พระศาสดาเมื่อประทับอยู่    พระวิหารเชตวัน  ทรงปรารภ

 สันถัดเก่า  จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า  ปรปาณฆาต  ดังนี้.  แม้

เรื่องนี้ก็ได้มาแล้วโดยพิสดาร  ในพระวินัยนั่นแล  ก็ในที่นี้มีความย่อ

ดังต่อไปนี้  :-  ท่านพระอุปเสนะ  มีพรรษาได้    พรรษา  พร้อมด้วย 

สัทธิวิหาริกซึ่งมีพรรษาเดียว  พากันเข้าไปเฝ้าพระศาสดา  ถูก

พระศาสดาทรงติเตียน  จึงกลับแล้วหลีกไปเริ่มบำเพ็ญวิปัสสนา  บรรลุ

พระอรหัตแล้ว  ประกอบด้วยคุณมีความเป็นผู้มักน้อยเป็นต้น  สมาทาน

ธุดงค์  ๑๓  กระทำการชักชวนบริษัทให้เป็นผู้ทรงธุดงค์  ๑๓  ด้วย 

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหลีกเร้นอยู่ตลอดไตรมาส  จึงพร้อมด้วย

บริษัทเข้าไปเฝ้าพระศาสดา  เพราะอาศัยบริษัทนั่นแหละ  จึงได้รับ

การติเตียนเป็นครั้งแรก  แต่เพราะประพฤติตามกติกาอันประกอบด้วย

ธรรม  จึงได้รับสาธุการเป็นครั้งที่สอง  เป็นผู้อันพระศาสดาทรงกระ-

ทำอนุเคราะห์ว่า  จำเดิมแต่นี้ไป  ภิกษุทั้งหลายผู้ทรงธุดงค์  จงเข้ามา

เฝ้าเราตามสบายเถิด  แล้วจึงออกไปแจ้งเนื้อความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย.

ตั้งแต่นั้นมา  ภิกษุทั้งหลายจึงพากันเป็นผู้ทรงธุดงค์  เข้าไปเฝ้าพระ-

ศาสดา  เมื่อพระศาสดาเสด็จออกจากที่เร้น  ก็พากันทิ้งผ้าบังสกุลไว้

ในที่นั้นๆ  ถือเอาไปเฉพาะบาตรและจีวรของตนเท่านั้น.  พระศาสดา

เสด็จเที่ยวจาริกไปยังเสนาสนะพร้อมด้วยภิกษุมากด้วยกัน  ทอดพระ-

เนตรเห็นผ้าบังสุกุลตกเรี่ยราดอยู่ในที่นั้นๆ  จึงตรัสถาม  ได้ทรงสดับ

ความนั้นแล้ว  จึงตรัสว่า  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  การสมาทานวัตรของ

ภิกษุเหล่านี้  เป็นของไม่ตั้งอยู่ยั่งยืน  ได้เป็นเช่นกับอุโบสถกรรมของ

นกยาง  แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก  ดังต่อไปนี้  :-

       ในอดีตกาล  เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระ-

นครพาราณสี  พระโพธิสัตว์ได้เป็นท้าวสักกเทวราช.  ครั้งนั้น  มี

นกยางตัวหนึ่งอยู่ที่หลังหินดาดใกล้ฝั่งแม่น้ำคงคา  ต่อมา  ห้วงน้ำใหญ่

ในแม่น้ำคงคาไหลมาจดรอบหินดาดนั้น  นกยางจึงขึ้นไปนอนบนหลัง

หินดาด.  ที่แสวงหาอาหารและทางที่จะไปแสวงหาอาหารของนกยาง

นั้นไม่มีเลย.  แม้น้ำก็เปี่ยมอยู่นั่นเอง  นกยางนั้นคิดว่า  เราไม่มีที่

แสวงหาอาหาร  และทางที่จะไปแสวงหาอาหาร  ก็อุโบสถกรรมเป็น

ของประเสริฐกว่าการนอนของเราผู้ว่างงาน  จึงอธิษฐานอุโบสถด้วยใจ

เท่านั้น  สมาทานศีล  นอนอยู่.  ในกาลนั้น  ท้าวสักกเทวราชทรง

รำพึงอยู่  ทรงทราบการสมาทานอันทุรพลของนกยางนั้น  ทรงพระ-

ดำริว่า  เราจักทดลองนกยางนี้  จึงแปลงเป็นรูปแพะเสด็จมายืนแสดง

พระองค์ให้เห็นในที่ไม่ไกลนกยางนั้น.  นกยางเห็นแพะนั้นแล้วคิดว่า

เราจักรู้การรักษาอุโบสถกรรมในวันอื่น  จึงลุกขึ้นโผบินไปเพื่อ

จะเกาะแพะนั้น  ฝ่ายแพะวิ่งไปทางโน้นทางนี้  ไม่ให้นกยางเกาะตน

ได้.  นกยางเมื่อไม่อาจเกาะแพะได้  จึงกลับมานอนบนหลังหินดาดนั้น

นั่นแลอีกโดยคิดว่า  อุโบสถกรรมของเรายังไม่แตกทำลายก่อน.  ท้าว-

สักกเทวราชประทับยืนในอากาศด้วยอานุภาพของท้าวเธอ  ทรงติเตียน

นกยางนั้นว่า  ประโยชน์อะไรด้วยอุโบสถกรรมของคนผู้มีอัธยาศัยอัน

ทุรพลเช่นท่าน  ท่านไม่รู้ว่าเราเป็นท้าวสักกะ  จึงประสงค์จะกินเนื้อ

แพะ  ครั้นทรงติเตียนแล้วก็เสด็จไปยังเทวโลกทันที.

มีอภิสัมพุทธคาถา  แม้    คาถาว่า  :-

              นกยางแหละมีเนื้อและเลือดเป็นอาหาร

       เป็นอยู่ได้เพราะฆ่าสัตว์อื่น  สมาทานเข้าจำ

       อุโบสถกรรมนั้นแล้ว.

              ท้าวสักกะทรงทราบวัตรของนกยางนั้น

       แล้ว  จึงจำแลงเป็นแพะมา  นกยางนั้น

       ปราศจากตบะ  ต้องการดื่มกินเลือด  จึงโผ

       ไปจะกินแพะ  ได้ทำลายตบะเสียแล้ว.

              บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือน

       กัน  เป็นผู้มีวัตรอันเลวทรามในการสมาทาน

       วัตร  ย่อมทำตนให้เบา  ดุนกยางทำลายตบะ

       ของตน  เพราะเหตุต้องการแพะฉะนั้น.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  อุปปชฺชิ  อุโปสถํ  ได้แก่  เข้า

จำอุโบสถ.  บทว่า  วตญฺาย  ความว่า  ทรงทราบวัตรอันทุรพลของ

นกยางนั้น.  บทว่า  วีตตโป  อชฺฌปฺปตฺโต  ความว่า  เป็นผู้ปราศจาก

ตบะบินเข้าไป  อธิบายว่า  โผแล่นไปเพื่อจะกินแพะนั้น.  บทว่า

โลหิตโป  แปลว่า  ผู้ดื่มเลือดเป็นปกติ.  บทว่า  ตปํ  ความว่า

นกยางทำลายตบะที่ตนสมาทานแล้วนั้น.

       พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว  ทรงประชุม

ชาดกว่า  ท้าวสักกะในครั้งนั้น  คือเราตถาคต  ฉะนี้แล.

                           จบ   อรรถกถาพกชาดกที่  ๑๐