สั่งเครื่องให้ทำการพิมพ์
ลานธรรมเสวนา > ชีวิตกับธรรมะ
กระทู้ 30320 สนทนา ทำความเข้าใจ อานาปานสติ กับการดำรงสติ ( http://larndham.net/index.php?showtopic=30320 )


    อานาปานสตินั้นเป็นกรรมฐานที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญเป็นอย่างมาก และปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกอย่างละเอียด มากมาย
  กระทู้เก่าที่ได้สนทนากันตามลิงค์นี้   http://larndham.net/index.php?showtopic=18258
   
   ซึ่งในกระทู้เก่าก็ได้สนทนากันอย่างมากมาย แต่จุดเบื้องต้นในการกำหนดภาวนานั้น  ยังไม่ชัดเจน  และยังก่อให้เกิดความไม่สบายและอึดอัดกับบางท่าน เพราะจุดหรือบริเวณที่เข้าไปตั้งสตินั้นอาจคลาดเคลือนไปล่วงเลยจากธรรมปฏิบัติ จนกลายเป็นเพ่งและเกร็งไปเสีย..

   ช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา จากกระทู้ครั้งแรก เมื่อ 5 มกราคม 2549  จนถึงปัจจุบันนี้ 4 กุมภาพันธ์ 51  ผมก็ได้หลักที่ดำรงณ์ สติ และสมาธิแล้ว  คือที่จมูก นั้นก็คือ อานาปานสติ  นั้นเอง

    และอานาปานสตินั้นเป็นกรรมฐานที่ดี เพราะเมื่อปฏิบัติอานาปานสติอย่างสมบูรณ์ทั้ง 16 วัตถุ(จาตุกะ) ก็ย่อมทำให้สติปัฏฐาน 4 สมบูรณ์ และโพชฌงค์ 7 สมบูรณ์ ด้วย ดังมีพุทธพจน์ตรัสรับรองไว้ ดังนี้

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย  อานาปานสติ  อันภิกษุเจริญแล้ว  ทำให้มากแล้ว  ย่อม  มีผลมาก
มีอานิสงส์มาก  ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว  ทำให้มากแล้ว  ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน  ๔  ให้
บริบูรณ์ได้  ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน  ๔  แล้ว  ทำให้มากแล้วย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์  ๗  ให้บริบูรณ์
ได้  ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์  ๗  แล้ว  ทำให้มากแล้ว  ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้  ฯ


     และในกระทู้นี้ ผมต้องกลับมาสนทนาในการปฏิบัติเบื้องต้น หรือการกำหนดภาวนาอานาปานสติเบื้องต้น  ที่มีความสับสนกันอยู่ ว่าเป็นแบบใหน?   เพื่อให้บรรเทาการเพ่งจนเกร็ง หรือเคร่งเครียด แล้วเกิดอาการแปลกๆ ขึ้น แล้วทำให้การปฏิบัติกรรมฐานต้องหยุดหรือติดอยู่เพียงแค่นี้  เพราะความเข้าใจไม่ถูกต้องในการกำหนดภาวนา โดยขาดการเอาธรรมของพระพุทธเจ้าจากหมวดอื่นๆ มารองรับเพื่อให้เกิดความเข้าใจปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
      ต่อไปผมจะยกการปฏิบัติอานาปานสติจากพุทธพจน์ ส่วนเบื้องต้นมาให้ดูดังนี้

   ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า  เธอย่อมมีสติหายใจออก  มีสติหายใจเข้า
    เมื่อหายใจออกยาว  ก็รู้ชัดว่า  หายใจออกยาว  หรือเมื่อหายใจ
เข้ายาว  ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว
    เมื่อหายใจออกสั้น  ก็รู้ชัดว่า  หายใจออกสั้น  หรือเมื่อหายใจ
เข้าสั้น  ก็รู้ชัดว่า  หายใจเข้าสั้น

    
    ซึ่งความจริงแล้ว พระพุทธเจ้าทรงตรัสอย่างตรงไปตรงมา   กำหนดภาวนาก็จะเกิดภาวะชัดเจนเช่นนั้นทันที

     แต่ปัญหาของมนุษย์ยุคปัจจุบัน เนื่องจากมีการจินตนาการหลากหลาย จึงเกิดการเข้าใจผิดหรือเข้าใจล่วงเลยในการกำหนดภาวนา ก่อให้เกิดการเพ่งจนอึดอัดเครียด และเกิดอาการต่างๆ มากมาย..
    เช่นไม่เข้าใจว่า สติมั่นเฉพาะหน้า เป็นอย่างไร...
                         รู้ชัด นั้นรู้ชัดแค่ใหน อย่างไร ....
     นี้แหละคือปัญหาของการปฏิบัติ   ถ้าเป็นคนโบราณที่ไม่มีข้อมูลมากนักในสมอง ปัญหาเหล่านี้จะมีน้อยมาก

       ตั้งหัวกระทู้ชี้ให้เห็นปัญหาในการการปฏิบัติเบื้องต้นก่อน ...  แล้วจะอธิบายในภายหลังต่อไป...

   

 

ตอบโดย: Vicha 04 ก.พ. 51 - 12:35


คุณเซียม
เมื่อสติมั่นเฉพาะหน้าและรู้ชัดพอได้แล้วต้องทำอย่างไรต่อไปคะ
ติดตรงยังตัดได้ไม่เร็วพอแบบฮิตาชิน่ะเปิดปุ๊บติดปั๊บ
     

ตอบโดย: สติ - จิตตา 04 ก.พ. 51 - 13:07



อ้างอิง
ติดตรงยังตัดได้ไม่เร็วพอแบบฮิตาชิน่ะเปิดปุ๊บติดปั๊บ


    ตอบคุณ สติ - จิตตา   ถ้าตรงคำถามข้างบนนั้นต้องอาศัยความชำนาญแล้วครับ  ถ้าเป็นผู้ได้ฌานก็ต้องเป็นผู้ที่ฝึกจนเกิดเป็นวสีแล้วครับ...

    สำหรับผมตอนนี้เพียงแต่เอามาใช้ให้พอมีสติ หรือให้มีหลักของสติดำรงอยู่ในประจำวันโดยส่วนมากเท่านั้นครับ...
    และตอนพักเที่ยงที่ผ่านมานี้หลังทานข้าว ผมก็กำหนดอานาปานสติ ในระยะเวลา 25 นาที ก็เผลอหลับ พอตั้งสติก็เผลอหลับ โดยตลอดครับ...  ลืมตามาอีกที ก็ บายโมงตรงครับ

  

ตอบโดย: Vicha 04 ก.พ. 51 - 13:40


ต่อไป ก็มาทีปัญหาที่ว่า

                         สติมั่นเฉพาะหน้า เป็นอย่างไร?...
                         รู้ชัด นั้นรู้ชัดแค่ใหน อย่างไร? ....

ก่อนที่ผมจะนำไปสู่ ถึงคำตอบนั้นผมต้องนำธรรมอีกส่วนหนึ่งมาประกอบ เพื่อให้เป็นที่แน่ชัดและมีความคลาดเคลื่อนน้อยลงจากพุทธพจน์ ดังนี้

              ..............................
               ..............................

               ดูกรภิกษุ

              มหาภูตรูป ๔  เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติรูปขันธ์

              ผัสสะ  เป็นเหตุ เป็นปัจจัย  แห่งการบัญญัติเวทนาขันธ์

              ผัสสะ  เป็นเหตุ เป็นปัจจัย  แห่งการบัญญัติสัญญาขันธ์

              ผัสสะ  เป็นเหตุ เป็นปัจจัย  แห่งการบัญญัติสังขารขันธ์

              นามรูป เป็นเหตุ เป็นปัจจัย  แห่งการบัญญัติวิญญาณขันธ์ ฯ.


                                                  มหาปุณณมสูตร.


           ผมยกส่วนหนึ่งจาก มหาปุณณมสุตร ตรงนี้มาบางท่านอาจจะยังไม่เห็นว่า ไปเกี่ยวพันกับอานาปานสติ  สติมั่นเฉพาะหน้า หรือ รู้ชัดได้อย่างไร? ไม่เห็นเกี่ยวกันเลย

       ความจริงแล้วพระสูตร ส่วนนี้แหละเป็นการบอกเป็นการชี้ให้เห็นถึงการกำหนดภาวนาอานาปานสติได้อย่างดี ได้อย่างถูกต้อง มีความผิดพลาดน้อยลง  และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน ของสำหนักต่างๆ ที่ไม่ใช้การกำหนดอานาปานสติ แล้วเข้าใจอานาปานสติคลาดเคลือน..

     ผมให้เวลา ผู้ที่ติดตามกระทู้นี้ได้อ่าน แล้วผมจะมาต่อความคิดเห็นต่อไป...

  

ตอบโดย: Vicha 04 ก.พ. 51 - 14:02


เคยได้ยินมาว่า  ต้องมีฐาน อย่างหลวงปู่มั่นมี 5 ฐาน เท็จจริงอย่างไร มีที่มาจากพระไตรปิฎกหรือไม่คะ

ตอบโดย: ปุกปุย 04 ก.พ. 51 - 14:23


   เข้ามาตอบคุณ ปุกปุย ก่อนนะครับ ในพระไตรพบเจอเฉพาะในอานาปานสติสูตรเท่านั้นครับ  แต่เรื่องฐานทั้ง 5 ผมยังไม่เคยอ่านเจอ..

   แต่เมื่อมาสังเกต ฐานที่รู้ว่าหายเข้าหรือออกได้ ก็ 5 ฐาน จริงๆ ครับ คือ
       1. จุดบริเวณลมสัมผัสปลายจมูกหรือรองปลายปากบนที่โดนลมหายใจออก  2. โพรงจมูก  3. ช่วงลำคอ  4.ช่วงทรวงอก และ 5.ช่วงท้อง

     แต่ยังไม่เกี่ยวโดยตรงกับ ที่ผมกำลังเสนอนะครับ..
 

  


 

ตอบโดย: Vicha 04 ก.พ. 51 - 14:43


แปลว่าต้องเป็นวสีอย่างเดียวเท่านั้นใช่ไหม
เมื่อเป็นวสีแล้วแต่ยังฝึกเพื่อให้ฐานแน่นอยู่  คือ  ชำนาญให้มากขึ้นเรื่อย ๆ นั้น  ต่อไปจะฝึกอย่างไรต่ออีกคะ   พระคุณท่านที่วัดป่ามณีกาญจน์เคยบอกว่าฝึกให้ชำนาญมากขึ้นไปอีก  ทราบไหมคะว่าต้องชำนาญขนาดไหน  เพราะตอนนี้มีแต่เห็นตามจริงกำกับโดยสติกับรู้เท่านั้น  อะไรปรากฎก็รู้แต่จะรู้ช้าหรือเร็วอยู่ที่ความพร้อมของจิต ณ เวลานั้น ๆ   บางทีก็ทันเร็วบางทีก็ทันแต่ช้าคือปรุงส่งออกไปเสียก่อน  แต่มันแบบ  slow  motion  เมื่อสิบปีก่อนเซียมเคยเสนอแนะเรื่องสติ  ตอนนี้เข้าใจเรื่องสติแล้วแต่รู้สึกว่าตนเองพัฒนาต่อไม่ได้  เห็นแต่กิเลสเยอะแยะไปหมด  แต่มีความหน่วงช้ามากขึ้นและเห็นกับรู้ชัดขึ้นเรื่อย ๆ
     

ตอบโดย: สติ - จิตตา 04 ก.พ. 51 - 15:36


แค่เรื่องอานาปานสติเรื่องเดียว พอเข้าสู่ภาคปฏิบัติ ผมก็เห็นว่ามีอยู่มากมายหลายวิธีเหลือเกินน่ะครับในปัจจุบัน บางท่านก็ตีความว่าอย่างนี้ต้องดูลมแบบนี้ บางท่านก็ตีความว่าต้องเป็นอีกแบบ เท่าที่ผมเคยอ่านมาก็เห็นว่ามีหลวงพ่อลี วัดอโศการาม ท่านหนึ่งนี่แหละครับ ที่ท่านเน้นการสอนอานาปานสติเป็นพิเศษ ท่านมีสอนเอาไว้มากมายหลากหลายทีเดียวครับ

ส่วนอีกท่านหนึ่งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่แล้วเน้นการสอนอานานสติก็คือ ท่านอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก น่ะครับ  

ปล.อย่างอานาปานสติที่ผมเคยอ่านเจอใน "ทางนฤพาน" ที่คุณดังตฤณเขียน ก็รู้สึกว่าจะใช้วิธีรู้สึกตัวทั่วพร้อมแล้วก็ดูลมหายใจเข้า-ออก ที่เข้าไปในร่างทั้งตัว(ไม่ได้กำหนดเป็นจุดๆ หรือไว้ที่ปลายจมูกเหมือนบางท่าน) ซึ่งผมว่าวิธีนี้พอเอาไปเทียบเคียงกับในพระสูตรแล้วรู้สึกว่าจะตรงกันน่ะครับ  

ตอบโดย: wit 04 ก.พ. 51 - 15:42


ขออนุโมทนาครับ คุณVicha
ร่วมสนทนาความคิดเห็นบางประเด็นด้วยครับ

ข้อที่ว่า:
อ้างอิง (Vicha @ 04 ก.พ. 51 - 14:02)
ต่อไป ก็มาทีปัญหาที่ว่า
                         สติมั่นเฉพาะหน้า เป็นอย่างไร?...
                         รู้ชัด นั้นรู้ชัดแค่ใหน อย่างไร? ....


สติมั่นเฉพาะหน้า ความระลึกรู้ อยู่เป็นปัจจุบัน ดำเนินไปทุกๆปัจจุบันขณะ

รู้ชัด ในขอบเขตของสัมปชัญญะ ให้สติระลึกรู้ สภาพนามรูปในลักษณะไตรลักษณ์
ชัดแค่ไหนอย่างไร? นั้นขึ้นอยู่กับกำลังสติ กำลังสมาธิ กำลังปัญญา
กำลังในที่นี้ หมายถึงกำลังคือพละที่เป็นส่วนสำคัญของอินทรีย์๕
ของผู้ปฏิบัติเจริญอานาปานสติเองที่ท่านได้เพาะบ่มสั่งสมดำเนินไป

ขอเจริญธรรมครับ  

ตอบโดย: svt 04 ก.พ. 51 - 15:48


   ตอบคุณ สติ - จิตตา  ความรวดเร็วของการกำหนดอยู่ที่ความชำนาญ  แต่การพัฒนาธรรมเบื้องสูง อยู่ในส่วนธรรมที่เป็นพุทธพจน์ดังนี้ครับ..

    (เฉพาะผู้ที่ฝึกอานาปานสติ ได้อย่างดีแล้ว .....  พัฒนนาขึ้น)

         [๒๘๙]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างไร  ทำให้มากแล้ว
อย่างไร  จึงบำเพ็ญสติปัฏฐาน  ๔  ให้บริบูรณ์ได้  ดูกรภิกษุทั้งหลายสมัยใด  เมื่อภิกษุหายใจ
ออกยาว  ก็รู้ชัดว่า  หายใจออกยาว  หรือเมื่อหายใจเข้ายาว  ก็รู้ชัดว่า  หายใจเข้ายาว  เมื่อหาย
ใจออกสั้น  ก็รู้ชัดว่า  หายใจออกสั้นหรือเมื่อหายใจเข้าสั้น  ก็รู้ชัดว่า  หายใจเข้าสั้น  สำเหนียก
อยู่  ว่าเราจักเป็นผู้  กำหนดรู้กองลมทั้งปวง  หายใจออก  ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง
หายใจเข้า  สำเหนียกอยู่  ว่าเราจักระงับกายสังขาร  หายใจออก  ว่าเราจักระงับกายสังขาร  หาย
ใจเข้า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ในสมัยนั้น  ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย  มีความเพียร  รู้สึกตัว
มีสติ  กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่  ดูกร  ภิกษุทั้งหลาย  เรากล่าวลมหายใจออก
ลมหายใจเข้านี้  ว่าเป็นกายชนิดหนึ่งในพวกกาย  เพราะฉะนั้นแล  ในสมัยนั้น  ภิกษุจึงชื่อว่า
พิจารณาเห็นกายในกายมีความเพียร  รู้สึกตัว  มีสติ  กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่  ฯ
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สมัยใด  ภิกษุสำเหนียกอยู่  ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ  หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ  หายใจเข้า  สำเหนียกอยู่  ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข  หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข  หายใจเข้า  สำเหนียก  อยู่  ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร  หายใจ
ออก  ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร  หายใจเข้า  สำเหนียกอยู่  ว่าเราจักระงับจิตสังขาร  หาย
ใจออกว่าเราจักระงับจิตสังขาร  หายใจเข้า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ในสมัยนั้น  ภิกษุชื่อว่าพิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนา  มีความเพียร  รู้สึกตัว  มีสติ  กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เรากล่าวการใส่ใจลมหายใจออกลมหายใจเข้าเป็นอย่างดีนี้  ว่าเป็นเวทนา
ชนิดหนึ่ง  ในพวกเวทนา  เพราะฉะนั้นแลในสมัยนั้น  ภิกษุจึงชื่อว่า  พิจารณาเห็นเวทนาใน
เวทนา  มีความเพียร  รู้สึกตัวมีสติ  กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่  ฯ
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สมัยใด  ภิกษุสำเหนียกอยู่  ว่าเราจักเป็นผู้กำหนด  รู้จิต  หายใจออก  ว่าเรา
จักเป็นผู้กำหนดรู้จิต  หายใจเข้า  สำเหนียกอยู่  ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง  หายใจออก  ว่าเราจักทำจิตให้
ร่าเริง  หายใจเข้า  สำเหนียกอยู่ว่าเราจักตั้งจิตมั่น  หายใจออก  ว่าเราจักตั้งจิตมั่น  หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเปลื้องจิต  หายใจออก  ว่าเราจักเปลื้องจิต  หายใจเข้า  ดูกรภิกษุทั้งหลายใน
สมัยนั้น  ภิกษุชื่อว่า  พิจารณาเห็นจิตในจิต  มีความเพียร  รู้สึกตัว  มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกเสียได้อยู่  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เราไม่กล่าวอานาปานสติแก่ภิกษุผู้เผลอสติ  ไม่รู้สึกตัวอยู่
เพราะฉะนั้นแล  ในสมัยนั้น  ภิกษุจึงชื่อว่า  พิจารณาเห็นจิตในจิต  มีความเพียร  รู้สึกตัว  มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่  ฯ
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สมัยใด  ภิกษุสำเหนียกอยู่  ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา  ความไม่เที่ยง
หายใจออก  ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง  หายใจเข้าสำเหนียกอยู่  ว่าเราจักเป็นผู้
ตามพิจารณาความคลายกำหนัด  หายใจออก  ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด
หายใจเข้า  สำเหนียกอยู่  ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส  หายใจออก  ว่าเราจักเป็นผู้
ตามพิจารณาความดับกิเลส  หายใจเข้า  สำเหนียกอยู่  ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืน
กิเลส  หายใจ  ออก  ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส  หายใจเข้า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ในสมัยนั้น  ภิกษุชื่อว่า  พิจารณาเห็นธรรมในธรรม  มีความเพียร  รู้สึกตัว  มีสติกำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่  เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสด้วยปัญญาแล้ว  ย่อมเป็นผู้
วางเฉยได้ดี  เพราะฉะนั้นแล  ในสมัยนั้น  ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม  มีความเพียร
รู้สึกตัว  มีสติ  กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่  ฯ
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้  ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล  ชื่อว่า
บำเพ็ญสติปัฏฐาน  ๔  ให้บริบูรณ์ได้  ฯ
          [๒๙๐]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน  ๔  แล้วอย่างไรทำให้มากแล้ว
อย่างไร  จึงบำเพ็ญโพชฌงค์  ๗  ให้บริบูรณ์ได้  ดูกรภิกษุทั้งหลายสมัยใด  ภิกษุพิจารณาเห็น
กายในกาย  มีความเพียร  รู้สึกตัว  มีสติ  กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่  ในสมัยนั้น
สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ  ฯ
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สมัยใด  สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ  ในสมัยนั้น
สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว  สมัยนั้น  ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น  สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ  เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้น
อยู่  ย่อมค้นคว้า  ไตร่ตรอง  ถึงความพิจารณาธรรมนั้นได้ด้วยปัญญา  ฯ
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สมัยใด  ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่  ย่อมค้นคว้า  ไตร่ตรอง  ถึง
ความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา  ในสมัยนั้น  ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์  ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น  ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์สมัยนั้น  ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึง
ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ  เธอ  เมื่อค้นคว้า  ไตร่ตรอง  ถึงความพิจารณาธรรมด้วย
ปัญญาอยู่  ย่อมเป็นอันปรารภ  ความเพียรไม่ย่อหย่อน  ฯ
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สมัยใด  ภิกษุค้นคว้า  ไตร่ตรอง  ถึงความพิจารณา ธรรมนั้นด้วย
ปัญญา  ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน  ในสมัยนั้น  วิริยสัมโพชฌงค์  ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
 สมัยนั้น  ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์สมัยนั้น  วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ
และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ  ปีติ  ปราศจากอามิสย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว  ฯ
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สมัยใด  ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภ  ความเพียรแล้ว
ในสมัยนั้น  ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว  สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติ
สัมโพชฌงค์  สมัยนั้น  ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ  ภิกษุผู้มีใจ
เกิดปีติ  ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้  ฯ
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สมัยใด  ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ  ระงับได้  ในสมัยนั้น
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว  สมัยนั้น  ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิ
สัมโพชฌงค์  สมัยนั้น  ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ  ภิกษุ
ผู้มีกายระงับแล้ว  มีความสุข  ย่อมมีจิตตั้งมั่น  ฯ
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สมัยใด  จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว  มีความสุข  ย่อมตั้งมั่น  ใน
สมัยนั้น  สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว  สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิ
สัมโพชฌงค์  สมัยนั้น  สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ  ภิกษุนั้น
ย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้เป็นอย่างดี  ฯ
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สมัยใด  ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้  เป็นอย่างดี  ใน
สมัยนั้น  อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว  สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์  สมัยนั้น  อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ  ฯ
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สมัยใด  ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา  มีความเพียร  รู้สึกตัว
มีสติ  กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่  ในสมัยนั้น  สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้
แล้วไม่เผลอเรอ...
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สมัยใด  ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต  มีความเพียรรู้สึกตัว  มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่  ในสมัยนั้น  สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว
ไม่เผลอเรอ...
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สมัยใด  ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม  มีความเพียรรู้สึกตัว  มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่  ในสมัยนั้น  สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว
ไม่เผลอเรอ  ฯ
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สมัยใด  สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้ว  ไม่เผลอเรอ  ในสมัยนั้น
สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว  สมัยนั้น  ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น  สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ  เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้น
อยู่  ย่อมค้นคว้า  ไตร่ตรอง  ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา  ฯ
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สมัยใด  ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่  ย่อมค้นคว้าไตร่ตรอง  ถึง
ความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา  ในสมัยนั้น  ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์  ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น  ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์สมัยนั้น  ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึง
ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ  เมื่อเธอค้นคว้า  ไตร่ตรอง  ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วย
ปัญญาอยู่  ย่อมเป็นอันปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน  ฯ
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สมัยใด  ภิกษุค้นคว้า  ไตร่ตรอง  ถึงความพิจารณาธรรม  นั้นด้วย
ปัญญา  ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน  ในสมัยนั้น  วิริยสัมโพชฌงค์ย่อม  เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น  ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์  สมัยนั้นวิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ
และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ  ปีติปราศจากอามิสย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว  ฯ
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สมัยใด  ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภ  ความเพียรแล้ว
ในสมัยนั้น  ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว  สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติ
สัมโพชฌงค์  สมัยนั้น  ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ  ภิกษุผู้มีใจ
เกิดปีติ  ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้  ฯ
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สมัยใด  ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ  ระงับได้  ในสมัยนั้น
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว  สมัยนั้น  ภิกษุ  ชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิ
สัมโพชฌงค์  สมัยนั้น  ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์  ย่อมถึง  ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ  ภิกษุ
ผู้มีกายระงับแล้ว  มีความสุข  ย่อมมีจิตตั้งมั่น  ฯ
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สมัยใด  จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว  มีความสุขย่อมตั้งมั่น
ในสมัยนั้น  สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว  สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญ
สมาธิสัมโพชฌงค์  สมัยนั้น  สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ
ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้เป็นอย่างดี  ฯ
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สมัยใด  ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้  เป็นอย่างดี  ใน
สมัยนั้น  อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว  สมัยนั้น  ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์  สมัยนั้น  อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ  ฯ
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน  ๔  แล้วอย่างนี้  ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล
ชื่อว่าบำเพ็ญโพชฌงค์  ๗  ให้บริบูรณ์ได้  ฯ
          [๒๙๑]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์  ๗  แล้วอย่างไร  ทำให้  มากแล้วอย่างไร
จึงบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุ  ในธรรมวินัยนี้  ย่อมเจริญสติ
สัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก  อาศัยวิราคะ  อาศัยนิโรธ  อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย  ย่อม
เจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์  ...  ย่อม  เจริญวิริยสัมโพชฌงค์  ...  ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์  ...  ย่อม
เจริญปัสสัทธิ  สัมโพชฌงค์  ...  ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์  ...  ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อัน
อาศัยวิเวก  อาศัยวิราคะ  อาศัยนิโรธ  อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย  ฯ
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์  ๗  แล้วอย่างนี้  ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล  ชื่อว่า
บำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้  ฯ
          พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว  ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาคแล  ฯ
              จบ  อานาปานสติสูตร  ที่  ๘


   หวังว่าคุณ จิต - จิตตา อ่านแล้วพอทำความเข้าใจละเอียดขึ้นได้..

 

ตอบโดย: Vicha 04 ก.พ. 51 - 15:58


ลองยกพระสูตรมาทีละส่วนแล้วเชิญหลายๆท่านมาร่วมแสดงความคิดเห็นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเพื่อหาข้อสรุปกันดีมั๊ยครับว่า ตรงประโยคนี้ๆน่าจะต้องกำหนดจิตแบบใดจึงจะถูกต้อง เมื่อได้ข้อสรุปแล้วก็ค่อยๆเอาประโยคต่อไปมาลง ดีไม่ดีอาจจะได้แบบการปฏิบัติอานาปานสติที่เป็นมาตรฐานสากลที่ตรงตามพระไตรปิฎกมากที่สุดขึ้นมาก็ได้เลยนะครับ  

ตอบโดย: wit 04 ก.พ. 51 - 15:58


  ครับคุณ วิท  ผมกำลังควบคุมไม่ให้กระทู้วิ่งไปอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากระดับอานาปานสติ แต่ละท่านไม่เท่ากัน จึงมีการตอบและแก้ปัญหาคละเคล้ากัน ไปก่อน แล้วค่อยปรับเข้าเจตนาของกระทู้ครับ


 

ตอบโดย: Vicha 04 ก.พ. 51 - 16:04


   

ตอบโดย: wit 04 ก.พ. 51 - 16:15


   ผมจะยกธรรมเพื่อขยายความ ที่คุณ วิท เสนอในความคิดเห็นที่ 7  ว่าอานาปานสติใช้อิงหรือสัปปยุตกับกรรมฐานอื่นได้ เช่นปฏิกูล หรือ กายคตา หรืออรูปฌาน
   ดังพุทธพจน์(ตัดมาบางส่วน)


         [๑๓๓๒] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าปฏิกูล
อยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
          [๑๓๓๓] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งปฏิกูลว่าไม่ปฏิกูล
อยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
          [๑๓๓๔] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้มีความสำคัญทั้งในสิ่งไม่ปฏิกูลและใน
สิ่งปฏิกูลว่าปฏิกูลอยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
          [๑๓๓๕] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้มีความสำคัญทั้งในสิ่งปฏิกูลและในสิ่ง
ไม่ปฏิกูลว่าไม่ปฏิกูลอยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
          [๑๓๓๖] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเว้นสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลทั้งสองนั้นเสีย
แล้ววางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
          [๑๓๓๗] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงสงัดจากกาม สงัดจากกุศลธรรม บรรลุ
ปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละ
ให้ดี.
          [๑๓๓๘] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตใน
ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแก่
สมาธิอยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
          [๑๓๓๙] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุข
ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
          [๑๓๔๐] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุจตุถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะ
ละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ก็พึง
มนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
          [๑๓๔๑] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุอากาสานัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า
อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่
มนสิการถึงนานัตตสัญญา ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
          [๑๓๔๒] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า
วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ก็พึงมนสิการอานาปาน
สติสมาธินี้แหละให้ดี.
          [๑๓๔๓] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า
ไม่มีอะไรน้อยหนึ่ง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ก็พึงมนสิการอานาปาน
สติสมาธินี้แหละให้ดี.
          [๑๓๔๔] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะ
ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
          [๑๓๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แหละ ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุ
สัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ก็พึงมนสิการ
อานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
          [๑๓๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้
มากแล้วอย่างนี้แล ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ก็ย่อมจะรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่ายินดี
ไม่น่าเพลิดเพลิน ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ก็ย่อมจะรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่ายินดี
ไม่น่าเพลิดเพลิน ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็ย่อมจะรู้ชัดว่า อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง
ไม่น่ายินดี ไม่น่าเพลิดเพลิน ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา เธอก็ไม่พัวพันเสวยสุขเวทนานั้น ถ้าเธอ
เสวยทุกขเวทนา เธอก็ไม่พัวพันเสวยทุกขเวทนานั้น ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา เธอก็ไม่
พัวพันเสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น เมื่อเธอเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เสวยเวทนามี
กายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัด
ว่า เวทนาทั้งหมดในโลกนี้แหละ อันไม่น่าเพลิดเพลิน จักเป็นของเย็น เพราะสิ้นชีวิต
เบื้องหน้าแต่กายแตก.
          [๑๓๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันจะพึงลุกโพลงได้ ก็เพราะ อาศัยน้ำมันและไส้ เพราะหมดน้ำมันและไส้ ประทีปน้ำมันไม่มีเชื้อ พึงดับไป ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เวทนาทั้งหมด ในโลกนี้แหละ อันไม่น่าเพลิดเพลิน จักเป็นของเย็น เพราะสิ้นชีวิตเบื้องหน้าแต่กายแตก.
                               จบ สูตรที่ ๘


 

ตอบโดย: Vicha 04 ก.พ. 51 - 16:24


จะฝึกฝนทางไหนๆ ถ้าจับหลักในพระไตรปิฎกได้มั่นก็ถือว่าดีเยี่ยมเลยครับ อาณาปานสตินี่ก็เป็นกรรมฐานที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่าเป็นกรรมฐานของมหาบุรุษเลยทีเดียว

ที่มีต้องระวังก็คือสติกับสมาธิที่ไม่ได้สัดส่วนกันอันเป็นที่มาของวิปัสสนูกิเลส มีกรณีตัวอย่างเรื่องวิปัสสนูกิเลสจากเวบของหลวงปู่ดูลย์ ที่เห็นว่าจะมีประโยชน์กับเพื่อนๆ เลยขออนุญาตเอาลิงค์มาแปะไว้เผื่อผู้สนใจจะได้เข้าไปอ่าน และจะได้ไม่เพลี่ยงพล้ำให้กับกิเลสตัวนี้

http://www.wimutti.net/pudule/history/history049.htm

ในการทำสมาธินั้นมีโอกาสที่จิตใจจะสอนธรรมะขึ้นมา อันนี้เป็นเรื่องปรกติที่จะเกิดขึ้นได้ แต่เมื่อใดก็ตามที่กำลังของสติตามไม่ทัน จิตใจก็จะวนเคล้าอยู่ในธรรมเหล่านั้นจนลืมกายลืมใจ และทำให้เกิดความเนิ่นช้าในที่สุด

ตอบโดย: baballius 04 ก.พ. 51 - 16:28


 ขอบคุณครับคุณ svt ที่ช่วยอธิบาย  ดังอ้างอิง

อ้างอิง
สติมั่นเฉพาะหน้า ความระลึกรู้ อยู่เป็นปัจจุบัน ดำเนินไปทุกๆปัจจุบันขณะ

รู้ชัด ในขอบเขตของสัมปชัญญะ ให้สติระลึกรู้ สภาพนามรูปในลักษณะไตรลักษณ์
ชัดแค่ไหนอย่างไร? นั้นขึ้นอยู่กับกำลังสติ กำลังสมาธิ กำลังปัญญา
กำลังในที่นี้ หมายถึงกำลังคือพละที่เป็นส่วนสำคัญของอินทรีย์๕
ของผู้ปฏิบัติเจริญอานาปานสติเองที่ท่านได้เพาะบ่มสั่งสมดำเนินไป


  แต่พอดีเจตนาของกระทู้ต้องการ นำไปสู่การกำหนดหรือการปฏิบัติ ว่าควรจะกำหนดอานาปานสติอย่างไร? จึงจะไม่เกิดปัญหาความเพ่งจนเกร็ง หรือคลาดเคลือน และมีพุทธพจน์รองรับ ครับ

 

ตอบโดย: Vicha 04 ก.พ. 51 - 16:31


สาธุครับ

ตอบโดย: svt 04 ก.พ. 51 - 16:41


อ้างอิง
แต่พอดีเจตนาของกระทู้ต้องการ นำไปสู่การกำหนดหรือการปฏิบัติ ว่าควรจะกำหนดอานาปานสติอย่างไร? จึงจะไม่เกิดปัญหาความเพ่งจนเกร็ง หรือคลาดเคลือน และมีพุทธพจน์รองรับ ครับ


ผมขอแสดงความเห็นเกี่ยวกับความหมายของคำว่าเพ่งหน่อยนะครับ คือส่วนตัวแล้วผมเห็นว่าการเพ่งที่จะทำให้เกิดโทษตามมานั้นก็คือการที่นักปฏิบัติไปยินดียินร้ายกับสิ่งที่ระลึกรู้มากเกินไป โดยปกติเมื่อคนเราสนใจหรือระลึกถึงสิ่งใดอย่างจดจ่อเอาใจใส่ จิตก็จะค่อยๆแนบแน่นและเห็นสิ่งนั้นได้ชัดเจนขึ้น ลักษณะเช่นนี้อาจเรียกว่าการเพ่งก็ได้ ซึ่งถ้านักปฏิบัติเพียงแค่จดจ่อหรือเอาใจใส่อยู่กับสิ่งนั้นด้วยใจเป็นกลางๆ เพียงแค่ระลึกรู้ไปเรื่อยๆ ผมว่าจะไม่ทำให้เกิดอาการเกร็งหรือมีปัญหาอะไรต่อการปฏิบัติเลย

ต่อเมื่อการเพ่งนั้นทำไปด้วยจิตที่ไม่เป็นกลาง เช่นมีความอยากมากเกินไป หรือไปเพ่งมองสิ่งนั้นด้วยความอยากบางประการ ไม่ได้มองหรือจดจ่ออย่างวางเฉย ดังนั้นถ้ากล่าวให้ถูกต้องแล้วน่าจะบอกว่าความยินดียินร้ายเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาต่างๆมากกว่าน่ะครับ(และก็ต้องดูด้วยว่าสิ่งที่ถูกระลึกนั้นเป็นสิ่งใด)

ยกตัวอย่างเช่น เราอ่านหนังสือ ถ้าเราไม่จดจ่อเราก็จะเกิดนิวรณ์เข้าแทรกได้ง่าย เช่น ความคิดในเรื่องอื่นๆที่ไม่ใช่เนื้อหาที่เรากำลังสนใจ และถ้าสมมติเราสามารถจดจ่ออยู่กับเนื้อหาในหนังสือที่เราอ่านได้เป็นเวลานานด้วยภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ ก็น่าจะเป็นสิ่งที่ดีมากกว่าสิ่งที่ไม่ดีน่ะครับ(เพียงแต่ไม่ควรอ่านหนังสือด้วยความอยากเกินไป ควรวางใจเป็นกลางๆสบายๆแล้วก็อ่านหนังสืออย่างจดจ่อไป เหมือนเราพลิกจิตวางอารมณ์ใหม่แค่นิดเดียว โดยไม่ได้เปลี่ยนกรรมฐานแต่อย่างใดก็ใช้ได้แล้วล่ะครับ)

ไม่ทราบว่าทุกท่านเห็นเช่นไรกับความเห็นนี้ครับ  

ตอบโดย: wit 04 ก.พ. 51 - 17:00


ปล.อืม....ผมมีความเห็นว่าการพยายามไม่เพ่ง ก็ไม่แตกต่างอะไรจากการเพ่งน่ะครับ แต่เป็นการเพ่งเพื่อที่จะไม่เพ่งน่ะครับ

ตอบโดย: wit 04 ก.พ. 51 - 17:10


จากความคิดเห็นที่ 3

อ้างอิง
                        สติมั่นเฉพาะหน้า เป็นอย่างไร?...
                         รู้ชัด นั้นรู้ชัดแค่ใหน อย่างไร? ....

ก่อนที่ผมจะนำไปสู่ ถึงคำตอบนั้นผมต้องนำธรรมอีกส่วนหนึ่งมาประกอบ เพื่อให้เป็นที่แน่ชัดและมีความคลาดเคลื่อนน้อยลงจากพุทธพจน์ ดังนี้

              ..............................
               ..............................

               ดูกรภิกษุ

              มหาภูตรูป ๔  เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติรูปขันธ์

              ผัสสะ  เป็นเหตุ เป็นปัจจัย  แห่งการบัญญัติเวทนาขันธ์

              ผัสสะ  เป็นเหตุ เป็นปัจจัย  แห่งการบัญญัติสัญญาขันธ์

              ผัสสะ  เป็นเหตุ เป็นปัจจัย  แห่งการบัญญัติสังขารขันธ์

              นามรูป เป็นเหตุ เป็นปัจจัย  แห่งการบัญญัติวิญญาณขันธ์ ฯ.


                                                  มหาปุณณมสูตร.


             ปัญหาในการวางสติกำหนด ถ้าคลาดเคลือนหรือเกร็งเกินไป ในการแก้กรรมฐานนั้นต้อง ทำความเข้าใจ คำว่า ขันธ์ 5 ให้ถูกต้องก่อน ว่ามีขอบเขตอย่างไร ซึ่งใน มหาปุณณสุตรนั้น พระพุทธเจ้าทรงได้แจกแจง เหตุ ปัจจัย แห่งการบัญญัติขันธ์ทั้ง 5 ไว้อย่างชัดเจน

               ดูกรภิกษุ

              มหาภูตรูป ๔  เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติรูปขันธ์

              ผัสสะ  เป็นเหตุ เป็นปัจจัย  แห่งการบัญญัติเวทนาขันธ์

              ผัสสะ  เป็นเหตุ เป็นปัจจัย  แห่งการบัญญัติสัญญาขันธ์

              ผัสสะ  เป็นเหตุ เป็นปัจจัย  แห่งการบัญญัติสังขารขันธ์

              นามรูป เป็นเหตุ เป็นปัจจัย  แห่งการบัญญัติวิญญาณขันธ์ ฯ.


                                                  มหาปุณณมสูตร.


             คำว่า มหาภูตรูป 4  ก็คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ  ก็ยังไม่จัดว่าเป็น รูปขันธ์ แต่เป็นเหตุเป็นปัจจัย การบัญญัติรูปขันธ์
           ก็จะได้ว่า แม้แต่ร่างกายทุกส่วนของเรา ก็ประกอบด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ แต่จะจัดว่าทุกส่วนรวมกันเป็นรูปขันธ์ ก็ไม่ได้
           จะเกิดเป็นรูปขันธ์ได้เมื่อไปรับรู้(วิญญาณ) ในส่วนที่ประชุมหรือประกอบกันของ ดิน น้ำ ลม ไฟ นั้น จึงจัดเป็น รูปขันธ์ ขึ้น
           
            ส่วนที่เหลือ คือเวทนาขันธ์  สัญญาขันธ์ และสังขารขั้น มีเหตุปัจจัย จาก ผัสสะ  ก็คงสามารถ พอทำความเข้าใจกันได้ คือเกิดเมื่อมีการกระทบแล้วรับรู้(มีวิญาณปรากฏ) ถึงความเย็นร้อน อ่อน แข็ง และการเคลือนไหวหรือสั้นไหวนั้นเอง (โดยตีความหมายกว้างๆ)
     
           ส่วนวิญาณขันธ์ ก็คือตัวรู้นั้นเอง

           สรุป คือ มหาภูตรูป+วิญญาณ จึงปรากฏเป็น  รูปขันธ์
                       การกระทบ(ปฏิกริยา) + วิญญาณ จึงปรากฏเป็น  ผัสสะ  จึงปรากฏ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์

      หมดเวลาแล้วต้องกลับบ้าน เอาไว้วันต่อไปจะมา สนทนาต่อ... ครับ


      

ตอบโดย: Vicha 04 ก.พ. 51 - 17:42


ขอยกตัวอย่างบางตอนของพระสูตรอานาปานสติสูตรมาถามหน่อยนะครับ  

อ้างอิง
ดูกรภิกษุทั้งหลายสมัยใด  เมื่อภิกษุหายใจ
ออกยาว  ก็รู้ชัดว่า  หายใจออกยาว  หรือเมื่อหายใจเข้ายาว  ก็รู้ชัดว่า  หายใจเข้ายาว  เมื่อหาย
ใจออกสั้น  ก็รู้ชัดว่า  หายใจออกสั้นหรือเมื่อหายใจเข้าสั้น  ก็รู้ชัดว่า  หายใจเข้าสั้น  สำเหนียก
อยู่  ว่าเราจักเป็นผู้  กำหนดรู้กองลมทั้งปวง  หายใจออก  ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง
หายใจเข้า

ตรงกำหนดรู้กองลมทั้งปวงนี่หมายถึงกายทั้งตัวใช่รึเปล่าครับ

อ้างอิง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สมัยใด  ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ  ระงับได้  ในสมัยนั้น
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว  สมัยนั้น  ภิกษุ  ชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิ
สัมโพชฌงค์  สมัยนั้น  ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์  ย่อมถึง  ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ  ภิกษุ
ผู้มีกายระงับแล้ว  มีความสุข  ย่อมมีจิตตั้งมั่น  ฯ

ตรงกายระงับแล้ว มีความสุข นี่คือแบบไหนรึครับ ยังไงจึงเรียกว่ากายระงับ(แบบอารมณ์ความรู้สึกหรืออาการเป็นยังไงครับ)

ตอบโดย: wit 04 ก.พ. 51 - 18:58


คุณเซียม
อ่านจบก็เมาหมัดพอดี  อย่างไร  อย่างไรก็ไม่เคยเข้าใจภาษาพระเลย  แต่ที่ยกให้อ่านพอเข้าใจเพราะหลายอย่างไปถึงแล้ว
ถ้าต้องการการฝึกอาณาปานสติที่ไม่เพ่งไม่เคร่งเครียดนั้น  ต้องแก้ไขเป็นรายบุคคล  ถ้ามาพูดถาม - ตอบในกระทู้คงจะทำให้กระจ่างได้ยาก  เพราะหลายสภาวะที่ถูกจำกัดด้วยถ้อยคำหรือภาษา  ต้องระมัดระวังให้มากกับการเข้าใจและบอกกล่าวถึงการเข้าใจนั้น  เพราะสิ่งนี้เป็นเรื่องที่ต้องฝึกถึงแล้วจะรู้
ขอบคุณค่ะ  เซียมคงสบายดี
 

ตอบโดย: สติ - จิตตา 04 ก.พ. 51 - 19:25


กำลังสงสัยเรื่องนี้อยู่พอดีเลยค่ะ พี่Vichaอย่างลืมเขียนเรื่องที่เป็นจุดหมายของกระทู้ด้วยนะคะ มารออ่านอยู่นะคะ

ตอบโดย: fandaoj 04 ก.พ. 51 - 22:19


   วันนี้ผมก็มาสนทนาต่อจากความคิดเห็นที่ 19 นะครับ แต่ขอทักทาย ผู้ที่รวมสทนาด้วยก่อนนะครับ

     สำหรับคำถามของคุณ วิท เป็นเรื่องอานาปานสติและวิปัสสนาและโพชฌงค์แล้วครับ ผมก็จะอธิบายในตอนต่อไปนะครับ เพราะเป็นคำถามกระโดดข้ามกัน คำถามส่วนแรกเป็นเรื่องของอานาปานสติพื้นฐาน คำถามที่สองกระโดดไปเรืองโพชฌงค์ ถ้าตอบไปตอนนี้ท่านที่ใหม่อยู่ เข้ามาอ่านก็จะเกิดความสับสนอย่างมาก

   ส่วนคุณ สติ - จิตตา ผมก็คิดว่าอาจจะยังไม่กระจ่างอยู่ และขอบคุณที่ให้ข้อคิดเห็นครับ ผมก็จะพยายาม อธิบายให้เข้าใจได้ง่าย สำหรับผู้ที่ยังไม่มีพื้นฐานหรือมีพื้นฐานมาพอประมาณแล้ว เพราะผมก็ต้องกลับไปนั่งกรรมฐานเพื่อตรวจสอบและทำความเข้าใจทั้งแต่พื้นฐาน เพื่อให้ปรากฏและจัดลำดับอธิบายได้ดีขึ้น

    ครับคุณ fandaoj ผมจะพยายานนำกระทู้ไปสู่จุดหมายครับ

 

ตอบโดย: Vicha 05 ก.พ. 51 - 09:47


ได้ครับคุณ Vicha

ตอบโดย: wit 05 ก.พ. 51 - 10:32


จากความคิดเห็นที่ 19
      
อ้างอิง
                  ดูกรภิกษุ

              มหาภูตรูป ๔  เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติรูปขันธ์

              ผัสสะ  เป็นเหตุ เป็นปัจจัย  แห่งการบัญญัติเวทนาขันธ์

              ผัสสะ  เป็นเหตุ เป็นปัจจัย  แห่งการบัญญัติสัญญาขันธ์

              ผัสสะ  เป็นเหตุ เป็นปัจจัย  แห่งการบัญญัติสังขารขันธ์

              นามรูป เป็นเหตุ เป็นปัจจัย  แห่งการบัญญัติวิญญาณขันธ์ ฯ.


                                                  มหาปุณณมสูตร.

             คำว่า มหาภูตรูป 4  ก็คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ  ก็ยังไม่จัดว่าเป็น รูปขันธ์ แต่เป็นเหตุเป็นปัจจัย การบัญญัติรูปขันธ์
           ก็จะได้ว่า แม้แต่ร่างกายทุกส่วนของเรา ก็ประกอบด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ แต่จะจัดว่าทุกส่วนรวมกันเป็นรูปขันธ์ ก็ไม่ได้
           จะเกิดเป็นรูปขันธ์ได้เมื่อไปรับรู้(วิญญาณ) ในส่วนที่ประชุมหรือประกอบกันของ ดิน น้ำ ลม ไฟ นั้น จึงจัดเป็น รูปขันธ์ ขึ้น
         
            ส่วนที่เหลือ คือเวทนาขันธ์  สัญญาขันธ์ และสังขารขั้น มีเหตุปัจจัย จาก ผัสสะ  ก็คงสามารถ พอทำความเข้าใจกันได้ คือเกิดเมื่อมีการกระทบแล้วรับรู้(มีวิญาณปรากฏ) ถึงความเย็นร้อน อ่อน แข็ง และการเคลือนไหวหรือสั้นไหวนั้นเอง (โดยตีความหมายกว้างๆ)
   
           ส่วนวิญาณขันธ์ ก็คือตัวรู้นั้นเอง

           สรุป คือ มหาภูตรูป+วิญญาณ จึงปรากฏเป็น  รูปขันธ์
                       การกระทบ(ปฏิกริยา) + วิญญาณ จึงปรากฏเป็น  ผัสสะ  จึงปรากฏ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์


             อธิบายต่อนะครับ  ถ้าสมมุติว่า เราไปเห็นกองดินกองหนึ่ง ที่อยู่เบื้องหน้า เราจะกล่าวว่ากองดินนั้นเป็น "รูปขันธ์" ไม่ได้  แต่สามารถกล่าวว่ากองดินนั้นเป็น "รูป"
             
              ดังนั้น ระหว่าง "รูปขันธ์" กับ "รูป"  มีความแตกต่างกันตรงที่มี วิญาญาณครองกับไม่มีวิญญาณครอง

              ต่อไปถ้า เราเห็น นาย ก. กำลังยืนอยู่  เราเห็นนาย ก. เป็นเพียง "รูป" เท่านั้น หาใช่เป็น "รูปขันธ์"  หรือสามารถกล่าวสมมุติได้ว่า เป็น "รูป" หรือ "รูปขันธ์ภายนอก" เท่านั้น ไม่เป็น รูปขันธ์ ที่เป็นของเฉพาะตนเองที่ปรากฏให้สังเกตุอยู่

               ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงขันธ์ 5 จิตหรือใจก็ย่อมน้อมเข้ามาสู่ กายหรือภายในกายเฉพาะตนที่ปรากฏอยู่  เพราะนอกจากนี้แล้วที่เหลือเป็น "รูป" หรือสิ่งภายนอกทั้งสิ้น

               ดังนั้นผู้ที่ปฏิบัติกรรมฐานทั้งหลายต้องน้อมจิตหรือใจเข้ามาที่กายหรือภายในกายของตนเองเป็นหลัก ความปรากฏของขันธ์ 5 ก็ปรากฏพร้อมอยู่แล้วเป็นปกติ

                 ก็จะได้ว่า เมื่อน้อมใจเข้ามาสู่ กาย หรือภายในกายขันธ์ทั้งห้าก็ปรากฏพร้อมอยู่แล้วเป็นปกติ

                 เมื่อ  "มีสติมั่นเฉพาะหน้า"  ดังพุทธพจน์  กายที่นั่งกรรมฐานอยู่ย่อมปรากฏชัด(แล้วแต่ละบุคคลที่ทราบชัดร่างกายส่วนใหนมากกว่ากันในช่วงที่นั้งอยู่)  แต่ส่วนที่ชัดที่สุดคือ บริเวณหน้า อย่างหนีไม่พ้น....
                  เมื่อกายนิ่ง ส่วนที่ชัดเจนขึ้นคือส่วนที่ เคลื่อนไหวที่มีการกระทบ  ก็คือลมหายใจ ทุกอย่างเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว

                  ในระยะต้น จะเกิดความรู้ชัดพร้อมกันในหลายส่วน ทั้งร่างกายที่นั่ง ความชัดเจนที่บริเวณหน้า และการหายใจ

                   (การหายใจ จะทำให้รู้ชัด โพรงจมูก หรือปลายจมูก ช่วงอก และกระบังลม)

                   ขั้นตอนต่อไป ก็น้อมใจชัดเจนที่การหายใจ หรือน้อมใจมารับรู้การหายใจ (น้อมใจเข้ามารับรู้กายหายใจ ไม่ใช่เกร็งหรือบีบหรือเพ่งเกินควรเพื่อให้รู้เฉพาะลมหายใจ)
 
                    เมื่อทำได้ดังนั้น ขั้นต้นของอานาปานสติก็จะปรากฏขึ้น คือ

                   "มีสติมั่นเฉพาะหน้า เมื่อหายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้"


         ส่งข้อมูลเพื่อให้อ่านและทบทวนก่อน นะครับ


 

       

ตอบโดย: Vicha 05 ก.พ. 51 - 10:33


คุณ wit คุณสติ-จิตตา และคุณVicha
ได้เปิดประเด็นสนทนาไว้น่าสนใจเกี่ยวกับ :
-การเพ่ง ไม่เพ่ง ความเคร่งเครียดจากการเพ่ง
-จุดที่รับรู้ลมหายใจที่ผ่านเข้า-ออก ,จุดโฟกัสของลมหายใจ
     ซึ่งผู้ที่เริ่มต้นปฏิบัติใหม่ๆมักมีส่วนมาก ที่พะวงกับจุดดังกล่าว

ขอสนทนาความคิดเห็นลำดับทีละจุดนะครับ

สติที่กำหนดสังเกตลมหายใจที่ผ่านมากระทบเข้า-ออก
-เพ่งมากไปอาจตึงและมึนศีรษะ
-หย่อนมากไปอาจฟุ้งไม่สงบ

เกี่ยวกับเรื่องการดำเนินวางจิตนั้นเป็นพื้นฐานเบื้องแรกที่สำคัญ
พระพุทธองค์ได้ทรงอุปมาอุปมัย ไว้ว่า "ประดุจผู้ฉลาดที่มีนกกระจาบรักษากำไว้ในมือของตน"
        หากกำมือหลวมไป นกกระจาบตัวนั้นก็คงหลุดมือไป เปรียบได้กับความย่อหย่อนไม่เอาใจใส่กรรมฐานที่มีลมหายใจเข้า-ออก เป็นบาทฐานให้สติระลึกรู้อยู่

        หากกำมือบีบแน่นเกินไป นกกระจาบตัวนั้นคงตายหายใจไม่ออก เปรียบได้กับการเพ่งตั้งใจมากไปกับลมหายใจไม่เป็นธรรมชาติ เกิดภาวะเกร็ง เครียด จนอาจปวดตึงศรีษะหรือท้ายทอย
         
การฝึกอานาปานสติ มิใช่การพยายามปรับลมหายใจให้เป็นรูปแบบใหม่
แต่เป็นเพียงการศึกษากระบวนการธรรมชาติภายในตัวเองผ่านลมหายใจเข้าและออก
เป็นลมหายใจที่มีอยู่แล้วตามปกติธรรมชาติของชีวิตมนุษย์
 
จึงควรหาจุดที่พอดี เหมาะสมกับแต่ละท่าน ที่ได้จากการสังเกตตัวเอง
จุดเหมาะสมพอดีนั้นของแต่ละท่านนั้น ประสบการณ์ตรงด้วยตัวเองค้นหาเจอเป็นดีที่สุด
......................

และจุดโฟกัสของลมหายใจ ก็เช่นกันที่สามารถก่อให้ท่านตึง จากการเพ่งได้
      ควรเลือกจุดที่รู้สึกได้ชัดที่สุด ส่วนใหญ่ของผู้ปฏิบัติก็จะมี
      ๑.ส่วนใดส่วนหนึ่งของโพรงจมูก
      ๒.ปลายจมูก หรือ ๓.บริเวณจุดพื้นที่ผิวเหนือริมฝีปากกระทบลม
     ผู้ปฏิบัติแต่ละท่านไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ขึ้นอยู่กับความถนัด ชัดเจนของแต่ละบุคคลไป ที่จะสังเกตโฟกัสที่จุดใด

     ใหม่ๆ เมื่อใหร่ที่รู้สึกตึงจากการกำหนด อาจเกิดจากกำหนดจุดรับรู้ลมหายใจใกล้ หรือไกลจนเกินไป
    ดังนั้นควรหมั่นสังเกตุหาจุดที่พอดี เหมาะสมกับแต่ละท่าน
......................

แล้วอานาปานสติภาวนาของแต่ละท่านก็จะดำเนินผ่านจุดดังกล่าวไปได้สะดวกราบรื่น
    
ขอเจริญธรรมครับ

ตอบโดย: svt 05 ก.พ. 51 - 11:15


อ้างอิง
สติที่กำหนดสังเกตลมหายใจที่ผ่านมากระทบเข้า-ออก
-เพ่งมากไปอาจตึงและมึนศีรษะ
-หย่อนมากไปอาจฟุ้งไม่สงบ

ผมก็เคยอ่านจากพระสูตรที่เกี่ยวกับการระลึกรู้ถึงแสงสว่าง ที่พระพุทธเจ้าท่านเทศน์ให้พระอนุรุทธะฟัง ก็มีอยู่ตอนหนึ่งที่พระองค์สอนว่าสมาธิจะเกิดได้ไม่ดีถ้ามีการเพ่งเกินไป หรือ เพ่งย่อหย่อนเกินไป เช่นกันครับ  

อ้างอิง
ใหม่ๆ เมื่อใหร่ที่รู้สึกตึงจากการกำหนด อาจเกิดจากกำหนดจุดรับรู้ลมหายใจใกล้ หรือไกลจนเกินไป
    ดังนั้นควรหมั่นสังเกตุหาจุดที่พอดี เหมาะสมกับแต่ละท่าน
......................

แล้วอานาปานสติภาวนาของแต่ละท่านก็จะดำเนินผ่านจุดดังกล่าวไปได้สะดวกราบรื่น

อย่างบางท่านไม่ได้นำเอาสติมากำหนดไว้ที่จุดกระทบลมตรงปลายจมูก แต่อาจจะใช้การสังเกตอาการพองยุบของท้องเวลาที่ลมเข้าออกในร่างกายเช่นผู้ที่ปฏิบัติแบบยุบหนอพองหนอ

ถ้าเราเอาสติแผ่กระจายไปทั่วร่างแล้วระลึกรู้ชัดว่าลมที่ไหลผ่านจมูกเข้าไปในร่างกายที่ทำให้อวัยวะภายในขยายขึ้น รวมถึงทำให้เราระลึกรู้ถึงธาตุลมที่ไหลเวียนอยู่ในร่างกาย ยามที่ลมหายใจกระจายผ่านไปยังทั่วร่างกายด้วย เราก็อาจสามารถระลึกรู้ถึงกองลมทั้งปวง(คือกายนี้)หายใจเข้า-ออก ได้ ใช่รึเปล่าครับ

ตอบโดย: wit 05 ก.พ. 51 - 12:02


สาธุครับ ..

อ้างอิง (wit @ 05 ก.พ. 51 - 12:02)
.......
ยามที่ลมหายใจกระจายผ่านไปยังทั่วร่างกายด้วย เราก็อาจสามารถระลึกรู้ถึงกองลมทั้งปวง(คือกายนี้)หายใจเข้า-ออก ได้ ใช่รึเปล่าครับ


เมื่อใดสภาวธรรมเกิดขึ้นเช่นนั้น
-ใช่ครับ -

จิตเนื่องด้วยกาย กายก็เนื่องด้วยจิต
สภาพจิตที่ดำเนินการเข้าสู่ความเป็นหนึ่งสงบระงับ ตั้งมั่น ไม่ซัดส่าย
สัมปชัญญะรู้ชัดโดยรอบ ผ่านสติที่กระจายตัวคมชัดทุกจุด
แม้ลมหายใจที่ตามดูตามรู้กระจายผ่านทั่วร่างกาย
ก็มีความเกิดและความดับสลาย
อย่ากระนั้นเลย ....

ตอบโดย: svt 05 ก.พ. 51 - 12:24


อ้างอิง (svt @ 05 ก.พ. 51 - 11:15)

       
การฝึกอานาปานสติ มิใช่การพยายามปรับลมหายใจให้เป็นรูปแบบใหม่
แต่เป็นลมหายใจที่มีอยู่แล้วตามปกติธรรมชาติของชีวิตมนุษย์
 
จึงควรหาจุดที่พอดี เหมาะสมกับแต่ละท่าน ที่ได้จากการสังเกตตัวเอง
จุดเหมาะสมพอดีนั้นของแต่ละท่านนั้น

 
     ผู้ปฏิบัติแต่ละท่านไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ขึ้นอยู่กับความถนัด ชัดเจนของแต่ละบุคคลไป
 
    ดังนั้นควรหมั่นสังเกตุหาจุดที่พอดี เหมาะสมกับแต่ละท่าน


สาธุครับ  คุณsvt  

ผมเห็นด้วยกับคุณครับ  

ผมว่า...ขั้นตอนที่ยากที่สุดของการภาวนาก็คือ  ตอนที่เริ่มต้นฝึกฝนใหม่ๆ  ในก้าวแรกนี่เองครับ

 

ตอบโดย: ระนาด 05 ก.พ. 51 - 12:43


    ขอบคุณ คุณ svt มากครับ เป็นความเห็นที่เชื่อมต่อกันได้อย่างดีครับ  ผมไม่จำเป็นต้องอธิบายละเอียดลงไปอีกในส่วนนี้ เพราะคุณ svt ได้เสริมให้เต็มแล้วครับ

    ผมก็จะขยับมาอธิบายสิ่งที่ปรากฏต่อไป

             เมื่อน้อมใจรับรู้ลมหายใจชัดเจน สมมุติที่โพรงจมูก ไม่ใช่ว่าความรู้สึกตรงส่วนอื่นจะไม่มี หรือต้องไม่มี
             หมายความว่า น้อมใจรับรู้ลมหายใจเข้าออกตรงโพรงจมูกเด่นชัดขึ้น  ความรู้สึกตรงส่วนอื่น เช่นการนั่งและการรู้สึกส่วนใดส่วนหนึ่งก็ย่อมมีอยู่ตามภาวะที่ปรากฏ

          เมื่ออธิบายถึงจุดนี้ ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานสายอื่นอาจจะสงสัยว่า 1. การกำหนดอาจไม่เป็นปัจจุบัน 2.การกำหนดไม่ตรงกับ รูป-นาม ที่เป็นจริง ไม่เป็นวิปัสสนา

          ผมก็จะแก้ต่างให้กับการปฏิบัติอานาปานสติว่า  เมื่อน้อมใจรับรู้ลมหายใจเข้าหรือออกตรงโพรงจมูก(แล้วแต่บุคคล) ก็จะได้ว่า
          1.การกำหนดนั้นก็จะเป็นการกำหนดที่เป็นปัจจุบันขณะอยู่เสมอ
          2.การรู้นั้นเกิดจากการไหว ของลมที่กระทบขนหรือโพรงจมุก ซึ่งก็คือรูป และการรู้การไหวหรือเคลือนนั้นคือนาม

           ดังนั้นอานาปานสติเป็นได้ตั้งสมถะและวิปัสสนาได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด

          ขั้นต่อไป เมื่อรู้ชัดถึงลมกระทบหรือผ่านโพรงจมูกได้เด่นชัดขึ้น ลมหายใจเข้ายาว หรือลมหายใจออกยาว ลมหายใจเข้าสั้นหรือออกสั้น ก็จะรู้ชัดขึ้น เป็นไปเองตามลำดับ
          แต่การปฏิบัตินั้นอาจจะหาได้ราบรืน ดังนี้ เพราะจิตที่ไม่เคยฝึกหรือพึงฝึก คงไม่นิ่งที่จะน้อมให้จิตอยู่กับโพรงจมูกที่ลมกระทบหรือเคลื่อนไหวได้โดยตลอด
          ก็ย่อมเกิดการเผลอลืม การน้อมใจหรือการมีสติอยู่กับการรับรู้ลมหายใจ ไปคิดเรื่องต่างๆ  ขึ้นมาแทนที่เป็นธรรมดา
          ระยะแรกๆ ก็เผลอลืมไปเลย เมื่อรู้สึกตัวก็ตั้งสติรู้ลมหายใจที่กระทบโพรงจมูกเหมือนดังเดิม
           ระยะนี้ต้องให้เวลาและ ฝึกบ่อยๆ และเตือนตนเองให้รู้ตัวกลับมาปฏิบัติดังเดิม คือมีความตั้งใจ แต่ไม่ใช่ว่า ต้องเกร็งจนให้ได้ดังใจ...
                        

       ต่อไปผมจะตอบคำถามคุณ วิท ในความเห็นเก่า ที่ว่า
-------------
   อ้างอิง
    ดูกรภิกษุทั้งหลายสมัยใด  เมื่อภิกษุหายใจ ออกยาว  ก็รู้ชัดว่า  หายใจออกยาว  หรือเมื่อหายใจเข้ายาว  ก็รู้ชัดว่า  หายใจเข้ายาว  เมื่อหายใจออกสั้น  ก็รู้ชัดว่า  หายใจออกสั้นหรือเมื่อหายใจเข้าสั้น  ก็รู้ชัดว่า  หายใจเข้าสั้น  สำเหนียกอยู่  ว่าเราจักเป็นผู้  กำหนดรู้กองลมทั้งปวง  หายใจออก  ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า


       ตรงกำหนดรู้กองลมทั้งปวงนี่หมายถึงกายทั้งตัวใช่รึเปล่าครับ
-----------------

         ตรงนี้ผมพิจารณาว่า ไม่ได้หมายถึงกายทั้งตัว ครับ  แต่หมายถึงรู้กองลมที่กระทบเข้ากระทบออก ยาวหรือสั้นครับ
         แต่ในช่วงนี้ความรู้สึกส่วนอื่นของร่างกายนั้นยังมีอยู่ เพราะสมาธิยังไม่ได้เป็นหนึ่ง ปรากฏเพียงแค่ใหนให้รู้ก็ให้รู้เพียงแค่นั้น ไม่ไปบังคับเพิ่มขึ้นหรือบังคับให้หายไป เพราะเป็นภาวะที่เป็นอย่างนั้นเอง แต่น้อมใจหรือมีสติ(โฟกัส)ที่ลมหายใจที่กระทบหรือเคลือนไหวตรงโพรงจมูก  คือ รู้ผัสสะที่ลมกระทบ และรู้กายที่นั่งส่วนที่รู้ได้ด้วยตามภาวะที่ยังรับรู้กายอยู่ ซึ่งไม่ใช้การบังคับให้มารับรู้กายทั้งหมดนะครับ รู้เท่าที่รู้ แต่โพกัสอยู่ที่ลมกระทบโพรงจมูก(แล้วแต่ละบุคคล)

         ถ้าปฏิบัติช่วงนี้ได้อย่างมั่นคงแล้ว ผลปฏิบัติก็จะเกิดขึ้นในภายหลัง คือความเบากายเบาใจ เกิดปิติ หรือสุข คลุกเคล้าตามมา...

 

   

ตอบโดย: Vicha 05 ก.พ. 51 - 12:45


อ้างอิง (Vicha @ 05 ก.พ. 51 - 12:45)


         ตรงนี้ผมพิจารณาว่า ไม่ได้หมายถึงกายทั้งตัว ครับ  แต่หมายถึงรู้กองลมที่กระทบเข้ากระทบออก ยาวหรือสั้นครับ
 
         แต่ในช่วงนี้ความรู้สึกส่วนอื่นของร่างกายนั้นยังมีอยู่ 


  คือ รู้ผัสสะที่ลมกระทบ และ  รู้กายที่นั่งส่วนที่รู้ได้   รู้เท่าที่รู้

         ถ้าปฏิบัติช่วงนี้ได้อย่างมั่นคงแล้ว ผลปฏิบัติก็จะเกิดขึ้นในภายหลัง คือความเบากายเบาใจ เกิดปิติ หรือสุข คลุกเคล้าตามมา...


สาธุครับ  คุณ vicha  


ตอนที่ผมเริ่มต้นฝึกฝนใหม่ๆ  ไม่มีใครเข้ามาอธิบายแบบนี้ให้แก่ผมเลย  ในตอนนั้น ผมจึงภาวนาด้วยความยากลำบากอยู่นานเป็นปีๆ


วันนี้ผมจึงเข้ามาเป็นกำลังใจแก่คุณวิชา   ในการให้ความรู้แก่ผู้อื่นครับ

    
 

ตอบโดย: ระนาด 05 ก.พ. 51 - 13:22


อ้างอิง
ตรงนี้ผมพิจารณาว่า ไม่ได้หมายถึงกายทั้งตัว ครับ  แต่หมายถึงรู้กองลมที่กระทบเข้ากระทบออก ยาวหรือสั้นครับ
         แต่ในช่วงนี้ความรู้สึกส่วนอื่นของร่างกายนั้นยังมีอยู่ เพราะสมาธิยังไม่ได้เป็นหนึ่ง ปรากฏเพียงแค่ใหนให้รู้ก็ให้รู้เพียงแค่นั้น ไม่ไปบังคับเพิ่มขึ้นหรือบังคับให้หายไป เพราะเป็นภาวะที่เป็นอย่างนั้นเอง แต่น้อมใจหรือมีสติ(โฟกัส)ที่ลมหายใจที่กระทบหรือเคลือนไหวตรงโพรงจมูก  คือ รู้ผัสสะที่ลมกระทบ และรู้กายที่นั่งส่วนที่รู้ได้ด้วยตามภาวะที่ยังรับรู้กายอยู่ ซึ่งไม่ใช้การบังคับให้มารับรู้กายทั้งหมดนะครับ รู้เท่าที่รู้ แต่โพกัสอยู่ที่ลมกระทบโพรงจมูก(แล้วแต่ละบุคคล)

         ถ้าปฏิบัติช่วงนี้ได้อย่างมั่นคงแล้ว ผลปฏิบัติก็จะเกิดขึ้นในภายหลัง คือความเบากายเบาใจ เกิดปิติ หรือสุข คลุกเคล้าตามมา.


แต่ในส่วนนี้ที่ผมลองปฏิบัติดูถ้าเราแปลความหมายของคำว่ากองลมทั้งปวงเป็นกายทั้งร่าง ขณะที่เรานั่งเราก็แค่เอาสติระลึกรู้กายทั้งตัวทั่วพร้อม(สติกำหนดอิริยาบถ)ตั้งแต่เริ่มต้นเลย จากนั้นก็ดูลมหายใจที่แล่นเข้าไปในกาย(ทั้งตัว) และลมหายใจที่ออกมาจากกาย(ทั้งตัว) โดยที่เราไม่ได้บังคับลมหายใจนะครับ แต่ปล่อยให้ลมหายใจเข้าออกอย่างเป็นธรรมชาติ จะยาวหรือสั้นช้าหรือเร็ว เราก็ตามดูอาการที่ลมไหลผ่านเข้าไปในร่างกายไปเรื่อยๆ

ในบางขณะที่ดูลมก็จะเห็นถึงความคิดและอารมณ์ที่เกิดขึ้นในกายควบคู่ไปด้วย เรียกว่าเห็นลมหายใจควบคู่กับความคิดและอารมณ์ พอเราเอาสติตามดูไปอย่างกลางๆเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ที่สุดลมหายใจก็จะค่อยๆสงบระงับจนเหมือนกับจะไม่ได้หายใจแต่ความจริงแล้วลมหายใจเข้าออกละเอียดและเบาบาง จนอาการทางกายไม่ได้กระเพื่อมขึ้นลงตามลมหายใจเข้าออกเลย (ลมหายใจเข้าออกจะละเอียดและเบาบางจนเหมือนกับไหลเวียนและรู้สึกได้เบาบางว่ามีอาการเข้าออกแต่ไม่กระทบกระเทือนถึงกายจนทำให้กายมีอาการกระเพื่อมแต่อย่างใด) ซึ่งก็จะตรงกับประโยคที่ว่า ระงับกายสังขาร หายใจเข้า ระงับกายสังขาร หายใจออก พอดีเลยครับ

และถ้าเห็นการจางคลายไปของความคิดและอารมณ์ รวมถึงกิเลสที่เกิดขึ้นควบคู่ไปกับลมหายใจด้วยแล้ว ก็จะเข้าสู่การเจริญอานาปานสติฐาน เวทนา จิต ธรรม และโพชฌงค์ 7 ไปโดยลำดับน่ะครับ การเจริญอานาปานสติจะวนไปวนมาให้เห็นสภาวะธรรมต่างๆหลายๆรอบ จนกระทั่งปัญญาเริ่มมองเห็นสภาวะธรรมต่างๆเหล่านั้นตามความเป็นจริงได้ชัดเจนและแทงตลอดมากขึ้น ที่สุดจิตก็จะรวมเป็นมรรคสมังคีและก็ได้มรรคผลในที่สุดน่ะครับ  

ตอบโดย: wit 05 ก.พ. 51 - 13:30


   สวัสดีครับ คุณระนาด....

   สำหรับคุณ วิท เป็นอันว่าในความคิดเห็นที่ 32 ของ คุณวิท นั้น เป็นการสรุป คำถาม และอธิบายคำตอบ ตามที่คุณวิทเห็นและพิจารณานะครับ
   และการที่คุณ วิท กล่าวว่า
       จากนั้นก็ดูลมหายใจที่แล่นเข้าไปในกาย(ทั้งตัว) และลมหายใจที่ออกมาจากกาย(ทั้งตัว) โดยที่เราไม่ได้บังคับลมหายใจนะครับ แต่ปล่อยให้ลมหายใจเข้าออกอย่างเป็นธรรมชาติ จะยาวหรือสั้นช้าหรือเร็ว เราก็ตามดูอาการที่ลมไหลผ่านเข้าไปในร่างกายไปเรื่อยๆ

       ผมก็เคยทำครับ  แต่ไม่ได้อยู่ในขั้นของอานาปานสติ ทั้ง 16 วัตถุ(จาตุกะ) นะครับ เป็นเพียงแต่เป็นการทำให้ตื่นตัวมีสติเพิ่มขึ้นเท่านั้น หรือทำให้สบายกายเท่านั้น แต่ก็หาใช่ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ  ทำได้แต่ไม่ใช่อยู่ใน อานาปานสติ 16 วัตถุนะครับ

        ส่วนที่เหลือคุณ วิท ยังไม่ได้กล่าวถึง ฌาณ หรือ องค์ฌาน และอัปปนาสมาธิ อย่างชัดเจนเลย  จึงยังไม่เป็นไปตามลำดับเท่าที่ควรครับ

    

        

ตอบโดย: Vicha 05 ก.พ. 51 - 13:57


ที่เคยประสบปัญหากับตัวเองมากที่สุดก็คือ พอดูลมหายใจปุ๊ป สติหลุดปั๊ป ไปแบบไม่รู้ตัว
แต่ได้มาเจออาจารย์ท่านหนึ่งท่านแนะนำว่า ให้ทำจิตว่าง
ตอนแรกก็ไม่เข้าใจว่าทำไมท่านสอนไม่เหมือนที่เรารู้มา แต่เราก็ทดลองทำตามท่าน
ตอนแรกๆยากมากกกก เพราะเราชินกับการดูลมหายใจ จนสุดท้ายพอทำจิตว่างได้ ก้เป็นสมาธิได้ พอศึกษามาเรื่อยๆก็เข้าใจว่าท่านไม่ได้สอนแปลกแยกไป
ท่านสอนตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ละนิวรณ์เสียก่อน เพียงแต่รวบรัดมาในคำง่ายๆว่า จิตว่างนั้นเอง ไม่รู้ว่าที่ผมคิดจะถูกหรือป่าว อยากให้ช่วยมาคุยกันคับ หรือใครจะลองใช้วิธีนี้แล้วได้ผลอย่างไรก็มาคุยกันคับ

ตอบโดย: ระฆังแก้ว 05 ก.พ. 51 - 14:26


   ต่อไปผมจะอธิบายต่อจากความคิดเห็นที่ 30
           แต่ก่อนที่จะอธิบายต่อนั้นขอแจ้งให้ทราบก่อนว่า กลวิธีในการเพิ่มสติ หรือให้จิตมีกำลังในการตั้งใจและตั้งมั่นขึ้นนั้น สำหรับผู้ปฏิบัติอานาปานสตินั้น มีได้หลายประการ และดังความคิดเห็นของคุณ วิท ก็เป็นวิธีหนึ่งนะครับ

     เข้าเรื่องต่อจากความคิดเห็นที่ 30
      ผมได้ตั้งประเด็นไว้ว่า
        "ถ้าปฏิบัติช่วงนี้ได้อย่างมั่นคงแล้ว ผลปฏิบัติก็จะเกิดขึ้นในภายหลัง คือความเบากายเบาใจ เกิดปิติ หรือสุข คลุกเคล้าตามมา..."

   ซึ่งก็คือมีความชำนาญ ตามส่วนของพุทธพจน์ตรงนี้แล้ว

"   นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
   เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
   เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
   เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น "


   กายก็จะเริ่มเกิดการเบา ใจก็จะโล่งโปรงสติก็แจ่มชัดขึ้น
          ถึงจุดนี้เป็นจุดที่บางท่านที่ไม่รักษาใจให้เป็นปกติ ให้ดำรงไปตามขั้นตอนการปฏิบัติ ก็อาจจะเกิดศรัทธาท้วมท้น เกิดปีติที่มากมายขึ้นได้  หรือบางท่านน้อมการเบากายเบาใจจนเกิดสุขที่มากมายเด่นชัดขึ้นมาก็ได้ บางท่านมุ่งมั่นจนเป็นอุเบกขามากก็ได้
          ซึ่งเป็นช่วงที่ เริ่มบังเกิดมี ปีติ สุข เอกคตา บังเกิดขึ้นเข้ามาคลุกคล้าวในใจหรือในกาย แต่หายังไม่ใช่ ฌาน เกิดขึ้น

          ในเมื่อวางใจได้อย่างปกติคลายความปรุงแต่งไปได้มาก สติก็อยู่กับลมหายใจได้อย่างถูกต้อง ความเบากายมีปีติเล็กๆ สุขน้อยๆ พอมีความเป็นหนึ่งอยู่ ก็จะรู้แจ้งกายได้อย่างชัดเจน คล้ายจะสว่างและเบา  ก็จะเข้าสู่ อานาปานสติ วัตุถุต่อไป ตามพุทธพจน์คือ

  "ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจเข้า"

     ก็คือ หายใจเข้าหรือออกก็รู้แจ้งกายที่เบาทั้งหมด นั้นเอง

     และเมื่อดำเนินการปฏิบัติอานาปานสติต่อไป อย่างเป็นปกติ สติและสมาธิก็ย่อมเจริญขึ้น ก็จะพัฒนา อานาปานสติ วัตถุ(จาตุกะ) ต่อไป ซึ่งจะเป็นเรื่องของ ฌาน และองค์ฌาน เบื้อง ....

    
 

ตอบโดย: Vicha 05 ก.พ. 51 - 14:39



   คุณระฆังแก้วครับ  "จิตว่าง" นั้นเป็นอุบายอย่างหนึ่งเท่านั้นครับ ที่ได้ผลแต่ไม่ใช่กับทุกคนนะครับ
   ต่างกับอานาปานาสติ ทั้ง 16 วัตถุ เมื่อผู้ปฏิบัติถึงแต่ละ วัตถุ ก็จะมีผลเหมือนหรือคล้ายกันหมดครับ  และเป็นพุทธพจน์ที่เป็นแน่แท้
   
 

ตอบโดย: Vicha 05 ก.พ. 51 - 14:54



            =======================================

    ส่วนใหญ่คนเรา พอได้ยินว่า กำหนดรู้  ,  รู้ชัดมักจะเกร็งผิดธรรมชาติของกาย  (เพราะจิตพะวง  เป็นต้นเหตุ ของนิวรณ์  เพราะเหตุ คอยเพ่งดูอย่างเกร็งๆ )

            จริงๆแล้ว  เราเพียงแค่มองลมหายใจ  อย่างแผ่วเบาตามที่กายเราหายใจเข้าออกจริงๆก็พอ...  ดูการทำงานของกายเราจริงๆ    ให้เค้าแสดงไตรลักษณ์ให้ดู  จะเห็นผลมากกว่านะครับ ...   เพราะ ไม่เครียด  กับการกำหนดลมหายใจ ...   ดูแบบสบายๆ   เพราะ ลมหายใจ นั้นก็ไม่ใช่เรา  ที่เราจะไปเจ้ากี้เจ้าการบังคับให้เค้าแสดงสุดโต่งไปข้างใดข้างหนึ่ง  เพื่อหวังผลตามพระสูตร  นั้นเป็นสิ่งที่ค่อนข้างขัดกันนะครับ ..

             เพียงแต่ดูกายเค้าหายใจเข้าออก   ตามจริง  ไม่ไปปรุงแต่งยุ่งกับกาย   ก็เพียงพอแล้ว นะครับ ...    ที่จะเข้าไปสู่ฐานที่ลึกขึ้น ...

             กายเค้าเหนื่อย  เค้าทำงานอย่างไร  ก็เรื่องของเค้า  เราก็มีหน้าที่รู้ไปเรื่อยๆ   โดยไม่ไปปรุงแต่งกับกาย   เดี๋ยวกายเค้าจะสงบเอง  จะโล่งเบา  พอกายโล่งเบา จิตก็จะโล่งเบาตาม   โดยไม่ต้องไปบังคับมัน   ปล่อยให้กายมันเป็นไปเอง  ให้มันพักไปเอง  โดยไม่ต้องไปทำอะไรมัน   เดี๋ยวมันก็สงบเองครับ ...  เพียงแต่เราอย่าไปเผลอกับปิติสุข ที่เกิดขึ้นตอนกายสงบ  และตอนจิตสงบก็พอ   เดี๋ยวจะเผลอไปใหญ่ ...

             ลองสังเกตุดูว่า  เมื่อไหร่ที่เราไม่ไปยุ่งปรุงแต่ง  กับกาย (ปล่อยกายตามที่มันเป็น)   มันจะเข้าสู่ความสงบเร็วมาก ...   (ที่ไม่สงบส่วนใหญ่เป็นเพราะ จิต เรามัวไปปรุงแต่งบังคับให้กายทำโน้นทำเนี่ยแระครับ    กว่าจะเข้าได้ก็นาน  เพราะเหตุเราไม่วางกายซะที  จิตมันก็เลยไม่ว่าง น่ะครับ ..)

             เราก็ใช้จิตที่ว่าง จากการวางกาย  เนี่ยแหระครับ สังเกตุดูความจริงตาม อนาปานสติ 16 ขั้น  ดูการทำงานตามกาย และจิต  ตามที่มันเป็น   ก็จะเข้าใจตามพระสูตรเองล่ะครับ ....


               ================================
       

ตอบโดย: คนผ่านทาง 05 ก.พ. 51 - 16:02


  ครับคุณ คนผ่านทาง  ถ้าเป็นไปตามลำดับแล้วดูเหมือนว่าเป็นเรื่องที่พัฒนากันอย่างง่ายๆ

     แต่ไม่ใช่ว่าจะเกิดขึ้นได้กับทุกๆ ท่าน  นี้แหละเขาจึงเรียกว่าเป็นไปตามวาสนาและบารมี
     บางท่านปฏิบัติเพียงวันเดียว ก็สามารถพัฒนาได้ครบทั้ง 16 วัตถุ
     แต่บางท่านใช้เวลายาวนานกว่านั้น แล้วแต่บุคคล

     และบางท่านปฏิบัติมาถึงค่อนชีวิต ฌาน 1 อาจจะยังไม่ได้ไม่ปรากฏ ก็เป็นไปได้ครับ..

      นี้ก็เป็นกรรมเป็นประเภทของบุคคล และเป็นความต่างของบุคคลต่างๆ ...

      แต่ทุกท่านที่ปรารถนพ้นทุกข์ ปรารถนานิพพาน ก็ต้องเพียรปฏิบัติกันไป อย่างไม่ท้อถอย...  เป็นธรรมดา ถึงมีพักบ้าง ก็ค่อยลุกขึ้นมาปฏิบัติอีก จนผ่านพ้นไปได้..


   

ตอบโดย: Vicha 05 ก.พ. 51 - 17:00


อ้างอิง
ผมก็เคยทำครับ  แต่ไม่ได้อยู่ในขั้นของอานาปานสติ ทั้ง 16 วัตถุ(จาตุกะ) นะครับ เป็นเพียงแต่เป็นการทำให้ตื่นตัวมีสติเพิ่มขึ้นเท่านั้น หรือทำให้สบายกายเท่านั้น แต่ก็หาใช่ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ  ทำได้แต่ไม่ใช่อยู่ใน อานาปานสติ 16 วัตถุนะครับ

        ส่วนที่เหลือคุณ วิท ยังไม่ได้กล่าวถึง ฌาณ หรือ องค์ฌาน และอัปปนาสมาธิ อย่างชัดเจนเลย  จึงยังไม่เป็นไปตามลำดับเท่าที่ควรครับ

ครับผม ผมอธิบายแต่โดยย่อน่ะครับ แต่ถ้าสังเกตให้ดีตอนช่วงท้ายๆผมมีเอ่ยถึงการพิจารณาความคิดและอารมณ์ควบคู่ไปกับลมหายใจเข้าออกด้วย รวมถึงสภาวะที่กายสงบจิตสงบ ถ้าผู้อ่านพิจารณาไปตามนัยยะที่ผมเกริ่นๆเอาไว้ให้แยบคาย โดยเทียบเคียงไปกับพระสูตรให้ตลอดสาย โดยใช้หลักวิธีปฏิบัติที่ผมแนะนำไปทีละขั้นตอนก็จะเห็นเองว่า เข้ากันได้กับในพระสูตรน่ะครับ  

ตอบโดย: wit 05 ก.พ. 51 - 18:51


      สาธุกับพี่วิชาครับ
[

ตอบโดย: คนโคราช 05 ก.พ. 51 - 19:31


อ้างอิง
ส่วนที่เหลือคุณ วิท ยังไม่ได้กล่าวถึง ฌาณ หรือ องค์ฌาน และอัปปนาสมาธิ อย่างชัดเจนเลย  จึงยังไม่เป็นไปตามลำดับเท่าที่ควรครับ


เรื่องฌานนี้ผมขอยกอารมณ์ของปฐมฌานในกายคตาสติสูตรมาเทียบเคียงก่อนนะครับ เพราะค่อนข้างมีรายละเอียดชัดเจนหน่อย ต้องขออภัยด้วยครับที่ผมพิจารณาแบบกระโดดไปกระโดดมา ตรงนั้นทีตรงนี้ที แต่พอค่อยๆรวบรวมรายละเอียดก็จะได้เนื้อความที่ครบถ้วนขึ้นมาเองน่ะครับ(คืออาจจะเป็นอุปนิสัยในการพิจารณาธรรมของผมน่ะครับ ที่ชอบจับประเด็นสำคัญในส่วนต่างๆมาเชื่อมโยงกันก่อน ถ้าได้หลักการที่เชื่อมโยงกันได้แล้ว ที่เหลือจากนั้นก็ค่อยๆเก็บรายละเอียดให้ได้ใจความที่สมบูรณ์น่ะครับ)


 [๓๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุสงัดจากกาม สงัด
จากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอ
ยังกายนี้แล ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่วิเวก ไม่มี
เอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือของพนักงานสรง-
*สนานผู้ฉลาด โรยจุณสำหรับสรงสนานลงในภาชนะสำริดแล้ว เคล้าด้วยน้ำให้
เป็นก้อนๆ ก้อนจุณสำหรับสรงสนานนั้น มียางซึม เคลือบ จึงจับกันทั้งข้างใน
ข้างนอก และกลายเป็นผลึกด้วยยาง ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือน
กันแล ภิกษุย่อมยังกายนี้แล ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุข
เกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวก
จะไม่ถูกต้อง เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้
ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอัน
เป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ


อาการนี้เพิ่มเติมต่อจากที่ผมอธิบายตามความเข้าใจของผมนะครับที่ว่า ให้กำหนดดูลมหายใจโดยใช้สติดูกายรวมๆเป็นพื้นฐาน จากนั้นก็ค่อยระลึกรู้ลมหายใจเข้าออกที่แล่นเข้าแล่นออกในกายทั่วตัวทั่วพร้อมไปเรื่อย ตอนแรกๆจิตอาจจะมีความกังวลกับเรื่องอื่นอยู่ ยังนึกถึงรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และ อารมณ์อื่นๆที่น่าเพลิดเพลินพอใจหรือทั้งที่ขัดเคืองไม่พอใจทั้งที่เป็นของในอดีตและอนาคตอยู่

เมื่อเราใส่ใจกับลมหายใจเข้าออกในกายไปเรื่อยๆ จิตก็จะค่อยๆเมินเฉย ค่อยๆสลัดอารมณ์และความคิดที่จิตเป็นกังวลออกไปทีละนิด โดยเราใช้ปัญญาพิจารณาอารมณ์และความคิดเหล่านั้นให้เห็นเป็นสิ่งไม่เที่ยง มีความแปรปรวน เมื่อเราพิจารณาเช่นนี้ควบคู่กับการดูลมไปด้วย จิตก็จะค่อยๆเกิดความเบื่อหน่ายคลายความยินดีใน ความคิดและอารมณ์ทั้งที่น่าเพลิดเพลินพอใจและไม่น่าพอใจไป เมื่อนั้นกิเลสความยึดถือในอารมณ์และความคิดเหล่านั้นก็จะถูกสละคืนและดับไปในที่สุด(ตรงนี้จะอยู่ในหมวดพิจารณาธรรมในธรรมกับเวทนาในเวทนาควบคู่กันไป ลองเทียบเคียงกับพระสูตรดูครับ)

เมื่อเราใช้ปัญญาพิจารณาธรรมเช่นนั้นอยู่ก็ได้ชื่อว่าเรามีธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์อยู่ ความคิดและอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจและทั้งที่ไม่น่าเพลิดเพลินพอใจ ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ความคิด ที่เป็นไปในอดีตและอนาคตก็จะถึงความดับไป ขณะนี้สติที่ระลึกรู้ลมหายใจเข้าออกอันเป็นไปในกายนั้นก็จะค่อยๆชัดเจนขึ้นมา ดังประโยคที่ว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุสงัดจากกาม สงัด
จากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่......ฯ


คือเมื่ออารมณ์และความคิดรวมถึงกิเลสต่างๆสงบลงไปจากการใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นความไม่เที่ยงแล้ว ขณะนี้จิตก็จะสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม มีวิตก วิจาร อยู่กับลมหายใจ อย่างตั้งมั่นมั่นคง เมื่อนั้นปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกที่เกิดจากการไม่นึกถึงอารมณ์ในทางด้านกามคุณทั้งหลายนั้นก็จะปรากฏชัดขึ้นมา

เธอ
ยังกายนี้แล ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่วิเวก ไม่มี
เอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง

เนื่องจากเราใช้สติกำหนดดูกายทั่วตัวทั่วพร้อมตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว เมื่อสติเริ่มมั่นคงอยู่กับลมหายใจจนปีติและสุขเกิดขึ้น(ซึ่งในขณะนี้ก็จะเป็นการพิจารณาอานาปานสติในหมวดเวทนาในเวทนาอยู่อย่างชัดเจน) อารมณ์ปีติสุขนี้ก็จะแผ่ซ่านปกคลุมกระจายไปทั่วร่างกายโดยอัตโนมัติ.....พร้อมกับการเห็นลมหายใจเข้าและออกอย่างแผ่วเบา(ในขณะนี้ลมหายใจจะเริ่มละเอียดและเบาบาง มีการหายใจที่นุ่มนวล เข้าออกอย่างช้าๆภายในกายทั่วตัวทั่วพร้อม พร้อมๆกับอารมณ์ที่แผ่ซ่านไปทั่วกาย.....(เมื่อจิตเป็นสมาธิเกิดปีติ ตรงนี้ก็จะตรงกับการทำจิตให้ร่าเริง การทำจิตให้ตั้งมั่น ในส่วนของการพิจารณาอานาปานสติในหมวดจิตในจิต)

ซึ่งอารมณ์ข้างต้นนี้ก็เป็นอารมณ์การเข้าปฐมฌานตามความเข้าใจของผม ซึ่งจะเห็นได้ว่าการพิจารณาองค์ประกอบของอารมณ์อานาปานสติในแต่ละหมวดนั้นจะกระจายกันมีบทบาทหน้าที่อยู่ในแต่ละจังหวะของการระลึกรู้ลมหายใจ ซึ่งก็จะปรากฏอารมณ์ ความคิด และองค์ประกอบอื่นๆของจิตเกิดขึ้นควบคู่มาด้วย เมื่อนำไปเทียบเคียงกับโพชฌงค์ ตรงส่วนล่างของพระสูตรก็จะสามารถเทียบเคียงและทำความแยบคายได้โดยไม่ยาก (ถ้าใช้หลักการพิจารณาโดยนัยยะที่ผมอธิบายไปข้างต้น)

ซึ่งสภาวะธรรมในการปฏิบัติอานาปานสตินี้ก็จะวนเวียนเข้าสู่อารมณ์ต่างๆ มีอารมณ์ความคิดต่างๆให้กำหนดรู้มากมาย แต่หลักการก็ใช้หลักการเดียวกัน เมื่อสติพิจารณาสภาวะธรรมเหล่านี้กลับไปกลับมา เข้าๆออกๆสมาธิ พิจารณาอารมณ์ความคิดและกิเลสพร้อมกับปล่อยวางบ่อยๆเข้า ที่สุดสติและอินทรีย์ก็จะเริ่มแก่กล้าขึ้นจนสามารถมีความชัดเจนและแทงตลอดในธรรมทั้งปวงได้ในที่สุดครับ

ปล.ข้อมูลดังกล่าวข้างต้นนี้เป็นการพิจารณาการเจริญอานาปานสติตามหลักการที่ผมเข้าใจในอารมณ์ของปฐมฌาน โดยมีเสริมหรือแนะข้อความหรือนัยยะบางตอนของพระสูตรประกอบไว้ด้วย ซึ่งผมก็รู้สึกว่ามีรายละเอียดครบถ้วนพอสมควรแล้วก็ขออธิบายในส่วนนี้ไว้เพียงเท่านี้ก่อนครับ(ส่วนอารมณ์ของทุติยฌาน หรือ ฌาน 2 เป็นต้นไป ก็อาศัยหลักการหรือนัยยะเดียวกันนี้ ค่อยๆเทียบอารมณ์ของการปฏิบัติควบคู่ไปกับบทบัญญัติของธรรมดูได้ตามอัธยาศัยครับ)

ตอบโดย: wit 05 ก.พ. 51 - 20:12


ขออนุโมทนากับคุณระฆังแก้วด้วยครับ

ทำจิตว่างได้ เท่ากับจิตเหนือดีเหนือชั่ว

ทำจิตว่างให้เป็นนิสัย อุปนิสัย  นิวรณ์ก็ไม่รบกวนจิต

อารมณ์กรรมปรุงแต่งจิตว่างไม่ได้ เหมือนจิตอยู่เหนืออารมณ์
 

ตอบโดย: pakorn.p 06 ก.พ. 51 - 09:53


    ครับ คุณวิท ยกพุทธพจน์ที่เป็น  องค์ปฐมฌาน (ข้อความที่เป็นสีแดง) ได้ดี และเหมาะสม

    แต่ยังขาดส่วนที่เป็น  อัปปนาสมาธิ  .....  ยังไม่อธิบายให้ทราบชัด (การเข้าฌาน)




 

ตอบโดย: Vicha 06 ก.พ. 51 - 09:55


อ้างอิง
แต่ยังขาดส่วนที่เป็น  อัปปนาสมาธิ  .....  ยังไม่อธิบายให้ทราบชัด (การเข้าฌาน)



[46] สมาธิ 3๑ (ความตั้งมั่นแห่งจิต, ภาวะที่จิตสงบนิ่งจับอยู่ที่อารมณ์อันเดียว : concentration)
       1. ขณิกสมาธิ (สมาธิชั่วขณะ — momentary concentration)
       2. อุปจารสมาธิ (สมาธิจวนจะแน่วแน่ — access concentration)
       3. อัปปนาสมาธิ (สมาธิแน่วแน่ — attainment concentration)
 
ที่มา:
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=46


อัปปนาสมาธิ เป็นการตีความหรือเป็นการบัญญัติศัพท์ขึ้นมาของนักปฏิบัติรุ่นหลังๆหรืออรรถกถาจารย์ ไม่มีใช้คำนี้ในเนื้อหาของพระสูตรในพระไตรปิฎกโดยตรงน่ะครับ

แต่ถ้าจะหมายความส่วนใดในพระสูตรว่าเป็นอัปปนาสมาธิ ตามที่นักปฏิบัติรุ่นหลังกล่าวว่ามีอารมณ์เป็นหนึ่งแน่วแน่ เป็นอารมณ์ของสมาธิเฉียดๆที่จะได้ฌานแต่ยังไม่ถึงฌานนั้น ก็น่าจะสามารถเทียบเคียงได้ตรงกับเนื้อหาข้อความสีแดงในกายคตาสติสูตรที่ผมยกมาบางส่วนดังต่อไปนี้ครับ (สังเกตได้ว่าในแต่ละหัวข้อธรรมย่อยๆในตอนท้าย เมื่อผู้ปฏิบัติๆแล้วจะเกิดผลอย่างเดียวกันนี้ คือเกิดอารมณ์แน่วแน่เป็นหนึ่งได้เหมือนกัน)


๒๙๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กายคตาสติอัน
ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่าง
ก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก
มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจ
เข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้
กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจ
เข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกาย
สังขาร หายใจเข้า เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่
อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้น
ได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
             [๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเดินอยู่ ก็รู้ชัดว่า
กำลังเดิน หรือยืนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังยืน หรือนั่งอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนั่ง หรือ
นอนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนอน หรือเธอทรงกายโดยอาการใดๆ อยู่ ก็รู้ชัดว่า
กำลังทรงกายโดยอาการนั้นๆ เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปใน
ธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริ
พล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
             [๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเป็นผู้ทำความ
รู้สึกตัวในเวลาก้าวไปและถอยกลับ ในเวลาแลดู และเหลียวดู ในเวลางอแขน
และเหยียดแขน ในเวลาทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในเวลา ฉัน ดื่ม
เคี้ยว และลิ้ม ในเวลาถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ในเวลา เดิน ยืน นั่ง
นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่ง เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไป
ในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริ
พล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
             [๒๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้
แล ข้างบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป ข้างล่างแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ
เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่ามีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด
ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ
มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนไถ้มีปากทั้ง ๒ ข้าง เต็มด้วยธัญญชาติต่างๆ ชนิด คือ ข้าวสาลี
ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วทอง งา และข้าวสาร บุรุษผู้มีตาดี แก้ไถ้นั้นออกแล้ว
พึงเห็นได้ว่า นี้ข้าวสาลี นี้ข้าวเปลือก นี้ถั่วเขียว นี้ถั่วทอง นี้งา นี้ข้าวสาร
ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แล
ข้างบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป ข้างล่างแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วย
ของไม่สะอาด มีประการต่างๆ ว่ามีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่
ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น
น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความ
เพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญ
กายคตาสติ ฯ
             [๒๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้
แล ตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ดำรงอยู่ โดยธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ
ธาตุไฟ ธาตุลม ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนฆ่าโค หรือลูกมือของคน
ฆ่าโค ผู้ฉลาด ฆ่าโคแล้วนั่งแบ่งเป็นส่วนๆ ใกล้ทางใหญ่ ๔ แยก ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แล ตามที่
ตั้งอยู่ ตามที่ดำรงอยู่ โดยธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ
ธาตุลม เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้
ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอัน
เป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
             [๒๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งใน
ป่าช้า อันตายได้วันหนึ่ง หรือสองวัน หรือสามวัน ที่ขึ้นพอง เขียวช้ำ มี
น้ำเหลืองเยิ้ม จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แล ก็เหมือนอย่างนี้เป็น
ธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้ เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มี
ความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสีย
ได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่
แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่า
เจริญกายคตาสติ ฯ.......................ฯ(จนจบหมวดป่าช้าทั้งหลาย)

ต่อจากนี้ในพระสูตรก็จะเริ่มต้นอารมณ์ของปฐมฌาน ดังข้อความใน ค.ห.ก่อนได้ลงเอาไว้น่ะครับ  ที่ต้องยกพระสูตรนี้เนื่องจากในอานาปานสติสูตรไม่ได้มีอธิบายอารมณ์ของฌานอย่างละเอียด แต่อารมณ์ของฌานมีอยู่ในกายคตาสติสูตร ซึ่งถ้าสังเกตตรงการเจริยอานาปานสติในหมวดกายคตาสติสูตรจะเห็นได้ว่า สิ้นสุดลงแค่การดูลมในฐานกายในกายตรงระงับกายสังขารหายใจเข้า-ออก เท่านั้น

แต่เนื้อหาในกายคตาสติสูตรต่อมาจากการดูลมหายใจฐานกายในกายนั้น สามารถเข้าได้กับการพิจารณาธรรมในธรรมในอานาปานสติสูตร คือพิจารณาถึงความไม่เที่ยง พิจารณาความคลายกำหนัด...ฯ หายใจเข้า-ออก และตรงกับธรรมวิจยะสัมโพชฌงค์คือเลือกเฟ้นธรรมอยู่ การพิจารณากายในลักษณะต่างๆก็เพื่อให้เห็นความไม่เที่ยง เพื่อที่จะคลายกำหนัด คลายความยินดี เพื่อความสละคืนกิเลสนั่นเอง

และเมื่อจิตเริ่มเข้าสู่อารมณ์ของฌานก็จะเริ่มเข้าสู่การพิจารณาเวทนาในเวทนา จิตในจิต ของหมวดอานาปานสติควบคู่ไปด้วย ดังเนื้อหาในพระสูตรและแนวทางที่อธิบายไปใน ค.ห. ก่อนน่ะครับ




 

ตอบโดย: wit 06 ก.พ. 51 - 11:40


   นั้นก็ไม่เป็นไรครับ คุณวิท  เมื่อไหร่ สังเกตุเห็น หรือมีภาวะนั้นขึ้นและรู้เท่าทัน ก็ค่อยมาบอกมาอธิบายก็แล้วกันนะครับ....

                   จากพุทธพจน์           ย่อมคงที่ แน่นิ่ง

                ตรง   แน่นิ่ง  "แน่นิ่ง" เป็นอย่างไร ผู้บรรลุถึงย่อมปรากฏให้เห็น และทราบได้

      

  

ตอบโดย: Vicha 06 ก.พ. 51 - 11:51


เรียน คุณระฆังแก้ว
จากประสบการณ์  การฝึกที่จิตว่างนั้น ดิฉันได้มาจากการทำสมถะที่เป็นสมถะอย่างยิ่งและพัฒนาไปที่จิตว่าง  ถ้าทำจิตว่างเฉย ๆ  ตรงนั้นจะไม่มีพิจารณา แต่จะได้สงบถึงสงบอย่างยิ่ง เป็นการพักผ่อน  จะฝึกโดยเริ่มจากจิตว่างก็ได้ถ้าคุณฝึกแล้วไปได้ด้วยดี  เพราะพอจิตว่างแล้วเราจะนำสิ่งที่กระทบมาพิจารณาโดยไล่ไปตั้งแต่พิจารณาอย่างหยาบไปจนละเอียด  พิจารณากาย  พิจารณาคิด  จนกระทั่งพิจารณาจิตคือพิจารณารู้  ว่าทุกอย่างจับได้ด้วยไตรลักษณ์  พิจารณาแล้วพิจารณาอีกจนชำนาญแล้วความเป็นอัตโนมัติจะทำงานสติจะค่อย ๆ ดีขึ้นเร็วขึ้นเห็นทันขึ้น  ชำนาญแล้วจะวางได้เร็วค่ะ
เสนอจากประสบการณ์  กรุณาพิจารณาดู
     

ตอบโดย: สติ - จิตตา 06 ก.พ. 51 - 12:09


อ้างอิง
นั้นก็ไม่เป็นไรครับ คุณวิท  เมื่อไหร่ สังเกตุเห็น หรือมีภาวะนั้นขึ้นและรู้เท่าทัน ก็ค่อยมาบอกมาอธิบายก็แล้วกันนะครับ....

                   จากพุทธพจน์           ย่อมคงที่ แน่นิ่ง

                ตรง   แน่นิ่ง  "แน่นิ่ง" เป็นอย่างไร ผู้บรรลุถึงย่อมปรากฏให้เห็น และทราบได้


ครับ ตรงนี้ผมเห็นด้วย ว่าจะต้องบรรลุถึงสภาวะนั้นแล้วจึงจะทราบดี ผมก็ทำได้เพียงแค่ยกพระสูตรกับอธิบายนิดหน่อยพอเป็นแนวทาง เป็นหลักไว้ ตามความเข้าใจของผม แต่ถ้าจะเข้าถึงภาวะนั้นจริงๆก็ต้องลงมือทำน่ะครับ(เข้าใจกับเข้าถึงมีสภาวะต่างกันน่ะครับ) ใครทำได้เข้าถึงได้จะมากจะน้อยแค่ไหนก็จะทราบได้เองครับ มีแผนที่แล้วเราก็แค่เดินไปตามแผนที่ ที่สุดก็จะถึงเป้าหมายได้เอง ขออนุโมทนาครับ
 

ตอบโดย: wit 06 ก.พ. 51 - 12:18


  เป็นอันว่าผมและคุณวิท ได้สนทนา เรื่อง ฌาน หรือองค์ฌาน พอประมาณแล้ว

   ความจริงแล้ว นิวรณ์ 5 เริ่มลดน้อยลงไปมากแล้ว เมื่ออานาปานสติ ถึง วัตถุนี้
 
 "ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจเข้า"

    และเริ่มมี อารมณ์องค์ฌานเข้ามาแทนแต่ยังไม่แนบแน่น คือมี วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกคตา เด่นชัดขึ้น เมื่อแนบแน่นมากขึ้นเป็นหนึ่งขึ้น ปฐมฌานก็จะปรากฏ  กายสังขารก็สามารถระงับได้ ด้วยกำลังของ ปฐมฌาน จึงพัฒนาสู่ อานาปานสติ วัตถุ ต่อไป คือ
 
  ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก เป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า

    

ตอบโดย: Vicha 06 ก.พ. 51 - 12:28


ต้องขอขอบคุณในคำอนุโมทนาและคำแนะนำของคุณ pakorn.p และ คุณสติ-จิตตา คับ

ก่อนอื่นขอตั้งคำถามให้ช่วยกันออกความเห็นหน่อยคับ ในเรื่องการตีความจากพระสูตร
"นั่งคู้บัลลังค์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า"
จากที่อ่านมาทั้งหมดในกระทู้นี้นะคับ จับใจความได้ว่า การดำรงสติเฉพาะหน้า คือการนำสติมาโฟกัสบริเวณใบหน้า เพื่อที่จะดูลมหายใจต่อไป
แต่ที่ผมเข้าใจจากการอ่านพระสูตรนี้ ผมคิดว่าน่าจะหมายถึง การมีสติอยู่ที่การกระทำเฉพาะหน้า (หมายถึงมีสติอยู่กับการกระทำในปัจจุบัน นั้นก็คือการที่จะเจริญกรรมฐานนั้นเอง) แล้วค่อยพิจารณานิวรณ์ต่างๆในจิตต่อไปนะคับ เมื่อจิตสามารถสลัดนิวรณ์ได้หมดก็จะเข้าสู่ฌาณตามลำดับไป (อันนี้คือจิตว่างที่ผมพูดในตอนต้นนะคับ แต่ถ้าจิตไม่อาจกำจัดนิวรณ์ได้หมดแต่นิวรณ์บางเบาแล้วก็อาจน้อมใจไปดูลมหรือกรรมฐานอื่นๆเพื่อเข้าสู่ฌาณ
ซึ่งทำให้ผมคิดว่า การดำรงสติเฉพาะหน้า ไม่น่าจะหมายถึงไปโฟกัสที่หน้า เพราะการดูลมในบางคนก็อาจดูตลอดสายที่ลมไปกระทบได้ไม่จำเป็นต้องเป็นโพรงจมูกเท่านั้น
มีความเห็นอย่างไรมาแสดงความคิดเห็นกันคับ

ตอบโดย: ระฆังแก้ว 06 ก.พ. 51 - 17:15


ขอขยายความเรื่องจิตว่างนะคับ[SIZE=12]
จิตว่างหมายถึง การที่จิตปราศจากความนึกคิดปรุงแต่งฟุ้งซ่าน ความง่วง และปรากฏการอื่นของจิตที่เกิดมาจากนิวรณ์ ซึ่งมักเกิดในผู้ฝึกสมาธิทุกคน (พูดถึงแต่สมถะกรรมฐานก่อนนะคับ) ซึ่งเมื่อจิตฟุ้งไปแล้วโดยส่วนมากมักจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าฟุ้ง จนกว่าจิตจะฟุ้งมากจนการดูลมหายใจหายไปจึงจะรู้ตัวกัน ซึ่งในช่วงแรกที่ผมฝึกดูลมหายใจก็เป็นแบบนี้ ต่อมาเมื่อมาฝึกทำจิตว่าง มันเหมือนกับการหันมาเผชิญหน้ากับความฟุ้งโดยตรง โดยไม่มีการรู้ลมหายใจมาเป็นบังเกอร์ ทำให้เห็นจิตที่ฟุ้งง่ายขึ้น แต่ต้องยอมรับว่าในช่วงแรกของการฝึกจะเหมือนการบังคับจิตไม่ให้คิดไม่ให้ฟุ้ง แต่พอชำนาญจะเป็นไปโดยธรรมชาติ ซึ่งการฝึกจิตว่างจะมีประโยชน์ต่อไปคือ
1 จิตจะคลายความยึดติดในเรื่องต่างๆได้ง่ายขึ้น เพราะจิตรู้จักภาวะไม่ฟุ้งซ่านรำคาญอันเป็นสุขกว่าความฟุ้งซ่าน เมื่อเกิดเรื่องเครียดจะทำให้ทิ้งเรื่องเครียดได้เร็วขึ้น ทำให้แม้ว่าในชีวิตประจำวันจะเครียดมามาก แต่ตอนฝึกสมาธิก็สลัดความฟุ้งซ่านไปได้เร็ว
2 การฝึกจิตว่างก็เหมือนกับการฝึกให้จิตคลายความยึfติดลงได้ ซึงเหมาะกับผุ้ที่ต้องการฝึกสมถะกรรมฐานหลายๆแบบ เพราะต้องยอมรับว่าเมื่อฝึกแบบใดแบบหนึ่งแล้วมักจะชำนาญในวิธีนั้นๆจนไม่อาจฝึกวิธีอื่นได้ เช่น ดูลมหายใจได้ชำนาญ แต่พอจะเปลี่ยนมาทำกสิณแล้วทำไม่ได้เป็นต้น ซึ่งผมพึ่งรู้ตัวว่าตัวเองติดในการดูลมหายใจมากก็เมื่อมาลองฝึกจิตว่างนี่แหละคับ
3 อาจารย์ผมเคยสอนว่า ตอนจะตายให้ทำจิตว่างนะ ผมก็เลยถามท่าน(ถามในใจ แต่ท่านตอบออกเสียง) ว่าโบราณสอนให้คิดแต่สิ่งดีๆไม่ใช่หรอคับ หรือไม่ก็คนได้ฌาณก็จะเข้าฌาณ ท่านก็ตอบมาว่าถ้าคิดดีนะจะได้ไปดี แต่ถ้าจิตว่างจะได้ไปสูง ต่อมาพอผมมาศึกษามากขึ้นบวกกับไปเจอพุทธพจน์ที่ว่า "ธรรมทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น" จึงทำให้คิดถึงสอข้อข้างบนได้ ว่าทำไม่ท่านเน้นเรื่องนี้
ซึ่งเมื่อจิตว่างเป็นอิสระจากอารมณ์ร้อยรัดทั้งปวงแล้ว เราย่อมจะน้อมจิตไปใช้ในการพิจารณาธรรม หรือน้อมมาเพื่อเกิดฤทธิ์ หรือเพื่ออื่นๆก็ย่อมได้คับเห็นบางคนอาจสงสัยเลยมาขยายความคับ แต่ก็กำลังศึกษาเทียบเคียงกับพระไตรปิฏกไปด้วยคับ
 

ตอบโดย: ระฆังแก้ว 06 ก.พ. 51 - 17:43


ทำจิตปัจจุบันให้ว่างดัวยญาณ ไม่ใช่ฌานกดทับจิต อิทธิฤทธิ์โลกืย์ไม่ไช่ตัวไป
ในโลกนี้มีแต่กรรม มีพื้นที่ให้ผู้หนีทุกข์หลบได้อยู่ที่เดียวคึอทำจิตปัจจุบันให้ว่าง  เมึ่อจิตไม่ว่าง ตัองรู้จักตัวอะไรมารบกวนจิตให้ว่างไม่ไดัและมึแรงอะไรผลักไสให้จิตสร้างกรรม ต้องแกะตัวนั้นออกจากจิต
จิตว่าง กับ จิตมีอะไรรบกวน เราควรรักษาจิตอย่างไร  ถัาระหว่างที่กายนี้ตั้งอยู่ ครองจิตว่างตลอด แล้วกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมจะเกิดขึ้นได้อย่างไร รองพิจารณาดูนะครับว่ามีชีวิตหนีกรรมควรมีสติรักษาจิตแบบใหน

ตอบโดย: pakorn.p 07 ก.พ. 51 - 01:24


 จากข้อความของคุณระฆังแก้ว ส่วนที่หนึ่ง

อ้างอิง
"นั่งคู้บัลลังค์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า"
จากที่อ่านมาทั้งหมดในกระทู้นี้นะคับ จับใจความได้ว่า การดำรงสติเฉพาะหน้า คือการนำสติมาโฟกัสบริเวณใบหน้า เพื่อที่จะดูลมหายใจต่อไป
แต่ที่ผมเข้าใจจากการอ่านพระสูตรนี้ ผมคิดว่าน่าจะหมายถึง การมีสติอยู่ที่การกระทำเฉพาะหน้า (หมายถึงมีสติอยู่กับการกระทำในปัจจุบัน นั้นก็คือการที่จะเจริญกรรมฐานนั้นเอง) แล้วค่อยพิจารณานิวรณ์ต่างๆในจิตต่อไปนะคับ เมื่อจิตสามารถสลัดนิวรณ์ได้หมดก็จะเข้าสู่ฌาณตามลำดับไป (อันนี้คือจิตว่างที่ผมพูดในตอนต้นนะคับ แต่ถ้าจิตไม่อาจกำจัดนิวรณ์ได้หมดแต่นิวรณ์บางเบาแล้วก็อาจน้อมใจไปดูลมหรือกรรมฐานอื่นๆเพื่อเข้าสู่ฌาณ
ซึ่งทำให้ผมคิดว่า การดำรงสติเฉพาะหน้า ไม่น่าจะหมายถึงไปโฟกัสที่หน้า เพราะการดูลมในบางคนก็อาจดูตลอดสายที่ลมไปกระทบได้ไม่จำเป็นต้องเป็นโพรงจมูกเท่านั้น


    เป็นความเข้าใจสับสนในเรื่องของการปฏิบัติ อานาปานสติ ทั้ง 16 วัตถุ อยู่นะครับ คือ
       1.ได้ ฌาน ก่อนที่มีสติรู้ลมหายใจเข้าหรือออกอย่างเหมาะสม  ก็ไม่ใช่เป็นการปฏิบัติอานาปานสติตั้งแต่ต้นแล้วนะครับ
       2.ยังอ่านตีความไม่ตลอด เพราะในกระทู้ไม่ได้กล่าวว่าต้องเฉพาะเจาะจงที่โพรงจมูกเท่านั้น ก็นำเสนอแล้วว่า แล้วแต่ละบุคคล  แต่สมมุติว่า โพรงจมูก เพื่อง่ายในการอธิบายครับ


  ต่อไปมาดูส่วนที่ คุณระฆังแก้ว เสนอเองแต่ขัดแย้งกัน อาจจะเป็นเพราะไม่เข้าใจหลักการปฏิบัติโดยตลอดจึงเสนอขัดแย้ง กันในการปฏิบัติดังนี้

    จาก การอ้างอิงด้านบน  คุณระฆังแก้ว เสนอว่า ไม่ต้องโพกัสหรือน้อมใจเพื่อมีสติรู้ลมหายใจเข้าหรือออก
    แต่ในความคิดเห็นที่ 50 คุณระฆังแก้ว กลับกล่าวว่า

     "ต่อมาเมื่อมาฝึกทำจิตว่าง มันเหมือนกับการหันมาเผชิญหน้ากับความฟุ้งโดยตรง โดยไม่มีการรู้ลมหายใจมาเป็นบังเกอร์ ทำให้เห็นจิตที่ฟุ้งง่ายขึ้น แต่ต้องยอมรับว่าในช่วงแรกของการฝึกจะเหมือนการบังคับจิตไม่ให้คิดไม่ให้ฟุ้ง แต่พอชำนาญจะเป็นไปโดยธรรมชาติ"

      ซึ่งคุณระฆังแก้วกำลังเข้าใจผิดและสะเหมือนกำลังทำลาย อานาปานสติสูตร อยู่นะครับ
       แม้แต่คุณก็เสนอเองว่า ตนเองในระยะแรกก็ เหมือนบังคับจิตไม่ให้คิดไม่ให้ฟุ้ง
       แล้ว อานาปานสติ ของผู้เริ่มปฏิบัติไม่ต้องทำหรือ?

      ดีแล้วนะครับที่เข้ามาสนทนาในกระทู้ผม แต่อย่าทำอย่างนี้กับในแนวปฏิบัติอื่นหรือกระทู้อื่นนะครับ  เพราะไม่ใช่ว่า ต้องเหมือนต้องเป็นตามที่เราเป็น เราชอบไปทั้งหมด เท่านั้น นะครับ

       ขอเสนอแนะอีกอย่างหนึ่ง ควรสมัครให้เป็นสมาชิกถาวร  แล้วตั้งกระทู้ "เรื่องจิตว่าง" โดยเฉพาะก็จะดีนะครับ จะได้มีผู้เสนอความคิดได้หลากหลายครับ

 

ตอบโดย: Vicha 07 ก.พ. 51 - 08:00


   การแก้ปัญหาเมื่อเกิดฟุ้งซ้าน หรือคิดจนลืมฐานของอานาปานสติคือ การมีสติรู้ลมหายใจเข้าหรือออก  มีได้หลายวิธีเช่น

     1.ฟุ้งก็ให้มีสติรู้ตามที่ฟุ้ง  เมื่อมีสติตามทัน หรือเท่าทันการฟุ้ง หรือคิดนั้นก็จะหายไปดับไป  แล้วกลับมามีสติดูลมต่อไป
     2.ใช้วิธี ดักใจ  คือเมื่อรุ้ตัวว่าฟุ้งหรือคิดจนลืมลมหายใจ ก็เตือนตนเอง บ่อยๆ แล้วก็ค่อยมามีสติรู้ลม
     ฯลฯ.

    คงจบแค่นีก่อน ติดธุระครับ

  

ตอบโดย: Vicha 07 ก.พ. 51 - 08:17


เรียน คุณวิชาครับ

ปัจจุบันนี้ผมก็ฝึกเกี่ยวกับลมหายใจครับ
ผมพบว่าถ้าจู่ๆตอนค่ำๆถ้าผมไปดูลม เพียวๆเลยเนี่ยครับจะเกิดนิมิตของอะไรซักอย่างเหมือนอะไรซักอย่างเป็นอะไรที่แปลกๆตามประสานิมิต (คาดว่าจะเป็นนิมิตครับ)

ผมเลยทำตามเดิมที่พระท่านสอนคือนับเลข   เมื่อคืนนับเลขไปซักพักก็ทิ้งเลข
แล้วก็มาดูลม ตามตำราอานาปานฯสูตร ซึ่งผสมของพุทธทาสท่านด้วยครับ
อย่างนี้ผมจึงดูได้  นิมิตไม่มารังควาน ดูไปๆ ผัสสะลมหายใจก็ชัดขึ้น

ก็ฝึกได้ไม่ไกลอะไรนักครับ  อยากถามว่ามันสมควรหรือเปล่าครับ
หรือหากมีอุบายอะไร  อยากให้คุณวิชาช่วยแนะนำผมด้วยครับ

ตอบโดย: ธรรมชาติธรรมะ 07 ก.พ. 51 - 19:48


สวัสดีครับคุณ ธรรมชาติธรรมะ

      อุบายที่คุณธรรมชาติธรรมะ ใช้นั้น ก็ดีแล้วครับทำให้พัฒนาสติและสมาธิดีขึ้น กลับมายังฐานของลมได้ ดีขึ้น

     ผมจะเล่าอาการที่เกิดกับผมให้ฟังดังนี้
            เนื่องจากผมฝึกสติ หรือวิปัสสนามาก   เมื่อปรับฐานมามีสติรู้ลมหายใจเข้าหรือออก  ก็จะทำให้เกิดปัญหาในระยะแรก คือภาวะสองอย่าง
            1.มีสติรู้ลมได้สักพัก ก็จะเริ่มเบลอ แล้วไม่รับรู้อะไร เงียบหายไป
            2.มีสติรู้ลมได้สักพัก ก็จะเริ่มปรากฏ นิมิตขึ้นมาตลอด แล้วทิ้งสติรู้ลมหายใจ

           แต่เมื่อปฏิบัติไป ก็จะทราบว่า ถ้าเพ่งไปที่รูป(กายที่สัมผัสลม) จุดสัมผัสมาก ก็จะเกิดภาวแบบที่ 1
            ถ้ารับรู้เฉพาะที่ความรู้สึกแบบมีสติตรงความรู้สึกว่าหายใจเขาหรือออก ก็จะเกิดภาวะแบบที่ 2

           เมื่อเข้าใจการปฏิบัติแล้วฝึกได้อย่างดีพอควร เมื่อเกิดนิมิตขึ้นมา(สติทิ้งลมหายใจไปแล้ว) สติก็ตามรู้นิมิตนั้นโดยไม่ไปปรุงแต่ง ถึงจุดหนึ่งนิมิตนั้นก็จะดับ ต่อหน้าต่อตาแล้วมามีสติรับรู้ที่หายใจเข้าออก ตามปกติ
            แล้วถ้าเกิดภาวะการเบลอไม่รับรู้อะไร เหมือนอยู่ในภวงค์ลากยาวติดต่อกัน สติก็จะติดตามรู้ภาวเบลอนั้น เมื่อถึงจุดหนึ่งก็จะแน่นิ่งแล้วดับไปทันที แล้วมีสติรับรู้หายใจเข้าหรือออกทันที มีปิติสุขเบาๆ  ความสว่างเบาเกิดขึ้น

             คือหมายความว่า เมื่อฟุ้งในนิมิต  หรือเข้าภวงค์ลากยาวติดต่ออยู่  เมื่อภาวะนั้นดับ ก็จะมามีสติรู้ลมหายใจเข้าหรือออก โดยไม่แวะไปรับรู้ที่อื่นก่อนเลย  แต่สักพักหลังจากนั้นก็เป็นเรื่องปกติ อาจจะแวบไปคิดโน้นคิดนี้บ้าง ไปพิจารณาอย่างโนนอย่างนี้บางเป็นเรื่องธรรมดา แต่สติก็ยังรับรู้หายใจเข้าหรือ ออกอยู่ ผสมผสานอยู่.



 

ตอบโดย: Vicha 08 ก.พ. 51 - 10:16


ขอกลับมาตอบปัญหาคาใจของ พี่ Vicha นะคับ เนื่องจากปัญหาเกิดจากการที่ผมอาจจะพิมพ์อะไรสั้นเกินไป จนเกิดการตีความคำพูดของผมผิดไปได้ผมจึงขอใช้พื้นที่ในกระทู้นี้ในการตอบนะคับ
1 ผมไม่ได้บอกนะคับว่าให้ทำจิตว่างเพียงอย่างเดียว แต่ผมบอกว่าถ้าทำจิตว่างแล้วละนิวรณ์ได้หมดก็สามารถเข้าสู่ฌาณได้ ซึ่งแน่นอนไม่ได้อยุ่ในอาณาปานสติสูตร แต่อยู่ในพระสูตรอื่นๆซึ่งจะพูดต่อไป แต่ถ้าทำจิตว่างแล้วลดนิวรณ์ลงได้แต่ไม่หมด ก็สามารถนำกรรมฐานอื่นๆมาใช้ต่อได้ เช่น อานาปานสติ หรืออาจเป็นกสิณ ซึ่งผมเห็นว่าวิธีนี้อาจจะมีประโยชน์สำหรับบางคนจึงได้นำเสนอไว้  ซึ่งผมก็บอกไปแล้วในกระทู้ที่ 50 ทำไมพี่ Vicha ไม่เห็นเอามาอ้างถึงละคับ ทำไมอ้างแต่อันที่พี่ตีความผิดไปอย่างเดียวละคับ แต่ถ้าใครสามรถทำอานาปานสติแล้ว่ไม่เกิดปัญหาเลย ก็ให้เจริญให้มากคับ เพียงแต่ผมก็เตือนไว้ในตอนท้ายนะคับว่า ไม่ว่ากรรมฐานใดๆก็เหมือนกับเรือที่จะนำเราข้ามฟาก อย่าไปยึดมั่นจนเกินไป ที่เตือนก็เพราะกลัวว่าบางคนพอติดในกรรมฐานใดๆมากเกินไป เวลาจะเจริญวิปัสสนาจะทำให้ทำยากเพราะจิตติดอยู่แต่กรรมฐานนั้นๆคับ ไม่ได้มีเจตนาจะทำลาย อานาแนสติแต่อย่างใด

2 อ้างจากกระทู้ที่ 25 ของพี่ Vicha นะคับเมื่อ  "มีสติมั่นเฉพาะหน้า"  ดังพุทธพจน์  กายที่นั่งกรรมฐานอยู่ย่อมปรากฏชัด(แล้วแต่ละบุคคลที่ทราบชัดร่างกายส่วนใหนมากกว่ากันในช่วงที่นั้งอยู่)  แต่ส่วนที่ชัดที่สุดคือ บริเวณหน้า อย่างหนีไม่พ้น....
ซึ่งผมถามเป็นเชิงความเห็นนะคับ ว่า มีสติมั่นเฉพาะหน้า ผมแปลความว่า มีสติกับการที่จะทำสมาธิเฉพาะหน้า ไม่ส่งจิตไปยังเรื่องอื่นๆ เพราะพอคนเราน้อมเอาสติมาอยู่กับสิ่งที่กำลังกระทำอยู่ตรงหน้า ก็ย่อมเห็นกายชัดอย่างแน่นอน  ซึ่งผมก็ถามด้วยความไม่เข้าใจนะคับเพราะว่าพี่เขียนเหมือนกับว่า คำว่าหน้า ในพุทธพจน์ หมายถึงใบหน้านะคับ แต่ผมคิดว่าหมายถึงเฉพาะเบื้อหน้านะคับ
 เพราะผมไปอ่าน สามัญผลสูตร ที่อาจารย์ปราโมทย์ท่านนำมาตอบคำถามในนิตยสารธรรมะใกล้ตัวนะคับ ใจความว่า
[๑๒๕] ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรียสังวร
สติสัมปชัญญะและสันโดษอันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว
ย่อมเสพเสนาสนะ อันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา
ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง
ในกาลภายหลังภัต เธอกลับจากบิณฑบาตแล้ว
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า
เธอละความเพ่งเล็งในโลก มีใจปราศจากความเพ่งเล็งอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้
ละความประทุษร้ายคือพยาบาท ไม่คิดพยาบาท
มีความกรุณาหวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือพยาบาทได้
ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ
มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง
มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้ ละอุทธัจจะกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจะกุกกุจจะได้
ละวิจิกิจฉาแล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา
ไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้.


***เราจะเห็นได้ว่า พระองค์ไม่ได้สอนให้เข้าฌานเพื่อข่มนิวรณ์
แต่ในขั้นเริ่มต้นปฏิบัติธรรมกรรมฐานนั้น
ท่านแนะนำให้ภิกษุพิจารณานิวรณ์ในจิตของท่าน

ถ้าพูดด้วยภาษาที่พวกเราในลานธรรมคุ้นเคยก็คือ
ทรงสอนให้ผู้ปฏิบัติดูจิตหรือสังเกตจิตใจตนเอง
เมื่อพบนิวรณ์ รู้ว่านิวรณ์มีโทษ นำทุกข์มาให้
จิตก็จะสลัดนิวรณ์ทิ้งเสีย
แล้วเข้าถึงความปราโมทย์ คือมีความร่าเริงยินดีอยู่ในจิตใจ
เมื่อจิตมีความเบิกบานแล้ว เบาสบายแล้ว จึงค่อยทำสัมมาสมาธิต่อไป***
ในดอกจันเป็นข้อความของอาจารย์ปราโมทย์คับ

รูปฌาน ๔
     [๑๒๗] เมื่อเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ที่ละได้แล้วในตน
ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ
เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ
เธอมีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น.

เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่วิเวก
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
ที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง

     ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน
หรือลูกมือพนักงานสรงสนานผู้ฉลาด
จะพึงใส่จุรณ์สีตัวลงในภาชนะสำริด แล้วพรมด้วยน้ำ หมักไว้
ตกเวลาเย็นก้อนจุรณ์สีตัวซึ่งยางซึมไปจับติดกันทั่วทั้งหมด
ย่อมไม่กระจายออก ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล
ทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่วิเวก
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
ที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง
ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า
ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.

     [๑๒๘] ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง
ภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน
เป็นธรรมเอก (เอโกทิภาวะ) ผุดขึ้น
เพราะวิตก วิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
เธอทำกายนี้แหละ ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง.
ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนห้วงน้ำลึกมีน้ำปันป่วน
ไม่มีทางที่น้ำจะไหลมาได้ ทั้งในด้านตะวันออก
ด้านใต้ ด้านตะวันตก ด้านเหนือ
ทั้งฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล แต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้นแล้ว
จะพึงทำห้วงน้ำนั้นแหละให้ชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็น
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมด ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้องฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้แหละ
ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง
ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์
ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.

     [๑๒๙] ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง
ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข
เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขอันปราศจากปีติ
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง
ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง
หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง
หรือดอกบัวขาว บางเหล่าซึ่งเกิดในน้ำ
เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้
ดอกบัวเหล่านั้น ชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็นตลอดยอด ตลอดเง่า
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง
หรือดอกบัวขาว ทั่วทุกส่วน ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น
เอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง
ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์
ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.

     [๑๓๐] ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง
ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง
ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงนั่งคลุมตัวตลอดศีรษะด้วยผ้าขาว
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายทุกๆ ส่วนของเขา
ที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล
เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง
ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์
ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.


***************************************

มีสิ่งที่พวกเราควรศึกษาพระสูตรส่วนนี้
ด้วยความเคารพและเบิกบานอยู่หลายจุด
นับตั้งแต่การที่ท่านสอนให้เรารู้นิวรณ์ จนนิวรณ์ดับไป
เมื่อนิวรณ์อันเป็นข้าศึกของสมาธิดับไปแล้ว
จิตก็จะเกิดสมาธิขึ้นโดยง่าย
นับตั้งแต่เกิดปีติสุข แล้วเกิดธรรมอันเอกหรือเอโกทิภาวะ
ถัดจากนั้นอารมณ์ก็ประณีตเข้าตามลำดับ
คือปีติดับไป สุขดับไป เช่นเดียวกับที่นิวรณ์ดับไปเมื่อถูกรู้นั่นเอง
จนเหลือจิตที่เป็นอุเบกขา มีสติรู้อารมณ์ที่เป็นอุเบกขา
สติสัมปชัญญะก็แนบแน่นมั่นคงเข้าตามลำดับ
อันเป็นเครื่องมือสำคัญของการเจริญวิปัสสนาต่อไป


ซึ่งจากพระสูตรนี้คำว่าหน้า น่าจะหมายถึงสติกับการกระทำที่อยุ่ณปัจจุบันเบื้อหน้ามากกว่าใบหน้านะคับ และก็จะเห็นว่าจากพระสูตรเราสามารถเข้าฌาณได้เพราะการละนิวรณ์ ซึ่งท่านยังไม่ได้ลงรายละเอียดว่าเป็นกรรมฐานใด ดังนั้นการละนิวรณ์เพราะพิจารณาว่านิวรณ์เป็นของไม่ดีนั้น ก็ทำให้เข้าสู่ฌาณได้คับ
แต่ที่พระพุทธเจ้าท่านยกย่อง อาณาปานสตินั้นเนื่องจากเป็นกรรมฐานใหญ่ที่จะนำไปสู่การเจริญวิปัสสนาได้ด้วยและอีกมากมายตามที่พี่ Vicha ได้นำมาโพสไว้ก่อนแล้ว

3 แสดงความคิดเห็นต่อจากกระทู้ที่ 51 คับ ว่าจริงคับที่จิตว่างไม่อาจทำได้ตลอดเวลา และไม่เป็นไปเพื่อเกิดปัญญา แต่สามารถนำมาเป็นพื้นฐานในการเจริญวิปัสนาได้ โดยเฉพาะในหมวดจิตตานุปัสสนา เนื่องจากการที่เราทำจิตว่างได้ จะทำให้จิตรู้จักภาวะว่าง ดังนั้นเมื่อเกิดจิตอื่นๆขึ้นมา เช่น จิตกุศล จิตอกุศล ก็จะสามารถมีสติตามรู้ได้ทันคับ

ต้องขอโทษคนอ่านกระทู้ทุกท่านนะคับ ว่าอาจจะทำให้สับสน เพราะผมตอบอะไรสั้นเกินไป และก็ขอบอกตรงนี้นะคับว่าไม่ได้มีเจตนาทำลาย อานาปานสติแต่อย่างไร เพียงแต่อยากจะเอาความรู้ที่พอมีที่ได้ตรวจสอบจากพระสูตรมาแล้วและผ่านการปฏิบัติมาบ้าง มาแนะนำ เผื่อว่าวิธีการนี้จะช่วยทำให้ทำอานาปานสติได้ดีขึ้นคับ

ผมฝากถึงพี่ Vicha นะคับ ผมรู้สึกแต่ไม่รู้ว่าคิดเองป่าว ว่าพี่ตอบคำถามต่างๆด้วยอารมณ์นะคับ ไม่ได้เฉพาะของผมนะ แต่ของคนอื่นก็ด้วยเพราะผมอ่านทุกคำถามคำตอบในกระทู้นี้ทั้งหมด ผมอยากให้พี่ใช้คำที่นุ่มนวลกว่านี้ก็ดีคับ
ผมเองก็เป็นคนสนใจธรรมะคนหนึ่งละก็คาดหวังให้ผุ้ฝึกคนอื่นๆฝึกได้อย่างถูกทางเช่นกัน ซึ่งก็คงเหมือนพี่ ผมว่าเราน่าจะใช้ความคิดเห็นของหลายๆฝ่ายมาร่วมด้วยช่วยกันดีกว่าคับ

ตอบโดย: ระฆังแก้ว 08 ก.พ. 51 - 14:56


 อ้างอิง
    ดูกรภิกษุทั้งหลายสมัยใด  เมื่อภิกษุหายใจ ออกยาว  ก็รู้ชัดว่า  หายใจออกยาว  หรือเมื่อหายใจเข้ายาว  ก็รู้ชัดว่า  หายใจเข้ายาว  เมื่อหายใจออกสั้น  ก็รู้ชัดว่า  หายใจออกสั้นหรือเมื่อหายใจเข้าสั้น  ก็รู้ชัดว่า  หายใจเข้าสั้น  สำเหนียกอยู่  ว่าเราจักเป็นผู้  กำหนดรู้กองลมทั้งปวง  หายใจออก  ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า


       ตรงกำหนดรู้กองลมทั้งปวงนี่หมายถึงกายทั้งตัวใช่รึเปล่าครับ
-----------------

         ตรงนี้ผมพิจารณาว่า ไม่ได้หมายถึงกายทั้งตัว ครับ  แต่หมายถึงรู้กองลมที่กระทบเข้ากระทบออก ยาวหรือสั้นครับ


เห็นคำตอบเกี่ยวกับกองลมทั้งปวงของคุณ vicha แล้วอดไม่ได้ต้องเข้ามาร่วมสนทนาด้วย

ขอความรู้ในความเข้าใจของคุณ wit,vicha เรื่อง

 1. หายใจเข้าไปในกายทั้งตัวหมายความว่าอย่างไร หมายถึงลมหายใจแผ่ช่านไปทั่วตัวตั่งแต่ศรีษะจรดปลายเท้าตลอดทุกขุมขนทั่วตัวหรือเปล่า หรือเป็นแบบอื่น
 
2. พระพุทธเจ้าแบ่งระดับสติเป็น 3 ระดับ
    คือ  1. รู้จริง
          2. รู้ชัด
          3. รู้ยิ่ง

ขอความกระจ่างในความหมายหน่อยครับ

ตอบโดย: พลังไฟ 08 ก.พ. 51 - 15:07


  ตอบคุณ ระฆังแก้ว
       ความคิดเห็นที่ 52 ที่ผมพิมพ์นั้น ไม่น่าจะมีอารมณ์ กับคุณระฆังแก้วมากนะครับ เพียงแต่เหตุและผลที่ผมเสนออาจจะมี ความไม่ถูกใจคุณระฆังแก้ว เท่านั้นนะครับ

        แต่ภายหลังผมอาจจะมีอารมณ์ เพราะผมเกิดไปใช้เครื่องที่แฟนกำลังใช้อยู่ เพื่อมาสนทนาในกระทู้นี้ใช้เวลานานไป แล้วขัดใจกัน หลังจากตอบคุณระฆังแก้วจบไปแล้ว... (ก็ไม่เกี่ยวกับคุณระฆังแก้วอยู่ดี)

    ดังนั้นอารมณ์ที่คุณเห็นว่า .... นั้น  เกิดจากสาเหตุใด คงไม่ใช่จากผมล้วนๆ นะครับ

      ผมก็เสนอแนะแล้วว่าถ้าจะ สนทนาเรื่อง "จิตว่าง"  ควรตั้งกระทู้ใหม่นะครับ

      และเรื่อง "ฌาน"   เพียงประมาณร้อยปีมานี้เองที่กระแสสังคมของผู้ปฏิบัติหรือศึกษากล่าวว่า "ฌาน" ไม่ดี   โดยเหมารวมไปในเรื่องของ "ฌาน" ในอานาปานสติด้วย

      ซึ่งความจริงนั้น "ฌาน" ที่เป็น "สัมมาสมาธิ" นั้น พระพุทธเจ้าก็สรรเสริญอยู่ในพระไตรปิฎกอย่างมากมาย..

       คุณระฆังแก้วไปศึกษาให้ดีๆ นะครับ  (ประโยคนี้ผมกลัวจริง เดียวคุณระฆังแก้วคิดว่าผมใช้อารมณ์อีก)
     
      ครับถือว่าคุณระฆังได้ เสนอความคิดเห็นแล้วในความความคิดเห็นที 56 ส่วนถ้ามีความต้องการเสนอแนวคิด หรือประสบการณ์ที่คิดหรือเห็นว่าดีแล้ว ก็ตั้งกระทู้ขึ้นเองโดยเฉพาะได้ครับ

 

ตอบโดย: Vicha 08 ก.พ. 51 - 16:06


  สวัสดีครับคุณพลังไฟ

อ้างอิง
1. หายใจเข้าไปในกายทั้งตัวหมายความว่าอย่างไร หมายถึงลมหายใจแผ่ช่านไปทั่วตัวตั่งแต่ศรีษะจรดปลายเท้าตลอดทุกขุมขนทั่วตัวหรือเปล่า หรือเป็นแบบอื่น
 
2. พระพุทธเจ้าแบ่งระดับสติเป็น 3 ระดับ
    คือ  1. รู้จริง
          2. รู้ชัด
          3. รู้ยิ่ง

ขอความกระจ่างในความหมายหน่อยครับ


   ตอบข้อที่ 1   วิธีนี้ผมใช้เพียงไม่กี่ครั้งเองครับ  และเมื่อเห็นว่าไม่ได้เป็นไปตามภาวะของความเป็นจริงของลมหายใจ ผมจึงเห็นว่าผมไม่สมคารทำอีกครับ
        จึงเหลือแต่ เมื่อหายใจเข้า บางครั้งสติรู้เต็มทั้งตัวที่นั่งอยู่ ก็มีสติรู้ตามสภาวะความจริงนั้นครับ หรือบางครั้งถ้าเกิดเบลอแบบ งวงหาวนอน ก็สูดลมหายใจลึกให้มีสติทั้งร่างกาย เพื่อสลัดความ งวงหาวนอน ครับ แต่ถ้าไม่ใหวก็ อาจเปลี่ยนอริยาบท หรือนอนเสียครับ

   ตอบข้อที่ 2  ตรงนี้ผมยังไม่ได้ไปศึกษาหรือพบพุทธพจน์จริงเลยครับ

     แต่ปัญญารู้ นั้นมีในพระอรรถกถา แบ่งเป็น 3 ระดับคลายกันกับที่คุณพลังไฟยกมา
         คือ  1. รู้จริง
               2. รู้ชัด
               3. รู้ยิ่ง

      ท่านเปรียบเทียบอุปมาปมัยดังนี้    เปรียบเสมือนการรู้จักเหลียญกษาปณ์

           1.รู้จริง  ก็คือรู้ว่า เหลียญกษาปณ์นี้ของแท้หรือไม่แท้
           2.รู้ชัด   ก็คือรู้ว่า เหลียญกษาปณ์เป็นของแท้หรือไม่แท้ ผลิตจากที่ใหน? เมื่อไหร่?
           3.รู้ยิ่ง    ก็คือรู้ว่า เหลียญกษาปณ์เป็นของแท้หรือไม่แท้ ผลิตจากที่ใหน เมื่อไหร่ ประกอบด้วยธาตุอะไร และผลิตอย่างไร

      ครับผมได้ตอบตามที่ถามและที่รู้นะครับ

 

ตอบโดย: Vicha 08 ก.พ. 51 - 16:27


ขอบคุณ คุณวิชาที่เอื้อความรู้ครับ

ตอบโดย: ธรรมชาติธรรมะ 10 ก.พ. 51 - 20:40


มีข้อเรียนถาม คุณวิชาสำหรับพระสูตรหรือครูบาอาจารย์ท่าน
ท่านกล่าวว่า หายใจออกก่อน สบาย

ทีนี้ธรรมดาว่าเวลาผมจะดูลมเนี่ยก็ตั้งลมหายใจเข้าก่อน
แล้วจะหายใจออกก่อนได้อย่างไรครับ  จะเป็นการบังคับกำหนดหรือเปล่าครับในเบื้องต้น

 

ตอบโดย: ธรรมชาติธรรมะ 10 ก.พ. 51 - 20:46


ตอบพี่ Vicha คับ
อ่านตอบกระทู้ของพี่คราวนี้รู้สึกถึงกระแสเย็นจากพี่จิงๆ ผมก็ว่าทำไมอ่านของพี่คราวก่อนมันรู้สึกถึงกระแสร้อนๆออกมากชอบกล ส่วนประโยคนั้นผมไม่โกรธแน่นอนคับ เพราะรู้สึกได้ถึงความหวังดีจากพี่คับ ผมก็จะคอยติดตามผมงานและออกความเห็นตามที่พอรู้นะคับ
ส่วนเรื่องที่บอกว่า ฌาณไม่ดีนั้น ผมคิดว่าถ้าเป็นสัมมาสมาธินั้นดีแน่นอน แต่ที่ผมกลัวว่าจะไม่ดีก็น่าจะเป็น การยึดติดในองค์ฌาณมากเกินไปนะคับ ซึ่งก็คงไม่จัดเป็นสัมมาสมาธิคับ
......สมัครสมาชิกถาวรนี่ทำยังงัยคับ ผมไม่รู้มาก่อนเลยว่ามีสมาชิกหลายแบบ หรือว่าผมไปอ่านได้จากส่วนไหนของเวปคับ..

ตอบโดย: ระฆังแก้ว 10 ก.พ. 51 - 23:13


อ้างอิง
1. หายใจเข้าไปในกายทั้งตัวหมายความว่าอย่างไร หมายถึงลมหายใจแผ่ช่านไปทั่วตัวตั่งแต่ศรีษะจรดปลายเท้าตลอดทุกขุมขนทั่วตัวหรือเปล่า หรือเป็นแบบอื่น
 
2. พระพุทธเจ้าแบ่งระดับสติเป็น 3 ระดับ
    คือ  1. รู้จริง
          2. รู้ชัด
          3. รู้ยิ่ง

ขอความกระจ่างในความหมายหน่อยครับ


ตอบ ข้อ 1

ตามปกติแล้วในร่างกายคนเราจะมีธาตุลมอยู่ด้วยน่ะครับ แต่สิ่งสำคัญก็คือตัว สติ ว่าจะไประลึกรู้ที่ส่วนใดบ้าง อย่างที่ผมแนะนำก็คือให้เราเอาสติมากำหนดดูกายทั้งตัวไปเลยตั้งแต่แรก แล้วค่อยตามระลึกรู้ลมหายใจที่เข้าออกในกาย ส่วนความรู้สึกที่แผ่ซ่านไปทั่วร่างกายนั้นเราก็ต้องสังเกตครับ ว่าเป็นชีพจรที่เต้น ลมหายใจละเอียด(ธาตุลมตามส่วนต่างๆในร่าง) หรือว่าเป็นอารมณ์ต่างๆ(เช่นปีติ)

ในร่างกายคนเรานี้ก็มีอยู่หลายๆสิ่งปะปนกันอยู่ เหมือนแก้วน้ำที่มีน้ำสีสรรต่างๆผสมปนเปกันอยู่ ขึ้นอยู่ที่แต่ละคนว่าจะสามารถใช้สติแยกแยะความแตกต่างของสีต่างๆเหล่านั้นให้แยกออกจากกันได้หรือไม่อย่างไร(ตามปกติคนเราจะมองไปที่สีโดยรวมที่ผสมกันแล้วเป็นกลุ่มก้อนเป็นอัตตาตัวตน แต่ถ้าสามารถแยกออกได้ว่าในตัวตนนี้ประกอบด้วยสิ่งใดบ้างก็จะทราบดีถึงความไม่เที่ยง ไม่เป็นตัวตน หรือ อนัตตา น่ะครับ)

ตอบข้อ 2

ขอตอบเป็นความหมายในเชิงที่เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมตามความเข้าใจของตนเองนะครับ(คาดว่าคุณพลังไฟก็คงต้องการทราบคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้)

รู้จริง ก็คือ รู้เข้าใจในสิ่งนั้นๆตามความเป็นจริงว่าเป็นอย่างไร ถ้าเป็นเรื่องของการปฏิบัติธรรมก็เช่น รู้จักความหมายของขันธ์ 5 รู้การทำงาน รู้ว่าขันธ์ 5 เกิดมาจากอะไร ดับไปเพราะสาเหตุใด รู้จักทุกข์ เหตุของทุกข์ ความดับทุกข์ และวิธีปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ตามความเป็นจริง  ถูกต้องตามหลักน่ะครับ ซึ่งตรงจุดนี้อาจจะไม่จำเป็นว่าผู้ปฏิบัติจะต้องลงมือปฏิบัติแล้วเข้าถึงสภาวะเหล่านั้นด้วยตนเองก็ได้ เพียงแต่ทราบทฤษฎีที่ถูกต้องเท่านั้น

รู้ชัด ก็คือ เริ่มเข้าสู่กระบวนการปฏิบัติ โดยเอาสติกำหนดรู้และพิจารณาตามบทบาทหน้าที่ในแต่ละเรื่อง ตามหลักทฤษฏีที่ได้ทราบ จนเกิดเป็นสภาวะธรรมมีประสบการณ์การปฏิบัติโดยตรงเกิดขึ้น เช่น ถ้ากล่าวถึงสมาธิก็สามารถฝึกจิตจนมีประสบการณ์จิตน้อมเข้าสู่ความสงบระงับวิตกความคิดดับไปได้จริง มิใช่แค่ทราบว่าอาการของสมาธิเป็นอย่างไร เป็นต้น แต่กรณีนี้ผู้ปฏิบัติอาจจะกำลังอยู่ในระหว่างการปฏิบัติจึงยังไม่แทงตลอดในทฤษฎีทางธรรมทั้งหมดที่ตนทราบ เพียงแค่รู้จริงรู้ชัดในสิ่งที่ตนกำลังปฏิบัติและเข้าถึงได้เท่านั้น

รู้ยิ่ง ก็คือ ผู้ปฏิบัติสามารถปฏิบัติธรรมจนแทงตลอดในธรรมทั้งหมดจนครบกระบวนความตลอดสาย ตามหลักทฤษฎีที่ตนได้ทราบมา เป็นการสิ้นสุดของการรู้จริงและรู้ชัดนั่นเองครับ

ตอบโดย: wit 11 ก.พ. 51 - 00:41


ขอบคุณในคำตอบของคุณ vicha และคุณ wit เพื่อความกระจ่างเพราะ อานาปานสติ
เป็นของสำคัญยิ่ง


     ผมเรียนถามคุณ vicha และคุณ wit ถึงการระลึกคือสติเพราะบางทีครูบาอาจารย์
บอกให้ระลึกที่เส้นผมหรือฟันทุกคนก็ระลึกได้แต่การระลึกก็มีหลายระดับผมขอเรียนถาม
ว่าถ้าให้ระลึกที่ฟันบนและฟันล่าง คุณ vicha และคุณ wit ระลึกได้แบบใหน
 

ตอบโดย: พลังไฟ 11 ก.พ. 51 - 08:57


ตอบคุณ ธรรมชาติธรรมะ
         การกำหนดหายใจออกก่อนหรือเข้าก่อนนั้น อยู่ที่การฝึกหรือหัดปฏิบัติครั้งแรกครับ แล้วจนกลายเป็นความเคยชิน

        ส่วนสำหรับผม การฝึกปฏิบัติครั้งแรกของอานาปานสตินั้นไม่มีครูบารอาจารย์ พอเริ่มกำหนดบางครั้งก็เข้าก่อน บางครั้งก็ออกก่อน  แต่ส่วนมากจะเป็นการหายใจเข้าก่อน เพราะเมื่อมีสติน้อมสู่ตัว ก็เป็นช่วงหายใจเข้าเสียมากกว่าครับ

       สังเกตอย่างนี้ก็ได้ในภาวะปกติทั่วๆ ไป เมื่อหายใจเข้าสติจะไปรู้ช่วงลำตัว  เมื่อหายใจออกสติจะไปรู้ชัดที่ช่วงหน้า

 

ตอบโดย: Vicha 11 ก.พ. 51 - 09:13


ตอบคุณ ระฆังแก้ว   ยินดีด้วยครับที่คุณระฆังแก้วเข้าใจที่ผมพิมพ์

             ส่วนในยุคปัจจุบันนี้ไม่ต้องกลัว เรื่องจะมีผู้หลงหรือติดฌาน  ยกเว้นผู้ฝึกกระสิน หรือเรื่องฤทธิต่างๆ
             ส่วนอานาปานสติ นั้นจะกล่าวว่าเป็นการหลงหรือติดฌานนั้นหาได้ไม่  เพราะเมื่อปฏิบัติอย่างถูกต้องทั้ง 16 วัตถุ ฌานก็จะเลือนขึ้นไปตามลำดับขั้นเองเป็นธรรมชาติ เป็นสัมมาสมาธิล้วนๆ  โดยที่ไม่ต้องไปจงใจว่าต้องให้เกิดฌานหรือเพ่งให้เกิดให้ได้ ต่างกับกระสินมากนัก

             ส่วนการสมัครเป็นสมาชิกถาวร ผมรู้สึกว่าจะอยู่ในกฏระเบียบของทางลานธรรม มีการพิมพ์แนะนำไว้แล้วในเว็ป ลองหาดูนะครับ

                 

ตอบโดย: Vicha 11 ก.พ. 51 - 09:30


ตอบคุณ หนุมพลังไฟ

      การระลึก หรือการมีสติไปรู้กายโดยเฉพาะนั้น ไม่ใช่เป็นการปฏิบัติแบบอานาปานสติ แต่เป็นกรรมฐานอีกหมวดหนึ่ง คือ กายคตาสติ เช่น

      การพิจารณา  ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง

   คือ เมื่อภาวนา(ท่องคำภาวนา)ว่า ผม สติก็จะไปสำนึกรู้ที่ ผม
        เมื่อภาวนาว่า  ขน สติก็จะไปสำนึกรู้ที่ ขน บนร่างกาย
        เมื่อภาวนาว่า  เล็บ สติก็จะไปสำนึกรู้ที่ เล็บ
        เมื่อภาวนาว่า  ฟัน สติก็จะไปสำนึกรู้ที่ ฟัน
        เมื่อภาวนาว่า หนัง สติก็จะไปสำนึกรู้ที่ หนัง ที่หุ้มร่างกาย

     ต่อไปเมื่อสติและสมาธิ ละเอียดขึ้น ก็จะเป็นเรื่องแล้วแต่ผู้ปฏิบัติจะไประเอียดชัดตรงส่วนใหน  หรือเกิดนิมิตขึ้นในส่วนใด ก็เอาส่วนนั้นเป็นฐานต่อไป จนถึง ปฐมฌาน แล้วต่อด้วยการพิจารณาเป็นไตรลักษณ์ ขึ้นสู่วิปัสสนากรรมฐาน พิจารณากายในกาย..

 

ตอบโดย: Vicha 11 ก.พ. 51 - 09:42


ขอบคุณคุณ vicha
  
       เมื่อภาวนาว่า  ฟัน สติก็จะไปสำนึกรู้ที่ ฟัน

 สติไประลึกรู้ที่ฟัน รู้อย่างไร ในการระลึกรู้ของคุณ vicha
 รู้เป็น นิมิตเป็นรูปฟัน
หรือ   สติสัมปชัญญะ ไปสัมผัส เป็นรูปกลุ่มก้อนของฟัน
หรือ   สติสัมปชัญญะ  ไปสัมผัสเหมือน เอามือจริงๆ ไปลูบที่ฟันก้อนฟันบนหรือฟันล่าง
หรือ   สติสัมปชัญญะ  ไปสัมผัสเหมือน เอามือจริงๆ  ไปลูบหรือสัมผัสจริงๆ ที่ฟันที่ละซีกจนหมดปาก
หรือ   สติสัมปชัญญะ  ไปสัมผัสเหมือน เอามือจริงๆ  ไปลูบหรือสัมผัสจริงๆ ที่เฉพาะด้านหน้าของฟันทีละซีก ด้านหลังของฟันทีละซีก

เรื่องกายก็เป็นเรื่องสำคัญ ถ้าพื้นฐานไม่ดี อานาปานสติก็เหมือนท่องจำ (ลมหายใจก็เป็นกายเหมือนกัน)



 

ตอบโดย: พลังไฟ 11 ก.พ. 51 - 10:18


อ้างอิง (ธรรมชาติธรรมะ @ 10 ก.พ. 51 - 20:46)
ทีนี้ธรรมดาว่าเวลาผมจะดูลมเนี่ยก็ตั้งลมหายใจเข้าก่อน
แล้วจะหายใจออกก่อนได้อย่างไรครับ  จะเป็นการบังคับกำหนดหรือเปล่าครับในเบื้องต้น

หายใจเข้า.....กลั้นลมหายใจนิดนึง.....แล้วเริ่มปล่อยลม.....ออก.....เข้า.....ออก.....เข้า.....

พอชำนาญแล้วตรงสีแดงก็ไม่จำเป็นแล้วครับ

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 11 ก.พ. 51 - 10:58


 อ้างอิง
ผมเรียนถามคุณ vicha และคุณ wit ถึงการระลึกคือสติเพราะบางทีครูบาอาจารย์
บอกให้ระลึกที่เส้นผมหรือฟันทุกคนก็ระลึกได้แต่การระลึกก็มีหลายระดับผมขอเรียนถาม
ว่าถ้าให้ระลึกที่ฟันบนและฟันล่าง คุณ vicha และคุณ wit ระลึกได้แบบใหน

ปกติผมไม่ได้ทำกรรมฐานด้วยการเอาฟันเป็นกรรมฐานสักเท่าไหร่ พอมีคำถามก็เลยทดลองกำหนดจิตดู ก็คงตอบได้แค่งูๆปลาๆนะครับ การกำหนดดูฟันที่ผมทำก็คือเอาสติไประลึกรู้ที่ฟัน พอระลึกรู้ไปความจดจ่อของเราก็จะอยู่ที่นั่น เหมือนเราเอาความรู้สึกไปค้างไว้ที่จุดนั้น พอนิ่งไปสักพักก็เหมือนกับว่าเราจะมีจินตนาการเห็นภาพฟันกับเหงือกปรากฏขึ้นมาในหัวของเราลางๆ(ยังไม่ชัดเจนเท่าไหร่)

ในขณะนั้นความนึกคิดการพิจารณาของเราก็จะเกี่ยวข้องกับฟัน โดยมีทั้งสัญญาความทรงจำเก่าๆเกี่ยวกับฟันเกิดขึ้น รวมถึงมีการพิจารณาถึงลักษณะฟันในปัจจุบันชัดเจนขึ้น เนื่องจากเราอาจจะไม่เคยสังเกตฟันอย่างจริงๆจังๆน่ะครับ พอกำหนดจิตไปดูนานๆเข้าก็เหมือนจะรู้จักรายละเอียดของฟันชัดเจนขึ้นมาในขณะนั้น

พอนิ่งจดจ่อใคร่ครวญกับฟันอยู่ได้สักพัก ความคิดก็จะเริ่มเบาบางลง ลมหายใจก็ค่อยๆหายใจเข้าออกสั้นและช้าลงเรื่อยๆ(คือขณะที่จิตจดจ่ออยู่กับฟันเราก็รับรู้ถึงอาการหายใจเข้าออกไปด้วยได้น่ะครับ) ความสงบจะค่อยๆแผ่กระจายเอิบอาบไปทั่วกาย และอาการกระวนกระวายหรืออาการปวดเมื่อยต่างๆของกายก็จะค่อยๆสงบระงับไปด้วยเช่นกันครับ


ในพระสูตรก็มีเรื่องราวที่ท่านลกุณฏกภัททิยะ พระอรหันต์ผู้เลิศในด้านมีเสียงไพเราะ ท่านได้ถือเอานิมิตของฟันหญิงสาวผู้หนึ่งมาเป็นอารมณ์พิจารณาจนได้บรรลุพระอนาคามีเหมือนกันครับ

กำเนิดเป็นภัททิยะในสมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้า

ครั้งพระศาสดาของเรา ท่านมาบังเกิดในตระกูลที่มีโภคะสมบัติมากในกรุงสาวัตถี พวกญาติขนานนามของท่านว่า ภัททิยะ ท่านเจริญวัยแล้ว แต่มีรูปร่างไม่น่าเลื่อมใส มีวรรณะไม่งาม ไม่น่าดู ค่อม วันหนึ่งเมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในเชตวันมหาวิหาร ท่านพร้อมด้วยอุบาสกไปพระวิหาร ฟังพระธรรมเทศนาแล้วเกิดศรัทธา ได้บรรพชาอุปสมบทแล้วแล้วรับกรรมฐานในสำนักของพระศาสดา เจริญวิปัสสนาบรรลุโสดาปัตติผลแล้ว  เป็นพหูสูต เป็นพระธรรมกถึกแสดงธรรมแก่คนเหล่าอื่นด้วยเสียงอันไพเราะ

ครั้นในวันมหรสพวันหนึ่งหญิงคณิกาคนหนึ่งนั่งรถไปกับพราหมณ์คนหนึ่ง เธอมองเห็นพระเถระเข้าจึงหัวเราะจนเห็นฟัน พระเถระถือเอานิมิตในกระดูกฟันของหญิงนั้นแล้วทำฌานให้เกิดขึ้น กระทำฌานนั้นให้เป็นบาท เจริญวิปัสสนาได้เป็นพระอนาคามี ท่านอยู่ด้วยสติเป็นไปในกายเนืองๆ


ที่มา:
http://ecurriculum.mv.ac.th/dhamma/dharma-gateway/www.dharma-gateway.com/monk/great_monk/pra-lakoon-daka-pattiya.htm

ตอบโดย: wit 11 ก.พ. 51 - 11:48


ตอบ หนุ่มพลังไฟ

             เรื่องกายคตาสติ นี้ผมก็ไม่ค่อยได้ไปปฏิบัติ เคยทำแต่ไม่มากครับ

จากที่คุณ หนุ่มพลังไฟ ถามว่า

อ้างอิง
สติไประลึกรู้ที่ฟัน รู้อย่างไร ในการระลึกรู้ของคุณ vicha
 รู้เป็น นิมิตเป็นรูปฟัน
หรือ   สติสัมปชัญญะ ไปสัมผัส เป็นรูปกลุ่มก้อนของฟัน
หรือ   สติสัมปชัญญะ  ไปสัมผัสเหมือน เอามือจริงๆ ไปลูบที่ฟันก้อนฟันบนหรือฟันล่าง
หรือ   สติสัมปชัญญะ  ไปสัมผัสเหมือน เอามือจริงๆ  ไปลูบหรือสัมผัสจริงๆ ที่ฟันที่ละซีกจนหมดปาก
หรือ   สติสัมปชัญญะ  ไปสัมผัสเหมือน เอามือจริงๆ  ไปลูบหรือสัมผัสจริงๆ ที่เฉพาะด้านหน้าของฟันทีละซีก ด้านหลังของฟันทีละซีก


    สำหรับผมนั้น สติสัมปชัญญะ ไปสัมผัส เป็น รูปกลุ่มก้อนของฟันครับ เช่นเดียวกับ ผม ขน เล็บ และหนัง ไล่กันไป เมื่อถึงจุดหนึ่ง ก็เสมือนการภาวนา หรือสติสัมผัสนั้นจะย่อแคบลง อยู่เพียงกลุ่มเดียว ทิ้งจากภาวะการรับรู้ภายนอกและร่างกายทั้งหมด วนอยู่กับองค์ภาวนา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ๆ

    ดังนั้นนิมิตที่เกิดกับผม ในเรื่องของกายคตาสติ  คือเมื่อถึงที่สุดก็ทิ้งจากการรับรู้สัมผัสต่างๆ ของร่างกาย แคบลง อยู่เพียงกลุ่มอารมณ์เดียว วนอยู่กับองค์ภาวนาเสมือนว่า เป็น ผม ขน เล็บ ฝัน หนัง ๆ   ทรงตัวอยู่อย่างนั้นโดยตลอด จนคลายตัวออกมามีสติรับรู้ร่างกายแบบปกติ

    ดังนั้นนิมิตที่เหลือที่คุณหนุ่มพลังไฟกล่าว ผมไม่เกิดขึ้นหรือเกิดแต่ผมไม่ไปสนใจจึงไม่ไปเพ่งจนเกิดเป็นนิมิตอย่างนั้น ตัดไปสู่ เอกคตารมณ์..

    ออ...  ความเป็นไตรลักษณ์ผมพิจารณาและพอเท่าทันอยู่เนื่องๆ อยู่แล้วครับ

 

ตอบโดย: Vicha 11 ก.พ. 51 - 12:41


กราบนมัสการพระรัตนตรัย ขอคารวะกัลยาณมิตรทุกท่าน ขออนุญาตเจ้าของกระทู้ และขอโอกาสสนทนาธรรมครับ

อานาปานสติเป็นเหตุปัจจัย จิตว่างไม่ใช่วิธีฝึก ถ้านำจิตว่างมาฝึก ระวังจะกลายเป็นจินตนาการ เป็นโลกแห่งมายา สุดท้ายก็เกิดการพยายามบังคับ ฝืนให้ว่าง บางคนจิตไม่ว่างทำอย่างไรก็ไม่ว่าง มีแต่เรื่องครุ่นคิดมากมาย จะไปว่างได้อย่างไรกัน จิตมันทำงานอยู่ตลอดจะไปว่างได้อย่างไรกัน มันซนอย่างกับลิง

พอมาฝึกอานาปานสตินี้ความแน่นหนามั่นคงของสมาธิจะก่อตัวขึ้นเป็นลำดับ ๆ จนกระทั่งเห็นผล คือ สติมันตามลมหายใจเข้า-ออกไปเรื่อย ๆ ตามดูไป พอตามดูไป เดี๋ยวก็เผลอจากลมหายใจไปอยู่กับเรื่องโน้นบ้าง เรื่องนี้บ้าง เลยเห็นว่าจิตนี้มันไม่ว่าง เลยต้องเอาลมหายใจมาเป็นอุบายให้สติอยู่กับลมหายใจไม่ให้สอดส่ายไปไหน แต่พอเผลอสติก็หลุดออกจากลมหายใจอีกแล้ว ไปคิดเรื่องโน้น เรื่องนี้

พอฝึกฝนนานเข้า ชำนาญขึ้น ก็รู้คุณค่าของลมหายใจ ถ้าไม่มีลมหายใจก็ตาย ฉะนั้นจึงต้องหายใจเข้าไว้ ยาวก็รู้ สั้นก็รู้ เวลาที่จิตต้องการพักผ่อนนี้ก็สามารถนำเอาอานาปานสติมาใช้เป็นเครื่องให้จิตได้สงบพักผ่อน สติก็ตามรู้ ตามดู พอออกจากอานาปานสติ ก็เข้าวิปัสสนามันจะครุ่นคิดเรื่องใดก็มีสติตามรู้ ตามดู ดูตั้งแต่กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม อะไรทำนองนั้น

จิตประกอบด้วย เจตสิก+จิตแท้ ๆ ที่เป็นเหมือนภาชนะที่รองรับอารมณ์ เจตสิกทำงาน จิตก็รับอารมณ์นั้นไปเรื่อย ๆ หาจิตให้เจอ เอาสติแนบกับจิตนั้นไว้ มันจะได้ไม่เผลอไปรับอารมณ์ที่เจตสิกมันก่อขึ้นและทำงานอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก เอาปัญญาเข้าไปบ่มสอน และบอกกับจิตตนเองว่านั้นไม่เที่ยง นี้ไม่เที่ยง เดี๋ยวมันก็วางเองนั่นแหละ ที่จริงแล้วมันเป็นการสู้กันระหว่างจิตที่เป็นธรรม กับ อธรรม หรือกิเลสมาร กับ ธรรม พอมันวางทีหนึ่งจิตก็หดตัวเข้ามาทีหนึ่ง จนกระทั่งจิตมันรวมลงเป็นหนึ่งเดียว ทีนี้ก็ง่ายแก่การดูแล้ว เพราะจิตมันไม่สอดส่ายไปไหน จนวุ่นวาย อารมณ์ที่อยู่ภายในจิตมันก็รวม  ทีแรกเหมือนกับจับปูใส่กระด้ง พอเสร็จเรื่องนี้ เรื่องนั้นผุดขึ้นอีกแล้ว บางครั้งมาทีเดียวหลาย ๆ เรื่อง อย่างนี้ก็ซี้แหง๋เลยถ้ามาทีเดียวมากมาย ต้องเข้าโรงพยาบาลบ้าไปเลยก็มี

เมื่อสติแน่นหนามั่นคงแนบอยู่กับจิตที่เป็นหนึ่งเดียวนั้น มันก็หยุด นี่แหละทำให้ตนเองนี้หายลังเลสงสัยเลยจริง ๆ ที่พระพุทธองค์ท่านตรัสกับกับองคุลีมาลว่า "เราหยุดแล้วแต่ท่านสิยังไม่หยุด" มันทำให้เกิดความเชื่อมั่นต่อคำตรัสของพระพุทธองค์ว่าเป็นมีอย่างนั้นจริง ๆ ยอมกราบ และมอบกาย ถวายชีวิตนี้แด่พระพุทธองค์อย่างสนิทใจจริง ๆ

 

ตอบโดย: ช.ชุตินธโร 11 ก.พ. 51 - 13:19


คุณ vicha
สำหรับผมนั้น สติสัมปชัญญะ ไปสัมผัส เป็น รูปกลุ่มก้อนของฟันครับ


คุณ wit
ปกติผมไม่ได้ทำกรรมฐานด้วยการเอาฟันเป็นกรรมฐานสักเท่าไหร่ พอมีคำถามก็เลยทดลองกำหนดจิตดู ก็คงตอบได้แค่งูๆปลาๆนะครับ การกำหนดดูฟันที่ผมทำก็คือเอาสติไประลึกรู้ที่ฟัน พอระลึกรู้ไปความจดจ่อของเราก็จะอยู่ที่นั่น เหมือนเราเอาความรู้สึกไปค้างไว้ที่จุดนั้น พอนิ่งไปสักพักก็เหมือนกับว่าเราจะมีจินตนาการเห็นภาพฟันกับเหงือกปรากฏขึ้นมาในหัวของเราลางๆ(ยังไม่ชัดเจนเท่าไหร่
)

กายเเป็นสิ่งที่หลอกไม่ได้ ได้คือได้  แด่จิตมันหลอกเราง่าย
ที่ ผมถามเพราะเราจะได้รู้ว่า สติสัมปชัญญะเราอยู่ในระดับใหน
รู้จริง  รู้ชัด รู้ยิ่ง

รู้จริง --  รู้ทุกเรื่อง ที่อาศัยสมอง (สัญญา)
รู้ชัด  --   รู้โดยไม่อาศัยสมอง  การฝึกสติสัมปชัญญะต้องให้อยู่เหนือสมอง ไม่เช่นนั้น การเข้าสู่วิปัสสนาญาน ในขั้นตอนของธาตุ 4
                ดิน น้ำ  ลม ไฟ  ก็จะตกม้าตายกันหมด  ส่วนใหญ่จะอยู่ในจำพวกรู้จริง
เช่น  รู้ดิน-แข็ง คือนั่งเก้าอี้ รู้จุดกระทบแข็ง มันคือดิน
         เย็น – ลม ที่มากระทบผิวกาย เย็น  มัน คือ ลม
        ร้อน -  ลม ที่มากระทบผิวกาย ร้อน มัน คือไฟ มีผู้บรรลุธรรมบางท่านบอกระลึกถึงตอนที่เราไม่สบายเป็นไข้  มันง่ายจริงๆ

ผมถึงบอกคุณว่า ถ้าสติสัมปชํญญะ เราอยู่ระดับรู้จริง อานาปานสดิ ก็แค่ท่องจำ รู้โดยสัญญา ไปถึงนิพพานเอาง่ายๆ

ที่ผมถามคุณ vicha,wit  เรื่อง ฟัน  เป็นตัวอย่างของเรื่องดิน ในการระลึกเป็นอย่างดี การระลึกในเรื่องของกาย ต้องไม่มี เรื่องนิมิต
ถ้าเป็นนิมิต ถือว่าไม่ถูกต้อง การระลึกต้องเป็นความรู้สึกหรือสัมปชัญญะจับต้องได้
                และที่สำคัญต้องไม่เพ่งด้วยเหมือนซุ่มดูเฉยๆ
               ลม ที่มากระทบผิวกาย เย็น  มัน คือ ลม (เรารู้โดยสมองสั่งการมา)  ถ้าเรารู้ชัดจริง ตรงตำแหน่งที่ผิวกาย เราสามารถ ระลึก
หรือสัมผัสด้วยสติสัมปชํญญะ ถึงขนอ่อนที่มีลมอ่อนๆระบาย ออกมาจากรูขุมขน ได้หรือเปล่า หรือสัมผัสขนอ่อนทั่วร่างกาย หรือ
สัมผ้สเส้นผมเล่นได้หรือเปล่า
               ไฟก็เช่นเดียวกัน เราสามารถเปลี่ยนลมธรรมดาให้ร้อนหรือเย็นได้หรือเปล่า วิชาของพระพุทธเป็นวิทยาศาสตร์ทำได้เป็๋นปกติไม่ใช่ฤทธิ์ คนส่วนใหญ่คิดว่ากายเป็นของหยาบ จิตเป็นของละเอียด เสยฝึกแต่จิต แล้วทิ้งกาย ในที่สุดก็ไปตกม้าตายในขั้นของธาตุ 4
(ในสายของหลวงปู่มั่น ลูกศิษย์ของท่าน ก็ฝึกกายกันอย่างอุกฤดทั้งนั้น ที่เด่นๆ ที่หลวงปู่มั่น กล่าวชม เช่น หลวงพ่อลี และ หลวงปู่เจี้ย  หลวงปู่มั่น ทรงยกย่องว่า เป็น เลิศในเรื่อง อานาปานสติ และหนึ่งในคำสอนของหลวงปู่เจี้ย  ก็สอนให้ลูกศิษย์ ระลึกถึงฟัน แป็น การพัฒนาสติสัมปชํญญะ)

มันรวมไปถึง อาริยบทบรรพ ที่รู้ ชัดในรูปยืน รูปนั่ง รูปนอน รูปเดิน ก็เห็นเถียงกันไม่หยุดในเรื่องที่ว่า ไม่มีรูปนั่ง รูปยื่น รูปเดิน  รูปนอน ในพระไตรปิฏก  เพราะทั่งฝ่ายยุบหนอพองหนอ และฝ่ายอภิธรรม ก็ไม่รู้ชัด ในกาย แค่รู้จริง แล้ว ก็เอาสัญญา มาเถียงกัน
     เพราะถ้าเรารู้ชัดในกายจริง ๆ เรา ต้องระลึกได้ในมหาภูตรูป ไม่ว่าในรูป ยื่น เดิน นั่ง นอน การ ระลึก เราระลึก อะไรก็ได้
เช๋น ในอริยบทยืน เราระลึก เฉพาะที่ผิวหนังตั้งแต่หัวจรดเท้า  ได้ไหม
                                หรือระลึกเฉพาะกระดูกทั้งตัวได้หรือไม่
                                 หรือระลึกระหว่างกระดูกกับผิวหนังได้หรือไม่
นี้เฉพาะธาตุดิน
     ลมก็เหมือนกัน  ถ้าในอานาปาสติ ไม่รู้ลมในระดับรู้ชัด ซึ่งอยู่ในตอน    สำเหนียก อยู่  ว่าเราจักเป็นผู้  กำหนดรู้กองลมทั้งปวง  หายใจออก  ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง  หายใจเข้า

คำตอบที่ได้ ก็จะเป็น ดังนี้
    ตรงนี้ผมพิจารณาว่า ไม่ได้หมายถึงกายทั้งตัว ครับ  แต่หมายถึงรู้กองลมที่กระทบเข้ากระทบออก ยาวหรือสั้นครับ
 
   คุณยังเข้าใจคำว่ากองลมทั้งปวงคลาดเคลื่อน  แค่บอกว่าเป็นการกระทบเข้าออก ยาวหรือสั้น ก็ตกม้าตายแล้ว ผมรู้ตั้งแต่แรกแล้ว แต่ที่สอบถามเพื่อ ต้องการอยากจะอธิบายความเป็นเลิศของพระพุทธองค์ ที่แยกแยะสติออกเป็น สามระดับ ผมเห็นหรืออ่านพวก
นักอภิธรรม อธิบายความหมายของสติ ทั้ง 3 ระดับ แทบจะไม่แตกต่างกันเลย
เพราะละเลยการฝึกกาย
    การอธิบาย กองลมทั้งปวงก็คลาดเคลื่อน
    การอธิบาย  ดำรงสติเฉพาะหน้า ก็ไม่ถูกต้องนัก

เพราะผมอ่านผู้รู้ในเรื่อง อานาปานสติทั้งหลายก็อธิบายเหมือน คุณ vicha แม้แต่
อาจารย์สุจินต์.....ก็อธิบายเหมือนคุณ ผมก็เป็นลูกศิษย์ทาง intranet คนหนึ่งของท่าน
แต่ความเข้าใจในสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนมันอาจจะต่างกันได้

แล้วคราวหน้าเราค่อยมาคุย กันในเรื่อง อานาปานสติแบบ ที่ตรงกับกระทู้ที่เสนอมา
ขออภัยที่อ้อมไปซะไกล


 

ตอบโดย: พลังไฟ 11 ก.พ. 51 - 19:19


ขออภัยทุกๆคนเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้วอักษรมันใหญ่น่ากลัว ไม่คิดว่าจะใหญ่ขนานนั้น
ปกติจะเป็นผู้อ่านไม่เคยเข้ามาตอบกระทู้ในลานธรรม

ตอบโดย: พลังไฟ 11 ก.พ. 51 - 19:31


นั่งดูลมหายใจ ดูไปดูมา ก็เบื่อหน่าย เดี๋ยวเข้า เดี๋ยวออก เดี๋ยวสั้น เดี๋ยวยาว ดูไปเรื่อย ๆ ก็ไม่เห็นมันมีอะไร มีแต่ลมหายใจเข้า และออก ให้ลมหายใจเข้าอย่างเดียวได้ไหม ลองกลั้นลมดู ไม่ได้ ให้ลมหายใจออกอย่างเดียวได้ไหม ก็ไม่ได้ มันมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ ลมหายใจยาวเกิดขึ้นมาแล้วก็ดับไปเปลี่ยนเป็นหายใจออกอีกแล้ว ประเดี๋ยวมันก็เปลี่ยนเป็นสั้น ประเดี๋ยวมันก็เปลี่ยนเป็นยาว โอ้หนอ แม้ลมหายใจนี้ยังไม่เที่ยงเลย มันเกิด ๆ ดับ ๆ สลับกัน จิตเราก็คงเหมือนกันเดี๋ยวก็เรื่องโน้น เดี๋ยวก็เรื่องนี้

พอเอาสติมาพิจารณากายเราก็เหมือนกัน ตั้งแต่เกศา ผม ตื่นเช้าขึ้นมาก็ร่วง ติดเต็มหมอนเลย แล้วก็ยาวด้วย มีผมหงอกขึ้นแล้ว เหม็นด้วย สกปรกจริง ๆ ผมนี้เคยว่าสวยงาม ดำขำ แต่บัดนี้กลับหงอก ร่วง เหลือน้อยเต็มที ตรงกลางนี้เหน่งเลย เป็นไข่ดาว ต้องคอยสระ คอยตัด มันสกปรก รุงรัง หาความสวยไม่ได้เลย ขนก็เหมือนกัน เล็บก็เหมือนกัน ฟันก็เหมือนกัน พิจารณาขึ้นลง ลงขึ้น ก็ไม่เห็นมีความสวยงามเสียแล้ว แต่ก่อนไม่รู้ก็ว่าผมต้องสวย ขนต้องดี ขนลักแล้นี้ ขนหน้าอกนี้ ขึ้นมามันเท่นัก จรผมก็ด้วย หารู้ไหมว่าหาภาระมาใส่ตนเอง ต้องพยายามรักษา เยียวยาให้ความสวย ความหล่อมันคงที่ หรือไม่ก็ดีกว่าที่เป็นอยู่ ผิวหนังต้องนุ่มนิ่ม เนียน กระดูกกูเอ๋ยบัดนี้มันไม่แข็งแรงเหมือนก่อนเสียแล้ว ปวดกระดูกในข้อ ปวดเข่า ปวดข้อ โรครุมเร้า ร่างกายมีแต่รังของโรค ฟันก็เหมือนกันมันเป็นรูปร่างได้อย่างไร มันเกิดจากดิน น้ำ ลม ไฟ มารวมตัวกัน จับกันเป็นก้อน แล้วก็เรียกว่าฟัน สมมติให้รู้ ให้สื่อสารกันให้เข้าใจ ถ้าไม่สมมติก็ไม่เข้าใจ สื่อสารกันไม่รู้เรื่อง ทุกส่วนในร่างกายอันประกอบด้วยอาการ 32 นี้ มองไปแล้วไม่เห็นมันจะมีอะไรให้ยั่งยืนคงทนสักอย่างเดียว กายพอแตกเป็นเสี่ยง ๆ ก็กลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เป็นธาตุ 4 อยู่นั่นเอง แม้เป็นผงธุลี ก็ยังเป็นธาตุสี่ที่ประกอบกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน

ท่องไปในกายภายนอกบ้าง ภายในบ้าง แล้วสรุปอะไรได้บ้าง เป็นทุกข์ไหม เที่ยงไหม ถ้าเที่ยงก็คงไม่ต้องแก่ ไม่ต้องเสื่อมและตายไป ให้มันอมตะนิรันดร์กาลเลย แม้ความสวย ความหล่อก็ให้คงทนถาวรอยู่อย่างนั้น ขนาดเขาจำลองเป็นรูปปั้นเอาแบบตอนหนุ่ม ๆ หล่อเชียวแหละ หล่ออย่างดี มองดูแล้วก็ไม่แก่แน่ หนุ่มตลอดกาล แต่ที่ไหนได้เวลาผ่านไปหลายปี สภาพของรูปปั้นมันก็แก่ เก่าไปอีกแล้ว ทำความสะอาดก็ไม่เหมือนตอนแรก ๆ ที่ทำเสร็จใหม่ ๆ มันแก่ มันเสื่อมโดยสภาพของมันอย่างนั้น ผมเอย ขนเอย ฟันเอย เล็บเอย หนังเอย ถลกมันออกเอามากองดู หนังก็เหมือนกัน ถลกแล้วเอามาปั้นรวมกัน เหลือก้อนนิดเดียวเอง กระดูก แขน ขา ศีรษะ น้ำเลือด น้ำหนอง เยื่อหุ้มสมอง มันสมองเหมือนก้อนเต้าหู้ เวลาตายแล้วกลายเป็นของเหลวหมด ไม่คงสภาพเดิมเลย ร่างกายนี้มันเช่นนี้เองเหรอ

แม้เวทนาความรู้สึกต่าง ๆ ก็เหมือนกัน ไม่เที่ยง ก็รู้นะ แต่มันก็ยังต้องการดิ้นรนหาสุข ไม่ต้องการทุกข์ รู้ว่าถ้าได้เกิดความรู้สึกอย่างนี้แล้วจะเป็นสุข ความรู้สึกหิวนี้เป็นทุกข์ อิ่มนี้เป็นสุข พอหิวขึ้นมาดิ้นเลย หามากิน ยัดเข้าไป กินเข้าไป ไม่มีสติที่จะไปรับรู้แล้ว หน้ามันมืด ตามันลาย เพราะรู้ว่าถ้ารู้สึกหิวนี้มันทุกข์นะ ฉะนั้นอิ่มดีกว่าจะได้เป็นสุข ไป ๆ มา ๆ เลยกลายเป็นคนเห็นแก่กิน เห็นการกินเป็นสิ่งวิเศษเลอเลิศ เหมือนกับชูชก ชอบกิน กินจนท้องแตกตาย เป็นสุขกับการกิน กินจนธาตุพิการ อย่างนี้ก็เกินพอดี เวลาหิวก็เพียรพยายามไม่กิน จะเอาชนะความรู้สึกหิว สุดท้ายโรคกระเพาะถามหา ร่างกายซูบเซียว อันนี้ก็ไม่พอดีอีก ธรรมชาติมันเป็นอย่างนี้ จะให้ว่าอย่างไรได้ ตนเองไม่รู้ก็เกิดทิฐิมานะที่จะเอาชนะ จะหาความวิเศษเลอเลิศให้แก่ตนเอง เลยกลายเป็นคนผิดปกติไป ผิดปกติจากศีล ผิดปกติจากธรรม

จิตใจมันวิปริต ไม่รู้ เลยดิ้นรนสรรหาทำให้เกิดความพึงพอใจแก่จิต เลยทำอะไรตามอำเภอใจ เที่ยวเอากิเลสมาเก็บไว้ ถูกสิ่งจูงใจ สิ่งล่อใจ ทำให้มีแรงที่จะดิ้นรน ดิ้นรนไปหาไฟ ไฟแห่งความหลง ความรักใคร่พึงพอใจในรูป เสียง รส กลิ่น สัมผัส

ไฟแห่งความโกรธ ความพยาบาท อาฆาตจองเวร ใครพูดผิดหู แสดงผิดท่า ก็ไม่พอใจแวบเดียวเท่านั้นก็เก็บเข้ามาในจิตใจ ชัดเตอร์ หรือปุ่มบันทึกมันกดและทำงานเร็วมาก บันทึกเลย บันทึกไว้เลย อุปาทานเกิดขึ้น ไม่รู้เนื้อรู้ตัว เพราะอะไร ประมาทไหมนั่น สติไม่ดีพอ เผลอ เลยเข้าไปซ่อนอยู่ในจิต ถ้าไม่มีอะไรมากระตุ้น ธรรมไม่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าแล้ว ไม่มีวันรู้ ก็ไม่ใช่พระพุทธเจ้านี่ จึงได้มีญาณหยั่งรู้ มีสติเท่าทัน มีปัญญาแก้ไขได้ทัน กว่าจะรู้อีกทีก็ถลำเข้าไปลึกแล้ว เวรกรรม วิบากกรรม

ไฟแห่งความโลภ อยากได้ อยากมี อยากเป็น ตั้งแต่ไม้จิ่มฟัน ยัน เรือรบ ทุกอย่างอยากเป็นเจ้าข้าวเจ้าของไปหมด เอามาแบกไว้ในจิตตนเองหมด ต้องอย่างนั้น ต้องอย่างนี้ พอไม่ชอบก็ผลักไส ไล่ส่ง ไปที่ชอบ ไปที่ชอบ เวลาชอบ พอใจ ก็มานี่ ห้ามไปไหน ห้ามเลิกกัน ต้องอยู่กันนาน ๆ  ได้หนึ่งไม่พอ ต้องเป็นสอง เป็นสาม สี่ ห้า ไปจนถึงจรวดดาวเทียมโน่น ไม่รู้ว่าค้นหาอะไร แล้วเจอหรือยังก็ไม่รู้ ได้แต่หา หา หา หาจนไปถึงจรวดดาวเทียม หาไปในภูเขา ป่าไม้ ลำธาร ห้วย หนอง คลอง บึง ก็หาไม่พบ กาย ใจมีอยู่ไม่รู้จักหา แหล่งความรู้ มีอยู่ที่ตนเองนี้ไม่หา ของจริง ๆ ของแท้หาที่ตนเองนี้ไม่หา ไม่เรียนรู้ พอไม่ได้ดังใจก็ว่าโน้น ว่านี้ ว่าตั้งแต่ไม้จิ้มฟัน ไปยันเรือรบ แล้วสุดท้ายก็ยังไม่รู้เนื้อรู้ตัว หาไม่เจอ หาไม่พบ ดูไม่รู้ ดูไม่เห็น

พอดีกว่า อายุมันมากขึ้น กลายเป็นตาแก่ขี้บ่น ก็ขออภัยด้วย พอบ่นแล้วไม่คอยจะยอมหยุดสะด้วย บางทีนั่งบ่นคนเดียวไปจนสว่าง เหมือนคนบ้าเลย ถ้าใครมาอยู่ใกล้ ๆ จะต้องรำคราญแน่ ๆ ไม่ไหวแล้วไปดีกว่า บ๊าย บาย เอวังเลยก็แล้วกัน สวัสดี โชคดีทุกท่านนะ ไปล่ะ
 

ตอบโดย: ช.ชุตินธโร 11 ก.พ. 51 - 20:49


ที่คุณพลังไฟต้องการจะสื่อหมายถึงว่า ถ้าสมมติว่าเราเอาสติมากำหนดดูฟัน สติและความรู้สึกของเราจะต้องไปอยู่ที่ฟันใช่รึเปล่าครับ(ไม่น่าจะอยู่ที่สมอง) ถ้าสมมติว่าเห็นนิมิต นิมิตก็ต้องเกิดตรง ณ จุดบริเวณที่เรากำหนด ซึ่งก็คือตรงฟันไม่ใช่เกิดในสมอง บางทีผมอาจจะยังฝึกฝนไม่มากพอน่ะครับ พอเอาสติไประลึกถึงฟัน มันก็เลยปรากฏภาพฟันของตัวเองที่เคยส่องหรือมองในกระจกขณะแปรงฟัน หรือบางทีผมก็จำลักษณะซี่ฟันต่างๆในปากตัวเองได้(แบบว่าชอบอ้าปากดูฟันตัวเองอยู่บ่อยๆเหมือนกัน) พอเอาสติระลึกถึงฟันภาพฟันตัวเองในลักษณะต่างๆเหล่านั้นก็เลยเกิดขึ้นมาด้วย

แต่พอทดลองเอาสติระลึกที่ฟันต่อเนื่องต่อไปสติก็จะค่อยๆรวบรวมเรียบเรียงลักษณะของฟันในความทรงจำ ให้เข้าไปปรากฏชัดอยู่ในฟันแต่ละซี่ที่อยู่ในตำแหน่งต่างๆตรงปากของผม  นึกถึงเหงือก ลิ้น และก็สัมผัสความรู้สึกตรงจุดที่ผมเอาสติระลึกได้เหมือนกันน่ะครับ(รับรู้ได้ถึงชีพจรที่เต้นอยู่ในปากด้วยครับ) ผมก็ทดลองทำแค่นิดหน่อยน่ะครับ ถ้าไม่ครบถ้วนประการใดก็ต้องขออภัยด้วย เพราะปกติผมจะกำหนดดูกายทั้งตัว ดูลมหายใจ ความรู้สึก ความคิด และอารมณ์ เป็นหลักน่ะครับ

อารมณ์กรรมฐานที่เป็นภาคปฏิบัตินั้นถ้าจะพูดกันจริงๆแล้วก็มีรายละเอียดค่อนข้างเยอะมาก ซึ่งบางทีความหมายในตัวอักษรก็ดูแคบไปเลย แค่การกำหนดดูฟันอย่างเดียวก็มีรายละเอียดเยอะแยะแล้ว ถ้าจะคุยกันจริงๆคงต้องค่อยๆไล่ไปทีละรายละเอียดน่ะครับ อย่างเรื่องการกำหนดกายนี้ก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งในกายคตาสติสูตร ตรงหมวดการกำหนดอวัยวะน้อยใหญ่


ซึ่งผมเองก็เคยอ่านกรรมฐานของพระกรรมฐานในสายของหลวงปู่มั่นที่สอนเรื่องการพิจารณากายอย่างละเอียดเหมือนกัน บางท่านเมื่อใช้สติดูลักษณะบางส่วนของกายก็ปรากฏเป็นภาพนิมิตเหมือนกสิณเลยก็มีนะครับ เช่น หลวงปู่ฝั้น โดยท่านจะเน้นพิจารณาเป็นส่วนๆไปก่อน เมื่อเชี่ยวชาญแล้วก็จะสามารถเห็นภาพอวัยวะน้อยใหญ่ภายในร่างกายได้เหมือนเครื่องเอ็กซเรย์เลยทีเดียวครับ คือสามารถมองเห็นอวัยวะภายในของตนได้ตามความเป็นจริงเหมือนใช้กล้องส่อง โดยที่ไม่ได้เกิดจากการอนุมานหรือคิดเอาเองน่ะครับ(ตามประวัติตอนหลวงปู่ฝั้นท่านอาพาธ หมอผู้ใกล้ชิดเคยขอให้ท่านใช้พลังจิตบังคับล้ำไส้เล็กของท่านบางส่วน เพื่อความสะดวกในการรักษาเลยล่ะครับ)


ยังไงก็แล้วแต่ถ้าท่านใดสนใจการฝึกกรรมฐานการกำหนดกายในลักษณะเช่นนี้ผมก็ขอแนะนำงานเขียนของหลวงปู่เทสก์ ครับ ท่านอธิบายกรรมฐานที่เกี่ยวเนื่องกับกายในส่วนที่กำหนดอวัยวะน้อยใหญ่หรือการพิจารณากายในลักษณะต่างๆไว้อย่างค่อนข้างละเอียดทีเดียวครับ

ส่องทางสมถวิปัสสนา(อันนี้จะมีเรื่องของการพิจารณากายโดยเฉพาะอย่างละเอียดมากทีเดียวครับ)
http://www.geocities.com/Tokyo/Gulf/4126/tesk0002.html

ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ   สัมพันธ์ (อันนี้จะมีการอธิบายถึงธาตุต่างๆในกายรวมถึงมีการเชื่อมโยงระหว่างกายกับอายตนะที่ใช้รับสัมผัสรับรู้สิ่งต่างๆ ว่ามีการทำงานและสัมพันธ์กันอย่างไร และลักษณะอื่นๆของขันธ์ที่นอกเหนือจากกายว่ามีอะไรด้วยน่ะครับ)
http://www.geocities.com/Tokyo/Gulf/4126/tesk0001.html

สติปัฏฐานภาวนา(อันนี้จะมีหลักหรือเคล็ดในการกำหนดดู ส่วนต่างๆตามหลักสติปัฏฐาน 4 คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ว่าควรมีหลักในการกำหนดอย่างไรน่ะครับ)
http://www.geocities.com/metharung/sati-4.htm

 

ตอบโดย: wit 11 ก.พ. 51 - 22:34


ขอขอบคุณทั้งคุณวิชาและคุณบุญรักษ์ครับ
 

ตอบโดย: ธรรมชาติธรรมะ 11 ก.พ. 51 - 23:08


อ้างอิง
ส่วนที่เหลือคุณ วิท ยังไม่ได้กล่าวถึง ฌาณ หรือ องค์ฌาน และอัปปนาสมาธิ อย่างชัดเจนเลย  จึงยังไม่เป็นไปตามลำดับเท่าที่ควรครับ


เรื่องนี้ผมคิดว่าบทความหรือคำอธิบายของหลวงปู่เทสก์ ซึ่งท่านเป็นพระกรรมฐานที่เชี่ยวชาญการปฏิบัติ และเป็นลูกศิษย์ที่สำคัญของหลวงปู่มั่นที่สำคัญท่านหนึ่งมาอธิบายจะได้อรรถและประโยชน์มากกว่าคำอธิบายของตัวผมเอง จึงขออนุญาตยกเอาบทความของท่านมาตอบคำถามนี้ของคุณ Vicha แทนนะครับ  




สมาธิ เมื่อผู้มาเพ่งพิจารณาพระกรรมฐานบทใดบทหนึ่งอยู่ มีกายเป็นต้นแล้วจิตนั้นย่อมตั้งมั่น แน่วแน่อยู่เฉพาะหน้าในอารมณ์อันเดียว แต่ไม่ถึงกับเข้าสู่ภวังค์ที่เรียกว่า ฌาน มีสติสัมปชัญญะตั้งมั่นรู้ตัวอยู่ จิตหยาบก็รู้ว่าหยาบ ละเอียดก็รู้ว่าละเอียด รู้จริงเห็นจริงตามสมควรแก่ภาวะของตน หากจะมีธรรมารมณ์ต่างๆ เกิดขึ้นในขณะนั้น จิตนั้นก็มิได้หวั่นไหวไปตามธรรมารมณ์นั้นๆ ย่อมรู้อยู่ว่าอันนั้นเป็นธรรมารมณ์ อันนั้นเป็นจิต อันนั้นเป็นนิมิตดังนี้เป็นต้น เมื่อต้องการดูธรรมารมณ์นั้นก็ดูได้ เมื่อต้องการปล่อยก็ปล่อยได้ บางทียังมีอุบายพิจารณาธรรมารมณ์นั้นให้ได้ปัญญา เกิดความรู้ชัดเห็นจริงในธรรมารมณ์นั้นเสียอีก อุปมาเหมือนบุคคลผู้นั่งอยู่ที่ถนนสี่แยก ย่อมมองเห็นผู้คนที่เดินไปมาจากทิศทั้ง ๔ ได้ถนัด เมื่อต้องการติดต่อกับบุคคลเหล่านั้นก็ได้สมประสงค์ เมื่อไม่ต้องการติดต่อก็ทำกิจตามหน้าที่ของตนเรื่อยไปฉะนั้น ดังนี้เรียกว่าสมาธิ

         สมาธินี้ท่านจำแนกไว้เป็น ๓ ชั้นคือ

         ขณิกสมาธิ สมาธิที่เพ่งพิจารณาพระกรรมฐานอยู่นั้น จิตรวมบ้าง ไม่รวมบ้าง เป็นครู่เป็นขณะ พระกรรมฐานที่เพ่งพิจารณาอยู่นั้นก็ชัดบ้าง ไม่ชัดบ้าง เปรียบเหมือนสายฟ้าแลบในเวลากลางคืนฉะนั้น เรียกว่า ขณิกสมาธิ

         อุปจารสมาธิ นั้นจิตค่อยตั้งมั่นเข้าไปหน่อยไม่ยอมปล่อยไปตามอารมณ์จริงจัง แต่ตั้งมั่นก็ไม่ถึงกับแน่วแน่เป็นอารมณ์อันเดียว ถึงเที่ยวไปบ้างก็อยู่ในของเขตของจิต อุปมาเหมือนวอก เจ้าตัวกลับกลอกถูกโซ่ผูกไว้ที่หลัก หรือนกกระทาขังไว้ในกรงฉะนั้น เรียกว่าอุปจารสมาธิ

         อัปปนาสมาธิ นั้นจิตตั้งมั่นจนเต็มขีด แม้ขณะจิตนิดหน่อยก็มิได้ปล่อยให้หลงเพลินไปตามอารมณ์ เอกัคคตารมณ์จมดิ่งนิ่งแน่ว ใจใสแจ๋วเฉพาะอันเดียว มิได้เกี่ยวเกาะเสาะแส่หาอัตตาแลอนัตตาอีกต่อไป สติสมาธิภายในนั้น หากพอดีสมสัดส่วน ไม่ต้องระวัง ไม่ต้องตั้งสติรักษา ตัวสติสัมปชัญญะสมาธิ มันหากรักษาตัวมันเอง อัปปนาสมาธินี้ละเอียดมาก เมื่อเข้าถึงที่แล้ว ลมหายใจแทบจะไม่ปรากฏ ขณะมันจะลง ทีแรกคล้ายกับว่าจะเคลิ้มไป แต่ว่าไม่ถึงกับเผลอสติเข้าสู่ภวังค์ ขณะสนธิกันนี้ท่านเรียกว่า โคตรภูจิต ถ้าลงถึงอัปปนาเต็มที่แล้วมีสติรู้อยู่ เรียกว่า อัปปนาสมาธิ ถ้าหาสติมิได้ ใจน้อมลงสู่ภวังค์เข้าถึงความสงบหน้าเดียว หรือมีสติอยู่บ้างแต่เพ่งหรือยินดีชมแต่ความสุขอันเกิดจากความสงบอันละเอียดอยู่เท่านั้น เรียกว่า อัปปนาฌาน

         อัปปนาสมาธินี้มีลักษณะคล้ายกับผู้ที่เข้าอัปปนาฌานชำนาญแล้ว ย่อมเข้าหรือออกได้สมประสงค์ จะตั้งอยู่ตรงไหน ช้านานสักเท่าไรก็ได้ ซึ่งเรียกว่าโลกุตตรฌาน อันเป็นวิหารธรรมของพระอริยเจ้า อัปปนาสมาธิเมื่อมันจะเข้าทีแรก หากสติไม่พอเผลอตัวเข้า กลายเป็นอัปปนาฌานไปเสีย

         ฌาน แล สมาธิ มีลักษณะและคุณวิเศษผิดแปลกกันโดยย่ออย่างนี้ คือ

         ฌาน ไม่ว่าหยาบและละเอียด จิตเข้าถึงภวังค์แล้วเพ่งหรือยินดีอยู่แต่เฉพาะความสุขเลิศอันเกิดจากเอกัคคตารมณ์อย่างเดียว สติสัมปชัญญะหายไป ถึงมีอยู่บ้างก็ไม่สามารถจะทำองค์ปัญญาให้พิจารณาเห็นชัดในอริยสัจธรรมได้ เป็นแต่สักว่ามี ฉะนั้น กิเลสทั้งหลายมีนิวรณ์ ๕ เป็นต้น จึงยังละไม่ได้ เป็นแต่สงบอยู่

         ส่วน สมาธิ ไม่ว่าหยาบแลละเอียด เมื่อเข้าถึงสมาธิแล้ว มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ตามชั้นแลฐานะของตน เพ่งพิจารณาธรรมทั้งหลายอยู่ มีกายเป็นต้น ค้นคว้าหาเหตุผลเฉพาะในตน จนเห็นชัดตระหนักแน่วแน่ตามเป็นจริงว่า สิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เป็นต้น ตามชั้นตามภูมิของตนๆ ฉะนั้น

         สมาธิจึงสามารถละกิเลส มีสักกายทิฏฐิเสียได้ สมาธินี้ถ้าสติอ่อน ไม่สามารถรักษาฐานะของตนไว้ได้ ย่อมพลัดเข้าไปสู่ภวังค์เป็นฌานไป ฌานถ้ามีสติสัมปชัญญะแก่กล้าขึ้นเมื่อไร ย่อมกลายเป็นสมาธิได้เมื่อนั้น ในพระวิสุทธิมรรคท่านแสดงสมาธิเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับฌาน เช่นว่า สมาธิกอปรด้วยวิตก วิจาร ปีติ เป็นต้น ดังนี้ก็มี บางทีท่านแสดงสมาธิเป็นเหตุของฌาน เช่นว่าสมาธิเป็นเหตุให้ได้ฌานชั้นสูงขึ้นไป ดังนี้ก็มี บางทีท่านแสดงสมาธิเป็นฌานเลย เช่นว่าสมาธิเป็นกามาพจร รูปาพจร อรูปาพจร ดังนี้ก็มี แต่ข้าพเจ้าแสดงมานี้ก็มิได้ผิดออกจากนั้น เป็นแต่ว่าแยกแยะสมถะฌาน สมาธิ ออกให้รู้จักหน้าตามันในขณะที่มันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าเท่านั้น สำหรับผู้ฝึกหัดเป็นไปแล้วจะไม่งง ที่ท่านแสดงไว้แล้วนั้นเป็นการยืดยาว ยากที่ผู้มีความทรงจำน้อยจะเอามากำหนดรู้ได้


ที่มา:
http://www.geocities.com/Tokyo/Gulf/4126/tesk0002.html

ตอบโดย: wit 11 ก.พ. 51 - 23:57


ต่อจากความเห็นข้างบนนะครับ เป็นเรื่องของ ภวังคจิต และ อารมณ์ของ รูปฌาน 4 หลวงปู่เทสก์ท่านแสดงธรรมในเรื่องนี้ได้อย่างละเอียดครบถ้วน และเป็นประโยชน์แก่นักปฏิบัติธรรมทำให้เข้าใจในสภาวะธรรมต่างๆได้ดีมากเลยล่ะครับ  


สมถะ สมถะเมื่อแยกออกไปแล้ว มี ๒ ประเภทคือ สมถะทำความสงบเฉยๆ ๑ สมถะที่ประกอบด้วยองค์ฌาน ๑

         สมถะทำความสงบเฉยๆ นั้น จะกำหนดพระกรรมฐานหรือไม่ก็ตาม แล้วทำจิตให้สงบอยู่เฉยๆ ไม่เข้าถึงองค์ฌาน อย่างนี้เรียกว่า ตัตรมัชฌัตตุเปกขา ย่อมมีแก่ชนทั่วไปในบางกรณี ไม่จำกัดมีได้เฉพาะผู้เจริญพระกรรมฐานเท่านั้น

         ส่วนสมถะที่ประกอบไปด้วยองค์ฌานนั้น มีได้แต่เฉพาะผู้เจริญพระกรรมฐานเท่านั้น เมื่อถึงซึ่งความสงบครบด้วยองค์ฌานแล้ว เรียกว่า ฌานุเปกขา ฌานุเปกขานี้ท่านจำแนกไว้เป็น ๒ ประเภท คือฌานุเปกขาที่ปรารภรูปเป็นอารมณ์ เอารูปเป็นนิมิต เรียกว่ารูปฌาน ๑ อรูปฌาน ปรารภนามนามเป็นอารมณ์ เอานามเป็นนิมิต ๑ แต่ละประเภทท่านจำแนกออกไว้เป็นประเภทละ ๔ รวมเรียกว่ารูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ จึงเป็นสมาบัติ ๘

         ฌานนี้มีลักษณะอาการให้เพ่งเฉพาะในอารมณ์เดียว จะเป็นรูปหรือนามก็ตาม เพื่อน้อมจิตให้สงบปราศจากกังวลแล้วเข้าถึงเอกัคคตารมณ์ มีความสุขเป็นที่นิยมแลปรารถนา เมื่อสมประสงค์แล้วก็ไม่ต้องใช้ปัญญาวิพากษ์วิจารณ์ในสังขารทั้งหลายมีกายเป็นต้น ดังแสดงมาแล้วนั้นก็ดี หรือจะพิจารณาใช้แต่พอเป็นวิถีทางเดินเข้าไปเท่านั้น เมื่อถึงองค์ฌานแล้วย่อมมีลักษณะแลรสชาติ สุข เอกัคคตา และเอกัคคตา อุเบกขา เสมอเหมือนกันหมด ฉะนั้น ฌานนี้จึงเป็นของฝึกหัดได้ง่าย จะในพุทธกาลหรือนอกพุทธกาลก็ตาม ผู้ฝึกหัดฌานนี้ย่อมมีอยู่เสมอ แต่ในพุทธศาสนา ผู้ฝึกหัดฌานได้ช่ำชองแล้ว มีวิปัสสนาปัญญาเป็นเครื่องคุ้มครองฌานอยู่ เนื่องด้วยอุบายของพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเป็นเครื่องส่องสว่างให้ จึงไม่หลงในฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้นฌานของท่านเลยเป็นวิหารธรรม เครื่องอยู่ของท่านผู้ขีณาสพ เรียกว่า โลกุตรฌาน ส่วนฌานที่ไม่มีวิปัสสนาปัญญาเป็นเครื่องคุ้มครอง เรียกว่า โลกิยฌาน เสื่อมได้ และเป็นไปเพื่อก่อภพก่อชาติอีก ต่อไปนี้จะได้แสดงฌานเป็นลำดับไป

         รูปฌาน ๔ เมื่อผู้มาเพ่งพิจารณาพระกรรมฐานบทใดบทหนึ่งอยู่ มีกายคตาเป็นต้น จนปรากฏพระกรรมฐานนั้นชัดแจ่มแจ้งกว่าอนุมานทิฏฐิ ซึ่งได้กำหนดเพ่งมาแต่เบื้องต้นนั้น ด้วยอำนาจของจิตที่เปลี่ยนจากสภาพเดิม อันระคนด้วยอารมณ์หลายอย่าง และเป็นของหยาบด้วย แล้วเข้าถึงซึ่งความผ่องใสในภายในอยู่เฉพาะอารมณ์อันเดียว เรียกง่ายๆ ว่า ขันธ์ทั้งห้าเข้าไปรวมอยู่ภายในเป็นก้อนเดียวกัน ฉะนั้น ความชัดอันนั้นจึงเป็นของแจ้งชัดกว่าความแจ้งชัดที่เห็นด้วยขันธ์ ๕ ภายนอก พร้อมกันนั้น จิตจะมีอาการวูบวาบรวมลงไป คล้ายกับจะเผลอสติแล้วลืมตัว บางทีก็เผลอสติแล้วลืมตัวเอาจริงๆ แล้วเข้าไปนิ่งเฉยอยู่คนเดียว ถ้าหากผู้สติดีหมั่นเป็นบ่อยๆ จนชำนาญแล้ว ถึงจะมีลักษณะอาการอย่างนั้นก็ตามรู้ตามเห็นอยู่ทุกระยะ ลักษณะอย่างนี้เรียกว่า "จิตเข้าสู่ภวังค์" เป็นอย่างนั้นอยู่ขณะจิตหนึ่งเท่านั้น แล้วลักษณะอย่างนั้นหายไป ความรู้อยู่หรือจะส่งไปตามอาการต่างๆ ของอารมณ์ก็ตามเรื่อง บางทีจะแสดงภาพให้ปรากฏในที่นั้นด้วยอำนาจของสังขารขันธ์ภายใน ให้ปรากฏเห็นเป็นต่างๆ เช่น มันปรุงอยากจะให้กายนี้เป็นของเน่าเปื่อยปฏิกูล หรือสวยงามประการใดๆ ภาพก็จะปรากฏขึ้นมาในที่นั้นโดยไม่รู้ตัว ดังนี้เป็นต้น แล้วขันธ์ทั้งสี่มีเวทนาขันธ์เป็นอาทิก็เข้ารับทำหน้าที่ตามสมควรแก่ภาวะของตนๆ เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต บางทีส่งจิตนั้นไปดูสิ่งต่างๆ ที่ตนต้องการแลปรารถนาอยากจะรู้ ก็ได้เห็นตามเป็นจริง บางทีสิ่งเหล่านั้นมาปรากฏขึ้นเฉยๆ ในที่นั้นเอง พร้อมทั้งอรรถแลบาลีก็มีได้ ลักษณะอย่างนี้เรียกว่าใช้ขันธ์ภายในได้

         ยังอีก ขันธ์ภายในจะต้องหลอกลวงขันธ์ภายนอก เช่น บางคนซึ่งเป็นคนขี้ขลาดมาแล้วแต่ก่อน พอมาอบรมถึงจิตในขณะนี้เข้าแล้ว ภาพที่ตนเคยกลัวมาแล้วแต่ก่อนๆ นั้น ให้ปรากฏขึ้นในที่นั้นเอง สัญญาที่เคยจำไว้แต่ก่อนๆ ที่ว่าเป็นของน่ากลัวนั้นก็ยิ่งทำให้กลัวมากขึ้นจนขวัญหนีดีฝ่อ ด้วยสำคัญว่าเป็นของจริงจังอย่างนี้เรียกว่าสังขารภายในหลอกสังขารภายนอก เพราะธรรมเหล่านี้เป็นสังขตธรรม ด้วยอำนาจอุปาทานนั้นอาจทำผู้เห็นให้เสียสติไปได้ ผู้ฝึกหัดมาถึงขั้นนี้แล้วควรได้รับคำแนะนำจากท่านผู้รู้ผู้ชำนาญ เมื่อผ่านพ้นในตอนนี้ไปได้แล้ว จะทำหลังมือให้เป็นฝ่ามือได้ดี เรื่องเหล่านี้ผู้เจริญพระกรรมฐานทั้งหลาย มีความมุ่งหมายเป็นส่วนมาก ผู้ที่ยังไม่เคยเป็น แต่เพียงได้ฟังเท่านั้น ตอนปลายนี้ชักให้กลัวเสียแล้วไม่กล้าจะทำต่อไปอีก ความจริงเรื่องเหล่านี้ผู้เจริญพระกรรมฐานทั้งหลาย เมื่อทำถูกทางเข้าแล้วย่อมได้ประสบทุกคนไป แลเป็นกำลังให้เกิดวิริยะได้อย่างดีอีกด้วย ภวังค์ชนิดนี้เป็นภวังค์ที่นำจิตให้ไปสู่ปฏิสนธิเป็นภพชาติ ไม่อาจสามารถจะพิจารณาวิปัสสนาชำระกิเลสละเอียดได้ ฉะนั้น ท่านจึงจัดเป็นอุปกิเลส

         ฌานทั้งหลาย มีปฐมฌานเป็นต้น ท่านแสดงองค์ประกอบไว้เป็นชั้นๆ ดังจะแสดงต่อไปนี้ แต่เมื่อจะย่นย่อใจความเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ แล้ว ฌานต้องมีภวังค์เป็นเครื่องหมาย ภวังค์นี้ท่านแสดงไว้มี ๓ คือ ภวังคบาต ๑ ภวังคจลนะ ๑ ภวังคุปัจเฉทะ ๑

         ภวังคบาต เมื่อจิตตกลงสู่ภวังค์นั้นมาอาการให้วูบวาบลง ดังแสดงมาแล้วในข้างต้น แต่ว่าเป็นขณะจิตนิดหน่อย บางทีแทบจะจำไม่ได้เลย ถ้าหากผู้เจริญบริกรรมพระกรรมฐานนั้นอยู่ ทำให้ลืมพระกรรมฐานที่เจริญอยู่นั้น แลอารมณ์อื่นๆ ก็ไม่ส่งไปตามขณะจิตหนึ่ง แล้วก็เจริญบริกรรมพระกรรมฐานต่อไปอีกหรือส่งไปตามอารมณ์เดิม

         ภวังคจลนะ เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน แต่ว่าเมื่อถึงภวังค์แล้ว เที่ยวหรือซ่านอยู่ในอารมณ์ของภวังค์นั้น ไม่ส่งออกไปนอกจากอารมณ์ของภวังค์นั้น ปฏิภาคนิมิตและนิมิตต่างๆ ความรู้ความเห็นทั้งหลายมีแสงสว่างเป็นต้น เกิดในภวังค์นี้ชัดมาก จิตเที่ยวอยู่ในอารมณ์นี้

         ภวังคุปัจเฉทะ เมื่อจิตตกลงสู่ภวังค์แล้วขาดจากอารมณ์ภายนอกทั้งหมด แม้แต่อารมณ์ภายในของภวังค์ที่เป็นอยู่นั้น ถ้าเป็นทีแรกหรือยังไม่ชำนาญในภวังค์นั้นแล้วก็จะไม่รู้ตัวเลย เมื่อเป็นบ่อยหรือชำนาญในลักษณะของภวังค์นี้แล้วจะมีอาการให้มีสติรู้อยู่ แต่ขาดจากอารมณ์ใดๆ ทั้งหมด ภวังค์นี้จัดเป็นอัปปนาสมาธิได้ ฉะนั้นอัปปนานี้บางท่านเรียกว่าอัปปนาฌาน บางทีท่านเรียกว่า อัปปนาสมาธิ มีลักษณะผิดแปลกกันนิดหน่อยดังอธิบายมาแล้วนั้น เมื่อถอนออกจากอัปปนาสมาธิแล้ว มาอยู่ในอุปจารสมาธิ ไม่ได้เป็นภวังคจลนะ ในตอนนี้พิจารณาวิปัสสนาได้ ถ้าเป็นภวังคจลนะแล้วมีความรู้แลนิมิตเฉยๆ เรียกว่า อภิญญา ภวังค์ทั้งสามดังแสดงมานี้เป็นเครื่องหมายของฌาน

         ความแปลกต่างของฌาน ภวังค์ สมาธิ จะได้แสดงตอนอรูปฌานต่อไป

         รูปฌาน มี ๔ คือ ปฐมฌาน ๑ ทุติยฌาน ๑ ตติยฌาน ๑ จตุตฺถฌาน ๑

         ปฐมฌาน นั้นประกอบด้วยองค์ ๕ คือ มีวิตก ยกเอาพระกรรมฐานบทใดบทหนึ่งขึ้นมาเพ่งพิจารณาให้เป็นอารมณ์ ๑ วิจารเพ่งคือพิจารณาเฉพาะอยู่แต่พระกรรมฐานนั้นอย่างเดียว ๑ เห็นชัดในพระกรรมฐานนั้นแล้วเกิดปีติ ๑ ปีติเกิดแล้วมีความเบากายโล่งใจเป็นสุข ๑ แล้วจิตนั้นก็แน่วอยู่ในเอกัคคตา ๑ เรียกว่าปฐมฌานมีองค์ ๕

         ทุติยฌาน มีองค์ ๓ ด้วยอำนาจเอกัคคตา จิตนั้นยังไม่ถอนกิจ ซึ่งจะยกเอาพระกรรมฐานมาพิจารณาอีกย่อมไม่มี ฉะนั้นฌานชั้นนี้จึงคงยังปรากฏเหลืออยู่แต่ปีติ สุข เอกัคคตาเท่านั้น

         ตติยฌาน มีองค์ ๒ ด้วยอำนาจเอกัคคตา จิตติดอยู่ในอารมณ์ของตนมาก เพ่งเอาแต่ความสุขอย่างเดียว จึงยังคงเหลืออยู่เพียง ๒ คือ สุขกับเอกัคคตา

         จตุตฺถฌาน มีองค์ ๒ เหมือนกัน คือ เอกัคคตาที่เพ่งเอาแต่ความสุขนั้นเป็นของละเอียด จนสุขนั้นไม่ปรากฏ เพราะสุขนั้นยังเป็นของหยาบกว่าเอกัคคตา จึงวางสุขอันนั้นเสีย แล้วยังคงมีอยู่แต่เอกัคคตากับอุเบกขา

         ฌานทั้งสี่นี้ละนิวรณ์ ๕ (คือสงบไป) ได้แล้วตั้งแต่ปฐมฌาน ส่วนฌานนอกนั้นกิจซึ่งจะต้องละอีกย่อมไม่มี ด้วยอำนาจการเพ่งเอาแต่จิตอย่างเดียวเป็นอารมณ์หนึ่ง จึงละองค์ของปฐมฌานทั้งสี่นั้นเป็นลำดับไป แล้วยังเหลืออยู่แต่ตัวฌานตัวเดียว คือ เอกัคคตา ส่วนอุเบกขา เป็นผลของฌานที่ ๔ นั้นเอง แต่ปฐมฌานปรารภพระกรรมฐานภายนอกมาเป็นเหตุจำเป็น จึงต้องมีหน้าที่พิเศษมากกว่าฌานทั้ง ๓ เบื้องปลายนั้น ฌานทั้ง ๔ นี้ปรารภรูปเป็นเหตุ คือ ยกเอารูปพระกรรมฐานขึ้นมาเพ่งพิจารณา แล้วจิตจึงเข้าถึงซึ่งองค์ฌาน ฉะนั้นจึงเรียกว่า รูปฌาน


ที่มา:
http://www.geocities.com/Tokyo/Gulf/4126/tesk0002.html

ตอบโดย: wit 12 ก.พ. 51 - 00:46


อย่างนั้นผมต้องขอย้อนถามคุณ พลังไฟ แล้วครับ
    
     คำว่า สติ  รู้จริง รู้ชัด รู้ยิ่ง  คุณพลังไฟ  เอาประโยคนี้มาจากไหน?
      (เน้น  สติ นั้น รู้จริง รู้ชัด รู้ยีง ได้หรือ?)
     ถ้ากล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้  ก็จงยกพุทธพจน์ในส่วนนี้มาให้ผมดูด้วยนะครับ

  และคุณพลังไฟ กำลังเข้าใจอะไรคลาดเคลื่อนอยู่นะครับ  ในเรื่องการที่ไม่ได้อธิบายในข้อปลีกย่อย ที่ไม่ใช่เป็นหลัก ก็ไม่ใช่ว่า สิ่งละเอียดปลีกย่อยนั้นไม่ได้เกิดขึ้น แต่ถ้าไปติดไปปรุงแต่งกับสิ่งปลีกย่อยเกินไป  จนกลายเป็นความพิศดาร หรือมหัศจรรย์  ก็จะทำให้สับสน ไม่อยู่ในทางในหลักของการปฏิบัติได้ เพราะมั่วแต่ไปสนใจสิ่งปลีกย่อยจนฟุ้งเฟื้อ

    ตัวอย่างเช่นผู้ที่ฝึกสติได้เท่าทันต่อร่างกายผิวหนังที่กระทบเพียงนิดเดียวก็แยกความแตกต่างกันได้ในทันที่
     ผมจะเล่าเรื่องของผมเองดีกว่า โดยปกติเมื่อมดดำไต่ตามร่างกาย จะรู้สึกว่ามีมดไต่รำคาญเท่านั้น แล้วปัดมันออก แต่สำหรับผมขณะที่นั่งสมาธิ มดดำได้ไต่มาทั้งแต่ขาของผม ไม่ใช่ว่าจะรู้สึกว่ามดเขาไต่ขึ้นมาเท่านั้น แต่สามารถรู้ทันถึงขามดที่ยกขึ้นยกลงสัมผัสกับผิวหนัง
     ผมก็มีสติเท่าทันและดู เขาไต่ไปเรื่อย จนเขาไต่มาถึงคอ ซึ่งเป็นส่วนที่มีผิวหนังที่มีประสาทสัมผัสดี ก็เสมือนรู้ถึงเท้าของมดที่สัมผัสกับผิวหนังทุกเท้าที่ยกขึ้นยกลง
     เท่านั้นยังไม่พอผมยังปล่อยให้เขาไต่ไปเรื่อยๆ ขึ้นมาตรงส่วนแก้มและใบหู  เขาเดินวนเวียนอยู่สักก็เข้าไปในรู้หู  ผมหาได้ปัดแต่ปล่อยให้เขาเข้าไป เขาเดินไปจนถึงแก้วหู เขาเดินเกาะที่แก้วหู ดังกร๊อกๆ ๆ อยู่พักหนึ่ง ผมก็นิ่งมีสติเท่าทันและรู้เท่านั้น เขาก็เดินออกจากรู้หู ลงมาที่ลำคอ แล้วลงไปที่คอเสื้อ ผมก็นั่งกรรมฐานต่อหลังจากนั้นก็ไม่รู้ว่าเขาเดินออกไปเสื้อและกางเกงเมื่อไหร..

       ผมมีเพือนคนหนึ่งตอนเรียนระดับอุดมศึกษา  เขาฝึกรู้ลมหายใจเขาสามารถกำหนดได้ว่า ลมที่เข้าจมูกด้านขวาให้รู้สึกว่าเย็นลงไปตลอด ลมที่เข้าไปด้านซ้ายให้รู้สึกว่าร้อนไปตลอด เขาทำจนได้ จนใบหน้าฝั่งซ้ายเขาจะแดงและอุ่นร้อนๆ และฝั่งขวาเขาหน้าจะเป็นปกติค่อยข้างเย็น

     ข้างบนนั้นเป็นของปลีกย่อย แต่ข้อปลีกย่อยนั้นไม่ใช่เป็นหลักไม่ใช่เป็นทางของกรรมฐานที่แท้จริงหรือถูกต้องนะครับ  แต่เป็นปรากฏการณ์ที่เป็นผลพลอยได้ซึ่งเกิดขึ้นได้ เท่านั้น
      
       ข้อควรระวัง คือการไปติดอยู่กับข้อปลีกย่อยจนเกินไป จนหลงลืมหรือปรุงแต่งจนเลยเถิดไปจากฐานหลักของกรรมฐาน เช่น
           อานาปานสติเมื่อหายใจเข้าก็ต้องมีสติรู้ หายใจออกก็ต้องมีสติรู้ เข้าสั้นก็รู้ ออกสั้นก็รู้ เข้ายาวก็รู้ ออกยาวก็รู้.....

          และพุทธพจน์ที่เป็นอานาปานสติสูตร นั้นตรงไปตรงมา เป็นหลักที่แน่แท้ไม่ก่อให้เกิดความไขว่เขว และเป็นภาวะที่เกิดกับบุคคลที่ปฏิบัติทุกท่านตามกำลัง
          แต่ถ้ากล่าวถึงข้อปลีกย่อยต่างๆ นั้น แต่ละท่านแต่ละคนที่ปฏิบัติ ย่อมแตกต่างกันไป ตามแต่วาสนาและฐานะรูปร่างหรือรูปทรงของจมูก หลอดลมและปอด

            หวังว่าขณะนี้และที่ผ่านมา คุณ พลังไฟ คงไม่ไปติดประเด็นที่ข้อปลีกย่อยเกินไปจนปรุงแต่งให้เลยจากหลักปฏิบัติอานาปานสติ นะครับ..



  


         

ตอบโดย: Vicha 12 ก.พ. 51 - 10:15


     

ตอบโดย: wit 12 ก.พ. 51 - 10:38


เรียนคุณ vicha

คำว่า สติ  รู้จริง รู้ชัด รู้ยิ่ง  คุณพลังไฟ  เอาประโยคนี้มาจากไหน
ผมไม่ไช่ผู้รอบรู้ พระอภิธรรม แต่ คำว่า สติ รู้จริง รู้ชัด รู้ยิ่ง ผมฟังมาจาก web บ้านธัมมะของอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

ในทางตรงกันข้าม กับสิ่งที่คุณเล่ามา  ถ้ามดดำไม่ได้ไต่คุณ แล้วคุณสามารถระลึกเหมือนที่มดดำมันไต่ได้หรือไม่ เพราะอาการที่คุณเล่ามันยังอยู่ภายใต้อำนาจของสมอง แต่สติสัมปชัญญะในระดับรู้ชัด ทำด้วยตัวสติมันเองได้
ผมพลอยได้ของสติแบบรู้จริงก็คือสิ่งที่คุณเล่ามา


แต่ผมจะเล่าผมพลอยได้ของสติสัมปชัญญะ ในระดับรู้ชัดให้คุณฟังบ้าง ทั้งที่ความจริงไม่อยากเล่า
  
  ผมเคยใช้ผลของการฝึกธาตุ 4  เปลี่ยนธาตุลม เป็นปราณร้อน และใช้พลังของแสงเผาเนื้อมะเร็ง ขนาด 9 คูณ 3 ซม. ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง หลังจากใช้เวลา 5 นาที ก็มีกลิ่นเน่าผสมไหม้ คละคลุ้งไปทั่วห้อง หมอ พยาบาล ญาติ หาที่มาของกลิ่นไม่ได้ว่ามาจากใหน เพราะดมที่ปาก ที่ก้น ที่จมูก ก็ไม่มีกลิ่น สร้างความประหลาดใจ ให้กับคนที่อยู่ในที่นั้น แต่ผมรู้ว่ากลิ่นมันระเหยออกตามรู้ขุมขน กลิ่นยังคงอยู่ ถึง 8 ชม. แล้วจึงสลายไป
รุ่งขึ้นหมอนัดขอทำ  ct-scan  ผลของการทำ ct-scan ออกมา  ต้วก้อนมะเร็งลดจาก 9คูณ 3  เหลือ 3 คูณ 3ซม. สร้างความประหลาดใจให้กับหมอเป็นอย่างมาก ผมไม่อยากเล่าต่อ ยังมีอีกหลายเรื่องซึ่งเป็นผมพลอยได้ของสติสัมปชัญญะในระดับรู้ชัด

          คุณคิดว่าเป็นข้อปลีกย่อยไม่ถูกตรงก็ไม่เป็นไร คุณก็ฝึกแบบของคุณไป  แต่มันน่าเสียดาย วันเวลาที่หมดไป
 
คราวนี้มาเรื่องของคุณ
            อานาปานสติเมื่อหายใจเข้าก็ต้องมีสติรู้ หายใจออกก็ต้องมีสติรู้ เข้าสั้นก็รู้ ออกสั้นก็รู้ เข้ายาวก็รู้ ออกยาวก็รู้.....

          และพุทธพจน์ที่เป็นอานาปานสติสูตร นั้นตรงไปตรงมา เป็นหลักที่แน่แท้ไม่ก่อให้เกิดความไขว่เขว  



ถูกต้องครับ อานาปานสติสูตร นั้นตรงไปตรงมา ไม่ไขว่เขว
มีตรงใหนของอานาปานสติที่คุณยกมา  กล่าวถึงลมที่ต้องกระทบที่จมูกด้วย
ใหนคุณบอกว่าตรงไปตรงมา  ลมที่กระทบจมูกมาจากใหน
ขอความกระจ่างด้วยครับ
 

ตอบโดย: พลังไฟ 12 ก.พ. 51 - 14:12


ขออนุโมทนากับการสนทนาของคุณ Vicha และคุณ พลังไฟ ด้วยครับ ผมชอบมากเรื่องสภาวะประสบการณ์การปฏิบัติของคนอื่นน่ะครับ ทำให้ได้ทราบรายละเอียดและเรื่องราวน่าสนใจมากมาย      

ตอบโดย: wit 12 ก.พ. 51 - 14:35


เรียน คุณ wit
   ขอบคุณที่ให้กล่าวถึง

       อาจารย์สุจิณต์ เคยอธิบาย ถึงเรื่องกองลมในอานาปานสติ ว่า มาจากคำบาลี ว่า สรรพกายะ
ถ้าเป็นสรรพกายะเเท้ๆ อาจารย์หลุดปากมาว่าเป็นไปไม่ได้ในป้จจุบัน ที่คนจะทำได้
แต่เชื่อว่าเป็นไปได้ในสมัยพุทธกาล
ท่านจึงยกว่าอานาปานสติเป็นของมหาบุรุษ

       และในทำนองเดียวกัน การระลึกแบบ รู้ชัดในรูป ยื่น เดิน นั้ง นอน แบบมหาภูตรูป และสุขุมรูป ดั่งที่ผมเคยอธิบายไว้ ท่านอาจารย์ก็หลุดปากว่าเป็นไปไม่ได้ในปัจจุบัน

 แต่คุณ vicha กลับเห็นว่าเป็นเรื่องปลีกย่อย ไม่ควรไปติดยึด  น่าเสียดายจริงๆ ดาวตกคงไม่ตก ให้เราเห็นบ่อยๆ ในชิวิตหนึ่งๆ

     

ตอบโดย: พลังไฟ 12 ก.พ. 51 - 15:29


เรียนคุณพลังไฟ ธรรมะเป็นเรื่องลึกซึ้งและละเอียดอ่อน ยากนักที่บุคคลใดจะเข้าใจและเข้าถึงแทงตลอดในธรรมได้ทั้งหมด เห็นจะมีก็แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่ท่านทรงกระทำได้ ส่วนบุคคลอื่นนอกนั้นก็คงเข้าใจและเข้าถึงธรรมได้ในขอบเขตจำกัด ขึ้นอยู่ที่บุญวาสนาและระดับอินทรีย์ของแต่ละท่านน่ะครับ ยังไงการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์การปฏิบัติธรรมของแต่ละท่าน จะมีประโยชน์สำหรับบุคคลอื่นมากเลยครับ เพราะว่าจะทำให้ได้เห็นมุมมองและทราบถึงประสบการณ์ของสภาวะธรรมที่แตกต่างจากตนเองได้ เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้นน่ะครับ

วิชาพุทธศาสตร์หรือความรู้ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้นั้นเป็นศาสตร์วิชาที่ลึกซึ้งละเอียดอ่อน ถ้าใครคิดที่จะแทงตลอดหรือต้องการที่จะเป็นเหมือนพระองค์ ลำพังการเรียนรู้เพียงแค่ไม่กี่ชาติ(หรือเพียงแค่ไม่ถึงร้อยปีในชาติเดียว) เราก็ยังคงไม่สามารถแทงตลอดในธรรมทั้งปวงได้หรอกครับ คงต้องศึกษาและปฏิบัติติดต่อกันไปอีกหลายชาติทีเดียว

ตอบโดย: wit 12 ก.พ. 51 - 16:00


    คุณพลังไฟ ถ้าต้องการประสงค์ แสดงความสามารถพิเศษ คุณน่าจะตั้งกระทู้ขึ้นมาเองนะครับ (ผมทราบความคิดของคุณพลังไฟทั้งแต่ คุณพลังไฟ แสดงความคิดเห็นครั้งที่ 2 แล้ว)  จะได้สนทนากัน หรือคุยกันในสิ่งที่คุณคิดว่าดีอย่างเป็นระบบและอยู่ในส่วนที่คุณสนทนานะครับ

     ส่วนเรื่องที่ผมถามว่า สติ รู้จริง รู้ชัด  รู้ยิ่ง  คุณพลังไฟ เอามาจากไหน?
     คุณบอกว่าเอามาจาก web บ้านธัมมะของอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

     คุณพลังไฟลองไปดูข้อมูลใหม่ นะครับ ว่าจะเป็นอย่างที่คุณเข้าใจมาเสนอหรือเปล่า?

      สติ หาได้เป็นตัวรู้สิ่งใดหรอกครับ เพราะคือความตื่น ความเท่าทัน ความว่องไว
      ส่วน "รู้จริง รู้ชัด รู้ยิ่ง" ก็คือ "ปัญญา" นั้นเองครับ
      
      ถ้ากล่าวให้ถูก น่าจะกล่าวว่า "มีสติ รู้จริง รู้ชัด รู้ยิ่ง"   สรูปลงคือ มีสติปัญญา นั้นเอง

      อีกอย่างหนึ่งที่คุณพลังไฟถาม  "อ้างอิง
ลมที่กระทบจมูกมาจากใหน ขอความกระจ่างด้วยครับ
"

      การรู้ชัดว่าหายใจเข้าหรือหายใจออก  รู้ได้จากอาการทางกายก็ได้ รู้ได้จากลมที่กระทบก็ได้
       ดังนั้นสิ่งที่ผมอธิบาย ก็ไม่มีสิ่งผิดนะครับ

       แต่ถ้ากล่าวว่า มีสติรู้ลมหายใจเข้าหรือออก โดยไม่อาศัย อาการทางกาย หรือจากการที่ลมกระทบ  นั้นแหละแปลก จะกลายเป็นคิดหรือปรุงแต่งไปเองไม่เป็นไปตามสภาพแห่งความจริง  ผลที่ปรากฏก็อาจจะไม่ใช้อานาปานสติ หรือแบบกึ่งๆ กลางๆ ก็ได้ นะครับ

      ดาวตกที่คุณพลังไฟ กล่าวนั้นหรือ...  ตกจากที่สูงผมก็เป็นหลายครั้งแล้วครับ แม้กระทั้งตกแล้วดับก็มีนะครับ...

      ถ้าคุณพลังไฟจะคุยเรื่องประสบการณ์แปลกแวกแนวเกินไปจากอานาปานสติสูตรมากเป็นหลัก  คุณพลังไฟน่าจะตั้งกระทู้ขึ้นเองนะครับ อาจจะมีคนเข้าไปสนทนากับคุณพลังไฟหลายท่านนะครับ อย่างน้อยก็คุณ wit หนึ่งคนครับ

     ไม่ใช่ใช้อารมณ์ตอบมากมายนะครับ แต่เสนอแนะนำครับ (กลัวจริงๆ  ว่าจะเข้าใจผิดกันไปใหญ่อีก)

 

ตอบโดย: Vicha 12 ก.พ. 51 - 17:07


อ้างอิง
ถ้าคุณพลังไฟจะคุยเรื่องประสบการณ์แปลกแวกแนวเกินไปจากอานาปานสติสูตรมากเป็นหลัก  คุณพลังไฟน่าจะตั้งกระทู้ขึ้นเองนะครับ อาจจะมีคนเข้าไปสนทนากับคุณพลังไฟหลายท่านนะครับ อย่างน้อยก็คุณ wit หนึ่งคนครับ


  ยอมรับว่าผมชอบเรื่องอะไรแปลกๆน่ะครับ ยิ่งเกี่ยวกับประสบการณ์การปฏิบัติธรรมของแต่ละคนก็ยิ่งชอบใหญ่ ผมว่าถึงนักปฏิบัติเล่าประสบการณ์ส่วนตัวให้คนอื่นฟังก็คงไม่เป็นไรหรอกครับ สำคัญคืออย่าไปยึดมั่นถือมั่นหรือยึดติดจนกลายเป็นอุปาทานไปก็พอแล้ว เป็นกำลังใจให้นักปฏิบัติมือใหม่ๆได้อ่านแล้วเกิดกำลังใจด้วยนะครับ  


อ้างอิง
ไม่ใช่ใช้อารมณ์ตอบมากมายนะครับ แต่เสนอแนะนำครับ (กลัวจริงๆ  ว่าจะเข้าใจผิดกันไปใหญ่อีก)

ส่วนหลักการปฏิบัติธรรมนั้น ก็มีพระสูตรและคำอธิบายของหลวงปู่หลวงพ่อที่ท่านเชี่ยวชาญในกรรมฐานมาคอยเป็นหลักให้เปรียบเทียบอยู่แล้ว อย่างผมเองก็ยกคำอธิบายของหลวงปู่เทสก์มาประกอบ ซึ่งผมเห็นว่าท่านสอนได้ละเอียดและถูกต้องตามพระพุทธพจน์ได้ดีมาก บวกกับประสบการณ์จริงด้วยยิ่งทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นไปใหญ่ คำสอนของท่านสามารถนำมาเป็นหลักในการปฏิบัติกรรมฐานได้เลยนะครับ

ถ้าใครสอนผิดแปลกแตกต่างออกนอกลู่นอกทาง เมื่อเทียบเคียงกับเนื้อหาในพระสูตรและคำอธิบายของหลวงปู่เทสก์ที่ผมยกมา ก็จะทราบได้เองน่ะครับ

ตอบโดย: wit 12 ก.พ. 51 - 17:19


เรียน คุณ vicha

ถ้ากล่าวให้ถูก น่าจะกล่าวว่า "มีสติ รู้จริง รู้ชัด รู้ยิ่ง"   สรูปลงคือ มีสติปัญญา นั้นเอง

ขออนุโมทนา ในความรู้จริง ของคุณ vichaจริงๆๆ

การรู้ชัดว่าหายใจเข้าหรือหายใจออก  รู้ได้จากอาการทางกายก็ได้ รู้ได้จากลมที่กระทบก็ได้
       ดังนั้นสิ่งที่ผมอธิบาย ก็ไม่มีสิ่งผิดนะครับ


ไม่ผิดจริงๆ ครับคุณ vicha ในความรู้ความเข้าใจของคุณ คุณรู้แค่ใหนก็จะอธิบายได้แค่นั้น

แต่ถ้ากล่าวว่า มีสติรู้ลมหายใจเข้าหรือออก โดยไม่อาศัย อาการทางกาย หรือจากการที่ลมกระทบ  นั้นแหละแปลก

ใช่นั้นและแปลก แปลกจากความเป็นจริงที่กล่าวในพระสูตร พระสูตรคือความถูกต้องถูกตรง
คุณกำลังค้านกับพระสูตร คุณค้านกับผมไม่เป็นไรเพราะผมก็แค่ชาวบ้าน
    แต่นี่คุณกำลังเถียงกับคำสอนของพระพุทธเจ้า น่ากลัวนะครับ

ผมยกแม่น้ำทั้ง 5 มาให้คุณเห็นแต่ มันไม่ได้สะกิดใจอะไรคุณเลย

 จะกลายเป็นคิดหรือปรุงแต่งไปเองไม่เป็นไปตามสภาพแห่งความจริง  ผลที่ปรากฏก็อาจจะไม่ใช้อานาปานสติ หรือแบบกึ่งๆ กลางๆ ก็ได้ นะครับ  

คุณกำลังกล่าวว่า สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนผิดเพี้ยนไปไช่ไหมครับ ผิดเพี้ยนจากความคิดของคุณไช่ไหมครับ


 

ตอบโดย: พลังไฟ 13 ก.พ. 51 - 10:02


ตอบ คุณพลังไฟ

         นี้แหละคือสิ่งที่ผมกังวลในเรื่องการสนทนาในที่สาธารณะ  คือการหยิบบทความหรือคำพูด ที่ผู้พิมพ์ไม่มีเจตนา อันใดเลย แต่ผู้อ่านหรือผู้ฟัง เอาหรือตัดประโยคเหล่านั้นมากระทบตนเอง  หรือเบี่ยงเบนเจตนาทำให้เกิดความไม่เหมาะสมไม่เป็นจริง ไปเสีย

   ผมจะชี้ให้คุณพลังไฟเห็นเป็นข้อดังนี้

  1.  จากข้อความ อ้างอิง
แต่ถ้ากล่าวว่า มีสติรู้ลมหายใจเข้าหรือออก โดยไม่อาศัย อาการทางกาย หรือจากการที่ลมกระทบ  นั้นแหละแปลก

ใช่นั้นและแปลก แปลกจากความเป็นจริงที่กล่าวในพระสูตร พระสูตรคือความถูกต้องถูกตรง
คุณกำลังค้านกับพระสูตร คุณค้านกับผมไม่เป็นไรเพราะผมก็แค่ชาวบ้าน
    แต่นี่คุณกำลังเถียงกับคำสอนของพระพุทธเจ้า น่ากลัวนะครับ


    ผมมีบทความส่วนไหนหรือ ? ที่ไปคัดค้านพระสูตร  แต่ คุณพลังไฟกำลังวิเคราะห์และสรุปเองไม่ใช่หรือครับ

  2.  จากข้อความ อ้างอิง
ผมยกแม่น้ำทั้ง 5 มาให้คุณเห็นแต่ มันไม่ได้สะกิดใจอะไรคุณเลย

 จะกลายเป็นคิดหรือปรุงแต่งไปเองไม่เป็นไปตามสภาพแห่งความจริง  ผลที่ปรากฏก็อาจจะไม่ใช้อานาปานสติ หรือแบบกึ่งๆ กลางๆ ก็ได้ นะครับ

คุณกำลังกล่าวว่า สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนผิดเพี้ยนไปไช่ไหมครับ ผิดเพี้ยนจากความคิดของคุณไช่ไหมครับ


       ไม่สกิดได้อย่างไร เพราะผมเข้าใจที่คุณพิมพ์มา และอ่านทบทวน
       แต่เป็นการที่คุณพลังไฟคิดไปเอง และตัดบทความเพียงบางส่วน แล้วคิดไปเองว่า ผมไปว่าหรือตำหนิคุณ หรือพระพุทธเจ้า  ผมไม่ได้มีจิตใจไปตำหนิคุณหรือว่าพระพุทธเจ้าสอนผิดเพี้ยนนะครับ  ทุกอย่างออกมาจากใจที่คุณพิมพเองคิดมาเองในความคิดเห็นข้างบนนะครับ (ผมงงๆ เลยครับ)

   3. และข้อความสุดท้าย จากบทความส่วนแรก
อ้างอิง
 การรู้ชัดว่าหายใจเข้าหรือหายใจออก  รู้ได้จากอาการทางกายก็ได้ รู้ได้จากลมที่กระทบก็ได้
       ดังนั้นสิ่งที่ผมอธิบาย ก็ไม่มีสิ่งผิดนะครับ

ไม่ผิดจริงๆ ครับคุณ vicha ในความรู้ความเข้าใจของคุณ คุณรู้แค่ใหนก็จะอธิบายได้แค่นั้น

ประโยคที่ว่า "คุณรู้แค่ใหนก็จะอธิบายได้แค่นั้น"  เป็นตรรกที่คุณพลังไฟกำลังจัดลำดับชั้นความเป็นอะไรอยู่นะครับ

       ซึ่งความจริงไม่จำเป็นเสมอไปครับ  ในหลายอย่างหลายครั้งรู้มากกว่านั้น แต่อธิบายเฉพาะในส่วนที่จำเป็นและสำคัญเข้ากันได้ก็มีนะครับ
       ดังนั้น ประโยคที่คุณว่านั้น จึงไม่ถูกต้องเสมอไปนะครับ

      (พิมพไปไม่ได้มีอารมณ์มากนัก แต่แปลกใจครับ)

 

ตอบโดย: Vicha 13 ก.พ. 51 - 10:59


ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดี ไว้ชอบแล้วนั้น ก็เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เพื่อความพ้นทุกข์ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต

การถกเถียงธรรมกันนั้นดี หากต่างฝ่ายต่างลดทิฐิมานะ ย่อมเกื้อกูลประโยชน์ซึ่งกันและกัน คือ ต่างฝ่ายต่างจะเห็นกิเลส น้อยใหญ่ที่มีและซ่อนอยู่ในตนอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน นั่นแหละคือประโยชน์ที่จะได้รับ และสามารถต่อยอดต่อธรรมให้เกิดขึ้น ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่านทุกเมื่อ สาธุ

ตอบโดย: ช.ชุตินธโร 13 ก.พ. 51 - 13:08


เรียนคุณ vicha

      ผมไม่รู้สึกว่าคุณตำหนิเอะไรผม เราก็ต่างแสดงความคิดเห็น
คุณไม่เห็นด้วยก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องในความเห็นของคุณ vicha ครับ
 ผมปฏิบัติได้มาอย่างไร รู้มาอย่างไร ก็แสดงไปอย่างนั้น

             เมื่อหายใจออกยาว  ก็รู้ชัดว่า  หายใจออกยาว  หรือเมื่อหายใจ
เข้ายาว  ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว
    เมื่อหายใจออกสั้น  ก็รู้ชัดว่า  หายใจออกสั้น  หรือเมื่อหายใจ
เข้าสั้น  ก็รู้ชัดว่า  หายใจเข้าสั้น


 
เราต้องเข้าใจเสียก่อนว่า เรากำลังฝึกอะไร เมื่อเราฝึกลมเราต้องรู้ชัดที่ลมหายใจ
เฉพาะในพระสูตรนี้นะ ไม่ว่าเราจะหายใจ เข้า- ออก ยาวหรือสั้น ไม่มีส่วนใหน
กระทบกับอะไรเลย  ในทางปฏิบัติก็เป็นอย่างนั้น สำคัญเรารู้ ชัดที่ลมได้หรือเปล่า

และที่สำคัญของพระสูตรอีกอย่างคือ เราต้องไม่บังคับ หรือจัดการกับอะไรกับลม
เวลาที่เราไม่ได้มีสติอยู่กับลมหายใจ ลมหายใจก็ยังดำเนินไปตามธรรมชาติ เรารู้ชัดกับขบวนการของลมตรงนี้ได้ไหม (ฟังดูง่าย แต่ไมง่ายอย่างที่คิด )
ในอานาปานสติ จุดที่ลมกระทบตามที่คุณ vicha ปฏิบัติ หรือแม้แต่ การหายใจ ในเบื้องต้น-ท่ามกลาง และสุดท้าย (จมูก-หน้าอก-ท้อง) พระพุทธองค์ ก็ยังไม่สรรเสริญ

          แต่พระองค์ทรงสรรเสริญอานาปานสติบรรพะที่เรากำลังสนทนาว่ายิ่งใหญ่ มีอนุภาพมาก

       ที่นี่มาพูดถึงเรื่องกองลม  ผู้แปลความหมายจากภาษาบาลี คือ สรรพกายะ ว่ากองลม   ก็ถือว่าสุดยอด กองลม โดยสามัญสำนึก มันก็คือ กลุ่มก้อนของลม
  เราจะสำเหนียก รู้ตลอดกองลม หายใจเข้า หรือ ออก  เพราะฉนั้น ไม่ว่าเราจะหายใจ
เข้า หรือ ออก   ยาว หรือ สั้น

เราจะต้องระลึกได้ทั้งกองลม ไม่ว่า เข้าหรือออก
ในภาษาบาลี คำว่ากองลม คือสรรพกายะ รู้ตลอดกองลม หรือ รู้ตลอดสรรพกายะ หรือรู้ตลอดร่างกาย  ถ้าอธิบายเป็นภาษาพูด ถ้าเรายังไม่รู้ชัดในลม หรือ กองลมยิ่งเข้าใจยาก
      
       ผมจะอุปมัยเหมือน ตัวเราทั้งตัวคือลูกโป่งหนึ่งลูก
ทุกครั้งที่เราเป่าลูกโป่งไม่ว่าเราจะเป่าได้ยาว หรือ เป่าสั้น ตัวลูกโป่ง ก็จะพอง ถ้าเราเป่าแรงคือยาว ลูกโป่งก็พองมากและลมก็กระจายไปทั่วลูกโป่ง คือสรรพกายะ
   ในทำนองเดียวกันถ้าเราเป่าค่อย หรือสั้น ลูกโป่งก็พองน้อยแต่ ลมก็ยังกระจายไปทั่วลูกโป่ง คือทั่วสรรพกายะ
    ในทำนองเดียวกันที่เราหายใจออกเหมือนตอนที่ลูกโป่งแฟบ เราก็ต้องระลึกถึงลมทั้งหมดที่อยู่ในลูกโป่งเมื่อลมใหลออก เหมือนเวลาที่เราหายใจออก (บางคนเข้าใจว่า การหายใจแบบ ในเบื้องต้น-ทามกลาง-ที่สุด คือกองลมทั้งปวง ไม่ต้องพูดถึง ลมที่กระทบ เข้าหรือออกว่าเป็นกองลม ) ฉนั้นครูบาอาจารย์บางท่านที่สอนในเรื่องนี้ ถึงบอกว่า
เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากในปัจจุบัน และไม่เชื่อว่ามี
 

    เวลาที่เราหายใจเขัาหรือออก ไม่ว่ายาวหรือสั้นเราต้องระลึกให้ได้เหมือนลูกโป่ง
เราจะระลึกได้ตลอดกาย ตลอดผิวหนัง ทุกรูขุมขน  นั้นคือเราจะสำเหนียกตลอดกองลม
 แต่ถ้าทำตรงนี้ไม่ได้ ก็ไม่ต้องพูดถึง ในขั้นต่อๆ ไป เพราะเราจะไม่เห็นความยิ่งใหญ่
ของอานาปานสติ และเราก็จะไม่เห็น ว่าสติปัสฐาน 4 บริบูรณ์ได้อย่างไร โดยแค่เจริญ อานาปานสติให้มาก กระทำให้มาก ตามที่พระพุทธองค์ตรัสไว้

     ลมที่เข้าหรือออกโดยที่เรารู้ชัดโดยธรรมชาติ ตลอดกองลม ถ้าเราทำให้เป็นวสีได้แล้ว
มันจะไม่มีความต่างกันของลมภายในร่างกาย หรือลมภายนอกร่างกาย มันแทบเสมอกัน
มัน มีกายเหมือนวัตถุโปร่งๆ ที่มีลมละเอียดผ่านเข้าออก (ขอเน้น ไม่มีนิมิต เป็นสติสัมปชัญญะล้วนๆ)
 
  
ใหนๆ ก็ ก็ใหน แถมให้อีกหนึ่งเรื่องว่า
        ทำไม ต้องนั่งคู้บัลลังค์ ตั้งกายตรง  ดำรงสติเฉพาะหน้า

เอาเฉพาะ ดำรงสติเฉพาะหน้า ทำไมต้องเฉพาะหน้า  คำว่าเฉพาะหน้า มาจากบาลีว่า
ปริมุขขัง    ปริ แปลว่า รอบๆ
                มุขขัง แปลว่า   ปาก หรือ ส่วนที่ยื่นออกไป เหมือนหน้ามุขของบ้าน
ถ้าแปลว่า รอบๆปาก ก็ฟังดู ตลก  ดำรงสติรอบๆปาก หรือดำรงสติรอบๆส่วนที่ยื่นออกไป
ท่านผู้รู้ ถึงได้แปลว่า ดำรงสติเฉพาะหน้า  มันดูเข้าท่ากว่า  ดำรงสติรอบๆปาก
   ที่ผมจะอธิบายเป็นแค่ความเห็นส่วนตัวจากการ ปฏิบัติเท่านั้น
     
     ให้เรา นึกถึงอุปมัยที่ผมได้กล่าวในเรื่องกองลมกับลูกโป่ง เวลาที่เราเป่าลูกโป่ง
เราเอามือจับที่ใหน เราจับที่ กลางลูกโป่ง ก้นหรือปลายลูกโป่ง แล้าเราเป่าลูกโป่ง
ถนัดไหม  เราสามารถตอบได้เลยว่าไม่ถนัด
 โดยธรรมชาติทุกคนก็จับที่ปากลูกโป่งถึงจะถนัด ลมก็เข้าไปตามธรรมชาติของลม
 ที่ยาวหรือสั้น  ตำแหน่งที่จับก็เปรียบได้กับสติ
       ในอานาปานสติก็เหมือนกัน สติก็เป็นเรื่องของสติ ลมที่เข้าหรือออกก็เป็นไปโดยธรรมชาติของลม สัมปชัญญะเป็นเรืองของสัมปชัญญะ
     ในทางปฏิบัติของผม ผมก็ยังใช่สติอยู่รอบๆปาก เหมือนในบาลีที่กล่าวไว้
ผมเคยใช้สติเฉพาะหน้า รู้สึกว่ามันกว้างไปเวลาดำรงสติ  ผมถึงเข้ามาศึกษา ว่าบาลีเข้าใช้ว่าอะไร  ก็รู้ว่าเข้าใช้คำว่า ปริมุขัง ถึงได้ถึงบางอ้อ

 สุดท้าย
    
[SIZE=4]ประโยคที่ว่า "คุณรู้แค่ใหนก็จะอธิบายได้แค่นั้น"  เป็นตรรกที่คุณพลังไฟกำลังจัดลำดับชั้นความเป็นอะไรอยู่นะครับ[/SIZE

เป็นตรรกที่ผมใช้กับทุกคนและกับตัวผมเอง ว่าเรารู้แค่ใหนเราก็อธิบายได้แค่นั้น
ตามปัญญาหรือมีสติ ในระดับ รู้จริง หรือรู้ชัด หรือ รู้ยิ่ง

ขออภัยถ้าทำให้คุณ vicha ไม่สบายใจ

ตอบโดย: พลังไฟ 13 ก.พ. 51 - 15:51


  เป็นอันว่า คุณพลังไฟ ก็ได้อธิบาย ที่คุณพลังไฟปฏิบัติมาแล้วนะครับ

   จะเป็นอย่างไร ก็อยู่ที่คุณพลังไฟปฏิบัตินะครับ  ผมคงไม่ไปแชกแทรง อะไรกับคุณพลังไฟนะครับ เป็นเรื่องเฉพาะของคุณพลังไฟเองนะครับ.....
  
     เมื่อแนวคิดและแนวการปฏิบัติของคุณพลังไฟ เป็นอย่างนั้น ก็คงไม่เกี่ยวกับผมนะครับ
     ถ้าประสงค์เสนอแนวคิดและแนวปฏิบัติ ตามที่คุณพลังไฟเห็นว่าถูกหรือตรงตามที่คุณเห็น ก็น่าจะตั้งกระทู้ขึ้นเป็นของตนเองนะครับ เผื่อจะมีผู้ที่เห็นใกล้เคี่ยงกันรวมกันสนทนานะครับ

     ผมก็จะได้เสนอความคิดเห็น และทำความเข้าใจ อานาปานสติต่อนะครับ ในสิ่งที่ผมประสงค์เสนอต่อนะครับ

   

ตอบโดย: Vicha 13 ก.พ. 51 - 17:32


ความเห็นต่อไปนี้ไม่เกียวกับคุณพลังไฟแล้วนะครับ

   ผมจะย่ำเรื่องขันธ์ 5 ตามพุทธพจน์ต่อ อีกครั้งเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนของผู้ที่ติดตามอ่าน...

            ..............................
               ..............................

               ดูกรภิกษุ

              มหาภูตรูป ๔  เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติรูปขันธ์

              ผัสสะ  เป็นเหตุ เป็นปัจจัย  แห่งการบัญญัติเวทนาขันธ์

              ผัสสะ  เป็นเหตุ เป็นปัจจัย  แห่งการบัญญัติสัญญาขันธ์

              ผัสสะ  เป็นเหตุ เป็นปัจจัย  แห่งการบัญญัติสังขารขันธ์

              นามรูป เป็นเหตุ เป็นปัจจัย  แห่งการบัญญัติวิญญาณขันธ์ ฯ.


                                                  มหาปุณณมสูตร.


        พระพุทธเจ้าทรงตรัส เหตุปัจจัย ของการเกิดกองขันธ์ ทั้ง 5 อย่างชัดเจนแล้ว

        จากพระสูตร สามารถกล่าวได้ว่า เกิดกองขันธ์ ก็คือ นารูป + ผัสสะ +มหาภูตรูป  ดังนั้นจุดเด่นก็คือ รู้ตรงผัสสะเกิดนั้นเอง (วิญญาณ + ผัสสะ + ร่างกาย)

         ลมหายใจเช่นกัน จะรู้ว่ามีลมหายใจเข้าหรือออก ก็รู้ตรงเกิดผัสส หรือรู้ตรงส่วนที่สัมผัสกับลมที่เคลือนนั้นเอง

          หรือจะรู้ว่า หายใจเข้าหายใจออก (ไม่เกี่ยวกับมีลมเข้าหรือออกจมูกหรือไม่) ก็รู้ได้จากร่างกายที่กำลังทำงานเพื่อสูบลมเข้าและปล่อยลมออกไปนั้นเอง

         ดังนั้นมีหลักสังเกตุ 2 อย่าง ในช่วงเดียวกัน คือ รู้กองลมที่สัมผัสกับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ก็คือจมูกเป็นต้นไป  กับภาวะร่างกายที่กำลังอัด(สูบ)หรือปล่อยลม

      เสนอแค่นี้ก่อนนะครับ หมดเวลาแล้ว สำหรับวันนี้

  

ตอบโดย: Vicha 13 ก.พ. 51 - 17:51


ขออนุญาตเจ้าของกระทู้เป็นผู้ถามครับ

คำถามครับ ลมหายใจ กับจิตนี้เกี่ยวข้องกันไหมครับ

แล้วจิตที่มันกระเพื่อมไหวอยู่นั่นเกี่ยวกับลมหายใจไหมครับ

บางครั้งลมหายใจละเอียด และบางครั้งก็หยาบ เกี่ยวข้องกับจิตไหมครับ

กองขันธ์ที่ว่าได้แก่ นาม และรูปนั้น เกี่ยวข้องกับลมหายใจไหมครับ แล้วลมหายใจนั้นเกี่ยวข้องกับจิตไหมครับ รวมทั้งผัสสะทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับนาม และรูปนั้น เกี่ยวข้องกับจิตด้วยไหมครับ

ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น จะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไรครับ

 

ตอบโดย: ช.ชุตินธโร 13 ก.พ. 51 - 20:49


อ้างอิง
ขออนุญาตเจ้าของกระทู้เป็นผู้ถามครับ

คำถามครับ ลมหายใจ กับจิตนี้เกี่ยวข้องกันไหมครับ

แล้วจิตที่มันกระเพื่อมไหวอยู่นั่นเกี่ยวกับลมหายใจไหมครับ

บางครั้งลมหายใจละเอียด และบางครั้งก็หยาบ เกี่ยวข้องกับจิตไหมครับ

กองขันธ์ที่ว่าได้แก่ นาม และรูปนั้น เกี่ยวข้องกับลมหายใจไหมครับ แล้วลมหายใจนั้นเกี่ยวข้องกับจิตไหมครับ รวมทั้งผัสสะทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับนาม และรูปนั้น เกี่ยวข้องกับจิตด้วยไหมครับ

ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น จะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไรครับ


  ท่าน ช.ชุตินธโร  ถามได้ตรงกับใจของผมที่จะเสนอต่อไปครับ

  แต่ผมขออธิบายก่อนนะครับก่อนที่จะตอบคำถามของ ท่าน ช.ชุตินธโร เป็นข้อๆ ไป

  จากบทความในความคิดเห็นก่อนหน้านี้ของผม ที่ว่า

"        ลมหายใจเช่นกัน จะรู้ว่ามีลมหายใจเข้าหรือออก ก็รู้ตรงเกิดผัสส หรือรู้ตรงส่วนที่สัมผัสกับลมที่เคลือนนั้นเอง

          หรือจะรู้ว่า หายใจเข้าหายใจออก (ไม่เกี่ยวกับมีลมเข้าหรือออกจมูกหรือไม่) ก็รู้ได้จากร่างกายที่กำลังทำงานเพื่อสูบลมเข้าและปล่อยลมออกไปนั้นเอง"

  ข้างบนนั้นเป็นการ มีสติรู้ว่าหายใจเข้าและออก และกองลมเคลือนเข้าเคลื่อนออก ก็ตรงที่เกิดผัสสะหรือสัมผัส นั้นเอง
   และข้างบนนั้น มีสติรู้ว่าหายใจเข้าหรือออก ก็ตรงร่างกายสูบลมเข้าและปล่อยลมออก นั้นเอง

     ดังนั้นส่วนข้างบนนี้เป็นส่วนที่รู้ชัดทางกาย และผัสสะกับกองลมที่เคลื่อนโดยตรง

ต่อไป ถ้าเกิดสติรู้ผัสสะไม่ชัด หรือมีสติรู้ลมสัมผัสกับส่วนของร่างกาย (คือ ปลายจมูก หรือโพรงจมูก หรือในส่วนทางเดินของลมไม่ชัด) คือรู้กองลมไม่ชัดนั้นเอง  แล้วจะปฏิบัติได้อย่างไร? (เน้นสี)

    ก็สามารถปฏิบัติอานาปานสติได้เหมือนกัน อาจเกิดจากโครงสร้างจมูกหรือโพรงจมูก ไม่ก่อให้เกิดจุดสัมผัสที่เด่นชัด หรือไม่เกิดจุดผัสสะชัด ที่เกิดจากลมหายใจเคลื่อนกระทบเข้ากระทบออก
    เมื่อผัสสะไม่ชัด ก็สามารถรู้ลมที่เคลือนได้จาก เวทนา สัญญา สังขาร (ก็คือนาม หรือใจนั้นเอง)  ก็คือความรู้สึกว่า มีลมเคลือนเข้าเคลือนออก ที่ปลายจมูกหรือโพรงจมูกหรือทางเดินของลมก็ได้ นั้นก็คือใจรู้ แต่ไม่ได้รู้ตรงส่วนขณะผัสสะเกิดกระทบกันระหว่างลมกับส่วนของร่างกายอย่างชัดเจน  แต่ใจรู้ตรงที่ เวทนา สัญญา สังขาร ของการหายใจที่เกิดขึ้น

   ดังนั้นเวลาปฏิบัติจริงๆ บางครั้งก็รู้ชัดตรงลมกระทบเกิดผัสสะ บางครั้งก็รู้ตรงเวทนา สัญญา หรือสังขาร ในส่วนที่รู้สึกว่าหายใจ (อยู่ที่โครงสร้างของจมูก โพรงจมูกครับ)

   เอาละต่อไปผมจะยกที่ผมได้เล่าการปฏิบัติของผมที่เสนอไปแล้วในความคิดเห็นเก่า

    ผมจะเล่าอาการที่เกิดกับผมให้ฟังดังนี้
            เนื่องจากผมฝึกสติ หรือวิปัสสนามาก   เมื่อปรับฐานมามีสติรู้ลมหายใจเข้าหรือออก  ก็จะทำให้เกิดปัญหาในระยะแรก คือภาวะสองอย่าง
            1.มีสติรู้ลมได้สักพัก ก็จะเริ่มเบลอ แล้วไม่รับรู้อะไร เงียบหายไป
            2.มีสติรู้ลมได้สักพัก ก็จะเริ่มปรากฏ นิมิตขึ้นมาตลอด แล้วทิ้งสติที่รู้ลมหายใจ

           แต่เมื่อปฏิบัติไป ก็จะทราบว่า ถ้าเพ่งไปที่รูป(กายที่สัมผัสลม) จุดสัมผัสมาก ก็จะเกิดภาวแบบที่ 1
            ถ้ารับรู้เฉพาะที่ความรู้สึกแบบมีสติตรงความรู้สึกว่าหายใจเขาหรือออก ก็จะเกิดภาวะแบบที่ 2

           เมื่อเข้าใจการปฏิบัติแล้วฝึกได้อย่างดีพอควร เมื่อเกิดนิมิตขึ้นมา(สติทิ้งลมหายใจไปแล้ว) สติก็ตามรู้นิมิตนั้นโดยไม่ไปปรุงแต่ง ถึงจุดหนึ่งนิมิตนั้นก็จะดับ ต่อหน้าต่อตาแล้วมามีสติรับรู้ที่หายใจเข้าออก ตามปกติ
            แล้วถ้าเกิดภาวะการเบลอไม่รับรู้อะไร เหมือนอยู่ในภวงค์ลากยาวติดต่อกัน สติก็จะติดตามรู้ภาวเบลอนั้น เมื่อถึงจุดหนึ่งก็จะแน่นิ่งแล้วดับไปทันที แล้วมีสติรับรู้หายใจเข้าหรือออกทันที มีปิติสุขเบาๆ  ความสว่างเบาเกิดขึ้น

             คือหมายความว่า เมื่อฟุ้งในนิมิต  หรือเข้าภวงค์ลากยาวติดต่ออยู่  เมื่อภาวะนั้นดับ ก็จะมามีสติรู้ลมหายใจเข้าหรือออก โดยไม่แวะไปรับรู้ที่อื่นก่อนเลย  แต่สักพักหลังจากนั้นก็เป็นเรื่องปกติ อาจจะแวบไปคิดโน้นคิดนี้บ้าง ไปพิจารณาอย่างโนนอย่างนี้บางเป็นเรื่องธรรมดา แต่สติก็ยังรับรู้หายใจเข้าหรือ ออกอยู่ ผสมผสานอยู่.



     ต่อไปผมจะตอบคำถามท่าน ช.ชุตินธโร เป็นข้อๆ ที่ถามนะครับ

  จากคำถาม..  ลมหายใจ กับจิตนี้เกี่ยวข้องกันไหมครับ
   ผมตอบ..  เกี่ยวกันครับ

   จากคำถาม..  แล้วจิตที่มันกระเพื่อมไหวอยู่นั่นเกี่ยวกับลมหายใจไหมครับ
    ผมตอบ..  เกี่ยวกันครับ เพราะ เกิดเป็นเวทนา หรือสัญญา หรือสังขาร จิตจึงกระเพื่อมครับ

   จากคำถาม..บางครั้งลมหายใจละเอียด และบางครั้งก็หยาบ เกี่ยวข้องกับจิตไหมครับ
     ผมตอบ.. ตรงลมหายใจละเอียดหรือหยาบ จิตเป็นส่วนรับรู้จากลมเข้าหรือออกว่า แรงหรือพอดีหรือเบาครับ แล้วภาวะร่างกายและจิตก็จะปรับสภาวะเพื่อให้เกิดสมดุลย์ครับ
  
     จากคำถาม.. กองขันธ์ที่ว่าได้แก่ นาม และรูปนั้น เกี่ยวข้องกับลมหายใจไหมครับ
       ผมตอบ.. เกี่ยวครับ  วิญญาณ + ร่างกาย(มหาภูตรูป)และลมที่เข้าออก+ผัสสะ(ผัสสะ เป็นปัจจัยของ เวทนาสัญญา สังขาร)

     จากคำถาม แล้วลมหายใจนั้นเกี่ยวข้องกับจิตไหมครับ
       ผมตอบ.. คำตอบเช่นเดี่ยวกับข้างบน ถ้าแยกให้ชัดคือ วิญญาณ+ลมหายใจกระทบกับร่างกายตรงทางเดินลม + เป็นผัสสะ (ผัสสะเป็นปัจจัยของ เวทนา สัญญา สังขาร)
          
     จากคำถาม... รวมทั้งผัสสะทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับนาม และรูปนั้น เกี่ยวข้องกับจิตด้วยไหมครับ
       ผมตอบ..  ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย เป็นเวทนา สัญญา สังขาร เพราะมีวิญญาณอยู่ ก็คือจิต หรือใจ หรือนาม นั้นเองครับ   ส่วน รูป ก็คือ ส่วนร่างกายที่กระทบกับลม(ที่หายใจ)ก่อเป็นผัสสะครับ
    
     จากคำถาม..  ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น จะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไรครับ
       ผมตอบ..  ผมได้อธิบายทั้งหมดแล้วดังข้างบนครับ พระคุณเจ้า..

 

ตอบโดย: Vicha 14 ก.พ. 51 - 10:00


  ไม่ทราบว่า ท่าน ช.ชุตินธโร  เป็นพระหรือเปล่า?
  แต่ผมเคยเห็นท่านแนะนำตัวแวบๆ นานแล้วว่าท่านเป็นพระภิกษุ หรือเป็นคนละท่านกันครับ


  

ตอบโดย: Vicha 14 ก.พ. 51 - 11:20


ขอเรียนถามอย่างนี้ครับ เมื่อเจริญอานาฯ ตามทั้งหมดทั้งมวลแล้ว จะนำไปสู่วิปัสสนาญาณอย่างไร? โดยเฉพาะวิปัสสนาญาณระดับที่สูงสุดในฝ่ายปุถุชนคือ "สังขารุเปกขาญาณ"

ตอบโดย: baballius 14 ก.พ. 51 - 11:21


ผมขอเสนอพระสูตรนี้ เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับกระทู้นี้ครับ

071 อันตรายของสมาธิ

ปัญหา ในการเจริญสมาธิ บางครั้งเกิดนิมิตเห็นรูปแล้ว หรือเกิดโอภาสแสงสว่างแล้ว แต่ในไม่ช้าก็หายไป ทั้งนี้เพราะเหตุไร ?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนอนุรุท เมื่อก่อนตรัสรู้ ยังไม่รู้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ เราย่อมรู้สึกแสงสว่างและการเห็นรูปเหมือนกัน แต่ไม่ช้าเท่าไร แสงสว่างและการเห็นรูปอันนั้นของเรา ย่อมหายไปได้ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า อะไรหนอแลเป็นเหตุเห็นปัจจัยได้แสงสว่างและการเห็นรูปของเราหายไปได้ ดูก่อนอนุรุธ เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่าวิจิกิจฉา (ความสงสัยลังเล) แลเกิดขึ้นแล้วแก่เราก็วิจิกิจฉาเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจักทำให้วิจิกิจฉาไม่เกิดขึ้นแก่เราได้อีก
“.....ดูก่อนอนุรุธ เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่าอมนสิการ (การไม่ใส่ใจ) แลเกิดขึ้นแล้วแก่เราก็อมนสิการ เป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน ถีนมิทธะ (ความง่วงงุน) แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน...... ความหวาดเสียว...... แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน...... ความตื่นเต้น แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน...... ความชั่วหยาบ แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน...... ความเพียรที่ปรารภเกินไป แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน...... ความเพียรที่หย่อนเกินไป แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน...... ตัณหาที่คอยกระซิบ แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน...... ความสำคัญสภาวะว่าต่างกัน แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน...... ลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไป แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน...... เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจักทำให้วิจิกิจฉาอมนสิการ ถีนมิทธะความหวาดเสียว ความตื่นเต้น ความชั่วหยาบ ความเพียรที่ปรารภเกินไป ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป ตัณหาที่คอยกระซิบ ความสำคัญสภาวะว่าต่างกัน และลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไปขึ้นแก่เราได้อีก.....

อุปีกกิเลสสูตร อุ. ม. (๔๕๒-๔๖๑)
ตบ. ๑๔ : ๓๐๑-๓๐๖ ตท. ๑๔ : ๒๖๐-๒๖๓
ตอ. MLS. III : ๒๐๒-๒๐๕

 

ตอบโดย: svonnu48 14 ก.พ. 51 - 11:37


สาธุ สาธุ สาธุ

พอใจในคำตอบของคุณ Vicha ครับ คล้องจอง ไม่ขัดแย้งดี สาธุ

ขออนุญาตถามคำถามสุดท้ายครับ กายนั้นหายใจเข้าหายใจออก แล้วจิตนี้หายใจด้วยหรือไม่ครับ

ปล. ตอนนี้ผมอยู่ในเพศฆารวาสครับ เคยบวชเป็นพระ และได้รับฉายาว่า ชุตินธโร เมื่อประมาณ 20 กว่าปีมาแล้ว เลยนำมาใช้ เพื่อเตือนความทรงจำตนเอง และเห็นว่าสนทนาเกี่ยวกับธรรมเลยใช้โอกาสนี้นำฉายาที่ครูบาอาจารย์ท่านได้มอบให้มาใช้ และเคยแนะนำตัวไว้แล้วในลานธรรมแห่งนี้ครับ

ตอบโดย: ช.ชุตินธโร 14 ก.พ. 51 - 11:40


  ผมขอตอบคุณ  baballius สั้นๆ ก่อนนะครับ ว่า อานาปานสติสูตร นั้นมีถึง 16 วัตถุ(จาตุกะ)

  ในกระทู้นี้ตั้งแต่เริ่ม มาถึงตรงนี้ ยังเป็นส่วนของสมถะ หรือสมาธิ เสียมากกว่าครับ ส่วนวิปัสสนานั้นจะไปอยู่ในส่วน วัตถุ(จาตุกะ)หลังๆ ครับ เอาไว้ให้แสดงส่วนเบื้องต้นให้กระจ่างก่อน เป็นลำดับแล้วผมก็จะสรุปในช่วง วัตถุ(จาตุกะ) หลังจากนี้
  เพราะถ้าไปอธิบายกระโดดข้ามไปก่อนอาจจะก่อให้เกิดความสับสนกับผู้ติดตามได้
  นี้เฉพาะวัตถุ(จาตุกะ)เบื้องต้นเอง กว่าจะนำมาให้ผ่านมาถึงจุดนี้ได้ ก็เกิดภาวะแทรกแซงเห็นต่างกันหลายประการแล้วครับ

   

ตอบโดย: Vicha 14 ก.พ. 51 - 11:46


 จากคำถามของท่าน ช.ชตินธโร ... "กายนั้นหายใจเข้าหายใจออก แล้วจิตนี้หายใจด้วยหรือไม่ครับ"

  ตอบ... จิตหาได้หายใจด้วยครับ จิตรับรู้การหายใจเท่านั้นครับ  ถ้าจะกล่าวเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจน  เมื่อเราสนใจทำกิจการงานอย่างหนึ่งจดจ่ออยู่ ก็จะลืมการหายใจไปโดยปริยาย จิตก็ไม่ไปรับรู้การหายใจ และไม่รู้สึกถึงการหายใจด้วยครับ.

      ดังนั้นจิตหาได้หายใจด้วยครับ แต่จิตสามารถไปรับรู้การหายใจได้ครับ..

      หรือเมื่อได้สมาธิสูง ก็จะแยกได้ว่า ลมหายใจหยุดหรือแผ้วเบาไม่รับรู้ถึงลมหายใจ แต่จิตเป็นหนึ่งอยู่ในเอกคตรมณ์ ..

 

 

ตอบโดย: Vicha 14 ก.พ. 51 - 12:06


ข้อมูลกระทู้นี้หลากหลายและมีประโยชน์ครับ
  
        ความเห็นผมก็เช่นเดียวกับคุณ Vicha ประเด็นข้อนึงครับ
        คือ มุ่งไปประเด็นของ  อานาปานสติ ๑๖ ขั้น  ซึ่งเป็นวิปัสสนากรรมฐานเพื่อประจักษ์นามรูปธรรมชาติตามความเป็นจริง ภายใต้กฏไตรลักษณ์โดยลำดับขั้นไปโดยธรรมชาติ

       ทั้งนี้เมื่อนำเทียบเคียงกับสติปัฏฐาน ๔ (กาย เวทนา จิต ธรรม) ต่างกันเพียงแต่ฐานรูปเท่านั้น ส่วนฐานนามนั้นวิวัฒน์พัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน
        ฐานนาม คือ อารมณ์ ความรู้สึก(เวทนา) สภาพรู้(จิต) สภาพธรรมปัจจุบัน
        ฐานรูป คือ ลมหายใจ(อานาปานสติบรรพ-๑), อริยาบทต่างๆของร่างกาย(อริยบทบรรพหลักและย่อย-๒และ๓) ,ปฏิกูลสิ่งต่างๆของร่างกาย(ปฏิกูลมนสิการบรรพ-๔) ,ความเป็นธาตุของร่างกายของดิน น้ำ ไฟ ลม(ธาตุมนสิการบรรพ-๕) ,ศพในป่าช้าโดยอาการทั้ง ๙ ชนิด(นวสีวถิกาบพรรพ-๖)
        
        หลายส่วนในกระทู้นี้หลายท่านคุยเกี่ยวกับ อุบายวิธี ปฏิกูลมนสิการบรรพ-๔ ธาตุมนสิการบรรพ-๕ ในตอนท้ายๆ
        ผู้ปฏิบัติหลายท่านที่เจริญใน บรรพที่๕และบรรพที่๖ ต่างก็อาศัยอานาปานสติ ,บางท่านอาศัยบริกรรมพุทโธ หรืออาการพอง-ยุบของหน้าท้อง เพื่อช่วยให้จิตใจสงบในเบื้องต้น
       แล้วจึงไปพิจารณาแยกย่อยส่วนต่างๆภายในร่างกายบ้าง หรือความเป็นธาตุ๔ บ้าง แต่ทั้งนี้ก็ไม่จัดอยู่ในขอบเขตพระสูตรอานาปานสติ ๑๖ ขั้น โดยเต็มบริบูรณ์

        แม้ไม่อยู่ในขอบเขตอานาปานสติ ๑๖ โดยสมบูรณ์ ทั้งนี้ก็ไม่สามารถกล่าวว่าสิ่งดังกล่าวปฏิบัติผิดได้ หากผู้ปฏิบัติปฏิบัติไปเพื่อขัดเกลากิเลสภายในจิตใจของตนเอง ย่อมเกิดผลเจริญงอกงามทางจิตใจที่ดีแน่นอนไม่ว่าจะปฏิบัติด้วยอุบายวิธีใด
      
      หมายเหตุ ฐานรูป ดังที่แสดงไว้ทั้งสิ้นจากหมวดฐานกายที่มี ๖ หมวด ของสติปัฏฐาน ๔ (กาย เวทนา จิต ธรรม) ยกมาเพื่อให้ผู้ปฏิบัติเห็นได้ชัดเจนว่า แต่ละอุบายวิธีของ ๖ วิธีนั้น มีความแตกต่างกันการพิจารณามนสิการซึ่งในส่วนฐานรูปเท่านั้นก็คือฐานกาย ตามแต่วิธีตามความถนัด อุปนิสัยจริตของผู้ปฏิบัติ
      ทั้งนี้ยกมาเพื่อกันความสับสนของความเข้าใจที่อาจซ้อนทับกัน ของอุบายหลักวิธีปฏิบัติ และเพื่อความก้าวหน้าของผู้ปฏิบัติแต่ละอุบายวิธีที่ดำเนินไป
        ส่วนฐานนาม ล้วนดำเนินไปโดยเป็นอย่างเดียวกันรูปแบบของการวิวัฒน์เกื้อกูลคุณธรรมจิต ไปในทิศทางเดียวกัน แม้ฐานรูปจักดำเนินต่างกันอย่างไรก็ตาม
http://www.dhammachak.net/board/viewtopic.php?t=97

ขอเจริญธรรมครับ  

ตอบโดย: svt 14 ก.พ. 51 - 18:53


เวลากลั้นหายใจจิตทำงานหรือเปล่า และเวลาหายใจเข้าออกจิตทำงานหรือเปล่า จิตทำงานแบบไหน หากกายนี้เสื่อม หรือตายไป จิตนี้ยังทำงานหรือไม่ ลมหายใจก็คือจิต จิตก็คือลมหายใจใช่ไหมนั่น เมื่อเริ่มจากลมหายใจ สติกำหนดที่ลมหายใจ แล้วไฉนสติถึงไหลเข้ายังกาย เวทนา จิต และธรรมได้ อันนี้เก็บมาขบคิด วิตกวิจารณ์ดู

เวลาลมหายใจละเอียด จิตละเอียดไปด้วย เวลาจิตตื่นเต้น สะเทือนไหว ลมหายใจก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย แสดงว่า ลมหายใจต้องเกี่ยวข้องกับจิตโดยตรง สังเกตตอนที่นั่งสมาธิกำลังเพลิน ๆ ลมหายใจละเอียด สติถูกจูงเข้าในภวังค์ มีเสียงแค่ใบไม้ร่วงลงมา จิตนี้สะเทือนไหว ลมหายใจเต้นถี่ระรัว มันแปลกจริง ๆ มหัศจรรย์จริง ๆ ชวนให้ต้องค้นหาจริง ๆ

ลมหายใจที่สัมผัสเข้า ก็คือสภาวะที่รับเข้ามาซึ่งภายใน ลมหายใจออกก็คือสภาวะที่ส่งออกไปยังภายนอก เมื่อหายใจเข้าเกิดอาการรับ เมื่อหายใจออกเกิดอาการส่ง แสดงว่ากายอันประกอบด้วยอายตนะทั้งหกอันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ต้องมีสภาวะรับข้อมูลเข้ามา แล้วก็มีการส่งข้อมูลที่เกิดจากใจซึ่งเป็นประธาน เป็นผู้ตัดสินใจและสั่งการออกไป

ตานั้นมีดวงตา ที่เรียกว่าจักษุ มีส่วนที่รับรู้เรียกว่า จักษุวิญาณ หู ก็เช่นกัน จมูกก็ด้วย ลิ้นก็ใช่ กายทุกข์ส่วนก็ใช่ ใจก็ใช่ ลมหายใจมากระทบจมูกย่อมเกี่ยวเนื่องกับกาย และจิตด้วย หากจะกล่าวว่ากายหายใจเข้า หายใจออก ก็ต้องรวมทั้งส่วนของจิตด้วย กายทำงานได้อย่างไร จิตก็ทำงานได้อย่างนั้น แต่หน้าที่ต่างกัน จิตเกิด ๆ ดับ ๆ กายก็เช่นกัน สังเกตจากลมหายใจที่เข้า ๆ ออก ๆ ก็คือเกิด ๆ ดับ ๆ หรือ รับ ส่ง ธรรมชาติของกาย และจิตจึงแปรปรวน เปลี่ยนแปลงไม่คงที่ ที่ท่านเรียกว่า อนิจจัง ถ้าเชื่อว่าสังขารธรรมทั้งหลายเป็นอนิจจัง สติจะระมัดระวัง เพราะว่าเกิดความรู้ เกิดปัญญาขึ้นมาเอง คือว่า ไม่โง่แล้ว ถ้าหมั่นฝึกฝนไปเรื่อย ๆ จะชำนาญที่เรียกว่า ชำนาญในการเข้า ชำนาญในการออก สติ ปัญญา จะหมุนไปทางธรรม ที่ท่านเรียกว่า ธรรมจักร อันนี้เป็นความเห็นส่วนตน อาจนอกตำราหรือเปล่าไม่รู้ แต่ว่าเกิดความรู้ขึ้นมาจากภายในอย่างนี้ ผิดถูกประการใด ก็วิเคราะห์กัน

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จึงมีส่วนทำให้ตนเองเกิดความเชื่อมั่นต่อความจริง และยอมรับต่ออานาปานสติ และยอมรับ เชื่อมั่นว่าจิตนี้ใจนี้มีจริง ๆ ถ้าไม่มีลมหายใจให้ตามดู คงยากยิ่งที่จะไปพบเจอกายที่อาศัยจิตอันบวร คิดขึ้นมาทีไรกราบยอมรับ และสนิทใจต่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทุกครั้ง เต็มใจหมอบ และกราบราบ ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้าจริง ๆ สาธุ
 

ตอบโดย: ช.ชุตินธโร 14 ก.พ. 51 - 21:49


  ขอบคุณ คุณ svt ครับที่เสนอความคิดเป็นเพิ่มเติม

   ส่วน ท่าน ช.ชุตินธโร... (เมื่อเป็นฉายาพระ ความรู้สึกของผมก็ยังอิ่งอยู่กับพระ  เช่น ฉายาผมตอนบวชเมื่อ 25 ปีมาแล้วว่า "อาคโม" อ่านว่า อา-คะ-โม แปลความว่า ผู้มีวิชาเชียวชาญในอักระ )

       ด้วยความคิดเห็นที่103 ของ ท่าน ช.ชุตินธโร ผมจำเป็นต้องพิมพ์ต่อด้วยเรื่องสำคัญที่จะพัฒนาจนเกิดวิปัสสนาญาณ ให้พอทำความเข้าใจกัน
 
       ถ้ากล่าวว่า กาย กับ จิต นั้นสัมพันธ์กัน หรือเป็นเหตุเป็นปัจจัยกันนั้นได้ครับ

       แต่กายกับจิต นั้นคนละอันคนละอย่างกันครับ หรือกล่าวได้ว่า รูป กับ นาม นั้นคนละอย่างคนละอันกันครับ  ถ้าเรายังเห็น กายกับจิต หรือ รูปกับนาม เป็น อันเดียวกัน หรือแนบสนิทเป็นเนื้อเดียวกัน แยกแยะไม่ได้ด้วยสติปัญญาเป็นปัจจุบัน วิปัสสนาญาณเบื้องต้นย่อมเกิดไม่ได้

        วิปัสสนาญาณเบื้องต้นญาณที่ 1 คือ  นามรูปปริเฉทญาณ คือมีสติปัญญา แยกรูป แยกนามได้

        ความจริงถ้าเป็นผู้ที่ปฏิบัติ ได้ทบทวนแล้วปฏิบัติตามที่ผมอธิบายด้านบน และรู้เข้าใจความเป็นไตรลักณ์ มีสติอยู่กับปัจจุบัน ก็มีโอกาศ แยกรูปแยกนามได้ ในขณะที่ดูลมหายใจเข้าและออกนั้นแหละครับ

        แต่อานาปานาสติ ก็คืออานาปานสติ ที่เป็น สมถะและวิปัสสนากรรมฐาน ดังนั้นวัตถุเบื้องต้นของอานาปานสติสูตร จึงเป็นสมถะหรือสมาธิเสียมากกว่าเป็นธรรมดา
        จึงย่อมยังเห็นว่า เมื่อกายหายใจ จิตก็หายใจด้วย เป็นธรรมดา คือยังเห็นเป็นเนื้อเดียวกันอยู่ เพราะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ยังไม่เจริญพอ ไม่เท่าทันพอที่จะเห็นความเป็นไตรลักษณ์ แยกออกจากกันได้ชัดเจน จนเป็น นามรูปปริเฉทญาณ..

         ผมเสนอแนะให้ลองไปพิจารณาดูนะครับ..  เป็นเหตุเป็นปัจจัยกัน แต่ไม่ใช่เป็นเนื้อเดียวกันนะครับ และไม่ใช่ว่าต้องเหมือนกันนะครับ  สัมมาสติต้องเป็นปัจจุบันเท่าทันปัจจุบันดีขึ้น นามรูปปริเฉทญาณ จึงปรากฏ

  





  

     

ตอบโดย: Vicha 15 ก.พ. 51 - 09:48


ขออนุญาตถามเจ้าของกระทู้เป็นความรู้ครับ
     การได้ฌาน4 มีอาการดังนี้ใช่ไหม?
           คือเมื่อถึงฌาน4แล้ว จะรู้สึกว่าตัวเราหายไปเลย เหลือแต่จิตผู้รู้อย่างเดียว จิตจะเห็นแต่ความว่างเปล่าเหมือนกับมองไปในอวกาศ ไม่มีแผ่นดิน  หูเรา จมูกเรา ประสาทสัมผัสต่างๆจะไม่รู้สึกอะไรเลย
           อาการของฌาน4 ที่ถูกต้องคืออะไร? และจะป้องกันตนเองจากติดในรูปฌานได้อย่างไรครับ?

ตอบโดย: svonnu48 15 ก.พ. 51 - 13:27


ผมตอบ คุณsvonnu48 ตรงๆ นะครับ ถ้าตรงไปตรงมาสักหน่อยคงไม่เป็นไรนะครับ
  จากข้อความของ คุณsvonnu48

อ้างอิง
  คือเมื่อถึงฌาน4แล้ว จะรู้สึกว่าตัวเราหายไปเลย เหลือแต่จิตผู้รู้อย่างเดียว จิตจะเห็นแต่ความว่างเปล่าเหมือนกับมองไปในอวกาศ ไม่มีแผ่นดิน  หูเรา จมูกเรา ประสาทสัมผัสต่างๆจะไม่รู้สึกอะไรเลย


   (แม้แต่เข้าปฐมฌานก็หมดจากความรู้สึกจากประสาทสัมผัสภายนอกหมดแล้วเหมือนกันครับ)

   อาการที่กล่าวมานั้นน่าจะเป็น ฌาน แน่นอนครับ แต่จะบอกว่าเป็น ฌาน4 นั้นแค่นี้คงไม่สามารถสรุปว่า เป็นฌาน 4   ซึ่งความจริงต้องบอกอาการขององค์ฌานความแตกต่างแต่ละฌานให้ทราบด้วยตามลำดับจึงจะแน่นอนครับ หรือไม่ตามลำดับแต่แยกแยะแต่ละฌานได้นะครับ (เป็นภาวะหรือผลการปฏิบัติที่ปรากฏกับตนเองนะครับ)

    อีกอย่างหนึ่งที่พึงสังเกตคือ อัปปนาสมาธิ  ผู้ที่มีสติดีมาก(ปัญญามาก) จะทราบชัดถึงจิตลงอนุโลมระหว่างลงอัปปนาสมาธิ(แน่นิ่ง) และตัดขึ้นสู่องค์ฌาน
   
   จะเห็นว่า ฌาน แต่ละ ฌาน นั้นจะแบ่งกำลังออกเป็น 3 (ยกเว้นฌาน 4) อย่างเช่น ปฐมฌาน แบ่งเป็น 3 ระดับหรือเป็น 3 บุคคลเมื่อไปเกิดบนพรหมโลก
      คือแบ่งกำลังการได้หรือบรรลุปฐมฌานดังนี้
        1.มีกำลังอย่างอ่อนได้ปฐมฌาน  ถ้ารักษาฌานได้จนตายก็ไปเกิดเป็น ปาริสัชนาพรหม มีอายุ 1/3 กัป
        2.มีกำลังอย่างกลางได้ปฐมฌาน ถ้ารักษาฌานได้จนตายก็ไปเกิดเป็น ปุโรหิตพรหม มีอายุ 1/2 กัป
        3.มีกำลังอย่างสูงได้ปฐมฌาน ถ้ารักษาฌานได้จนตายก็ไปเกิดเป็น มหาพรหม มีอายุ 1 กัป

        ส่วนการได้รูปฌาน แบบอานาปานสติ ไม่ควรกลัวว่าจะหลงฌานหรือติดฌานครับ แค่รักษาฌานไว้ให้ได้ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ง่ายเลยครับ เพราะปฏิบัติอานาปานสติสมบูรณ์เท่าไหร สติปักฐาน4 ก็เจริญขึ้นเท่านั้น มีพุทธพจน์รองรับครับ
        ยกเว้นแต่บุคคลที่มีพื้นนิสัยขี้เกียจ หรือพอกพูนความขี้เกียจเท่านั้นเอง พอได้ฌานจากอานาปานสติแล้วเกิดภาวะขี้เกียจตามพื้นนิสัยหรือพอกพูนขึ้น แล้วไม่ยอมพัฒนาตนเองเพิ่มขึ้นเอาแต่ความสบายชอบหลับนอนเป็นส่วนมาก พอตื้นขึ้นมาก็ทำกิจกรรมเล็กน้อยหรือไปทำเพียงนิดโดยภาระกิจนั้นหาได้สมบูรณ์ แล้วไปนั่งเข้าสมาธิจุ่มลงฌานแล้วปล่อยให้หลับไหลต่อไปอีกปฏิเสธการรับรู้ เป็นอย่างนี้ทุกวี่วัน (ถ้าได้ฌาน 4 แล้วเป็นอย่างนี้น่ากลัวมากเพราะปฏิเสธการรับรู้ ที่ไม่ใช่เป็นเพราะปัญญาหลุดพ้น มีโอกาศไปเกิดเป็น อสัญญสัตราพรหม  มีแต่รูปไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น ถึง 500 กัป)

        และไม่ต้องกลัวว่า ได้รูปฌานแล้วไปเกิดเป็นพระพรหม(ไม่ไช่อสัญญสัตราพรหม) จะมีอายุยื่นเป็นร้อยกัป เพราะรูปพรหมนั้นก็ยังปฏิบัติธรรมต่อได้ครับ เมื่อคราวมีพระอรหันต์หรือพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นก็ยังมาฟังธรรมได้ครับ..

 

ตอบโดย: Vicha 15 ก.พ. 51 - 14:34


ขอขอบคุณ คุณvichaมากครับ ผมขอถามต่อนะครับ เข้าใจว่าคุณvicha คงได้ฌาน4แล้ว
           อาการตอนที่ได้กล่าวมานั้น ผมเคยพบเมื่อหลายปีมาแล้ว อาการก่อนจะถึงอาการนี้จะมีอาการตัวบวมพองโต พอเลยมาสักพัก ก็จะเกิดอาการดังที่ได้กล่าวมาครับ
      ตอนนี้ผมเริ่มฝึกใหม่ แต่ยังไม่ถึงอาการสุดท้ายนั้น
           ผมเริ่มฝึกด้วยตนเอง(ไม่ได้อ่านวิธีอานาปานสติ ทดลองเอง) ตอนแรกหายใจก่อนโดยกำหนดอยู่สติที่กลางท้อง
ต่อมาลมหายใจจะสั้นลงเรื่อยๆ ผมก็ใช้วิธีภาวนา พอเสียงภาวนาหายไป ก็ใช้วิธีภาวนาในใจ พอภาวนาในใจหายไป
ตอนนี้จะรู้สึกแล้วครับว่า  จิตของเราจะจับแน่นอยู่(รู้สึกว่าจะจับแน่นที่กลางท้อง) จิตไม่วิ่งไปไหน เข้าใจว่าจุดนี้คือจุดอัปปนาสมาธิใช่ไหมครับ ช่วงนี้อาการตัวบวมไม่มี แต่เข้าใจว่าคงเป็นจุดที่ไปสู่จุดที่ตัวหายไป ไม่ทราบว่าถูกหรือเปล่า ผมก็ปฏิบัติมาได้เท่านี้แหละครับ  อยากให้คุณvicha กรุณาแนะนำด้วย ขอขอบคุณมากครับ

            
      

ตอบโดย: svonnu48 16 ก.พ. 51 - 01:05


เข้ามาทักทายนะครับ
สาธุครับโยมพี่

ผมก็ใช้วิธีสังเกตุดูลมหายใจเข้า
มีสติรู้ลมเข้า มีสติรู้ลมออก

ผมก็ฝึกเรื่อยๆแบบนี้มา 13 ปีแล้ว
มันเป็นเหมือนอาหารของใจนะครับ
     

ตอบโดย: ฤาษี 16 ก.พ. 51 - 02:40


อ้างอิง (Vicha @ 05 ก.พ. 51 - 12:45)
รู้ผัสสะที่ลมกระทบ และรู้กายที่นั่งส่วนที่รู้ได้ด้วยตามภาวะที่ยังรับรู้กายอยู่ ซึ่งไม่ใช้การบังคับให้มารับรู้กายทั้งหมดนะครับ รู้เท่าที่รู้ แต่โพกัสอยู่ที่ลมกระทบโพรงจมูก(แล้วแต่ละบุคคล)

         ถ้าปฏิบัติช่วงนี้ได้อย่างมั่นคงแล้ว ผลปฏิบัติก็จะเกิดขึ้นในภายหลัง คือความเบากายเบาใจ เกิดปิติ หรือสุข คลุกเคล้าตามมา...
(Vicha @ 05 ก.พ. 51 - 12:45)


    อนุโมทนาค่ะ  

        เวลารู้ลมในโพรงจมูกชัดนี่ ของพรรณา ลมหายใจเข้าออกมันจะเย็นๆสบายๆค่ะ เหมือนความสามารถในการรับรู้ลมหายใจมันมีประสิทธิภาพขึ้นค่ะและรับรู้ความบริสุทธิ์ของลมหายใจได้มากขึ้นค่ะ มันจะสดชื่น แต่ได้แป๊ปเดียวไม่นานค่ะ พอความพอใจเกิดขึ้นแล้วดูไม่ทัน มันก็จะเผลอตกแว๊ปเลยค่ะ เหมือนสะดุ้งเล็กๆ
 
 ซึ่งปกติจะไม่รู้สึกถึงลมแบบนี้ค่ะ ต้องนั่งไปสักพักพอให้สงบก่อน แต่ถ้าไม่ตั้งสติในโพรงจมูก หรือไม่ตั้งสติพิจารณาลมเข้าออกที่ปลายจมูก แต่พยายามรู้ลมเข้าออกอย่างเดียว
คือ ไม่ยึดฐานใดไว้เลยตั้งแต่แรก จะฟุ้งมากค่ะสู้ไม่ไหว บางทีแทบไม่สงบเลยก็มีค่ะ

 ฝึกมา 2 ปีกว่า ๆ ตอนนี้ก็เป็นได้แค่แบบนี้แหละค่ะ พอสงบก็ ตกแว๊ปตลอดเลย หรือไม่ก็
เลยเผลอไปคิดต่อไปเลยค่ะ  

ตอบโดย: พรรณนา 16 ก.พ. 51 - 13:07


อ้างอิง (คนผ่านทาง @ 05 ก.พ. 51 - 16:02)
=======================================

           จริงๆแล้ว  เราเพียงแค่มองลมหายใจ  อย่างแผ่วเบาตามที่กายเราหายใจเข้าออกจริงๆก็พอ...  ดูการทำงานของกายเราจริงๆ    ให้เค้าแสดงไตรลักษณ์ให้ดู  จะเห็นผลมากกว่านะครับ ...   เพราะ ไม่เครียด  กับการกำหนดลมหายใจ ...   ดูแบบสบายๆ
 
(คนผ่านทาง @ 05 ก.พ. 51 - 16:02)


    อนุโมทนาค่ะ  

        แบบที่คุณบอกมานี้ก็ถูกต้องค่ะ  เวลาที่เราเสร็จจากภาระกิจทั้งหลายทั้งปวงแล้ว
 หาเวลาว่าง อาบน้ำชำระร่างกายให้สดชื่น นั่งลงปล่อยใจตามสบายไม่คิดอะไรเลย เหมือนจะปล่อยให้ใจลอย แต่ระลึกรู้ลมหายใจไว้ เหมือนนั่งพักเหนื่อยนะค่ะ บางครั้งก็เกิด
ความรู้สึกตัวเบากายเบาใจ สดชื่น ได้อย่างประหลาด

 แต่เวลานั่งสมาธิจริง ๆ ทำไม มันฟุ้งซ่านไปจังเลยก็ไม่รู้นะค่ะ ต้องให้เพ่งก่อนทุกทีซิน่า
ไม่เพ่ง ก็เผลอ คิดว่าคงต้องใช้วิธีดูจิตเข้าช่วย น่าจะดีที่สุดเลยค่ะ

 เพ่งแล้วรู้ เผลอแล้วรู้ ตามรู้ไปเรื่อย ๆ แล้วกันดีไหมค่ะ  เฮ้อ... ใครว่าง่าย  

ตอบโดย: พรรณนา 16 ก.พ. 51 - 14:23


จำได้ว่าตอนฝึกปีแรกๆมันมีนิมิตเยอะมาก
เช่น เหมือนเรากำลังดูหลอดไฟ
หรือกำลังดูดวงอาทิตย์
หรือกำลังนั้งดูตัวเองเหมือนกำลังส่องในกระจก
หรือเห็นตัวเองไปเที่ยวที่ต่างๆ
หรือมันมืดเฉยๆ

มาคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ครับ
ไม่รู้ใครเป็นบ้าง?

ตอบโดย: ฤาษี 17 ก.พ. 51 - 00:21


=================================

อ้างอิง
แต่เวลานั่งสมาธิจริง ๆ ทำไม มันฟุ้งซ่านไปจังเลยก็ไม่รู้นะค่ะ ต้องให้เพ่งก่อนทุกทีซิน่า
ไม่เพ่ง ก็เผลอ คิดว่าคงต้องใช้วิธีดูจิตเข้าช่วย น่าจะดีที่สุดเลยค่ะ


       แต่วมีนั่งจริง นั่งหลอกด้วยเหรอ...  ธรรมะไม่มีจริงหรือหลอกนะ  มีแต่ใจเราเองที่หลอกตัวเอง ...   ธรรมะมีแต่เกิดกับดับ... และธรรมะก็ไม่ได้เอาอะไรเราไปหรอกนะ ...

          สัพเพ สังขาราอนิจจา .... สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง...

           แม้แต่กายสังขาร  คือ ลมหายใจ  ก็เกิดดับเหมือนกัน
           จิตสังขาร  ที่ปรุงแต่งต่างๆ  ก็เกิดดับเหมือนกัน ...
       
         เรามาระลึกรู้ถึงความไม่เที่ยง ของกาย กับ จิต  นะครับ ....  เมื่อถึงจุดหนึ่งจะเห็นเองว่า ....  มีแต่สภาวะธรรมเท่านั้น ที่เกิดดับ ...   สภาวะธรรมเท่านั้นที่ตั้งอยู่และดับไป  ไม่มีอันไหนที่เรียกว่า ตัวตนเลย   แล้วมันจะส่งคืนธรรมชาติเอง   ดังใน อานาปาสติ ในขั้น  เห็นความไม่เที่ยง  จางคลาย  สลัดคืน  ....  นั่นเอง ....

            ต้นๆ  อาจจะทำในรูปแบบ  ....  เพื่อให้จิตตั้งมั่น  นุ่มนวลควรแก่การงาน ...

             พอได้ที่แล้ว  ก็เริ่มวิปัสสนา  ถอยมาดูพระไตรลักษณ์ต่อไป ....

          ไม่เห็นต้องไปปรุงแต่งยุ่งยากเลย ...  ธรรมะก็อยู่ในที่ยุ่งๆ  เนี่ยแหระ   อยู่ในจิตในใจเราเนี่ยแระ  ไม่ต้องไปหาข้างนอกเลยนะครับ ...


           =================================

ตอบโดย: คนผ่านทาง 18 ก.พ. 51 - 09:28


จำได้ว่าตอนฝึกปีแรกๆมันมีนิมิตเยอะมาก
อ้างอิง
เช่น เหมือนเรากำลังดูหลอดไฟ
หรือกำลังดูดวงอาทิตย์
หรือกำลังนั้งดูตัวเองเหมือนกำลังส่องในกระจก
หรือเห็นตัวเองไปเที่ยวที่ต่างๆ
หรือมันมืดเฉยๆ

มาคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ครับ
ไม่รู้ใครเป็นบ้าง?

ขออนุโมทนาด้วยครับ   ส่วนตัวผมเองจะชอบกำหนดดูความรู้สึกตัวเป็นหลักน่ะครับ ทั้งตอนที่ร่างกายนั่งนิ่งๆ หรือตอนเคลื่อนไหว ก็จะเอาสติตามกำหนดดูความรู้สึกที่เกิดขึ้นในกายไปเรื่อยๆ คือเอาสติกำหนดดูความรู้สึกเป็นหลัก เมื่อจิตสงบหรือไม่สงบยังไงก็จะเห็นลมหายใจควบคู่ไปด้วยน่ะครับ เช่น ถ้าจิตเริ่มสงบลมหายใจก็จะละเอียด

ส่วนเรื่องนิมิตของผมนั้นไม่ค่อยเกิดเท่าไหร่น่ะครับ นานๆครั้ง พอเกิดแล้วไม่นานก็จะดับไปเอง แต่ส่วนใหญ่มักจะไปเกิดตอนที่นอนน่ะครับ ค่อนข้างมีอะไรแปลกๆเกิดตอนนอนเยอะเหมือนกัน แต่ผมก็ถือหลักปล่อยวางไม่ยึดมั่นถือมั่น ตามดูความรู้สึกในปัจจุบันไปเรื่อยๆ ไม่นานสภาวะธรรมต่างๆที่เกิดก็ค่อยๆน้อยลงครับ เหมือนสภาวะจิตของเราเกิดความสมดุลแล้ว ปัจจุบันนี้ก็อาศัยการเข้าออกสมาธิ การเจริญสติดูกายดูความรู้สึกและความคิดไปเรื่อยๆ กลายเป็นมีแต่ความราบเรียบ ความสงบ ไม่มีอะไรหวือหวาเท่าไหร่แล้วล่ะครับ (เพราะเจอนิมิตหรือสภาวะอะไรเกิดขึ้นผมก็ทิ้งหมดเลย)

ปล.แต่เนื่องจากผมเคยอ่านหนังสือรวมถึงเคยฝึกกรรมฐานต่างๆ มาบ้าง ก็เลยพอจะแนะนำผู้อื่นที่มีจริตในการฝึกกรรมฐานประเภทต่างๆได้พอสมควรน่ะครับ ทั้งๆที่โดยส่วนตัวแล้วผมฝึกกรรมฐานก็เพื่อความสุขในปัจจุบันเข้าๆออกๆสมาธิเพื่อสะสมบารมี ตนเองก็ไม่ได้น้อมไปเพื่ออยากจะมีฤทธิ์อภิญญาใดๆเท่าไหร่น่ะครับ(แต่ถ้าใครอยากมีอภิญญาผมก็ไม่ตำหนิว่าเป็นสิ่งไม่ดี เพราะอย่างก็มีอยู่ในวิชชา8 ที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ถ้าใครฝึกจนมีอภิญญาได้อย่างน้อยก็ถือว่ามีความดีในระดับหนึ่งครับ)  

ตอบโดย: wit 18 ก.พ. 51 - 10:33


   ผมเข้ามาสนทนาต่อนะครับ หยุดพักไป 2 วัน เช้าวันนี้งานก็ยุ่งพอควร สางงานเสร็จก็เข้าเน็ต อ่านข้อมูล ก็สายมาแล้ว

   จากข้อมูลของคุณ svonnu48

อ้างอิง
           อาการตอนที่ได้กล่าวมานั้น ผมเคยพบเมื่อหลายปีมาแล้ว อาการก่อนจะถึงอาการนี้จะมีอาการตัวบวมพองโต พอเลยมาสักพัก ก็จะเกิดอาการดังที่ได้กล่าวมาครับ
      ตอนนี้ผมเริ่มฝึกใหม่ แต่ยังไม่ถึงอาการสุดท้ายนั้น
           ผมเริ่มฝึกด้วยตนเอง(ไม่ได้อ่านวิธีอานาปานสติ ทดลองเอง) ตอนแรกหายใจก่อนโดยกำหนดอยู่สติที่กลางท้อง
ต่อมาลมหายใจจะสั้นลงเรื่อยๆ ผมก็ใช้วิธีภาวนา พอเสียงภาวนาหายไป ก็ใช้วิธีภาวนาในใจ พอภาวนาในใจหายไป
ตอนนี้จะรู้สึกแล้วครับว่า  จิตของเราจะจับแน่นอยู่(รู้สึกว่าจะจับแน่นที่กลางท้อง) จิตไม่วิ่งไปไหน เข้าใจว่าจุดนี้คือจุดอัปปนาสมาธิใช่ไหมครับ ช่วงนี้อาการตัวบวมไม่มี แต่เข้าใจว่าคงเป็นจุดที่ไปสู่จุดที่ตัวหายไป ไม่ทราบว่าถูกหรือเปล่า ผมก็ปฏิบัติมาได้เท่านี้แหละครับ  อยากให้คุณvicha กรุณาแนะนำด้วย ขอขอบคุณมากครับ


    ผมขอตอบตรงนะครับ    อาการผลที่เกิดจากการปฏิบัติด้านบน ที่เล่ามานั้นไม่ใช่ ฌาน 4 แน่นอน แม้แต่ ฌาน 3 ฌาน 2 ก็ยังไม่ใช่ครับ
    
   การจะบรรลุไปถึงฌาน 4 ได้ต้อง บรรลุผ่านฌาน 1,2,และ 3 ไปตามลำดับก่อนเสมอ  ข้างบนที่อธิบายมาก็คงไม่ใช่ ฌาน 4 เป็นที่แน่นอนครับ

    เป็นอันว่า ถึงตรงช่วงนี้ของอานาปานสติสูตร ของวัตถุ(จาตุกะ)นี้ เป็นช่วงของการเกิดสมาธิ และฌาน ที่ต้องสนทนาทำความเข้าใจในเรื่องสมาธิ อาการของอุปจารสมาธิ  หรือองค์ฌาน และอัปปนาสมาธิ  ซึ่งคุณ svonnu48 ถามได้ตรงช่วง วัตถุนี้ได้พอดีเลยครับ

  ผมจะอธิบายตามที่ผมได้ศึกษามาและที่ผมได้เรียนรู้จากการปฏิบัติในความเห็นต่อไป เพื่อให้ง่ายในการอ่านติดตาม ...

 

ตอบโดย: Vicha 18 ก.พ. 51 - 11:04


ความเห็นนี้ผมจะอธิบายและเป็นการ ให้คุณ svonnu48 หลวงฤาษี  และคุณ wit ลองเทียบเคียงดูนะครับ

   การดำเนินปฏิบัติตามอานาปานสติสูตร  เมื่อถึงช่วงวัตถุนี้ (ตามพุทธพจน์ในพระสูตร)

  ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก เป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า

   ผลการปฏิบัติย่อมเกิดสมาธิที่แนบแน่เป็นหนึ่งขึ้น  ถ้ากล่าวถึงสมถะแล้วสมาธิจะปรากฏชัดในช่วงนี้ ทั้งที่เป็น อุปจารสมาธิ  องค์ฌาน 5 (วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกคตา) เริ่มมีความเด่นชัดขึ้น จนนิวร 5 นั้นหมดไป เป็น ปฐมฌาน

   แต่ก่อนจะเข้าเรื่องสนทนาปฐมฌาน ผู้ปฏิบัติจะเกิดภาวะแปลกต่างๆ อยู่ในช่วงอุปจารสมาธิ หรืออุปจารฌานนั้นเอง เป็นด่านที่สำคัญ ที่ทำให้ติดอยู่ไม่พัฒนาไปข้างหน้าได้

   กล่าวถึงอุปจารณ์สมาธิของ อานาปานสติ นั้น ไม่มีภาวะที่แน่นอนหรือเฉพาะ  เหมือนดังฝึก กะสินกรรมฐาน
    อาการจะเป็นดังนี้(ตามที่ผมเข้าใจและพิจารณาไปได้)  เมื่อสติอยู่กับการหายใจเข้าหรือออกอย่างดีแล้ว เกิดภาวะได้ 2 ประการ ตามการกำหนดคือ
    ประการที่ 1.ถ้าไม่เป็นเป็นการเพ่งแต่ภาวนาแบบเบาสบาย การรับรู้ต่างๆ ในอานาปานสติ มีความชัดเจน กายเบาจิตเบาโปร่งสบาย กายสัมผัสเริ่มลดลง การได้ยินเสียงเหมือนไม่สนใจเบาลงหรืออยู่ไกล ไม่ทำให้ใจไขว่เขว่ มี วิตก วิจารย์(การน้อมจิตในการภาวนา) มีปีติ มีสุข และใจเป็นหนึ่งคลุกคล้าวอยู่ การภาวนา(ผู้ที่ใช่คำภาวนาควบคู่ไปได้)ก็จะเบาลงและอาจหยุดไป จะเกิดเป็นนิมิตขึ้นมา  ถ้าเป็นอาการนี้นิมิตจะสดใสสว่าง โปร่ง หรือเป็นแสงเรืองๆ
      ซึ่งบางท่าน(เอามาจากตำราวิสุทธิมรรค) เห็นเป็นส้อยสังวาล บางท่านเห็นเป็น ดวงดาว บางท่านเห็นเป็นใยแมงมุมที่สว่าง ฯลฯ
       สำหรับผมนั้น ครั้งแรกสุดเห็นผมเห็นกายเบาจิตเบาสว่างเห็นนิมิตสว่างเป็นดั่งปุยเมฆ
      หมายเหต นิมิตของอานาปานสติ นั้นจะไม่คงที่จะไม่เหมือนเดิม ในครั้งต่อๆ ไป ดังนั้น ในหนังสือวิสุทธิมรรค ได้กล่าวเตือนไว้ว่า นิมิตของอานาปานสติ ไม่ควรเอามาย่อหรือขยาย หรือเพ่ง หรือตรึงเอาไว้ คือไม่ควรไปเล่นกับนิมิตนั้น เหมือนกับนิมิตใน กระสิน 10  ปล่อยให้เป็นธรรมชาติมีสติอยู่ที่การหายใจ หรือลมหายใจที่สัมผัส..
   
     ประการที่ 2. เป็นการเพ่งเป็นการภานาเพื่อกำหนดให้ได้ ถ้าผู้ที่ไม่เคยได้สมาธิระดับฌาน หรืออุปจารสมาธิ มาก่อน จะเกิดภาวะกดดันตัวเอง เช่น เช่นหายใจแรงและถี่ขึ้นหรือแกร็ง  บางท่านกำหนดไปแล้วมือสั่น แล้วต่อยออกไป บางท่านแกร็งร่างกายจนตัวงอ บางท่านตัวโยกตามที่หายใจ บางท่านส่ายหัวหมุนไปด้วยฯลฯ  เป็นเหมือนสิ่งที่ค่อยขว้างไม่ให้ลงสู่ อุปจารสมาธิ หรือฌานได้โดยง่าย (อาจเป็นเพราะกรรมหรือวาสนาบารมีก็ได้)
      ถ้าผู้ที่ปฏิบัติด้วยการเพ่งไป แต่สามารถผ่านไปได้อาจจะโดยการเรียนรู้ในการภาวนาของตนเอง หรือค่อยๆ ปรับตนเองให้สมดูลย์ดีขึ้น ก็จะผ่านจุดนี้ไปได้ แต่อุปจารสมาธิจะไม่เบาไม่สว่างไม่โปร่ง   จะสงบกายและใจลง การภาวนาก็จะแผ่วเบาลง ลงไปสู่ความเป็นหนึ่งหรือเอคกตารมณ์เป็นจุดเด่น อารมณ์อื่นจะปรากฏน้อย แต่ไม่ใช่เป็นฌาน 4 ยังเป็นอุปจารสมาธิเบื้องต้นอยู่  แล้วจิตก็จะรวมลงสู่จุดใดจุดหนึ่งปรากฏทางกายแล้วภาวะการรับรู้ทางกายและการได้ยินลดลง เสมือนมาเด่นชัดที่จิตเป็นหนึ่ง  ปรากฏเป็นนิมิตขึ้น เห็นเป็นทุกอย่างโล่งแจ้งไปหมดไม่มีขอบเขต อารมณ์ขององค์ฌานก็ปรากฏแทรกปรากฏให้ทราบบ้างเช่น วิตก วิจารณ์ ปิติสุข เบาๆ คลุกเคร้าอยู่ ไม่ใช่ว่าจิตจะเป็นหนึ่งอย่างเดียว

     สำหรับผมที่ลองปฏิบัติจะเกิดภาวะอย่างนี้ เมื่อมีสติรู้ลมหายใจที่สัมผัสกับกาย(จมูก) เพ่งอยู่เพียงจุดใดจุดหนึ่ง แต่ปรับภาวะไม่ให้เกิดความเครียดหรือแกร็งเกินไป จะเกิดความรู้สึกแคบเข้า ๆ และค่อยทิ้งภาวะการรับรู้ทางกายแม้แต่การได้ยินเสียง(ภาวะอาการนี้เกิดเป็นประจำเมื่อต้องการเพ่งหรือเพ่งจิต) ถ้าไม่สู่ภวังค์ ก็จะเกิดนิมิตขึ้นมา และนิมิตที่เกิดขึ้นนั้นหาได้เกิดเหมือนกันมีรูปแบบต่างๆ กัน มีอยู่ครั้งหนึ่ง นิมิตที่เกิดขึ้นเหมือนจิตพุ้งเข้าไปในอุโมงค์ เป็นชั้นๆ คดเคี้ยว เข้าไป จนถึงที่สุดก็หยุดนิ่งไป แล้วค่อยๆ ออกจากภวังค์นั้นมรับรู้กายสัมผัสปกติ

      สรุป ได้ว่า นิมิตที่เกิดช่วงของอุปารสมาธิ ในอานาปานสติ นั้นไม่ตายตัวหรือคงที่ แต่เป็นไปตามภาวะของการการกำหนดภาวนา    พอจะเป็นข้อมูลให้คุณ svonnu48  หลวงฤาษี  และคุณ wit ลองเทียบเคียงดูได้ตามที่ผมอธิบาย


 

ตอบโดย: Vicha 18 ก.พ. 51 - 12:12


สาธุครับคุณwit
สาธุครับโยมพี่

พอดีกำลังติดใบเหลือง
ต้องระวังการเขียน

เข้ามาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันนะครับ
ผมว่า...เพื่อนที่ดีที่สุดของเราคือลมหายใจนี้เอง

มันไม่เคยบ่น
มันอยู่กับเรามาตั้งแต่เกิด

มันแปลกตรงที่เรามองข้ามมันไป
เราเพียงเอาความรู้สึกจับลมหายใจเข้าออกด้วยสติ
ก็จะพบความสุขที่ไม่ต้องเสียตัง...

ทราบมาว่า...คุณwit เป็น....พุทธภูมิ?

ตอบโดย: ฤาษี 18 ก.พ. 51 - 21:15


 อ้างอิง
สำหรับผมที่ลองปฏิบัติจะเกิดภาวะอย่างนี้ เมื่อมีสติรู้ลมหายใจที่สัมผัสกับกาย(จมูก) เพ่งอยู่เพียงจุดใดจุดหนึ่ง แต่ปรับภาวะไม่ให้เกิดความเครียดหรือแกร็งเกินไป จะเกิดความรู้สึกแคบเข้า ๆ และค่อยทิ้งภาวะการรับรู้ทางกายแม้แต่การได้ยินเสียง(ภาวะอาการนี้เกิดเป็นประจำเมื่อต้องการเพ่งหรือเพ่งจิต) ถ้าไม่สู่ภวังค์ ก็จะเกิดนิมิตขึ้นมา และนิมิตที่เกิดขึ้นนั้นหาได้เกิดเหมือนกันมีรูปแบบต่างๆ กัน มีอยู่ครั้งหนึ่ง นิมิตที่เกิดขึ้นเหมือนจิตพุ้งเข้าไปในอุโมงค์ เป็นชั้นๆ คดเคี้ยว เข้าไป จนถึงที่สุดก็หยุดนิ่งไป แล้วค่อยๆ ออกจากภวังค์นั้นมรับรู้กายสัมผัสปกติ

      สรุป ได้ว่า นิมิตที่เกิดช่วงของอุปารสมาธิ ในอานาปานสติ นั้นไม่ตายตัวหรือคงที่ แต่เป็นไปตามภาวะของการการกำหนดภาวนา    พอจะเป็นข้อมูลให้คุณ svonnu48  หลวงฤาษี  และคุณ wit ลองเทียบเคียงดูได้ตามที่ผมอธิบาย


น่าสนใจมากเลย แล้วก็ต้องขออนุโมทนาบุญด้วยนะครับ ผมจะได้เก็บไว้เป็นข้อมูล ว่าการกำหนดจิตลักษณะนี้(ที่ปลายจมูก) อาจจะเกิดสภาวะใดได้บ้าง เรื่องจิตเหมือนพุ่งเข้าไปในอุโมงค์นี้ผมเคยคุยกับหลายๆท่าน ก็มีหลายท่านเหมือนกันที่มีสภาวะเช่นนี้ แต่ผมยังไม่เคยเป็นเลยครับ เคยเป็นแต่เหมือนจิตดิ่งลงไปในขณะนอนหลับเหมือนเราค่อยๆจมน้ำลงไปน่ะครับ พอดิ่งลงไปลึกสุดแล้วก็จะเหมือนกับว่ากายกับจิตแยกจากกัน เราจะรับรู้ได้ถึงสภาพร่างกายภายนอกว่าทำงานอยู่เพียงแต่เราจะอยู่ในจุด(ที่ดิ่งลงมา)นั้นไม่สามารถขยับได้ สภาวะนี้เกิดขึ้นตอนผมกำหนดจิตดูเป็นจุดๆเหมือนกันครับ ตอนนั้นผมกำหนดดูความรู้สึกที่กลางทรวงอกเป็นหลัก


อ้างอิง
ความเห็นนี้ผมจะอธิบายและเป็นการ ให้คุณ svonnu48 หลวงฤาษี  และคุณ wit ลองเทียบเคียงดูนะครับ

   การดำเนินปฏิบัติตามอานาปานสติสูตร  เมื่อถึงช่วงวัตถุนี้ (ตามพุทธพจน์ในพระสูตร)

  ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก เป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า


ถ้าสภาวะนี้ผมเคยอธิบายสภาวะที่ผมได้จากการกำหนดดูกายทั้งตัวทั่วพร้อมน่ะครับ(ซึ่งเป็นกรรมฐานที่หลังๆมานี้ผมใช้เป็นประจำ) โดยเมื่อจิตเริ่มสงบแล้วอาการที่เกิดขึ้นจะเหมือนกับว่าร่างกายแข็งหรือถูกล็อคโดยสติครับ ในขณะนั้นสติจะครอบคลุมขยายแผ่ไปทั่วร่างกายครอบร่างเอาไว้ และมีความเข้มข้นชัดเจนขึ้นกว่าตอนจิตยังไม่สงบมากครับ ขณะนั้นร่างกายจะรู้สึกผ่อนคลายเหมือนมีกระแสพลังงานบางอย่างปกคลุมอยู่ทั่วร่างของเรา ลมหายใจก็จะละเอียดมีอาการหายใจเข้าออกเพียงแผ่วเบา โดยลมหายใจจะโคจรอยู่ภายในร่างโดยอัตโนมัติ โดยที่เราไม่ได้มีเจตนาบังคับลมว่าจะต้องหายใจเข้าหายใจออกแต่อย่างใด (ตรงนี้แหละครับที่ผมเทียบเคียงกับเนื้อหาในพระสูตรว่าเป็นการระงับกายสังขาร คือการปรุงแต่งลมหายใจ คือไม่ได้คิดว่าหายใจเข้าหายใจออกอย่างมีเจตนาแต่ในภาวะนั้นลมหายใจจะโคจรเข้าออกด้วยตัวของตัวเองโดยที่เจตนาไม่มี ถ้าเทียบเคียงกับสภาวะของคนที่ใช้คำบริกรรมภาวนาเป็นกรรมฐานก็คงเป็นกรณีที่ละทิ้งคำภาวนาไปเองน่ะครับ)

บางครั้งถ้าจิตนิ่งมากๆก็จะสังเกตเห็นถึงการไหลเวียนของโลหิตหรือชีพจรทั่วร่างของเราอย่างแผ่วเบาไปด้วย แต่ว่าในสภาวะนั้นผมยังได้ยินเสียงอยู่นะครับ

โดยผมสามารถเลือกได้สองแบบคือ ถ้าต้องการจะกำหนดเสียงควบคู่ไปด้วย สติก็จะค่อนข้างมากระจุกตัวอยู่ที่บริเวณด้านบนของร่างกายตรงหูมากหน่อย โดยจะมีการจดจ่อกับเสียงควบคู่กับความรู้สึกตัวไปด้วย แบบนี้ผมจะยังคงได้ยินเสียงที่ผมต้องการจะฟังโดยสามารถพิจารณาเนื้อหาควบคู่ไปกับการมีสมาธิได้เป็นอย่างดีเลยล่ะครับ(ไม่ค่อยมีความคิดอื่นเข้าแทรก)

แต่ถ้าผมไม่ต้องการจะฟังเสียงผมก็จะปล่อยให้สติแผ่ปกคลุมอยู่ทั่วร่างกายให้ความรู้สึกดิ่งลงไปข้างล่างแผ่ปกคลุมตั้งแต่ศีรษะลงไปจนถึงบริเวณที่ตัวสัมผัสพื้นตอนนั่ง สติก็จะไม่น้อมออกไปฟังเสียงแต่จะจดจ่อตั้งมั่นอยู่ภายใน ลักษณะนี้ผมยังคงได้ยินเสียงอยู่ครับแต่ว่าไม่เข้าใจความหมาย หรือบางทีก็เหมือนเสียงอยู่ไกลๆกลายเป็นเสียงเบาๆ(ในกรณีที่จิตสงบมากหน่อย)

โดยภาวะนี้ผมตีความว่าน่าจะเป็นอาการของปฐมฌานน่ะครับ เพราะยังคงมีความคิดเกิดขึ้นเบาบาง ยังมีวิตกวิจารอยู่ โดยแบบแรกนั้นเป็นภาวะที่อยู่ในปฐมฌานและทรงไว้เช่นนั้น เพราะมีวิตกวิจารกับเสียงที่ได้ยินควบคู่ไปด้วย ส่วนแบบที่สองนั้นจิตเริ่มที่จะสงบและกำลังจะปล่อยวางการวิตกวิจารในสภาวะต่างๆเริ่มจะก้าวเข้าสู่ฌานที่สองน่ะครับ โดยถ้าสติแนบแน่นกับความรู้สึกในกายมากขึ้นความคิดเริ่มเบาบางหรือดับไป หลงเหลือแต่ปีติความสุขที่แผ่กระจายไปทั่วร่าง ก็จะเป็นฌานที่ 2 แล้ว ซึ่งตามที่ผมเข้าใจคือถ้าเป็นฌาน 2 ที่ละเอียดมากๆความคิดจะดับไปหมดเลยเหลือแต่ความรู้สึกตัวและอารมณ์สุขเท่านั้น ซึ่งผมเคยทำได้ครั้งเดียวเองครับ คืออยู่ดีๆเหมือนสวิตซ์ความคิดในหัวมันดับไปเฉยๆเหมือนเซฟทีคัท และจิตก็ดำรงอยู่ในความสงบนั้นอย่างมีสติสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่น่ะครับ

ประสบการณ์เท่าที่ผมฝึกมาในตอนหลังๆที่เริ่มใช้การมีสติรู้ตัวทั่วพร้อมเป็นหลักนี้ก็ฝึกมาได้สุดแค่นี้เองครับ ในขณะที่ผมนั่งก็จะแค่เข้าๆออกๆสมาธิในระดับเช่นนี้วนเวียนไปมา โดยที่ทุกครั้งที่จิตสงบผมจะมีสติสัมปชัญญะ ยังสามารถรับรู้สิ่งต่างๆได้ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นความคิด อารมณ์ รวมทั้งความรู้สึกทางกายด้วย ยังไม่เคยถึงขั้นที่ว่าหูดับไปหรือตัดขาดจากอารมณ์ภายนอกครับ สำหรับกรรมฐานนี้ (แต่เคยมีสภาวะแปลกๆตอนที่นอนเหมือนกันครับ)


 อ้างอิง
สาธุครับคุณwit
สาธุครับโยมพี่

พอดีกำลังติดใบเหลือง
ต้องระวังการเขียน

เข้ามาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันนะครับ
ผมว่า...เพื่อนที่ดีที่สุดของเราคือลมหายใจนี้เอง

มันไม่เคยบ่น
มันอยู่กับเรามาตั้งแต่เกิด

มันแปลกตรงที่เรามองข้ามมันไป
เราเพียงเอาความรู้สึกจับลมหายใจเข้าออกด้วยสติ
ก็จะพบความสุขที่ไม่ต้องเสียตัง...


กราบนมัสการครับ ผมก็เห็นด้วยครับ ลมหายใจและความรู้สึก ที่อยู่ภายในกายนี้ สามารถนำมาเป็นกรรมฐานได้หมดเลยครับ เป็นวิธีสร้างบุญที่ลงทุนน้อยแต่ได้ผลคุ้มค่าจริงๆครับ    

อ้างอิง
ทราบมาว่า...คุณwit เป็น....พุทธภูมิ?

มีความปรารถนาอยู่ครับ ก็สร้างบารมีสะสมความดีไปเรื่อยๆครับ เพราะผมกะว่าถ้าผู้คนยังไม่พ้นทุกข์ทั้งหมด ผมก็จะยังไม่ขอเข้านิพพานน่ะครับ ดังนั้นก็คงมีอีกหลายท่านที่ปรารถนาพุทธภูมิหรือต้องการเป็นพระอรหันต์และก็คงได้ตรัสรู้บรรลุธรรมกันไปก่อนผมทั้งหมด โดยผมคงได้เป็นฝ่ายสนับสนุนในการสร้างบารมีของทุกๆท่านน่ะครับ  


 





 

ตอบโดย: wit 18 ก.พ. 51 - 22:20


สาธุครับคุณwit

อ่านธรรมที่คุณwitเขียนไว้
น่าอ่านมากครับ...

เหมือนถอดจากหัวใจคุณมาเขียนไว้เลยครับ...
สาธุ...

เหตุที่ถามเรื่องพุทธภูม...(ผมไม่ใช่พุทธภูมนะครับ...แค่คนกิเลสหนาคนหนึ่ง)
พอดี...มันมีนิมิตอันหนึ่ง...มันแปลกมาก...
ว่างๆ...จะมีเขียนเล่าให้ฟัง

ตอบโดย: ฤาษี 18 ก.พ. 51 - 23:50


อ้างอิง
เหตุที่ถามเรื่องพุทธภูม...(ผมไม่ใช่พุทธภูมนะครับ...แค่คนกิเลสหนาคนหนึ่ง)
พอดี...มันมีนิมิตอันหนึ่ง...มันแปลกมาก...
ว่างๆ...จะมีเขียนเล่าให้ฟัง


นิมิตเกี่ยวกับผมรึครับ  

ตอบโดย: wit 19 ก.พ. 51 - 00:04


ผมขอสนทนาคุณVicha(หรือท่านที่มีความรู้)ต่อนะครับ
     ตามที่ผมได้เล่ามา นั่งสมาธิแล้วตัวหายไป ผมก็ภาวนาแบบกำหนดใจไว้ที่กลางท้องแล้วบริกรรมภาวนา ถึงจุดคำภาวนาหายไปเหมือนกัน  ตอนผมที่รู้สึกว่าตัวหายไป นั้นขอเล่าให้หมดนะครับว่า ตอนนั้นผมรู้สึกว่า
              ตัวหายไป  รู้สึกว่าไม่รู้สึกทางประสาทสัมผัสต่างๆเช่น หู จมูก รู้สึกคิดอะไรไม่ออก รู้สึกว่าจำอะไรไม่ได้ รู้สึกว่าไม่มีเวทนาทางใจทั้ง3 รู้สึกมองเห็นแต่ที่โล่งๆไม่มีแผ่นดิน รู้สึกมีความสุขอีกแบบที่ดีกว่าความสุขทางโลก รู้สึกว่ามีแต่ผู้รู้อยู่อย่างเดียว
             ผมมานั่งคิดดูว่าเป็นการดับต่างๆดังนี้

       รูปหายไป คือ ดับรูป
    เวทนาทางใจทั้ง3ดับไปคือ เวทนาดับไป และเวทนาสุขกาย ทุกข์กายก็ดับด้วย
   สัญญาดับไปคือ นึกอะไรไม่ออก
   สังขารดับไปคือคิดอะไรไม่ออก
  วิญญาณดับไปคือไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ฯลฯ
        อาการเหล่านี้ คิดไปก็เหมือนกับ นิโรธ ผมเข้าใจว่านี่คือลักษณะของการ ทำนิโรธให้แจ้ง
               อยากว่า  ลักษณะนี้คือการทำนิโรธให้แจ้ง ถูกต้องไหม? มีพระสูตรอ้างอิงไหม? ขอขอบคุณครับ
          


 
         
          

ตอบโดย: svonnu48 19 ก.พ. 51 - 01:48


  ตอบคุณ svonnu48 ตรงๆ นะครับคงไม่ไปทำลายความรู้สึกของคุณ svonnu48 นะครับ ให้ถือว่าเป็นการสนทนานะครับ  ดังนั้นผมขอบอกตรงๆ เลยนะครับ

     อาการที่คุณ svonnu48 กล่าวเป็นเพี่ยง ปฐมฌาน นะครับ อย่าไปคิดล่วงเลยไปถึงนิโรธเลย   เพราะแม้แต่ความเห็นแจ้งเป็นไตรลักษณ์คุณ svonnu48 ก็ยังไม่ได้กล่าวถึงเลย

     ภาวะที่เป็นนั้นเป็นเพราะเป็นการเพ่งจิตไปเพียงจุดหรือบริเวณเดียว(ไม่ได้แจ่มแจ้งความเป็นไตรลักษณ์ แม้แต่เล็กน้อย จึงไม่ต้องกล่าวเรื่องนิโรธ เลยครับ)  เนื่องจากกำลังสมาธิที่ปฏิบัติผ่านมาเพียงพอแล้ว  จึงลงสู่ปฐมฌานที่มี กำลังออ่น หรือระดับกลาง (แต่ไม่ใช่อย่างแก่กล้าแน่นอน)

     และเวทนานั้นหาได้ดับไปทั้งหมดหรอกครับ เป็นการตัดเวทนาภาวการรับรู้สัมผัสทางกายและเสียงเท่านั้นแล้วมาอยู่ที่จิตหรือนาม แล้วองค์ฌาน 5 เกิดขึ้นมาแทน เสมือนจิตนิ่งเป็นหนึ่งอยู่เพียงจุดใดจุดหนึ่ง แต่ภายนอกนั้นอาจจะโล่งไม่มีขอบเขต ไม่มีกายเสมือนมีแต่จุดของจิต
     และที่กล่าวว่า
อ้างอิง
     สัญญาดับไปคือ นึกอะไรไม่ออก
     สังขารดับไปคือคิดอะไรไม่ออก


     ความจริงแล้ว สัญญาไม่ได้ดับ สังขารก็ไม่ได้ดับ แต่เกิดจากภาวะที่คุณ svonnu48 เพ่งกดทับไป ทำให้เมื่อถึงจุดนี้ ทำให้จิตเหมือนโดนบล็อกไว้ จึงเสมือนนึกคิดอะไรไม่ออก เหมือนโดนบลอกอยู่  ภาวะอย่างนี้จึงทำให้ทราบว่ากำลังปฐมฌานนั้น ไม่ใช่อย่างแก่กล้า คือไม่น้อมไปอย่างสมบูรณ์
    และต่อไปที่กล่าวว่า
อ้างอิง
   วิญญาณดับไปคือไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ฯลฯ


    ที่คุณ svonnu48 กล่าวนั้นหาใช่ วิญญาณดับ  เป็นเพียงแต่เกิดกำลังสมาธิดัดการรับรู้ทางกายของการได้ยิน การได้กลิ่น ของสมาธิแบบเพ่งจุดใดหรือบริเวณใดบริเวนหนึ่ง แต่ความรู้สึกต่างๆ ที่เป็นจิตเป็นนามยังมีอยู่ ตามที่คุณ svonnu48 อธิบายมาข้างต้น จึงหาใช่วิญญาดับ

     ผมได้ตอบตรงๆ แล้วนะครับ หวังว่าคงไม่ไปทำลายความรู้สึกของคุณsvonnu48 นะครับ

  

ตอบโดย: Vicha 19 ก.พ. 51 - 09:35


คุณwit

ผมไม่แน่ใจ
มันคงจะ..เกี่ยวกับงานที่พวกคุณลงมาเกิดในชาตินี้

แต่ก่อนอื่น..ขอถามคุณwit สักสองประโยค

ที่สุดแห่งความเย็นคือร้อน
ที่สุดแห่งความร้อนคือเย็น

และ

จิตดวงเดียวนี้ผลิตได้ทั้งกิเลสและธรรม
เป็นสมมุติด้วยกันทั้งคู่

คุณwit เข้าใจความหมายทั้งสองประโยค?

ตอบโดย: ฤาษี 19 ก.พ. 51 - 12:34


ตอบคุณVicha
     ตามที่ผมได้กล่าวมานั้น ผมหมายถึงการทำนิโรธให้แจ้งครับ การได้ฌาน4นั้นจะได้หรือไม่ได้ก็ไม่ใช่เรื่องที่ต้องสนใจ ได้อะไรมาก็ต้องปล่อยวาง แม้ความรู้แจ้งก็ต้องปล่อยวาง ต้องปล่อยวางให้หมดไม่ให้มีเชื้อที่ทำให้เกิดภพอีก
ตอนนี้ก็ยังหวั่นๆเรื่องฌานอยู่เลยเพราะยังไม่แน่ใจอะไรๆเลยครับ
         การทำนิโรธให้แจ้งอันนี้ผมหมายถึง การทำนิโรธให้แจ้งของปุถุชน ซึ่งเป็นข้อ3ของอริยสัจ4
  
ทุกข์คือสิ่งที่ต้องกำหนด  สมุทัยคือสิ่งที่ต้องละ นิโรธคือสิ่งที่ต้องทำให้แจ้ง มรรคคือสิ่งที่จะต้องทำให้เจริญ
    จะสังเกตุเห็นว่า นิโรธจะมาก่อนมรรค การรู้ชัดอริยสัจ4 ก็คือต้องรู้ชัดนิโรธด้วย   การรู้ชัดนิโรธก็คือรู้ชัดๆว่านิโรธนั้นมีอาการอย่างไร เป็นการรู้ของปุถุชน ยังไม่ถึงการดับทุกข์ได้
        ผมขอยกตัวอย่างดังนี้ เช่น สมมุติว่ามีคนมาสอนเราให้ทำงานอย่างหนึ่ง แล้วจะได้สิ่งหนึ่ง แต่ว่าสิ่งนั้นคนสอนไม่มีตัวอย่างให้ดูแต่บอกว่าให้ทำตาม คิดว่าผู้ปฏิบัติตามจะรู้สึกอย่างไร? เขาจะมีกำลังใจทำตามไหม
เขาอาจจะเชื่อไหม
                 
        การรู้ชัดนิโรธ เมื่อปุถุชนรู้ชัดแล้วก็รู้เองว่า อาการนิโรธเป็นเช่นนี้ รู้ว่านิโรธมีจริงๆ เมื่อรู้ว่ามีจริง(มีตัวอย่างแล้ว) ก็เกิดความเชื่อมั่นในการปฏิบัติต่อไป ถ้าผู้ปฏิบัติประสบผลสำเร็จเขาก็มีสิ่งเทียบเคียง ผมถึงได้ถามว่ามีพระสูตรที่ได้กล่าวว่าการทำนิโรธให้แจ้งนั้นมีปรากฏในพระไตรปิฏกไหม
       เรื่องความรู้สึกก็พยายามฝึกไม่ให้รู้สึกอะไรอยู่ ขอขอบคุณมากครับ  ยังมีปัญหาที่อยากรบกวนถามคุณVichaอีกเลยครับ
      

               
 
             
                 
        

ตอบโดย: svonnu48 19 ก.พ. 51 - 13:10


อ้างอิง
แต่ก่อนอื่น..ขอถามคุณwit สักสองประโยค

ที่สุดแห่งความเย็นคือร้อน
ที่สุดแห่งความร้อนคือเย็น

และ

จิตดวงเดียวนี้ผลิตได้ทั้งกิเลสและธรรม
เป็นสมมุติด้วยกันทั้งคู่

คุณwit เข้าใจความหมายทั้งสองประโยค?


เข้าใจหรือไม่เข้าใจก็เป็นเพียงสมมติ สิ่งที่มีอยู่ต่างมีเหตุมีปัจจัย เมื่อมีเหตุนี้จึงเกิดผลเช่นนี้ จะเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็เป็นเพียงการปรุงแต่งของจิต ความจริงมีเพียงสิ่งที่ปรากฏอยู่เป็นไปเช่นนั้นน่ะครับ    

อ้างอิง
การรู้ชัดนิโรธ เมื่อปุถุชนรู้ชัดแล้วก็รู้เองว่า อาการนิโรธเป็นเช่นนี้ รู้ว่านิโรธมีจริงๆ เมื่อรู้ว่ามีจริง(มีตัวอย่างแล้ว) ก็เกิดความเชื่อมั่นในการปฏิบัติต่อไป ถ้าผู้ปฏิบัติประสบผลสำเร็จเขาก็มีสิ่งเทียบเคียง ผมถึงได้ถามว่ามีพระสูตรที่ได้กล่าวว่าการทำนิโรธให้แจ้งนั้นมีปรากฏในพระไตรปิฏกไหม


ผมขออนุญาตยกข้อมูลเกี่ยวกับนิโรธมาตอบคำถามนี้ของคุณแทนนะครับ  

[224] นิโรธ 5 (ความดับกิเลส, ภาวะไร้กิเลสและไม่มีทุกข์เกิดขึ้น — extinction; cessation of defilements)
       1. วิกขัมภนนิโรธ (ดับด้วยข่มไว้ คือ การดับกิเลสของท่านผู้บำเพ็ญฌาน ถึงปฐมฌาน ย่อมข่มนิวรณ์ไว้ได้ ตลอดเวลาที่อยู่ในฌานนั้น — extinction by suppression)
       2. ตทังคนิโรธ (ดับด้วยองค์นั้นๆ คือ ดับกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับหรือธรรมที่ตรงข้าม เช่น ดับสักกายทิฏฐิด้วยความรู้ที่กำหนดแยกนามรูปออกได้ เป็นการดับชั่วคราวในกรณีนั้นๆ — extinction by substitution of opposites)
       3. สมุจเฉทนิโรธ (ดับด้วยตัดขาด คือ ดับกิเลสเสร็จสิ้นเด็ดขาด ด้วยโลกุตตรมรรค ในขณะแห่งมรรคนั้น ชื่อสมุจเฉทนิโรธ — extinction by cutting off or destruction)
       4. ปฏิปัสสัทธินิโรธ (ดับด้วยสงบระงับ คือ อาศัยโลกุตตรมรรคดับกิเลสเด็ดขาดไปแล้ว บรรลุโลกุตตรผล กิเลสเป็นอันสงบระงับไปหมดแล้ว ไม่ต้องขวนขวายเพื่อดับอีก ในขณะแห่งผลนั้นชื่อ ปฏิปัสสัทธินิโรธ — extinction by tranquillization)
       5. นิสสรณนิโรธ (ดับด้วยสลัดออกได้ หรือดับด้วยปลอดโปร่งไป คือ ดับกิเลสเสร็จสิ้นแล้ว ดำรงอยู่ในภาวะที่กิเลสดับแล้วนั้นยั่งยืนตลอดไป ภาวะนั้นชื่อนิสสรณนิโรธ ได้แก่อมตธาตุ คือ นิพพาน — extinction by escape; extinction by getting freed)

       ปหาน 5 (การละกิเลส — abandonment), วิมุตติ 5 (ความหลุดพ้น — deliverance), วิเวก 5 (ความสงัด, ความปลีกออก — seclusion), วิราคะ 5 (ความคลายกำหนัด, ความสำรอกออกได้ — detachment; dispassionateness), โวสสัคคะ 5 (ความสละ, ความปล่อย — relinquishing) ก็อย่างเดียวกันนี้ทั้งหมด

ที่มา:
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=224

ตอบโดย: wit 19 ก.พ. 51 - 13:34


ขอถามคุณVichaต่อนะครับ
        ผมได้อ่านหนังสือที่ได้ถอดเทปของหลวงพ่อ วิริยังค์ สิรินธโร ซึ่งได้สอนเรื่องสมาธิดังนี้
คือให้นั่งสมาธิโดย หลับตา กำหนดใจไว้ที่ใดที่หนึ่ง เช่นหน้าผากหรือปลายจมูกหรือกำหนดใจไว้ที่หัวใจ ต่อจากนั้นให้นึกพุทโธในใจ ทำใจเราให้สบาย
              การฝึกสมาธิเมื่อมาถึงสมาธิชั้นสูงนั้น ก็คือสมาธิที่จิตเข้าไปสู่ภวังค์ เมื่อเวลาจิตเข้าไปสู่ภวังค์ไปแล้วเรายังรู้ตัวว่าเรายังอยู่ในภวังค์ อย่างนี้ท่านเรียกว่าจิตเข้าขั้น
                  อันนี้ขอถามก่อนนะครับ จิตที่เข้าสู่ภวังค์นั้นมีอาการอย่างไร? เป็นสมาธิขั้นไหน? และการฝึกแบบนี้เป็นการฝึกอานาปานสติใช่ไหม
 
ต่อไปให้ฝึกจิตมีความชำนาญในการเข้าในภวังค์ ในการออกจากภวังค์ ในการตั้งอยู๋ในภวังค์เท่าไรก็ได้ เมื่อฝึกจิตได้ดังนี้จิตก็จะมีพลังมากต้องการให้เกิดฌานหรือเกิดวิปัสสนาก็ย่อมได้ การนำไปพิจารณาให้เป็นวิปัสสนาคือสติปัฏฐาน4   เมื่อพละกำลังของจิตบังเกิดขึ้นแล้ว ให้เอากายขึ้นต้น
     โดยเราก็กำหนดตั้งกายของเราไว้ข้างหน้า แล้วเราใช้จิตเพ่งออกไป เราเห็นร่างกายเราหรือไม่ ถ้าเห็นนั่นแหละกระแสจิตเกิดแล้ว ถ้ายังไม่เห็นกระแสจิตก็ยังไม่เกิด   เมื่อเห็นแล้วให้พิจารณาให้เห็นว่าเป็นธาตุ4  ดิน น้ำ ไฟ ลม
เราพิจารณาเห็นไหม ถ้าไม่เห็นหรือเห็นเหมือนกัน แต่ก็ยังสามารถแยกออกเป็นธาตุต่างๆได้คือ เห็นเป็นธาตุได้จริงๆ มันจะมีสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นในขณะที่เห็น สิ่งนั้นคือ นิพพิทาญาณ ความเบื่อหน่าย
   ต่อไปก็พิจารณาอื่นๆอีกฯลฯ    ซึ่งเป็นทางสู่การพ้นทุกข์ได้
                ผมมีความรู้สึกว่าวิธีนี้ก็ดีเหมือนกัน  เราไม่จำเป็นต้องถึงฌาน(ปลอดภัยหน่อย)
อยากทราบความเห็นของคุณVichaครับ
    

 

ตอบโดย: svonnu48 19 ก.พ. 51 - 14:02


   ครับถ้า คุณsvonnu48 หมายถึง นิโรธ ที่ยังเป็นปุถุชนอยู่ ก็ถูกแล้วครับ ผมเข้าใจเลยไปถึง นิโรธ ในอริยสัจจะ 4   คือ  ตทังคนิโรธ หรือ  สมุจเฉทนิโรธ  ซึ้งต้องอาศัยวิปัสสนาญาณ แยกรูปนามได้ จนถึงอุทัพยญาณ(เขียนไม่ถูก) จึงจะเป็นตทังคนิโรธ ที่สมบูรณ์ ส่วน  สมุจเฉทนิโรธ  ก็คือการบรรลุเป็นพระโสดาบันขึ้นไป

     การได้ฌาน ทั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป ก็คือ วิกขัมภนนิโรธ ดับกิเลสด้วยข่มไว้ ตามที่คุณ wit ได้เสนอไว้ในความคิดเห็นที่ผ่านมา
      แต่จะจัดอยู่ในส่วนรู้ชัดในอริยสัจสี ในส่วนนิโรธ นั้นคงไม่สามารถจะกล่าวได้ เพราะภาวะการดับไม่เกิดด้วยปัญญาแจ้งชัดในไตรลักษณ์

     ร่วมสนทนากันไปทำความเข้าใจกันไปนะครับคุณ คุณsvonnu48 ก็จะรู้สึกดีขึ้น กับข้อมูลที่เพิ่มขึ้น เมื่อในอยู่หลักของพระธรรม.

 

ตอบโดย: Vicha 19 ก.พ. 51 - 14:05


     

ตอบโดย: wit 19 ก.พ. 51 - 14:12


หลงเหลือแต่ปีติความสุขที่แผ่กระจายไปทั่วร่าง ก็จะเป็นฌานที่ 2 แล้ว ซึ่งตามที่ผมเข้าใจคือถ้าเป็นฌาน 2 ที่ละเอียดมากๆความคิดจะดับไปหมดเลยเหลือแต่ความรู้สึกตัวและอารมณ์สุขเท่านั้น

          อนุโมทนา กับคุณ wit คุณมาถูกทางแล้ว
ทำความรู้ตัวทั่วพร้อมให้มากๆ บ่อยๆ ทั้งลืมตา หลับตา ทุกลมหายใจ  ที่เราระลึกได้


ซึ่งผมเคยทำได้ครั้งเดียวเอง ครับ คืออยู่ดีๆเหมือนสวิตซ์ความคิดในหัวมันดับไปเฉยๆเหมือนเซฟทีคัท และจิตก็ดำรงอยู่ในความสงบนั้นอย่างมีสติสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่น่ะครับ
          นี้คือจิตที่กำลังเหนือ ความคิด ตามที่เคยเล่าให้ฟัง  ต่อไปถัาคุณ wit ทำกาย
คือรู้ตัวพร้อมบ่อยๆ กายเราจะศักดิสิทธิขึ้น   คุณ wit จะเห็น การแยกของจิต กับ
ความคิด อย่างชัดเจน เหมือนมีครอบแก้วครอบจิต แยกออกจากความคิด เวลาที่เกิด
ผัสสะ ภายนอก เราจะไม่มีอารมณ์ร่วมกับผัสสะไดๆ
     ขออนุโมทนาจริงๆ  สัญญากับปฏิบัติได้ มันต่างกันแบบนี้

 

ตอบโดย: พลังไฟ 19 ก.พ. 51 - 14:23


ตอบ คุณsvonnu48 ในความคิดเห็นที่ 125
    
    วิธีที่กล่าวมานั้นแหละครับ ต้องได้ฌานก่อนแล้ว และต้องมีวสี มีความชำนาณด้วย แต่ ภาวะต่างๆ ที่ คุณsvonnu48 ยกมา เกี่ยวกับวิปัสสนาผมไม่ขอวิเคราะห์ เพราะเป็นเรื่องของครูบาอาจารย์ที่เป็นที่เคารพของคุณหมู่มาก

    ผมจะบอกในภาวะที่เกี่ยวกับอานาปานสติ ในช่วงที่เกิดกับวัตถุ หรือจาตุกะนี้ เรื่อง ภวังค์ ที่ถาม..

อ้างอิง
     การฝึกสมาธิเมื่อมาถึงสมาธิชั้นสูงนั้น ก็คือสมาธิที่จิตเข้าไปสู่ภวังค์ เมื่อเวลาจิตเข้าไปสู่ภวังค์ไปแล้วเรายังรู้ตัวว่าเรายังอยู่ในภวังค์ อย่างนี้ท่านเรียกว่าจิตเข้าขั้น
                  อันนี้ขอถามก่อนนะครับ จิตที่เข้าสู่ภวังค์นั้นมีอาการอย่างไร? เป็นสมาธิขั้นไหน? และการฝึกแบบนี้เป็นการฝึกอานาปานสติใช่ไหม


    ครับผู้ที่ฝึกสติปัฏฐาน 4 อย่างดี หรือปฏิบัติอานาปานสติอย่างดีได้ฌานจนชำนาญขึ้นแล้ว เมื่อจิตลงสู่ภวังค์ ก็ย่อมรู้ว่าจิตอยู่ในภาวังค์ (ตามที่จิตรู้ได้ ตามรู้ไปโดยตลอด) เมื่อจิตกำลังถอนออกจากภวังค์ ก็มีสติรู้ระดับช่วงยกขึ้นจากภวังค์รับรู้ร่างกายภาวะปกติ

  จิตที่เข้าสู่ภวังค์นั้นมีอาการอย่างไร?
    ตอบ. จะไม่กล่าวถึงการง่วงนอนหรือเผลอหลับ เพราะกระทู้นี้กล่าวถึงการปฏิบัติอานาปานสติ  คือเมื่อสมาธิ เป็นหนึ่งขึ้น ค่อยปลดจากการรับรู้ทางกายสัมผัสไม่มีกาย ค่อยปลดจากเสียงที่ได้ยิน จนเสมือนไม่ได้ยิน จนเหลือแต่ความรู้สึกหรือใจอยู่อย่างเดียว เมื่อความรู้สึกทางใจน้อยลง ก็จะตกลงภวังค์กึ่งหลับกึ่งตื่น แต่ด้วยกำลังสมาธิ และสติที่ฝึกบ่อยๆ ภาวะกึ่งหลับกึ่งตื่นนั้นสติก็ยังตามรู้อยู่ตลอดสายจนลง อัปปนาสมาธิ(ดับ) หรือขึ้นจากภวังค์ถ้าไม่ลงอัปปนาสมาธิ
     ช่วงที่จิตเข้าสมาธิลงสู่ภวังค์แล้วเข้าอัปปนาสมาธิแล้วขึ้นจากภวังค์มารู้ชัดช่วงนี้แหละ สติและจิตใจจะแจ่มสดใสด้วย องค์ฌาน สามารถเป็นฐานของสติปัฏฐาน 4 ได้อย่างดี

     สนทนากันไปทำความเข้าใจกันไปก็จะรู้สึกดีขึ้น เมื่อยังอยู่ในพระธรรมและการปฏิบัติที่ถูกที่ควร.

 

ตอบโดย: Vicha 19 ก.พ. 51 - 14:37


อ้างอิง
อนุโมทนา กับคุณ wit คุณมาถูกทางแล้ว
ทำความรู้ตัวทั่วพร้อมให้มากๆ บ่อยๆ ทั้งลืมตา หลับตา ทุกลมหายใจ  ที่เราระลึกได้


ซึ่งผมเคยทำได้ครั้งเดียวเอง ครับ คืออยู่ดีๆเหมือนสวิตซ์ความคิดในหัวมันดับไปเฉยๆเหมือนเซฟทีคัท และจิตก็ดำรงอยู่ในความสงบนั้นอย่างมีสติสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่น่ะครับ
          นี้คือจิตที่กำลังเหนือ ความคิด ตามที่เคยเล่าให้ฟัง  ต่อไปถัาคุณ wit ทำกาย
คือรู้ตัวพร้อมบ่อยๆ กายเราจะศักดิสิทธิขึ้น   คุณ wit จะเห็น การแยกของจิต กับ
ความคิด อย่างชัดเจน เหมือนมีครอบแก้วครอบจิต แยกออกจากความคิด เวลาที่เกิด
ผัสสะ ภายนอก เราจะไม่มีอารมณ์ร่วมกับผัสสะไดๆ
     ขออนุโมทนาจริงๆ  สัญญากับปฏิบัติได้ มันต่างกันแบบนี้


     

ตอบโดย: wit 19 ก.พ. 51 - 16:53


ผมขอถามเพิ่มนะครับ
        ตามที่ผมเข้าใจดังนี้ว่า อานาปานสติ เป็นทั้งวิปัสสนาและสมถะภาวนา การปฏิบัติต้องเริ่มที่วิปัสสนาก่อน อย่าไปปฏิบัติที่สมถะภาวนาจนได้ฌาน4 เพราะการได้ฌาน4นั้นจะเป็นอันตรายมากในกรณีที่ผู้ปฏิบัติยังมิได้บรรลุธรรมขั้นใดๆเลย เพราะอาจจะต้องไปอยู่ชั้นพรหมเป็นเวลานานมากถ้าเขาสิ้นชีวิตไปก่อนบรรลุธรรม
      ผมคิดว่าการจะปฏิบัติเพื่อฌาน4นั้นเขาจะต้องบรรลุธรรมขั้นต่ำคือโสดาบันก่อน
และการปฏิบัติโดยใช้ฌาน4นั้นก็มีจุดประสงค์เพื่อละสังโยชน์เบื้องสูง ตามพระสูตรนี้

500 ฌาน ๔ นำไปสู่นิพพานได้

ปัญหา ลำพังการทำสมาธิจนได้ฌาน จะสามารถนำไปสู่นิพพานได้หรือไม่ ?

พุทธดำรัสตอบ “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศตะวันออก หลั่งไปสู่ทิศตะวันออก บ่าไปสู่ทิศตะวันออกฉันใด ภิกษุเจริญพอกพูนซึ่งฌาน ๔ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพานฉันนั้น....
“ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฌาน ๔ อันภิกษุพึงเจริญเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ (คือ รูป ราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา) เหล่านี้แล”


ฌานสังยุต มหา. สํ. (๑๓๐๑-๑๓๐๔ )
ตบ. ๑๙ : ๓๙๒-๓๙๓ ตท. ๑๙ : ๓๖๐-๓๖๑
ตอ. K.S. ๕ : ๓๗๒

ไม่ทราบว่าผมเข้าใจถูกหรือเปล่าครับ  ถ้าเข้าใจถูกก็ขออนญาตสะกิดผู้สอนแนะนำให้ระวังในเรื่องนี้  เพราะอาจจะเกิดผลร้ายต่อผู้ปฏิบัติผิดก็ได้ครับ

ตอบโดย: svonnu48 20 ก.พ. 51 - 01:08


   จากคำถามของคุณ svonnu48
อ้างอิง
ผมขอถามเพิ่มนะครับ
        ตามที่ผมเข้าใจดังนี้ว่า อานาปานสติ เป็นทั้งวิปัสสนาและสมถะภาวนา การปฏิบัติต้องเริ่มที่วิปัสสนาก่อน อย่าไปปฏิบัติที่สมถะภาวนาจนได้ฌาน4 เพราะการได้ฌาน4นั้นจะเป็นอันตรายมากในกรณีที่ผู้ปฏิบัติยังมิได้บรรลุธรรมขั้นใดๆเลย เพราะอาจจะต้องไปอยู่ชั้นพรหมเป็นเวลานานมากถ้าเขาสิ้นชีวิตไปก่อนบรรลุธรรม
      ผมคิดว่าการจะปฏิบัติเพื่อฌาน4นั้นเขาจะต้องบรรลุธรรมขั้นต่ำคือโสดาบันก่อน
และการปฏิบัติโดยใช้ฌาน4นั้นก็มีจุดประสงค์เพื่อละสังโยชน์เบื้องสูง ตามพระสูตรนี้


    เป็นคำถามที่สลับความสำคัญ กลับหน้าเป็นหลัง หลังเป็นหน้าหมดเลยครับ
    ผมตอบดังนี้
       1.อานาปานสติ  เป็นทั้ง สมถะและวิปัสสนา  (สลับกับ วิปัสสนาและสมถะ)
       2.การปฏิบัติอานาปานสติ นั้นจะได้สมถะก่อน อย่างน้อยก็อุปจาระสมาธิ(สมาธิเริ่มเป็นหนึ่ง) จนถึงฌาน จึงค่อยต่อเป็นวิปัสสนาใน วัตถุหรือจาตุกะต่อไป..

       หมายเหตุ แต่สามารถปฏิบัติวิปัสสนาสติปัฏฐาน 4 ควบคู่กับอานาปานสติได้เลย หรือได้ฌาน 1 แล้วปฏิบัติวิปัสสนาสติปัฏฐาน 4 ก็ได้ ไม่จำเป็นว่าต้องได้ฌานก่อนก็ได้ แต่จะมีปัญหาเรื่องสติน้อยกว่าสมาธิ ดังนั้นการเกิดวิปัสสนาญาณจึงอยู่ในฐานะที่ไม่ง่ายนัก

       3.รูปฌานในอานาปานสติสูตร นั้นไม่เป็นอันตรายต่อการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 เลยครับ แถมยังก่อประโยชน์ในการพัฒนาวิปัสสนาญาณต่างๆ ได้ดีขึ้นครับ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นว่าต้องบรรลุโสดาบันก่อน จึงค่อยได้ฌาน
        การปฏิบัติตามอานาปานสติสูตรนั้น เมื่อกำลังสมาธิสมบูรณ์ ก็ย่อมบังเกิดหรือบรรลุฌาน ห้ามกันไม่ได้หรอกครับเพราะแนวทางการปฏิบัติเป็นไปอย่างนั้น
        นอกเสียจากผู้ที่ติดหลงอยู่กับความแปลกพิศดาร ที่เกิดขึ้นกับจิต เพราะอำนาจของฌาน ก็อาจทำให้วิปลาส เกิดยึดอัตตาตัวตนยกตนอย่างเหนียวแน่นขึ้น ก็จะติดอยู่ตรงนั้นไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้ทำให้ล่าช้า แต่ก็เป็นไปตามฐานะหรือวาสนาบารมีของผู้นั้น เมื่อเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล  แต่ถ้าเมื่อยึดมั่นเป็นอัตตา ยกตัวตนจนเบียดบังสติปัญญา ก็จะเกิดทิฏฐิที่เหนียวแน่นไม่รับธรรมตามเป็นจริงจากด้านอื่นอีกเลยเปรียบเสมือนถ้วยชาที่มีน้ำชาล้นถ้วยเทน้ำชาลงไปเท่าได้ ก็ล้นออกเท่านั้นไม่ก่อประโยชน์เลยแต่ทำให้เสียคุณค่าของธรรมเสียอีก  และถ้าขาดสติปัญญาที่เท่าทันตัณหาหรือกิเลสที่เกิดขึ้นกับใจตน นั้นแหละจึงจะเป็นอันตรายกับตัวเองที่อาจจะเกิดผิดศีลผิดธรรมโดยหลงตัวเองโดยไม่ย่อมรับความจริงหรือความผิดแล้วนำไปสู่ความผิดพลาดอีกมากมาย กลายเป็นความผิดและล้าช้าข้ามภพข้ามชาติก็ไม่เกรงกลัวหรือสำนึก  ที่ร้ายมากกว่านั้นคือทำให้ผู้อื่นหลงตามได้..
 
    จากคำถาม ปัญหา ลำพังการทำสมาธิจนได้ฌาน จะสามารถนำไปสู่นิพพานได้หรือไม่ ?

     ตอบ..  ลำพังการทำสมาธิจนได้ฌาน ไม่สามารถนำไปสู่นิพพานได้ครับ  การนำไปสู่นิพพานได้ต้อง ปฏิบัติวิปัสสนาหรือสติปัฏฐาน 4  ที่มีพละ 5 คือ 1.สติ 2.สมาธิ 3.ปัญญา 4.ศรัทธา และ 5.ความเพียร  พัฒนาขึ้นอย่างสมบูรณ์และสมดุลย์
          ซึ่งสมาธิหรือฌาน เป็นเพียงหนึ่งอย่างในพละ 5 เท่านั้นเอง ดังนั้นฌานอย่างเดียวไม่สามารถนำไปสู่นิพพานได้ ต้องประกอบด้วยพละ 5 และการเกิดวิปัสสนาญาณ..

       และส่วนในพระสูตรที่คุณ svonnu48 ยกมานั้น พระพุทธเจ้าทรงเน้นไปที่พระอริยะเบื้องต้นถึงการเจริญ ฌาน 4. ที่ทำให้มาก เพื่อที่จะบรรลุเป็นพระอรหันต์..

 

ตอบโดย: Vicha 20 ก.พ. 51 - 09:53


ขอถามคุณ Vichaต่อนะครับ
    การปฏิบัติแบบยุบหนอ พองหนอ(เกี่ยวกับลมหายใจเหมือนกัน)เป็นประเภทเดียวกับอานาปานสติหรือเปล่าหรือว่าเป็นพัฒนาการมาหรือมีข้อแตกต่าง มีส่วนดีส่วนเสียอย่างไรครับ
  ตามที่คุณVichaได้กล่าวว่าดังนี้

อ้างอิง
  ส่วนการได้รูปฌาน แบบอานาปานสติ ไม่ควรกลัวว่าจะหลงฌานหรือติดฌานครับ แค่รักษาฌานไว้ให้ได้ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ง่ายเลยครับ เพราะปฏิบัติอานาปานสติสมบูรณ์เท่าไหร สติปักฐาน4 ก็เจริญขึ้นเท่านั้น มีพุทธพจน์รองรับครับ


อยากให้คุณVichaช่วยนำพุทธพจน์มาลงด้วยครับ
   ผมมีหนังสือ อานาปานสติซึ่งบรรยายโดยท่านพุทธทาส อยากทราบว่าปฏิบัติตามนี้จะเป็นอย่างไร ขอขอบคุณครับ
      

ตอบโดย: svonnu48 20 ก.พ. 51 - 11:22


  จากคำถามของคุณ svonnu48
อ้างอิง
   การปฏิบัติแบบยุบหนอ พองหนอ(เกี่ยวกับลมหายใจเหมือนกัน)เป็นประเภทเดียวกับอานาปานสติหรือเปล่าหรือว่าเป็นพัฒนาการมาหรือมีข้อแตกต่าง มีส่วนดีส่วนเสียอย่างไรครับ


     แบบยุบหนอ พองหนอ  (เน้นแบบ) คือมีวิธีที่ให้มีสติในการกำหนดภาวนา ทั้ง 4 ฐาน คือ 1.กาย 2.เวทนา 3.จิต 4.ธรรมมารมณ์ ตามภาวะที่ปรากฏเด่นชัด  เพียงแต่มีฐานหลักหรือเป็นที่มั่นอยู่ที่ท้อง พอง-ยุบ เท่านั้น ยามเมื่อทุกอย่างสงบ (สำหรับผมในสมัยที่ปฏิบัติใช้ "ยินหนอ" เป็นฐานหลักครับ)

     ต่อไป ท้องพอง-ยุบ ย่อมมีผลจากลมหายใจเข้าหรือออกที่กระบังลมมีการเปลี่ยนแปลง  แต่หาได้ไปตั้งอยู่ที่ลมสัมผัสกับร่างกาย จึงจะกล่าวว่าเป็นอานาปานสติโดยตรงไม่ได้   การพอง-ยุบของท้อง  จึงเป็นเรื่องของ กาย โดยเฉพาะ ซึ่งเป็น 1.ในสติปัฏฐาน 4 ครับ

      ส่วนดีส่วนเสีย?
           ส่วนดีคือ มีสติเป็นไปตามสติปัฏฐาน 4 เป็นวิปัสสนาล้วนๆ เพราะสตินำอยู่ตลอด สะภาพไตรลักษณ์ปรากฏเนื่องๆ จึงเกิดปัญญาเท่าทันแยกรูปแยกนามได้ง่าย
           ส่วนเสียคือ  สมาธิรวมเป็นหนึ่งได้ฌานยาก ถ้าเพ่งมากไปก็จะเกิดเป็นลักขณูฌาน คือสมาธิที่ประกอบด้วยการเห็นไตรลักษณ์ คือช่วง สมนสนญาณ(ญาณ 3) และ อุทยัพยญาณ (ญาณ 4)

     จากคำถาม อยากให้คุณVichaช่วยนำพุทธพจน์มาลงด้วยครับ
  
      และคำที่ผมกล่าวว่า "ปฏิบัติอานาปานสติสมบูรณ์"  ก็คือการปฏิบัติอานาปานสติสมบูรณ์ทั้ง 16 วัตถุ หรือจาตุกะนะครับ ไม่ใช่ แค่เพียงมีสติที่ลมหายใจเข้าหรือออกเท่านั้น

     ผมยกข้อมูลในพระไตรปิฏกให้ดูนะครับ

           เรื่องอานาปานสติสัมปยุตร่วมกับสติปัฏฐาน 4

                         กิมิลสูตร
              การเจริญอานาปานสติสมาธิ
    [๑๓๕๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน ใกล้เมืองกิมิลา ณ ที่นั้นแล
พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระกิมิละว่า ดูกรกิมิละ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อัน
ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก? เมื่อพระผู้มี
พระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระกิมิละนิ่งอยู่.
    [๑๓๕๖] แม้ครั้งที่สอง แม้ครั้งที่สาม พระผู้มีพระภาคก็ตรัสถามท่านกิมิละว่า ดูกร
กิมิละ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก? ท่านพระกิมิละก็นิ่งอยู่.
    [๑๓๕๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เป็นกาลสมควรที่พระองค์จะพึงตรัสสมาธิอันสัมปยุตด้วย
อานาปานสติ ข้าแต่พระสุคต เป็นกาลสมควรที่พระองค์จะพึงตรัสสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปาน
สติ ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์
ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ดูกรอานนท์ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว
อย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่
ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า ฯลฯ ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละ
คืนหายใจออก เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า ดูกรอานนท์ สมาธิอันสัมปยุต
ด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์
มาก.
    [๑๓๕๘] ดูกรอานนท์ สมัยใด ภิกษุเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว
หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม
หายใจทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร
หายใจเข้า สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเรากล่าวกายอันหนึ่ง
ในบรรดากายทั้งหลาย ซึ่งได้แก่ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า เพราะฉะนั้นแหละอานนท์
สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
    [๑๓๕๙] ดูกรอานนท์ สมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ
หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็น
ผู้กำหนดรู้สุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุขหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า
เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร
หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับ
จิตสังขารหายใจเข้า สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเรา
กล่าวเวทนาอันหนึ่งในบรรดาเวทนาทั้งหลาย ซึ่งได้แก่การกระทำไว้ในใจให้ดีซึ่งลมหายใจออก
และลมหายใจเข้า เพราะฉะนั้นแหละอานนท์ สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
    [๑๓๖๐] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักกำหนดรู้จิตหายใจ
ออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้บันเทิง
หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิต
มั่นหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่นหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเปลื้องจิต
หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเปลื้องจิตหายใจเข้า สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิต
ในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อ
นั้นเพราะเหตุไร? เพราะเราไม่กล่าวซึ่งการเจริญสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ สำหรับผู้มี
สติหลง ไม่มีสัมปชัญญะ เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตใน
จิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
    [๑๓๖๑] ดูกรอานนท์ สมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความ
เป็นของไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง
หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก ย่อมสำเหนียก
ว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดย
ความดับหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจเข้า ย่อมสำเหนียก
ว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดย
ความสละคืนหายใจเข้า สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัส
นั้นด้วยปัญญา จึงวางเฉยเสียได้ เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นแหละอานนท์ สมัยนั้น ภิกษุย่อม
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกเสียได้.

   [๑๓๖๒] ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนมีกองดินใหญ่อยู่ที่หนทางใหญ่ ๔ แพร่ง ถ้า
เกวียนหรือรถผ่านมาในทิศบูรพา ก็ย่อมกระทบกองดินนั้น ถ้าผ่านมาในทิศปัจฉิม ทิศอุดร ทิศ
ทักษิณ ก็ย่อมกระทบกองดินนั้นเหมือนกัน ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อพิจารณาเห็น
กายในกายอยู่ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ พิจารณาเห็นธรรมใน
ธรรมอยู่ ย่อมจะกำจัดอกุศลธรรมอันลามกนั้นเสียได้.


     ในกิมิลสูตร พระพุทธเจ้าทรงตรัสยืนยันแล้วว่า อานาปานสติที่ปฏิบัติอย่างถูกต้อง เมื่อถึงที่สุดแล้วย่อมเป็นสติปัฏฐาน 4

 

ตอบโดย: Vicha 20 ก.พ. 51 - 12:25


พระคุณมากคุณwit ที่ตอบความหมายของสองประโยค
แสดงว่า..นิมิตก็คง...ไม่เกี่ยวกับคุณ
 

ขอเข้าเรื่องเกียวกับอานาปานสติตามหัวข้อกระทู้

ผมว่าการดูลมหายใจตัวเองมีประโยชน์หลายอย่าง
ทำให้เป็นคนใจเย็น...

ตอบโดย: ฤาษี 20 ก.พ. 51 - 13:59


ขอบพระคุณมากคุณwit ที่ตอบความหมายของสองประโยค
แสดงว่า..นิมิตก็คง...ไม่เกี่ยวกับคุณ
 

ขอเข้าเรื่องเกี่ยวกับอานาปานสติตามหัวข้อกระทู้

ผมว่าการดูลมหายใจตัวเองมีประโยชน์หลายอย่าง
ทำให้เป็นคนใจเย็น...

ตอบโดย: ฤาษี 20 ก.พ. 51 - 13:59


   เอาแหละเห็น หลวงฤาษี ถามความหมายถึง สองประโยคนี้  และได้มาสนทนาในกระทู้ และเป็นคนบ้านเดียวกัน แต่อย่างลุมล่ามนะ เพราะหลวงฤาษี อยู่ในช่วงภาคทัณฑ์  

จากประโยคที่หลวงฤาษีถาม

อ้างอิง
ที่สุดแห่งความเย็นคือร้อน
ที่สุดแห่งความร้อนคือเย็น

และ

จิตดวงเดียวนี้ผลิตได้ทั้งกิเลสและธรรม
เป็นสมมุติด้วยกันทั้งคู่


ที่สุดแห่งความเย็นคือร้อน
ที่สุดแห่งความร้อนคือเย็น

  ส่วนนี้เป็นเรื่องของโลก

จิตดวงเดียวนี้ผลิตได้ทั้งกิเลสและธรรม
เป็นสมมุติด้วยกันทั้งคู่

   ส่วนนี้เป็นเรื่องของโลกียธรรม และโลกุตรธรรม

และต้องเพิ่มไปอีกประโยคหนึ่ง จึงจะสมบูรณ์คือ

    ที่สุดแห่งทุกข์ คือ นิพพาน..

    จึงเป็นส่วนของโลกุตรธรรม   ไม่เป็นของคู่  คือ นิพพาน 1.

 

ตอบโดย: Vicha 20 ก.พ. 51 - 15:09


อ้างอิง
ขอบพระคุณมากคุณwit ที่ตอบความหมายของสองประโยค
แสดงว่า..นิมิตก็คง...ไม่เกี่ยวกับคุณ

อ๋อ...ครับผม แหม....ผมก็รอลุ้นตั้งนานนึกว่าจะมีเรื่องอะไรเกี่ยวกับผมเสียอีก    

ปล.แหะๆ....เกรงใจคุณ Vicha จังครับ  

ตอบโดย: wit 20 ก.พ. 51 - 15:18


ครับโยมพี่ ผมเห็นด้วย...

คุยเรื่องภาวนาดีกว่า...สนุกดี

ผมว่า...การทำจิตให้สงบมันยากเหมือนกัน
ผมสังเกตุเห็น...ช่วงก่อนจิตจะสงบลงได้
มันเป็นอาการเหมือนใจจะขาด...
แล้วมันทิ้งอารมณ์หยาบเข้าสู่..อารมณ์ละเอียดต่อไป

จิตเรามันแปลก...มันหลงเงาตัวเอง...
ผมว่า...    ไม่รู้ใครเห็นด้วยบ้าง...
 

ตอบโดย: ฤาษี 20 ก.พ. 51 - 20:08


ขอถามต่อนะครับ
       อยากให้คุณVichaนำพระพุทธพจน์ที่กล่าวว่า  การเจริญอานาปานสติแล้ว ไม่ต้องกลัวว่าจะหลงฌานหรือติดฌานมาแสดงด้วย
        และขอถามว่า ตทังคนิโรธ เป็นนิโรธที่เกิดจาก การเกิดมรรคจิต ผลจิต ของพระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี (เพราะยังตัดกิเลสไม่หมดเป็นสมุทเฉท)ใช่ไหม   และตทังคนิโรธนั้นมีอาการอย่างเดียวกับวิกขัมภนนิโรธไหม  ขอขอบคุณครับ


 
               
                                                        



 

ตอบโดย: svonnu48 21 ก.พ. 51 - 19:28


สนทนากับหลวงฤาษี

อ้างอิง
ผมว่า...การทำจิตให้สงบมันยากเหมือนกัน
ผมสังเกตุเห็น...ช่วงก่อนจิตจะสงบลงได้
มันเป็นอาการเหมือนใจจะขาด...
แล้วมันทิ้งอารมณ์หยาบเข้าสู่..อารมณ์ละเอียดต่อไป


ใกล้เคียงกันครับ ครั้งแรก จะเป็นอาการคล้ายกันครับ

อ้างอิง
จิตเรามันแปลก...มันหลงเงาตัวเอง...
ผมว่า...     ไม่รู้ใครเห็นด้วยบ้าง...


  จริงครับหลวงฤาษี  เพราะความยึดมั่นเป็นตัวเป็นตน เป็นอัตตา นี้แหละครับ

   ความจริงคือ เป็นอนัตตา  ว่างจากตน..

 

ตอบโดย: Vicha 22 ก.พ. 51 - 09:19


 ตอบคุณ svonnu48

อ้างอิง
       อยากให้คุณVichaนำพระพุทธพจน์ที่กล่าวว่า  การเจริญอานาปานสติแล้ว ไม่ต้องกลัวว่าจะหลงฌานหรือติดฌานมาแสดงด้วย


    คงไม่มีพุทธพจน์ที่กล่าวไว้นะครับ  แม้แต่สติปัฏฐ 4 หรือวิปัสสนาญาณ ก็มี อุปกิเลส 10 ที่สามารถทำให้หลงได้ แต่ก็สามารถผ่านไปได้ถ้าดำเนินไปตามการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 ไปตามลำดับ
   เช่นเดียวกันอานาปานสติสูตรทั้ง 16 วัตถุ  ก็มี อุปจารสมาธิ หรือฌาน ที่สามารถทำให้หลงได้ อาจจะกล่าวว่าเป็นส่วนหนึ่งของ อุปกิเสส 10 ในวิปัสสนาก็ได้ แต่ก็สามารถผ่านไปได้ถ้าดำเนินไปตามอานาปานสติสูตร ในวัตถุเบื้องสูงต่อๆ ไป
   
    ดังนั้น  ผมจึงกล่าวว่า ถ้าปฏิบัติอานาปานสติสูตร ไปตามลำดับทั้ง 16 วัตถุ ก็ไม่ต้องกลัวหลงฌานหรือติดฌาน  ยกเว้นผู้ที่หลงแล้วหยุดอยู่ ขาดสติปัญญาเห็นกิเลสตน กลับเห็นอัตตาตัวตนของตนยิ่งใหญ่กว่า จนไม่ย่อมรับ ไม่ย่อมปรับใจเพื่อย่อมรับความเป็นจริงตามธรรม..

อ้างอิง
        และขอถามว่า ตทังคนิโรธ เป็นนิโรธที่เกิดจาก การเกิดมรรคจิต ผลจิต ของพระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี (เพราะยังตัดกิเลสไม่หมดเป็นสมุทเฉท)ใช่ไหม   และตทังคนิโรธนั้นมีอาการอย่างเดียวกับวิกขัมภนนิโรธไหม  ขอขอบคุณครับ

         
       ตทังคนิโรธ ไม่ใช่ นิโรธที่เกิดจาก การเกิดมรรคจิต ผลจิตของพระโสดาบัน พระสกทาคามี หรือพระอนาคามี ครับ

       โสดาบันติมรรค สกทาคามีมรรค  หรืออนาคามีมรรค   ต่างก็เป็น  สมุจเฉทนิโรธ (ไม่ใช่ตทังคนิโรธ)  คือละกิเลส(สังโยชน์)ได้อย่างเด็ดขาด ไม่กลับคืนมาอีก เป็นลำดับๆ ไปครับ

       อาการในการปฏิบัติที่เกิดภาวะของตทังคนิโรธ  และวิกขัมภนนิโรธ นั้นอาจจะใกล้เคียงกัน แต่ต่างกันในรายละเอียด

        ตทังคนิโรธ ดับหรือตัดกิเลสอย่างหยายหรืออย่างกลางให้เบาบางลงด้วยปัญญาเห็นแจ้งในไตรลักษณ์ในระดับหนึ่งแต่กิเลสอย่างละเอียดหาได้ดับหรือขาดอย่างเด็ดขาด ก็จะเสมือมีกิเลสน้อยเมื่อยังดำรงวิปัสสนาญานนั้นอยู่ แต่เมื่อโดนกระทบกิเลสมากๆ หรือวิปัสสนาญานนั้นเปลี่ยนแปลงหรือเสื่อม กิเลสอย่างกลางหรืออย่างหยาบก็จะฟู่กลับมามีกำลังเต็มบริบูรณ์เหมือนเดิม
         ส่วน วิกขัมภนนิโรธ  จะไม่เห็นการดับหรือการตัดกิเลสได้อย่างชัดเจน(เพราะ1.สติ 2.ปัญญา นั้นอ่อนไป จึงไม่แจ้งชัดในพระไตรลักษณ์) แต่ข่มหรือบรรเทาให้กิเลสอย่างหยาบ อย่างกลาง เสมือนไม่บังเกิดด้วยกำลังของสมาธิที่เป็นฌาน แต่กิเลสอย่างละเอียดนั้นยังมีอยู่เหมือนเดิม   เมื่อโดนกระทบกิเลส หรือฌานเสื่อม กิเลสอย่างกลางหรืออย่างหยาบก็จะปะทุ หรือฟู่กลับมาเหมือนเดิม..

 

ตอบโดย: Vicha 22 ก.พ. 51 - 09:56


ขออนุโมทนากับคุณ Vicha เป็นอย่างสูงครับ กระทู้นี้ได้ประโยชน์มากมายเลยครับ  


อ้างอิง
ผมว่า...การทำจิตให้สงบมันยากเหมือนกัน
ผมสังเกตุเห็น...ช่วงก่อนจิตจะสงบลงได้
มันเป็นอาการเหมือนใจจะขาด...
แล้วมันทิ้งอารมณ์หยาบเข้าสู่..อารมณ์ละเอียดต่อไป


ช่วงที่จิตกำลังจะเกิดสมาธิตามประสบการณ์ของผม สติจะเริ่มปล่อยวางจากความคิดแล้วมาแนบแน่นอยู่กับกายและความรู้สึกน่ะครับ การปรุงแต่งตามความคิดแทบจะไม่มี เหมือนสติเราค่อยๆถูกดึงรั้งกลับมาแล้วก็ค่อยๆรวมตัวกันแนบแน่นอยู่กับความรู้สึกภายในกาย มีสติรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่น่ะครับ (ความคิดก็จะผ่านมาผ่านไป เหมือนเราดำน้ำลงไปแล้วเห็นปลาว่ายผ่านมาผ่านไปอยู่เหนือหัวเรา โดยที่ตัวเราไม่กระทบโดนตัวปลาน่ะครับ)

และเมื่อจิตเริ่มค่อยๆสงบลงจนเกิดความตั้งมั่นดีแล้ว กระแสจิตที่ตอนแรกเหมือนถูกดึงรั้งกลับมาให้รวมตัวอยู่ที่กายนั้นก็จะเริ่มค่อยๆแผ่ซ่านกระจายไปยังร่างกายทั่วร่างและแผ่ออกไปโดยรอบเองโดยอัตโนมัติน่ะครับ

ส่วนความรู้สึกที่ผมเจอขณะจิตกำลังจะเข้าสมาธินั้น จะเป็นลักษณะคล้ายๆเหมือนเราค่อยๆหรี่ไฟในห้องลงน่ะครับ(แต่จะไม่รู้สึกอึดอัดตรงข้ามกับรู้สึกผ่อนคลายเกิดความสบายทั่วร่างกายครับ)  

ตอบโดย: wit 22 ก.พ. 51 - 10:17


ขอถามคุณVichaต่อ ได้ความรู้ดีครับ
             เคยอ่านพบว่าเมื่อกำลังพิจารณาธรรมอยู่ และจิตเกิดประจักษ์ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญานเป็นอนัตตา ช่วงนั้นจิตเกิดรวมตัว แล้วจิตเข้าไปมองเห็นที่โล่งๆ ไม่มีแผ่นดินแบบอวกาศ และจิตเห็นตนเองแตกเป็นเสี่ยงๆ
กลายเป็นความว่างเปล่า และจิตก็เห็นคนรอบข้างแตกเป็นเสี่ยงๆเช่นกันและก็เห็นคนรอบข้างเป็นความว่างเปล่า
จิตเกิดอาการกลัว แล้วต่อมาสักระยะจิตก็ถอนกลับมาเหมือนเดิม อยากทราบว่าอาการนี้เป็นตทังคนิโธใช่ไหม หรือว่าเป็นมรรคจิตและผลจิต หรือว่าเป็นอาการอะไร
          ขอให้คุณVichaกรุณาตอบ นิโรธที่เหลือ ว่านิโรธต่างๆนั้นจะเกิดของช่วงไหนๆ ขอขอบคุณมากครับ
              

ตอบโดย: svonnu48 22 ก.พ. 51 - 11:39


อ้างอิง
             เคยอ่านพบว่าเมื่อกำลังพิจารณาธรรมอยู่ และจิตเกิดประจักษ์ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญานเป็นอนัตตา ช่วงนั้นจิตเกิดรวมตัว แล้วจิตเข้าไปมองเห็นที่โล่งๆ ไม่มีแผ่นดินแบบอวกาศ และจิตเห็นตนเองแตกเป็นเสี่ยงๆ
กลายเป็นความว่างเปล่า และจิตก็เห็นคนรอบข้างแตกเป็นเสี่ยงๆเช่นกันและก็เห็นคนรอบข้างเป็นความว่างเปล่า
จิตเกิดอาการกลัว แล้วต่อมาสักระยะจิตก็ถอนกลับมาเหมือนเดิม อยากทราบว่าอาการนี้เป็นตทังคนิโธใช่ไหม หรือว่าเป็นมรรคจิตและผลจิต หรือว่าเป็นอาการอะไร


    ที่อธิบายและถามด้านบนนั้น จะกล่าวว่า เป็นตทังคนิโรธ อย่างชัดเจนนั้นคงไม่ได้ เพราะ ตทังคนิโรธ  นั้นเกิดขึ้นจากสติปัญญาแจ่มแจ้งในไตรลักษณ์ เห็นพระไตรลักษณ์อย่างชัดเจน คือดับหรือตัดขาดต่อหน้าที่เป็นปัจจุบันทันที
     แต่อาการที่เล่านั้นถือว่าพอใกล้เคียง แต่ไม่ชัดเจนมากนักของความเป็นไตรลักษณ์ตามสภาพความจริงที่ปรากฏ จึงหนักไปทาง "วิกขัมภนนิโรธ" เสียมากกว่า
     และเกิดภาวะความกลัวเกิดขึ้นภายหลัง ยิ่งไม่ใช่มรรคญาณ หรือผลญาณ แน่นอนครับ  ถ้าจะจัดในส่วนวิปัสสนาญาณ น่าจะอยู่ใน สมนสนญาณ หรือ ญาณที่ 3 ครับ เพราะญาณนี้จะเกิดภาวะความกลัวเกิดขึ้นได้ด้วยครับ..

       วินิสัยตามที่รู้และเข้าใจเทียบเคียงให้ทราบนะครับ..

          ส่วนคำถามที่เหลือเอาไว้ก่อนนะครับ เพราะผมต้องออกไปธุระช่วงบ่ายครับ



 

ตอบโดย: Vicha 22 ก.พ. 51 - 12:18


ขอถามต่อนะครับ
        มีอยู่ครั้งหนึ่งผมเคยสติเกิดคือ ขณะที่ผมมองวัตถุชนิดหนึ่งที่อยู่ไกลออกไป ผมเกิดความรู้สึกว่าเรา(ผู้รู้)ไม่สามารถบอกว่า วัตถุนั้นคืออะไร เกิดความรู้สึกว่าได้เห็น(คิดว่าเป็นวิญญาน) แต่รู้สึกว่าได้มีการวิ่งไปถามสัญญา แล้วต่อมาก็ตอบได้ว่าวัตถุที่เห็นนั้นคืออะไร  การดำเนินการต่างๆรู้สึกชัดเลยว่าเป็นระบบ ไม่มีคนสัตว์ แต่คิดว่าผู้รู้คือเรา
                
ถามว่าอาการนี้เป็นการเห็นพระไตรลักษณ์หรือเปล่าครับ
     เช่น  เมื่อแสงมากระทบ วิญญานทำกิจเห็น  ช่วงแรกไม่สามารถตอบได้ว่าวัตถุนั้นคืออะไร(ช่วงนี้จับอะไรไม่ได้) ต่อมาวิญญานดับไป และเกิดการต่อเนื่องไปถามสัญญา สัญญาตอบได้ว่าวัตถุนั้นคืออะไร
                อาจจะเป็นว่าเมื่อวีญญานทำกิจเห็นแล้ววิญญานก็ดับ ต่อไปก็ไปทางสัญญา สัญญาเกิดแล้วก็ดับ แล้วคิดว่าต่อไปก็วิ่งไปทางเวทนา  เวทนาดับ และคิดว่าต่อไปทางสังขาร ต่อมาสังขารก็ดับ  เป็นการเกิดดับเป็นทอดๆ    ขอขอบคุณมากครับ

  

ตอบโดย: svonnu48 23 ก.พ. 51 - 09:04


มีอยู่วันหนึ่งนั่งดูขี้ยังเกิดธรรมได้

เวลาขี้เสร็จมองดูขี้ตนเอง นอกจากจะเห็นว่ามันเป็นสิ่งปฏิกูลแล้วก็สังเกตเห็นสีของขี้นั้นแล้วก็รู้ว่ามันมีสีเหลือง พอมาอีกวันหนึ่งก็เห็นสีของขี้เปลี่ยนไปเป็นสีขุ่น สีคล้ำ กายนี้ถ้ารับเอาอาหารผิดสำแดงเข้าไป เวลาถ่ายออกมาจะเห็นชัดว่าขี้นั้นมีสีขุ่น สีดำ แต่ถ้ารับเอาอาหารดีเข้าไปร่างกายก็ขับถ่ายออกมาให้ได้เห็นว่าได้รับอาหารที่ดีเข้าไป อากาศก็เหมือนกัน จิตใจก็เหมือนกัน มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน ถ้าจิตใจรับเอาอกุศล ตั้งแต่หยาบ ปานกลาง ละเอียดเข้าไว้ ก็ผลที่ส่งออกมาก็คือจิตใจนั้นขุ่นมัว ไม่บริสุทธิ์ พฤติกรรมก็แสดงออกตามเหตุตามปัจจัยนั้น ๆ ซึ่งส่งผลให้เห็นถึงความคิดเห็นในจิตใจว่าเป็นเช่นไร กายรับลมหายใจเข้า และแสดงออกโดยการปล่อยหายใจออกไป นั่นแสดงว่ามีการรับและส่งอยู่อันเป็นธรรมชาติของกาย จิตก็เช่นกันมีการรับและส่งออก เมื่อกาย หรือจิตใจได้สัมผัสกับสิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องแล้ว ย่อมมีการรับเข้า ส่งออกอันเปรียบเสมือนกับลมหายใจนั้น หากจะกล่าวว่ามันมีการเกิด ดับ เกิด ดับอยู่ในตัวของมันเอง มันเกี่ยวข้องกันจริง ๆ เป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกันจริง ๆ และมันอาศัยซึ่งกันและกันจริง ๆ อาหาร อากาศ กรรม จิต เกี่ยวข้องกันทั้งสิ้น ถ้ามัวแต่ยังเป็นบ้าไม่รู้ ก็ลำบาก ลมหายใจก็เกี่ยวข้อง กายเป็นที่อยู่ เป็นรังเป็นที่อยู่อาศัย เป็นทั้งรังของโรค เหตุใดทำไมต้องไปแยกจิต กับกายออกจากกัน ก็มันเกี่ยวข้องกัน เป็นเรื่องเดี่ยวกัน คล้องจองกัน จะไปแยกหาอะไร แยกทำไม ถึงเวลามันก็แยกกันเองแหละ กายมันก็กลายเป็นซาก เป็นธุลี เป็นเถ้าถ่าน จิตก็ไปตามเหตุตามปัจจัย แล้วก็ปรุงแต่งเป็นกายใหม่อยู่อีก วนเวียนอยู่อย่างนี้ แล้วก็มาสาระวนกับกาย ใจนั้นอีก มาเรียนรู้อีก เป็นบ้ากับมันต่อไปอีก ไม่เห็นมีแก่นสารอะไรเลย ทำไม่ตนเองนี้มันช่างสอนยากสอนเย็นจริง ๆ หนอ แล้วยังจะเที่ยวไปสอนขึ้นอื่นได้อย่างไรกัน มันสอนยากจริง ๆ หนอ มันสอนยากจริง ๆ หนอ

ทุกสิ่งทุกอย่างมันก็คือกันนั่นแหละ เอากาย กับจิตไปอาศัยธรรมอันบวรน่าจะดีกว่า มันเป็นเช่นนั้นเอง มันดีไปหมด ทุกความเห็นดีไปหมดจริง ๆ       ขอบคุณจขกท

ตอบโดย: ช.ชุตินธโร 23 ก.พ. 51 - 09:54


ขอโทดนะครับเพิ่งจะเคยเข้ามาอะครับและก็ยังไม่รู้อะไรอยากจะรู้หลักเบื่องต้นของ
อานาปานสติอะครับ ขอบคุณครับ

ตอบโดย: กษิดิศ 23 ก.พ. 51 - 21:13


จิตนี้ หลงเงาตน  ผมได้ยินคำนี้จาก 2คน
เตือนสติผมแล้วล่ะ  เฮ้อ  ผมมัวทำอะไรอยู่นะ  หลงโลก

 

ตอบโดย: ธรรมชาติธรรมะ 23 ก.พ. 51 - 21:17


ลมหายใจ เป็นกายสังขารอย่างหนึ่ง
ธรรมที่เข้าไปรู้ ก็สักแต่ว่าเป็นสังขารอย่างหนึ่ง

การไม่ยึดมั่นถือมั่น ในลมหายใจเข้า ในลมหายใจออก
การไม่ยึดมั่นถือมั่น ในธรรมที่เข้าไปรู้ลมหายใจเข้า
การไม่ยึดมั่นถือมั่น ในธรรมที่เข้าไปรู้ลมหายใจออก
ว่าเป็นเรา ว่าเป็นตัวตนของเรา คือสิ่งที่ควรระลึก คือสิ่งที่ควรกระทำให้เจริญเป็นอย่างยิ่ง

ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก
ถูกรับรู้โดย กายวิญญาณ
กายวิญญาณ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา...

เมื่อกายวิญญาณยังไม่เกิด ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ก็ยังไม่ถูกรับรู้

เพราะสังขารมี วิญญาณจึงมี
เพราะกายวิญญาณมี  ลมหายใจจึงถูกรับรู้
เมื่อกายวิญญาณดับ ลมหายใจจึงไม่ถูกรับรู้

เพราะสังขารเปลี่ยนแปลง วิญญาณจึงเปลี่ยนแปลง
เพราะวิญญาณเปลี่ยนแปลง นามรูปจึงเปลี่ยนแปลง

เพราะธรรมที่เข้าไปรู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออกนั้นก็ไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเรา ว่าเป็นตัวตนของเรา...

 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 24 ก.พ. 51 - 19:15


สาธุครับ

ตอบโดย: ธรรมชาติธรรมะ 25 ก.พ. 51 - 09:37


  วันนี้วันจันทร์ได้มาสนทนาต่อนะครับ วันเสาร์-อาทิตย์ ได้เพียงแวบๆ เข้ามาดู..

     ตอบคุณ svonnu48 ในความคิดเห็นที่ 146  คุณ svonnu48 ต้องศึกษาทำความเข้าใจเรื่องวิญญาน เรื่องสังขาร เรื่องสัญญา และเรื่องเวทนาใหม่แล้วนะครับ ลองไปศึกในตำราหรือพระไตรปิฏก ดูนะครับ

    ตามข้อความ ข้างล่าง

อ้างอิง
      เกิดความรู้สึกว่าได้เห็น(คิดว่าเป็นวิญญาน) แต่รู้สึกว่าได้มีการวิ่งไปถามสัญญา

 เช่น  เมื่อแสงมากระทบ วิญญานทำกิจเห็น  ช่วงแรกไม่สามารถตอบได้ว่าวัตถุนั้นคืออะไร(ช่วงนี้จับอะไรไม่ได้) ต่อมาวิญญานดับไป และเกิดการต่อเนื่องไปถามสัญญา สัญญาตอบได้ว่าวัตถุนั้นคืออะไร
                อาจจะเป็นว่าเมื่อวีญญานทำกิจเห็นแล้ววิญญานก็ดับ ต่อไปก็ไปทางสัญญา สัญญาเกิดแล้วก็ดับ แล้วคิดว่าต่อไปก็วิ่งไปทางเวทนา  เวทนาดับ และคิดว่าต่อไปทางสังขาร ต่อมาสังขารก็ดับ  เป็นการเกิดดับเป็นทอดๆ   


    เป็นการเอาคำบัญญัติ มาอธิบายที่ผิดพลาดทั้งหมดครับ ทั้ง วิญญาณ สังขาร สัญญา และ เวทนา  และแม้แต่คำว่า "ดับ"
    เพราะตามตำรา และการปฏิบัตินั้น ถ้า วิญญาณดับ  ก็จะได้ว่า สังขาร สัญญา และเวทนาย่อมดับตามไปด้วย
    ถ้ากล่าวว่าเป็นเหตุเป็นปัจจัยกันสืบทอดต่อกันนั้นได้ เพราะ วิญญาณ สังขาร สัญญา และเวทนาหาได้ดับจริง เพียงแต่เปลี่ยนแปลงสืบทดต่อกันเท่านั้น ยังไม่ได้เกิดภาวะการดับขึ้นเลยครับ
    
     และข้างบนนั้นเป็นการเข้าใจในเรื่องไตรลักษณ์ แล้วนำมาคิดว่าเป็นอย่างนั้น  ยังไม่ใช่เป็นการเห็นไตรลักษณ์ตามความเป็นจริงโดยเป็นปัจจุบันเลยครับ..

 

ตอบโดย: Vicha 25 ก.พ. 51 - 09:45


  ครับท่าน ช.ชุตินธโร  ทุกอย่างที่ปรากฏขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาขึ้นในกายกับใจ  ย่อมก่อเกิดเป็น"ธรรม"   เป็นเพียงคำว่า "ธรรม" คำเดียวเท่านั้น
   แต่ธรรมนั้นยังแบ่งออกเป็น  ธรรมดำ ธรรมขาว  ธรรมไม่ดำไม่ขาว  พระพุทธเจ้าได้แยกให้ปรากฏ

   และเช่นเดียวกัน หลักใหญ่ของการปฏิบัติ คือให้มี สติสัมปัญญะเท่าทันหรือทั่วพร้อม กายกับใจ(จิต)

   แต่ในหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสในการปฏิบัติสติปัฏฐานสี  พระพุทธเจ้าทรงแยกออกเป็น 4 อย่าง คือ พิจารณา 1.กายในกาย 2.เวทนาในเวทนา 3. จิตในจิต 4.ธรรมในธรรม

    ทำไมพระพุทธเจ้าทรงตรัสสั่งสอนธรรมมากมายจนเป็นอเนกและปรีกย่อย จนเกิดเป็นพระไตรปิฏก ก็เพราะสัตว์ทั้งหลายต่างก็แตกต่างกันตามฐานะ วาสนาและบารมี

          

ตอบโดย: Vicha 25 ก.พ. 51 - 10:01


   ครับ การพิจารณาธรรมตามที่คุณ ปล่อยรู้ แสดงความคิดเห็นนั้นแหละ เป็นการพิจารณาที่ดีครับ  ซึ่งอยู่ในอานาปานสติสูตร ลำดับที่สูงจากลำดับที่กำลังสนทนากันอยู่ อยู่ในหมวดสติปัฏฐาน 4 ข้อที่ 4 คือ ธรรมในธรรม

 

ตอบโดย: Vicha 25 ก.พ. 51 - 10:07


ถามคุณVichaต่อ รู้สึกสบายใจหายข้อข้องใจหลายอย่างดีครับ
         สรุปแล้วการรับผัสสะ ต้องไปตามกฏนี้ใช่ไหมครับ(ยังไม่ได้อ่านพระไตรปิฏก)
ผัสสะ-วิญญาน-สัญญา-เวทนา-สังขาร   กลุ่มเหล่านี้จะดับเป็นชุดๆใช่ไหมครับ
               
      ผมเคยปฏิบัติโดยวิธีของผมดังนี้
โดยขณะที่ผมโกรธ ผมก็คิดถึงเรื่องที่ทำให้ผมโกรธหลายๆเรื่อง คิดจนรู้สึกสมองร้อน แล้วก็หลับตาคอยดูความโกรธไปเรื่อยๆ ดูไปเรื่อยๆๆๆๆๆๆ ดูไปถึงจุดหนึ่ง ก็รู้สึกว่าความโกรธหายไปเป็นปลิดทิ้ง
       อยากทราบว่าแบบนี้เป็นการเห็นพระไตรลักษณ์ไหมครับ    ขอขอบคุณครับ

ตอบโดย: svonnu48 25 ก.พ. 51 - 14:38


ตอบคุณ svonnu48

อ้างอิง
            สรุปแล้วการรับผัสสะ ต้องไปตามกฏนี้ใช่ไหมครับ(ยังไม่ได้อ่านพระไตรปิฏก)
ผัสสะ-วิญญาน-สัญญา-เวทนา-สังขาร   กลุ่มเหล่านี้จะดับเป็นชุดๆใช่ไหมครับ


   ตามในพระสูตรแรกบนสุดที่ผมยกมานั้น

   นามรูป บัญญัติ วิญญาณขันธ์
   ผัสสะ   บัญญัติ  สังขารขันธ์ สัญญาขันธ์ เวทนาขันธ์   ครับ

ถ้าเรียงขันธ์ก็จะได้ดังนี้  วิญญาณ - สังขาร - สัญญา - เวทนา
 
ถ้าเรียงตามภาวะที่ปรากฏ ได้ดังนี้   วิญญาณ >> ผัสสะ  เป็น ( สังขาร - สัญญา - เวทนา)

ถ้าจัดลำดับเป็นปัจจัยกันในปฏิจสมุทปบาทได้ดังนี้
         เพราะวิญญาณ   เป็นปัจจัยจึงเกิด   นามรูป
         เพราะนามรูป      เป็นปัจจัยจึงเกิด   สฬายตนะ
         เพราะสฬายตนะ  เป็นปัจจัยจึงเกิด   ผัสสะ

  ที่นี้เมื่อได้ปฏิบัติธรรมเป็นปัจจุบันเห็นแจ้งในไตรลักษณ์ ถ้าเกิดการดับ ก็จะดับทั้งชุด เลยครับ

อ้างอิง
     ผมเคยปฏิบัติโดยวิธีของผมดังนี้
โดยขณะที่ผมโกรธ ผมก็คิดถึงเรื่องที่ทำให้ผมโกรธหลายๆเรื่อง คิดจนรู้สึกสมองร้อน แล้วก็หลับตาคอยดูความโกรธไปเรื่อยๆ ดูไปเรื่อยๆๆๆๆๆๆ ดูไปถึงจุดหนึ่ง ก็รู้สึกว่าความโกรธหายไปเป็นปลิดทิ้ง
       อยากทราบว่าแบบนี้เป็นการเห็นพระไตรลักษณ์ไหมครับ    ขอขอบคุณครับ


      ครับเป็นการที่มีสติปัญญาเห็นพระไตรลักษณ์ในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่ใช่เป็นการเห็นการดับ

 

ตอบโดย: Vicha 25 ก.พ. 51 - 16:03


   เพิ่มเติมนะครับ กลัวจะไม่เข้าใจที่ผมเสนอ  ดังนี้
 
    ถ้าเป็นเรื่องของฌาน  นั้นจะไม่เกิดภาวะการเกิดและดับให้เห็น  จะเป็นเพียงกำลังของสมาธิ ค่อยๆ ข่ม หรือลดภาวะการรับรู้กายสัมผัส หรือความรู้สึกที่หยาบลง จนหมดไปตามลำดับ แล้วลงสู่อัปนาสมาธิของฌานนั้น หรือสมาบัติของฌานนั้นๆ ..

 
  

ตอบโดย: Vicha 25 ก.พ. 51 - 16:54


ผมยังไม่เข้าใจนะครับ ขอเสนอการบรรยายของพระอาจารย์ปราโมทย์ดังนี้

ตัวอย่างเช่นในขณะที่มองไปเห็นภาพๆ หนึ่งปรากฏตรงหน้า
จิตเกิดจำได้หมายรู้ว่า นั่นเป็นภาพสาวงาม
แล้วสภาวธรรมบางอย่างก็เกิดขึ้นในจิต (ซึ่งเมื่อบัญญัติทีหลังก็เรียกว่า ราคะ)
การรู้สภาวะที่แปลกปลอมขึ้นในจิตนั่นแหละคือการรู้ตัวสภาวะของมัน
แล้วก็รู้ว่ามันมีบทบาทหรืออิทธิพลดึงดูด
ให้จิตหลงเพลินพอใจไปกับภาพที่เห็นนั้น
ผลก็คือ จิตถูกราคะครอบงำ
ให้คิด ให้ทำ ให้อยาก ไปตามอำนาจบงการของราคะ
และเมื่อรู้ทันราคะมากเข้า ก็จะรู้ว่า
การเห็นภาพที่สวยงาม เป็นเหตุใกล้ให้เกิดราคะ
จึงจำเป็นจะต้องคอยเฝ้าระวังสังเกต ขณะที่ตากระทบรูปให้มากขึ้น เป็นต้น
     
     พระอาจารย์ได้กล่าวว่า ขณะที่เห็นภาพหนึ่งที่ปรากฏตรงหน้า                    ผมคิดว่าเป็นวิญญาน
     จิตเกิดจำได้หมายรู้ว่า นั่นเป็นภาพสาวงาม                                                 ผมคิดว่าเป็นสัญญา
     แล้วสภาวะธรรมบางอย่างก็เกิดขึ้นในจิต จิตหลงเพลิดเพลินในภาพ              ผมคิดว่าเป็นเวทนาทางใจ
     จิตถูกราคะครอบงำ ให้คิด ให้ทำ                                                               ผมคิดว่าเป็นสังขาร
ลักษณะดังกล่าว ก็ตรงกับการปฏิบัติของผม  ผมเลยงงๆครับ

ตามพระสูตรนี้
     ดูกรภิกษุ

              มหาภูตรูป ๔  เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติรูปขันธ์

              ผัสสะ  เป็นเหตุ เป็นปัจจัย  แห่งการบัญญัติเวทนาขันธ์

              ผัสสะ  เป็นเหตุ เป็นปัจจัย  แห่งการบัญญัติสัญญาขันธ์

              ผัสสะ  เป็นเหตุ เป็นปัจจัย  แห่งการบัญญัติสังขารขันธ์

              นามรูป เป็นเหตุ เป็นปัจจัย  แห่งการบัญญัติวิญญาณขันธ์ ฯ.

ผมก็เข้าใจหมด แต่บรรทัดสุดท้าย นามรูป เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติวิญญาณขันธ์
วิญญาณขันธ์ตัวนี้ ผมเข้าใจว่าเป็นปวัตติกาลวิญญาณ(ไม่แน่ใจว่าเขียนถูกหรือเปล่า)  วิญญาณขันธ์ตัวนี้ไม่ใช่ปฏิสนธิวิญญาณ  แต่เกิดทีหลังปฏิสนธิวิญญาณ  วิญญาณตัวนี้จะเกิดก็ต่อเมื่อเกิดผัสสะเช่นกัน  วิญญาณขันธ์ ชื่อก็คิดว่าเป็นวิญญาณที่อยู่กับขันธ์ เป็นวิญญาณที่พัฒนามาจากปฏิสนธิวิญญาณ(คิดเอง)
      ผมยังไม่เข้าใจที่คุณVichaได้ตอบมา แต่เข้าใจตามนี้ ขอให้ช่วยอธิบายให้เข้าใจด้วยครับ ขอขอบคุณครับ
 

ตอบโดย: svonnu48 26 ก.พ. 51 - 00:39


ขอยกพระสูตรมาเสริมคำอธิบายของคุณ Vicha นะครับ  
   
เรื่องปัญญากับวิญญาณ

             [๔๙๔] ท่านพระมหาโกฏฐิกะครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงถามท่านพระสารีบุตรว่าดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลมีปัญญาทรามๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอ จึงตรัสว่า บุคคลมีปัญญาทราม?
             ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ท่านผู้มีอายุ บุคคลไม่รู้ชัดๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เป็นบุคคลมีปัญญาทราม ไม่รู้ชัดอะไร ไม่รู้ชัดว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลไม่รู้ชัดๆ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า บุคคลมีปัญญาทราม.
             ท่านพระมหาโกฏฐิกะ ยินดี อนุโมทนาภาษิต ของท่านพระสารีบุตรว่า ถูกละ ท่านผู้มีอายุ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหาต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลมีปัญญาๆดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอ จึงตรัสว่าบุคคลมีปัญญา?
             สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ บุคคลรู้ชัดๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เป็นบุคคลมีปัญญา รู้ชัดอะไร รู้ชัดว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า บุคคลมีปัญญา.
             ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า วิญญาณๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอจึงตรัสว่า วิญญาณ?
            สา. ธรรมชาติที่รู้แจ้งๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่าวิญญาณ รู้แจ้งอะไรรู้แจ้งว่า นี้สุข นี้ทุกข์ นี้มิใช่ทุกข์ มิใช่สุข ธรรมชาติย่อมรู้แจ้งๆ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่าวิญญาณ.
             ก. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน หรือแยกจากกันท่านผู้มีอายุ อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้หรือไม่?
            สา. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน ผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้ เพราะปัญญารู้ชัดสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น วิญญาณรู้แจ้งสิ่งใด ปัญญาก็รู้ชัดสิ่งนั้น ฉะนั้น ธรรม ๒ ประการนี้ จึงปะปนกัน ไม่แยกจากกัน ผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้.             ก. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน แต่มีกิจที่จะพึงทำต่างกันบ้างหรือไม่?
            สา. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน แต่ปัญญาควรเจริญ วิญญาณควรกำหนดรู้ นี่เป็นกิจที่จะพึงทำต่างกันแห่งธรรม ๒ ประการนี้.

เรื่องเวทนาสัญญาและวิญญาณ

             [๔๙๕] ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เวทนาๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอ จึงตรัสว่า เวทนา?
             สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ ธรรมชาติที่รู้ๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เวทนารู้อะไร รู้สุขบ้าง รู้ทุกข์บ้าง รู้สิ่งที่มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง ธรรมชาติย่อมรู้ๆ ฉะนั้น จึงตรัสว่าเวทนา.
             ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สัญญาๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอ
จึงตรัสว่า สัญญา?
             สา. ธรรมชาติที่จำๆ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า สัญญา จำอะไร จำสีเขียว
บ้าง จำสีเหลืองบ้าง จำสีแดงบ้าง จำสีขาวบ้าง ธรรมชาติย่อมจำๆ ฉะนั้น จึงตรัสว่า สัญญา
             ก. เวทนา สัญญา และวิญญาณ ธรรม ๓ ประการนี้ ปะปนกัน หรือแยกจากกัน
ท่านผู้มีอายุ อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้หรือไม่?
             สา. เวทนา สัญญา และวิญญาณ ธรรม ๓ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน
ผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้ เพราะเวทนารู้สิ่งใด สัญญาก็จำสิ่งนั้น
สัญญาจำสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น ฉะนั้น ธรรม ๓ ประการนี้ จึงปะปนกัน ไม่แยกจากกัน ผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้.

             [๔๙๖] ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ พระโยคาวจรมีมโนวิญญาณ (จิตอันสัมปยุตด้วยรูปาวจรฌานที่ ๔) อันสละแล้ว อันบริสุทธิ์จากอินทรีย์ ๕ พึงรู้สิ่งอะไร?
             สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ พระโยคาวจรมีมโนวิญญาณอันสละแล้ว อันบริสุทธิ์จากอินทรีย์ ๕ พึงรู้อากาสานัญจายตนฌานว่า อากาศหาที่สุดมิได้ พึงรู้วิญญาณัญจายตนฌานว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ พึงรู้อากิญจัญญายตนฌานว่า น้อยหนึ่งมิได้มี.

ที่มา:
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=9220&Z=9419
 

 

ตอบโดย: wit 26 ก.พ. 51 - 00:55


รู้ลมหายใจเข้าออก กับ ระลึกรู้ถึงลมหายใจเข้าออก...

รู้ลมหายใจเข้าออก คือรู้ถึงลมที่มากระทบกับโพรงจมูก ปลายจมูก ริมฝีปาก

ระลึกรู้ถึงลมหายใจเข้าออก คือความสำเนียกรู้อยู่ว่าขณะนี้กำลังหายใจเข้าออกอยู่


รู้ลมหายใจเข้าออก...กายวิญญาณคือผู้รู้
ระลึกรู้ถึงลมหายใจเข้าออก...สติคือผู้รู้

อาการรู้ลมหายใจเข้าออก จะเกิด ดับ เปลี่ยนแปลง ไปกายวิญญาณ
อาการระลึกรู้ถึงลมหายใจเข้าออก จะปรากฏต่อเนื่องตามกำลังของสติ

การพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม จึงมีการระลึกรู้ถึงลมหายใจเข้าออกอยู่ตลอดเวลา...


ที่ว่าเมื่อปฏิบัติไปเรื่อยๆแล้ว ลมหายใจเข้าออกจะหายไปนั้น
เมื่อพิจาณณาใคร่ครวญดูให้ดี ก็จะรู้ว่า แท้ที่จริงแล้ว
กายวิญญาณต่างหากที่ดับหายไปชั่วขณะหนึ่ง

แต่ตัวสติยังคงปรากฏอยู่ ยังคงระลึกรู้ถึงลมหายใจเข้าออกอยู่
เพื่อผูกสติไม่ให้เคลื่อนออกไปจากฐานกาย เวทนา จิต ธรรม...

สังขาร มี วิญญาณจึงมี
วิญญาณมี รูปนามจึงมี
รูปนามมี สฬายะตะนะจึงมี
สฬายะตะนะมี ผัสสะจึงมี...

...ลมหายใจเข้าออก กระทบกับโพรงจมูก...
เมื่อสังขารคือเจตนาที่จะเข้าไปรู้ เข้าไปดูลมหายใจเข้าออก มี
กายวิญญาณจึงมี....การรับรู้ถึงลมหายใจเข้าออกที่มากระทบกับโพรงจมูกจึงปรากฏเกิด
ขึ้น

เมื่อสังขารเปลี่ยน วิญญาณก็เปลี่ยน
เมื่อวิญญาณเปลี่ยน นามรูปก็เปลียน...


...ตัวสติ คือการระลึกรู้ทั่งถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ที่ตั้งอยู่ ที่ดับไป...

การไม่มั่นหมาย การไม่เพลิดเพลินอยู่กับอาการใดๆ
คือหนทางที่จะยังวิมุติให้ปรากฏแจ้งชัดได้...


 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 26 ก.พ. 51 - 08:48


ต้องระมัดระวังการกำหนดเอาตัวผู้รู้เป็นอารมณ์ โดยไม่ได้พิจารณาถึงฐาน กาย เพราะถ้ามุ่งเน้นเจาะจงยึดมั่นถือมั่นเกินไป อาจจะกลายเป็นการเจริญอรูปฌาน และ ติดอยู่ในอรูปฌานได้ (ไม่ใช่วิปัสสนา)

ดังนั้นในสัมมาสมาธิ ในอริยมรรคมีองค์ 8 จึงกล่าวไว้ว่า สมาธิที่ควรเจริญให้มากคือ รูปฌาน1-4 เช่น การเจริญอานาปานสติ หรือ กายคตาสติ นี้ นับว่าเป็นกรรมฐานที่เหมาะสมและตรงกับในพระสูตร ควรที่จะปฏิบัติและเจริญให้มากครับ


[207] อรูป หรือ อารุปป์ 4 (ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ คืออรูปฌาน, ภพของสัตว์ผู้เข้าถึงอรูปฌาน, ภพของอรูปพรหม - absorptions of the Formless Sphere; the Formless Spheres; immaterial states)
       1. อากาสานัญจายตนะ (ฌานอันกำหนดอากาศคือช่องว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ - sphere of infinity of space)
      2. วิญญาณัญจายตนะ (ฌานอันกำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ - sphere of infinity of consciousness)
       3. อากิญจัญญายตนะ (ฌานอันกำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรๆ เป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ - sphere of nothingness)
       4. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ฌานอันเข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ - sphere of neither perception nor non-perception)

ที่มา:
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=207

ตอบโดย: wit 26 ก.พ. 51 - 09:18


ขอบคุณ คุณwit ที่เสนอข้อมูลเพิ่มเติมครับ

   ตอบคุณ svonnu48  เอาตามที่พระสารีบุตร ดีกว่านะครับว่า..

            สา. เวทนา สัญญา และวิญญาณ ธรรม ๓ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน ผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้ เพราะเวทนารู้สิ่งใด สัญญาก็จำสิ่งนั้น สัญญาจำสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น ฉะนั้น ธรรม ๓ ประการนี้ จึงปะปนกัน ไม่แยกจากกัน ผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้.

   และสำหรับท่านต่างๆ ที่ยังสงสัยเรื่อง ปัญญา กับ วิญญาณ อยู่  จนเข้าใจผิดไปว่าต้องไม่ต้องทำไม่ต้องพูดอะไร จึงจะเป็นปัญญา   ซึ่งเป็นการเข้าใจผิดล่วงเลยไปจากคำว่าปัญญา  (ยกเว้นการพูดมากและเพ้อเจ้อ ฟุ้งซ้านนั้นและเป็นอาการของผู้ขาดปัญญา) ควรเอาคำกล่าวของพระสารีบุตร มาพิจารณา  คือ

             [๔๙๔] ท่านพระมหาโกฏฐิกะครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงถามท่านพระสารีบุตรว่าดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลมีปัญญาทรามๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอ จึงตรัสว่า บุคคลมีปัญญาทราม?
            ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ท่านผู้มีอายุ บุคคลไม่รู้ชัดๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เป็นบุคคลมีปัญญาทราม ไม่รู้ชัดอะไร ไม่รู้ชัดว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลไม่รู้ชัดๆ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า บุคคลมีปัญญาทราม.
             ท่านพระมหาโกฏฐิกะ ยินดี อนุโมทนาภาษิต ของท่านพระสารีบุตรว่า ถูกละ ท่านผู้มีอายุ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหาต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลมีปัญญาๆดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอ จึงตรัสว่าบุคคลมีปัญญา?
            สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ บุคคลรู้ชัดๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เป็นบุคคลมีปัญญา รู้ชัดอะไร รู้ชัดว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า บุคคลมีปัญญา.
             ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า วิญญาณๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอจึงตรัสว่า วิญญาณ?
           สา. ธรรมชาติที่รู้แจ้งๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่าวิญญาณ รู้แจ้งอะไรรู้แจ้งว่า นี้สุข นี้ทุกข์ นี้มิใช่ทุกข์ มิใช่สุข ธรรมชาติย่อมรู้แจ้งๆ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่าวิญญาณ.
             ก. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน หรือแยกจากกันท่านผู้มีอายุ อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้หรือไม่?
           สา. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน ผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้ เพราะปัญญารู้ชัดสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น วิญญาณรู้แจ้งสิ่งใด ปัญญาก็รู้ชัดสิ่งนั้น ฉะนั้น ธรรม ๒ ประการนี้ จึงปะปนกัน ไม่แยกจากกัน ผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้.
             ก. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน แต่มีกิจที่จะพึงทำต่างกันบ้างหรือไม่?
           สา. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน แต่ปัญญาควรเจริญ วิญญาณควรกำหนดรู้ นี่เป็นกิจที่จะพึงทำต่างกันแห่งธรรม ๒ ประการนี้.

    ดังนั้นจะเห็นว่าการที่คุณ svonnu48  แยกแยะ เรื่อง สังขาร สัญญา เวทนา จึงเป็นสิ่งที่ คลาดเคลือนจากภาวะที่เป็นจริงได้ครับ


   และจากที่คุณ svonnu48 สงสัย

อ้างอิง
    ตามพระสูตรนี้
     ดูกรภิกษุ

              มหาภูตรูป ๔  เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติรูปขันธ์

              ผัสสะ  เป็นเหตุ เป็นปัจจัย  แห่งการบัญญัติเวทนาขันธ์

              ผัสสะ  เป็นเหตุ เป็นปัจจัย  แห่งการบัญญัติสัญญาขันธ์

              ผัสสะ  เป็นเหตุ เป็นปัจจัย  แห่งการบัญญัติสังขารขันธ์

              นามรูป เป็นเหตุ เป็นปัจจัย  แห่งการบัญญัติวิญญาณขันธ์ ฯ.

ผมก็เข้าใจหมด แต่บรรทัดสุดท้าย นามรูป เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติวิญญาณขันธ์
วิญญาณขันธ์ตัวนี้ ผมเข้าใจว่าเป็นปวัตติกาลวิญญาณ(ไม่แน่ใจว่าเขียนถูกหรือเปล่า)  วิญญาณขันธ์ตัวนี้ไม่ใช่ปฏิสนธิวิญญาณ  แต่เกิดทีหลังปฏิสนธิวิญญาณ  วิญญาณตัวนี้จะเกิดก็ต่อเมื่อเกิดผัสสะเช่นกัน  วิญญาณขันธ์ ชื่อก็คิดว่าเป็นวิญญาณที่อยู่กับขันธ์ เป็นวิญญาณที่พัฒนามาจากปฏิสนธิวิญญาณ(คิดเอง)
      ผมยังไม่เข้าใจที่คุณVichaได้ตอบมา แต่เข้าใจตามนี้ ขอให้ช่วยอธิบายให้เข้าใจด้วยครับ ขอขอบคุณครับ


      ผมจะอธิบาย แบบมาลองทำความเข้าใจกับสภาพแห่งที่เกิดจริงกับตัวตามภาษาปัจจุบัน  ดังนี้

     วิญญาณ > ความรู้สึก > ความนึกคิด

     วิญญาณ คือ สภาพรู้    แต่ไม่ใช่ความรู้สึกตัว หรือความนึกคิดก็ได้ เช่น เวลาหลับ หรือหมดสติ วิญญาณ ก็ยังทำหน้าที่ สภาพรู้อยู่ แต่รู้น้อยเท่านั้น (ส่วนการจำได้หรือไม่ได้นั้นเป็นปัจจัยเรื่องอื่นหรืออีกเรื่องหนึ่ง)
     
      ความรู้สึก(ไม่จำเป็นว่าต้องรู้สึกที่ร่างกาย)  ก็เป็นปัจจัยจาก วิญญาณ  คือ มีความรู้สึกชัดขึ้น (หรือมีสติขึ้นก็ได้) จะกล่าวว่า ความรู้สึก นี้แหละ เป็น นามรูป ก็ได้  ซึ่งกลายเป็นการบัญญัติ วิญญาณขันธ์ นั้นเอง

     ต่อไปมาทำความเข้าใจ อายตนะ หรือ สฬายตนะ   นั้นมี 6 อย่าง คือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ

       การเกิดผัสสะไม่ใช่ว่า เป็นการเกิดที่ หู ตา จมูก ลิ้น กาย เท่านั้น(ใม่ใช่ว่าต้องสัมผัสทางร่างกายเท่านั้น)
        
       ดังนั้นการเกิดผัสสะ สามารถ เกิดกับ ใจ  ได้เพราะ ใจ ก็เป็นอายตนะหรือสฬายตนะหนึ่งในหก  โดยที่ไม่รับรู้ทางร่างกายเลยแม้แต่นิดเดียวก็ได้  (ผู้ที่ได้ ฌาณ เบื้องสูง ที่สามารถเข้าฌานและอยู่ในองค์ฌานได้ จะแจ้งชัดในส่วนที่ผมอธิบายนี้)
       ดังนั้นย่อมเกิด เวทนาขันธ์ สัญญาธันธ์ สังขารขันธ์ เกิดขึ้นกับใจ โดยที่ไม่ตัองรับรู้ร่างกายหรือมีกายสัมผัสเลยก็ได้  ก็คือมีสติและความนึกคิดที่สมบูรณ์ แต่ไม่รับรู้หรือรู้สึกทางร่างกาย   (เป็นการอธิบายที่ลึกและละเอียดมาก จนเกินจากคนโดยทั่วเข้าใจไปถึงเสียแล้ว)

       ผมจึงข้อสรุปให้ง่าย สำหรับคนโดยทั่วไปเข้าใจได้  สมมุติ เมื่อตื่นขึ้นมารู้สึกตัว แต่ไปรู้สึกที่ใจ นึกถึงเรื่องที่ทะเราะกันเมื่อวันที่ผ่านมา  ก็คือการเกิดผัสสะที่ใจขึ้นเกิดเป็นความนึกคิดขึ้นถึงเรื่องที่ทะเราะกัน พร้อมทั้งมีอารมณ์ไม่สบายใจหรือขุ่นเคืองตามมาด้วย(เวทนา สัญญา สังขาร ปะดังเข้ามาพร้อมกัน)

       หวังว่าคุณsvonnu48 คงพอทำความเข้าใจได้นะครับ
 
       (ผมงานยุ่งมาตั้งแต่เมื่อวานแล้ว ตอนนี้ก็สานได้จบพอดี)

     
  

     
         

ตอบโดย: Vicha 26 ก.พ. 51 - 12:01


ผมมีความรู้ด้านอภิธรรมน้อยมาก ขอสรุปความเข้าใจดังนี้(เพื่อความชัดเจน) ถูกผิดช่วยแก้ไขให้ด้วยครับ
  การปรากฏดังนี้
ธรรมารมณ์+ใจ+มโนวิญญาณรวมเรียกว่าผัสสะ(เป็นดี กลางๆ ไม่ดี) ->เวทนา->สัญญา->วิญญาณขันธ์->สังขาร
รูป+ตา+จักขุวิญญาณ...................................... (สวย กลางๆ ไม่สวย->..................................................สังขาร
เสียง+หู+โสตวิญญาณ.....................................(เพราะ กลางๆ ไม่เพราะ)..............................................สังขาร
กลิ่น+จมูก+ฆานวิญญาณ..................................(หอม กลางๆ ไม่หอม)....................................................สังขาร
รส+ลิ้น+ชิวหาวิญญาณ....................................(อร่อย กลางๆ ไม่อร่อย)...................................................สังขาร
เย็นร้อนอ่อนแข็งตึงไหว....................................(เย็นดี กลางๆ ไม่เย็น,ร้อนดี กลางๆ ไม่ร้อน.....).................สังขาร
         ในนี้จะมีวิญญาณ2แบบคือ แบบสภาพรู้ และแบบความนึกคิด(รู้แจ้ง)        ขอขอบคุณครับ
                             

ตอบโดย: svonnu48 27 ก.พ. 51 - 05:33


ก. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน แต่มีกิจที่จะพึงทำต่างกันบ้างหรือไม่?
           สา. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน แต่ปัญญาควรเจริญ วิญญาณควรกำหนดรู้ นี่เป็นกิจที่จะพึงทำต่างกันแห่งธรรม ๒ ประการนี้...


แต่ปัญญาควรเจริญ
วิญญาณควรกำหนดรู้
นี้เป็นกิจที่จะพึงกระทำ....

เป็นคำกล่าวที่น่าฉุกคิด พิจารณา เป็นยิ่งนัก...

ที่ท่านกล่าวว่าปัญญาควรเจริญ  ควรเจริญอย่างไร...
ที่ท่านกล่าวว่าวิญญาณควรกำหนดรู้ กำหนดรู้อย่างไร...


เมื่อยามที่ผัสสะเกิด
ควรรู้แจ้งว่า สิ่งที่พบสัมผัสนั้นคืออะไร อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นผล
เห็นคุณ เห็นโทษของสิ่งนั้นๆ...(ปัญญากำลังเจริญ)

กำหนดรู้ชัดว่า วิญญาณใดกำลังเข้าไปรู้ผัสสะกับสิ่งนั้นๆ...(กำหนดรู้วิญญาณ)

การเกิด-ดับ ของวิญญาณ รวดเร็วมาก
จักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ ฆานะวิญญาณ กายยะวิญญาณ มโนวิญญาณ
การรู้เท่าทันในวิญญาณแต่ละตัวนั้น เป็นสิ่งที่น่าสนใจ น่าศึกษา น่าพิจารณา เป็นอย่างยิ่ง
มิฉะนั้นท่านคงไม่กล่าวว่า

ทำไมถึงเห็นรูป
ทำไมถึงได้ยินเสียง
ทำไมถึงได้กลิ่น
ทำไมถึงได้รับรู้รส
ทำไมถึงได้รับรู้สิ่งที่มากระทบกาย
ทำไมถึงได้รับรู้อารมณ์...

ถ้ามีรูป แต่จักษุวิญญาณยังไม่เกิด ผัสสะก็คงยังไม่มี  รูปก็คงยังไม่ปรากฏให้เห็น
ถ้ามีเสียง แต่โสตวิญญาณยังไม่เกิด ผัสสะก็คงยังไม่มี  เสียงก็คงยังไม่ได้ยิน

ถ้ามีรูป มีจักษุวิญญาณ แต่ไม่มีผัสสะ รูปก็ยังไม่ปรากฏให้เห็น
ถ้ามีเสียง มีโสตวิญญาณ แต่ไม่มีผัสสะ เสียงก็ยังไม่ปรากฏให้ได้ยิน

เวทนา ความพอใจ ความไม่พอใจ เฉยๆ
ย่อมเกิดขึ้นจาก องค์ประกอบ3ทุกครั้งไป...ขาดตัวใดตัวหนึ่งย่อมมีความเป็นไปไม่ได้เลย

รูป วิญญาณ ผัสสะ เวทนา มิใช่อัตตาตัวตนของเราแต่อย่างไรทั้งสิ้น
และความรู้สึกว่าเป็นเราเห็นรูป เป็นเราได้ยินเสียง
เป็นเรากำลังรู้สึกนึกคิด
นั้นก็คือตัวธรรมที่ถูกกหนดสมมุติเรียกว่าอุปทาน...

การทำลายวงจรของตัณหา อุปทาน ให้พังทะลายสิ้นซากไม่ให้เหลือ
คือภาระกิจอันยิ่งใหญ่ ที่ผู้ที่เรียกตนเองว่าพุทธบุตร พุทธธิดาทั้งหลาย
สมควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง อย่างรีบด่วน ยิ่งกว่าภาระกิจอื่นใดๆทั้งหลายทั้งมวล...







 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 27 ก.พ. 51 - 08:29


  จากความคิดเห็นที่ 163 ของคุณ svonnu48

ผมเสนอให้ทราบดังนี้
    1.มโนวิญญาณ  2.จักขุวิญญาณ  3.โสตวิญญาณ 4.ฆานวิญญาณ 5.ชิวหาวิญญาณ 6.กายวิญญาณ
     ทั้งหมดนั้น มโนวิญญาณ จะเป็นใหญ่  เป็นราชา เป็นหัวหน้า เป็นศูนย์รวม  ซึ่งจะเกิดผัสสะ เป็นความรู้สึกอยู่ตลอด(มี เวทนา สัญญา สังขาร)มีความระลึกหรือนึกคิด เมื่อวิญญาณทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ยังไม่ปรากฏ

     สมมุติเมื่อ เกิดจักขุวิญญาณ(ตาเห็นรูป) มโนวิญญาณนั้นก็จะดับหรือเปลี่ยนมาเกิดเป็นจักขุวิญญาณ แล้วจุกขุวิญญาณนั้นก็ดับหรือเปลี่ยนไปเกิดเป็นมโนวิญญาณ ซึ่งสลับสับเปลี่ยนอยู่อย่างนั้นช่วงแค่แวบเดียว แต่จิตหรือวิญญาณ เกิดดับสลับเปลี่ยนที่ใจและที่ตา อย่างนับไม่ถ้วนแล้ว เกิดเป็นกลุ่มของ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ เกิดขึ้นเป็นเหตุเป็นปัจจัยกันจากการเห็นนั้น

   จากข้อความของคุณ svonnu48
อ้างอิง
ธรรมารมณ์+ใจ+มโนวิญญาณรวมเรียกว่าผัสสะ(เป็นดี กลางๆ ไม่ดี) ->เวทนา->สัญญา->วิญญาณขันธ์->สังขาร


   จัดเรียงไม่ถูกต้องครับ  คือ 1.ธรรมมารมณ์ นั้นเกิดขึ้นเมื่อมีผัสสะแล้วครับ
                                      2.มโนวิญญาณ  นั้นคือ วิญญาณขันธ์ ครับ
            
          ต่อไปเป็นสิ่งที่ผมอาจพิจารณายังไม่สมบูรณ์ก็ได้ แต่จำต้องวิเคราะห์ให้ดู เพื่อให้เห็นตลอดสายของความเป็นเหตุเป็นผลเป็นปัจจัยกันนี้

             มีมโนวิญญาณ(วิญญาณขันธ์)อยู่  แต่เกิดการกระทบที่ อายตนะ อื่นไม่ใช่ใจสมมุติว่าเป็นตา (รูป+ประสาทของดวงตาที่สมบูรณ์)  เมื่อรับรู้การกระทบก็เกิด ผัสสะ  ช่วงนี้ มโนวิญญาณก็จะดับหรือสับเปลี่ยนเป็น จักขุวิญญาณ(วิญญาณขันธ์) จึงเกิดกลุ่มของ เวทนา + สัญญา + สังขาร ที่เป็นเหตุมาจาก การเห็นรูปนั้น

         การเรียงที่ผมเสนอนั้นน่าจะใกล้เคียงกว่านะครับ..
 

ตอบโดย: Vicha 27 ก.พ. 51 - 10:50


ขอเรียนถามคุณ Vicha ครับ  

คือจากประสบการณ์การปฏิบัติของผมเอง ตอนที่ผมเอาสติมาระลึกอยู่ภายในกายนั้น ผมมักจะเห็นความรู้สึกที่ เกิด-ดับ ในกายด้วยเสมอๆ อยากทราบว่าความรู้สึกที่เกิดๆดับๆ ในกายนี้ ถ้าจะเทียบกับหลักธรรมแล้วคืออะไรครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ  

ตอบโดย: wit 27 ก.พ. 51 - 12:19


   ผมยังไม่กระจ่าง ในคำถามที่ว่า "ภายในกาย"  ของคุณ wit คือ มีสติรู้ที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือมีสติรู้ภายในที่เป็นความรู้สึกตรงส่วนใดส่วนหนึ่ง

  และจากข้อความ
อ้างอิง
    ผมมักจะเห็นความรู้สึกที่ เกิด-ดับ ในกายด้วยเสมอๆ อยากทราบว่าความรู้สึกที่เกิดๆดับๆ ในกายนี้ ถ้าจะเทียบกับหลักธรรมแล้วคืออะไรครับ


    ถ้าหมายความว่า เห็นความรู้สึกนึกคิด ดับ(ความรู้สึกนึกคิดหรืออารมณ์ขาดจากกันทันที) เมื่อมีสติเท่าทัน แล้วก็ค่อยเกิดมาใหม่ แต่สภาพรู้โดยรวมยังรู้อยู่เหมือนเดิมหาได้ดับไปด้วยในขณะนั้น  ถ้าเป็นอย่างนี้ก็พอเกิดมีปัญญาเห็นไตรลักษณ์บ้าง

    ถ้าหมายความว่า เห็นอารมณ์หรือความรู้สึกนึกคิดวูบหายแล้วเกิดใหม่ เมื่อน้อมสติเข้าไป แต่หาได้ดับหาได้ขาดจากกัน(สันสติขาด) และสภาพรู้ก็ยังรู้อยู่เหมือนเดิมหาได้วูบหายไปด้วยในขณะนั้น ถ้าเป็นอย่างนี้ก็พอเกิดมีปัญญาเห็นไตรลักณ์แต่น้อยกว่าด้านบนอยู่มาก

        (อธิบายกล่าวถึงไตรลักษณ์ที่ปรากฏให้เห็นในขณะปฏิบัติ  แต่จะไม่ขอกล่าวไปถึงญาณ ยง อะไรนะครับ)


 

ตอบโดย: Vicha 27 ก.พ. 51 - 14:57


อ้างอิง
ขอเรียนถามคุณ Vicha ครับ 

คือจากประสบการณ์การปฏิบัติของผมเอง ตอนที่ผมเอาสติมาระลึกอยู่ภายในกายนั้น ผมมักจะเห็นความรู้สึกที่ เกิด-ดับ ในกายด้วยเสมอๆ อยากทราบว่าความรู้สึกที่เกิดๆดับๆ ในกายนี้ ถ้าจะเทียบกับหลักธรรมแล้วคืออะไรครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ 


ความเห็นของผม......

ในคำถามของคุณ wit ที่กล่าวว่า " มักจะเห็นความรู้สึกเกิด-ดับในกายเสมอๆ "นั้น
ผมเห็นว่า อาการเกิด-ดับ มีด้วยกันหลายแบบ
แบบหนึ่งเห็นอาการเคลื่อนไหวของกาย ขาดเป็นตอนตอน  ไม่ต่อเนื่องกัน
แบบหนึ่ง เห็นการเคลื่อนไหวของบางสิ่งบางอย่างในกาย เคลือนไหวเป็นจังหวะ รู้สึกได้
แบบหนึ่ง เห็นใจเราไหวไปไหวมา ตามสิ่งเร้าที่เข้ามาสัมผัส
แบบหนึ่ง เห็นใจเราไหวไปมาเอง โดยไม่ต้องมีสิ่งเร้า

การเห็นสิ่งเหล่านี้    เห็นมากเข้า ใจก็จะเข้าใจเองที่ละน้อยว่า กายภายนอกที่เคลื่อนไหว
ร่างกายโดยรวม,ใจที่เคลื่อนไหวตามสิ่งเร้านั้น  นั้นไม่เที่ยง  จนเข้าใจโดยละเอียด
สติจะชัดเจนขึ้น มองเห็นใจเราไหวไปมาเอง เห็นว่าใจเราเองก็เป็นสิ่งไม่เที่ยง  มีปัญญาขึ้น
และปัญญามากขึ้น รวมเป็นกำลัง จนเกิดปรากฏการณ์ตัดสินและมีความรู้ขึ้นมาใหม่

อาการเกิด-ดับเหล่านี้  แม้จะมีชื่อตรงกับหลักธรรมใด หรือไม่ตรงกับหลักธรรมใด  ก็ตาม
ก็ควรคำนึงว่า อาการเกิด-ดับ มีจริงและเห็นได้จริงสำหรับผู้เพียรปฏิบัติ

ขออนุโมทนากับคุณ Wit  มา ณ ที่นี้.......

 

ตอบโดย: เปา 27 ก.พ. 51 - 15:31


 

ตอบโดย: ธรรมชาติธรรมะ 27 ก.พ. 51 - 16:26


ถาม จบกท.

คำถามครับ อัพยากฤต คือ อะไร แล้วเกิดขึ้นเมื่อไหร่ครับ ขอบคุณครับ

ตอบโดย: ช.ชุตินธโร 27 ก.พ. 51 - 16:39


  ท่าน ช.ชุตินธโร  พอดีผมก็ไม่คอยชัดแจ้งเรื่องศัพย์บัญยัติมากนัก จึงต้องไปค้นหาดูในพระไตรปิฏก จากประโยค

   อธิกรณ์เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต

    ก็จะได้ว่า ในชุดนี้มีอยู่ 3 อย่าง คือ   กุศล   อกุศล  อัพยากฤต

   ดังนั้นการกระทำกรรมก็ทำให้เกิดเป็น 3 อย่าง  คือ กุศล อกุศล และ อัพยากฤต

    ก็คือ อัพยากฤต นั้น ไม่ใช่กุศลหรืออกุศล  คือ กลางๆ  คือเป็นเพียงกริยาเท่านั้น ส่วนมากจะเกิดกับพระอรหันต์ครับ

  ตัวอย่างเช่น จากพระไตรปิฏก

    [๑๔๑] โคตรภูธรรมเป็นกุศลเท่าไร เป็นอกุศลเท่าไร เป็นอัพยากฤตเท่าไร โคตร
ภูธรรมเป็นกุศล ๑๕ เป็นอัพยากฤต ๓ เป็นอกุศลไม่มี ฯ
   
   แต่ผมขอออกตัวก่อนนะครับเรื่องอภิธรรมบัญญัตินั้นผมได้ค่อยรู้นะครับ..
 

ตอบโดย: Vicha 27 ก.พ. 51 - 17:55


กราบขออนูญาต เสนอมุมมองแลกเปลี่ยนกับพี่วิชาหน่อยนะครับ
กราบเรียนถามพี่วิชาว่า
จักขุวิญญาณ มโนวิญญาณ โสตวิญญาณ
ชิวหาวิญญาณ ฆานะวิญญาณ กายยะวิญญาณ
เป็นคนละตัวกับวิญญาณขันธ์ อย่างนั้นหรือครับ?
จิตหรือวิญญาณ กับ ใจ เป็นคนละอย่างกันหรือครับ?

เพราะผมเห็นพี่นำเสนอว่า
....สมมุติเมื่อ เกิดจักขุวิญญาณ(ตาเห็นรูป) มโนวิญญาณนั้นก็จะดับหรือเปลี่ยนมาเกิดเป็นจักขุวิญญาณ แล้วจุกขุวิญญาณนั้นก็ดับหรือเปลี่ยนไปเกิดเป็นมโนวิญญาณ ซึ่งสลับสับเปลี่ยนอยู่อย่างนั้นช่วงแค่แวบเดียว แต่จิตหรือวิญญาณ เกิดดับสลับเปลี่ยนที่ใจและที่ตา อย่างนับไม่ถ้วนแล้ว เกิดเป็นกลุ่มของ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ เกิดขึ้นเป็นเหตุเป็นปัจจัยกันจากการเห็นนั้น...

ตามความเห็นของผม ผมมีความเข้าใจว่า
วิญญาณทั้งหกนั้น ก็คือวิญญาณขันธ์นั้นเอง
เพียงแต่ถูกกำหนดเรียกชื่อไปตามอาการที่เกิดขึ้นมีขึ้นเท่านั้นเอง
สุดแท้แต่ว่า วิญญาณจะไปปรากฏเกิดขึ้นที่ไหน(ตา หู...ใจ ฯลฯ)

ส่วนคำว่าจิตและคำว่าใจ ก็น่าจะเป็นตัวเดียวกัน
แต่ถ้าแยกรายละเอียดของใจหรือจิตของออกมาดู
ก็จะพบเจอธรรมชาติต่างๆมากมาย
เจอทั้งเวทนา เจอทั้งสัญญา เจอทั้งสังขาร วิญญาณ นามรูป ตัณหา อุปทาน เยอะแยะไปหมด...

ในปฏิจจสมุปบาทธรรมทั้งรอบวง
ไม่ปรากฏคำว่าใจหรือคำว่าจิตอยู่เลย...
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?
ก็เพราะเหตุที่ วงจรของปฏิจจสมุปบาทนั้นคืออาการที่ปรากฏขึ้นที่จิตหรือใจทั้งหมด
เพียงชั่วแว็บเดียวเท่านั้นเอง...

สังขารปรุงแต่งที่จะเข้าไปรู้รูป จักขุวิญญาณจึงเกิด
สังขารปรุ่งแต่งที่จะเข้าไปรู้อารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด

วิญญาณเกิดขึ้นเองลอยๆโดยไม่มีเหตุมีปัจจัยไม่ได้
ในบางคราสังขารไม่เจตนาปรุงแต่งที่จะให้เกิดวิญญาณ
แต่วิญญาณก็อาจะเกิดขึ้นได้ เมื่อ มีนามรูปและผัสสะมาประชุมร่วมพร้อม
(เพราะมีวิญญาณจึงมีนามรูป เมื่อมีนามรูปจึงมีวิญญาณ)

บางครั้งเราเห็นรูปโดยที่ไม่ตั้งใจ ได้ยินเสียงโดยที่ไม่ตั้งใจ
รู้อารมณ์โดยที่ไม่มีเจตนา...

เมื่อใดที่เราสามารถควบคุมวิญญาณ(ทั้งหก)ได้
เวทนาก็จะหมดพิษสงลงทันที...

เมื่อเวทนาถูกควบคุมได้ ตัณหาจะมีพิษร้ายได้อีกอย่างไร...

เมื่อตัณหาถูกรื้อถอน โดยมีมลูเหตุมาจากวิญญาณถูกกำหราบ
ชาติ ชรา มรณะ ที่อาศัยตัณหาเป็นแดนเกิดก็ถึงคราวิบัติ สูญสลาย ไปในที่สุด...


อานาปาสติ คือวิหารธรรมของพระพุทธเจ้าและพระอริยเจ้าทั้งหลาย

พระพุทธเจ้าและ พระอริยเจ้า ทั้งหลาย
ต่างก็หายใจเข้าหายใจออก ตามปกติเหมือนอย่างเราๆท่านๆทั้งหลายเหมือนกัน
อากาศก็เป็นอากาศอย่างเดียวกัน
อาการหายใจก็หายใจทางจมูกเหมือนๆกัน...
...แต่ท่านไม่มีทุกข์ แต่พวกเรายังเป็นทุกข์อยู่...

ความทุกข์มิได้อยู่ที่ลมหายใจ มิได้อยู่ที่อากาศ มิได้อยู่อาการหายใจอย่างไร
มิได้อยู่ที่โพรงจมูกหรือปลายจมูก
แต่ความทุกข์มันอยู่ที่ใจอยู่ที่จิตต่างหาก...






 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 27 ก.พ. 51 - 20:29


ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญาณ

ในขันธ์ ๕ นี้ ...... ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมกันเป็นกายนี้ เรียกว่า รูป

ความรู้สึกว่า เป็นสุข คือ สบายกาย สบายใจ หรือเป็นทุกข์ คือ ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ หรือเฉย ๆ คือ ไม่ทุกข์ ไม่สุข เรียกว่า เวทนา

ความจำได้หมายรู้ คือ จำรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะอารมณ์ ที่เกิดกับใจได้ เรียกว่า สัญญา

เจตสิกธรรม คือ อารมณ์ที่เกิดกับใจเป็นส่วนดี เรียก กุศล  เป็นส่วนชั่ว เรียก อกุศล เป็นส่วนกลาง ๆ ไม่ดี ไม่ชั่ว เรียก อัพยากฤต เรียก สังขาร

และความรู้อารมณ์ในเวลาเมื่อรูปมากระทบตา เป็นต้น เรียกว่า วิญาณ ซึ่งขันธ์ ๕ นี้ บางทีย่นย่อเป็น ๒ เรียก นาม กับ รูป/COLOR]

เวทนา สัญญา สังขาร วิญาณ รวมกันเข้าเป็น นาม ส่วนรูป ก็คงเป็นรูป รูปนี้แหละที่ครูบาอาจารย์ให้นำมาพิจารณากันอยู่เสมอ

พิจารณาถึงธาตุ ๔ อย่างด้วยกัน ได้แก่ ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ

ธาตุดินมีลักษณะเข้มแข็ง ธาตุดินนี้มีอยู่ภายในตนเอง ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า

ธาตุน้ำมีลักษณะเอิบอาบ ได้แก่ น้ำดี น้ำเสลด น้ำหนอง น้ำเลือด น้ำเหงื่อ น้ำมันข้น น้ำตา น้ำเปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก น้ำไขข้อ และน้ำมูตร

ธาตุไฟมีลักษณะอบอุ่น คือ ไฟที่ยังกายให้อบอุ่น ไฟที่ยังกายให้ทรุดโทรม และไฟที่ยังกายให้กระวนกระวาย กับไฟที่เผาอาหารให้ย่อย

ธาตุลมมีลักษณะพัดไปมา คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปตามตัวและลมหายใจ

ครูบาอาจารย์ท่านสอนให้การกำหนดพิจารณากายนี้ให้เห็นว่าเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ประชุมรวมกันอยู่ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เรียกว่า [COLOR=Crimson]ธาตุกรรมฐาน


ตอบโดย: ช.ชุตินธโร 27 ก.พ. 51 - 21:06


จากคำถามของคุณปล่อยรู้

กราบเรียนถามพี่วิชาว่า
จักขุวิญญาณ มโนวิญญาณ โสตวิญญาณ
ชิวหาวิญญาณ ฆานะวิญญาณ กายยะวิญญาณ
เป็นคนละตัวกับวิญญาณขันธ์ อย่างนั้นหรือครับ?

ตอบ  ทั้งจักขุวิญญาณ มโนวิญญาณ โสติวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ ฆานะวิญญาณ กายยะวิญญาณ  ต่างก็คือ วิญญาณขันธ์ ครับ เพียงแต่เกิดคนละที่ ตามหน้าที่ที่ปรากฏครับ  และผมก็ได้บอกไว้แล้วในความคิดเห็นก่อน

จากคำถามของคุณปล่อยรู้
   จิตหรือวิญญาณ กับ ใจ เป็นคนละอย่างกันหรือครับ?

ตอบ จิตหรือวิญญาณ กับใจ  จะกล่าวเป็นอย่างเดียวกันก็ได้เพราะเป็นเหตุเป็นปัจจัยกัน
        แต่ถ้ากล่าวว่า ใจ ต้องเป็นวิญญาณอย่างเดียว นั้นเป็นการกล่าวไม่ถูกต้อง
        
        เพราะคำว่าใจนั้น สามารถกล่าวรวมทั้ง วิญญาณ + เวทนา +สัญญา +สังขาร ก็ได้
          ตัวอย่างเช่น วันนี้ผมสบายใจ  ก็คือ วิญญาณ(สภาพรู้)+เวทนา(สบาย)
         
         ส่วนคำว่า จิต กับ วิญญาณ จะกล่าวว่าเป็นอย่างเดียวกันก็ได้เพราะเป็นเหตุเป็นปัจจัยกัน  แต่ถ้าจะกล่าวว่า จิต ต้องเป็นวิญญาณอย่างเดียว นั้นเป็นการกล่าวไม่ถูกต้อง
         เพราะคำว่า จิต นั้น สามารถกล่าวรวมทั้ง วิญญาณ+เวทนา+สัญญา+สังขาร ก็ได้
          ตัวอย่างเช่น จิตสงบ    ก็คือ วิญญาณ(สภาพรู้)+เวทนา(สงบ)
  
       ดังนั้นคำว่า จิต กับ ใจ ก็สามารถใช่แทนกันได้ หรือเป็นอย่างเดียวกันได้ครับ
        เพียงแต่ ใจ นั้น ต้องกล่าวร่วมกับ กาย คือ กายใจ หรือมีความหมายถึงรู้กายร่วมอยู่ด้วยในขณะปกติ
        แต่จิต นั้น  นั้นสามารถมีความหมาย โดดๆ  ก็ไม่ต้องรู้กายร่วมอยู่ด้วย เช่นจิตของผู้ทีอยู่ในฌานสมาบัติคือรู้ที่จิต แต่ไม่รับรู้ทางกายอย่างสิ้นเชิ่ง.
        

        ผมขอเน้น อีกครั้งนะครับ  ว่าทั้งจักขุวิญญาณ มโนวิญญาณ โสติวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ ฆานะวิญญาณ กายยะวิญญาณ  ต่างก็คือ วิญญาณขันธ์ ครับ เพียงแต่เกิดคนละที่ ตามหน้าที่ที่ปรากฏครับ
         
        เช่น ขณะที่ ตาเห็นรูป จักขุวิญญาณนั้นได้เกิดดับๆ หลายครั้งแล้ว และส่งสัญญาให้มโนวิญญาณ เกิดดับสลับกันอยู่ก็หลายครั้งแล้ว หรืออธิบายแบบเชิ่งเดียวดังนี้
               มโนวิญญาณเกิดอยู่ แล้วตาไปเห็นรูป(เกิดผัสสะทางตา) มโนวิญญาณก็ดับไป เกิดจักษุวิญญาณที่เห็นรูปขึ้น แล้วจักขุวิญญาณก็ดับไป มโนวิญญาณก็เกิด สลับเกิดดับกันอยู่ พร้อมทั้ง เวทนา สัญญา สังขาร ก่อตัวผสมผสานเป็นเหตุเป็นปัจจัยเกิดขึ้นกับรูปที่เห็นนั้น

    ส่วนที่เหลือของคุณปล่อยรู้ผมได้อ่านแล้วครับ

    และส่วนของท่าน ช.ชุตินธโร  ผมก็ได้อ่านแล้วครับ

 
       

ตอบโดย: Vicha 28 ก.พ. 51 - 10:44


อ้างอิง
คือจากประสบการณ์การปฏิบัติของผมเอง ตอนที่ผมเอาสติมาระลึกอยู่ภายในกายนั้น ผมมักจะเห็นความรู้สึกที่ เกิด-ดับ ในกายด้วยเสมอๆ อยากทราบว่าความรู้สึกที่เกิดๆดับๆ ในกายนี้ ถ้าจะเทียบกับหลักธรรมแล้วคืออะไรครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ 


สาธุครับคุณ wit

ความเห็นส่วนตัวของผม

จิตของโพธิสัตว์...มันเดินทางได้สุดของมัน..ก็แค่นี้
จากนั้นก็วกกลับไปสู่แนวทางแห่งเมตตาโปรดสัตว์ต่อไป...

ถ้าเป็นจิตสาวก...จิตก็จะประมวลผล..อาการเกิดดับ...
ด้วยปัญญา...จิตก็จะเข้าสู่มรรคสมัคคี....เข้าสู่จิตหนึ่ง....
 

ตอบโดย: ฤาษี 28 ก.พ. 51 - 10:54


อ้างอิง
ผมยังไม่กระจ่าง ในคำถามที่ว่า "ภายในกาย"  ของคุณ wit คือ มีสติรู้ที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือมีสติรู้ภายในที่เป็นความรู้สึกตรงส่วนใดส่วนหนึ่ง


เป็นความรู้สึกเกิดดับทั่วทั้งกายน่ะครับ บางครั้งความรู้สึกก็รวมกับกายเป็นก้อนเดียวเกิดดับ บางครั้งก็มีความรู้สึกเกิดดับระยิบระยับตามจุดนั้นจุดนี้ตามร่างกายพร้อมๆกันหลายๆจุดน่ะครับ ความรู้สึกนี้จะเกิดแล้วดับไปเลยนะครับไม่มีช่วงตั้งอยู่


อ้างอิง
อาการเกิด-ดับเหล่านี้  แม้จะมีชื่อตรงกับหลักธรรมใด หรือไม่ตรงกับหลักธรรมใด  ก็ตาม
ก็ควรคำนึงว่า อาการเกิด-ดับ มีจริงและเห็นได้จริงสำหรับผู้เพียรปฏิบัติ

ขออนุโมทนากับคุณ Wit  มา ณ ที่นี้.......


     


อ้างอิง
สาธุครับคุณ wit

ความเห็นส่วนตัวของผม

จิตของโพธิสัตว์...มันเดินทางได้สุดของมัน..ก็แค่นี้
จากนั้นก็วกกลับไปสู่แนวทางแห่งเมตตาโปรดสัตว์ต่อไป...

ถ้าเป็นจิตสาวก...จิตก็จะประมวลผล..อาการเกิดดับ...
ด้วยปัญญา...จิตก็จะเข้าสู่มรรคสมัคคี....เข้าสู่จิตหนึ่ง....


     

ตอบโดย: wit 28 ก.พ. 51 - 11:23


ตอบคุณ wit ตามที่ผมวิเคราะห์นะครับ
                 สติ สมาธิ ปัญญา ศรัทธา คุณ wit พัฒนาในทิศทางที่ดีขึ้นครับ ความเป็นไตรลักษณ์ ปรากฏให้เห็นมากขึ้นครับ ก็คือว่า แยกรูปแยกนามในการปฏิบัติธรรมได้แล้วครับ

       

ตอบโดย: Vicha 28 ก.พ. 51 - 14:24


     

ตอบโดย: wit 28 ก.พ. 51 - 14:32


    ต่อไปขอนอกเรื่องจากอานาปานสติสูตร (สนทนาเรื่องของฌานก็อยู่ในอานาปานสติสูตรอยู่)  เรื่องจุดที่ตรวจสอบ วิปัสสนาญาณ ที่ปรากฏให้ทราบชัดได้อย่างชัดเจนในการแยกให้ทราบลำดับ ในหลักพื้นฐานคือ

             1. นามรูปปริเฉทญาณ (ญาณที่ 1. แยกรูปแยกนาม การเกิดดับเริ่มปรากฏขึ้น)

             2. อุทัพยญาณ  (ญาณที่ 4. ปัญญาเห็นการเกิดดับอย่างชัดเจน เป็นญาณที่ทำให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ผู้ปฏิบัตินั้นขึ้นสู่วิปัสสนา อย่างแน่นอนแล้วหรือยัง เพราะถ้าเกิดมีความเบื่อหน่ายในโลกในสังคมหรือตัวเอง  แต่ไม่เคยเกิดปัญญาเห็นการเกิดดับ  ความเบื่อหน่ายนั้นก็หาได้เกิดจากวิปัสสนาญาณเบื่องสูงกว่า อุทัพยญาณ  อาจจะเป็นการเบื่อหน่ายทางโลกธรรมดาที่จินตนาการขึ้น หรือความเบื่อหน่ายที่อยู่ใน สมนสนญาณ ญานที่ 3 )

             3. นิพพิทาญาณ  (ญาณที่ 8. เบื่อหน่ายในรูปนามเป็นอย่างยิ่ง ปรารถนาหลุดพ้น)
             4. สังขารุเบกขาญาณ (ญาณที่ 11. อารมณ์กรรมฐานที่เป็นกลางวางเฉยเป็นอุเบกขา กำหนดภาวนาได้อย่างสงบสบายติดต่อกันได้เป็นเวลานานได้  เปรียบเหมือนการร่อนหาทองในที่ร่อนจานกลม เมื่อหินและทรายหยาบหลุดออกหมดแล้ว เหลือแต่ผงทองและฝุ่นผงทรายเล็กๆ ย่อมร่อนได้เบาและสบายไม่หนัก

         แต่มีข้อสังเกตุว่า  วิปัสสนาญาณ มีขึ้นมีลง หรือมีเจริญและเสื่อมได้ บางครั้งบางญาณปรากฏรุนแรง บางครั้งบางญาณปราฏกไม่รุนแรง ดังนั้นจะกำหนดว่า ผู้นั้นได้ญาณนั้นได้ญาณนี้ก็หาได้ถูกต้องเสมอไป.


     
           

ตอบโดย: Vicha 28 ก.พ. 51 - 14:57


 ผมอ่านไปมา ก็ขอเสนอบางส่วนของพระสูตรนี้นะครับ
  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  บุคคลอาศัยโสตแลเสียง  เกิดโสตวิญญาณ...

                   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  บุคคลอาศัยฆานะและกลิ่น เกิดฆานวิญญาณ...

                   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  บุคคลอาศัยชิวหาและรส  เกิดชิวหาวิญญาณ...

                   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยกายและโผฏฐัพพะ เกิดกายวิญญาณ...

                   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย     บุคคลอาศัยมโนและธรรมารมณ์     เกิดมโน-

        วิญญาณ  ความประจวบของธรรมทั้ง ๓  เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
จะเห็นบรรทัดสุดท้ายว่า
       บุคคลอาศัยมโนและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ จะเห็นว่าพระพุทธองค์ได้ตรัสว่ามโนวิญญาณจะเกิดได้ต้องอาศัยมโนและธรรมารมณ์ ทำให้ผมงงครับ อาจจะมีการบัญญัติคำคลาดเคลื่อนหรือเปล่าครับ
        และคำว่าใจ ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสนั้นคือ วิญญาณขันธ์ใข่ไหมครับ ขอขอบคุณครับ
 

ตอบโดย: svonnu48 28 ก.พ. 51 - 15:17


อ้างอิง
สาธุครับคุณ wit

ความเห็นส่วนตัวของผม

จิตของโพธิสัตว์...มันเดินทางได้สุดของมัน..ก็แค่นี้
จากนั้นก็วกกลับไปสู่แนวทางแห่งเมตตาโปรดสัตว์ต่อไป...

ถ้าเป็นจิตสาวก...จิตก็จะประมวลผล..อาการเกิดดับ...
ด้วยปัญญา...จิตก็จะเข้าสู่มรรคสมัคคี....เข้าสู่จิตหนึ่ง....


ความเห็นของผมรวมทั้งที่ทราบมา........

ผมเห็นว่าจิตของพระโพธิสัตว์.....สามารถเข้ารวมมรรคสมังคี เข้าไปพบกับ"  ธรรมชาติ  "
และรู้ว่าธรรมชาติ.....มีจริง  รู้ว่าตัวจิตไม่เที่ยง พระโพธิสัตว์์สามารถเห็นได้..............
ซึ่งหากจิตสาวก.......ทำได้แบบนี้   ก็ถือว่า อีกไม่เกิินเจ็ดชาติ  ก็จะสิ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิง

การรู้เห็นของพระโพธิสัตว์นี้อาจจะขัดกับความรู้สึกของคนส่วนใหญ่....ว่าจะเป็นไปได้หรือ
ผมเองเห็นว่า พระโพธิสัตว์,ผู้ปฏิบัติเพื่อเป็นพระปัจเจก ในภาคหน้า จะสามารถเดินได้ถึงที่สุดที่
การเพิกถอนทุกอณูในจิตถ่ายออกให้หมด และกำลังจะทำลายจิต,อัสมิมานะหรือคำอธิฐานต่างๆ
ซึ่งเป็นในชั้นเปรียบเหมือน  จิตของพระอนาคามีจะตัดสินความรู้  แล้วเป็นพระอรหันต์.....นั่นเอง

แต่พระโพธิสัตว์........ได้เทียบเคียงเท่านั้น  และการรู้เห็นของจิตนี้   ก็ไม่ได้ทำให้จำนวนชาติ
ที่จะได้ตรัสรู้ภายใน สามหรือเจ็ดชาติเหมือนกับสายสาวกแต่อย่างใด
ยังคงต้องเดินต่อไป.......

 

ตอบโดย: เปา 28 ก.พ. 51 - 15:38


อ้างอิง
ความเห็นของผมรวมทั้งที่ทราบมา........

ผมเห็นว่าจิตของพระโพธิสัตว์.....สามารถเข้ารวมมรรคสมังคี เข้าไปพบกับ"  ธรรมชาติ  "
และรู้ว่าธรรมชาติ.....มีจริง  รู้ว่าตัวจิตไม่เที่ยง พระโพธิสัตว์์สามารถเห็นได้..............
ซึ่งหากจิตสาวก.......ทำได้แบบนี้   ก็ถือว่า อีกไม่เกิินเจ็ดชาติ  ก็จะสิ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิง

การรู้เห็นของพระโพธิสัตว์นี้อาจจะขัดกับความรู้สึกของคนส่วนใหญ่....ว่าจะเป็นไปได้หรือ
ผมเองเห็นว่า พระโพธิสัตว์,ผู้ปฏิบัติเพื่อเป็นพระปัจเจก ในภาคหน้า จะสามารถเดินได้ถึงที่สุดที่
การเพิกถอนทุกอณูในจิตถ่ายออกให้หมด และกำลังจะทำลายจิต,อัสมิมานะหรือคำอธิฐานต่างๆ
ซึ่งเป็นในชั้นเปรียบเหมือน  จิตของพระอนาคามีจะตัดสินความรู้  แล้วเป็นพระอรหันต์.....นั่นเอง

แต่พระโพธิสัตว์........ได้เทียบเคียงเท่านั้น  และการรู้เห็นของจิตนี้   ก็ไม่ได้ทำให้จำนวนชาติ
ที่จะได้ตรัสรู้ภายใน สามหรือเจ็ดชาติเหมือนกับสายสาวกแต่อย่างใด
ยังคงต้องเดินต่อไป.......


       

ตอบโดย: wit 28 ก.พ. 51 - 15:59


 ขอบคุณ คุณsvonnu48  ครับ ที่นำพระสูตรมาแสดงให้เห็น

      เป็นอันว่าผมอาจคลาดเคลือนครับ แต่ เอ่ะ... สิ่งที่ปรากฏให้แจ่มแจ้งเมื่อวิเคราะห์ให้ดี และแยกแยะให้ดีแล้วไม่น่าผิดพลาด  ดังนี้ (วิเคราะห์แล้วดูกายกับใจที่ปรากฏกับตนเอง)

      จากส่วนหนึ่งของพุทธพจน์
       "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  บุคคลอาศัยชิวหาและรส  เกิดชิวหาวิญญาณ"

        "อาศัยชิวหา และ  รส"   ต้องแยกแยะ ชิวหา และ รส ให้ดี ดังนี้
         ชิวหา คือ อายตนะหนึ่ง   แล้ว รส คืออะไร?
         รส เกิดจากธาตุ ที่มีสภาพความ หวาน, มัน,เค็ม,ขม,เปรียว หรือ จืด ฯลฯ

            ก็จะได้ว่า รส นั้นจัดเป็น "รูป" หาได้กำหนดไปว่า รู้รสว่ามีรสเป็นอย่างไร?
         ดังนั้นเมื่อแยกลงรายละเอียดสู่การเกิดผัสสะได้ดังนี้

           ชิวหา + ผัสสะกับธาตุที่มีรส(ย่อมยังไม่ทราบว่ารสอะไร? ยังเป็นเพียงรูป) > เกิดชิวหาวิญญาณ คือสภาพรู้รสนั้น ตามด้วยเวทนา สัญญา สังขาร รู้ว่ารสนั้นรสอะไร ดีหรือไม่ดี สุขหรือทุกข์หรือเฉย
          
           ต่อไปก็มายังเรื่อง ธรรมารมณ์ ที่ยกพระสูตรมาและยังเครือบแคลงกันอยู่ ว่าอย่างไร กันแน่  จากพุทธพจน์

         "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย     บุคคลอาศัยมโนและธรรมารมณ์     เกิดมโนวิญญาณ"

   เมื่อแยกแยะ   มโน   ก็คือ อายตนะหนึ่ง   แล้วธรรมรมณ์นั้นคืออะไร?  แต่คงไม่ใช่ธาตุ ที่เป็นรูป หรือมหาภูตรูป แน่นอน....

    ในเมื่อ ธรรมมารมณ์ ไม่ใช่ธาตุจึงไม่ใช่รูป   ธรรมมารมณ์ นั้นก็คือ "นาม" นั้นเอง ในที่นี้ก็คือ เวทนา สัญญา สังขาร นั้นเอง  ที่เป็นผลมาจาก จักขุวิญญาณ หรือโสติวิญญาณ หรือฆานะวิญญาณ หรือชิวหาวิญญาณ หรือกายวิญญาณ หรือมโนวิญญาณ เก่าที่เกิดขึ้นแล้วปรุงแต่งขึ้น จึงเป็น "ธรรมมารมณ์"

     ดังนั้น ธรรมมารมณ์ จึงเป็นผลของ  อายตนะ+ผัสสะ เป็นวิญญาณขันธ์เก่าที่เกิดขึ้นแล้ว เป็น >> เวทนา สัญญา สังขาร ขึ้น ซึ่งก็คือธรรมมารณ์นั้นเอง ว่าดี หรือไม่ดี หรือเฉย
      ก็จะได้ว่า ธรรมมารมณ์  เกิดหลังจาก อายตนะ+ผัสสะ เป็นวิญญาขันธ์เก่า ที่ก่อเกิดเป็น เวทนา สัญญา สังขาร นั้นเอง

     เมื่อแยกแยะให้ชัดเจนเป็นดังนี้   มโน + ผสสะกับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดหรือธรรมมารมณ์ > เกิดเป็นมโนวิญญาณใหม่ขึ้น นั้นเอง

       ดังนั้น วิญญาณขันธ์เปรียบเสมือน ไฟที่ลุกโพรงอยู่ตลอดเวลา เพราะมีเชื่อใส่เข้าไปตลอดเวลา  ด้วยผัสสะกับ  รูป หรือ ธรรมมารณ์(คือ เวทนา สัญญา หรือสังขาร นั้นเอง)


       ส่วนเรื่องใจนั้นผมแยกแยะ(ด้วยการศึกษและปฏิบัติธรรมตามธรรมบังเกิดขึ้น)ไว้แล้วด้านบนครับ

  
                     

ตอบโดย: Vicha 28 ก.พ. 51 - 16:25


อ้างอิง (Vicha @ 28 ก.พ. 51 - 16:25)

  

 
(Vicha @ 28 ก.พ. 51 - 16:25)

ต่อไปก็มายังเรื่อง ธรรมารมณ์ ที่ยกพระสูตรมาและยังเครือบแคลงกันอยู่ ว่าอย่างไร กันแน่  จากพุทธพจน์

         "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย     บุคคลอาศัยมโนและธรรมารมณ์     เกิดมโนวิญญาณ"

   เมื่อแยกแยะ   มโน   ก็คือ อายตนะหนึ่ง   แล้วธรรมรมณ์นั้นคืออะไร?  แต่คงไม่ใช่ธาตุ ที่เป็นรูป หรือมหาภูตรูป แน่นอน....

    ในเมื่อ ธรรมมารมณ์ ไม่ใช่ธาตุจึงไม่ใช่รูป   ธรรมมารมณ์ นั้นก็คือ "นาม" นั้นเอง ในที่นี้ก็คือ เวทนา สัญญา สังขาร นั้นเอง  ที่เป็นผลมาจาก จักขุวิญญาณ หรือโสติวิญญาณ หรือฆานะวิญญาณ หรือชิวหาวิญญาณ หรือกายวิญญาณ หรือมโนวิญญาณ เก่าที่เกิดขึ้นแล้วปรุงแต่งขึ้น จึงเป็น "ธรรมมารมณ์"

     ดังนั้น ธรรมมารมณ์ จึงเป็นผลของ  อายตนะ+ผัสสะ เป็นวิญญาณขันธ์เก่าที่เกิดขึ้นแล้ว เป็น >> เวทนา สัญญา สังขาร ขึ้น ซึ่งก็คือธรรมมารณ์นั้นเอง ว่าดี หรือไม่ดี หรือเฉย
      ก็จะได้ว่า ธรรมมารมณ์  เกิดหลังจาก อายตนะ+ผัสสะ เป็นวิญญาขันธ์เก่า ที่ก่อเกิดเป็น เวทนา สัญญา สังขาร นั้นเอง

     เมื่อแยกแยะให้ชัดเจนเป็นดังนี้   มโน + ผสสะกับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดหรือธรรมมารมณ์ > เกิดเป็นมโนวิญญาณใหม่ขึ้น นั้นเอง



ถ้าธรรมมารมณ์เป็นวิญญาณขันธ์เก่า ดังที่พี่วิชาว่ามานั้น
ฟังดูแล้ว มันเหมือนกับพี่วิชากำลังจะบอกว่า
วิญญาณใหม่กำลังดูวิญญาณเก่า... ไม่ทราบผมเข้าใจถูกหรือเปล่าครับ?

ถ้าเป็นดังที่ผมเข้าใจ
ผมคงมีมุมมองพุทธวจนะ ที่แตกต่างจากพี่วิชาดังนี้ครับ

ผมมองไม่เห็นเหตุผลใดเลย
ที่จะจับธรรมมารมณ์แยกออกมาจากหมวด รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ
ธรรมมารมณ์ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามเหตุ ตามปัจจัย
เช่นเดียวกับรูป เช่นเดียวกับรส เช่นเดียวกับกลิ่น  เช่นเดียวกับโผฏฐัพพะ
อาศัยเหตุปัจจัยปรุงแต่งจึงเกิด ด้วยเหมือนกัน...

สิ่งใดที่มโนวิญญาณเข้าไปรับรู้สัมผัส สิ่งนั้นจึงถูกเรียกว่าธรรมมารมณ์
สิ่งใดที่โสตวิญญญาณเข้าไปรับรู้สัมผัส สิ่งนั้นจึงถูกเรียกว่าเสียง
สิ่งใดที่จักขุวิญญาณเข้าไปรับรู้สัมผัส สิ่งจึงนั้นจึงถูกเรียกว่ารูป
สิ่งที่ชิวหาวิญญาณเข้าไปรับรู้สัมผัส สิ่งนั้นจึงถูกเรียกว่ารส
สิ่งที่ฆานะวิญญาณเข้าไปรับรู้สัมผัส สิ่งนั้นจึงถูกเรียกว่ากลิ่น
สิ่งที่กายะวิญญาณเข้าไปรับรู้สัมผัส สิ่งนั้นจึงถูกเรียกว่าโผฎฐัพพะ

ธรรมมารณ์เกิดมีอยู่แล้ว แต่ถ้ามโนวิญญาณยังไม่เกิด
ธรรมมารมณ์ก็ยังไม่ถูกรับรู้

มันก็เหมือนกับรูป เหมือนกับเสียง ที่มันมีอยู่แล้วรอบๆตัวเรา
แต่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้ยินเสียง
ตราบใดที่จักขุวิญญาณยังไม่เกิด ตราบใดที่โสตวิญญาณยังไม่เกิด

ธรรมมารมณ์ไม่มีอะไรที่ผิดแผกแตกต่างไปจาก
รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ แต่อย่างใด

อารมณ์ต่างๆเกิดขึ้นมากมาย แต่เราไม่รู้
เราจะรู้ก็ต่อเมื่อเราเกิดอยากที่จะรู้มัน อยากที่จะดูมัน
หรือบางที มันก็รู้โดยที่ไม่อยากจะรู้มันก็ได้

มันก็เหมือนกันกับรูป เหมือนกันกับเสียง เหมือนกันกับกลิ่น
เหมือนกับรส เหมือนกับโผฏฐัพพะ
เราจะรู้ก็ต่อเมื่อ เราอยากจะรู้
หรือบางที มันก็รู้โดยที่ไม่อยากจะรู้มันก็ได้

รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ธรรมมารมณ์ ก็สักแต่
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ ฆานะวิญญาณ กายะวิญญาณ
มโนวิญญาณ ก็สักแต่ว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป...
ไม่สมควรยึดมั่นถือมั่น ว่าเป็นเรา ว่าเป็นตัวตนของเราแต่อย่างใด...

เมื่อไม่ยึดถือเอาวิญญาณใดๆว่าเป็นเรา ว่าเป็นตัวตนของเรา
ชาติคือการเกิด ชราคือการเปลี่ยนแปลง มรณะ คือความดับสูญ
อันอาศัยวิญญาณเป็นมูลเหตุ เป็นเหตุเป็นปัจจัยในการเกิดขึ้นมีขึ้น
ก็ย่อมไม่มีฐานะที่จะเป็นไปได้...

ทั้งหมดนี้เป็นมุมมอง เป็นความเห็นโดยส่วนตน(ปล่อยรู้)
ที่นำเสนอแลกเปลี่ยนกับพี่วิชา
เพื่อความแจ่มแจ้งชัดเจน เพื่อความสมบูรณ์ในพุทธพจน์
อันเป็นมูลเหตุให้นำไปสู่ความดับไม่เหลือแห่งกองทุกข์โดยสิ้นเชิง
โดยทั่วหน้ากันครับ...

 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 28 ก.พ. 51 - 20:43


ตอบ คุณปล่อยรู้
  จากข้อความ

   "ถ้าธรรมมารมณ์เป็นวิญญาณขันธ์เก่า ดังที่พี่วิชาว่ามานั้น
ฟังดูแล้ว มันเหมือนกับพี่วิชากำลังจะบอกว่า
วิญญาณใหม่กำลังดูวิญญาณเก่า... ไม่ทราบผมเข้าใจถูกหรือเปล่าครับ?"

    คุณปล่อยรู้เข้าใจไม่ถูกตามที่ผมประสงค์เสนอครับ...

     วิญญาณเก่านั้นเกิดและด้วยเหตุของการปรุงแต่งเป็น เวทนา สัญญา สังขาร  นี้แหละเป็น ธรรมมารมณ์ขึ้น ซึงเป็นนามนะครับไม่ใช่รูป ซึ่งปรากฏอยู่กับจิตทุกครังที่เกิด แล้ววิญญาณเก่านั้นก็ดับ ด้วยการสืบต่อของธรรมมารมณ์นั้น กับ มีมโนอายาตนะ จึงปรากฏมโนวิญญาณใหม่นะครับ..

  และจากข้อความของคุณปล่อยรู้ผมจะแยกประเด็นสำคัญที่คุณปล่อยรู้เข้าใจไม่ตรงกับที่ผมศึกษาและปฏิบัติ ให้เห็นความแตกต่างกันนะครับ

อ้างอิง
  ถ้าเป็นดังที่ผมเข้าใจ
ผมคงมีมุมมองพุทธวจนะ ที่แตกต่างจากพี่วิชาดังนี้ครับ

ผมมองไม่เห็นเหตุผลใดเลย
ที่จะจับธรรมมารมณ์แยกออกมาจากหมวด รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ
ธรรมมารมณ์ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามเหตุ ตามปัจจัย
เช่นเดียวกับรูป เช่นเดียวกับรส เช่นเดียวกับกลิ่น  เช่นเดียวกับโผฏฐัพพะ
อาศัยเหตุปัจจัยปรุงแต่งจึงเกิด ด้วยเหมือนกัน...

สิ่งใดที่มโนวิญญาณเข้าไปรับรู้สัมผัส สิ่งนั้นจึงถูกเรียกว่าธรรมมารมณ์
สิ่งใดที่โสตวิญญญาณเข้าไปรับรู้สัมผัส สิ่งนั้นจึงถูกเรียกว่าเสียง
สิ่งใดที่จักขุวิญญาณเข้าไปรับรู้สัมผัส สิ่งจึงนั้นจึงถูกเรียกว่ารูป
สิ่งที่ชิวหาวิญญาณเข้าไปรับรู้สัมผัส สิ่งนั้นจึงถูกเรียกว่ารส
สิ่งที่ฆานะวิญญาณเข้าไปรับรู้สัมผัส สิ่งนั้นจึงถูกเรียกว่ากลิ่น
สิ่งที่กายะวิญญาณเข้าไปรับรู้สัมผัส สิ่งนั้นจึงถูกเรียกว่าโผฎฐัพพะ

ธรรมมารณ์เกิดมีอยู่แล้ว แต่ถ้ามโนวิญญาณยังไม่เกิด
ธรรมมารมณ์ก็ยังไม่ถูกรับรู้

มันก็เหมือนกับรูป เหมือนกับเสียง ที่มันมีอยู่แล้วรอบๆตัวเรา
แต่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้ยินเสียง
ตราบใดที่จักขุวิญญาณยังไม่เกิด ตราบใดที่โสตวิญญาณยังไม่เกิด

ธรรมมารมณ์ไม่มีอะไรที่ผิดแผกแตกต่างไปจาก
รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ แต่อย่างใด

อารมณ์ต่างๆเกิดขึ้นมากมาย แต่เราไม่รู้
เราจะรู้ก็ต่อเมื่อเราเกิดอยากที่จะรู้มัน อยากที่จะดูมัน
หรือบางที มันก็รู้โดยที่ไม่อยากจะรู้มันก็ได้

มันก็เหมือนกันกับรูป เหมือนกันกับเสียง เหมือนกันกับกลิ่น
เหมือนกับรส เหมือนกับโผฏฐัพพะ
เราจะรู้ก็ต่อเมื่อ เราอยากจะรู้
หรือบางที มันก็รู้โดยที่ไม่อยากจะรู้มันก็ได้



จากบทความส่วนนี้ของคุณปล่อยรู้

"ธรรมมารมณ์ไม่มีอะไรที่ผิดแผกแตกต่างไปจาก
รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ แต่อย่างใด"

   ผมเสนอแนะ
      บทความนี้ทำให้ทราบว่า ความเข้าใจของคุณปล่อยรู้นั้นไม่ตรงกับที่ผมเข้าใจนะครับ ดังนี้
    ธรรมมารมณ์นั้น แตกต่างกับ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นะครับ   ทำความเข้าใจให้ดีนะครับ

      1. ธรรมมารมณ์ นั้นเกิดจากนามธรรม  แต่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นั้นเกิดจาก ธาตุ
      2. ธรรมมารมณ์ นั้นเกิดจากผัสสะภายในจิตหรือใจเอง ก็คือ เวทนา สัญญา สังขาร นั้น เช่น ดีใจ เสียใจ หรือเฉย สุข  ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ ความรู้สึกนึกคิด ซึ่งอยู่ภายใจของเราเอง  ส่วน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ  เกิดจากการผัสสะกับธาตุ(หรือรูป)ภายนอก


   และจากบทความต่อไป ของคุณปล่อยรู้

"อารมณ์ต่างๆเกิดขึ้นมากมาย แต่เราไม่รู้
เราจะรู้ก็ต่อเมื่อเราเกิดอยากที่จะรู้มัน อยากที่จะดูมัน
หรือบางที มันก็รู้โดยที่ไม่อยากจะรู้มันก็ได้"

    ผมเสนอแนะ
       ถ้ากล่าวอย่างนีแสดงให้เห็น ไม่เข้าใจคำว่าสติ  เมื่อ อารมณ์ต่างเกิดจากภายในใจเอง ย่อมเกิดผัสสะเป็นมโนวิญญาณเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อมีสติดีเป็นปัจจุบันย่อมรู้ อารมณ์นั้นโดยตลอด แล้วปัญญา จะทำหน้าที่ดับ หรือบรรเทาอารมณ์นั้นเองตามความเหมาะสม  ไม่ใช่ความอยาก ถ้ากล่าวว่าเป็นไปตามความอยากโดยการปฏิเสธหรือยึดไว้ได้ตามต้องการ ก็คือว่า ยังไม่เข้าใจ คำว่า สติ และปัญญาทางธรรม ดีพอครับ (ขอโทษนะครับที่ผมจำต้องพิมพ์ตรงไปตรงมา)
      
   จากบทความของคุณปล่อยรู้

 "มันก็เหมือนกันกับรูป เหมือนกันกับเสียง เหมือนกันกับกลิ่น
เหมือนกับรส เหมือนกับโผฏฐัพพะ
เราจะรู้ก็ต่อเมื่อ เราอยากจะรู้
หรือบางที มันก็รู้โดยที่ไม่อยากจะรู้มันก็ได้"

     ผมเสนอแนะ
       ไม่เหมือนกันนะครับ....  ธรรมมารมณ์เกิดจากภายในใจเอง  แต่อย่างอื่นเกิดจากภายนอกกระทบ ย่อมต่างกันอย่างสิ้นเชิ่ง

      เสียงกระทบหู หรือ ตากระทบแสงสะทอน หรืออมวัตถุในปากกระทบกับลิ้น หรือมีกลิ่นโชยมากระทบจมูก หรือมีอะไรมากระทบร่างกาย เมื่อเราไม่ได้สนใจเพราะสนใจสิ่งอื่น หรือจดจ่อในสิ่งอื่น ก็ย่อมไม่รับรู้สิ่งที่กระทบนั้นได้ คือไม่เกิดผัสสะรับทราบรูปที่ปรากฏนั้นเองที่จะพัฒนาเป็น วิญญาณขันธ์ ตามแหล่งแห่งที่นั้นๆ
       แต่อารมณ์หรือธรรมมารมณ์ที่เกิดจากใจโดยตรง หลีกเลี่ยงได้ยาก แม้ว่าเราจะบังคับให้อยากหรือไม่อยากก็ไม่ได้ดังใจหลอกครับ สิ่งที่ดับหรือบรรเทาได้ก็มี แต่สติปัญญาที่พัฒนาขึ้นเท่านั้น

        ขอโทษอีกครั้งที่พิมพตรงๆ ว่า ที่ผ่านๆ มา คุณปล่อยรู้ ยังไม่เข้าใจเรื่อง รูปกับนามอย่างชัดเจน  ผมจะสรุป เหตุปัจจัย ของ รูป กับ นาม ให้ดูดังนี้

          บางครั้ง รูปเกิดก่อน    นามเกิดทีหลัง
          บางครั้ง นามเกิดก่อน  รูปเกิดทีหลัง
          บางครั้ง นามเกิดก่อน  นามเกิดตามทีหลัง

               เป็นเหตุเป็นปัจจัยกันตามข้างบน  ถ้าปฏิบัติธรรมสติเป็นปัจจุบันเห็นภาวะธรรมอย่างข้างบนและแยกได้อย่าดี  ก็จะแตกฉานใน  ปัจจัยปริคคหาญาณ (วิปัสสนาญาณที่ 2)

 

ตอบโดย: Vicha 29 ก.พ. 51 - 10:14


รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ
ที่พี่วิชาให้เกียรติสนทนาแลกเปลี่ยนธรรมด้วย...
ยินดีน้อมรับในการบอกชี้ขุมทรัพย์จากพี่วิชาด้วยความปิติอย่างเต็มที่ครับ...

"ธรรมมารมณ์ไม่มีอะไรที่ผิดแผกแตกต่างไปจาก
รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ แต่อย่างใด"

ความหมายนี้ ผมพยายามสื่อให้เห็นว่ามันอยู่ในหมวดเดียวกัน
เวลาที่เราอ่านพบเจอ ก็มักจะเจอทั้งหมด
รูป รส กลิ่น เสียงโผฎฐัพพะ ธรรมมารมณ์ อยู่อย่างนี้เสมอ...

การเกิดมีขึ้น การดับสลายของมันนั้น
ที่ผมเห็นว่า ไม่มีอะไรที่แตกต่างกันเลย
มันก็ล้วนสักแต่ว่าเกิดขึ้นมาจากสังขาร ด้วยกันทั้งนั้น
มันต่างก็ถูกรับรู้ จากวิญญาณเหมือนๆกัน...

ธรรมมารมณ์ ถูกรู้โดยมโนวิญญาณ
สติ คือธรรมที่เข้าไประลึกรู้ ว่าอะไรกำลังเกิดปรากฏ
  
มโนวิญญาณ ก็ส่วนมโนวิญญาณ
สติ ก็ส่วนสติ
ธรรมมารมณ์ ก็ส่วนธรรมมารมณ์
ท่านจัดแยกจำแนกหน้าที่ไว้อย่างดีแล้ว

การเกิดดับของวิญญาณ
ท่านก็บอกเอาไว้ดีแล้วเช่นกัน


(เสียงกระทบหู หรือ ตากระทบแสงสะทอน หรืออมวัตถุในปากกระทบกับลิ้น หรือมีกลิ่นโชยมากระทบจมูก หรือมีอะไรมากระทบร่างกาย เมื่อเราไม่ได้สนใจเพราะสนใจสิ่งอื่น หรือจดจ่อในสิ่งอื่น ก็ย่อมไม่รับรู้สิ่งที่กระทบนั้นได้ คือไม่เกิดผัสสะรับทราบรูปที่ปรากฏนั้นเองที่จะพัฒนาเป็น วิญญาณขันธ์ ตามแหล่งแห่งที่นั้นๆ)

ความเห็นของพี่วิชาตรงนี้ ผมขออนุญาตเห็นแย้งหน่อยครับ
เพราะถึงแม้นว่าเราจะไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ
แต่ผัสสะก็ยังมีสิทธิเกิดขึ้นได้โดยที่เราไม่มีเจตนาครับ

ยกต.ย  เมื่อพี่วิชากำลังนั่งดูลมหายใจ อย่างจดจ่อ
จู่ก็มีเสียงดังเข้ามากระทบหู
จู่ก็มีกลิ่นโชยมาให้ได้ดม
จู่ธรรมมารมณ์เกิดก็เกิดขึ้นมาให้รับรู้
จู่ก็มีมดมาไต่ที่กายให้รับรู้

เพราะสังขาร มิใช่เรา มิใช่ตัวตนของเรา
เพราะวิญญาณ มิใช่เรา มิใช่ตัวตนของเรา
เพราะรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ธรรมมารมณ์ มิใช่เรา มิใช่ตัวตนของเรา
เราจึงไม่อาจสามารบังคับมันได้
มันจะเกิด มันจะดับ มันก็เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยของมัน

เราทำได้แต่เพียงเฝ้าดู เฝ้ารู้ เฝ้าเห็น มันได้แค่นั้นเอง...
มันเกิดก็รู้ มันดับก็รู้
มันเกิดเพราะอะไร ก็รู้
มันดับไปเพราะอะไรก็รู้

จนกว่าเราจะเชื่ออย่างสนิทใจเลยว่า
มันไม่ใช่เรา มันไม่ใช่ตัวตนของเราแต่อย่างไรเลย
ความเป็นทุกข์เพราะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมมารมณ์
ก็จะเบาบางหมดสิ้นไป

การแลกเปลี่ยนสทนาธรรมกันอยู่นี้
ก็เพื่อปล่อยวาง เพื่อความเบื่อหน่ายใน
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมมารมณ์ เพียงเท่านี้เอง

การที่เราจะปล่อยวาง หรือเบื่อหน่าย หรือไม่สนใจ
ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งลงไปได้นั้น เราคงต้องรู้ คงต้องมองเห็น
ความไม่น่ายินดี ความไม่มีประโยชน์ ความไม่มีสาระ ของสิ่งสิ่งนั้น
จนประจักษ์แจ้ง เราถึงจะสละละวางปล่อยทิ้งมันไปได้...
และการที่เราจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งหลายทั้งปวง
ในรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ธรรมมารมณ์
ใน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้งหลายทั้งปวงให้ได้นั้น ก็เป็นดุจเช่นเดียวกัน...


ส่วนตัวผมเอง ไม่นิยมยินดีที่จะไปสนใจว่าอะไรเกิดก่อน อะไรเกิดทีหลัง
ไม่สนใจที่จะรู้ว่าอะไรคือรูป อะไรคือนาม

เพราะพอเข้าใจดีแล้วว่า
ทั้งรูปทั้งนามทั้งหลายนั้น ก็ล้วนสักแต่เป็นเพียงสังขาร
ที่เกิดขึ้นจากเหตุปัจจัยปรุ่งแต่งด้วยกันเหมือนกันทั้งหมดทั้งสิ้น ก็เท่านั้นเอง

กล่าวมาถึงตรงนี้คราวใด ก็ให้นึกถึงคำของพระพุทธเจ้าที่บอกว่า
เธอจะมัวไปสนใจว่าลูกศรที่ยินมาเสียบอกเธออยู่นั้น
มันทำด้วยอะไร มันยิงมาจากทางทิศไหน และใครเป็นคนยิง
เธอจะได้ประโยชน์อะไรกันจากการรู้เช่นว่านั้น...

การศึกษาธรรม ประสพการณ์ในทางธรรม ของผมยังอ่อนแออยู่
การกล่าวสนทนาธรรมใดๆ กับพี่วิชา อาจจะมีบางส่วนบางตอน
กล่าวไปโดยไม่สมควร ไม่เหมาะสม
ก็ต้องกราบขออภัยพี่วิชาด้วยนะครับ

ยินดีน้อมรับการชี้ขุมทรัพย์จากพี่วิชา ด้วยความปิติเป็นอย่างยิ่งครับ...








 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 29 ก.พ. 51 - 19:54


 

ตอบโดย: ธรรมชาติธรรมะ 29 ก.พ. 51 - 23:26


อ้างถึง
การที่เราจะปล่อยวาง หรือเบื่อหน่าย หรือไม่สนใจ
ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งลงไปได้นั้น เราคงต้องรู้ คงต้องมองเห็น
ความไม่น่ายินดี ความไม่มีประโยชน์ ความไม่มีสาระ ของสิ่งสิ่งนั้น
จนประจักษ์แจ้ง เราถึงจะสละละวางปล่อยทิ้งมันไปได้...
และการที่เราจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งหลายทั้งปวง
ในรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ธรรมมารมณ์
ใน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้งหลายทั้งปวงให้ได้นั้น ก็เป็นดุจเช่นเดียวกัน...

        ผมขอเสริมตรงนี้นิดนึง ผิดถูกขออภัยครับ
การที่จะเบื่อหน่าย และปล่อยวางได้ จิตจะต้องประจักษ์ว่า(เจอบ่อยๆๆๆๆๆจนเบื่อสุดๆ)
ในความไม่เที่ยง ความไม่แน่นอน(ความแปรปรวน)นั้น นำความทุกข์ใจมาให้(ผิดหวังเป็นประจำอย่างแน่นอน)

อ้างถึงเพราะธรรมที่เข้าไปรู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออกนั้นก็ไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเรา ว่าเป็นตัวตนของเรา...

        ถามคุณปล่อยรู้ครับว่า ธรรมที่เข้าไปรู้นั้น ดับอย่างไร(มีอาการอย่างไร) เช่นดับไปต่อหน้าต่อตาคือหายไปเลยใช่ไหม    ขอขอบคุณครับ



 

ตอบโดย: svonnu48 01 มี.ค. 51 - 02:12


(...อ้างถึงเพราะธรรมที่เข้าไปรู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออกนั้นก็ไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเรา ว่าเป็นตัวตนของเรา...)

ถามคุณปล่อยรู้ครับว่า ธรรมที่เข้าไปรู้นั้น ดับอย่างไร(มีอาการอย่างไร) เช่นดับไปต่อหน้าต่อตาคือหายไปเลยใช่ไหม    ขอขอบคุณครับ...


สวัสดีครับคุณเอสวีโอ.48...
กราบขออนุญาตพี่วิชาครับ...

ธรรมที่เข้าไปรู้ลมหายใจเข้าออกนั้น ดับอย่างไร?
"สุดแล้วแต่เหตุปัจจัยที่มาทำให้ดับไปครับ"

และตัวธรรมที่กำลังเข้าไปรู้ลมหายใจเข้าออกอยู่นั้น เป็นตัวธรรมชนิดไหนกัน
 
ถ้ารู้ดูอยู่ที่ปลายจมูก หรือในโพรงจมูก ก็หมายถึงกายยะวิญญาณ
เพราะถือว่ามีลมมากระทบที่กาย(จมูก โพรงจมูก เป็นอวัยะวะส่วนหนึ่งของร่างกาย)

กายะวิญญาณจะดับหายไป ก็ต่อเมื่อมีเหตุมีปัจจัยมาทำให้มันดับไป
จู่ๆเสียงก็ปรากฏเข้ามาให้ได้ยิน
นั้นก็แสดงว่า กายยะวิญญาณก็ดับหายไปแล้ว เปลี่ยนไปเป็นโสตวิญญาณแทน...

แต่ถ้าธรรมนั้นหมายถึง ตัวสติ สัมปชัญญะ แล้วละก็
ธรรมนั้น มันจะไม่ไปกำหนดอยู่ที่ฐานใดฐานหนึ่งโดยตรง
แต่มันกำลังระลึกรู้อยู่ว่าทุกขณะว่า ในขณะนี้อะไรกำลังปรากฏอยู่
ลมหายใจปรากฏขึ้นมา ก็ระลึกรู้
เสียงปรากฏขึ้นมา ก็ระลึกรู้
กลิ่นปรากฏขึ้นมา ก็ระลึกรู้
ธรรมมารมณ์ปรากฏ ขึ้นมาก็ระลึกรู้

ตัวจักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ
ฆานะวิญญาณ กายะวิญญาณ มโนวิญญาณ
ถ้าผู้ปฏิบัติเข้าใจกระบวนการ ของการเกิดขึ้น มีขึ้น
ของอายะตะนะ(ใน-นอก)ได้อย่างประจักษ์แจ้ง
ก็สามารถที่จะมองเห็นการเกิดดับของตัวจักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ
ฆานะวิญญาณ กายะวิญญาณ มโนวิญญาณ ได้อย่างต่อหน้าต่อตา(ปัญญาญาณ)

(การเกิดดับของวิญญาญแต่ละตัว
ถ้าดับแล้วจะมีอาการเช่นใด)?

การเกิดดับของวิญญาณก็อาการอย่างหนึ่ง...
แต่ถ้าเป็นการปล่อยวางวิญญาณก็อาการอย่างหนึ่ง...

ผู้ที่ปฏิบัติจนได้ฌาน จนสามารถที่จะบังคับวิญญาณได้
ก็จะมีอาการ(เวทนา)อย่างใดอย่างหนึ่ง สุดแท้แต่พลังของแต่ละท่าน
แต่อาการ(เวทนา)ต่างๆทั้งหลายนั้นก็ย่อมไม่เที่ยงอยู่ดี
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นไม่ควรยึดมั่นถือมั่น...

การปล่อยวางวิญญาณ คือการไม่ยึดมั่นถือมั่นว่า วิญญาณเป็นเราเป็นตัวตนของเรา
ถ้าปล่อยวางได้ ถามว่าจะมีอาการ(เวทนา)เช่นใด
อันนี้ไม่มีคำตอบครับ....

คำว่า"อาการ"ซึ่งผมหมายถึงเวทนา(ความรู้สึก)
ย่อมบังเกิดมีได้เพราะมีวิญญาณเป็นเหตุเป็นปัจจัย
เมื่อวิญญาณไม่ถูกยึดมั่นถือมั่นเอาไว้ ถูกปล่อยวางได้แล้ว
อาการหรือเวทนาใดที่เกิดมีขึ้นเพราะวิญญาณ
มันก็ย่อมไม่ปรากฏเกิดขึ้น...ผมจึงหาคำตอบให้ไม่ได้...(สันทิฏฐิโก)

ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ ที่ได้สนทนาแลกเปลี่ยนธรรมกับคุณเอสวีโอ48...











 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 01 มี.ค. 51 - 08:11


ตอบคุณปล่อยรู้
ขออนุญาตคุณ Vichaนะครับ
      ผมเคยปฏิบัติวิธีของผมแล้วสติเกิด  เคยรู้สึกว่า จักขุวิญญาณดับไปต่อหน้าต่อตา แต่ยังไม่เคยเห็น โสต ฆาน
ชิวหา กาย และมโนวิญญาณดับไปต่อหน้าต่อตา แต่ก็รู้สึกว่าไม่ใช่คน สัตว์เป็นเพียงแค่สภาวะธรรมเท่านั้น
  เคยอ่านพบว่า ต้องมองออกด้วยว่าผู้รู้ก็ไม่ใช่คนสัตว์จึงจะดับความมีตัวตนได้หมด ผมจึงถามมาว่าการเห็นผู้รู้ดับไปด้วยนั้นมีอาการอย่างไร
ไม่ทราบว่าคุณปล่อยรู้จะทราบไหมครับ?

     การปล่อยวางคิดว่า(ผิดถูก ขออภัย)ก็คือการปล่อยวางผัสสะเช่น สวย กลางๆ ไม่สวย จิตก็ยอมรับได้ ไม่รู้สึกอะไร(ไม่เอาเวทนา)
จิตไม่ส่งออก (ไม่มีเวทนาเกิด)  การเห็นวิญญาณเป็นอนัตตาคิดว่า(ผิดถูก ขออภัย)เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการปล่อยวาง จะปล่อยวางหมดก็คือไม่เพลิดเพลินเวทนาจนเกิดเป็นตัณหาครับ

ตอบโดย: svonnu48 01 มี.ค. 51 - 09:06


(เคยอ่านพบว่า ต้องมองออกด้วยว่าผู้รู้ก็ไม่ใช่คนสัตว์จึงจะดับความมีตัวตนได้หมด ผมจึงถามมาว่าการเห็นผู้รู้ดับไปด้วยนั้นมีอาการอย่างไร
ไม่ทราบว่าคุณปล่อยรู้จะทราบไหมครับ?)

ผมก็คงยืนยันในคำตอบเดิมว่า
เมื่อมีผู้รู้ ก็ย่อมมีสิ่งที่ถูกรู้
เมื่อมีผู้รู้ มีสิ่งที่ถูกรู้ ก็ย่อมมีเวทนา (ความรู้สึกหรือมีอาการ)

เมื่อไม่มีผู้รู้ ก็ย่อมไม่มีสิ่งที่ถูกรู้
เมื่อไม่มีผู้รู้ ไม่มีสิ่งที่ถูกรู้ เวทนา(ความรู้สึกหรืออาการ)จะปรากฏมีได้อย่างไร

(การเห็นผู้รู้ดับไปด้วยนั้นมีอาการอย่างไร)?....

คุณกำลังจะสื่อถึงอาการหลังจากผู้รู้(ที่ยังมีความยึดมั่นถือว่าเป็นตัวตน)
ดับไปแล้วใช่ไหมครับ...

ตามความเห็น ตามความเข้าใจของผม ผมเห็นดังนี้ครับ
ถ้าผู้รู้ดังที่ว่ามานั้น หมดสภาพความยึดถือมั่นในความเป็นอัตตาตัวตนได้แล้ว
อาการของมันไม่สามารถอธิบายออกมาได้หรอกครับ ว่ามันจะมีอาการเช่นไร
มันต้องรู้เองเห็นเอง...


แต่ถ้าจะให้อธิบายเทียบเคียง ตามสติปัญญาอันน้อยนิดเท่าที่ผมมีอยู่นั้น
ผมพอมีความเห็นดังนี้ว่า...
ไม่ใช่อาการที่มีอยู่ในอากาสานัญจาฯ
ไม่ใช่อาการที่มีอยู่ในวิญญานัญจาฯ
ไม่ใช่อาการที่มีอยู่ในอากิญจัญญาฯ
ไม่ใช่อาการที่มีอยู่ในเนวะสัญญานัญสัญญาฯ...
ส่วนมันจะเป็นอาการแบบใดนั้น ผมหมดความสามารถที่จะอธิบายได้ครับ...

เป็นคำถามที่ลุ่มลึกดีมากเลยครับคุณเอสฯ...
คำตอบของผมกับคำถามนี้  ตีความกันได้หลายชั้นเลยนะครับ...

ปัญหาของนักดูจิต ที่เป็นด่านสุดท้าย
ก็คือการไม่ยึดมั่นถือมั่นในตัวผู้รู้ ในสภาพรู้ใดๆทั้งหลาย
ว่าเป็นเรา เป็นของเรา ว่าเป็นตัวตนของเรา...

อวิชชา คือความไม่รู้ เป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้เกิดสังขาร
เพราะสังขาร เป็นเหตุเป็นปัจจัย ทำให้เกิดวิญญาณ
เพราะวิญญาณ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ทำให้เกิดนามรูป
เพราะนามรูป เป็นเหตุเป็นปัจจัย ทำให้เกิดสฬายะตนะ
เพราะสฬายะตะนะ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ทำให้เกิดเวทนา

เพราะมีเวทนา จึงมีตัณหา
เมื่อมีตัณหาจึงมีอุปาทาน(ยึดมั่นถือมั่น)

เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ

เวทนาดับได้เพราะอะไร เพราะผัสสะดับ
ผัสสะดับได้เพราะอะไร เพราะสฬายะตะนะดับ
สฬายะตะนะดับได้เพราะอะไร เพราะนามรูปดับ
นามรูปดับได้เพราะอะไร เพราะวิญญาณดับ
วิญญาณดับได้เพราะอะไร เพราะสังขารดับ
สังขารดับได้เพราะอะไร เพราะอวิชชาดับ

อวิชาดับได้เพราะ เพราะวิชาเกิด...
วิชาเกิดได้เพราะอะไร เพราะการสนทนาธรรม ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม...

ยินดีที่ได้สนทนาแลกเปลี่ยนธรรมกันครับ...























 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 01 มี.ค. 51 - 14:42


ตอบคุณปล่อยรู้
อ้างอิง
เวทนาดับได้เพราะอะไร เพราะผัสสะดับ

ผมคิดว่า(ผิดถูก ขออภัย) เวทนาดับเพราะตัณหาดับ (ไล่ย้อนขึ้นไป)
ตัณหาดับเพราะอุปทานดับ อุปทานดับก็คือ สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น นั่นเอง

คิดว่า(ผิดถูก ขออภัย) การทำลายผู้รู้ได้ จิตก็เป็นอีกแบบไป การดับอุปทานได้จิตก็พัฒนาไปอีกคือ เวทนาไม่เกิด
เมื่อเห็นก็สักว่าเห็นคือ สวยก็ได้ กลางๆก็ได้ ไม่สวยก็ได้ จิตไม่รู้สึกอะไร จิตไม่ส่งออก
การไม่เอาเวทนาคือการไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไร เพราะเวทนาไม่เที่ยง ไม่แน่นอน เกิดขึ้นแล้วก้ดับไป
เวทนาน่าเบื่อ! เวทนานำความทุกข์ใจมาให้ เวทนาไม่ควรเกิด! เวทนาเกิดขึ้นมาทีไรก็นำความความทุกข์ใจมาให้ทุกครั้ง เวทนาควรตัดออกไป! เวทนาเปรียบเสมือนเนื้อร้ายที่ควรตัดออกไป
            

ตอบโดย: svonnu48 01 มี.ค. 51 - 17:28




                ===================================


      ผมว่าอย่าเพิ่งไปปรุงแต่งอะไรเลย ครับ .... เดี๋ยวจะฟุ้งซ่านไปใหญ่ ....  หมั่นเห็นสภาวะธรรมบ่อยๆ  เดี๋ยวก็ได้คำตอบในใจเองครับ  ... จะเห็นตรงตามคำสอนพระพุทธเจ้าทุกอย่างนั่นแระครับ ...

           อ้างอิง
คิดว่า(ผิดถูก ขออภัย) การทำลายผู้รู้ได้ จิตก็เป็นอีกแบบไป การดับอุปทานได้จิตก็พัฒนาไปอีกคือ เวทนาไม่เกิด
เมื่อเห็นก็สักว่าเห็นคือ สวยก็ได้ กลางๆก็ได้ ไม่สวยก็ได้ จิตไม่รู้สึกอะไร จิตไม่ส่งออก
การไม่เอาเวทนาคือการไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไร เพราะเวทนาไม่เที่ยง ไม่แน่นอน เกิดขึ้นแล้วก้ดับไป
เวทนาน่าเบื่อ! เวทนานำความทุกข์ใจมาให้ เวทนาไม่ควรเกิด! เวทนาเกิดขึ้นมาทีไรก็นำความความทุกข์ใจมาให้ทุกครั้ง เวทนาควรตัดออกไป! เวทนาเปรียบเสมือนเนื้อร้ายที่ควรตัดออกไป



           ผมว่าอย่าเพิ่งไปทำลายผู้รู้อะไรเลยนะครับ ...  การทำลายผู้รู้นั้นอยู่ในอริยบุคคล ที่ใก้ลพระอรหันต์ ...  นะครับ ... คนละเรื่องกับพวกเราเลยครับ ...

          เราเองก็ห้ามเวทนาไม่ให้เกิดไม่ได้นะครับ ...  เพราะเวทนา ก็ตกอยู่ในพระไตรลักษณ์ .... แต่เราห้ามใจไม่ให้ไปยินดียินร้าย กับเวทนาได้นะครับ ... ทุกข์ควรกำหนดรู้  ...สมุทัย ควรละ ....

            การจะปล่อยเวทนา ปล่อยรู้ได้  ก็ควรที่จะให้จิตเรียนรู้เองนะครับ... ไม่ใช่เราไปนึกคิดเอาเอง ... ให้เค้าเห็นเค้าปล่อย  เค้าวางนะครับ ...  ไม่ใช่เราเป็นคนวาง ...  อย่าเพิ่งไปปรุงแต่งเองเลย .. เดี๋ยวเกิดสัญญาผิดๆ  ขึ้นใจ เดี๋ยวจะบังความจริง เสียเปล่าๆ ครับ ...
                      
                ===================================
 

ตอบโดย: คนผ่านทาง 01 มี.ค. 51 - 20:16


ตอบคุณคนผ่านทาง
ผมไม่ได้ปรุงแต่งครับ พูดตามพระสูตรดังนี้
เวทนา ๓


             [๒๗๓]  อัคคิเวสสนะ เวทนาสามอย่างนี้ คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑. อัคคิเวสสนะ สมัยใดได้เสวยสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้น. ในสมัยใดได้เสวยทุกขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่ทุกขเวทนาเท่านั้น. ในสมัยใดได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ได้เสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น. อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้นอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา. แม้ทุกขเวทนาก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา. แม้อทุกขมสุขเวทนาก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา. อัคคิเวสสนะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายทั้งในสุขเวทนา ทั้งในทุกขเวทนา ทั้งในอทุกขมสุขเวทนา เมื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. อัคคิเวสสนะ ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แล ย่อมไม่วิวาทแก่งแย่งกับใครๆโวหารใดที่ชาวโลกพูดกัน ก็พูดไปตามโวหารนั้น แต่ไม่ยึดมั่นด้วยทิฏฐิ.
  
หมั่นเห็นสภาวะธรรมบ่อยๆ อันนี้เห็นด้วย ถ้าพิจารณาธรรมบ่อยๆด้วยก็คิดว่าดีครับ
     การทำลายผู้รู้ ก็ยังไม่ได้คิด เพียงแต่คิดไปว่าจิตน่าจะเปลี่ยนไป แค่นั้นเอง แค่สนทนาธรรม
การจะทำลายผู้รู้คิดว่า(ผิดถูก ขออภัย) จะเกิดเองเมื่อถึงเวลา

เราเองห้ามเวทนาไม่ให้เกิดไม่ได้ อันนี้คิดว่าถูกต้องครับ แต่คิดว่าพระอรหันต์ท่านปล่อยวางได้แล้ว ท่านก็ห้ามไม่ให้เวทนาเกิดได้ครับ พระสูตรต่างๆก็บอกเราแบบนี้ เราก็คิดไปและเชื่อไปด้วยปัญญา จะได้ไม่งมงาย
  
การปล่อยรู้นี้ผมก็ประสบด้วยตนเองมาก่อนครับ การปล่อยเวทนาก็ดูตามที่พระสูตรสอนครับว่า มันน่าเบื่อหน่าย ว่ามันควรสละออกไป อันนี้คิดว่าพระสูตรสอนให้พิจารณาด้วยจิต(เจริญสติ)ครับ
      การพิจารณาธรรมคิดว่า(ผิดถูก ขออภัย)ทำให้มุมมองกว้างออกไป คิดว่าไม่เป็นสัญญาผิดๆถ้าเรารอบคอบและดูเปรียบเทียบจากพระสูตรต่างๆ แล้วเราก็เชื่อด้วยปัญญาของเราตามพระสูตรที่กล่าวถึง หลักความเชื่อที่ถูกต้องครับ

      ขอขอบคุณครับที่เตือน มีอะไรอีก ช่วยเหลือเตือนด้วยนะครับ การสนทนาธรรมก็ยากแก่การให้เข้าใจทุกฝ่าย
เพราะเราไม่มีญาณรู้ภูมิธรรมและจริตแต่ละท่าน ผิดถูกก็ขออภัยทุกๆท่านมาณที่นี้ด้วย(ถ้ากระทบกระเทือน) จุดประสงค์ก็เพื่อความถูกต้องทางธรรม จะได้ไม่เดินทางผิดครับ

ตอบโดย: svonnu48 02 มี.ค. 51 - 02:43




                ====================================


        สาธุ กับคุณ svonnu48 ด้วยครับ  ที่เห็นเวทนาตามพระพุทธเจ้าทรงสอน ...  

[๒๗๓]  อัคคิเวสสนะ เวทนาสามอย่างนี้ คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑. อัคคิเวสสนะ สมัยใดได้เสวยสุขเวทนา

            ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้น.

            ในสมัยใดได้เสวยทุกขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่ทุกขเวทนาเท่านั้น.

            ในสมัยใดได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ได้เสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น.

            อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้นอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา. แม้ทุกขเวทนาก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา. แม้อทุกขมสุขเวทนาก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา.

             อัคคิเวสสนะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายทั้งในสุขเวทนา ทั้งในทุกขเวทนา ทั้งในอทุกขมสุขเวทนา เมื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

              อัคคิเวสสนะ ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แล ย่อมไม่วิวาทแก่งแย่งกับใครๆโวหารใดที่ชาวโลกพูดกัน ก็พูดไปตามโวหารนั้น แต่ไม่ยึดมั่นด้วยทิฏฐิ.


                 ============================

    "  การปล่อยรู้นี้ผมก็ประสบด้วยตนเองมาก่อนครับ การปล่อยเวทนาก็ดูตามที่พระสูตรสอนครับว่า มันน่าเบื่อหน่าย ว่ามันควรสละออกไป อันนี้คิดว่าพระสูตรสอนให้พิจารณาด้วยจิต(เจริญสติ)ครับ....."

          ผมว่าน่าจะใช้คำตรงๆ ดีกว่านะครับ .. เป็นโวหารที่ชาวโลกพูดกันนะครับ   ไม่ใช่บัญญัติ ศัพท์ใหม่  เช่น ปล่อยรู้ ...  ปล่อยเวทนา    ที่คุณ svonnu48  บัญญัติขึ้นมาเอง นะครับ  เพราะ ตามหาต้นตอยาก  และ มีโอกาสที่คนอื่นจะสับสนกับการปล่อยรู้ จนลืมดูสภาวะที่แท้จริง มีสูง นะครับ   เพราะคนทั่วไปมัวแต่จะจ้อง ปล่อยรู้  ปล่อยเวทนา  เห็นอะไร ก็ปล่อยหมด   ที่เข้ามาสัมผัส ปล่อยหมด  ซึ่งทำบนพื้นฐานด้วยความจงใจ ปล่อย ...    ไม่ใช่การศึกษาแบบที่คุณ svonnu48 มีเจตนาดี ที่ให้เค้าเห็นสภาวะตามพระไตรปิฏกที่คุณอยากให้เป็นนะครับ ...  อาจทำให้เค้าพลาดจากการเห็นสภาวะธรรม  จริงๆ  เพราะ เหตุสมมุติ(ปล่อยรู้) บัง ความจริง นะครับ ...

           ผมเลยบอกคุณsvonnu48    ให้ทราบตรงจุดนี้ไว้ นะครับ ... เผื่อจะไปสนทนาธรรม  กับคนอื่นจะได้พูดตรงกันนะครับ ....  เพราะท่านอื่นๆ  อาจไม่ทราบคำใหม่ๆ เช่น ปล่อยรู้ ปล่อยเวทนา  อะไร อย่างนี้นะครับ ....   เลยผู้ที่ศึกษาใหม่ จะได้ทราบว่า  ปล่อยรู้ คือ อะไร  ปล่อยเวทนา คือ อะไร  ซึ่งตรงกับพระไตรปิฏก คือ  สภาวะอะไร  อย่างงี้นะครับ ... จะได้ไม่สับสนทั้งผู้ศึกษาใหม่ กับ ผู้ปฏิบ้ติเก่า นะครับ .....  เลยบอกให้ทราบนะครับ ...

            หมู่นี้มีแต่คนบัญญัติ ศัพท์ใหม่ๆ  อยู่เรื่อย ....  กลัวว่าจะเหมือนกลองอะทากะ ที่โดนปิดแล้วปิดอีก    จนบังของเดิมจนหมดสิ้น  เห็นแล้วน่าเป็นห่วงนะครับ ...


            ===============================
 

ตอบโดย: คนผ่านทาง 02 มี.ค. 51 - 09:24


ขอขอบคุณ คนผ่านทางครับ

ตอบโดย: svonnu48 02 มี.ค. 51 - 10:49


เวทนาย่อมเกิดจากผัสสะ
ผัสสะ...มีสิ่งที่รู้ กับสิ่งที่ถูกรู้

เมื่อใดที่มองเห็นได้ว่า  ทั้งสิ่งที่ถูกรู้ และสิ่งที่เข้าไปรู้
นั้นไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

เวทนาอันเกิดจากผัสสะ ก็ย่อมที่จะถูกมองเห็นไปด้วยว่า
ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเราจริงๆ

ปัญหามันก็อยู่ตรงที่ว่า
จะเห็นได้อย่างไรว่า สิ่งที่เข้าไปรู้และสิ่งที่ถูกรู้นั้น ไม่ใช่เรา นั้นไม่ใช่ตัวตนของเรา

ไม่ว่าจะเป็นสภาพ สภาวะธรรมใดๆที่ปรากฏเกิดขึ้น
ตัวธรรมใดๆก็ตามที่เข้าไปรับรู้ในสภาพ ในสภาวะธรรมนั้นๆ
จะเรียกตัวธรรมที่เข้าไปรับรู้นั้นว่าอะไรๆก็ตามแต่เช่น
กำหนดรู้ หรือรู้เฉยๆ หรือรู้ไม่เพ่ง รู้ไม่เผลอ รู้ไม่เพลิน
หรือรู้ด้วยสติ รู้ด้วยปัญญา
ตัวธรรมที่เข้าไปรับรู้ธรรมที่ถูกรู้นั้น ก็ไม่ใช่อัตตาตัวตนของเรา ไม่ใช่เรา...

ทำอย่างไรจึงจะเห็นได้เช่นว่านี้
ก็ต้องเห็นความเกิดดับ ความไม่เที่ยงของธรรมที่ถูกรู้ กับธรรมที่เข้าไปรู้นั้นๆ
ให้เห็นประจักษ์แจ้งจริงๆ จนไม่สงสัย จนไม่ต้องถามใครๆอีกต่อไป...

ถามว่า เวทนาที่เกิด เกิดขึ้นที่ไหน
ตอบว่า เกิดขึ้นที่ผัสสะ ใช่ไหม

ถามว่า ผัสสะ เกิดขึ้นที่ไหน
ตอบว่า เกิดขึ้นที่อายะตะนะใช่ไหม

ถามว่า อายตนะ เกิดขึ้นที่ไหน
ตอบว่า เกิดขึ้นที่นามรูป

ถามว่า นามรูป เกิดขึ้นที่ไหน
ตอบว่า เกิดขึ้นที่วิญญาณ

ถามว่า วิญญาณเกิดขึ้นทีไหน
ตอบว่า เกิดขึ้นที่สังขาร

ถามว่า สังขารเที่ยงหรือไม่เที่ยง เป็นเราเป็นตัวตนของเราหรือไม่
ตอบว่า ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตนของเรา

ถามว่า ในเมื่อสังขารไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตนของเรา
แล้วจะยึดถือ จะสำคัญมั่นหมาย ในสังขารทั้งหลายอีกต่อไปทำไม

รูปฌาน อรูปฌาน ก็ยังไม่เที่ยง
รวมทั้งตัวธรรมที่เข้าไปเสพสัมผัสในรูปฌาน ในอรูปฌาน นั้นก็ไม่เที่ยง...
เวทนาที่มีอยู่ในรูปฌาน ในอรูปฌาน ทั้งหลายนั้น ก็ไม่เที่ยง...

ความไม่เที่ยง มันต้องเห็นจริงๆ
มันถึงจะทิ้ง มันถึงจะปล่อย มันถึงจะเบื่อหน่าย
มันถึงสำรอกเอาออกไปได้จริงๆ...

ร่างกายนี้ บุคคลทั่วไปก็เห็นได้ว่ามันไม่เที่ยง
ส่วนจิตใจ ความรู้สึกนึกคิดทั้งหลาย
บุคคลโดยทั่วไปจะเห็นว่ามันไม่เที่ยงนั้น ย่อมเป็นเรื่องที่มองเห็นได้ยาก

แม้แต่นักปฏิบัติดูจิตทั้งหลายในบางบุคคลเอง
ก็ยังไม่อาจที่จะมองความไม่เที่ยงของจิตจริงๆ

เพราะถ้าเห็นความไม่เที่ยงของจิตได้จริงๆ
มันก็จะวางจิตได้ มันก็จะเลิกหลงยึดมั่นถือมั่นว่าจิตนี้เป็นเราเป็นตัวตนของเรา ได้จริง...

คำว่า"จิต" นี้ เป็นธรรมที่ยุ่งยาก สลับสับซ้อน ยากที่จะทำความเข้าใจ
ถึงธรรมชาติของมัน ได้โดยง่าย...

แต่ด้วยพระปัญญาญาณของพระพุทธเจ้า
ท่านสามารถพอที่จะสรุปธรรมชาติของมันได้ว่า
องค์ประกอบของจิต มันก็มีอยู่เพียงแค่ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณนี้เท่านั้น

ถามว่า การปฏิบัติดูจิต ดูอะไรกัน
ก็ดูวนเวียน อยู่ในธรรมชาติทั้งสี่อย่างนี้เท่านั้น

ดูจนเห็นความไม่เที่ยง ไม่น่ายึดถือ
ดูจนเห็น ความไม่เป็นตัวตน ความไม่ใช่ตัวตน...

ดูเพื่ออะไร
ก็เพื่อความดับทุกข์ พ้นไปจากทุกข์ เพราะทุกข์ทั้งหลายมันเกิดขึ้นที่จิตนี้
หาได้ดูเพื่อความเป็นพระอริยะ เป็นผู้วิเศษเหนือผู้อื่นแต่อย่างไรไม่...

การช่วยเหลือส่งเสริม แนะนำ ช่วยกันพยุง ช่วยกันประครอง
เพื่อนร่วมทุกข์เกิดแก่เจ็บตาย ให้ว่ายข้ามพ้นห้วงน้ำอันเต็มไปด้วยภัยอันตรายทั้งหลาย
ให้ไปถึงฝัง ให้ขึ้นฝังโดยสำเร็จ ให้ได้ด้วยกัน
ทั้งผู้ที่กำลังว่ายอยู่
ทั้งผู้ที่ใกล้ถึงแล้ว
ทั้งผู้ขึ้นฝังได้แล้ว
ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่น่าอนุโมทนา น่ายกย่องสรรเสริญ เป็นอย่างยิ่ง...

การสนทนาธรรม แลกเปลี่ยนมุมมองในธรรม
ถึงแม้นในบางครั้ง บางคราอาจจะมีความเห็นไม่ตรงกันบ้าง
แต่ก็ไม่น่าจะเป็นเครื่องบันทอนกำลังใจ ให้เกิดความท้อถอย
เกิดความเบื่อหน่ายในการสนทนาแลกเปลี่ยมุมองธรรมด้วยกัน

การจับปลา ล้วนแล้วแต่ความชำนาญของแต่ละบุคคล
บางคนถนัดในการใช้คันเบ็ดตก
บางคนถนัดในการใช้แห
บางคนถนัดในการใช้มือเปล่า
ซึ่งแต่ละคนมีความถนัดมี ความสามารถมี ความเชี่ยวชาญไม่เหมือนกัน
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือจับปลาให้ได้ก็แล้วกัน...

การปฏิบัติธรรม ก็เป็นดุจเช่นเดียวกับการจับปลา
ที่สุดแล้ว ทุกข์ดับได้ พ้นไปจากทุกข์ได้......... เอวัง


























 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 02 มี.ค. 51 - 16:14


ตอบคุณปล่อยรู้ครับ
    รู้สึกยินดีครับ ที่ได้สนทนาด้วย ไม่ทราบว่าคุณVichaไปไหน?
อ้างถึง
ความไม่เที่ยง มันต้องเห็นจริงๆ
มันถึงจะทิ้ง มันถึงจะปล่อย มันถึงจะเบื่อหน่าย
มันถึงสำรอกเอาออกไปได้จริงๆ...


    ผมมีความเห็นว่า(ผิดถูก ขออภัย)เราน่าจะสนใจเวทนาเป็นอันดับแรก เพราะการเห็นความไม่เที่ยงของเวทนา และการเบื่อหน่ายในเวทนา ทำให้พ้นทุกข์ได้ และเป็นวิธีที่ย่อและสั้นที่สุด ตามพระสูตรนี้ครับ (การดูตัวอื่น ก็ดูเป็นรอง)

เคยอ่านพบจาก จูฬตัณหาสังขยสูตร ๑๒/๓๗๘ว่า
      สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
พระ พุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารบุพพาราม เมืองสาวัตถี ท้าวสักกะได้เสด็จไปเฝ้า ทูลถามปัญหาธรรมะ ที่จะเอาชนะตัณหา ชนิดที่สั้นที่สุดย่อที่สุด ความว่า
  " ภิกษุปฏิบัติธรรม ที่ย่อและสั้นเพียงเท่าไร จึงจะได้ชื่อว่าพ้นจากตัณหาอย่างเด็ดขาด?
               พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า

"ภิกษุ พึงทำในใจว่า "สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น"  เธอได้รับเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นสุขก็ดี ที่เป็นทุกข์ก็ดี ที่ไม่สุขไม่ทุกข์ก็ดี เห็นว่าไม่เที่ยง ไม่แน่นอน เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เมื่อพิจารณาดังนั้น จึงไม่ควรยึดมั่นถือมั่นสิ่งใดๆในโลก  ภิกษุปฏิบัติเพียงเท่านี้แล ชื่อว่าชนะตัณหา มีความปลอดโปร่งจากกิเลสทั้งปวง ย่อมประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งปวงด้วย"
           

ผมคิดว่า การประจักษ์ว่า เวทนาไม่เที่ยง ไม่แน่นอน เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป คิดว่าต้องกำหนดรู้ แต่ก็ต้องมีปัญญาทางธรรมด้วยคือ มีดวงตาเห็นธรรม คือประจักษ์ว่า สิ่งใดมีเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นก็ดับไปเป็นธรรมดา

ไม่ทราบว่าคุณ ปล่อยรู้มีความเห็นอย่างไร มีวิธีของตนอย่างไรครับ

ตอบโดย: svonnu48 02 มี.ค. 51 - 17:52


สวัสดีครับคุณเอส.
ยินดีเช่นกันครับ ที่ได้มีโอกาสสนทนาแลกเปลี่ยนมุมมองพุทธธรรมร่วมกันครับ
และขอขอบคุณกระทู้ของพี่วิชาด้วยครับ
ที่เป็นเหตุปัจจัยทำให้ได้สนทธรรมธรรมกับคุณเอสและท่านอื่นๆด้วย...


...ในท้ายที่สุดแล้ว เรามีความเข้าใจ มีความเห็น
ในตัวธรรมที่เข้าไปรู้ลมหายใจเข้าออก
มีความเห็น ความเข้าใจ
ในตัวธรรมที่กำลังเจริญอานาปาฯนั้นอย่างไร...

มันคือจิต มันคือสติ มันคือวิญญาณ มันคือฯลฯ
และที่สุดแล้วมันคือตัวเรา มันเป็นเรา มันคือตัวตนของเราหรือเปล่า?
ถ้าเข้าใจอย่างนี้ ถ้ายังมีความเห็นอย่างนี้ ถ้ายังมีความรู้สึกอย่างนี้
ความเห็น ความเข้าใจ ความรู้สึก นั้นๆ ก็ยังคงเป็นเหมือนกับบุคคลอื่นๆโดยทั่วไป....

แต่หากเมื่อใดสามารถเข้าใจว่า มีความเห็นว่า มีความรู้สึกว่า
ตัวธรรมที่เข้าไประลึกรู้ ที่เข้าไปกำหนดรู้ ดูลมหายใจเข้าออกอยู่นั้น
ที่กำลังเจริญอานาปาฯอยู่นั้น
ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา
ความเห็น ความเข้าใจ ความรู้สึก ดังกล่าวอย่างนี้
ก็ย่อมไม่เหมือนกันกับความเห็น ความเข้าใจ ความรู้สึกของบุคคลธรรมดาโดยทั่วไปแล้ว
ความเห็นเช่นนี้ ความเข้าใจเช่นนี้ ความรู้สึกเช่นนี้
มันย่อมแตกต่างไปจากบุคคลธรรมดาโดยทั่วไปแล้ว...


และเมื่อมีความเห็นความเข้าใจ ว่ามันไม่เราตัวเราแล้ว จนประจักษ์แจ้งชัดแล้ว...
มันก็หมดความลังเลสังสัย หมดความเคลือบแคลงใดๆ
ไม่มีความหวั่นไหว ไม่มีความโคลงเครง แต่ประการใดๆอีกต่อไป...
และพฤติกรรมใดที่เคยประพฤติปฏิบัติมา
ความเชื่อใดๆ ที่เคยเชื่อมาก่อนหน้านี้นั้น ก็เป็นอันถูกยกเลิกไป
ถูกถอนจับโยนทิ้งไปโดยไม่มีเหลือ...

ลมหายใจเข้าออก ยังคงมีอยู่เหมือนเดิม
การตามรู้ดูลมหายใจเข้าออก ยังมีเหมือนเดิม
การอาศัยลมหายใจเข้าออก ยังคงอาศัยอยู่เหมือนเดิม
แต่ความเห็น ความเข้าใจ ความรู้สึก ต่อลมหายใจเข้าออกนั้น
กลับไม่เหมือนเดิมแล้ว
ไม่เหมือนแต่ก่อนแล้ว
ไม่เหมือนกับบุคคลอื่นๆโดยทั่วไปแล้ว...


การ"เกิดขึ้น"ทุกคราเป็นทุกข์ร่ำไป
ขึ้นชื่อว่า"มีการเกิด" ย่อมมีทุกข์ทุกครั้ง
ทุกข์เพราะมันมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความเสื่อมสภาพ(ชรา)
ทุกข์เพราะมันมีการดับสลายหายไป(มรณะ)

การเกิดขึ้นของกาย ก็เป็นทุกข์
การเกิดขึ้นของจิต ก็เป็นทุกข์
การเกิดขึ้นของอะไรๆ ก็เป็นทุกข์ทั้งนั้น
ยกเว้นเสียแต่ว่า การเกิดขึ้น มีขึ้นของ"โพธิ"(ความรู้แจ้ง)เท่านั้น
ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ที่ไม่มีการดับสลาย
เพราะมันเป็นการเกิดขึ้น มีขึ้นเพียงครั้งเดียวเท่านั้น...

(ผมคิดว่า การประจักษ์ว่า เวทนาไม่เที่ยง ไม่แน่นอน เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป คิดว่าต้องกำหนดรู้ แต่ก็ต้องมีปัญญาทางธรรมด้วยคือ มีดวงตาเห็นธรรม คือประจักษ์ว่า สิ่งใดมีเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นก็ดับไปเป็นธรรมดา
ไม่ทราบว่าคุณ ปล่อยรู้มีความเห็นอย่างไร มีวิธีของตนอย่างไรครับ
แก้ไขโดย svonnu48 เมื่อ 02 มี.ค. 51 - 18:04)


เวทนาทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นมีขึ้นได้เพราะผัสสะ
ถ้าผัสสะไม่มี เวทนาก็ย่อมไม่มี

แต่ในความเป็นจริง เราหลีกเลี่ยงผัสสะได้ไหม
เราจะไม่ให้ผัสสะเกิดขึ้นโดยตลอดไป เป็นไปได้ไหม
เป็นไปไม่ได้เลยใช่ไหมครับ

ไม่ว่าจะเป็นอยู่ในภพในภูมิ ในสภาพในสภาวะใดๆ ก็ตามที
ย่อมจะประสพพบเจอกับผัสสะทั้งนั้น...

เจอผัสสะยังไงล่ะ ถึงจะไม่ให้เวทนาเกิด
ยากแสนยาก โดยความเป็นบุคคลธรรมดา
โดยความเป็นภูตธรรมดา โดยความเป็นเทวดาธรรมดา โดยความเป็นพรหมธรรมดา

เมื่อห้ามไม่ให้ผัสสะเกิด ห้ามไม่ให้เวทนาเกิด
เพราะ เป็นเรื่องยากแสนยาก
แล้วถ้าเป็นการวางผัสสะลง การวางเวทนาลงล่ะ
เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ไหม... อันนี้ยังพอมีทางที่จะทำได้โดยไม่ยาก

แล้วจะทำอย่างไร...
มันก็ต้องมองผัสสะมองเวทนา ดูผัสสะดูเวทนา ให้มันเห็นจริงแจ้งประจักษ์ชัดไปเลยว่า
มันไม่น่ายึดถือ มันไม่น่ายึดมั่น
มันไม่น่าเพลิดเพลิน มันไม่น่าชื่นชมยินดี แต่อย่างไร
แค่นี้แหละครับ เท่านี้แหละครับ
ทิ้งๆๆๆๆ มันลงไป
ง่ายไหมล่ะครับ ไม่ยากเลยใช่ไหมครับ (ล้อเล่นน่ะครับ)

ฟังดูมันง่ายๆ แต่จริงๆมันยาก
แต่ที่มันยากก็เพราะเราไม่รู้
แต่ถ้ารู้แล้วมันก็ไม่ยาก
(ผมชักจะกลายเป็นอริยบุคคลเข้าไปแล้วซิ ตื่นๆๆๆๆ)

รู้แล้วไม่เผลอ รู้แล้วไม่เพลิน
ไม่เผลอว่ามีเราเป็นผู้รู้
ไม่เพลินว่ามีเรามีเป็นเรา เป็นผู้เพลิดเพลิน

เพราะความเผลอและความเพลินนั้นแล เป็นเหตุแห่งการเกิดขึ้นของอัตตา...









 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 03 มี.ค. 51 - 07:57


   สวัสดีครับ คุณปล่อยรู้ คุณsvonnu48 และคุณคนผ่านทาง

       วันนี้วันจันทร์ผมก็ได้มีโอกาสเข้ามาสนทนาต่อนะครับ  พอดีวันเสาร์ผมยุ่งอยู่กับการหาซื้อที่ดินประมาณ 1 ไร่ ครึ่งอยู่ครับ ก็เพื่อเป็นที่สงบและเหมาะกับกรรมฐาน แต่ก็วันเสาร์หรืออาทิตย์หรือวันหยุดผมคงไม่ได้สนทนาอะไรได้มากหรอกครับ...

     และที่คุณปล่อยรู้ คุณsvonnu48 และคุณคนผ่านทาง ก็เป็นการสนทนากันในส่วนของท่านทั้ง 3 นะครับ ผมก็เพี่ยงเข้าไปอ่านดูเท่านั้นนะครับ จะไม่คอมเมนท์อะไรนะครับ...

    แต่ผมกับคุณปล่อยรู้กำลังสนทนาค้างกันอยู่ ดังนั้นผมจึงสนทนากับคุณปล่อยรู้ต่อจากความคิดเห็นที่ 186 นะครับ  และส่วนใดที่มีความเห็นไม่ตรงกันในทางธรรมผมก็จะพิมพ์ตรงไปตรงมานะครับคุณปล่อยรู้ หวังว่าคุณปล่อยรู้คงไม่ลำบากใจนะครับ  ก็เพื่อที่แยกแยะให้ชัดเจน ระหว่างประจักรจริงจากการปฏิบัติ กับจินตนาการณ์ หรือความนึกคิดว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้  ในความคิดเห็นถัดจากนี้ ..


      

ตอบโดย: Vicha 03 มี.ค. 51 - 09:25


สนทนาต่อกับคุณปล่อยรู้ นะครับ

           จากความคิดเห็นที่ 185 ของผมนั้น ได้ชี้ให้เห็นและการปฏิบัติถึง  วิปัสสนาญาณ มา สองญาณแล้วคือ
               1.นามรูปปริเฉทญาณ และ 2.ปัจจัยปริคคหาญาณ

       และ ปัจจัยปริคหาญาณ นั้นปรากฏจริงจากการปฏิบัตินะครับ เมื่อเจริญาสติเท่าทันเป็นปัจจุบัน จะมีปัญญาแจ้งชัดกับการปรากฏจริง ของรูปกับนาม (นามได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ) ว่าเป็นเหตุเป็นปัจจัยกัน ดังที่กล่าวไว้

          บางครั้ง รูปเกิดก่อน    นามเกิดทีหลัง
          บางครั้ง นามเกิดก่อน  รูปเกิดทีหลัง
          บางครั้ง นามเกิดก่อน  นามเกิดตามทีหลัง

    ในระยะแยกแรก ของการปฏิบัตินั้น ผู้ปฏิบัติจะแยกแยะไม่ได้ด้วยความเข้าใจ แต่เมื่อปฏิบัติเห็นประจักอยู่บ่อยๆ เป็นประจำจนพัฒนาวิปัสสนาญาณสูงขึ้นไปแล้ว ก็จะพิจารณาภาวะจริงที่ผ่านมาได้จนเข้าใจว่า อ้อ.. เป็นอย่างนี้เอง  คือประจักชัดแล้วแต่เริ่มพิจารณาเข้าใจได้เมื่อผ่านไปแล้ว... (การที่ไม่เคยปรากฏชัดอย่างแท้จริง  แต่คิดไปว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ตั้งอยู่บนความคิดเป็นหลัก นั้นเป็นเรื่องของจินตนาการหรือความคิดปกติทั่วไป แต่หาได้เป็นไปหรือเห็นตามธรรมที่แท้จริง)

   ต่อไปผมสนทนาต่อนะครับจากข้อความคิดเห็นที่ 186 ของคุณปล่อยรู้
  
  บทความส่วนที่ 1 ของคุณปล่อยรู้
 อ้างอิง
"ธรรมมารมณ์ไม่มีอะไรที่ผิดแผกแตกต่างไปจาก
รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ แต่อย่างใด"

ความหมายนี้ ผมพยายามสื่อให้เห็นว่ามันอยู่ในหมวดเดียวกัน
เวลาที่เราอ่านพบเจอ ก็มักจะเจอทั้งหมด
รูป รส กลิ่น เสียงโผฎฐัพพะ ธรรมมารมณ์ อยู่อย่างนี้เสมอ...


    ผมตอบอธิบายนะครับ...
       ถ้ากล่าวตามบัญญัติ ตามตำราก็อยู่ในหมวดเดียวกัน  เพราะไม่ต้องเจริญสติให้เห็นประจัก แต่เมื่อกล่าวถึงการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 ก็จะมีความแตกต่างกันอย่างมากครับ อย่างหยาบก็คือ รูป กับ นามที่ปราฏก  ถ้าเป็นอย่างละเอียด  ก็จะลงไปสู่ วิญญาณแต่ละแห่งที่ปรากฏ (จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฯลฯ  หรือ กาย เวทนา จิต และธรรม)

    หมายเหตุ ธรรมมะ เมื่อเป็นบัญญัติ ก็สามารถทำความเข้าใจได้ในทางสุตมยปัญญาและจินตมยปัญญา  แต่เมื่อลงสู่การประจักชัดตามสภาพแห่งความเป็นจริง ก็ต้องปฏิบัติเป็นภาวนามยปัญญา
    แต่ไม่ใช่ว่า เมื่อปฏิบัติแล้วต้อง เป็น ภาวนามยปัญญาทันที แล้วไปเอาสุตมยปัญญาหรือจินตมยปัญญามาสวมโดยเข้าใจหรือคิดไปเอง  ทั้งที่สภาวะธรรมไม่ประจักชัดตามสภาพแห่งความเป็นจริงของการปฏิบัตินั้นๆ กับกายใจ หรือรูปกับนามแห่งตน

   ส่วนที่ 2 ของคุณปล่อยรู้
อ้างอิง
 (เสียงกระทบหู หรือ ตากระทบแสงสะทอน หรืออมวัตถุในปากกระทบกับลิ้น หรือมีกลิ่นโชยมากระทบจมูก หรือมีอะไรมากระทบร่างกาย เมื่อเราไม่ได้สนใจเพราะสนใจสิ่งอื่น หรือจดจ่อในสิ่งอื่น ก็ย่อมไม่รับรู้สิ่งที่กระทบนั้นได้ คือไม่เกิดผัสสะรับทราบรูปที่ปรากฏนั้นเองที่จะพัฒนาเป็น วิญญาณขันธ์ ตามแหล่งแห่งที่นั้นๆ)

ความเห็นของพี่วิชาตรงนี้ ผมขออนุญาตเห็นแย้งหน่อยครับ
เพราะถึงแม้นว่าเราจะไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ
แต่ผัสสะก็ยังมีสิทธิเกิดขึ้นได้โดยที่เราไม่มีเจตนาครับ


    ผมตอบอธิบายนะครับ...
          คุณปล่อยรู้ กำลังสับสน ที่ผมกล่าวคำว่า  "กระทบ" กับคำว่า "ผัสสะ" อยู่ ก็ได้นะครับ และคุณปล่อยรู้ยกตัวอย่างไม่ชัดเจนและเด็นขาด จึงทำให้เข้าใจสับสนอยู่ ดังนี้
        
          การที่มีสิ่ง "กระทบ" กับกาย หรือมีเสียงดัง "กระทบ" กับหูก็หาใช่ว่า จะเกิดเป็น "ผัสสะ" ขึ้นมาได้ ทั้งที่กายก็มีประสาทสมบูรณ์ และทั้งที่หูก็มีประสาทสมบูรณ์

ตัวอย่างเช่น
        บุคคลที่นอนหลับสนิทอยู่  ไม่ว่าจะมีเสียงดัง หรือมีคนไปลูบหน้าลูบตา หรือเขียนหน้าเขียนตาให้  ทั้งที่มีการ "กระทบ" เกิดขึ้น แต่หาได้เกิด "ผัสสะ" ขึ้นมา
        บุคคลที่เข้าอัปปนาสมาธิ  ก็เช่นเดียวกัน ย่อมไม่รับรู้ความรู้สึกทางกายจนหมดสิ้น ขณะที่อยู่ภาวะอัปปนาสมาธิ ไม่ว่าจะกระทบกับกายอย่างไร ก็จะไม่เกิดเป็นผัสสะ เจริญเป็นกายวิญญาณ หรือโสติวิญญาณ ขึ้นมาได้.
         ดังนั้นผู้ที่ไม่สนใจคือหลับ หรือจดจ่อสิ่งอื่นอยู่คืออยู่ในสมาธิ เมื่อกายกระทบกับสิ่งเล็กน้อยๆ หรือสิ่งใดๆ ไม่สามารถเกิดผัสสะ เจริญเป็นกายวิญญาณได้ในส่วนที่ถูกกระทบ.. (พิจารณาแยกแยะให้ดีนะครับ)

         ธรรมมะ ย่อมประจักชัดตามสภาพแห่งความจริงด้วยสติสัมปัญญะ จึงเกิดปัญญา เบื่อหน่ายสลัดคืน คลายกำหนัด จึงปล่อยวางได้
       เมื่อ สภาวะธรรมความเป็นจริงยังไม่เห็นปรากฏชัดอย่างชัดแจ้ง  ความ ปล่อยวางนั้นอาจจะไม่เกิดจากปัญญาประจักชัดตามสภาพแห่งความเป็นธรรมอย่างแท้จริง จนเบื่อหน่าย คลายกำหนัด และสลัดคืนก็ได้

       แม้แต่การปฏิบัติธรรม สติเจริญจนความปรากฏชัดบังเกิดขึ้น เห็นสภาพแห่งไตรลักษณ์ในขณะปฏิบัติ เพราะสติปัญญาแยกรูปแยกนามได้(วัปสสนาญาณที่ 1)  สติปัญญาเท่าทันกับ เหตุปัจจัยของรูปและนาม (วิปัสสนาญาณที่ 2)  จึงเกิดภาวะเห็นความเกิดและความหมดไปเปลี่ยนไปของรูปนามที่ปรากฏ  หรือเห็นความเกิดและความสลายหรือวูบไปของรูปหรือนามที่สติปัญญาเท่าทันขึ้น และมากขึ้นในช่วงที่ปฏิบัติภาวนาอยู่  จึงทำให้บางครั้งก็เกิดจินตนาการไปถึงความหน้ากลัวของรูปนาม หรือกายกับใจ หรือโลกหรือภพทั้งหลายที่เกิดอยู่ เป็นโทษเป็นทุกข์ไปเสียหมด
       เกิดภาวะความเบื่อหน่าย ไม่อยากอยู่ไม่อยากเอาอะไร? อยากหนีอยากหยุด แล้วปล่อยว่าง ก็คือเห็นสภาวะธรรมระดับหนึ่ง แต่หาใช่วิปัสสนาญาณเบื้องสูงไปนัก

        ก็คือยังอยู่ใน สมนสนญาณ (วิปัสสนาญาณที่ 3)

       (ผมได้วางลำดับแยกแยะ ให้ทำความเข้าใจแล้วนะครับ  ธรรมนั้นลุ่มลึกลง ถ้าหยิบบัญญัติก็เข้าใจตามบัญญัติได้เกิดศรัทธาได้  ถ้าหยิบตามจินตนามยปัญญาก็เข้าใจตามจินตมยปัญญาได้เกิดศรัทธาได้ เช่นเดียวกัน)

   โทษที่เช้านี้พิมพ์ผิดเยอะมากครับ...ต้องแก้ไขกันเยอะหน่อย
 

ตอบโดย: Vicha 03 มี.ค. 51 - 10:45


ผมขอสนทนาต่อนะครับ
          
เรื่องเวทนา ผมเคยนั่งคิดว่าดังนี้ (ผิดถูก ขออภัย)
เมื่อ   ได้สุขกาย ได้กาม ได้เกียรติ      จะมีความรู้สึกสุขใจ
เมื่อสุขใจก็เพลิดเพลินความสุขใจ(เวทนา)นี้   (ความเพลิดเพลินคือ ติดอยู่กับสิ่งนั้นเป็นเวลานาน)
เมื่อเพลิดเพลินก็เกิดตัณหา               คืออยากจะได้สุขใจแบบนี้เรื่อยๆ
เมื่อเกิดตัณหา ก็เกิดการยึดมั่น(อุปทาน)  คือยึดมั่นว่าจะต้องได้ สุขกาย กาม เกียรติ เรื่อยๆ

เวลาผ่านไป สุขใจเหล่านี้ก็หายไปตามกฏไตรลักษณ์ เวลาผ่านไปอีกจะเกิดตัณหาต้องการสุขใจเหล่านี้มาอีกแล้ว(ตอนนี้แหละความทุกข์ใจเกิดขึ้นแล้ว) เริ่มอยากก็ทุกข์ใจแล้ว ขณะอยากอยู่ก็ทุกข์ใจ รู้ว่าอนาคตจะต้องผิดหวังก็ทุกข์ใจ
เมื่อเกิดผัสสะแต่ไม่ได้ตามที่ยึดมั่นไว้ก็ทุกข์ใจ ต้องเกิดผัสสะแล้วสมใจ100เปอร์เซ็นต์ เกิน100เปอร์เซ็นต์จึงจะได้สุขใจดังเดิม แต่ว่า! จะแน่นอนอย่างใจ(สมใจ)ได้อย่างไร เพราะทุกสิ่งเป็นความแปรปรวน ดังนั้นสิ่งที่ตามมาก็คือทุกข์ใจแน่นอน ดังนั้นจะเห็นว่าเวทนาน่าเบื่อหน่าย เอาสุขใจ(เวทนาทั้ง3)สิ่งที่ตามมาก็ทุกข์ใจ
               เคยอ่านพบ หลวงพ่อชาได้กล่าวไว้ว่า ไม่เห็นทุกข์ก็ไม่ออกจากทุกข์ ประโยคนี้กินใจผมเลยครับ
เมื่อกำหนดสติ ตอนทุกข์ใจที่เกิดจากการยึดมั่นนี้ โดยกำหนดบ่อยๆ จนจิตเบื่อสุดๆ คิดว่า(ผิดถูก ขออภัย)จิตจะปล่อยวางได้มาก  คิดว่าจิตจะคลายมากไม่ยึดมั่น ในกิน(สุขกาย) กาม เกียรติ  เมื่อไม่ยึดมั่นเวลาเกิดผัสสะที่ดี กลางๆ ไม่ดี
จิตก็ยอมรับได้ จิตไม่รู้สึกอะไร จิตไม่ส่งออก ทำได้ดังนี้คิดว่า จิตก็มีความสุขระดับหนึ่งแล้วครับ เพราะเห็นว่ากิน กามเกียรติเป็นทุกข์ใจ

ตอบโดย: svonnu48 03 มี.ค. 51 - 14:12


ผมขอสนทนาต่อเรื่อง ดวงตาเห็นธรรมนะครับ
   ท่านอัญญาโกญฑัญญะท่านได้ดวงตาเห็นธรรม ท่านได้กล่าวว่า " สิ่งใดมีเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นก็ดับไปเป็นธรรมดา" วันนี้ผมคิดดูเผอิญเกิดความคิดดังนี้(ผิดถูก ขออภัย) คือว่า
      คิดว่าท่านอัญญาโกญฑัญญะได้ภาวนา แล้วได้เห็นธรรมคือ เห็นการเกิดดับของจักขุวิญญาณ การเกิดดับของสัญญา หรืออะไรสักอย่าง  ท่านก็เกิดปัญญาของจิตว่า สิ่งใดเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นก็ดับไปเป็นธรรมดา

อันนี้ผมมีความคิดว่า ท่านคงมีความรู้เดิมว่า บนภพจะมีสสาร และพลังงาน และสสารกับพลังงานเป็นสิ่งเดียวกัน
สสารสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานได้ พลังงานก็สามารถเปลี่ยนเป็นสสารได้เช่นกัน จักขุวิญญาณหรือสัญญาก็คือพลังงาน ท่านเห็นการเกิดดับของจักขุวิญญาณ เห็นการเกิดดับของสัญญา ก็แสดงว่าเห็นการเกิดดับของพลังงาน
    ธรรมชาติของพลังงานจะแปรเปลี่ยนไป(ไม่เที่ยง) จะเกิดขึ้นเป็นธรรมดาเมื่อมีแรงส่ง และจะดับไปเป็นธรรมดาเมื่อแรงส่งดับ ยกตัวอย่างเช่น การเปิดไฟ แสงสว่างเกิดขึ้นเป็นธรรมดาเพราะพลังไฟฟ้า  แสงสว่างก็จะดับไปเป็นธรรมดาเมื่อแรงส่งหมด เช่นเราปิดไฟเสีย ก็เลยมองออกว่าเกิดขึ้นตามธรรมดา แล้วก็ดับไปตามธรรมดา ยุคของท่านคงไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ แต่คิดว่าว่าท่านมีปัญญาของท่าน ท่านมองเห็นกฏธรรมชาติตัวนี้

ส่วนเรื่องต่างๆทางโลกเช่นกฏแห่งกรรม คิดว่าท่านก็คงมองเป็นเรื่องพลังงาน ท่านก็คิดว่าคงจะเกิดไปตามนี้เหมือนกัน โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีญาณรู้แจ้งเรื่องกฏแห่งกรรมเลย
             ฝากความคิดไว้ ผิดถูก ขออภัยครับ
 
 

ตอบโดย: svonnu48 04 มี.ค. 51 - 01:45


สวัสดีครับพี่วิชาและคุณเอส
อนุโมทนาสาธุกับพี่วิชาในเรื่องของที่ดินด้วยคนครับ ...

เห็นด้วยกับพี่วิชาครับ ที่พี่กล่าวเกี่ยวกับเรื่องของผัสสะ...ผมคงไม่มีข้อโต้แย้งอันใด

แต่ขอแสดงความคิดเห็นมุมมองเกี่ยวกับผัสสะ
ในส่วนของผมเองอีกสักนิด

ในความคิดเห็นของผม ผมมีความเข้าใจว่า
เวทนาจะบังเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อครบองค์ประกอบทั้งสามอย่าง
นั้นก็คือมีตัวรู้กับตัวถูกรู้ มากระทบกัน มาสัมผัสกัน...

และในความเป็นผัสสะ หรือในการสัมผัสกันนั้น
ถ้าปราศจากวิญญาณ(ธาตุรู้) เวทนาก็ไม่สามารถบังเกิดมีขึ้นมาได้...

คำว่า"ผัสสะ" นั้น ผมเองมองในมุม ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเวทนาและวิญญาณ เท่านั้น...

ถ้าจะเรียกผัสสะในความหมายของปฏิจจสมุปบาทธรรมได้นั้น
จะครบองค์ประกอบทั้งสาม...

ถ้าเป็นการกระทบกันโดยปราศจากวิญญาณเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยนั้น
การกระทบกันอย่างนั้นถือว่าไม่ใช่เป็น"ผัสสะ"ในแง่ของปฏิจจสมุปบาทธรรม...


และมุมมองในเรื่องของ"การรู้แจ้ง เห็นแจ้ง ประจักษ์แจ้ง"นั้น
ผมเองมีมุมมมองและบัดทัดฐานสำหรับผมเองว่า...

สภาวะ"ทุกข์"เท่านั้น ที่จะเป็นตัวกำนด จะเป็นตัวตัดสิน ได้อย่างดีเยี่ยมที่สุด
ความรู้จะเป็นความรู้ชนิดไหนๆก็ตาม
จะสมมุติเรียกชื่อมันว่าอะไรๆก็ตาม
ในที่สุดแล้ว มันต้องไปจบลงที่กำจัดทุกข์ ดับทุกข์ได้จริงๆ...

และผมเองก็ยังมีมุมมองออกต่อไปว่า
ความรู้ในเรื่องของการดับทุกข์ พ้นไปจากทกุข์ มีหลายระดับขั้นตอน
สุดแล้วแต่ว่า ใครจะดับได้มากน้อยกว่ากัน
และก็เป็นเรื่องของแต่ละท่านที่จะยืนยันให้กับตนเองได้ว่าอยู่ในขั้นระดับไหน...
ไม่มีใครที่จะโกหกตัวของตัวเองได้...

และไม่ว่าจะเป็นความรู้ในระดับขั้นไหนๆก็ตาม
ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่น่าอนุโมทนาชื่นชมยินดีทั้งสิ้น...

ความรู้ในระดับสามัญธรรมดาทั่วไปก็ดี
ความรู้ในระดับรูปฌานก็ดี
ความรู้ในระดับอรูปฌานก็ดี
ล้วนแล้วแต่เป็นไปเพื่อความระงับทุกข์ บรรเทาทุกข์ ด้วยกันทั้งนั้น...

แต่ความรู้ที่พระพุทธเจ้าท่านทรงค้นพบนั้น
ถือว่าเป็นความรู้ที่เหนือกว่าความรู้ใดๆทั้งหลาย
และเป็นความรู้ที่พระองค์ทรงเมตตา ชักชวน บอกกล่าว
ให้ผู้คนทั้งหลาย ได้พากันแสวงหาให้ได้พบเจอ...


อันตัวธาตุรู้นี้แหละคือสิ่งที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
การที่จะปลดเปลื้อง ปลดปล่อย ความยึดมั่น ความถือมั่น ในตัวธาตุรู้นี้
ว่ามันไม่ใช่เรา มันไม่ใช่ตัวตนของเรา เป็นเรื่องที่ยากจริงๆเลยนะครับ...

ครั้นเข้าใจว่า มันไม่ใช่เรา มันไม่ใช่ตัวตนของเรา
แต่มันก็ยังไปยึดถือเอาความเห็น เอาความเข้าใจที่ว่ามันไม่ใช่เราอย่างที่ว่า
ขึ้นมาเป็นเราที่มีความเห็น เป็นเราที่มีความเข้าใจอย่างนี้ซ้อนกันขึ้นมาอีก...


ความสุขในอรูปฌานขั้นสูงๆ คือความสุขที่พยายามโกหกตัวเองว่าตัวเองนั้นไม่มี
แต่มันก็โกหกได้ไม่นาน โกหกไปได้ไม่ตลอด...

ในที่สุดแล้วมันต้องทิ้ง มันต้องละความเห็น ความเข้าใจอย่างนั้นไปให้ได้ไป...
จนมันเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งว่า
อ๋อที่แท้จริงแล้ว ความรู้สึกว่าเป็นเรา เป็นตัวตนของเรา มันเกิดมีขึ้นมาได้อย่างไรกัน...

แล้วทุกข์อันเกิดจากความหลงเข้าใจผิดที่ว่า มีตัวตนของเรานั้น
มันก็เป็นอันสละละวาง ระงับดับได้โดยไม่เหลือจริงๆ...























 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 04 มี.ค. 51 - 09:08


เช้านี้ ผมก็จะมาต่อจากความคิดเห็นที่ 201.

        จากที่ผมได้กล่าวถึง สมนสนญาณ  (วิปัสสนาญาณที่ 3)   ญาณนี้เป็นญาณที่เริ่มมีความพิเศษพิดารปรากฏขึ้นมาก  เป็นช่วงที่เกิดวิปัสสนูกิเลส 10  ซึ่งทำให้ข้องอยู่ติดอยู่ได้  บางท่านหลงไปด้วยก็มี

           วิปัสสนูกิเลสมี ๑๐ คือ
              ๑. โอภาส แสงสว่าง
              ๒. ปีติ ความอิ่มใจ
              ๓. ญาณ ความรู้
              ๔.ปัสสัทธิ ความสงบกายและจิต
              ๕. สุข ความสบายกายสบายจิต
              ๖. อธิโมกข์ ความน้อมใจเชื่อ
              ๗. ปัคคาหะ ความเพียรที่พอดี
              ๘.อุปัฏฐาน สติชัด
              ๙. อุเบกขา ความวางจิตเป็นกลาง
             ๑๐. นิกันติ ความพอใจ

      ผู้ที่เข้าสู่วิปัสสนาญาณ ถึงญาณนี้ จะต้องประสบเจอกัน แต่จะมากจะน้อยก็แล้วแต่ละบุคคล วิปัสสนูกิเลสข้อ 1 ถึง 9 นั้นเป็นสิ่งทีไม่ได้เลวร้ายอะไร เพราะเป็นการบงชี้ให้ทราบว่า ได้ผ่านเข้ามาช่วง สมสนญาณแล้ว
       แต่วิปัสสนูกิเลสข้อที่  10  นั้นน่ากลัว เพราะเมื่อเกิดติดใจพอใจ บวกกับความหลง อยากมีอยากเป็นในสิ่งที่ยึดมันและถือมั่นจนมากมาย ก็สามารถทำให้เกิดวิปลาสทางความคิด หรือการกระทำ และวาจา

      ผู้ที่ติดตามอ่านอยู่อาจจะแปลกใจว่า ทำไม? ผมกล่าวเรื่องอานาปานสติ มาถึงวัตถุนี้
  
  ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก เป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า

     แล้วหยุดไปสนทนาเรื่องอื่นๆ กับหลายท่านทำไมไม่ตัดบท ไปสนทนาอานปานสติสูตร ในบทหรือวัตถุต่อไป แถมยังกล่าวถึงเรื่องวิปัสสนาญาณเสียอีก

      การทำเช่นนี้ผมมีเหตุผลนะครับ  เพราะปัจจุบันยุคนี้ ก็มีผู้ที่ปฏิบัติดูลมหายใจก็จำนวนมาก  และก็เริ่มเข้าใจและเรียนรู้ในการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 เมื่อบวก 2 ประการเข้าใป ก็จะมีหลายๆ ท่านที่บังเกิดวิปัสสนาญาณพัฒนาขึ้นมาพร้อมๆ กับอานาปานสติสูตรในบทหรือวัตถุเบื้องต้น (ผมเองเมื่อเริ่มฝึกอย่างเป็นรูปแบบ เมื่อปี 2526 ก็เป็นเช่นนี้)

       ถ้าไม่มีผู้ใดถาม หรือสทนาธรรมลงลึกสู่การปฏิบัติที่ให้เกิดการแยกแยะตามเหตุตามปัจจัย  ในความเห็นต่อไปผมจะขึ้น อานาปานสติสูตร บทหรือวัตถุต่อไปนะครับ..

         (ส่วนเรื่องแสดงแนวคิด ในเชิงสุตะ หรือ จินตะ ผมคงไม่ไปคอมเม้นท์ นะครับ เพราะความคิดนั้นพลิกไปพลิกมาและถ้าเกิดทิฏฐิยึดมั่น หาที่จบลงได้อยาก จะมากไปด้วยข้อความของความคิด ที่ไม่ยืนอยู่บนฐานของสภาพแห่งการปฏิบัติธรรม)

 

ตอบโดย: Vicha 04 มี.ค. 51 - 09:38


สวัสดีครับ คุณปล่อยรู้

    ผมได้อ่านความคิดเห็นที่ 204 แล้วนะครับ..

 

ตอบโดย: Vicha 04 มี.ค. 51 - 09:47


ผมขอสนทนาเพิ่มนะครับ
    ผมมีความเห็น(ผิดถูก ขออภัย)ว่า การจะทราบว่าผู้รู้ก็ไม่ใช่คนสัตว์ คงใช้ความรู้ที่ว่า ผู้รู้(มโนวิญญาณของผู้รู้)ก็ต้อง มีการเสื่อมลงไปเรื่อยๆ ยกตัวอย่างคนเราเวลาแก่ตัวลง การรับเรื่องราวก็จะทำได้น้อยลง รับเรื่องราวได้ยากขึ้น การเสื่อมลงไปเรื่อยๆ ก็เหมือนกับต้นไม้ที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆจนเหี่ยวแห้งตายไป
                ดังนั้นก็มีความรู้ว่า ควรหรือ ที่จะเห็นว่า สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆจนดับไปนั้น คือคน สัตว์?

        ตรงจุดนี้ เช่นคนเรา เวลาแก่ตัวลง ประสาทตาเสื่อมลง ถ้าวิทยาการดีขึ้นสามารถเปลี่ยนประสาทตาได้ใหม่ แต่ผมก็มีความเห็นว่า คงจะเห็นไม่ดีเหมือนตอนหนุ่มสาว เพราะจักขุวิญญาณเสื่อมลงไปแล้ว (อยากได้ข้อมูลทางการแพทย์เหมือนกันครับ)
        มโนวิญญาณของผู้รู้ก็เช่นกัน เสื่อมลงไปเรื่อยๆ ทำให้ตัดสินได้ว่าผู้รู้ไม่ใช่คนสัตว์

ผมเป็นชอบสะสมความคิดแต่ละท่าน(กรณีที่ผมไม่เข้าใจหรือไม่มีความรู้เพียงพอ) เวลาผมไปพบความจริงก็เอาเทียบกันเพื่อต่อยอดทางปัญญาครับ

     

   

ตอบโดย: svonnu48 04 มี.ค. 51 - 11:49


ผมขอเสนอพระสูตรดังนี้

   ฉันนสูตร
          [๑๐๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน
     กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตร ท่าน
     พระมหาจุนทะ และท่านพระฉันนะ อยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ สมัยนั้นแล ท่านพระ
     ฉันนะอาพาธ ถึงความทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น ท่านพระ-
     สารีบุตรออกจากที่พักผ่อนแล้ว เข้าไปหาท่านพระมหาจุนทะถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว
     ได้กล่าวกะท่านพระมหาจุนทะว่า ดูกรท่านจุนทะ เราจงพากันเข้าไปหาท่าน
     พระฉันนะ ถามถึงความเป็นไข้เถิด ท่านพระมหาจุนทะรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว
     ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะ เข้าไปหาท่านพระฉันนะถึงที่
    อยู่ แล้วนั่งบนอาสนะที่ปูไว้ ครั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ถามท่านพระฉันนะว่า
     ดูกรท่านฉันนะ ท่านพออดทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนา
     ลดลง ไม่กำเริบขึ้น ความทุเลาปรากฏ ความกำเริบไม่ปรากฏหรือ ฯ
          [๑๐๕] ท่านพระฉันนะกล่าวว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมทนไม่
     ไหว ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนัก ไม่ลดลงเลย
     ความกำเริบปรากฏ ความทุเลาไม่ปรากฏ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง เอาเหล็ก
     แหลมคมทิ่มศีรษะ ฉันใด ลมอันกล้ายิ่งเข้ากระทบที่ศีรษะของกระผม ก็ฉันนั้น
     เหมือนกัน ฯลฯ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังเอาเส้นเชือกหนังอันเหนียวขันที่ศีรษะ
     ฉันใด ลมอันกล้ายิ่งเสียดแทงที่ศีรษะของกระผม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
     เปรียบเหมือนนายโคฆาตหรือลูกมือของนายโคฆาตผู้ขยัน เอามีดสำหรับแล่เนื้อ
     โคที่คมกรีดท้อง แม้ฉันใด ลมอันกล้ายิ่งย่อมเสียดแทงท้องของกระผม ฉันนั้น
     เหมือนกัน ฯลฯ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง ๒ คน จับบุรุษผู้มีกำลังน้อยกว่า
     คนละแขน ลนให้เร่าร้อนบนหลุมถ่านเพลิง แม้ฉันใด ความเร่าร้อนในกายของ
     กระผมก็มากยิ่ง ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมทนไม่ไหว
     เยียวยาอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนัก ไม่ลดลงเลย
     ความกำเริบปรากฏ  ความทุเลาไม่ปรากฏ ท่านพระฉันนะกล่าวว่า ข้าแต่ท่านพระ
     สารีบุตร กระผมจักนำศาตรามา ไม่ปรารถนาเป็นอยู่ ดังนี้แล้ว ก็นำศาตรามา ฯ
          [๑๐๖] ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ท่านพระฉันนะจงเยียวยาอัตภาพให้
     เป็นไปเถิด เราทั้งหลายปรารถนาให้ท่านพระฉันนะเยียวยาอัตภาพให้เป็นไปอยู่
     ถ้าโภชนะเป็นที่สบายมิได้มีแก่ท่านพระฉันนะ ผมจักแสวงหามาให้ ถ้าเภสัชเป็น
     ที่สบายมิได้มีแก่ท่านพระฉันนะ ผมจักแสวงหามาให้ ถ้าพวกอุปัฏฐากที่สมควร
     มิได้มีแก่ท่านพระฉันนะ ผมจักอุปัฏฐากเอง ท่านพระฉันนะอย่านำศาตรามาเลย
     จงเยียวยาอัตภาพให้เป็นไปเถิด เราทั้งหลายปรารถนาให้ท่านพระฉันนะเยียวยา
     อัตภาพให้เป็นไปอยู่ ท่านพระฉันนะกล่าวว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร โภชนะ
     เป็นที่สบายของกระผมมิใช่ไม่มี โภชนะเป็นที่สบายของกระผมมีอยู่ แม้อุปัฏฐาก
     เป็นที่สบายของกระผมก็มิใช่ไม่มี เภสัชเป็นที่สบายของกระผมมีอยู่ แม้อุปัฏฐาก
     ที่สมควรของกระผมมิใช่ไม่มี อุปัฏฐากที่สมควรของกระผมมีอยู่ ก็พระศาสดาอัน
     กระผมบำเรอแล้วด้วยอาการเป็นที่พอใจอย่างเดียว ไม่บำเรอด้วยอาการเป็นที่ไม่พอ
     ใจตลอดกาลนานมา ข้อที่พระสาวกบำเรอพระศาสดาด้วยอาการเป็นที่พอใจ ไม่
     บำเรอด้วยอาการเป็นที่ไม่พอใจ นี้สมควรแก่พระสาวก ความบำเรอนั้นไม่เป็นไป
     ฉันนภิกษุจักนำศาตรามา ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ขอท่านจงทรงจำความนี้ไว้อย่างนี้
     ดังนี้เถิด ฯ
          [๑๐๗] สา. เราทั้งหลายขอถามปัญหาบางข้อกะท่านพระฉันนะ ถ้าท่าน
     พระฉันนะให้โอกาสเพื่อจะแก้ปัญหา ฯ
          ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร นิมนต์ถามเถิด กระผมฟังแล้วจักให้ทราบ ฯ
          สา. ท่านพระฉันนะ ท่านย่อมพิจารณาเห็นจักษุ จักษุวิญญาณและธรรม
     ทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน
     ของเรา ฯลฯ ท่านย่อมพิจารณาเห็นใจ มโนวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้
     แจ้งด้วยมโนวิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้
     หรือ ฯ
          ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมย่อมพิจารณาเห็นจักษุ จักษุวิญญาณ
     และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
     นั่นไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา ฯลฯ กระผมย่อมพิจารณาเห็นใจ มโนวิญญาณ และ
     ธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่น
     ไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา ฯ
          [๑๐๘] สา. ดูกรท่านพระฉันนะ ท่านเห็นอย่างไร รู้อย่างไร ในจักษุ
     ในจักษุวิญญาณ และในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ จึงพิจารณา
    เห็นจักษุ จักษุวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นไม่
     ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา ฯลฯ ท่านเห็นอย่างไร รู้
     อย่างไรในใจ ในมโนวิญญาณ และในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ
     จึงพิจารณาเห็นใจ มโนวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณว่า
     นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา ฯ
          [๑๐๙] ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมเห็นความดับ รู้ความดับ
     ในจักษุ ในจักขุวิญญาณ และในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ จึง
     พิจารณาเห็นจักษุ จักษุวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณว่า
     นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯลฯ กระผมเห็นความดับ
     รู้ความดับ ในใจ ในมโนวิญญาณ และในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยมโน
     วิญญาณ จึงพิจารณาเห็นใจ มโนวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วย
     มโนวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯ
          [๑๑๐] เมื่อท่านพระฉันนะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาจุนทะได้กล่าว
     กะท่านพระฉันนะว่า ดูกรท่านพระฉันนะ เพราะเหตุนั้นแล แม้ความพิจารณาเห็นนี้
     เป็นคำสอนของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ท่านพึงทำไว้ในใจให้ดีตลอดกาลเป็น
     นิตย์ไป ความหวั่นไหวของบุคคลที่มีตัณหา มานะและทิฐิอาศัยอยู่ ยังมีอยู่
     ความหวั่นไหวย่อมไม่มีแก่บุคคลที่ไม่มีตัณหา มานะและทิฐิอาศัยอยู่ เมื่อความ
     หวั่นไหวไม่มี ย่อมมีปัสสัทธิ เมื่อมีปัสสัทธิ ก็ไม่มีความเพลิดเพลิน เมื่อไม่มี
     ความเพลิดเพลิน ความมาความไปก็ไม่มี เมื่อความมาความไปไม่มี จุติและอุปบัติ
     ก็ไม่มี เมื่อจุติและอุปบัติไม่มี โลกนี้และโลกหน้าก็ไม่มี และระหว่างโลกทั้งสอง
     ก็ไม่มี นี้แหละเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหา
     จุนทะ ครั้นกล่าวสอนท่านพระฉันนะด้วยโอวาทนี้แล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป
     ครั้นเมื่อท่านทั้งสองหลีกไปแล้วไม่นาน ท่านพระฉันนะก็นำศาตรามา ฯ
          [๑๑๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
     ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้
     ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระฉันนะนำศาตรามาแล้ว
     ท่านมีคติและอภิสัมปรายภพเป็นอย่างไร พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
     ดูกรสารีบุตร ความเป็นผู้ไม่เข้าไป อันฉันนภิกษุพยากรณ์แล้วต่อหน้าเธอมิใช่
     หรือ ฯ
          สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วัชชีคามอันมีชื่อว่า บุพพวิชชนะมีอยู่ สกุล
     ที่เป็นมิตรและสกุลที่เป็นสหายในวัชชีคามนั้น เป็นสกุลที่ท่านพระฉันนะเข้าไป
     มีอยู่ ฯ
          พ. ดูกรสารีบุตร ก็สกุลที่เป็นมิตรและสกุลที่เป็นสหายเหล่านั้น เป็น
     สกุลที่พระฉันนภิกษุเข้าไป มีอยู่ แต่เราไม่กล่าวว่า ฉันนภิกษุมีสกุลที่ตนพึง
     เข้าไปด้วยเหตุเท่านั้นเลย ภิกษุใดแล ละทิ้งกายนี้ด้วย เข้าถือกายอื่นด้วย เรา
     กล่าวภิกษุนั้นว่า มีสกุลที่ตนพึงเข้าไป สกุลนั้นย่อมไม่มีแก่ฉันนภิกษุ ฉันนภิกษุ
     มิได้เข้าไป ศาตราอันฉันนภิกษุนำมาแล้ว ดูกรสารีบุตร เธอพึงทรงจำความนี้ไว้
     อย่างนี้ดังนี้เถิด ฯ
    จบสูตรที่ ๔


พระสูตรนี้ได้กล่าวถึงการเห็นการดับ รู้การดับ ของใจ มโนวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่รู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ  เมื่อเห็นรู้แบบนี้ คิดว่า(ผิดถูก ขออภัย)เป็นการทำลายผู้รู้ เห็นอนัตตาหมด และไม่มีตัณหา มานะ ทิฐิ ก็จะบรรลุอรหัตตผล
       ขอรบกวนคุณ Vicha นะครับ (เห็นว่ามีประโยชน์ครับ)
          

ตอบโดย: svonnu48 04 มี.ค. 51 - 15:07



เป็นความรู้สึกเกิดดับทั่วทั้งกายน่ะครับ บางครั้งความรู้สึกก็รวมกับกายเป็นก้อนเดียวเกิดดับ บางครั้งก็มีความรู้สึกเกิดดับระยิบระยับตามจุดนั้นจุดนี้ตามร่างกายพร้อมๆกันหลายๆจุดน่ะครับ ความรู้สึกนี้จะเกิดแล้วดับไปเลยนะครับไม่มีช่วงตั้งอยู่

ตอบคุณ wit ตามที่ผมวิเคราะห์นะครับ
                 สติ สมาธิ ปัญญา ศรัทธา คุณ wit พัฒนาในทิศทางที่ดีขึ้นครับ ความเป็นไตรลักษณ์ ปรากฏให้เห็นมากขึ้นครับ ก็คือว่า แยกรูปแยกนามในการปฏิบัติธรรมได้แล้วครับ



             ผมไม่ได้เข้ามาหลายวัน เพราะไปกับคณะครูบาร์อาจารย์  ไปเฝ้าสมเด็จพระสังฆราชแห่งภูฐาน ที่ประเทศ ภูฐาน  เพราะท่านเรียนเชิญหลวงปู่ของผมชึ่งอยู่ในป่า ท่านเรึยกหลวงปู่ผมว่า  holy man หรือ บุรุษผู้ศักดิสิทธิ ผมเอาบุญมาฝากทุกๆ คนนะครับ

     คุณ wit   อาการที่คุณ wit ปรากฎยังเป็นเพียง อาการของกาย และเวทนา เท่านั้นเมื่อสติสัมปชัญญะเราเริ่มละเอียดขึ้น อาการทางกายหรือเวทนาทางกายก็จะปรากฎให้เห็น เป็นการพิจารณากายในกายเป็นภายใน  ทำอาการแบบนี้ไปเรื่อยๆ ความละเอียดของสติสัมปชัญญะก็จะมากขึ้นไปเรื่อยๆ

        ต่อไปลองพิจารณากายในกายเป็นภายนอก ทำความรู้สึกให้อยู่เฉพาะที่ผิวหนังให้เป็นเฉพาะจุด ในตอนเริ่มแรก แล้วพยามทำให้ได้ทั่วทั้งตัว  เมื่อได้ผิวหนังทั้งหมดแล้ว
ขั้นต่อไปคือให้ตัวสติสัมปชัญญะอยู่ภายนอกตัว เสมือนเราเอามือไปรูปผิวหนัง
ไปหยิบเส้นผมเล่นต้องเป็นความรู้สึกจริงๆ ห้ามใช้ความคิดเด็ดขาด

       เมื่อสติสัมปชัญญะเรามากขึ้นเราจะเห็นตัวเราเหมือนก้อนดินก้อนหนึ่งนั่งอยู่ โดยมีตัวสติสัมปชัญญะอยู่ภายนอกตัวมองดูเราอยู่ เป็นการพิจารณากายที่เป็นภายนอก ทำสลับแบบภายในบ้าง ภานนอกบ้างให้ชำนาญ
       ผลพลอยได้ที่ตามมา คุณ wit จะสัมผัส อากาศได้  จะใช้ประโยชน์อากาศได้
ข้อสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือห้ามมีความอยาก ให้มีแต่วิริยะเท่านั้น ธรรมะที่แท้จริงไม่มี
ชื่อเรียก

     นี้ยังเป็นขั้นพื้นฐานเท่านั้น ที่จะก้าวเข้าสู่ขั้นที่ละเอียดที่ยิ่งๆขึ้นไป หัวใจของอานาปาและสติปัสฐานข้อหนึ่งคือ วิริยะ ขอให้ทำทั้งลืมตาและหลับตา แล้วความก้าวหน้าก็จะบังเกิดตามมาเอง


     ในทางวิปัสสนา ที่คุณ wit เคยเล่าให้ฟังว่า มีจิตที่ เสมือนปลาที่ลงไปแหวกว่ายอยู่ในน้ำ คำพูดนี้ผมก็เคยใช้มานานแล้ว   มันออกมาจากภาคปฏิบัติจริงๆไม่ไช่สัญญา   แต่สภาพจิตของของคุณ wit ก็ยังอยู่ในท่ามกลางผัสสะทั้งมวล  คือยังรวม  จิต เจตสิก รูป  เป็นกองเดียวกัน
    เหตุที่เราไปใหนไม่ได้ไกลในทางจิต  เพราะจิตเรายังอยู่ในท่ามกลางผัสสะหรืออารมณ์ร่วมทั้งหลาย     เมื่อใดที่ความละเอียดของสติสัมปชัญญะของกายและเวทนาเรามากขึ้น เราจะเห็นการแยกจากกันของ จิต เจตสิก รูป  อย่างชัดเจนขึ้นเรื่อยๆจนแยกจากกันเด็ดขาด เมื่อนั้น รูปที่ 4 ก็จะปรากฎคือรูป นิพพาน

      ขอให้คุณ wit พิจารณา กายในกาย และเวทนาในเวทนา  (อาการเหมือนเกิดดับระยิบระยับไปทั่วกาย) ทั้งที่เป็นทั้งภายในและภายนอกให้มากๆ แล้ววันหนึ่ง คุณ wit
จะเห็นว่า การแยกของ นามและรูป เป็นอย่างไรในทางปฏิบัติ ชึ่งเมื่อนั้น เราค่อยมาคุยกันใหม่

    ขอให้เจริญในธรรม
 

ตอบโดย: พลังไฟ 04 มี.ค. 51 - 15:36


ขอขอบคุณคุณพลังไฟมากเลยครับ สำหรับคำแนะนำที่มีประโยชน์มากๆ   ผมขออนุญาตถามอะไรสักอย่างหน่อยสิครับ ไม่ทราบว่าพอจะตอบได้รึเปล่า คือผมอยากทราบว่าหลวงปู่ของคุณ พลังไฟ คือท่านใดรึครับ ไม่แน่ใจว่าพอจะเล่าเรื่องของท่านให้ฟังหน่อยได้รึเปล่าอ่ะครับ

ตอบโดย: wit 04 มี.ค. 51 - 15:41


อ้างอิง
ต่อไปลองพิจารณากายในกายเป็นภายนอก ทำความรู้สึกให้อยู่เฉพาะที่ผิวหนังให้เป็นเฉพาะจุด ในตอนเริ่มแรก แล้วพยามทำให้ได้ทั่วทั้งตัว  เมื่อได้ผิวหนังทั้งหมดแล้ว
ขั้นต่อไปคือให้ตัวสติสัมปชัญญะอยู่ภายนอกตัว เสมือนเราเอามือไปรูปผิวหนัง
ไปหยิบเส้นผมเล่นต้องเป็นความรู้สึกจริงๆ ห้ามใช้ความคิดเด็ดขาด


เหมือนเราน้อมความรู้สึกออกไปนอกตัว แบบให้ความรู้สึกเหมือนไปแตะตัวผู้อื่นได้โดยใช้แค่จิต ไม่ได้ใช้ร่างกาย แบบนั้นรึเปล่าครับ?

ตอบโดย: wit 04 มี.ค. 51 - 15:56


ผมต้องอนุโมทนาสาธุ    กับพระสูตร ที่คุณ svonnu48

     เป็นพระสูตรในพระไตรปิฏกที่แจ้งชัดสมบูรณ์ดี ในการที่จะกล่าวว่า นั้นไม่ใช่เรา นั้นไม่ใช่ของเรา นั้นไม่ใช่ตัวตนของเรา  ผมจะตัดส่วนสำคัญมาเน้นย้ำอีกครั้ง เพื่อความเข้าใจแจ่มชัดขึ้น กับการที่เกิดจากปฏิบัติจริงๆ  ไม่ใช่นึกเอา คิดเอา หรือจินตนาการเอา ดังนี้

       [๑๐๗] สา. เราทั้งหลายขอถามปัญหาบางข้อกะท่านพระฉันนะ ถ้าท่าน
     พระฉันนะให้โอกาสเพื่อจะแก้ปัญหา ฯ
          ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร นิมนต์ถามเถิด กระผมฟังแล้วจักให้ทราบ ฯ
          สา. ท่านพระฉันนะ ท่านย่อมพิจารณาเห็นจักษุ จักษุวิญญาณและธรรม
     ทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน
     ของเรา ฯลฯ ท่านย่อมพิจารณาเห็นใจ มโนวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้
     แจ้งด้วยมโนวิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้
     หรือ ฯ
          ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมย่อมพิจารณาเห็นจักษุ จักษุวิญญาณ
     และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
     นั่นไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา ฯลฯ กระผมย่อมพิจารณาเห็นใจ มโนวิญญาณ และ
     ธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่น
     ไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา ฯ


      จากบทธรรมด้านบนนั้น พระฉันนะ ตอบตามวิหาร ตอบตามความเห็น แต่พระสารีบุตรนั้นมีความประสงค์ให้พระฉันนะ ทบทวนการที่ปฏิบัติที่เห็นแจ้ง ตามความเห็นตามโวหารว่า เป็นอย่างไร รู้ได้อย่างไร จึงเป็นช่วงคำถามต่อไป

         [๑๐๘] สา. ดูกรท่านพระฉันนะ ท่านเห็นอย่างไร รู้อย่างไร ในจักษุ
     ในจักษุวิญญาณ และในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ จึงพิจารณา
    เห็นจักษุ จักษุวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นไม่
     ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา ฯลฯ ท่านเห็นอย่างไร รู้
     อย่างไรในใจ ในมโนวิญญาณ และในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ
     จึงพิจารณาเห็นใจ มโนวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณว่า
     นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา ฯ
          [๑๐๙] ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมเห็นความดับ รู้ความดับ
     ในจักษุ ในจักขุวิญญาณ และในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ จึง
     พิจารณาเห็นจักษุ จักษุวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณว่า
     นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯลฯ กระผมเห็นความดับ
     รู้ความดับ ในใจ ในมโนวิญญาณ และในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยมโน
     วิญญาณ จึงพิจารณาเห็นใจ มโนวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วย
     มโนวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯ


           ส่วนนี้แหละที่จุดสำคัญอย่างหนึ่งที่บอกให้ทราบถึงธรรมที่ ท่านพระฉันนะดำรงณ์หรือบรรลุอยู่   เพราะเห็นความดับ รู้ความดับ ที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง จากการปฏิบัติ

         การเห็นการเกิดดับ อย่างชัดแจ้ง หรือประจักชัดแจ้ง เมื่อวิปัสสนาญาณถึง อุทัพยญาณ (วิปัสสนาญาณที่ 4) เรียกว่าเห็นพรไตรลักษณ์อย่างชัดแจ้ง เมื่อปฏิบัติให้มากทำให้มาก ก็จะพัฒนาวิปัสสนาขึ้นสู่เบื้องสูง
         หมายเหตุ หาใช่เห็นอารมณ์เปลี่ยนแปลง ไม่ใช่พอมีสติทำให้อารมณ์หรือความคิดฟุ้งซ้านที่เป็นอยู่หายไป ไม่ใช่มีสติเท่าทันแล้วภาวะอารมณ์ความนึกคิดเปลี่ยนให้เห็นความไม่เทียง ไม่ใช่พอมีสติขึ้นมาสิ่งที่เป็นอยู่คอยวูบหาย อาการเช่นนี้ก็ถือว่า เป็นการเห็นพระไตรลักษณ์ แต่ยังหาใช่เห็นการเกิดดับ แท้จริงที่เป็น อุทัพยญาณ(ญาณที่ 4) เป็นเพียงอาการของญาณ ที่ 2 หรือ 3 เท่านั้น

         แต่ท่านพระฉันนะนั้นท่านเจริญธรรมยิ่งกว่านั้น แม้แต่จะทรมานทางกายขนาดใหน ท่านยังมีสติสนทนาธรรมได้อย่างดี เพราะท่านบรรลุธรรมเป็นพระอริยเบื้องต้นแล้ว

       ด้งนั้นการ คิด การกล่าว การจินตนาการว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา นั้นไม่เป็นตัวตนของเรา  ถ้าปราศจากการเห็นการมีปัญญารู้แจ้งในการดับ (การดับจริง)  การกล่าวนั้น การคิดนั้น การจินตนาการนั้น เป็นเพียงโวหารเป็นเพียงสัญญาเท่านั้น หาได้เกิดจากการเห็นประจักธรรม อย่างแท้จริง

         และเมื่อภายหลังที่ ท่านพระมหาจุนทะ(เป็นพระอรหันต์)ได้กล่าวธรรมกะท่านพระฉันนะ ให้พิจารณาเพิ่ม  แล้วจากไป ท่านพระฉันทะ ก็เอาอาวุธ มาปลิดชีพตนเองเพราะการทรมานทางกายนั้นมากมายเหลือคณานับ พร้อมทั้งกำหนดพิจารณา การดับ และการไม่ยึดมั่นถือมั่น
         พระฉันทะ ท่านก็บรรลุเป็นพระอรหันต์และดับขันธ์นิพพานขณะที่ปลิดชีพตนเอง  ตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสให้ทราบในส่วนหลัง..
 

ตอบโดย: Vicha 04 มี.ค. 51 - 16:53


น่าสนใจ  น่าศึกษาในพระสูตรที่คุณเอส ยกมานี้เป็นอย่างยิ่งเช่นกันครับ.

กับคำกล่าวของท่านฉันนะ ที่กล่าวว่า "กระผมเห็นความดับ รู้ความดับ"

"เห็นความดับ รู้ความดับ"
ผมขออนุญาต วิเคราะห์แลกเปลี่ยนมุมมอง ความเข้าใจในประโยคที่ท่านฉันนะกล่าวเอาไว้ดังนี้ครับ...

ที่ท่านกล่าวว่าเห็นความดับ
คือเห็นวิญญาณทั้งหกนั้นๆ ดับไปจริงๆ มิใช่การคิดนึกคาดคะเนเอาเอง
และรู้ความดับ
คือรู้จักวิธีที่จะดับวิญญาณทั้งหกนั้นๆ ว่าจะดับมันได้เช่นไร
มิใช่การคิดนึกคาดคะเนเอาเอง เช่นกัน

นั้นก็คือท่านย่อมรู้สาเหตุที่มา ที่ไป ของวิญญาณทั้งหกนั้นเอง
รู้ว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้วิญญาณทั้งหกนั้นเกิดขึ้น มีขึ้นมาได้

นั้นก็คือท่านต้องรู้แจ้ง เห็นแจ้งในธรรมปฏิจจสมุปบาท อย่างทะลุปรุโปร่ง
จนหมดสิ้นความลังเลสงสัย

การที่จะเห็นการดับ รู้การดับของวิญญาณได้
มันต้องเห็นตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้นของการเกิดขึ้น มีขึ้นของวิญญาณ นั้นๆนั่นเอง
เมื่อเห็นแล้ว รู้แล้ว ก็เลิกยึดมั่นถือมั่นในวิญญาณนั้นๆว่าเป็นเรา ว่าเป็นตัวตนของเรา.

สังขารคือตัวการแห่งการเกิดมีขึ้นของวิญญาณ
คือตัวการแห่งการดับไปของวิญญาณ...

แล้วทำไมท่านถึงต้องฆ่าตัวตาย?...
ผมขออนุญาติวิเคราะห์แสดงความเห็นดังนี้ครับ

ถ้าพูดแบบภาษาชาวบ้าน ภาษาชาวโลกเขาพูดกัน
ก็ต้องพูดว่า "ท่านฉันนะฆ่าตัวตาย"

แต่จริงๆแล้ว ในทางสัจจะธรรม
ท่านฉันนะไม่มีแล้ว ไม่มีอะไรๆที่เป็นตัวตนของท่านฉันนะหลงเหลืออยู่เลย
หลังจากที่ท่านรู้แจ้ง เห็นแจ้งในธรรม หรือบรรลุธรรมแล้ว
ความยึดมั่นถือมั่นในกาย ในใจมันจบสิ้นลงไปหมดแล้ว
มันไม่มีความเป็นท่านฉันนะอยู่ในอะไรๆทั้งสิ้น.

ทั้งในร่างกายเนื้อที่เห็นด้วยตาเปล่า
หรือในจิตใจ ในวิญญาณใดๆทั้งหลาย
ไม่มีความเป็นท่านฉันนะ ทั้งในโลกนี้ ทั้งในโลกหน้าและในระหว่างโลกทั้งสอง

เป็นการทำลายความเจ็บปวดทุกข์ทรมาณที่เกิดขึ้นกับร่างกายเท่านั้น
เพราะยังไงๆ มันก็ไม่สามารถฟื้นฟูร่างกาย
ให้กลับคืนมาได้เหมือนดังร่างกายปกติได้อีกต่อไปแล้ว
ท่านจึงปลิดมันทิ้งไป
เพราะกิจที่พึงกระทำท่านได้กระทำจบแล้ว
กิจอื่นเพื่อความยิ่งไปกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว
อัตภาพ(ดินน้ำลมไฟ)นี้ ไม่มีความหมายอีกต่อไปแล้ว.

ไม่ใช่เป็นการฆ่าตัวตาย
คำว่า"อรหันต์"ย่อมพ้นจากคำว่า"ตาย"
คำว่าตายใช้กับชาวบ้าน ใช้กับคน
แต่ไม่สามารถที่จะใช้กับพระอรหันต์ได้...

ร่างกายนั้นๆถูกสมมุติเรียกว่าพระฉันนะ
แต่ความเป็นพระฉันนะที่บรรลุธรรมแล้ว หาใช่อยู่ที่ร่างกายนั้นๆไม่
ความเป็นพระฉันนะที่หมดความยึดมั่นถือมั่นแล้ว ไม่มีอยู่ณ.ที่ใดๆอีกต่อไป

ดังนั้นพระฉันะจริงๆไม่ได้ตาย
ที่ตายที่ดับไปนั้น คือดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศและวิญญาณธาตุ เท่านั้น
ความเป็นบาป เป็นกรรม เป็นวิบากกรรม
จึงไม่ปรากฏแก่พระฉันนะ ที่บรรลุธรรมแล้วแต่อย่างใด...






 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 04 มี.ค. 51 - 20:03


  เช้านี้เข้ามาที่ทำงาน ก็มีปัญหาให้แก้ พอจบก็มาสนทนากระทู้นี้ต่อ...

จากข้อความทีผมพิมพ์ ในความคิดเห็นที่ 213

"       ด้งนั้นการ คิด การกล่าว การจินตนาการว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา นั้นไม่เป็นตัวตนของเรา  ถ้าปราศจากการเห็นการมีปัญญารู้แจ้งในการดับ (การดับจริง)  การกล่าวนั้น การคิดนั้น การจินตนาการนั้น เป็นเพียงโวหารเป็นเพียงสัญญาเท่านั้น หาได้เกิดจากการเห็นประจักธรรม อย่างแท้จริง "

   ไม่ใช่ว่าพอผมพิมพ์อย่างนี้แล้ว การคิดการกล่าวดังข้างบนนั้นเป็นสิ่งไม่ดี  เป็นสิ่งไม่ถูกต้องนะครับ   เพราะ การพิจารณาว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา นั้นไม่เป็นตัวตนของเรา  นั้นเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่ควรพิจารณา
   แต่ผู้ที่มีความเห็นคลาดเคลือน แล้วยึดทิฏฐิมั่น ไปติดในสัญญา เห็นว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา นั้นไม่เป็นตัวตนของเรา  นั้นเป็นการบรรลุมรรคผลนิพพานแล้ว โดยไม่ต้องปฏิบัติจนเกิดสภาวะธรรมจริงของการดับ รู้แจ่มแจ้งการดับ  นั้นแหละจะทำให้เกิดมีความเห็นที่ผิดไปจากธรรมไปเสีย แล้วหยุดอยู่เพียงสุตะ หรือจินตมยปัญญาเท่านั้น
     และเช่นเดียวกันผู้ที่ปฏิบัติ ผู้ที่ปฏิบัติธรรม จนเกิดภาวะการเกิดดับ หรือการดับ แล้วจะเป็นการบรรลุมรรคผลนิพพานที่เดียวก็หาได้ไม่   ถ้ายังไม่เกิดการปล่อยวาง คลายกำหนัด และสะลัดคืน ปัญญารู้ชัดว่า นั้นไม่ใช่เรา นั้นไม่ใช่ของเรา นั้นไม่เป็นตัวตนของเรา

 

ตอบโดย: Vicha 05 มี.ค. 51 - 09:49


   ต่อไปผมขอเสนอที่ผมมีความเห็นไม่ตรงกับคุณปล่อยรู้ ในความคิดเห็นที่ 213 คงไม่ทำให้คุณปล่อยรู้อึดอัดใจนะครับ

     เรื่องที่คุณปล่อยรู้เข้าใจว่า ท่านพระฉันนะเป็นพระอรหันต์ มาก่อนที่ท่านได้สนทนากับพระสารีบุตรและพระมหาจุนทะ ก่อนจะเอาอาวุธมาปลิดชีพของท่านเอง

     ถ้าอ่านพระสูตรที่คุณ svonnu48 เสนอนั้นให้ดี พิจารณาให้ดี หาใช่ว่า ก่อนที่ท่านพระฉันนะสนทนากับพระสารีบุตรและพระมหาจุนทะ ท่านจะเป็นพระอรหันต์แล้ว

    ตามพระสูตรนั้น พระสารีบุตร และพระมหาจุนทะ ทราบว่าพระฉันนะเป็นพระอริยะแต่ยังหาใช่พระอรหันต์ เมื่อทราบว่าพระฉันนะจะปลิดชีพตนเอง  พระมหาสาวกทั้งสองจึงเข้าไปสนทนาเพื่ออนุเคราะห์ เพื่อให้เกิดความรื่นเริ่งในธรรม
    พระสารีบุตรนั้นสนทนาถามก่อน เพื่อให้พระฉันนะนั้นทบทวนในธรรมหรือมรรคผลนิพพานที่เป็นพระอริยะ เมื่อสทนานาอย่างละเอียดแล้ว วิปัสสนาญาณ ที่เป็นฐานก็บริบูรณ์
    ต่อไปพระมหาจุนทะ ก็สนทนานะนำธรรมเบื้องสูง ดังนี้

    ท่านพระมหาจุนทะได้กล่าวกะท่านพระฉันนะว่า
     ดูกรท่านพระฉันนะ เพราะเหตุนั้นแล แม้ความพิจารณาเห็นนี้
     เป็นคำสอนของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ท่านพึงทำไว้ในใจให้ดีตลอดกาลเป็น
     นิตย์ไป ความหวั่นไหวของบุคคลที่มีตัณหา มานะและทิฐิอาศัยอยู่ ยังมีอยู่
     ความหวั่นไหวย่อมไม่มีแก่บุคคลที่ไม่มีตัณหา มานะและทิฐิอาศัยอยู่ เมื่อความ
     หวั่นไหวไม่มี ย่อมมีปัสสัทธิ เมื่อมีปัสสัทธิ ก็ไม่มีความเพลิดเพลิน เมื่อไม่มี
     ความเพลิดเพลิน ความมาความไปก็ไม่มี เมื่อความมาความไปไม่มี จุติและอุปบัติ
     ก็ไม่มี เมื่อจุติและอุปบัติไม่มี โลกนี้และโลกหน้าก็ไม่มี และระหว่างโลกทั้งสอง
     ก็ไม่มี นี้แหละเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหา
     จุนทะ ครั้นกล่าวสอนท่านพระฉันนะด้วยโอวาทนี้แล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป
     ครั้นเมื่อท่านทั้งสองหลีกไปแล้วไม่นาน ท่านพระฉันนะก็นำศาตรามา ฯ
    


     ซึ่งความจริงแล้วพระอรหันต์ย่อมพอทราบฐานะความเป็นอรหันต์  แต่เนื่องจากพระสารีบุตร และพระมหาจุนทะ ทราบว่าท่านพระฉันนะเป็นพระอริยะแต่ยังไม่ทราบช่วงบรรลุเป็นพระอรหันต์หลังจากปลีกตัวออกมา ท่านมหาสาวกทั้งสองจึงได้เข้าทูลถามพระพุทธเจ้าว่า เมือพระฉันทะปลิดชีพตนเองแล้วไปเกิดที่ไหน.  ดังบทความต่อไปนี้

         [๑๑๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
     ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้
     ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระฉันนะนำศาตรามาแล้ว
     ท่านมีคติและอภิสัมปรายภพเป็นอย่างไร พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
     ดูกรสารีบุตร ความเป็นผู้ไม่เข้าไป อันฉันนภิกษุพยากรณ์แล้วต่อหน้าเธอมิใช่
     หรือ ฯ
          สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วัชชีคามอันมีชื่อว่า บุพพวิชชนะมีอยู่ สกุล
     ที่เป็นมิตรและสกุลที่เป็นสหายในวัชชีคามนั้น เป็นสกุลที่ท่านพระฉันนะเข้าไป
     มีอยู่ ฯ
          พ. ดูกรสารีบุตร ก็สกุลที่เป็นมิตรและสกุลที่เป็นสหายเหล่านั้น เป็น
     สกุลที่พระฉันนภิกษุเข้าไป มีอยู่ แต่เราไม่กล่าวว่า ฉันนภิกษุมีสกุลที่ตนพึง
     เข้าไปด้วยเหตุเท่านั้นเลย ภิกษุใดแล ละทิ้งกายนี้ด้วย เข้าถือกายอื่นด้วย เรา
     กล่าวภิกษุนั้นว่า มีสกุลที่ตนพึงเข้าไป สกุลนั้นย่อมไม่มีแก่ฉันนภิกษุ ฉันนภิกษุ
     มิได้เข้าไป ศาตราอันฉันนภิกษุนำมาแล้ว ดูกรสารีบุตร เธอพึงทรงจำความนี้ไว้
     อย่างนี้ดังนี้เถิด ฯ


     ผิดถูดอย่างไรลองพิจารณานะครับ..
     
      แต่มีข้อสังเกตอยู่ในส่วนที่ว่า

    พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
     ดูกรสารีบุตร ความเป็นผู้ไม่เข้าไป อันฉันนภิกษุพยากรณ์แล้วต่อหน้าเธอมิใช่
     หรือ ฯ


      แต่พระสารีบุตรก็ยังไม่ทราบชัดถึงความหมายทีพระพุทธเจ้าตรัส  จึงแสดงความคิดเห็นต่อ

      แต่ตรงนี้ส่วนที่ว่า "ความเป็นผู้ไม่เข้าไป" ของพระสูตรที่แสดงนั้นเป็นส่วนที่พระมหาจุนทะ บอกสอนแนะนำ ท่านพระฉุนนะ

      ดังนั้นแตกประเด็นได้เป็นสองทางคือ
           1.พระฉันนะ ท่านได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ หลังจากที่ได้สนทนากับ พระสารีบุตรและพระมหาจุนทะ
           2.พระฉันทะ ท่านเป็นพระอรหันต์มาก่อนแล้ว ซึ่งย่อมเป็นไปได้ยากที่พระสารีบุตรและพระมหาจุนทะ ไม่ทราบมาก่อน และพระมหาจุนทะ ก็เป็นผู้มีฤทธิ์มาก เป็นไปได้ยากมากที่ท่านทั้งสองไม่ทราบ

  

ตอบโดย: Vicha 05 มี.ค. 51 - 10:49


ไม่มีเหตุผลอะไรๆ ที่ผมจะต้องอึดอัดใจเลย ครับพี่วิชา
มิหนำซ้ำผมกลับรู้สึกยินดีเป็นอย่างสูง
ที่พี่วิชาให้เกี่ยรติสนใจ ร่วมสนทนากับผมด้วย...

ผมมีข้อน่าชวนสังเกตุอีกประเด็นหนึ่ง...

[๑๑๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
     ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้
     ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระฉันนะนำศาตรามาแล้ว
     ท่านมีคติและอภิสัมปรายภพเป็นอย่างไร พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
     ดูกรสารีบุตร ความเป็นผู้ไม่เข้าไป อันฉันนภิกษุพยากรณ์แล้วต่อหน้าเธอมิใช่
     หรือ ฯ
          สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วัชชีคามอันมีชื่อว่า บุพพวิชชนะมีอยู่ สกุล
     ที่เป็นมิตรและสกุลที่เป็นสหายในวัชชีคามนั้น เป็นสกุลที่ท่านพระฉันนะเข้าไป
     มีอยู่ ฯ
          พ. ดูกรสารีบุตร ก็สกุลที่เป็นมิตรและสกุลที่เป็นสหายเหล่านั้น เป็น
     สกุลที่พระฉันนภิกษุเข้าไป มีอยู่ แต่เราไม่กล่าวว่า ฉันนภิกษุมีสกุลที่ตนพึง
     เข้าไปด้วยเหตุเท่านั้นเลย ภิกษุใดแล ละทิ้งกายนี้ด้วย เข้าถือกายอื่นด้วย เรา
     กล่าวภิกษุนั้นว่า มีสกุลที่ตนพึงเข้าไป สกุลนั้นย่อมไม่มีแก่ฉันนภิกษุ ฉันนภิกษุ
     มิได้เข้าไป ศาตราอันฉันนภิกษุ


....ท่านพระสารีบุตร ยังมีความสงสัย (ซึ่งระดับภูมิปัญญาของท่าน ไม่น่าที่จะสงสัย)
ในกรณีที่ท่านพระฉันนะปลิดชีวิตด้วยอาวุธ
เหตุผลที่ท่านฉันนะ กระทำการปลิดชีพเช่นนั้น
อันนี้พระสารีบุตรท่านไม่ทราบจริงๆอย่างนั้นหรือ?...

คำถามที่ท่านพระสารีบุตรถามพระพุทธเจ้าว่า
"ท่านพระฉันนะนำศาตรามาแล้ว
ท่านมีคติและอภิสัมปรายภพเป็นอย่างไร พระเจ้าข้า"?

ระดับอย่างท่านพระสารีบุตร จะไม่ทราบเลยหรือว่า
บุคคลเช่นใด จะได้รับผลวิบากอย่างไรกับการกระทำของตนเช่นนั้นๆ
เพราะเหตุที่ท่านผ่านภูมิของระดับปุถุชนจนถึงขั้นอรหันตผลแล้ว
ท่านจะไม่ทราบผลและวิบากของการกระทำนั้นจะ เป็นอย่างไรเชียวหรือ? ครับ...


...ระดับพระอรหันต์อย่างพระสารีบุตร
ทำไมถึงยังต้องถามคำถามอย่างนี้ด้วย.

คำว่า"คติและอภิสัมปรายภพ"หมายถึงอะไร

1/เป็นคำถามของพระสารีบุตร ถามถึงผลที่จะเกิดหลังจากท่านพระฉันนะปลิดชีพแล้ว?
2/หรือเป็นคำถาม ถามถึงเหตุผลที่ว่า
ทำไมท่านพระฉันนะถึงต้องกระทำการด้วยวิธีอย่างนี้ด้วย?

 
เราจะได้ประโยชน์อะไรๆกับข้อสังเกตุอันนี้...

...ทำให้เข้าใจถึงคำถามที่มักจะพบกันบ่อยๆว่า พระอรหันต์ ตายแล้วไปไหน
...ทำให้เข้าใจว่า ทำไมพระอรหันต์ฆ่าตัวตาย แล้วทำไมไม่บาป
...ทำให้ทราบว่า เป็นคำถาม ที่ไม่ได้ถามถึงเหตุการณ์หลังจากตายแล้ว
....ทำให้ทราบว่า เป็นคำถาม ที่ถามถึงเหตุผลก่อนที่จะตาย.



 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 05 มี.ค. 51 - 19:08




          พระฉันนเถระ  ท่านเป็นพระอรหันตสมสีสี ครับ.



          คือ เมื่อท่านนำศัสตรามาทำลายชีวิต คือ ตัดก้านคอ

          ต่อมาเมื่อมรณภัยมาถึงท่าน  ในขณะนั้นคตินิมิตปรากฎ

          ท่านจึงรู้ว่าตนเป็นปุถุชน  มีจิตสลดเริ่มตั้งวิปัสนา

          กำหนดสังขารเป็นอารมณ์  บรรลุพระอรหันต์พร้อมกับปรินิพพานไป.



          พระสารีบุตรรู้ว่าท่านพระฉันนเถระเป็นปุถุชน แต่ก็ไม่บอกออกไป


          ส่วนพระมหาจุนทเถระคิดว่า จะให้ท่านรู้ว่ายังเป็นปุถุชน จึงให้โอวาทไป

          ทั้งสองท่านรู้ว่า พระฉันนเถระ เป็นปุถุชน ก็เพราะว่า

          ท่านพระฉันนเถระไม่สามารถจะอดกลั้นเวทนาปางตาย

          และกล่าวว่าเราจะนำศัสตรามา จึงรู้ว่า เป็นปุถุชน.


          http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=1349&Z=1443


          http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=104


          http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สมสีสี


              

 

ตอบโดย: oio 05 มี.ค. 51 - 22:07


สาธุครับ คุณ oio
     

ตอบโดย: svonnu48 06 มี.ค. 51 - 00:42


สนทนาต่อนะครับ(ผิดถูก ขออภัย)
   มาพูดถึงคำว่า ไม่ใช่ของเรา ผมมีความเห็นดังนี้คือ
ไม่ใช่ของเรา หมายถึง ไม่ของผู้รู้ ที่ไม่ใช่ของผู้รู้ก็เพราะผู้รู้บังคับบัญชาผู้ถูกรู้ไม่ได้ ยกตัวอย่างถ้าเป็นมือของเรา เราก็สั่งมือของเราได้ เช่นสั่งให้ยกมือขึ้น

   คำว่าไม่เป็นเรา ผมมีความเห็นดังนี้คือ ผู้ถูกรู้เป็นผู้ถูกรู้ แยกกับผู้รู้  คิดว่าผู้ถูกรู้จะมีลักษณะเดียวกับผู้รู้คือ สามารถเห็น(มีจักขุวิญญาณ) รับเรื่อง(มีมโนวิญญาณ) คิด(มีสังขาร) เหมือนกับผู้รู้  คำว่าไม่เป็นเราก็คือ ไม่เป็นผู้รู้
คิดว่าผู้ถูกรู้ก็คือจิตที่รับเอาภาวนมยปัญญาไว้  ผู้รู้ก็คือจิตผู้รู้

  คำว่าไม่ใช่ตัวตนของเราก็คือ ไม่ใช่คนสัตว์ของผู้รู้
ท่านใดมีพระสูตรอธิบายเรื่องนี้ก็จะดีครับ

เรื่องรู้ความดับ เห็นความดับ ผมมีความเห็นว่า เห็นการดับก่อน แล้วก็รู้การดับ(รู้แจ้งด้วยวิญญาณขันธ์)
เมื่อรู้แจ้งแล้ว ก็พิจาณาได้ว่า เป็นเพียงแค่สภาวะธรรม ที่เกิดดับเป็นทอดๆ ไม่ใช่คนสัตว์
การเห็นความดับรู้ความดับนี้ เป็นผลงานของผู้รู้ และเป็นการทำลายผู้รู้คือผู้รู้ก็เป็นอนัตตา ผู้ถูกรู้(จิต)ก็ได้ผลพลอยได้ว่าผู้รู้ และผู้ถูกรู้คืออนัตตา
 
ท่านใดมีความรู้ กรุณาแนะนำก็จะดีครับ

ตอบโดย: svonnu48 06 มี.ค. 51 - 01:24



   สาธุ    ครับที่ คุณ oio  ได้นำ พระอรรถกถา มาแสดงให้ทราบชัดขึ้น

 

ตอบโดย: Vicha 06 มี.ค. 51 - 08:47


อ้างอิง (ปุกปุย @ 04 ก.พ. 51 - 14:23)
เคยได้ยินมาว่า  ต้องมีฐาน อย่างหลวงปู่มั่นมี 5 ฐาน เท็จจริงอย่างไร มีที่มาจากพระไตรปิฎกหรือไม่คะ
(ปุกปุย @ 04 ก.พ. 51 - 14:23)

หลักการที่ผมจะว่าเอามาจากหนังสือสมถกรรมฐานทีปนี ไม่แน่ใจว่าใช่ฐาน 5 อย่างของหลวงปู่มั่นเปล่านะครับ

1. ผู้ปฎิบัตินั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้าอารมณ์กรรมฐาน ณ สถานที่เงียบสงัด ย่อมตั้งสติ ทำความรู้สึกตัวแล้วจึงหายใจเข้าออก
2. เมื่อหายใจเข้าออกยาว และ หายใจออกยาว ก็รู้ว่าหายใจเข้ายาว และ หายใจออกยาว
3. เมื่อหายใจเข้าออกสั้น และ หายใจออกสั้น ก็รู้ว่าหายใจเข้าสั้น และ หายใจออกสั้น
4. ย่อมสำเหนียกว่า เราจะหายใจเข้า และ หายใจออก ก็ต้องรู้โดยชัดแจ้งชัด ต้นลม กลางลม ปลายลม
5. ย่อมสำเหนียกว่า เราจะทำลมเข้า และ ลมออกที่หยาบให้ละเอียด แล้วจึงหายใจเข้า และ หายใจออก

ตอบโดย: Invy 06 มี.ค. 51 - 10:39


อ้างอิง
คำว่าไม่ใช่ตัวตนของเราก็คือ ไม่ใช่คนสัตว์ของผู้รู้
ท่านใดมีพระสูตรอธิบายเรื่องนี้ก็จะดีครับ



๗. ปัญจวัคคิยสูตร
ว่าด้วยลักษณะแห่งอนัตตา

             [๑๒๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้
พระนครพาราณสี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุเบญจวัคคีย์ ฯลฯ แล้ว
ตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปมิใช่ตัวตน. ก็หากว่ารูปนี้จักเป็นตัวตนแล้วไซร้ รูปนี้ ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งยังจะได้ตามความปรารถนาในรูปว่า ขอรูปของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ก็เพราะเหตุที่รูปมิใช่ตัวตน ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และไม่ได้ตามความปรารถนาในรูปว่า ขอรูปของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่างได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา มิใช่ตัวตน. ก็หากเวทนานี้ จักเป็นตัวตนแล้วไซร้ ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งยังจะได้ตามความปรารถนาว่า ขอเวทนาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.ก็เพราะเหตุที่เวทนามิใช่ตัวตน ฉะนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และไม่ได้ตามความปรารถนาในเวทนาว่า ขอเวทนาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ดูกรภิกษุทั้งหลายสัญญามิใช่ตัวตน. ก็หากสัญญานี้จักเป็นตัวตนแล้วไซร้ ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งยังจะได้ตามความปรารถนาในสัญญาว่า ขอสัญญาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ก็เพราะเหตุที่สัญญามิใช่ตัวตน ฉะนั้น สัญญจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และไม่ได้ตามความปรารถนาในสัญญาว่า ขอสัญญาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ดูกรภิกษุทั้งหลายสังขารมิใช่ตัวตน. ก็หากสังขารนี้ จักเป็นตัวตนแล้วไซร้ ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งยังจะได้ตามความปรารถนาในสังขารว่า ขอสังขารของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.ก็เพราะเหตุที่สังขารมิใช่ตัวตน ฉะนั้น สังขารจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และไม่ได้ตามความปรารถนาในสังขารว่า ขอสังขารของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ดูกรภิกษุทั้งหลายวิญญาณมิใช่ตัวตน ก็หากวิญญาณนี้ จักเป็นตัวตนแล้วไซร้ ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งยังจะได้ตามความปรารถนาในวิญญาณว่า ขอวิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ก็เพราะเหตุที่วิญญาณมิใช่ตัวตน ฉะนั้น วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และไม่ได้ตามความปรารถนาในวิญญาณว่า ขอวิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

             [๑๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง?
             ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
             ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะ
ตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นตัวตนของเรา?
             ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
             พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
             ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า?
             ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นตัวตนของเรา?
             ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

             [๑๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ รูปอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีตอนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ทั้งที่อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ รูปทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน ฯลฯ ทั้งที่อยู่ไกลหรือใกล้ เวทนาทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั้นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ทั้งที่อยู่ไกลหรือใกล้ สัญญาทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ทั้งที่อยู่ไกลหรือใกล้
สังขารทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ทั้งที่อยู่ไกลหรือใกล้ วิญญาณทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

             [๑๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัดเพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น. เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว. รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว  พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

             พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสอนัตตลักขณสูตรนี้ จบลงแล้ว ภิกษุเบญจวัคคีย์ต่างมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของผู้มีพระภาค ก็แหละเมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ภิกษุเบญจวัคคีย์ ก็มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น.

จบ สูตรที่ ๗.

ที่มา:
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_name.php?name=อนัตตลักขณสูตร&book=9&bookZ=33


อ้างอิง
เรื่องรู้ความดับ เห็นความดับ ผมมีความเห็นว่า เห็นการดับก่อน แล้วก็รู้การดับ(รู้แจ้งด้วยวิญญาณขันธ์)
เมื่อรู้แจ้งแล้ว ก็พิจาณาได้ว่า เป็นเพียงแค่สภาวะธรรม ที่เกิดดับเป็นทอดๆ ไม่ใช่คนสัตว์
การเห็นความดับรู้ความดับนี้ เป็นผลงานของผู้รู้ และเป็นการทำลายผู้รู้คือผู้รู้ก็เป็นอนัตตา ผู้ถูกรู้(จิต)ก็ได้ผลพลอยได้ว่าผู้รู้ และผู้ถูกรู้คืออนัตตา



ว่าด้วยการเกิดดับแห่งสติปัฏฐาน ๔

             [๘๑๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับแห่งสติปัฏฐาน ๔ เธอทั้งหลายจงฟัง ก็ความเกิดแห่งกายเป็นอย่างไร? ความเกิดแห่งกายย่อมมี เพราะความเกิดแห่งอาหาร ความดับแห่งกายย่อมมี เพราะความดับแห่งอาหาร ความเกิดแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความเกิดแห่งผัสสะ ความดับแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ ความเกิดแห่งจิตย่อมมี เพราะความเกิดแห่งนามรูป ความดับแห่งจิตย่อมมี เพราะความดับแห่งนามรูป ความเกิดแห่งธรรมย่อมมี เพราะความเกิดแห่งมนสิการ ความดับแห่งธรรมย่อมมีเพราะความดับแห่งมนสิการ.

จบ สูตรที่ ๒

ที่มา:
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=19&A=4886&w=เกิดดับ


มโนธาตุเกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของจักขุวิญญาณธาตุ จิต มโน
มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับแม้ของ
มโนธาตุอีกชั้นหนึ่ง มโนธาตุ เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของโสตวิญญาณธาตุ
ฯลฯ มโนธาตุ เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของฆานวิญญาณธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ
เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของชิวหาวิญญาณธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ เกิดในลำดับ
แห่งการเกิดดับของกายวิญญาณธาตุ จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุ
ที่สมกัน เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับแม้ของมโนธาตุอีกชั้นหนึ่ง จิต มโน
มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์
มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดขึ้น นี้เรียกว่า มโนวิญญาณธาตุ


อภิธรรมภาชนีย์ จบ

ที่มา:
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=35&A=2356&w=เกิดดับ
 

ตอบโดย: wit 06 มี.ค. 51 - 11:10


ขอขอบคุณครับ คุณWIT
ผมขอเสนอคำสอนหลวงปู่ดูลย์ดังนี้
ประทีปส่องธรรม : "อย่าใช้จิตแสวงหาจิต" "จิตจริงแท้ไม่มีการไป ไม่มีการมา"
30 สิงหาคม 2548 10:22 น.

              ตอนที่ 81 คำสอนของหลวงปู่ดูลย์
       
       10. คำสอนของหลวงปู่ดูลย์
       ถาม ผมเคยอ่านธรรมเทศนา วิธีการปฏิบัติธรรม รวมทั้งปริศนาธรรมของหลวงปู่ดูลย์ รู้สึกว่าเป็นข้อธรรมที่ลึกซึ้งมากเกินกว่าสติปัญญาของปุถุชนจะเข้าใจได้ จึงอยากจะขอความกรุณาให้หลวงพ่อช่วยอธิบายคำสอนของท่านด้วยครับ
        ตอบ เมื่อกล่าวถึงคำสอนของหลวงปู่ดูลย์แล้ว อาตมามีข้อสังเกตว่ายิ่งนานวัน ยิ่งมีผู้แต่งคำสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติ โดยอ้างว่าเป็นคำสอนของหลวงปู่ดูลย์ออกมาเผยแพร่มากขึ้นๆ บางเรื่องขัดแย้งกับคำสอนของพระพุทธเจ้าด้วยซ้ำไป เช่นสอนว่า (1) "ถ้าจิตฟุ้งซ่านก็อย่าปฏิบัติ" จุดนี้ขัดกับมหาสติปัฏฐานสูตรที่ว่า "จิตฟุ้งซ่านให้รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน" หรือแต่งว่า (2) "เหตุต้องละ ผลต้องละใช้ หนี้ก็หมดพ้นเหตุเกิด" นี่ก็ขัดกับคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงสอนว่า "ทุกข์ (อันเป็นตัวผล) ให้รู้สมุทัย (อันเป็นตัวเหตุ) ให้ละ" ขอยืนยันว่าหลวงปู่ไม่เคยสอนอย่างนี้ ลองฟังเทปคำสอนที่เป็นเสียงเดิมของท่านดูได้เลย ที่ว่า "เหตุต้องละ" นั้นถูกแล้ว แต่ผลละไม่ได้ หลวงปู่จึงสอนว่า "ผลต้องละใช้" หมายความว่า "อย่าปฏิเสธวิบาก ต้องยอมรับผลจากการกระทำของตนโดยไม่ไปทำเหตุที่ไม่ดีขึ้นอีก"
        นอกจากนี้ก็มีการแต่งปริศนาธรรมแปลกๆ แล้วอ้างว่าเป็นคำสอนของหลวงปู่ก็มี อาตมาเคยถามศิษย์ของหลวงปู่หลายท่านแล้ว ไม่มีใครเคยได้ยินหลวงปู่สอนไว้อย่างนั้นเลย
        อาตมากล้ายืนยันว่า หลวงปู่ไม่เคยสอนปริศนาธรรม มีแต่บอกธรรมะอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา และลัดสั้นที่สุด เพื่อไม่ให้พวกเราหลงเพลินไปในโลกของความคิดจนลืมระลึกรู้สภาวธรรม แต่พวกเราเองมีนิสัยชอบคิด เมื่อได้ฟังธรรมที่ตรงไปตรงมาแล้ว ก็ยังนำมาคิดต่ออีก แต่เมื่อคิดไม่ออกเพราะธรรมเป็นสิ่งที่คิดๆ เอาไม่ได้ ก็เลยเหมาเอาว่าท่านแสดงปริศนาธรรม
        เรามาพูดกันถึงคำสอนดั้งเดิมของท่านกันดีกว่า ตัวอย่างเช่น เมื่ออาตมาไปศึกษาธรรมกับท่านนั้น ท่านสอนการปฏิบัติให้เพียงสั้นๆ ว่า "ให้ดูจิต" บ้าง "อย่าส่งจิตออกนอก" บ้าง เมื่อถามท่านว่าจิตอยู่ที่ไหน ท่านกลับตอบว่า "จิตไม่มีที่ตั้ง" เมื่อถามท่านว่าจะหาจิตได้อย่างไร ท่านกลับตอบว่า "อย่าใช้จิตแสวงหาจิต" เมื่อกราบเรียนท่านว่าเห็นจิตวิ่งไปมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจท่านกลับตอบว่า "จิตจริงแท้ไม่มีการไป ไม่มีการมา" เมื่อกราบเรียนท่านว่าสามารถรู้อยู่กับจิตผู้รู้ได้อย่างมั่นคงแล้ว ท่านกลับสอนว่า "พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้" เมื่อถามท่านว่าผู้รู้เป็นจิต จะทำลายจิตได้อย่างไร ท่านกลับตอบว่า "จิตไม่ใช่จิต แต่ก็มิใช่ไม่ใช่จิต" เมื่อกราบเรียนท่านว่าเห็นจิตผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้เป็นคนละอันกัน ท่านกลับตอบว่า "จิตกับสภาวะที่แวดล้อมอยู่เป็นสิ่งเดียวกัน" เป็นต้น
        คำสอนของท่านล้วนเป็นหลักปฏิบัติสำคัญในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานและธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือคำว่า "ดูจิต" หมายถึงให้ ตามรู้ตามเห็นไปอย่างที่จิตเขาเป็น ไม่เผลอ ไม่คิด และไม่เพ่งเอา นี่เป็นวิธีเจริญวิปัสสนานั่นเอง
        ที่ท่านสอนว่า "อย่าส่งจิตออกนอก" คือสอนว่าเมื่อจะปฏิบัติธรรมต้องมีสติสัมปชัญญะ ไม่หลงอารมณ์ ไม่ถูกตัณหา 6 ครอบงำ และต้องสักว่ารู้อารมณ์
        ที่ท่านสอนว่า "จิตไม่มีที่ตั้ง" ก็เป็นการทำลายความเห็นผิดว่าจิตมีที่ตั้งประจำเป็นการถาวร เพราะถ้าเชื่อเช่นนั้นจะมีโอกาสผิดพลาดหลายอย่างเช่น (1) คิดว่าจิตเที่ยง คือจิตมีดวงเดียวแล้วเที่ยววิ่งไปทางทวารทั้ง 6 และ (2) จะเกิดความพยายามเอาจิตไปตั้งไว้ที่จุดนั้นจุดนี้ ซึ่งเป็นวิธีของการทำสมถะ
        ความจริงจิตเกิดดับอยู่ทางทวารทั้ง 6 ตลอดเวลา จะพยายามเอามันไปตั้งไว้ที่ไหนเป็นการถาวรได้ แต่ถ้าจะถามหาที่ตั้งกันจริงๆ ก็ควรกล่าวว่า จิตเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปทางอายตนะภายในทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
        ที่ท่านสอนว่า "อย่าใช้จิตแสวงหาจิต" ก็เป็นการบอกตรงๆ ว่า (รูป) นามปรากฏอยู่ต่อหน้าต่อตาแล้ว เพียงมีสติและมีโยนิโสมนสิการเข้าใจถึงสภาวะของรูปนาม ก็พบ (รูป) นามแล้ว จะเที่ยวไปหามันทำไม เพราะการหานั้นเกิดจากอำนาจของตัณหา จิตที่กำลังถูกกิเลสตัณหาครอบงำย่อมไม่มีสติ เมื่อไม่มีสติก็ไม่มีทางรู้สภาวะของรูปนามได้เลย ดังนั้นไม่ว่าจะพยายามหาจิตสักเท่าไรก็ไม่มีวันพบ แต่ถ้ามีสติรู้ทันว่ากำลังมีตัณหา หรือรู้ทันว่ากำลังพยายามหา เท่านี้ก็เจอจิตแล้ว
        ที่ท่านสอนว่า "จิตจริงแท้ไม่มีการไป ไม่มีการมา" ก็เป็นการบอกตรงๆ ว่าจิตมันเกิดดับอยู่ตลอดเวลา แต่เพราะเราไม่รู้ เราหลงผิดว่าจิตเที่ยง หรือจิตเป็นตัวตนถาวร จึงเห็นว่าจิตดวงนี้แหละเที่ยวไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ทั้งที่ความจริงนั่นคือวิญญาณที่เกิดดับทางทวารทั้ง 6 และสิ่งที่เห็นว่าวิ่งไปมาก็เป็นแค่อาการของจิตใจหรือเป็นความปรุงแต่งฝ่าย นามธรรม โดยจิตเป็นผู้รู้อาการนั้นอีกทีหนึ่ง แต่เราไปหลงอาการจึงไม่รู้จักจิต
        ที่ท่านสอนว่า "พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้" ก็คือไม่ให้ยึดจิตผู้รู้ ถ้ายังยึดอยู่ก็หลุดพ้นไม่ได้
        ที่ท่านสอนว่า "จิตไม่ใช่จิต" ก็คือการชี้ให้เห็นว่า ตัวสภาวะหรือจิตปรมัตถ์เป็นอย่างหนึ่ง บัญญัติว่าจิตเป็นอีกอย่างหนึ่ง ถ้าเข้าถึงตัวจิตปรมัตถ์ก็จะรู้ว่า สภาวะอันนั้นมีอยู่แต่ไม่เรียกว่าเป็นอะไรเลยถ้าไม่เข้าไปคิดนึกปรุงแต่ง แล้วจะรู้สภาวะนั้นโดยไม่เอาความคิดเข้าไปปนเปื้อนการรู้อีกต่อไป จนเห็นความจริงของจิตปรมัตถ์ว่าเป็นไตรลักษณ์ และปล่อยวางจิตได้
        ที่ท่านสอนว่า "จิตกับสภาวะที่แวดล้อมอยู่เป็นสิ่งเดียวกัน" ก็คือการชี้ให้เห็นสภาวะแห่งความเป็นอนัตตาของรูปนามทั้งภายในและภายนอก
        จะเห็นได้ว่า หลวงปู่ดูลย์ไม่ เคยสอนปริศนาธรรม แต่สอนธรรมอย่างตรงไปตรงมาที่สุดตามสภาวะที่ปรากฏ และมุ่งกระตุ้นให้เราก้าวต่อไปในทางธรรม โดยไม่หลงติดอยู่กับสภาวะอันใดอันหนึ่งที่พบเห็นในระหว่างทาง และท่านไม่เคยสอนเพื่อเอาใจเรา จนบางคนก็รับไม่ได้เพราะคำสอนของท่านไม่ตอบสนองกับกิเลสของตน เช่นบางคนพอใจกับนิมิตต่างๆ ท่านกลับบอกว่านิมิตทั้งหลายนั้นยังเอาเป็นที่พึ่งอะไรไม่ได้ หรือบางคนภูมิใจที่สามารถรู้อยู่กับจิตผู้รู้ได้ ท่านกลับบอกให้ทิ้งเสีย เป็นต้น (ก็คงคล้ายกับธรรมนิยายที่ว่า กามนิตเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่ได้ เพราะพระองค์ท่านสอนว่าสวรรค์ไม่เที่ยง และไม่มีอาตมันคือไม่มีสัตว์บุคคลตัวตนเราเขาที่แท้จริง มีแต่รูปกับนาม ซึ่ง ขัดแย้งกับกิเลสของกามนิตอย่างรุนแรง)


ท่านใดมีความเห็น คำอธิบายใดๆ ขอให้ช่วยอธิบายให้ด้วย ขอขอบคุณครับ

ตอบโดย: svonnu48 06 มี.ค. 51 - 12:30



   เป็นอันว่า ได้สนทนาเรื่องปลีกย่อยต่างๆ ที่เกี่ยวของกับกรรมฐาน น่าจะครอบคลุมระดับหนึ่งแล้วนะครับ
    ที่ผ่านมาก็ได้สนทนา อานาปานสติสูตร ที่เป็นวัตถุหรือบทเบื้องต้น เมื่อเทียบกับสติปัฏฐาน 4 ก็คืออยู่ในหมวด พิจารณา กายในกาย นั้นเอง
     
     เมื่อเป็นสติปัฏฐาน 4 (กายในกาย)  ผมก็ได้ยกวิปัสสนาญาณ ทั้งแต่ วิปัสสนาญาณที่ 1 ถึง วิปัสสนาญาณที่ 4 (อุทัพยญาณ) เข้ามาประกอบ เผื่อบางท่านฝึกตามอานาปานสติสูตร ในหมวดวัตถุหรือบทนี้ แล้วสามารถยกขึ้นเป็น สติปัฏฐาน 4 เป็นวิปัสสนาญาณได้

     และวิปัสสนาญาณที่ 1 ถึง 4 นี้สามารถขึ้นๆ ลงๆ ได้ ตามสภาวะของพละ 5 (1.สติ 2.สมาธิ 3.ปัญญา 4.ศรัทธา 5.ความเพียร) ที่เจริญขึ้นอย่างสมดุยล์หรือถอยลง ซึ่งในช่วงนี้ วิปัสสนูกิเลส สามารถเกิดขึ้นได้อย่างมากมาย  แต่ผมจะยกเหตุการณ์ที่ใกล้เคียงที่เกิดขึ้นในกระทู้นะครับ มีวิปัสสนูกิเลสดังนี้

   วิปัสสนูกิเลสมี ๑๐ คือ
              ๑.
              ๒.
              ๓. ญาณ ความรู้
              ๔.
              ๕.
              ๖. อธิโมกข์ ความน้อมใจเชื่อ
              ๗.
              ๘.
              ๙.
             ๑๐. นิกันติ ความพอใจ
 
    ต่อไปเป็นการกล่าวไปตามที่วิเคราะห์และประมวล ออกมาได้ และไม่ได้เจาะจงไปที่บุคคลหนึ่งบุคคลใดหรือกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดนะครับ

    ก็คือเกี่ยวกับเรื่อง ความเห็น(ญาณ) ความเชื่อ(อธิโมกข์) และความพอใจ(นิกันติ) สามารถจัดลำดับสิ่งที่แสดงออกเป็นพฤติกรรมที่ถือยึดตามได้ดังนี้
             1. ยึดถือตามข้อมูลความรู้ที่ตนเองรู้สึกว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
             2. ยึดถือตามผู้รู้หรือครูบาอาจารย์
             3. ยึดถือตามที่เข้าใจตามตำรา
             4. ยึดถือตามธรรมที่ปรากฏเฉพาะตนหรือกลุ่มตน

      ทั้ง 4 ข้อด้านบนนั้นจะว่าดีก็ไม่ได้จะว่าเสียก็ไม่ได้  คือจะว่าดีก็ได้ถ้าสิ่งที่ยึดถือนั้นถูกตามธรรม  จะว่าเสียก็ได้ถ้าสิ่งที่ยึดถือนั้นผิดหรือไม่สามารถพัฒนาสูงธรรมเบื้องสูง ซึ่งเป็นวิปัสสนูกิเลส 3 ข้อด้านบนที่ผมพอพิจารณาแสดงให้เห็นให้ทำความเข้าใจ ได้ว่าความหมายของ 4 ข้อด้านบนที่ผมแจกแจงนั้น สามารถกลายเป็นสิ่งขัดขวาง การพัฒนาการปฏิบัติธรรมของตนเองได้เหมือนกัน  ต่อไปผมจะแตกประเด็นในแต่ละข้อให้ดูดังนี้

             1. ยึดถือตามข้อมูลความรู้ที่ตนเองรู้สึกว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้  ทำให้เกิดความคิดเห็นมากมายแตกแขนง จนรกไปด้วยข้อคิด และความคิด ก่อให้เกิดการฟุ้งซ้านและวิจิกิจฉาได้ง่าย  และก่อให้เกิดปฏิฆะ ขุ่นข้องใจ เมื่อความคิดเห็นแตกต่างกัน แล้วฝั่งลึกกายเป็นทิฏฐิมานะยึดมั่นเหนียวแน่นที่คลายได้อย่าก
             2. ยึดถือตามผู้รู้หรือครูบาอาจารย์ ทำให้เกิดความคิดเห็นมากมายแตกแขนง ถ้ามีความเห็นตรงข้าม หรือปฏิเสธ ก็ทำให้เกิดปฏิฆะ ขุ่นข้องใจ ทะเราะกันได้
             3. ยึดถือตามที่เข้าใจตามตำรา ถ้าเข้าใจถูกต้องตามตำราที่ถูกต้องตามธรรมเช่นพระไตรปิฏก ก็คงไม่มีปัญหาอะไร  แต่ถ้าเข้าใจผิดตามธรรมในพระไตรปิฏก หรือเข้าใจถูกแต่ตำรานั้นไม่ถูกธรรม ก็ทำให้ความคิดเห็นมากมายแตกแขนงหาที่จบลงได้อยาก ถ้ามีความเห็นตรงข้าม หรือปฏิเสธ ก็ทำให้เกิดปฏิฆะ ขุ่นข้องใจ ทะเราะกันได้
             4. ยึดถือตามธรรมที่ปรากฏเฉพาะตนหรือกลุ่มตน  สิ่งนี้แหละทำให้แตกเป็นสำนักมากมายดังปรากฏ  ถ้าลงรอยตามธรรมสามารถพัฒนาถึงธรรมเบื้องสูงได้ก็ดีไป แต่ถ้าไม่สามารถพัฒนาสู่ธรรมเบื้องสูงได้ ก็เป็นเรื่องที่เสียประโยชน์ไปทั้งตนทั้งกลุ่ม
           
         ก็ด้วยผลของวิปัสสนากิเลส ที่เกิดนิกันติ(วิปัสสนากิเลสข้อ 10) จนเห็นผิด เกิดความผิดเพี้ยน  เกิดความวิปลาส  เกิดความแบ่งแยกฐานการปฏิบัติต่างๆ นานา ตามผู้นำที่เห็นที่เข้าใจไป....
        ถ้าปรับเข้าไปสู่การพัฒนาธรรมเบื้องสูงได้ก็ดีไป  ถ้าปรับเข้าไปสู่การพัฒนาธรรมเบื้องสูงไม่ได้ด้วยทิฏฐิของผู้นำ ด้วยความเห็นผิดของผู้นำ เมื่อผู้ตามยึดติดไม่ย่อมคลาย ก็ถือว่าเสียโอกาสไปในชีวิตนั้น ทั้งผู้นำและผู้ตาม

  

ตอบโดย: Vicha 07 มี.ค. 51 - 10:20


  ต่อไปผมจะสนทนา เรื่องอานาปานสติสูตร ในวัตถุหรือบทต่อไปดังนี้

ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติหายใจเข้า

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุขหายใจเข้า

ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจเข้า

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจเข้า


    ซึ่งถ้าจัดในหมวดนี้เป็นสติปัฏฐาน 4  ก็อยู่ในหมวดของ พิจารณาเวทนาในเวทนา

    แต่ความหมายของ ปีติ (หรือสุข) เป็นเรื่องที่บุคคทั่วๆ ไปอาจจะเข้าใจได้อยาก  ว่าเป็นปีติ(เป็นสุข) อย่างไร แค่ไหน? จึงจะอยู่ในบท(วัตถุ)นี้

ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติหายใจเข้า

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุขหายใจเข้า


     ก็คือภาวะของปีติ(หรือสุข) ต้องเด่นชัดจึงจะสำเหนียก อย่างนั้นได้ ไม่ใช่เป็นอารมณ์ทั่วๆ ไปตามปกติ
     การที่จะมีปีติ(หรือสุข) ที่เด่นชัดได้นั้นต้องมีสมาธิที่สูงขึ้น บังเกิดองค์ฌาน 5 หรืออารมณ์ฌานทั้ง 5 ขึ้นมา คือ 1.วิตก 2.วิจาร 3.ปีติ 4.สุข และ 5.เอกคตา(อุเบกขา)    องค์ฌานห้า เริ่มปรากฏชัด ก็อยู่ในสมาธิระดับ  ทั้งแต่ อุปจารสมาธิ จนถึงปฐมฌาน
    แต่ปฐมฌานนั้น จะแยกอารมณ์เด่นชัดอย่างเด็ดขาด ว่าเป็นปีติ หรือสุข อย่างแจ่มแจ้งนั้นยังไม่ได้

     ถ้าได้เพียงปฐมฌานหรืออุปจารสมาธิ ก็ต้องมีสติเท่าทันในช่วงอารมณ์ๆ ไป ขององค์ฌานที่ปรากฏชัดเจนกว่า อารมณ์ฌานอย่างอื่นที่เหลือเท่านั้น  เพราะในช่วงปฐมฌานหรืออุปจารสมาธิ  บางสถานะการณ์บางภาวะ ก็เกิดปีติชัด ส่วนสูขและอารมณ์อื่นน้อย ก็สามารถกำหนดอานาปานสติสูตรตามด้านบนได้ หรือกำหนดลงสู่หมวดสติปัฏฐาน 4 หมวด เวทนา ก็ได้ แต่เป็นเพียงบางครั้งบางคราวเท่านั้น
     ซึ่งก็เช่นเดียวกันกับผู้ที่ได้วิปัสสนาญาณ ถึงญาณที่ 3 บังเกิดวิปัสสนานูกิเลสขึ้น ก็ย่อมมีปีติขึ้นมีสุขได้บางช่วงบางเหตุการณ์ ก็สามารถน้อมเข้าสู่อานาปานสติสูตร บท(วัตถุ)นี้ได้

     แต่ถ้าจะให้ตรงตามอานาปานสติสูตร อย่างแน่แท้ ไม่มีวิตกวิจารย์ปนอยู่ ของบทนี้

ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติหายใจเข้า
     
      จะต้องได้ถึงฌานที่ 2  เพราะองค์ฌานจะเหลือเพียง  ปีติ สุข เอกคตา  ซึ่งมีปีติเด่นชัดกว่าอย่างอื่นมาก

     เช่นเดียวกันถ้าให้ตรงตามอานาปานสติสูตร บทนี้อย่างแน่แท้ มีสุขเด่นชัดของบทนี้

 ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุขหายใจเข้า

      จะต้องได้ถึงฌานที่ 3  เพราะองค์ฌานจะเหลือเพียง สุข กับ เอกคตา ซึ่งมีสุขเด่นชัดมากไม่มีปีติเข้ามาปนแม้แต่น้อย.

      (ผมได้เพิ่มวัตถุหรือบทของ อานาปานสติสูตร เพื่อสนทนาต่อไปแล้วนะครับ เพราะที่ผ่านมาหยุดอยู่นาน)

 

ตอบโดย: Vicha 07 มี.ค. 51 - 11:13


ผมแสดงความคิดเห็นต่อนะครับ.

            ในความเห็นที่ผ่านมา ผมได้ แสดง อานาปานสติ กับ ปีติ และสุขไปแล้วในหมวดของเวทนา  ต่อไปก็เป็นบทหรือวัตถุที่เหลือในหมวดเวทนาคือ

ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจเข้า

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจเข้า


     ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดลงไปอีก  พ้นจากความสามารถของบุคคลธรรมหรือแม้แต่ผู้ที่ได้ฌานเบื้องต่ำ  ที่จะทำให้ได้ดังบทข้างบนนั้น  เพราะหมายถึงผู้ที่ได้ฌานที่ 4 เหลือเพียง เอกคตาจิตหรืออุเบกขา อย่างเดียว จึงสามารถสำเหนียกบทนี้ได้

    ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจเข้า

    ต่อไปเป็นการแสดงบทความบนความคิดเห็นที่วิเคราะห์เอา แต่ไม่ได้ตั้งบนประสบการณ์จริงที่แยกแยะได้ จึงอาจมีความหมายไม่ถูกต้องอยู่ ในบทหรือวัตถุที่เหลือคือ

     ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจเข้า

    ในบทหรือวัตถุนี้มีความละเอียดมากขึ้นไปอีก ก็คือมีวสีในการเข้าออกฌานได้ดังใจ จนถึงฌานที่ 4.  ซึ่งเกินเลยจากบุคคลธรรมดา หรือผู้ได้ฌานแต่ไม่มีวสี(ความชำนาณในการเข้าออกฌาน โดยตลอดทั้ง 4 ฌาน)

    (ต่อไปเป็นส่วนที่บุคคลธรรมดาหรือผู้ได้ฌาน แต่ยังไม่เกิดวสีสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ ไม่เกินเลยจากความสามารถของผู้อธิบาย)

     แต่ไม่ใช่หมายความว่า ผู้ไม่มีฌาน หรือไม่ถึงฌาน 4 แล้วไม่มีวสีจะทำไม่ได้ ในกรณีที่ใช้อานาปานสติเป็นบาทเบื้องต้นแล้วยกขึ้นสติปัฏฐาน 4 เป็นวิปัสสนา
     เพราะเวทนาหยาบนั้นมีได้โดยตลอดคือ สุข ทุกข์ เฉย เย้นร้อน อ่อน แข็ง ความเจ็บปวด ความเศร้าโศก เสียใจ ฟุ้งซ้าน ร้อนรน ขุ่นเคื่อง ดีใจ ยินดี ภูมใจ
      เมื่อพัฒณาสติ ปัญญา สมาธิ เท่าทันหรือเป็นปัจจุบันกับ อารมณ์ที่เป็น สุข หรือทุกข์ หรือเฉย หรือเกิดความสุขหรือทุกข์ ที่เกิดจากความ เย็น ร้อน อ่อน แข้ง หรือความเจ็บปวด ฯลฯ จนวาง(หรือวูบ)ความสุข หรือทุกข์ หรือเฉย ของภาวะเหล่านั้นได้ หายไปจากใจหรือจิตได้ จนจิตหรือใจนั้นสงบสว่างด้วยสติอยู่  เมื่อเวลาผ่านไปก็กลับเป็นปกติ
     และเมื่อกำหนดมีสติ ปัญญา สมาธิ เท่าทันหรือเป็นปัจจุบัน ก็เกิดภาวะเดิมคือวางหรือวูบสลายเวทนานั้นได้ มีจิตใจสงบสว่าง ช่วงเวลาหนึ่ง  ก็คือ สามารถ กำหนดจิตสังขารได้ และระงับจิตสังขารได้  และกำหนดได้โดยไม่ลำบาก ก็ถือว่า ได้พัฒนามาถึง บทหรือวัตถุ ทั้งสองนี้ เมื่อใช้อานาปานสติเป็นฐานในการกำหนดภาวนา

ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจเข้า

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจเข้า


     
 

ตอบโดย: Vicha 10 มี.ค. 51 - 10:44


ผมแสดงความคิดเห็นต่อนะครับ

    เมื่อถึงบทหรือวัตถุนี้ย่อมเป็นส่วนที่ทำความเข้าใจได้ยากมากขึ้นของบุคคลธรรมดาทั่วไปที่ไม่เคยได้ถึง ฌาน  ผมก็จะพยายามอธิบายที่เป็นในรูปบัญญัติ เพื่อให้เข้าใจในเรื่องฌาน ที่เทียบเคียงได้ในรูปของบัญญัติตามลำดับ ซึ่งจำทำให้ผมสามารถอธิบายบทหรือวัตถุต่อไปของอานาปานสติสูตรได้อย่างต่อเนื่อง เพราะบทหรือวัตถุต่อไปก็จะเกี่ยวกับเรื่อง ฌาน และองค์ฌานเป็นส่วนมาก
    
     เมื่อกล่าวถึงฌาน เราต้องทำความเข้าใจอารมณ์หรือจิตที่ยังไม่ถึงฌานก่อนเพื่อเทียบเคียงทางจินตมยปัญญาในเรืองของฌานแบบปลอมได้ แม้จะไม่เคยบรรลุฌาน
     จิตที่ยังไม่ถึงฌานหรือเป็นฌาน คือจิตที่ยังมีนิวรณ์ ๕ อยู่  คือรู้(จิต)+กับนิวรณ์ ๕  นิวรณ์ ๕ มีดังนี้(ทุกๆ ท่านย่อมมีกันทุกคนยกเว้นพระอรหันต์หรือพระอนาคามี)
      1.กามฉันทะ    ได้แก่จิตที่ฟุ้งด้วยราคะที่เป็นความรักความชอบอยากได้ปรุงแต่งอยู่
      2.พยายาบาท   ได้แก่จิตที่ยังขัดเคืองโกรธเคืองหรือมุ่งร้ายคิดร้ายหรือเพ่งโทษปรุงแต่งอยู่
      3.ถีนมิทธะ   ได้แก่จิตที่มีความง่วงหาวนอนปรุงแต่งอยู่
      4.อุทธัจจกุกกุจจะ  ได้แก่จิตที่ขาดสติแบบเบรอ สลึมสลือ หรือรำคาญใจตัวเองอึดอัดใจขุ่นมัวอยู่ลึกๆ  ปรุงแต่งอยู่
      5.วิจิกิจฉา  ได้แก่จิตที่สงสัยไปเรื่อย หรือคิดโน้นคิดนี้จนฟุ้งซ้านรำคาญใจไม่จบสิ้นปรุงแต่งอยู่

      ซึ่งคนธรรมดาทั่วไปจะมีนิวรณ์ ทั้ง 5 จรเข้ามาปรุงแต่งจิตอยู่เนืองๆ แทบไม่เคยว่างจากนิวรณ์ 5 อย่างนี้เลย บางครั้งคิดว่าจิตเราเป็นปกติแต่ความจริงแล้วมีนิวรณ์อย่างใดอย่างหนึ่งปรุงแต่งอยู่หลังฉากเกือบตลอดเวลา

     เมื่อเริ่มฝึกพัฒนาสมาธิ  ให้จิตเป็นหนึ่งอยู่กับฐานของกรรมฐาน เช่นอานาปานสติ ก็คือให้จิตอยู่กับลมหายใจเป็นต้น เมื่อสมาธิเริ่มเป็นหนึ่งขึ้น นิวรณ์ ๕ ก็คอยเริ่มจางหรือถอยออกไปจากจิต
      เมื่อจิตมีอามรณ์เป็นหนึ่งมากขึ้น นิวรณ์ ๕ ก็อ่อนกำลังไปอย่างมาก ก็จะเกิดอารมณ์องค์ฌาน 5 อย่างขึ้นมาแทนหรือมีบทบาทยิ่งขึ้น(ยังไม่ได้ฌาน แต่อธิบายลัดตอนผ่านเรื่องนิมิตมาแล้ว) ซึ่งก็คืออยู่ในช่วง อุปจารสมาธิ  ซึ่งมีอารมณ์องค์ฌาน 5 อย่างเข้ามามีบทบาทเด่นชัดขึ้นในจิต มีดังนี้
      1.วิตก  คือยกจิตน้อมไปสู่รู้การหายใจเข้าออกโดยตลอด (ยกจิตกำหนดรู้ลมหายใจเข้าหรือออก)
      2.วิจารย์ คือจิตไปประคองรู้อยู่กับการหายใจเข้าออก (ประกองจิตรู้ลมหายใจเข้าหรือออก
      3.ปีติ    คือจิตมีความปีติยินดี
      4.สุข    คือจิตมีสุขใจสบาย
      5.เอกคตา(อุเบกขา)  คือจิตมีความเป็นหนึ่งสงบ

    แต่อารมณ์องค์ฌานทั้ง 5 นั้นเมื่อยังเป็นอุปจารสมาธิ ก็ยังเจือปนอยู่กับนิวรณ์ 5 ที่อ่อนกำลังอยู่ จนกำลังสมาธิเจริญขึ้น การที่จะมีกำลังสมาธิเจริญขึ้นก็คือพัฒนาสติให้เจริญขึ้นนั้นเองจิตก็จะบรรลุปฐมฌาน โดยวูบขาดหรือดับไปช่วงขณะจิตหนึ่ง ตามกำลังของแต่ละท่านซึ่งจะมีอยู่ 3 ระดับ  ถ้าเป็นวิถีจิตตามพระอภิธรรม ตามที่ผมพอจำได้(อาจจะพิมพ์คลาดเคลือนบ้าง)ดังนี้

     ภวังค์ไหว..ตัดขาดจากภวังค์..มโนทวาราวัชชน..ภาวนา(ปริ)...อุปจาร...อนุโลม...โคตรภู...ปฐม...ภวัง...ภวัง...ภวัง

     ข้างบนนั้นเป็นวิถีของมันทบุคคล คือมีปัญญาช้า ซึ่งจะเกิดภวังค์หลังบรรลุปฐมฌาน 1 ขณะจิต ถึง 4 ขณะจิต
      ถ้าเป็นผู้มีปัญญาไว ภาวนาหรือปริกรรมไม่มี และภวังค์หลังบรรลุปฐมฌาน 1 ขณะจิต จะเกิดเพียง 3 ขณะจิตเท่านั้น

     ภวังค์ไหว..ตัดขาดจากภวังค์..มโนทวาราวัชชน...อุปจาร...อนุโลม...โคตรภู...ปฐม...ภวัง...ภวัง...ภวัง     (ยังอาจผิดได้ครับ)
   
       หลังจากนั้นจิตก็ถอนรับรู้อารมณ์ปกติแต่อยู่ในองค์ฌานของปฐมฌาน ทั้ง 5 ประการอย่างบริบูรณ์ ส่วนนิวรณ์ทั้ง ๕ ไม่มีอยู่ในจิตเลยในขณะนั้นที่อยู่ในองค์ฌานของปฐมฌาน

     ที่ผมต้องบอกว่า มีบุคคล 2 ประเภทเมื่อบรรลุฌาน คือ 1.ปัญญาช้า กับ 2.ปัญญาไว เพราะจะมีผลต่อการฝึกอานาปานสติในการบรรลุฌานขั้นต่อไป
     เพราะผู้ที่ปัญญาช้า จะบรรลุฌานถึง 5 ระดับ จึงจะถึง รูปฌาน 4 อย่างสมบูรณ์ ส่วนผู้ที่มีปัญญาไว จะบรรลุฌานเพียง 4 ระดับ ก็ถึง รูปฌาน 4  นี้เป็นข้อแตกต่าง แต่ผมจะขออธิบายถึงการบรรลุฌานของผู้มีปัญญาไว  เพื่อจะได้ลัดตอนสั้นและง่ายต่อการอธิบาย

     การบรรลุปฐมฌานนั้น ในชีวิตหนึ่งบรรลได้เพียงครั้งเดียว จะไม่มีการบรรลุช้ำ ส่วนการเข้าฌานที่ 1 ในภายหลังนั้นเรียกว่าเข้าฌานหนึ่งหรือเข้าสมาบัติ ไม่ใช่การบรรลุปฐมฌานใหม่  ดังนั้นผู้ที่ได้ฌานและฌานนั้นได้เสือมไปแล้ว ภายหลังได้ฝึกอบรมจิตใหม่ ก็ย่อมเข้าฌานนั้นได้อีก แต่ไม่ใช่เป็นการบรรลุใหม่  ซึ่งการบรรลุใหม่ในแต่และฌานนั้น มีเพียงครั้งเดียวในชีวิต ที่เหลือนั้นเป็นการเข้าฌานหรือเข้าสมาบัติ   วิถีการเข้าฌานหรือสมาบัติดังนี้.

     ภวังค์ไหว..ตัดขาดจากภวัง..มโนทวาราวัชชน..ภาวนา(ปริ)..อุปจาร..อนุโลม..โคตรภู..ฌาน(อัปปนาสมาธิ)ไปเรื่อยตามกำลัง..ภวัง..ภวัง
       
      ต่อไปเมื่อผู้ที่ได้บรรลุปฐมฌานแล้ว เมื่อยังดำรงณ์สติมั่นพัฒนาสมาธิและสติต่อไป ของอานาปานสติ ก็สมาธิจะเจริญจนบรรลุฌานที่ 2
      ในเมื่อบรรลุฌานที่ 2 ขณะที่อยู่ในองค์ฌาน จิตก็จะมีอารมณ์องค์ฌาน เพียง 3 ประการเท่านั้น(กล่าวถึงผู้มีปัญญาไว) คือ  1.ปีติ 3.สุข และ 4.เอกคตา  จิตจะไม่อารมณ์อื่นใดปนอยู่เลยในขณะที่อยู่ในองค์ฌาน

      หมายเหตุ อานาปานสตินั้นมีความพิเศษกว่ากรรมฐานอื่นคือ ฌานจะพัฒนาขึ้นไปตามลำดับฌานเองตามฐานะกำลังของสติและสมาธิ  ต่างกับกระสิน ที่ต้องมากำหนดฐานกันใหม่เพื่อให้บรรลุฌานเบื้องสูงขึ้น

      และเช่นเดียวกันเมื่อบรรลุฌานที่ 3 และอยู่ในองค์ฌาน จิตก็จะมีอารมณ์องค์ฌานเพียง 2 ประการเท่านั้น ไม่มีอารมณ์อย่างอื่นมาปนเลย คือมี 1.สุข กับ 2.เอกคตา
      
      และเช่นเดียวกันเมื่อบรรลุฌานที่ 4 และอยู่ในองค์ฌาน จิตก็จะมีอารมณ์องค์ฌานเพียง 1 ประการเท่านั้น ไม่มีอารมณ์อย่างอื่นมาปนเลย คือมี เอกคตา หรือสงบนิ่งอยู่

      ผมจึงพยายามเน้นให้ทราบว่า ในบทส่วนที่ผ่านมาเรื่องปีติ สุข จิตสังขาร ในส่วนของอานาปานสติสูตรนั้น ผู้ปฏิบัติพึงหรือควรได้ฌาน ถึงฌาน 4 จึงจะเป็นการสมบูรณ์ตามอานาปานสติสูตรในบทที่ผ่านมา  และเช่นเดียวกันในบทต่อไปก็ต้องอาศัยฌานทั้ง 4 เหมือนกัน
      แต่ไม่ใช่ว่าผู้ที่ไม่ได้ฌานจะปฏิบัติไม่ได้นะครับ ก็ปฏิบัติได้ก็โดยปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 โดยตรง โดยอาศัยอานาปานสติเบื้องต้นเป็นฐานที่อยู่ของ สติและสมาธิเพื่อเกิดกำลังในการพิจารณา กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ตามสมาธิช่วงขณิกสมาธิ หรืออุปจารสมาธิ  แต่ต้องระวังเรื่องวิปัสสนูกิเลสให้เป็นอย่างมากเพราะหลงได้ง่ายด้วยกำลังสมาธิที่มากกว่าปกติ
  
       
 

ตอบโดย: Vicha 11 มี.ค. 51 - 11:22


  จากคคห 227 มีความเห็นแย้งอยู่สองส่วนครับ
อ้างอิง
     1.วิตก  คือยกจิตน้อมไปสู่รู้การหายใจเข้าออกโดยตลอด (ยกจิตกำหนดรู้ลมหายใจเข้าหรือออก)
      2.วิจารย์ คือจิตไปประคองรู้อยู่กับการหายใจเข้าออก (ประกองจิตรู้ลมหายใจเข้าหรือออก
      3.ปีติ    คือจิตมีความปีติยินดี
      4.สุข    คือจิตมีสุขใจสบาย
      5.เอกคตา(อุเบกขา)  คือจิตมีความเป็นหนึ่งสงบ
จากคุณ : Vicha [ ตอบ: 11 มี.ค. 51 11:22 ]

เอกัคคตา คือ จิตมีความเป็นหนึ่ง  แต่ไม่ใช่อุเบกขาครับ
อุเบกขาจะเกิดที่ฌานสี่  จิตละ วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข
เหลือแต่  เอกัคคตา  ที่มี  อุเบกขา  เป็นอารมณ์ครับ

อ้างอิง
      และเช่นเดียวกันเมื่อบรรลุฌานที่ 4 และอยู่ในองค์ฌาน จิตก็จะมีอารมณ์องค์ฌานเพียง 1 ประการเท่านั้น ไม่มีอารมณ์อย่างอื่นมาปนเลย คือมี เอกคตา หรือสงบนิ่งอยู่จากคุณ : Vicha [ ตอบ: 11 มี.ค. 51 11:22 ]

องค์ฌานจะเหลือสอง คือ อุเบกขา และ เอกัคคตา ครับ

ส่วนตรงนี้รู้สึกว่าขัดๆกันครับ

อ้างอิง
      แต่ไม่ใช่ว่าผู้ที่ไม่ได้ฌานจะปฏิบัติไม่ได้นะครับ ก็ปฏิบัติได้ก็โดยปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 โดยตรง โดยอาศัยอานาปานสติเบื้องต้นเป็นฐานที่อยู่ของ สติและสมาธิเพื่อเกิดกำลังในการพิจารณา กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ตามสมาธิช่วงขณิกสมาธิ หรืออุปจารสมาธิ  แต่ต้องระวังเรื่องวิปัสสนูกิเลสให้เป็นอย่างมากเพราะหลงได้ง่ายด้วยกำลังสมาธิที่มากกว่าปกติ
จากคุณ : Vicha [ ตอบ: 11 มี.ค. 51 11:22 ]

น่าจะเป็น "น้อยกว่า" ไหมครับ

ติดตามอ่านอยู่ครับ  เป็นประโยชน์กับผมมากครับ

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 11 มี.ค. 51 - 12:32


สวัสดีครับคุณ บุญรักษ์
      ขอบคุณครับที่ร่วมสนทนแสดงความคิดเห็น

อ้างอิง
     1.วิตก  คือยกจิตน้อมไปสู่รู้การหายใจเข้าออกโดยตลอด (ยกจิตกำหนดรู้ลมหายใจเข้าหรือออก)
      2.วิจารย์ คือจิตไปประคองรู้อยู่กับการหายใจเข้าออก (ประกองจิตรู้ลมหายใจเข้าหรือออก
      3.ปีติ    คือจิตมีความปีติยินดี
      4.สุข    คือจิตมีสุขใจสบาย
      5.เอกคตา(อุเบกขา)  คือจิตมีความเป็นหนึ่งสงบ


       องค์ฌานมี 5 ถูกแล้วครับตามนั้น เพราะเมื่อใดจิตมีเอกคตาคือมีความเป็นหนึ่งอย่างเดียวไม่มีอย่างอื่นปน ก็คือจิตมีอารมณ์เป็นอุเบกขา อย่างเดียวกันครับผมจึงใส่วงเล็บ ซึ่งสามารถเขียน องค์ฌาน 5 ได้อย่างนี้ก็ได้ครับ
      1.วิตก 2.วิจารย์ 3.ปีติ 4.สุข 5.อุเบกขา

    และจากที่คุณบุญรักษ์ ตั้งข้อสังเกต

อ้างอิง
      และเช่นเดียวกันเมื่อบรรลุฌานที่ 4 และอยู่ในองค์ฌาน จิตก็จะมีอารมณ์องค์ฌานเพียง 1 ประการเท่านั้น ไม่มีอารมณ์อย่างอื่นมาปนเลย คือมี เอกคตา หรือสงบนิ่งอยู่จากคุณ : Vicha [ ตอบ: 11 มี.ค. 51 11:22 ]

องค์ฌานจะเหลือสอง คือ อุเบกขา และ เอกัคคตา ครับ


    ตามที่ผมเข้าใจ  เมื่อจิตมีเอกคตา ก็คือจิตมีอุเบกขาเป็นอารมณ์ เสมือนเป็นเนื้อหนึ่งเดียวกันครับ จึงกล่าวได้ว่ามีเพียงหนึ่ง  คือ เอกคตา(อุเบกขา) เพราะ เอกคตากับอุเบกขาเป็นเนื้อหนึ่งเดียวกันครับ

     และจากที่คุณบุญรักษ์ ตั้งข้อสังเกตุ
อ้างอิง
      แต่ไม่ใช่ว่าผู้ที่ไม่ได้ฌานจะปฏิบัติไม่ได้นะครับ ก็ปฏิบัติได้ก็โดยปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 โดยตรง โดยอาศัยอานาปานสติเบื้องต้นเป็นฐานที่อยู่ของ สติและสมาธิเพื่อเกิดกำลังในการพิจารณา กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ตามสมาธิช่วงขณิกสมาธิ หรืออุปจารสมาธิ  แต่ต้องระวังเรื่องวิปัสสนูกิเลสให้เป็นอย่างมากเพราะหลงได้ง่ายด้วยกำลังสมาธิที่มากกว่าปกติ
จากคุณ : Vicha [ ตอบ: 11 มี.ค. 51 11:22 ]

น่าจะเป็น "น้อยกว่า" ไหมครับ


     การที่ผมกล่าวว่า มีกำลังสมาธิมากกว่าปกติ  นั้นถูกต้องแล้วครับ เพราะปกติ สติปัฏฐาน 4 หรือการปฏิบัติวิปัสสนานั้น มีสมาธิ เริ่มแค่เพียง ขนิกสมาธิ ก็เพียงพอในการปฏิบัติแล้วครับ แล้ว สติ ปัญญา สมาธิ ศรัทธา และความเพียร ซึ่งเป็นพละ 5 ก็จะพัฒนาเจริญขึ้นอย่างสมดุลย์ไปตามลำดับ
      ส่วนท่านที่ปฏิบัติ อานาปานสติ เมื่อปฏิบัติไปได้ระยะหนึ่ง สมาธิจะไปอยู่ระดับ ขนิกสมาธิอย่างแก่ หรืออุปจารสมาธิเป็นส่วนมาก  สมาธิจึงนำกว่าพละ อย่างอื่นที่เหลือ ทำให้ สติ ปัญญา ไม่สมดุยล์กัน ดังนั้นเมื่อเกิดวิปัสสนูกิเลส ก็จะมีภาวะอารมณ์ที่ชัดเจนและเด่นชัดมาก เมื่อมีสติปัญญาด้อยกว่า ก็จะทำให้เกิดหลงยึดติดในวิปัสสนูกิเลสนั้นได้ง่าย ก็คือวิปัสสนูกิเลสข้อที่ 10 ที่เข้าไปผสมนั้นเองแหละครับ ซึ่งอาจจะฝังเป็นทิฏฐิที่ยึดมั่นจนน่ากลัวทำให้เสียเวลา และทำให้ผู้อื่นที่ศัทธาต้องเสียเวลาตามไปด้วย.

     ดีครับในความคิดเห็นนี้ผมก็จะได้แสดง แยกให้เห็นว่า ผู้ที่มีปัญญาช้า ปฏิบัติอานาปานสติ จะมีถึง 5 ระดับ จึงจะถึง รูปฌาน 4 ดังนี้
                  ผู้มีปัญญาช้า
              ฌานที่ 1  มี วิตก วิจารย์ ปีติ สุข เอกคตา
              ฌานที่ 2  มี        วิจารย์ ปีติ สุข เอกคตา
              ฌานที่ 3  มี                  ปีติ สุข เอกคตา
              ฌานที่ 4  มี                       สุข เอกคตา
              ฌานที่ 5  มี                            เอกคตา
                   เรียกว่า ปัญจยฌาน ของผู้มีปัญญาช้า หรือมันทบุคคล

                   ผู้มีปัญญาไว
              ฌานที่ 1  มี วิตก วิจารย์ ปีติ สุข เอกคตา
              ฌานที่ 2  มี                 ปีติ สุข เอกคตา
              ฌานที่ 3  มี                      สุข เอกคตา
              ฌานที่ 4  มี                           เอกคตา
                    เรียกว่า จตุยฌาน(พิมพไม่ถูก) ของผู้มีปัญญาไว

             เมื่อถึงจุดนี้แล้วผมจะเสริมความรู้เข้าไปอีกนิดหนึ่ง คือ ฌาน 1, 2 ,3  จะแบ่งกำลังการบรรลุฌาน เป็น 3 ระดับ แล้วแต่บุคคล  คือ  1.กำลังอ่อน  2.กำลังอย่างกลาง  3.กำลังแก่กล้า
          และท่านผู้ได้ฌาน เดียวกันแต่มีกำลังการบรรลุฌานต่างกันเมื่อตายไปและฌานไม่เสื่อมก็จะไปเกิดเป็นรูปพรหมคนละชั้นกันดังข้อมูลที่ผมได้แสดงไว้แล้วครับ..

   

ตอบโดย: Vicha 11 มี.ค. 51 - 14:27


อ้างอิง
     แต่ไม่ใช่ว่าผู้ที่ไม่ได้ฌานจะปฏิบัติไม่ได้นะครับ ก็ปฏิบัติได้ก็โดยปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 โดยตรง โดยอาศัยอานาปานสติเบื้องต้นเป็นฐานที่อยู่ของ สติและสมาธิเพื่อเกิดกำลังในการพิจารณา กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ตามสมาธิช่วงขณิกสมาธิ หรืออุปจารสมาธิ  แต่ต้องระวังเรื่องวิปัสสนูกิเลสให้เป็นอย่างมากเพราะหลงได้ง่ายด้วยกำลังสมาธิที่มากกว่าปกติ
จากคุณ : Vicha [ ตอบ: 11 มี.ค. 51 11:22 ]

ครับพอเข้าใจแล้วครับ  ผู้ที่มีกำลังสมาธิมากกว่าปัญญา  จะเกิดวิปัสสนูปกิเลสได้ง่ายกว่า

แต่ตรงที่ว่า "ผู้ที่ไม่ได้ฌาน"  น่าจะหมายถึง "มีกำลังสมาธิที่น้อยกว่าปกติ"

หรือ

ตรงที่ว่า "ผู้ที่ได้ฌาน"  น่าจะหมายถึง "มีกำลังสมาธิที่มากกว่าปกติ"

ก็เลยรู้สึกขัดๆน่ะครับ

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 11 มี.ค. 51 - 15:20


อ้างอิง
     1.วิตก  คือยกจิตน้อมไปสู่รู้การหายใจเข้าออกโดยตลอด (ยกจิตกำหนดรู้ลมหายใจเข้าหรือออก)
      2.วิจารย์ คือจิตไปประคองรู้อยู่กับการหายใจเข้าออก (ประกองจิตรู้ลมหายใจเข้าหรือออก
      3.ปีติ    คือจิตมีความปีติยินดี
      4.สุข    คือจิตมีสุขใจสบาย
      5.เอกคตา(อุเบกขา)  คือจิตมีความเป็นหนึ่งสงบ

อ้างอิง
      และเช่นเดียวกันเมื่อบรรลุฌานที่ 4 และอยู่ในองค์ฌาน จิตก็จะมีอารมณ์องค์ฌานเพียง 1 ประการเท่านั้น ไม่มีอารมณ์อย่างอื่นมาปนเลย คือมี เอกคตา หรือสงบนิ่งอยู่จากคุณ : Vicha [ ตอบ: 11 มี.ค. 51 11:22 ]

อ้างอิง
    ตามที่ผมเข้าใจ  เมื่อจิตมีเอกคตา ก็คือจิตมีอุเบกขาเป็นอารมณ์ เสมือนเป็นเนื้อหนึ่งเดียวกันครับ จึงกล่าวได้ว่ามีเพียงหนึ่ง  คือ เอกคตา(อุเบกขา) เพราะ เอกคตากับอุเบกขาเป็นเนื้อหนึ่งเดียวกันครับ
จากคุณ : Vicha [ ตอบ: 11 มี.ค. 51 14:27 ]

ที่คุณVicha อธิบายมาผมเข้าใจครับ  สภาวะที่รู้สึกได้เป็นแบบนั้น  คุณVicha บรรยายออกมาตามความรู้สึกจริงๆ  แต่ยังไม่ลงกับปริยัติน่ะครับ  ผมเคยอ่านเจอตามลิงค์ข้างล่างนี้เลยยกขึ้นมาคุยด้วย  ตามความเข้าใจผมคิดว่าองค์ธรรมทั้งสองแนบกันอยู่สนิทจนแยกออกได้ยาก  คือ  มีอารมณ์เป็น "อุเบกขา"  อยู่อารมณ์เดียว  ตรง "อยู่อารมณ์เดียว" คือเอกัคคตา

ลองดูตามลิงค์ข้างล่างนะครับ

http://abhidhamonline.org/aphi/p1/058.htm
http://abhidhamonline.org/aphi/p1/062.htm
http://abhidhamonline.org/aphi/p1/063.htm

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 11 มี.ค. 51 - 15:42


ตอบตามความคิดเห็นของคุณ บุญรักษ์ ในความคิดเห็นที่ 230 ก่อนนะครับ

อ้างอิง
     แต่ไม่ใช่ว่าผู้ที่ไม่ได้ฌานจะปฏิบัติไม่ได้นะครับ ก็ปฏิบัติได้ก็โดยปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 โดยตรง โดยอาศัยอานาปานสติเบื้องต้นเป็นฐานที่อยู่ของ สติและสมาธิเพื่อเกิดกำลังในการพิจารณา กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ตามสมาธิช่วงขณิกสมาธิ หรืออุปจารสมาธิ  แต่ต้องระวังเรื่องวิปัสสนูกิเลสให้เป็นอย่างมากเพราะหลงได้ง่ายด้วยกำลังสมาธิที่มากกว่าปกติ
จากคุณ : Vicha [ ตอบ: 11 มี.ค. 51 11:22 ]


  ออ..  ผมมุ่งเน้นตรงผู้ที่ปฏิบัติอานาปานสติ แต่ยังไม่ถึงฌาน แล้วมาปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 ซึ่งส่วนมากนั้น กำลังสมาธิจะมากไปกว่า ขนิกสมาธิไปแล้ว ทำให้ สติ ปัญญา ซึ่งเป็นพละที่เหลือด้อยกว่า และไม่เท่าทัน เมื่อเกิดวิปัสสนูกิเลสก็จะทำให้ภาวะอาการหรืออารมณ์ปรากฏชัดเด่นชัดทำให้หลงได้ง่ายครับ

 

ตอบโดย: Vicha 11 มี.ค. 51 - 17:23


อ้างอิง (Vicha @ 11 มี.ค. 51 - 17:23)
ตอบตามความคิดเห็นของคุณ บุญรักษ์ ในความคิดเห็นที่ 230 ก่อนนะครับ

  ออ..  ผมมุ่งเน้นตรงผู้ที่ปฏิบัติอานาปานสติ แต่ยังไม่ถึงฌาน แล้วมาปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 ซึ่งส่วนมากนั้น กำลังสมาธิจะมากไปกว่า ขนิกสมาธิไปแล้ว ทำให้ สติ ปัญญา ซึ่งเป็นพละที่เหลือด้อยกว่า และไม่เท่าทัน เมื่อเกิดวิปัสสนูกิเลสก็จะทำให้ภาวะอาการหรืออารมณ์ปรากฏชัดเด่นชัดทำให้หลงได้ง่ายครับ
(Vicha @ 11 มี.ค. 51 - 17:23)

ขอบคุณครับ  เข้าใจแล้วครับ  

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 11 มี.ค. 51 - 17:26


   ส่วนข้อแตกต่างในความคิดเห็นที่ 231  และขอบคุณมากครับที่ยก อภิธรรมมาให้ดู แต่พอดีหมดเวลาเสียก่อน  เอาไว้พรุ้งนี้ผมจะลองหาข้อมูลเปรียบเทียบใหม่นะครับ

 

ตอบโดย: Vicha 11 มี.ค. 51 - 17:32


    เช้านี้ผมก็ได้มาสนทนาต่อ  จากเรื่องที่ค้างการเปรียบเทียบข้อมูล ที่คุณบุญรักษ์ได้ยกพระอภิธรรมสังคหะให้ทราบ

    ผมขอกล่าวถึงมุมมองก่อน ซึ่งมุมมองในการเปรียบข้อมูลของ รูปฌาน 4 ว่าเป็น อุเบกขา หรือ เอกคตา(อุเบกขา)  นั้นมี 3 ส่วน ถ้าขาดการโยนิโสมนสิการให้ดี ทำให้สับสนได้

       1. มุมมองที่หนึ่ง มุมมองของผู้ปฏิบัติ จนถึงรูปฌาน 4 จะชัดเจนแต่เพียง อุเบกขา เท่านั้น ส่วนที่ว่าเป็น เอกคตา  นั้นไม่ค่อยรู้จัก (มุมมองของผู้ปฏิบัติมีส่วนขยายต่อภายหลัง)
      2. มุมมองที่สอง  มุมมองจากพระไตรปิฏก ในส่วนของการปฏิบัติถึง รูปฌาน 4 จะสิ้นสุดที่ อุเบกขา  ไม่ได้ชี้ไปถึง เอกคตา แต่อย่างไร
      3. มุมมองที่สาม  มุมมองที่อภิธรรมสังคหะ รูปฌาน 4 กลับแยกอารมณ์ออกเป็น สองคือ อุเบกขา กับ เอกคตา

      ตามความเห็นของผมนะครับ ตามมุมมองของพระอภิธรรมสังคหะ ในเรื่ององค์ฌานของฌานที่ 4 ถ้าแยกตามบัญญัติตามความหมายของอุเบกขาและเอกคตาแตกต่างกัน ผมก็เห็นว่าถูกต้อง แต่ถ้าแยกออกจากกันในการปฏิบัติเป็นองค์ฌานว่า อุเบกขา ส่วนหนึ่ง เอกคตาอีกส่วนหนึ่ง นั้นผมเห็นว่าไม่น่าถูกต้อง แต่ผมก็เคารพในพระอภิธรรม ดังนั้นจะเห็นเวลาที่ผม เขียนอธิบายถึงฌาน 4 เป็นส่วนมาก ผมจะพิมพ์ว่า เอกคตา(อุเบกขา)

      ต่อไปผมาจะยกหลักฐานข้อมูลในพระไตรปิฏก ที่พระพุทธเจ้ากล่าวถึงฌานต่างๆ เป็นอย่างไร และจะมีคำว่า เอกคตา หรือ อุเบกขา หรือไม่?

   จากพระไตรปิฏกเล่มที่ 23 หน้า 178 ข้อ 120 (เพียงส่วนหนึ่ง)
.......
.......
         ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกทางใจของท่านพระอนุรุทธะแล้ว เสด็จ
จากเภสกลามิคทายวัน แขวงสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคชนบท ไปปรากฏเฉพาะหน้าท่านอนุรุทธะ
ที่วิหารปาจีนวังสทายวัน เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่จัดไว้ถวายแล้ว แม้ท่านพระอนุรุทธะถวายบังคมพระผู้มี
พระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอนุรุทธะว่า ดีแล้วๆ
อนุรุทธะถูกละ ที่เธอตรึกมหาปุริสวิตกว่าธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อยมิใช่
ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก ... ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม ดูกร
อนุรุทธะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงตรึกมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ นี้ว่าธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ชอบ
ใจในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่
ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริส
วิตก ๘ ประการนี้ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุ ปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก
๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็น
ธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
ในกาล
ใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก๘ ประการนี้ ในการนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักมีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริส
วิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
ในกาล
ใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้มีปรกติได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น ผ้าบังสุกุล
จีวรจักปรากฏแก่เธอ ผู้สันโดษ อยู่ด้วยความยินดี ด้วยความไม่หวาดเสียว ด้วยความ
อยู่เป็นสุข ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนหีบใส่ผ้าของคฤหบดีหรือบุตรแห่งคฤหบดี
อันเต็มไปด้วยผ้าสีต่างๆ ฉะนั้น ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘
ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง
เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น โภชนะ คือ คำข้าวที่ได้มาด้วยปลีแข้ง จักปรากฏ
แก่เธอผู้สันโดษ

.......
.......

    จะเห็นว่าในพระไตรปิฏกนั้น ในเรื่องฌาน นั้นพระพุทธเจ้าไม่ได้กล่าวถึง เอกคตา เลย ส่วนมากพระพุทะเจ้าจะกล่าวถึง อุเบกขา
     ที่มีการถึง เอกคตา มากก็อยู่ในส่วนของพระอภิธรรมเท่านั้น ดังนั้นในภาคปฏิบัติไม่จำเป็นต้องกล่าวถึง เอกคตา เลยก็ได้  กล่าวเพียง อุเบกขา ก็สมบูรณ์ในการปฏิบัติแล้ว
      เพียงแต่ผมได้ศึกษาพระอภิธรรมมาเพียงเล็กน้อย จึงเคารพพระอภิธรรม จึงเอาคำว่า เอกคตา มาใช้ แต่ก็หมายถึง อุเบกขา นั้นเอง ดังนั้นส่วนมากผมก็จะใส่วงเล็บมีคำว่า อุเบกขา อยู่ด้วย..

    ต่อไปผมจะยกตัวอย่างจากพระไตรปิฏก อีกส่วนหนึ่งเพื่อเน้นย้ำให้ชัดเจนขึ้น ว่าพระพุทธเจ้าตรัสอย่างไร ในเรื่องของ ฌาน จากพระไตรปิฏกเล่มที่ 29 หน้าที่ 37 ข้อที่ 64 ส่วนหนึ่ง ดังนี้ (จัดข้อความเพื่อให้เด่นชัด)
....
....
         อธิจิตตสิกขา เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
ทั้งหลาย
       บรรลุปฐมฌาน มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่.
       เพราะวิตกและวิจารสงบไปจึงบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่.
       เพราะปีติสิ้นไป จึงมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ
อยู่เป็นสุข.
       เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ จึงบรรลุจตุตถฌานไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่าอธิจิตตสิกขา.


    ต่อไปผมเอาคำว่า เอกัคตา ในพระไตรปิฏกให้ดูนะครับ

         [๘๖๘] ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กระทำ
นิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต อริยสาวกนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล
ธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความ
ผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอก ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป
มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติ
สิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่
เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโทมนัสโสมนัส
ก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์.


เอาเพิ่มอีกส่วนหนึ่ง

         [๑๑๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยวิมังสาแล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต
นี้เรียกว่า วิมังสาสมาธิ เธอยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้ง
จิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อ
ให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความเจริญยิ่งๆ
ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เหล่านี้เรียกว่า
ปธานสังขาร วิมังสานี้ด้วย วิมังสาสมาธินี้ด้วย และปธานสังขารเหล่านี้ด้วย ดังพรรณนามานี้
นี้เรียกว่า อิทธิบาทประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร.


    ข้อสังเกต จะเห็นเมื่อพระพุทธเจ้ากล่าวถึง ฌาน ต่างๆ ตามลำดับ  ก็จะกล่าวถึง เฉพาะ อุเบกขา เท่านั้น
         แต่ถ้ากล่าวโดยรวมเมื่อมีสมาธิ  พระพุทธองค์กล่าวถึง เอกัคตาจิต..

     ขอส่งข้อมูลเพียงแค่นี้ก่อน เพราะจะมากทำให้อ่านทำความเข้าใจลำบาก ส่วนมุมของผู้ปฏิบัติที่ปลีกย่อออกไป จะเสนอในความคิดเห็นต่อไป

 

ตอบโดย: Vicha 12 มี.ค. 51 - 09:49


ครับ...ผมเข้าใจครับ คุยกันเรื่องนี้พอสังเขปครับ
ผมเชื่อว่าผู้ที่ปฏิบัติถึงได้จะเข้าใจได้ชัดครับ  

เชิญคุณVicha ต่อนะครับ  

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 12 มี.ค. 51 - 10:15


ต่อไปจะเสนอมุมมอง ของการปฏิบัติ นะครับ

   ถ้าจำไม่ผิดผมเคย ภาวนา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง  พร้อมทังมีสติไปรับรู้ในส่วนนั้นๆ ของร่างกายในขณะภาวนา ถึงคำนั้นๆ  (เป็นเรื่องเฉพาะบุคคล ถ้าปฏิบัติตามโดยสติยังไม่ฉับไวและสามารถตัดลงสู่ความสงบได้อาจจะเกิดปัญหาความชาและเครียดได้)
   หลังจากนั้นจิตก็จะตัดการรับรู้ทางกาย จุดทีสติไปรู้สึกตำแหน่งที่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ก็จะหมดไป แต่จิตรวมกันเป็นหนึ่ง เสมือนเพ่งอยู่เพียงจุดเดียว  ตามที่ผมเข้าใจนี้แหละคือ เอกัคคตา พร้อมทั้งมีอารมณ์เฉยหรืออุเบกขาไม่รับรู้อย่างอื่น

   แต่หาใช่ เอกัคคตา + อุเบกขา เป็น ฌาน 4  เพราะสติยังเท่าทั้นนิมิต เหมือนจิตหรือจุดที่เป็นหนึ่งนั้น กำลังหมุนผลุขึ้นผลุลงคล้ายเป็นจุดสามเหลียมที่คอยทะยอยหมุนยกมุมแต่ละมุมหมุนให้ปรากฏชัด หาได้เป็นเพียงจุด หนึ่งเดียว

   จึงทำให้ทราบว่าเป็นเพียงอุปจารสมาธิ ที่แนบแน่นเป็นปฐมฌานเท่านั้น  ถ้าไม่พิจารณาให้ดี อาจทำให้เข้าใจผิดไปว่า มี เอกัคคตา+อุเบกขา ไม่มีองค์ฌานอื่นปนอยู่ จะต้องเป็นฌาน 4 ก็ได้   ทำให้เกิดการหลงฌานได้ (ชึ่งน่าจะมีผู้หลงฌานเกิดทำนองนี้บางแล้วก็ได้).


    ดังนั้นคำว่า เอกัคคตาจิต หรือจิตเป็นหนึ่งนั้น ด้วยความเห็นส่วนตัว เริ่มปรากฏเด่นชัดทั้งแต่ อุปจารสมาธิที่เริ่มแนบแน่นแล้ว จนตลอดทั้งแต่ ฌาน 1 ถึง ฌาน 8 เป็นการกล่าวถึง ภาวะของ สมาธิ  ไม่ได้เกล่าวถึงเรื่องขององค์ฌานทั้ง 5 ตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสคือ  วิตก วิจารย์ ปีติ สุข อุเบกขา..
    แต่ผมอนุโลมเข้ามาเพราะผมก็ได้ศึกษาอภิธรรมสังคหะมาบ้าง จึงให้ความหมาย เอกัคตา  ก็เป็นเนื้อเดียวกับ อุเบกขา นั้นเอง..  ซึ่งอาจจะคลาดเคลื่อนอยู่ เพราะในปัจจุบันนี้ก็ยังเคลือบแคลงอยู่ ว่าจะเอาคำใดเป็นหลักกันแน่ในการกล่าวถึงองค์ฌานทั้ง 5 . ผมจึงจับรวม เอกัคตา เป็นเนื้อเดียวกับ อุเบกขา คือใช้แทนกันได้ไปก่อน

    ซึ่งวันนี้เมื่อได้มีโอกาสสืบค้นข้อมูล เพราะคุณบุณรักษ์เป็นเหตุ(เหตุที่ดี)  ทำให้ผมมั่นใจว่า การกล่าวถึง ในองค์ฌาน 5 นั้น ควรกล่าวตามพระพุทธเจ้า คือ อุเบกขา  นั้นแหละถูกที่สุด  ควรยกเอกัคคตาออกไป  แต่เพื่อความไม่เก้อเขินต่อพระอภิธรรมสังคหะ ผมจะพิมพ์เป็น  อุเบกขา(เอกัคตา)

   
   

ตอบโดย: Vicha 12 มี.ค. 51 - 10:35


วันนี้มาเสนอข้อมูลต่อ

       ครับคุณบุญรักษ์  การสนทนาเรื่องอภิธรรมมากไปก็ก่อให้เกิดปัญหาความไม่ลงรอยกันได้  ถ้าเทียบในทางวิทยาศาสตร์  เสมื่อนเอาเรื่องกฏความโน้มถ่วงของนิวตันบนผิวโลก ไปคุยหรือแสดงเกี่ยวกับทฤษฏีสัมพันธภาพของไอสะตาย(พิมพ์ไม่ถูก)

     ต่อไปผมก็ยกเรื่องอานาปานสติสูตรในบทหรือวัตถุที่เหลือโดยผมจะยกจากกิมิลสุตร ที่อานาปานสติ เป็นสติปัฏฐาน 4 ในบทหรือวัตถุ เรื่องของ จิต ดังนี้

  [๑๓๖๐] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักกำหนดรู้จิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้บันเทิงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่นหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่นหายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเปลื้องจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเปลื้องจิตหายใจเข้า
    สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
    เพราะเราไม่กล่าวซึ่งการเจริญสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ สำหรับผู้มีสติหลง ไม่มีสัมปชัญญะ เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.


     ในบทหรือวัตถุของ อานาปานสติสตูร ในส่วนของ จิต  นี้ เราไม่ต้องพูดถึงเลยว่าเป็นภาวะจิตของบุคคนธรรมดาที่ไม่ได้ฌาน และที่ไม่ชำนาญจนมีวสี  เพราะหมายความว่าเป็นบทของผู้ได้ฌาน และมีความชำนาญจนเกิดวสีอย่างดีแล้ว  ในยุคนี้สมัยนี้ของมนุษย์โลกในปัจจุบันคงหาได้ยาก แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีเลยนะครับ

     ในบทหรือวัตถุส่วนของ จิต นี้ ในเมื่อต้องเป็นผู้ได้ฌานและชำนาญเป็นวสี จึงจะกำหนดได้ดี และก้าวไปสู่สติปฏิฐาน 4 ในข้อ พิจารณาจิตในจิต ได้อย่างถูกต้อง ดูแล้วกลายเป็นเรื่องยาก สำหรับยุคกลางพุทธศาสนาสมัยนี้เสียเหลือเกิน มีผู้ทีปฏิบัติได้น้อยเสียเหลือเกิน ดังนั้นบทหรือวัตถุ ส่วนนี้น่าจะไม่เป็นที่สนใจ และปฏิบัติกันไม่ได้ โดนทิ้งให้ลืมเลือนหรือไม่สนใจกันได้ง่ายๆ ซึ่งเป็นความจริง เพราะถ้ามีใครกล่าวถึงอานาปานสติสูตร ทั้ง 16 บทหรือวัตถุ  ชาวพุทธหรือพุทธศานิกชนยุคสมัยกลางพุทธศาสนานี้จะทำหน้างงๆ และแปลกๆ
      บางสำนัก(สำนักแนวอื่น)เห็นว่าการกำหนดภาวนาแบบอานาปาสติ นั้นไม่ถูกต้อง จึงเหมารวมว่าไม่เป็นวิปัสสนาเป็นเพียงสมถะเท่านั้น  ทั้งที่เป็นกรรมฐานที่เป็นทั้งสมถะและวิปัสสนา ดังที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้

      ต่อไปเมื่อในบทหรือวัตถุนี้ต้องเป็นผู้ได้ฌานและมีวิสี จึงจะปฏิบัติเรื่อง จิต ได้อย่างถูกต้องตามพุทธพจน์ อย่างนั้นผู้ปฏิบัติอานาปานสติ ไม่ได้ฌานและมีวสี ต้องจบอยู่ที่ บทหรือวัตถุเบื้องต้นเท่านั้นหรือ?
       ปกติผู้ที่ปฏิบัติอานาปานสติมากๆ เป็นเวลายาวนานจนเคยชินก็จะมีสติและความรู้สึกอยู่กับการหายใจ หรือลมหายใจ หรือ ตรงจมูก กลายเป็นนิสัย  จะเปลี่ยนฐานไปกำหนดกรรมฐานอย่างอื่นก็จะลำบากหรือใช่เวลามากพอควร ดังนั้นเมื่อปฏิบัติมายาวนานแล้วแต่ไม่สามารถได้ฌานจนเป็นวสี ก็สามารถมีสติรู้ลมหายใจและรู้จิตได้ โดยอาศัยพุทธพจน์ส่วนที่เป็นสติปัฏฐาน 4 โดยตรง คือ

                                 จิตตานุปัสสนา
          [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า   ภิกษุในธรรมวินัยนี้
         จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากราคะ
         จิตมีโทสะก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากโทสะ
         จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากโมหะ
         จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
         จิตเป็น มหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต
         จิต  มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิต อื่นยิ่งกว่า
         จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่  เป็นสมาธิ
         จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น

         ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง พิจารณาเห็น จิตในจิตภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณา  เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่าง หนึ่ง สติ ของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย  ระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ  ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ
                              จบจิตตานุปัสสนา

         
         ดังนั้นเมื่อปฏิบัติอานาปานสติมายาวนานแล้วแต่ไม่มีฌานจนเป็นวสี ก็สามารถใช้อานาปานสติ ในบทเบื้องต้นเป็นกรรมฐานหลัก พิจารณาจิตในจิต ก็ยังพอใช้ได้เหมือนกัน ในส่วนของพุทธพจน์นี้

        จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากราคะ
         จิตมีโทสะก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากโทสะ
         จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากโมหะ
         จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
         จิตเป็น มหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต


          จิตเป็น มหรคต  คือจิตที่สงบเป็นหนึ่งมีสมาธิ อยู่ในฌานนั้นเอง

       หมายเหตุ ในบทหรือวัตถุของอานาปานสติสูตร ส่วนที่เป็นเรื่องของจิต ผมสรุปรวมกันทั้งหมดที่เดียวเลยครับ  เพราะถ้าอธิบายไปที่ละส่วนก็เป็นเรื่องเข้าใจความหมายกันได้ยาก เช่น "การทำจิตให้บันเทิง" ก็อธิบายกันให้เข้าใจก็ยากแล้ว  แต่ถ้าเป็นผู้มีฌานและมีความชำนาณในฌาน การทำจิตให้บันเทิง  ด้วยปีติสุขในธรรมไม่เป็นเรื่องยากเลย.

      (ตัวอย่างเช่น ผู้ได้ฌานบางท่าน อ่านในกระทู้นี้สามารถทำใจให้บันเทิง และทำให้เกิดปีติหรือสุขในธรรมได้โดยไม่ยาก  แต่ผู้ที่ได้ฌานหรือไม่ได้ฌานบางท่านอ่านแล้วก็อาจจะเพียงแค่ว่ามีเหตุมีผลดีชื่นชอบ หรือบางท่านเห็นข้อมูลมากจัง ไม่อยากอ่านน่าเบื่อ หรืออ่านแล้วไม่เข้าใจไม่อยากอ่าน)
   

ตอบโดย: Vicha 13 มี.ค. 51 - 11:04


วันนี้สนทนาต่อนะครับ

        เมื่อผมได้เสนออานาปานสติสูตร มาถึงบทหรือวัตถุ เกี่ยวกับจิตและยกสติปัฏฐาน 4 เรื่องพิจารณาจิตในจิต เข้ามาเกี่ยวข้อง ต่อไปผมจะกล่าวถึงภาวะหรืออาการที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติ เมื่อเจริญสติ ปัญญา  สมาธิ ศรัทธา ความเพียร อย่างสมดุลย์และสมบูรณ์ขึ้น

     การหายใจเข้าหรือออก แล้วไปรู้จิต นั้น เสมือนรู้ สองอารมณ์ คือรู้ลมหายใจและจิต พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ชำเรืองดู(รู้)ในช่วงที่หายใจเข้าหรือหายใจออก
     
      ต่อไปเป็นความคิดเห็นของผมนะครับ   คำว่า จิต ในเมื่อเราไม่มีฌานหรืออยู่ในอุปจารสมาธิ ที่รวมจิตเป็นหนึ่ง หรือ เอกัคคตาจิต ได้  แล้วจะรู้จิตได้อย่างไร?

       มีสติรู้ได้ครับ  คือมีสติรู้ตรงความรู้สึกนั้นแหละครับ ถ้ามีความนึกคิดมาด้วย(นึกคิดทั้วไป หรือกำหนดบริกรรมอยู่) ก็คือมีสติรู้ความรู้สึกนึกคิด(หรือคำที่กำลังบริกรรมภาวนาในใจ) ถ้ามีสติดี ก็จะสามารถแยก กองลมที่เคลือนเข้าหรือออก กับความรู้สึกนึกคิด ได้อย่างดี
        เมื่อมีสติเจริญขึ้นก็จะเท่าทันกับความรู้สึกนึกคิด ก็คือรู้ใจ รู้จิต ได้เท่าทันหรือเป็นปัจจุบันขณะนั้นเอง สติก็สามารถจะเจริญรู้เท่าทันใจอย่างเดียวขณะที่เกิดภาวะการรับทางใจที่เด่นชัด  แยกหรือลดการรู้กองลมได้  เมื่อถึงจุดนี้ก็จะรู้เท่าทันใจหรือจิตเพิ่มขึ้น ก็จะถึงภาวะธรรมที่ว่า

       จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากราคะ
         จิตมีโทสะก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากโทสะ
         จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากโมหะ
         จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน

        
   อย่างเท่าทันหรื่อเป็นปัจจุบันขณะที่ผัสสะนั้นเกิดกับใจหรือจิตอยู่

      ในระยะแรกของผู้ปฏิบัติเริ่มนั้น เมื่อมีสติรู้กองลมหายใจอยู่ เมื่อเกิดโทสะ หรือหดหู่ ฟุ้งซ่าน  ผู้ปฏิบัติก็จะมาอยู่กับกองลมหายใจ จิตนั้นก็โดนกดโดนข่ม แล้ว ความโกรธ ความหดหู่ หรือฟุ้งซ้านก็จะคลายไป  ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า อานาปานสติเบื้องต้นนั้นเป็นกรรมฐาน ที่ช่วยแก้ ความคิดปริวิตก ความฟุ้งซ่านได้ดี เมื่ออยู่ในขอบเขตของสมถะ
      เมื่อสติเจริญขึ้นก็จะคลายความคิดปริวิตก หรือความฟุ้งซ่านหายไปอย่างเร็วขึ้น แล้วมารับรู้สงบนิ่งกับกองลมหายใจ

       แต่โดยสภาวะแห่งความเป็นจริงแล้ว มีเหตุการณ์เกิดขึ้นได้มากมายกับกายและใจในชีวิตประจำวัน ดังนั้นการที่จะไปรับรู้สงบอยู่กับกองลมหายใจตลอดเวลาโดยไม่ทำกิจวัตรอันใดเลยนั้นย่อมไม่ได้  ดังนั้นใจต้องได้รับการกระทบเกิดผัสสะเป็นอารมณ์เป็นความรู้สึกที่ชัดเจนขึ้นได้เสมอ จึงไม่สามารถข่มด้วยการกำหนดรู้กองลมหายใจได้ตลอดเวลา  ถ้าข่มไปที่ลมหายใจตลอดก็จะกลายเป็นความเครียด กลายเป็นความยึดเกาะแน่นอยู่ ทำให้สติไม่เท่าทันกับสิ่งที่กระทบหรือบังเกิดขึ้นจากผัสสะนั้นๆ  ก็กลายเป็นเบื้อ หรือเบรอๆ  จิตก็จะโดนครอบครองด้วยโมหะ จนกลายเป็นยึดมั่นในทิฏฐิที่เห็นว่าคิดว่าดีแล้วอย่างเหนียวแน่นก็อาจเป็นได้ .
   
     เมื่อฝึกชำเรืองดูจิตหรือใจ กับผัสสะที่ปรากฏกับใจหรือจิตได้ดีขึ้นก็จะเท่าทันในอารมณ์หรือภาวะที่เกิดกับใจหรือจิตนั้น ถ้าเกิดภาวะรุ่นแรงที่เสมือนทนไม่ได้ก็ค่อยมาเพ่งดูกองลมให้คลายหรือสงบ  แต่ถ้ามีสติปัญญาเท่าทันและรู้อยู่ได้ ก็ต้องมีสติรู้โดยตลอด ถึง อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดที่เกิดกับจิตนั้น ความเป็นไตรลักณ์ก็จะปรากฏให้เห็น คือภาวะที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วสลายไปคลายไป ของราคะ หรือโทสะ หรือโมหะ หรือหดหู่ หรือการฟุ้งซ่าน
      
     เมื่อมีปัญญาเห็นความเป็นไตรลักษณ์เช่นนี้แล้ว เมื่อกำลังกำหนดกองลมอยู่ แล้วเกิดภาวะที่เกิดผัสสะกับใจหรือจิต มีราคะ หรือโทสะ หรือโมหะ หรือหดหู่ หรือฟุ้งซ่าน ขึ้น สติก็รับรู้ใจ(ชำเรื่องดูใจหรือจิต)  อารมณ์หรือความรู้สึกนั้น ก็จะคลายหายไปได้โดยง่าย แล้วจิตหรือใจก็สงบขึ้น

     และเมื่อมีสติปัญญาเจริญมากขึ้น เพียงมีสติไปรู้ใจที่เกิดผัสสะนั้นก็จะวูบหายไปทันที่   เรียกว่ามีปัญญาเห็นไตรลักษณ์ได้ดีขึ้น คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้ววูบหายไป จิตก็สงบและสว่างขึ้นด้วยสติ

     และมีมีสติปัญญาสมาธิเจริญสมบูรณ์เพิ่มขึ้นไปอีก เพียงมีสติไปรู้ใจที่เกิดผัสสะนั้นก็เกิดภาวะ(กิเลส)ดับไปทันที(เวทนาก็ดับ ดับจริงๆ ขาดไปจริง)ไปขณะจิตหนึ่ง  เรียกได้ว่า เห็นไตรลักษณ์อย่างแจ่มแจ้งขึ้น คือเห็นการเกิดและดับอย่างแท้จริง แล้วจิตก็เป็นหนึ่งสงบผ่องใส. คือเข้าสู่วิปัสนาญาณเบื้องสูงขึ้นอย่างสมบูรณ์ เป็น อุทยัพยญาณ (วิปัสสนาญาณที่ 4 ขึ้นไปอย่างสมบูรณ์)

      ต่อไปเป็นแสดงความคิดเห็น สำหรับผู้ที่วาสนาบารมีที่แก้กล้าแล้วพร้อมแล้วจาก อุทัพยญาณ(ญาณที่ 4) จนถึง มรรคญาณ(วิปัสสนาญาณที่ 14) อาจจะเป็นเพียงแค่ช่วงลัดมือเดียวเท่านั้น แต่จะเกิดกับผู้ที่สร้างสมบารมีมาแก่กล้าแล้วนะครับ
      แต่สำหรับผู้ที่ยังมีบารมีไม่แก้กล้า ก็จะต้องเกิดภาวะการเกิดดับให้เห็นอีกหลายๆ หรือหลายๆ ครั้ง จึงจะพัฒนาสู่วิปัสสนาญาณเบื้องสูงจนถึง มรรคญาณ
      และสำหรับผู้ทีรับพุทธพยากรณ์แล้วเป็นพระโพธิสัตว์หรือจะเป็นพระอเสติมหาสาวก ในสมัยต่อไปในอนาคตถึงจะเกิดภาวะการเกิดดับมากมาย ก็ย่อมไม่ลงสู่ มรรคญาณ จนกว่าจะถึงความพร้อมของบารมีในสมัยแห่งตนเท่านั้น  แต่ภาวะการเกิดเช่นนี้ก็ทำให้ปัญญาบารมี(ทางธรรม)นั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้นๆ จนเป็นที่อัศจรรณ์กับตนเองและผู้อื่นที่รับรู้ได้
 

 

ตอบโดย: Vicha 14 มี.ค. 51 - 12:40


    เมื่อสนทนาละเอียดลึกเข้า ก็คงมีจำนวนผู้ประจักภาวะธรรมจากที่ได้ปฏิบัติมาเป็นประสบการณ์ตรงของตนเองน้อยลงตามลำดับ

     เมื่อกล่าวถึงการที่มีสติปัญญาเท่าทันกับผัสสะด้วยมีสมาธิที่ตั้งมั่นดีนั้นบังเกิดวิปัสสนาญาณ แล้วเกิดภาวะเห็นการเกิดดับ แบบเวทนาดับไปจริงๆ คือดับหมดสิ้นไปช่วงขณะหนึ่งนั้น ก็อาจทำให้หลายท่านเกิดข้อสังสัยว่า มีกล่าวในส่วนใหน ของพระไตรปิฎก หรือ?

    มีกล่าวครับ  พระพุทธเจ้าทรงตรัสทำนองว่า ผู้ที่เกิดมาเพียงวันเดียวเห็นการเกิดดับ(รูปนามเกิดดับ) ย่อมประเสริฐกว่าที่เกิดมามีอายุร้อยปีแต่ไม่เห็น

    ซึ่งก็ไปคล้องจองกัน ปฏิจสมุทปบาท ฝ่ายดับ (ในพระไตรปิฎก) คือ
              ......
              เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงเกิดผัสสะ

              แต่เมื่อมีสติปัญญามีสมาธิเป็นหนึ่ง เท่าทันกับผัสสะ  ผัสสะนั้นก็ดับ

              เพราะผัสสะดับ   เวทนาก็ดับ ....  ก็จะดับไปโดยตลอดสาย

     ก็คือเห็นการเกิดดับไปจริงๆ หรือเห็นความเป็นไตรลักษณ์อย่างชัดแจ้งนั้นเอง..
           
             และเมื่อยังมีกิเลสอยู่ ปฏิจสมุทปบาทฝ่ายเกิดก็ย่อมเกิดขึ้นมาใหม่ ในรอบถัดไป และเมื่อไหรมี สติ ปัญญา  สมาธิ ศัทธา ความเพียร ที่เจริญสมดุลย์กัน ก็ทำให้เกิดการดับของปฏิสจมุทปบาทที่เป็นผ่ายดับ อีกเป็นระยะๆ ไป ตามกำลังของพละ 5  จนกว่าปรากฏขันธ์ 5 ที่บริสุทธิ์โดย ไม่มีอุปทานขันธ์ 5 ปรากฏขึ้นอีกเลย(ปฏิจสมุทปบาทไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว) มีญาณรู้ว่า ชาติสิ้นแล้ว ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง คือหมดสิ้นซึ่งกิเลสตัณหาทั้งปวง

        ในความคิดเห็นต่อไปจะวกสนทนาเรื่อง ฌาน อีกครั้ง เพราะผมได้ไปอ่านในที่อื่นก็ยังมีหลายท่านรวมทั้งพระภิกษุบางท่านก็ยังเห็นหรือเข้าใจไม่ตรงกันกับผมในภาวะธรรมที่เกิดขึ้น จึงต้องเอาจากพระไตรปิฎกเป็นบทธรรมที่เทียบเคียง เพราะความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด..

  

ตอบโดย: Vicha 14 มี.ค. 51 - 16:51


    เรื่องการเข้าปฐมฌาน นั้นได้ยินเสียงหรือไม่?

    มีบางท่านกล่าวว่า  เข้าปฐมฌานหรือการบรรลุปฐมฌาน ยังได้ยินเสียงอยู่แต่เบาไม่สนใจ

    แต่ตามความรู้และความเข้าใจของผมนั้นเป็นดังนี้

    ความจริงการเข้าปฐมฌานนั้น ต้องแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ 1.อยู่ในองค์ฌาน กับ 2.เข้าสมาบัติอยู่ในอัปปนาสมาธิของปฐมฌาน
 
     ดังนั้น 1. การอยู่ในองค์ฌานของปฐมฌานนั้นก็คือยังรับสัมผัสอารมณ์ภายนอกได้อยู่ ได้ยินเสียงแต่หาได้สนใจ เพราะอารมณ์องค์ฌานนั้นเด่นชัดกว่า คือเสมือนไม่สนใจเสียงและร่างกาย
     และ 2. เข้าสมาบัติอยู่ในอัปปนาสมาธิของปฐมฌาน เป็นการตัดการรับรู้ภายนอกอย่างสิ้นเชิ่ง แม้แต่การรับรู้ทางกายก็หมดไป แม้กระทั้งเสียง ซึ่งก็ตรงไปตามวิถีจิต ของพระอภิธรรม และ
  
     พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า เสียง เป็นข้าศึกต่อปฐมฌาน

     ตามที่ผมเข้าใจตามที่พระพุทธเจ้าตรัสนั้น คือการเข้าปฐมฌาน เสมือจะไม่รับรู้ทางเสียง แต่เมื่อมีเสียงดังหรือเสียงรบกวน ก็ย่อมทำให้เข้าสมาบัติอยู่ในอัปปนาสมาธิของปฐมฌานได้ลำบากนั้นเอง คือทำให้จิตในปฐมฌานนั้นเคลือนได้ง่ายโดยเสียงที่ดังและรบกวนนั้นเอง
   
     เหมือนดังนั้นพระไตรปิฎกเล่มที่ 37 ในส่วนอภิธรรมปิฎก มีการสันทนากันว่า

        ป. ไม่พึงกล่าวว่า ผู้เข้าสมาบัติ ฟังเสียงได้ หรือ?

         ส. ถูกแล้ว


 

ตอบโดย: Vicha 14 มี.ค. 51 - 17:29


สวัสดีครับ คุณVicha
    ผมเพิ่งจะเริ่มศึกษา อานาปานสติเอง   ไม่มีประสบการณ์เรื่องนี้ ทำให้ไม่รู้จะถามอะไร
ตอนนี้ขอถามว่า อานาปานสตินี้ เหมาะกับผู้มีจริตแบบไหน หรือว่าเหมาะกับทุกๆจริต  ผมขอเสนอเว็บที่สอนอานาปานสติ เผิ่อท่านใดจะสนใจครับ
          http://www.nkgen.com/37.htm

คุณVicha อธิบายไปเรื่อยๆก็เป็นสิ่งที่ดีครับ ทำให้เป็นข้อมูลสำหรับผู้สนใจครับ
     

ตอบโดย: svonnu48 15 มี.ค. 51 - 08:37


สวัสดีครับ  มีคำถามขอรบกวน คุณVicah ครับ

ฌาน เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน  (คือ ทั้งที่ไม่ได้กำลังนั่งสมาธิ) ไหมครับ

มีข้อดีข้อเสียไหมครับ

พอทราบ เหตุเกิด และ เหตุดับ ไหมครับ

ขอบคุณมากครับ

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 15 มี.ค. 51 - 09:11


มรรค ๘ (สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ)

การสำรวมอินทรีย์ระวังอินทรีย์ ๑๒ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธัมมารมณ์)
 
สมาธิ ๓ (ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปนาสมาธิ)

องค์ฌาน ๔ หรือฌาน ๕ (วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคตา)

โพงชงฌ์ ๗ (สติ ธรรมวิจะโย วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา)

อินทรีย์ ๕ (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา)

เหล่านี้นั้นสำคัญไฉน และมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไรกับการฝึกฝนอานาปานสติสมาธิ

ขออนุญาต จขกท. และ เรียนเชิญท่านผู้รู้ได้โปรดเมตตาแสดงธรรมนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์อันเกื้อกูลด้วยเถิด สาธุ  

ตอบโดย: ช.ชุตินธโร 16 มี.ค. 51 - 01:00


อ้างอิง
สวัสดีครับ  มีคำถามขอรบกวน คุณVicah ครับ

ฌาน เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน  (คือ ทั้งที่ไม่ได้กำลังนั่งสมาธิ) ไหมครับ

มีข้อดีข้อเสียไหมครับ

พอทราบ เหตุเกิด และ เหตุดับ ไหมครับ

ขอบคุณมากครับ

 

จากคุณ : บุญรักษ์ [ ตอบ: 15 มี.ค. 51 09:11 ]

คือ  ผมเข้าใจว่า

ลมหายใจมีอยู่ทุกเมื่อ
อานาปานสติย่อมเจริญได้ทุกเมื่อ
จิตย่อมรู้ลมหายใจบ้าง  ไม่รู้ลมหายใจบ้าง
จิตย่อมตั้งมั่นบ้าง  ไม่ตั้งมั่นบ้าง
จิตย่อมเป็นฌานบ้าง  ไม่เป็นฌานบ้าง

ที่ผมเข้าใจถูกต้องตรงทางไหมครับ
และควรทำอย่างไรครับ

นี่คือที่มาของคำถามครับ

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 17 มี.ค. 51 - 09:47


  พอดีช่วงเสาร์และอาทิตย์ผมไม่สามารถตอบหรือแสดงความคิดเห็นเพิ่มได้ครับ
วันนี้วันจันทร์  เข้าลานธรรมไม่ได้ ก็ไม่ทราบเป็นเพราะอะไร จนไปทำอย่างอื่น จึงเพิ่งเข้ามาเมื่อกี้เองครับ

   ต้องขอบคุณ คุณ svonnu48 ที่นำลิงค์การปฏิบัติอานาปานสติตามพระสูตรให้ดูครับ

   และขอตอบ คุณบุญรักษ์ ในความเห็นต่อไปนะครับ
 

ตอบโดย: Vicha 17 มี.ค. 51 - 11:14


จากบทความของคุณ บุญรักษ์

อ้างอิง
  สวัสดีครับ  มีคำถามขอรบกวน คุณVicah ครับ

ฌาน เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน  (คือ ทั้งที่ไม่ได้กำลังนั่งสมาธิ) ไหมครับ

มีข้อดีข้อเสียไหมครับ

พอทราบ เหตุเกิด และ เหตุดับ ไหมครับ

ขอบคุณมากครับ


    ตอบคุณบุญรักษ์   ฌานเกิดในชีวิตประจำวันได้ครับ ทั้งที่ไม่จำเป็นต้องนั่งสมาธิ  แต่สำหรับผู้ที่มีความชำนาญหรือผู้ที่มีวสีแล้วนะครับ
     ผู้ที่มีความชำนาญหรือวสี  พอรู้ลมแล้วน้อมจิตก็เข้าฌานได้แล้วครับ และไม่จำเป็นต้องนั่งสมาธิอย่างเดียว  เพราะสามารถเข้าฌาน(ลงฌานและเข้าอัปปนาสมาธิ) ในช่วงขณะจิตหนึ่งก็ได้  และไม่มีข้อเสียอะไรครับ และดีเสียอีกในการฝึกวสี
      แต่สำหร้บบุคคลทั่วไปส่วนมากนั้น จะเข้าฌาน ก็ต้องอยู่ในอริยบทที่นิ่งอยู่สักพักหนึ่งก่อน  แต่สำหรับผู้ที่เชียวชาญในฤทธิ์ ในอริยาบทใดๆ ก็ได้ชั่วลัดนิ้วเดียวก็เข้าฌานหรืออภิญญาจิตได้แล้ว อย่างเช่นพระโมคคลานะ

และจากข้อความหลัง

อ้างอิง
อ้างอิง (บุญรักษ์ @ 15 มี.ค. 51 - 09:11)
สวัสดีครับ  มีคำถามขอรบกวน คุณVicah ครับ

ฌาน เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน  (คือ ทั้งที่ไม่ได้กำลังนั่งสมาธิ) ไหมครับ

มีข้อดีข้อเสียไหมครับ

พอทราบ เหตุเกิด และ เหตุดับ ไหมครับ

ขอบคุณมากครับ

 

ที่ถามเพราะเหตุนี้นะครับ

คือ ผมเข้าใจว่า

ลมหายใจมีอยู่ทุกเมื่อ
การเจริญอานาปานสติย่อมทำได้ทุกเมื่อ
จิตย่อมรู้ลมหายใจบ้าง  ไม่รู้ลมหายใจบ้าง
จิตย่อมตั้งมั่นบ้าง  ไม่ตั้งมั่นบ้าง
จิตย่อมเป็นฌานบ้าง  ไม่เป็นฌานบ้าง

แต่ไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกต้องตรงทางหรือไม่
ถ้าถูกต้องตรงทางแล้วควรทำอย่างไร

นี่คือที่มาของคำถามครับ


   ครับลมหายใจมีอยู่ตลอดเวลา  แต่การจะน้อมจิตลงสู่ฌานหรืออัปปนาสมาธิที่เคยได้เคยบรรลุนั้น ต้องอธิษฐาณ หรือกำหนดจิต เพื่อเข้าครับ ถ้าอยู่ในอริยาบทอื่นๆ เช่นดินหรือยื่น ที่ยังไม่หยุดนิ่ง
    (ข้อหหนึ่ง ในการทำให้เกิดวสี  คือ สามารถอธิษฐานหรือกำหนดจิตให้เข้าฌานตามที่ต้องการได้ หรือให้อยู่ในอัปปนาสมาธิ เป็นชั่วโมงหรือเป็นวันตามกำลังของฌานได้)

     ผมขอเน้นย้ำอีกครั้งหนึ่ง  เข้าฌานนั้นมี 2 ประการคือ  1.อยู่ในองค์ฌาน  2.เข้าอัปปนาสมาธิ
        1.อยู่ในองค์ฌาน นั้นสามารถรับรู้สิ่งต่างๆ ได้ แต่ใจเป็นหนึ่งอยู่กรรมฐาน หรือลมหายใจ ปลอดโพ่รง มีปีติ สุข ช่วงที่มีสติกำหนดรู้ลมหายใจ

        ต่อไปเป็นความเข้าใจตามที่ได้ศึกษามา
       ดังนั้นการเข้าฌานในอริยาบทใดก็ได้ แล้วจิตจะลงสู่อัปปนาสมาธิเพียงช่วงขณะจิตเท่านั้น จะไม่ทรงอยู่นานเมื่ออยู่ในอริยาบทที่เคลือนไหว
        ยกเว้นผู้ที่มีความชำนาญจนเกิดวสี สามารถกำหนดจิตหรืออธิษฐานให้อัปปนาสมาธิคงอยู่ตามเวลาที่ต้องการได้ ก็จะค้างนิ่งอยู่ในอริยาบทนั้น ไม่รับรู้อะไรเลยตามเวลาที่อธิษฐานไว้.





     

ตอบโดย: Vicha 17 มี.ค. 51 - 11:43


จากข้อความของคุณ ช.ชุตินธโร
 
อ้างอิง
มรรค ๘ (สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ)

การสำรวมอินทรีย์ระวังอินทรีย์ ๑๒ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธัมมารมณ์)
 
สมาธิ ๓ (ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปนาสมาธิ)

องค์ฌาน ๔ หรือฌาน ๕ (วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคตา)

โพงชงฌ์ ๗ (สติ ธรรมวิจะโย วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา)

อินทรีย์ ๕ (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา)

เหล่านี้นั้นสำคัญไฉน และมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไรกับการฝึกฝนอานาปานสติสมาธิ

ขออนุญาต จขกท. และ เรียนเชิญท่านผู้รู้ได้โปรดเมตตาแสดงธรรมนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์อันเกื้อกูลด้วยเถิด สาธุ 
จากคุณ : ช.ชุตินธโร



    ผมจะอธิบายตามความเข้าใจของตนแบบๆ เรียงกันอย่างสัมพันธ์กันนะครับ (ไม่ได้ไปค้นดูข้อมูลที่ใหน.)

    การเริ่มกรรมฐาน เช่นอานาปานสติ   ก็เริ่มจากการสำรวมระวังอินทรีย์ 12 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธัมมารมณ์) เป็นอย่างแรก ไม่ให้ไปข้องไปสัมผัสหรือเกิดกิเลสเช่น ราคะ โทสะ โมหะ มากไปจนขาดสติ จึงต้องสำรวมระวังอินทรีย์ 12 เป็นอย่างแรก

    เมื่อสำรวมระวังอินทรีย์แล้ว กำหนดอานาปานสติ (สติรู้ลมหายใจเข้าหรือออก) ก็จะเริ่มเป็นสมาธิขึ้น  เกิดเป็นสมาธิ 3 (ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปนาสมาธิ)

    เมื่อได้ปฐมฌาน องค์ฌานบังเกิดขึ้น(วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคตา) แล้วองค์ฌานค่อยดับไปแต่ละองค์ฌาณ ตามขั้นของฌานที่บรรลุ จนถึงฌานที่ 4 ก็จะเหลือ อุเบกขา(เอกัคตา)

    เมื่อยกขึ้นสู่วิปัสสนากรรมฐานในหมวดของธรรมในส่วนของอานาปานสติสูตร(ซึ่งต้องเป็นไปตามการปฏิบัติของอานาปานสติสูตร ทั้ง 16 บทหรือวัตถุอยู่แล้ว) ปรากฏปัญญาเห็นความเป็นไตรลักษณ์ และเห็นแจ้งถึงการเกิดดับ และเห็นความไม่เป็นตัวไม่เป็นตน ก็ต้องอาศัยมีอินทรีย์ 5 (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา) ที่เจริญสมบูรณ์สมดุลย์กัน
    
    เมื่ออานาปานสติและสติปัฏฐาน 4 สมบูรณ์ วิปัสสนาก็เจริญขึ้น โพงชงฌ์ ๗ (สติ ธรรมวิจะโย วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา) ก็ย่อมเจริญขึ้น

    เมื่อโพงชงฌ์ สมบูรณ์ขึ้น วิปัสสนาญาณก็ย่อมเจริญและสมบูรณ์ขึ้น  มรรค มีองค์ ๘ (สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ) ก็ย่อมสมบูรณ์  ก็ย่อมสามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้


  
  
 

ตอบโดย: Vicha 17 มี.ค. 51 - 12:13


สาธุ   ธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ไม่ขัดแย้งจริง ๆ เป็นหนึ่งเดียวจริง ๆ  

ตอบโดย: ช.ชุตินธโร 17 มี.ค. 51 - 13:07


วันนี้ได้มีโอกาส สนทนาต่อ

         ซึ่งการสนทนา อานาปานสติสูตร ตอนนี้ก็เข้าสูหมวดสุดท้ายแล้ว คือในหมวดของธรรม มีดังนี้

  ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจเข้า
     ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจเข้า
     ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความสละ คืนหายใจเข้า


     ซึ่งหมวดนี้แยกให้เห็นถึงความเป็นวิปัสสนาอย่างสมบูรณ์  โดยตัวของอานาปานสติสูตรเอง  ทั้งที่ในหมวดต้นๆ ที่ผ่านมาแยกเป็นวิปัสสนาได้ลำบากจึงสามารถจัดว่าหมวดต้นๆ นั้นยังเป็นสมถะโดยตลอด ก็ได้
      ดังนั้นเมื่อรวมการปฏิบัติอานาปานสติสูตร ครบทั้ง 16 บทหรือวัตถุแล้ว ก็กล่าวได้ว่าเป็นกรรมฐานที่เป็นทั้งสมถะและวิปัสสนา
      หรือเมื่อปฏิบัตอานาปานสติสูตรทั้ง 16 บทหรือวัตถุสมบูรณ์แล้ว ย่อมปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 สมบูรณ์ด้วย นั้นเอง

        ดังมีพุทธพจน์ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ดังนี้
        
                          ผลสูตรที่ ๑
         ผลานิสงส์เจริญอานาปานสติ ๒ ประการ
    [๑๓๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
    [๑๓๑๒] ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผล
มาก มีอานิสงส์มาก? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า (พึง
ขยายเนื้อความให้พิสดารตลอดถึง ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า) ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
  [๑๓๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
อย่างนี้ พึงหวังได้ผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คืออรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความถือมั่นอยู่ เป็นพระอนาคามี
.


     ต่อไปผมจะกล่าวอธิบาย ว่าในหมวดนี้เป็นวิปัสสนากรรมฐานอย่างไร
     จากบทหรือวัตถุที่ว่า

    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า

     จะเห็นว่าในบทนี้แสดงให้เห็นการพิจารณาความไม่เทียง  ซึ่งกรรมฐานใดที่กำหนดรู้ความเป็นไตรลักษณ์ หรือเห็นความเป็นไตรลักษณ์เกิดขึ้น กรรมฐานนั้นก็เข้าสู่การปฏิบัติวิปัสสนา

      ผมเคยกำหนดกรรมฐานดังนี้  มีสติเมื่อลมหายใจเข้าผ่านตรงปลายจมูก ผมก็พิจารณาว่าลมที่ผ่านเข้ากระทบตรงปลายและโพรงจมูกนั้นว่า "ไม่เที่ยง" (พร้อมทั้งมีสติรู้ว่าไม่เที่ยงเพราะลมเคือนกระทบเข้าโดยตลอด) เมื่อกำลังสุดลมหายใจเข้า ผมก็พิจารณาว่า "เป็นทุกข์" (พร้อมทั้งมีสติรู้ว่า ตั้งอยู่ไม่ได้ ต้องหายใจออก)
      เมื่อหายใจออกก็มีสติรู้ลมกระทบออกที่ปลายจมูก พร้อมกับพิจารนาว่า "ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน" (พร้อมทั้งมีสติรู้ว่าลมที่กำลังเคลื่อนกระทบออก นั้นไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนยึดมั่นถือมั่นให้คงที่ก็ไม่ได้)

       เมื่อปฏิบัติอย่างนี้โดยตลอดติดต่อกันทั้งเดินจงกรมและกำหนดอริยะบทย่อย เมื่อมีความสมดุลย์ของพละ 5 ส่วนหนึ่ง จิตก็จะร่วมตัวลงสู่สมาธิ  เป็น ลักขณูฌาน  ก็คือจิตมีกำลังรวมลงสู่สมาธิโดยมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์  เป็น สมนสนญาณ หรือ วิปัสสนาญาณที่ 3
        หลังจากนั้นเมื่อปฏิบัติกรรมฐานไป  ก็จะมี อาการวูบ อารมณ์วูบหาย ความรู้สึกสะดุดขาดตอนหรือสันสติขาด บ่อยๆ
        และจะเกิดวิปัสสนูกิเลสขึ้นอย่างมากมาย ถ้าหลงติดอยู่ยึดมั่นถือมั่นจะเกิดความไม่เป็นปกติเหมือนบุคคลทั่วไปปรุงแต่งจนเลยที่จะยังใจได้ แต่สิ่งพิศดารเกิดขึ้นมากมายกับอารมณ์และความเห็นจนกว่าจะเรียนรู้และมีสติรู้ว่าหลงยึดมั่นถือมั่นอยู่แล้วมีสติเตือนตนเองบ่อยๆ พร้อมทั้งมีครูบาอาจารย์ที่ดีค่อยแนะนำสั่งสอน จึงผ่านพ้นวิกฤตนั้นไปได้

          เสนอข้อมูลให้อ่านและพิจารณาเท่านี้ก่อนนะครับ แล้วค่อยขึ้นในบทต่อไป.
 

ตอบโดย: Vicha 18 มี.ค. 51 - 14:41


   วันนี้ได้โอกาสมาสนทนาต่อ

    จากความเห็นที่แล้วผมได้ยกอานาปานสติสูตร บทนี้

    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า

   และได้อธิบายการปฏิบัติของผมเมื่อประมาณปี พ.ศ 2526 ให้ทราบ ถึงภาวะที่เกิดถึงจุดเด่นและจุดเสีย ของการปฏิบัติ ตามภาวะที่เกิดจริงสำหรับผู้เริ่มต้นที่ไม่รู้แนวหรือหลักการปฏิบัติมาก่อน (ไม่ยกภาวะปัจจุบันนะครับ เพราะปรับตัวได้พอได้แล้ว เพราะสามารถมีสติอยู่กับลม หรือใจ หรือกาย หรือธรรม หรือกรรมฐานอย่างอื่นได้พอควรแล้ว และสามารถปรับไม่ก่อให้เกิดปัญหาได้)  แต่เป็นการปฏิบัติที่ข้ามขั้นตอนของ อานาปานสติสูตร จากหมวดแรกจนเกิด อุปจารสมาธิ  ยังไม่เกิดฌาน เป็นองค์ฌานให้พิจารณา เวทนาเช่นปีติ หรือสุข ตามลำดับ แล้วเกิดวิปัสสนูกิเลส ติดหลงอยู่เสียก่อน
       อุปจารสมาธิ ที่เกิดขึ้นกับผม ก่อนเกิดลักษณูฌานในสมนสนญาณ(ญาณที่ 3) ดังในความเห็นที่ผ่านมาเป็นดังนี้ (ยกบทความเก่าขึ้นมาให้อ่าน)

  พอถึงวันที่ 3 จึงปลงใจได้ว่า ยุบหนอ-พองหนอไม่ต้องภาวนา ดูลมหายใจเหมือนเดิม และภาวนาอย่างอื่นเช่น นั่งหนอ-ถูกหนอ เจ็บหนอ คิดหนอ เดินจงกลม คืออะไรเด่นชัดที่สุดภาวนาสิ่งนั้นให้ทันเมื่อความกังวลเริ่มคลายจึงภาวนาสบายขึ้น ตัวเริ่มเบา มีอยู่ช่วงหนึ่งขณะนั่งกรรมฐานกำลังดูลมหายใจกระทบท้องอยู่ เกิดตัวเบาสว่างนวล เหมือนปุยเมฆ มีความสุขปีติหูยังได้ยินเสียงภายนอกอยู่แต่เบามาก สักพักหนึ่งมีเสียงกระสิบใสตรงทีจิตว่า "ให้พยายามทำต่อไป อย่าได้หยุด"
   
    เกิดตัวเบาสว่างนวล เหมือนปุยเมฆ มีความสุขปีติหูยังได้ยินเสียงภายนอกอยู่แต่เบามาก  บทความที่ผมอธิบายนี้แหละคือเกิด อุปจารสมาธิกับผมเป็นครั้งแรกในชีวิต ในการปฏิบัติ อานาปานสติสูตร แต่กำหนดภาวนาปลีกย่อยตามแบบ การปฏิบัติ พองหนอ - ยุบหนอ

     แต่ต่อจากนั้นผมกลับปฏิบัติข้าม อานาปานสติ บทต่อๆ ไป อย่างสิ้นเชิงข้ามมายังหมวดสุดท้าย ดังที่กล่าวแล้วในความคิดเห็นที่แล้ว  ก็เกิดปฐมฌานขึ้นแต่เป็นลักขณูฌาน เกิดวิปัสสนูกิเลสที่พิศดารมากมาย เกินจากบุคคลธรรมดา ด้วยความหลงหรือติดอยู่กับวิปัสสนูกิเลส ที่เข้าใจผิดว่าตนเองอาจเป็นพระอริยะแล้ว ทำให้ภายหลังเกิดปีติ ทั้ง 5 ประการ ท้วมท้นกับกายและใจครบทั้งหมดในช่วงที่หลงและติดอยู่ในวิปัสสนูกิเลส
      เหมือนกับการปฏิบัติอานาปานสติสูตร มายังหมวดเบื้องสูง คือรู้ลมหายใจเข้าและออกเห็นความไม่เที้ยง แล้ววกกลับไปยังอานาปานสติสูตรเบื้องต้น ตรงบทนี้
       
  ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นปีติหายใจเข้า
 
       แต่ก็หาได้สมบูรณ์ไม่ เพราะยังมีความหลงและเข้าใจผิดอยู่ เกิดความสับสนไม่เกิดองค์ฌานที่เป็นปีติที่ละเอียดด้วยสติและปัญญาที่คลายความหลงนั้นไปได้

       แต่เมื่อเกิดความทุกข์ใจมากด้วยผลกรรมส่งผลตอนจะบวช จึงรู้ว่าตนเองนั้นยังหลงอยู่ ก็มีสติปัญญาคลายความหลงผิดนั้นไปได้ เมื่อปฏิบัติต่อแบบอานาปานสติ ก็บังเกิดฌานที่ 2 ขึ้น  ภาวะการปฏิบัติได้ฌานที่ 2 เป็นอย่างนี้

  โดยให้บวชพร้อมกันกับนาคอื่นอีก 6 นาค ต้องรอไปอีก 7-8 วัน และระหว่างที่รอข้าพเจ้าก็ทำกรรมฐานต่อ โดยพิจารณาลมหายใจตามที่กล่าวมา มีเหตุการณ์ในตอนหนึ่งขณะนอนพิจารณาดูลมหายใจอยู่ ความรู้สึกตัวก็หายไปเหลือแต่จิตอย่างเดียว เป็นสว่างนวลมีปีติเล็กๆ มีสุขเด่นกว่า ทรงอยู่พักใหญ่แล้วถอนมารู้ทั่วตัว แล้วเริ่มกำหนดภาวนาใหม่ ก็มีอาการเหมือนเดิมครั้งนี้ใสกว่าเก่า มีปีติสุขละเอียดมากกว่าเก่า ทรงอยู่นานกว่าแล้วถอยออกมาปกติ แล้วก็ไม่พยายามทำต่อเพียงแต่ทรงอารมณ์กรรมฐานไว้

มีเหตุการณ์ในตอนหนึ่งขณะนอนพิจารณาดูลมหายใจอยู่ ความรู้สึกตัวก็หายไปเหลือแต่จิตอย่างเดียว เป็นสว่างนวลมีปีติเล็กๆ มีสุขเด่นกว่า ทรงอยู่พักใหญ่แล้วถอนมารู้ทั่วตัว แล้วเริ่มกำหนดภาวนาใหม่ ก็มีอาการเหมือนเดิมครั้งนี้ใสกว่าเก่า มีปีติสุขละเอียดมากกว่าเก่า ทรงอยู่นานกว่าแล้วถอยออกมาปกติ   บทความนี้เป็นภาวะของการได้ฌานที่ 2 ด้วยความหลงผิดนั้นได้คลายไปแล้ว ทำให้อานาปานสติ บทนี้สมบูรณ์

  ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาปีติหายใจเข้า

     หลังจากนั้นก็อยู่เพียงฌานที่ 2  ซึ่งสามารถข่ม ราคะ โทสะ โมหะ(ความหลง) พอได้บางแล้ว เมื่อเกิดภาวะของกิเลสที่ชัดเจนมากก็สามารถข่ม และเจริญสติปัญญาคลายออกไปได้ ไม่ประทุออกมาอย่างชัดเจนจนดูแล้วแปลกเหมือนช่วงทีหลงอยู่ และด้วยปฏิบัติวิปัสสนาควบคู่กับอานาปานสติ  ทำให้ผมข้ามกระโดนอานาปานสติสูตร ไปยังบทเบื้องสูงขึ้นไปอีกแบบสลับฟันปลาในบทนี้

   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจเข้า
        
    คือในบทนี้เมื่อเกิดหรือมีความกำหนัด ด้วยราคะ หรือโทสะ ก็สามารถข่มได้ด้วยกำลังสมาธิ แล้วกำหนดภาวนาคลายออกไปได้  แต่ก็หาได้โดยง่ายเสมอไปทุกครั้ง ความกำหนดอย่างหยาบหายไป แต่ความกำหนดอย่างละเอียดเหมือนมีควันให้พอเห็นอยู่ภายในใจ
      
    เมื่อพละ 5 เจริญสมบูรณ์ขึ้นวิปัสสนาญาณก็ย่อมเจริญขึ้น ก็บังเกิดการเกิดดับขึ้น คือเห็นการดับไปในขณะที่กำหนดภาวนา เห็นการขาดจากกันในทันที่ของอารมณ์ลงสู่ความสงบในขณะกำหนดภาวนา เป็นอุทยัพยญาณ(วิปัสสนาญาณที่ 4)  พร้อมกับทั้งได้อานาปานสติในบทเบื้องสูงต่อไป คือ

       ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจเข้า

  เมื่อวิปัสสนาญาณที่ 4 ผ่านมาแล้ว ในเมื่อมีการปฏิบัติธรรมอยู่อย่างต่อเนื่องความหลงผิดก็คลายไปแล้ว พละ 5 ก็ย่อมเจริญขึ้นเรื่อยๆ  วิปัสสนาญาณก็ย่อมเจริญขึ้นเป็นธรรมดา  ภังคญาณ(วิปัสสนาญาณที่ 5) ก็ปรากฏขึ้นกับผม

     5. ภังคญาณ เมื่อสติสัมปัญญะแก่กล้าขึ้นเมื่อกำหนดอะไรก็ดับ ก็สลายไป เป็นอันว่าทุกสิ่งทุกอย่างเมื่อกำหนดก็สลายไปต่อหน้าต่อตาอย่างมากมาย เป็นการละบัญญัติเข้าขั้นปรมัตถสภาวะล้วน เพราะกำหนดอะไรก็ดับหายไปหมดตั้งอยู่เป็นชิ้นเป็นอันไม่ได้  

เพราะอยู่กับการปฏิบัติตลอดต่อไป ภยญาณ(วิปัสสนาญาณที่ 6) ก็บังเกิดขึ้น

     6. ภยญาณ เมื่อกำหนดสติปะฐาน 4 อย่างต่อเนื่องอย่างไม่ประมาท ก็จะเห็นทุกอย่างเกิดขึ้นก็หายไปในทุกขณะทุกเวลา ก็จะเกิดภาวะที่กลัวในสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป ถ้าไม่สำรวมระวังให้ดี จะทำให้ไม่ว่าจะรู้อะไร หรือเห็นอะไรตามปกติ หรือคิดอะไร กลายเป็นว่าน่ากลัวไปหมด

เพราะอยู่กับการปฏิบัติตลอดต่อไป  อาทีนวญาณ(วิปัสสนาญาณที่ 7) ก็บังเกิดขึ้น

      7. อาทีนวญาณ ญาณนี้เป็นญาณที่ปรากฏความทุกข์ของสังขารให้เห็นอย่างชัดเจน อาจมีอาการ ภาวนาอะไรก็รู้สึกอึดอัดอารมณ์ไปหมด เหมือนกับว่าทุกขณะที่กำหนดสติมีแต่ความทุกข์ความไม่สบาย หรืออาจมีอาการกำหนดสติตรงไหนของร่างกายก็รู้สึกเจ็บแปลบตรงนั้น จนต้องให้รำคาญและไม่ปลอดโปร่งสบายเอาเสียเลย

เพราะอยู่กับการปฏิบัติตลอดต่อไป นิพพิทาญาณ(วิปัสสนาญาณที่ 8 ) ก็บังเกิดขึ้น

       8.นิพพิทาญาณ เป็นญาณที่ก่อให้เกิดความเบื่อหน่ายเป็นที่สุด กำหนดสติปะฐาน 4 ไปเบื่อหน่ายไป ในจิดใจเต็มไปด้วยความเบื่อหน่าย ที่ไม่เกิดจากการคิดปรุงแต่งหรือการผิดหวังอะไรเลยตามที่ชาวโลกเป็นอยู่ตามปกติ การเบื่อหน่ายนี้ไม่ได้เกิดจากการคิดปรุงแต่งแม้แต่นิดเดียว แต่เกิดจากการกำหนดสติปัฏฐาน 4 ได้ทันปัจจุบันหรือเป็นปัจจุบัน ทำให้สติปัญญาเห็นไตรลักษณ์ อันไม่เทียง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน  อย่างชัดเจนขึ้นโดยไม่ต้องคิดปรุงแต่ง

  เป็นอันว่าวิปัสสนาญาณเหล่านั้น ได้ปรากฏให้ผมได้แจ่งชัดโดยตลอดที่บวชอยู่ 3 เดือนกว่าๆ นั้นเอง

   และยังไม่ได้สัมผัสในวิปัสสนาญาณเบื้องสูงที่เหลือ กับอานาปานสติสูตรบทสุดท้ายที่เหลือ ร่วมทั้งในบทของ จิต ยังไม่สามารถแยกแยะได้อย่างชัดเจน.

        หมายเหตุ การที่ผมเอาธรรมปฏิบัติของตนมาแสดงนั้นเพราะ ผมเห็นว่าธรรมปฏิบัตินั้น เรียกให้ดู แสดงให้พอเข้าใจได้ (ถูกกับความรู้สึกหรือไม่ถูกกับความรู้สึกของผู้ใดผมขอยกไว้)    เพราะผมเอาจากพุทธพจน์ที่ว่า

  ย่อมระลึกถึงพระธรรมเนืองๆว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้ดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน

   ผมได้นำส่วนนี้ ควรเรียกให้ดู ควรน้อมเข้ามา  ผมจึงกล้าที่แสดงสิ่งที่ปรากฏเป็นประสบการณ์จริงๆ แก่ผู้อื่นเพื่อ ให้ระลึกถึงพระธรรมอยู่เนืองๆ

 

ตอบโดย: Vicha 19 มี.ค. 51 - 12:21


   วันนี้ได้มีโอกาสสนทนาต่อนะครับ

     เป็นอันว่าเมื่อผมบวชอยู่ตอนปี 2526 นั้น ฌานที่ 2 และ นิพพิทาญาณ(วิปัสสนาญาณที่ 8) ได้ปรากฏขึ้นกับผมแล้ว
     ผมบวชพระอยู่ 100 วันผมก็สึกจากพระ  แล้วมาบวชเป็นชีพราหมณ์ปฏิบัติธรรมต่อ และครั้งนี้ผมได้ยกเลิกการพิจารณาลมหายใจไปอย่างสิ้นเชิง เป็นชีพราหมณ์ปฏิบัติกรรมฐานติดต่อกันเกือบ 2 เดือน
      หลังจากนั้นผมก็วนเวียนอยู่กับการปฏิบัติกรรมฐานเป็นงานหลักไปเรื่อยๆ โดยไม่พิจารณาดูลมหายใจอีกเลยจนถึงปี ปี 2544 รวมแล้วประมาณ 18 ปี ที่ผมทิ้งอานาปานาสติไป จึงไม่มีโอกาสได้สัมผัสอานาปานสติในบทสุดท้าย และเรื่องอานาปานสติกับจิตเลย
       เมื่อได้สนทนาธรรมและศึกษาในพระไตรปิฏก จากการที่ได้สนทนาธรรมกันทางอินเตอร์เน็ต ทำให้ผมได้ศึกษาอานาปานสติสูตรในพระไตรปิฏกอย่างสมบูรณ์  จึงทราบว่าเป็นสมถะและวิปัสสนาโดยแท้ จึงกลับไปเริ่มทดสอบปฏิบัติกับตนเองใหม่ทั้งหมด

       แต่เมื่อปฏิบัติแล้วจะติดอยู่ตรงที่ว่า เมื่อกำหนดอานาปาสติมากๆ ในที่สุดจะจบลงที่จะมีการสะสมอารมณ์จนอึดอัดเบื่อหนายอารมณ์เสียได้ง่ายขุ่นอยู่ภายในใจ จนต้องหยุดอารมณ์นั้นจึงคลายหายไป
        หลายวันต่อมาเมื่อเริ่มใหม่วันสองวันก็จะลงอาการแบบเดิม วนอยู่กับอาการแบบนี้เป็นปีๆ ก็ยังแก้ไม่ตก
  
      เมื่อทำการสนทนาและพิจารณาพระสูตรก็ทราบว่า ยังติดเรื่องจิต ดังนี้
 
  ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจ เข้า
   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้บันเทิงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักทำจิตใจให้บันเทิงหายใจเข้า
   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่นหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า


      และเรื่องอานาปานสติบทสุดท้าย ดังนี้
         
    ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความสละ คืนหายใจเข้า

    ที่เป็นสาเหตุนั้นเป็นเพราะไปเพ่งเกินไปที่ให้สติอยู่กับ ลมกระทบ หรือเคลือนที่ผ่านจมูก  โดยไม่ชำเรืองดูจิตไปด้วย (ดังที่ผมยกมาตั้งแต่ต้นเรื่องขันธ์ 5 การรู้ชัดลมหายใจรู้ได้ 2 อย่างคือ 1.รู้กายหรือรูปที่ลมกระทบ หรือ 2.รู้ที่เวทนาหรือนามความรู้สึกว่าลมเคลือนเพราะหายใจเข้าหรือออกอยู่ การรู้ข้อที่ 2 นี้แหละทำให้เรารู้จิตหรือรู้ธรรมที่เกิดกับใจได้ด้วย) ดังนั้นเมื่อจิตสะสมอารมณ์ความเครียดจึงไม่ได้รู้ตัว รู้อีกทีหนึ่งก็เกิดภาวะมากไปแล้ว
      เพราะถ้าชำเรืองดูจิตแล้ว เมื่อเกิดภาวะที่เพ่งจนเครียดเราก็สามารถผ่อนลงทำให้จิตบันเทิง ด้วยฌานหรือด้วยธรรมที่พิจารณาก็ได้
      เมื่อจิตบันเทิงในธรรมแล้วก็ทำให้จิตตั่งมั่นในการกำหนดสติรู้ลมหายไจ เป็นไปตามปกติ ตามฐานะตามภาวะของตนเอง(ความเด่นชัดหรือการกระทบของลมที่รู้ไม่จำเป็นว่าต้องเหมือนกันทุกคน ภาวะของแต่ละคนนั้แตกต่างกันได้)

      เรื่องอานาปานสติสูตรหมวดของจิต นั้นผมก็พอที่จะทำได้ในภายหลัง ทำให้ความอึดอัดความเบื่อหนายความขุ่น น้อยลงไปมากๆ   แต่ก็ยังมีอยู่ตั้งแต่หลังจากที่ผมตั้งกระทู้เรื่องอานาปานสติครั้งแรกเมื่อ 2 ปีที่แล้ว

      ภายหลังเมื่อปฏิบัติเพิ่มขึ้นจึงรู้เรื่อง การมีสติรู้ลม และรู้ธรรมมารมณ์เพิ่มขึ้น
       ก็คือ ขณะที่รู้ลมหายใจก็รู้จิต(ชำเรืองรู้) ทำให้ ขณะรู้ลมหายใจก็รู้อารมณ์ ทำให้เกิดสติปัญญาขึ้น ขณะรู้ลมก็รู้ธรรมคือการปล่อยวางและสละคืน

       เป็นอันว่า อานาปานสติสูตร บทสุดท้ายคือ

    ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความสละ คืนหายใจเข้า

      ผมพอเข้าใจแล้ว   ภาวะกรรมฐานที่ปฏิบัติแล้วสุดท้ายลงสู่ ความเครียดเบื่อหน่ายและขุ่นโดยไม่รู้ตัวก็หายไป  แต่ถ้าต่อไปไม่ทำใจให้แยบคาย(พิจารณาให้แยบคาย) ก็อาจทำให้เกิดภาวะเดิมขึ้นมาอีกก็ได้

       ในความคิดเห็นต่อไปผมจะเอาประสบการณ์ที่ผมเอาอานาปานสติมาใช้ในตอนพักเที้ยงเป็นประจำในวันทำงาน ว่ามีอาการหรือผลเป็นอย่างไร? ในขณะที่เข้าสมาธิอยู่


               

ตอบโดย: Vicha 20 มี.ค. 51 - 12:28


    วันนี้ผมก็มีโอกาส สนทนาต่อ  และก็ถึงช่วงสุดท้ายในการสนทนาในกระทู้นี้  ก็คือหมดข้อมูลที่เป็นหลักหรือกรอบที่ผมมีอยู่เพื่อการสนทนาแล้ว  แต่ผู้ใดจะถามหรือประสงค์แสดงความคิดเห็นที่อยู่ในส่วนของอานาปานสติสูตรก็เชิญ
    
    และในความเห็นนี้ผมจะเอาอาการและภาวะที่เกิดขึ้น จากการที่ผมสนทนาและทดสอบปฏิบัติอานาปานสติ ที่ปรากฏกับผมที่เป็นพื้นว่าเกิดอย่างไรขึ้น

    จากข้อมูลเก่า

อ้างอิง
     ผมจะเล่าอาการที่เกิดกับผมให้ฟังดังนี้
            เนื่องจากผมฝึกสติ หรือวิปัสสนามาก   เมื่อปรับฐานมามีสติรู้ลมหายใจเข้าหรือออก  ก็จะทำให้เกิดปัญหาในระยะแรก คือภาวะสองอย่าง
            1.มีสติรู้ลมได้สักพัก ก็จะเริ่มเบลอ แล้วไม่รับรู้อะไร เงียบหายไป
            2.มีสติรู้ลมได้สักพัก ก็จะเริ่มปรากฏ นิมิตขึ้นมาตลอด แล้วทิ้งสติรู้ลมหายใจ

           แต่เมื่อปฏิบัติไป ก็จะทราบว่า ถ้าเพ่งไปที่รูป(กายที่สัมผัสลม) จุดสัมผัสมาก ก็จะเกิดภาวแบบที่ 1
            ถ้ารับรู้เฉพาะที่ความรู้สึกแบบมีสติตรงความรู้สึกว่าหายใจเขาหรือออก ก็จะเกิดภาวะแบบที่ 2

           เมื่อเข้าใจการปฏิบัติแล้วฝึกได้อย่างดีพอควร เมื่อเกิดนิมิตขึ้นมา(สติทิ้งลมหายใจไปแล้ว) สติก็ตามรู้นิมิตนั้นโดยไม่ไปปรุงแต่ง ถึงจุดหนึ่งนิมิตนั้นก็จะดับ ต่อหน้าต่อตาแล้วมามีสติรับรู้ที่หายใจเข้าออก ตามปกติ
            แล้วถ้าเกิดภาวะการเบลอไม่รับรู้อะไร เหมือนอยู่ในภวงค์ลากยาวติดต่อกัน สติก็จะติดตามรู้ภาวเบลอนั้น เมื่อถึงจุดหนึ่งก็จะแน่นิ่งแล้วดับไปทันที แล้วมีสติรับรู้หายใจเข้าหรือออกทันที มีปิติสุขเบาๆ  ความสว่างเบาเกิดขึ้น

             คือหมายความว่า เมื่อฟุ้งในนิมิต  หรือเข้าภวงค์ลากยาวติดต่ออยู่  เมื่อภาวะนั้นดับ ก็จะมามีสติรู้ลมหายใจเข้าหรือออก โดยไม่แวะไปรับรู้ที่อื่นก่อนเลย  แต่สักพักหลังจากนั้นก็เป็นเรื่องปกติ อาจจะแวบไปคิดโน้นคิดนี้บ้าง ไปพิจารณาอย่างโนนอย่างนี้บางเป็นเรื่องธรรมดา แต่สติก็ยังรับรู้หายใจเข้าหรือ ออกอยู่ ผสมผสานอยู่.

ตอบโดย: Vicha 08 ก.พ. 51 - 10:16


     ต้นเดือน ก.พ. 51 นั้นผมได้ปฏิบัติอานาปาน เข้มข้นขึ้นจากปกติ จนเกิดภาวะดังอ้างเอิงนั้น จึงทำให้เข้าใจและแยบคายในการกำหนดปฏิบัติมากขึ้น ระหว่าง
     1.การกำหนดรู้ชัดที่ลมสัมผัสกับจมูก (รู้ชัดตรงรูปที่กระทบ)
     2.การกำหนดรู้ว่าเพียงรู้สึกลมเคลือนเข้าและออกตามที่หายใจเข้าหรือออก(รู้ตรงนามที่รู้สึกว่าหายใจเข้าหรือออก)

     เพระภาวะทั้งสองนั้นจะเป็นไปตามฐานะของการหายใจ คือบางช่วงมีสติ รู้ที่ลมกระทบชัด ก็รู้ชัด บางช่วงมีสติรู้สึกเพียงแต่หายใจเข้าหรือออกตามฐานะที่ปรากฏนั้น
      
    ถ้าเป็นบุคคลที่ยังไม่มีสติที่ฝึกมาดีและไม่แยบคาย
          ถ้าเพ่งที่จะรู้ที่ลมกระทบให้ได้อย่างเดียวก็จะเกิดภาวะความเครียดกดตัวเองเบรอโดยไม่รู้ตัว
          ถ้าผอนเพียงแต่รู้ว่าหายใจเข้าหรือออกเท่านั้น ก็จะเผลอ หลับและฟุ้งในอารมณ์ไปเรื่อยๆ
 
     แต่ถ้าเป็นผู้ที่ฝึกได้สติมาพอควรแล้วและพิจารณาเป็นสติปัฏฐาน 4 เห็นความเป็นไตรลักษณ์ ก็อาจจะเป็นวิปัสสนาดังที่ปรากฏกับผมคือ
          เมื่อเข้าใจการปฏิบัติแล้วฝึกได้อย่างดีพอควร เมื่อเกิดนิมิตขึ้นมา(สติทิ้งลมหายใจไปแล้ว) สติก็ตามรู้นิมิตนั้นโดยไม่ไปปรุงแต่ง ถึงจุดหนึ่งนิมิตนั้นก็จะดับ ต่อหน้าต่อตาแล้วมามีสติรับรู้ที่หายใจเข้าออก ตามปกติ

      และถ้าเป็นผู้ที่ฝึกมีสมาธิพอควรแล้ว ก็จะลงสู่ฌาน ดังที่ปราฏกับผมคือ
           แล้วถ้าเกิดภาวะการเบลอไม่รับรู้อะไร เหมือนอยู่ในภวงค์ลากยาวติดต่อกัน สติก็จะติดตามรู้ภาวเบลอนั้น เมื่อถึงจุดหนึ่งก็จะแน่นิ่งแล้วดับไปทันที แล้วมีสติรับรู้หายใจเข้าหรือออกทันที มีปิติสุขเบาๆ  ความสว่างเบาเกิดขึ้น

      ส่วนการพิจารณาจิตและธรรม นั้นผมได้เสนอไปแล้วในความคิดเห็นที่ 257 ข้างบน

  ต่อไปผมขอแวะมากกล่าวถึง สังขารุเปกขาญาณ  ของอานาปานสติสูตรเป็นอย่างไร?

   ก็คือเมื่อปฏิบัติ อานาปานสติสูตร ในหมวดของ ธรรมในธรรม หมาดสุดท้าย ควรจะเป็นดังนี้  สมาธิเป็นหนึ่ง ลมหายใจแผ่วเบา สติสมบูรณ์รู้ทันกับลม ปัญญารู้ถึงการเปลี่ยนแปลงหรือไม่เทียงอยู่เป็นปัจจุบันของภาวะนั้นขณะที่ลมหายใจแผ่วเบานั้น จนวางอุเบกขากำหนดรู้ได้อย่างละเอียดและสมบูรณ์ด้วยสติได้อย่างยาวนานเบาโดยไม่เคลือนจากสติโดยง่าย  หรือปัญญารู้ถึงความไม่ยึดมั่นถือมั่นเป็นปัจจุบันของภาวะนั้นขณะที่ที่ลมหายใจแผ่วเบานั้น จนวางอุเบกขากำหนดรู้ได้อย่างละเอียดและสมบูรณ์ด้วยสติได้อย่างยาวนานเบาโดยไม่เคลือนจากสติโดยง่าย
 
     ข้อสังเกตุ จะต่างจากการที่ลมหายใจแผ่วเบาลงเพื่อได้ฌาน การได้ฌานนั้น คือสมาธิจะเป็นหนึ่งมากขึ้น แล้ววางเฉยต่ออารมณ์เป็นอุเบกขา สติจะไม่สมบูรณ์แจ่มชัดเจน และธรรมที่ปัญญาเห็นไตรลักษณ์ คือ ความไม่เที่ยง หรือไม่ยึดมถือมันไม่มีหรือไม่ชัด

      ต่อไปก็เป็นส่วนสุดท้ายของความคิดเห็นนี้ว่าหลังจากที่ผมผ่านการปฏิบัติอานาปานสติที่เข้มข้นจากปกติ (มีภาวะเกิดมากว่าที่แสดงข้างบนนั้นแต่ไม่แตกต่างโดยหลักการจึงไม่ขอกล่าว)  แล้วเวลาเอามาพักผ่อนตอนพักเที่ยงในว้นทำงานเกิดอาการอย่างไร?
      เอาช่วงวันที่ชัดเจน 2 วันนะครับ ปกติในตอนพักเทียงหลังท่านข้าวประมาณ 12.30-12.40 น. ผมจะนั่งสมาธิที่โต๊ะทำงานในท่านั่งธรรมดากำหนดกรรมฐานตามนิสัยแล้วปล่อยให้หลับไป ตื่นจากหลับก็ประมาณ 13.00 น.
      ว้นแรกตอนพัก ก็คิดว่าเรากำลังทำการพิสูจน์อานาปานตังใจให้มีสติไม่ใช่อยากหลับ แต่กำหนดเพียงแค่มีสติรู้สึกลมหายใจ ไม่ไปเพ่งมากมายเพื่อให้ทราบชัดถึงส่วนที่ลมกระจมูก รู้ๆ ลม อยู่ประมาณ 5 นาทีได้ หลังจากนั้นก็ไม่รับรู้อีก แบบไม่มีสติรู้ช่วงอยู่ในภวังค์เลยคือหลับไปนั้นเอง รู้สึกตัวอีกที่ก็รู้ในขณะที่สูดลมหายใจเข้าอย่างชัดเจนพอดี ประมาณ 13.00 พอดี
       วันที่ 2 ก็ตังใจให้ดีกว่านั้น ก็กำหนดรู้ลมหายใจให้มีสติชัดกว่านั้น ก็ประมาณ 5 นาที ก็ลงภวังค์แต่มีสติรู้น้อยๆ มีเพียงอารมณ์เดียวที่เสมือนรู้ที่โพร่งจมูก ที่เสมือนโพร่งจมูกคลายความเกร็งออกที่ละนิดๆ ๆ ตอนนั้นไม่รู้สึกถึงลมหายใจแล้ว หลังจากนั้นก็ทิ้งความรู้สึกหมดความรู้สึกหายไปเหมือนหลับลึกไปช่วงหนึ่ง รู้สึกตัวขึ้นมาพร้อมกับรู้ลมหายใจเข้าเหมือนเดิม..


             ผมได้เสนอข้อที่พอรู้พอมีอยู่ให้ได้อ่านสมบูรณ์ในระดับหนึ่งแล้วนะครับ.


  
  

ตอบโดย: Vicha 21 มี.ค. 51 - 12:35


เมื่อฌานเกิดแล้ว ก็ต้องนำฌานนั้นมาต่อยอดต่อธรรม หากได้ฌานนั้นแล้วไม่นำมาต่อยอดต่อธรรม ก็ย่อมไม่สำเร็จประโยชน์ในทางธรรม ฌานนั้นก็จะเสื่อมไปโดยไม่ได้ประโยชน์แก่นสารอะไรเลย การวิตก วิจารณ์ ให้ธรรมที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้านั้นอยู่ในกรอบแห่งความจริงก็ย่อมรู้ชัดในธรรมอันเป็นความจริงนั้น ก็ยิ่งปลูกฝังศรัทธา ความเชื่อมั่น แม้นวิระยะ สติ สมาธิ ปัญญา ก็จะมีกำลังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เกิดความพร้อมอยู่ในตัว เกิดความพออยู่ในตัว เป็นกำลังขุมหนึ่งที่อยู่ภายใน ที่เขาเรียกกันว่า พลังจิต กำลังขุมนี้นั้นจะมีความพร้อม มีการเตรียมพร้อมอยู่ในทุกสถานการณ์ จากอาคันตุกะผู้มาเยือนทั้งจากภายในบ้าง ภายนอกบ้าง วันนี้เราฝึกฝนตนเองให้ดีในเบื้องต้น แล้วดำเนินไปในท่ามกลาง จนสุดท้ายแล้วความดีนั้นก็ติดตามมาอยู่อย่างนั้น สั่งสมบุญบารมีด้วยการปฏิบัติทาน ศีล ภาวนา ไปเรื่อย ๆ วันหนึ่งก็จะถึงที่หมายเอง สาธุ กับ จขกท. ในธรรมทานที่ท่านได้ให้แล้วนี้  

ตอบโดย: ช.ชุตินธโร 21 มี.ค. 51 - 13:17


อนุโมทนาสาธุ กับพี่วิชาด้วยครับ...

อานาปานสติ คือสุดยอดของธรรมแล้วครับ

สุดท้ายแล้ว ก็ต้องกลับมาอยู่กับลมหายใจเข้า-ออก นั้นเอง

ในลมหายใจเข้า-ออก ไม่มีความถูก ไม่มีความผิด
ไม่มีผู้หญิง ไม่มีผู้ชาย
ไม่มีเด็ก ไม่มีผู้ใหญ่
ไม่มีชาติ ไม่มีชรา ไม่มีมรณะ

เมื่อใดที่ใจเป็นหนึ่งเดี่ยวกับลมหายใจได้
เมื่อนั้นความเป็นอิสระอย่างสมบูรณ์ก็จะบังเกิดมีขึ้นในทันที

เมื่อไม่คิดจะครอบครองลมหายใจ
ก็ไม่มีความจำเป็นอันใด ที่จะต้องรักษาลมหายใจเอาไว้...

เมื่อผู้รู้ลมหายใจ เป็นหนึ่งเดียวกับลมหายใจได้เมื่อใด
เมื่อนั้นลมหายใจ ก็จะกลับคืนสู่ความเป็นธรรมชาติ สู่ความเป็นปกติ สู่ความเป็นอิสระ
เป็นลมหายใจที่ปราศจากผู้รู้ลม ปราศจากผู้ดูลมหายใจ...

 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 21 มี.ค. 51 - 19:47


ขออนุญาตครับ  ผมขอเพิ่มเติมอีกนิดหน่อย


เมื่อเห็นการเกิดและดับของนิมิตรได้แล้ว  และ  กลับมาระลึกรู้ลมหายใจตามเดิมแล้ว  ขอให้เพื่อนๆรู้ต่อไปอีกว่า....อารมณ์ในใจก็มีการเปลี่ยนแปลงได้  หมายความว่า....ตอนที่เห็นนิมิตร....อารมณ์เป็นอย่างหนึ่ง / ตอนที่นิมิตรดับไป .... อารมณ์ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง   อารมณ์มีการเกิดและดับได้   อารมณ์ก็มีการเปลี่ยนแปลงได้


อีกอย่างหนึ่ง....เวลาระลึกรู้ลมหายใจ  ขอให้ระลึกรู้โดย...รู้ความรู้สึกทางกายทั้งหมดที่หายใจเข้า - หายใจออก....หมายความว่า..... รู้อาการหายใจ - รู้อาการทรงตัวของร่างกาย - รู้การพูด  - รู้การคิด - รู้การสัมผัส    การรู้อย่างทั่วถึงแบบนี้  จะทำให้สติสัมปชัญญะตั้งมั่นลงไปได้ดีกว่า   การรู้เฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย   แล้วเราก็จะเห็นไตรลักษณ์ได้อย่างเบาสบาย  อย่างเป็นธรรมชาติ  โดยเราไม่ต้องเพ่ง  เราไม่ต้องใช้ความตั้งใจในการภาวนา    ไม่ใช่ไม่ตั้งใจภาวนานะครับ  แต่ว่าเป็นการภาวนาแบบไม่ต้องมีการตั้งใจเข้ามาช่วยเสริม ( การตั้งใจภาวนาก็ยังเป็นการปรุงแต่งชนิดหนึ่ง )


 การรู้อย่างทั่วถึงแบบที่ผมกล่าวมานี้    ฟังดูเหมือนปฏิบัติยาก  แต่จริงๆแล้วปฏิบัติได้ไม่ยาก  แต่ว่า เราต้องหมั่นฝึกฝนบ่อยๆครับ


ขออนุโมทนากับความเพียรของคุณวิชาครับ    

 

ตอบโดย: ระนาด 23 มี.ค. 51 - 08:08


     นึกว่าจะหมดเรื่องสนทนาแล้วพอดี เมื่อวันศุก แฟนได้พาลูกเพื่อนลูกไปเข้ากรรมฐานที่คณะ 5 วัดมหาธาตุท่าพระจันทร์   และผมตามไปตอนเย็นเพื่อไปควบคุมดูแลลูกชาย อายุประมาณ 11 ปีกว่าๆ  ซึ่งเขาแทบจะกลับบ้านทั้งแต่วันแรกที่เข้าวัด ผมจึงปฏิบัติได้ไม่เต็มที่ แต่ก็ทำเกิดปรากฏการที่เห็นชัด ระหว่างสมาธิระดับฌาน กับ สติ ที่จะขึ้นวิปัสสนาญาณ
      ด้วยความที่ผมดูลมแล้วดู กายหรือใจ ที่ปรากฏเข้าให้เห็นรับรู้ปราฏกขึ้น ในตอนพักเทียงเป็นประจำในวันทำงาน ใจก็จะเป็นหนึ่งรู้สึกที่ลมที่จมูกเป็นใหญ่ แล้วเริ่มไม่รับรู้ทางเสียงทางความรู้สึกอื่นๆ  คือทิ้งความรู้สึกกายส่วนอื่นๆ  จนในที่สุดทิ้งความรู้สึกถึงลม แล้วนิ่งเงียบหายไป เป็นเวลา 15-20 นาที่ บ่อย (ไม่เป็นประจำนะครับ บางครั้งก็หลับไป)
     จากผลด้านบนนั้นเมื่อฝึกสติให้ตื่นตัวในการเดินจงกรมขึ้นการเข้าสมาธิก็ชัดขึ้น พอนั่งปับรู้ลมด้วยสติที่ชัด ก็จะปลดความรู้สึกจากส่วนอื่นไปอย่างชัดเจน จนทิ้งเข้าสู่ความนิ่งเงียบไปเป็นเวลา 15 - 20 นาที  แล้วค่อยออกมารับรู้ลมตามปกติ ช่วงภาคค่ำที่ปฏิบัติธรรม พอช่วงเช้า ก็เข้าภาวะนี้อีกครั้ง 2 ครั้ง พอช่วงบ่ายลูกเริ่มงอแง่จะกลับบ้าน จึงค่อยปะเหลาะเขา โดยออกมาคุยกับเขา ฟังเขาคุยโน้นคุยนี้ พาเขาเดินคลายอารมณ์ เพื่อให้อยู่วัดทำกรรมฐานให้ครบตามกำหนด จึงทำให้ผมกำหนดเพื่อเจริญสติได้อย่างไม่เต็มที่ แต่สติก็ย่อมเจริญขึ้นตามฐานะ
       เมื่อสติเจริญขึ้น ก็สามารถเข้าสมาธิแบบนั้นได้อีกสักครั้งหนึ่ง หลังจากนั้นธรรมมารมณ์ ก็ผุดขึ้นจากใจมาก นิมิตเกิดขึ้นมาก ไม่ใช่ความฟุ่งซ้านนะครับ ไม่ใช่การคิดปรุงแต่งเรื่องต่างๆ ธรรมมารมณ์นั้นและนิมิตนั้นเขาผุดของเขามาเองจากใจให้ดูให้รู้ แต่หาได้ไปสนใจจึงไม่ไปรับรู้เรื่องราว จึงไม่สามารถเข้าสมาธิแบบเดิมได้อีกแล้วในช่วงหลังที่ปฏิบัติธรรมอยู่  ก็จะกลายเป็นภาวะเลื่อนๆ แล้วเผลอทิ้งสติแทนการเข้าสมาธิ เป็นการเผลอหลับไปเสีย โดยร่างกายไม่ตั้งนิ่งในท่านั้นๆ ได้เหมือนตอนสงบนิ่งเข้าสมาธิ
      แต่การเผลอหลับนั้นก็เริ่มหดสั้นเข้า จนน้อยลงๆ เพราะสติดีขึ้น แต่ก็หาดีขึ้นเต็มที่เพราะต้องคอยดูแลลูกชาย และก็หมดช่วงเข้ากรรมฐาน แล้วกลับบ้านครับ

      ดังนั้นผู้ที่ได้ ฌาน ถ้าไม่เจริญจนเป็นเจโตวิมุตพร้อมกับปัญญาวิมุตที่สมาธิสูงๆ ได้ เมื่อกลับลงมาปฏิบัติ วิปัสสนาล้วนๆ โดยอาศัย ตั้งแต่ขณิกสามาธิเป็นเบื้องต้นโดยพิจารณาร่างกายเป็นหลักหรือส่วนมาก ก็ย่อมทิ้งฌานนั้นเพื่อเจริญวิปัสสนากรรมฐานล้วนๆ

        ผมคิดว่า จุดนี้น่าจะเป็นความแตกต่างกันของอานาปานสติสูตร กับวิปัสสนาที่กำหนดกายที่เป็นร่างกายเป็นส่วนใหญ่  นี้เป็นการแสดงความคิดเห็นเท่านั้นนะครับ.

   

ตอบโดย: Vicha 24 มี.ค. 51 - 16:28


พอรู้สึกตัวไปทั่วๆแล้วมันกลายเป็นรู้กาย

แต่ไม่ใช่กายหรอก  ไม่รู้ซิครับ มันบอกไม่ถูก

คล้ายสมาธิมีกำลังแล้วสร้างรูปขึ้นมา

ไม่รู้ผมเข้าใจถูกไหม

ท่านใดมีคำแนะนำไหมครับ

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 24 มี.ค. 51 - 17:53


  สาธุ คุณบุญรักษ์

  ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะเหตุจากการจำได้หมายรู้ในสภาวะนั้น สติที่ตื่นขึ้นชั่วขณะแว็บเดียวนั้น
จะมีความผ่องใสในตัวเอง จิตนิ่มนวล อ่อนโยน ว่องไว โปร่งโล่งเบา การตามรู้คือชั่วขณะเมื่อกี้นี้ที่ผ่านมาแว็บนึง
สติที่ตื่นและเห็นความจริง เห็นในสิ่งที่ถูกรู้ในจิตดวงถัดๆมา จึงเห็นว่า ตัวอะไรหว่ากำลังเดิน มันเหมือนเรามาอยู่วงนอก
เห็นในขันธ์ที่กำลังเคลื่อน รูปมันเคลือนไม่ใช่กายเราเคลื่อน นี่หละปัญญา เห็นมากๆเข้าก็สามารถละสักกายทิฎฐิ
คือความยึดมั่นถือมั่นในตนเองได้ครับ ผิดพลาดขออภัยนะคุณ บุญรักษ์

  แหะๆ  ชั่วแว๊บนะ   เป็นเพื่อนกันนะคุณ บุญรักษ์ เรามาดูกันอีกเยอะนะครับ
สนุกดี

          คุณวิชา
 เก่งนะ สาธุ อ้องนะไปติดดี ติดสุข ติดสงบ จมแช่ดิ่งลึก นิ่งแช่ เห็นอะไรวุ่นวายมั่วไปหมด ปัญญาอ้องเลยไม่มี
กิเลสก็ตรึมเลย ติดมานาน พึ่งมาทางที่ถูกได้ปีนิดเดียวเอง ยังต้องดูอีกเยอะ ทำอีกมาก ขออนุโมทนาคุณ วิชามา ณ ที่นี้ด้วยครับ

 

                     อ้อง    

ตอบโดย: ชัชวาล เพ่งวรรธนะ 24 มี.ค. 51 - 18:43


สวัสดีครับพี่วิชา

กราบขออนุญาตเรียนสนทนา เสนอมุมมองเกี่ยวกับเรื่องอานาปาฯ หน่อยครับ

ผมมีมุมสังเกตุเกี่ยวกับการเจริญอานาปาว่า
การระลึกรู้ถึงลมหายใจเข้า-ออก นั้น น่าจะต้องมีอยู่ตลอดทั้ง16ขั้นตอน
คือตั้งแต่การพิจาณากาย-เวทนา-จิต-ธรรม

แม้นถึงขั้นสุดท้ายคือ การสละคืนธรรมทั้งหลายทั้งปวง
ท่านก็ยังบอกให้ระลึกรู้ถึงลมหายออก ลมหายใจเข้า อยู่ตลอดเวลา

ลมหายใจเข้า-ออกจึงเป็นวิหารธรรม อันวิเศษสุด

การได้เห็น ได้ผัสสะ กับสุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมเวทนา  ใดๆก็ดี
ลมหายใจออก-เข้ายังคงต้องเจริญควบคู่ไปกับการได้เห็น
กับการได้สัมผัส เวทนาทั้ง3ตัวนั้น...

โดยส่วนตัวของผมเองแล้วเข้าใจว่า
อานาปาฯ จักทิ้งไม่ได้เลย ตลอดทั้งวัน ตลอดทั้งคืน(นอกจากเผลอหรือหลับ)
ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายได้สัมผัส ใจได้รู้ธรรมมารมณ์
ลมหายใจออก-เข้า จะต้องเคียงคู่ไปกับผัสสะนั้นอยู่ตลอดเวลา...

ผมเข้าใจว่าเป็นเพราะในบางครั้ง
เรายังสลัดตัวผู้รู้ ตัวผู้ดูลมหายใจเข้า-ออก ยังไม่ได้
สลัดตัวผู้รู้ ตัวผู้เจริญวิปัสสนา ยังไม่ได้

เพราะยังมีความเข้าใจว่า
ตัวผู้รู้ดูลมหายใจ นั้นยังเป็นตัวตนของเราอยู่
ตัวผู้รู้ตัวผู้เจริญวิปัสสนา นั้นยังเป็นตัวตนของเราอยู่

เมื่อเราติดในตัวผู้ ผู้ดู ผู้เจริญ
เราจึงเห็นได้ ดูได้ สัมผัสได้ในมิติเดียว

แต่ถ้าเมื่อใดที่เราปล่อยวางตัวผู้รู้ ปล่อยวางตัวผู้ดูได้
เราจะสามารถเห็นได้ ดูได้ ระลึกรู้ได้ ในหลายๆมิติได้พร้อมกันในคราเดียวกัน

ดั่งเช่นว่า แม้นในขณะที่กำลังพิมพ์ข้อความอยู่ในขณะปัจจุบันนี้นั้น
ลมหายใจเข้า-ออกยังคงถูกระลึกรู้ควบคู่กันไป เคียงคู่กันไป

นั้นเป็นเพราะ ไม่มีความยึดติดมั่นในตัวผู้ที่กำลังพิมพ์ว่า
เป็นตัวเราที่กำลังพิมพ์ข้อความแสดงความคิดเห็นนี้อยู่.

นั้นอาจเป็นเพราะความเข้าใจดีแล้วว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน
ไม่มีสภาพความเป็นตัวตนแต่อย่างไร
เป็นเพียงสักแต่ว่า ธรรมชาติ ธาตุขันธ์ ที่อาศัยเหตุและปัยจัยปรุ่งแต่งมันขึ้นมาเท่านั้นเอง

เมื่อไม่ติดยึดในธรรมใดๆทั้งหลายทั้งปวง
แล้วธรรมชาติรู้ จะไปรู้อะไร จะไปรู้ที่ตรงไหน

ด้วยความเห็น ด้วยความเข้าใจเป็นอย่างดีแล้วว่า
ลมหายใจนั้นมีอยู่ตลอดเวลา
ลมหายใจนั้น ไม่ใช่สุขเวทนา
ไม่ใช่ทุกขเวทนา ไม่ใช่อทุกขมสุขเวทนา
ลมหายใจนั้น ไม่ใช่อัตตาตัวตน

ดังนั้นลมหายใจ จึงเป็นที่อยู่อาศัยอันวิเศษสุด
เป็นวิหารธรรมอันประเสริฐสุด
เป็นที่ที่ธรรมชาติรู้ สมควรเจริญ สมควรไปอยู่อาศัยเป็นอย่างยิ่ง...


ผมสังเกตุว่า
การ"ระงับกายสังขาร"นั้น มิใช่การระงับลมหายใจให้ดับหายไปเลย
แต่เป็นเพียงการปล่อยวางความไม่ยึดติดกับลมหายใจนั้นต่างหาก
เลิกใคร่ครวญพิจาณาถึงรายละเอียดต่างของลมหายใจว่าอย่างไร
เลิกใคร่ครวญพิจาณาว่าลมหายใจออก ยาวหรือสั้น
ว่าลมหายใจเข้า ยาวหรือสั้น
ว่าลมหายใจออก หยาบหรือว่าละเอียด
ว่าลมหายใจเข้า หยาบหรือว่าละเอียด...

แต่การละลึกรู้ถึงลมหายใจ-ออกเขายังคงดำเนินอยู่ต่อไป
(นั้นก็คือ สติ-สมาธิ ยังคงเจริญอยู่อย่างต่อเนื่อง)

แม้นถึงขั้นปิติ สุข เวทนาปรากฏเกิดขึ้น ลมหายใจเข้าออก
ก็ยังคงถูกละลึกรู้อยู่ไม่ขาดหายไปไหน

แม้ถึงขั้นการ"ระงับจิตสังขาร" ลมหายใจเข้า-ออก
ก็ยังคงถูกละลึกรู้อยู่อย่างต่อเนื่อง

แม้นถึงขั้นการที่พิจารณาธรรม ปลงธรรม ดับธรรม สละคืนธรรม
อันเป็นขั้นตอนสุดท้ายนั้น
ลมหายใจเข้า-ออก ก็ยังคงถูกละลึกรู้อย่างสม่ำเสมอ...


ผมมีมุมสังเกตุดังที่ว่ามานี้
จึงกราบเรียนนำเสนอพี่วิชา เผื่อพี่วิชา
จักมีข้อใดเสนอแนะนำเพิ่มเติม ก็จักเป็นพระคุณอย่างยิ่งครับ









 













 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 25 มี.ค. 51 - 08:30


อ้างอิง (Vicha @ 24 มี.ค. 51 - 16:28)


      ดังนั้นผู้ที่ได้ ฌาน ถ้าไม่เจริญจนเป็นเจโตวิมุตพร้อมกับปัญญาวิมุตที่สมาธิสูงๆ ได้ เมื่อกลับลงมาปฏิบัติ วิปัสสนาล้วนๆ โดยอาศัย ตั้งแต่ขณิกสามาธิเป็นเบื้องต้นโดยพิจารณาร่างกายเป็นหลักหรือส่วนมาก ก็ย่อมทิ้งฌานนั้นเพื่อเจริญวิปัสสนากรรมฐานล้วนๆ
(Vicha @ 24 มี.ค. 51 - 16:28)


สาธุครับคุณวิชา     ตรงนี้ผมเห็นด้วยกับคุณครับ
-----------------------------------------------------------------------------


ถ้าเราหมั่นฝึกฝนจนกระทั่งดูกายอย่างทั่วถึงได้แล้ว ( รู้อาการหายใจ - รู้การทรงตัว - รู้การเคลื่อนไหว - รู้การสัมผัส - รู้การคิด.......ฯลฯ )   เราก็จะเห็นอารมณ์หรือความรู้สึกต่างๆภายในใจ  แสดงอาการพระไตรลักษณ์ออกมาได้เอง   ตรงนี้คล้ายๆกับเรากำลังเที่ยวชมดูการแสดงอะไรสักอย่างภายในกาย - ภายในใจของตัวเราเอง  หรือ คล้ายๆกับเรานั่งอยู่บนตลิ่ง  มองดูสิ่งต่างๆที่ไหลไปตามแม่น้ำ  โดยสภาวะธรรมเหล่านั้น  เขามาปรากฏให้เราเห็น ด้วยความรู้สึกตัวของเราเอง     เราไม่ต้องใช้ความพยายามเพื่อที่จะเข้าไปดูเลยครับ


ฉะนั้น  ในความเห็นส่วนตัวของผม  ผมเห็นว่า การระลึกรู้อาการทางกายอย่างทั่วถึง  จะเป็นกำลังสำคัญ  ที่ช่วยให้เราเห็นอาการของพระไตรลักษณ์ได้อย่างเบาสบายและเป็นธรรมชาติ   เพื่อนๆนักภาวนาท่านใดที่ปฏิบัติมานานแล้ว  แต่ยังไม่เห็นอาการไตรลักษณ์  ก็ควรหมั่นฝึกฝนการระลึกรู้ความรู้สึกทางกายอย่างทั่วถึงนี้ให้มีความชำนาญมากๆ  แล้วท่านก็จะเห็นไตรลักษณ์ได้  ด้วยความรู้สึกตัวของท่านเองครับ

   

ตอบโดย: ระนาด 25 มี.ค. 51 - 08:39


   สนทนากับคุณปล่อยรู้ที่ถามนะครับ

จากข้อความของคุณปล่อยรู้

อ้างอิง
ผมมีมุมสังเกตุเกี่ยวกับการเจริญอานาปาว่า
การระลึกรู้ถึงลมหายใจเข้า-ออก นั้น น่าจะต้องมีอยู่ตลอดทั้ง16ขั้นตอน


ถูกต้องตามที่ผมปฏิบัติและเข้าใจครับ

  แต่มีบางอย่างที่คุณปล่อยรู้มองข้ามหรือไม่สังเกตุ หรือยังไม่ปรากฏกับคุณปล่อยรู้เลยก็ได้  เพราะต้องมี สติพละ ที่เจริญสมบูรณ์ และละเอียด มีปัญญาแยบคาย  สามารถเข้าและออกได้ เป็นประจำหรือบ่อยๆ จนเกิดปัญญาแยกแยะได้ด้วยสติ และสมาธิที่ปรากฏนั้นก็คือ
    1.การเข้า ฌาน
    2.วิปัสสนาญาณ ทั้งแต่ อุทัพยญาณ(วิปัสสนาญาณที่ 4) เห็นรูปนามเกิดดับ และ
    3.อนุโลมญาณ (วิปัสสนาญาณที่ 11)

    1.การเข้า ฌาน ที่เป็นอัปปนาสมาธินั้น คือ จิตเป็นเอกกัคตารมณ์ ปลดทิ้งความรู้สึกตัวทั้งหมดแม้กระทั้งลมหายใจ(ยังมีลมหายใจอยู่แต่ไม่รับรู้)   เสวยอยู่แต่ฌานสมาบัติ ตามกำลังแล้วจึงออกมามีความรู้สึกตัวรู้ลมหายได้ตามปกติ
      แต่การเข้าอัปปนาสมาธิของฌาน 4 จะแปลกกว่าฌานเบื้องต้นทั้งหมด คือเมื่อเข้าสมาบัติของฌาน 4 อยู่ในอัปปนาสมาธินั้น ลมหายใจก็จะหมดไม่ปรากฏไปด้วย
  
     
    2. อุทัพยญาณ(ญาณ 4)  เมื่อปัญญาเห็นไตรลักษณ์ขณะกำหนดรู้ลมอยู่ พละ 5 มีความสมดุลย์รวมกันเท่าทันภาวะจิตที่เกิดและดับ ก็จะเกิดภาวะการดับอย่างชัดเจน ในขณะที่หายใจ การหายใจนั้นจะดับหายทันที่ทันใดขณะหนึ่งแล้วหายใจเป็นปกติ ซึ่งต้องมีสติที่ดีมีปัญญาที่ดีที่เจริญได้ดีมาก
      ถ้ากำลังอ่อนลงหน่อยหนึ่ง ก็จะเกิดภาวะที่เรียกว่า สันตติขาด คือสติปัญญาพอเริ่มจะเท่าทันช่วงการเกิดดับของรูปนามในขณะหนึ่งๆ เช่น เมื่อมีสติรู้ลม และเห็นความไม่เที่ยงของลมและการสัมผัสของลม และเกิดการสะดุดขณะจิตหนึ่ง  เมื่อรู้ลมพร้อมทั้งปัญญาเห็นไตรลักษณ์ ก็เกิดสะดุด อีกเป็นไปตามพละ 5 ที่เจริญขึ้น เมื่อเจริญถึงที่สุดของจะเกิดดับให้อย่างชัดเจน ทั้งลมหายใจและความรู้สึกขาดดับไป หนึ่งขณะ

     3.อนุโลมญาณ (ไม่ขออธิบายอาการดีกว่า มันลึกไป) เพราะภาวะของอนุโลมของฌาน กับอนุโลมญาณ จะมีความคล้ายกัน แต่อนุโลมญาณ ที่เป็นวิปัสสนานั้น มีปัญญาเห็นไตรลักษณ์ทั้งแต่ต้นโดยตลอดจนถึง สังขารุเบกขาญาณ(วิปัสสนาญาณที่ 11) ที่ละเอียดที่สมบูรณ์ เหมือนดังการร่อนแป้งที่มีสิ่งเจือปน จนสิ่งแปลกปลอมเจือปนหลุดออกจนหมดสิ้น เหลือแต่เนื้อแป้งอันบริสุทธิ์ เหมือนดังช่วงนั้นจิต บริสุทธิ์ เป็นอุเบกขาพร้อมทั้งปัญญาเห็นไตรลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 อย่าง คือ 1.อนิจจะนุปัสสนา 2.ทุกขะนุปัสสนา 3.อนัตตานุปัสสนา
       1.อนิจจะนุปัสสนา คือเห็นความไม่เที่ยงความเปลียนแปลง ในขณะสติสมาธิอันบริสุทธิ์ละเอียดออ่นเป็นอุเบกขานั้น
       2.ทุกขะนุปัสสนา  คือเห็นความทุกข์ ความตั้งความทนอยู่ไม่ได้ ในขณะสติสมาธิอันบริสุทธิ์ละเอียดออ่นเป็นอุเบกขานั้น
       3.อนัตตานุปัสสนา คือเห็นการปล่อยวาง ความว่างไปเป็นตัวเป็นตนไม่มีนิมิตหมายทั้งหาย ในขณะสติสมาธิอันบริสุทธิ์ละเอียดออ่นเป็นอุเบกขานั้น

    เมื่อสมบูรณ์ในข้อใดข้อหนึ่ง ก็จะลงสู่อนุโลมญาณ วางความรู้สึกและลมหายใจทิ้งไป ในทันที่ เพื่อเข้าสู่ โคตรภูญาณ และมรรคญาณ และผลญาณต่อไป ซึ่งทั้งแต่ อนุโลมญาณไป นั้น หลุดไปจากความรู้สึกตัวและลมหายไปไปช่วงขณะหนึ่ง.


     ดังนั้นเมื่อคุณปล่อยรู้ปฏิบัติอาณาปานสติสูตร ทั้ง 16 บทหรือวัตถุ จริงๆ ที่เป็นทั้งสมถะและวิปัสสนา ภาวะที่ปรากฏเหล่านี้ย่อมบังเกิดขึ้น เมื่อปฏิบัติไปได้ถึงช่วงตามลำดับ

   ถ้าภาวะอย่างนี้ไม่เคยเกิดเลย แม้กระทั้งการเห็นการเกิดดับของรูปนามจริงๆ แล้วไปรู้สึกถึงความไม่มีตัวตน เพราะนึกภาวนาบ่อยๆ ว่า ไม่เป็นตัวไม่เป็นตน แล้วมีความเข้าใจว่า ไม่เป็นตัวเป็นตนจริง  เมื่อวิปัสสนาญาณไม่เคยปรากฏที่เป็นของจริงให้เกิดปัญญาอย่างชัดแจ้ง ก็เป็นเพียงสัญญา ความรู้ความเข้าใจแบบโลกๆ เท่านั้นนะครับ

     เหมือนการแต่งกลอน เราสามารถหยิบเอาคำที่คล้องจองสละสลวยมาได้พอกันหรือเป็นคำเดียวกัน สื่อความหมายได้เท่ากันกับความรู้สึกของคนทั่วไปที่มาอ่านรับเอาความสละสลวยตามสัญญา แต่ความหมายแตกต่างกันของผู้แต่ง ระหว่างความเข้าใจตามสัญญาที่สั่งสม กับความเข้าใจในบทความที่สะท้อนถึงญาณที่ปรากฏจริง

     ตัวอย่างเกิดขึ้นกับผมเรื่องปัญญาทางโลกเมื่อปี 2540-41  ที่ละเอียดที่ไม่เคยเห็นตัวอย่างการเขียนโปรแกรมแบบนี้มาก่อนเลยจากโปรแกรมที่เขียนบนดอส  คือบริษัทต้องการประหยัดกระดาษที่พิมพ์สต็อกเพราะสินค้ามีหลายพันรหัส ถ้าพิมพ์ออกมาทั้งหมดเป็นรายระหัสก็จะมีเป็นร้อยๆ หน้าในการพิมพ์แต่ละครั้ง ในหนึ่งอาทิตย์พิมพ์ทั้งหลายครั้ง ผมนั่งคิดอย่างไรก็คิดไม่ออก เพราะไม่เคยเห็นแบบอย่างแนวการเขียนโปรแกรมแบบนี้มาก่อนผมนั่งคิดจับอย่างโน้นอย่างนี้อยู่วันสองว้น วันหนึ่งตอนเที่ยงผมก็ทานข้าวไปแต่ใจก็ยังคิดว่าเราจะทำอย่างไร?
     ก็เกิดไอเดียปิ้งขึ้นมาว่าควรทำอย่างไร? แค่ปิ้งขึ้นมารู้ว่าควรทำอย่างไร ก็รู้ทันที่ว่าสามารถเขียนออกมาได้ โดยยังไม่ได้เขียนออกมาจริง นี้แหละคือปัญญาทางโลก คือเห็นไปได้ออกมีทางออกไปได้ แต่ยังไม่ได้เป็นของจริง
      หลังจากนั้นผมก็เขียนโปรแกรมตามแนวคิดนั้นต้องปรับต้องทดลองต้องแต่งอีกประมาณ 3 อาทิตย์จึงจะออกมาได้  และใช้งานได้ พิมพ์เพียง 1 หน้าเท่ากับพิมพ์รายงานแบบเก่าถึง 18 หน้า
 
        เอาอีกตัวอย่างหนึ่ง ผมเขียนบทความการปฏิบัติ มีอยู่ 3 ช่วง
            1.บทความผลการปฏิบัตอย่างหยาบ
            2.บทความผลการปฏิบัติอย่างกลาง
            3. บทความผลการปฏิบัติอย่างระเอียด
    ผู้อ่านที่ปฏิบัติได้ผลหยาบๆ มา ก็จะเข้าใจและกล่าวว่า บทความผลการปฏิบัติอย่างหยาบนี้ดี และชอบ ชื้นชม หรือถูกกับใจตนเอง
    ผู้อ่านที่ปฏิบัติได้ผลอย่างกลางมา ก็จะเข้าใจและกล่าวว่า บทความผลการปฏิบัติอย่างกลางนี้ดี และชอบ ชื้นชม หรือถูกกับใจตนเอง
    ผู้อ่านที่ปฏิบัติได้ผลอย่างละเอียดมา ก็จะเข้าใจและกล่าวว่า บทความผลการปฏิบัติอย่างละเอียดนี้ดี และชอบ ชื้นชม หรือถูกกับใจตนเอง

     และเช่นเดียวกับบทความการปฏบัตินั้น ตรงกับผู้อ่านความเข้าใจความคิดเห็นของผู้อ่าน ตรงกับการปฏิบัติของผู้อ่าน ก็จะเป็นบทความที่ถูกใจและชื่นชอบเป็นธรรมดา
 

ตอบโดย: Vicha 25 มี.ค. 51 - 10:44


สวัสดีครับพี่วิชา

ขอบคุณครับพี่ ที่ช่วยชี้แนะนำเกี่ยวกับอานาปาฯ

เพียงเพราะผมสะดุดกับอาการ บางอาการที่เกิดขึ้นจริงกับตัวผมเองเท่านั้น
เลยทำให้เกิดความเห็นขึ้นมา
ซึ่งตัวของผมเองก็ไม่ได้ไปตรวจสอบไล่ทานอารมณ์กับตำราที่ไหนแต่อย่างไร
ว่าอารณ์ที่เกิดขึ้นนั้นจะตรงกับญาณ
หรือฌานในขั้นไหนแต่อย่างใดทั้งสิ้น...

จึงเลยต้องขอคำแนะนำ ขอความเห็นจากพี่วิชาดูน่ะครับ

เพราะสะดุดรู้อยู่กับอารมณ์ที่ เมื่อปล่อยวางตัวผู้รู้ ปล่อยวางตัวผู้ดูลมแล้ว
(คือเห็นสภาพความไม่ใช่ตัวตนแต่อย่างไร เห็นมันเป็นเพียงสักแต่ว่าสังขารธรรมเท่านั้น)
ลมหายใจมันจะยิ่งชัดเจนมากยิ่งๆขึ้นไปอีก
มันไม่หายไปไหนทั้งสิ้น
มันไม่มีอารณ์ใดๆมาปิดบังมัน(ลมหายใจ)เลย
มันไม่ต้องมีการบังคับ ไม่ต้องมีการจับฝืนรู้ ให้อยู่กับลมแต่อย่างใดทั้งสิ้น

แต่มันจะเป็นการรู้ลมอย่างเป็นธรรมชาติปกติที่สุด
แล้วในขณะที่ลมหายใจถูกรู้อยู่นั้น
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน ใดๆ จะปรากฏเกิดขึ้นมา
ลมหายใจก็ยังคงไม่หายไปไหนแต่อย่างไรทั้งสิ้น
สติ ยังคงตั้งมั่นระลึกรู้อยู่กับลมหายใจเช่นนั้นตลอดไป

ตราบเมื่อใดที่ลมหายใจ มิได้ถูกรับรู้ แล้วมารู้ในภายหลัง
ถ้าอาการอย่างนี้เกิด
ผมเข้าใจว่า ธรรมชาติที่เข้าไปรู้ลมหายใจนั้น
มีการเกิด-ดับ เกิดขึ้นแล้ว และเป็นการเกิดดับโดยที่ไม่รู้สึกตัว...

หรือตราบเมื่อใดที่ลมหายใจ มิได้ถูกรับรู้
โดยธรรมชาติที่รู้ลมหายใจในที่แรก เปลี่ยนไปรู้อย่างอื่นแทน
ผมก็มีความเห็นว่า ธรรมชาติที่รู้ดูลมหายใจเข้าออกได้มีการเกิด-ดับ
สมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว...

ธรรมชาติที่เข้าไปดูรู้ลมหายใจเข้าออก นั้น
ผมเองก็มองว่า มันก็เป็นเพียงสักแต่ว่าสังขารเท่านั้น
มีการเกิดดับ เป็นธรรมดา หาได้เป็นมีสภาพสภาวะความเป็นตัวตนแต่อย่างใดไม่

เมื่อผมมีความเห็นความเข้าใจอย่างนี้แล้ว
มันก็เลยเกิดธรรมชาติอย่างใหม่ขึ้นมาแทนที่ธรรมชาติตัวผู้รู้ผู้ดูลมในทีแรก
มันเป็นธรรมชาติ ที่ไม่ยึดเกาะเกี่ยวกับสิ่งใดๆทั้งสิ้น
เป็นธรรมชาติที่เป็นอิสระ
เป็นธรรมชาติที่หลุดพ้นจากสภาพจ้องจับ พ้นจากสภาพที่คอยเฝ้าระวัง
พ้นจากสภาพที่ปฏิเสธ หรือดึงดูดบังคับเหนี่ยวรั้ง อะไรๆทั้งหลายทั้งปวง...

ถึงแม้นในบางครั้ง สัญญาใดๆจะปรากฏเกิดขึ้นมา
ก็สักแต่รู้ว่าเป็นเพียงสัญญาเท่านั้น
หาได้มีเรา มีตัวตนของเราอยู่ในสัญญานั้นๆแต่อย่างไร

ลมหายใจ ถ้าหายไปในขณะไหน
นั้นแสดงว่า ผู้รู้ผู้ดูลมมีการเกิด-ดับแล้ว
มิใช่ลมหายใจดับหายไปไหน
แต่ตัวผู้รู้ดูลมต่างหากที่มีการไปรับรู้อย่างอื่นแทน...

ผมมีความเข้าใจ มีความเห็นเป็นอย่างนี้
ไม่ทราบว่าพี่วิชาจะเห็นเป็นอย่างไรครับ มีสิ่งใดที่จะต้องแก้ไข ปรับเปลี่ยนอย่างไร
ขอได้โปรดช่วยชี้แนะนำให้ด้วยครับ...

 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 25 มี.ค. 51 - 19:07


สวัสดีครับคุณปล่อยรู่

จากข้อความของคุณปล่อยรู้

อ้างอิง
ตราบเมื่อใดที่ลมหายใจ มิได้ถูกรับรู้ แล้วมารู้ในภายหลัง
ถ้าอาการอย่างนี้เกิด
ผมเข้าใจว่า ธรรมชาติที่เข้าไปรู้ลมหายใจนั้น
มีการเกิด-ดับ เกิดขึ้นแล้ว และเป็นการเกิดดับโดยที่ไม่รู้สึกตัว...

หรือตราบเมื่อใดที่ลมหายใจ มิได้ถูกรับรู้
โดยธรรมชาติที่รู้ลมหายใจในที่แรก เปลี่ยนไปรู้อย่างอื่นแทน
ผมก็มีความเห็นว่า ธรรมชาติที่รู้ดูลมหายใจเข้าออกได้มีการเกิด-ดับ
สมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว...


ทำให้ผมทราบได้จากข้อความข้อคุณปล่อยรู้ดังที่ผมแยกเป็น ข้อดังนี้

    1.มีการเกิด-ดับ เกิดขึ้นแล้ว และเป็นการเกิดดับโดยที่ไม่รู้สึกตัว...
    2.โดยธรรมชาติที่รู้ลมหายใจในที่แรก เปลี่ยนไปรู้อย่างอื่นแทน
ผมก็มีความเห็นว่า ธรรมชาติที่รู้ดูลมหายใจเข้าออกได้มีการเกิด-ดับ
สมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ทั้งสองข้อนั้น เป็นความเข้าใจธรรมดา เป็นปัญญาที่อาศัยสัญญาตามแบบโลกๆ ครับ

   พระพุทธเจ้าทรงเน้นมากในเรื่องการมีปัญญาแจ่มแจ้งเห็นภาวะการเกิด-ดับ ของรูปนาม ครับ พระองค์ทรงตรัสทำนองว่า

      ผู้ที่เกิดมาเพียงวันเดียวเห็น(ปัญญาแจ้ง)การเกิด-ดับ ของรูปนาม ย่อมประเสริฐกว่าผู้ที่เกิดมาเป็นร้อยปีแต่ไม่รู้ไม่เห็น
 
    และในอานาปานสติสูตร พระพุทธเจ้าก็ทรงกล่าวอย่างชัดเจนอยู่แล้วในบทนี้

    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจเข้า
 
   ซึ่งเป็นพุทธพจน์ที่บ่งชี้ให้ทราบว่า  ผู้ที่ปฏิบัติอานาปานสติอย่างสมบรณ์ หรืออย่างดี ย่อมสามารถสำรวมให้ สติ ปัญญา สมาธิ หรือพละ 5 เท่าทันต่อภาวะการดับของจิตได้(รูปนาม เกิด-ดับ) ในขณะใดขณะหนึ่ง ในช่วงที่หายใจออกหรือหายใจเข้าได้ อย่างไม่ลำบากเลย

   ดังนั้นด้วยข้อความ 2 ข้อด้านบนที่คุณปล่อยรู้ พิมพ์นั้นเป็นความเข้าใจการเกิด-ดับ ตามสัญญาหรือใจที่คิดว่า สมุติว่าเท่านั้นนะครับ ไม่ใช่เกิดจากภานามยปัญญาที่เป็นภาวะจริงครับ...

  และจากข้อความของคุณปล่อยรู้
 
อ้างอิง
ธรรมชาติที่เข้าไปดูรู้ลมหายใจเข้าออก นั้น
ผมเองก็มองว่า มันก็เป็นเพียงสักแต่ว่าสังขารเท่านั้น
มีการเกิดดับ เป็นธรรมดา หาได้เป็นมีสภาพสภาวะความเป็นตัวตนแต่อย่างใดไม่

เมื่อผมมีความเห็นความเข้าใจอย่างนี้แล้ว
มันก็เลยเกิดธรรมชาติอย่างใหม่ขึ้นมาแทนที่ธรรมชาติตัวผู้รู้ผู้ดูลมในทีแรก
มันเป็นธรรมชาติ ที่ไม่ยึดเกาะเกี่ยวกับสิ่งใดๆทั้งสิ้น
เป็นธรรมชาติที่เป็นอิสระ
เป็นธรรมชาติที่หลุดพ้นจากสภาพจ้องจับ พ้นจากสภาพที่คอยเฝ้าระวัง
พ้นจากสภาพที่ปฏิเสธ หรือดึงดูดบังคับเหนี่ยวรั้ง อะไรๆทั้งหลายทั้งปวง..


    ข้อความด้านบนนั้น เป็นสภาพของปัญญาที่เกิดจากสัญญาเกิดความเข้าใจเท่านั้นครับ ปัญญาญาณที่เป็นภาวแห่งความจริง ยังไม่ได้เกิดครับ
    ข้อความด้านบนของคุณปล่อยรู้นั้นเป็นสิ่งที่ดี เป็น สุตมยปัญญา และจินตมยปัญญาที่สมบูรณ์  แต่ภาวนามยปัญญา นั้นไม่สมบูรณ์ยังพร่องอยู่มาก แม้แต่การเกิดดับของรูป-นามที่เป็นภาวนามยปัญญา ก็ยังไม่แจ่มแจ้ง.

     ผมตอบตามตรงตามที่ข้อมูลที่คุณปล่อยรู้ถาม  และผมเน้นย้ำเรื่องการเห็นการเกิด-ดับ ของรูปนามที่เป็นภาวนามยปัญญา มาหลายครั้งแล้วเพื่อให้คุณปล่อยรู้ทบทวนที่ปฏิบัติมาว่า เคยปรากฏไหม?  แต่บทความที่คุณปล่อยรู้พิมพ์มานั้นเสมือนไม่เคยรู้จักเลยครับ....
  
 

ตอบโดย: Vicha 26 มี.ค. 51 - 09:26


  สวัดดีคุณ วิชา

  เดี๋ยวอ้องขอมาถามนะครับ ขอแชร์ประสพการณ์ด้วยใจเคารพ  

              ขอบพระคุณในธรรมปฏิบัติ

                      อ้อง

ตอบโดย: ชัชวาล เพ่งวรรธนะ 26 มี.ค. 51 - 09:39


  มาแย๊วครับ

       อ้องอบรมณ์สติตนเอง มาได้ระยะเวลาหนึ่ง นั่นก็คือดูสภาวะที่เกิดขึ้นเพื่อให้จิตได้จดจำมากยิ่งขึ้น

   สติที่เกิดขึ้นเองไม่ได้จงใจไปบังคับหรือเพ่ง มันโล่งอยู่ในตัวมันเองชั่วแว๊บนึง

 อ้องชอบทำสมาธิเวลาประมาณ ตี4 เพราะที่บ้านเขาค้อ สัปปายะคือ อากาศ และความสงบ แม้แต่เสียงแมลงก็ไม่มี

จะมีแต่เสียงไม้ลั่นเพราะเย็น หรือเหล็กลั่นเพราะเย็น แต่ก็นานๆครั้ง

 สมาธิที่อ้องเฝ้าดูนั่นก็คือ ลม

  หลังจากตื่นอ้องทำธุระเสร็จแล้ว ก็มานั่งในท่าสบายๆของอ้องต่อได้เลย เพราะกายมันสงบระงับมาแต่แรกตื่นแล้ว

 อ้องสูดลมหายใจออกลึกและยาว และสูดลมหายใจเข้าอยู่สองครั้ง จิตอ้องก็ดิ่งเข้าสมาธิได้เลย

ลมหายใจต่อมา เบาและละเอียดมีหยาบปรากฎบ้างชั่วขณะ อ้องปล่อยใจไปสบายๆแบบธรรมดาไม่ฝืนและไม่เกร็ง

แต่ความเผลอปรากฏน้อย กายที่สงบระงับ จิตได้ทิ้งกายโดยอัตโนมัติ อ้องไม่ต้องบริกรรมเพราะรู้สึกบริกรรม มันหนัก

เพราะความสงบบีบบังคับให้จิตดิ่งลง ภายใน 5นาที ลมแค่แตะปลายจมูก สติรู้ปรากฏอยู่ตลอดเวลา

อ้องไม่ต้องการเข้าไปจมแช่โดยไม่รู้ตัวเหมือนนั่งนิ่งๆ สงบดิ่งเข้าไป เจอฐานใหม่ก็ดิ่งเข้าไป ความคิดแม้เกิดขึ้นก็ลางเลือน

มีแต่สงบแต่สติหาได้น้อย อ้องไม่ต้องการเช่นนั้นอีก

 ลมที่แตะจมูก ไม่นานก็ขาดๆหายๆ ไม่นาน ก็หายไป อ้องตามรู้ด้วยให้มีสติรู้สึกตัวในสิ่งที่ถูกรู้ตลอดเวลา

กายสงบ จิตสงบ จิตว่าง จิตเฉย เผลอคิด อกุศลปรากฏ กุศลปรากฏ จิตตั้งมั่น สิ่งที่เกิดขึ้นคือ

  สติ อารมณ์ และจิต เสมอภาค โดยไม่ต้องไปกดข่ม ไปบังคับมันอีก เห็นแ่ต่สิ่งที่ถูกรู้และก็ดับไป กลายเป็นสักแต่รู้อารมณ์ จิตที่ตั้งมั่นซักพักก็เผลอไปคิดเช่นกัน ไม่มีคำว่าเที่ยงแท้ ลมหายใจที่หายไป20กว่านาที

ที่จับต้องไม่ได้ ก็เกิดมาให้เห็นได้ กายเบาและโปร่งกลวง เห็นแต่จิตที่อยู่อาศัย จิตที่กระเพื่อมสั่นไหว ปกติ เวลาคันหน้า

ถ้าไม่มีสมาธิพอ จะหงุดหงิดและรำคาญ แต่จิตที่ตั้งมั่นเห็นแต่ว่า มันกระเพื่อมและก็ดับ สิ่งที่อยู่ตรงหน้า

หาคำว่า ขันธ์ มีแค่ชั่วขณะแว๊บเดียว เห็นแต่ธาตุสั่นไหวในตัวมันเองง

กายที่สงบระงับ อ้องนั่งเข้าสู่ชั่วโมงแรก ไม่ปรากฏเหน็บชา หรือปวดเมื่อย ก็ยังคงเห็นว่ากายนี้นั่งตรง คอไม่พับ ไม่เผลอหลับ หลังตรง ไม่ปวดหลัง สมาธิดีจัง สงบ สุข ดี แต่รู้ ไม่เหมือนสมัยก่อน ไม่เข้าใจว่าปัญญาคืออะไร

ปัญญาที่เกิดขึ้นต่อหน้าของอ้องก็คือ  ความจริง  ความจริงของกาย ความจริงของจิต เห็นแต่สิ่งที่ถูกรู้และก็ดับ

ดีมาหาย ชั่วมาหาย ซึม ทื่อ เฉย เป็นกลาง ตั้งมั่น สงบ ดิ่ง ท้ายสุด อ้องลืมตาว่า สมาธิที่ละเอียดลงจะลืมตาได้ไม๊

ปรากฏว่าแสบตา แต่การนั่งดูว่ามันแสบตา กลับทำให้เรามองความจริงของกายที่เรามองไม่เห็นที่มันกลวงมันเบา ว่า

กายที่สงบระงับ ลมก็ไม่ปรากฏอยู่ดี เหมือนเห็นว่ากายนี้ ไม่ใช่เรา เป็นแค่ก้อนธาตุที่อย่ในสภาวะ กลมกลืนและสงบนิ่ง
เหมือนปวงธาตุมันสงบระงับอยู่ชั่วคราวด้วยกำลังแห่งสมาธิ ธาตุที่ต้องแปรปลวนกลับมีวันสงบแบบชั่วขณะปรากฏอยู่ด้วย

อ้องลืมตาทำสมาธิ จิตไม่ส่งออก สิ่งที่อยู่ตรงหน้ามีเหมือนไม่มี ไม่ได้แตกต่างว่า สมาธิจะต้องนั่งหลับตาแต่อย่างไร

เพราะสมาธิเกิดขึ้นกับ อิริยาบทตลอดทั้งวันที่รู้สึกตัวอยยู่เสมอ

คุณวิชา อ่านเบื่อหรือยังครับ แหะๆ

อ้องยังต้องทำอีกเยอะ เพราะเป็นผู้ที่พึ่งเริ่มอบรมณ์สติแค่ขั้นพื้นฐานเองครับ แต่มันเข้าใจคำว่า ถอดถอน การคลายออก เพราะจิต สติ อารมณ์ที่ มันได้สัดส่วนกันนั้น มันแสดงคำว่า ทุกข์อยู่ จิตก็มีทุกข์ล้วนๆไม่ต้องถามกายเลยไอ้เจ้านั้นนะ มีตลอดเวลาอยู่แล้ว แต่จิตที่ทุกข์เพราะ มันมีอกุศลปนอยู่เสมอและพลิกกลับไปกลับมากับมหากุศล การเห็นบ่อยๆ ในสภาวะเดิมๆ จากจิตที่สั่นไหวกระเพื่อม กับปรากฏว่า มันปล่อยวางสภาวะนั่นๆเพราะมีปัญญาในสภาวะนั้นมากขึ้น  นั่นก็คือ เบื่อหน่าย

อ้องต้องขอโทษที่มาแช์ืประสพการณ์ให้ฟังนะครับ อ้องถามใจตนเองเสมอว่า อีโก้ไม๊ เอ็งเก่งเหรอ ปรากฏว่า มันนับหนึ่งตลอดเวลา อ้องเป็นผู้เริ่มต้นเท่านั้นเสมอครับ

  ขอบคุณและขอบใจที่มาอ่านของอ้องนะครับ คุณวิชาที่น่ารัก  

จากอ้อง คนโง่ที่หลงสิ่งปลวนแปรมายาวนาน และก็ยังอยากหลงอีกเพราะ รักเตี่ยแม่เหลือเกิน พอเห็นหน้าพวกท่านแล้ว
มันคิดเสมอว่า ฉันจะพาไปด้วยผู้ชายคนนี้ ผู้หญิงคนนี้ ชั้นจะไม่ทอดทิ้งพวกเธอ ฉันจะขอทุกข์จนกว่าพวกเธอจะเห็นความมจริง นี่คือการตอบแทนคุณในภพนี้ ที่เธอให้ชีวิตฉันมาเจอพระธรรม

                  ด้วยรักเสมอรวมทั้งคุณ วิชาด้วยครับ

               ขอก๊อปไปกระทู้อ้องด้วยนะครับ

                         อ้อง

ตอบโดย: ชัชวาล เพ่งวรรธนะ 26 มี.ค. 51 - 10:22


จากข้อความของคุณอ้อง

อ้างอิง
แต่ความเผลอปรากฏน้อย กายที่สงบระงับ จิตได้ทิ้งกายโดยอัตโนมัติ อ้องไม่ต้องบริกรรมเพราะรู้สึกบริกรรม มันหนัก

เพราะความสงบบีบบังคับให้จิตดิ่งลง ภายใน 5นาที ลมแค่แตะปลายจมูก สติรู้ปรากฏอยู่ตลอดเวลา
.....

 ลมที่แตะจมูก ไม่นานก็ขาดๆหายๆ ไม่นาน ก็หายไป อ้องตามรู้ด้วยให้มีสติรู้สึกตัวในสิ่งที่ถูกรู้ตลอดเวลา


   เป็นอันว่าคุณ อ้อง ได้สมาธิแล้วครับ
      ไม่ต้องบอกผมก็รู้แล้วว่า ช่วงนั้นคุณอ้อง มีทั้งความเบา มีปีติ สุข และนิ่งเป็นหนึ่งเสียส่วนมาก หลุดออกไปจากใจหรือจิตที่หยาบที่เกาะเกี่ยวอยู่กับร่างกายหรือความรู้สึกที่ร่างกายคือไม่ไปสนใจรู้สึกทางร่างกายในช่วงที่อยู่ในสมาธิ แต่เมื่อถอนออกจากสมาธิกายก็เบาสติก็ดี ใจมีความอิ่มเอิบและสุขและสติยังอยู่กับลมหายใจได้

และจากข้อความของคุณอ้อง

อ้างอิง
ถ้าไม่มีสมาธิพอ จะหงุดหงิดและรำคาญ แต่จิตที่ตั้งมั่นเห็นแต่ว่า มันกระเพื่อมและก็ดับ สิ่งที่อยู่ตรงหน้า

หาคำว่า ขันธ์ มีแค่ชั่วขณะแว๊บเดียว เห็นแต่ธาตุสั่นไหวในตัวมันเองง


   คำว่า กระเพื่อมและก็ดับ สิ่งที่อยู่ตรงหน้า  ถ้าตามการปฏิบัตจริงๆ แล้วในสิ่งที่ปรากฏนั้นไม่ควรกล่าวว่า ดับ  ควรกล่าวว่า กระเพื่อมแล้วเปลี่ยนหรือวางลงหรือวูบลงสู่ความสงบ ไปชั่วขณะหนึ่งนะครับนะครับ แต่จิตยังรู้อยู่ตลอดไม่ได้ดับขาดช่วงทั้งหมดไป. (รอคุณอ้องกล่าวยื่นยันอีกครั้ง)


อ้างอิง
กายที่สงบระงับ อ้องนั่งเข้าสู่ชั่วโมงแรก ไม่ปรากฏเหน็บชา หรือปวดเมื่อย ก็ยังคงเห็นว่ากายนี้นั่งตรง คอไม่พับ ไม่เผลอหลับ หลังตรง ไม่ปวดหลัง สมาธิดีจัง สงบ สุข ดี แต่รู้ ไม่เหมือนสมัยก่อน ไม่เข้าใจว่าปัญญาคืออะไร

ปัญญาที่เกิดขึ้นต่อหน้าของอ้องก็คือ  ความจริง  ความจริงของกาย ความจริงของจิต เห็นแต่สิ่งที่ถูกรู้และก็ดับ

ดีมาหาย ชั่วมาหาย ซึม ทื่อ เฉย เป็นกลาง ตั้งมั่น สงบ ดิ่ง ท้ายสุด อ้องลืมตาว่า สมาธิที่ละเอียดลงจะลืมตาได้ไม๊

ปรากฏว่าแสบตา แต่การนั่งดูว่ามันแสบตา กลับทำให้เรามองความจริงของกายที่เรามองไม่เห็นที่มันกลวงมันเบา ว่า

กายที่สงบระงับ ลมก็ไม่ปรากฏอยู่ดี เหมือนเห็นว่ากายนี้ ไม่ใช่เรา เป็นแค่ก้อนธาตุที่อย่ในสภาวะ กลมกลืนและสงบนิ่ง
เหมือนปวงธาตุมันสงบระงับอยู่ชั่วคราวด้วยกำลังแห่งสมาธิ ธาตุที่ต้องแปรปลวนกลับมีวันสงบแบบชั่วขณะปรากฏอยู่ด้วย

อ้องลืมตาทำสมาธิ จิตไม่ส่งออก สิ่งที่อยู่ตรงหน้ามีเหมือนไม่มี ไม่ได้แตกต่างว่า สมาธิจะต้องนั่งหลับตาแต่อย่างไร

เพราะสมาธิเกิดขึ้นกับ อิริยาบทตลอดทั้งวันที่รู้สึกตัวอยยู่เสมอ


    ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเรื่อง ของสมาธิที่ดีแล้ว และสติก็เจริญขึ้น ปัญญาที่เกิดนั้นก็ยังไม่ใช่เป็นปัญญาที่เป็นวิปัสสนาญาณที่เป็นปรมัติ(ตั้งแต่อุทัพยญาณขึ้นไป) นะครับ  และวิปัสสนาญาณที่แยกรูปแยกนาม(นามรูปริเฉทญาณ)ได้ด้วยสติปัญญาเท่าทันนั้น ยังไม่มีข้อความที่บงบอกชัดเจนครับ (เป็นสิ่งธรรมดาของอานาปานสติ ซึ่งมาชัดเจนก็ตรง เห็นรูปนาม เกิด-ดับ  จึงกล่าวได้ว่าเป็นวิปัสสนาญาณ อย่างแท้จริง)

     ผมกล่าวและบอกตามที่ผมวิเคราะห์เทียบเคียงได้นะครับ.
 

ตอบโดย: Vicha 26 มี.ค. 51 - 11:35


  อนุโมทนาครับคุณวิชา

  วิปัสสนาปัญญานั้น จิตต้องตั้งมั่นก่อน จึงจะเข้าไปเห็นสภาวะแห่งความจริงของพระไตรลักษณ์

  อ้องยังเริ่มอยู่ที่อบรมณ์สติก่อนครับ เพราะสติของอ้องเองยังไม่เป็นมหาสติพอครับ จึงขอนับหนึ่งเสมอ
ส่วนจิตที่กระเพื่อมไปเห็นอารมณ์นั้น พอมีสติรู้มันดับไปเอง

  ขออนุโมทนาคุณวิชา ที่ให้ความรู้เิ่พิ่่มเติมนะครับ

            อ้องครับ

ตอบโดย: ชัชวาล เพ่งวรรธนะ 26 มี.ค. 51 - 12:04


 จากข้อความของคุณอ้อง

อ้างอิง
ส่วนจิตที่กระเพื่อมไปเห็นอารมณ์นั้น พอมีสติรู้มันดับไปเอง


    เห็นอารมณ์นั้นดับเปลี่ยนไปลงสู่ความสงบหรือนิ่ง  แต่จิตที่รู้นั้นไม่ได้ดับไปด้วยใช่ไหมครับ ?

 

ตอบโดย: Vicha 26 มี.ค. 51 - 12:31


  อนุโมทนาคุณ  วิชา

   เมื่อจิตกระเพื่อมและมมีสติ จิตไม่ได้ดับไปครับ สติผู้รู้ยังเห็นต่อมาครับว่า เฉยๆและวางใจเป็นกลางถัดมาอีกครับ

  สติที่รู้จะเห็นว่าเดี๋ยวก็สงบ เดี๋ยวก็นิ่ง เดี๋ยวก็วางใจเป็นกลาง เดี๋ยวก็เห็นแต่สิ่งที่ถูกรู้ตามไปได้เพราะจิตตั้งมั่นครับ

  ซักพักก็คิด นึก ปีติ สุข บางขณะก็ใจสงบนิ่ง รู้และก็เผลอน้อย

  อ้องเคยสัมผัสคำว่าลมที่ไม่มี แต่สมาธิยังเข้าต่อไปได้อีกครับ ตรงนี้เป็นสมถคือดิ่งเข้าหาความสงบเพิ่มอีกได้ครับ

เสร็จแล้วก็จะว่าง กายสงบ จิตสงบ แต่อ้องก็เห็นว่ามันยังมีอีกอยู่ดีครับ แต่ตอนนี้นั่งเข้าชั่วโมงที่2แล้ว ไม่หวายละ  ตรงนี้

  สมัยก่อนชอบเข้าครับ แต่ตอนนี้เวลาเข้าก็ทำได้แต่มีสติตามรู้เข้าไปด้วย ไม่จมแช่แบบสงบเหมือนคนหลับนิ่ง และคิดน้อย

 สิ่งหนึ่งที่เข้าใจคือ อ้องควรที่จะอบรมณ์สติตนเองให้มากก่อน สติ อารมณ์ที่ถูกรู้ จิต เวลาที่เกิดมากจนจิตตั้งมั่นแล้ว

  ทั้งสามอย่างแทบจะเห็นพร้อมๆกัน กลมกลืนเหมือนเชือกฝั่นเดียวกัน เพียงแต่คนละอย่าง แต่เป็นเกลียวเชือกที่หมุนขดตามกันเสมอ

   คุณวิชา อดทนฟังอ้องดีจังเลยครับ อ้องจะพยายามต่อนะครับ

  สาธุอนุโมทนาในกุศลแห่งเมตตาจิตที่สอบธรรมให้

   

           อ้องครับ

ตอบโดย: ชัชวาล เพ่งวรรธนะ 26 มี.ค. 51 - 16:54


   สาธุในธรรมปฏิบัติของคุณอ้อง

    ถ้ามีเวลาสามารถพัฒนาอานาปานสติ ไปยังบทเบื้องสูงได้โดยไม่ยากแล้วครับ หรือจะเจริญสติปัญญาให้เพิ่มขึ้นจน เห็นการเกิด-ดับ ของรูปนาม อย่างแท้จริงก็คงอยู่ไม่ไกลครับ.


 

ตอบโดย: Vicha 26 มี.ค. 51 - 17:26


และในอานาปานสติสูตร พระพุทธเจ้าก็ทรงกล่าวอย่างชัดเจนอยู่แล้วในบทนี้

 ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจเข้า...


ขอบคุณพี่วิชา ที่ให้คำแนะนำครับ...

กราบขออนุญาต เรียนถามอีกบางประเด็นครับ.
พอดีเห็นกล่าวถึง ขอความที่ว่า

" และในอานาปานสติสูตร พระพุทธเจ้าก็ทรงกล่าวอย่างชัดเจนอยู่แล้วในบทนี้
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจเข้า"

คำว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาโดยเห็นความดับหายใจเข้า

อันนี้ผมเข้าใจว่า มิใช่เห็นลมหายใจเข้า--ออก ดับ
แต่เป็นการพิจารณาเห็นความดับขององค์ธรรมต่างๆทั้งหลาย
ที่เรากำลังพิจาณาอยู่ในขณะนั้น
โดยที่สติยังคงระลึกรู้อยู่กับลมหายใจเข้าออกอยู่ตลอดเวลา น่ะครับ

อันนี้ไม่ทราบว่าผมเข้าใจถูก-ผิด หรือไม่อย่างไรครับ.

 


 
 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 27 มี.ค. 51 - 07:49


สวัสดีครับคุณปล่อยรู้
   จากพุทธพจน์ ของอานาปานสติบทนี้

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจเข้า...

   ความดับคือดับทั้ง รูปและนามครับ คือเห็นหรือมีสติปัญญาหรือมีพละ 5 สมบูรณ์และสมดุลย์ ขณะ รูป-นาม เกิดดับ จริงๆ ครับ  จึงจะเห็นแจ่มแจ้งในไตรลักษณ์ จนปัญญารู้ ว่าไม่ใช่เราไม่ใช่ตัวตนของเรา จนถึงที่สุดแล้วปัญญาญาณ ที่บรรลุมรรคผลนิพพานก็จะบังเกิดขึ้น

   จิตนั้นมันละเอียดยิ่ง เมื่อหลงมีโมหะอยู่ ก็คือหลงอยู่โดยไม่รู้เลย  เพราะจิตนั้นล่วงเลยไปจากสัญญาความจำได้หมายรู้มันเป็นไปโดยธรรมชาติ  ดังนั้นปัญญาเพียง สุตมยปัญญาและจิตมยปัญญา เป็นเพียงแต่ทำให้จิตนั้นเรียนรู้และวางอยู่ในตำแห่งที่เหมาะที่ยังมีอนุสัยกิเลสอยู่ เพราะยังไม่แจ่มชัดด้วยปัญญาที่เป็นวิปัสสนาญาณที่ถึงที่สุด คือจิตนั้นยังยึดอยู่ด้วยตัวของจิตเองซึ่งล่วงเลยไปจากความรู้สึกนึกคิด ด้วยเสพอวิชชาจนเคยชินมานานแสนนานหาเบื้องต้นไม่ได้
    ดังนั้น การที่จะทำให้จิตนั้นคลายความหลงที่เสพอวิชชาอันมีมายาวนานแสนนานด้วยตัวของจิตเองนั้น ต้องเกิดภาวะที่พละ 5 (สติ สมาธิ ปัญญา ศรัทธา ความเพียร) สมบูรณ์และสมดุลย์ เห็นแจ่มแจ้งของการเกิดดับของ รูป-นาม  หรือของจิตนั้นจริงๆ ในขณะ ขณะหนึ่งๆ ที่วิปัสสนาญาณนั้นบังเกิดขึ้น เรียกว่าความดับนั้นเอง ด้วยวิปัสสนาญาณจนถึงที่สุดปัญญาญาณบังเกิดขึ้น จิตก็จะคลายความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวงแม้แต่จิตเอง ไม่เป็นตัวเป็นตนของตน ไม่ใช่ต้วไม่ใช่ตนนั้นเอง

      สิ่งที่ผมเขียนนี้ทำให้เข้าใจได้ตาม สุตะมยปัญญา และจิตมยปัญญา  แต่การที่จะให้เกิดภาวะแท้จริงนั้นต้องปฏิบัติเองได้อย่างสมบูรณ์เท่านั้น

      หมายเหตุ   ภาวะที่แท้จริงของการละกิเลสอย่างสมุทเฉท  เห็นรูปนามเกิดดับ จนเกิดปัญญาญาณ แล้วคลายกำหนัดและสละคืน  กิเลสก็จะหมดไป หรือเบาบางแบบไม่กลับคื่นมาอีก เพราะบรรลุมรรคผลนิพพานนั้นเอง

       ดังนั้นเพียงแต่ การเห็น การเกิดดับของรูปนามอย่างแจ่มแจ้งแท้จริงแล้วเพียงอย่างเดียว ก็ไม่ได้หมายความว่าได้ บรรลุมรรคผลนิพพานแล้วเสมอไป
       ผมเน้นย้ำอย่างนี้มาหลายครั้งแล้วหวังคุณปล่อยรู้คงเข้าใจแล้วนะครับ

  ต่อไปผมจะอธิบาลเรื่องการเห็นไตรลักษณ์จากหยาบตามลำดับไปสู่ความละเอียดอีกครั้งหนึ่งเพื่อย้ำ
        ระดับ 1. บุคคลทั่วๆ ไป จะเห็นว่าเรามีเกิดมีแก่มีเจ็บมีตาย สิ่งของต่างๆ เมื่อสร้างขึ้นมาก็มีใหม่ แล้วค่อยเก่า และพุพังไป เป็นการเห็นไตรลักษณ์โดยสามัญธรรมดา
        ระดับ 2. บุคคลที่มีขันติได้เรียนรู้ได้ศึกษาในการระงับอารมณ์ และบุคคลที่มีศีล เมื่อเกิดภาวะอารมณ์ที่รุนแรง หรือจะทำให้ผิดศีล ก็จะระงับตนเองไว้ได้  ก็จะเห็นความเป็นไตรลักษณ์อารมณ์ของตนเองที่เกิดขึ้นคือ เกิดขึ้นอย่างรุนแรง เมื่อข่มด้วยขันติ หรือมีขันติในศีล ก็จะเห็นการพุ้งขึ้นของอารมณ์เมื่อรักษาขันติไว้ได้ ก็จะคงอยู่อาจจะคงอยู่ยาวนานหรือสั้นก็แล้วแต่องค์ประกอบ แล้วอารมณ์นั้นก็ค่อยๆ คลายและจางไปเองตามเวลาของมันตามธรรมชาติ
        ระดับที่ 3. บุคคลที่ปฏิบัตธรรม อารมณ์ของกิเลสต่างๆ ที่เกิดขึ้น ก็จะมีสมาธิที่เป็นหนึ่งข่มไว้ได้แล้วคลายไปโดยเร็วขึ้น ถ้ามีสติปัญญาในการปฏิบัติดีขึ้น ก็จะมีสติปัญญาและสมาธิ วาง คลาย วูป เปลี่ยนไปลงสู่ความสงบ ได้อย่างรวดเร็ว  จนเข้าใจคลาดเคลื่อนไปว่า นี่เป็นการเห็นการดับของรูปนาม  ถ้ากล่าวว่า อารมณ์นั้นดับไป กลายเป็นความสงบ หรือนิ่งอยู่ช่วงหนึ่ง เป็นการกล่าวที่ถูกที่ตรง  เพราะไม่ใช่เป็นการเห็น รูป-นาม ดับอย่างแท้จริง
          ระดับที่ 4. บุคคลที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน พละ 5 เจริญอย่างสมบูรณ์ และมีสติเป็นปัจจุบันเท่าทันกับรูปหรือนามที่ปราฏชัด แยกรูปแยกนามได้เห็นการเปลี่ยนแปลง ที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยกันของรูปและนามได้ชัดเจนขึ้น เห็นรูปนามที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด(ยังไม่ใช่เห็นการเกิดดับที่แท้จริงนะครับ) ก็คือเห็นไตรลักษณ์มาตามลำดับของวิปัสสนาญาณนั้นเอง เมื่อพละ 5 เจริญอย่างสมบูรณ์และสมดุลย์ ก็จะเท่าทันกับการเกิดดับของรูปนาม เห็นภาวะการเกิดดับ จริงๆ อย่างชัดแจ้ง

       หวังว่าคุณปล่อยรู้คงเข้าใจขึ้นในการอธิบายเรื่องสติปัญญาเห็นการเกิดดับของรูปนามจริงๆ นะครับ และถ้าสงสัยอย่างใดก็ถามได้อีกนะครับ.

 

ตอบโดย: Vicha 27 มี.ค. 51 - 10:52


กราบขอบพระคุณ พี่วิชา เป็นอย่างยิ่งครับ
ที่กรุณา เอ็นดู เมตตา อนุเคราะห์ อธิบายขยายธรรมให้กระจ่างยิ่งขึ้น...

ขออนุญาติกราบเรียนถามพี่ ต่อเพิ่มเติม นะครับ

ที่พี่วิชากล่าวว่า เห็นรูปนาม เกิด-ดับ นั้น
ผมใคร่จะขอเรียนถามพี่วิชาว่า รูปนาม ที่ว่านั้น หมายถึงสิ่งใดครับ.

และตัวธรรมที่เข้าไปเห็นรูปนามเกิด-ดับนั้น คืออะไรครับ...


และถ้าผมจะเข้าใจอย่างนี้ว่า
"รูปนาม"นั้น คือองค์ธรรมที่เข้าไปดูรู้ ลมหายใจเข้า-ออก
และตัวองค์ธรรมนี้นั้น ก็สักแต่ว่าเกิดขึ้นมีขึ้นมาตามเหตุและปัจจัย
มีสภาพสภาวะ ไม่เที่ยง เกิดและดับไปตามเหตุและปัจจัยเช่นนั้นเอง

ลมหายใจเข้าออก เป็นเพียงที่ให้รูปนามอาศัยเกิดมีขึ้นมาเท่านั้นเอง
เมื่อรูปนามดับไป ลมหายใจจึงมิได้ถูกรับรู้
แต่ทว่ารูปนามไปรับรู้สิ่งอื่นใหม่ ที่ไม่ใช่ลมหายใจแทน

ผมมิได้มองว่า"ลมหายใจเข้าออก" นั้นคือรูปนาม
แต่มองที่ตัวองค์ธรรมที่เข้าไปรู้ลมหายใจเข้าออกนั้นแหละ
คือตัวรูปนาม คือตัววิญญาณ คือตัวสังขาร ที่มีการเกิดแล้วก็ดับอยู่ตลอดเวลา

ผมจึงเกิดความเห็นขึ้นมาว่า
ลมหายใจเข้า-ออกนั้น สมควรที่จะถูกระลึกรู้อยู่ทุกขณะ ที่กำลังเจริญอานาปา ฯ

และผมจะเข้าใจทันที่ว่า เมื่อใดที่ลมหายใจเข้าออก ขาดการถูกระลึกรู้
นั้นแสดงว่า ตัวที่เข้าไประลึกรู้ลมหายใจเข้าออกนั้น ได้มีการเกิดดับสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

เพราะความที่ลมหายใจเข้า-ออก มีอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่
แต่การที่ลมหายใจเข้า-ออก ถูกรู้บ้าง ไม่ถูกรู้บ้าง
เป็นเพราะตัวที่เข้าไปรับรู้ลมหายใจเข้า-ออกนั้น ไม่เที่ยง มีการเกิดและดับ ไปตามเหตุปัจจัยของมันเช่นนั้นเอง

และผมเข้าใจต่อไปอีกว่า
ถ้าเรายึดมั่นในตัวองค์ธรรมที่เข้าไปรู้ลมหายใจเข้า-ออกว่า เป็นเรา เป็นตัวตนของเรา
มีสภาพสภาวะแห่งความเป็นตัวตนขึ้นมาในขณะใด
เมื่อนั้น องค์ธรรมของปฏิจจฯ ก็จะเกิดครบสมบูรณ์เต็มวงขึ้นมาใหม่อีกทันที...

ผมจึงต้องคอยมั่นสังเกตุ หมั่นเฝ้าระลึกรู้ ดูลมหายใจอยู่บ่อยๆ อยู่ทุกขณะ
เพื่อจะได้มองเห็นรูปนาม มองเห็นวิญญาณ มองเห็นสังขาร เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปอยู่เนืองๆ

ความเห็น ความเข้าใจของผมแบบนี้
ขอพี่วิชาโปรดช่วย วิเคราะห์ ให้ด้วยครับว่า
มีความเห็น ความเข้าใจ ถูกต้องแต่ประการใดหรือไม่อย่างไร ครับ.





 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 28 มี.ค. 51 - 08:09


สวัสดีครับคุณปล่อยรู้

    ตามความคิดเห็นที่ 279 ข้างบนของคุณปล่อยรู้นั้น เป็นการรู้และเข้าใจครับ  แต่ญาณการเห็นรูปนามเกิดดับที่เป็นจริงยังไม่ได้ปรากฏ ด้วยการปฏิบัติที่สมบูรณ์และเหมาะสมครับ

    ผมจะยกสิ่งที่ผมพอจะจำได้จากพระไตรปิฏกและอรรถกถาให้เปรียบเทียบอีกตัวอย่างหนึ่ง
    พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบ ผู้ที่ปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน เป็นดังเสือเหลืองที่ออกหากินเพื่อจับเหยือ
   เสือเหลืองที่มีไหวพริบ ก็จะไปดักรอเนื้อทราย ตรงทางผ่านที่เนื้อทรายผ่านเป็นประจำ เสือเหลืองนั้นก็จะหมอบหลบอยู่ใต้ลมในที่กำบังหรือร่มไม้เพื่อไม่ให้เนื้อทรายเห็นและรู้  เมื่อเนื้อทรายเดินผ่านมา ถ้าระยะยั้งไม่สามารถตะครุบเสื่อเหลื่องก็ยังไม่ตะครุบ เสือเหลืองจะสุ่มจองเหยืออยู่อย่างอดทด เมื่อยังไม่ได้จังหวะแม้เนื้อทรายผ่านเข้าออกมาหลายตัวแล้วก็ยังไม่ตะครุบ เสือเหลืองย่อมรอจนโอกาสอำนวยด้วยความอดทน   แต่เมื่อใดเนื้อทรายอยู่ในระยะและจังหวะที่ตะครุบได้มีโอกาสพลาดน้อย เสือเหลืองย่อมกระโจนตะครุบเหยือนั้นได้มาเป็นอาหารทันทีแบบไม่ยากเย็นนัก

      หมายเหตุ  จากความเห็นผม ถ้าเสือเหลืองหมอบหลบอยู่ในทาง และถ้าเมื่อเนื้อทรายมาในทางเมื่อใดโดยไม่รอจังหวะที่เหมาะสม แล้วเสือเหลืองรีบขยับเพื่อไล่จับเหยือ เสื่อเหลือก็แทบจะไม่มีโอกาสได้เหยือแม้แต่ครั้งเดียว

       เหมือนดังผู้ที่ปฏิบติธรรมเพื่อนิพพาน ก็ย่อมมีสติและสมาธิประกอบด้วยความเพียรและศรัทธามาอยู่ในทางที่เป็นฐานของกรรมฐาน(ลมหายใจ หรือ กาย หรือ เวทนา หรือจิต หรือธรรมมารมณ์) อาจจะเป็นอานาปานสติหรือ สติปัฏฐาน 4 มีสติตามรู้อยู่ มีสมาธิสงบนิ่งอยู่ เฝ้าและจองอยู่ที่ฐานเหล่านั้น มีปัญญารู้เข้าใจความเป็นไตรลักษณ์ที่ปรากฏขึ้นกับฐานเหล่านั้นด้วยสุตะและจินตะมยปัญญาของรูปและนามที่ปรากฏกับฐานเหล่านั้น
       แต่ถ้าผู้ปฏิบัตินั้น กลับใช้ปัญญาที่เป็นสุตตะหรือจินตะมยปัญญานำหน้า โดยไม่ได้เจริญสติหรือสมาธิให้สูงขึ้นบริบูรณ์ขึ้น ก็เปรียบเสมือนเสือเหลืองที่ไม่อดทนรอจังหวะที่เหมาะสมรีบกระโจนออกมาจากที่ซ่อนไล่จับเหยือเสียก่อนจึงมีโอกาสจับได้เหยือนั้นน้อยมากหรือไม่ได้เลย

      และเมื่อมาพิจารณาดูแม้แต่ชื่อกรรมฐาน ก็เน้นลงที่ สติ  เช่น อานาปานสติ   และ สติปัฏฐาน 4 หมายความว่าต้องมีสติเป็นเอกเป็นตัวนำเสมอเป็นสิ่งสำคัญ

      จะเห็นว่าเสือเหลืองนั้นต้องใช่เวลาในการหลบในการช่อนตัวในสังเกตเรียนรู้เป็นเวลายาวนานมากเพื่อหาโอกาสที่เหมาะสม แต่เมื่อเหมาะสมแล้วเสือเหลืองตะครุบจับเหยือได้ในเพียงเวลาไม่กีวินาที หรือแค่ช่วงกระพริบตาเท่านั้น

       เช่นเดียวกันกับผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อนิพพานย่อมใช่เวลายาวนาน ในการเจริญ สติ สมาธิ ปัญญา ศรัทธา ความเพียร ให้เจริญสมบูรณ์ยิ่งขึ้นจนเหมาะสมอย่างสมดุลย์จนรวมกันเท่าทันแจ่มแจ้งในการเกิดดับของรูปนามได้ในช่วงแค่วินามที หรือพริบตาเดียว
       และเมื่อมีความชำนาญในการปฏิบัติรักษาอารมณ์กรรมฐานไว้ได้ ก็ย่อมเห็นการปราฏกของรูปนามเกิดดับ ในช่วงขณะหนึ่ง ได้มากขึ้นถี่ขึ้น ตามลำดับจนวิปัสสนาญาณเจริญขึ้นไปตามลำดับ จนถึงมรรคผลนิพพาน

         หวังว่าคุณปล่อยรู้คงจะเข้าใจยิ่งขึ้น และต่อไปคงเพิกออกจากสมมุติบัญญัติที่เป็น สุตตะหรือจินตะมยปัญญาไปได้นะครับ ด้วยการปฏิบัตให้พละ 5 คือ สติ สมาธิ ปัญญา ศรัทธา ความเพียร เจริญสมบูรณ์ขึ้นอย่างสมดุลย์  แล้วรวมกันเท่าทั้นต่อการเกิดดับของรูปนาม ที่ปรากฏจริงๆ นะครับ


      

ตอบโดย: Vicha 28 มี.ค. 51 - 09:58


กราบขอบพระคุณพี่วิชาเป็นอย่างยิ่งครับ
ที่ช่วยชี้แนะนำอธิบายเพิ่มเติมครับ...

ผมจะเพียรพยายาม ไม่ให้ติดในสมมุติบัญญัติ หรือติดในธรรมใดๆทั้งหลายทั้งปวง
ตามที่พี่วิชาแนะนำครับ...


 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 28 มี.ค. 51 - 21:24


   ครับ คุณปล่อยรู้  การเจริญพละ 5 (สติ สมาธิ ปัญญา ศรัทธา และความเพียร) ให้สมบูรณ์ขึ้น  โดยมี สติ นำ ก็จะแจ่มแจ้งในไตรลักษณ์ และเท่าทันรวมตัวกันในการเห็น รูปนาม เกิด-ดับ ได้อย่างชัดเจนครับ

   เมื่อไหร สมาธินำมากไป ก็ย่อมเท่าทันรูปนาม เกิด-ดับ ได้น้อยหรือแทบจะไม่เห็นเลย
   และเมื่อไหร ปัญญานำมากไป ก็ย่อมปรุงแต่งไปเสียก่อน ที่จะสมดุลย์รวมกันเห็นรูปนามเกิดดับ
  
    ดังนั้นในการปฏิบัติ อานาปานสติ หรือสติปัฏฐาน 4 ยกเป็น วิปัสสนาญาณเบื้องสูงได้ สติ ยิ่งมากก็ยิ่งดีครับ

 

ตอบโดย: Vicha 31 มี.ค. 51 - 09:27

ลานธรรมเสวนา http://larndham.net