ผล(อานิสงส์)ของปัญญา
                                           
  คำนำ
    
เรื่องผล(อานิสงส์)ของปัญญา เป็นเรื่องที่เขียนมาจากความเข้าใจและความจำล้วนไม่ได้อิงหนังสือเล่นใด ดังนั้นอาจยังมีข้อผิดพลาดจึงขออภัย . ที่นี้ด้วย
    
เมื่อกล่าวถึงเรื่องของปัญญา มันชักเป็นวิชาการและละเอียดอ่อนขึ้นมามาก
          
ปัญญาในทางพระพุทธศาสนาก็สามารถแบ่งเป็นขั้นได้ดังนี้
    
1.สุตมะยะปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจากการได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่านหรือการได้เรียนรู้วิชาการต่างๆ ในห้องเรียน ห้องบรรยาย ซึ่งปัญญาระดับนี้บุคคลทั่วๆ ไป มีกันอยู่ทุกคนยกเว้นคนบ้า
     
2.จิตตะมะยะปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดการคิดการไตร่ตรองการพิจารณา หรือการค้นคว้า ในวิชาการต่างๆ ทำให้ก่อเกิดวิชาการสาขาต่างๆ ออกมามากมาย เช่น วิทยาศาสตร์ จิตวิทยา วิศวกรรม วิชาการจัดการต่างๆ ฯลฯ
    
3.ภาวนามะยะปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจากการกำหนดภาวนาในสิ่งใดสิ่งหนึ่งผลที่มุ้งหวังให้เกิดของการใช้ภาวนามยปัญญา คือ สมาธิหรือ สัจจะธรรม(นิพพาน)
    
หมายเหตุ เรื่องรายละเอียดต่างๆ ไม่ขอกล่าวในที่นี้

     ผลของปัญญาที่เป็นสมาฐิติ ที่เป็นปัจจุบันมีดังนี้
    
1.สุตมะยะปัญญา ถ้ามนุษย์ทุกคนใฝ่หา ในการศึกษาการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาตนเอง และขนขวายในการเพื่อได้ยินได้ฟังได้อ่านสิ่งที่เป็นความรู้ยิ่งๆ ขึ้นไป จะทำให้โลกทางวัตถุ และความรู้ความสามารถของบุคคลพัฒนาขึ้นอย่างก้าวไกลและเสมอภาคกัน
    
ตัวอย่าง ผลของสุตมะยะปัญญาที่เห็นๆ กันอยู่ ได้แก่ผู้ที่พยายามศึกษาสูงในปัจจุบัน จนได้รับปริญญาย่อมมีอาชีพการงานและรายได้ย่อมดีกว่าผู้ที่มีการศึกษาน้อยกว่า
    
2.จิตมะยะปัญญา เมื่อมนุษย์ พิจารณาไนสิ่งที่ได้ยินได้ฟังได้เรียนรู้มา ก็จะได้แนวที่จะแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือได้ความคิดในแนวใหม่ออกมา ก่อให้เกิดเป็นวิทยาการใหม่ เพื่อพัฒนาในด้านความเป็นอยู่ของตนเองหรือสังคมให้ดียิ่งขึ้น
   
  ตัวอย่าง ผลของจิตมะยะปัญญาที่เห็นกันอยู่ ได้แก่ผู้ที่มีการศึกษาดีแล้วพิจารณาได้แนวคิดใหม่ และเมื่อเอาแนวคิดนั้นปฏิบัติแล้วสามารถให้ประโยชน์ได้ดี จึงทำให้มีชื่อเสียงในสังคมเป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไป ทำให้ฐานะของตนนั้นดีขึ้น
    
3.ภาวนามะยะปัญญา เมื่อมนุษย์ผู้ใดมีความคิดว่าจะให้มีความสงบบังเกิดขึ้นกับตน หรือพยายามละวางความยึดมั่นถือมั่นที่เกาะเกียวให้เกิดสุขและทุกข์ที่วนเวียนไม่รู้จบ โดยแสวงหาโมกข์ธรรมก็จะได้สืบทอดเจตณารมณ์ของศาสนาและศีลธรรม เพื่อให้บุคคลปัจจุบันและอนาคตได้ดำรงชีพอย่างสงบและสันติ
    
ตัวอย่าง ผลของภาวนามะยะปัญญาที่เห็นกันอยู่ ได้แก่พระหรือบุคคลที่ตั้งอยู่ในศีล ย่อมมีความสงบและสันติในอัตตะภาพของตน ยิ่งผู้ที่ได้ฌานหรือมรรคผลนิพพาน ก็จะสงบเฉพาะตนยิ่งขึ้น และความสงบนี้ก็ไม่สามารถที่จะใช้เงินเป็นล้านหรือร้อยล้านหรือพันล้านชื้อได้เลย เพราะจะเกิดขึ้นเมื่อปฏิบัติได้ถูกต้องพร้อมทั้งมีปัญญาที่เห็นถูก
    
ผลของปัญญาที่เป็นมิจฉาฐิต
    
1.สุตมะยะปัญญา ทำให้มีแต่ความต้องการได้ยินได้ฟังหรือศึกษาแต่สิ่งที่เบียดเบียนกัน หรือหวังผลประโยชน์ตน เป็นหลัก
    
2.จิตมะยะปัญญา ทำให้พิจารณาและค้นคิดแต่สิ่งที่หวังผลประโยชน์แก่ตนเอง และหาวิธีที่จะเอาเปรียบผู้อื่น ทำให้สังคมไม่พัฒนาละเสื่อมลงไปเรื่อยๆ
    
3.ภาวนามะยะปัญญา ถ้ายังไม่ถึงซึ่งมรรคผลนิพพาน ถ้าจิตใจมาติดในลาภ ยศ สรรเสริญ ก็จะกลายเป็นว่ามุ่งสมาธิเพื่อเป็นการค้าเสียมากกว่า แล้วไหลวนอยู่ในวัตตะสงสารอยู่อย่างนั้น และอาจถึงขั้นผิดศีลอย่างร้ายแรงคือขั้นปาราชิก คือหมดสภาวะการเป็นภิกษุและถ้ายังไม่เปลี่ยนเพศเป็นฆราวาส อย่าหวังเลยว่าจะปฏิบัติภาวนาจนถึงมรรคผลนิพพาน เปรียบเสมือนว่ารากเหงาแห่งความดีขาดไปเสียแล้ว และถ้ายังไม่สำนึกตัวสำนึกตนยังถือว่าตนเป็นพระเพราะมีฐิติมั่น กรรมที่น่ากลัวของผู้ที่ปารถนานิพพาน ก็ตามมาก็คืออนันตริยกรรม  เพราะอาจจะเพลี่ยงพลั่งทำเมื่อไดก็ได้ในวัตตะสงสารนี้ และกรรมที่ตามมา คือกรณีการทำสงฆ์คะเภท   เพราะมีโอกาสที่จะทำให้สงฆ์แตกแยกกันเป็น 2 ฝ่าย แล้วไม่ยอมทำสังฆกรรมรวมกันและทะเลาะกันคำว่าสงฆ์ในที่นี้คือพระภิกษุตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป และเมื่อสิ้นชีพเป็นที่แน่นอนว่าลงนรก และไม่มีผู้ใดแม้กระทั้งพระพุทธเจ้าที่จะสามารถชี้แนะให้บรรลุถึงนิพพาน

     ตัวอย่าง การใช้สุตมะยะปัญญาที่ผิดตามตำรา
    
มีครอบครัวอยู่ครอบครัวหนึ่งมีแม่กับลูกชาย 2 คน ซึ่งสามีได้ตายจากไปแล้ว จึงทำให้ฐานะอาจจะขัดสนสักหน่อยแต่ก็อยู่กันได้ และลูกชายก็ยังเด็กอยู่ ด้วยความเป็นเด็กและขัดสนจึงทำให้เด็กคนนี้ไปขโมยของเล็กๆ น้อยๆ ของบุคคลอื่น เมื่อเอามาถึงบ้านมารดาก็ดีใจที่ได้ของมาโดยไม่ต้องเอาเงินไปชื้อ จึงกล่าวกับลูกชายตนเองว่า "ดีแล้วลูกๆ แม่ไม่ต้องลำบากไปหาชื้อ" จึงทำให้ลูกชายดีอกดีใจ และประพฤติตนอย่างนี้มาตลอดตามวัยของตนเอง ฝ่ายมารดาก็ยินดีทุกครั้งที่ลูกชายขโมยของได้มา เป็นอันว่าเมื่อบุตรชายโตเป็นหนุ่มก็มีอาชีพเป็นขโมยของผู้อื่นเพื่อเลี้ยงตนเองและมารดา และอึกเหิมมากขึ้น เนื่องจากได้รับการเสี้ยมสอนมาอย่างนี้ จึงทำการเข้าไปขโมยในบ้านของเศรษฐี ที่มียามเผ้าอย่างหนาแน่นเพื่อหวังจะได้ลาภก้อนโต แต่เกิดพลาดท่าโดนจับได้ ด้วยความขึ้นซื่อลือชาด้านการขโมยทำให้เดือดร้อนกันตั้งเมือง และมีความผิดหลายกระทงจึงทำให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองตัดสินประจานรอบเมื่องและเอาไปประหาร ระหว่างที่นำไปประจานก็เกิดมีความเข้าใจถึงผลดีผลเสียในการเป็นขโมย และที่ตนเองเป็นอย่างนี้เพราะฟังแต่คำสั่งสอนของแม่อย่างเดียว จึงทำให้เกิดความคับแค้นใจอย่างมาก จึงตะโกนออกมาว่า "แม่ฆ่าฉันๆ ๆ" ตลอดการประจานจนถึงการประหารประชาชนต่างพากันสงสัย เลยถามขโมยคนนี้ว่าทำไม่ต้องตะโกนว่า "แม่ฆ่าฉันๆ" ขโมยเล่าเรื่องตนเองตามที่เป็นมา หลังจากนั้นก็โดนประหารตามความผิด เพราะกว่าสำนึกได้ก็สายไปเสียแล้ว

     ตัวอย่างการใช้จินตมยปัญญาที่ผิด
       
จินตมยปัญญาที่ผิด คือการเห็นผิด หรือเห็นขาวเป็นดำ เรื่องมีอยู่ว่าในสมัยพระพุทธเจ้าองค์ก่อน  คือกัสสปะพุทธเจ้า ได้มีพระภิกขุรูปหนึ่งที่บวชในพระพุทธศาสนาและได้เรียนรู้มูลฐานกรรมฐาน ออกไปปฏิบัติ ณ. ที่ชายป่าแห่งหนึ่ง ด้วยความพยายามจนเป็นเวลาหมื่นกว่าปีจนแก่เฒ่า แต่ไม่ได้รับผลเลยแม้กระทั้งฌาน เพราะไปปฏิบัติผิดแนวไปยึดตัวยึดตน เมื่อพยายามมากๆ เป็นเวลาหลายปี เกิดมีจิตนาการผิดๆ ว่านิพพานไม่มีจริง ธรรมไม่มีจริง เราฝึกมานานแล้วสรุปได้ว่าไม่มีจริง ดังนั้นศีลวัตร ปฏิบัติต่างๆ ไม่ควรปฏิบัติและเคร่งครัด พระภิกษุแก่รูปนี้จึงปล่อยตัวตามสบาย ผิดศีลเล็กๆ น้อยๆ มาตลอดจนตาย ก็ได้ไปเกิดเป็นเดรัจฉาน เพราะความหลงกลายเป็นจระเข้เฝ้าในแม่น้ำ จากตัวอย่างนี้ชี้ให้เห็นว่าก็มีบุคคลบางส่วน ที่เข้าไปพัฒนาตนเองในการภาวนา เพื่อให้เกิดภาวนายมปัญญาแต่เมื่อปฏิบัติแล้วเข้าใจว่าไม่มีอะไรบังเกิดขึ้น ทำให้โมเม หรือเห็นผิดไปว่าพระธรรม(นิพพาน)ไม่มีจริงก็ไม่ยอมปฏิบัติ ต่อมาผิดศีลผิดธรรมกันมากมาย กล่าวตู่ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในแง่ที่เป็นมิจฉาฐิติ   แล้วทำให้ผู้ไม่เคยปฏิบัติพลอยเชื่อตามไปอย่างนั้น และไม่ปารถนาจะปฏิบัติภาวนายมปัญญา และก็ยังมีบางกลุ่มที่ปฏิบัติภาวนายมปัญญาบังเกิดผลสมาธิ ได้ฌานหรือได้อภิญญาก็เข้าใจว่าตนเป็นผู้วิเศษเลิศกว่าคนทั้งหลาย บางครั้งถึงกับโมเมเข้าใจว่าตนเองหมดซึ่งกิเลส ชักนำบุคคลอื่นเข้ามาปฏิบัติ ซึ่งก็เป็นผลดีต่อพุทธศาสนา แต่ผู้ที่ติดกับตัวบุคคลจะเข้าถึงธรรมนั้นเป็นไปได้อยาก เพราะมีความเห็นผิดตามไปด้วยกับบุคคลที่ตนเองนับถือ ส่วนผู้ที่เป็นเจ้าสำนักพอมีลาภสักการะมากเข้า ผู้ที่เกิดติดในลาภสักการะสมาธิก็เสื่อม ซึ่งอาจทำให้หลงตนทำความผิดอย่างใหญ่หลวง ถึงขนานทำการปาราชิก ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นอยู่บ้างตั้งแต่ในอดีตและในปัจจุบัน
    
ตัวอย่างผลของสุตมยปัญญาที่เป็นสมมาฐิติ
       
มีคนจันทานคนหนึ่ง(คนจันทาน มีอยู่ในวรรณะของอินเดียเกิดจากคนต่างวรรณะแต่งงานกับวรรณะทาส ได้บุตรออกมาเรียกว่าวัณณะจันทาน ซึ่งจะคบค้าสมาคมกับใครก็ลำบาก" คนจันทานคนนี้แม้จะมีฐานะต่ำแต่ความคิดไม่ได้ต่ำไปด้วย จึงพยายามหาวิชาชีพจากท่านผู้รู้ทั้งหลายโดยนอบน้อมถ่อมตน เข้าไปหาอาจารย์ทิศาปราโมทย์ ทีเก่งทางด้านเกี่ยวกับต้นไม้และผลไม้ท่านผู้หนึ่ง และยอมรับใช้อาจารย์ทุกอย่างเป็นเวลาปีๆ พร้อมทั้งได้ศึกษาไปด้วยจากการสังเกตเอา  แต่เคล็ดลับต่างๆไม่สามารถทราบได้เช่น การทำให้ดอกไม้ออกก่อนฤดูและมีลักษณะพิเศษหรือผลไม้ออกนอกฤดูและมีผลพิเศษจากปกติ เมื่อจันทานคนนี้ปรนนิบัติอาจารย์อย่างดีเป็นเวลาหลายปี อาจารย์ก็อยากจะให้ของขวัญอะไรสักอย่าง แต่ไม่รู้ว่าจะให้อะไร จึงเอ่ยปากถามคนจันทานว่า "อาจารย์เห็นปรนนิบัติอาจารย์มาหลายปี อาจารย์ก็อยากให้ของขวัญ อะไรสักอย่าง แต่กลัวจะไม่ถูกใจ จึงอยากทราบว่าอะไรที่ต้องการแต่ไม่เกินฐานะที่อาจารย์จะให้ได้" ส่วนคนจันทานได้ฟังดังนั้นยินดียิ่งนักเพราะเฝ้ามานานแล้ว  จึงกล่าวกับอาจารย์ว่า "ของอย่างอื่น กระผมไม่ต้องการ แต่ต้องการเคล็ดลับความรู้ ที่ทำให้ผลไม้ออกก่อนฤดูและมีผลลักษณะดีพิเศษ เพื่อเป็นวิชาชีพเลี้ยงตัวเอง" พออาจารย์ได้ฟังดังนั้นจึงมีความยินดีพอใจในความคิดของลูกศิษย์จันทาลคนนี้ แต่ติดอยู่ที่เป็นคนจันทาน จึงคิดที่จะให้วิชาที่ดีที่สุดและใช้ประโยชน์มากที่สุด จึงกล่าวตอบว่า "อาจารย์ก็อยากให้ความรู้ทั้งหมด แต่ติดอยู่ว่าลูกศิษย์วรรณะอื่นๆ จะกล่าวตำหนิอาจารย์ได้ อาจารย์จึงจำเป็นต้องให้เพียงวิชาเดียว คือการทำให้ต้นมะม่วงออกผลดกและลักษณะดีหอมหวานและผลโตทั้งในฤดูกาล และนอกฤดูกาล" ฝ่ายลูกศิษย์จันทานก็ยินดีอย่างยิ่ง หลังจากนั้นก็อยู่ปรนนิบัติและศึกษาเคล็ดลับการปลูกต้นมะม่วงกับอาจารย์เป็นปีๆ จนมีความชำนาญ เมื่อเห็นว่ามีเวลาอันสมควรแล้วที่จะไปทำกิจการของตนเอง จึงไปกราบลาอาจารย์ เนื่องด้วยอาจารย์เห็นความดีของศิษย์จันทานคนนี้ จึงมอบเงินให้จำนวนเล็กน้อยเพื่อพอเริ่มในการตั้งตัว และให้ศีลให้พรอีกด้วย ฝ่ายคนจันทานเมื่อได้มาประกอบอาชีพส่วนตัว ก็มีความขยันขันแข็งจนมีสวนมะม่วงของตนเอง และผลมะม่วงที่ได้ก็ไม่พอขายในตลาด ทั้งในฤดูกาลและนอกฤดูกาล จึงมีฐานะจัดอยู่ในเกณฑ์ที่ดีแม้จะเป็นคนจันทาน แต่ความเด่นดังของผลมะม่วงนอกฤดูกาล ไม่ใช่มีเพียงเท่านี้ เนื่องจากผลมะม่วงนอกฤดูกาลของจันทานคนนี้ มีการชื้อขายกันจนถึงในพระราชวัง จนพระเจ้าแผ่นดินได้เสวยและติดพระหฤทัย  จึงแปลกใจว่าทำไมมะม่วงออกผลนอกฤดูกาล และมีรสชาติวิเศษอย่างนี้  จึงตรัสถามข้าราชบริพารก็ได้ทราบว่าคนจันทานคนนั้นเป็นคนปลูก เนื่องจากพระองค์เป็นราชาที่ดี แต่พระองค์ไม่สามารถให้ตำแหน่งใดๆ ได้กับคนจันทานคนนั้น พระองค์จึงดำริว่า น่าจะยกย่องบุคคลเช่นนี้เพื่อให้มีกำลังใจและเป็นแบบอย่างที่ดีกับบุคคลอื่น พระองค์จึงกล่าวกับข้าราชบริพารว่าจะเสด็จเยี่ยมเยียนคนจันทานคนนี้ พร้อมทั้งทัศนาในการปลูกต้นมะม่วงเพื่อเป็นเกียรติกับคนจันทาน เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับผู้อื่น นี้และเป็นผลของสุตมะยะปัญญา
    
ตัวอย่างบทความที่เกี่ยวกับธรรม(นิยายสั้นอิงธรรมในแนวลึก)
     
มีพระรูปหนึ่งเคร่งในศีลพรตมาก มีความเข้าใจในธรรมที่ดีพอ เมื่อปฏิบัติธรรม ก็เห็นไตรลักษณ์ตามความคิดและอาการของใจตนจึงวางความคิดและนิมิตที่ปรุงแต่งได้ จนใจนั้นสุขสงบแน่นิ่งอยู่อย่างนั้นและทรงอารมณ์อย่างนั้นได้เกือบตลอดเวลา จึงเข้าใจว่าสิ่งนี้เป็น อัตตา สุขขัง และนิจจัง สิ่งอื่นทั่งปวงเป็น อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา (แปลได้คือไม่เทียง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน)และสามารถเข้าถึงจุดที่ท่านเห็นเป็นประจำ ในวันหนึ่งได้มีพระอีกรูปหนึ่งได้เข้าไปสนทนาด้วย เพราะเห็นว่าเป็นพระกรรมฐานเหมือนกันเลยเข้าไปสนทนาธรรม สนทนาธรรมพื้นฐานเข้ากันได้อย่างดิบดี มีปีติและกระจ่างแจ้งทั้งคู่ แต่พอพูดถึงธรรมสูงสุด พระรูปแรกกล่าวว่า มันเป็น นิจจัง สุขขัง อัตตา คือ เทียงแท้ เป็นสุข และ เป็นตน ส่วนพระรูปที่สองกล่าวว่ามันน่าจะขัดกับหลักไตรลักษณ์นะ แต่กระผมมีความเข้าใจว่า ไตรลักษณ์ก็ยังเป็นไตรลักษณ์ เป็นธรรมชาติและผมมีความเห็นอีกว่า ร่างกายและจิตใจนี้เป็นของโลก และโลกนี้ก็เป็นธรรมชาติดังนั้นธรรมชาติกายกับใจเป็นของโลกนี้ไม่ใช้ของกระผม แม้แต่กระผมเองก็ไม่ยึดมั่นถือมั่นเป็นกระผม
    
นี้เป็นนิยายธรรมที่ให้ไปคบคิดกันเองก็แล้วกัน ว่าผู้ใดผิดหรือผู้ใดถูก หรือถูกทั้งคู่ หรือผิดทั้งคู่ ในความหมายของคำว่านิพพาน

      อันปัญญาณั้นเป็นฐานของทั้งหมด      มีความหมดจดเสียทุกอย่าง
บังเกิด ทาน ศีล สมาธิ สะสาง                      เป็นสายกลางไม่ยึดในสิ่งใด
    
ทำให้ละชั่วทำแต่สิ่งดี                              ผลชั่วดีไม่หวั่นไหวในจิตใจ
ไม่เป็นไปเพื่อยึดติดในภายใน                     แม้แต่ใจไม่ยึดมั่นสิ่งทั้งปวง
                                                                                                      20
เมษายน 38

                           จบตอนที่ 2   กลับไปหน้าแรก  100.html