,285,714.28571428571429
ตารางมิลลิเมตร

เมื่อเทียบกับพื้นที่ศีรษะเหา หรือ .25 ตารางมิลลิเมตร มีเทวดาอยู่ได้ 94,058,496 องค์
ดังนั้นในพื้นที่รัศมี 12 โยชน์มีเทวดาอยู่ได้
94,058,496 x (115,858,285,714,285,714.28571428571429 / 0.25) = 43,589,824,413,696,000,000,000,000
องค์

      ซึ่งได้ตัวเลขกลมๆ ที่ดูง่าย ถ้าเป็นภาษาเขียนคือ สี่สีบสามล้านห้าแสนแปดหมื่นเก้าพันแปดร้อยยี่สิบสี่ล้านสี่แสนหนึ่งหมื่นสามพันหกร้อยเก้าสิบหก ล้านล้าน องค์
ถ้าเป็นภาษาพูดก็กล่าวว่านับไม่ถ้วน ซึ่งมากมายมหาศาลเป็นอย่างยิ่ง

       พระพุทธเจ้าทั้งหลายท่านสร้างบารมีมามายมายตอนเป็นพระโพธิสัตว์ เป็นเวลา 20 อสงไขย กับเศษแสนมหากัปป์ ข้างบนนั้นเพียง ประมาณ ครึ่งวันของโลกมนุษย์ แต่ในสมัยตอนที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ใหม่ เหล่าเทวดาทั้งหลายทั้งหมืนโลกธาตุ มาประชุมรวมกัน เพื่อฟังธรรมโดยย่อกายอยู่กันแน่น จนเทวดาที่มีมเหศักย์น้อย ต้องถอยลงไปยืนอยู่ในมหาสมุทร นี้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น พระพุทธองค์ก็ทำคุณประโยชน์ให้สรรพสัตว์ได้มากมายมหาศาลเพียงนี้ ถ้าเป็นตลอดพระชนชีพของพระองค์ ย่อมทำคุณประโยชน์ให้แก่เหล่าสัตว์ทั้งหลายคณานับจนประมาณไม่ได้

     “บารมีทั้งหลายที่เพียรสร้างตอนเป็นพระโพธิสัตว์ ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย หาได้สูญเปล่าไปไม่ แม้พระองค์จะสิ้นพระชนชิพแล้ว แต่พุทธภูมิก็ยังคงอยู่ เพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย จนกว่าพุทธศาสนาจะหมดสิ้นไป”

    ต่อไปผมจะยกข้อมูลมาเป็นหลักฐานอีกที่เพื่อยื่นยันให้ชัดเจนขึ้น ดังต่อไปนี้
ดังคาถาจาปลินิคัณฑุ (อภิธานัปปทีปิกา) คาถาที่ ๑๙๔ และ คาถาที่ ๑๙๕ ในภูมิกัณฑ์ ว่า
      
ฉตฺตึส ปรมาณูน เมโก ณุจ ฉตึ เต
      
ตชฺชรี ตาปี ฉตฺตึส รถเรณุจฺ ฉตึส เต
      
ลิกฺขา ตา สตฺต อูกา ตา ธญฺญามาโสติ สตฺต เต
   
แปลว่า ๓๖ ปรมาณู เป็น ๑ อณู
              
๓๖ อณู เป็น ๑ ตัชชารี
              
๓๖ ตัชชารี เป็น ๑ รถเรณู
              
๓๖ รถเรณู เป็น ๑ ลิกขา
                
๗ ลิกขา เป็น ๑ อูกา
             
๗ อูกา เรียกว่า ธัญญามาส (เม็ดข้าวเปลือก)

        ท่านสาธุชนทั้งหลาย ถ้าคูณตัวเลขเหล่านี้ดูแล้วก็จะได้ถึง ๘๒ ล้านส่วน กับเศษอีกหลายแสน ท่านจะเห็นได้ว่า ใน ๑ ปรมาณูนั้น มาจากเม็ดข้าว ๑ เม็ด ซึ่งแยกออกเรื่อยๆไป แต่รูปปรมาณูทั้งหมดเหล่านี้ แม้เราเห็นหรือสัมผัสถูกต้องไม่ได้แล้ว ก็ยังจัดเป็นรูปหยาบอยู่มาก เพราะยังมีรูปที่ละเอียดยิ่งกว่านี้อีกต่างหาก
        
รูปทั้งหมดมีอยู่ ๒๘ รูป เป็นรูปหยาบเสีย ๑๒ รูป เหลืออีก ๑๖ รูป เป็นรูปละเอียดประณีตยิ่งกว่าปรมาณูดังได้แสดงมาแล้ว
ทุกๆปรมาณู แม้จะเห็นไม่ได้ และสัมผัสทางกายไม่ได้ก็ดี แต่ก็ประกอบไปด้วย ปฐวี อาโป เตโช วาโย วัณณะ คัณธะ รสะ โอชะ คือ ธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ลม สี กลิ่น รส และโอชะ เรียกชื่อ ปรมาณูนี้ว่า อวินิพโภครูป ๘
        
อาโป= ธาตุน้ำ ไม่ใช่น้ำที่เราดื่มกัน วาโย = ธาตุลม ก็ไม่ใช่ลมที่พัดไปมา และโอชะ ก็ไม่ใช่แปลว่า อร่อย ผู้ที่ศึกษามีความเข้าใจแล้ว จะเห็นความพิศดารเป็นอันมาก
        
ปรมาณูทั้งหลายเหล่านี้ เรียกว่า อวินิพโภครูป และอวินิพโภครูปนี้จะต้องมีธาตุทั้ง ๘ เสมอไป จะไม่มีปรมาณูใด ปรมาณูหนึ่งที่มีธาตุเกินกว่า ๘ หรือน้อยกว่า ๘ อย่างแน่นอน คือจะแยกอย่างไรก็จะต้องมี ๘ เสมอ เพราะธาตุทั้ง ๘ นี้แยกออกจากกันไม่ได้
        
แม้ว่าปรมาณูนั้นจะเล็กน้อยเพียงใดก็ตาม แม้ว่าจะเห็นไม่ได้ สัมผัสด้วยกายไม่ได้ แต่ถึงกระนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ยังแสดงว่า ทุกปรมาณูนั้นมิได้ติดกัน หากแต่มีช่องว่างระหว่างปรมาณู เรียกในภาษาธรรมะว่า ปริเฉทรูป ซึ่งเป็นชื่อของรูปอย่างหนึ่ง ด้วยเหตุที่มีปรมาณูขึ้นมาแล้ว มันจะต้องมีช่องว่างระหว่างปรมาณูเสมอไป
      
อีกทั้งปรมณูเหล่านั้นก็จะมีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอตลอดเวลาโดยไม่เคยหยุดนิ่ง ทั้งนี้เพราะอำนาจอุณหเตโช หรือธาตุไฟ คือความร้อนนั่นเอง ซึ่งตรงกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ยอมรับว่าสสารทุกชนิดย่อมมีพลังงานแฝงอยู่ หากสสารนั้นอยู่ในสถานะที่เป็นของแข็ง พลังงาน(ความร้อนหรืออุณหภูมิ) ย่อมต่ำกว่าของเหลว และของเหลวย่อมมีพลังงานน้อยกว่าก๊าซ ฉะนั้นในสภาพที่เป็นก๊าซจะมีการเคลื่อนไหวของธาตุได้ดีกว่าของเหลว ทั้งนี้เพราะมีพลังงานสูงกว่านั่นเอง
       
แม้ว่าปรมาณูจะมีขนาดเล็กสักเพียงใดก็ตาม แต่เมื่อมารวมกันเป็นกลุ่มรูปต่างๆ โดยมี ชีวิตรูป เป็นตัวยึดโยงแล้ว ย่อมประจักษ์แก่สายตาได้ สามารถสัมผัสได้ ในที่สุดจึงกลายมาเป็นรูปร่างต่างๆที่สมมุติกันว่าเป็น คน สัตว์ หญิง ชาย เป็นต้น
แล้วอำนาจใดที่ทำให้เกิดการรวมตัวกันของรูปปรมณูมาสู่รูปต่างๆ จนเกิดเป็นตัวตน คนสัตว์ หญิง ชาย ที่มีลักษณะรูปร่างหน้าตา ที่แตกต่างกันออกไป