เมื่อเราได้เห็นโลกของเราและระบบสุริยะจักรวาลในที่ไกลแล้ว ต่อไปเรามาเปรียบเทียบขนาดของดาวเคราะห์  ขนาดของดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์  และขนาดของดวงอาทิตย์กับดาวฤกษ์ดวงอื่นๆ

          มาดูภาพเปรียบเทียบดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาลของเรากันชึ่งมี

ดาวพุธ(Mercury), ดาวศุกร์(Venus), โลก(Earth), ดาวอังคาร(Mars), ดาวพฤหัส(Jupiter), ดาวเสาร์(Saturn), ดาวยูเรนัส(Uranus), ดาวเนปจูน(Neptune), ดาวพูลโต(Pluto)    ดังภาพต่อไปนี้

        หมายเหตุ ในปัจจุบันนี้สภาทางดาราศาสตร์ ได้ลงมติกันแล้วว่า ดาวพูลโต (Pluto) ไม่มีคุณสมบัติหมือนดาวเคราะห์ทั้ง 8 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทีตย์ จึงได้ตัดออกจากระบบดาวเคราะห์ จาก 9 ดวงเหลือเพียง 8 ดวง ผมทราบข่าว เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ 2549

                       

 

                     ต่อไปเรามาดูภาพเปรียบเทียบ ดาวเคราะห์กับดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะจักรวาลของเรา

                     

                    

                     ก่อนที่จะเปรียบเทียบขนาดดวงอาทิตย์กับดาวฤกษ์อื่นๆ เรามาดูระบบดวงดาว ที่ให้มองเป็นแบบรูปทรงกระบอกสมมุติ โดยมีดวงอาทิตย์ของเราเป็นจุดศูนย์กลาง มีเส้นรัศมีจากดวงอาทิตย์ออกไปในแนวราบระยะทางประมาณ 10 ปีแสง ( คือแสงใช้เวลาเดินทาง 10 ปี ถึงจะถึงจุดนั้น เช่นโลกเราห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 93 ล้านไมล์ แสงอาทิตย์เดินทางจากดวงอาทิตย์มาถึงโลกประมาณ 8 นาที จากค่าที่กำหนดวัด ได้ว่า 1ปีแสง = 5.88 x 10^12 ไมล์ หรือ 5,880,000,000,000 ไมล์ ที่แสงเคลื่อนที่ไปได้ในเวลา 1 ปี) ดังภาพต่อไปนี้

                     

           จากรูปได้ว่า เส้นวงกลมรอบ ดวงอาทิตย์ (Sun) ในแนวราบวงแรกเป็นช่วงรัศมี ระยะทาง 5 ปีแสง และวงที่สองในแนวราบเป็นช่วงรัศมี 10 ปีแสง

            และดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์เรามากที่สุด คือระยะทาง 4.3 ปีแสง ก็คือ ดาวฤกษ์ชื่อ Proxima และดวงต่อไปคือ อัลฟา Cen และจากภาพนั้นดาวฤกษ์สีเหลืองนั้นเป็นดาวที่มีอายุใกล้เคียงกับดวงอาทิตย์ ที่เป็นสีแดงนั้นเป็นดาวที่อายุแก่กว่าดวงอาทิตย์

            ต่อไปเป็นภาพแสดง ขนาดของดาวฤกษ์บางดวงเมื่อเทียบกับดวงอาทิตย์ ดังภาพข้างล่าง

                  

 

                  เมื่อท่านทั้งหลายได้เห็นภาพสมมุติเสมือนจริงก็ อึ่ง! ไปเหมือนกัน เหมือนกับที่ผมได้เห็นครั้งแรกใน เว็ปลานธรรม

                  แต่ผมจะพาท่านทั้งหลายมุ่งหน้าต่อไป ไกลไปจากโลกและสุริยะจักรวาลของเราไปอีก เมื่อไกลไปจนถึง 100 ปีแสง เราก็ไม่สามารถเห็นดวงอาทิคย์ของเราแล้ว แต่จะกลายเป็นกลุ่มดาวเล็กๆ เล็กๆ เหมือนฝุ่นระออง เป็นฝ้าหนาบ้างบางบ้าง ดังรูปข้างล่าง

                 

                และเมื่อไกลไปอีก 10,000ปีแสง เราเริ่มเห็นเป็นฝ้าไปหมด เหมือนจะอยู่ในกลุ่มฝ้าที่หนาขึ้นดังรูปข้างล้าง

                

               และเมื่อไกลไปอีก 100,000 ปีแสง เราก็กำลังจะเห็นส่วนหนึ่งที่เป็นขอบของฝ้าที่สว่าง ดังรูปข้างล่าง

               

               ท่านทั้งหลายกำลังเห็นส่วนหนึ่งของกาแลคชีทางช้างเผือก(Milky Way Galaxy) ของเราแล้ว และเมื่อไปไกลอีกประมาณ 3 ล้านปีแสง เราก็จะเห็นกาแลคชีทางช้างเผือกอย่างเต็มสมบูรณ์ดังรูป(ภาพสมมุติ)ข้างล่าง

              

             โดยมีตำแหน่งที่ระบายสีฟ้า เป็นตำแหน่งของโลกหรือดวงอาทิตย์เราอยู่ นี้เป็นตำแหน่งที่ดูด้านบนของกาแลคชี แต่ถ้าเราดูจากด้านข้างของกาแลคชีจะได้ภาพดังนี้ (เป็นภาพของกาแลคชีอื่นนำมาเปรียบเทียบ)

               

              เป็นอันว่ากาแลคชีทางช้างเผือกของเราเป็นรูปเกียว แต่เมื่อมองด้านข้างแล้วก็จะเหมือนจาน

 

                                      ต่อไปการกำหนิดดาวฤกษ์และดาวเคราะห