สั่งเครื่องให้ทำการพิมพ์
ลานธรรมเสวนา > ชีวิตกับธรรมะ
กระทู้ 34753 ดำรงสติเฉพาะหน้า รู้ลมหายใจ ไม่ใช่เรื่องยาก ( http://larndham.net/index.php?showtopic=34753 )


    มนุษย์ทั้งมวลที่มีชีวิตอยู่   ย่อมมีลมหายใจกันทุกตัวตน

     และกรรมฐานที่สะดวกในการปฏิบัติธรรมที่มีวัตถุดิบพร้อมปรากฏอยู่ทุกขณะเวลา ในการที่ปฏิบัติได้โดยง่าย ก็คือการมีสติรู้ลมหายใจนี้เอง

     เมื่อได้คิดประมวลแล้ว การปฏิบัติอานาปานสติ  สามารถจัดได้เป็น 3 ระดับความยากง่าย ตามที่ได้เรียนรู้มาและปฏิบัติมา ที่เป็นความเข้าใจส่วนตัวของผมดังนี้.

     1.ระดับมีสติอยู่กับลมหายใจทั่วไป ที่เข้ากับพุทธพจน์
     2.ระดับมีสติอยู่กับลมหายใจตามพุทธพจน์ ทั้ง 16 จตุกะ
     3.ระดับพิศดารที่มีแนวการฝึกฝนกันในภายหลังหลากหลาย

      ซึ่งในกระทู้เก่าก่อนถึง 2 กระทู้ ห่างกันถึงปีสองปี ที่ผมเสนอสนทนานั้น จะอยู่ในระดับที่ 2.

       แต่ในกระทู้นี้ลดลงมาในระดับที่ 1. ให้เหมาะกับการปฏิบติธรรมในชีวิตประจำวันได้ดียิ่งขึ้น.


 

ตอบโดย: Vicha 18 มิ.ย. 52 - 12:12


     

ตอบโดย: munin 18 มิ.ย. 52 - 13:02


   

ตอบโดย: วิกานดา 18 มิ.ย. 52 - 13:04


     

ตอบโดย: Katoon 18 มิ.ย. 52 - 13:11


    จุดหมายในกระทู้เรื่องอานาปานสติ ระดับที่ 1 จุดประสงค์หลักอยู่ที่การดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติสุข โดยมีสติและสมาธิพอประมาณ โดยไม่ประมาทเกินไปในชีวิตที่ดำเนินไป.

     เพราะเมื่อมีสติโดยง่าย ศีลก็จะรักษาได้ดีขึ้น สมาธิก็ตั้งมั่นขึ้นปลอดโปร่งขึ้น คลายความหลงหยาบๆ ที่ยึดมั่นและสะสมอารมณ์กันจนกลายเป็นความเศร้าหมอง คลายความรู้สึกวิตกกังวนจนสับสน  และรู้จักพอและปล่อยวาง.

  

ตอบโดย: Vicha 18 มิ.ย. 52 - 13:23


    เมื่อจะกล่าวถึงการปฏิบัติธรรมในเบื้องต้นนั้นต้องมี การเริ่มต้นในการวางใจ วางความรู้สึก เป็นประการแรก

       เบื้องต้นในการปฏิบัติธรรมคือ  การวางใจ(เอาใจไป) "รู้สึกตัวทั่วพร้อม"

       คือ รู้ ความรู้สึกและลักษณะร่างกายที่เป็นอยู่พอประมาณในขณะนั้นในเวลานั้น.

       ดังคำในพุทธพจน์ว่า "นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง"  ก็คือการทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อมนั้นเอง.

        แต่ในที่นี้จะมากล่าวถึง การมีสติรู้ลมหายใจ ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นจะต้องมีการยื่น เดิน นั่ง นอน และอริยาบทต่างๆ  จึงต้องวางใจรู้ตัวทั่วพร้อมพอประมาณ(พอเหมาะพอดี ไม่ใช่ไปบังคับตนเองจนเกินไป) ในอริยาบทนั้นๆ นั้นเอง
 

ตอบโดย: Vicha 18 มิ.ย. 52 - 13:40


ก่อนเริ่มสนทนาในกระทู้นี้ ผมได้ลองปฏิบัติมาก่อนเป็นเวลาพักใหญ่แล้ว แล้วจึงนำมาสนทนากันสดๆ โดยไม่ได้ร่างเค้าโครงมาก่อน เพียงแต่ร่างไว้ในใจคราวคราวเท่านั้น ก็คือสนทนากันเลย แล้วหยิบยกประสบการณ์ความเข้าใจความคิดนั้นมาพิมพ์ในกระทู้โดยตรงเลยที่เดียว.

    เสนอข้อมูลต่อ    เมื่อรู้ หรือกำหนดรู้ ในการวางใจ รู้ตัวทั่วพร้อมแล้ว. ก็จะนำสู่การที่จะรู้ลมหายใจ  แต่ก่อนจะไปรู้ลมหายทันที่ก็คงยังไม่ได้สำหรับผู้ที่เริ่มฝึกเบื้องต้นหรือยังใหม่.

     เพราะจะต้อง "ดำรงสติเฉพาะหน้า" ก่อน

     ก็คือ การมีสติอยู่เบื้องหน้า ที่สามารถรู้ลมหายใจได้สะดวกนั้นเอง

     เมื่อถึงตรงนี้ก็หมายความว่า รู้ตัวทั่วพร้อม อยู่แต่มีสติรู้อยู่เบื้องหน้า ชัดเจนมากกว่า.
 

ตอบโดย: Vicha 18 มิ.ย. 52 - 14:05


   เมื่อผู้ปฏิบัติ ดำรงสติเฉพาะหน้า  ก็ย่อมรู้สึกตัวว่า มีการหายใจออกหายใจเข้า

   ก็จะเป็นไปตามพุทธพจน์ที่ตรัสว่า....

    เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า

   เมื่อถึงช่วงนี้  ก็หมายความว่า มีสติรู้การหายใจเข้าและออกชัดเจนขึ้น แต่ก็ยังรู้เบื้องหน้า และรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่

     ต่อไปก็จะกล่าวถึง การมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า นั้น กำหนดหมายหรือกำหนดรู้เพียงใหน? มีอย่างไรบ้าง?


 

ตอบโดย: Vicha 18 มิ.ย. 52 - 14:22



    การมีสติหายใจออก หายใจเข้า   ก็คือการเฝ้าดูตรงเบื้องหน้านั้นเอง พอแบ่งเป็นระดับจากหยาบไปสู่การละเอียดชัดเจนได้ดังนี้.

     1.รู้สภาวะร่างกายโดยรวมแต่ชัดเจนเบื้องหน้าที่มีปฏิกิริยาของร่างกายหายใจออกหายใจเข้า
     2.รู้สึกเบื้องหน้าชัด และรู้สึก(ด้วยเวทนา)ว่ากำลังหายใจออกหายใจเข้า
     3.รู้สึกตรงปลายจมูก(หรือร่องริมฝีปากบน) ที่ลมหายใจกระทบสัมผัส ออกและเข้าอยู่.

     ซึ่งก็หมายความว่า ให้มีสติรู้ หรือเฝ้าดู เฉพาะเบื้องหน้า หรือเฉพาะที่ หาได้วิ่งไปรู้ตามลม อย่างใดในช่วงนี้.

     และในการปฏิบัติจริงๆ นั้นก็หาใช่ว่า จะต้องบังคับเป็นแบบ 1 หรือ แบบ 2 หรือแบบ 3 โดยตลอด

     เพราะการมีสติหายใจเข้า หายใจออก จะชัดหรือไม่ชัดก็เป็นไปตามสะภาวที่ปรากฏจริงช่วงนั้นๆ ไม่จำเป็นต้องบังคับจนเกินไป เพียงแต่ตั้งสติเบื้องหน้าเท่านั้น.

  
  

ตอบโดย: Vicha 18 มิ.ย. 52 - 14:43


    ข้อมูลที่ผมอธิบายด้านบนในความคิดเห็นก่อนๆ  นั้นแหละเป็นเบื้องต้นเป็นพื้นฐาน ที่สามารถมีความเพียรปฏิบัติกันได้ทุกท่าน.

    สรุป เน้นย้ำอีกครั้ง  พื้นฐานเบื้องต้นของอานาปานสติ  ก็คือ

         รู้ตัวทั่วพร้อมดำรงสติเฉพาะหน้า มีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า

    นี้แหละเป็นพื้นฐานที่ต้องพัฒนาอยู่เนื่องๆ

          หรือกล่าวโดยง่ายๆ สรุปด้วยภาษาทั่วไปคือ

            "มีสติอยู่เบื้องหน้าเฉพาะที่  หายใจออกก็รู้ หายใจเข้าก็รู้"

          ซึ่งต้องมีความเพียรกำหนด(เจตนา) อยู่เนืองๆ  แล้วสติและสมาธิก็จะพัฒนาขึ้น

      เมื่อมีอุปนิสัยในการเจริญาอานาปานสติเบื้องต้นนี้มั่นคงแล้ว เพียงมีปัญญาในการโยนิโสมนสิการถูกต้องเหมาะสม และดำรงสติได้สมบูรณ์ถูกต้อง อานาปานสติสูตรในบทที่เหลือก็จะพัฒณาไปจนครบสมบูรณ์  และจะเป็นสติปัฏฐาน 4 ที่มีอานาปานสติหรือมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้าเป็นบาทก็จะเจริญขึ้นไปด้วย.

     

ตอบโดย: Vicha 18 มิ.ย. 52 - 16:01



 อนุโมทนาค่ะ  

ตอบโดย: พู่กัน 18 มิ.ย. 52 - 16:14


เห็นด้วยกับพี่ Vicha นคะรับ ผมว่าการนำไปใช้จริง ๆ  คงต้องทำแบบเนือง ๆ มากกว่าที่จะทำตลอดเวลานะครับ เพราะยังต้องทำงาน พูดคุย  ขบคิด  คงไม่สามารถรู้ลมหายใจตลอดได้หรอกครับ


ว่าไปแล้ว หลายคนอาจจะสงสัยว่า "เนือง ๆ" นี่มันเป็นอย่างไร  พี่ Vicha พอจะอธิบายให้ฟังได้ไหมครับ  ว่าแบบไหนคือเนือง ๆ    

ตอบโดย: น้องบู 18 มิ.ย. 52 - 16:27


ตอบน้องบู.

    ทำแบบเนือง ๆ  หรือปฏิบัติแบบเนืองๆ   คือ ระลึกนึกขึ้นได้เมื่อไหรก็ "รู้ตัวทั่วพร้อม ดำรงสติเฉพาะหน้า หายใจออกก็รู้ หายใจเข้าก็รู้" เมื่อนั้น

     เมื่อทำเช่นนี้ได้เนืองๆ  ก็จะพัฒนามีสติรู้ลมหายใจโดยตลอดตามธรรมชาติของการเจริญขึ้นของสติและสมาธิโดยไม่ต้องไปบังคับจนเกินไป.

 

ตอบโดย: Vicha 18 มิ.ย. 52 - 16:33


สาธุครับ  ผมก็ว่าอย่างนั้นครับ พี่    

ตอบโดย: น้องบู 18 มิ.ย. 52 - 16:36


มหาสติปัฏฐานสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_name.php?name=มหาสติปัฏฐานสูตร&book=9&bookZ=33


อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค
มหาสติปัฏฐานสูตร

http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273&p=2#อานาปานบรรพ

เสนาสนะที่เหมาะแก่การเจริญอานาปานสติ
               อีกอย่างหนึ่ง เพราะพระโยคาวจรไม่ละ ละแวกบ้านอันอื้ออึ้งด้วยเสียงหญิงชาย ช้างม้าเป็นต้น จะบำเพ็ญอานาปานสติกัมมัฏฐาน อันเป็นยอดในกายานุปัสสนา เป็นปทัฏฐานแห่งการบรรลุคุณวิเศษ และธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งปวงนี้ให้สำเร็จ ไม่ใช่ทำได้ง่ายๆ เลย เพราะฌานมีเสียงเป็นข้าศึก
               แต่พระโยคาวจรกำหนดกัมมัฏฐานนี้แล้วให้จตุตถฌาน มีอานาปานสติเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ทำฌานนั้นนั่นแลให้เป็นบาท พิจารณาสังขารทั้งหลายแล้วบรรลุพระอรหัต ซึ่งเป็นผลอันยอดจะทำได้ง่าย ก็แต่ในป่าที่ไม่มีบ้าน ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเสนาสนะอันเหมาะแก่ภิกษุโยคาวจรนั้น จึงตรัสว่า อรญฺญคโต วา ไปป่าก็ดี เป็นต้น.
               ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเปรียบเหมือนอาจารย์ผู้รู้ชัยภูมิ. อาจารย์ผู้รู้ชัยภูมิเห็นพื้นที่ควรสร้างนครแล้ว ใคร่ครวญถี่ถ้วนแล้ว ก็ชี้ว่า ท่านทั้งหลายจงสร้างนครตรงนี้ เมื่อเขาสร้างนครเสร็จ โดยสวัสดีแล้ว ย่อมได้รับลาภสักการะอย่างใหญ่จากราชสกุล ฉันใด


-----------------------------------------------------



จากพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่ ๙  กรรมฐานสังคหวิภาค " สมถะ-วิปัสสนา"
(เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมอรรถกถา ฏีกา ไว้ )

http://abhidhamonline.org/aphi/p9/045.htm

การเจริญอานาปาณสติ คือการกำหนดลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ซึ่งดู ๆ ก็ไม่น่าจะยากเย็นอะไรเลย แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ทำได้สะดวกสบายนัก เพราะอาจเผลอตัว ไม่มีความรู้สึกตัว คือขาดสติสัมปชัญญะได้ง่าย จริงอยู่การเจริญภาวนาไม่ว่าจะอาศัยกัมมัฏฐานใดๆ จะต้องมีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา ขาดสติสัมปชัญญะ คือ เผลอตัวเมื่อใดเมื่อนั้นก็ขาดจากการเจริญภาวนา จะเรียกว่าเป็นการเจริญภาวนาหาได้ไม่ โดยเฉพาะการกำหนดลมหายใจนี้ ลมหายใจยิ่งละเอียดสุขุมมากเท่าใด ก็ยิ่งเผลอตัวได้ง่ายมากขึ้นเท่านั้น เผลอตัวได้ง่ายกว่ากัมมัฏฐานอย่างอื่น เหตุนี้ในวิสุทธิมัคคจึงกล่าวว่า การเจริญอานาปาณสตินี้ เหมาะสมแก่ผู้ที่มีปัญญากล้า และเฉียบแหลม หาควรแก่ผู้ที่มีปัญญาน้อยไม่

๗. สถานที่ที่จะเจริญอานาปาณสติกัมมัฏฐานนั้น ถ้าเลือกได้สถานที่ดังจะกล่าวต่อไปนี้ก็จะเป็นที่สะดวกดีมาก คือ

ก. เสนาสนะในป่าที่สงัด เหมาะแก่ฤดูร้อน เหมาะแก่ผู้ที่มีโมหจริต เหมาะแก่ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวแก่ เสมหะ

ข. เสนาสนะที่อยู่โคนต้นไม้ หมายถึงใต้ร่มไม้ใหญ่ที่เงียบเชียบ เหมาะแก่ฤดูหนาว เหมาะแก่ผู้ที่มีโทสจริต เหมาะแก่ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวแก่น้ำดี

ค. เสนาสนะที่เป็นเรือนว่าง ที่ไม่มีคนอยู่อาศัย อยู่ในที่วิเวก เหมาะแก่ฤดูฝน เหมาะแก่ผู้ที่มีราคจริต เหมาะแก่ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวแก่ธาตุ

๘. การกำหนดลมหายใจนี้ จำแนกไว้เป็น ๔ หมวด แต่ละหมวดก็มี ๔ นัย จึงรวมเป็น ๑๖ นัยด้วยกัน

หมวดที่ ๑

ก. กำหนดให้รู้ว่าขณะนั้น หายใจออกยาวและเข้ายาว

ข. กำหนดให้รู้ว่าขณะนั้น หายใจออกสั้นและเข้าสั้น

ค. กำหนดให้รู้ในกองลมทั้งปวงในเวลาหายใจออกและเข้า คือให้รู้ว่าเบื้องต้น ของลมหายใจออกนั้นอยู่เหนือสะดือ เบื้องกลางอยู่ที่หน้าอก เบื้องปลายอยู่ที่ช่องจมูก และเบื้องต้นของลมหายใจเข้านั้นอยู่ที่ช่องจมูก เบื้องกลางอยู่ที่หน้าอก เบื้องปลายอยู่ที่เหนือสะดือ จะรู้ได้ต่อเมื่อตั้งใจกำหนดอย่างแน่แน่ว

ง. ให้รู้ในกายสังขาร คือ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้าที่สงบ คือการหายใจนั้นแผ่ว เบา ละเอียด ยิ่งขึ้นทุกที ถ้าไม่ตั้งใจกำหนดอย่างจริงจังก็จะเผลอไม่รู้สึกตัว

หมวดที่ ๒

ก. กำหนดให้รู้แจ้ง ปีติในเวลาหายใจออกและเข้า หมายความว่า กำหนดตามหมวดที่ ๑ จนได้ฌานแล้ว มีวสีภาวะทั้ง ๕ แล้ว ก็ให้ยกองค์ฌาน คือ ปีตินั้นเพ่งโดยวิปัสสนาภาวนาจนเห็นปีติในลักษณะ ๓ คือ ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ที่ให้เพ่ง ปีติ เพราะผู้ที่ได้ฌานต้น ๆ นั้น ปีติ มักจะปรากฏเด่นชัดกว่าองค์ฌานอื่น

ข. กำหนดให้รู้แจ้ง สุขเวทนา ในเวลาหายใจออกและเข้า มีความหมายว่า ผู้ที่ได้ทุติยฌาน ตติยฌาน หรือ จตุตถฌานนั้น ความสุขในองค์ฌานย่อมปรากฏชัด จึงกำหนดให้รู้แจ้ง สุขเวทนา ในเวลาหายใจออกและเข้าได้สะดวก

ค. กำหนดให้แจ้งใน จิตตสังขาร คือ เวทนา สัญญา ในเวลาหายใจออกและเข้า

ง. กำหนดให้แจ้งในการยังจิตตสังขารให้สงบ ในเวลาหายใจออกและเข้า ซึ่งผู้ที่ได้ฌานใด ๆ ก็สามารถกำหนดรู้ได้

หมวดที่ ๓

ก. กำหนดให้แจ้งในจิต ในเวลาหายใจออกและเข้า คือให้รู้จิตที่เป็นไปด้วยรูปฌานทั้ง ๕

ข. กำหนดให้แจ้งในความบันเทิงของจิต ในเวลาหายใจออกและเข้า หมายถึง ปีติ ที่ประกอบด้วยฌานนั้น ๆ

ค. กำหนดให้แจ้งในจิตที่เป็นสมาธิ ในเวลาหายใจออกและเข้า หมายทั้ง ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ

ง. กำหนดให้แจ้งในความพ้นของจิต ในเวลาหายใจออกและเข้า หมายถึงความพ้นทั้ง ๒ อย่าง คือพ้นด้วยสมาธิ ก็พ้นจากนิวรณ์ ๕ หรือพ้นจาก วิตก วิจาร ปีติตามลำดับขององค์ฌาน ถ้าพ้นด้วยวิปัสสนาก็พ้นจากวิปัลลาสธรรม มีนิจจสัญญา เป็นต้น

หมวดที่ ๔

ก. กำหนดตามเห็นอนิจจัง ในเวลาหายใจออกและเข้า หมายถึงตามเห็นความไม่เที่ยงในรูปขันธ์ ในเวทนาขันธ์ ในสัญญาขันธ์ ในสังขารขันธ์ และในวิญญาณขันธ์

ข. กำหนดตามเห็นวิราคะ ในเวลาหายใจออกและเข้า หมายถึงพ้นจากราคะด้วยอำนาจของวิปัสสนา หรือด้วยมัคคจิต ๔ ความพ้นทั้ง ๒ นี้เรียกว่า วิราคานุปัสสนา

ค. กำหนดตามเห็นความดับ ในเวลาหายใจออกและเข้า หมายถึงความดับของทุกข์ สมุทัย หรือความดับของ วยะ ขยะ คือ ความดับสิ้นไปของสังขารนั้น

ง. กำหนดตามเห็น  ความสละในการยึดมั่น ในเวลาหายใจออกและเข้า หมายถึง ละการยึดถือด้วยอุปาทาน มีอัตตวาทุปาทาน เป็นต้น ด้วยอำนาจของวิปัสสนา

ในอานาปาณสติ ๑๖ นัยนี้ตั้งแต่หมวดที่ ๑ ถึง ๓ รวม ๑๒ นัยนั้นกล่าวรวมทั้งสมถะและวิปัสสนาด้วย ส่วนในหมวดที่ ๔ นั้น กล่าวเฉพาะวิปัสสนาอย่างเดียว

หมวดที่ ๑ สงเคราะห์ด้วยปฐมฌาน และสงเคราะห์ในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

หมวดที่ ๒ สงเคราะห์ด้วยปฐมฌานถึงจตุตถฌาน และสงเคราะห์ในเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

หมวดที่ ๓ สงเคราะห์ด้วยฌานทั้ง ๕ และสงเคราะห์ในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

หมวดที่ ๔ กล่าวเฉพาะ วิปัสสนา

๙. อานาปาณสตินี้ เป็นกัมมัฏฐานที่สามารถเจริญสมถภาวนา ให้ถึงได้ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไปตามลำดับจนถึงปัญจมฌาน

----------------------------------------------------

จากคูมือการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะ อภิธรรมมูลนิธิ

อันที่จริงกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง  ย่อมสำเร็จแก่ผู้มีสติสัมปชัญญะเหมือนกันก็จริง  ถึงอย่างนั้นเมื่อพระโยคาวจรมนสิการอยู่  กรรมฐานอื่นนอกจากอานาปานสตินี้ยิ่งมนสิการก็ยิ่งปรากฏชัด  แต่อานาปานสติกรรมฐานนี้เป็นของหนัก (ครุกํ  ครุภาวนํ – ม.อุ.  ๑๔/๑๙๖)  การเจริญก็หนัก  เป็นภูมิมนสิการแห่งพระพุทธเจ้า  พระปัจจกพุทธ  พุทธบุตร  และผู้เป็นมหาบุรุษเท่านั้น  มิใช่กรรมฐานเล็กน้อย  และมิใช่สัตว์เล็กน้อย (ผู้มีปัญญาน้อย)  จะซ่องเสพได้  คือว่าย่อมมนสิการไปโดยประการใด ๆ ย่อมเป็นกรรมฐานสงบ และสุขุมยิ่งขึ้น  ด้วยประการนั้น ๆ  เพราะฉะนั้นในกรรมฐานนี้จำเป็นต้องใช้สติ  และปัญญาที่มีกำลังมาก
 

ตอบโดย: เฉลิมศักดิ์ 19 มิ.ย. 52 - 06:11


ทรงแสดงอานาปานสติสมาธิกถา

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=7493&Z=7552
----------------------------------------


หลักฐานจาก  อรรถกถา วิสุทธิมรรค

http://larndham.net/index.php?showtopic=34548&st=22

อรรถกถา (จาก cd พระไตรปิฏก)

ถามว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอย่างไร ?
แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน
ย่อมเห็นหทัยวัตถุ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูป ซึ่ง
เป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่อาศัย
แห่งภูตรูปเหล่านั้น. ในลำดับแห่งการเห็นนั้น เธอย่อมกำหนดรูปและอรูปว่า
องค์ฌานจัดเป็นอรูป, (หทัย) วัตถุเป็นต้นจัดเป็นรูป. อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้น
ครั้นออกจากสมาบัติแล้ว กำหนดภูตรูปทั้ง ๔ ด้วยอำนาจปฐวีธาตุเป็นต้น ใน
บรรดาส่วนทั้งหลายมีผมเป็นอาทิ และรูปซึ่งอาศัยภูตรูปนั้น ย่อมเห็นวิญญาณ
พร้อมทั้งสัมปยุตธรรมซึ่งมีรูปตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์ หรือมีรูปวัตถุ
และทวารตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์. ลำดับนั้น เธอย่อมกำหนดว่า
ภูตรูปเป็นต้น จัดเป็นรูป, วิญญาณที่มีสัมปยุตธรรม จัดเป็นอรูป.

-------------------------------------------------------------



จากพระวิปัสสนาจารย์ผู้ทรงพระไตรปิฏก

http://larndham.net/index.php?showtopic=23508&st=0


ก็ในบรรดากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน  ๑๔  หมวดนั้น  สำหรับหมวดแรกซึ่งเป็นการกำหนดลมหายใจเข้าและออกนั้น  เป็นกรรมฐานที่พิเศษกว่ากรรมฐานอื่น  แม้ท่านกล่าวว่า  เจริญได้ง่าย  เหมาะแก่คนปัญญาน้อยก็ตาม  ก็พึงทราบว่า  ที่นับได้ว่าเจริญได้ง่ายก็เกี่ยวกับสักแต่มุ่งจะทำจิตให้สงบไปอย่างเดียวเท่านั้น  กล่าวคือจิตที่ฟุ้งซ่านวุ่นวาย  กระสับกระส่าย  จะสงบได้รวดเร็ว  เมื่อเพียงแต่กำหนดลมหายใจไปสักระยะหนึ่งเท่านั้น  แต่ถ้าจะต้องการให้จิตที่สงบไปพอประมาณนั้น  สงบยิ่งขึ้นไปกว่านั้น  ตามลำดับ  จนบรรลุฌาน  โดยเฉพาะได้ฌานแล้ว  ใช้ฌานนั้นเป็นบาทแห่งการเจริญวิปัสสนาต่อไปนั้น  เป็นสิ่งที่กระทำได้แสนยากอย่างยิ่ง  ผู้มีปัญญาสามารถจริง ๆ เท่านั้น  จึงจะกระทำได้  เหตุผลในเรื่องนี้  ได้กล่าวไว้แล้วในหนังสือเรื่องหยั่งลงสู่พระพุทธศาสนา  เพราะฉะนั้น  ผู้ต้องการเจริญสติปัฏฐานเพื่อความพ้นจากทุกข์ทั้งปวง  ไม่ใช่สักแต่ว่าทำจิตให้สงบ  น่าจะคำนึงถึงหมวดอื่น ๆ  ก่อนหมวดกำหนดลมหายใจนี้
 

http://larndham.net/index.php?showtopic=18545&st=7

อนึ่ง ผู้เจริญสมถภาวนาจนจิตสงบ ข่มกิเลสนิวรณ์ลงได้แล้ว แม้ยังไม่สำเร็จฌานหรือยังไม่ชำนาญในฌาน แต่การที่สงบจากกิเลสนิวรณ์ ก็เป็นปัจจัยช่วยการปฏิบัติวิปัสสนาให้สะดวกขึ้นได้ เพราะอาศัยกิเลสนิวรณ์สงบลง จึงเป็นปัจจัยให้ปัญญารู้นามรูป ตามความเป็นจริงได้ง่ายขึ้น ในวิสุทธิมรรคอรรถกถาจึงได้แสดงฌานเป็นบาทของวิปัสสนาไว้ โดยหมายถึงการได้ฌานแล้ว จึงมาเจริญวิปัสสนาต่อไป หรือหมายถึง เมื่อเจริญสมถภาวนาจนจิตสงบจากกิเลสนิวรณ์แล้วจึงมาเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่อไป เรียกผู้ปฏิบัติวิปัสสนาโดยอาศัยสมถะนี้เป็นบาทว่า สมถยานิกกะ แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายถึงว่า หากไม่ทำสมถกรรมฐานเสียก่อนแล้ว วิปัสสนาย่อมเกิดไม่ได้ ความเข้าใจอย่างนี้ เป็นการไม่ถูกต้อง เพราะวิปัสสนานั้นเป็นชื่อของปัญญา ที่เห็นรูปนาม ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ผู้ใดเมื่อได้ศึกษารูปนามตามนัยปริยัติแล้ว จะยกรูปนามสู่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยตรงก็ได้ เรียกผู้นั้นว่า วิปัสสนายานิกกะ

แต่ในปัจจุบันนี้หาผู้ปฏิบัติสมถกรรมฐานจนสำเร็จฌานได้ยากเพราะจิตใจของบุคคลสมัยนี้เต็มไปด้วยอำนาจของกิเลสนิวรณ์ และกามคุณอารมณ์ก็อุดมสมบูรณ์

ด้วยเหตุนี้ ถ้าเรามัวแต่ฝึกอบรมสมาธิ หรือสมถกรรมฐานกัน เพื่อให้ฌานจิตเกิดหรือให้กิเลสนิวรณ์สงบ เพื่อนำไปเป็นบาทในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น ก็คงฝึกกันได้แต่เพียงทำสมาธิเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น ในที่สุด ก็ตายเปล่า ไม่ได้เจริญวิปัสสนาตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เมื่อพากันเสียเวลามาฝึกสมาธิกันมาก ๆ เข้า จนไม่มีใครรู้จักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นว่า เป็นอย่างไร ? ผลสุดท้ายก็นึกเอาว่า สมถะ กับ วิปัสสนา นี่ เป็นอันเดียวกัน

นี่แหละ อันตรายในพระพุทธศาสนา ที่เกิดขึ้นมาด้วยความเห็นผิด ที่เป็น มิจฉาทิฏฐิ ของผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาด้วยกันเอง

 

ตอบโดย: เฉลิมศักดิ์ 19 มิ.ย. 52 - 06:15


อ้างอิง
ตอบกระทู้ ดำรงสติเฉพาะหน้า รู้ลมหายใจ ไม่ใช่เรื่องยาก


คุณวิชาครับ ใช่ครับ การกำหนดลมหายใจ เป็นเรื่องง่ายครับ เพื่อให้เกิด ความสงบ

แต่จะให้ทำสมาธิถึงขั้น ฌาน นั้นยากมากครับ

แล้วที่จะยกองค์ฌานขึ้นเจริญวิปัสสนาต่อ ก็ยากขึ้นไปอีก

อนึ่ง ควรงดการอ้างอิงการติดต่ออาจารย์ทางสมาธิ ด้วยนะครับ

ตอบโดย: เฉลิมศักดิ์ 19 มิ.ย. 52 - 06:24


สวัสดีครับ คุณเฉลิมศักดิ์

อ้างอิง
  อนึ่ง ควรงดการอ้างอิงการติดต่ออาจารย์ทางสมาธิ ด้วยนะครับ


    คุณเฉลิมศักดิ์  กำลังวางท่าทีในการสนทนาที่ไม่ถูกต้องนะครับ ควรหรือมิควรอยู่ที่ผมพิจารณาในการนำเสนอเองไม่ใช่หรือ?   อีกอย่างในกระทู้นี้ยังไม่ได้อ้างอย่างใดเลย

   ดังนั้นการวางท่าที่ในการสนทนาของคุณเฉลิมศักดิ์ไม่ถูกต้องคุณรู้ตัวหรือเปล่า?

    และคุณเฉลิมศักดิ์ เป็นบ่อยและถี่ขึ้น ไม่ใช่เฉพาะกับผมคนเดียวที่คุณเฉลิมศักดิ์ วางท่าทีในการสนทนาที่ไม่ถูกต้อง ควรต้องกลับไปพิจารณานะครับ หรือว่าข้อมูลทางบัญญัติมันมากจนล้น จึงทำให้การวางท่าที่ในการสนทนาขาดการโยนิโสมานสิการ ในสิ่งที่เป็นพื้นฐานหรือเบสิค.

     ผมปรารถนาดี เพราะรู้จักกันมานานจึงพิมพ์เตือนสติ ซึ่งผมสามารถวางเฉยไม่สนใจในข้อมูลที่คุณนำเสนอ  ที่เห็นเป็นเพียงเหมือนกับว่ามีผู้ที่อยากแสดงอะไรของตนมาแปะไว้เท่านั้นก็ได้ แล้วผมก็สนทนาในสิ่งที่ผมควรเสนอต่อ ตามหัวกระทู้ที่ผมตั้งไว้.

     หวังว่าคุณเฉลิมศักดิ์คงเข้าใจได้นะครับ.

       

ตอบโดย: Vicha 19 มิ.ย. 52 - 09:14


   สวัสดีค่ะ คุณวิชา

     การรู้ลมหายใจ เข้า-ออก เนือง ๆ ปฏิบัติอยู่ค่ะ  อยากถาม
คุณวิชาค่ะว่า อาการเย็นของลมหายใจที่เกิดขึ้น ทั้งเข้าและออก
รับรู้ถึงความเย็นนั้นอย่างต่อเนื่อง....เป็นอาการของสมาธิหรือเปล่า
 

ตอบโดย: พู่กัน 19 มิ.ย. 52 - 09:30


สวัสดีครับคุณ พู่กัน

อ้างอิง
  คุณวิชาค่ะว่า อาการเย็นของลมหายใจที่เกิดขึ้น ทั้งเข้าและออก
รับรู้ถึงความเย็นนั้นอย่างต่อเนื่อง....เป็นอาการของสมาธิหรือเปล่า


    เป็นอาการของสมาธิที่มั่นคงขึ้นเป็นหนึ่งขึ้นและสติก็ละเอียดขึ้นครับ  แต่ไม่ใช่อาการของอุปจารสมาธินะครับ ถ้าเมื่อไหรละทิ้งความรู้สึกทางกายลดน้อยลงมากจนไม่สนใจ เหลือเพียงบริเวณลมที่กระทบสัมผัสและเย็น ก็จะเป็นการเฉียดเข้าสู่อุปจารสมาธิ ของอานาปานสติครับ  (แต่สภาวะนี้เป็นไปเองนะครับด้วยการปฏิบัติอยู่เนื่องๆ)


 

ตอบโดย: Vicha 19 มิ.ย. 52 - 09:42


  ขอบพระคุณมากค่ะ คุณวิชา  

ตอบโดย: พู่กัน 19 มิ.ย. 52 - 09:50


จากความคิดเห็นที่ 9 ที่ผมเสนอไปแล้วว่า

อ้างอิง
  รู้ตัวทั่วพร้อมดำรงสติเฉพาะหน้า มีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า

          นี้แหละเป็นพื้นฐานที่ต้องพัฒนาอยู่เนื่องๆ

          หรือกล่าวโดยง่ายๆ สรุปด้วยภาษาทั่วไปคือ

            "มีสติอยู่เบื้องหน้าเฉพาะที่  หายใจออกก็รู้ หายใจเข้าก็รู้"

          ซึ่งต้องมีความเพียรกำหนด(เจตนา) อยู่เนืองๆ  แล้วสติและสมาธิก็จะพัฒนาขึ้น


   อาจจะมีหลายท่านสงสัยว่า แล้วจะพัฒนาขึ้น ตามอานาปานสติสูตรต่อไปอย่างไร คือ

  เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว

   เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น


   ซึ่งความจริงแล้วในส่วนบทข้างบนของอานาปานสตินั้น ไม่จำเป็นต้องพยายามทำหรือสร้างให้เกิดขึ้นหรือไปบังคับลมหายใจให้เกิดขึ้นตามบทด้านบนเลย
   ซึ่งก็มีผู้ปบัติฏิส่วนหนึ่งไปบังคับลม เพื่อให้เป็นไปตามบทความด้านบนก็มี ตัวอย่างเช่น ผมเองเป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องนัก.

   เพราะเมื่อดำรงสติอยู่เนืองๆ ตามพื้นฐานด้านบนที่ผมได้กล่าวไว้  ซึ่งลมหายใจเป็นธรรมชาติของเขาเอง  คือย่อมไม่เที่ยง จะให้คงที่เท่ากันก็ไม่ได้ หรือยึดว่าต้องสั้นหรือยาวตามใจก็ไม่ถูกต้อง เพราะอย่างไรร่างกายก็ปรับไปอยู่ในสภาพเดิมของธรรมชาติของร่างกายนั้นเอง
    ซึ่งด้วยธรรมชาติของลมหลายใจ  บางครั้งหายใจออกยาว บางครั้งหายใจเข้ายาว บางครั้งหายใจออกสั้น บางครั้งหายใจเข้าสั้น  บางครั้งหายใจออกและเข้าสม่ำเสมอ บางครั้งลมหายใจติดขัด หรือหายใจอึดอัด หรือหายใจปลอดโปร่ง เป็นไปตามภาวะการหายใจของร่างกายที่เป็นธรรมชาติเฉพาะอยู่แล้ว.

    ผู้ปฏิบัติจึงมีมีหน้าที่ เพียงมีสติเฉพาะหน้ารู้ชัด หรือมีสติเฝ้าดูเฉพาะที่ปลายจมูก รู้ชัดเพียงแต่ว่า หายใจออก/เข้า ว่าสั้นหรือยาว หรือสม่ำเสมอ หรือไม่สม่ำเสมอเท่านั้น.

    ในความคิดเห็นต่อไปจะกล่าวถึงเมื่อมีสติเฝ้าดูเฉพาะที่ปลายจมูก แล้วจะไปรู้อย่างอื่นได้หรือไม่?

  

ตอบโดย: Vicha 19 มิ.ย. 52 - 10:40


  จากความคิดเห็นที่แล้ว ผมได้ตั้งประเด็นไว้

อ้างอิง
   ในความคิดเห็นต่อไปจะกล่าวถึงเมื่อมีสติเฝ้าดูเฉพาะที่ปลายจมูก แล้วจะไปรู้อย่างอื่นได้หรือไม่?


   อานาปานสติเป็นกรรมฐานที่พิเศษ อย่างหนึ่งเมื่อมีสติเฝ้าดูลมหายใจที่กระทบสัมผัสเข้าและออกอยู่เนืองๆ (เป็นเวลาหลายปี หรือ 10 ปี) เมื่อปฏิบัติโดยตลอดก็จะกลายเป็นความเคยชินที่ ความรู้สึกปรากฏอยู่เฉพาะเบื้องหน้าและมีสติเฝ้ารู้ลมหายใจเข้าออกโดยตลอด เมื่อรู้สึกตัวตัวตามปกติ
    แต่โดยหลักแห่งความเป็นจริงแล้ว ใจหรือจิต นั้นในช่วงขณะหนึ่งนั้นสามารถรับรู้ได้เพียง 1 อารมณ์เท่านั้น ตามหลักการปฏิบัติตามสติปัฏฐาน 4.

   ดังนั้นการรับรู้ในช่วงขณะหนึ่งมีถึง 2 อารมณ์นั้นย่อมไม่ถูกต้องตามหลักของจิต. แต่เนื่องจากจิตนั้นรวดเร็วมาก สามารถสลับการรับรู้สองหรือสามอย่าง ในช่วงเวลาหนึ่งได้ เสมือนรับรู้สองหรือสามอารมณ์นั้นพร้อมกันที่เดียวในช่วงเวลาเดียวกัน.

    และเนื่องจากอานาปานสตินั้น อาศัยสติและสมาธินำพร้อมๆ พอๆ กัน ต่างกับสติปัฏฐาน 4 ที่ต้องอาศัยการเจริญสตินำอย่างชัดเจน จึงกล่าวได้ว่าอานาปานสตินั้นเป็นทั้งสมถะและวิปัสสนา หรือ สมถะเจริญก่อนแล้ววิปัสสนาตาม.

    ดังนั้นการมีสติรับรู้อารมณ์ที่เป็นพื้นฐานจึงต่างกับสติปัฏฐาน 4 เพราะสติปัฏฐาน 4 ต้องเพ่งหรือกำหนดรู้อารมณ์กรรมฐานที่ละอย่างที่ปรากฏเด่นชัดที่เกิดขึ้นกับฐานในฐานหนึ่งใน 4 ฐาน (กาย เวทนา จิต ธรรม)ในช่วงขณะนั้นๆ ที่เป็นปัจจุบัน.

     แต่อานาปาสนสติต้องมีสติเฝ้าอยู่เฉพาะที่คือจมูก กำหนดรู้อยู่กับลมหายใจโดยตลอด เพราะโดยธรรมชาติการหายใจนั้นมีอยู่โดยตลอดตามสภาพของร่างกายอยู่แล้ว  สติและความรู้สึกโดยส่วนมากจึงอยู่ที่จมูกเป็นส่วนมาก.

      ดังนั้นในการปฏิบัติอานาปานสติจึงเกิดการมีสติรู้การหายใจ และสามารถชำเรืองรู้ หรือแลดู อารมณ์ที่ปรากฏอย่างอื่นได้ ไม่ใช่ว่าต้องบังคับไม่ให้รับรู้อย่างอื่นเลยที่ปรากฏกับกายใจตนเองและต้องให้มีสติรับรู้เฉพาะลมกระทบสัมผัสกับปลายจมูกหรือร่องปากบนเท่านั้น.
      ส่วนการที่จะไม่ไปรับรู้อารมณ์อื่นที่ปรากฏกับกายส่วนอื่นๆนั้น จะถูกปล่อยละวางลดลงเรื่อยๆ ไปเอง ตามกำลังของความตั้งมั่นที่เป็นหนึ่งของสมาธิไปตามลำดับโดยธรรมชาติ ของการปฏิบัติที่สมาธิเจริญขึ้นเอง.

       ดังนั้นในขณะมีสติรู้ลมหายใจกระทบที่ปลายจมูกอยู่ บังเกิดความเย็นขึ้น และรู้สึกว่าเสมือนลมเย็นนั้นลงไปในลำคอและอก ก็รับรู้ตามนั้นได้ แต่ห้ามใช้สติ วิ่งรู้ไปตามลมที่เข้าและออกนั้น มีหน้าที่เพียงมีสติเฝ้าอยู่ที่ปลายจมูกที่ลมกระทบนั้น แต่จะรู้สภาวะอื่นก็รู้ได้ เพียงแต่ไม่ให้สติวิ่งตามไปรู้ ให้รู้แบบเปรียบเสมือนการชำเรืองรู้หรือแลดูเท่านั้น.

       มีผู้ที่ปฏิบัติที่คลาดเคลื่อน เอาสติหรือความรู้สึกวิ่งตามลมหายใจเข้าหรือออก จนเกิดภาวะการบีบคั้นของรางกาย ที่หายใจถี่และแรงจนสุดกำลัง เมื่อสติเผลอหลดจากการกำหนดรู้ที่ควรเป็นไปตามลำดับของการเจริญสมาธิ ทำให้เกิดอาการวิปลาสขึ้นของจิต แสดงอาการต่างๆ นาๆ ออกทางร่างกายได้.

       แต่ไม่ใช่ว่า ผู้ปฏิบัติอย่างดีแล้วแนะนำถูกต้องในการกำหนดรู้ที่ปลายจมูกแล้ว จะไม่เกิดอาการอย่างนี้นะครับ ก็บังเกิดขึ้นได้กับผู้เข้าใจผิด แล้วปฏิบัติด้วยความเพียรที่แรงจัด ด้วยความอยาก (ตัณหา อยากมีอยากเป็น ไม่อยากมีไม่อยากเป็น ที่แรงจัด).
   
        สรุป หมายความว่า การปฏิบัติอานาปาสนสติ แม้จะมีสติเฝ้ารู้ที่ปลายจมูกที่ลมกระทบสัมผัส แต่ก็สามารถรับรู้หรือชำเรืองรู้สภาวะอย่างอื่นที่ปรากฏได้  ซึ่งจะต่างกันสติปัฏฐาน 4 ที่เป็นการปฏิบัติวิปัสสนาล้วนๆ ก็ตรงจุดนี้เป็นเบื้องต้น.

 

ตอบโดย: Vicha 19 มิ.ย. 52 - 15:40


ผมเคยสังเกตุอย่างนี้จากประสบการณ์ครับ

ในขณะที่จิตไม่คิดไปเรื่องใด ไม่ว่าจะอดีต หรืออนาคต ไม่มีความคิดใด ๆ ในจิต ไม่มีคำพูดใด ๆ ในจิต

ณ.ตอนนั้นเอง จิตจะวิ่งมารู้มาเห็นลมหายใจชัดมาก ๆ  อาจจะเป็นเพราะลมหายใจเป็นสิ่งที่เคลื่อนไหวชัดเจน จิตจึงไปจับตรงนั้นได้ง่าย

ในขณะที่พิมพ์อยุ่นี้ผมก็ทดลอง  สงบจากความคิด   จิตจะวิ่งไปจับตรงปลายจมูกรู้ลมหายใจของมันเองเลยครับ    เพราะมันรู้ได้ชัด (สมมุติว่ามีมดมากัดเท้า จิตก็จะไปรับรู้ตรงที่มดกัดแทน เพราะรู้ได้ชัดกว่า)

ทีนี้พอจิตสงบจากความคิดอยู่นาน  จิตก็รู้แต่ลมหายใจนานเช่นกัน(ตรงนี้น่าจะเป็นสมาธิแล้วครับ เพราะเริ่มมีอารมณ์เดียวแล้ว)  ลมหายใจก็ละเอียดขึ้น ๆ  มีปิติเกิดขึ้น มีสุขเกิดขึ้น  มีความสงบ + สุขเกิดขึ้น (ลืมตาอยู่นะครับ)จิตชุ่มชื้น

อานาปานสติก็ยืดหยุ่นดีนะครับ เวลาทำงานหรืออะไรก็ตาม ถ้าจิตมีการจดจ่อ หรือมีงานอื่นให้ทำ จิตจะออกจากอานาปานสติไปครับ  แต่พอจิตยกเลิกงานนั้น ๆ ไม่จดจ่อที่งานนั้น ๆ แล้ว  จิตก็จะกลับมาอยู่ที่ลมหายใจอีก  พอจะทำงานอื่นจิตก็จะออกจากลมหายใจไปจดจ่อกับสิ่งอื่น แบบนี้สลับกันไปครับ

แต่ถ้าจิตไม่ได้ทำอะไรเลย  เช่นนั่งเฉย ๆ   นอนเฉย ๆ ไม่จดจ่อกับอะไร ผู้ที่ฝึกอานาปานสติจนคล่อง จิตเขาจะมาที่ลมหายใจทันทีแล้วพร้อมจะเป็นสมาธิต่อเลยครับ   ซึ่งก็มีข้อดีตรงที่ว่า นิวรณ์เข้าได้ยากมาก ๆ ครับ  เรียกว่าจิตผ่องใส มีความสงบซะโดยมาก  ทำเป็นประจำจิตจะมีกำลังสมถะมาก บางครั้งจิตจะมีญาณพิเศษตามมาด้วย แต่มากน้อยแค่ไหนอยู่ที่กำลังที่สั่งสมมา

อันนี้พูดจากความเห็นส่วนตัวนะครับ ไม่รู้ตรงหลักวิชาการหรือเปล่า

 

ตอบโดย: น้องบู 19 มิ.ย. 52 - 16:33



อ้างอิง
ในขณะที่จิตไม่คิดไปเรื่องใด ไม่ว่าจะอดีต หรืออนาคต ไม่มีความคิดใด ๆ ในจิต ไม่มีคำพูดใด ๆ ในจิต

ณ.ตอนนั้นเอง จิตจะวิ่งมารู้มาเห็นลมหายใจชัดมาก ๆ  อาจจะเป็นเพราะลมหายใจเป็นสิ่งที่เคลื่อนไหวชัดเจน จิตจึงไปจับตรงนั้นได้ง่าย

ในขณะที่พิมพ์อยุ่นี้ผมก็ทดลอง  สงบจากความคิด   จิตจะวิ่งไปจับตรงปลายจมูกรู้ลมหายใจของมันเองเลยครับ    เพราะมันรู้ได้ชัด (สมมุติว่ามีมดมากัดเท้า จิตก็จะไปรับรู้ตรงที่มดกัดแทน เพราะรู้ได้ชัดกว่า)

ทีนี้พอจิตสงบจากความคิดอยู่นาน  จิตก็รู้แต่ลมหายใจนานเช่นกัน(ตรงนี้น่าจะเป็นสมาธิแล้วครับ เพราะเริ่มมีอารมณ์เดียวแล้ว)  ลมหายใจก็ละเอียดขึ้น ๆ  มีปิติเกิดขึ้น มีสุขเกิดขึ้น  มีความสงบ + สุขเกิดขึ้น (ลืมตาอยู่นะครับ)จิตชุ่มชื้น


    ก็ถือว่าน้องบู พัฒนาเจริญสติขึ้นมานำสมาธิได้บ้างแล้ว จึงว่องไวในการมีสติรู้สภาวะที่เด่นชัด มีสติรู้ชัดเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งในขณะที่ชัดเจนได้แล้ว

    ก็ถือว่าพัฒนามาได้ถูกทางเป็นสติปัฏฐาน 4 ที่ชัดเจนขึ้น.

    อานาปานสติ กับ สติปัฏฐาน 4 นั้นอยู่ใกล้กันนิดเดียวครับ

    ตามพุทธพจน์
         เมื่อเจริญอานาปานสติมากๆ และสมบูรณ์  สติปัฏฐาน 4 ก็ย่อมเจริญและสมบูรณ์ไปด้วย.

   

ตอบโดย: Vicha 19 มิ.ย. 52 - 16:58


เมื่อก่อน สมาธิมีกำลังดี ตอนนี้ สมาธิถดถอย เพราะฝึกน้อย
เมื่อก่อน สติมีกำลังน้อย ตอนนี้ สติมีกำลังดี เพราะฝึกมาก

ตั้งแต่นี้ตั้งใจ จะทำทั้ง 2 อย่างให้ดีไปพร้อม ๆ กันครับ  แต่ก็ทำให้เห็นได้อย่างหนึ่งว่า สติไม่เที่ยง สมาธิไม่เที่ยง  ต้องอาศัยเหตุปัจจัยในการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป

ช่วยแนะนำผมไปเรื่อย ๆ นะครับ พี่ Vicha อย่างพึ่งทิ้งกันไปก่อน    

ตอบโดย: น้องบู 19 มิ.ย. 52 - 17:04


อ้างอิง (Vicha @ 19 มิ.ย. 52 - 15:40)

    แต่โดยหลักแห่งความเป็นจริงแล้ว ใจหรือจิต นั้นในช่วงขณะหนึ่งนั้นสามารถรับรู้ได้เพียง 1 อารมณ์เท่านั้น ตามหลักการปฏิบัติตามสติปัฏฐาน 4.

   ดังนั้นการรับรู้ในช่วงขณะหนึ่งมีถึง 2 อารมณ์นั้นย่อมไม่ถูกต้องตามหลักของจิต. แต่เนื่องจากจิตนั้นรวดเร็วมาก สามารถสลับการรับรู้สองหรือสามอย่าง ในช่วงเวลาหนึ่งได้ เสมือนรับรู้สองหรือสามอารมณ์นั้นพร้อมกันที่เดียวในช่วงเวลาเดียวกัน.



สาธุครับ  คุณวิชา  

คุณวิชากล่าวมาดีแล้วครับ   ผมขอยืนยันความเห็นนี้ของคุณวิชาตรงนี้ อีกคนหนึ่งครับ


 

ตอบโดย: ระนาด 19 มิ.ย. 52 - 17:27


..... .....

..... มาตีตั๋วรอฟังไปเรื่อยๆครับ .....

..... .....

ตอบโดย: บุญรักษ์ 19 มิ.ย. 52 - 17:31


หลักของวิปัสสนาโดยสังเขป

http://larndham.net/index.php?showtopic=32118&per=1&st=0&#entry525455

สติปัฏฐาน ๔ นี้ มีทั้งสมถะ และวิปัสสนา

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน อิริยาบถ, สัมปชัญญะและจตุธาตุมนสิการ เป็นวิปัสสนา
ส่วนอานาปานปัพพะ, ปฏิกูลปัพพะ และอสุภ ๙ ปัพพะ ต้องเจริญสมถะก่อน แล้วจึงยกขึ้นสู่วิปัสสนาภายหลัง
สำหรับ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน, จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานและธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นวิปัสสนาล้วน ๆ

สงเคราะห์สติปัฏฐาน ๔ ลงในขันธ์ ๕ หรือรูปนาม ได้ดังนี้

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ได้แก่ รูปขันธ์ เป็น รูปธรรม
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ได้แก่ เวทนา เป็น นามธรรม
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ได้แก่ วิญญาณขันธ์ เป็น นามธรรม
ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ได้แก่ ขันธ์ ๕ เป็น รูปกับนาม

สรุปอารมณ์ของสติปัฏฐานโดยย่อ ก็ได้แก่ รูปธรรม กับ นามธรรม


-------------------------------------------------------------


อ้างอิง
ผมปรารถนาดี เพราะรู้จักกันมานานจึงพิมพ์เตือนสติ ซึ่งผมสามารถวางเฉยไม่สนใจในข้อมูลที่คุณนำเสนอ  ที่เห็นเป็นเพียงเหมือนกับว่ามีผู้ที่อยากแสดงอะไรของตนมาแปะไว้เท่านั้นก็ได้ แล้วผมก็สนทนาในสิ่งที่ผมควรเสนอต่อ ตามหัวกระทู้ที่ผมตั้งไว้.

     หวังว่าคุณเฉลิมศักดิ์คงเข้าใจได้นะครับ.



ขอบคุณครับ  ที่นำหลักฐานการปฏิบัติ อานาปานสติ จาก พระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา    พระวิปัสสนาจารย์ ต่าง ๆ  ก็เพื่อเป็นหลักไว้  เทียบเคียงกับ การอธิบายจากประสบการณ์ส่วนตัวของคุณวิชาเอง

และสิ่งหนึ่งที่ผมแนะนำไปคือ

อ้างอิง
อนึ่ง ควรงดการอ้างอิงการติดต่ออาจารย์ทางสมาธิ ด้วยนะครับ


และยิ่งคุณเชื่อว่าท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว ต่อไปคุณอาจจะคิดว่า ประสบการณ์ของคุณที่ได้รับการถ่ายทอดมา ถูกต้องที่สุดแน่


http://larndham.net/index.php?showtopic=34508&st=10

อ้างอิง
>>>     ความศรัทธาความเชื่อในสิ่งที่ถูกต้องเป็นจริง ย่อมนำมาซึ่งสติปัญญา ย่อมคลายความยึดมั่นถือมั่น  ย่อมละวางเสียซึ่งทิฐิมานะ แม้ความสุขหรือความทุกข์ก็กลายเป็นเรื่องธรรมดา   เมื่อถึงที่สุดก็คือความสงบ  ของตนเอง และให้ความสงบสุขแก่ผู้ที่อยู่ใกล้
            จึงต้องพิจารณาใคร่ครวญให้ดีเสียก่อนที่จะเชื่อ เป็นการดีที่สุด  แม้แต่สิ่งที่เชื่ออยู่ก็ให้พิจารณา ด้วยเหตุและผลว่าถูกต้องหรือไม่ ความเชื่อนั้นก็จะไม่ทำให้ต้องให้ผิดพลาดหรือทุกข์ในภายหลัง
....................................................

จากคุณ : Vicha [ 29 พ.ย. 2543 / 21:47:41 น. ]
**********************************************

   และผมขอบอกให้ทราบในการทู้นี้นะครับว่า พระ หรือ พระคุณท่าน ที่ผมสนทนาด้วยนั้น ไม่ใช่มนุษย์และท่านกว่าวว่าท่านเป็นพระอรหันต์ครับ.

 

ตอบโดย: เฉลิมศักดิ์ 20 มิ.ย. 52 - 06:05


[QUOTE=เฉลิมศักดิ์,20 มิ.ย. 52 - 06:05]
และสิ่งหนึ่งที่ผมแนะนำไปคือ

[QUOTE]อนึ่ง ควรงดการอ้างอิงการติดต่ออาจารย์ทางสมาธิ ด้วยนะครับ[/QUOTE]

และยิ่งคุณเชื่อว่าท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว ต่อไปคุณอาจจะคิดว่า ประสบการณ์ของคุณที่ได้รับการถ่ายทอดมา ถูกต้องที่สุดแน่


http://larndham.net/index.php?showtopic=34508&st=10

[QUOTE]>>>    [/QUOTE]

                  ------------------------------------------------


คุณเฉลิมศักดิ์ครับ

ในกระทู้นี้คุณวิชาไม่ได้กล่าวถึงการติดต่ออาจารย์ทางสมาธิเลยนะครับ

คุณวิชากล่าวถึงการติดต่ออาจารย์ทางสมาธิในกระทู้ " คำถามทางธรรมเรื่องอินทรีย์ 5 "  ซึ่งถ้าคุณเฉลิมศักดิ์ต้องการทักท้วงคุณวิชาในจุดนี้  ทำไมคุณไม่เข้าไปทักท้วงในกระทู้นั้นล่ะครับ


อีกประการหนึ่ง  ในกระทู้นั้น เพื่อนสมาชิกก็ได้ทักท้วงคุณวิชาไปแล้ว  และ  คุณวิชาก็ชี้แจงรายละเอียดไปเรียบร้อยแล้ว


ในกระทู้นี้   คุณเฉลิมศักดิ์จะเข้ามาทักท้วงคุณวิชาอีกทำไมครับ  คุณเข้ามาทะลุกลางปล้องกลางวงสนทนาแบบนี้    คุณไม่มีมารยาทเลยครับ


ผมก็ไม่ได้อะไรกับคุณวิชาหรอก    แต่ว่าผมเห็นการแสดงความเห็นของคุณเฉลิมศักดิ์แบบนี้มานานแล้ว ( กับสมาชิกคนอื่นๆ  คุณก็มีพฤติกรรมแบบนี้ด้วย )   มันน่ารำคาญและน่าเบื่อหน่ายมากๆเลยครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 20 มิ.ย. 52 - 08:54


ลักษณะของเฉลิมศักดิ์เช่นนี้

ได้ลามปามไปถึงต่างชาติ

ต่างลัทธิ

ผมได้ทักท้วง

แต่ไม่ทราบเหตุผล

ว่าทำไมคำทักท้วงถึงถูกลบ

เพราะเจตนาของผมเพื่อเซฟเวป

 

ตอบโดย: mes 20 มิ.ย. 52 - 11:29


สวัสดีครับ คุณระนาด  คุณบุญรักษ์  คุณ mes ที่ได้แสดงความคิดเห็น ในกระทู้

    วันนี้เป็นวันหยุด ในวันหยุดนั้นผมมีกิจที่จุกจิกกับการงานในครัวเรื่อน จึงจะสนทนาธรรมที่ละเอียดนั้นจะไม่สะดวกกว่าในวันทำงาน  เพราะในวันทำงานนั้นจะเป็นกิจเชิงเดี่ยว เกี่ยวกับงานในหน้าที่ ที่ต้องปฏิบัติในส่วนของหน้าที่ให้ถูกต้อง จึงไม่ค่อยมีผลในการจัดลำดับและเรี่ยงความคิดเห็นเพื่อพิจารณาที่จะสนทนา
    แต่วันี้เมื่อเข้ามาดูในกระทู้แล้ว ก็ต้องสนทนาเพิ่มเพื่อให้ได้คิดพิจารณากันต่อเพียงเล็กน้อยนะครับ.

    น้องบูได้สนทนาถามตอบได้เหมาะสม ที่ชี้ให้เห็นในเรื่อง สติ กับ สมาธิ ในการมีสติอยู่กับลมหายใจ กับการมีสติเท่าทันที่สิ่งที่กระทบหรือผัสสะที่ชัดเจนมากกว่าในขณะนั้นๆ ก็ถือว่าน้องบูเข้าใจคำว่า สติ หรือเจริญสติได้อย่างถูกต้องขึ้นครับ.

    เช่นเดียวกันในความคิดเห็นนี้ผมจะชี้ให้สังเกตุเห็นเงื่อนเล็กๆ ในส่วนของพุทธพจน์ เพื่อจะได้แสดงให้ระเอียดขึ้นเมื่อมีเวลาหรือไม่กิจหลายเรื่องเข้ามาแทรกแทรง.
   
    พิจารณาดูในพุทธพจน์ 2 บทนี้

  เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
   เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น


   สังเกตุดูในบทข้างบนของคำว่า  "เมื่อหายใจ"

   แต่ในบทหลังจากนี้ รูปแบบจะเปลี่ยนไปดังนี้

  ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจเข้า
   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก เป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า


    ให้สังเกตุคำว่า "ย่อมสำเหนียกว่า"

    ดังนั้นจึงมีนัยยะในการปฏิบัติที่ต่างจากบทข้างบนอย่างชัดเจน แต่ก็ยังเกี่ยวอยู่กับการหายใจออกและหายใจเข้า   จึงไปเกี่ยวกับคำที่ผมได้บอกไว้ตอนต้นคือ การชำเลืองรู้  หรืออาการแลดู (หมายถึง ไม่ได้เข้าไปรู้อย่างตรง หรือ จองดูแบบตรงเสียที่เดียว ในระยะเริ่มปฏิบัติ ที่จะสติยังไม่เจริญจนนำสมาธิ)

    มีกิจเข้ามาแทรกแล้วจึงเห็นควรสนทนาเพียงแค่นี้นะครับ.

  

ตอบโดย: Vicha 20 มิ.ย. 52 - 19:01


พี่ๆน้องๆคุยกันดีๆนะครับ
อย่าทะเลาะกัน

:)

รักษามรรยาทและน้ำใจกันนะครับ

 

ตอบโดย: ake 20 มิ.ย. 52 - 22:28


อานาปานสติ หรือหลักการตามดูลมหายใจเข้า(อัสสาสะ) ตามดูลมหายใจออก(ปัสสาสะ)
ต้นลมอยู่ที่ปลายจมูก
กลางลมอยู่ที่หัวใจ
ปลายลมอยู่ที่สะดือ

- ลมหายใจเข้า ไม่หายใจออกก็ตาย ลมหายใจออก ไม่หายใจเข้าก็ตาย......

** การปฏิบัตินี้ต้องการปัจจุบันเป็นหลัก ตั้งสติไว้ แล้วตามจิตไปให้ได้ ต้องใช้สติดูแลควบคุมจิตให้เคยชินต่อจิต."ที่ไม่พลาด ไม่เผลอ"
     ถ้าผู้ใดมีสติดี มีสัมปชัญญะดี จิตใจท่านจะเบิกบาน จะมองเห็นการณ์ไกล มองเห็น
ด้วยปัญญาของท่านเป็นตัวปัจจัย งานนั้นจะสำเร็จโดยไม่ผิดพลาดทุกประการ


ตอบโดย: อินทรีย์5 20 มิ.ย. 52 - 22:58


อ้างอิง
ในกระทู้นี้   คุณเฉลิมศักดิ์จะเข้ามาทักท้วงคุณวิชาอีกทำไมครับ  คุณเข้ามาทะลุกลางปล้องกลางวงสนทนาแบบนี้    คุณไม่มีมารยาทเลยครับ


ผมก็ไม่ได้อะไรกับคุณวิชาหรอก    แต่ว่าผมเห็นการแสดงความเห็นของคุณเฉลิมศักดิ์แบบนี้มานานแล้ว ( กับสมาชิกคนอื่นๆ  คุณก็มีพฤติกรรมแบบนี้ด้วย )   มันน่ารำคาญและน่าเบื่อหน่ายมากๆเลยครับ
 
จากคุณ : ระนาด


ขอโทษคุณระนาด  ที่ทำให้ รำคาญ  ผมอาจจะยกตัวอย่าง ผิดจังหวะไป

ที่จริงต้องการชี้ว่า  ประสบการณ์ส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็น เรื่องการปฏิบัติ เช่น  อานาปานสติ  ควรจะระมัดระวังในการถ่ายทอดให้มาก  อาจจะเป็นการบิดเบือนพระสัทธรรมได้

เพราะตามหลักฐานในพระไตรปิฏก อรรถกถา

http://larndham.net/index.php?showtopic=34753&st=14

เป็นการทำสมาธิให้ได้ รูปฌาน ก่อน แล้วจึง ยกองค์ฌานขึ้นเจริญวิปัสสนา  ซึ่งแตกต่างจากที่คุณวิชาอธิบาย

จึงควรระมัดระวัง  พอ ๆ กับ เรื่องการติดต่อกับเทวดาได้  ทางสมาธิ นั้นแหละครับ

ตอบโดย: เฉลิมศักดิ์ 21 มิ.ย. 52 - 05:38


อ้างอิง
เป็นการทำสมาธิให้ได้ รูปฌาน ก่อน แล้วจึง ยกองค์ฌานขึ้นเจริญวิปัสสนา  ซึ่งแตกต่างจากที่คุณวิชาอธิบาย

จึงควรระมัดระวัง  พอ ๆ กับ เรื่องการติดต่อกับเทวดาได้  ทางสมาธิ นั้นแหละครับ





ตรงไหนที่คุณวิชากล่าวอย่างที่คุณอ้าง

เฉลิมศักดิ์มีปัญหา   ปั้นเรื่องแขวะคนอื่นได้ทุกวัน

น่าเอื่อมระอา

เสียบรรยากาศการสนทนาธรรม

คนอื่นๆเขาไม่เห็นมีปัญหา

ตอบโดย: mes 21 มิ.ย. 52 - 06:20


คุณเฉลิมศักดิ์ครับ
ถ้าเห็นว่าตรงไหนที่ควรชี้แจง หรือเห็นว่าอาจจะผิดพลาดก็แนะนำกันดี ๆ คุยกันดี ๆ ครับ
หรือเห็นว่าอะไรที่ควรเสริม ก็เสริมกันไปครับ แต่ขอให้อยู่ในสิ่งที่กล่าวในกระทู้นี้นะครับ

ถ้ายังไม่เห็นว่าคุณวิชา ผิดตรงไหน หรือเป็นอะไรที่ร้ายแรง ในการที่นำไปสู่การปฏิบัติที่ผิด ๆ ก็ยังไม่ต้องกล่าวอะไรก็ได้ครับ

สำหรับเรื่องการติดต่อกับเทวดานั้น จำได้่ว่าคุณเฉลิมศักดิ์ก็เคยศึกษากับอาจารย์ที่ติดต่อเป็นเทวดาเหมือนกันไม่ใช่เหรอครับ ซึ่งคำสอนของท่านครั้งนึงก็เคยถูกเอามาชี้ว่ามีที่ผิดเหมือนกันนี่นาครับ  

สำหรับกระทู้นี้ ผมยังไม่เห็นคุณวิชา พูดถึงการติดต่อกับเทวดา หรืออาจารย์ทางสมาธิอะไรเลย ก่อนที่คุณเฉลิมศักดิ์จะเอามาเป็นประเด็นกันครับ
ดังนั้น ผมเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่สมควรเปิดประเด็นใหม่ นอกเหนือจากเนื้อหาในกระทู้ครับ

ขอให้พึงระมัดระวังในการสนทนาให้อยู่ในประเด็นกันครับ

ตอบโดย: กอบ 21 มิ.ย. 52 - 07:30


อ้างอิง (เฉลิมศักดิ์ @ 21 มิ.ย. 52 - 05:38)
 ผมอาจจะยกตัวอย่าง ผิดจังหวะไป

ที่จริงต้องการชี้ว่า  ประสบการณ์ส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็น เรื่องการปฏิบัติ เช่น  อานาปานสติ  ควรจะระมัดระวังในการถ่ายทอดให้มาก  อาจจะเป็นการบิดเบือนพระสัทธรรมได้

เพราะตามหลักฐานในพระไตรปิฏก อรรถกถา

เป็นการทำสมาธิให้ได้ รูปฌาน ก่อน แล้วจึง ยกองค์ฌานขึ้นเจริญวิปัสสนา  ซึ่งแตกต่างจากที่คุณวิชาอธิบาย



คุณเฉลิมศักดิ์ครับ


คุณบรรลุรูปฌานได้แล้วหรือครับ   คุณอ่านตำราแล้วนึกคิดตามที่ตำราบรรยาย   แล้วคุณก็เข้าใจว่ารูปฌานน่าจะเป็นอย่างนั้น   น่าจะเป็นอย่างนี้  ซึ่งในกระทู้นี้ความเห็นของคุณวิชาไม่ตรงกับความต้องการของคุณ   คุณจึงคิดว่าคุณวิชาอาจจะบิดเบือนพระสัทธรรม

ถ้าคุณเฉลิมศักดิ์ยังยึดมั่นกับความคิดเห็นของคุณแบบนี้ อย่างเหนียวแน่น  คุณจะไม่สามารถสนทนากับผู้ที่มีความเห็นแตกต่างจากคุณได้เลยครับ
                  ----------------------------------------------

จากการที่ผมสังเกตุ   ที่ผ่านๆมาคุณสนทนากับผู้อื่นได้สักพักหนึ่งแล้วก็มีการโต้เถียงกันบ่อยครั้งมากๆเลยครับ  แล้วคุณก็จะอ้างว่าคุณต้องการปกป้องพระสัทธรรมมิให้คลาดเคลื่อนจากพระไตรปิกฏ  ( พระสัทธรรมที่แท้จริง  ตัวคุณเองก็ยังไม่บรรลุ   แล้วคุณรู้ได้อย่างไรว่าคนอื่นกำลังบิดเบือน )


อ้างอิง
 จึงควรระมัดระวัง  พอๆกับเรื่องการติดต่อกับเทวดาได้ทางสมาธินั้นแหละครับ


    ตรงนี้มันเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นเลยนะครับ    ถ้าคุณเฉลิมศักดิ์ยังไม่สามารถแยกแยะได้ว่าคนอื่นๆกำลังสนทนาในประเด็นอะไรกันอยู่     ต่อไปคุณจะคุยกับใครๆไม่ได้เลยครับ  เพราะว่าจะมีแต่ความขัดแย้งกับผู้อื่นตลอดเวลา....นะครับ



หรือถ้าคุณมีเรื่องที่ต้องการทักท้วงคุณวิชาที่อยู่นอกประเด็นของกระทู้นี้  คุณก็ส่งข้อความไปให้คุณวิชาทางหลังไมค์ก็ได้ครับ  ( ลานธรรมมีระบบข้อความส่วนตัว    ซึ่งคุณก็น่าจะรู้ดีอยู่แล้ว )


 การศึกษาพระสัทธรรมไม่ใช่แค่การเก็บข้อมูลจากคัมภีร์  พระไตรปิกฏ  และอรรถกถาแต่เพียงอย่างเดียว    แต่ว่า  คุณควรฝึกฝนการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง  ซึ่งรวมไปถึงฝึกฝนการมีมารยาทในการสนทนา   และ  ฝึกฝนการแยกแยะประเด็นหัวข้อการสนทนาด้วยครับ

ตอบโดย: ระนาด 21 มิ.ย. 52 - 07:58


    สวัสดีครับ คุณake  คุณอินทรีย์5 คุณmes คุณกอบ และคุณระนาด ที่เข้ามาสนทนาในกระทู้

   ผมก็พยายามไม่ให้เกิดความประมาท ในการสนทนาธรรม เพราะเคยจำได้คร่าวๆ ในพระไตรปิฏกหรืออรรถกถาที่ว่า

      มีผู้กล่าวธรรมกล่าวได้ตรงตามบัญญัติ  แต่ไม่ตรงธรรมไม่เป็นธรรมมีอยู่

    ซึ่งก็หมายถึงปุถุชนบางส่วนนั้นเอง ซึ่งอาจจะรวมถึงตัวผมเองด้วยถ้าขาดสติปัญญาในการพิจารณา  จึงต้องมีสติทบทวนพิจารณาอย่างรอบคอบในฐานะแห่งตนในการกล่าวธรรม ไม่ใช่สักแต่กล่าวธรรม ยกธรรมมาแบบกำปั้นทุบดิน ตามความเห็นแห่งตนว่าอย่างนี้ถูกที่สุด อย่างอื่นไม่ถูก อย่างอื่นต้องผิด ทั้งที่ก็ไม่เคยปฏิบัติให้ธรรมนั้นปรากฏชัดแจ้งกับใจตนมาก่อน.

        ถ้าเป็นอย่างนั้นก็เปรียบเสมือน สุกรที่สวมหนังสิงห์โต หลอกสัตว์อื่นไปทั่ว จนหลงผิดคิดว่าตนมีอำนาจและยิ่งใหญ่.

  

ตอบโดย: Vicha 21 มิ.ย. 52 - 12:10


ต่อไปก็มาสนทนาในอานาปานสติต่อนะครับ.

   ทำใม?   ผมจึงใช้การชำเลืองดูหรือแลดู ในสภาวะอื่นในขณะที่ มีสติเฝ้ารู้ลมหายใจออกและเข้าอยู่

   ก็เพราะผู้ที่ปฏิบัติจนมีความรู้ติดแน่นอยู่กับบริเวณจมูกมากโดยตลอดเมื่อเริ่มตั้งสติ ก็จะไปรับรู้ที่จมูกรู้ลมหายใจจนไม่แยกเป็นอย่างอื่นได้ง่าย.
   เมื่อมีสภาวะอย่างเกิดขึ้น ก็แยกสติความรู้สึกจากจมูกไปยังที่นั้นหรืออารมณ์นั้นได้อยาก เพราะยังมากด้วยสมาธิตั้งมั่นอยู่เพียงที่ฝึกมาจนเคยชิน จึงต้องอาศัยการ ชำเลืองดู หรือแลดู สภาวะอย่างอื่นที่ปรากฏที่ปรากฏขึ้น.

   จึงจะสามารถปฏิบัติตามพุทธพจน์ส่วนนี้ได้ง่ายขึ้น เป็นการพัฒณาสติขึ้น

   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจเข้า
   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก เป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า

   คือถ้า รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจออก  รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจเข้า  ก็จะเกิดสภาวะรู้ในช่วงเดียวกันเป็น 2 อารมณ์ทันที ซึ่งไม่เข้ากันได้กับสติปัฏฐาน 4 หรือ จิตรู้ได้อย่างเดียวในขณะเดียวเท่านั้น.

    แต่อานาปานสติ กลับมีสติเฝ้าที่จมูกดูลมกระทบ และสามารถให้รู้แจ้งกายทั้งปวงได้ด้วย  แต่ในเมื่อสติยังไม่เจริญขึ้นอย่างดีแบบฉับไว  ก็สามารถใช้หลักการชำเลืองดูหรือแลดูไปก่อน จนสมาธิ พัฒนาได้อย่างดีขึ้น และสติเจริญขึ้นอย่างชัดเจน ก็จะมีสติแยกกันอย่างได้ฉับไวขึ้น อย่างเท่าทัน.

   จบการนำเสนอแค่นี้ก่อนนะครับเพราะมีกิจอื่นต้องทำ.


      

ตอบโดย: Vicha 21 มิ.ย. 52 - 12:34


อ้างอิง
ความคิดเห็นที่ 36 : (กอบ)

คุณเฉลิมศักดิ์ครับ
ถ้าเห็นว่าตรงไหนที่ควรชี้แจง หรือเห็นว่าอาจจะผิดพลาดก็แนะนำกันดี ๆ คุยกันดี ๆ ครับ
หรือเห็นว่าอะไรที่ควรเสริม ก็เสริมกันไปครับ แต่ขอให้อยู่ในสิ่งที่กล่าวในกระทู้นี้นะครับ


    ขอบคุณครับ  ต่อไปผมจะระมัดระวังให้มากขึ้น

----------------------------------------------------------
อ้างอิง
ดำรงสติเฉพาะหน้า รู้ลมหายใจ ไม่ใช่เรื่องยาก
         อานาปานสติ ปฏิบัติได้ง่ายในชีวิตประจำวัน ที่เป็นพื้นฐานเข้ากับพุทธพจน์



ก็ขอให้ผู้อ่าน แนวทางการปฏิบัติการ รู้ลมหายใจ ของคุณวิชา  ลองเทียบเคียงกับ พระไตรปิฏก อรรถกถา ดูครับ


http://larndham.net/index.php?showtopic=34753&st=14

แต่หลักฐานในพระไตรปิฏก อรรถกถา เป็นการทำสมาธิให้ได้ รูปฌาน ก่อน แล้วจึง ยกองค์ฌานขึ้นเจริญวิปัสสนาต่อไป

ตอบโดย: เฉลิมศักดิ์ 21 มิ.ย. 52 - 14:08


:)

เข้าใจว่าพี่ Vicha คงพยายามตรวจสอบก่อนนำมาลงเขียน จากประสบการณ์การปฏิบัติ ซึ่งแน่นอนบางครั้งนอกเหนือจากคัมภีร์
และเข้าใจว่าคุณเฉลิมศักดิ์ คงต้องการรักษามาตรฐานปกป้องคัมภีร์ต่างๆ
แต่ท้ายสุดก็ลงเป็นความขัดแย้งกัน และมีผู้ร่วมระบายความสะใจแรงๆอีกด้วยเช่นคุณ Mes เป็นต้น

บ่อยครั้งมากที่ทำให้พวกผมลำบากใจ

ลองพิจารณาดูสักนิดที่ว่าเรามา post ข้อความในลานธรรมจริงๆเพื่ออะไรกันแน่?
ขณะที่เรา post มีจิตใจเช่นไร?
ต้องการให้ผู้อื่นชื่นชมเราหรือ?
เพื่อปฏิเสธ 100% ในสิ่งที่ไม่มีในคัมภีร์อย่างนั้นหรือ?
ให้ทุกคนคล้อยตามเราหรือ?
เพื่อความสะใจในคำพูดแรงๆหยาบๆเพื่อให้อีกฝ่ายใจเสียหรือ?
 
ขึ้นชื่อว่าพวกเราชาวพุทธแล้ว
เราทุกคนย่อมตระหนักดีว่าทุกเม็ดทุกหน่วยของการกระทำของเราและจำนวนคนที่ถูกกระทบ ย่อมเป็นผลกรรมด้าน บวกและลบ ที่เราจะต้องได้รับ

อยากให้คิดในจุดนี้ให้มากๆครับ

ตอบโดย: ake 21 มิ.ย. 52 - 15:03


ในฐานะที่ผมเคย คุยกับพี่เฉลิมศักดิ์มา ก็มีทะเลาะบ้างครับตอนนั้นหงุดหงิด แต่ตอนนี้ ธรรมดา

พี่ระนาด ก็เคยบอกผมไม่ใช่หรือครับ ว่าพี่เฉลิมศักดิ์ ถ้าดูดีๆน่ารัก ผมจำได้นะครับ ที่พี่พูด ตอนนี้ลืมไปแล้วหรือเปล่า ว่าพี่เฉลิมศักดิ์ มีเจตนาดี จะผิดจะถูกว่ากันอีกเรื่อง

ส่วนพี่เฉลิมศักดิ์ติดใจเรื่อง พี่วิชา ติดต่อกับเทวดา คือไม่ใช่ในกระทู้นี้ครับ แต่เป็นกระทู้ที่ พี่วิชา นั่งสมาธิ แล้วติดต่อกับเทวดา หลายองค์ ได้ พี่เฉลิมศักดิ์ติดใจกระทู้ตรงนั้น เลยเอามารวมกับกระทู้นี้ ก็เลยขัดแย้งกัน เพราะคุยกันคนละหัวข้อ ตรงนี้หรือเปล่าที่พี่เฉลิมศักดิ์ เอามาพูดในกระทู้นี้ จนทำให้ประเด็นแตกจนกว้าง

ผมว่าก็ดีนะ มีขัดแย้งกัน แต่ไม่แตกแยก ไม่โมโห คุยอะไรก็ใช้เหตุผล เข้าว่า จะผิดจะถูก เราจะได้รู้ตัว พัฒนากันไปอีกขั้น เราตักเตือนคนอื่น คนอื่นก็ย่อมตักเตือนเรา ช่วยเหลือกัน

คนอ่านอย่างผม ก็คอยเก็บเกี่ยวความรู้

     

ตอบโดย: ชาวเขา 21 มิ.ย. 52 - 17:47


อ้างอิง
ความคิดเห็นที่ 42 : (ชาวเขา)

ในฐานะที่ผมเคย คุยกับพี่เฉลิมศักดิ์มา ก็มีทะเลาะบ้างครับตอนนั้นหงุดหงิด แต่ตอนนี้ ธรรมดา
 
ส่วนพี่เฉลิมศักดิ์ติดใจเรื่อง พี่วิชา ติดต่อกับเทวดา คือไม่ใช่ในกระทู้นี้ครับ แต่เป็นกระทู้ที่ พี่วิชา นั่งสมาธิ แล้วติดต่อกับเทวดา หลายองค์ ได้ พี่เฉลิมศักดิ์ติดใจกระทู้ตรงนั้น เลยเอามารวมกับกระทู้นี้ ก็เลยขัดแย้งกัน เพราะคุยกันคนละหัวข้อ ตรงนี้หรือเปล่าที่พี่เฉลิมศักดิ์ เอามาพูดในกระทู้นี้ จนทำให้ประเด็นแตกจนกว้าง

-------------------------------------------------

    ขอบคุณครับ  คุณชาวเขา

ผมอาจจะ post ผิดจังหวะ ผิดเวลาไป

ที่ว่าขัดแย้งกับคุณชาวเขานั้น มีกระทู้หนึ่งครับ

แต่ไม่ใช่การขัดแย้งนะครับ  เรียกว่า การเสนอแนะ ดีกว่าครับ  

ตอบกระทู้ พระไตรปิฏกไม่มีคำตอบการดับทุกข์  โดยคุณชาวเขา
http://larndham.net/index.php?showtopic=32656&st=13

----------------------------------------------


อ้างอิง
หวังว่ากระทู้นี้คงจะไม่ถุกปิดกระทู้นะครับ เพราะผมชอบอ่านไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์หรือภูมิรู้ของคนๆนั้น หรือจะว่าด้วยอธิบายจากพุทธคัมภีร์แล้วหยิบยกตัวอย่าง ผมก้ชอบอ่านเหมือนกัน อีกอย่างก็จะได้มีคนที่ติดปัญหาเข้ามาในกระทู้ หรือบอกเสริมเพิ่มกล่าวให้กระชัดเจนขึ้น ละเอียดขึ้น สมบูรณ์ขึ้น เป็นต้น
จากคุณ : อินทรีย์5


ขอให้มี  วิจารณาในการอ่านประสบการณ์ให้ดีนะครับ  อย่าเชื่อไปทั้งหมด อาศัย  กาลามสูตร และ พระไตรปิฏก อรรถกถา ประกอบด้วย

ยิ่ง ประสบการณ์ส่วนตัว + การอธิบายพระพุทธพจน์ ให้เข้ากับประสบการณ์

โอกาสที่จะเกิด สัทธรรมปฏิรูป สูงมาก ๆ

ตอบโดย: เฉลิมศักดิ์ 22 มิ.ย. 52 - 06:38


อ้างอิง (ชาวเขา @ 21 มิ.ย. 52 - 17:47)


พี่ระนาด ก็เคยบอกผมไม่ใช่หรือครับ ว่าพี่เฉลิมศักดิ์ ถ้าดูดีๆน่ารัก ผมจำได้นะครับ ที่พี่พูด ตอนนี้ลืมไปแล้วหรือเปล่า ว่าพี่เฉลิมศักดิ์ มีเจตนาดี จะผิดจะถูกว่ากันอีกเรื่อง



ตรงนี้พี่ไม่ลืมหรอกครับ   ถ้าคุณเฉลิมศักดิ์จะสนทนากับเพื่อนสมาชิกแบบที่ชาวบ้านชาวเมืองเขาสนทนากันคุณเฉลิมศักดิ์จะน่ารักมากๆครับ    คุณชาวเขาลองเข้าไปดูกระทู้เก่าๆดูก็ได้  แล้วจะเห็นว่า  กระทู้ไหนที่คุณเฉลิมศักดิ์แสดงความเห็นได้ดี  ผมก็เข้าไปชื่นชมคุณเฉลิมศักดิ์ครับ


สำหรับกระทู้นี้ผมต้องเข้ามาทักท้วงคุณเฉลิมศักดิ์ก็เพราะว่า  คุณเฉลิมศักดิ์มักจะเป็นแบบนี้เสมอๆ ( 2 - 3 เดือนออกอาการทีนึง ) จริงๆแล้วจะปล่อยให้ผ่านๆไปก็ได้แต่ถ้าหากสมาชิกทุกคนเอาตามอย่างคุณเฉลิมศักดิ์  ลานธรรมก็คงจะวุ่นวาย  ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ดีแน่ๆ   ผมจึงต้องทักท้วงกันบ้างครับ

 

ตอบโดย: ระนาด 22 มิ.ย. 52 - 08:14


อ้างอิง (เฉลิมศักดิ์ @ 21 มิ.ย. 52 - 14:08)
อ้างอิง
ความคิดเห็นที่ 36 : (กอบ)

คุณเฉลิมศักดิ์ครับ
ถ้าเห็นว่าตรงไหนที่ควรชี้แจง หรือเห็นว่าอาจจะผิดพลาดก็แนะนำกันดี ๆ คุยกันดี ๆ ครับ
หรือเห็นว่าอะไรที่ควรเสริม ก็เสริมกันไปครับ แต่ขอให้อยู่ในสิ่งที่กล่าวในกระทู้นี้นะครับ


    ขอบคุณครับ  ต่อไปผมจะระมัดระวังให้มากขึ้น
 
(เฉลิมศักดิ์ @ 21 มิ.ย. 52 - 14:08)

คุณเฉลิมศักดิ์ได้สัญญากับผมแบบนี้หลายครั้งมาก ๆ แล้วนะครับ
ทั้งใน PM ที่ผมเคยส่งไปหา และในหน้ากระทู้ลานธรรมนะครับ

ขอให้ทำให้ได้สักทีครับ เพราะไม่งั้นผู้ดูแลเค้าคงต้องใช้มาตรการที่รุนแรงขึ้นในการดูแลกระทู้กันครับ
----------------
อันนี้ขอเตือน ๆ กลุ่มที่ชอบทะเลาะ ถกเถียงกันในลานธรรมทั้งหมดนะครับ
ถ้ามีการถกเถียงหรือก่อความวุ่นวายต่าง ๆ ในลานธรรม จนมีปัญหากันนำมาถึงการลบกระทู้ลบความเห็น หรือการตักเตือนอะไรบ่อย ๆ ผู้ดูแลเค้าก็ต้องใช้มาตรการที่รุนแรงขึ้นตามระเบียบของลานธรรมที่วางกันเอาไว้นะครับ เพื่อความสงบเรียบร้อยในลานธรรมครับ

เพราะผู้ดูแลได้ปล่อย ๆ กันมานานมาก ๆ แล้ว เพราะเห็นว่ามีความรู้ด้านปริยัติกันดี น่าจะมีประโยชน์ในการช่วยแนะนำทางปริยัติให้แก่เพื่อนสมาชิกกันได้ แต่พวกท่านทั้งหลายก็ได้นำปริยัติมาถกเถียงกัน มาส่งเสริมทิฏฐิ กดข่มกัน ซึ่งไม่เป็นประโยชน์ต่อเพื่อนสมาชิกทั้งหลาย และแก่ตัวท่านทั้งหลายเองครับ

เมื่อผู้ดูแลปล่อย ๆ ให้ขนาดนี้แล้ว แทนที่จะช่วยกันรักษาความสงบ กลับมานั่งถกเถียงกันเอง บางครั้งในกระทู้ของคนอื่นด้วยซ้ำ ผู้ดูแลจึงต้องทำอะไรสักอย่างครับ เพื่อความสงบเรียบร้อยนั้น ๆ ครับ

------------
ขออโหสิกรรมกับ คุณวิชาครับ ที่มารบกวนกระทู้ครับ

ตอบโดย: กอบ 22 มิ.ย. 52 - 08:43


   สวัสดีครับ คุณชาวเขา คุณระนาด คุณอินทรีย์5  และคุณกอบ.

    ไม่เป็นไรครับคุณกอบ....  เป็นการปรับทิศทางในการสนทนา เป็นให้เป็นระเบียบและอยู่ในขอบเขตที่ควรก็ดีครับ.

    ส่วนคุณเฉลิมศักดิ์  ผมจะชี้ให้เห็นว่าสิ่งใดควรหรือไม่ควร ในเมื่อการสนทนาในข้อกระทู้ยังไม่หมดสิ้น ในการทำความเข้าใจ แต่คุณตั้งอคติไว้ก่อนแล้ว สิ่งนี้แหละคุณควรพิจารณา กิเลสหรือทิฏฐิในใจของคุณให้ดี ก่อนที่จะเสนอความคิดตาม ทิฏฐิที่คุณยึดมั่นออกมา ดังในข้อความนี้ของคุณครับ

 ช่วงที่ 1 (สีน้ำเงิน)
      ขอให้มี  วิจารณาในการอ่านประสบการณ์ให้ดีนะครับ  อย่าเชื่อไปทั้งหมด อาศัย  กาลามสูตร และ พระไตรปิฏก อรรถกถา ประกอบด้วย

  ตรงข้อความด้านบนเป็นการเสนอ ความคิดเห็นที่ดี ในเมื่อยังแครงสงสัยอยู่

  แต่ช่วงที่ 2 (สีแดง)
ยิ่ง ประสบการณ์ส่วนตัว + การอธิบายพระพุทธพจน์ ให้เข้ากับประสบการณ์

โอกาสที่จะเกิด สัทธรรมปฏิรูป สูงมาก ๆ


   ตรงข้อความด้านบนสีแดง เป็นการเสนอข้อมูลด้วยอคติด้วยทิฏฐิที่ยึดมั่นของตนเอง ทั้งที่การสนทนายังหาได้คลาดเคลือนไป หรือผิดไป
   ซึ่งพฤติกรรมนี้ ก็เป็นอคติหรือทิฏฐิ ทำนองเดียวกันในการทักท้วง เรื่องสิ่งไม่ใช่คน ในความคิดเห็นครั้งแรกของคุณเฉลิมศักดิ์  ทั้งที่ยังไม่มีในกระทู้นี้

    ในสิ่งที่ปรากฏให้เห็นในการแสดงความคิดเห็นของคุณเฉลิมศักดิ์ ก็ทำให้ทราบว่า คุณเฉลิมศักดิ์กำลังตั้งตนเป็นอะไรอยู่นะ ลองพิจารณาพฤติกรรมและใจของตนดู นะครับ ว่าควรแก้ไขหรือไม่ควรแก้ไข หรือวางทาทีอย่างไรในที่สาธารณะ.

     ในความคิดเห็นต่อไปผมจะสนทนา ตามหัวกระทู้ต่อนะครับ.

    

ตอบโดย: Vicha 22 มิ.ย. 52 - 09:33


เมื่อคืนนั่งอ่านกระทู้นี้จนจบ พอจบก็หลับไปเลย รออ่านประสบการณ์ของคุณ Vicha อยู่นะครับ

สำหรับประสบการณ์ด้านสมถกรรมฐาน กับวิปัสสนากรรมฐาน นักภาวนาด้วยกันอ่านดูจะรู้ได้ว่าส่วนไหนเป็น ภาวนามยปัญญา ส่วนไหนเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้ปฏิบัติ

เหมือนอย่าง อ. แนบ มหานีรานนท์ พอผมได้อ่านบันทึกการปฏิบัติธรรมของท่าน ก็เห็นด้วยว่า ท่านอุบาสิกา แนบ มหานีรานนท์ "อาจ" จะเป็นสกทาคามี ก็เป็นได้

ตอบโดย: วสวัตตี 22 มิ.ย. 52 - 10:19


สำหรับเรื่องติดต่อเทวดาได้หรือไม่ได้คิดว่าไม่ใช่สาระสำคัญนะครับ เพราะเทวดาก็ไม่ใช่ว่าจะวิเศษกว่ามนุษย์

เทวดาก็เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่เวียนว่ายตายเกิด มีการเกิด มีการเจริญเติบโต เพียงแต่การเติบโตของเขายิ่งเติบใหญ่ก็ยิ่งอ่อนเยาว์ขึ้น

มีการแก่ คือสภาวะที่เครื่องนุ่งห่มทิพย์เศร้าหมอง และมีกลิ่นตัว รวมไปถึงเริ่มมีรัศมีที่เศร้าหมอง และมีการตายคือการจุติ

เทวดาก็ต้องการอาหาร ไม่กินอาหารทิพย์ก็ตาย เทวดาหลับตาก็ตาย โกรธและทะเลาะวิวาทกันก็ตายได้ เทวดาต้องการเสื้อผ้า ถ้าไม่มีเสื้อผ้าใส่  ต่อให้เสวยทิพยสมบัติดุจดังเทวดา เขาก็จัดเป็นเวมานิกเปรตแทนที่จะเป็นเทวดาหรือเรียกอีกอย่างว่าเปรตมีวิมาน

เทวดาก็ต้องการที่อยู่อาศัย ไม่เช่นนั้นก็ต้องเร่ร่อน แทนที่จะถูกเรียกว่าเป็นเทวดา อาจถูกจัดชั้นเป็นอสุรกายไปแทน อย่างเทวดาจำพวกยักษ์และอสูร

พวกเทวดาที่ไร้วิมานถึงได้พยายามติดต่อกับมนุษย์ จะได้มีวิมานจากศาลเพียงตาและศาลพระภูมิที่มนุษย์ตั้งให้
จึงไม่เป็นเรื่องแปลกอันใดที่เทวดาพวกนี้จะมีธุระและพยายามหาเหตุให้ได้ติดต่อกับมนุษย์

อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ ไม่ได้ต้องการจะโต้เถียงแต่อย่างใดแหะๆ ผิดถูกประการใดต้องขออภัยไว้ด้วย  

ตอบโดย: วสวัตตี 22 มิ.ย. 52 - 10:32


ต่อจากความคิดเห็นที่ 39

อ้างอิง
    .... อานาปานสติ กลับมีสติเฝ้าที่จมูกดูลมกระทบ และสามารถให้รู้แจ้งกายทั้งปวงได้ด้วย  แต่ในเมื่อสติยังไม่เจริญขึ้นอย่างดีแบบฉับไว  ก็สามารถใช้หลักการชำเลืองรู้หรือแลดูไปก่อน จนสมาธิ พัฒนาได้อย่างดีขึ้น และสติเจริญขึ้นอย่างชัดเจน ก็จะมีสติแยกกันอย่างได้ฉับไวขึ้น อย่างเท่าทัน.


   ก็หมายความว่าในเมื่อยังไม่เจริญสติได้ดี แต่สมาธินั้นมากกว่าเพราะความเคยชินไปตั้งมั่นที่ฐานหลักคือจมูก ในการปฏิบัติอานาปานสติ

    เพราะอานาปานสตินั้นใช้บริเวณจมูกที่ลมกระทบหรือสัมผัสเป็นฐานหลัก  ซึ่งหลักการปฏิบัติคือเมื่อระลึกได้หรือรู้ตัวหรือทิ้งจากการรับรู้อย่างอื่น สติและความรู้สึกก็จะกลับมาอยู่จมูกหรือบริเวณจมูกรับรู้ลมกระทบสัมผัส

   ส่วนข้อปลีกย่อยในการกำหนดรู้ลมนั้นก็แล้วแต่บุคคลหรือวิธีการปฏิบัต แต่มีข้อห้ามในการปฏิบัติอย่างเดียวคือ  อย่ากำหนดวิ่งตามลม จนเร่งตนเอง หรือบีบตนเองจนให้หายถี่ขึ้นๆ
   ส่วนจะกำหนด ลมแบบ ต้น(จมุก) กลาง(อก) ปลาย(ท้อง) ของความรู้สึกการหายใจ  หรือกำหนดนับเลข ในการหายใจเข้าหรือออกแต่ละครั้ง ก็แล้วแต่รูปแบบและอุบายการฝึกของแต่ท่านแต่ละที่.
 
       จนพัฒนาสมาธิเจริญขึ้นตามลำดับเป็น ขณิกะอย่างแก่ เป็น อุคหนิมิต และอุปจารสมาธิ  ก็ตรงส่วนของการรับรู้การหายนี้เอง.

       หมายเหตุ อุคหนิมิต ของอานาปาสนสตินั้นปรากฏไม่แน่นอนแล้วแต่บุคคล แม้ในบุคคลเดียวกันแต่ปฏิบัติต่างเวลากัน อุคหนิมิต ก็อาจเกิดต่างกัน ตามในหนังสือ วิสุทธิมรรค บางท่านเห็นเป็นคลายสร้อยสังวาร บางท่านเห็นคลายใยแมงมุม บางท่านเห็นคลายดวงดาวที่สว่าง
               สำหรับผมนั้นบางครั้งเห็นเป็นเหมื่อนวิ่งอยู่ในอุโมงที่คิดเคียว ฯลฯ.
               และเมื่อหลุดจากอุคหนิมิต สำหรับผู้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องโดยไม่เผลอ จะกลับมารับรู้ที่ลมหายใจกระทบจมูกต่อ หรือบังเกิดเป็นอุปจารสมาธิ ที่มี นิวร 5 เบาบางมากแต่ อารมณ์ 5 คือ วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข และเอกคตา ปรากฏขึ้นคลุกเคล่าในใจและความรู้สึก

     ตามประสบการของผม เมื่อปฏิบัติมากอย่างนี้แล้ว เป็นขณิกะอย่างแก่ หรืออุปจารสมาธิแล้ว โดยส่วนมากสติและความรู้สึกจะไปจดจองที่บริเวณจมูกรับรู้ลมเป็นสมาธิที่มาก ซึ่งความรู้สึกและสติจะอยู่กับที่ตรงนั้นไม่ยอมเคลือนไปไหนง่ายๆ
      เวลามีอารมณ์อื่นหรือสิ่งอื่นมากระทบก็หาได้มีความสนใจไปรับรู้ จมแช่อยู่ในบริเวณจมูกนั้น เหมือนกับหาได้มีสติว่องไวกับสิ่งที่กระทบ ติดอยู่ในสมาธิ ที่เป็นขณิกะอย่างแก่หรืออุปจารสมาธิ ที่มีอารมณ์คลุกคล้าวด้วย วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข และเอกคตา ที่กายใจมีความสบายเบามีปิติมีสุขและมั่นคง.
   
       แต่ในเมื่อความรู้สึกอันมีสมาธิจมแช่อยู่อย่างนั้นมากเกินควร โอกาสที่จะเจริญเป็นฌาน หรือ อัปปนาสมาธินั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปได้อยาก เพราะกำลังสติน้อยไม่ได้เจริญตามไปด้วย.

   แต่เมื่อผู้ปฏิบัติพัฒนาได้จนถึงพุทธพจน์ตรงส่วนนี้

  ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจเข้า
   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก เป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า


    ด้วยสติที่เจริญขึ้นมาว่องไวขึ้น หาได้จมแช่ความรู้สึกเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งโดยตลอด ก็ย่อมทำให้สมาธิเจริญขึ้น ในระดับฌาน หรืออัปปนาสมาธิได้.

     สำหรับบางท่านที่มีความรู้สึกจมแช่เพื่อรับรู้ลมอย่างเดียว เหมือนกับผมที่ปฏิบัติดูลมติดต่อกันเป็นเวลาถึง 10 กว่าปี  ความรู้สึกและสติแยกออกจากบริเวณจมูกนั้นยากมากๆ จะมีความอึดอัดเมื่อต้องแยกไปมีสติรับรู้ส่วนอื่นของร่างกาย ถ้าฝื่นก็จะเกิดความเครียดโดยไม่รู้ตัว
      ดังนั้นจึงต้องอาศัยหลักการชำเลืองรู้ พัฒนาสติให้เจริญขึ้น ในเมื่อสติหรือความรู้สึกแยกออกจากบริเวณจมูกได้ง่ายขึ้นจนสติว่องไวขึ้น หาได้ปักอยู่ที่บริเวณจมูกเพียงอย่างเดียว.
     จนแยกสติรับรู้ได้ชัดเจนวองไวขึ้น สติก็จะเจริญขึ้น รับรู้ลมที่กระทบสัมผัสได้ละเอียดขึ้น เมื่อทุกอย่างสงบก็จะมารับรู้ลมกระทบได้อย่างดีขึ้น

     เมื่อสงบอย่างเหมาะสมมีสติที่ละเอียดขึ้นมีสติมาธิที่ควรและตั้งมั่นพร้อมทั้งนิวร 5 หมดไป ปฐมฌานก็บังเกิดขึ้นได้โดยไม่ยากแล้ว.

 

ตอบโดย: Vicha 22 มิ.ย. 52 - 10:46


  สวัสดีค่ะ คุณวิชา

    พู่กัน...รู้ถึงลมหายใจเข้าและออก มีความเย็นกระจายขยาย
ไปถึงลำคอ และเป็นอยู่อย่างนั้น...มีความสุขดี แต่ขณะเดียวกัน
ก็รู้ถึงกายเคลื่อนไหว....ที่เป็นปัจจุบัน  อยากถามค่ะ ว่าเจริญสติ
อย่างนี้...ไม่หลงไปนะคะ

   
 

ตอบโดย: พู่กัน 22 มิ.ย. 52 - 11:30


ตอบคุณ พู่กัน

    ยังไม่หลงไปหรอกครับ....  เพราะยังเป็นปกติพื้นฐานทั่วๆ ไป  ในระดับพื้นฐานมีข้อห้ามคือ อย่ากำหนดวิ่งตามลมหายใจ จนบีบร่างกายและการหายใจ.

   แต่ยังเป็นหลายอารมณ์เกินไป

    ถ้าเป็นในสภาวะทำกิจกรรมปกติ ก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติครับ

    แต่ถ้าในขณะตั้งใจปฏิบัติก็ถือว่ามีมากอารมณ์เกินไปครับในช่วงเวลาปฏิบัติ ทำให้เกิดสมาธิแนบแน่นได้ยาก  แต่เมื่อพัฒนาสมาธิดีขึ้น หลายอารมณ์นั้นก็ลดน้อยลงตามกำลังสมาธิ จนเหลือเพียง 1 คือที่ลมหายใจกระทบ.

  

ตอบโดย: Vicha 22 มิ.ย. 52 - 12:13


อ้างอิง
    แต่ถ้าในขณะตั้งใจปฏิบัติก็ถือว่ามีมากอารมณ์เกินไปครับในช่วงเวลาปฏิบัติ ทำให้เกิดสมาธิแนบแน่นได้ยาก  แต่เมื่อพัฒนาสมาธิดีขึ้น หลายอารมณ์นั้นก็ลดน้อยลงตามกำลังสมาธิ จนเหลือเพียง 1 คือที่ลมหายใจกระทบ.


   เข้ามาเสนอข้อมูลต่ออีกนิด เพื่อให้มีความชัดเจนขึ้น จากข้อความ.

     เมื่อพัฒนาสมาธิดีขึ้น หลายอารมณ์นั้นก็ลดน้อยลงตามกำลังสมาธิ จนเหลือเพียง 1 คือที่ลมหายใจกระทบ.

      เหลื่อเพียง 1 คือที่ลมหายใจกระทบ เป็นอย่างไร?

      คือมีสติรับรู้เพียง 1 อารมณ์  แต่มีได้หลายแบบ.. ตามความชัดเจน
   
       แบบที่หนึ่ง รู้ลมสัมผัสแผ่วเบาสติชัดเจนที่ปลายจมูก  เพียงอย่างเดียว
       แบบที่สอง รู้สึกว่า(เวทนา)มีลมละเอียด ออกและเข้าบริเวณจมูก หรือบริเวณที่รับรู้ว่ามีลมออกลมเข้า (หาได้รู้ชัดถึงบริเวณลมกระทบสัมผัส)  เพียงอย่างเดียว
      
       ทั้งสองแบบนี้การรับรู้อย่างอื่น เช่นเสียงที่ได้ยิน ความรู้สึกที่ร่างกาย แม้แต่ความนึกคิด แทบไม่มีและแทบจะไม่รู้สึกแล้ว.

        เมื่อถึงการปฏิบัติได้อย่างนี้  เมื่อประกองรักษาอารมณ์กรรมฐาน และพัฒนาสติได้อย่างถูกต้อง ก็ย่อมได้ปฐมฌานเมื่อเหมาะสม...

      ปัญหาการพัฒนาสติได้อย่างถูกต้อง ตามหลักของอานาปาสนาติ นั้นควรจะเป็นรูปแบบไหน?
       ตามความเข้าใจของผมถ้าเอาตามแบบพระไตรปิฏก  คือในขณะปกติในอริยาบทอื่นๆ ที่ไม่ใช่นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า ก็เพียงให้มีสติสัมปัญญะ รู้ตัวตัวพร้อมในอริยาบทต่าง จนถึงอริยาบทย่อย อยู่ทุกขณะๆ หรือเดินจงกลม มีสติสัมปัญญะในการเคลื่อนอริยบทในการเดินจงกรมนั้น.
       ส่วนการจะกำหนดระยะ วิธีการกำหนดอย่างไร ก็แล้วแต่รูปแบบของแต่ละที่แต่ละสำนัก
       การเดินจงกรมนั้นทำให้สติดีขึ้นและเลือดลมเคลื่อนย้ายได้สะดอก  ดังนั้นเมื่อกลับมานั่งคู้บัลลังก์ ก็จะทำให้สติละเอียดและวองไวขึ้น และด้วยกำลังสามาธิที่มั่นคงแล้ว ก็ย่อมทำให้ ปฐมฌาน ปรากฏขึ้นได้.
  

ตอบโดย: Vicha 22 มิ.ย. 52 - 14:59


ครับ

เผื่อใครเข้ามาอ่าน post นี้ ผมอาจจะ refer ไปที่ หลายๆคนนะครับแต่ไม่ได้ต่อว่าอะไร

คือช่วงนี้ ทั้งผมและคุณ กอบ ก็เหนื่อยในการตามอ่านและ เกรงใจหลายๆฝ่ายมากในการที่จะ เตืิอน ห้ามปราม ลบ ปิดกระทู้

พวกผมก็ยังเห็น ประโยชน์ ของหลายๆท่านที่ post กันมา อย่างเช่นคุณเฉลิมศักดิ์ คุณศิรัสพล ถ้าไม่มีคุณมา queryและ post เรื่องใน คัมภีร์ต่างๆ ผมคงไม่มีโอกาสได้เห็นเลยในชีวิต เพราะการที่จะไปตามอ่านพระไตรปิฎกผมทำไม่ได้จริงๆและไม่มีความสามารถ

หรือประสบการณ์ตรงจากพี่วิชา ก็ทำให้ผมมั่นใจในสิ่งที่ฝึกหัดว่าบางอย่างไม่อยู่ในคัมภีร์ แต่ก็มีจริง

แล้วก็เห็นประโยชน์ของคุณ mes ที่พยายามจะสื่อสารเตือน แต่เป็นการเตือนแบบแรงไปหน่อย

คือ case ของพวกเราที่คุยกันตอนนี้หนะ ถืิอว่ายังเบากว่าพวก ที่ผมไม่อยากเอ่ยถึงมากครับ
แต่เป็น case ที่ต้องใช้การ พิจารณาสูงมาก เพราะไม่ใช่การฟันธงแบบผิดจริงถูกจัง

อีกประเด็นหนึ่งที่เราต้องเข้มงวดขึ้นคือ ตาม record larndham กว่า 10 ปีแล้ว มีพวกที่เข้ามาป่วนแบบสุดๆเช่นมาจาบจ้วงผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ซึ่งเราสามารถ trace ได้ว่า คนเหล่านั้นได้รับผลกรรมไปแล้วจริงๆเช่น เป็นมะเร็ง เป็นโรคร้ายที่หาได้ยากมาก หรือเสียชีวิตไปแล้วหลายรายด้วยอุบัติเหตุ หรือ อย่างน้อยจิตใจมืดทึบ ซึ่งตอนแรกๆพวกผู้ดูแลก็ไม่ได้คิดอะไรมาก แต่พอมี stats confirm มากขึ้นเรื่อยๆเรารู้สึกว่า web นี้เป็น web ที่มีการให้ผลจริงและรุนแรงตามกรรมด้าน บวก และ ลบที่ทำ

พวกเราก็ไม่อยากให้ใครเป็นอะไรอีก

 

ตอบโดย: ake 22 มิ.ย. 52 - 17:44


ในการกระทู้นี้พูดคุยถึงการรู้ลมใช่ไหมครับ
ผมมีคำถามครับ คุณ Vicha
 การรู้ลมไปเพียวๆกับการรู้ลมแล้วนับเลข 1-5 1-6 1-7 1-8 1-9 1-10 แล้วกลับมา 1-5
(หรือบริกรรมแบบอื่น)

ในแง่ของการทำสมถะมีความแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไรครับ

ขอความกรุณาด้วยครับ

ตอบโดย: ธรรมชาติธรรมะ 22 มิ.ย. 52 - 18:04


ตอบคุณ ธรรมชาติธรรมะ

    ในระดับเบื้องต้นนั้นได้ทั้งสองแบบ  ทั้งมีสติรู้เพียวๆ และการนับหรือบริกรรมเพื่อให้สมาธิตั้งมั่น  ซึ่งอยู่ในเขตของสมถะครับ

    แต่ถ้าดำเนินตามพุทธพจน์ตรงๆ แล้วมีสติรู้เพรียวๆ ครับ

    และประสบการณ์ของผมเองในบางครั้งก็อาศัยคำภาวนากับลมหายใจ เพื่อเข้าสมาธิ  ในบางครั้งก็ไม่ต้องอาศัยคำภาวนา ใช่สติและความรู้สึกล้วนๆ เพ่งลมที่กระทบสัมผัส จนลงสู่สมาธิ ไปตามลำดับ.

    หมายเหตุ ในภายหลังไม่ว่าจะเพ่งส่วนใดเป็นฐาน(อาจจะกำหนดคำภาวนาหรือไม่กำหนดคำภาวนา) อย่างใดในที่สุดก็เข้าสมาธิเมื่อตั้งใจไม่รับรู้สิ่งภายนอกเพียง 5 - 10 นาที ก็ตัดความรู้สึกด้านนอกอยู่ในสภาวะกึ่งหลับไป 10-15 นาที่แล้วครับ แต่ต้องอยู่ในสภานที่เฉพาะตนนะครับ
 
 

ตอบโดย: Vicha 22 มิ.ย. 52 - 19:33


ขอบคุณครับ คุณ Vicha  
ผมตามรู้(อาจไม่เรียกว่าตามรู้) จะมีบางครั้งที่ถึงจุดที่ ลมจะเข้าออกแบบช้าๆ
แต่ใกล้เคียงกับความเป็นธรรมชาติของลมเอง
เหมือนลมแสดงความเป็นไปของมัน แสดงสภาวะของลม
ความไม่เที่ยงของลมก็ปรากฏโดยที่ไม่ต้องถามหา
แต่จิตยังไม่ตั้งมั่นเด่นเป็นผู้รู้ชัดเจน

ผมอาศัยแรงบันดาลใจจากคุณดังตฤณครับ(ส่วนหนึ่ง)
รวมถึงก็พอจะถูกจริตกับเรื่องของการรู้ลม

ก็เล่าให้ฟังครับ

 

ตอบโดย: ธรรมชาติธรรมะ 22 มิ.ย. 52 - 19:49


คือ case ของพวกเราที่คุยกันตอนนี้หนะ ถืิอว่ายังเบากว่าพวก ที่ผมไม่อยากเอ่ยถึงมากครับ
แต่เป็น case ที่ต้องใช้การ พิจารณาสูงมาก เพราะไม่ใช่การฟันธงแบบผิดจริงถูกจัง


ที่คุณ ake กล่าวถึง เป็น case และพวกอะไรหรือครับ จะได้ระวังที่จะไม่กล่าวถึงหรือนำมาโพส  

ตอบโดย: วสวัตตี 23 มิ.ย. 52 - 01:20


อ้างอิง
ความคิดเห็นที่ 56 : (ธรรมชาติธรรมะ)


ในการกระทู้นี้พูดคุยถึงการรู้ลมใช่ไหมครับ
ผมมีคำถามครับ คุณ Vicha
 การรู้ลมไปเพียวๆกับการรู้ลมแล้วนับเลข 1-5 1-6 1-7 1-8 1-9 1-10 แล้วกลับมา 1-5
(หรือบริกรรมแบบอื่น)

-------------------------------------

เพิ่มเติมรายละเอียด ในการนับลม จากคัมภีร์ วิสุทธิมรรค ครับ (ช่วงรอ คุณวิชา)

http://www.larnbuddhism.com/visut/2.15.html#076

 พึงนับซึ่งลมออกลมเข้าด้วยกิริยาอันนับช้าชื่อว่าธัญญามาปกคณนา ดังคนนับตวงข้าวเปลือกนั้น แท้จริงอันว่าบุคคลตวงข้าวเปลือกนั้นเอาทะนานตวงขึ้นซึ่งข้าวเปลือกให้เต็ม แล้วนับว่า ๑ จึงเทลง ครั้นแล้วจึงตวงขึ้นใหม่ เห็นหยากเยื่ออันใดอันหนึ่งติดขึ้นมาก็เทข้าวทะนานนั้นเสียบ่มิได้เอา จึงนับว่า ๑ ไป แล้วตวงขึ้นมาใหม่นับว่า ๒ แล้วก็เทตวงขึ้นอีกเล่า ครั้นเห็นหยากเยื่ออันใดอันหนึ่งติดขึ้นมาก็มิได้เอา เทข้าวทะนานนั้นเสียจึงนับว่า ๒ อีกเล่า ตราบเท่าจนถึง ๑๐ แลมีฉันใด พระโยคาพจรกำหนดนับซึ่งลมอัสสาสะปัสสาสะนั้น ถ้าลมหายใจออกหายใจเข้าอันใดปรากฏแจ้ง ก็ให้นึกนับเอาซึ่งลมอันนั้นว่า ๑, ๒ เป็นต้น ไปตราบเท่าจนถึง ๑๐ ๆ ดังคนอันนับตวงข้าวเปลือกแลนับซึ่งข้าวอันเทลงนั้น

   ว่าโดยเนื้อความพิธีวตกุมภาราม ท่านให้นับลมอัสสาสวาตะก่อน ให้นับลมปัสสาสวาตะที่ ๒ คือนับเป็นคู่ ๆ ไปจนถึง ๑๐ คู่ ให้นับว่าลมออก ๑


--------------------------------------

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑
มหาวิภังค์ ภาค ๑

ทรงแสดงอานาปานสติสมาธิกถา


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=7493&Z=7552


อรรถกถา

ถามว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอย่างไร
?

http://larndham.net/index.php?showtopic=34303&per=1&st=41&#entry591721

 

ตอบโดย: เฉลิมศักดิ์ 23 มิ.ย. 52 - 06:42


อ้างอิง (Vicha @ 22 มิ.ย. 52 - 19:33)

    ในภายหลังไม่ว่าจะเพ่งส่วนใดเป็นฐาน(อาจจะกำหนดคำภาวนาหรือไม่กำหนดคำภาวนา) อย่างใดในที่สุดก็เข้าสมาธิเมื่อตั้งใจไม่รับรู้สิ่งภายนอกเพียง 5 - 10 นาที

ก็ตัดความรู้สึกด้านนอกอยู่ในสภาวะกึ่งหลับไป 10-15 นาที่แล้วครับ แต่ต้องอยู่ในสภานที่เฉพาะตนนะครับ



ตอนที่คุณวิชาอยู่ในสภาวะกึ่งหลับ 10 - 15 นาที   ภาพต่างๆที่คุณวิชาเห็นในตอนนั้นเป็นภาพที่เป็นสิ่งที่ถูกรู้ถูกดู   ตัวคุณวิชาเป็นผู้ดูอยู่ห่างๆ.......แบบนี้ใช่ไหมครับ


  ถ้าใช่........ผมขออนุญาตเรียนถามคุณวิชาว่า  " อาการตัดความรู้สึกด้านนอกอยู่ในสภาวะกึ่งหลับ "  สภาวะนี้เรียกว่าอะไรครับ  และมีข้อดีหรือข้อเสียหรือไม่ครับ  ( ผมจะเข้ามาพักผ่อนในสภาวะนี้ตอนบ่ายเป็นประจำทุกวัน )

                        ----------------------------------------

หมายเหตุ    ถ้าเราหลับแล้วฝันไป   ความฝัน = เราจะเป็นผู้แสดงอยู่ในภาพเหล่านั้น
 

ตอบโดย: ระนาด 23 มิ.ย. 52 - 08:48


สวัสดีครับ คุณธรรมชาติธรรมะ คุณวสวัตติ คุณระนาด

   ผมขอตอบคำถามที่คุณระนาดถามนะครับ.

อ้างอิง
     ตอนที่คุณวิชาอยู่ในสภาวะกึ่งหลับ 10 - 15 นาที   ภาพต่างๆที่คุณวิชาเห็นในตอนนั้นเป็นภาพที่เป็นสิ่งที่ถูกรู้ถูกดู   ตัวคุณวิชาเป็นผู้ดูอยู่ห่างๆ.......แบบนี้ใช่ไหมครับ


     ไม่มีภาพ ไม่มีความฝัน เสมือนไม่รับรู้สิ่งอื่นใด คล้ายหลับสนิท อยู่ในช่วงเวลานั้น

  แต่ก่อนช่วงนั้นก่อนสภาวะนั้น อาจจะมีภาพมีนิมิตเกิดขึ้น ก็ไม่ได้สนใจ แล้วทิ้งไปสู่สภาวะกึ่งหลับนั้นเอง

  หรือหลังสภาวะกึ่งหลับนั้น ผลิกขึ้นมารับรู้ความรู้สึก แต่ยังไม่รับรู้สัมผัสภายนอกทางร่างกาย หรือเสียง เป็นความรู้สึกล้วนๆ  หลังจากนั้นจะเกิดภาพหรือไม่เกิดก็ได้ หรืออาจจะอยากหลับไปใหม่ แล้วค่อยมารับรู้สัมผัสภายนอกทางร่างกาย หรือได้ยินเสียงข้างนอก ค่อยๆ ชัดเจนขึ้น.


อ้างอิง
  ผมขออนุญาตเรียนถามคุณวิชาว่า  " อาการตัดความรู้สึกด้านนอกอยู่ในสภาวะกึ่งหลับ "  สภาวะนี้เรียกว่าอะไรครับ  และมีข้อดีหรือข้อเสียหรือไม่ครับ  ( ผมจะเข้ามาพักผ่อนในสภาวะนี้ตอนบ่ายเป็นประจำทุกวัน )


    ตอบ น่าจะเรียกว่า "อัปปนาสมาธิ" ก็ได้นะครับ  เพราะไม่มีอารมณ์หรือความรู้สึกอื่นปนอยู่เลยครับ
       ในเมื่อไม่พัฒนากรรมฐาน เพื่อให้สติสมาธิเจริญยิ่งขึ้น ก็ใช้ในการพักผ่อนในระหว่างวันได้ดีครับ เช่นในตอนพักเที่ยง หรือยามว่างได้ดีพอประมาณ
       แต่ถ้าฝืนทำอย่างนี้มากไป ก็จะเลี้ยนๆ ไป และจะเบื่อหน่าย ถ้ายังฝืนปฏิบัติธรรมต่อ ก็จะเกิดสภาวะ รูปนามเกิดดับปรากฏขึ้น ชัดเจน ครับ.

   

ตอบโดย: Vicha 23 มิ.ย. 52 - 09:24


รู้ว่ากำลังหายใจอยู่   .....แรกๆยาก
แรกๆก็หาวิธีภาวนาไปก่อน

ตอบโดย: eakanui 23 มิ.ย. 52 - 10:31


สวัสดีครับด้วยคนครับทุกๆท่าน

อยากให้คุณระนาดบรรยายถึงสภาวะดังกล่าวโดยละเอียดยิ่งขึ้นครับ เพราะการตัดขาดโลกภายนอกและเหมือนกึ่งหลับ อ่านดูแล้วยังคลุมเครืออยู่นิ๊ดนึง

อาจเป็นอัปปนาสมาธิดังที่คุณ Vicha กล่าวไว้ก็ได้ แต่ดูเหมือนว่าจะเป็นอัปปนาสมาธิเพียงครู่เดียวและอาจจะตกภวังค์ไปแล้ว

ตอนช่วงที่ตกภวังค์ อารมณ์ภายนอกยังไม่มารบกวนจิตใจ ตอนนี้แค่เดาๆน่ะครับ ลองบรรยายเพิ่มเติมให้พวกผมฟังเป็นวิทยาทานดูนะครับ อนุโมทนาสาธุการล่วงหน้าครับ

ตอบโดย: วสวัตตี 23 มิ.ย. 52 - 10:38


ค้นมาให้สำหรับคนชอบลมครับ

http://board.palungjit.com/f4/หายใจให้เป็นสุข-สมเด็จพระญาณสังวร-167609.html#post1779509

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 23 มิ.ย. 52 - 11:57


อ้างอิง (วสวัตตี @ 23 มิ.ย. 52 - 10:38)


อยากให้คุณระนาดบรรยายถึงสภาวะดังกล่าวโดยละเอียดยิ่งขึ้นครับ เพราะการตัดขาดโลกภายนอกและเหมือนกึ่งหลับ อ่านดูแล้วยังคลุมเครืออยู่นิ๊ดนึง

อาจเป็นอัปปนาสมาธิดังที่คุณ Vicha กล่าวไว้ก็ได้ แต่ดูเหมือนว่าจะเป็นอัปปนาสมาธิเพียงครู่เดียวและอาจจะตกภวังค์ไปแล้ว


ก่อนอื่นผมขอขอบคุณคุณวิชาสำหรับคำตอบครับ
                  -----------------------------------

สวัสดีครับคุณวสวัตตี

ตอนบ่ายๆผมจะพักผ่อนโดยดูความรู้สึกภายในร่างกาย ( ไม่ใช่ดูความรู้สึกภายนอก )  คือ

... รู้ความรู้สึกที่ร่างกายกำลังหายใจเข้าและออก ( รู้อาการพองขึ้น - ยุบลงของหน้าอก )
...รู้ความรู้สึกที่ร่างกายกำลังนั่ง.... รู้ความรู้สึกตามแขนตามขา...รู้ความรู้สึกที่ร่างกายกำลังทรงตัว ...รู้ความรู้สึกไปทั่วทั้งตัว

เมื่อรู้ความรู้สึกทั่วทั้งตัวแล้ว  จึงทำให้ผมเห็นอารมณ์ในใจในขณะนั้น

เมื่อผมเห็นอารมณ์ในใจ  ผมจะรู้สึกผ่อนคลายทางร่างกายเกิดขึ้น

เมื่อผมรู้สึกว่าร่างกายผ่อนคลายลง   ผมก็มีความสุขเพิ่มขึ้น

เมื่อผมมีความสุขเพิ่มมากขึ้น  ร่างกายก็ผ่อนคลายลงไปอีก  ผมก็มีความสุขมากขึ้นไปอีก ........เรื่อยๆไป

 (ทั้งการผ่อนคลายทางร่างกายและความสุขในใจ  ต่างก็เป็นกำลังส่งเสริมกันและกัน)

เมื่อมีความผ่อนคลายและมีความสุขมากจนถึงจุดๆหนึ่ง  ผมจะเห็นภาพต่างๆเกิดขึ้น  โดยที่ผมก็ยังรู้ความรู้สึกทางกาย  และรู้ความสุขในใจ  ควบคู่กันไป  ภาพที่เห็นก็เปลี่ยนแปลงไปต่างๆนานา  เหมือนกับว่า  ภาพเหล่านั้นไม่มีใครเป็นเจ้าของ  ผมดูภาพเอาไว้เฉยๆ... ( ตรงนี้เองที่ผมเรียกว่า .... เห็นภาพเป็นสิ่งที่ถูกรู้ถูกดู )

 จุดที่ผมแตกต่างจากคุณวิชาคือ  ผมรู้ความรู้สึกทั้งทางกายและทางใจ  อยู่ตลอดเวลาครับ รถแล่นผ่านไปผ่านมาผมก็ได้ยิน  แล้วถ้ามีคนมาเรียกผม  ผมก็ลุกขึ้นมา พูดคุยได้ตามปกติ


 หมายเหตุ..... ถ้าผมหลับแล้วฝันไป  ผมจะไม่รู้ความรู้สึกทางร่างกาย และ ไม่รู้ความสุขในใจ   เวลาฝัน  ผมก็เห็นภาพเสมือนกับว่า  ตัวผมเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ตามภาพนั้นๆ

ตอบโดย: ระนาด 23 มิ.ย. 52 - 12:20


สวัสดีครับ คุณวสวัตตี คุณeakanui  คุณบุญรักษ์  และคุณระนาด.

  เป็นอันว่าในความคิดเห็นที่ 66 นั้นผมสามารถบอกระดับสมาธิ ที่คุณระนาดสัมผัสได้แล้ว

อ้างอิง
      เมื่อมีความผ่อนคลายและมีความสุขมากจนถึงจุดๆหนึ่ง  ผมจะเห็นภาพต่างๆเกิดขึ้น  โดยที่ผมก็ยังรู้ความรู้สึกทางกาย  และรู้ความสุขในใจ  ควบคู่กันไป  ภาพที่เห็นก็เปลี่ยนแปลงไปต่างๆนานา  เหมือนกับว่า  ภาพเหล่านั้นไม่มีใครเป็นเจ้าของ  ผมดูภาพเอาไว้เฉยๆ... ( ตรงนี้เองที่ผมเรียกว่า .... เห็นภาพเป็นสิ่งที่ถูกรู้ถูกดู )


   เป็นช่วงที่นิมิตบังเกิดขึ้น  เสมือนเหมือนเราเป็นผู้รู้เป็นผู้ดูนิมิต อ้นเป็นรูปเป็นเรื่องราวนั้นโดยไม่ได้จงใจ ผุดขึ้นมาให้เห็นเอง ใจก็ไม่ปรุงแต่งเบาผ่อนคลาย แต่เสมือนยังไม่ได้หลับ ยังรู้สึกที่ร่างกาย ได้ยินเสียง แต่เสมือนไม่สนใจ
    และหาได้สนใจในรูปหรือนิมิตนั้นด้วย แต่ประกองใจอยู่ในสภาวะเบาผ่อนคลายคล้ายๆ มีสุขเล็กๆ น้อยๆ ล่อเลี้ยงอยู่.

    ถ้าจัดระดับสมาธิเป็น    ขณิกะ  อุปจาร  และอัปปนา
          จัดได้ว่าอยู่ระหว่าง ขณิกะ กับ อุปจารสมาธิครับ

    ถ้าจัดระดับสามธิตามนิมิตเป็น  นิมิต  อุคหะนิมิต  อุปจารสมาธิ
           จัดได้ว่าอยู่ระหว่าง  นิมิต กับ อุคหะนิมิต

          เป็นช่วงที่ วิตก วิจารย์ ปีติ สุข และอารมณ์พอจะเป็นหนึ่ง(เอกคตา) ล่อเลี้ยงบังเกิดขึ้นมาบ้าง แต่นิวรณ์ ต่างๆ ยังคงมีอยู่

          ถ้าบังเกิดเหมือนภาพนั้นนิ่งเองและคงอยู่นานเหมือนโดนบล็อกไว้ โดยไม่ได้จงใจหรือสนใจ หลังจากนั้นก็เปลี่ยนไป ก็จะเป็นสิ่งสังเกตุให้ทราบว่า อุคหะนิมิต ได้ปรากฏบ้างแล้ว ใกล้กับอุปจารสมาธิ.

            แต่ตามหลักของอานาปานสติ นั้นไม่ต้องสนใจนิมิตว่าเป็นอะไรหรืออย่างไร เมื่อนิมิตหายหรือความเบาสบายนั้นคลายมารู้สึกตัวก็ให้มีสติรู้ลมหายใจต่อ

             คือมีลมหายใจสัมผัสหรือรู้สึกเป็นฐานหลัก ของกรรมฐานนั้นเอง.
 
           

ตอบโดย: Vicha 23 มิ.ย. 52 - 14:17



ขอบคุณ  คุณวิชาครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 23 มิ.ย. 52 - 15:55


อนุโมทนาสาธุครับ

ผมมีอาการคล้ายคุณระนาด บ่อยครั้งครับ

เห็นภาพมันเป็นไปเองเหมือนนั่งดูละคร กับทั้งได้ยินเสียงภายนอกเป็นปกติ ใครเรียกก็สามารถลุกขึ้นได้เลย เป็นปกติ แต่จะมีเป็นเหน็บชาบ้างครับ

อยากสอบถามเพิ่มเติมตรงที่อาการเหน็บชา จะแก้ไขอย่างไรได้บ้างครับ

ขอบคุณครับ

เจริญในธรรม

ตอบโดย: doyjaar 23 มิ.ย. 52 - 22:56


กราบเรียนถามพี่วิชาแลพี่ระนาด

ภาพที่เห็นนั้น  อะไรเป็นสิ่งที่เข้าไปเห็น ครับ

ภาพที่เห็นนั้น เกิดขึ้นได้เพราะอะไรเป็นสาเหตุ ครับ

 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 24 มิ.ย. 52 - 06:17


อ้างอิง (ปล่อยรู้ @ 24 มิ.ย. 52 - 06:17)
กราบเรียนถามพี่วิชาแลพี่ระนาด

ภาพที่เห็นนั้น  อะไรเป็นสิ่งที่เข้าไปเห็น ครับ

ภาพที่เห็นนั้น เกิดขึ้นได้เพราะอะไรเป็นสาเหตุ ครับ

 
สวัสดีครับ   คุณปล่อยรู้

 
เนื่องจากภาพที่เห็นเป็นสิ่งที่ถูกรู้ถูกดู    พี่ก็จะเห็นความไม่มีเจ้าของ( อนัตตา )  ของความรู้สึกต่างๆ ( กาย - ใจ ) ได้ง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ความนึกความคิดเข้ามาเกี่ยวข้อง    หรือเรียกอีกอย่างว่า  พี่เอาการดูภาพเป็นเครื่องมือในการเห็นไตรลักษณ์ของกาย - ใจ ก็ได้ครับ
                 --------------------------------------------

ดังนั้น คำถามว่า   ภาพที่เห็นนั้น  อะไรเป็นสิ่งที่เข้าไปเห็น

( สำหรับตัวพี่เองแล้ว )  คำตอบคือ....ไม่มีอะไรเป็นสิ่งที่เข้าไปเห็น  แต่เป็นสภาวะธรรมที่ต่างก็ เกิดขึ้น  ตั้งอยู่  ดับไป ครับ    ตัวเราก็ไม่มี  ... มีแต่ความรู้สึกต่างๆหลายๆชนิด   ที่ต่างคนต่างก็ทำงานไป  ของใครของมัน  ( กายก็ทำงานไป ..... ใจก็ทำงานไป....ภาพๆต่างก็เปลี่ยนแปลงไป )
                  -------------------------------------------

ภาพที่เห็นนั้น  เกิดขึ้นได้เพราะอะไรเป็นสาเหตุ

คำตอบคือ.....เกิดจากการทำงานร่วมกันของกาย - ใจครับ   อธิบายง่ายๆก็คือ  ก็ทำนองเดียวกันกับ  เวลาที่เรากระทบอากาศเย็น  เราจะรู้สึกหนาว  ใจก็รู้สึกวาบๆ  ความรู้สึกหนาว และ  ความรู้สึกที่ใจวาบๆ เกิดขึ้นได้เพราะอะไรนั่นเเหละครับ   ( กาย - ใจ เป็นเครื่องชีวจักรกลชนิดหนึ่งนั่นเองครับ )

                        -------------------------------------

หมายเหตุ............พี่เห็นกาย - ใจ แยกออกเป็นส่วนๆได้ ในระยะเวลาสั้นบ้างยาวบ้าง  แต่ยังไม่สามารถจะเห็นกาย - ใจ ไม่ใช่ตัวเรา  ไม่ใช่ของเรา  อย่างถาวรครับ

 

ตอบโดย: ระนาด 24 มิ.ย. 52 - 08:01


อ้างอิง (doyjaar @ 23 มิ.ย. 52 - 22:56)
อนุโมทนาสาธุครับ

ผมมีอาการคล้ายคุณระนาด บ่อยครั้งครับ


อยากสอบถามเพิ่มเติมตรงที่อาการเหน็บชา จะแก้ไขอย่างไรได้บ้างครับ


สำหรับตัวผมเอง   ถ้าผมเป็นเหน็บจนรู้สึกว่า .... ทนไม่ไหวแล้ว  ผมจะเปลี่ยนท่านั่งครับ

พอเปลี่ยนท่านั่ง....หายเจ็บ / สักพักหนึ่ง  ค่อยๆมีความเจ็บแทรกเข้ามาในขาอีก / เปลี่ยนท่านั่ง.....หายเจ็บ / สักพักหนึ่ง  จะค่อยๆมีความเจ็บแทรกเข้ามาในขาอีก ....เปลี่ยนท่านั่งอีก   แบบนี้ไปเรื่อยๆ

.......... ผมปฏิบัติแบบนี้จนย่างเข้าปีที่ 14 - 15   ผมก็เห็นความเจ็บเป็นสิ่งที่แทรกเข้ามาในขา  คือว่า  ขาเป็นส่วนหนึ่ง และ ความเจ็บเป็นอีกส่วนหนึ่งครับ ( ขาไม่ได้เจ็บ  แต่ว่าความเจ็บมันแทรกตัวเข้ามาอยู่ในขา )

แต่ตอนก่อนหน้านั้น  ผมจะรู้สึกว่าขามันเจ็บครับ

ตอบโดย: ระนาด 24 มิ.ย. 52 - 08:31


สวัสดีครับ คุณระนาด คุณ doyjaar คุณปล่อยรู้

   ผมขอตอบคำถามของคุณ doyjaar ก่อน นะครับ (คุณระนาด ก็ตอบได้ดีในระดับหนึ่งแล้วครับ).

อ้างอิง
    อยากสอบถามเพิ่มเติมตรงที่อาการเหน็บชา จะแก้ไขอย่างไรได้บ้างครับ


    วิธีแก้ จากประสบการณ์  แยกได้เป็น 3 อย่าง ดังนี้.

      1. เปลี่ยนอริยาบทแล้วมีสติสังเกตุรู้สภาวะที่เกิดขึ้น คล้ายที่คุณระนาดเสนอครับ
      2. เพิ่มความเพียรในการนั่ง จาก 15 นาที่ เป็น 30 นาที่ เป็น 1 ชั่วโมง เป็น 2 ชั่วโมง สำหรับผมเพียรนั่งนานที่สุดในชีวิตที่ผ่านมา ประมาณ 4-5 ชั่วโมง เมื่อปรับมานั่งเพียง 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง จึงไม่มีปัญหาเรื่องความแหน็บชา ถ้ามีก็ถือว่าเป็นสิ่งเล็กน้อย
      3. เจริญสมาธิที่สูงขึ้น เช่น อุปจารสมาธิ หรือ ฌาน แล้วรักษาอารมณ์อยู่ได้นาน ความแหน็บชานั้นก็จะไม่เกิดขึ้น หรือมีอยู่แต่ไม่มีผลต่อจิตใจในช่วงนั่งกรรมฐานอยู่

  

ตอบโดย: Vicha 24 มิ.ย. 52 - 08:54


นิมิตที่เกิดจากสมาธิ  ที่หลาย ๆ คนเห็นและไปรู้นั้น

จะรู้ได้อย่างไรว่า   นั้นเป็นเพียงนิมิต  นั้นเป็นเพียงญาณ

ตรงนี้มีข้อสังเกตุให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างไรครับ  หลาย ๆ คนไปคิดว่านิมิตคือญาณ  บางคนได้ญาณอาจจะคิดว่าเป็นเพียงนิมิต

เพื่อคนที่ชอบด้านสมาธิหลาย ๆ คนจะได้สังเกตุและผ่านมันไปให้ได้ครับ

ตอบโดย: น้องบู 24 มิ.ย. 52 - 09:01


ตอบ คำถามของคุณปล่อยรู้นะครับ.

อ้างอิง
 กราบเรียนถามพี่วิชาแลพี่ระนาด

ภาพที่เห็นนั้น  อะไรเป็นสิ่งที่เข้าไปเห็น ครับ

ภาพที่เห็นนั้น เกิดขึ้นได้เพราะอะไรเป็นสาเหตุ ครับ


     ภาพที่เห็นนั้น ใจเป็นผู้รู้เป็นผู้เห็นเป็นมโนภาพ แต่ใจนั้นหาได้มีเจตนาไปรู้มีเจตนาไปเห็น เกิดขึ้นแล้วเปลี่ยนไปตามสภาพของมัน.

     ภาพที่เห็นนั้น เกิดขึ้นได้เพราะอะไรเป็นสาเหตุ?  สาเหตุเพราะเริ่มมีสมาธิ ใจเริ่มเป็นหนึ่ง การรับรู้ภายนอกลดลงในระดับหนึ่ง รักษาอารมณ์ที่สบาย หรือปลอดโปร่ง หรือสุขเล็กๆ น้อยไว้ หรือรักษาใจที่เริ่มเป็นหนึ่งไว้  ภาพเหล่านั้นก็จะทยอยปรากฏขึ้นมาเอง โดยที่ไม่จงใจหรือไม่เจตนา เกิดเป็นมโนภาพ เป็นการปรุงแต่งของใจนั้นเอง.

     มโนถาพเหล่านี้ปรากฏกับเมื่อผมเมื่อใจเริ่มจะเป็นหนึ่งแล้ววางใจรู้เฉยๆ รักษาอารมณ์นั้นไว้ ก็จะปรากฏภาพหรือมโนภาพ ทยอยออกมามากมายๆ เหมือนไม่มีสิ้นสุด เมื่อผมอายุประมาณ 16 ปี ก็ประมาณ 34 ปีมาแล้ว.

     ผมก็เคยคิดเหมือนกันในสมัยเด็กๆ นั้นว่า เอ่. มันเป็นอะไรมันมาจากไหนทำไมมากมายไม่จบไม่สิ้น แต่ก็เลิกสนใจเพราะไม่เป็นเรื่องเป็นราวเป็นสาระ เหมือนจิตปรุงแต่งสร้างเรื่องสร้างภาพขึ้นมาเอง จึงกลับมากำหนดลมหายใจ พุท-โธ ต่อ แล้วเลิกสนใจภาพเหล่านั้นแม้จะปรากฏให้ทราบก็ตาม เมื่อปฏิบัติมากเข้า กลายเป็นมีสติและความรู้สึกตั้งอยู่ที่บริเวณจมูกเสียส่วนมาก มโนภาพเหล่านั้นจึงปรากฏได้ไม่นานก็เปลี่ยนไปเป็นสมาธิที่เป็นหนึ่งขึ้น.

ตอบโดย: Vicha 24 มิ.ย. 52 - 09:19


อ้างอิง (น้องบู @ 24 มิ.ย. 52 - 09:01)
นิมิตที่เกิดจากสมาธิ  ที่หลาย ๆ คนเห็นและไปรู้นั้น

จะรู้ได้อย่างไรว่า   นั้นเป็นเพียงนิมิต  นั้นเป็นเพียงญาณ

ตรงนี้มีข้อสังเกตุให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างไรครับ  หลาย ๆ คนไปคิดว่านิมิตคือญาณ  บางคนได้ญาณอาจจะคิดว่าเป็นเพียงนิมิต

เพื่อคนที่ชอบด้านสมาธิหลาย ๆ คนจะได้สังเกตุและผ่านมันไปให้ได้ครับ


สำหรับตัวผมนะ

ผมภาวนาเพื่อเห็นไตรลักษณ์ของกาย และ ใจ ( เห็นด้วยความรู้สึกตัว ไม่ใช่การใช้ความคิด )

ภาพต่างๆที่ผมเห็นในขณะภาวนา  จะช่วยให้ผมเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของกาย - ใจ ได้ง่ายขึ้น  เห็นไตรลักษณ์ได้ดีขึ้น

ฉะนั้น  ภาพเหล่านี้จึงเป็นเครื่องมือที่ผมนำมาใช้ในการดูไตรลักษณ์   ผมจึงไม่สนใจว่าภาพนิมิตรนั้นเป็นญาณหรือไม่เป็นญาณครับ (ใช้รถยี่ห้ออะไรก็ได้  ขอให้ขับไปถึงที่หมายคือเห็นไตรลักษณ์ ก็โอเคแล้วครับ )
                      --------------------------------------------

ความเห็นที่ 73 และ 75 ของคุณวิชาน่าสนใจดีครับ  

ตอบโดย: ระนาด 24 มิ.ย. 52 - 10:23


อ้างอิง (น้องบู @ 24 มิ.ย. 52 - 09:01)


นิมิตที่เกิดจากสมาธิ  ที่หลาย ๆ คนเห็นและไปรู้นั้น

จะรู้ได้อย่างไรว่า   นั้นเป็นเพียงนิมิต  นั้นเป็นเพียงญาณ

ตรงนี้มีข้อสังเกตุให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างไรครับ  หลาย ๆ คนไปคิดว่านิมิตคือญาณ  บางคนได้ญาณอาจจะคิดว่าเป็นเพียงนิมิต

 


เรื่องนี้ผมเองก็เพิ่งเจอมากับตัวเหมือนกันครับคุณน้องบู วันก่อนสนทนาธรรมกับเพื่อนที่ศึกษาธรรมะมาด้วยกัน แล้วเขาก็บอกว่า

เขาไม่คิดว่าถ้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแล้วจะมีรูปกับนามมาปรากฏให้เห็น เขาเสนอความเห็นว่า ถ้าเจริญสติดูกายและดูใจอยู่ตลอดเวลาแล้วจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากปัญญาอย่างเดียว

เขาบอกว่าเขาเจริญสติอยู่ตลอด ไม่มีอะไรเลยนอกจากการรู้ทุกอิริยาบทไม่ว่าจะตื่นหรือหลับเขาบอกว่าแม้แต่หลับก็ยังรู้ว่าหลับอยู่

เขาถามว่าแน่ใจหรือว่าไอ้ที่เห็นว่ามันน่ากลัวดุจดังระเบิดนั้นเป็นวิปัสสนาญาณ เขาบอกว่าขอบอกตามตรงนะ ว่าเขาเชื่อว่า มันน่าจะเป็น "นิมิตมาร" มากกว่า วิปัสสนาญาณ

ผมฟังแล้วอึ้งเลย ไม่นึกว่าเพื่อนที่เรียนอภิธรรมมาจะกล่าวแบบนี้ ก็ได้แต่หวังให้วิปัสสนาญาณตั้งแต่ชั้น อุทยัพพยญาณ ภังคญาณ ภยตูปัฏฐานญาณ อาทีนวญาณ และนิพพิทาญาณมาปรากฏให้เขาได้เห็นเช่นกัน เมื่อสันตติ อิริยาบท และฆนสัญญาของเขาขาดหายไป


ตอบโดย: วสวัตตี 24 มิ.ย. 52 - 10:24


ตอบคำถามน้องบู

อ้างอิง
      นิมิตที่เกิดจากสมาธิ  ที่หลาย ๆ คนเห็นและไปรู้นั้น

     จะรู้ได้อย่างไรว่า   นั้นเป็นเพียงนิมิต  นั้นเป็นเพียงญาณ


     ดีครับที่น้องบูถาม   ผมจะได้ตอบให้เคลียร์เสียที่เดียว เรื่องนิมิต กับ ญาณของผู้มีฌาน ต่างกันอย่างไร?.

      1. เรื่องนิมิต  ปกติแล้วสำหรับผู้ฝึกสมถะหรือวิปัสสนา  จะเกิดขึ้นเมื่อเริ่มมีสมาธิเริ่มตั้งมั่นมากกว่าปกติธรรมเล็กน้อย ก็จะปรากฏนิมิตขึ้น ขื้นอยู่กับกรรมฐานที่ฝึกด้วย ว่าจะเกิดนิมิตเป็นอย่างไร.
           แต่เมื่อไหร่ นิมิตนั้นนิ่งปรากฏเด่นชัดในใจเหมือนตาเห็น เรียกว่าเกิด อุคหะนิมิต  แต่จะเกิดเป็นปฏิภาคนิมิต(นิมิตนั้นเกิดสว่างคมชัดและจรัสจ้าขึ้น) ก็อยู่ที่กรรมฐานแต่ละประเภท  เช่นกระสิน 10 ก็จะเกิดปฏิภาคนิมิตขึ้น
           ถ้าเป็นอานาปานสติจะไม่เกิดเป็นปฏิภาคนิมิตที่ชัดเจน ยกเว้นทิ้งอานาปานสติแล้วไปปฏิบัติกสินแทน.
           ในช่วงที่เกิด อุคหะนิมิตชัดเจนแจ่ม หรือปฏิภาคนิมิต นี้เอง  เรียกว่าสมาธิมีความตั่งมั่นขึ้นเป็นหนึ่งมากขึ้น อยู่ในเขตของ อุปจารสมาธิ.
           ผู้ที่ได้อุปจารสมาธิ แต่สมาธิยังไม่เป็นเอกคตาจนปรากฏฌานขึ้น  ก็จะเกิดนิมิตในขณะที่จิตเริ่มสงบเมื่อไม่ได้สนใจความรู้สึกภายนอก หรือสามารถรู้สึกภายนอกได้แต่ไม่สนใจเพราะจิตเป็นหนึ่งมากกว่า

           ดังนั้นเมื่อต้องการทราบสิ่งใด เมื่อเข้าสมาธิระดับนี้แล้วมโนภาพจะปรุงแต่งขึ้นมาได้ซึ่งอาจจะตรงถูกต้องตามที่ต้องการทราบหรือคลาดเคลื่อนก็ได้ แล้วแต่ระดับสิ่งที่ต้องการทราบ  ช่วงนี้ทำให้เกิดสภาวะการหลงกันมาก  เพราะมีปีติก็แรง มีความศรัทธาก็แรงกล้า อยากรู้อะไร นิมิตก็ปรากฏเป็นเรื่องเป็นราวชัดเจน  เมื่อยึดมั่นมากๆ และหลง ก็จะเกิดวิปลาสไปชั่วคราว จนกว่าจะมีสติรู้ตัวและเตือนตนเปลี่ยนพฤติกรรมที่ยึดมั่นและถือมั่นเสีย  แต่มีบางท่านบางส่วนหลุดโลกไปเลยก็มีปรากฏให้เห็นอยู่บ้าง.

      2. เรื่อง ญาณ ที่เกิดจาก ฌาน   ก็คือผู้ปฏิบัติสมาธิจนได้ ปฐมฌาน ขึ้นไป คือเมื่อมีอุคหะนิมิตที่เด่นชัด หรือ ปฏิภาคนิมิต ปรากฏขึ้นก็หาได้สนใจหาได้ใส่ใจ แต่กำหนดภาวนากรรมฐานตามฐานหลักอย่างมั่นคง เมื่อวางนิวรณ์ 5 ได้ทั้งหมด อัปปนาสมาธิ และองค์ฌาน 5 ก็ปรากฏ (วิตก วิจารย์ ปีติ สุข เอกคตาหรืออุเบกขา) ได้ซึ่งปฐมฌาน
           แต่ผู้ที่ได้ปฐมฌานยังไม่ชำนาณไม่มีวสีในฌาน ก็ย่อมสามารถหลงนิมิตได้ และไปหลงคล้ายกันดังในเรื่องที่ 1.  ที่วิปลาสไปชั่วคราวได้ หรือหลุดโลกกู่กลับได้ยาก หลงไปเลยก็มี

           เมื่อผู้ได้ปฐมฌาน ฝึกการเข้าฌานสมาบัติจนชำนาณ มีสติกำหนดรู้ ถึงลำดับการเข้าฌาน ตั้งแต่ เป็นนิมิต อุคหะนิมิต อุปจารสมาธิ แล้วเข้าอัปปนาสมาธิ ออกจากภวังค์ แล้วค่อยรู้สึกทั่วทั้งตัวในอารมณ์ภายนอก  โอกาศที่จะหลงนิมิต หรืออุคหะนิมิต นั้นย่อมน้อยลง เพราะรู้ลำดับ และระดับแต่ละช่วงดี
            ดังนั้นย่อมพอทราบการเกิด ญาณ ของผู้มี ฌาน ได้ดีเพราะแยกแยะได้  คือต้องเข้าฌานก่อน แล้ว ญาณรู้ หรือนิมิตของญาณ ก็จะปรากฏให้ทราบในภายหลังตามที่เจตนาหรืออธิษฐานไว้ ก่อนเข้าฌานสมาบัติ.
            แต่ไม่ใช่ว่ามีเจตนาแล้วอธิษฐานเข้าฌานแล้ว ญาณ จะเกิดขึ้นไปหมด ก็ขึ้นอยู่กับระดับของสิ่งที่จะรู้นั้น หรือฐานะที่จะรู้ได้ และหาใช่ว่าจะต้องถูกต้องไปหมด

            ดังนั้นต้องฉลาดในญาณ หรือมีปัญญาในญาณรู้ที่เกิดขึ้นนั้น  ซึ่งเป็นเรื่องต้องใช้เวลาฝึกต้องละเอียดต้องเรียนเพิ่ม.

       ก็เกิดความเห็นแยกเป็นสองทางสำหรับผู้ทีได้ฌานที่ปฏิบัติแบบสมถะและวิปัสสนาอย่างอานาปานสติคือ
       1.จะเสียเวลาฝึกเข้าฌานสมาบัติจนชำนาณเป็นวสี แล้วต้องเสียเวลามาเรียนรู้มามาฝึกในความละเอียดที่ต้องฉลาดในญาณ หรือมีปัญญาในญาณรู้ที่เกิดขึ้น.
       2.พัฒนาสมาธิโดยไม่สนใจตามข้อ 1 เพื่อขึ้นสู่วิปัสสนาญาณ หวังในมรรคผล.

      แต่สำหรับผู้ที่ฝึกกระสิน ย่อมแวะตามข้อ 1 ก่อนเป็นธรรมดา เพราะหวังเจตนาอย่างนั้นมาแต่ต้นแล้ว.

ตอบโดย: Vicha 24 มิ.ย. 52 - 10:32


อ้างอิง (น้องบู @ 24 มิ.ย. 52 - 09:01)


นิมิตที่เกิดจากสมาธิ  ที่หลาย ๆ คนเห็นและไปรู้นั้น

จะรู้ได้อย่างไรว่า   นั้นเป็นเพียงนิมิต  นั้นเป็นเพียงญาณ

ตรงนี้มีข้อสังเกตุให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างไรครับ  หลาย ๆ คนไปคิดว่านิมิตคือญาณ  บางคนได้ญาณอาจจะคิดว่าเป็นเพียงนิมิต

 


ขอตอบคุณน้องบูเสริมเพิ่มด้วยอีกเสียงหนึ่งนะขอรับท่าน Vicha

อย่างไหนเป็นนิมิต ของสมถกรรมฐาน หรือว่าอย่างไหนเป็นวิปัสสนูปกิเลส ของวิปัสสนาญาณ นักภาวนาที่ปฏิบัติมานานจะพอแยกได้จากอารมณ์ที่ปรากฏครับ

สำหรับวิปัสสนาญาณของแท้นั้น จะไม่เห็นเป็นภาพ แสง สี หรือเสียง

ธรรมารมณ์ที่ปรากฏให้ใจได้รับรู้นั้น จะปรากฏในลักษณะของพระไตรลักษณ์ คือ มีลักษณะที่แสดงความเป็นจริงให้ปัญญาได้เกิด คือ เกิดในลักษณะที่เป็นอนิจจัง หรือเป็นทุกข์ หรือเป็นอนัตตา ถ้าหากไม่ใช่ 3 ประการนี้แล้วก็น่าที่จะเป็นนิมิตของสมถกรรมฐาน หรือวิปัสสนูปกิเลสของวิปัสสนากรรมฐาน

แต่ผมยังไม่แน่ใจว่าวิปัสสนาญาณจะเกิดขึ้นแต่เฉพาะทางมโนทวารอย่างเดียวหรือว่า
จะปรากฎทางกายทวารด้วย แต่โดยส่วนตัวของผมเกิดทางมโนทวารและกายทวารพร้อมๆกัน

แต่จะว่าไปในตอนนั้น ความรู้สึกว่ามีตัวตน มันก็ไม่ปรากฏแล้ว เพราะตอนนั้นมันมีปัญญารู้แล้ว พบแล้วว่า มีแต่รูป กับ นามเท่านั้นที่เกิดและดับไป ตัวเราไม่มี สภาพนี้มีอยู่กับเรามาตั้งแต่เกิดแล้ว ไม่สามารถห้ามได้ ไม่สามารถควบคุมได้ เป็นทุกข์อย่างมาก แทบจะรับทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นไม่ไหว จะตายเสียให้ได้ เป็นภัย และน่ากลัว มีแต่โทษปรากฏ เวลารูปกับนามแตกดับถูกทำลายไปในแต่ละครั้งทั้งรุนแรง รวดเร็ว ตามรับรู้แทบไม่ทัน

ทุกครั้งที่รูปกับนามแตกดับทำลายไป เราก็จะรู้สึกว่าเรานั้นก็แตกดับระเบิดออกเป็นชิ้นๆเป็นเสี่ยงๆตามอย่างรูปกับนามไปด้วยคล้ายนั่งอยู่ใจกลางระเบิดปรมาณู

ณ เวลานั้นนอกจากรูปกับนามที่มาปรากฎให้เห็นแล้ว กิเลสตัวพ่อ ก็มาปรากฏให้ได้รับรู้แบบชัดๆเช่นกันครับ ต้องเจอศึก 2 ด้าน ถึงตอนนั้นแล้วเราจะพบว่า แท้ที่จริงแล้วคนเรารักกิเลสมาก เสียดายมากถ้าจะต้องเสียกิเลสไป และไม่สามารถอยู่ต่อไปได้โดยที่ปราศจากกิเลส ถ้าเราใจแข็งหน่อยก็จะขึ้นไปสู่วิปัสสนาญาณชั้นสูงๆต่อๆไป แต่ถ้าใจอ่อน ก็จะเสียท่ากิเลสยอมกลับไปใช้ชีวิตอยู่กับกิเลสตามเดิม เหมือนเช่นตัวผม

แต่หากเป็นนิมิตของสมถกรรมฐาน จะปรากฏเป็นดวงกสิณให้เห็นตอนที่นั่งหลับตาอยู่ ดวงกสิณถ้าเป็นกสิณไฟ จะเป็นสีส้มแดง มีเปลวไฟไหวน้อยๆอยู่ภายในวงกลมเหมือนถ่านในเตาอั้งโล่ที่ปราศจากขี้เถ้า หรือเหมือนดวงตะวันยามเช้าหรือยามเย็นที่ดวงกลมโตสีส้มๆแดงๆ

ถ้าเป็นกสิณน้ำจะเป็นวงกลมสีฟ้ามีคลื่นพริ้วไหวเหมือนมองดูสระว่ายน้ำหรือน้ำทะเล หรือบางทีก็เป็นน้ำพริ้วไหวสีขาวในวงกลมนั้น

ส่วนกสิณแสงสว่างจะปรากฏเป็นดวงกลมๆมีแสงสว่างเหมือนดังใครส่องสปอตไลท์มาเข้าตาเรา หรือมองเห็นภาพรอบตัวได้เหมือนลืมตาอยู่ทั้งที่นั่งหลับตาและปิดเปลือกตาสนิทไม่ได้ลืมตาขึ้นเลย

ส่วนกสิณลมนิมิตจะปรากฎเป็นเหมือนไอแดดหรือไอน้ำกระจายไปทั่วในอากาศ แต่ที่แปลกคือไม่ได้เกิดในเวลากลางวัน

ส่วนอากาศกสิณ จะปรากฎเป็นช่องว่างวงกลมท่ามกลางความมืดในขณะที่หลับตาอยู่ คล้ายเราถ้ำมองแอบดูคนอื่นตามรู แต่ภาพที่ปรากฎในช่องว่างวงกลมนั้นจะเป็นภาพที่อยู่ทางด้านข้างของตัวเรา ไม่ใช่ภาพด้านหน้า

ถ้าเป็นอานาปานสติ นิมิตก็จะเป็นก้อนเมฆสีขาว หรือดวงดาวเหล่านี้อ่ะครับ และไม่รู้สึกว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือเป็นโทษ เป็นภัยแต่อย่างใดไม่เหมือนกับวิปัสสนาญาณ


ตอบโดย: วสวัตตี 24 มิ.ย. 52 - 11:07


ขออนุญาต ย้อนกลับไปในเรื่องของการตกภวังค์นะครับ เพราะมีท่านสมาชิกท่านหนึ่ง สอบถามมาทาง Private message

สวัสดีค่ะ

พอดีเข้าไปอ่านกระทู้ของคุณ Vicha เรื่อง ดำรงสติเฉพาะหน้า.............

ในความเห็นที่ 64 ของคุณวสวัตตี พูดถึง "ช่วงที่ตกภวังค์"
ก็เลยอยากสอบถามว่า จะทราบได้อย่างไรคะ ว่า เราตกภวังค์ หรือยังอยู่ในสมาธิ พอดีเคยนั่งสมาธิแล้ว รู้สึกว่า นิ่งมาก ไม่รู้สึกถึงการหายใจ และก็มีความสงสัยขึ้นมาว่า เอ๊ะ เรายังนิ่งอยู่ในสมาธิ หรือเคลิ้ม รึว่า "ตกภวังค์" ไปแล้วนะ

ไม่กล้าไปโพสต์ถามแทรกในกระทู้ค่ะ แต่ถ้าคุณวสวัตตีจะอธิบายผ่านการให้ความเห็นทางกระทู้ก็ดีนะคะ เผื่อจะเป็นประโยชน์ค่ะ

ขอบพระคุณมากๆ ล่วงหน้าค่ะ สำหรับคำตอบ  


สำหรับศัพท์คำว่า "ตกภวังค์" ดังที่นักภาวนาและบูรพาจารย์ทั้งหลายเคยกล่าวถึงนั้น เป็นอาการที่จิตไม่รับอารมณ์ใดๆ แม้แต่สมาธิก็ไม่เกิด จะมีความรู้สึกเฉยๆ ไม่สุข ไม่ทุกข์ จนบางครั้งหลายคนคิดว่าตนเองได้ฌาน 4 ก็มี เพราะสามารถดำรงอยู่ในสภาวะนั้นๆได้นาน

ถ้าได้ฌาน 4 จริง ผู้ปฏิบัติจะต้องรู้ได้ เพราะการได้ฌาน 4 นั้นจะต้องผ่าน ฌาน 1 2 3 ไปตามลำดับดังเช่นที่พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ 9 ได้กล่าวไว้ว่าจะข้ามลำดับชั้นไม่ได้ และผู้ที่ได้ฌาน ก็จะรู้ว่าฌานแต่ละชั้นมีองค์ธรรมใดบ้าง และละองค์ธรรมตัวใดไปได้แล้วบ้าง (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา)

ช่วงที่อยู่ในสภาวะตกภวังค์ ต่างกับฌาน 4 ตรงที่ ฌาน 4 นั้นมีเอกัคคตา และฌาน 4 นั้นใจของผู้เข้าฌานจะปราศจากความลังเลสงสัยใดๆในสภาพที่ตนเป็นอยู่

ในกรณีสำหรับนักภาวนาที่ยังไม่มีความชำนาญหรือวสีพอ มักจะประคองจิตให้เป็นฌานได้ไม่นานและครั้งใดที่ไม่สามารถยกจิตขึ้นสู่ฌานชั้นสูงๆได้ ก็มักจะตกภวังค์

ตัวอย่างเช่นกำลังเข้าปฐมฌานอยู่ กำลังเพลิดเพลินกับการเจริญวิตกยกจิตขึ้นรับอารมณ์ของปีติ พอหมดกระบวนการของวิจาร จะยกจิตขึ้นรับอารมณ์ของปีติให้มากยิ่งขึ้นอีก แต่ยังไม่ชำนาญในการประคองจิตและอารมณ์ อารมณ์ก็จะตกไป ปีติก็จะไม่เกิดต่ออีก ความสุขก็หายไปโดยฉับพลัน ความเย็นกายและเย็นใจที่ไหลเอิบอาบซาบซ่านไปทั่วร่างกายก็จะหายไป

และจะพบกับสภาวะที่นิ่งๆ เฉยๆ อยู่ได้นาน แต่ไม่มีอารมณ์ใดเกิดขึ้นเลย ถ้าพบสภาวะนี้ก็ควรถอยกลับมาเริ่มทำสมาธิ โดยบริหารสมาธิกับสติให้ได้สัดส่วนกันใหม่อีกครั้งครับ


ตอบโดย: วสวัตตี 24 มิ.ย. 52 - 11:45


อ้างอิง (ระนาด @ 23 มิ.ย. 52 - 12:20)


สวัสดีครับคุณวสวัตตี

ตอนบ่ายๆผมจะพักผ่อนโดยดูความรู้สึกภายในร่างกาย ( ไม่ใช่ดูความรู้สึกภายนอก )  คือ

... รู้ความรู้สึกที่ร่างกายกำลังหายใจเข้าและออก ( รู้อาการพองขึ้น - ยุบลงของหน้าอก )
...รู้ความรู้สึกที่ร่างกายกำลังนั่ง.... รู้ความรู้สึกตามแขนตามขา...รู้ความรู้สึกที่ร่างกายกำลังทรงตัว ...รู้ความรู้สึกไปทั่วทั้งตัว

เมื่อรู้ความรู้สึกทั่วทั้งตัวแล้ว  จึงทำให้ผมเห็นอารมณ์ในใจในขณะนั้น

เมื่อผมเห็นอารมณ์ในใจ  ผมจะรู้สึกผ่อนคลายทางร่างกายเกิดขึ้น

เมื่อผมรู้สึกว่าร่างกายผ่อนคลายลง   ผมก็มีความสุขเพิ่มขึ้น

เมื่อผมมีความสุขเพิ่มมากขึ้น  ร่างกายก็ผ่อนคลายลงไปอีก  ผมก็มีความสุขมากขึ้นไปอีก ........เรื่อยๆไป

 (ทั้งการผ่อนคลายทางร่างกายและความสุขในใจ  ต่างก็เป็นกำลังส่งเสริมกันและกัน)

เมื่อมีความผ่อนคลายและมีความสุขมากจนถึงจุดๆหนึ่ง  ผมจะเห็นภาพต่างๆเกิดขึ้น  โดยที่ผมก็ยังรู้ความรู้สึกทางกาย  และรู้ความสุขในใจ  ควบคู่กันไป  ภาพที่เห็นก็เปลี่ยนแปลงไปต่างๆนานา  เหมือนกับว่า  ภาพเหล่านั้นไม่มีใครเป็นเจ้าของ  ผมดูภาพเอาไว้เฉยๆ... ( ตรงนี้เองที่ผมเรียกว่า .... เห็นภาพเป็นสิ่งที่ถูกรู้ถูกดู )

 จุดที่ผมแตกต่างจากคุณวิชาคือ  ผมรู้ความรู้สึกทั้งทางกายและทางใจ  อยู่ตลอดเวลาครับ รถแล่นผ่านไปผ่านมาผมก็ได้ยิน  แล้วถ้ามีคนมาเรียกผม  ผมก็ลุกขึ้นมา พูดคุยได้ตามปกติ


 หมายเหตุ..... ถ้าผมหลับแล้วฝันไป  ผมจะไม่รู้ความรู้สึกทางร่างกาย และ ไม่รู้ความสุขในใจ   เวลาฝัน  ผมก็เห็นภาพเสมือนกับว่า  ตัวผมเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ตามภาพนั้นๆ





ได้อ่าน ประสบการณ์ของท่านระนาดแล้ว รู้สึกดีใจกับผลการปฏิบัติของคุณระนาดเลยครับ

คุณระนาดมีความก้าวหน้าในสมถกัมมัฏฐานมากๆเลย ที่เหลือก็คือ ต้องปล่อยใจไปกับความสบายและความสุขที่เกิดขึ้นกับกายและใจนั้นให้มากๆ ให้บ่อยๆเลยครับ

ปล่อยไปให้มากๆ ไม่ต้องกลัวว่าจะเผลอสติหรือไม่รู้เนื้อรู้ตัว สตินั้นยังคงอยู่แน่นอนไม่ได้หนีหายไปไหน

หลายท่านพอถึงจุดนี้มักรีบรู้สึกตัว รีบดึงสติกลับไปตั้งต้นใหม่อย่างน่าเสียดาย ทั้งที่จิตกำลังจะรวมตัวเป็นเอกัคคตามีอารมณ์เป็นปีติเพียงหนึ่งเดียวแล้วแท้ๆ การปฏิบัติจึงไม่ก้าวหน้า แล้วก็มาเสียอกเสียใจว่าการทำฌานสมาบัตินั้นยาก ทำมาหลายปีไม่เกิดผลอะไร ติดอยู่ที่เดิม เหล่านี้เป็นต้น

ถ้าปล่อยใจไปกับความสุข และรับรู้ความสุขทางกายและทางใจมากๆเข้า จะถึงจุดๆหนึ่งที่ใจมีความแนบแน่นเป็นหนึ่งเดียวกับความสุข จนกิเลสอย่างกลางคือนิวรณ์ 5 ดับไปและมีองค์ธรรม 5 อย่างให้ใจได้รับรู้ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา

สติจะเด่นชัดมั่นคง ใจจะสะอาด สว่าง สงบอย่างที่สุดชนิดที่ไม่เคยเป็นมาก่อนในชีวิตนี้ ปัญญาก็จะสดใสเรืองรองคิดอ่านสิ่งใดก็ไม่ติดขัด ปราศจากความรำคาญ ปราศจากความลังเลสงสัย และจะมีผรณาปีติท่วมท้นจิตใจและจะเย็นกายเย็นใจอย่างที่สุดแต่ไม่หนาวเหน็บ และจะรู้ว่าจะยกจิตขึ้นรับอารมณ์ของปีติด้วยวิธีไหนจึงจะทำให้ปีติบังเกิดมากขึ้นไปกว่าเดิม


ตอบโดย: วสวัตตี 24 มิ.ย. 52 - 11:55


"แต่ผู้ที่ได้ปฐมฌานยังไม่ชำนาณไม่มีวสีในฌาน ก็ย่อมสามารถหลงนิมิตได้ และไปหลงคล้ายกันดังในเรื่องที่ 1.  ที่วิปลาสไปชั่วคราวได้ หรือหลุดโลกกู่กลับได้ยาก หลงไปเลยก็มี"

เห็นด้วยครับ  

"เมื่อผู้ได้ปฐมฌาน ฝึกการเข้าฌานสมาบัติจนชำนาณ มีสติกำหนดรู้ ถึงลำดับการเข้าฌาน ตั้งแต่ เป็นนิมิต อุคหะนิมิต อุปจารสมาธิ แล้วเข้าอัปปนาสมาธิ ออกจากภวังค์ แล้วค่อยรู้สึกทั่วทั้งตัวในอารมณ์ภายนอก  โอกาศที่จะหลงนิมิต หรืออุคหะนิมิต นั้นย่อมน้อยลง เพราะรู้ลำดับ และระดับแต่ละช่วงดี"

เห็นด้วยครับ  ผู้ที่เข้าฌานจนชำนาญจะรู้ว่า ฌานแต่ล่ะระดับมีอาการต่าง ๆ กัน จึงพอจะทราบว่า ยิ่งฌานระดับลึก ๆ ไปเรื่อย ๆ นิมิตจะน้อยลงไป ๆ ทุกที  ตรงนี้ทำให้ผู้ปฏิบัติทราบได้ชัดเจนว่า สิ่งต่าง ๆ ที่เห็นเป็นเพียงนิมิตจากสมาธิ ไม่ได้เป็นญาณจริง ๆ

"แต่ไม่ใช่ว่ามีเจตนาแล้วอธิษฐานเข้าฌานแล้ว ญาณ จะเกิดขึ้นไปหมด ก็ขึ้นอยู่กับระดับของสิ่งที่จะรู้นั้น หรือฐานะที่จะรู้ได้ และหาใช่ว่าจะต้องถูกต้องไปหมด"

เห็นด้วยครับ  แม้มีกำลังสมาธิระดับหนึ่งแล้ว ได้ญาณบ้างแล้ว แต่ก็ใช่ว่าจะรู้ได้ทุกเรื่อง ถ้าเรื่องที่จะรู้ อยู่ในฐานะที่รู้ได้ยาก และกำลังจิตยังไม่มากพอที่จะรู้ได้ ก็จะไม่เห็นอะไรเลยครับ


****แต่สิ่งที่ผมต้องการจะทราบคือ สำหรับพี่Vicha นั้นจะใช้อะไรเป็นหลักการ หรือใช้อะไรมาวัดว่าขณะที่พี่ Vicha เกิด ญาณ (ไม่ใช่วิปัสสนาญาณนะครับ หมายถึงญาณอื่น ๆ ) นั้นพี่จะทราบได้อย่างไรว่ามันไม่ใช่นิมิตแต่เป็น ญาณจริง ๆ  พี่Vicha มีหลักเกณฑ์อย่างไรในการตรวจสอบในสิ่งที่ปรากฏกับตน และตนหาข้อสรุปได้อย่างไรครับ    

ตอบโดย: น้องบู 24 มิ.ย. 52 - 12:49


อ้างอิง (Vicha @ 24 มิ.ย. 52 - 09:19)
ภาพที่เห็นนั้น ใจเป็นผู้รู้เป็นผู้เห็นเป็นมโนภาพ แต่ใจนั้นหาได้มีเจตนาไปรู้มีเจตนาไปเห็น เกิดขึ้นแล้วเปลี่ยนไปตามสภาพของมัน.

     

กราบขอบคุณพี่ระนาดและพี่วิชาเป็นอย่างยิ่ง ครับ

เมื่อใจเป็นผู้รู้ เป็นผู้เห็นมโนภาพ หรือภาพ หรือนิมตร
ใจหรือผู้รู้นี้ หมายถึงมโนวิญญาณ ด้วยใช่ไหมครับ ?

ใจหรือผู้รู้นี้ มีการเกิดดับหรือไม่ ครับ

และถ้าใจหรือผู้รู้หรือมโนวิญญาณนี้ ยังไม่ปรากฏ
ภาพหรือมโนภาพจะถูกเห็นได้หรือไม่ ครับ




 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 24 มิ.ย. 52 - 13:25


อย่างนั้นก็ต้องยกข้อมูลเก่ามาให้น้องบู อ่านแล้วครับดังนี้

  เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นประมาณปี พ.ศ 2528-29
***********************************************
      เวลาต่อมาอีกไม่นาน พระอาจารย์ได้กล่าวกับ ผม แฟน และเพื่อนอีกคนหนึ่งว่า “อาจารย์เห็นพวกเธอทำวิปัสสนากรรมฐานกับอาจารย์มานานแล้ว( 5 ปี) และวนเวียนจะผ่านหรือไม่ผ่าน(ละกิเลสได้อย่างเด็ดขาด)อย่างนี้มาหลายปี ซึ่งมันแห้งแล้ง และเธอก็คงไม่หลงทางแล้ว อาจารย์จะสอนให้เธอใช้ ทิพย์จักขุงอุปาทายะนัง เพื่อดูนิมิตและญาณรู้ที่ปรากฏ”

***  หมายเหตุ ให้เข้าใจด้วยว่าพระอาจารย์ไม่เคยสอนหรือแสดงให้ใครทราบอย่างนี้เลย ท่านสอนวิปัสสนาล้วนๆ กับบุคคลทั่วไป ตามปกติ ท่านเป็นถึงรองอาจารย์ใหญ่ และภายหลังเป็นอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน  ชื่อเสียงทางด้านนี้ท่านคงไม่ประสงค์หรอก ที่เขียนหมายเหตุนี้ไว้ก็เพื่อกันไม่ให้ใครไปมีอคติกับท่าน และกล่าวโทษท่านโดยผิดๆ  ***

     พวกผมจึงถามว่า “ทิพย์จักขุงอุปาทายะนัง   ต่างกับทิพย์จักษุ อย่างไร”

     พระอาจารย์ตอบ “ทิพย์จักษุ นั้นเป็นกำลังของอภิญญา แต่ทิพย์จักขุงอุปาทายะนังนั้นใช้กับผู้ที่มีสมาธิที่น้อยกว่า ยังไม่ถึงขั้นอภิญญา แต่ต้องฉลาดในนิมิตที่ปรากฏ และฉลาดในญาณรู้ที่ปรากฏกับนิมิตนั้น จึงจะแม่นยำและถูกต้องแน่นอน”

      พวกผมจึงถามว่า “แล้วจะทำอย่างไรครับ”

    พระอาจารย์สอนว่า “พวกเธอมีกำลังสมาธิก็พอสมควรแล้ว ก็ให้เธอกำหนดกรรมฐานเพื่อให้เกิดสมาธิ หลังจากนั้นก็อธิฐานสิ่งที่จะดู แล้วกำหนดสมาธิโดยภาวนา “ทิพย์จักขุงอุปาทายะนัง” ไปเรื่อย นิมิตและญาณรู้ก็จะปรากฏ ให้ทราบและเมื่อชำนาญและฉลาดในนิมิตและญาณ ก็จะแม่นยำขึ้น”

     หลังจากนั้นพวกเราทั้ง 3 ก็ไปฝึกกัน และพระอาจารย์ได้ให้พวกเราทดสอบดู ประมาณ 3 ครั้ง สรุป ที่ได้คือ รูปนิมิตที่ปรากฏขึ้นของทั้งสามคนไม่เหมือนกัน แต่ชี้ในสิ่งเดียวกัน และญาณรู้ก็บ่งบอกในสิ่งเดียวกันคล้ายกัน  สิ่งที่แปลกใจคือบอกสิ่งเดียวกันคล้ายกันเป็นตัววัดในตอนนั้น แต่ไม่รู้ว่าเป็นความจริงหรือเท็จในขณะนั้น
****************************************

    นั้นเป็นการเรียนรู้เบื้องต้น ได้ตราจสอบกันเองหลายครั้งในสมัยยังหนุ่มสาวกัน เป็นของแถมสนุกๆ กัน แต่หาได้ทำกันมากมายนัก เพราะถือว่าเป็นเพียงของเล่น หลักจริงๆ เข้าวัดปฏิบัติวิปัสสนาเสียมากกว่า.

     แต่เรื่องสนุกที่เคยดูกันไว้แบบสนุกของเพือน เป็นเรื่องสยองได้ในภายหลังเมื่อดูผ่านไปแล้วประมาณ 10 ปี
     สมัยนั้นมีเพื่อนผู้หญิงคนหนึ่งที่เป็นเพื่อนแฟน พูดว่า "ไหน มึงดูสิวะ ชาติหน้ากูจะเกิดเป็นอะไร?" ตอนนั้นเพือนคนนี้อยู่กับสามีและมีลูก ก็รักใคร่กันดี

    ผม แฟน และเพื่อนอีกคน ก็หลับตาเข้าสมาธิตามที่พระอาจารย์สอนดูให้
  สิ่งที่ปรากฏกับผมก็เกิดความรู้สึกว่า เขาจะไปเกิดในที่ไม่ดี เป็นทุกข์เพราะมีแต่ทุกข์
  สิ่งที่ปรากฏกับแฟน ก็บอกว่าไปเกิดในที่ไม่ดี
  สิ่งที่ปรากฏกับเพื่อนอีกคน เห็นอย่างชัดเจนว่า เพื่อนผู้หญิงคนนั้นกำลังปีนต้นงิ้ว

  เอาแล้วเป็นเรื่อง...  เพื่อนผู้หญิงคนนั้นเมื่อได้ฟัง เพื่อนผู้ชายบอกให้ฟังว่าเห็นกำลังปีนต้นงิ้ว และแฟนผมบอกว่าไปเกิดในที่ไม่ดี  แต่ผมไม่กล้าพูดอะไร เพราะเป็นเพือนห่างๆ กัน   แล้วเพื่อนผู้หญิงคนก็ก็พูดว่า "โอ้ย กูไม่ชื่อพวกมึงหรอก แค่สนุกขำๆ เท่านั้นเอง".

  ต่อมาเพื่อนคนนี้มีปัญหากับสามี เพราะสามีไปเปิดผับ มีผู้หญิงก็มาติด ทำให้ทะเราะกันเป็นประจำ จึงประกาศท้าสามีว่า เมื่อสามีทำได้เขาก็ทำได้เขาก็เริ่มแต่งตัวและเที่ยวกับผู้ชาย
    เมื่อสามีเลิกกิจการผับแล้วกลับมามีชีวิตแบบเดิมกับครอบครัว แต่เพื่อนผู้หญิงคนนั้นกลับกู่ไม่กลับเสียแล้ว ไม่ได้เลิกกันแต่กลับมีผู้ชายหลายคน เพื่อประชดกลายเป็นกู่ไม่กลับ แล้วแยกทางกัน
     เพือนผู้หญิงคนนั้นก็ไปอยู่ต่างจังหวัด ก็ติดการพนันงอมแงม จึงไปอยู่กินกับนักเล่นพนัน วันหนึ่งได้ขี้มอเทอรไชค์โดยมีแฟนนักพนันเป็นคนขับ เกิดอุบัติเหตุกับรถสิบล้อตายทั้งคู่  จึงไม่ต้องดูต่อไปว่า เกิดเป็นอะไร เพราะพฤติกรรมได้ชี้นำให้ทราบแล้ว.

     หลายปีต่อมา เมื่อมีสมาธิดีขึ้นก็พัฒนาขึ้นดังนี้ พอรู้จักระดับของ นิมิต อุคหะนิมิต อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ พอควรแล้ว และยังจำคำเตือนของพระอาจารย์คือฉลาดในนิมิตหรือญาณรู้ ก็ทำให้ทราบชัดเจนขึ้นมา เมื่อผลเกิดขึ้นมาเอง ดังเรื่องเก่าต่อไปนี้.

**********************************************

            ญาณรู้

    เรื่องที่ 1.    ประมาณ ปี  2540  พนักงานที่ทำงานเดียวกับข้าพเจ้า จะว่าเป็นลูกน้องก็ไม่เชิง  แต่พนักงานคน นี้ต้องทดสอบโปรแกรมที่ข้าพเจ้า เขียน เพื่อเอาไปใช่งานในส่วนของงานที่น้องทำ วันหนึ่งน้องมาปรึกษาข้าพเจ้าว่า ที่ อะพาทเม้น  มีแขกคนหนึ่งที่อยู่อะพาทเม้นเดียวกัน ทำกรงดักนกเขาได้ 4 - 5 ตัว น้องคนนี้ สงสารนกเขานั้นมาก อยากให้ถูกปล่อยให้มีอิสระ ขณะที่คุยกันอยู่ ข้าพเจ้าครุ่นคิดอย่างสงบ เพื่อจะแนะนำ ก็ได้เห็นภาพนกเขาบินออกไปอย่างมีอิสระ ข้าพเจ้าจึงแนะว่าลองไปข้อร้องแขกคนนั้นดู เผื่อเขาจะปล่อย  หลังจากวันนั้น น้องก็นำเรื่องมาปรึกษาข้าพเจ้าอีกว่า  ได้ ไปขอร้องให้แขกคนนั้นปล่อย เขาก็ไม่ย่อมปล่อย ขอซื้อเขาก็ไม่ขาย น้องบอกเขาว่ามันบาปนะที่ เอามากักขัง  แขกบอกว่าเขาจะเลี้ยงไว้ฟังเสียงและดูเล่น  น้องหมดหนทาง ข้าพเจ้าจึงบอกน้องว่า วันหลังถ้ามีโอกาส ให้ขอร้องให้ปล่อยอีก หลายวันต่อมาน้องก็ทำตามที่บอก แต่แขกคนนั้นไม่ย่อมปล่อยนกเขา  ทิ้งเวลามาเป็นเดือน เมื่อถึงวันเกิดของน้อง น้องก็จัดงานกันที่อะพาทเม้น โดยที่ไม่ต้องข้อร้องแขกคนนั้นๆ บอกกับน้องว่า จะปล่อยนกเขาทั้งหมดเพื่อเป็นของขวัญวันเกิดให้น้อง   ก็เป็นเรื่องที่แปลกอยู่เหมือนกัน

   หมายเหตุ เรื่องที่ 1 ปกติทุกเที่ยงวันผมจะนั่งกำหนดภาวนาจนหลับ และน้องคนนั้นมาถามหลังจากตื่นขึ้นมา


    เรื่องที่ 2  ญาณรู้อายุขัยเบื้องหน้า  เพราะประมาณกลางเดือนตุลาคม 2541 ขณะที่อยู่ในสมาธิลึกเกิดนึกถึงชีวิตของตนเอง  ที่จะเป็นไปใน อนาคต โดยไม่ตั้งใจ ก็เกิดเป็นแสงสว่างของชีวิตเป็นปีๆ จนถึงอายุ 58 ปี  พอปีหลังจากนั้นแสงสว่างของชีวิตก็มืดลงไป แต่ยังเป็นปีๆ อยู่ประมาณ 5-10 ปี ทำให้รู้ว่าข้าพเจ้าจะมีชีวิตทำกิจกรรมตามปกติจนถึง 58 ปี หลังจากนั้นอาจจะบวชหรือเจ็บป่วยหรือไม่ค่อย ได้ทำกิจกรรมการงานทางโลก  หรือตาบอดเห็นลางๆ และจบชีวิตในช่วงอายุ 64-68 ปี ซึ่งต้องรอการพิสูจน์อีก 20 กว่าปีข้างหน้า (แต่สิ่งเหล่านี้  อาจเปลี่ยนแปลงได้ ถ้ามีกรรมตัดรอน หรือบุญพิเศษส่งผล)

    หมายเหตุเรื่องที่ 2  เป็นช่วงเข้าสมาธิลึกจนทิ้งความรู้สึกหมดแล้ว แล้วถอยออกมารับรู้ความรู้สึกที่ใจอย่างเดียว แต่ไม่รับรู้อะไรทางร่างกาย เกิดระลึกถึงความเป็นไปของชีวิต นี้ก็ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ แล้ว
 
      เรื่องที่ 3   - เมื่อปี 2541 ขณะที่ข้าพเจ้า อยู่ในสมาธิลึกๆ อยู่ในอารมณ์เดียว ว่างอยู่ไม่มีความรู้สึกที่กายแม้แต่นิดเดียว จิตเกิดแวบนึกถึงพระเพื่อนที่เพิ่งบวช บังเกิดเป็นภาพพระห่มจีวร และบังเกิดญาณรู้มาทันที่ว่า พระเพื่อนรักษาพรหมจรรย์ ได้ตลอด ผมเลยแนะให้พระเพื่อนเรียนทางพระ ขณะนี้ปี 2543 พระเพื่อนก็ยังบวชอยู่ และกำลังเรียนเปรียญ  3 ประโยค ถ้าเป็นไป ตามญาณรู้ที่ปรากฏ และไม่มีอะไรอย่างร้ายแรงมากขัดขวาง พระเพื่อนคงบวชไปเรื่อยๆ ไม่ศึกออกมาแน่

      หมายเหตุ เรื่องที่ 3  ปีนี้ปี 2552 พระเพือนก็ยังบวชเป็นพระอยู่เช่นเดิม

        หมายเหตุ  ญาณรู้ทำนองนี้เกิดขึ้นกับข้าพเจ้าหลายอย่าง   แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น  เพราะหาได้มีความแน่นอนเสมอไปไม่ ควรทำในสิ่งที่เป็นจริงเป็นธรรมในปัจจุบัน แล้วในอนาคตความเป็นจริงและความดีก็บังเกิดขึ้นมาเอง อยู่ที่ว่าปัจจุบันนี้เราทำดีทำจริงเป็นธรรมจริงหรือเปล่า

**********************************
  
    ณ. ปัจจุบันไม่ค่อยสนใจในเรื่องเหล่านี้แล้ว  แต่เมื่อเป็นสภาวะที่ปรากฏได้ตามระดับของสมาธิและการฝึกฝน จึงสนทนาบอกกล่าวให้ทราบเพียงเท่านั้น ว่าสิ่งเหล่านี้ก็มีอยู่
 

ตอบโดย: Vicha 24 มิ.ย. 52 - 14:45


ตรงคำถามแล้วครับพี่ Vicha ขอบคุณมากครับ  พอนำมาเทียบเคียงได้ล่ะ  

ตอบโดย: น้องบู 24 มิ.ย. 52 - 15:00


ตอบคำถามของคุณปล่อยรู้

อ้างอิง
  เมื่อใจเป็นผู้รู้ เป็นผู้เห็นมโนภาพ หรือภาพ หรือนิมตร
ใจหรือผู้รู้นี้ หมายถึงมโนวิญญาณ ด้วยใช่ไหมครับ ?


 ตอบ ครับหมายถึง มโนวิญญาณ หรือใจครับ แต่ในขั้นนี้สติสมาธิยังไม่ละเอียด จึงปรากฏในช่วงเวลาหนึ่งรับรู้ได้หลายอารมณ์อยู่

อ้างอิง
ใจหรือผู้รู้นี้ มีการเกิดดับหรือไม่ ครับ


ตอบ สติสมาธิและปัญญาระดับนี้ ยังไม่ปรากฏการเกิดดับของใจหรือผู้รู้ได้หรอกครับ เห็นเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงของนิมิตหรือมโนภาพ ที่เปลี่ยนไปเรื่อยทยอยเปลี่ยนกันไป แต่ใจนั้นสงบนิ่งเบาอยู่

อ้างอิง
และถ้าใจหรือผู้รู้หรือมโนวิญญาณนี้ ยังไม่ปรากฏ
ภาพหรือมโนภาพจะถูกเห็นได้หรือไม่ ครับ


 ตอบ เมื่อใจยังไม่สงบเบาผ่อนคลายพอ ภาพหรือมโนภายนี้ ย่อมยังไม่ปรากฏครับ จึงไม่ปรากฏในระดับปกติครับ.

   ยกเว้นในระดับปกติผู้ที่ได้สมาธิที่ดีและชำนาณ เข้าสมาธิได้ง่าย มโนภาพที่เป็นญาณของผู้มีฌานปรากฏได้ แต่เป็นคนละระดับของสมาธิที่ถามนะครับ.

 

ตอบโดย: Vicha 24 มิ.ย. 52 - 15:19


อ้างอิง (วสวัตตี @ 24 มิ.ย. 52 - 11:55)

คุณระนาด ต้องปล่อยใจไปกับความสบายและความสุขที่เกิดขึ้นกับกายและใจนั้นให้มากๆ ให้บ่อยๆเลยครับ

ถ้าปล่อยใจไปกับความสุข และรับรู้ความสุขทางกายและทางใจมากๆเข้า จะถึงจุดๆหนึ่งที่ใจมีความแนบแน่นเป็นหนึ่งเดียวกับความสุข จนกิเลสอย่างกลางคือนิวรณ์ 5 ดับไปและมีองค์ธรรม 5 อย่างให้ใจได้รับรู้ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา


ครับผม  คำแนะนำของคุณน่าสนใจมากครับ
              ------------------------------------------

หลายเดือนที่ผ่านมานี้  ผมสังเกตุเห็นว่า  เวลาที่ผมปล่อยให้ได้รับความสุขมากขึ้นไปเรื่อยๆ   ร่างกายก็ผ่อนคลายมากขึ้นเรื่อยๆ   จนบางทีกลายเป็นหลับไปเลยก็มี  แต่เมื่อปฏิบัติแบบนี้บ่อยๆ   สติและสัมปชัญญะกลับมีกำลังดีขึ้นมากกว่าเดิมครับ ( ซึ่งความเข้าใจแต่เดิม ผมคิดว่า ถ้าเผลอหลับบ่อยๆแล้วสติจะอ่อนกำลัง ) พักหลังๆนี้   ผมไม่ค่อยหลับแล้วครับ

ผมเคยคิดเล่นๆว่า   ผมน่าจะลองปล่อยให้หลับแบบนี้บ่อยๆ  ก็พอดีคุณวสวัตตีก็เข้ามาแนะนำตรงใจผมพอดีเลยครับ   ขอบคุณ  สำหรับคำแนะนำครับ  

                ----------------------------------------

ถ้าผมจะปล่อยกายปล่อยใจให้รับความสุขให้เต็มที่  ตามที่ผมได้เล่ามา  คุณวิชามีความเห็นอย่างไรบ้างครับ    สติและสัมปชัญญะจะดีขึ้น  ตามที่ผมคาดคะเนหรือไม่ครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 24 มิ.ย. 52 - 17:33


คุณvicha

ขออนุญาตสนทนาเรื่องญาณด้วยครับ

ผมได้อ่านที่คุณvichaเล่าประสบการณ์มาให้ฟังคร่าวๆครับ

ที่คุณวิชาเรียกว่าญาณรู้นั้น

สำหรับผู้ที่ได้หรือมีญาณรู้นี้จะรู้ว่า

การรับรู้จากญาณนั้นมีทั้งที่เป็นจริง    และไม่จริงรวมอยู่ด้วยครับ

ต้องใช้การพิจารณามากเช่นกัน

คือบางครั้งก็เป็นจริง   บางครั้ง    บางอย่างก็ไม่เป็นจริง

คาดเดาไม่ได้

ผมมีความเห็นส่วนตัวคิดเอาเองว่า

ญาณนั้นมีหลายระดับ

ญาณที่ถูกต้องทั้งหมด

คือโพธิญาณ



ขอร่วมแสดงความเห็นถือเสียว่าเป็นการแชร์ประสบการณ์กันน่ะครับ

สิ่งที่กล่าวมาไม่ใช่เรื่องลึกลับอะไร

หลายๆท่านก็มีสิ่งเหล่านี้

จะรู้ลึกบ้างในตอนแรกๆ

แต่ผ่านๆไปก็เป็นธรรมดานั่นเอง



หากผิดทัศนะคติท่านใด

กราบขออภัยครับ
 

ตอบโดย: mes 24 มิ.ย. 52 - 18:10


ได้ความรู้ ได้หลายแนวทาง  ได้หลายแง่คิด ได้หลายประสบการณ์ตรง ดีครับ

ขออนุญาตคัดลอกประสบการณ์ของทุกท่านไปทดลองบ้างนะครับ

ได้ผลอย่างไรจะมารายงานครับ

ขอฐานแห่งสติทั้ง4 จงสถิตกับทุกท่าน จนกว่าจะพ้นกาลสถาน

เจริญในธรรม

ตอบโดย: doyjaar 24 มิ.ย. 52 - 18:24



ตอบ สติสมาธิและปัญญาระดับนี้ ยังไม่ปรากฏการเกิดดับของใจหรือผู้รู้ได้หรอกครับ เห็นเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงของนิมิตหรือมโนภาพ ที่เปลี่ยนไปเรื่อยทยอยเปลี่ยนกันไป แต่ใจนั้นสงบนิ่งเบาอยู่

[/QUOTE]
ขอบคุณพี่วิชา ครับ

ใจหรือมโนหรือวิญญาณหรือผู้รู้นี้
รับรู้ได้ทีละอามรมณ์ ไม่ใช่หรือ ครับ

เมื่อใจหรือมโนหรือวิญญาณ เกิดขึ้นครั้งหนึ่ง
ก็รับรู้อารมณ์ได้อย่างหนึ่ง

เมื่อใจหรือมโนหรือวิญญาณ หนึ่งดับไป
สิ่งที่ถูกรับรู้ด้วยใจหรือมโนหรือวิญญาณ ก็ย่อมไม่อาจถูกรับรู้ไปด้วยมิใช่หรือ ครับ

ใจหรือมโนหรือวิญญาณ นี้นั้น
ย่อมมีการเกิดและดับรวดเร็ว มากใช่ไหม ครับ
เร็วจนกระทั่งไม่ทันสามารถที่จะมองเห็นมันเกิดดับได้ทัน

การที่เราจะเจริญวิปัสสนา เพื่อพิจารณาให้เห็นการเกิดดับ
เราจะพิจารณาที่ตัวรู้(ใจ,วิญญาณ,มโน)ที่รู้นิมตรต่างๆ รู้อารมณ์ต่างๆ
หรือพิจารณาที่ตัวนิมิตร(อารมณ์)หรือตัวมโนภาพ ครับ

ผมมีความเข้าใจว่า
ที่พี่วิชาบอกว่าใจนั้นสงบนิ่งเบาอยู่
แต่เป็นนิมตรและมโนภาพนั้น ที่ทยอยเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ
ตรงส่วนนี้นั้น ผมมีความเห็นต่างมุมกับพี่วิชา ครับ

เพราะผมเข้าใจว่า ใจหรือตัวรู้ หรือมโนนี้ รับรู้ได้ทีละอารมณ์

เมื่อใจอยู่กับความสงบเบานิ่ง
ก็คือใจหนึ่ง หรือมโนหนึ่ง หรือผู้รู้หนึ่ง ที่รู้อยู่กับความสงบเบานิ่ง

แต่เมื่อใจหรือมโนหรือตัวรู้หรือตัววิญญาณ
ไปรับรู้มิมิตรหรือมโนภาพใดขึ้นมา
นั้นย่อมแสดงว่า ใจหรือมโนหรือตัวรู้หรือวิญญาณ ที่รับรู้อยู่กับความสงบเบานิ่งนั้น
ได้ดับไปแล้ว และได้เกิดใจหรือมโนหรือวิญญาณหรือตัวรู้ตัวใหม่
ขึ้นมารับรู้มโนภาพหรือนิมตรแทน แล้ว ครับ.

และนั้นย่อมแสดงให้เห็นว่า เป็นการเกิดและดับ
ระหว่างใจหรือมโนหรือวิญญาณหรือตัวรู้ ที่รู้อยู่กับความสงบเบานิ่ง
กับใจหรือมโนหรือวิญญาณหรือตัวรู้ ที่รู้มโนภาพหรือนิมตรหรืออารมณ์ นั้นเอง ครับ

แต่เป็นเพราะการเกิดดับของวิญญาณหรือใจหรือมโนหรือตัวรู้นี้นั้น
เกิดดับรวดเร็วมาก จนทำให้ไม่อาจสามารถเห็นการเกิดดับ
ของใจหรือวิญญาณหรือมโนนี้ได้ทัน ครับ

ไม่ทราบว่าผมมีความเข้าใจเช่นนี้ จะถูกหรือผิดอย่างไร ครับ

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 24 มิ.ย. 52 - 18:27


ผมมีความเห็นว่า

ความสงบเบานิ่ง นั้น
ไม่ใช่ใจ ไม่ใช่มโน ไม่ใช่วิญญาณ ครับ

แต่เป็นสิ่งที่ใจหรือมโนหรือวิญญาณ เข้าไปรู้ เข้าไปดู เข้าไปอยู่ เข้าไปเห็น ครับ

ความสงบเบานิ่ง นั้น ก็สักแค่เพียงเวทนาหนึ่ง ที่อาศัยเหตุปัจจัยในการเกิดมีขึ้น

ความสงบเบานิ่ง จะดับหายไป จะเปลี่ยนแปลงไป
พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงหรือการเกิดดับ ของใจหรือมโนหรือวิญญาณ ครับ

เพราะสังขารเป็นปัจจัย         จึงทำให้เกิดวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย        จึงทำให้เกิดนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย         จึงทำให้เกิดสฬายะตะนะ
เพราะสะฬายะตะนะเป้นปัจจัย จึงทำให้เกิดผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย           จึงทำให้เกิดเวทนา(สงบเบานิ่ง)

การเกิดขึ้นของใจหรือวิญญาณหรือตัวรู้นั้น เพราะสังขารเป็นเหตุปัจจัย

เมื่อสังขารดับ   วิญญาณจึงดับ
เมื่อวิญญารดับ  นามรูปจึงดับ
เมื่อนามรูปดับ   สฬายะตะนะจึงดับ
เมื่อสฬายะตะนะดับ ผัสสะจึงดับ
เมื่อผัสสะดับ     เวทนาจึงดับ(สงบเบานิ่ง)

กราบขออภัยพี่วิชา หากการแสดงความคิดเห็นแทรกขึ้นมานี้
ทำให้เสียเวลาในการนำเสนอกระทู้ "ดำรงสติเฉพาะหน้าฯ
ปล่อยรู้กราบขอโทษพี่วิชาด้วย ครับ



 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 24 มิ.ย. 52 - 18:46


สวัสดีครับน้องบู คุณระนาด คุณ mes คุณ doyjaar คุณปล่อยรู้

   ขอสนทนากับกับปล่อยรู้ก่อนนะครับ
     ตุณปล่อยรู้กำลัง สนทนาเกินจากระดับที่กำลังสนทนาแล้วครับ หรือคุณปล่อยรู้ยังไม่ได้อ่าน ความเห็นเก่าด้านบนให้เข้าใจเสียก่อน ผมจะยกมาให้ดูอีกครังครับ.

อ้างอิง
  แต่โดยหลักแห่งความเป็นจริงแล้ว ใจหรือจิต นั้นในช่วงขณะหนึ่งนั้นสามารถรับรู้ได้เพียง 1 อารมณ์เท่านั้น ตามหลักการปฏิบัติตามสติปัฏฐาน 4.

   ดังนั้นการรับรู้ในช่วงขณะหนึ่งมีถึง 2 อารมณ์นั้นย่อมไม่ถูกต้องตามหลักของจิต. แต่เนื่องจากจิตนั้นรวดเร็วมาก สามารถสลับการรับรู้สองหรือสามอย่าง ในช่วงเวลาหนึ่งได้ เสมือนรับรู้สองหรือสามอารมณ์นั้นพร้อมกันที่เดียวในช่วงเวลาเดียวกัน.


    และเนื่องจากอานาปานสตินั้น อาศัยสติและสมาธินำพร้อมๆ พอๆ กัน ต่างกับสติปัฏฐาน 4 ที่ต้องอาศัยการเจริญสตินำอย่างชัดเจน จึงกล่าวได้ว่าอานาปานสตินั้นเป็นทั้งสมถะและวิปัสสนา หรือ สมถะเจริญก่อนแล้ววิปัสสนาตาม.

    ดังนั้นการมีสติรับรู้อารมณ์ที่เป็นพื้นฐานจึงต่างกับสติปัฏฐาน 4 เพราะสติปัฏฐาน 4 ต้องเพ่งหรือกำหนดรู้อารมณ์กรรมฐานที่ละอย่างที่ปรากฏเด่นชัดที่เกิดขึ้นกับฐานในฐานหนึ่งใน 4 ฐาน (กาย เวทนา จิต ธรรม)ในช่วงขณะนั้นๆ ที่เป็นปัจจุบัน.

     แต่อานาปาสนสติต้องมีสติเฝ้าอยู่เฉพาะที่คือจมูก กำหนดรู้อยู่กับลมหายใจโดยตลอด เพราะโดยธรรมชาติการหายใจนั้นมีอยู่โดยตลอดตามสภาพของร่างกายอยู่แล้ว  สติและความรู้สึกโดยส่วนมากจึงอยู่ที่จมูกเป็นส่วนมาก.


   และการสนทนาในตอนนี้ช่วงนี้  เป็นเรื่องนิมิต เป็นเรื่องมโนภาพ เป็นเรื่องสมถะ นะครับ โดยอาศัยอานาปานสติเบืองต้นก่อนครับ.

   ถ้าเมื่อต้องการสนทนาระดับมีสติเจริญขึ้น จนเท่าทันเพียงอารมณ์เดียวในในขณะเดียว ตามหลักของวิปัสสนาญาณ ยังต้องพัฒนา สติ สมาธิ ปัญญาไปอีกระดับหนึ่งครับ.

ตอบโดย: Vicha 24 มิ.ย. 52 - 19:41


สวัสดีครับคุณระนาด  และจากข้อความของคุณระนาด

อ้างอิง
  หลายเดือนที่ผ่านมานี้  ผมสังเกตุเห็นว่า  เวลาที่ผมปล่อยให้ได้รับความสุขมากขึ้นไปเรื่อยๆ   ร่างกายก็ผ่อนคลายมากขึ้นเรื่อยๆ   จนบางทีกลายเป็นหลับไปเลยก็มี  แต่เมื่อปฏิบัติแบบนี้บ่อยๆ   สติและสัมปชัญญะกลับมีกำลังดีขึ้นมากกว่าเดิมครับ ( ซึ่งความเข้าใจแต่เดิม ผมคิดว่า ถ้าเผลอหลับบ่อยๆแล้วสติจะอ่อนกำลัง ) พักหลังๆนี้   ผมไม่ค่อยหลับแล้วครับ

ผมเคยคิดเล่นๆว่า   ผมน่าจะลองปล่อยให้หลับแบบนี้บ่อยๆ  ก็พอดีคุณวสวัตตีก็เข้ามาแนะนำตรงใจผมพอดีเลยครับ   ขอบคุณ  สำหรับคำแนะนำครับ 

                ----------------------------------------

ถ้าผมจะปล่อยกายปล่อยใจให้รับความสุขให้เต็มที่  ตามที่ผมได้เล่ามา  คุณวิชามีความเห็นอย่างไรบ้างครับ    สติและสัมปชัญญะจะดีขึ้น  ตามที่ผมคาดคะเนหรือไม่ครับ


   คุณระนาดได้ทดลองทำแล้วนี้ครับ  เมื่อทำแล้วสติสัมปชัญญะดีขึ้น ก็ดีชิครับ.

  เมื่อเข้าบ่อยๆ และสติสัมปชัญญะเจริญขึ้น  ก็จะเลิกเข้าเองครับ. คือมีสติรู้เต็มโดยตลอดการกำหนดภาวนานั้นครับ
   แล้วสามารถเอาสติสัมปชัญญะนั้นมากำหนดูที่ละอารมณ์ที่เด่นชัดได้ดีขึ้น ในขณะปฏิบัติสติดูอริยาบทย่อย หรือในขณะอยู่ในสมาธิ เท่าทันในอารมณ์เดียวที่เด่นชัดเป็นปัจจุบันได้ดีขึ้น(ไม่ค่อยเป็นหลายอารณ์ในช่วงเวลาเดียวกัน เพราะสติสัมปชัญญะเจริญขึ้นว่องไวขึ้นหรือรู้ทันมากขึ้น) แยกรูปแยกนามได้ดีขึ้น พร้อมทั้งมีความเข้าใจและเห็นความเปลียนแปลงที่ปรากฏกับรูปนาม หรืออารมณ์ที่ปรากฏได้ชัดเจนขึ้น

  หมายความว่าถ้าพัฒนาสติสมาธิและปัญญาขึ้นมาอย่างดี ขณะที่กำหนดเท่าทันในฐานใด เช่นกาย ก็จะมีสติปัญญารู้กายในกาย  หรือเวทนาในเวทนา หรือจิตในจิต หรือธรรมในธรรมนั้นได้ดีที่เดียวครับ และทั้งมีปัญญาเห็นความเป็นไตรลักษณ์อย่างเป็นปัจจุบันขณะด้วย ถ้าเป็นอย่างนี้ จะปรากฏการกิดดับอย่างชัดเจน ได้ไม่ยากแล้วครับ อยู่ที่ความเพียรในการให้เวลาในการปฏิบัติแล้วครับ.

  หมายเหตุ หรือคุณระนาดอาจจะปรากฏการเห็นการเกิดดับของรูปหรือนาม อย่างชัดเจนมาแล้ว แต่ไม่ได้กล่าวถึงให้ทราบ

 

ตอบโดย: Vicha 24 มิ.ย. 52 - 21:10


เข้ามาถาม นอกเรื่องนิด ตอนนี้ คุณวิชา ฝึกสมถะ ยุบหนอ พองหนอ  หรือฝึกวิปัสสนาสติปัฎฐาน ๔ อยู่ครับ

ชอบที่พี่เอาประสบการณ์จริงมาเล่า ที่เล่านี่ คือผล ของการฝึกสมาธิแบบใหนครับ

ขอบคุณครับ รบกวนเท่านี้

ไม่ใช่อะไร เกิดความศรัทธาขึ้นในใจ  


อยากให้พี่เขียนวิธีฝึกจิต ลงblock ของพี่ในพันทิพ อ่าครับ หรือจะอ่านได้ที่ไหน

ตอบโดย: sawaddee 24 มิ.ย. 52 - 21:37


อ้างอิง (Vicha @ 24 มิ.ย. 52 - 19:41)


   และการสนทนาในตอนนี้ช่วงนี้  เป็นเรื่องนิมิต เป็นเรื่องมโนภาพ เป็นเรื่องสมถะ นะครับ โดยอาศัยอานาปานสติเบืองต้นก่อนครับ.

 

กราบขอบคุณพี่วิชา ครับ

เมื่อพี่วิชากล่าวว่า การสนทนาในช่วงนี้นั้น
เป็นเรื่องของนิมิตร เป็นเรื่องมโนภาพ เป็นเรื่องของสมถะ
โดยอาศัยอานาปานสติเบื้องต้นก่อน นั้น

ในเมื่อเรากล่าวถึง สมถะ แล้ว
โดยความเข้าใจของผม
ก็คือเรากำลังพูดถึงของจิตที่กำลังจดจ่ออยู่กับอารมณ์ใด อารมณ์หนึ่งอยู่
โดยยังไม่มีการขยับจิตไปพิจารณาอารมณ์อื่นใดใหม่ขึ้นมาเพิ่ม ใช่ไหมครับ

เมื่อจิตจับลมหายใจมาเป็นอารมณ์  โดยไม่ไปจับเอาสิ่งอื่นใดใหม่ขึ้นมาเป็นอารมณ์
จิตก็ควรที่จะจดจ่ออยู่กับลมหายใจนั้นตลอดไป  ใช่ไหมครับ
จดจ่ออยู่กับลมหายใจ จนกระทั่งเกิดธรรมปีติ สุข ขึ้นมาใช่ไหม ครับ

เพราะความที่จิตสงบระงับตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว
จิตสงัดจากกามวิตก จิตสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
ธรรมปิติสุข ก็ย่อมเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ใช่ไหม ครับ

ที่นี้พอพี่นำเสนอเรื่องนิมิตร เรื่องมโนภาพ ขึ้นมา
ก็เลยทำให้ผมเกิดความข้องใจขึ้นมา ครับ

ว่าในเมื่อจิตกำลังอยู่กับลมหายใจ เป็นอารณ์
แล้วจู่ๆ จิตก็ไปรับรู้เรื่องของนิมิตร เรื่องของมโนภาพขึ้นมา
ควบคู่ไปกับการรู้ลมหายใจ ด้วย นั้น
เลยทำให้ผมเข้าใจว่า จิตกำลังมีการเคลื่อนไหว
จิตกำลังหลุดออกจากฐานอารมณ์เดิมที่กำหนดในเบื้องต้นไปแล้ว
โดยที่จิตไม่รู้ตัว ครับ

สมถะ กล่าวถึงจิตตั้งมั่นอยู่กับอารณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
จะจับลมหายใจ ก็ได้
จะจับเสียง ก็ได้
จะจับกลิ่น ก็ได้
จะจับรส ก็ได้
จะจับสิ่งที่มากระทบผิวกาย ก็ได้
จะจับธรรมารมณ์ ก็ได้

แต่ขอให้อยู่กับสิ่งนั้นเป็นอารณ์เดียว
โดยจิตไม่ขยับเขยือนไปรับรู้อารณ์อื่นใด
ธรรมชาติสงบเบานิ่ง ย่อมเกิดขึ้นเองอยู่แล้วตามเหตุปัจจัยของจิตเอง

ความเห็นเช่นนี้ผิดถูกอย่างไร
พี่วิชาช่วยชี้แนะนำด้วย ครับ

เพราะผมกำลังเข้าใจว่า
พี่วิชากำลังจับเอานิมิตร มาเป็นอารมณ์
มาเป็นฐานที่ตั้งของจิต อันใหม่
สลับควบคู่กันไปกับฐานลมหายใจเดิม ครับ






 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 25 มิ.ย. 52 - 05:53


อ้างอิง (Vicha @ 24 มิ.ย. 52 - 21:10)


  หมายเหตุ หรือคุณระนาดอาจจะปรากฏการเห็นการเกิดดับของรูปหรือนาม อย่างชัดเจนมาแล้ว แต่ไม่ได้กล่าวถึงให้ทราบ



ขอเรียนถามเพิ่มเติมตรงนี้นิดหน่อยครับ

เมื่อปลายปี 2549    เวลาที่ผมนั่ง ยืน เดิน นอน  ผมจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของความรู้สึกทางกาย และ  เกือบจะพร้อมๆกันนั้นผมก็เห็นการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ในใจควบคู่กันไปด้วย   โดยที่ผมไม่ต้องมีเจตนาจะดู  แต่ความรู้สึกต่างๆจะปรากฏขึ้นมาให้ผมเห็นได้เอง   แบบนี้จะเรียกว่า   ผมเห็นการเกิดดับของรูป - นาม  ( หรือทุกขัง )ได้หรือเปล่าครับ  ( ในช่วงนี้การภาวนาของผมจะเป็นไปเองทั้งกลางวันกลางคืน  โดยที่ผมไม่ต้องตั้งใจภาวนาเหมือนเมื่อก่อนหน้านี้ )


เมื่อผมเห็นการเปลี่ยนแปลงของความรู้สึกต่างๆมาเรื่อยๆ    จนปัจจุบันนี้ ผมเห็นความรู้สึกทางกายเป็นส่วนหนึ่ง  อารมณ์ทางใจเป็นส่วนหนึ่ง  ซึ่งทั้ง กาย  และ ใจ ต่างคนต่างทำหน้าที่ไป   แต่ว่างานของกาย และงานของใจ  ต่างก็เป็นปัจจัยส่งเสริมกันและกันโดยที่ผมไม่มีส่วนร่วม   แบบนี้เรียกว่าผมเห็นความไม่มีเจ้าของของกาย - ใจ  หรืออนัตตาได้หรือเปล่าครับ ( การเห็นความรู้สึกทางกายแบบเห็นทั่วทั้งตัว  เป็นเหมือนกุญแจที่ทำให้ผมเห็นความรู้สึกในใจ   ถ้าผมไม่เห็นความรู้สึกทางกายแบบเห็นทั่วทั้งตัว   ผมจะไม่เห็นความรู้สึกในใจ )

คือว่าผมไม่ค่อยเข้าใจคำศัพท์ทางวิชาการครับ
                  --------------------------------------------

หมายเหตุ  คำว่า  งานของกาย และ งานของใจ  เป็นปัจจัยส่งเสริมกันและกันหมายความว่า.............เวลาที่ผมคิดเรื่องราวต่างๆ   ผมจะรู้ความรู้สึกทางกายควบคู่กันไปด้วย   แล้วผมก็จะเห็นอารมณ์ในใจเปลี่ยนแปลงไปตามความคิด ........ถ้าอารมณ์เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ผมชอบ....ก็จะเกิดความรู้สึกอยากคิดตามมา........ เมื่อคิดไปตามความอยากคิดแล้ว ...... ก็เกิดอารมณ์ในใจใหม่ๆขึ้นมาอีก......ถ้าอารมณ์ในใจตัวใหม่เป็นสิ่งที่ผมชอบ...... ก็เกิดความรู้สึกอยากคิดเพิ่มขึ้นมาอีก ....ความคิดใหม่ๆก็เกิดขึ้นต่อไป....อย่างนี้เรื่อยๆไป


.... ผมดูความรู้สึกทางกาย ( ความรู้สึกทางกายเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ผมเห็นความคิดและอารมณ์ในใจ ).......ดูความคิด ... ดูความอยากคิด ... ดูอารมณ์ในใจ.....โดยดูแบบ " ดูอยู่ห่างๆโดยไม่เข้าไปแทรกแซง "   ถ้าผมดูแบบนี้ ผมจึงจะเห็นสิ่งต่างๆ ( กาย - ใจ )  ไม่มีใครเป็นเจ้าของ  ตามที่ผมเล่ามาครับ
                     -------------------------------------------------

แต่ว่า.......ถ้าผมจ้องดูความคิด  ... จ้องดูความอยากคิด   .... จ้องดูอารมณ์ที่กำลังเกิดขึ้น  .... ทั้งความคิด - ความอยากคิด - อารมณ์ทั้งหลายจะดับลงไปทันที    ถ้าดูแบบนี้คือผมมีเจตนาเข้าไปแทรกแซง  ดังนั้นผมจะไม่เห็น  ความไม่มีเจ้าของ  ของกาย - ใจ   ( แม้ว่าจะมีการเกิดดับก็ตาม )
 

ตอบโดย: ระนาด 25 มิ.ย. 52 - 08:14


สวัสดีคะคุณ Vicha

อนุโมทนาด้วยนะคะ
 

ตอบโดย: ก้อนดิน....^-^ 25 มิ.ย. 52 - 08:43


เรียนตอบ คห 96 ของคุณระนาดนะคะ

การเห็นการเกิด-ดับของรูปนาม คือ เห็นว่าสันตติ หรือ ความสืบเนื่องของรูป-นามขาดลง
โดยปกติรูป-นามนั้นเกิดดับตลอดเวลา  แต่เนื่องจากการเกิด-ดับนั้น  เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
และรวดเร็ว  ทำให้เราดูเหมือนกับว่า มีความต่อเนื่องของรูปนามตลอด

อาการของการเห็นการเกิด-ดับ อันนี้เล่าจากประสบการณ์ของตนเองนะคะ
ตอนนั้นกำลังเิดินจงกรม  เท้าก็ก้าวไปพร้อมกับใจตามดูการเคลื่อนของเท้า
โดยปกติเวลาเราเดินหรือเคลื่อนไหว  เช่น ก้าวขา ก็ประกอบด้วยการก้าวย่อยๆ
หรือเปรียบเทียบกับเวลาเราลากเส้นตรง   เส้นตรงหนึ่งเส้นประกอบขึ้นจากจุด
หลายๆ จุดมาต่อกัน

อาการในขณะนั้น คือ เห็นรูปซึ่งคือ เท้าที่กำลังเคลื่อนดับลง   พร้อมๆ กับจิตที่ตามรู้
การเคลื่อนนั้นดับไปด้วย  มันดับแว้บลงไป คล้ายๆ มันวูบดับไป  แต่สติไม่ได้วูบดับไปด้วย
รู้ตัวตลอดว่าเกิดอะไรขึ้น  สภาวะทั้งหมดรู้อยู่ภายใน  ไม่ได้ใช้ตาเนื้อมองดู
ถ้ามองจากภายนอกก็คือ เดินจงกรมอยู่ตามปกติธรรมดา  พอเห็นสภาวะนี้
จิตใจมันเข้าใจแจ่มแจ้งเลยว่า ที่พระพุทธเจ้าสอนว่า ทุกสิ่งเกิดดับสืบเนื่อง
มันเป็นอย่างนี้เอง  การเกิดดับมีจริงๆ  แต่เราไม่เคยเห็นเอง

แต่อันนี้เป็นประสบการณ์เฉพาะตัว  การเห็นการเกิดดับอาจไม่ได้เห็นด้วยอาการ
แบบเดียวกันทุกคน  แต่ละคนก็คงประสบกับสภาวะธรรมที่ไม่เหมือนกัน  แต่สิ่งที่รู้จะ
ลงมาในหลักเดียวกัน คือ เห็นว่า กาย-ใจ หรือ รูป-นาม นี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

ข้อสังเกตของตนเองเวลาเจอสภาวะธรรมที่ทำให้เราเข้าใจในธรรมะ  มันจะเห็นเอง
เป็นการเห็นล้วนๆ  ปราศจากความจงใจที่จะไปเห็น  ไม่คิดว่าจะได้เห็น  ไม่เจือแม้แต่ความคิด
ไม่มีความอยาก ไม่ไ้ด้คิดพิจารณา  สิ่งที่ทำในขณะที่เห็นสภวาะต่างๆ คือ ตามรู้กายรู้ใจอยู่

ในการเห็นแต่ละครั้ง  เมื่อเห็นแล้ว จิตจะหมดความสงสัยในเรื่องนั้นๆ
แม้ว่าจะกลับมานั่งคิดในเรื่องนั้นอีก  มันจะไม่สงสัยอีก  กลับมาย้อนดูย้อนคิดอีกกี่ที
ก็จะไม่มีคำถามในเรื่องนั้นอีกเนื่องจากได้รู้ไปแล้ว  แล้วสิ่งที่รู้ที่เห็นจะลงในไตรลักษณ์เสมอ
คือ ถ้าไม่เห็นว่าเป็นทุกข์ ก็เห็นว่าไม่เที่ยง หรือ เป็นอนัตตา หรือ เห็นเกิดดับ
อันนี้เป็นเรื่องแปลกแต่จริงมากๆ ค่ะ ปฏิบัติไปเห็นเองรู้เอง ปัจจัตตังค่ะ

ร่ายซะยาว ไม่รู้ช่วยตอบคำถามอ่ะป่าว หรือ ทำให้งงมากขึ้นคะ    

ตอบโดย: อัญญาสิ 25 มิ.ย. 52 - 09:37


สวัสดีครับ ผมตอบไปทีละท่านนะครับ.

    เริ่มจากคุณ sawaddee  ก่อนนะครับ

อ้างอิง
เข้ามาถาม นอกเรื่องนิด ตอนนี้ คุณวิชา ฝึกสมถะ ยุบหนอ พองหนอ  หรือฝึกวิปัสสนาสติปัฎฐาน ๔ อยู่ครับ

ชอบที่พี่เอาประสบการณ์จริงมาเล่า ที่เล่านี่ คือผล ของการฝึกสมาธิแบบใหนครับ

ขอบคุณครับ รบกวนเท่านี้

ไม่ใช่อะไร เกิดความศรัทธาขึ้นในใจ


อยากให้พี่เขียนวิธีฝึกจิต ลงblock ของพี่ในพันทิพ อ่าครับ หรือจะอ่านได้ที่ไหน


   ตอบคุณ sawaddee  ปัจจุบันผมจะกำหนดให้เป็น แบบสมถะก็ได้  ให้เป็นแบบวิปัสสนาก็ได้ในช่วงเวลาเพียงครู่เดียว.  ผมจะอธิบายให้ทราบดังนี้.

   เมื่อต้องการเป็นแบบสมถะ  กำหนดเพ่งไปที่อารมณ์เดียว เช่นลมหายใจกระทบสัมผัสจมูก หรือจุดใดจุดหนึ่งที่พอสมมาตรไม่ให้แกร็งเกินไป และปล่อยวาง ก็จะปลดความรับรู้ภายนอกจนหมดสิ้นจนอยู่ในภวังค์แล้วทิ้งหายไป ถ้าต้องการผักพ่อนทั้งแต่เริ่มก็จะหลับไปเลยครับ
   บางครั้งกำลังนอนตามปกติเพื่อจะนอนหลับในตอนกลางคืน แต่หายใจติดขัดจึงเพ่งด้วยเจตนาที่แรง เพื่อสัมผัสการหายใจนั้น ก็จะรับรู้ลมหายใจสัมผัสได้ชัดเจน เมื่อมีสมาธิที่เป็นหนึ่งขึ้น ก็จะปล่อยวางการรับรู้ภายนอกจนหมดสิ้นอยู่ในภวังค์ หลังจากนั้นก็จะมีการวูบลงไปหนึ่งครั้งแล้วทรงอยู่นิดหนึ่ง แล้ววูบลงไปอีกครั้ง แล้ววูบลงไปอีกครั้ง  แล้ววูบลงไปอีกครั้ง  น่าจะ 4 ครั้งเพราะไม่ได้สน หลังจากนั้นก็ทิ้งหลับไปตามการนอนปกติ.

   เมื่อต้องการกำหนดเป็นวิปัสสนา แค่กำหนดรู้ปับ สติก็รู้ชัดจิตในจิตทันที พอความคิดเด่นขึ้นสติก็จะทันในความคิดหรือการภาวนานั้นทันทีหรือธรรมในธรรม พอเคลื่อนไปรู้ส่วนของกายเด่นชัดสติก็จะทันเป็นปัจจุบันกับกายในกายนั้นทันที พอรู้สึกอ่อนหรือตึงหรือมีความชาชัดสติก็ก็เป็นปัจจุบันรู้เวทนาในเวทนานั้นทันที
    ก็หมายความว่าในช่วงเวลานั้น สติเท่าทันเป็นปัจจุบันกับอารมณ์ที่เด่นชัดแม้แต่เพียงนิดเดียวขณะนั้นที่ปรากฏกับ กาย หรือเวทนา หรือจิต หรือธรรม ที่เปลี่ยนแปลงปรากฏตามสภาวะของเขาหรือธรรมชาติของเขา  ก็เป็นไปตามไตรลักษณ์นั้นเอง.

    ต่อไปผมจะเล่าประสบการณ์ของช่วงเวลาแบบสรุปให้ทราบผมได้ปฏิบัติแบบใหนมาบ้างนะครับ

     14 -16 ปี (2-3 ปี)นั่งสมาธิเองตามแบบพระพุทธรูป ไม่มีผู้สอนจึงคิดว่า รู้สึกอย่างเดียวไม่ต้องคิด ถ้าคิดก็ให้มันหยุดคิด.

     16 - 25 ปี (10 ปี) กำหนดดูลมและภาวนา พุท-โธ และให้เวลามากขึ้นเพิ่มขึ้นๆ จน 3 ปีสุดท้าย คือระลึกได้เมื่อไหรก็ต้องกำหนดดูลมเมื่อนั้น.

      เวลา 5 เดือน กำหนดสติทุกอย่างตามการปฏิบัติแบบ ยุบหนอ-พองหนอ ที่มีคำภาวนาลงท้ายด้วย "หนอ"  แต่ไม่สามารถดู ท้องพอง-ยุบ ไม่ได้ เพราะสติและความรู้สึกจะคงอยู่ที่จมูกและบริเวณเฉพาะหน้าไม่สามารถเคือนไปที่ไหนที่เป็นฐานอื่นได้ จึงตัดสินใจ ดูลมหายใจ เป็นฐานหลัก และปฏิบัติการกำหนดสติข้อปลีกย่อยที่เหลือตามแบบ ยุบหนอ-พองหนอ ทั้งหมดทั้งสิ้น แต่ก็เกิดสภาวะไม่น่าเชื่อว่าวิปัสสนาญาณเจริญขึ้นได้ จนถึงนิพพิทาญาณ แต่ในเวลานั้นสภาวะที่เกิดนั้นไม่รู้เรียกว่าอะไร?.

      หลังจากนั้นเพื่อต้องการทุกอย่างให้ได้แบบการปฏิบัติ ยุบหนอ-พองหนอ จึงทิ้งการกำหนดสติที่ลมหายใจจนหมดสิ้น  ใช้ ยินหนอ-ยินหนอ ของเสียงที่ได้ยินเป็นฐานหลักในปฏิบัติ ตั้งแต่ อายุ 25 ปี จนถึง 35 ปี เป็นเวลาถึง 11 ปีกว่า

      แต่เมื่อได้ศึกษาในพระไตรปิฏกเพิ่มขึ้น ก็ทำให้ทราบว่า อานาปานสตินั้นเป็นทั้ง สมถะและวิปัสสนา ตามพุทธดำรัสทำนองว่า
     เมื่อปฏิบัติอานาปานสติ ให้มากให้สมบูรณ์  สติปัฏฐาน 4 ย่อมสมบูรณ์ด้วย  เมื่อสติปัฏฐาน 4 สมบูรณ์ โพชงค์ 7 ย่อมสมบูรณ์ด้วย เมื่อโพชงค์ 7 สมบูรณ์ มรรคมีองค์ 8 หรือการบรรลุธรรมก็บังเกิดขึ้นได้
      เมื่อได้ทราบดังนี้ และด้วยต้องการหาฐานการกำหนดภาวนาที่สบายกว่าการกำหนด "ได้ยินหนอ" และปฏิบัติได้โดยตลอด ก็คือต้องกลับไปปฏิบัติอานาปานสตินั้นเอง และปรับจนผ่านสภาวะที่เคยติดในสมัยก่อนจนพ้นไปได้ จนถึงปัจจุบัน.
 

ตอบโดย: Vicha 25 มิ.ย. 52 - 09:49



    ตอบคุณปล่อยรู้  แต่จะตอบแบบไม่ยาวนะครับ เพราะได้สนทนาไปมากแล้วในความเห็นก่อน.

     จริงอยู่การปฏิบัติเบื้องต้นนั้น พยามหรือกำหนดให้รู้ที่ลมหายใจอย่างเดียวเป็นอารมณ์เดียว ตามหลักของ การฝึกสมถะกรรมฐาน.
      แต่อานาปานสตินั้นต่างอยู่ตรงที่ว่า เป็นทั้งสมถะและวิปสสนา ซึ่งต้องผ่านด่านที่เป็นสมาธิที่ตั้งมั่นก่อน เพราะอาศัยสมาธิและสติพอๆ กัน เมื่อสมาธิตั้งมั่นแล้ว สติก็จะเด่นชัดและว่องไวขึ้นมา ตามระดับการปฏิบัติ

      ดังนั้นโดยพื้นฐานะ อานาปานสติ คือดำรงสติเฉพาะหน้า มีสติรูหายใจออก มีสติรู้หายใจเข้า (หรือหายใจออกก็รู้ หายใจเข้าก็รู้) แต่หาได้บังคับว่าต้องรู้เพียงอารมณ์เดียวโดยตลอดเท่านั้น สามารถรู้ในช่วงเวลาเดียวได้ 2 หรือ 3 อารมณ์ได้เมื่อสติยังไม่ว่องไวและสมาธิยังไม่ตั้งมั่นพอ แต่หลักก็คือรู้จักการผ่อนคลายและวาง.

   ในพุทธพจน์ก็มีการกล่าวถึง รู้สองอย่างในช่วงเวลาหนึ่งได้ดังนี้
 
  ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจเข้า
   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก เป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า
 


    แต่เมื่อผู้ปฏิบัติพัฒนาสติได้เจริญขึ้นจนวองไว ก็จะสามารถสลับรับรู้อย่างมีสติเพียง 1 อารมณ์ได้ในช่วงเวลาแค่การหายใจเข้าหรือออกเท่านั้น.

   แต่ถ้าฝืนโดยที่สติยังไม่เจริญสมาธิยังไม่ตั้งมั่น เพื่อหายใจเข้า แล้วรู้เพียงอารมณ์เดียวสลับการรับรู้ทั้ง กายสังขารและลมหายใจ ก็อาจจะเกิดอาการมึน หรือชาศีรษะได้ครับ.

    ดังนั้นการฝึกแรกๆ ผมจึงเสนอใช้การชำเลืองรู้ไปก่อน.
  

ตอบโดย: Vicha 25 มิ.ย. 52 - 10:17


อนุโมทนากับคุณอัญญาสิและท่าน Vicha ด้วยครับ

ตอบโดย: วสวัตตี 25 มิ.ย. 52 - 10:23


เรียนพี่วิชาค่ะ      เมื่อ 3-4 เดือนที่แล้ว ตนเองก็กำลังหลับสบายอยู่กลางดึก อยู่ดีๆ จิตตื่นขึ้นมาซะงั้น  เห็นอาการหนักอึงของร่างกายที่นอนหลับอยู่ สงสัยว่าเอ! ทำไมมันหนักเหมือนภูเขาแบบนี้ ปรากฏว่าอ้าว! ที่เรายังหลับอยู่นีนา ก็เลยหลับต่อหลังจิตตื่นอยู่อย่างงั้นต่อไปค่ะ

แปลกจริงค่ะ อยากตื่นเขาก็ตื่นขึ้นมาบังคับควบคุมอะไรไม่ได้เลย    

อุ๊ย! ขออภัยค่ะ ไม่ทราบตนทะลุกลางปล้องหรือเปล่าเนี้ย........   (ตนเท่านั้นที่รู้ค่ะ)

ตอบโดย: เนยยะ 25 มิ.ย. 52 - 10:26


  สนทนากับคุณระนาด

   คุณระนาด ก็มีฐานที่พอมั่นคงแล้วครับ ทั้งแยกรูป-แยกนาม(นามรูปริเฉทญาณ) ทั้งมีปัญญาเห็นปัจจัยในการเกิดรูปและนาม(ปัจจัยปริคคหาญาณ) เห็นการเปลี่ยนแปลงของรูปนาม ที่เปลี่ยนแปลงสลับไม่นิ่ง นั้นก็คือการเห็นไตรลักษณ์ก็ของรูป-นาม ในระดับของ สัมมสนญาณ ก็สมบูรณ์แล้ว.

    การเห็นสันตติขาด ของรูปนามก็พอปรากฏมาบางแล้วครับ ตรงข้อความส่วนนี้.

อ้างอิง
แต่ว่า.......ถ้าผมจ้องดูความคิด  ... จ้องดูความอยากคิด   .... จ้องดูอารมณ์ที่กำลังเกิดขึ้น  .... ทั้งความคิด - ความอยากคิด - อารมณ์ทั้งหลายจะดับลงไปทันที 


   นี้แหละคือสันตติขาด หรือ การเกิดดับกำลังกำบังเกิดขึ้นแล้วครับ ก็คือ อุทยัพพยญาณ กำลังจะปรากฏชัดแล้วครับ.

    ต่อไปคุณระนาดอาจจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจผมก็ต้องเขียนบอกลงไป เพื่ออาจเกิดประโยชน์อาจจะเข้าใจได้ (แต่ผมหาได้ขัดแย้งหรือหักล้างใดๆ นะครับ)

    จากข้อความของคุณระนาด

อ้างอิง
  ถ้าดูแบบนี้คือผมมีเจตนาเข้าไปแทรกแซง  ดังนั้นผมจะไม่เห็น  ความไม่มีเจ้าของ  ของกาย - ใจ   ( แม้ว่าจะมีการเกิดดับก็ตาม )

 
      ผมเน้นนะครับ กับประโยคที่คุณระนาด กล่าวว่า
         "ดังนั้นผมจะไม่เห็น ความไม่มีเจ้าของ ของกาย-ใจ"

      นี้เป็นความรู้สึก ของความเข้าใจที่รู้ว่า "ความไม่มีเจ้าข้อง" โดยไม่แทรกแชง แต่เป็นความเข้าใจที่ลึกที่ละเอียดของ "จินตมยปัญญา" เท่านั้นนะครับ พิจารณาให้ดีและอย่างรอบคอบนะครับ.

       แต่ถ้าถามว่าที่ผ่านมานั้นเป็นวิปัสสนาไหม?  ผมตอบได้ทันที่ว่าเป็นครับ และวิปัสสนาญาณเบื้องต้นพื้นฐาน ก็ได้ปรากฏอย่างชัดเจนแล้ว

       และถ้าถามว่าเมื่อปฏิบัติอย่างนี้มีโอกาส ละกิเลศบรรลุมรรคผลได้ไหม? ผมตอบได้ทันที่ว่าเป็นไปได้ครับ  เพราะในเมื่อ ปัจจัยปริคคหาญาณ และสัมมสนญาณ ได้เจริญขึ้นแล้ว เมื่อมีสภาวะธรรมหรือบารมีที่เหมาะสมก็บรรลุธรรมได้ครับ.

     แต่การปฏิบ้ติวิปัสสนาตามหลักจริงๆ ต้องดำเนินไปตาม วิปัสสนาญาณ ไปตามลำดับ เริ่มตั้งแต่ อุทยัพพยญาณ ภยญาณ ..... เจริญขึ้นไปด้วย พละ 5 (สติ สมาธิ ปัญญา ศรัทธา ความเพียร) ที่เจริญขึ้นอย่างสมดุลสมบูรณ์ จนสิ้นสุดของวิปัสสนาญาณแต่ละรอบ.

     ผมไม่ได้ขัดแย้ง แต่เสนอแนะนะครับ.
  

ตอบโดย: Vicha 25 มิ.ย. 52 - 11:01


สวัสดีครับ คุณก้อนดิน คุณอัญญาสิ คุณวสวัตตี คุณเนยยะ.

  คุณเนยยะครับ  ในบางครั้งเราตื่นจากหลับขึ้นมารับรู้แต่ยังไม่รู้สึกเต็มตัวหรือรางกาย แต่ใจนั้นเข้าใจว่าตื่นสมบูรณ์แล้ว จึงจะขยับกายแต่เหมือนมันหนักไปหมด (เรียกว่าฝีอ่ำ)

     บางคนอยากจะตื่นจริงก็ดิ้นรนจนขยับตื่นขึ้นจนได้แต่เหนือยหน่อย ความจริงเพียงแค่กำหนดภาวนาอะไรก็ได้  เช่นท่อง พุท-โธ ๆๆๆ  หรือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ๆๆๆๆ แล้วสติก็จะค่อยรู้สึกตื่นทั่วตัวเองโดยไม่ต้องดิ้นรนจนต้องเหนือยมาก

     บางคนไม่สนใจหลับต่อ แล้วคอยตื่นตามปกติ. (ถ้าไม่มีโรคกรรมอื่นใดนะครับ)
   

ตอบโดย: Vicha 25 มิ.ย. 52 - 11:24



อ้าว! ผีอ่ำเองหรือค่ะ ...........  

ตอบโดย: เนยยะ 25 มิ.ย. 52 - 11:31


อ้างอิง (Vicha @ 25 มิ.ย. 52 - 10:17)
   ในพุทธพจน์ก็มีการกล่าวถึง รู้สองอย่างในช่วงเวลาหนึ่งได้ดังนี้
 
   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจเข้า
   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก เป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า
 


   

สาธุครับพี่วิชา

พี่วิชาครับ คำว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวง หายใจออก
เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวง หายใจเข้า

กายทั้งปวงในที่นี้  หมายถึงเฉพาะลมหายใจไม่ใช่หรือ ครับ
ไม่ใช่หมายถึงการพิจารณาร่างกาย มิใช่หรือ ครับ

ก็ในเมื่อเรากำลังเจริญอานาปานสติกันอยู่

สติยังอยู่กับลมหายใจเข้าและออก
กายวิญญาณ ยังคงแนบแน่นอยู่กับลมหายใจเข้าออก ไม่หลุดไปไหนเลยมิใช่หรือ ครับ

แต่เมื่อใดที่นิมิตรหรือมโนภาพถูกรับรู้ขึ้นมา
นั้นย่อมแสดงว่า ลมหายใจหลุดหายไปจากการพิจารณาแล้วมิใช่หรือครับ
แต่มันไวมากจนกระทั่งผู้ภาวนาไม่รู้สึก ใช่ไหมครับ


 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 25 มิ.ย. 52 - 12:39


ผมมีความเข้าใจว่า

วิญญาณที่เข้าไปรับรู้ นิมิตรหรือมโนภาพนั้น
เป็นวิญญาณคนละตัวกับตัวที่รู้อยู่กับลมหายใจ ใช่ไหม ครับ

เมื่อจิตหรือวิญญาณหลุดออกไปจากฐานที่กำหนด(ลมหายใจ)
ก็ควรที่จะรีบนำจิตหรือวิญญาณ กลับมารับรู้อยู่กับลมหายใจอย่างเดิม มิใช่หรือครับ

นิมิตรหรือมโนภาพอะไรๆนั้น ก็จะหายไปเอง
เมื่อจิตกลับมาอยู่ลมหายใจตามเดิม

นิมิตรหรือมโนภาพใดๆทั้งหลายนั้น จะไม่หาย
เมื่อจิตหรือวิญญาณเข้าไปใส่ใจ เข้าไปคลุกคลี เข้าไปวิตกวิจาร เล่นด้วย ใช่ไหม ครับ

สุดท้ายแล้ว ผมมีความสงสัยว่า
จิตหรือวิญญาณจะได้อะไรจากการเข้าไปรู้ เข้าไปเห็น นิมิตรหรือมโนภาพ นั้นครับ


 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 25 มิ.ย. 52 - 12:58


สวัสดีครับคุณปล่อยรู้.

อ้างอิง
พี่วิชาครับ คำว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวง หายใจออก
เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวง หายใจเข้า

กายทั้งปวงในที่นี้  หมายถึงเฉพาะลมหายใจไม่ใช่หรือ ครับ
ไม่ใช่หมายถึงการพิจารณาร่างกาย มิใช่หรือ ครับ


 ผมขอทำความเข้าใจกับคุณปล่อยรู้ก่อนนะครับ

     คำว่า "กาย"   นั้นไม่ใช่ ตัวลมหายใจที่ วิ่งออก วิ่งเข้า นะครับ

     คำว่า  "มีสติรู้หายใจออก"  ไม่ใช่ไปจินตนาการถึงว่า เหมือนควันที่เป็นลมพุ่งออกจากจมูก แต่หมายถึ่ง ร่างกายบริเวณจุดที่ลมสัมผัส หรือมีความรู้สึก(เวทนาที่ลมสัมผัส )ถึงการสัมผัสของลม นะครับ  ไม่ใช่ไปจินตนาการถึงตัวลมที่พุ่งเข้าพุ่งออก.

       ในเมื่อมี สติรู้หายใจออก  ก็คือมีสติรู้บริเวณที่ลมกระทบสัมผัส หรือความรู้สึก(เวทนา)ถึงการสัมผัสของลม กับบริเวณส่วนของร่างกาย.

        ดังนั้นเมื่อรู้สึกถึงส่วนที่สัมผัสลมหรือเวทนาที่เกิดลมสัมผัส เป็นจุดเด่น แต่ร่างกายทั้งปวงที่พอรู้สึกได้นั้นเชื่อมต่อกันทั้งหมด
        ดังนั้นถึงแม้มีสติรู้สึกเด่นที่ลมกระทบสัมผัสที่บริเวณจมูก หรือมีเวทนาชัดบริเวณที่ลมสัมผัสจมูก แต่ร่างกายส่วนอื่นก็ยังพอรู้สึกได้อยู่  ในระยะการปฏิบัติเบื้องต้นที่สมาธิยังไม่เป็นหนึ่งและสติยังไม่ว่องไวพอ
          ดังนั้นกายทั้งปวงในที่นี้ผมเข้าใจว่า คือมีสติรู้สึกชัดที่ลมสัมผัส และบริวเณร่างกายที่ยังรู้สึกได้อยู่  หาใช่ว่าบีบบังคับจิตไปที่บริเวณลมกระทบสัมผัสเพียงอย่างเดียว ทุกขณะทุกเวลา
           แต่เมื่อปฏิบัติไปมีสมาธิตั้งมั่นขึ้นสติพอคองไปได้ทุกขณะ ความรู้สึกกายส่วนอื่นก็ลดลงวางลง อยู่ที่บริเวณลมกระทบสัมผัสจมูก หรือบริเวณที่มีเวทนารู้ว่าสัมผัสลมหายใจออกหรือเข้า

           แต่เมื่อสมาธิเริ่มเคลื่อนไม่ตั้งมั่นสติก็ประคองอยู่ไม่ชัด ก็ย่อมมีบางครั้งสร้างความรู้สึกชัดขึ้นมาโดยการหายใจชัดๆ หรือแรงขึ้นมา รู้สึกถึงบริเวณลมกระสมผัสชัด และรู้สึกทั่วพร้อมทั้งร่างกาย เพื่อเกิดสติที่ชัดเจนขึ้น.
 

ตอบโดย: Vicha 25 มิ.ย. 52 - 13:52


จากคำถามของคุณปล่อยรู้

อ้างอิง
สติยังอยู่กับลมหายใจเข้าและออก
กายวิญญาณ ยังคงแนบแน่นอยู่กับลมหายใจเข้าออก ไม่หลุดไปไหนเลยมิใช่หรือ ครับ


ตอบ ใช่ครับ เมื่อมีสมาธิที่ ตั้งมั่นพอควรแล้วครับ

และจากคำถามของคุณปล่อยรู้

อ้างอิง
แต่เมื่อใดที่นิมิตรหรือมโนภาพถูกรับรู้ขึ้นมา
นั้นย่อมแสดงว่า ลมหายใจหลุดหายไปจากการพิจารณาแล้วมิใช่หรือครับ
แต่มันไวมากจนกระทั่งผู้ภาวนาไม่รู้สึก ใช่ไหมครับ


  ตอบ ใช่ครับ เพราะจิตนั้นว่องไว้มาก จึงเหมือนรู้ความรู้สึกบริเวณที่กำหนด พร้อมทั้งรู้นิมิตที่ปรากฏโดยไม่ได้จงใจ พร้อมกันถึงสองอารมณ์ แต่เสมือนมีสติรู้ที่บริเวณกำหนดมากกว่าหรืออย่างเดียว ส่วนนิมิตนั้นปรากฏขึ้นมาเองโดยไม่จงใจ.
     
    อย่างนี้สามารถเรียกได้ว่า สมาธิยังไม่แนนแน่นตั้งมั่น สติก็หาได้เจริญขึ้นจนว่องไวเท่าทัน อารมรณ์ที่ปรากฏ  เพราะยังเสมือนรู้ 2-3 อารมณ์ในเวลาเดียวกัน.
  
 

ตอบโดย: Vicha 25 มิ.ย. 52 - 14:04


จากคำถามของคุณปล่อยรู้ต่อไป
อ้างอิง
วิญญาณที่เข้าไปรับรู้ นิมิตรหรือมโนภาพนั้น
เป็นวิญญาณคนละตัวกับตัวที่รู้อยู่กับลมหายใจ ใช่ไหม ครับ


 ตอบ ใช่ครับ

คำถามของคุณปล่อยรู้
อ้างอิง
เมื่อจิตหรือวิญญาณหลุดออกไปจากฐานที่กำหนด(ลมหายใจ)
ก็ควรที่จะรีบนำจิตหรือวิญญาณ กลับมารับรู้อยู่กับลมหายใจอย่างเดิม มิใช่หรือครับ


  ตอบ ใช่ครับ

 จากคำถามของคุณปล่อยรู้
อ้างอิง
นิมิตรหรือมโนภาพอะไรๆนั้น ก็จะหายไปเอง
เมื่อจิตกลับมาอยู่ลมหายใจตามเดิม


ตอบ ถูกต้องครับ

จากคำถามของคุณปล่อยรู้
อ้างอิง
นิมิตรหรือมโนภาพใดๆทั้งหลายนั้น จะไม่หาย
เมื่อจิตหรือวิญญาณเข้าไปใส่ใจ เข้าไปคลุกคลี เข้าไปวิตกวิจาร เล่นด้วย ใช่ไหม ครับ


ตอบ ถูกต้องครับ  แต่มีสิ่งที่ให้ควรสังเกตุ และควรปฏิบัติอย่างหนึ่ง ไม่ใช่เป็นการไปบังคับ คือเมื่อพัฒนาสมาธิตั้งมั่นแนบแน่นขึ้น สติชัดในบริเวณที่กำหนดมากขึ้น นิมิตหรือมโนภาพนั้นจะหายไปอีก เหลือเพียงอารมณ์เดียว เป็นไปตามระดับของสมาธิ

จากคำถามของคุณปล่อยรู้
อ้างอิง

สุดท้ายแล้ว ผมมีความสงสัยว่า
จิตหรือวิญญาณจะได้อะไรจากการเข้าไปรู้ เข้าไปเห็น นิมิตรหรือมโนภาพ นั้นครับ



ตอบ เรียนรู้ระดับของสมาธิ และความเป็นไตรลักษณ์พื้นฐานเบื้องต้นถ้ามีปัญญาเกิดขึ้น.

  

ตอบโดย: Vicha 25 มิ.ย. 52 - 14:17


อ้างอิง
 Vicha

การปฏิบัติวิปัสสนาตามหลักจริงๆต้องดำเนินไปตาม  วิปัสสนาญาณไปตามลำดับ  เริ่มตั้งแต่อุทยัพยญาณ............. เจริญขึ้นไปด้วยพละ 5  ที่เจริญขึ้นอย่างสมดุลสมบูรณ์


ขอบคุณ  คุณวิชาสำหรับคำแนะนำครับ

เนื่องจาก  ผมไม่มีความรู้ด้านคำศัพท์เหล่านี้เลยครับ  ผมจึงไม่ทราบว่า  อุทยัพญาณคืออะไร   และ  วิปัสสนาญาณมีลำดับอะไรบ้าง
                 ----------------------------------------------

ตอนที่ผมเริ่มหัดกรรมฐานใหม่ๆ  ผมหายใจเข้าว่า " พุท "   หายใจออกว่า " โธ "

ต่อมาเมื่อจิตตั้งมั่นดีไม่วอกแวกแล้ว  ผมก็ละทิ้งคำว่า " พุทโธ "   ผมจะรู้ที่ความรู้สึกที่อาการหายใจอย่างเดียว

ต่อมาเวลาเดินจงกรม  ผมฝึกการรู้ความรู้สึกที่ขา 2 ข้าง

เมื่อผมรู้ความรู้สึกที่ขา 2 ข้างได้แล้ว  ผมก็หัดรู้อาการหายใจพร้อมกับรู้ความรู้สึกที่ขา 2 ข้าง เวลาเดินจงกรม

เมื่อผมรู้ความรู้สึกที่ขา และ รู้อาการหายใจได้พร้อมๆกันอย่างคล่องแคล่วแล้ว  ผมจะเริ่มเห็นความรู้สึกได้ทั่วทั้งร่างกายครับ ( มันเห็นของมันได้เอง  ผมไม่ต้องพยายามเห็น )

เมื่อผมรู้ความรู้สึกทั่วทั้งร่างกายได้แล้ว   ผมก็จะเห็นอารมณ์หรือความรู้สึกในใจ ( มันเห็นของมันเอง  ผมไม่ต้องนึกคิด ไม่ต้องจินตนาการ )

เมื่อผมเห็นความรู้สึกทั่วทั้งร่างกายพร้อมๆกับเห็นอารมณ์ความรู้สึกในใจได้แล้ว  การภาวนาก็จะเกิดเองและเป็นไปเอง  ตรงนี้ผมจึงเริ่มเห็นความไม่มีเจ้าของของกายและใจ ( มันเห็นของมันเอง  ผมไม่ต้องนึกคิด  ไม่ต้องจินตนาการ ) ตามที่ผมได้เล่าให้อ่านไปแล้วข้างต้น

ทั้งหมดที่ผมฝึกฝนมานี้  ต่างก็เป็นเหตุ  และ  เป็นผล  สืบเนื่องกันมา  จะข้ามขั้นตอนไม่ได้อย่างเด็ดขาด    การภาวนาของผมไม่ได้ใช้ความคิดนึกหรือจินตนาการครับ ( อาศัยการฝึกฝนอย่างเดียวล้วนๆ )
             ---------------------------------------------

ถ้าไม่เป็นการรบกวนคุณวิชามากเกินไป   ผมอยากทราบขั้นตอนตามตำราว่า  ลำดับของการปฏิบัติวิปัสสนาจริงๆแล้ว   ตามตำราท่านว่าอย่างไรบ้างครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 25 มิ.ย. 52 - 16:19


๔. อุทยัพพยญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นไตรลักษณ์ชัดเจน โดยสันตติขาด คือ เห็นรูปนามดับไปในทันทีที่ดับ และเห็นรูปนามเกิดขึ้นในขณะที่เกิด หมายความว่า เห็นทันทั้งในขณะที่เกิดและขณะที่ดับ

จาก http://www.abhidhamonline.org/aphi/p9/069.htm

.....ช่วยเพิ่มข้อมูลให้คุณระนาดมึนๆหัวเล่น.....แหะ แหะ แหะ.....

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 25 มิ.ย. 52 - 17:09


อ้างอิง (อัญญาสิ @ 25 มิ.ย. 52 - 09:37)

การเห็นการเกิด-ดับของรูปนาม คือ เห็นว่าสันตติ หรือ ความสืบเนื่องของรูป-นามขาดลง


อาการในขณะนั้น คือ เห็นรูปซึ่งคือ เท้าที่กำลังเคลื่อนดับลง   พร้อมๆ กับจิตที่ตามรู้
การเคลื่อนนั้นดับไปด้วย  มันดับแว้บลงไป คล้ายๆ มันวูบดับไป  แต่สติไม่ได้วูบดับไปด้วย


สวัสดีครับคุณอัญญาสิ  

ผมชอบอ่านความเห็นของคุณมานานแล้ว ( แต่นานๆคุณจึงจะเข้ามาแสดงความเห็น )  วันนี้ผมดีใจ  ที่คุณเข้ามาสนทนากับผมครับ  

                        -----------------------------------

ผมว่านะ  ( เราคุยกันแบบหนุก ๆ ) นักภาวนาจะเห็นอาการไตรลักษณ์ในลักษณะที่แตกต่างกัน  เช่น ... บางคนมีจริตในการเห็นการเกิดดับได้ดี  ... บางคนมีจริตในการเห็นความไม่มีเจ้าของได้ดี ... บางคนมีจริตในการเห็นความไม่เที่ยงได้ดี ...   ซึ่งตรงนี้นักภาวนาจะเลือกตามใจชอบไม่ได้ว่า  เราอยากจะเห็นเกิดดับ  หรือ  เราอยากจะเห็นความไม่มีเจ้าของ  หรือ  เราอยากจะเห็นความไม่เที่ยง   เพราะว่า  จะเห็นไตรลักษณ์ในแง่มุมไหน  มันจะต้องเป็นไปเอง  ไม่ใช่เป็นไปตามใจของเรา   คุณอัญญาสิว่างั้นมั้ยครับ
                   -------------------------------------------------

การเห็นเกิดและดับแบบที่คุณอัญญาสิเห็นนั้น  ผมไม่เห็นเลยครับ  ผมจะเห็นความไม่มีเจ้าของ   และเห็นการเปลี่ยนแปลงของความรู้สึกต่างๆครับ


ขออนุโมทนาในการปฏิบัติของคุณด้วยนะครับ  

 

ตอบโดย: ระนาด 25 มิ.ย. 52 - 17:16



อ้างอิง
   คุณระนาด ก็มีฐานที่พอมั่นคงแล้วครับ ทั้งแยกรูป-แยกนาม(นามรูปริเฉทญาณ) ทั้งมีปัญญาเห็นปัจจัยในการเกิดรูปและนาม(ปัจจัยปริคคหาญาณ) เห็นการเปลี่ยนแปลงของรูปนาม ที่เปลี่ยนแปลงสลับไม่นิ่ง นั้นก็คือการเห็นไตรลักษณ์ก็ของรูป-นาม ในระดับของ สัมมสนญาณ ก็สมบูรณ์แล้ว.

    การเห็นสันตติขาด ของรูปนามก็พอปรากฏมาบางแล้วครับ ตรงข้อความส่วนนี้.

อ้างอิง
แต่ว่า.......ถ้าผมจ้องดูความคิด  ... จ้องดูความอยากคิด   .... จ้องดูอารมณ์ที่กำลังเกิดขึ้น  .... ทั้งความคิด - ความอยากคิด - อารมณ์ทั้งหลายจะดับลงไปทันที 


   นี้แหละคือสันตติขาด หรือ การเกิดดับกำลังกำบังเกิดขึ้นแล้วครับ ก็คือ อุทยัพพยญาณ กำลังจะปรากฏชัดแล้วครับ.


   จากที่ผมได้แสดงไว้ด้านบนนั้น คุณระนาดก็ปฏิบัติมาได้ดีแล้วครับ.

   สันติขาด และการเกิดดับก็บังเกิดขึ้นแล้ว

   แต่ อุทยัพพญาณ วิปัสสนาญาณที่ 4 นั้นปรากฏไม่ชัดเจน

   ถ้าชัดเจน เมื่อกำหนดสติรู้ รูป หรือ นาม ส่วนใหน ก็จะเห็นการเกิดดับได้อย่างชัดเจน เกิดดับจริง ไม่ใช่การเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น ไม่ใช่สันตติขาดที่เป็นแบบขาดตอนแต่ไม่มีการดับอย่างชัดเจน

   เมื่อพละ 5 เจริญ คือมีสติ สมาธิ ปัญญา ศรัทธา และความเพียร สมดุลย์ถึงส่วน สภาวะการเกิดดับก็จะเกิดมากขึ้น สันตติขาดก็จะปรากฏให้เห็นเจ่มชัด ปัญญาเห็นถึงความเป็นไตรลักษณ์เกือบสมบูรณ์

    เมื่อเห็นการเกิดดับเกิดขึ้นบ่อยๆ  หรือเห็นไตรลักษณ์เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป อยู่บ่อยๆ เนื่องๆ   อารมณ์ที่เป็นปรมัติก็จะปรากฏขึ้นสู่วิปัสสนาญาณเบื้องสูง.

     คือ ภังคญาณ (วิปัสสนาญาณที่ 5)  คือมีสติสัมปชัญญะดีขึ้น คือกำหนดสติรู้ไม่ว่าส่วนใหน ก็จะเห็นว่าดับหาย แวบหายไปหมด คล้ายสติสมาธิไม่นักแน่นเลย รูปหรือนานที่ไปกำหนดก็ดับหาย หรือวูบหายไปหมด  เมื่อเป็นมากๆ เข้า วิปัสสนาญาณก็จะเจริญขึ้นเป็น

     ภยญาณ (วิปัสสนาญาณที่ 6) กำหนดรู้รูปนามอะไรก็หายไป ดับไปสิ้น  ก็เกิดสภาวะการกลัวในรูปและนามที่กำหนด สติกำหนดรู้ตรงใหนก็น่ากลัวไปหมด เกิดขึ้นและเป็นเองไม่ใช่จิตนาการขึ้น.

     ผมคงเสนอ วิปัสสนาญาณที่เป็นปรมัตอารมณ์ เพียงแค่นี้ก่อนนะครับ ซึ่งถ้าพัฒนาไปตามลำดับโดยไม่มีสิ่งใดขัดขว้าง หรือปฏิบัติได้อย่างสมบูรณ์ ก็จะเจริญจนครบ 16 ญาณ แต่จะค้างอยู่ที่วิปัสสนาญาณใดชัดเจน ไม่ครบทั้ง 16 ญาณ ก็อยู่ที่การปฏิบัติของบุคคลนั้นๆ .

 

ตอบโดย: Vicha 25 มิ.ย. 52 - 17:20


อ้างอิง (บุญรักษ์ @ 25 มิ.ย. 52 - 17:09)
๔. อุทยัพพยญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นไตรลักษณ์ชัดเจน โดยสันตติขาด คือ เห็นรูปนามดับไปในทันทีที่ดับ และเห็นรูปนามเกิดขึ้นในขณะที่เกิด หมายความว่า เห็นทันทั้งในขณะที่เกิดและขณะที่ดับ

.....ช่วยเพิ่มข้อมูลให้คุณระนาดมึนๆหัวเล่น.....แหะ แหะ แหะ.....

 


 ขอบคุณมากๆเลยครับคุณบุญรักษ์
                   ------------------------------------

ผมเห็นความเปลี่ยนแปลงของความรู้สึกต่างๆ   ตรงนี้ก็คือ  ผมเห็นความรู้สึกเก่าดับไป  ความรู้สึกใหม่เกิดขึ้น ( มีช่องว่างเล็กๆคั่นอยู่หน่อยนึงพอให้รู้ได้ )  แบบนี้จะเรียกว่า  เห็นสันตติขาดได้หรือไม่ครับ    คุณวิชามีความเห็นอย่างไรบ้างครับ  ( ขอรบกวนหน่อย )

หมายเหตุ  ความรู้สึกเก่าดับไป  ความรู้สึกใหม่เกิดขึ้น  ตัวอย่างเช่น  เห็นความโปร่งโล่งสบายในการภาวนา  ค่อยๆเพิ่มมากขึ้น..  เพิ่มมากขึ้น ... เพิ่มมากขึ้น ... โดยมีช่องว่างเล็กๆมาคั่นเอาไว้
                   ---------------------------------------

แต่ถ้าเห็นการเกิดและดับแบบที่คุณอัญญาสิเล่ามา   ผมจะไม่เห็นแบบนั้นเลยครับ

ตอบโดย: ระนาด 25 มิ.ย. 52 - 17:40


ขอบคุณมากครับพี่ ในคห ความคิดเห็นที่ 99 : (Vicha)

     

ตอบโดย: sawaddee 25 มิ.ย. 52 - 20:22


อ่านประสบการณ์ของหลายๆท่านแล้วใจชื้นขึ้นเยอะเลย อย่างน้อยก็ได้รู้ว่าวิปัสสนาญาณนั้นมีจริง แล้วแต่ว่าจะมาปรากฎในลักษณะของอนิจจัง หรือทุกขัง หรืออนัตตา

ยังไงก็ไม่ใช่นิมิตมารอย่างที่เพื่อนผมเขาคิดแน่ๆ

ตอบโดย: วสวัตตี 25 มิ.ย. 52 - 20:59


อ้างอิง (Vicha @ 25 มิ.ย. 52 - 13:52)

 ผมขอทำความเข้าใจกับคุณปล่อยรู้ก่อนนะครับ 

     คำว่า "กาย"   นั้นไม่ใช่ ตัวลมหายใจที่ วิ่งออก วิ่งเข้า นะครับ

     คำว่า  "มีสติรู้หายใจออก"  ไม่ใช่ไปจินตนาการถึงว่า เหมือนควันที่เป็นลมพุ่งออกจากจมูก แต่หมายถึ่ง ร่างกายบริเวณจุดที่ลมสัมผัส หรือมีความรู้สึก(เวทนาที่ลมสัมผัส )ถึงการสัมผัสของลม นะครับ  ไม่ใช่ไปจินตนาการถึงตัวลมที่พุ่งเข้าพุ่งออก.

       

กราบขอบคุณพี่วิชา ครับ

แล้วที่ท่านบอกว่า
ลมหายใจออกยาว ก็รู้ว่าหายใจออกยาว
ลมหายใจเข้ายาว ก็รู้ว่าหายใจเข้ายาว

ลมหายใจออกสั้น ก็รู้ว่าหายใจออกสั้น
ลมหายใจเข้าสั้น ก็รู้ว่าหายใจเข้าสั้น

แท้ที่จริงแล้ว ไม่ใช่เป็นการพิจารณาลักษณะอาการของลมหายใจ

อานาปาสติ ที่ท่านให้พิจารณาดูลมหายใจ นั้น
แท้ที่จริงแล้ว ไม่ใช่หมายถึงการพิจารณาที่ตัวลมหายใจ
แต่เป็นการพิจาณาที่ร่างกายตรงบริเวณจุดที่ลมหายใจสัมผัสอย่างนั้น ใช่ไหม ครับ




 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 26 มิ.ย. 52 - 05:35


อ้างอิง
ความคิดเห็นที่ 112 : (บุญรักษ์)


๔. อุทยัพพยญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นไตรลักษณ์ชัดเจน โดยสันตติขาด คือ เห็นรูปนามดับไปในทันทีที่ดับ และเห็นรูปนามเกิดขึ้นในขณะที่เกิด หมายความว่า เห็นทันทั้งในขณะที่เกิดและขณะที่ดับ

จาก http://www.abhidhamonline.org/aphi/p9/069.htm

.....ช่วยเพิ่มข้อมูลให้คุณระนาดมึนๆหัวเล่น.....แหะ แหะ แหะ.....

 

    สาธุครับ  คุณบุญรักษ์
----------------------------------------

อ้างอิง
อ่านประสบการณ์ของหลายๆท่านแล้วใจชื้นขึ้นเยอะเลย อย่างน้อยก็ได้รู้ว่าวิปัสสนาญาณนั้นมีจริง แล้วแต่ว่าจะมาปรากฎในลักษณะของอนิจจัง หรือทุกขัง หรืออนัตตา

ยังไงก็ไม่ใช่นิมิตมารอย่างที่เพื่อนผมเขาคิดแน่ๆ
จากคุณ : วสวัตตี


แต่ผมอ่าน การอธิบายเรื่อง วิปัสสนาญาณ แล้ว  ผมไม่มั่นใจครับ

ลองเทียบ จาก พระไตรปิฏก อรรถกถาและ การอธิบาย ของ วิปัสสนาจารย์ อีกท่านดูครับ

http://larndham.net/index.php?showtopic=33995&per=1&st=8&#entry580075

ทิฏฐิวิสุทธิ ( นามรูปปริจเฉทญาณ)  โดย อาจารย์แนบ  มหานีรานนท์
http://larndham.net/index.php?showtopic=19112&st=0
 

ตอบโดย: เฉลิมศักดิ์ 26 มิ.ย. 52 - 06:14


อ้างอิง
คุณระนาด
นักภาวนาจะเห็นอาการไตรลักษณ์ในลักษณะที่แตกต่างกัน  เช่น ... บางคนมีจริตในการเห็นการเกิดดับได้ดี  ... บางคนมีจริตในการเห็นความไม่มีเจ้าของได้ดี ... บางคนมีจริตในการเห็นความไม่เที่ยงได้ดี ...   ซึ่งตรงนี้นักภาวนาจะเลือกตามใจชอบไม่ได้ว่า  เราอยากจะเห็นเกิดดับ  หรือ  เราอยากจะเห็นความไม่มีเจ้าของ  หรือ  เราอยากจะเห็นความไม่เที่ยง   เพราะว่า  จะเห็นไตรลักษณ์ในแง่มุมไหน  มันจะต้องเป็นไปเอง  ไม่ใช่เป็นไปตามใจของเรา

เห็นด้วยค่ะว่า ประสบการณ์ของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน  อาการที่เห็นก็จะแตกต่างกัน  แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ เห็นไตรลักษณ์ของรูป-นาม กาย-ใจ  ขึ้นกับว่าแต่ละคนจะเห็นในแง่มุมไหน
ที่สำคัญคือ การเห็นนั้นจะช่วยลดอัตตาตัวตน ลดความเห็นผิด ยังไม่ถึงกับว่าความเห็นผิดหมดนั้นหมดไปในทีเดียว  แต่ก็จะค่อยๆ ลดลง มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องมากขึ้นเรื่อยๆ

อีกประการหนึ่ง ที่พูดว่า ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง นั้น หมายความถึง จิตมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องนะคะ  ขยายความคือ จิตนั้นเห็นแจ้งรู้แจ้งว่ากายใจนั้นไม่ใช่ของเรา เป็นทุกข์
ไม่เที่ยง เป็นอนัตตา แล้วจิตจึงจะยอมวาง คือ ไม่ยึดถือกายใจอีก   ซึ่งอันนี้ไม่ใช่ว่าคิดๆ เอาำได้  การที่เราคิด เช่น เห็นว่าเมื่อกี้โกรธ ตอนนี้ไม่โกรธแล้ว ความโกรธหายไป แปลว่า ความโกรธไม่เที่ยง  อันนี้เป็นการคิด  จิตมันไม่หายดื้อง่ายขนาดนั้นหรอกค่ะ  จิตต้องเห็นสภาวะบ่อยๆ เห็นเนืองๆ จึงจะยอม  ส่วนว่าจะต้องเห็นกันนานมั้ยกว่าจะยอมกันได้  แล้วแต่ว่าดื้อมากดื้อน้อยนะคะ  

การที่เรามาคิดทำความเข้าใจเรื่องไตรลักษณ์  มันก็ใช้อยู่กับทางโลกไปได้เป็นทีๆ  สังเกตตัวเองว่า ถ้าคิดเอาถึงจะคิดให้ลงไตรลักษณ์ได้  แต่ถ้าไปเจอสภาวะแบบเดิมอีก มันก็ขัดใจขึ้นมาได้อีก  ต่างกับถ้าจิตเค้าเห็นของเค้าเอง เค้าวางของเค้าเอง  เวลาเจอสภาวะนั้นอีก  มันก็ไม่กำเริบขึ้นมาอีก  คืออาจจะหวั่นไหวเล็กน้อย แต่จะไม่ตามกิเลสไป

จุดที่อยากจะชี้ให้เห็น ซึ่งคุณระนาดก็ได้แสดงความเห็นไว้แล้ว คือ หน้าที่ของเรามีเพียงมีสติตามรู้กายตามรู้ใจ  ส่วนการจะเห็นการเกิดดับ หรือ การเกิดความรู้ความเข้าอะไรต่างๆ นั้น  เราเลือกไม่ได้  อยากให้เกิดก็ไม่ได้  มันจะเห็นเมื่อสมควรแก่เวลา เมื่อเราทำเหตุมาพอแล้ว  ดังนั้น การเจริญสติต้องทำบ่อยๆ ทำเนืองๆ  การเจริญสติในชีวิตประจำวันจึงมีความสำคัญมาก

คุยกันก็ถือว่าแลกเปลี่ยนประสบการณ์แล้วกันนะคะ  ก็ลองเทียบเคียงกับสภาวะของตนเองดู  แต่อย่าไปยึดว่าจะต้องเห็นแบบเดียวกันเป๊ะๆ  เพราแต่ละคนก็สะสมมาไม่เหมือนกัน  หลักพิจารณากว้างๆ คือ การเห็นนั้น จงใจหรือเปล่า คิดเอาหรือเปล่า เห็นแล้วกิเลสลดมั้ย  หรือกิเลสเท่าเดิม แถมยังดูแ่ก่กล้าขี้นอีก  ถ้ายังคิดอยู่ยังจงใจอยู่ ก็ใจเย็นๆ ดูๆ ไปก่อนอย่าเพิ่งด่วนตัดสิน  ท้ายที่สุด ทุกๆ สภาวะไม่ว่าจะอะไรก็ตาม  ก็เป็นเพียงสภาวะ ให้เรา "รู้" เท่านั้น

ตอบโดย: อัญญาสิ 26 มิ.ย. 52 - 07:33


อ้างอิง (อัญญาสิ @ 26 มิ.ย. 52 - 07:33)
จิตเห็นแจ้งว่ากายใจนั้นไม่ใช่ของเรา แล้วจิตจึงจะยอมวาง   อันนี้ไม่ใช่ว่าคิดๆ เอาำได้ 

การที่เราคิด ว่าเมื่อกี้โกรธ ตอนนี้ไม่โกรธแล้ว  แปลว่า ความโกรธไม่เที่ยง  อันนี้เป็นการคิด  จิตมันไม่หายดื้อง่ายขนาดนั้นหรอกค่ะ 

 
ถ้าคิดเอาถึงจะคิดให้ลงไตรลักษณ์ได้  แต่ถ้าไปเจอสภาวะแบบเดิมอีก มันก็ขัดใจขึ้นมาได้อีก  ต่างกับถ้าจิตเค้าเห็นของเค้าเอง   เวลาเจอสภาวะนั้นอีก  มันก็ไม่กำเริบขึ้นมาอีก 


แหม.............คุณอัญญาสิกล่าวมาโดนใจผมเต็มๆเลย    

การเห็นไตรลักษณ์โดยจิตเข้าไปเห็นด้วยตัวของจิตเอง  แตกต่างจากการเห็นไตรลักษณ์โดยการใช้ความคิด ...... จริงอย่างที่คุณว่ามาไม่มีผิดเลย ( แม้ว่าเห็นความโกรธเกิดขึ้น  และ เห็นความโกรธดับไป  แล้วคิดว่านี่คือไตรลักษณ์  ก็ยังเป็นการใช้ความคิด )
                -----------------------------------------------

ตอนที่ผมยังไม่เห็นไตรลักษณ์ด้วยตัวของจิตเอง ( ก่อนปี 2549 )     เวลามีเรื่องกระทบใจ   ผมจะพิจารณาสภาวะธรรมให้เห็นเป็นไตรลักษณ์ตามที่เคยอ่านจากตำรา   ซึ่งอาจจะปลงตกไปได้บ้าง แต่พอมีเรื่องอีก  ผมก็ต้องนึกคิดเพื่อให้ปลงตกอีก แถมอุบายเดิมๆที่เคยใช้นึกคิดเมื่อคราวก่อนกลับใช้ไม่ได้ผลแล้ว  ต้องหาอุบายใหม่ๆมาพิจารณาไตรลักษณ์


กว่าผมจะเห็นไตรลักษณ์โดยตัวของจิตเองได้   ก็ถึงปลายปี 2549 โน่นแหละครับ ( ผมเริ่มภาวนาปลายปี 2534 )  ตอนที่การภาวนาเกิดเองและเป็นไปเองแล้วนั่นแหละ

ตอนที่ผมเห็นไตรลักษณ์โดยจิตเข้าไปเห็นเองได้เป็นครั้งแรก  ผมนั่งยิ้มคนเดียวอยู่นานเป็นชั่วโมงเลยครับ  และกว่าที่ผมจะเห็นไตรลักษณ์โดยจิตเข้าไปเห็นเองเป็นครั้งที่ 2  ก็คือถัดมาอีก 1 เดือน  สำหรับการเห็นไตรลักษณ์ครั้งที่ 3 นั้น  ก็คือถัดมาอีก 10 วันครับ  แล้วครั้งที่ 4  ครั้งที่5 และครั้งต่อๆไป  ผมก็เห็นได้ง่ายขึ้น  เห็นได้เร็วขึ้นเรื่อยๆ  ตามความชำนาญที่เพิ่มขึ้น

คุยกับคุณอัญญาสิ  สนุกดีครับ  
 

ตอบโดย: ระนาด 26 มิ.ย. 52 - 08:31


สวัสดีครับ คุณระนาด คุณ sawaddee คุณ วสวัตตี คุณปล่อยรู้ คุณอัญญาสิ

   ผมขอตอบคำถามของคุณปล่อยรู้นะครับ.

อ้างอิง
แล้วที่ท่านบอกว่า
ลมหายใจออกยาว ก็รู้ว่าหายใจออกยาว
ลมหายใจเข้ายาว ก็รู้ว่าหายใจเข้ายาว

ลมหายใจออกสั้น ก็รู้ว่าหายใจออกสั้น
ลมหายใจเข้าสั้น ก็รู้ว่าหายใจเข้าสั้น

แท้ที่จริงแล้ว ไม่ใช่เป็นการพิจารณาลักษณะอาการของลมหายใจ


ตอบ น่าจะกล่าวอย่างนี้ครับ แท้จริงแล้ว ไม่ใช่จินตนาการว่าตัวลมเป็นก้อนอย่างนั้นเป็นกลุ่มอย่างนี้ เมื่อหายใจออกหรือเข้า เพราะตัวลมนั้นไม่ใช่กาย และมันก็ไม่มีเวทนา การที่จะรู้ลมหายใจเข้าออกได้ที่ปรากฏจริง ก็ 2 ประการคือ
     1.ลมที่กระทบสัมผัส กับจมูก ปลายจมูก หรือร่องริมฝีปากบน  หรือลักษณะร่างกายที่ สูบลมเข้าหรือออก
     2.รู้เวทนาหรือรู้ความรู้สึกที่หายใจออกหรือเข้า ตามเวทนาที่เกิดขึ้นจริง


 จากคำถามของคุณปล่อยรู้
      อ้างอิง
อานาปาสติ ที่ท่านให้พิจารณาดูลมหายใจ นั้น
แท้ที่จริงแล้ว ไม่ใช่หมายถึงการพิจารณาที่ตัวลมหายใจ
แต่เป็นการพิจาณาที่ร่างกายตรงบริเวณจุดที่ลมหายใจสัมผัสอย่างนั้น ใช่ไหม ครับ


 ตอบ ใช่ครับ ตามข้อที่ 1 เมื่อสติดีสมาธิดีก็จะรู้จุดหรือบริเวณที่ลมสัมผัส  หรือตามข้อที่ 2 ด้านบนที่ผมอธิบายไว้แล้ว รู้จากเวทนาที่ปรากฏก็ได้ ก็ถือว่าไม่ผิดครับ

   และการจะรู้ว่า หายใจอออกยาว หายใจเข้ายาว ได้อย่างไร?

    อธิบายได้อย่างนี้ เมื่อลมหายใจไหลออกยาว ที่จุดสัมผัสหรือที่บริเวณสัมผัสกับลม ก็รู้ว่าไหลออกและไหลออกยาว ที่บริเวณสัมผัส
    แต่ถ้ารู้บริเวณลมสัมผัสไม่ชัด ก็รู้ตรงเวทนาที่เกิดขึ้นก็ได้ครับ. ว่าหายใจยาวหรือสั้น

    

ตอบโดย: Vicha 26 มิ.ย. 52 - 09:19


อ้างอิง
อย่างน้อยก็ได้รู้ว่าวิปัสสนาญาณนั้นมีจริง


เรียนคุณวสวัตตี

เท่าที่ทราบเรื่องวิปัสสนาญาณนั้น  ในพระไตรปิฎกไม่ได้กล่าวไว้  แต่อาจารย์ชั้นหลังๆ ได้แจกแจงขึ้นมา (ไม่รู้จำผิดอ่ะป่าว  ถ้าผิดเดี๋ยวคุณเฉลิมศักดิ์คงตามมาแก้ให้   )

ส่วนตัวมีความเห็นดังนี้ค่ะ  วิปัสสนาญาณหมายถึง ปัญญาที่ไปรู้แจ้งความจริงของรูปนามกายใจ  การอธิบายแจกแจงเป็นขั้นๆ นั้น เป็นการลงรายละเอียดว่า ถ้าเราได้เจริญสติรู้กายรู้ใจอย่างถูกต้อง  จากจุดเริ่มต้นจนถึงได้มรรคผลนิพพานนั้น  ปัญญาที่รู้แจ้งความจริงนั้น  จะมีอาการแสดงเป็นอย่างไรเป็นขั้นๆ ไป  อนึ่งปัญญาที่ว่านั้นยังไม่ใช่ปัญญาในมรรค  เป็นปัญญาเก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงที่สุด  ปัญญาในมรรคจึงจะเกิด

ยกตัวอย่าง เคยฟังคนส่งการบ้านในซีดีหลวงพ่อปราโมทย์มั้ยคะ  บางคนมาส่งบอก มีสติรู้กายรู้ใจ  เห็นว่ากายใจไม่ใช่ของเรา แล้วรู้สึกกลัวๆ รู้สึกว้าเหว่ รู้สึกโหวงเหวง บางคนก็บอกว่าเบื่อๆ เบื่อไปหมด ฯลฯ  ซึ่งฟังดูอาการนั้นๆ ไม่น่าจะเกี่ยวกับการรู้กายรู้ใจเลย  ทำไมรู้กายรู้ใจแล้วมีอาการอย่างนั้นได้  แต่อาการเหล่านั้นก็เกิดขึ้นกับผู้ที่ส่งการบ้านจริงๆ  มันเกิดจากการที่จิตไปเห็นความจริงของกายของใจเข้า  เกิดการค่อยๆ ถอดถอนความเห็นผิด  แล้วแสดงอาการออกมา  ซึ่งอาการต่างๆ เหล่านี้ก็นำมาแจกแจงเรียบเรียงเป็นขั้นๆ ที่เราเรียกกันว่า วิปัสสนาญาณ  ซึ่งตัวเองมองว่าก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไร  ถึงไม่นำมาแจกแจง  อาการเหล่านั้นก็มีอยู่  ส่วนตัวเห็นว่า มีการบันทึกไว้ก็มีข้อดี  แต่เวลาภาวนาอย่าไปยึดถืออะไรมาก  แค่รู้สภาวะที่ปรากฏชัดในขณะนั้นก็พอ  (เดี๋ยวต้องโดนหาว่าพูดอะไรๆ ก็มาลงว่า ให้รู้ไปทุกที    แหะๆ ก็มันแค่นั้นจริงๆ นี่นา )

ไหนๆ ก็สนทนาแล้วขอเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย  วิปัสสนาญาณนั้นแจกแจงไว้ ๑๖ ขั้น
ขั้นที่ ๑ - ๓ นั้น จริงๆ ยังเป็นเขตของสมถะ  ยังไม่เป็นวิปัสสนาจริงๆ  แต่เรียกรวมกันไปโดยอนุโลม  ในขั้นที่สามนี้ (ซึ่งยังเป็นสมถะ) จะเกิดนิมิต และ วิปัสสนูปกิเลสได้ ซึ่งก็จะทำให้เราหลงไหลไปได้  ซึ่งนิมิตนี้เกิดได้เป็นธรรมดาถ้าจิตมีสมาธิพอ  แต่ในบางคนก็ไม่เกิด ก็แล้วแต่ของเ่ก่าสะสมมาไม่เหมือนกัน  การเกิดนิมิตก็เกิดได้กับทุกทวาร  เมื่อนิมิตเกิดก็ให้มีสติรู้ไป อย่าไหลเข้าไปดู  ให้มีสติรู้อยู่กับกายกับใจ  ที่เค้าหลงไปกันเนื่องจากไม่มีสติควบคู่ไปกับสมาธิ  หลงเข้าไปดูนิมิต ลืมกายลืมใจไป  ถ้าผ่านไปได้นิมิตจะเกิดน้อยลง

นิมิตนี้ไม่จำเป็นต้องเกิดเวลานั่งสมาธิหรือกับคนที่ทำสมถะเท่านั้นนะคะ  การเจริญสติเป็นขณะๆ ก็เกิดนิมิตได้  ตัวเองเคยเห็นขณะเดินจงกรม ลืมตาอยู่เลยนี่แหละ  ที่เกิดเช่นนั้นได้เนื่องจากในขณะที่เรามีสติขึ้นมาขณะๆ หนึ่ง  เราจะมีสมาธิขณะๆ หนึ่งด้วย (ขณิกสมาธิ)  ถ้าสติหลายๆ ขณะต่อเนื่องบ่อยๆ  สมาธิก็จะเกิดต่อเนื่องในทำนองเดียวกัน  พอจิตตั้งมั่นมีสมาธิในระดับหนึ่งนิมิตก็เกิดได้  ซึ่งมันก็เกิดเอง  ถ้าใครทำวิปัสสนามากกว่าสมถะ  แล้วเห็นนิมิตก็ไม่ต้องตกใจนะคะ  ไม่ได้แปลว่ามาผิดทางแล้วอะไรแบบนั้นหรอก  มันเป็นทางผ่านน่ะ         ตัวเองมองว่านิมิตกับสมาธิมันมาด้วยกัน  คือมันเป็นธรรมชาติน่ะค่ะ  ถ้ามีเหตุมีปัจจัยมันก็เกิด ไม่ได้วิเศษอะไร แต่ก็ไม่ใช่ต้องไปรังเกียจ  เป็นเรื่องธรรมดาๆ  เมื่อเห็นแล้วมันก็คือ สิ่งที่ให้เราไปรู้เฉยๆ  ไม่ใช่สิ่งที่จะไปสำคัญมั่นหมาย  เพราะถ้าไปสำคัญมั่นหมายก็จะติดอยู่ไม่ก้าวหน้าไปในขั้นต่อๆ ไป (ยังต้องไปต่ออีกตั้ง ๑๓ ขั้นแน่ะ    ขำๆ นะคะ)

ร่วมอนุโมทนากับการปฏิบัติธรรมของทุกๆ ท่านค่ะ    

ปล คุณระนาด ที่ไม่ค่อยได้เข้ามาตอบเพราะขี้เกียจอ่านอะไรยาวๆ น่ะค่ะ แถมเวลาิพิมพ์ตอบก็จัดหน้าจนงงไปหมด  ใช้เวลาเป็นชั่วโมงเลย  ตอนนี้เลิกจัดละ งง  จะพยายามเข้ามาตอบมากขึ้นถ้าเวลาอำนวยนะคะ

ตอบโดย: อัญญาสิ 26 มิ.ย. 52 - 09:20


อ้างอิง
คุณระนาด
แหม.............คุณอัญญาสิกล่าวมาโดนใจผมเต็มๆเลย

ก็โดนมากะตัวเองแล้วไงคะ เลยพูดได้  คุณระนาดอารมณ์ดีนะ เห็นแล้วนั่งยิ้ม
ตัวเองเห็นแล้วนั่งว่า (ด่า) ตัวเองว่าโง่เลยค่ะ แบบเจ็บใจ โง่อยู่ได้ตั้งนาน    

นับถือคุณระนาด และ ท่านอื่นมากๆ เลย อดทนภาวนาไม่ถอยจริงๆ ค่ะ      

ตอบโดย: อัญญาสิ 26 มิ.ย. 52 - 09:34


อนุโมทนากับคุณ Vicha คุณอัญญาสิ คุณระนาด คุณเฉลิมศักดิ์ และทุกๆท่านด้วยครับ

 

ตอบโดย: วสวัตตี 26 มิ.ย. 52 - 10:10


อ้างอิง (อัญญาสิ @ 26 มิ.ย. 52 - 09:34)
 คุณระนาดอารมณ์ดีนะ เห็นแล้วนั่งยิ้ม
ตัวเองเห็นแล้วนั่งว่า (ด่า) ตัวเองว่าโง่เลยค่ะ แบบเจ็บใจ โง่อยู่ได้ตั้งนาน    

นับถือคุณระนาด และ ท่านอื่นมากๆ เลย อดทนภาวนาไม่ถอยจริงๆ ค่ะ      


      5 5 5 5

 ตอนที่ผมเห็นไตรลักษณ์ได้ครั้งแรก   ผมนั่งยิ้มกับตัวเองนานเป็นชั่วโมงๆก็เพราะว่า  ผมขำตัวเองว่า  ......ก็นี่ยังไงล่ะไตรลักษณ์  ทำไมเราโง่จังเลย   ตอนที่เห็นได้นั้น ใจมันโล่งมันโปร่งทันทีทันใดเลย  .... ฮ่า...ฮ่า...ฮ่า....( ผมเพิ่งจะรู้จากคุณอัญญาสิว่า  อาการของคนที่เห็นไตรลักษณ์ได้ครั้งแรก  จะมีอาการเหมือนๆกัน คือเห็นว่า  ตัวเรามันโง่ )


ที่จริงความเป็นไตรลักษณ์มันอยู่กับผมมานานตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว   แต่เผมไม่เห็นมันเองแหละ   กว่าผมจะเห็นได้ต้องใช้เวลาฝึกฝนนานตั้ง 15 ปี  ถ้าเป็นงูผมก็โดนมันกัดตายไปนานแล้วครับ  ( พอนึกถึงตอนนั้นแล้ว  ผมยังขำตัวเองอยู่เลย  ฮี่  ฮี่  ฮี่ )

นับถือความเพียรของคุณอัญญาสิเช่นเดียวกันครับ  

ตอบโดย: ระนาด 26 มิ.ย. 52 - 14:10


เคยได้ยินมาว่า คนที่เห็นไตรลักษณ์ครั้งแรก จะมีคำกล่าวประมาณนี้กันครับ และจิตใจจะเบิกบานเป็นสุข ยิ้มได้ทันที

"อ๋อ อย่างนี้นี่เอง  เรานี่มันโง่จังเลย "

"อ๋อ อย่างนี้นี่เอง เส้นผมบังภูเขาแท้ ๆ "

"ที่แท้เป็นอย่างนี้เองหนอ "

เป็นเช่นนี้กันใช่ไหมครับ

ตอบโดย: น้องบู 26 มิ.ย. 52 - 14:13


อ้างอิง (น้องบู @ 26 มิ.ย. 52 - 14:13)
เคยได้ยินมาว่า คนที่เห็นไตรลักษณ์ครั้งแรก จะมีคำกล่าวประมาณนี้กันครับ และจิตใจจะเบิกบานเป็นสุข ยิ้มได้ทันที

"อ๋อ อย่างนี้นี่เอง  เรานี่มันโง่จังเลย "

"อ๋อ อย่างนี้นี่เอง เส้นผมบังภูเขาแท้ ๆ "

"ที่แท้เป็นอย่างนี้เองหนอ "

เป็นเช่นนี้กันใช่ไหมครับ
(น้องบู @ 26 มิ.ย. 52 - 14:13)

ตอนดิฉันเริ่มเข้าใจไตรลักษณ์ เพราะไปเห็นว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ แล้วจิตสรุปลงว่ามันเป็นอนัตตา    จิตมันเกิดความสลดสังเวชผสมกับประหลาดใจ ชั่วแว๊บนึง แล้ว กลายเป็นอุเบกขา

หลังจากนั้นเวลาใดที่พิจารณาไตรลักษณ์จึงมักลงในมุมเห็นเป็นอนัตตา เหมือนเป็นไม้ตายประจำตัว

เมื่อคืนนี้น่าจะดึกมาก จิตตื่นขึ้นมาเห็นร่างกายนอนหลับอยู่ เห็นมันนอนหายใจ จิตมันพูด(กับใครก็ไม่รู้) ว่านี่แหละการหายใจที่เป็นธรรมชาติ ไม่มีการดัดแปลงใดๆ เราจะรู้มันไปโดยไม่ไปรบกวนแทรกแซง ก็เลยดูร่างกายดูลมหายใจไปเป็นอาณาปาณสติ แต่แล้วมันก็ลงภวังค์หลับไป (ตามระเบียบ) จนได้ค่ะ  

ตอบโดย: Aurora 26 มิ.ย. 52 - 14:38


อ้างอิง (น้องบู @ 26 มิ.ย. 52 - 14:13)
เคยได้ยินมาว่า คนที่เห็นไตรลักษณ์ครั้งแรก จะมีคำกล่าวประมาณนี้กันครับ และจิตใจจะเบิกบานเป็นสุข ยิ้มได้ทันที

"อ๋อ อย่างนี้นี่เอง  เรานี่มันโง่จังเลย "

"อ๋อ อย่างนี้นี่เอง เส้นผมบังภูเขาแท้ ๆ "

"ที่แท้เป็นอย่างนี้เองหนอ "

เป็นเช่นนี้กันใช่ไหมครับ


สำหรับตัวผมนะ   ....ตอนเห็นได้ครั้งแรก  จะมีความปลอดโปร่งโล่งใจขึ้นมาทันทีทันใดเลยครับ   มันจะบอกกับตัวเองว่า  ... นี่ไงล่ะไตรลักษณ์ที่เราเคยอ่านจากตำรา  ...อ๋อ  ของจริงเป็นแบบนี้เองเหรอ ทำไมเราโง่จังเลย....แล้วก็ ... ฮ่ะ ..ฮ่ะ...ฮ่ะ... ( ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่คนเดียวนานเป็นชั่วโมง )


เมื่อเห็นได้บ่อยๆครั้งเข้า  ความขบขันมันจะค่อยๆหายไป  แต่ว่าความปลอดโปร่งโล่งเบาสบายใจยังมีอยู่ตามเดิมครับ  ( บางทีก็มากกว่าเดิม )
 

ตอบโดย: ระนาด 26 มิ.ย. 52 - 14:42


ข้อสังเกตุอีกอย่างหนึ่ง  หลังจากที่คน ๆ นั้นเห็นไตรลักษณ์แล้ว  สภาวะจิตจะเปลี่ยนไป  และไม่กลับหวนกลับไปรู้สึกอย่างเดิมอีกเลย  ไม่ว่าจะผ่านปีอีกกี่ปีก็ตาม


คือไม่สามารถหวนกลับไปยังมีทิฐิแบบเดิมได้อีกเลย

เป็นกันอย่างนั้นใช่ไหมครับ  


 

ตอบโดย: น้องบู 26 มิ.ย. 52 - 14:52


อ้างอิง
คือไม่สามารถหวนกลับไปยังมีทิฐิแบบเดิมได้อีกเลย
จากคุณ : น้องบู [ ตอบ: 26 มิ.ย. 52 14:52 ]

ทิฐิยังกลับไปแบบเดิมได้อยู่
แต่ว่ามีความรู้ความเข้าใจใหม่เพิ่มขึ้นแล้ว
ย่อมมีความมั่นใจในทางเดินของตนได้มากยิ่งขึ้น

เว้นแต่ว่า ผู้ที่เห็นแล้วเกิดอริยะมรรคขึ้นเลย
ทิฐิแบบเดิมจะไม่กลับมาอีก

อันนี้เป็นทิฐิส่วนตัวนะครับ

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 26 มิ.ย. 52 - 16:01


อ๋ออย่างนี้นี่เอง ขอบคุณครับ พี่บุญรักษ์

ตอบโดย: น้องบู 26 มิ.ย. 52 - 16:06


สวัสดีครับ คุณอัญญาสิ  คุณวสวัตตี คุณ Aurora คุณระนาด คุณบุญรักษ์

   ครับ คุณบุญรักษ์ กล่าวได้ถูกต้องแล้วครับ.

     1.การเห็นไตรลักษณ์ด้วย จินตมยปัญญา
     2.การเห็นไตรลักษณ์ด้วย  สัมมสนญาณ (วิปัสสนาญาณที่ 3)
     3.การเห็นไตรลักษณ์ด้วย  อุทยัพพยญาณ (วิปัสสนาญาที่ 4) เห็นไตรลักษณ์ถึง 90 - 99 เปอร์เช็นตร์

     เป็นปัญญาที่ยังไม่สามารถตัดกิเลสที่เป็น อนุสัยสังโยชน์ หรือสังโยชน์บางส่วนได้เด็ดขาด
      แต่ผู้ที่สามารถมีปัญญาเห็นได้อย่างนี้ ก็จะเป็นคนที่ดี หรือประพฤติตนได้ดีขึ้น เพราะมีปัญญาเข้าใจธรรมดีขึ้นมาก

      เคยได้ยินมาว่า บางคนนี้เกเรอันธพาลมาก  เมื่อปฏิบัติธรรมถึง อุทยัพพยญาณ เปลี่ยนเป็นคนละคนเลย เปลี่ยนพฤติกรรม เป็นคนดีเลิกเกเรอันธพาลไปเลยก็มี.

      (วันนี้ทำงานเยอะเกี่ยวกับการเก็บข้อมูล  จึงมีเวลาสทนาน้อย)
 

ตอบโดย: Vicha 26 มิ.ย. 52 - 16:22


ตามอ่านเป็นวงนอกอยู่ค่ะ
ขออนุญาตแทรกเข้ามาเพื่ออนุโมทนาในความรู้
ที่ท่านทั้งหลายได้หยิบยกมาพูดคุยในครั้งนี้
ทำให้เข้าใจในหลายสิ่งได้มากขึ้นทีเดียว
ขออนุโมทนาคุณ Vicha สำหรับกระทู้นี้
และความรู้ที่ท่านทั้งหลายได้กล่าวมาค่ะ

คุณอัญญาสิคะ  อ่านความคิดเห็นของคุณแล้วรู้สึกเย็นชื่นในใจ
(ไม่ได้หมายถึงข้อความในกระทู้ ทำให้รู้สึกนะคะ-เพราะมาถึงตอนนี้ก็จำข้อความไม่ได้แล้วค่ะ)  สงสัยตอนเขียนคงเขียนด้วยความรู้สึกเย็นร่มรื่นในใจจริงๆ
อนุโมทนาค่ะ

ตอบโดย: เภตรา 26 มิ.ย. 52 - 17:08


อ้างอิง (น้องบู @ 26 มิ.ย. 52 - 14:52)
ข้อสังเกตุอีกอย่างหนึ่ง  หลังจากที่คน ๆ นั้นเห็นไตรลักษณ์แล้ว  สภาวะจิตจะเปลี่ยนไป  และไม่กลับหวนกลับไปรู้สึกอย่างเดิมอีกเลย  ไม่ว่าจะผ่านปีอีกกี่ปีก็ตาม


คือไม่สามารถหวนกลับไปยังมีทิฐิแบบเดิมได้อีกเลย

เป็นกันอย่างนั้นใช่ไหมครับ  
(น้องบู @ 26 มิ.ย. 52 - 14:52)

คิดว่าความยึดถือในอัตตา มันค่อยๆจางลงไปทีละเล็กละน้อยค่ะ
สำหรับทิฏฐิ เมื่อเห็นถูกเป็นสัมมาทิฏฐิแล้ว ไม่มีเปลี่ยนแปลง เพราะเกิดความเชื่อมั่นใหม่
ที่ได้ประจักษ์ด้วยภาวนามยปัญญา แจ้งแล้วแจ้งเลย

เมื่อพัฒนาต่อไป ก็จะแจ้งในสิ่งอื่นๆเพิ่มขึ้นเมื่อมีสัมมาสมาธิ

เรียนถามคุณVicha ว่าผู้ทำฌาณ เวลาเกิดปัญญาขณะอยู่ในฌาณ จะแจ้งมากหลายอย่างและพิจารณาสภาวะธรรมได้นานกว่าผู้เป็นวิปัสสนายานิก ซึ่งเกิดสมาธิเพียงระดับขณิกสมาธิ ที่ค่อยๆแจ้งในทีละขณะที่เกิดสมาธิหรือเปล่าคะ

อย่างบางคราว ดิฉันเกิดขณิกสมาธิขึ้นชั่วขณะ  แล้วเห็นอาการที่จิตมันทะยานเข้ายึดเข้าจับร่างกายซึ่งเห็นว่าเป็นก้อนธาตุของโลก ว่าเป็นของมัน แต่ยังไม่แจ้งว่าการเข้าควบคุมกาย การใช้งานบังคับบัญชาร่างกายของจิตนั้น มันทำงานอย่างไร (เพราะจิตถอนออกจากสมาธิไปก่อน)

หรือบางคราว ขณะทำงาน(ใช้คอมฯ) อยู่ เกิดเห็นกระบวนการเกิดผัสสะทางตาขึ้น คือตากำลังมองไปที่มือ เห็นตั้งแต่ แสงสะท้อนจากมือที่กำลังเคลื่อนไหวทำงานอยู่นั้น มาเข้าที่ตา แล้วเห็นอาการที่เกิดจิตเกิดขึ้นออกมารับรู้แสงนั้น เกิดวิญญาณทางตา สัญญาหมายรู้ว่านี่คือมือ โดยสังขารไม่ได้ปรุงอะไร ก็จบเพียงนี้ ซึ่งเกิดในเวลาที่รวดเร็วมาก

ก็เลยคิดว่าคงจะถึงเวลากลับมาทำฌาณที่ทิ้งไปนานแล้ว

ตอบโดย: Aurora 27 มิ.ย. 52 - 07:36


จากพระอภิธัมมัตถสังคหะ  ปริเฉทที่ ๙
http://www.abhidhamonline.org/aphi/p9/083.htm


http://www.geocities.com/southbeach/terrace/4587/9page91-100.htm


สรุปความแล้ว แม้จะมีความสงสัยเอนกประการก็ตาม แต่เมื่อถึงกังขาวิตรณวิสุทธิแล้ว แจ้งใน ปัจจยปริคคหญาณแล้ว ก็พ้นจากการสงสัย ๒ ประการ คือ สงสัยในพระพุทธศาสนา และสงสัยในปัจจัยแห่งรูปนาม ปัจจยปริคคหญาณ สามารถละ อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นผิดว่าไม่มีเหตุ ละ วิสมเหตุกทิฏฐิ เห็นผิดโดยยึดถือเหตุที่ไม่เหมาะ ไม่สมควรและละ กังขามลทิฏฐิ มลทิน หรือความหม่นหมองอันเกิดจากความสงสัยเหล่านี้เสียได้ ผู้ที่ข้ามพ้นความสงสัย คือได้ปฏิบัติจนได้แจ้ง กังขาวิตรณวิสุทธิ เป็นวิสุทธิ ที่ ๔ ในวิสุทธิทั้ง ๗ ซึ่งตรงกับ ปัจจยปริคคหญาณ อันเป็นญาณ ที่ ๒ แห่งโสฬสญาณนี้แล้ว ผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็น จูฬโสดาบัน ดังที่ วิสุทธิมัคค ภาค ๓ หน้า ๒๒๙ บรรทัดที่ ๑๗ แสดงไว้ว่า อิมินา ปน ญาเณน สมนฺนาคโต วิปสฺสโก พุทฺธสาสเน ลทฺธสฺสาโส ลทฺธปติฏโฐ นิยตคติโก จูฬโสตาปนฺโน นาม โหติ ฯ

ผู้เจริญวิปัสสนาถึงญาณที่ ๒ นี้แล้ว ได้ความเบาใจ ได้ที่พึ่งที่อาศัยในพระพุทธศาสนา มีคติอันเที่ยง ชื่อว่า จูฬโสดาบัน

มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ

มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นวิสุทธิมัคค อันดับที่ ๕ ตรงกับ โสฬสญาณที่ ๓ และที่ ๔ ที่ชื่อว่าสัมมสนญาณและอุทยัพพยญาณ ดังมีคาถาที่ ๒๓ แสดงว่า


๒๓. ตโต เตเสฺวว ธมฺเมสุ                        สมฺมสํ ลกฺขณตฺตยํ
           เตสุ ปจฺจย วเสน                            เจว ขณวเสน จ
           อุทยพฺพย ญาเณน                          สมฺปสฺสํ อุทยพฺพยํ ฯ


------------------------------------------

เห็นสมาชิกหลายท่าน  อธิบาย วิปัสสนาญาณ จากประสบการณ์ และ ความเห็นส่วนตัว

บางท่านอาจจะเข้าใจว่าได้ วิปัสสนาญาณ ขั้นสูงแล้ว เป็นคนดี มีเหตุผล

หากเป็นเช่นนั้น จริง หลาย ๆ ท่านคงได้เป็น จูฬโสดาบัน มีที่พึ่งในพระศาสนา มีศรัทธาอันมั่นคงแล้ว

เคยได้ยิน บางสำนักปฏิบัติ สอบอารมณ์กันเอง ต่างยกย่อง ผู้ปฏิบัติ ว่าได้วิปัสสนาญาณ กัน ถ้วนหน้า แม้แต่แม่ครัว

ภายหลังจึงได้สารภาพ ว่า คงไม่ใช่ วิปัสสนาญาณ หรือ เป็น โสดาบัน แล้วละ  เพราะยังเผลอไปยักหยอกทรัพย์ อยู่
(ผิดศีล ๕ อยู่)
-------------------------------------------------------

เรื่อง วิปัสสนาญาณ เกิดปัญญาเห็นไตรลักษณ์นี้  ผมเคยทักท้วงคุณระนาดเช่นกัน ในกระทู้เก่า

ช่วยบอกวิธี หรืออาจารย์สอน ให้ได้ฌาน หน่อยครับ
http://larndham.net/index.php?showtopic=32258&per=1&st=126&#entry534158

ตอบโดย: เฉลิมศักดิ์ 27 มิ.ย. 52 - 07:50


อ้างอิง (Vicha @ 26 มิ.ย. 52 - 16:22)


     1.การเห็นไตรลักษณ์ด้วย จินตมยปัญญา
     2.การเห็นไตรลักษณ์ด้วย  สัมมสนญาณ (วิปัสสนาญาณที่ 3)
     3.การเห็นไตรลักษณ์ด้วย  อุทยัพพยญาณ (วิปัสสนาญาที่ 4) เห็นไตรลักษณ์ถึง 90 - 99 เปอร์เช็นตร์

     เป็นปัญญาที่ยังไม่สามารถตัดกิเลสที่เป็น อนุสัยสังโยชน์ หรือสังโยชน์บางส่วนได้เด็ดขาด


อ๋อ.....เป็นแบบนี้เองหรือครับ   มิน่าเล่าทำไมผมจึงเห็นกายและใจ  ไม่ใช่ตัวเราไม่ใช่ของเราได้เป็นระยะสั้นบ้างยาวบ้าง  ผมยังไม่สามรถเห็นได้อย่างถาวร  ที่แท้มันเป็นเช่นนี้เอง

   ขอบคุณ  คุณวิชามากๆครับ  
                     -------------------------------------------

คุณเฉลิมศักดิ์ครับ  ผมเห็นใจคุณจริงๆ  การเห็นไตรลักษณ์ที่เห็นด้วยจิตด้วยใจจริงๆ   มีความแตกต่างจากการเห็นไตรลักษณ์ด้วยความคิดในจินตนาการมากๆเลยครับ


เรื่องที่คุณตั้งข้อสังสัย  ผมเข้าใจดีว่าคุณไม่เข้าใจตรงไหน  แต่ผมจะอธิบายให้คุณเห็นไตรลักษณ์เหมือนกับที่ผมเห็นได้อย่างไรครับ

ผมสามารถบอกวิธีที่ผมปฏิบัติให้แก่คุณได้  แต่คุณต้องนำไปฝึกฝนเอาเอง  แล้วคุณจึงจะเห็นไตรลักษณ์ด้วยจิตด้วยใจของคุณเองครับ


เมื่อคุณเห็นไตรลักษณ์ได้สักครั้งหนึ่ง  ต่อไปคุณก็จะรู้ได้เองว่า  คุณควรจะตามรู้ตามดูความรู้สึกอย่างไร  ให้มันพอดี  พอดี  ที่จะเห็นไตรลักษณ์ได้อีกเป็นครั้งที่ 2

เมื่อเห็นครั้งที่ 2 ได้แล้ว  ต่อไปคุณก็เริ่มมีความชำนาญในการตามรู้ตามดูความรู้สึกมากขึ้นอีก  แล้วไตรลักษณ์ครั้งที่ 3 ก็มาปรากฏให้คุณเห็นได้อีก  ซึ่งจะง่ายและเร็วกว่าเดิม

แล้วการเห็นไตรลักษณ์ในครั้งต่อๆไป  คุณจะมีความชำนาญมากขึ้นไปเรื่อยๆครับ   ในทางตำราจะเรียกความชำนาญในการเห็นไตรลักษณ์ได้บ่อยๆว่าเป็นญาณ  หรือเป็นฌาน  หรือเป็นปัญญาวิปัสสนา  หรือเป็นวิปัสสนาญาณอะไรก็แล้วแต่  ตรงนี้คุณต้องไปเปิดดูชื่อเรียกในตำราครับ

ความชำนาญในการตามรู้ตามดูความรู้สึก   แล้วอาการของไตรลักษณ์ก็ปรากฏขึ้นมานี้   มันสอนกันไม่ได้จริงๆครับ  ผมจะบอกคุณอย่างไรว่า  คุณต้องวางน้ำหนักในการดูความรู้สึกอย่างไร  ที่ไม่ใช่เพ่งและไม่ใช่เผลอ  แล้วจึงจะเห็นไตรลักษณ์  ความสามารถตรงนี้คุณต้องฝึกฝนเอาเอง

แต่ถ้าคุณเฉลิมศักดิ์อ่านตำราว่าไตรลักษณ์คืออาการอย่างนี้อย่างนั้น  แล้วคนที่เห็นไตรลักษณ์ได้  ก็น่าจะเป็นคนมีจิตใจอย่างนี้  นิสัยอย่างนั้น  เวลาพูดคุยก็ใช้ศัพท์ได้ถูกต้องตรงตามตำรา   ตรงนี้มันห่างไกลจากความเป็นจริงมากๆเลยครับ

  ผมเป็นนักปฏิบัติที่ยังไม่ได้ศึกษาตำรา  ซึ่งผมก็จะรู้แต่วิธีปฏิบัติที่เป็นของจริง   ผมจะรู้ตำราได้   ผมก็ต้องมาศึกษาตำราอีกทีหนึ่งในภายหลังครับ

ผมก็อยากจะช่วยคุณเฉลิมศักดิ์นะครับ  แต่ผมก็บอกคุณได้แค่นี้เเหละครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 27 มิ.ย. 52 - 09:19


สาธุ สาธุ สาธุ  ในกองบุญกองกุศลของท่านผู้กำลังเดินทางอยู่ในขณะปัจจุบันนี้ทุกท่านครับ

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ แปลว่า พระธรรมอันผู้บรรลุจะพึงรู้เฉพาะตน

หากอยากรู้ว่ามะนาวนั้นเปรี้ยวอย่างไร รสชาติที่กล่าวว่าเปรี้ยวเป็นเช่นใด ความรู้สึกที่ทำให้เอ่ยวาจาว่าเปรี้ยวเป็นเช่นใด  ท่านต้องลองชิมเอาเอง ต้องเอาลิ้นไปแตะ เอาเข้าปากแล้วลองเคี้ยวและลิ้มรสดู ก็จะรู้ได้ว่าที่เขาว่าเปรี้ยวนั้นเป็นเช่นไร

บอกได้ว่าเปรี้ยว บอกความรู้สึกเปรี้ยวได้ แต่บอกไม่ได้ว่าสิ่งที่ประจักษ์แจ้งนี้เป็นเช่นใด ต้องมารู้ด้วยตัวเอง ต้องมาประจักษ์แจ้งด้วยตนเอง

ท้ายที่สุดแล้วจะกล่าววาจาว่า "มะนาวเปรี้ยวจัง"  เหมือนกันทุกคน เพราะท่านชิมมะนาวผลเดียวกัน แต่คนละลิ้นกัน จึงเป็น ปัจจัตตัง พึงรู้ได้เฉพาะตน

เจริญในธรรม

ตอบโดย: doyjaar 27 มิ.ย. 52 - 10:18


สวัสดีครับ คุณphetra  คุณAurora คุณระนาด

ขอตอบคำตาม คุณ Aurora นะครับ

อ้างอิง
 เรียนถามคุณVicha ว่าผู้ทำฌาณ เวลาเกิดปัญญาขณะอยู่ในฌาณ จะแจ้งมากหลายอย่างและพิจารณาสภาวะธรรมได้นานกว่าผู้เป็นวิปัสสนายานิก ซึ่งเกิดสมาธิเพียงระดับขณิกสมาธิ ที่ค่อยๆแจ้งในทีละขณะที่เกิดสมาธิหรือเปล่าคะ


    ตอบคุณ Aurora  ปัญญาในภาวนามยปัญญา แบ่งเป็นข้อย่อยได้สองอย่างคือสมถะและวิปัสสนาดังนี้.

         1.ปัญญาของสมถะ ได้แก่ ฌาน มีปัญญาในการละนิวรณ์ 5 และข่มกิเลสอย่างหยาบอย่างกลางได้ชั่วคราว ตามกำลังของสมาธินั้น

         2.ปัญญาของวิปัสสนา ได้แก่ วปัสสนาญาณ หรือ มรรคญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้งในไตรลักษณ์ หรือการเกิดดับของรูปนาม เห็นอริยสัจ 4 ได้อย่างสมบูรณ์ หรือ/และ ละสังโยชน์ได้อย่างเด็ดขาดบางส่วน และจนหมดสิ้น.

        ดังนั้นการคิดพิจารณาในสมาธิในระดับองค์ฌานหรืออุปจารสมาธิ กับปัญญาเห็นแจ้งในไตรลักษณ์ที่เกิดขึ้นกับรูปนามตามที่เป็นจริงขณะนั้นๆ แตกต่างกันครับ  เพราะอย่างแรกนั้นเป็นการคิดพิจารณา  อย่างที่สองนั้นปัญญาเห็นจริงในขณะปัจจุบันขณะ .
     
จากคำถามของคุณ Aurora
อ้างอิง
อย่างบางคราว ดิฉันเกิดขณิกสมาธิขึ้นชั่วขณะ  แล้วเห็นอาการที่จิตมันทะยานเข้ายึดเข้าจับร่างกายซึ่งเห็นว่าเป็นก้อนธาตุของโลก ว่าเป็นของมัน แต่ยังไม่แจ้งว่าการเข้าควบคุมกาย การใช้งานบังคับบัญชาร่างกายของจิตนั้น มันทำงานอย่างไร (เพราะจิตถอนออกจากสมาธิไปก่อน)


ตอบ อยู่ที่การเจริญสติให้เป็นปัจจุบั้นและทันปัจจุบันมากกว่าครับ จนปัญญเห็นแจ้งไตรลักษณ์กับรูปนามที่ปรากฏเป็นปัจจุบันนั้นๆ  ตามที่กล่าวด้านบนนั้นคือสติพอทันปัจจุบันเพียงขณะหนึ่ง หลังจากนั้นก็ไม่เป็นปัจจุบันเสียแล้วครับ.
  
และจากข้อความของคุณ Aurora
อ้างอิง
หรือบางคราว ขณะทำงาน(ใช้คอมฯ) อยู่ เกิดเห็นกระบวนการเกิดผัสสะทางตาขึ้น คือตากำลังมองไปที่มือ เห็นตั้งแต่ แสงสะท้อนจากมือที่กำลังเคลื่อนไหวทำงานอยู่นั้น มาเข้าที่ตา แล้วเห็นอาการที่เกิดจิตเกิดขึ้นออกมารับรู้แสงนั้น เกิดวิญญาณทางตา สัญญาหมายรู้ว่านี่คือมือ โดยสังขารไม่ได้ปรุงอะไร ก็จบเพียงนี้ ซึ่งเกิดในเวลาที่รวดเร็วมาก


ตอบ เมื่อสติเท่าทันปัจจุบันหรือเป็นปัจจุบันก็มีภาวะประมาณนี้และครับ ต่อไปก็ขึ้นกับปัญญาว่าจะปรากฏแจ่มแจ้งได้ทันเป็นปัจจุบันหรือเปล่าครับ.

ตอบโดย: Vicha 27 มิ.ย. 52 - 10:38


เรียนคุณเฉลิมศักดิ์

ดิฉันว่ากระทู้นี้ เราก็เหมือนกับสนทนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ภาวนากันน่ะนะคะ

เรื่องวิปัสสนาญาณนั้น  เราจะสนใจหรือไม่สนใจมันก็ได้  เพียงแค่เรามีสติรู้กายรู้ใจ
อย่างถูกต้อง  ความรู้ความเข้าใจต่างๆ ย่อมค่อยเกิดขึ้นตามลำดับๆ  ไม่จำเป็นต้องรู้
ด้วยซ้ำว่าเป็นวิปัสสนาญาณหรือไม่  แต่เนื่องจากจริตคนเราไม่เหมือนกัน  ความรู้ที่
เคยศึกษามาก็ไม่เท่ากัน  บางคนก็ชอบปริยัติมากๆ  บางคนก็ขอรู้นิดหน่อยก็ยังดี
บางคนก็ไม่สนใจตำรา ครูบาอาจารย์สอนให้ภาวนาก็ภาวนาไป ไม่ได้สนใจว่าเค้าจะ
เรียกกันว่าอะไร (บางทีภาวนาดีกว่าพวกที่รู้ตำรามากๆ เสียอีก   )

เวลาเราภาวนาๆ ไป  หลายๆ ครั้งสภาวะธรรมที่เกิดข้างในมันก็ชวนให้สงสัยว่า คนอื่น
เค้าจะเห็นเหมือนอย่างที่เราเห็นหรือเปล่า  ที่เราเห็นมันถูกหรือเปล่า  มาคุยกันมันก็ได้
ฟังคนอื่นเค้าบอกเล่าประสบการณ์  ประโยชน์มันก็มี  แล้วเราคุยกัน ก็ไม่ได้มาอวดอ้าง
อะไรว่าชั้นถึงตรงนั้นตรงนี้  เปรียบไปก็เหมือนกับคนร่วมเิดินทางเดียวกัน  ติ๊ต่างว่า
เราเดินมาได้ครี่งทางละ ก็ย่อมรู้ทางมากกว่าคนที่เดินมาแค่หนึ่งในสี่   หรือคนที่เดินมา
ได้ระยะทางเท่ากัน  คุยกันถึงความหลังครั้งยังเริ่มจนมาถึงจุดที่ยืนอยู่  มันก็มีอะไร
คล้ายคลึงกันอยู่  สภาวะธรรมอาจจะต่าง  แต่ความเข้าใจนั้นลงรอยกัน  ก็อุ่นใจว่ามีเพื่อน

แต่ถึงยังไงแต่ละคนก็ต้องหมั่นตรวจสอบตนเองเสมอๆ  ไม่ใช่ว่าฟังของคนอื่นแล้วเราจะ
ไปยึดไปถือตามเค้าไปหมด  มันก็ต้องย้อนมาดูตัวเองเสมอว่า ภาวนาแล้วกิเลสมันลดมั้ย
ที่เคยยึดมั่นถือมั่น มันดีขึ้นหรือเปล่า หรือว่าไม่ยึดอันนี้แต่ไปยึดอันโน้นแทน  ลงท้ายเรา
ก็ต้องตรวจสอบตัวเองแหละค่ะ  ถึงจะเอาตัวรอดได้  คนอื่นบอกอย่างไร  แต่ตัวเรายังไม่เชื่อ
ยังไม่เห็นด้วยตัวเอง  ประโยชน์ที่ตัวเองจะได้มันก็ยังถือว่าน้อยอยู่

ส่วนใครชอบตำรับตำรามากๆ นี่ อยากให้ภาวนาด้วย  เมื่อรู้ปริยัติ ได้ลงมือปฏิบัติ
จนเกิดปฏิเวธนี่  ความรู้ความเข้าใจจะแตกฉานมากขึ้นไปอีก  เรียกได้ว่าเชื่อมโยงเป็น
เนื้อเดียวกันทั้งตำราและสภาวะธรรมภายในกายในใจ

อ้างอิง
บางท่านอาจจะเข้าใจว่าได้ วิปัสสนาญาณ ขั้นสูงแล้ว เป็นคนดี มีเหตุผล
หากเป็นเช่นนั้น จริง หลาย ๆ ท่านคงได้เป็น จูฬโสดาบัน มีที่พึ่งในพระศาสนา
มีศรัทธาอันมั่นคงแล้ว

ตรงนี้ขอแสดงความเห็นแบบนี้นะคะ  การได้วิปัสสนาญาณนั้น ไม่ว่าขั้นใดก็คือ ความรู้
ความเข้าใจในความเป็นจริงของกายของใจค่อยๆ สะสมไป  จิตก็ค่อยๆ ถอดถอนความ
ยึดมั่นถือมั่นไปตามลำดับ  อย่างไรก็ตามวิปัสสนาญาณนั้นก็ถอยขึ้นถอยลงได้  ถ้ายัง
ไม่เกิดมรรคเกิดผล  ก็ยังเป็นปุถุชนอยู่  บางวันก็ดี บางวันก็ไม่ดี  จะยั่วโมโหใครก็ดูๆ
เสียก่อนนะว่า วันนั้นเค้าอยู่ในโหมดญาณสูงๆ อ่ะป่าว  เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน

ส่วนใครได้วิปัสสนาญาณสูงๆ แล้วจะเป็นคนดีหรือเปล่า  ก็คงดีประมาณหนึ่ง  ศีลก็คงพอมี
ถ้าไ่ม่โดนกิเลสลากไปเสียก่อน  แต่ก็ยังกลับกลอกได้เพราะยังเป็นปุถุชนอยู่  โอกาสจะ
พลาดพลั้งก็ยังมี  เพราะผู้ที่จะมีศีลวิรัติ เป็นอธิศีลแบบมั่นคงก็ต้องเป็นโสดาบันจริงๆ

จูฬโสดาบัน หรือ บางทีเรียก จุลโสดาบัน หรือ โสดาบันน้อยๆ  ซึ่งที่คุณยกมาว่า
ตรงกับญาณ ๒ ในวิปัสสนาญาณ ๑๖ (โสฬสญาณ)  เป็นการเรียกโดยอนุโลม
จะว่ามีความเห็นถูกนั้นก็จริงอยู่  แต่ยังไม่เที่ยง  เพราะญาณที่ ๒ ในโสฬสญาณ
ยังไม่ถือเป็นวิปัสสนาจริงๆ  ยังเสื่อมไปได้  จะว่ามีศรัทธาก็คงมี  แต่จะว่ามั่นคง
ไม่กลับกลอกอีแล้วคงไม่ได้  เพราะยังเป็นของเสื่อมได้  ผู้ที่จะมีศรัทธาไม่กลับกลอก
ต้องเป็นโสดาบันบุคคล ได้โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล ไม่ใช่เป็นแค่จุลโสดาบัน

ตอบโดย: อัญญาสิ 27 มิ.ย. 52 - 10:45


คุณอัญญาสิ


     

ตอบโดย: mes 27 มิ.ย. 52 - 14:13



มหาสติปัฏฐานสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_name.php?name=มหาสติปัฏฐานสูตร&book=9&bookZ=33

อรรถกถาทีฆนิกาย มหาวรรค   มหาสติปัฏฐานสูตร
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10.0&i=273

อรรถกถาอิริยาบถบรรพ
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273&p=2#อิริยาบถบรรพ


 อ้างอิงพระบาลี อรรถาธิบาย จากหนังสือ อุบายดับทุกข์ โดย อ. ไชยวัฒน์
http://larndham.net/index.php?showtopic=23508&st=0


แนะแนวทางปฏิบัติวิปัสสนา  โดย อาจารย์แนบ มหานีรานนท์

http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-preach-index-page.htm

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6180


การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ตอน เหตุผลในการกำหนดอิริยาบถ  โดยอาจารย์บุญมี  เมธางกูร
http://www.dharma-gateway.com/ubasok/ubasok-preach-boonmee-index-page.htm

http://www.abhidhamonline.org/Ajan/book.htm

----------------------------------------------------------------

อ้างอิง
ความคิดเห็นที่ 137 : (ระนาด)

คุณเฉลิมศักดิ์ครับ  ผมเห็นใจคุณจริงๆ  การเห็นไตรลักษณ์ที่เห็นด้วยจิตด้วยใจจริงๆ   มีความแตกต่างจากการเห็นไตรลักษณ์ด้วยความคิดในจินตนาการมากๆเลยครับ


เรื่องที่คุณตั้งข้อสังสัย  ผมเข้าใจดีว่าคุณไม่เข้าใจตรงไหน  แต่ผมจะอธิบายให้คุณเห็นไตรลักษณ์เหมือนกับที่ผมเห็นได้อย่างไรครับ

ผมสามารถบอกวิธีที่ผมปฏิบัติให้แก่คุณได้  แต่คุณต้องนำไปฝึกฝนเอาเอง  แล้วคุณจึงจะเห็นไตรลักษณ์ด้วยจิตด้วยใจของคุณเองครับ



การเห็นไตรลักษณ์นี้  เป็นหน้าที่ของ วิปัสสนาปัญญา ครับ

อันมีพื้นฐานจาก การรู้สภาพธรรมทั้งหลาย มีเพียงรูป นาม และรู้เห็นเหตุปัจจัยของการเกิดรูป นาม

คุณระนาดครับ  ผมเพียงเริ่มต้น กำหนดรู้ใน รูป นาม ที่เป็น ปัจจุบันอารมณ์ ยังไม่เกิดวิปัสสนาญาณ ใด ๆ

ผมไม่มั่นใจในแนวทาง ของ อัตตโนมติ ที่มาจากประสบการณ์ส่วนตัว ซึ่งดูจะขัดแย้งกับ คันถธุระ (ปริยัติศาสนา)

ผมขอปฏิบัติตามแบบแผนที่ปรากฏหลักฐาน ในพระไตรปิฏก อรรถกถา และ พระวิปัสสนาจารย์  ที่พิจารณา รูป นาม อันเป็นปัจจุบันอารมณ์

บางทีเวลาปฏิบัติก็ขาดโยนิโสมนสิการ มีกิเลสมาหนุนหลังการปฏิบัติ

อยากเห็น รูป นาม  , อยากเห็นไตรลักษณ์, อยากสงบไม่อยากฟุ้งซ่าน  ฯลฯ

ปัญญา ที่จะเห็น รูป นาม และ เหตุปัจจัยของรูปนาม จึงยังไม่เกิดครับ


-----------------------------------------------

จึงมีหลักสำหรับผู้ปฏิบัติ  ให้ระวังความอยากต่าง ๆ

ตอบกระทู้ การปฏิบัติธรรม ต้องมีความอยาก!!!
http://larndham.net/index.php?showtopic=34754&st=59

ข้อที่ ๔ ในขณะที่กำหนดนั้น ต้องระวังอย่าให้มีความรู้สึกว่า จะกำหนดเพื่อจะต้องการอะไร นี้ก็มีความสำคัญเหมือนกัน ทำไมจึงได้ห้ามเช่นนั้น คือในขณะที่กำหนดลงไปนั้น จะกำหนดรูปอะไร หรือว่านามอะไรก็ตาม เวลานั่งก็ดี เวลาเดินก็ดี เช่นกำหนดรูปเดินอย่างนี้ เวลาที่กำหนดนั้นน่ะ ในใจมีความรู้สึกขึ้นมาว่า ใคร่จะเดินเพื่อจะเห็นธรรมะ จะเดินเพื่อต้องการให้จิตใจสงบ มันฟุ้งมากนักก็ลุกขึ้นเดินเสีย จิตจะได้สงบ ถ้าทำวิปัสสนาแล้วได้ความรู้สึกอย่างนี้ ใช้ไม่ได้เลย เพราะอะไร เพราะความรู้สึกนั้นเป็นความรู้สึกที่เจือด้วยกิเลสตัณหา อารมณ์นั้นเป็นที่อาศัยของตัณหาและทิฏฐิ เพราะฉะนั้นใช้ไม่ได้ การทำวิปัสสนานี้ จะต้องพยายามขับไล่กิเลสสำคัญ คือตัณหาและทิฏฐินี้ออกให้ห่างไปก่อน จะได้แลเห็นความจริงของสิ่งนั้น อุปมาเหมือนกับน้ำที่มีแหนปิดอยู่ น้ำนั่นน่ะใสสะอาด อาจมองเห็นว่ามีอะไรอยู่ในก้นบ่อนั้นได้ แต่ว่ามีแหนมาปิดเสีย เราจึงไม่สามารถมองเห็นว่าก้นบ่อนั้นมีอะไรอยู่ มองรู้ไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ ถ้าเราอยากจะรู้ เราก็ต้องแหวกเอาแหนนั่นออกให้ห่างเสียก่อน แหนนั้น เมื่ออกห่างไปแล้ว จึงจะมองเห็นว่า มีอะไรอยู่ก้นบ่อนั้นอย่างนี้

--------------------------------------------
http://www.dhammajak.net/smati/-9.html

เพราะฉะนั้น เรื่องผลจึงไม่ต้องไปหวังจะได้เห็นอะไรหรือยัง เกิดดับไตรลักษณ์นั่นมันเป็นผลของงานหน้าที่ของเรา คือ ทำงานให้ถูกต้องเท่านั้นแหละ เงินดาวเงินเดือนไม่ต้องไปนึกถึง ถ้าท่านทำผิดแล้วอยากได้เงินเดือนเท่าไร เขาก็ไม่ให้ หน้าที่เราต้องทำให้ดี ทำให้ถูก นี่ก็เหมือนกัน เวลามาเข้าวิปัสสนานี่ ปัญญาวิปัสสนาก็ดี เห็นหรือไม่เห็นนามรูป ไตรลักษณ์เกิดดับก็ดี ไม่ต้องนึกถึง ทำงานให้ถูกว่า เวลานั้นเขาให้กำหนดอย่างไร เวลานั้นเขาให้ทำความรู้สึกอย่างไร เช่น อย่างเวลาจะเปลี่ยนอิริยาบถ นี่เขาให้ทำความรู้สึกอย่างไร เช่น อย่างเวลาจะเปลี่ยนอิริยาบถ นี่เขาให้ทำความรู้สึกอย่างไร อ้อ.........เขาต้องให้รู้เสียก่อนว่า ทุกข์มันเกิดขึ้น ถ้าเราไม่ว่า ทุกข์เราก็ไม่รู้ว่า จะเปลี่ยนเพราะอะไร ก็จะกลายเป็นเราอยากเปลี่ยนทุกที เราต้องรู้เหตุว่า ทุกข์มันเกิดขึ้นเสียก่อน ถ้าทุกข์เกิดขึ้นแล้วจะเปลี่ยนทำไม ต้องโยนิโสมนสิการไว้ นี่กันกิเลสที่จะขึ้นข้างหน้าว่า จะเปลี่ยนทำไม ถ้าเปลี่ยนเพื่อสบายก็กันไม่ได้ แล้วจะเปลี่ยนทำไม เพื่อแก้ทุกข์
-------------------------------------------------


อ้างอิง
เรื่องที่คุณตั้งข้อสังสัย  ผมเข้าใจดีว่าคุณไม่เข้าใจตรงไหน  แต่ผมจะอธิบายให้คุณเห็นไตรลักษณ์เหมือนกับที่ผมเห็นได้อย่างไรครับ

ผมสามารถบอกวิธีที่ผมปฏิบัติให้แก่คุณได้  แต่คุณต้องนำไปฝึกฝนเอาเอง  แล้วคุณจึงจะเห็นไตรลักษณ์ด้วยจิตด้วยใจของคุณเองครับ



คุณระนาดครับ การปฏิบัติของผมขณะนี้ ก็เหมือนเด็กกำลังหัดขับจักรยาน มีล้มบ้าง ก็พยายามจับจักรยานขึ้นมาตั้งใหม่ ๆ ไปเรื่อย  ถีบจักรยานยังไม่เป็น (อาจารย์แนบเคยเปรียบเทียบการปฏิบัติวิปัสสนา เหมือนหัดขับจักรยาน)

ตอบโดย: เฉลิมศักดิ์ 27 มิ.ย. 52 - 14:47




http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/4.3.html

                           ๒๔ . รถวินีตสูตร
สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรถ ๗ ผลัด
    พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เวฬุวนาราม ใกล้กรุงราชคฤห์ . พระปุณณะ มันตานีบุตร เป็นผู้ได้รับสรรเสริญจากภิกษุทั้งหลายที่อยู่ในชาติภูมิ ( เป็นที่แห่งหนึ่งในสักกชนบท ขึ้นแก่กรุงกบิลพัสดุ์ ) พระสารีบุตรจึงถือโอกาสที่ท่านมาเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วไปพักกลางวันในป่า เข้าไปพบสนทนาธรรมะกัน.

    ธรรมะที่ท่านสนทนากันนั้น คือเรื่องวิสุทธิ ( ความบริสุทธิ์หรือความหมดจด )   ๗ อย่าง มีความหมดจดแห่งศีลเป็นข้อแรก มีความหมดจดแห่งญาณทัสสะ ( ความเห็นด้วยญาณ ) เป็นข้อที่ ๗ ๕ .  ซึ่งพระปุณณะกล่าวว่า ท่านมิได้ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อวิสุทธิเพียงข้อใดข้อหนึ่ง แต่ประพฤติเพื่อความดับโดยไม่มีเชื่อเหลือเพราะ วิสุทธิเหล่านี้เป็นเพียงเหมือนรถ   ๗ ผลัดที่ส่งให้ถึงที่หมาย ( รถจึงมิใช่ที่หมาย แต่ส่งให้ถึงที่หมายได้ ).

    ทั้งสองท่านต่างชื่นชมภาษิตของกันและกัน.

-----------------------------------------------

 ปุ. ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้ก็ฉันนั้น สีลวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่จิตตวิสุทธิ จิตตวิสุทธิเป็นประโยชน์แก่ทิฏฐิวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่กังขาวิตรณวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิเป็นประโยชน์แก่มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่ญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่อนุปาทาปรินิพพาน ท่านผู้มีอายุ ผมประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน
.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  บรรทัดที่ ๕๐๔๔ - ๕๑๐๘.  หน้าที่  ๒๐๕ - ๒๐๗.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=5044&Z=5108&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=292
------------------------------------------------------------
ทิฏฐิวิสุทธิ
http://larndham.net/index.php?showtopic=19112&st=0
------------------------------------------------

วิสุทธิ ๗ และ ญาณ ๑๖
http://abhidhamonline.org/visudhi.htm
-----------------------------------------------------

จากพระอภิธัมมัตถสังคหะ  ปริเฉทที่ ๙  กรรมฐานสังคหวิภาค

               โสฬสญาณ  (วิปัสสนาญาณ ๑๖)
http://www.abhidhamonline.org/aphi/p9/069.htm

--------------------------------------------------


อ้างอิง

ความคิดเห็นที่ 140 : (อัญญาสิ)

ตรงนี้ขอแสดงความเห็นแบบนี้นะคะ  การได้วิปัสสนาญาณนั้น ไม่ว่าขั้นใดก็คือ ความรู้ความเข้าใจในความเป็นจริงของกายของใจค่อยๆ สะสมไป  จิตก็ค่อยๆ ถอดถอนความยึดมั่นถือมั่นไปตามลำดับ  อย่างไรก็ตามวิปัสสนาญาณนั้นก็ถอยขึ้นถอยลงได้  ถ้ายังไม่เกิดมรรคเกิดผล  ก็ยังเป็นปุถุชนอยู่  บางวันก็ดี บางวันก็ไม่ดี  จะยั่วโมโหใครก็ดูๆเสียก่อนนะว่า วันนั้นเค้าอยู่ในโหมดญาณสูงๆ อ่ะป่าว   เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน

ส่วนใครได้วิปัสสนาญาณสูงๆ แล้วจะเป็นคนดีหรือเปล่า  ก็คงดีประมาณหนึ่ง  ศีลก็คงพอมีถ้าไ่ม่โดนกิเลสลากไปเสียก่อน  แต่ก็ยังกลับกลอกได้เพราะยังเป็นปุถุชนอยู่  โอกาสจะพลาดพลั้งก็ยังมี  เพราะผู้ที่จะมีศีลวิรัติ เป็นอธิศีลแบบมั่นคงก็ต้องเป็นโสดาบันจริงๆ


----------------------------------------
อ้างอิง
ความคิดเห็นที่ 133 : (Vicha)


สวัสดีครับ คุณอัญญาสิ  คุณวสวัตตี คุณ Aurora คุณระนาด คุณบุญรักษ์

   ครับ คุณบุญรักษ์ กล่าวได้ถูกต้องแล้วครับ.

     1.การเห็นไตรลักษณ์ด้วย จินตมยปัญญา
     2.การเห็นไตรลักษณ์ด้วย  สัมมสนญาณ (วิปัสสนาญาณที่ 3)
     3.การเห็นไตรลักษณ์ด้วย  อุทยัพพยญาณ (วิปัสสนาญาที่ 4) เห็นไตรลักษณ์ถึง 90 - 99 เปอร์เช็นตร์

     เป็นปัญญาที่ยังไม่สามารถตัดกิเลสที่เป็น อนุสัยสังโยชน์ หรือสังโยชน์บางส่วนได้เด็ดขาด
      แต่ผู้ที่สามารถมีปัญญาเห็นได้อย่างนี้ ก็จะเป็นคนที่ดี หรือประพฤติตนได้ดีขึ้น เพราะมีปัญญาเข้าใจธรรมดีขึ้นมาก

      เคยได้ยินมาว่า บางคนนี้เกเรอันธพาลมาก  เมื่อปฏิบัติธรรมถึง อุทยัพพยญาณ เปลี่ยนเป็นคนละคนเลย เปลี่ยนพฤติกรรม เป็นคนดีเลิกเกเรอันธพาลไปเลยก็มี.


http://larndham.net/index.php?showtopic=34753&st=136

 จูฬโสดาบัน ที่มีที่พึ่งในพระศาสนา นี้  ท่านยังไม่เกิดปัญญาเห็นไตรลักษณ์ ( ญาณ ๔  อุทยัพพยญาณ ) ท่านเกิดเพียง ปัจจยปริคคหญาณ ( ญาณ ๒  หรือ กังขาวิตรณวิสุทธิ )

แต่ปัญญาของท่านพร้อมที่ จะเกิด ปัญญาเห็นไตรลักษณ์ ในรูปนามแล้วครับ


อ้างอิง
ถ้ายังไม่เกิดมรรคเกิดผล  ก็ยังเป็นปุถุชนอยู่  บางวันก็ดี บางวันก็ไม่ดี  จะยั่วโมโหใครก็ดูๆเสียก่อนนะว่า วันนั้นเค้าอยู่ในโหมดญาณสูงๆ อ่ะป่าว   เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน


ขอบคุณครับ คุณอัญญาสิ ที่แนะนำ เพราะผมยังเป็นปุถุชนผู้หนาแน่นด้วยกิเลสอยู่  

แต่กับ ปุถุชน ที่เข้าใจว่า กิเลสตัวเองเบาบางแล้ว เห็นไตรลักษณ์แล้ว คงจะแนะนำลำนะครับ
 

ตอบโดย: เฉลิมศักดิ์ 27 มิ.ย. 52 - 15:09


ขอบคุณคุณ Vicha นะคะ หายสงสัยไปมากค่ะ

  คุณอัญญาสิกล่าวชอบแล้วค่ะ มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการปฏิบัติกัน
ไม่ได้หวังอวดอ้างอุตตริแต่อย่างใด เส้นทางนี้มันคือทางใครทางมันอยู่แล้ว ถึงแม้ใครจะยกย่องแต่หากไม่ได้ปฏิบัติได้ตามที่กล่าวอ้าง ก็หาประโยชน์อันใดมิได้ สำหรับตัวดิฉันเอง จะได้ญาณหรือไม่ ได้ถึงขั้นใด ไม่สนใจแม้แต่น้อย หวังในอนุปาทาปรินิพพานเช่นพระปุณณมันตานีบุตรอย่างเดียว (ดูซิ โลภไหม)

ก็เคยมีครูบาอาจารย์ท่านกล่าวกับผู้ปฏิบัติว่า "บางสิ่งบางอย่างไม่ควรบอกใคร เพราะมันจะเป็นโทษทั้งต่อผู้ที่รู้และผู้ที่ไม่รู้"  (ใครเข้าใจคำนี้ ช่วยอธิบายความหมายให้ดิฉันด้วยค่ะ เพราะเราคงจะโง่อยู่ แบบว่า..งงๆ ไม่กล้าเซ้าซี้ถามท่านเสียด้วย)

เลยชักจะคิดถึงคำเตือนของท่านขึ้นมา

 

ตอบโดย: Aurora 27 มิ.ย. 52 - 17:59


อ้างอิง
 คุณเฉลิมศักดิ์

คุณระนาดครับ  การปฏิบัติของผมขณะนี้ก็เหมือนเด็กกำลังหัดขับจักรยาน  มีล้มบ้าง  ก็พยายามจับจักรยานขึ้นมาตั้งใหม่ๆไปเรื่อย  ถีบจักรยานยังไม่เป็น


  ผมรับทราบครับ

อ้างอิง
คุณเฉลิมศักดิ์

ผมเพียงเริ่มต้นกำหนดรู้ในรูป  นาม  ที่เป็นปัจจุบันอารมณ์ยังไม่เกิดวิปัสสนาใดๆ

ผมไม่มั่นใจในแนวทางของอัตตโนมัติ ที่มาจากประสบการณ์ส่วนตัว  ซึ่งสงสัยดูจะขัดแย้งกับปริยัติศาสนา


      คุณจะเชื่ออะไร  หรือ ไม่ใช่เชื่ออะไร  ผมไม่มีปัญหาครับ  เพราะว่าผมเข้ามาคุยกับคุณวิชาและเพื่อนสมาชิกคนอื่นๆ  ผมไม่ได้เข้ามาคุยกับคุณเฉลิมศักดิ์

อ้างอิง
คุณเฉลิมศักดิ์

ผมขอปฏิบัติตามแบบแผนที่ปรากฏหลักฐานในพระไตรปิฏก  อรรถกถา  และ พระวิปัสสนาจารย์  ที่พิจารณารูปนามอันเป็นปัจจุบันอารมณ์


     ผมเห็นด้วยครับ

                --------------------------------------------------

คุณเฉลิมศักดิ์  ตอบความเห็นของคุณอัญญาสิในความเห็นที่ 143

อ้างอิง
 คุณอัญญาสิ

เรียนคุณเฉลิมศักดิ์   ถ้ายังไม่เกิดมรรคเกิดผล  ก็ยังเป็นปุถุชนอยู่  บางวันก็ดี  บางวันก็ไม่ดี  จะยั่วโมโหใครก็ดูดีๆเสียก่อนนะว่า  วันนั้นเค้าอยู่ในโหมดญาณสูงๆอ่ะป่าว  เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน


อ้างอิง
 คุณเฉลิมศักดิ์

ขอบคุณครับคุณอัญญาสิที่แนะนำ  เพราะผมยังเป็นปุถุชนผู้หนาแน่นด้วยกิเลสอยู่

แต่กับปุถุชนที่เข้าใจว่ากิเลสตัวเองเบาบางแล้ว  เห็นไตรลักษณ์แล้ว คงจะแนะนำลำนะครับ


                คุณเฉลิมศักดิ์ครับ  ผมอ่านความเห็นที่คุณคุยกับคุณอัญญาสิแล้ว  ผมไม่เข้าใจว่า  คุณแขวะผมทำไมครับ

ที่จริงแล้วในกระทู้นี้ผมไม่ได้อยากคุยกับคุณเลย  ผมเข้ามาคุยกับคุณวิชาและเพื่อนสมาชิกคนอื่นๆต่างหากล่ะ  คุณไม่เชื่อในการปฏิบติของผม  ผมก็ไม่มีปัญหาอะไรกับคุณเลย   แต่คุณกลับหันมาแขวะผม  คุณต้องการอะไร   หรือ คุณไม่พอใจผมในเรื่องอะไรครับ
                ---------------------------------------------

เรียนผู้ดูแลครับ

คุณเฉลิมศักดิ์แสดงความเห็นแขวะเพื่อนสมาชิกแบบนี้    ถ้าสมาชิกคนอื่นๆ  จะเอาตามอย่างคุณเฉลิมศักดิ์บ้าง  ผู้ดูแลมีความเห็นอย่างไรครับ

 

ตอบโดย: ระนาด 27 มิ.ย. 52 - 18:55


สวัสดีครับทุกท่าน

ของผมตอนเห็นพระไตรลักษณ์ครั้งแรก ผมคิดแบบนี้น่ะ

เราอยู่กับสิ่งเหล่านี้มาตั้งแต่เกิดเลยหรอ

สิ่งที่นึกว่าเป็นตัวเราที่แท้จริงเป็นแบบนี้ ไม่เห็นมีสิ่งใดเที่ยงแท้เลย มีแต่ทุกข์จริงๆด้วย

มีแต่ความแตกดับ มีแต่การถูกทำลาย

ไม่มีอะไรน่ายึดถือ แม้แต่วินาทีเดียว

ทุกวันนี้เวลามองโลกครั้งใด ก็จะนึกถึงประสบการณ์ที่พบเจอการแตกดับของรูปและนามตลอดเวลาเลยครับ

พอได้อ่านข้อความของคุณอัญญาสิ ก็ทำให้ได้ความรู้เพิ่มเติมว่า ความรู้ที่ได้จากอุททยัพพยญาณ ภังคญาณ ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ นั้นยังเป็นแค่ "ความรู้เจอ"

ยังไม่ใช่ความรู้จริง หรือความรู้แจ้ง พวกเราทุกคนจะรู้พระไตรลักษณ์อย่างถ่องแท้จริงๆคงเป็นตอนที่เกิดโคตรภูญาณ และมัคคญาณ

ไปเจอเว็บนี้มาเหมือนดั่งที่คุณอัญญาสิกล่าวไว้เลยครับ
http://www.pantown.com/board.php?id=9706&area=1&name=board2&topic=202&action=view

เรื่องญาณ ๑๖ นี้ ไม่ใช่คำสอนโดยตรงของพระพุทธเจ้า ไม่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ชั้นพระไตรปิฎก แต่เป็นเรื่องที่พระอรรถกถาจารย์รุ่นหลังแต่งขึ้น ปรากฏในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ และวิสุทธิมัคค์

อย่างไรก็ตาม การลำดับญาณมีความถูกต้อง สอดคล้อง ลงกันได้กับการปฏิบัติธรรม จึงไม่ใช่เรื่องเสียหายที่เราจะศึกษากัน แต่จะไม่ศึกษาก็ได้ เพราะหากปฏิบัติธรรมถูกต้อง จิตจะดำเนินไปตามลำดับญาณโดยอัตโนมัติ ผู้อ่านไม่ควรเชื่อว่าการเทียบเคียงนี้ถูกหรือผิด จนกว่าจะได้ปฏิบัติรู้เห็นด้วยตนเอง หากปักใจเชื่ออย่างใดอย่างหนึ่งเสียก่อนแล้ว ย่อมไม่ใช่ชาวพุทธที่ดีจริง โดย คุณ ไม้ใหญ่


 

ตอบโดย: วสวัตตี 27 มิ.ย. 52 - 19:17


ผมพึ่งเห็นข้อความ คุณเฉลิมศักดิ์ ไปแขวะคนอื่นจริงๆ

คุณเฉลิมศักดิ์ ลองขอโทษเพื่อนสมาชิกก่อนดีไหมครับ ?

ถ้าเพิกเฉยแล้ว post ลักษณะนี้อีก ผมและผู้ดูแลท่านอื่นอาจตัดสินใจอะไรบางอย่างครับ
 

ตอบโดย: ake 27 มิ.ย. 52 - 19:44


อินทรีย์ ความเป็นใหญ่, สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน,
       ธรรมที่เป็นเจ้าการในการทำหน้าที่อย่างหนึ่งๆ เช่น ตาเป็นใหญ่หรือเป็นเจ้าการในการเห็น หูเป็นใหญ่ในการได้ยิน ศรัทธาเป็นเจ้าการในการครอบงำเสียซึ่งความไร้ศรัทธาเป็นต้น
       1. อินทรีย์ ๖ ได้แก่ อายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
       2. อินทรีย์ ๕ ตรงกับ พละ ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
           ธรรม ๕ อย่างชุดเดียวกันนี้ เรียกชื่อต่างกันไป ๒ อย่าง ตามหน้าที่ที่ทำ คือ
           เรียกชื่อว่า พละ โดยความหมายว่า เป็นกำลังทำให้เกิดความเข้มแข็งมั่นคง ซึ่งธรรมที่ตรงข้ามแต่ละอย่างจะเข้าครอบงำไม่ได้
           เรียกชื่อว่า อินทรีย์ โดยความหมายว่า เป็นเจ้าการในการครอบงำเสีย ซึ่งธรรมที่ตรงข้ามแต่ละอย่าง คือความไร้ศรัทธา ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้งซ่าน และความหลงงมงาย ตามลำดับ;


http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ศรัทธา&detail=on

       ขอให้ปฏิบัติโดยง่ายครับ ขอให้ทุกท่านบรรลุธรรมโดยง่ายครับ

ตอบโดย: damrong121 27 มิ.ย. 52 - 20:20


สวัสดีครับทุกท่าน......
    
     ผมขอบอกว่า วางทุกอย่างลงไปก่อนนะครับ  สนทนากันในกรอบของตัวกระทู้ดีกว่าครับ

   ผมจึงขอตอบความสงสัยของคุณ Aurora

อ้างอิง
     ก็เคยมีครูบาอาจารย์ท่านกล่าวกับผู้ปฏิบัติว่า "บางสิ่งบางอย่างไม่ควรบอกใคร เพราะมันจะเป็นโทษทั้งต่อผู้ที่รู้และผู้ที่ไม่รู้"  (ใครเข้าใจคำนี้ ช่วยอธิบายความหมายให้ดิฉันด้วยค่ะ เพราะเราคงจะโง่อยู่ แบบว่า..งงๆ ไม่กล้าเซ้าซี้ถามท่านเสียด้วย)


   ตอบตามที่ผมเข้าใจนะครับ  น่าจะหมายถึงเรื่อง ของ ญาณรู้หรือการรู้ด้วยอภิญญาบางอย่าง  และการบรรลุเป็นอริยบุคคล

  เรื่องญาณรู้หรืออภิญญารู้ในบางเรื่อง ก็ไม่สมควรบอกไม่สมควรเล่า เพราะพิสูจน์ไม่ได้เนื่องจากเหตุการณ์นั้นยังไม่ปรากฏ ถ้าจะกล่าวถึงก็ต้องอาศัยกุศโลบาย ป้องกันไม่ให้เป็นโทษกับผู้รู้หรือไม่รู้ หรือให้มีโทษน้อยที่สุด

   เรื่องการบรรลุมรรคผลนิพพาน ก็เช่นเดียวกันก็ไม่สมควรบอกไม่สมควรเล่าเพราะไม่มีเครื่องหมายสัญญาลักษณ์บอกให้ทราบบนร่างกายหรือบนศีรษะ  ถ้าจะกล่าวถึงก็ต้องอาศัยกุศโลบายป้องกันไม่ให้เป็นโทษกับผู้รู้หรือไม่รู้ หรือให้มีโทษน้อยที่สุด.


     ดังนั้นเราน่าสนทนากันโดยไม่ให้เกิดเป็นโทษกับผู้รู้หรือไม่รู้ หรือมีโทษเกิดน้อยที่สุด น่าจะดีกว่านะครับ.

 

ตอบโดย: Vicha 27 มิ.ย. 52 - 20:41


เราน่าสนทนากันโดยไม่ให้เกิดเป็นโทษกับผู้รู้หรือไม่รู้ หรือมีโทษเกิดน้อยที่สุด น่าจะดีกว่านะครับ.

เห็นด้วยค่ะ  

ขอบคุณที่ให้คำอธิบายนะคะ คุณ Vicha  

ตอบโดย: Aurora 27 มิ.ย. 52 - 21:33


อ้างอิง
อ้างอิง คุณ Aurora and khun Vicha
อย่างบางคราว ดิฉันเกิดขณิกสมาธิขึ้นชั่วขณะ  แล้วเห็นอาการที่จิตมันทะยานเข้ายึดเข้าจับร่างกายซึ่งเห็นว่าเป็นก้อนธาตุ ของโลก ว่าเป็นของมัน แต่ยังไม่แจ้งว่าการเข้าควบคุมกาย การใช้งานบังคับบัญชาร่างกายของจิตนั้น มันทำงานอย่างไร (เพราะจิตถอนออกจากสมาธิไปก่อน)

ตอบ อยู่ที่การเจริญสติให้เป็นปัจจุบั้นและทันปัจจุบันมากกว่าครับ จนปัญญเห็นแจ้งไตรลักษณ์กับรูปนามที่ปรากฏเป็นปัจจุบันนั้นๆ  ตามที่กล่าวด้านบนนั้นคือสติพอทันปัจจุบันเพียงขณะหนึ่ง หลังจากนั้นก็ไม่เป็นปัจจุบันเสียแล้วครับ


เห็นตรงกับคำตอบของคุณ Vicha  การรู้ลงปัจจุบันนั้น ได้เท่าไหร่ก็เท่านั้นค่ะ
ส่วนการเห็นการทำงานของกายของจิตนั้น  อาจไม่ต้องเห็นทั้งหมดก็ได้
หรือจะเห็นจนหมดก็ได้  แล้วแต่ๆ ละขณะๆ แล้วแต่เหตุแต่ปัจจัย

ที่คุณ Aurora ถามว่า จะกลับไปทำฌาณเพิ่มนั้น  มีประโยชน์คือ จิตจะตั้งมั่นกว่าผู้ที่ไม่ค่อย
ได้ทำสมถะ  เวลานำจิตที่ตั้งมั่นออกมาทำงานตามรู้กายใจ  จิตก็จะไม่ค่อยไหลไปรวมกับ
สิ่งที่ถูกรู้  แต่การที่จะเห็นกระบวนการการทำงานของจิตจนครบถ้วนหรือไม่  ก็อาจจะเห็นหรือ
อาจจะไม่เห็นก็ได้ค่ะ

ตรงนี้อยากเพิ่มเติมว่า  เราทุกๆ คนต่างมีทิฐิกันอยู่มากบ้างน้อยบ้าง  ทิฐิก็เป็นกิเลสแบบหนึ่ง
เวลาเราภาวนาเราก็มีทิฐฐิหรือมีความเห็นในแบบของเรา  อย่างที่เคยเจอมากับตัวเอง
จะมาในรูปแบบที่เราไม่คิดว่า เป็นกิเลสแล้วเราก็ถูกมันชักจูงไป  ซึ่งกิเลสละเีอืียดอย่างที่
เคยพบมา  จะออกมาในแนวของความอยากที่จะได้ดี  ที่ดีอยู่แล้วก็อยากให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป

ยกตัวอย่างอย่างที่คุณถามมาน่ะค่ะ  ได้เห็นสภาวะหนึ่ง  แต่ยังไม่แจ้งในอีกสภาวะหนึ่ง
บางทีจะมีความเห็นแทรกขึ้นมา  แบบว่าถ้าเห็นอันนี้ ควรต้องเห็นอันโน้นด้วย ถ้าเห็นอย่างนี้
ควรจะรู้สึกแบบนี้ ฯลฯ  อันนี้เป็นทิฐิแบบหนึ่ง  ซึ่งจะทำให้เราตกไปจากปัจจุบัน  ถ้าเราคิดเห็น
อย่างนั้นไม่ได้หมายความว่าผิดอะไร  แต่ปัจจุบันธรรมตรงนั้นคือ จิตกำลังคิดอยู่  แต่เราจะ
ไม่เห็นเพราะไปสงสัยหรือไปคิดอยู่

ขอต่อในความเห็นต่อไป พอดีพิมพ์ไว้ยาวเลยค่ะ

ตอบโดย: อัญญาสิ 27 มิ.ย. 52 - 23:30


ต่อจาก คห 151 นะคะ

ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงว่าที่คุณจะทำสมถะเพิ่มนั้นไม่ดีนะคะ  คือถ้าเราทำเพราะมีเหตุผล
เช่น เราได้พิจารณาแล้วว่า  ช่วงนี้เราไม่ค่อยตั้งมั่น น่าจะทำสมถะเพิ่ม  อันนี้สมควร
เพราะไม่เจือด้วยกิเลส  แต่ถ้าจะทำเพราะคิดว่าจะได้เห็นกระบวนการฯ  อย่างนี้ก็ยัง
สมควรทำสมถะอยู่  แต่ให้คอยดูใจด้วยว่าเจือด้วยความอยากหรือไม่  หรือทำเพราะ
เป็นการสมควรจริงๆ

อนึ่ง ปัจจุบันธรรมที่เราไปรู้ไปเห็น  ถ้าเห็นแล้วจิตเป็นกลาง  พอเลยปัจจุบันขณะตรงนั้นๆ
ไปแล้ว  มันก็จะจบไป  แต่ถ้าเราไม่เป็นกลาง  เช่น เห็นแล้วอยากเห็นอืก  อย่างนี้บางที
อุทธัจจะกุกกุจจะหรือความฟุ้งซ่านรำคาญใจเข้าแทรก  ซึ่งความฟุ้งซ่านรำคาญใจในเวลา
ที่เราภาวนา  มักจะออกมาในรูปแบบของฟุ้งซ่านรำคาญใจในความดีที่ยังไม่ได้ทำ หรือทำดีแล้วอยากจะให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป

ซึ่งจริงๆนั้น ภาวนาแล้วอยากก้าวหน้าเป็นเรื่องธรรมดา  แต่ถึงอย่างไรก็ได้ชื่อว่าเป็นกิเลส
หน้าที่ของกิเลสคือ ทำให้จิตเราไม่เป็นกลาง ทำให้เราตกจากปัจจุบันธรรม  ดังจะได้ยิน
ครูบาอาจารย์พูดบ่อยๆ ว่า ให้รู้ด้วยใจที่เป็นกลาง  กว่าจะทำได้ คือ ใจมันเป็นกลางกับ
สภาวะธรรมได้เองนั้น  ก็เล่นเอาหืดขึ้นคอเหมือนกัน

แต่ถ้าไม่เป็นกลางก็รู้ว่าไม่เป็นกลาง  หลักง่ายๆ คือ อะไรปรากฎตอนนั้นก็รู้ไปตามที่มันเป็น
ถ้าไม่ยอมรับอย่างที่มันเป็น  ใจจะดิ้นรน  ธรรมชาติปัจจุบันขณะนั้นสอนธรรมเราตลอดเวลา
มีแต่กิเลสในใจเรานี่แหละที่จะทำให้เราไม่เห็นธรรม

ที่กล่าวมาไม่ได้กล่าวหาว่าคุณโดนกิเลสแทรกหรืออะไรนะคะ  เพียงแต่อ่านตามที่โพสต์
เลยอยากจะเพิ่มเติม  คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์บ้าง เผื่อท่านอื่นๆ ที่อาจจะติดขัดตรงนี้อยู่
ก็จะได้นำไปตรวจสอบตัวเองต่อไป  จริงๆ ก็คือเล่าความโง่ของตัวเองนั่นแหละค่ะ
ติดอยู่ตรงนี้เป็นปีๆ  กว่าจะเข้าใจกว่าจะผ่านมาได้
  
หลวงพ่อปราโมทย์ท่านว่า แมงมุมโง่มันชักใยแล้วก็ไปติดใยตัวเอง  ตอนได้ยินประโยคนี้
จากซีดี  ขำก๊ากเลยค่ะ  แบบ เออมันเป็นอย่างท่านว่าจริงๆ เนอะ      

     

ตอบโดย: อัญญาสิ 27 มิ.ย. 52 - 23:40


แอบชอบความเห็นนี้ค่ะ ของคุณวสวัตตี

อ้างอิง
ของผมตอนเห็นพระไตรลักษณ์ครั้งแรก ผมคิดแบบนี้น่ะ
เราอยู่กับสิ่งเหล่านี้มาตั้งแต่เกิดเลยหรอ

ใช่ค่ะ  (เป็นหยั่งงี้มาหลายชาติแล้วด้วยค่ะ)

อ้างอิง
สิ่งที่นึกว่าเป็นตัวเราที่แท้จริงเป็นแบบนี้ ไม่เห็นมีสิ่งใดเที่ยงแท้เลย มีแต่ทุกข์จริงๆด้วย

จริงค่ะ

อ้างอิง
มีแต่ความแตกดับ มีแต่การถูกทำลาย

จริงค่ะ

อ้างอิง
ไม่มีอะไรน่ายึดถือ แม้แต่วินาทีเดียว

เห็นด้วยค่ะ

เห็นมะ คำถามแบบนี้ตอบง่ายจะตายไป  ค่ะๆ อย่างเีดียวเลย  

อ้างอิง
คุณ Aurora
"บางสิ่งบางอย่างไม่ควรบอกใคร เพราะมันจะเป็นโทษทั้งต่อผู้ที่รู้และผู้ที่ไม่รู้"

ขอเพิ่มจากคำตอบของคุณวิชา  นอกจากอภิญญาและมรรคผลแล้ว  ท่านน่าจะรวมไปถึง
สภาวะจากการปฏิบัติด้วยมั้ยคะ  ถ้าคนไม่เคยพบเคยเจอสภาวะอย่างที่เราเจอ  เราก็คงได้รับ
ความเห็นหลายหลากแหละค่ะ  ท่านถึงได้เตือนไว้
 

ตอบโดย: อัญญาสิ 28 มิ.ย. 52 - 00:34


อ้างอิง
คุณเฉลิมศักดิ์
ผมขอปฏิบัติตามแบบแผนที่ปรากฏหลักฐานในพระไตรปิฏก  อรรถกถา  และ พระวิปัสสนาจารย์ 
ที่พิจารณารูปนามอันเป็นปัจจุบันอารมณ์


เรียนคุณเฉลิมศักดิ์ และขออนุญาตคุณวิชา สนทนานอกกรอบกระทู้เล็กน้อย  

ดิฉันดีใจที่ได้ทราบว่าคุณก็ปฏิบัติด้วย  (คือดิฉันไม่ค่อยได้ตามอ่านทุกๆ คห น่ะนะคะ
ถ้าคุณเคยบอกมาก่อนแล้ว  แต่เป็นตัวดิฉันเองเพิ่งจะรู้ก็ขอโทษด้วย)

ที่คุณบอกในข้อความที่อ้างอิงมา  ดิฉันก็เห็นด้วยนะคะ  จะปฏิบัติก็ต้องมีแผนที่มีไกด์นำทาง
แต่อยากให้ระวังว่า  จะไปยึดความคิดความเห็นมากเกินไปหรือไม่  เกิดการยึดว่า ถ้ามีสภาวะ
อย่างนี้เกิดขึ้น  จิตที่เห็นตรงนี้ต้องเป็นเช่นนี้เท่านั้น  เป็นอย่างอื่นไม่ได้  ลองอ่านใน
คห 151-152  ที่ดิฉันได้พูดเรื่องนี้ไปแล้ว

ในความเป็นจริงจิตเห็นสภาวะธรรมใดๆ  แล้วจะมีปฏิกิริยาอย่างไร  เป็นเรื่องห้ามกันไม่ได้
จิตนั้นเราบังคับไม่ได้  แต่หลักก็อย่างที่บอกไปแล้วว่า ตัวตนเราลดมั้ย กิเลสเราน้อยลงมั้ย
ความเห็นผิดมันน้อยลงมั้ย  ตรงนี้ต่างหากที่เราจะต้องพิจารณาตัวเอง

อีกประเด็นหนึ่ง ที่คุณวาง link ไว้ให้
http://larndham.net/index.php?showtopic=32258&per=1&st=126&#entry534158

ดิฉันเห็นต่างออกไปนะ  การที่คนๆ หนึ่งเห็นไตรลักษณ์  แล้วมีความสุขหรือเห็นว่าเราสุขนั้น
ถ้าว่ากันจริงๆ  จิตขณะที่เห็นไตรลักษณ์นั้น เป็นจิตอันประกอบด้วยองค์ธรรมฝ่ายกุศลหลายๆ
อย่างประกอบกัน  ทั้งสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ฯลฯ จิตที่มีสติอันเกิดขึ้นเองนั้น  มิได้นับเป็น
จิตดวงหนึ่งในกุศลจิต ๘ ดวง  ที่ประกอบด้วยองค์ธรรมฝ่ายกุศล  เกิดด้วยความยินดี
ประกอบพร้อมด้วยปัญญา เกิดขึ้นเองโดยมิได้ชักชวน หรอกหรือคะ
แล้วกุศลจิตที่มีโสมนัสเป็นองค์ประกอบนั้น  ย่อมให้วิบากเป็นโสมนัสมิใช่หรือ
ก็ไม่น่าจะแปลก  ถ้า่ปฏิบัติธรรมมีความเห็นถูกเกิดขึ้นแล้วจะมีความสุข

http://www.geocities.com/krit_kjk/paramadham/jP5.htm

อีกประการจิตจะยินดีหรือไม่ยินดี  มันเรื่องของจิตนะ  ไม่ใช่เรื่องของเรา  จิตนั้นบังคับไม่ได้
ถ้ามีเหตุมีปัจจัยให้จิตยินดี  เค้าก็ยินดีของเค้าเอง  จิตแสดงธรรมให้เราดูตลอดเวลา
(รวมทั้งกายด้วย)  เราเองเห็นธรรมที่เค้าแสดงหรือเปล่า  หรือมีแต่จะไปบังคับให้กายให้ใจนี้
เป็นอย่างที่เราอยากให้เป็น

ส่วนที่ว่า เห็นว่าเราสุข  ดิฉันว่ายิ่งไม่แปลกเข้าไปใหญ่  ผู้ยังไม่ได้โสดาปัตติผล
สักกายทิฏฐิย่อมยังละขาดไม่ได้  ทำได้แค่เห็นว่าไม่มีเราเป็นขณะๆ ไป  การเห็นว่ามีเรา
ถ้าเป็นการสักแต่ว่าเห็นก็ยิ่งดีสิคะ เพราะเป็นการรู้ตามจริง การที่ยังมีเราแต่ไม่กลับมอง
ไม่เห็นเสียอีกที่จะนำไปสู่ผลเสีย

เราจะเห็นจะรู้สิ่งใดไม่ว่ารู้จากภายนอกคือ ตำราหรือครูบาอาจารย์   หรือจะรู้จากสภาวะ
ธรรมภายใน  มันเป็นสิ่งที่ดีถ้าเราสักแต่รู้  คือรู้เห็นด้วยความเป็นกลาง  ถ้ารู้แล้วยึด  ถึงจะเป็น
ความรู้อันถูกต้อง  มันก็เสียหายได้กับตัวเราได้เหมือนกันนะคะ  ส่วนความรู้มันไม่มาเสียหาย
กับเราด้วยหรอก เพราะมันอยู่ของมันดีๆ  เราไปยึดมันเอง

ที่ขอพูดก็ไม่ได้จะมาเข้าข้างใครหรือจะมาต่อว่าใคร  อยากให้เป็นการแลกเปลี่ยนด้วยธรรม
แล้วนำไปพิจารณาตรวจสอบตนเองมากกว่า  ใครเค้าว่าตัวเขาเห็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้
ถ้าเค้าไม่ได้เป็นอย่างที่เค้าว่า  ตัวเค้านั่นแหละเป็นผู้เดือดร้อน

การเพ่งโทษกัน เราเองก็เกิดอกุศลจิต แล้วเกิดคนที่เราเพ่งโทษนั้น  เค้าปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
เราก็จะเดือดร้อนเพราะนอกจากมีอกุศลจิต  แล้วยังเป็นการก่อกรรมอีกด้วย  ผลดีก็ไม่มี

ดิฉันก็ขอให้การปฏิบัติของคุณก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป  เห็นคุณรู้ปริยัติมากๆ ดิฉันก็ชื่นชม
อยากจะเล่าประสบการณ์ของตัวเองว่า ตำราก็เคยศึกษามาบ้าง  แรกๆ อ่านแล้วก็เข้าใจ
แบบสุตตมยปัญญา + จินตมยปัญญาอันประกอบด้วยทิฏฐิส่วนตัว
ตอนนั้นข้อธรรมบางอย่างที่ลึกซึ้งก็ยังไม่ค่อยเข้าใจนัก  พอภาวนามาระยะหนึ่งมีความรู้
ความเข้าใจจากของจริง  เมื่อกลับไปอ่านตำรา มันเข้าใจง่ายๆ ไปเลย ก็แปลกดีค่ะ

นึกถึงคำหลวงปู่ดูลย์เลยค่ะ  ท่านว่า  "ธรรมทั้งหลายออกไปจากจิต"
ปริยัติทั้งหลายอ่านจนครบก็คือ ความจริงของรูปนามเท่านั้นเอง  ถ้าเราตามรู้ตามดู
รูปนามกายใจอย่างที่มันเป็นไปเรื่อยๆ  วันหนึ่งเราก็จะเข้าใจสิ่งที่พระพุทธองค์และ
ครูบาอาจารย์สอนไว้ได้เอง  

อนุโมทนากับทุกๆ ท่าน ทุกๆ ความเห็นค่ะ      

ตอบโดย: อัญญาสิ 28 มิ.ย. 52 - 03:07


http://larndham.net/index.php?showtopic=34753&st=142

อ้างอิง
ถ้ายังไม่เกิดมรรคเกิดผล  ก็ยังเป็นปุถุชนอยู่  บางวันก็ดี บางวันก็ไม่ดี  จะยั่วโมโหใครก็ดูๆเสียก่อนนะว่า วันนั้นเค้าอยู่ในโหมดญาณสูงๆ อ่ะป่าว   เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน



อ้างอิง
ขอบคุณครับ คุณอัญญาสิ ที่แนะนำ เพราะผมยังเป็นปุถุชนผู้หนาแน่นด้วยกิเลสอยู่ 

แต่กับ ปุถุชน ที่เข้าใจว่า กิเลสตัวเองเบาบางแล้ว เห็นไตรลักษณ์แล้ว คงจะแนะนำลำนะครับ


---------------------------------------------------------------------

อ้างอิง
ความคิดเห็นที่ 145 : (ระนาด)

คุณเฉลิมศักดิ์ครับ  ผมอ่านความเห็นที่คุณคุยกับคุณอัญญาสิแล้ว  ผมไม่เข้าใจว่า  คุณแขวะผมทำไมครับ

ที่จริงแล้วในกระทู้นี้ผมไม่ได้อยากคุยกับคุณเลย  ผมเข้ามาคุยกับคุณวิชาและเพื่อนสมาชิกคนอื่นๆต่างหากล่ะ  คุณไม่เชื่อในการปฏิบติของผม  ผมก็ไม่มีปัญหาอะไรกับคุณเลย   แต่คุณกลับหันมาแขวะผม  คุณต้องการอะไร   หรือ คุณไม่พอใจผมในเรื่องอะไรครับ
                ---------------------------------------------

เรียนผู้ดูแลครับ

คุณเฉลิมศักดิ์แสดงความเห็นแขวะเพื่อนสมาชิกแบบนี้    ถ้าสมาชิกคนอื่นๆ  จะเอาตามอย่างคุณเฉลิมศักดิ์บ้าง  ผู้ดูแลมีความเห็นอย่างไรครับ

 
จากคุณ : ระนาด


ผมขอโทษคุณระนาด ด้วยนะครับ

ที่อ่านข้อความของผมแล้วไม่สบายใจ

ผมจะระมัดระวังให้มากขึ้นครับ

-----------------------------------------------------------------------

อ้างอิง
เรียนคุณเฉลิมศักดิ์ และขออนุญาตคุณวิชา สนทนานอกกรอบกระทู้เล็กน้อย 

ดิฉันดีใจที่ได้ทราบว่าคุณก็ปฏิบัติด้วย  (คือดิฉันไม่ค่อยได้ตามอ่านทุกๆ คห น่ะนะคะ
ถ้าคุณเคยบอกมาก่อนแล้ว  แต่เป็นตัวดิฉันเองเพิ่งจะรู้ก็ขอโทษด้วย)

ดิฉันเห็นต่างออกไปนะ  การที่คนๆ หนึ่งเห็นไตรลักษณ์  แล้วมีความสุขหรือเห็นว่าเราสุขนั้นถ้าว่ากันจริงๆ  จิตขณะที่เห็นไตรลักษณ์นั้น เป็นจิตอันประกอบด้วยองค์ธรรมฝ่ายกุศลหลายๆอย่างประกอบกัน  ทั้งสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ฯลฯ จิตที่มีสติอันเกิดขึ้นเองนั้น  มิได้นับเป็นจิตดวงหนึ่งในกุศลจิต ๘ ดวง  ที่ประกอบด้วยองค์ธรรมฝ่ายกุศล  เกิดด้วยความยินดีประกอบพร้อมด้วยปัญญา เกิดขึ้นเองโดยมิได้ชักชวน หรอกหรือคะแล้วกุศลจิตที่มีโสมนัสเป็นองค์ประกอบนั้น  ย่อมให้วิบากเป็นโสมนัสมิใช่หรือก็ไม่น่าจะแปลก  ถ้า่ปฏิบัติธรรมมีความเห็นถูกเกิดขึ้นแล้วจะมีความสุข


คุณอัญญาสิครับ ผมว่า จิตที่เป็นสุข เกิดโสมนัส จากการทำกุศล  ย่อมแตกต่างจากจิตที่เกิดวิปัสสนาปัญญา เห็นไตรลักษณ์ในรูปนาม

 ตามที่ได้เคยฟังจากอาจารย์ และ ศึกษาจากปริยัติ

เพราะพื้นฐานของการปฏิบัติวิปัสสนา คือ การกำหนดรู้ในทุกข์ ในรูป นาม

จิตที่เกิดปัญญาเห็นไตรลักษณ์ ในรูป นาม /ขันธ์ ๕ แล้ว จะเห็นโทษภัยของรูป นาม ที่เต็มไปด้วยความทุกข์ เห็นแต่ความเกิดดับของรูป นาม

อาจารย์  อุปมาเหมือน กบที่อยู่ในปากงู ที่ดิ้นรนให้พ้นจากภัยนั้น

ในคัมภีร์ วุสิทธิมรรค ท่านเปรียบเหมือน สตรีที่มีบุตร 3 คน ที่กำลังจะถูกฆ่า ครับ

http://www.larnbuddhism.com/visut/3.11.html

พระอรรถกถาจารย์เจ้า จึงสำแดงอุปมาแห่งภยตูปัฏฐานญาณนี้โดยนัยนิเทศวารว่า

   “เอกิสฺสา กิร อิตฺถิยา ตโย ปุตฺตา”   ดังได้ยินมาว่ามีสตรีผู้หนึ่งมีบุตรชาย ๓ คน บุตรชายทั้ง ๓ คนนั้นกระทำกรรมอันผิดประพฤติซึ่งทุจริตในพระราชฐาน พระมหากษัตริย์แจ้งเหตุอันนั้น จึงบังคับนายเพชฌฆาตให้จับบุตรชายแห่งสตรีนั้นไปทั้ง ๓ คน เพื่อจะให้ประหารชีวิตเสียทั้ง ๓ คนนั้น สตรีผู้เป็นมรรดาแลเห็นนายเพชฌฆาตนำเอาบุตรชายทั้ง ๓ คนนั้นไป ก็ร้องไห้วิ่งตามไปถึงที่ตะแลงแกงนายเพชฌฆาตจึงตัดศีรษะลูกชายใหญ่ด้วยดาบอันคมกล้าให้ขาดตกลงแล้ว ก็ปราถนาเพื่อจะตัดศีรษะลูกชายคนกลางนั้นสืบต่อไป สตรีผู้นั้นแลเห็นเขาตัดศีรษะลูกชายใหญ่ขาดตกลงแล้ว ก็เหลี่ยวหน้ามาดูลูกชายคนโตเล่านายเพชฌฆาตก็ฟันให้ศีรษะตกลง สตรีผู้นั้นก็สละเสียซึ่งอาลัยลูกชายน้อย มาดำริว่าลูกชายน้อยคนสุดท้องของอาตมานี้ไหนเลยจะรอดเล่า เขาก็จะฆ่าเสียเหมือนกัน สตรีผู้นั้นพิจารณาเห็นความตายแห่งลูกชายทั้ง ๓ คน ฉันใดก็ดี ภยญาณนี้ก็ให้พิจารณาเห็นความตายในกาลทั้ง ๓ คือ อดีต อนาคต ปัจจุบันมีอุปไมยดังนี้



อ้างอิง
ดิฉันดีใจที่ได้ทราบว่าคุณก็ปฏิบัติด้วย


เป็นเพียงการเริ่มต้นครับ และพยายามจะเข้าปฏิบัติ กำหนดรู้ใน รูป นาม

อาจารย์แนบ ท่านเปรียบเทียบ เหมือนคนที่ไปหัดว่ายน้ำ หลังจากเรียนทฤษฎีเบื้องต้นแล้ว  หรือ การขับถีบจักรยาน

ตอบกระทู้ ขอตัวอย่างการวางอุเบกขากับเวทนาที่เกิดที่กาย
http://larndham.net/index.php?showtopic=34813&st=19

อ้างอิง
ขอนำตัวอย่างการปฏิบัติวิปัสสนา ที่ผมได้ศึกษาและฝึกมาดังนี้

เมื่อนั่งอยู่ ในบางท่า ( นั่งบนเก้าอี้ ไม่ได้นั่งสมาธิ) กำหนดดูรูปนั่งอยู่  เมื่อเวทนาก็เกิดขึ้น เช่น ความปวดเมื่อยต่าง ๆ เกิดขึ้นก็ให้กำหนดรู้ ว่าอาการของเวทนาเป็นเพียงนาม เช่น กำหนด  นามปวด แล้วก็แก้ไขอิริยาบถเพียงเล็กน้อย แล้วให้ดูที่อิริยาบถใหม่ ช่วงนี้ต้องระวังไม่ให้เกิดความพอใจ (อภิชฌา) เกิดกับอิริยาบถใหม่

แต่บางทีมีกิเลสหนุนหลังครับ  นั่งอยู่ดี ๆ เวทนาเกิดเพียงเล็กน้อย ก็ลุกขึ้นไปเดินเลยครับ เพราะชอบในการเดิน เพราะมีการเคลื่อนไหวมากกว่า และฟุ้งน้อยกว่านั่ง ( ไม่ชอบความฟุ้งครับ )


แต่ในหลักการปฏิบัติวิปัสสนา ท่านให้มีโยนิโสมนสิการ ในเวทนา, อิริยาบถ, สภาพจิตต่าง ๆ  แต่กำหนดไม่ทันครับ



กำหนดถูกบ้างผิดบ้าง  แต่ทุกครั้งที่ รู้ในอาการเดินว่า เป็นเพียงอาการของรูป ก็จะนึกถึงคำของอาจารย์แนบที่ว่า

แนะแนวการปฏิบัติ
http://www.dhammajak.net/smati/-10.html

อานนท์เทวดาเหล่านั้นบูชาตถาคตด้วยดอกไม้ อันเป็นทิพย์มากมายเหลือเกิน เต็มไปหมดทั้งป่า แต่ถึงเช่นนั้นก็ยังไม่เชื่อว่า ตถาคตรับบูชาของพวกเทวดาเหล่านั้น ถ้าเราเอาของไปให้ใคร แล้วเขาไม่รับจะชื่อว่า ให้เขาไหม ? ก็ไม่ชื่อว่าให้ถูกไหม ? การที่เราบูชาก็เหมือนกัน ถ้าพระองค์ไม่รับก็ไม่ชื่อว่าบูชา ต่อเมื่อใด ผู้ใดผู้หนึ่งก็ตามมาเห็นภัยในวัฏฏะ แล้วก็ทำความเพียรเพื่อออกจากสังสารวัฏ นั่นแหละการกระทำของบุคคลเช่นนั้นชื่อว่า ตถาคตรับบูชา"

เห็นไหม ที่เรามาปฏิบัตินี้เป็นการบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ใดมาพิจารณาเพื่อตัวจะได้พ้นจากทุกข์ คือ สังสารทุกข์ นี่แหละชื่อว่า ตถาคตรับบูชา เราน่ะเป็นผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาด้วยกันทั้งนั้น ทำไมเราจะบูชาพระตถาคตสักเจ็ดวันสิบห้าวันไม่ได้หรือ การบูชาของเรานี่แหละเชื่อว่า ตถาคตรับบูชา พระองค์ต้องการปฏิบัติบูชา ทำไมไม่ถวายท่าน

เพราะฉะนั้น ขอให้รู้เถิดว่า การที่เรามาเข้าปฏิบัตินี้สมแล้วกับที่เราเคารพเลื่อมใสพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราจึงมาบูชาเพื่อพระองค์ และทุกครั้งที่เรามีสติรู้ รูปก้าว ก็เท่ากับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสาธุทุกครั้ง สำรวมตาเห็นก็สักแต่ว่าเห็น รู้อยู่ที่เห็น แต่ว่าไม่ออกไปข้างนอก เวลาเห็น เรามีสติรู้อยู่ที่นามเห็น นามได้ยิน ก็เหมือนกัน จกฺขุนา สํวโร สาธุ พระพุทธเจ้าทรงกล่าวไว้ โสเตน สํวโร สาธุ พระองค์ทรงสาธุ เมื่อมีสติรู้ที่ได้ยิน กิเลสเข้าไม่ได้เพราะอารมณ์ปัจจุบันนี่ กิเลสเข้าไม่ได้ ทำลายอภิชฌาโทมนัส


ตอบโดย: เฉลิมศักดิ์ 28 มิ.ย. 52 - 06:20


อ้างอิง (เฉลิมศักดิ์ @ 28 มิ.ย. 52 - 06:20)


ผมขอโทษคุณระนาด ด้วยนะครับ

ที่อ่านข้อความของผมแล้วไม่สบายใจ

ผมจะระมัดระวังให้มากขึ้นครับ


อ้าว.......... ทำไมคุณเฉลิมศักดิ์คิดว่าผมไม่สบายใจล่ะ ( ไหงกลายเป็นงั้นไปได้ )

ผมสบายใจดีครับ  แต่ผมไม่เข้าใจ และ ผมอยากรู้เหตุผลของคุณเฉลิมศักดิ์ว่า  คุณมาแขวะผมด้วยเรื่องอะไร    คุณไม่พอใจผมด้วยเรื่องอะไร

ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่คุณแขวะคู่ร่วมสนทนา  คุณกล่าวคำขอโทษแบบนี้กับเพื่อนสมาชิก นับเป็นสิบๆครั้งแล้วครับ

เมื่อไม่กี่วันก่อน  คุณก็เพิ่งแขวะคุณวิชาและเพิ่งกล่าวคำขอโทษไปหมาดๆและคุณก็บอกว่าต่อไปจะระมัดระวังให้มากขึ้น  นี่ยังไม่ทันครบเดือนคุณก็หันมาแขวะผมเสียแล้ว

ผมเห็นพฤติกรรมของคุณมานานแล้ว  คำขอโทษของคุณ  คุณกล่าวไปลอยๆด้วยความเคยชิน   คุณไม่ได้ให้ความหมายอะไร   ในใจของคุณไม่ได้มีความละอายต่อการกระทำของตนเอง

อีกไม่เกิน 3 - 6 เดือน  คุณก็จะแขวะคนอื่นๆอีกแล้วก็กล่าวคำขอโทษแบบนี้อีก  ถ้าไม่เชื่อก็กลับไปดูกระทู้เก่าๆก็ได้

ถ้าเป็นผมนะ    โดนเพื่อนสมาชิกกล่าวประจานแบบนี้  ผมขอลาออกจากการเป็นสมาชิกไปตั้งนานแล้วครับ
                  ---------------------------------------------------

คุณเฉลิมศักดิ์ครับ

อุปสรรคที่ทำให้การภาวนาของคุณไม่ก้าวหน้าก็คือ  ความรู้สึกว่าตัวเราเป็นผู้มีความรู้มาก  เราต้องภาวนาได้ดีกว่าคนอื่นๆ

ความรู้สึกตัวนี้แหละ ( มันเป็นอัตตาอย่างหนึ่ง )   ที่คอยบดบังจิตใจ  ทำให้คุณไม่สามารถเห็นไตรลักษณ์ด้วยจิตด้วยใจที่แท้จริงครับ

ผมบอกจุดที่ต้องแก้ไขให้แก่คุณแล้วนะ    แต่คุณต้องไปลงมือปฏิบัติเอาเอง  ไม่ยังงั้นคุณก็ติดแหง็กอยู่อย่างนี้ไปจนตาย  ( ถ้าไม่บอกเดี๋ยวจะหาว่าผมใจดำ )
 

ตอบโดย: ระนาด 28 มิ.ย. 52 - 07:58


ดิฉันว่าเราหันมาสนทนากันตามหัวข้อกระทู้กันดีกว่าค่ะ

เดี๋ยวคุณ Vicha จะมึนตึ๊บไปเสียก่อน

ตอบโดย: อัญญาสิ 28 มิ.ย. 52 - 08:01


อ้างอิง (อัญญาสิ @ 28 มิ.ย. 52 - 08:01)
ดิฉันว่าเราหันมาสนทนากันตามหัวข้อกระทู้กันดีกว่าค่ะ

เดี๋ยวคุณ Vicha จะมึนตึ๊บไปเสียก่อน
(อัญญาสิ @ 28 มิ.ย. 52 - 08:01)


คุณวิชา  เข้ามาสนทนาต่อได้เลยครับ

ผมรออ่านอยู่ครับ  

 

ตอบโดย: ระนาด 28 มิ.ย. 52 - 08:06


สวัสดีครับ คุณ  Aurora คุณ|อัญญาสิ คุณระนาด.

  ความจริงทุกอย่างที่สนทนากันนั้น ยังอยู่ในกรอบทังหมดและครับ เพราะธรรมนั้นแหละแสดงให้เห็น.

   คืออยู่ในกรอบของการสนทนา อานาปาสนาติ  และเมื่อปฏิบัติอานาปานสติ มากๆ และสมบูรณ์ วิปัสสนาก็เกิดขึ้นและสมบูรณ์ไปด้วย  ก็หมายความว่าวิปัสสนาญาณก็ได้บังเกิดขึ้น

   และวิปัสสนาญาณ แต่ละวิปัสสนาญาณนั้นผู้ที่ได้สัมผัส หรืออยู่เขตของวิปัสสนาณาณแต่ละวิปัสสนาญาณนั้นมีสภาวะต่างๆ กันทั้งความเข้าใจและอารมณ์ทาทีบวกกับนิสัยหรือวาสนาที่สังสมมา ได้แสดงธรรมให้เห็น แต่ในสถานะการนี้ไม่ใช่เป็นการเก็บอารมณ์ปฏิบัติกรรมฐานโดยตลอด จึงเกิดสภาวะปกติของอุปนิสัยปรากฏมาเป็นธรรมดา.


    มากกล่าวถึงที่ได้สนทนามาในเรื่องอานาปานสติ จากเริ่มต้นถึงตรงนี้คือ

  นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
   เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
   เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
   เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น
   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจเข้า
   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก เป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า


   ผสมกับการมีสติรู้ตัวทั่วพร้อม กำหนดสติลงในอริยาบทย่อย บวกกับการมีสติเท่าทันกับสภาวะที่รุปนามปรากฏชัด เป็นปัจจุบัน และเมื่อสงบก็มีสติกลับไปฐานเดิม คือ ดำรงสติเฉพาะ มีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า สมาธิระดับฌาน ก็ปรากฏขึ้นได้ และถ้าพละ 5 เจริญขึ้นได้สมดุลย์ วิปัสสนาญาณเบื้องต้น ก็ย่อมปรากฏขึ้นมาได้ในช่วงนี้ เช่นกันได้แก่.

     1.นามรูปปริเฉทญาณ  2.ปัจจัยปริคคหาญาณ 3.สัมมสนญาณ

  ถ้าจะกล่าวตามที่ผมเข้าใจและเรียนรู้ จะเป็นดังนี้

     ช่วง นามรูปปริเฉทญาณ  กับ ปัจจัยปริคคหาญาณ  เป็นช่วงที่สติมีพละ 5 พอควร มีความเข้าใจธรรม รู้จักรูปนามที่ปรากฏด้วยการมีสติและสมาธิ และเห็นปัจจัยในการเกิดและความสัมพันธ์กันของรูปนาม ซึ่งจะมากไปด้วย จินตมยปัญญา
      ถ้าขาดสติการเตือนตนด้วยโยนิโสมนสิการอย่างแยบคาย ทิฏฐิจนยึดมั่น ต่างๆ ในจินตมยปัญญา ก็จะปรากฏได้ง่าย

      และเมื่อพละ 5 เจริญขึ้น ก็ย่อมมีปัญญาเห็นไตรลักษณ์พอประมาณ ในปัจจุบันขณะนั้นๆ  สัมมสนญาณก็ปรากฏขึ้น.

       ในช่วงนี้ก็ต้องผ่านด่าน วิปัสสนูกิเลสอย่างใดอย่างหนึ่งใน 10 อย่าง หรือบางท่านอาจจะทย่อยเกิดหลายอย่างหรือจนครบ ก็จะปรากฏขึ้น

        เมื่อถึงระดับนี้ ต้องมีสติเตือนตนอย่างมีนิโสมนสิการอย่างรอบคอบและแยบคายเพิ่มขึ้นไปอีก เพราะเป็นช่วงที่สามารถเกิดทิฏฐิที่ยึดมั่นถือกับสภาวะธรรมที่ปรากฏอย่างมากได้ จนทำให้บางท่านวิปลาสไปชั่วคราวก็มี ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของการปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐาน.
        แต่ถ้าวิปลาส ติดต่อกันยาวนาน จนมีอัตตาฝั่งแน่น ทั้งชีวิต ก็จะทำให้เสียโอกาสไปอย่างน่าเสียด้าย
        แต่ก็มีส่วนน้อยที่เพี้ยนๆ เพราะความหลงและยึดมั่นถือมั่นเกินไปก็มี ปรากฏให้เห็นกันอยู่ ก็ถือว่าเป็นกรรมเป็นวาสนาของแต่ละท่าน.

  
 

ตอบโดย: Vicha 28 มิ.ย. 52 - 09:00


อ้างอิง (อัญญาสิ @ 27 มิ.ย. 52 - 23:30)
เวลาเราภาวนาเราก็มีทิฐฐิหรือมีความเห็นในแบบของเรา  อย่างที่เคยเจอมากับตัวเอง
จะมาในรูปแบบที่เราไม่คิดว่า เป็นกิเลสแล้วเราก็ถูกมันชักจูงไป  ซึ่งกิเลสละเีอืียดอย่างที่
เคยพบมา  จะออกมาในแนวของความอยากที่จะได้ดี  ที่ดีอยู่แล้วก็อยากให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป
(อัญญาสิ @ 27 มิ.ย. 52 - 23:30)

  ขอบคุณคุณอัญญาสิที่กรุณามาแนะนำค่ะ

ถ้ายังรู้ไม่แจ้งมันก็มักจะมีกิเลสอยากรู้เกิดขึ้น ดิฉันเคยเฝ้าวนเวียนคิดตรึกตรองสภาวะที่เกิดในสมาธิแต่ยังไม่แจ้งดี อยู่ตั้ง 4 เดือน ตั้งแต่ตื่นจนหลับ เหนื่อยมาก จนสุดท้ายจิตมันคงเบื่อแล้วมันเลยสอนว่า "สิ่งที่เห็นไม่ได้อาศัยคิด" นั่นแหละถึงหยุดคิดได้ กิเลสมันชั้นเชิงสูงจริงๆ

พักหลังมาใส่ใจคำสอนครูบาอาจารย์เยอะขึ้น แบบคำต่อคำ จึงรู้ว่าท่านหมายความตามนั้นทุกๆคำ  "มีสติ-รู้กาย-รู้จิต-ลงปัจจุบัน-ด้วยจิตที่ตั้งมั่น-และเป็นกลาง" และคำว่า "รู้แล้ว-จบลงที่รู้-ไม่ทำ-อะไร-ต่อ" จึงคิดน้อยลงค่ะ

รอคุณวิชามาแสดงธรรมต่อนะคะ  

ตอบโดย: Aurora 28 มิ.ย. 52 - 09:21


อ้างอิง
แต่ละวิปัสสนาญาณนั้นผู้ที่ได้สัมผัส หรืออยู่เขตของวิปัสสนาณาณแต่ละวิปัสสนาญาณนั้นมีสภาวะต่างๆ กันทั้งความเข้าใจและอารมณ์ทาทีบวกกับนิสัยหรือวาสนาที่สังสมมา ได้แสดงธรรมให้เห็น แต่ในสถานะการนี้ไม่ใช่เป็นการเก็บอารมณ์ปฏิบัติกรรมฐานโดยตลอด จึงเกิดสภาวะปกติของอุปนิสัยปรากฏมาเป็นธรรมดา


คุณ Vicha กล่าวชอบแล้วค่ะ

อนุโมทนาคุณ Aurora ด้วยค่ะ

ตอบโดย: อัญญาสิ 28 มิ.ย. 52 - 10:31


คุณ: อัญญาสิ

ท่านเห็นแล้ว

ขออนุโมทนาสาธุ

ตอบโดย: mes 28 มิ.ย. 52 - 11:14


เรียนท่านระนาด

ด้วยความเคารพครับ   ขออนุญาตร่วมสนทนาเรื่องปลีกย่อยครับ

ขออนุญาตท่านvichaด้วยครับ   ท่านคงเมตตาไม่ขัดข้อง


คุณระนาดเขียนว่า
ความรู้สึกตัวนี้แหละ ( มันเป็นอัตตาอย่างหนึ่ง )   ที่คอยบดบังจิตใจ  ทำให้คุณไม่สามารถเห็นไตรลักษณ์ด้วยจิตด้วยใจที่แท้จริงครับ



อัตตาที่ท่านระนาดหมายถึงน่าจะเป็นอัสมิมานะ   หรือ  อุปทาน    ในความเห็นผมครับ

เพราะอัตตาเป็นบัญญัติ   เป็นเพียงชื่อสมมุติขึ้นมาเพื่ออธิบายอนัตตา

อัตตาจริงๆนั้นไม่มี

ตามที่ผมอ่านพระธรรมมาเป็นเช่นนี้

ผมมีความรู้ทางปริยัติน้อยมากจริงๆ  และพยายามแสวงหาจากปรโตโฆษะอย่างท่านทั้งหลายอยู่ครับ

ถ้าผมกล่าวผิดพลาดท่านจะได้แก้ไขให้

ถ้าถูกต้องท่านอื่นๆจะได้ความรู้ด้วย


ขอบพระคุณครับ

ตอบโดย: mes 28 มิ.ย. 52 - 11:34


    ผมขออนุญาตท่านพี่วิชา  และนักปฏิบัติธรรมทุกท่านครับ

      เห็นท่านสนทนาเรื่องการเห็นพระไตรลักษณ์   ผมจึงนำคำสอนของหลวงพ่อพุธ  ฐานิโย มาแสดง  เผื่อจะเป็นประโยชน์แก่ท่านนักปฏิบัติธรรม  ไม่มากก็น้อยครับ

นับตั้งแต่วันที่เราถือปฏิสนธิในครรภ์ของมารดา
เจริญเติบโตขึ้นมาจนครบกำหนดคลอดออกมา
จนกระทั่งเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่อย่างเต็มที่ อันนี้เป็นการขึ้นต้นของชีวิต
ในเมื่อเจริญขึ้นอย่างเต็มที่แล้ว สภาพร่างกายและจิตใจก็เปลี่ยนแปลงไป
มีแนวโน้มไปในทางที่เรียกว่าแก่
ความแก่นั้นคือวันเดือนปีข้างแรม เราส่วนมากชีวิตอยู่ในวัยแรมกันทั้งนั้น
และผู้เกิดมาสุดท้ายภายหลัง แม้ว่าเราจะยังมีอายุน้อย ชีวิตยังหนุ่มยังสาว
อยู่ในระยะที่กำลังเจริญขึ้น
แต่พอเจริญขึ้นเต็มที่แล้วก็ต้องเดินตามรอยของผู้เกิดก่อนไป
ดังนั้น อันนี้ก็เป็นแนวทางให้เราได้ถือคติเป็นการพิจารณาชีวิตของเรา
พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนให้เรา พิจารณาเนืองๆ ว่า
เรามีความแก่เป็นธรรมดาจะล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้
เรามีความเจ็บเป็นธรรมดาจะพ้นความเจ็บไปไม่ได้
เรามีความตายเป็นธรรมดาจะพ้นความตายไปไม่ได้
อันนี้คือความเป็นไปแห่งวิถีชีวิตของเรา
นอกจากนั้น ยังสอนให้เราพิจารณาให้รู้ว่า
ที่เราได้ชีวิตมานี้เป็นมาด้วยกฏของกรรม ท่านจึงได้พิจาารณาว่า
กัมมัสสะโกมหิ เรามีกรรมเป็นของของตน
กัมมะทายาโท มีกรรมเป็นผู้ให้ผล
กัมมะพันธุ มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
กัมมะปะฏิสะระโณ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
แล้วก็ให้ทำจิตให้ยอมรับว่า เราจะทำกรรมอันใดไว้ย่อมได้รับผลของกรรมนั้นแน่นอน
อันนี้เป็นวิถึทางที่ให้เราพิจารณาเพื่อกระตุ้นเตือนความรู้สึกของเราให้มีความไม่ประมาท

เพราะความประมาทเป็นหนทางแห่งความตาย คนที่เกิดมามีชีวิตอยู่ด้วยความประมาท
แม้จะมีอายุยืนตั้งร้อยปี
ก็ยังสู้บุคคลผู้เกิดมามีอายุเพียงวันเดียวแต่เต็มไปด้วยความไม่ประมาทไม่ได้
ดังนั้น บรรดาญาติโยม พุทธบริษัททั้งหลาย ตลอดทั้งพระภิกษุสงฆ์สามเณร
ในเมื่อถึงวันธรรมสวนะเช่นนี้
เราก็สละเวลามาประชุมกันเพื่อบำเพ็ญกรณียกิจอันเป็นกุศล
เรามีกาย มีวาจา และมีใจเป็นสมบัติของเราเอง กาย วาจา
และใจเป็นที่เกิดของบุญของกุศล บุญกุศลที่เราจะพึงทำนั้น คือ
๑. การให้ทาน
๒. การรักษาศีล
๓. การเจริญภาวนา
ทานัง เม ปะริสุทธัง ทานที่เราให้เป็นทานที่บริสุทธิ์
แต่ท่านทั้งหลายมักจะเข้าใจว่า การให้ทานนี้เราจะต้องมีวัสดุสิ่งของเป็นเครื่องสละ
อันนั้นก็เป็นการถูกต้อง แต่ถ้าหากจะเข้าใจว่าการให้ทานคือ
การสละสิ่งของอันเป็นสมบัติส่วนตัวเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่นโดยถ่ายเดียวนั้น
เรายังเข้าใจแคบในคำว่าการให้
เช่นอย่างท่านทั้งหลายได้สมาทานศีล ๕ ศีล ๘
ลงไปแล้วนั่นแหละได้ชื่อว่าเป็นการให้ ให้อภัยทานคือการไม่ฆ่า ไม่เบียดเบียน
ไม่ข่มเหง ไม่รังแก อันนี้ชื่อว่าเป็นการให้อภัยทาน
ญาติโยมทั้งหลายสละเวลามาทำบุญสุนทานกันในวัด ก็ได้ชื่อว่าให้
คือสละเวลามาเฝ้าพระพุทธเจ้าคือพระพุทธรูปในวัด ให้เวลามาเพื่อได้ทัศนะ
คือได้เห็นพระภิกษุสงฆ์สามเณรผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ อันนี้ก็ได้ชื่อว่าการให้
เรียกว่าการให้ทานเหมือนกัน
การรักษาศีล ท่านทั้งหลายก็ได้สมาทานมาแล้ว ศีล ๕ ศีล ๘ เป็นข้อวัดปฏิบัติ
เป็นอุบายวิธีฝึกหัดละความชั่วทางกาย ทางวาจา
ความชั่วที่เราจะตั้งใจละเอาได้นั้นคือความชั่วที่เราจะพึงละเมิดด้วยกายด้วยวาจา
แต่ส่วนเรื่องใจนั้นเรายังละไม่ได้ก่อน
ดังนั้นเราจึงมายึดหลักแห่งการละความชั่วด้วยการสมาทานศีลตามชั้นภูมิของตนเอง
คฤหัสถ์ทั่วไปมีศีล ๕ เป็นข้อปฏิบัติก็ได้ชื่อว่าละความชั่ว ๕ ข้อ
ผู้สมาทานศีล ๘ ก็ได้ละความชั่ว ๘ ข้อ
ผู้มีศีล ๑๐ ก็ได้ละความชั่ว ๑๐
ผู้มีศีล ๒๒๗ ก็ได้ละความชั่ว ๒๒๗ ข้อ
ซึ่งเป็นไปโดยเจตนาและความตั้งใจ ว่าเราจะละ เรามาฝึกหัดละความชั่วดังที่กล่าวแล้ว
จนเกิดความคล่องตัว เกิดความชำนิชำนาญ มีเจตนาอันแน่วแน่
ว่าเราจะละความชั่วอันนั้นจริงๆ โดยไม่กลับกลอกเสื่อมคลาย อันนี้ได้ชื่อว่าเป็น
การตั้งใจละความชั่ว ตามพุทธดำรัสที่ท่านสอนว่า
สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง การไม่ทำบาปทั้งปวง
การไม่ทำบาปทั้งปวงก็หมายถึงว่าการงดเว้นตามศีลสิกขาบทที่เราสมาทานมาแล้วนั้น
ท่านผู้ใดรักษาศีลให้บริสุทธิ์ได้
ตามขั้นตามภูมิของตนได้ชื่อว่าเป็นผู้ละความชั่วได้โดยเจตนาคือ
ความตั้งใจในขั้นแรกๆ
เราก็ตั้งใจอดทนๆ ตั้งใจละเอา บางทีก็ขาดตกบกพร่องบ้าง แต่เราก็พากเพียรพยายาม
ที่จะปฏิบัติให้ได้ จนกลายเป็นศีลอันบริสุทธิ์ เป็นอธิศีล
ศีลที่เกิดขึ้นในจิตในใจของเรานั้น
หนักๆ เราจะไม่ได้ตั้งเจตนา ที่จะละสิ่งใด ๆ ทั้งนั้น
แต่หากว่าการปฏิบัติของเรานั้นมันเป็นไป
เพื่อความละเป็นไปเพื่อความงดเว้นเองโดยอัตโนมัติ
ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีศีลอันบริสุทธิ์และได้ละความชั่วโดยเจตนา โดยสมบูรณ์
ท่านทั้งหลายได้สมาทานศีลตามขั้นตามภูมิของตนแล้ว
ขอทุกท่านจงได้โปรดทำความภาคภูมิใจว่า
เรามีศีลอันบริสุทธิ์แล้ว ปะริสุทธัง เม สีสัง
ศีลของเราบริสุทธิ์แล้ว ปะริสุทโธ อะหัง ภันเต ปะริสุทโธติ มัง พุทโธ ธัมโม
สังโฆ ธาเรตุ ข้าพเจ้ามีศิลอันบริสุทธิ์แล้ว
ขอพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ จงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์
นี่คือความบริสุทธิ์แห่งศีล
เพื่อเป็นอุบายวิธีการที่จะปลูกฝังเจตนาให้มั่นคงในการละความชั่วสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงทรงสอนให้เราบำเพ็ญสมาธิภาวนา
การบำเพ็ญสมาธิภาวนาเป็นบุญกิริยาวัตถุอันหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า
ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการภาวนา
บุญสำเร็จด้วยการให้ทาน เรียกว่า ทานมัย
บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล เรียกว่าสิลมัย
ดังนั้น ณ โอกาสนี้ ขอท่านทั้งหลายจงตั้งใจกำหนดจิตบริกรรมภาวนา
การบริกรรมภาวนานั้น เป็นอุบายวิธีการทำจิตให้เข้าถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม
และพระสงฆ์อย่างแน่นอน
เมื่อท่านผู้ใดบำเพ็ญสมาธิด้วยบริกรรมภาวนาให้จิตสงบลงเป็นสมาธิ
ตั้งแต่อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิลงไปแล้ว สภาพจิตจะกลายเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น
ผู้เบิกบาน
เมื่อท่านทั้งหลายทำจิตให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ได้ชื่อว่าเป็นผู้เข้าถึง
พระไตรสรณคมน์ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อย่างแท้จริง
เป็นอันว่าได้พระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
เมื่อได้พระพุทธเจ้า คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไว้ในจิตในใจแล้ว
การทรงไว้ซึ่งความรู้สึกเช่นนั้น ก็ได้ชื่อว่าได้พระธรรมเป็นสรณะ
ความที่มีสติสัมปชัญญะสังวรระวังตั้งใจว่า เราจะละความชั่ว
ประพฤติแต่ความดีอยู่ทุกขณะจิตทุกลมหายใจ ได้ชื่อว่าเป็นผู้ได้พระสงฆ์เป็นสรณะ
นี่เป็นอุบายวิธีทำจิตทำใจให้เขาถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ
ดังนั้น ณ โอกาสนี้จึงขอเชิญท่านทั้งหลายกำหนดจิตบริกรรมภาวนา
หรือพิจารณาอันใดอันหนึ่ง ซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตที่ท่านเคยคล่องตัวและเคยพิจารณาแล้ว

จนกว่าจิตจะสงบลงมีสมาธิอันประกอบด้วยองค์ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
เมื่อเราสามารถทำสมาธิจิตให้เป็นวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
นั่นคือสมาธิเบื้องต้นได้เกิดขึ้นกับจิตของเราแล้ว
จิตที่มีสมาธิที่ประกอบด้วยวิตกนั้นเป็นอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น
ท่านกำลังบริกรรมภาวนาพุทโธๆๆ อยู่
พอบริกรรมภาวนาไปแล้ว จิตของท่านบริกรรมภาวนาพุทโธๆๆ รั้งไม่อยู่
นั่นเรียกว่าจิตได้วิตก
คือไม่ต้องตั้งใจจะบริกรรมภาวนา แต่จิตก็ภาวนาพุทโธๆๆ เอง และพร้อม ๆ
กันนั้นก็มีสติสัมปชัญญะรู้พร้อมอยู่ในขณะจิตที่บริกรรมภาวนาพุทโธๆ
อันนี้จิตได้วิตก วิจารในขั้นต้น
ในบางครั้งเราอาจจะภาวนาพุทโธๆๆ พอจิตหยุดบริกรรมภาวนาพุทโธ
จิตไปนิ่งสว่างอยู่ อันนั้นจิตก็มีวิตก คือวิตกถึงความสว่างที่มีอยู่ในจิต
แล้วก็มีสติสัมปชัญญะรู้พร้อมอยู่ที่จิต ในขณะที่จิตมีความสงบ นิ่ง สว่างอยู่นั้น
จิตกลายเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานขึ้นมา พร้อมกันนั้นก็มีปีติ มีความสุข
และมีความสงบ ได้ชื่อว่าได้สมาธิในขึ้นต้น
นักภาวนาทั้งหลายอย่าไปกลัวสมาธิ ครูบาอาจารย์ของเราสอนให้ภาวนาพุทโธๆๆ
แต่ในบางครั้งเราลืมไป เราไม่เชื่อครูบาอาจารย์
บางทีเราก็ไปเชื่อบุคคลที่ภาวนาไม่เป็น
บางทีเขาจะกล่าวว่า ภาวนาพุทโธ จิตมันจะไปนิ่ง ติดความสงบ เป็นสมถะ ไม่ถึงวิปัสสนา
อันนี้อย่าไปเชื่อ ครูบาอาจารย์ของเราได้ทำมาแล้ว
ภาวนาพุทโธเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แม้ในปัจจุบันนี่ก็มีหลักฐานพยาน
บางท่านภาวนาพุทโธๆๆ แล้วจิตสงบนิ่ง สว่าง มีปีติ มีความสุข มีความสงบ
จนกระทั่งตัวหาย ไม่ปรากฏว่ามีตัวมีตนมีร่างกายปรากฏ มีแต่จิตดวงเดียวสงบ
สว่างไสว นิ่งลุกโพลงอยู่เหมือนกับไปลุกอยู่ในใจ
บางทีผู้ที่ไม่รู้เรื่องของสมาธิอย่างละเอียดพอ จิตสงบลงไปสว่างโพลงขึ้นแล้ว
ก็เกิดตกใจว่า ทำไมจิตของคนเรามันจึงลุกเป็นไฟขึ้นมาได้
มันเป็นอย่างนั้นก็มี
ในเมื่อจิตมีความสงบนิ่งๆๆ สว่าง บ่อยๆๆ เข้า สมาธิคือความสงบจิตนั้น
เป็นพื้นฐานให้เกิดปัญญา ความสงบของจิตทำให้จิตมีพลังงาน ทำให้จิตมีสติสัมปชัญญะ
เมื่อจิตมีสติสัมปชัญญะ แม้มันจะอยู่ในความสงบลึกละเอียดสักปานใดก็ตาม
แต่เมื่อมันออกจากสมาธิ ออกจากความสงบมาแล้ว มันจะมีความคิดเกิดขึ้น
ความคิดที่เกิดขึ้นนั้นแหละคือปัญญา
ถ้าหากเรามีสติตามรู้ทันความคิด อยู่ทุกขณะจิตทุกลมหายใจ เรียกว่าปัญญาเกิดจากสมาธิ

ถ้าหากขณะใดที่เรามีสติตามรู้ไม่ทันจิตก็กลายเป็นความฟุ้งซ่าน
จริงอยู่ ในขณะที่จิตสงบนิ่ง กายไม่ปรากฏ ความรู้สึกนึกคิดอื่น ๆ มันจะไม่มี
มีแต่จิตสงบ นิ่ง สว่างอยู่เฉย ๆ แต่เมื่อจิตเลิกจากความสงบนิ่ง สว่าง
แล้วถอนออกมา พอรู้ว่ามีภายเท่านั้นแล้วจิตมันก็จะเกิดความคิดผุด ๆ ผุดขึ้นมา
นี่ปัญญาเกิดขึ้นแล้วนะเกิดขึ้นตอนนี้
ตอนที่จิตสงบนิ่ง เงียบ สว่างจนไม่มีตัว นั่นปัญญามันไม่เกิดจริง
แต่เราสามารถที่จะมีปัญญารู้ได้
เมื่อเราออกจากสมาธิมา ว่านี่คือสมาธิ และเราจะรู้ว่านี่เราภาวนาได้สมาธิ
นี่จิตของเราถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์แล้วนี่จิตของเราเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น
ผู้เบิกบานแล้ว
นี่คุณธรรมที่ทำคนให้เป็นพระพุทธะเกิดขึ้นในจิตในใจของเราแล้ว
นี่คือปัญญาที่จะเกิดจากสมาธิ
ถ้าหากว่าสมาธิไม่เกิดอย่างนี้เราก็ไม่รู้เช่นนั้น
เมื่อจิตถอนออกมาจากสมาธิเช่นนั้น
จิตมีความคิดเกิดขึ้นเมื่อใด สติสัมปชัญญะจะตามรู้ความคิดนั้นทันที
เพราะอาศัยพลังแห่งความสงบ
อันนั้นเป็นแนวทาง
ดังนั้น ท่านผู้ภาวนาทั้งหลายอย่าไปกลัว กลัวว่าจิตมันจะสงบนิ่งอยู่เฉย ๆ
ไม่มีทาง มันจะสงบนิ่งอยู่ก็เฉพาะในขณะที่นั่งหลับตาอยู่เท่านั้น
แต่เมื่อออกจากที่นั่งหลับตาแล้ว
มันก็ไม่สงบเพราะเรามีภาระธุรกิจที่จะต้องทำ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด

นั่นคือการกิจอันเป็นเรื่องชีวิตประจำวัน
คนที่ไม่มีสมาธิมาก่อนยืนก็ยืนด้วยความไม่มีสติ
เดินก็เดินด้วยความไม่มีสติ นั่งก็นั่งด้วยความไม่มีสติ กิน ดื่ม ทำ พูด
ด้วยความไม่มีสติ
แต่ผู้มีจิตผ่านสมาธิมาแล้วบ่อย ๆ ยืนก็มีสติอยู่ เดินก็มีสติรู้อยู่
นั่งก็มีสติรู้อยู่ นอนก็มีสติรู้อยู่
กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ก็มีสติรู้อยู่ เมื่อมีสติรู้อยู่สติตัวนี้มีพลังแก่กล้าขึ้น
จะกลายเป็นปัญญา
มองสิ่งใดที่ผ่านเข้ามาทางตา หู ลิ้น กาย และใจด้วยความมีสติ
จิตที่มีสติรับรู้อะไรแล้ว เขาจะมีการพิจารณาโดยความเป็นอัตโนมัติ เช่น
เมื่อตาเห็นรูป พอเกิดความยินดีขึ้นพั๊บ! จะมีสติพิจารณา
บางทีก็พิจารณาว่ารูปนี่มันเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
บางทีก็พิจารณาว่ารูปที่สดสวยงดงาม
ในที่สุดมันก็ไม่สดไม่สวยไม่งดไม่งามเพราะมันเป็นของปฏิกูลน่าเกลียดโสโครก
มีหู หูได้ยินเสียงอะไรเข้ามาพอเกิดความยินดียินร้าย
ผู้มีสติจะเกิดปัญญาพิจารณาทันที อะไรผ่านเข้ามา
ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย จะมีสติพิจารณาทันที
แม้สิ่งนั้นจะเป็นสิ่งภายนอกจะเป็นสิ่งภายในก็ตาม
ในเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วเพราะอาศัยความมีสติ
เขาจะมีความรู้พร้อมและการเตรียมพร้อมมีตาก็เป็นตามีศีลมีธรรม
ไม่ใช่ตาหาเรื่อง ถ้าตาหาเรื่องแล้วก็มองดูใครทำอะไรไม่ถูกอกถูกใจก็หาเรื่อง
พาลทะเลาะกัน นั่นเรียกว่าไม่มีสติ ขาดสติ
จึงปล่อยให้ตาไปหาเรื่องกับเหตุการณ์ภายนอก
รูปที่ผ่านเข้ามาภายใจทางสายตา ตามันเป็นสิ่งที่มีไว้สำหรับดู
ในเมื่อเราลืมตาดู มันก็เห็นหมดทุกสิ่งทุกอย่างนั่นแหละ
เห็นทั้งสิ่งที่ดี เห็นทั้งสิ่งที่ร้าย เห็นทั้งสิ่งที่สวย เห็นทั้งสิ่งที่งาม
เห็นทั้งสิ่งที่ขึ้ริ้วขี้เหร่ เห็นทั้งสิ่งที่น่าชอบใจ
เห็นทั้งสิ่งที่ไม่ชอบใจ ใจเมื่อจิตมีสติสัมปชัญญะรู้พร้อม
จิตของเราจะให้ความยุติธรรมแก่สิ่งที่เห็น เห็นอะไรที่แสดงออกมา
แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่เราชอบใจไม่ชอบใจก็ตาม จิตที่มีสติจะเป็นกลางโดยเที่ยงธรรม
เห็นอกเขาอกเรา ใครแสดงอะไรออกมา นั่นเป็นอุปนิสัยของเขาอย่างนั้น
เสียงที่เราได้ยินใครพูดออกมา ดีก็ตาม ไม่ดีก็ตาม จิตที่มีสติจะพิจารณาว่า
ใครเปล่งเสียงออกมาอย่างไร ดีชั่วก็ตาม เป็นอุปนิสัยของเขาผู้นั้น
กลิ่นที่ผ่านเข้ามาทางจมูก เหม็น หอม เป็นเรื่องของกลิ่น
จิตเป็นกลางแล้วย่อมไม่ยินดียินร้าย สิ่งที่ผ่านเข้ามาทางลิ้น สัมผัสทางรส
รสอร่อยเปรี้ยวหวานมันเค็มจิตที่เป็นกลางแล้วจะไม่ติ ไม่ชมกับรสนั้นๆ
แม้จิตที่มีสัมผัสในทางกายที่อยู่ที่หลับที่นอนจะอ่อนจะแข็งอย่างไรก็ตาม
ในเมื่อจิตมีสติสัมปชัญญะก็มีแต่ความเป็นกลาง เช่นอย่างญาติโยมมาวัด
จะมีเสื่อปูให้นั่งก็ตาม ไม่มีก็ตาม จิตที่เป็นกลาง มีสติสัมปชัญญะ
ย่อมไม่ติไม่ชม เห็นอะไรก็นึกว่าเป็นเรื่องของธรรมดา
เห็นอะไรก็ปลงปัญญาทำจิตเป็นกลางว่าเป็นเรื่องของธรรม
พิจารณาเข้าไปสู่หลักของพระไตรลักษณ์ ทุกสิ่งทุกอย่างมันแสดงความไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาของมัน ทุกสิ่งทุกอย่างซึ่งเป็นเรื่องภายนอกนั้น
มีหรือที่มันจะเป็นไปโดยถูกตา ถูกใจ ของเราหมดทุกสิ่งทุกอย่าง
แม้แต่ลิ้นกับฟันอยู่ในปากมันก็ยังกระทบกัน
บางทีเคี้ยวอาหารก็ไปเผลอกัดปากตัวเองเข้าให้
แม้แต่สิ่งที่อยู่ในร่างกายของเรา เรายังควบคุมไม่ได้ตลอดไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง
เรื่องอะไรเราจะไปควบคุมบุคคลอื่นและสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมให้มันเป็นไปตามใจของเรา

เพราะฉะนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าท่านจึงให้มีสติสัมปชัญญะพิจารณาสิ่งต่าง ๆ
อะไรเกิดขึ้นให้พิจารณาน้อมไปสู่พระไตรลักษณ์อนิจจังไม่เที่ยง
ทุกขังเป็นทุกข์ อนัตตาไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน
โดยในหลักอนัตตลักขณสูตร ท่านให้ยกเอาขันธ์ ๕ ขึ้นมาพิจารณา
รูปัง ภิกขะเว อะนัตตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวไม่ใช่คน
รูปคือร่างกาย แม้แต่ร่างกายของเรานี้มันก็ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ใช่ของเรา
ไม่ใช่ของเขา ถ้าว่ามันเป็นของเราจริง ๆ
ทำไมมันจึงแก่ ทำไมมันจึงเจ็บ ทำไมมันจึงตาย
หรือบางทีทำไมมันจึงไม่อยู่ในอำนาจ ในเมื่อเราแก่เฒ่าชราแล้ว
มือเท้ามันก็ไม่อยู่ในอำนาจ แข้งขาเท้ามือก็ไม่อยู่ในอำนาจ
นั่นคือลักษณะแห่งอนัตตา
เพราะฉะนั้นเราจึงสั่งไม่ได้ในรูปของเราคือร่างกายของเรานี้ว่า
ขอรูปกายของเราจงเป็นอย่างนั้นๆ
อย่าแก่ อย่าเจ็บ อย่าตายเลย มันก็ไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ
ขอรูปของเราจงเป็นอย่างนี้ที่เราชอบใจ มันก็ไม่เป็นไปตามความต้องการ
เพราะฉะนั้นรูปมันจึงไม่เที่ยง เพราะฉะนั้นรูปมันจึงเป็นทุกข์
เพราะฉะนั้นรูปมันจึงเป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน เวทนา อนัตตา เวทนา คือ
ความสุข ความทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ มันก็ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน
เวลานี้เรานั่งสมาธิภาวนาอยู่เราอยากให้จิตของเราสงบเป็นสมาธิให้ทันอกทันใจ
มันก็ไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ เรานั่งสมาธิอยู่ เราไม่อยากให้ร่างกายมันปวด
มันเมื่อยไม่ให้มีเวทนาทุกข์ มันก็ไม่เป็นไปตามความต้องการ
เราต้องการให้กายของเรามีเวทนาสุขอย่างเดียว มันก็ไม่เป็นไปตามความต้องการ
เพราะฉะนั้น เวทนามันจึงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันเป็นเรื่องของขันธ์ ๕ มันก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาทั้งนั้น
อันนี้เป็นแนวทางที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เราพิจารณา
ในการพิจารณา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
อันนี้เป็นวิธีการปฏิบัติกรรมฐานในสายวิปัสสนากรรมฐานการปฏิบัติกรรมฐานในสายวิปัสสนากรรมฐาน

คือการหัดใช้ความคิดให้เกิดปัญญา จิตตามปัญญา
ปัญญาเกิดจากการคิดเราฟังเทศน์เราจดจำได้แล้ว
ก็มีความรอบรู้ อันนั้น ปัญญาเกิดจากการฟัง เรียกว่า สุตมยปัญญา
ในเมื่อเราฟังรู้แล้ว เราน้อมเอาสิ่งที่ฟังรู้มาพิจารณาในใจอีกทีหนึ่ง เช่น
อย่างฟังเรื่องของ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
แล้วเราก็เอามาพิจารณา
พิจารณาว่ารูปก็ไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง
วิญญาณไม่เที่ยง
พิจารณาไปจนกว่าจิตจะสงบลงเป็นสมาธิ หรือจิตมันอาจจะพิจารณาไปเองโดยอัตโนมัติ
ถ้าหากว่าจิตกำหนดรูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณเองโดยอัตโนมัติโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ
อันนั้นเรียกว่าจิตเราได้วิตกวิจารในขั้นแห่งพิจารณา
บางท่านอาจจะสงสัยว่า เมื่อเราพิจารณารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อจิตสงบลงไปแล้วจิตมันจะไปพิจารณาว่า
รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญา สังขาร วิญญาณไม่เที่ยงเช่นนั้นหรือ
มันไม่เป็นเช่นนั้นหรอก
ในเมื่อเราอาศัยการคิดพิจารณาในเบื้องต้นว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เมื่อจิตสงบลงเป็นสมาธิแล้ว
มันจะหยุดพิจารณาเรื่องที่เราตั้งใจคิด แล้วก็ไปสงบนิ่งอยู่เฉย ๆ
ในขณะที่มันสงบนิ่งอยู่เฉย ๆ มันก็จะรู้ว่ารูปยังปรากฏอยู่
มันก็มองเห็นว่ามีรูป ในเมื่อจิตรู้สึกว่ารูปมีอยู่
เวทนาสุขทุกข์มันก็เกิดขึ้นที่รูป สัญญาก็เกิดขึ้นที่รูป
จิตที่คิดอยู่ไม่หยุดก็เพราะมีรูป คือมีกายเป็นเครื่องมือ
วิญญาณที่รู้เกิดขึ้นอยู่บ่อย ๆ ก็เพราะมีกาย เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ มันเกิดขึ้นได้ในขณะที่เรายังมีกายอยู่
เมื่อเรานั่งกำหนดจิตดูอยู่ในขณะนี้ เรารู้ว่ามีกาย
อะไรผ่านเข้ามาสัมผัสกายเราก็รู้ รู้ว่าอะไรเป็นที่สบาย เราก็รู้
เพราะอาศัยการพิจารณาเป็นอารมณ์จิต จิตก็จะค่อย ๆ สงบลงที่ละน้อย จนกระทั่ง
นิ่ง สว่างความรู้สึกว่ามีกายก็หายไป
เมื่อกายไม่มี เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณก็หายไปหมด
ยังเหลือแต่จิตสงบ นิ่ง สว่าง อยู่เหมือนกันกับบริกรรมภาวนาในเบื้องต้น
แล้วรูป เวทนา สัญญา สังขารก็หายไป ยังเหลือแต่จิตสงบ นิ่ง สว่างไสว
เป็นกลางโดยเที่ยงธรรม
สุขก็ไม่มี ทุกข์ก็ไม่มี
ทำไมจึงไม่มี เพราะกายหายไป สุขทุกข์เป็นเวทนา เวทนานี้มันเกิดจากกาย
เมื่อกายมีอยู่สุขทุกข์ยังปรากฏอยู่ เมื่อกายมีอยู่สัญญาความทรงจำก็ยังมีอยู่
เมื่อกายมีอยู่จิตที่คิดนึกก็ยังมีอยู่ ในเมื่อกายมีอยู่จิตคิดนึกสัมผัสรู้อะไร
วิญญาณก็ยังมีอยู่ เมื่อกายดับไปแล้ว เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณดับไปหมด
เรื่องของเรื่องมันเป็นอย่างนี้
แม้แต่ในทางที่คุณธรรมมันบังเกิดขึ้น เช่น เราภาวนาจิตสงบลงไปแล้ว วิตก วิจาร
ปีติ สุข มันก็ปรากฏได้ ในขณะที่ยังมีกายอยู่ แต่ถ้าจิตสงบละเอียดลงไป
จนกระทั่งกายหายไปแล้ว ยังเหลือแต่จิตสงบ นิ่ง ว่าง สว่างไสวอยู่ รู้อยู่แต่ภายใน
กายไม่มี วิตก วิจาร ปีติ สุข มันก็หายไปหมดยังเหลือแต่จิตสงบนิ่ง เป็นหนึ่ง
เป็นเอกัคคตากับอุเบกขา
จิตที่เรียกว่าเป็นอุเบกขาในขั้นนี้หมายถึงว่าจิตเป็นตัวของตัวเองโดยเที่ยงธรรม
จิตไม่ได้พึ่งพาอาศัยอะไรเป็นอารมณ์ ไม่ได้ยึดเหนี่ยวอะไรเป็นอารมณ์
เป็นแต่จิตรู้ ตื่น เบิกบานอยู่ตลอดเวลา
จะว่าสุขก็ไม่ใช่ จะว่าทุกข์ก็ไม่ใช่มันเป็นกลางหมดทุกสิ่งทุกอย่าง
ความยินดีก็ไม่มี ความยินร้ายก็ไม่มี สุขก็ไม่มี ทุกข์ก็ไม่มี
เพราะกายหายไปแล้ว ความยินดีก็ดี ความยินร้ายก็ดี สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี
เราสัมผัสรู้ได้เฉพาะในขณะที่เรามีกาย ในเมื่อกายหายไปแล้วสุขทุกข์มันก็ไม่ปรากฏ
มีแต่ความเป็นกลาง เพราะฉะนั้นจิตที่สงบลงเป็นอัปปนาสมาธิ
ท่านจึงว่ามันเหลือแต่เอกัคคตากับอุเบกขา
ถ้าท่านผู้ใดภาวนาไปถึงขึ้นนี้แล้วจะรู้เอง
เพราะฉะนั้น สมาธิขั้นอุปจาระก็ดี ขั้นสมถะก็ดี
เป็นสิ่งจำเป็นที่นักภาวนาจะต้องรีบเร่งเอาให้ได้ เมื่อเรามีสมาธิขั้นอุปจาระ
หรือขั้นอัปปนา ได้ขื่อว่าเรามีสมาธิที่ดำเนินเข้าไปสู่
การทำจิตของตนเองให้เป็นพุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ในตอนนี้จิตเป็นตัวของตัวเองโดยเด็ดขาด
อัตตา ทีปะ มีตนเป็นเกราะคือเป็นที่ยึด
อัตตะ สะระณา มีตนเป็นที่พึ่ง
อัตตาหิ อัตตะโน นาโถ มีตนเป็นที่พึ่งของตน
นี่ถึงแล้ว อัตตาหิ อัตตะโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งของตน มันอยู่ที่ตรงนี้
ในตอนแรก เราพยายามทำจิตของเราให้เป็นที่พึ่งของตนให้ได้เสียก่อน
ในเมื่อจิตมีสมาธิ จิตมีความเป็นที่พึ่งของตนได้โดยเด็ดขาด
แม้ว่าจิตนั้นจะมีแต่ความสงบ นิ่ง อยู่เรื่อย ๆ ก็ไม่เป็นไร
ไม่ต้องไปเดือดเนื้อร้อนใจ
ไม่ต้องไปนึกว่า เมื่อไรจิตมันจะเกิดวิปัสสนา เมื่อไรจะเกิดภูมิความรู้
เมื่อไรจะได้ฌาน
เมื่อมีสมาธิมันก็มีฌาน
จิตสงบลงเป็นอุปจารสมาธิ มีภาวนาอยู่ก็มีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ก็ได้ฌานที่
๑ แล้ว
เมื่อจิตหยุดภาวนา จิตนิ่ง สว่างไสว มีปีติ มีสุข มีความเป็นหนึ่ง
ก็ได้ขื่อว่าฌานที่ ๒
เมื่อปีติหายไปมีแต่สุขกับเอกัคคตา ก็ได้ฌานที่ ๓
เมื่อสุขหายไปเพราะกายหายไปหมดแล้วมีแต่เอกัคคตากับอุเบกขาจิตก็ได้ฌานที่ ๔
นี่ภาวนาได้ฌานแล้วจะไปเดือดเนื้อร้อนใจอะไรกัน
ในเมื่อเรามีสมาธิก็มีฌาน ในเมื่อมีฌาน ญาณมันก็มีขึ้นมาเอง
เมื่อมีญาณมันก็มีปัญญา เมื่อญาณแก่กล้าก็บันดาลให้จิตเกิดภูมิความรู้ขึ้นมา
ภูมิความรู้ที่เกิดกับจิตก็คือความคิดนั่นเอง
ความคิดที่มันผุดขึ้นมา ๆ ผุดขึ้นมาเป็นเรื่องของธรรม บางทีมันก็ผุดขึ้นมาว่า
อ้อ! กายของเรามันก็เป็นอย่างนี้หนอ มันมีแต่ของปฏิกูลน่าเกลียด โสโครกสกปรก
มีแต่ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อันนี้ปัญญามันบังเกิดขึ้นมาเพราะมีญาณ
ในเมื่อปัญญามันบังเกิดขึ้นมาอย่างนี้ เรามีสติสัมปชัญญะตามรู้ปัญญาที่มันเกิดขึ้น
ไอ้เจ้าปัญญานี่ มันก็ไปของมันเรื่อยไป ไอ้ตัวสติก็ตามรู้ของมันเรื่อยไป
ควบคุมกำกับกันไปอยู่
จิต อารมณ์ สติ ไม่พรากจากกัน นั่นคือจิตได้ภูมิวิปัสสนาขึ้นมาแล้ว
เมื่อเป็นเช่นนั้นเรื่องอะไรที่เราจะไปกลัวว่าจิตมันจะคิดสมถะ ไม่มีทาง
ถ้าหากว่าจิตมันจะไปคิดสมถะกันจริง ๆ คูรบาอาจารย์ท่านก็ไม่สอน
แต่ถ้าจิตจะติดสมถะ ติดสมาธิในขั้นฌานก็ดีนี่ ดีกว่ามันไม่ได้อะไรเลย!
ถ้ามันได้แต่ความคิดโดยความตั้งใจภูมิปัญญาความรู้ไม่เกิดขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ
ถ้าไม่คิดก็ไม่มีความรู้เมื่อตั้งใจคิดจึงเกิดความรู้อันนี้มันเป็นสติปัญญาธรรมดา
แต่ถ้าอยู่ ๆ มันคิดของมันขึ้นมาเอง ปรุงขึ้นมาเอง เป็นเรื่องของธรรม
ปรุงขึ้นมาแล้วก็มีปีติ มีความสุขควบคู่กันไป มีความสงบควบคู่กันไป
จิตมีความคิดอยู่สงบได้อย่างไร
มันสงบอยู่กับหน้าที่ที่มันพิจารณาอารมณ์อยู่ในปัจจุบันนั้น
มันไม่เอาเรื่องอื่นเข้ามาแทรกมาแซง ธรรมะที่เกิดขึ้นมา ผุด ๆ ขึ้นมา สติก็รู้
รู้อยู่ที่จุดที่มันผุดขึ้นมานั่น แล้วมันไม่ได้แส่ไปทางอื่น
กำหนดรู้อารมณ์จิตตลอดเวลา
นี่คือความสงบจิตในขั้นวิปัสสนา
ความคิดก็คิดอยู่ไม่หยุด สติก็ตามรู้อยู่ไม่หยุดไม่พลั้งเผลอ นั่นคืออะไร อัตตะโน
โจทะยัตตานัง
เรามีสมรรถภาพที่จะเตือนตนด้วยตนเอง
การภาวนานี้ แม้เราจะไม่เห็นอะไรเป็นรูปเป็นร่างก็ตาม
ให้มันรู้มันเห็นความเป็นจริงของกายของเราว่า
ปัจจุบันนี้กายของเรามีอยู่หรือเปล่า เมื่อกายมีอยู่มองเห็นเวทนาหรือเปล่า
เมื่อกายมีอยู่ความทรงจำอดีตสัญญามันเกิดขึ้นมาหรือเปล่า
เมื่อกายมีอยู่ความคิดความปรุงแต่งมันมีอยู่หรือเปล่า
เมื่อกายมีอยู่วิญญาณรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันมีอยู่หรือเปล่า
ในเมื่อมันมีอยู่แล้วมีสติสัมปชัญญะรู้ทันอยู่หรือเปล่า นี่รู้กันที่ตรงนี้
เห็นกันที่ตรงนี้
เรื่องที่จะไปเห็นสิ่งต่าง ๆ ภายนอก เห็นนางฟ้า เทวดา อินทร์ พรหม ผม ยักษ์
เมืองสวรรค์ เห็นเมืองนิพพาน อันนั้นมันเป็นมโนภาพต่างหากหรอก
ต้องรู้กายของตนเอง รู้ใจของตนเอง นั่งภาวนาไปนาน ๆ มันเมื่อย มันปวด
ถ้าทนต่อไปมันก็ทรมานร่างกายเปลี่ยนอิริยาบทเสีย นี่เรียกว่ารู้เรื่องของกาย
ถ้าหากว่ากายมันสบายเพราะอาศัยพลังแห่งปีติและสุขเกิดขึ้นในทางจิต
ก็นั่งต่อไปอย่าไปฝืนมัน ถ้าสิ่งใดจะเป็นการทรมานกายมากเกินไปเราก็เปลี่ยนอิริยาบถ
เพราะกายอันนี้ทรมานมากนักมันก็ทรุดโทรม ทำให้เกิดเจ็บปวด เจ็บปวดหนัก ๆ เข้า
ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บในทางจิต
ถ้าปล่อยให้มันฟุ้งในทางอกุศลมากเกินไป ไม่มีการกดข่ม ไม่มีศีลมาเป็นเครื่องควบคุม
ความประพฤติของตัวเอง อะไรเกิดขึ้นมาก็ลุอำนาจแห่งศีล จนมันเคยตัว
เรียกว่าปล่อยจิตปล่อยใจให้มันเป็นไปตามอำเภอใจ ไม่มีการควบคุม
เมื่อเรารู้ความจริงของกายของจิตมันเป็นอย่างนั้น
เมื่อความคิดอันใดมันเกิดขึ้น เป็นกุศลก็ตาม อกุศลก็ตาม เรื่องบาปก็ตาม
เรื่องบุญก็ตาม เมื่อเรามีสติสัมปชัญญะอยู่ จิตของเราจะทำหน้าที่พิจารณาไปเอง
สมมติว่าเรานั่งอยู่ ใจขณะนี้มันคิดอยากจะไปทำผิดศีลข้อใดข้อหนึ่ง
ถ้าสติมีอยู่มันจะได้ความสำนึกขึ้นมาว่า สิ่งนี้ไม่ควรแก่เรา
เราเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า
จะไปคิดฆ่าคิดแกง คิดลักคิดขโมย คิดด่าคิดนินทาว่าร้ายกัน
มันไม่ใช่วิสัยของผู้ปฏิบัติธรรม
เราเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้าต้องเลียนแบบพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าฆ่าสัตว์ไม่เป็นเราก็ไม่ฆ่า
พระพุทธเจ้าไม่ทรมานสัตว์ เราก็ไม่ทรมาน
พระพุทธเจ้าลักขโมยฉ้อโกงไม่เป็น เราก็เอาแบบท่าน
พระพุทธเจ้าไม่ประพฤติผิดกาเมสุมิจฉาจาร เราก็เอาอย่างท่าน
พระพุทธเจ้าโกหกหลอกลวงไม่เป็น เราก็เอาอย่างท่าน
พระพุทธเจ้าไม่ทรมานตนไม่ทรมานคนอื่นด้วยการดื่มสุราเมรัย
มัวเมาในสิ่งที่ทำให้เสียผู้เสียคน เราก็เอาอย่างพระพุทธเจ้าซิ
ถ้าหากเราไม่เอาอย่างพระพุทธเจ้า เราก็ไม่ใช่ลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้าเท่านั้นเอง
พระพุทธเจ้าเวลาท่านนั่งสมาธิเพื่อจะตรัสรู้ พญามารปล่อยอาวุธร้ายหมายทำลายพระองค์
พระองค์ก็มีแต่เมตตาแผ่เมตตาให้พญามาร
ลูกกระสุนหรืออาวุธที่พญามารปล่อยมาแทนที่จะถูกพระพุทธเจ้า กลายเป็นดอกไม้บูชา
นี่ในทำนองเดียวกัน เราเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า ใครด่ามาเราก็แผ่เมตตาให้
ไม่สนใจในคำด่า คนโน้นเขาด่าเรา เขาสร้างบาปให้กับเขาเอง เราไม่รับเอา
วัวมันเข้าคอกใหนมันก็กลับคืนไปสู่คอกนั้น คนที่ด่าแต่ไม่มีใครรับคำด่า
มันก็เปรียบเหมือนการถ่มน้ำลายขึ้นฟ้า แล้วมันก็ลงมารดหน้าของตัวเอง
นี่ต้องพิจารณาอย่างนี้นักปฏิบัติ!
เพราะฉะนั้น ถ้าหากว่าเรากระทบอารมณ์อะไรก็ปล่อยไปเสียจนสุดขีด
ไม่มีการยับยั้ง ไม่มีสติสัมปชัญญะพิจารณา
เราก็ขาดคุณสมบัติที่เป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้าเท่านั้นเอง
กฏหรือระเบียบที่จะประพฤติบำเพ็ญตน ให้เป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง
ที่เราจะตั้งใจปฏิบัติโดยเจตนาคือศีล เรามาฝึกสมาธินี้
เพื่ออบรมจิตของเราให้มีพลังงาน มีสติสัมปชัญญะ มีปัญญา
เพื่อให้จิตของเรานี้เป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้าเอง
โดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องการข่ม เมื่อจิตมีสภาวะรู้ ตื่น เบิกบาน
ก็ได้ขื่อว่าจิตมีคุณธรรมความเป็นพุทธะ
โดยปกติผู้ที่มีจิตเป็นสภาวะผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว แม้ว่าอยู่ในสมาธิ
สภาพจิตเป็นอย่างนั้น พอออกจากสมาธิแล้ว
ความรู้สึกสำนึกผิดชอบชั่วดีมันจะมีอยู่ตลอดเวลา
ตามธรรมดาของบุคคลผู้มีความรู้สึกสำนึกผิดชอบชั่วดี
เขาต้องมีเจตนาว่าเขาจะละความชั่ว ประพฤติความดีทำจิตให้บริสุทธิ์สะอาดอยู่เสมอได
ในภาษิตที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ว่า
สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง กุสะสัสสูปะสัมปะทา สติตตะปริโยทะปะนัง เอตัง
พุทธานะสาสะนัง
การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำกุศลให้ถึงพร้อม การชำระจิตให้บริสุทธิ์สะอาด
นี้คือคำสอนของผู้รู้คือพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
แหม! การที่จะทำจิตให้บริสุทธิ์สะอาดนี่มันยากเหลือเกิน เอ้า!
ความบริสุทธิ์สะอาดของจิตนี้
มันมีโดยเจตนา ผู้ที่มีเจตนาจะรักษาศีลให้บริสุทธิ์สะอาด คือทำจิตให้บริสุทธิ์สะอาด

เมื่ออบรมจิตให้มันคุ้นต่อการทำเช่นนั้น จนคล่องตัวแล้ว
ต่อไปจิตมันก็จะบริสุทธิ์สะอาดเอง
พระภิกษุสงฆ์สามเณรมีความซื่อสัตย์ตรงไปตรงมาต่อหน้าที่
มีความตรงไปตรงมาต่อเพื่อนสมณะด้วยกัน
มีการรักษาศีลให้บริสุทธิ์ มีกาย วาจา ใจบริสุทธิ์สะอาด
ทำตนให้เป็นผู้งามในเบื้องต้น ทำจิตให้มีเมตตาปรานี
ทำจิตให้มั่นคง เป็นผู้ทำความงามในท่ามกลาง
ทำจิตให้มีสติสัมปชัญญะรอบรู้และมีเจตนาที่จะละเว้นความชั่ว
ประพฤติความดี ทำใจให้บริสุทธิ์สะอาดอยู่เสมอ
ได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำความงามในเบื้องปลาย
อาทิกัลยาณัง งามในเบื้องต้น คือศิลอันบริสุทธิ์
มัชเฌกัลยาณัง งามในท่ามกลาง คือสมาธิ
ปริโยสานะกัลายาณัง งามในเบื้องปลาย คือปัญญา
เมื่อศีล สมาธิ ปัญญา งามพร้อม รวมลงเป็นหนึ่ง มีแต่ สติวินโย
ปรากฏเด่นชัดอยู่ที่จิต ต่อนั้นไปคืออะไร
เอกายะโน มัคโค สัมมะทักขาโต สัตตานัง วิสุทธิยา
คือทางดำเนินไปเพื่อความบริสุทธิ์สะอาดของสัตว์ทั้งหลาย
ด้วยประการฉะนี้
วันนี้ขอแสดงธรรมะเป็นเครื่องประดับสติปัญญาของท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
ก็เห็นว่าพอสมควรแก่กาลเวลา จึงขอยุติด้วยประการฉะนี้

ตอบโดย: คนโคราช 28 มิ.ย. 52 - 21:19


อ้างอิง
คุณ mes
คุณระนาดเขียนว่า
ความรู้สึกตัวนี้แหละ ( มันเป็นอัตตาอย่างหนึ่ง )   ที่คอยบดบังจิตใจ  ทำให้คุณไม่สามารถเห็นไตรลักษณ์ด้วยจิตด้วยใจที่แท้จริงครับ


ความรู้สึกตัวที่คุณระนาดกล่าวถึง น่าจะหมายถึง ความรู้สึกว่ามีตัวตน = รู้สึกว่ามีอัตตา
แต่อัตตาจริงๆ นั้นไม่มี  เข้้าใจถูกแล้วค่ะ

แต่ความรู้สึกว่ามีตัวตน น่า่จะตรงกับคำว่า อุปาทาน หรือ ความยึดมั่นถือมั่น
ส่วน อัสมิมานะ น่าจะหมายถึง ความถือเขาถือเรา เช่น เราดีกว่าเขา เรายังดีไม่เท่าเขา
รอท่านอื่นมาตอบเพิ่มแล้วกันค่ะ

ตอบโดย: อัญญาสิ 28 มิ.ย. 52 - 22:21


อ้างอิง
คุณ Aurora
สุดท้ายจิตมันคงเบื่อแล้วมันเลยสอนว่า "สิ่งที่เห็นไม่ได้อาศัยคิด" นั่นแหละถึงหยุดคิดได้


อ่านแล้วนึกถึงธรรมะที่หลวงปู่ดูลย์แสดงไว้  เอามาจากหนังสือ "หลวงปู่ฝากไว้" ท่านสอนว่า

--- คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงได้รู้ แต่ต้องอาศัยความคิดนั่นแหละจึงรู้้ ---

คำสอนครูบาอาจารย์อ่านไว้มีประโยชน์มากค่ะ  เวลาภาวนาสถานการณ์หน้าสิ่วหน้าขวาน
บางคราวคำสอนนั้น จะผุดขึ้นมาช่วยให้เรามีสติเอาตัวรอดมาได้  ที่เคยผ่านมาด้วยตัวเอง
เป็นคำสอนหลวงปู่ดูลย์นี่เองค่ะ  ทั้งที่ตัวเองไม่เคยเจอท่านนะคะ ได้อ่านแต่คำสอน
ตอนนั้น  จิตมันบอก "คิดไม่รู้ รู้ไม่คิด"  

เห็นด้วยกับคุณ Aurora ครูบาอาจารย์สอนนี่หมายความตามนั้นทุกตัวจริงๆ ค่ะ
     

ตอบโดย: อัญญาสิ 28 มิ.ย. 52 - 22:35


มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเพิ่มเติมเรื่องวิปัสสนาญาณ  ครูบาอาจารย์ของดิฉันท่านบอกว่า

ในผู้ภาวนาที่อายุน้อย  อาการของญาณในแต่ละขั้นจะชัดไม่เท่ากัน  เช่น
มีอาการในญาณที่ ๔ ชัด แต่ญาณที่ ๕ ๖ ไม่ชัด แล้วไปชัดอีกทีที่ญาณ ๗ เป็นต้น
แต่ไม่ได้หมายความว่ากระโดดข้ามขั้นไป เพียงแต่ว่าการผ่านไปในบางญาณ  ได้ผ่าน
ไปอย่างรวดเร็ว  ทำให้อาการในแต่ละญาณจะปรากฎไม่ชัดเจนทุกๆ ขั้น

ต่างกับผู้ที่มีอาวุโสหน่อย  อาการของแต่ละขั้นจะปรากฎชัดเจนกว่า และใช้เวลานานกว่า
แบบค่อยๆ ผ่านไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป  ไม่เหมือนวัยรุ่นใจร้อน    

ฟังไว้ถือว่าประดับความรู้แล้วกันนะคะ

ตอบโดย: อัญญาสิ 28 มิ.ย. 52 - 23:31


คุณอัญญาสิ

     

ตอบโดย: mes 29 มิ.ย. 52 - 06:26


อ้างอิง (อัญญาสิ @ 28 มิ.ย. 52 - 22:21)


ความรู้สึกตัวที่คุณระนาดกล่าวถึง น่าจะหมายถึง ความรู้สึกว่ามีตัวตน = รู้สึกว่ามีอัตตา
แต่อัตตาจริงๆ นั้นไม่มี  เข้้าใจถูกแล้วค่ะ

แต่ความรู้สึกว่ามีตัวตน น่า่จะตรงกับคำว่า อุปาทาน หรือ ความยึดมั่นถือมั่น
ส่วน อัสมิมานะ น่าจะหมายถึง ความถือเขาถือเรา เช่น เราดีกว่าเขา เรายังดีไม่เท่าเขา
รอท่านอื่นมาตอบเพิ่มแล้วกันค่ะ
(อัญญาสิ @ 28 มิ.ย. 52 - 22:21)


อ๋อ.........เป็นแบบนี้เองหรือ

คือว่า  เรื่องราวเป็นแบบนี้ครับสารวัตร

เหตุที่ผมใช้คำว่า  " มันเป็นอัตตาอย่างหนึ่ง "  เพราะว่าผมต้องการสื่อความหมายว่า  .....ความรู้สึกใดๆก็ตาม ที่มีความเป็นตัวเราอยู่ในความรู้สึกนั้น.....

ผมต้องการสื่อความหมายแบบนี้ครับ  ถ้าผมใช้คำผิดก็ขออภัยด้วยครับสารวัตร  

     
 

ตอบโดย: ระนาด 29 มิ.ย. 52 - 08:46


อ้างอิง (อัญญาสิ @ 28 มิ.ย. 52 - 23:31)

ในผู้ภาวนาที่อายุน้อย  อาการของญาณในแต่ละขั้นจะชัดไม่เท่ากัน
 
แต่ไม่ได้หมายความว่ากระโดดข้ามขั้นไป เพียงแต่ว่าการผ่านไปในบางญาณ  ได้ผ่าน
ไปอย่างรวดเร็ว  ทำให้อาการในแต่ละญาณจะปรากฎไม่ชัดเจนทุกๆ ขั้น

ต่างกับผู้ที่มีอาวุโสหน่อย  อาการของแต่ละขั้นจะปรากฎชัดเจนกว่า และใช้เวลานานกว่า

 ไม่เหมือนวัยรุ่นใจร้อน    

 


แบบนี้ก็แปลว่า...ผมยังเป็นวัยรุ่นอยู่น่ะซิครับ

ขอบคุณมากครับสารวัตร  

ฮิ  ฮิ  ฮิ        
 

ตอบโดย: ระนาด 29 มิ.ย. 52 - 08:52


ฝากให้คุณเฉลิมศักดิ์ค่ะ  พอดีนึกขึ้นมาได้  ขออนุญาตนิดนึงค่ะ

อ้างอิง

ขอนำตัวอย่างการปฏิบัติวิปัสสนา ที่ผมได้ศึกษาและฝึกมาดังนี้

เมื่อ นั่งอยู่ ในบางท่า ( นั่งบนเก้าอี้ ไม่ได้นั่งสมาธิ) กำหนดดูรูปนั่งอยู่  เมื่อเวทนาก็เกิด

ขึ้น เช่น ความปวดเมื่อยต่าง ๆ เกิดขึ้นก็ให้กำหนดรู้ ว่าอาการของเวทนาเป็นเพียงนาม

เช่น กำหนด  นามปวด แล้วก็แก้ไขอิริยาบถเพียงเล็กน้อย แล้วให้ดูที่อิริยาบถใหม่ ช่วง

นี้ต้องระวังไม่ให้เกิดความพอใจ (อภิชฌา) เกิดกับอิริยาบถใหม่

จากที่คุณกล่าวมา  เมื่อคุณดูรูปนั่ง  กายหรือรูปคือสิ่งที่ถูกดู  จิตหรือนามเป็นผู้ดู
ในขณะที่คุณดูรูปนั้น  จิตของคุณเห็นว่ากายนั่ง หรือ รูปนั่ง
คุณลองไปสังเกตตรงนี้ดูนะคะ  ว่าขณะที่ดูรูปนั้น  ใจคุณจริงๆ เห็นอย่างไร
เห็นกายนี้เป็นกาย หรือ เห็นกายนี้เป็นเรา หรือ เห็นกายนี้เป็นรูป

การที่จิตดูรูป บางขณะก็จะเห็นว่ากายเป็นแค่รูป  แต่ในบางขณะก็เห็นว่าเป็นกาย
ลองดูว่าขณะที่ดูนั้นเห็นว่าใจเห็นอย่างไร  ก็ให้รู้อย่างที่มันเป็นจริงๆ
ถ้ายังดูไม่ออกหรือยังไม่ชัด  ก็ไม่เป็นไร ค่อยๆ ลองสังเกตไปค่ะ

เช่นเดียวกับการดูเวทนา  จิตสักแต่ว่าเห็นว่าเป็นนาม  สักแต่ว่าเป็นเวทนา
หรือคิดให้เห็นว่าเป็นนาม  ค่อยๆ สังเกตดู

การระวังไม่ให้เกิดความพอใจ  ลองดูต่อไปว่าใครคือคนระวัง ใจหรือเราหรือ
ความคิดของเราสั่งให้ระวัง  ถ้าความคิดสั่ง  ใครเป็นผู้คิด  หรือว่าเห็นแต่เรื่องที่คิด
แต่ไม่เห็นว่าใครคิด  แล้วถ้าระวังแล้วยังเกิดความพอใจ  ลองดูว่าหลังจากเกิดความ
พอใจ  แล้วใจเป็นยังไง  ยินดี หงุดหงิด หรือ เฉยๆ

หรือถ้าระวังแล้วไม่เกิดความพอใจ  ใจของเราเป็นยังไง รู้สึกดี รู้สึกว่าทำได้ดี
รู้สึกว่าเราทำได้  หรือ รู้สึกอย่างไร ลองรู้ลงไปตรงๆ

หวังว่าพอเป็นประโยชน์ได้บ้าง  ลองโยนิโสมนสิการดูค่ะ

ตอบโดย: อัญญาสิ 29 มิ.ย. 52 - 09:25


สวัสดีครับ คุณ Aurora  คุณอัญญาสิ คุณ mes คุณคนโคราช และคุณระนาด.

   ในความคิดเห็น 159 นั้นผมพิมพ์ผิดเยอะจังเลย. เป็นเพราะว่าไม่ได้ตรวจสอบอีกครั้งก่อนส่งข้อมูล.

   สนทนาเข้าเรื่องต่อ เรื่องอานาปานสติ  ที่สนทนามาถึงบทข้างบนนั้น ถ้าจะเปรียบวิเคราะห์ความเข้ากันได้กับสติปัฏฐาน 4  ก็จะอยู่ในหมวดที่ 1 คือ

     1. พิจารณากายในกาย นั้นเอง

  และเมื่ออยู่ในหมวดนี้  การปฏิบัติปลีกย่อยลงในรายละเอียด นอกจากการดำรงสติเฉพาะหน้า มีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อทำกิจกรรมทั่วๆ ไปคือ
      มีสติรู้ตัวทั่วพร้อม จนกระทั้งลงไปอริยาบทใหญ่ และลงไปในอริยาบทย่อย ตามแต่สภาวะของผู้ปฏิบัตินั้นๆ เอง ผมคงไม่ลงไปในรายละเอียดนะครับ. เพราะการกำหนดตามความเหมาะสมในรายละเอียดของแต่ละบุคคลนั้นจะแตกต่างกันได้อยู่.

    หมายเหตุ การมีสติรู้ตัวทั่วพร้อม ในอริยาบทใหญ่ และอริยาบทย่อย โดยส่วนมากก็ยังอยู่ในหมวดพิจารณากายในกาย
      แต่ในการสทนาทั่วๆ ไปในความคิดเห็นต่างๆ ของผู้ร่วมสนทนานั้น ก็ผสมประสานทั้ง เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เข้าไปในระดับพื้นฐาน ของอานาปานสติ บ้างแล้ว ก็ถือว่าไม่ผิดและประกอบกันได้ เพราะสมัยนี้เน้นที่สติปัฏฐาน 4 กันเป็นส่วนมาก จึงผสมปนเปกันกับอานาปานสติเบื้องต้น ก็สามารถปฏิบัติได้.

      แต่ถ้าเอาตามพุทธพจน์  ต้องเริ่มจากปฏิบัติอานาปานสติมากและสมบูรณ์ สติปัฏฐาน 4 ก็จะสมบูรณ์ด้วย
      ก็หมายความว่าหลักของอานาปานสติต้องถูกต้องสมบูรณ์ สติปัฏฐาน 4 ก็จะสมบูรณ์

      แต่ปัจจุบันนี้โดยส่วนมากจะปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 พิจารณาทั้ง 4 ฐาน ควบคู่กับอานาปาสนสติเบื้องต้นโดยพร้อมกันไม่เป็นระบบตามแบบแผน แต่ก็หาได้ส่งผลเสียมากมาย ซึ่งสามารถปฏิบัติไปได้ และวิปัสสนาญาณเบื้องต้นก็บังเกิดขึ้นได้ โดยที่อานาปานสติเบื้องต้นยังไม่มั่นคงสมาธิยังไม่แนบแน่นตั้งมั่น.

    เมื่อสนทนามาถึงตอนนี้หลักพื้นฐานเบื้องต้นของอานาปานสติก็ได้สนทนากันพอควรแล้ว ในความคิดเห็นต่อไปก็จะกล่าวถึงบนถัดไป.

 

ตอบโดย: Vicha 29 มิ.ย. 52 - 11:00


บทถัดไปเป็นเรื่องอะไรครับ ต่อเลยครับ พี่ Vicha

ตอบโดย: วสวัตตี 29 มิ.ย. 52 - 11:05


เมื่ออานาปานสติ พื้นฐานเบื้องต้นบทก่อนหน้ามั่นคงแล้ว ย่อมปรากฏ ปฐมฌาน หรืออย่างต่ำอุปจารสมาธิ ย่อมได้สัมผัสมาแล้ว ตามการปฏิบัติเบื้องต้นนั้น  เวทนาอันได้แก่ ปีติ สุข ที่หาไม่ได้จากโลกทั่วไป แต่เกิดจากการปฏิบัติจนเกิดสมาธินั้นก็ได้บังเกิดให้ทราบปรากฏกับกายและใจแล้ว

   ก็ย่อมทำให้เกิดปิติ หรือ สุข ได้ตามระดับของสมาธิด้วยการวางอารมณ์ของการปฏิบัติ อานาปาสนาติ   ดังนั้นหมวดต่อไปก็ย่อมวางระดับสมาธิให้ปราฏก ปีติ หรือสุข ขึ้นได้โดยง่ายในขณะปฏิบัติคือ
   
  ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งปีติหายใจเข้า
   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งสุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งสุขหายใจเข้า


    หรือ ปีติ หรือ สุข เกิดขึ้นโดยไม่ได้ผูกอยู่กับลมหายใจจนเป็นอารมณ์ของสมาธิ  เช่นเกิดจากการได้ทำบุญเกิดจากการได้ฟังธรรมที่ตรงใจ หรืออื่นๆ   เกิด ปีติ หรือ สุข ขึ้นก็ให้มีสติรู้ว่ามี ปีติ หรือ สุข หายใจออก หายใจเข้า หรือมี สติรู้หายใจออก หายใจเข้า พร้อมทั้งชำเลืองรู้ ปีติ หรือ สุข ที่ปรากฏกับกายและใจ.

      ในหมวดนี้ก็สามารถ สรุปลงสู่  สติปัฏฐาน 4 ข้อที่ 2 พิจารณา เวทนาในเวทนา ในขณะที่ปฏิบัตอานาปานสติอยู่  แต่ก็หาได้เป็นเวทนาทั้งหมด เพราะยังขาดทุกข์เวทนา หรือไม่ทุกข์ไม่สุขเวทนา ซึ่งสติปัฏฐาน 4 ต้องมีสติเท่าทันเป็นปัจจุบันทั้งหมดที่ปรากฏเด่นชัด.

    เพิ่มเติม....    ในเมื่อปฏิบัติถึงบทนี้ มีสติหายใจออก หายใจเข้า และรู้ทันกับปีติ หรือ สุข ที่เป็นเวทนาก็สามารถปฏิบัติในการมีสติรู้ทันเวทนาที่เกิดขึ้นกับกายและใจได้ทั้งหมด(ทั้งสุขและทุกข์)ที่เด่นชัด กว่าอาการอื่นหรือชัดกว่ารู้ลมหายใจออกหรือเข้า แต่เมื่อเวทนานั้นน้อยลงเบาลงก็มีสติรู้ลมหายออกและเข้าชัดขึ้น แล้วชำเลืองรู้เวทนานั้นจนสงบ ก็มีสติรู้หายใจออก/เข้าชัดตามปกติ.

 

ตอบโดย: Vicha 29 มิ.ย. 52 - 11:41


ขอถามตรงหัวข้อกระทู้น่ะครับ พี่ Vicha  มีข้อสังเกตุ สักเล็กน้อย

"ดำรงสติเฉพาะหน้า รู้ลมหายใจ ไม่ใช่เรื่องยาก"


ดำรงสติเฉพาะหน้ามีความหมายอย่างไร  ขยายความได้หรือไม่ครับ อุปมาได้หรือไม่ครับ

ดำรงสติเฉพาะหน้า จำเป็นหรือไม่ที่ต้องรู้ตรงลมหายใจครับ


ขออภัยที่ขัดจังหวะครับ  แต่ฉงนสงสัยขึ้นมาพอดี จึงถามทันทีเพื่อไม่ให้ลืมครับ  

ตอบโดย: น้องบู 29 มิ.ย. 52 - 12:37


ตอบน้องบู....

      การที่จะมีสติรู้ชัดหายใจออก มีสติรู้ชัดหายใจเข้า.

      ต้องตั้งสติและความรู้สึกอยู่เบื้องหน้าก่อนเสมอ  หลังจากนั้นก็โพกัส(ใช้คำนี้ตรงกับความหมายดี)หรือเพ่งมีสติที่ปลายจมูก หรือ รองริมฝีปากบน ที่ลมหายใจกระทบสัมผัสชัด
      แต่ถ้ายังไม่สามารถเพ่ง(โพกัส)ได้ดังนั้น ก็ตั้งความรู้สึก(เวทนา)โดยรวมที่ปลายจมูก มีสติรู้หายใจออก มีสติรู้หายใจเข้า.

       ซึ่งความหมาย ดำรงสติเฉพาะหน้า ก็ตรงตามพุทธพจน์โดยไม่ต้องแปลความหมายก็ได้ครับ.

       และการดำรงสติเฉพาะหน้า แต่ไม่ใช่เป็นมีสติการกำหนดรู้ลมก็ได้ครับ เช่นมีบางท่านตั้งความรู้สึกที่หน้าแต่ไปเพ่งหรือโพกัสความรู้สึกตรงระหว่างคิวก็มี ซึ่งไม่ใช่เป็นการฝึกสมาธิ ตามแนวอานาปานสติครับน้องบู และรู้สึกว่าจะไม่มีในพระไตรปิฏกด้วย.
 

ตอบโดย: Vicha 29 มิ.ย. 52 - 13:29


 สนทนาต่อจากความคิดเห็นที่ 174

 จากส่วนของอานาปานสติสูตรนี้
 
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งปีติหายใจเข้า
 ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งสุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งสุขหายใจเข้า


   ตรงบทความด้านบนนั้น ถ้าผู้ปฏิบัติได้ปฏิบัติอานาปานสติอย่างดี ก็สามารถได้สมาธิถึง ทุติยฌาน และ ตติยฌาน
     ถ้าเป็นไปตามลำดับโดยปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 ที่มีสติเท่าทันรูปนามที่เป็นปัจจุบันพร้อมไปด้วย  สัมมสนญาณ(วิปัสสนาญาณที่ 3) ย่อมสมบูรณ์เต็มแล้ว เมื่อเรียนรู้วิปัสสนูกิเลส จนคลายความยึดถือหรือยึดมั่นในวิปัสสนูกิเลสไปได้แล้ว คือวิปัสสนูกิเลสไม่ทำให้ใจหลงยึดแล้ว มีสติเตือนตนเองเป็น ไม่ไหลไปตามความอยาก(ตัณหา) หรือสร้างอัตตาเกินควร กับวิปัสสนูกิเลสที่ปรากฏ.

 

ตอบโดย: Vicha 29 มิ.ย. 52 - 15:37


สวัสดีครับทุกท่าน...

     เมื่อสนทนามาถึงบทนี้ในอานาปานสติสูตร ก็ย่อมมีผู้ที่จะร่วมแสดงความคิดเห็นน้อยลงตามลำดับ.

     แต่จะบอกประสบการณ์ตรงของการปฏิบัติอานาปานสติ ผสมกับการมีสติเท่าทันรูปนาม ที่เป็นสติปัฏฐาน 4 ดังนี้

     เมื่อวิปัสสนาญาณได้ดำเนินมาถึง สัมมสนญาณ  และได้สมาธิระดับปฐมฌาน แต่เกิดหลงติดกับดักของวิปัสสนูกิเลส  ซึ่งวิปัสสนูกิเลสนั้นจะมีความเด่นชัดด้วยกำลังของสมาธิระดับฌาน ก็จะปรากฏความพิศารเป็นอย่างมาก  ต้องรักษาสติและเตือนตนให้เป็นอย่างดี
      เพราะเมื่อหลงเป็นอัตตาปรุงแต่งและยึดมั่นถือมั่นตามคุณวิเศษที่ผิดจากธรรมดานั้นเสียแล้ว ทั้งวิปัสสนาญาณและปฐมฌานก็จะค้างอยู่เพียงแค่นั้น บวกกับความผิดเพี้ยนที่ปรากฏมาให้เห็นโดยไม่รู้ตัวหรือควบคุมตนเองได้ยาก.

      ดังนั้นถ้ายังหลงวิปัสสนูกิเลสอยู่ ไม่ว่าจะปฏิบัติด้วยความเพียรดีเดือดอย่างไร สัมมสนญาณ ก็หาได้สมบูรณ์ และสมาธิระดับ ทุติยฌาน , ตติยฌาน ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้แม้แต่น้อย จะมีแต่ความหลงฌานหลงญาณอย่างเข้าใจผิดไปเองเท่านั้น.

 

ตอบโดย: Vicha 29 มิ.ย. 52 - 16:52


สำเหนียก กำหนด, จดจำ, คอยเอาใจใส่, ฟัง, ใส่ใจคิดที่จะนำไปปฏิบัติ, ใส่ใจสังเกตพิจารณาจับเอาสาระ เพื่อจะนำไปปฏิบัติให้สำเร็จประโยชน์
       (คำพระว่า สิกขา หรือ ศึกษา)

http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สำเหนียก&detail=on

ที่เคยปฏิบัติอาจารย์จะให้อธิษฐานให้เกิดญาณไปตามลำดับด้วยครับ จำเป็นหรือเปล่าครับ?

 

ตอบโดย: damrong121 29 มิ.ย. 52 - 20:17


สวัสดีครับคุณ damrong121

    และขอบคุณครับ ที่ได้หาคำแปล คำว่า สำเหนียก มาให้ผมได้อ่านและรู้เพิ่มเติมครับ

อ้างอิง
ที่เคยปฏิบัติอาจารย์จะให้อธิษฐานให้เกิดญาณไปตามลำดับด้วยครับ จำเป็นหรือเปล่าครับ?


  อึม.. เป็นคำถามที่น่าคิด  เพราะผมก็เคยอธิษฐานอยู่พักหนึ่งเมื่อปฏิบัติในช่วง 1- 3แรกๆ  แต่หลังจากนั้นก็ไม่สนใจ ปฏิบัติอย่างเดียว
     และต่อมาเมื่อมีแฟนมีครอบครัว ไม่ต้องอธิษฐานครับ เมื่อเราพยายามรักษาอารมณ์กรรมฐาน แต่ยังอยู่ในภารกิจทางโลกอยู่  วิปัสสนาญาณก็ขึ้นและลงให้เห็นอย่างชัดเจน บางครั้งค้างอยู่ที่ ภยญาณ หรือนิพพิทาญาณ หรือญาณที่เห็นทุกข์โทษของรูปนามหรืออารมณ์ที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้า

     ทั้งทุกข์และเบื่อหนายแทบแย่เลยครับกว่าจะปฏิบัติจนรู้ทิศทางไม่ให้วิปัสสนาญาณค้างอยู่นาน ต้องใช้เวลาหลายปีจึงสามารถปรับให้เป็นปกติสุขได้ตามฐานะ.
   
    ภายหลังจึงไม่นิยมอธิษฐานครับ.

    การอธิษฐานมีความจำเป็นหรือไม่ก็อาจจะมีในข่วงระยะแรกๆ ของการปฏิบัติในแนว ยุบหนอ-พองหนอ

  

ตอบโดย: Vicha 29 มิ.ย. 52 - 21:13


อ้างอิง
คุณ Vicha
วิปัสสนาญาณก็ขึ้นและลงให้เห็นอย่างชัดเจน บางครั้งค้างอยู่ที่ ภยญาณ หรือนิพพิทาญาณ หรือญาณที่เห็นทุกข์โทษของรูปนามหรืออารมณ์ที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้า
ทั้ง ทุกข์และเบื่อหนายแทบแย่เลยครับกว่าจะปฏิบัติจนรู้ทิศทางไม่ให้วิปัสสนาญาณ ค้างอยู่นาน ต้องใช้เวลาหลายปีจึงสามารถปรับให้เป็นปกติสุขได้ตามฐานะ

อยากให้คุณวิชาเล่ารายละเีอีอดเพิ่มเติมหน่อยค่ะ ว่ามีแนวทางการปฏิบัติอย่างไร
ขอบคุณค่ะ  

ตอบโดย: อัญญาสิ 30 มิ.ย. 52 - 06:05


ตอบน้องบูเพิ่มค่ะ

อ้างอิง
ดำรงสติเฉพาะหน้ามีความหมายอย่างไร
ขยายความได้หรือไม่ครับ อุปมาได้หรือไม่ครับ

หมายถึง มีสติรู้ลงเป็นปัจจุบัน  สภาวะใดปรากฎชัดก็รู้อันนั้น
เช่น ตอนนี้กำลังเดิน รู้สึกตัวว่ากำลังเดิน เดินๆ ไปมีคนมาชน
โำกรธขึ้นมา ตอนนี้แม้เดินอยู่ แต่ความรู้สึกโกรธย่อมชัดกว่าการเดิน
ก็มีสติรู้ว่าโกรธ  อะไรปรากฎชัดในปัจจุบันขณะก็รู้อันนั้น

อ้างอิง
ดำรงสติเฉพาะหน้า จำเป็นหรือไม่ที่ต้องรู้ตรงลมหายใจครับ

รู้หรือไม่รู้ลมหายใจก็ได้  ถ้าทำอานาปานสติเป็นวิหารธรรม  เวลาที่ทำในรูปแบบ
ก็เอาสติมาตามรู้ลม  ส่วนเวลาดำเนินชีวิตประจำวัน  ก็ตามรู้ไปตามปกติ
อะไรปรากฎชัดก็รู้  หรือ ถ้าต้องทำงานก็ทำไป  แต่เมื่อว่างก็อาจจะมาตามรู้ลม
เป็นวิหารธรรม เป็นที่ให้จิตอยู่  ซึ่งก็ดีกว่าปล่อยใจล่องลอยไปเรื่อยๆ

   

ตอบโดย: อัญญาสิ 30 มิ.ย. 52 - 06:20


ขอเข้ามาเรียนถามคุณวิชาและคุณอัญญาสิหน่อยครับ

เนื่องจากกระทู้ http://www.larndham.net/index.php?showtopic=34684&st=223

มีเพื่อนทักท้วงมาว่า  ผมปฏิบัติผิดทาง  ผมจึงอยากจะขอคำแนะนำจากคุณครับ

หลังจากที่ผมเห็นไตรลักษณ์ได้แล้ว ( เคยเล่าแล้วตามความเห็นที่ 126 และ 129 )  ความรู้สึกทั้ง 2 อย่างคือ กายและใจ  ก็แยกออกเป็นความรู้สึกหลายๆอย่างเสมือนในเวลาเดียวกัน

ผลของการที่ผมเห็นความรู้สึกแยกออกเป็นหลายๆส่วนในเวลาเดียวกันนี่เอง   ความรู้สึกที่เป็นตัวเราของเราจึงค่อยๆลดลง  เหตุที่มันลดลงได้  ก็เพราะว่า  ความรู้สึกที่เป็นตัวเราของเรามันแยกๆกันออกไป  ( มันแยกออกไปให้ผมเห็นได้เอง  ไม่ใช่ผมพยายามเข้าไปรู้ความรู้สึกหลายๆอย่าง )

                   ----------------------------------------------

ข้อสังเกตุ    เมื่อ 6 เดือนก่อน  เคยมีเพื่อนสมาชิกทักท้วงว่า  ผมอาจจะภาวนาผิดทาง  ผมจึงแก้ไขโดยเลิกนั่งสมาธิตอนกลางคืน  และ ในชีวิตประจำวัน  ผมปล่อยตัวตามสบาย  เลิกการตามรู้ตามดู  แต่กลายเป็นว่า  ผมเห็นความรู้สึกที่แยกออกเป็นหลายๆส่วนได้ดีกว่าเดิม  และ  เบาสบายดีมากเลยครับ  ผมไม่ต้องใช้ความพยายามเลย  มันเห็นได้เองแบบง่ายๆเลยครับ

( ถ้าผมนั่งสมาธิเพ่งดูความรู้สึกที่ลมหายใจ  ความรู้สึกจะรวมกันเป็นหนึ่งเดียว  แม้ว่าจะมีความเบาสบาย  แต่ว่ามีความเป็นตัวเราของๆเราอยู่ในความรู้สึกเต็มไปหมดเลย )

อยากทราบว่า  หลังจากที่คุณวิชาและคุณอัญญาสิ  เห็นไตรลักษณ์แล้ว  คุณเห็นสภาวะเหมือนกับผมไหม หรือคุณมีอะไรจะแนะนำผมบ้าง  เพราะว่า  หลังวันเข้าพรรษา  ผมจะเอาเรื่องนี้ไปส่งการบ้านที่ศรีราชาครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 30 มิ.ย. 52 - 07:16


คุณระนาดไปวันไหนบอกด้วยนะครับ  เผื่อมีโอกาส  ผมจะได้ไปแอบฟัง แหะๆๆ  

การยินดีพอใจในการเห็นไตรลักษณ์ ก็เป็น วิปัสสนูปกิเลส

คุณVichaครับ ผมเข้าใจถูกไหมครับ

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 30 มิ.ย. 52 - 08:41


อ้างอิง (Vicha @ 29 มิ.ย. 52 - 16:52)
ดังนั้นถ้ายังหลงวิปัสสนูกิเลสอยู่ ไม่ว่าจะปฏิบัติด้วยความเพียรดีเดือดอย่างไร สัมมสนญาณ ก็หาได้สมบูรณ์ และสมาธิระดับ ทุติยฌาน , ตติยฌาน ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้แม้แต่น้อย จะมีแต่ความหลงฌานหลงญาณอย่างเข้าใจผิดไปเองเท่านั้น.
(Vicha @ 29 มิ.ย. 52 - 16:52)

ตรงนี้เกิดข้อคิดอย่างหนึ่งค่ะว่า ถ้าการทำฌาณ สมาธิ ปฏิบัติจนเป็นข้อวัตร เราจะไม่ค่อยคาดหวังว่าจะ "ได้" อะไรจากการปฏิบัติ เพราะถ้าหากนานๆทำที หรือ ทำบ้างไม่ทำบ้าง ย่อมจะมีโลภะ มีความคาดหวังยืนพื้นอยู่ก่อนแล้ว

ส่วนกับดักวิปัสสนูกิเลสที่คุณวิชากล่าว ไม่นำไปสู่การเห็นไตรลักษณ์ ถ้าไปหลงอาการที่ว่าเข้า แต่เกิดเฉลียวใจได้ว่า ทำไมไม่เห็นเกิดดับ แต่วนเวียนอยู่ในอาการแปลกๆนั้น ก็คงจะกลับตัวได้ทัน

 

ตอบโดย: Aurora 30 มิ.ย. 52 - 08:57


อ้างอิง (บุญรักษ์ @ 30 มิ.ย. 52 - 08:41)
คุณระนาดไปวันไหนบอกด้วยนะครับ  เผื่อมีโอกาส  ผมจะได้ไปแอบฟัง แหะๆๆ 

การยินดีพอใจในการเห็นไตรลักษณ์ ก็เป็น วิปัสสนูปกิเลส

คุณVichaครับ ผมเข้าใจถูกไหมครับ

 



ถ้าผมไปส่งการบ้าน  ผมจะแจ้งให้คุณบุญรักษ์ทราบทางข้อความส่วนตัว  แล้วคุณช่วยเข้าไปฟังกับผมด้วยนะ  ถ้าผมฟังคนเดียวบางทีอาจจะตกหล่น  จดจำคำพูดของหลวงพ่อได้ไม่ครบถ้วนครับ


ความเห็นส่วนตัวของผมนะ  ถ้านักภาวนาท่านนั้นเข้าใจว่าการเห็นไตรลักษณ์เป็นการบรรลุธรรม  แบบนี้เรียกว่าเป็นวิปัสสนูปกิเลส

ผมว่านะ.........ถ้าการภาวนาไม่เป็นไปเพื่อเห็นไตรลักษณ์เป็นอารมณ์ขององค์ภาวนา    ผมก็มองไม่เห็นทางเลยว่า .......เราจะภาวนาไปทำไมกัน

รออ่านความเห็นคุณวิชาอีกทีนะครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 30 มิ.ย. 52 - 10:26


ครับ  

คือ ความเห็นส่วนตัวนะครับ

เวลาภาวนา แล้วผมไปพบไปเห็นอะไร
แล้วมันมักจะ

"แหม.....มันดีจริงๆ....."

ผมว่าตรงนี้เป็นวิปัสสนูนะ คือ ใจมันปรุงยินดีขึ้นมา
ผมก็แค่รู้ทันไปเฉยๆ  ทันบ้าง  ไม่ทันบ้าง   ก็ช่างมัน

รอความเห็นคุณวิชาและท่านอื่นๆนะครับ  

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 30 มิ.ย. 52 - 10:50



อ้างอิง
(อัญญาสิ) 

อ้างอิง
คุณ Vicha
วิปัสสนาญาณก็ขึ้นและลงให้เห็นอย่างชัดเจน บางครั้งค้างอยู่ที่ ภยญาณ หรือนิพพิทาญาณ หรือญาณที่เห็นทุกข์โทษของรูปนามหรืออารมณ์ที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้า
ทั้ง ทุกข์และเบื่อหนายแทบแย่เลยครับกว่าจะปฏิบัติจนรู้ทิศทางไม่ให้วิปัสสนาญาณ ค้างอยู่นาน ต้องใช้เวลาหลายปีจึงสามารถปรับให้เป็นปกติสุขได้ตามฐานะ

อยากให้คุณวิชาเล่ารายละเีอีอดเพิ่มเติมหน่อยค่ะ ว่ามีแนวทางการปฏิบัติอย่างไร
ขอบคุณค่ะ

 
   ตอบคุณ อัญญาสิ  เป็นช่วงเวลาถึงประมาณ 13 ปี  ที่วิปัสสนาญาณอันเป็นทุกข์ ขึ้นๆ ลงๆ   เพราะแม้จะมีครอบครัว ก็พยายามกำหนดกรรมฐานและรักษาอารมณ์กรรมฐานโดยตลอด (เมื่อมองจากปัจจุบันไปยังช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น ก็เห็นใจภรรยาอยู่เหมือนกัน เพราะใจผมข้องอยู่กับการปฏิบัติธรรมมากกว่า จนไม่ค่อยสนใจเรื่องบนเตียง)
   แต่เมื่อมีกิจมากทั้งครอบครัวและงาน แต่พยายามกำหนดกรรมฐานและรักษาอารมณ์กรรมฐาน  อารมณ์ปรมัติของวิปัสสนาญาณย่อมขึ้นๆ ลงๆ หรือค้างอยู่นาน ย่อมทุกข์ย่อมเบื่อหน่ายย่อมอึดอัด ย่อมเศร้าหมอง เพราะความต้องการหนีต้องการหลุดพ้นไปตาม อารมณ์ปรมัติของวิปัสสนาญาณที่บังเกิดขึ้น และเมื่อบวกความความวุ่นวายในกิจต่างๆ ความทุกข์ความสับสนก็จะทับถมเพิ่มเข้าไปอีก.

     แต่ผมมีลักษณะเฉพาะตัวคือมีความอดทน(ขันติ)อยู่ในสถานะการณ์อันเป็นทุกข์ได้นาน  และจะไม่ทำอะไรวู่วามผิดไปจากหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบให้เกิดความเสียหายเกิดขึ้น จนผู้อื่นที่เราต้องรับผิดชอบต้องทุกข์เพราะสาเหตุจากเรา.

      ต่อไปก็มาดูอารมณ์ปรมัติของวิปัสสนาญาณ ตั้งแต่
            ภยญาณ วิปัสสนาญาณที่ 6
            อาทีนวญาณ วิปัสสนาญาณที่ 7
            นิพพิทาญาณ วิปัสสนาญาณที่ 8
            มุญจิตุกัมยตาญาณ วิปัสสนาญาณที่ 9
            ปฏิสังขารญาณ วิปัสสนาญาณที่ 10

        ล้วนแต่เห็นภัยเห็นทุกข์โทษของรูปนาม เห็นความอึดอันและเป็นทุกข์ของสังขารทางกายและใจ เห็นความแห้งแล้งและเบื่อหน่าย ปรารถนาจะหลุดจะพันจากรูปนาม ความเสียดแทงสังขารร่างกาย ทั้งหมดทั้งสิ้น

     ดังนั้นผู้ที่ปฏิบัติจนถึง อารมณ์ปรมัติของวิปัสสนาญาณที่ 6 ถึง 10 นั้นมีแต่เห็นความทุกข์กับรูปนามอย่างแท้จริงทั้งหมดทั้งสิ้น หาได้เห็นว่ารูปนามนี้เป็นความสุขความสบายหรอกครับ.

      ดังนั้นเมื่อญาณมาค้างอยู่ที่ วิปัสสนาทั้ง 5 ในญาณใดญาณหนึ่งนั้น และมีกิจกรรมมากมายทางโลก ก็จะเศร้าอมทุกข์เบื่อหน่ายอยู่ภายในหาความชดชื่นได้ยาก

       ผมคงไม่ต้องแจกแจงลงในรายละเอียดนะครับ  เพราะแม้แต่ในพระอรรถกถาก็กล่าวไว้อย่างชัดเจน  อารมณ์อันเป็นปรมัติของวิปัสสนาญาณ นั้นมีแต่ความทุกข์ต้องการหลุดต้องการพ้น เปรียบเสมือน ลูกเขียด ที่อยู่ในปากของงู

        สำหรับผมนั้นชั่งยาวนานเสียเหลือเกินเป็นเวลาถึง 15 กว่าปี จึงจะชัดเจนและปรับตนเองได้วางใจได้ ด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่นดำรงตนตามฐานอันไม่ต้องทุกข์ร้อนกับวิปัสสนาญาณที่ค้างอยู่นานเพราะปรับพละ 5 ได้ และลดการปฏิบัติลง ไม่เหมือนที่ผ่านมาก่อนหน้านั้น.

 

ตอบโดย: Vicha 30 มิ.ย. 52 - 10:56


ตอบ คุณระนาด

       สภาวะที่คุณระนาดเล่านั้น มาถูกทางของวิปัสสนาเบื้องต้นแล้วครับ ตามประสบการณ์ของผมที่ผ่านมา และที่สามารถเทียบเคียงได้ เพราะ
    1. ขณะมีสติกำหนดรูปนาม คุณสามารถแยกรูปแยกนามได้ในขณะที่มีสตินั้นๆ ได้แล้ว
    2. ขณะมีสติกำหนดรูปนาม คุณสามารถเห็นเหตุปัจจัยที่สัมพันธ์กันของรูปนามที่ทยอยเกิด
    3. ขณะมีสติกำหนดรูปนาม คุณสามารถเห็นความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอันเป็นข้อหนึ่งของไตรลักษณ์ คือ อนัตตา ในขณะจิตช่วงเดียวที่กำหนดรูปนามนั้นเป็นปัจจุบันหรือทันปัจจุบัน

    นั้นก็คือ ข้อ 1. เป็น นามรูปปริเฉทญาณ คุณได้มีปัญญาเบื้องต้นเห็นบังเกิดแล้วในขณะเดียวที่มีสติกำหนด
               ข้อ 2. เป็น ปัจจัยปริคคหาญาณ คุณได้มีปัญญาเห็นรูปนามบังเกิดสัมพันธ์กันขณะเดียวที่มีสติกำหนด.
          และข้อ 3. เป็น สัมมสนญาณ  คุณได้มีปัญญาเห็นไตรลักษณ์อันเป็นสามัญลักษณ์กับรูปนาม ขณะเดียวกับที่มีสติกำหนด.

          ส่วนสภาวะอะไรที่สูงกว่านี้ ยังสนทนากันไม่ชัดเจน จึงไม่สามารถแจกแจงได้ครับ.

       การเห็นไตรลักษณ์ของการปฏิบัติ คือปัญญาแจ้งเห็นไตรลักษณ์ในช่วงแวบเดียวที่สติเท่าทันปัจจุบัน และมีพละทั้ง 5 นั้นสมบูรณ์และสมดุลย์พร้อมครับ. ก็จะเป็น สัมมสนาญาณเบื้องต้น คือเห็น สันตติ การขาดตอนของรูปนามปรากฏบางแล้ว หลังจากนั้นเป็นความเข้าใจในจินตมยปัญญาเรื่องไตรลักษณ์ที่ชัดเจนและแตกฉานขึ้น   {หรืออุทัพพยญาณ หรือมรรคญาณ (ตามลำดับของญาณ)}

       ตัวอย่างการบรรลุนิพพาน นั้นก็บรรลุแค่ จิตเดียว เองครับ แต่ประกอบด้วยโพฏิขิยะธรรม(พิมพ์ไม่ถูก) 37 ประการในช่วงขณะเดียวนั้นเอง

     ดังนั้นผมจึงไม่จำเป็นไปยืนยันกับใครได้หรอกครับ  เพราะสภาวะนี้ผู้ที่ได้สัมผัสบังเกิดขึ้นเองก็จะรู้เท่านั้นเองครับ เมื่อแยกแยะตามบัญญัติได้ว่าเป็นอย่างไร.

 

ตอบโดย: Vicha 30 มิ.ย. 52 - 11:26


อ้างอิง
(บุญรักษ์)

คุณระนาดไปวันไหนบอกด้วยนะครับ  เผื่อมีโอกาส  ผมจะได้ไปแอบฟัง แหะๆๆ 

การยินดีพอใจในการเห็นไตรลักษณ์ ก็เป็น วิปัสสนูปกิเลส

คุณVichaครับ ผมเข้าใจถูกไหมครับ

 
  ก็น่าจะถูกครับคุณ บุญรักษ์
     เพราะการมีปัญญาเห็นไตรลักษณ์นั้น เมื่อปฏิบัติถูกและเหมาะในพละทั้ง 5 ก็จะปรากฏตามฐานะเองครับ.
 

ตอบโดย: Vicha 30 มิ.ย. 52 - 11:33


ตอบคุณ Aurora

อ้างอิง
อ้างอิง (Vicha @ 29 มิ.ย. 52 - 16:52)
ดังนั้นถ้ายังหลงวิปัสสนูกิเลสอยู่ ไม่ว่าจะปฏิบัติด้วยความเพียรดีเดือดอย่างไร สัมมสนญาณ ก็หาได้สมบูรณ์ และสมาธิระดับ ทุติยฌาน , ตติยฌาน ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้แม้แต่น้อย จะมีแต่ความหลงฌานหลงญาณอย่างเข้าใจผิดไปเองเท่านั้น.
(Vicha @ 29 มิ.ย. 52 - 16:52)

ตรงนี้เกิดข้อคิดอย่างหนึ่งค่ะว่า ถ้าการทำฌาณ สมาธิ ปฏิบัติจนเป็นข้อวัตร เราจะไม่ค่อยคาดหวังว่าจะ "ได้" อะไรจากการปฏิบัติ เพราะถ้าหากนานๆทำที หรือ ทำบ้างไม่ทำบ้าง ย่อมจะมีโลภะ มีความคาดหวังยืนพื้นอยู่ก่อนแล้ว


   เป็นการมองสิ่งที่ผ่านมาแล้ว บอกให้ทราบครับ ว่าลักษณะเป็นอย่างนั้น

และจากข้อความ

อ้างอิง
ส่วนกับดักวิปัสสนูกิเลสที่คุณวิชากล่าว ไม่นำไปสู่การเห็นไตรลักษณ์ ถ้าไปหลงอาการที่ว่าเข้า แต่เกิดเฉลียวใจได้ว่า ทำไมไม่เห็นเกิดดับ แต่วนเวียนอยู่ในอาการแปลกๆนั้น ก็คงจะกลับตัวได้ทัน


ครับเป็นการเข้าใจที่ถูกต้องครับ ในส่วนให้เกิดการเฉลียวใจ หรือเตือนตนถึงอัตตาหรือตัณหาที่ปรากฏกับตนก็ได้ครับ.
 
แต่ให้เกิดเฉลียวใจว่าทำไม่ไม่เห็นการเกิดดับ คงลำบากนะครับ
    เพราะผู้ปฏิบัติถึงจุดนี้ การเกิดดับจริงๆ ไม่เคยปรากฏ ปรากฏเพียงแต่ สันตติขาด หรือกำหนดแล้วเปลี่ยนอารมณ์เปลี่ยนไปหรือสงบลง หรือ วูบหายไปเป็นอารมณ์อื่นเช่นสงบปลอดโปร่ง หรือมั่นคง ด้วยกำลังสมาธิ
     ดังนั้นการเกิดดับจริงๆ ย่อมยังไม่เข้าใจและไม่รู้ว่าเป็นอย่างไรแท้จริง ครับ.

    จึงอาจเข้าใจผิดอุปมาว่า สันตติขาด หรือ กำหนดแล้วอารรมณ์เปลี่ยนไปทันทีเป็นความสงบขึ้น หรือวูบหายไปเป็นอารมณ์ที่สงบปลอดโปร่งมั่นคง  เป็นการเห็นการเกิดดับที่แท้จริงของรูปนาม ไปก็มีครับ.

 

ตอบโดย: Vicha 30 มิ.ย. 52 - 11:48


สวัสดีอีกครับครับ คุณระนาด

     ผมพึ่งไปอ่านในกระทู้ที่คุณระนาดลิงค์ไว้ จึงพอมองเรื่องราวออก มีอยู่อย่างหนึ่งของผู้ที่ เริ่มมีปัญญาเห็นไตรลักษณ์  จะมีความคิดเห็นที่มันคงจนกลายเป็นความมั่นใจ ก็จะเกิดเป็นปัญหาขึ้น คือ
     ถ้ามีแนวคิดใดหรือทิฏฐิใด ที่เคลื่อนไปจากที่ตนมีทิฏฐิ(แนวคิด)ที่ตนเห็นอยู่ ก็จะเกิดปฏิกิริยาทางใจขึ้นได้ง่ายทันที รักษาขันติของตนเองได้ยากขึ้น ก็เพราะจินตมยปัญญานั้นแตกประเด็นได้มาก
     ตรงนี้ต้องมีสติและเตือนตนเองอยู่เนื่องๆ และรู้จักปล่อยวางจินตมยปัญญาที่แตกประเด็นที่มากนั้นให้อยู่ในขอบเขตพอควร ผมจะยกพุทธพจน์ตรงนี้ให้พิจารณาดู.

๘. สัลเลขสูตร
                   ว่าด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส

----
----
----
----

      เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถืออย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยยาก

     ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่เป็นผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือ อย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยง่าย.

     ผมจะอธิบายให้เข้าใจเพิ่มไปอีก คือ คือไม่ยึดมั่นถือมั่นในความคิดแห่งตน แม้จะเกิดแตกฉานจินตนาการได้มากสมเหตุสมผล และสามารถปล่อยวางหรือสละคืนออกไปได้ง่าย

    ถ้าได้อ่านในพระสูตรเรื่องสติปัฏฐาน 4 ตอนท้าย  คือ
     สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้
 เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และ ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก      


  สังเกตุธรรมตรงนี้   ตัณหาและทิฐิ ไม่อาศัยอยู่แล้ว.

   อารมณ์กรรมฐานที่คุณระนาดบอกมานั้น วิปัสสนาเบื้องต้นบังเกิดขึ้นแล้วครับ แต่จะให้พัฒนาขึ้นเป็น อุทยัพพยญาณ นั้นยังไม่มีหลักที่แน่นอน หรือยังไม่มีฐานที่แน่นอนหรือแนวทางที่แน่นอนครับ (ตามที่ผมเข้าใจนะครับ และเทียบเคียงได้).

ตอบโดย: Vicha 30 มิ.ย. 52 - 14:44


อ้างอิง (Vicha @ 30 มิ.ย. 52 - 11:26)

          ส่วนสภาวะอะไรที่สูงกว่านี้ ยังสนทนากันไม่ชัดเจน จึงไม่สามารถแจกแจงได้ครับ.

     ดังนั้นผมจึงไม่จำเป็นไปยืนยันกับใครได้หรอกครับ  เพราะสภาวะนี้ผู้ที่ได้สัมผัสบังเกิดขึ้นเองก็จะรู้เท่านั้นเองครับ เมื่อแยกแยะตามบัญญัติได้ว่าเป็นอย่างไร.



ขอบคุณ  คุณวิชาที่เข้ามาแสดงความเห็นครับ

ผมตั้งใจว่าจะไปส่งการบ้านเรื่องที่ผมเห็นความรู้สึกแยกออกเป็นหลายๆส่วนได้ในเวลาเดียวกัน   ผมจะให้หลวงพ่อดูว่า  ผมเห็นได้จริงๆ หรือว่า ผมเข้าใจผิดไปเองครับ
                    ------------------------------------------------

 ปลายปี 2549 หลังจากที่ผมเห็นไตรลักษณ์ได้แล้ว     ตอนต้นปี 2550 ผมจึงไปส่งการบ้าน  หลวงพ่อท่านบอกว่า  ผมติดสมถะเพ่งมากเกินไป  ซึ่งผมจะต้องแก้ไขจุดนี้  และ ท่านได้ชี้ให้ผมดูว่า  อาการไม่เพ่งเป็นอย่างไร  ผมได้จดจำอาการไม่เพ่งนั้นๆ  แล้วก็เอามาฝึกฝนที่บ้านด้วยตนเอง  แล้วหลังจากนั้น  ผมจึงเริ่มเห็นความรู้สึกแยกออกเป็นหลายๆส่วนได้ในเวลาเดียวกัน ( เห็นแบบค่อยเป็นค่อยไปวันละเล็กละน้อย )

             
        ผมอ่านความเห็นของคุณวิชาเพื่อเทียบเคียงกับผลการปฏิบัติของตัวผมเองครับ  ตอนไปส่งการบ้าน   ผมไม่อ้างอิงความเห็นของคุณวิชาอย่างแน่นอนครับ    

ตอบโดย: ระนาด 30 มิ.ย. 52 - 14:54


อ้างอิง (Vicha @ 30 มิ.ย. 52 - 14:44)
สวัสดีอีกครับครับ คุณระนาด

    
     ถ้ามีแนวคิดใดหรือทิฏฐิใด ที่เคลื่อนไปจากที่ตนมีทิฏฐิ(แนวคิด)ที่ตนเห็นอยู่ ก็จะเกิดปฏิกิริยาทางใจขึ้นได้ง่ายทันที รักษาขันติของตนเองได้ยากขึ้น ก็เพราะจินตมยปัญญานั้นแตกประเด็นได้มาก
     ตรงนี้ต้องมีสติและเตือนตนเองอยู่เนื่องๆ และรู้จักปล่อยวางจินตมยปัญญาที่แตกประเด็นที่มากนั้นให้อยู่ในขอบเขตพอควร


ขอบคุณ  คุณวิชาที่มีความปรารถนาดีต่อผมครับ

 คือว่า  เมื่อต้นปี 2552 มีเพื่อนสมาชิกได้ทักท้วงผมมาว่า  ผมอาจจะภาวนาผิดทาง  ผมจึงแก้ไขโดย  ลดอาการเพ่งลงไปอีก ( ตามที่หลวงพ่อเคยชี้สภาวะให้ผมดูเมื่อปี 2550 )   ผลปรากฏว่า  ผมเห็นความรู้สึกแยกกันออกเป็นหลายๆส่วนได้ดีขึ้นและเห็นได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม

  ดังนั้น ผมจึงต้องเข้ามาบอกคุณวิชาว่า  ผมเห็นได้แบบนี้จริงๆครับ ไม่ใช่ว่าผมจะเถียงตามทิฏฐิตัวเอง
                        ----------------------------------------
  หมายเหตุ.....ถ้าผมเพ่งเมื่อไร   ผมจะไม่เห็นความรู้สึกที่แยกกันแบบนี้ครับ   และถ้าผมเพ่งมากๆ  ผมจะเห็นความรู้สึกที่ลมหายใจรวมกันเป็นหนึ่งเดียว  ความรู้สึกอื่นๆดับหายไปหมดเลยครับ  ( ตอนส่งการบ้านปี 2550 หลวงพ่อบอกผมว่าผมเพ่งมากเกินไป  ให้ผมลดสมถะลง )

เอาไว้ผมไปส่งการบ้านมาแล้ว  จะแจ้งผลให้คุณวิชาทราบทางข้อความส่วนตัวครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 30 มิ.ย. 52 - 15:09


อ้างอิง (Vicha @ 30 มิ.ย. 52 - 14:44)

  สังเกตุธรรมตรงนี้   ตัณหาและทิฐิ ไม่อาศัยอยู่แล้ว.

 
(Vicha @ 30 มิ.ย. 52 - 14:44)

สาธุครับพี่ Vicha

ความยึดถือทิฐิ มันก็ร้อนแรง เจ็บจี้ดมีพิษร้ายนะครับ   ตอนที่ไม่รู้เท่าทัน ผมก็เกิดความขัดใจ เพราะเห็นว่าทิฐิตนเองถูกต้อง   แต่ขณะที่ชี้แจงนี่ ใจร้อนเป็นไฟไปหมด  ก็ลองมาสังเกตุดูภายหลังว่า เอ้อ ไปยึดถือทิฐินี่เอง จึงไปเดือนร้อนกับมัน

ยึดถืออะไรก็ร้อนรุ่มได้ทั้งนั้นนะครับ ปฏิฆะ(ความขัดใจ) นี่เกิดปุ๊บเลยครับ  ส่งจิตออกนอกอย่างรวดเร็ว  

ตอนยังหาเหตุไม่ได้ก็รู้ว่าตนเองตัณหามาก ใจจึงร้อนแบบนี้ มาภายหลังมาพิจารณาดูแล้วก็เลยเห็นการยึดถือทิฐินี่เองที่เป็นตัวการ  เหตุการณ์พึ่งผ่านไปไม่นาน มาฟังพี่ Vicha กล่าวเลยอยากคุยด้วย

แม้ความเห็นจะถูก แต่ก็ไม่ควรจะไปยึดถือ  พอจิตเห็นเหตุจิตก็ปล่อยวาง ใจก็โล่งขึ้นเลยครับ

มาฟังคำจากพระพุทธพจน์อีกทีก็ยิ่งมั่นใจ  (เรานี่เองที่ไปยึดถือทิฐิไว้ )

ตอบโดย: น้องบู 30 มิ.ย. 52 - 15:13


สวัสดีครับคุณระนาด

อ้างอิง
  ดังนั้น ผมจึงต้องเข้ามาบอกคุณวิชาว่า  ผมเห็นได้แบบนี้จริงๆครับ ไม่ใช่ว่าผมจะเถียงตามทิฏฐิตัวเอง


   ครับผมเชื่อครับ

   และตามพื้นนิสัย ของคุณระนาดที่ผมได้อ่านในกระทู้ต่างๆ คุณระนาดมีอัธยาศัย ในการ สนทนา นุ่มนวน กว่าผมมากเลยครับ.

แต่ผมกลับเป็นคนแข็งกระด้าง และรุนแรงมากกว่าครับ.

   ผมมีทริกให้คุณระนาดลงไปพิจารณาดู    ตั้งแต่เริ่มคุณระนานนั้นฝึกอานาปานสติมาได้สมาธิระดับหนึ่งแล้ว  แต่ยังไม่เคยเจริญสติอย่างชัดเจนตามสติปัฏฐาน 4 ให้สติเจริญขึ้นจนเสมอหรือนำสมาธิ จึงมีสองแนวทางที่จะเจริญให้เป็นวิปัสสนาคือ.

  1.ผ่อนสมาธิลงมา เพื่อให้สติเสมอหรือนำสมาธิ แล้วพิจารณาสติปัฏฐาน 4 เป็นวิปัสสนา
  2.เจริญสติปัฏฐาน 4 เพิ่มหรือพัฒนาสติระเอียดขึ้นกับรูปนามที่ปรากฏทั้งกายและใจ เพื่อให้สติขึ้นมาเสมอหรือนำสมาธิ เป็นวิปัสสนา.

   ที่ผ่านมาคุณระนาดก็พอพิจารณาได้นะครับว่า เป็นไปในแนวใหน?

   ทั้งสองแนวนั้น ไม่มีอย่างใดถูกหรืออย่างใดผิด อยู่ที่อุปนิสัยของผู้ปฏิบัตินั้นเอง ว่าเหมาะสมดำเนินไปทางใหน เมื่อปฏิบัติแล้วธรรมนั้นเจริญขึ้นตลอดโดยไม่ติดขัด .
    ถ้าติดขัดก็ต้องพิจารณากันใหม่เท่านั้นเอง.
 

ตอบโดย: Vicha 30 มิ.ย. 52 - 16:11


รบกวนขอคุณVichaเพิ่มเนื้อหาให้เกิดศรัทธาเพิ่มขึ้นแต่ละครั้งด้วยครับ

เห็นปราชญ์กึ่งพุทธกาลกล่าวว่าเมื่อหยุดอานาปานสติแล้วมาปฏิบัติต่อให้เริ่มต้นใหม่ใช่ไหมครับ ?

 

ตอบโดย: damrong121 30 มิ.ย. 52 - 22:37


อ้างอิง (Vicha @ 30 มิ.ย. 52 - 16:11)


   ผมมีทริกให้คุณระนาดลงไปพิจารณาดู   มีสองแนวทางที่จะเจริญให้เป็นวิปัสสนาคือ.

  1.ผ่อนสมาธิลงมา เพื่อให้สติเสมอหรือนำสมาธิ แล้วพิจารณาสติปัฏฐาน 4 เป็นวิปัสสนา


  2.เจริญสติปัฏฐาน 4 เพิ่มหรือพัฒนาสติระเอียดขึ้นกับรูปนามที่ปรากฏทั้งกายและใจ เพื่อให้สติขึ้นมาเสมอหรือนำสมาธิ เป็นวิปัสสนา.

   ที่ผ่านมาคุณระนาดก็พอพิจารณาได้นะครับว่า เป็นไปในแนวใหน?  


โอ้โห.......คุณวิชาเก่งจริงๆ   ผมยกนิ้วให้คุณเลยครับ

วิธีที่คุณแนะนำมา   หมายความว่า

วิธีที่ 1  ถ้าผ่อนสมาธิลงมา  ผลก็คือ  สติปัฏฐาน 4 จะเจริญขึ้นมาทดแทน

หรือ  วิธีที่ 2  ถ้าญสติปัฏฐาน 4  เพิ่มขึ้น  ผลก็คือ  สมาธิจะลดกำลังลงไปเอง

ทั้ง 2 วิธีที่คุณแนะนำมา  จะนำพาเราเข้าไปสู่ที่เดียวกันคือ  การรู้กายและการรู้ใจ  ที่ได้น้ำหนักสมดุลย์กันแบบ พอดี  พอดี ผลก็คือ  จะเห็นไตรลักษณ์ได้ง่ายขึ้น  และ  เห็นได้ดีขึ้น

ขอบคุณ  คุณวิชาครับ
            ------------------------------------------------------

หลังจากที่ผมเห็นไตรลักษณ์ได้แล้ว  ความชำนาญในการที่เราจะเห็นไตรลักษณ์ในครั้งต่อไปได้ง่ายขึ้น  ก็คือทริกที่คุณวิชาบอกมานี่เอง   ( ผมเพิ่งเห็นไตรลักษณ์ได้แค่ 2 - 3 ปี  ผมจึงไม่สามารถแนะนำทริกแบบนี้ให้แก่ใครๆได้แบบคุณวิชาครับ  พอผมอ่านทริกที่คุณวิชาบอกมา  ผมรู้เลยว่า  นี่คือทริกที่เป็นผลมาจากความชำนาญในการดูไตรลักษณ์ )
 

ตอบโดย: ระนาด 01 ก.ค. 52 - 07:30


สวัสดีค่ะทุกๆ ท่าน

ขอตอบที่คุณระนาดถามนะคะ  ท่านอื่นๆ จะร่วมแสดงความเห็น
ก็เชิญเลยนะคะ

สภาวะที่คุณระนาดเล่ามาว่าเห็นความรู้สึกแยกเป็นส่วนๆ
น่าจะเป็นการเห็นเหตุปัจจัยในการเกิดของรูปนาม  อย่างที่คุณวิชา
ได้บอกไปในความคิดเห็นก่อนหน้า

เท่าที่อ่านที่คุณระนาดเล่า  เมื่อคุณภาวนาแล้วมีความรู้ความเข้าใจ (ปัญญา)
เช่น ที่เล่าว่าเห็นไตรลักษณ์ครั้งแรก  พอครั้งต่อๆ มาก็เห็นได้ง่ายขึ้น

ในการเห็นครั้งแรกโดยมากจะเป็นการเห็นเอง  เราไม่ได้จงใจ เราแค่ทำ
เหตุปัจจัย คือ มีสติ  แต่ถ้าหลังจากนั้นเราไปปรุงแต่งการปฏิบัติเพื่อให้
เห็นไตรลักษณ์อีก  อันนี้จะกลายเป็นเราปรุงแต่งขึ้นมาได้ค่ะ

เวลาภาวนาแล้วมีความรู้ความเข้าใจใดๆ เกิดขึ้น  นักภาวนามักจะไปหลง
ชอบเพราะเป็นสิ่งที่ไม่เคยรู้เคยเห็นมาก่อน  ตรงนี้จะทำให้กิเลสแทรกได้
โดยอาจจะไปพยายามตามดูเพื่อให้เห็นสภาวะแบบนั้นอีก  หรือ เฝ้าคอยดู
ว่าเมื่อไหร่สภาวะนั้นจะเกิดอีก  หรือ พยายามเพ่งรูปหรือนามเพื่อให้เห็น
สภาวะแบบเดิมอีก ฯลฯ แล้วแต่กิเลสจะพาไป  คือกิเลสเนี่ยเค้าจะ
พยายามทุกรูปแบบ (ทุกรูปแบบจริงๆ เน้น) ให้เราไม่ได้ตามรู้กายตามรู้ใจ

ที่ตัวเองเคยพลาดมา คือไปเพ่งไว้ ทำให้เห็นการเกิดดับได้ต่อเนื่องตลอดเวลา
(ทำไปได้ไงก็ไม่รู้) พอไปรายงานครูบาอาจารย์  ท่านบอกว่า อย่าไปเพ่ง
ไม่งั้นก็จะติดอยู่ตรงนี้ ไม่ต้องไปต่อ ให้ทิ้งซะ  เราก็ ฮือ ให้ทิ้งเลยเหรอ
เสียดายนะ แต่ก็ท่านสั่งให้ทิ้งก็ทิ้ง  พอไม่ไปเพ่งความรู้สึกตรงนั้น
กลับมารู้กาย (ช่วงนั้นภาวนาดูอิริยาบทของกายอยู่)  สภาวะเกิดดับที่
เห็นต่อเนื่องนั้นก็หายไป  แล้วก็ไปต่อได้ค่ะ

หลักที่ตัวเองได้มาคือ งานของเรา คือมีสติรู้กายรู้ใจเป็นปัจจุบัน
แต่ในระหว่างที่ภาวนาไป  มันจะมีสภาวะอื่นๆ มาให้รู้ด้วย  เช่น ที่คุณระนาดเจอมา
คือ รู้กายรู้ใจอยู่ แล้วรู้สึกว่ามันแยกเป็นส่วนๆ  ซึ่งความจริงแล้วสิ่งที่คุณไปรู้นี้ก็
คือปัญญา  ซึ่งเป็นธรรมารมณ์ (สิ่งที่รู้ได้ทางใจ) อันหนึ่ง  ตอนที่รู้สึกเช่นนั้นก็
ให้รู้ไป  แต่เมื่อสภาวะนั้นหายไปแล้ว  ให้กลับมารู้กายรู้ใจต่อตามปกติ

ถ้ากลับมารู้กายรู้ใจตามปกติยังเห็นสภาวะแยกอยู่  ลองพิจารณาว่า
เราจงใจสร้างมันขึ้นมารึเปล่า ไปเพ่งเพื่อให้เห็นต่อเนื่องหรือเปล่า
หรือมันเห็นเองจริงๆ  อันนี้ต้องใจกว้างๆ ยอมรับกับตัวเองไปเลยค่ะ
ถ้าไปสร้างขึ้นก็ทิ้งไปเลย ไม่ต้องเสียดาย ไม่งั้นก็จะติดอยู่ตรงนี้

อีกอย่างความรู้ความเข้าใจ หรือปัญญา ก็เป็นสภาวะอย่างหนึ่ง
ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นก็ต้องดับไป, บังคับไม่ได้ เช่นเดียวกับสภาวะอื่นๆ
หน้าที่ของปัญญาคือ  ทำให้ความเข้าใจเกิดขึ้น  ตัวปัญญาเมื่อ
ทำหน้าที่แล้วก็ไป  แต่ความเข้าใจนั้นเรายังเข้าใจอยู่
เพราะงั้นการที่ตัวปัญญาดับไปเราก็ไม่ควรไปอาลัยอาวรณ์ค่ะ

เวลาภาวนาเห็นสภาวะอะไรดีๆ  เรามักจะชอบอยากได้ อยากเห็นอีก
วันไหนภาวนาไม่ดี จิตตก ไม่รู้ไม่เห็นอะไร  ก็ดิ้นรนอยากให้มันพ้นๆ ไป
ก็เสร็จเลย เข้าทางกิเลสพอดี  จิตใจก็จะเป็นทุกข์เพราะความคาดหวัง
ค่อยๆ ตามดูสังเกตตัวเองไปนะคะ  สักวันหนึ่งเราจะเห็นได้เองว่า
สภาวะดีหรือไม่ดีน่ะ เสมอกัน  เป็นสภาวะที่เกิดแล้วดับทั้งสิ้น
สภาวะทั้งดีหรือไม่ดีก็คือสิ่งที่จิตไปรู้ทั้งสิ้น  ไม่ได้มากมายไปกว่านั้น
จิตใจจะค่อยๆ เป็นกลางกับสภาวะธรรมทั้งหลายทั้งปวงขึ้นมาได้เอง

คุณระนาดลองไปเทียบเคียงดูแล้วกันค่ะ  ว่ามันเกิดเองหรือจงใจให้เกิด
แต่อย่างไรก็ตามอย่าลืมกลับมารู้กายรู้ใจนะคะ  อันนั้นเป็นงานหลักจริงๆ

อีกประการหนึ่งปัญญาใดๆ ก็ตามที่เกิดจากการภาวนา  ไม่จำเป็นต้อง
เหมือนกันทุกครั้ง  ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นการเห็นในมุมเดิม หรือเรื่องเดิม
ทุกครั้ง  มันจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ บางทีก็วกกลับมาเรื่องเดิม หรืออาจจะไม่
วกกลับมาเรื่องเดิม  อาจจะเปลี่ยนมุมมองไปได้เช่นเดียวกัน  คือเป็นไปได้
หลายรูปแบบค่ะ  อันนี้คิดว่าขึ้นกับจริตกับสะสมมาไม่เหมือนกัน
เพราะฉะนั้นเมื่อมีความรู้ความเข้าใจใดๆ  เกิดขึ้นให้รู้ไป  แต่อย่าไปยึดว่า
ต้องเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ ต้องเห็นเหมือนเดิม ต้องเข้าใจเรื่องเดิม ฯลฯ

สิ่งที่เราต้องทำคือ รู้อย่างที่มันเป็นค่ะ  อีกอย่างสิ่งที่ต้องเรียนรู้ยังมีอีกมาก
อย่าไปติดอยู่กับสิ่งที่ได้รู้ไปแล้ว  ให้ภาวนาไปเรื่อยๆ  อย่าไปคาดหวังอะไร
แต่ปัญญาทั้งหมดก็จะเกิดได้จากการรู้กายรู้ใจลงเป็นปัจจุบัน  ไม่มีอะไรที่
ต้องทำเกินไปกว่านี้หรอกค่ะ

ไปส่งการบ้านแล้วก็มาส่งข่าวด้วยนะคะ ระหว่างรอไปส่งการบ้านก็
ตามดูไป  บางทีถึงวันส่งการบ้านอาจจะไม่มีอะไรต้องส่งแล้วก้อได้นะคะ
     
 

ตอบโดย: อัญญาสิ 01 ก.ค. 52 - 07:49


อ้างอิง (อัญญาสิ @ 01 ก.ค. 52 - 07:49)
ในการเห็นครั้งแรกโดยมากจะเป็นการเห็นเอง  เราไม่ได้จงใจ เราแค่ทำ
เหตุปัจจัย คือ มีสติ  แต่ถ้าหลังจากนั้นเราไปปรุงแต่งการปฏิบัติเพื่อให้
เห็นไตรลักษณ์อีก  อันนี้จะกลายเป็นเราปรุงแต่งขึ้นมาได้ค่ะ


ถ้ากลับมารู้กายรู้ใจตามปกติยังเห็นสภาวะแยกอยู่  ลองพิจารณาว่า
เราจงใจสร้างมันขึ้นมารึเปล่า ไปเพ่งเพื่อให้เห็นต่อเนื่องหรือเปล่า
หรือมันเห็นเองจริงๆ


สวัสดีครับคุณอัญญาสิ

พอผมเห็นไตรลักษณ์ในครั้งแรกได้เล้ว  ผมจึงรู้ว่าอาการไม่เพ่งและไม่เผลอ  มันเป็นอย่างไร  และ เราจะต้องวางน้ำหนักในการรู้กายและรู้ใจอย่างไร  เราจึงจะเห็นไตรลักษณ์ในครั้งต่อๆไปได้ง่ายขึ้นอีก   ไม่ใช่ผมปรุงแต่งการเห็นไตรลักษณ์

   ซึ่งการวางน้ำหนักในการรู้กายและรู้ใจให้มันพอดี  พอดี  ที่จะช่วยให้เห็นไตรลักษณ์ได้ง่ายขึ้น  ง่ายขึ้น  ก็คือ  ทริกที่คุณวิชาแนะนำมาข้างต้นตามความเห็นที่ 196  ( ผมเข้าใจถูกไหมครับ  คุณวิชา )

                -------------------------------------------------

เมื่อ 6 เดือนก่อน  มีเพื่อนสมาชิกทักท้วงมาว่า  ผมอาจจะภาวนาผิดพลาด  ผมจึงแก้ไขโดย  เลิกนั่งสมาธิในตอนกลางคืน  และ เลิกการเจริญสติในชีวิตประจำวันในตอนกลางวัน  ( เพื่อเลิกการปรุงแต่ง ทั้งหมด  เรียกง่ายๆว่า  ผมเลิกภาวนาไปเลย )

ผลคือ  ผมกลับเห็นความรู้สึกที่มีความแตกต่างกันได้หลายๆความรู้สึก   ได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ( ผมเรียกสั้นๆว่า เห็นความรุ้สึกแยกกันเป็นส่วนๆ )
                  ------------------------------------------------

เพราะฉะนั้น  หลังวันเข้าพรรษา  ผมจะไปส่งการบ้าน  ให้รู้ดำรู้แดงไปเลยว่า  ผมปรุงแต่งอาการนี้ขึ้นมาเอง  หรือ  ผมเห็นได้จริงๆ

แล้วผมจะแจ้งให้คุณอัญญาสิทราบทางข้อความส่วนตัวครับ

ตอบโดย: ระนาด 01 ก.ค. 52 - 08:28


แหะๆ ดิฉันทำให้คุณระนาดฉุนอ่ะป่าวคะเนี่ย

ไม่ได้ตั้งใจนะคะ คือแค่อยากจะบอกว่า
ถ้าดูแล้วไม่ได้ปรุงแต่งจริงๆ
ก็เป็นสภาวะที่เราเห็นจริงๆ นั่นแหละค่ะ
   

ตอบโดย: อัญญาสิ 01 ก.ค. 52 - 08:47


สวัสดี..ค่ะ..พี่ระนาด....คุณอัญญาสิ    

         ขอเข้ามาเรียนด้วย......น่ะค่ะ
         
               

ตอบโดย: คำแพง 01 ก.ค. 52 - 09:18


อ้างอิง (อัญญาสิ @ 01 ก.ค. 52 - 08:47)
แหะๆ ดิฉันทำให้คุณระนาดฉุนอ่ะป่าวคะเนี่ย

ไม่ได้ตั้งใจนะคะ คือแค่อยากจะบอกว่า
ถ้าดูแล้วไม่ได้ปรุงแต่งจริงๆ
ก็เป็นสภาวะที่เราเห็นจริงๆ นั่นแหละค่ะ
   
(อัญญาสิ @ 01 ก.ค. 52 - 08:47)


ตายแล้ว....ตายแล้ว.....ผมไม่ได้ฉุนคุณอัญญาสิสักนิดเลยครับ    

คือว่า  ผมพิมพ์ข้อความไปตามความคิดและความรู้สึกที่กำลังหลั่งไหลเข้ามา  ถ้าผมมัวชักช้าไม่รีบๆพิมพ์  ความคิดและความรู้สึกที่กำลังไหลเข้ามามันจะหายไป  แล้วผมจะคิดไม่ออกว่า  ตะกี้เราจะพิมพ์อะไร ( เช่นสภาวะที่คุณวิชาชี้ให้ดู  )

ขออภัยคุณอัญญาสิจริงๆครับ  ผมไม่มีเจตนาแบบนั้นเลย
                -------------------------------------------

นิสัยที่แท้จริงของผม  ผมเป็นคนชอบคุยเล่น  คุยตลกขบขัน  แต่ในลานธรรมมีกฏห้ามสมาชิกคุยเล่น  คุยเพ้อเจ้อ  ผมจึงต้องระมัดระวังครับ ....... ตัวตนจริงๆของผมไม่ใช่คนเอาจริงเอาจัง  แต่ว่าจริงใจ ( ไม่ใช่จิงโจ้ ....... นะจ๊ะ )

แฮ่...แฮ่...แฮ่....    
 

ตอบโดย: ระนาด 01 ก.ค. 52 - 09:21


อ้างอิง (คำแพง @ 01 ก.ค. 52 - 09:18)
สวัสดี..ค่ะ..พี่ระนาด....คุณอัญญาสิ   

         ขอเข้ามาเรียนด้วย......น่ะค่ะ
       
              


น้องคำแปง   น้องกิ๋นเข้างายละญัง

ปี้กิ๋นเข้าแล้วมะเดี่ยวนี้   ไค่กิ๋นเข้าซอยขะหนาด  แต่ว่ามันหาซื้อบ่อได้

ยะเองก็บ่อลำ
                  --------------------------------------

คำแปล.................

น้องคำแพง    น้องกินช้าวเช้าหรือยัง

พี่กินข้าวเพิ่งจะเสร็จไปเมื่อตะกี้นี้   อยากกินข้าวซอยมากๆเลย  แต่ว่ามันหาซื้อไม่ได้

ทำเองก็ไม่อร่อย

       
 

ตอบโดย: ระนาด 01 ก.ค. 52 - 09:28


สวัสดีครับ ทุกท่าน

   โอ้ ความคิดเห็นที่ผ่านมาผมก็พิมพ์ผิดมากเช่นเดิม....

  สวัสดีครับคุณ damrong121
 
อ้างอิง
(damrong121) แจ้งลบ | อ้างอิง |


รบกวนขอคุณVichaเพิ่มเนื้อหาให้เกิดศรัทธาเพิ่มขึ้นแต่ละครั้งด้วยครับ


  ตอบ จะให้เกิดศรัทธาเพิ่มขึ้นหรือครับ ทำได้ครับ แต่ด้วยพื้นฐานการศึกษา และฐานะที่เป็นอยู่ และสภาวะสังคมที่แวดล้อม เห็นว่าเพียงให้ พอมีความศรัทธาในเหตุและผล ไม่ให้เข้าล่วงมาถึงตัวตนบุคคล ตามที่ได้วางเจตนาไว้ครับ . (ในความคิดเห็นต่อไปจะก่อให้เกิดความศรัทธาขึ้นดูนะครับ)

จากคำถามของคุณ damrong121
 
อ้างอิง
เห็นปราชญ์กึ่งพุทธกาลกล่าวว่าเมื่อหยุดอานาปานสติแล้วมาปฏิบัติต่อให้เริ่มต้นใหม่ใช่ไหมครับ ?


 ตอบ ด้วยแนวทางการปฏิบัติอานาปานสติ เป็นอย่างนั้นอยู่แล้วครับ เพราะเมื่อจะเริ่มต้น หรือ หรือเมื่อสภาวะทุกอย่างเป็นปกติ ก็มาเริ่มต้นที่สติรู้ชัดหายใจออกหายใจเข้า  เป็นฐานหลักทุกครั้ง.

   และเมื่อถือเอาตามพุทธพจน์นั้น ถ้าประสงค์ปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 สำหรับผู้ที่ปฏิบัติอานาปานสติ ก็ไม่เห็นควรว่าต้องหยุดปฏิบัติอานาปานสติ เพราะสามารถปฏิบัติควบคู่กันได้
   หรือปฏิบัติอานาปานสติ ครบทั้ง 16 จาตุกะ ให้มากและสมบูรณ์ สติปัฏฐาน 4 ก็ย่อมสมบูรณ์ไปด้วย ตามคำตรัสของพระพุทธเจ้า.
 

ตอบโดย: Vicha 01 ก.ค. 52 - 09:30


คุณระนาด อู้กำเมืองก่อไ้ด้ ฮื้อเปิ้นอู้ตวยเน้อ
แต่เปิ้นอู้บ่จ้าง คงบ่ว่ากั๋นเน้อ

ติดต่อกันด้วยการพิมพ์เนี่ย บางทีก็สื่อสารผิดได้เนอะ
ไม่ได้คิดมากหรอกค่ะ  ไม่ต้องตกใจค่ะ

ตอบโดย: อัญญาสิ 01 ก.ค. 52 - 09:52


สวัสดีครับคุณระนาด

     ด้วยความคิดเห็นที่คุณดำรงณ์ให้ไว้ข้างบนนั้นทำให้เกิดเกิดความคิดเห็นนี้ขึ้น(เพิ่มความศรัทธา)

     ทริกที่ผมเสนอ 2 ข้อนั้นเป็นทริกที่ยังหยาบหาได้ได้ละเอียด เหมือนกับทริกที่เกิดจากพระพุทธเจ้าหรือพระสารีบุตรนะครับ.

      เพราะทริกของพระพุทธเจ้าและพระสารีบุตร นั้นครอบคลุมการปฏิบัติทั้งหมด และผมจะยกมาตามความจำที่จำได้ มีอยู่ 4 แนวทางดังนี้

      1. ปฏิบัติด้วยความลำบาก(ทุกข์)  แต่บรรลุได้ช้า.
      2. ปฏิบัติด้วยความลำบาก(ทุกข์)  แต่บรรลุได้เร็ว.
      3. ปฏิบัติด้วยความสบาย            แต่บรรลุได้ช้า.
      4. ปฏิบัติด้วยความสบาย            แต่บรรลุได้เร็ว.

     ซึ่งครอบคลุมการปฏิติบัติ ของผู้ปฏิบัติทั้งหลายทั้งหมด.

    และในพระอรรถกถาและการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ท่านได้กล่าวถึงพละ 5 ได้แก่
           1.สติ  2.สมาธิ   3.ปัญญา  4.ความเพียร 5.ศรัทธา
    ต้องเจริญต้องสมบูรณ์ต้องสมดุลย์ กันในการพัฒนาเพื่อเจริญวิปัสสนาญาณเพิ่มขึ้นตามลำดับญาณ.
        ข้อสังเกตุ คือ เจริญขึ้นสมบูรณ์และสมดุลย์

        ดังนั้นการปฏิบัติให้พละทั้ง 5 เจริญขึ้น แต่ระดับความสมบูรณ์และสมดุลย์ต่างกัน ก็จะเป็นไปตามแนวทางทั้ง 4 แนว ตามที่พระพุทธเจ้า หรือพระสารีบุตร ได้กล่าวไว้.

 

ตอบโดย: Vicha 01 ก.ค. 52 - 09:57


เห็นด้วยกับคุณระนาดและคุณ Vicha ในเรื่องทริกครับ ในทางกลับกัน ถ้าท่านใดจะพัฒนาสมถกรรมฐานให้ก้าวหน้าเพื่อเป็นบาทในการเจริญวิปัสสนา (หากคิดว่าไม่เป็นการเสียเวลา) ก็ควรบริหารสมาธิให้มากกว่าสติ

แต่จากการอ่านดูในกระทู้นี้ส่วนใหญ่ตั้งใจจะประหารกิเลสให้เร็วที่สุดกันใช่ไหมครับ

 

ตอบโดย: วสวัตตี 01 ก.ค. 52 - 10:53


อ้างอิง (Vicha @ 01 ก.ค. 52 - 09:57)


      1. ปฏิบัติด้วยความลำบาก(ทุกข์)  แต่บรรลุได้ช้า.
      2. ปฏิบัติด้วยความลำบาก(ทุกข์)  แต่บรรลุได้เร็ว.
      3. ปฏิบัติด้วยความสบาย            แต่บรรลุได้ช้า.
      4. ปฏิบัติด้วยความสบาย            แต่บรรลุได้เร็ว.

   
       การปฏิบัติให้พละทั้ง 5 เจริญขึ้น แต่ระดับความสมบูรณ์และสมดุลย์ต่างกัน ก็จะเป็นไปตามแนวทางทั้ง 4 แนว ตามที่พระพุทธเจ้า หรือพระสารีบุตร ได้กล่าวไว้.
(Vicha @ 01 ก.ค. 52 - 09:57)


ขอบคุณครับ  คุณวิชา

คำอธิบายของคุณเข้าใจง่ายดีครับ
              ---------------------------------------------

คุณอัญญาสิ  อู้กำเมืองม่วนขนาดเลยห่อ    

                   
 

ตอบโดย: ระนาด 01 ก.ค. 52 - 10:56


อ้างอิง
ความคิดเห็นที่ 206 : (อัญญาสิ)

คุณระนาด อู้กำเมืองก่อไ้ด้ ฮื้อเปิ้นอู้ตวยเน้อ
แต่เปิ้นอู้บ่จ้าง คงบ่ว่ากั๋นเน้อ




เปิ้นอู้กำเมือง..จ้าง...แต่..ดูจิตดูใจ๋..ยังบ่าจ้าง..เจ๊า...

      


อ้ายระนาด...เดียว..จะกิ๋นข้าวซอย..เผื่อ..เน้อ..เจ๊า  

ตอบโดย: คำแพง 01 ก.ค. 52 - 10:59


สวัสดีครับ พี่ ๆ  (เรียกลุง เรียกป้าได้ 1500  เรียกพี่ ได้ 5000   )

ตาม คห.ที่207  ผมคงเป็นแบบที่ 3.1 แน่ ๆ  
ปฏิบัติด้วยความสบาย  แต่บรรลุได้ช้า(มากกกกก)

คือแต่ละวัน ผมไม่ได้เคร่งครัดอะไรเลย ปล่อยกายใจ ให้คิด พูด ทำ ไปตามปกติ ไม่ฝืน ไม่บังคับ มีอารมณ์ไหลไปตามโลก แต่จะมีสติระลึกรู้ได้เรื่อย ๆ ระหว่างวัน แม้การเกิดขึ้นระลึกรู้ของสติผมก็ไม่ได้จงใจ คือหากมันเกิดขึ้นมาก็เหตุเพราะมันเกิดเอง และก็มีสติตามดู ตามรู้ไป ตราบเท่าที่ยังคงมีสติอยู่ เมื่อสติดับไป หรือเผลอไปอีก ก็ไม่ได้อาลัยอาวรณ์พยายามดึงสติให้กลับมา ผมก็ปล่อยไป ไหลตามโลกไปเช่นเดิมครับ  ผมทำเช่นนี้เป็นประจำวัน แต่รู้สึกว่าสติมันเกิดขึ้นได้บ่อย ๆ ได้ด้วยตัวมันเอง โดยไม่ต้องพยายามดึง หรือเรียกสติแต่อย่างใด

หากเป็นช่วงว่างจากงานผมจะทำสมาธิ รู้ลมหายใจเข้าออก รู้ได้เท่าที่รู้ ไม่ได้กำหนดเวลาอะไรแต่อย่างใด บางครั้ง 5 นาที บางครั้ง 40 นาที โดยเฉลื่ยแล้ว 15 นาที ตอนทำสมาธิก็ทิ้งทุกอย่าง แม้แต่ชื่อหรือระเบียบวิธีการต่าง ๆ นานาก็ไม่สนใจ จะนั่งผิดนั่งถูกไม่ได้ให้ความสำคัญ  บางครั้งยืนเสียด้วยซ้ำ บางครั้งนอนเพราะง่วงแต่ก็คิดว่า"ขอมีสติระลึกรู้จนหลับไปเองซะหน่อยน่าดีกว่าหายใจทิ้งเปล่าประโยชน์ เล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ยังดีกว่าไม่ได้อะไรเลย" สนใจแค่ลมอย่างเดียว เผลอไป เคลิ้มไปก็ไม่ได้ไปทักท้วง หรือพยายามเข้ามามีสติอย่างเดียวแต่อย่างใด ซักครู่นึงจะระลึกได้ว่าเผลอไปนะ ก็กลับมามัสติระลึกรู้ไปเรื่อย ๆ นิ่งบ้าง โลกหายไปเหลือแต่พื้นที่ว่างเปล่าสีขาวบ้าง เคลิ้มหลับบ้าง คิดบ้าง เกิดภาพขึ้นมามากมายบ้าง สั่นไปทั้งตัวบ้าง รู้สึกเหมือนลืมตาทั้งที่ยังหลับตาบ้าง บางทีก็สว่างไปหมดทั้ง ๆ ที่นั่งสมาธิตอนกลางคืนและก็ดับไฟด้วย ปวดเมื่อยบ้าง  หากปวดเมื่อย แบบว่ารู้สึกได้ว่าบดบังทุกความรู้สึกอื่นจนหมดสิ้นมีสติก็ระลึกรู้ความปวดเมื่อยได้อย่างเดียว ก็จะเลิกเลย พอเลย ไม่ทดปวดเมื่อยอยู่ ก็ลุกมาเดินบ้าง ฟังCDเทศของหลวงพ่อปราโมทย์บ้าง หรือฟังการบรรยายอภิธรรมของ อ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์บ้าง หรือทำอะไรตามกิจ ตามใจชอบบ้าง

ผมปฏิบัติแบบไม่สนใจอะไรเลย อะไรจะเกิดขึ้นก็ไม่สนใจ แต่เข้าใจว่ามันก็เพียงสภาวะธรรมหนึ่งเท่านั้น และก็ไม่ได้คิดต่อว่ามันจะดับ หรือจะอยู่ต่อ ช่างมันไม่สนใจ  ก็ดุ่ย ๆทำไป  เมื่อใดที่มีความคิด ความอยากที่จะปฏิบัติแบบเข้มข้นผมจะไม่ทำอะไรเลย เพราะเห็นว่ามีความหวังเกิดเสียแล้ว ลำเอียงเสียแล้ว ก็จะไปทำอย่างอื่นแทนเช่นฟังเพลง ดูหนังไปเลย แต่พอไปฟังเพลงเข้าจริง ๆ มันกลับมีสติฟังเพลง ฟังไปได้ไม่กี่เพลงก็เลิกฟัง มันไม่รุ้จะฟังไปทำไมเนื้อหาก็โลก ๆ ไร้สาระ หากประโยชน์ไม่ได้ เมื่อเห็นความไร้สาระทั้งทางโลก และความไร้สาระในการอยากทำให้เป็นธรรมก็จึงจะมาปฏิบัติ ฟังซีดีบ้าง เดินไปเดินมาบ้างแบบให้สติแนบไปกับเท้าบ้าง หรือแนบไปกับตาที่มองทางบ้าง แต่จะไม่นั่งสมาธิ เพราะรู้ว่ามีกับดักรออยู่แล้ว

ที่เล่ามานี้อยากให้พี่ ๆ ช่วยชี้แนะข้อบกพร่องให้ครับ ว่ามีข้อบกพร่องตรงไหน ตรงไหนยังน้อยไป ตรงไหนมากไป ควรทำอะไรเพิ่ม ควรลดอะไรลงบ้างครับ

ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ

เจริญในธรรม

  

ตอบโดย: doyjaar 01 ก.ค. 52 - 11:22


สวัสดีครับคุณ doyjaar

     เมื่อรู้ระดับตามธรรมว่าเป็นอย่างไร ก็เป็นสิ่งทีดี ที่เหลือคือ

     การปฏิบัตินั้นถูกต้องตามสติปัฏฐาน 4 สมบูรณ์หรือไม่ คือ
        1.พิจารณากายในกาย  2.พิจารณาเวทนาในเวทนา 3.พิจารณาจิตในจิต 4.พิจารณาธรรมในธรรม
     และพละ 5 คือ สติ สมาธิ ปัญญา ศรัทธาและความเพียร เจิรญขึ้น สมบูรณ์ขึ้นหรือไม่.

    การที่จะรู้ว่า สติปัฏฐาน 4 ถูกต้องและเจริญด้วยพละ 5  ก็ต้องมีประสบการณ์ตรง และน้อนธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้มาโยนิโสมนสิการอย่างแยบคาย ไปตามลำดับ.

     ตัวอย่างการบรรลุเป็นประอรหันต์ด้ายการปฏิบ้ติที่เป็นทุกข์ เช่นพระจักษุบาน(พิมพ์ไม่ถูก) คือไม่ยอมนอนไม่ยอมพิงหลังปฏิบัติธรรมด้วยความลำบากแต่สามารถบรรลุเป็นพระอรหันต์พร้อมตาท่านได้บอดพอดี.

     แนววิธีรายละเอียดต่างกันตามอุปนิสัยและวาสนาแต่ละท่าน แต่ถ้าปฏิบัติ สติปัฏฐาน 4 อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ ผลย่อมปรากฏเหมือนกัน.

    ปัญหาคือ พัฒนาให้ สติ สมาธิ และ ปัญญา เจริญขึ้นได้อย่างไร?  จึงสมบูรณ์เพื่อบรรลุธรรมได้ โดยไม่ติดขัด หรือติดค้างอยู่ จนไม่เจริญเพิ่มขึ้นได้.

     ก็สรุปลงที่ ต้องมีประสบการณ์ตรง แล้วนำธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้มาโยนิโสมนสิการอย่างรอบคอบ  โดยวางทิฏฐิต่างๆ ทิ้งไปก่อน (ความเห็นต่างๆ ของตนที่เกิดขึ้นกับความคิดเห็นของผู้อื่น ทิ้งไปก่อน)  แล้วดู สติ สมาธิ ปัญญา นั้นเจริญขึ้น ตามการปฏิบัติหรือไม่  เช่น ศีล และการปล่อยวางทิฏฐิทั้งหลาย.

 

ตอบโดย: Vicha 01 ก.ค. 52 - 12:27


อ้างอิง (วสวัตตี @ 01 ก.ค. 52 - 10:53)
ถ้าท่านใดจะพัฒนาสมถกรรมฐานให้ก้าวหน้าเพื่อเป็นบาทในการเจริญวิปัสสนา (หากคิดว่าไม่เป็นการเสียเวลา) ก็ควรบริหารสมาธิให้มากกว่าสติ


ผมเห็นด้วยครับ

ในความเห็นของผมนะ  ผมว่า....การเจริญวิปัสสนาจะดำเนินไปได้อย่างราบรื่น  จะต้องมีกำลังของสมาธิ ( สมถะกรรมฐาน ) ที่ดีและแน่นแฟ้น  เป็นพื้นฐานที่สำคัญ

ถ้ากำลังสมาธิหรือสมถะไม่ดี  การเจริญวิปัสสนาจะกลายเป็นฟุ้งซ่านได้ง่ายๆ  แม้แต่พวกที่มีจริตแบบวิปัสสนายานิก  ตอนกลางคืนก็ต้องฝึกสมาธิตามรูปแบบเสมอ

ดูตัวอย่างจากครูอาจารย์สายวัดป่าทุกท่าน  จะเริ่มต้นฝึกฝนมาจากสมถะทั้งนั้นเลยครับ

        ---------------------------------------------------

อ้างอิง
คุณ doyjaar

สวัสดีครับพี่ ( เรียกลุง เรียกป้าได้ 1500 เรียกพี่ได้ 5000   )


แต่ถ้าเรียกน้องได้ 50,000  
               
             -------------------------------------------------
ผมว่า คุณdoyjaar ปฏิบัติได้ดีอยู่แล้ว  เพียงแค่คุณหมั่นฝึกฝนไปเรื่อยๆ   ก็คงไม่น่ามีปัญหาอะไร    ( การภาวนาต้องอาศัยเวลา )
 
         ขออนุโมทนา  

ตอบโดย: ระนาด 01 ก.ค. 52 - 16:58


ลมหายมีอยู่ตามดูเถิด            จะบังเกิดสติที่มั่นคง

สติมั่นจิตสงบจะดำรง             จะยืนยงก่อเกิดวิปัสสนา

สติมั่นวิจัยธรรมเฉพาะหน้า       จะนำพาผ่านพ้นเกิดปัญญา

อุเบกขาวางได้ไม่เย็นชา          มุ่งใฝ่หาบุญกุศลเย็นฉ่ำเอย
 

ตอบโดย: ช.ชุตินธโร 01 ก.ค. 52 - 18:33


สวัสดีค่ะ

ที่คุณวิชาตอบใน คห 188 เรื่องการปรับพละ ๕
ที่ผ่านมาตัวเองคงลืมข้อนี้ไป  ทำให้เวลาอยู่ในชีวิตปกติ มีความรู้สึก
เป็นทุกข์และดิ้นรนอย่างมาก  เป็นอยู่นานเหมือนกัน
แต่ตอนนี้ดีขึ้นมากแล้วค่ะ  หลังจากปรับลดบางอย่างลงมา
เพิ่มสมาธิให้มากขึ้น  ที่ผ่านมาตั้งหน้าตั้งตาดูอย่างเดียว
ความเพียรแรงกล้า (ไปหน่อย)  แล้วก็แทบจะทิ้งสมถะไปเลย
เพิ่งกลับมาเริ่มทำไม่่่นาน  ตอนนี้รู้สึกสมดุลย์ขึ้น
พอกลับไปทำสมถะ  ปรากฎว่าพอมาตามดู  สติกลับเกิดได้บ่อยและ
มีุคุณภาพขึ้นกว่าเดิม  ต่อไปคงต้องรอบคอบให้มากขึ้นค่ะ

อ้างอิง
คุณคำแปง
เปิ้นอู้กำเมือง..จ้าง...แต่..ดูจิตดูใจ๋..ยังบ่าจ้าง..เจ๊า..
(พูดภาษาเหนือเก่งแต่ดูจิตดูใจยังไม่เก่ง/ไม่เป็น)

ฮื้อผ่อหมั่นๆ ยะหมั่นๆ  มันก่อจ้างเองเจ้า  วันนี้ยังบ่ไ้ด้ วันพู้กมันก่อได้
(ให้ดูบ่อยๆ ทำบ่อยๆ ก็เก่งเองเป็นเอง  วันนี้ยังไม่ได้ วันต่อไปมันก็ได้)
ฮิฮิ ที่จริงรู้ภาษาเหนือไม่มากหรอกค่ะ ทำยังกะพูดได้  

ตอบโดย: อัญญาสิ 02 ก.ค. 52 - 07:52


บ่อค่อยได้เข้ามาตอบเต๊าใด แต่ก่อโตยอ่านกระทู้นี้กู้วัน
ได้ความฮู้นักขนาดจากประสบก๋านแต้ ๆ ของหลาย ๆ ท่าน
จะใดก่อขออนุโมทนาตวยคนเน้อครับ    
เพิ่งฮู้ว่าคนเหนือในลานธรรมก่อมีนักเหมือนกั๋นน้อ  

ตอบโดย: cygnus 02 ก.ค. 52 - 08:19


อ้าว กลับไปอ่าน คห คุณวิชาใหม่ คุณวิชาว่า
พละ ๕ ต้องเจริญขึ้นจนสมดุลย์กัน

ขอแก้ข้อความตัวเองหน่อยละกันค่ะ
อ้างอิง
คห ๒๑๕
หลังจากปรับลดบางอย่างลงมา

แก้เป็นว่า ได้ปรับโดยเจริญสมาธิให้มากขึ้นจนสมดุลย์
กับองค์ธรรมอันอื่นๆ ในพละ ๕
ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่า    

ตอบโดย: อัญญาสิ 02 ก.ค. 52 - 09:10


สวัสดีครับ คุณระนาด คุณช.ชุตินธโร คุณอัญญาสิ คุณ cygnus

   ดีครับคุณอัญญาสิ  ที่เข้าใจและปรับพละ 5 ได้ ให้พอสมดุลย์กัน

  เป็นอันว่าที่ผ่านมาผมได้นำเสนอ การกำหนดรู้  ปีติ หรือ สุข ขณะที่หายใจออกหรือเข้า ตามอานาปานสติ
    หรือกล่าวได้อีกอย่างว่าการมีสติกำหนดรู้เวทนา ในช่วงหายใจออก หายใจเข้า ของผู้ที่ปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 ควบคู่ไปกับอานาปานสติ


    ต่อไปก็จะเป็นการกล่าวถึงอานาปานสติในบทหรือจาตุกะในลำดับที่สูงขึ้น  คือการกำหนดรู้จิต ซึ่งผมมีความคลุ่มเคลือ ทั้งแต่ปี 2526 มาแล้ว และเมือตั้งกระทู้สนทนาเกี่ยวกับอานาปานสติ มาถึง 2 ครั้งแล้ว ก็ยังไม่ชัดเจน แต่ครั้งนี้น่าจะชัดเจนขึ้น ตามประสบการณ์บวกกับความเข้าใจที่ดีขึ้น ดังในส่วนพุทธพจน์ดังนี้.

 ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจเข้า
   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจเข้า
   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจ เข้า
   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้บันเทิงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักทำจิตใจให้บันเทิงหายใจเข้า
   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่นหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า


   ซึ่งในบททั้งหมดข้างบนนั้นต้องพิจารณาแยกส่วนเป็นสองส่วนกันคือ.

 ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจเข้า


    ส่วนข้างบนนั้นเป็นหนึ่งคู่   เพราะ การที่จะระงับจิตสังขารได้ ต้องรู้แจ้งจิตสังขาร ก่อนจึงจะระงับได้

   คำว่า จิตสังขาร ตามที่ผมทำความเข้าใจได้คือ จิตหรือใจ กับความนึกคิด หรือการปรุงแต่งของความรู้สึกนึกคิดที่ไม่สงบ

   ดังนั้นคำว่า ระงับจิตสังขาร  ตามที่ผมเข้าใจคือ ระงับการปรุงแต่งของความรู้สึกนึกคิดนั้นให้สงบ นั้นเอง

    เช่นเดียวกันกับส่วนที่เหลือ คือ

  ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจ เข้า
   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้บันเทิงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักทำจิตใจให้บันเทิงหายใจเข้า
   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่นหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า


    เช่นเดียวกัน การที่จะทำจิตให้บันเทิง   ก็ต้องรู้แจ้งจิตก่อน  แต่เมื่อทำจิตให้บันเทิงได้ ก็ย่อมตั้งจิตให้มั่นได้ เมื่อตั้งจิตให้มั่นได้ก็ย่อมเปลื้องจิตได้

  คำว่า รู้แจ้งจิต  ตามที่ผมเข้าใจคือ  รู้แจ้งใจ หรือ รู้สึกล้วนๆ  ไม่มีความนึกคิดปรุงแต่งปนอยู่

   คำว่า ทำจิตให้บันเทิง  ตามที่ผมเข้าใจคือ ทำให้จิตนั้นยินดีด้วยความเบาสบายสว่างสงบ

   คำว่า ตั้งจิตมั่น ตามที่ผมเข้าใจคือ การรักษาจิตเบาสบายสว่างสงบนั้นให้มั่นคง

   คำว่า เปลื้องจิต ตามความเข้าใจของผมคือ เปลื้องอารมณ์ทั้งหลาย หรือองค์ฌานที่ประกอบอยู่กับจิต ให้เหลืออยู่แต่ความสงบ หรือมีอุเบกขา อย่างเดียวได้

   หมายเหตุ ถ้าเป็นการปฏิบัติวิปัสสนากรรมหรือสติปัฏฐาน 4 ควบคู่กับอานาปานสติ ที่มีกำลังฌานไม่ถึงฌาน 4 คำว่าเปลื้องจิต คือเปลื้องให้จิตสงบได้  แต่ถ้าเป็นสมถะเต็มกำลังคือได้ฌาน 4 เปลื้ององค์ฌานทั้ง 5 ให้เหลือเพียงอารมณ์เดียวคือ อุเบกขา หรือฌานที่ 4 นั้นเอง.

 

ตอบโดย: Vicha 02 ก.ค. 52 - 10:10


โดยส่วนตัว ผมเห็นว่า การเจริญอานาปานสติ เป็นเหตุเป็นผลไล่ไปตามลำดับ

เมื่อ รู้แจ้ง "จิตสังขาร" ย่อมทำให้ "จิตสังขาร" ระงับลง
เมื่อ "จิตสังขาร" ระงับลง ย่อมทำให้ รู้แจ้ง "จิต"
เมื่อ รู้แจ้ง "จิต" ย่อมทำให้ "จิต" บันเทิง
เมื่อ "จิต" บันเทิง ย่อมทำให้ "จิต" ตั้งมั่น
เมื่อ "จิต" ตั้งมั้น ย่อมทำให้ "เปลื้องจิต" เกิดขึ้นมา

"เปลื้องจิต" หมายถึง เปลื้องจิตออกจากกิเลส
(กิเลสถูกเปลื้องออกจากจิตด้วยกำลังของการเจริญภาวนา)

จิตที่เปลื้องแล้ว จึงพร้อมที่จะเจริญธัมมานุปัสสนา ต่อไป

ทุกขั้นจะเป็นเหตุเป็นผลรับกันไปเป็นขั้นๆ เป็นชั้นๆ
ผู้ปฏิบัติจะพึงรู้ได้ด้วยตนเอง

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 02 ก.ค. 52 - 11:08


สวัสดีครับ คุณบุญรักษ์

    ยินดีด้วยครับที่ร่วมแสดงความคิดเห็น
        และก็เป็นไปได้ถ้าผู้ปฏิบัติอานาปานสตินั้นมีสมาธิที่ตั้งมั่นดี และพร้อมด้วยวาสนาที่สั่งสมมา จึงปรากฏสภาวะที่ต่อเนื่องโดยไม่ขาดตอนกัน ของอานาปานสติในช่วงของ จิตโดยตลอด.

      แต่ในสภาวะของบุคคลทั่วไปอาจจะไม่ต่อเนื่องอย่างนั้นก็ได้  คือไปค้างและยุติในบทใดบนหนึ่ง เช่น ระงับจิตสังขารได้ แล้วถอยสมาธิกลับลงมา หลังจากนั้นก็เริ่มมีสติรู้ชัดหายใจออกหายใจเข้าขึ้นมาใหม่ก็ได้ครับ แล้วค่อยผ่านไปที่ละบท.

      และไม่ใช่ว่าต้องเจริญภาวนาถึง ฌาน 4 ที่มีอุเบกขาอย่างเดียวในบท การเปลื้องจิต ก็ได้

       คือได้เพียง ปฐมฌาน หรือ ฌาน 1 แล้วเปลื้องจิตก็ได้ เป็นการลงสู่ความสงบ  ซึ่งนิวรณ์ 5 (กิเลส) ถูกเปลื้องออก สู่ความสงบของปฐมฌาน.

       แล้วเจริญธรรมนุปัสสนาต่อไป. ดังมีบทความสนับสนุนในพระไตรปิฏกดังนี้.

  อัฏฐกนาครสูตร ที่ ๒.

   --------
   --------
            [๑๙] ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ถามท่านพระ-
*อานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ธรรมอันหนึ่ง ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
มีตนส่งไปอยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป
และย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่ยัง
ไม่บรรลุ อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้นตรัสไว้
มีอยู่แลหรือ?
            ท่านพระอานนท์ตอบว่า มีอยู่ คฤหบดี ...
            ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ก็ธรรมอันหนึ่ง เป็นไฉน ...?

รูปฌาน ๔
           [๒๐] ดูกรคฤหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ-
*ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า
แม้ปฐมฌานนี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น
ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะ
และวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่ง
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้น
เป็นธรรมดา.

            ดูกรคฤหบดี ธรรมอันหนึ่งแม้นี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่
จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึง
ธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ
อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.


            ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้ทุติยฌานนี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น
ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา
ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลิน ในธรรมคือสมถะและ
วิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปริพพาน
ในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.
            ดูกรคฤหบดี ธรรมอันหนึ่งแม้นี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่
จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึง
ธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบอันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อัน
พระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.
            ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วย
นามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้ตติยฌานนี้อันเหตุ
ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น
สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้น
ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดี
เพลิดเพลินในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.
            ดูกรคฤหบดี ธรรมอันหนึ่งแม้นี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่
จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึง
ธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ
อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.
            ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข
ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอพิจารณา
อยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้จตุตถฌานนี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้
เธอตั้งอยู่ในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึง
ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้น
เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปริพพานในที่นั้น
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.
            ดูกรคฤหบดี ธรรมอันหนึ่งแม้นี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีคนส่งไปอยู่
จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุ
ธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ
อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.

...


   ตรงที่ระบายสีน้ำเงินนั้น  เป็นส่วนที่แสดงให้เห็นว่า เจริญอานาปานสติ จนถึงปฐมฌาน (ฌานที่ 1)  แล้วยกขึ้นสู่ธรรมมานุปัสสนา ก็สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้.

   ดังนั้นตามความเข้าใจของผม ผู้ที่ปฏิบัติอานาปานสติ และสติปัฏฐาน 4 ควบคู่กัน จนเกิดวิปัสสนาญาณ สามารถมีกำลังสมาธิถึง ปฐมฌานได้ด้วย  และสามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้เมื่อวิปัสสนาญาณเจริญครบทั้ง 16 ญาณ.

    หมายเหตุ ผมกำลังชี้ให้ผู้ที่ติดตามอ่านดูหรือพิจารณาดู อะไรๆ อยู่นะครับ คิดว่าคงมีประโยชน์ในเบื้องต้น

         ต่อไปผมขอยกตนตามธรรมที่ได้ประจักกับผม

             เพราะ ผมปฏิบัติอานาปานสติพร้อมทั้งสติปัฏฐาน 4 กำหนดเจริญสติตามแนว "หนอ" (กำหนดยุบหนอ-พองหนอ ที่ท้องไม่ได้) ฌานก็บังเกิดขึ้น วิปัสสนาญาณก็เจริญขึ้น ในเวลาไม่ช้า เพียงไม่กี่วันเจริญถึง สัมมสนญาณ(วิปัสสนาญาณที่ 3) และบังเกิดปฐมฌาน แต่ต้องมีสติเตือนตนเรื่องวิปัสสนูกิเลสมากหน่อย เพราะมีความพิเศษพิศดารมากกว่าปกติชนทั่วๆ ไป ที่ไม่มีกำลังสมาธิถึงฌาน
             ซึ้งต้องใช้เวลาประมาณเดือนกว่า จึงรู้ว่าตนเองหลงวิปัสสนูกิเลส  เมื่อรู้ตัวแล้วว่ายังมีกิเลสที่เพิ่มอัตตาความเป็นทุกข์ร้อนเพราะความหลงนั้น จึงคลายลงไปได้.
              ฌานที่ 2 และฌานที่ 3 เกิดขึ้นหาได้ลำบาก ด้วยอานาปานสติ  และวิปัสสนาญาณเจริญถึง นิพพิทาญาณ  (วิปัสสนาญาที่ 8) และต้องหยุดอยู่เพียงแค่นั้น เพราะมีปัญหาเรื่องรองเจ้าอาวาสต้องการให้สึกจากการเป็นพระ เพราะ 1.ฐานะทางสังคม 2.ปฏิบัติจากสำนักฝ่ายมหานิกายแต่บวชฝ่ายธรรมยุต (รองเจ้าอาวาสเป็นพระนักการเมือง ติดตามเรื่องการเมือง มากๆ)
              ก็เป็นกรรมของผม และก็เป็นวาสนาของผม ที่ทำให้ได้เรียนรู้ทั้งอานาปานสติกับสติปัฏฐาน 4 แบบแนว "หนอ"  ควบคู่กันไปในเบื้องต้น เป็นเวลาถึงประมาณ 5 เดือน แล้วหันมาปฏิบัติแนว "หนอ" อย่างสมบูรณ์ ถึง 10 กว่าปี โดยละทิ้งดูลมหายใจ ที่เคยปฏิบัติมาประมาณ 10 กว่าปี อย่างเด็ดขาด
             และ ณ. ช่วงปัจจุบันนี้เมื่อศึกษาพระไตรปิกฏมากขึ้น ก็ปรับมาสู่ อานาปานสติ ได้อย่างสมบูรณ์ขึ้น หรือจะปฏิบัตแยกจากลมเป็นสติปัฏฐาน 4 ได้ทันที่โดยไม่ลำบาก  หรือจะผสมประสานทั้งอานาปานสติกับสติปัฏฐาน 4 ก็ได้โดยไม่ลำบาก.

             วิบากกรรมนั้นแหละผลักดันให้สร้างวาสนาบารมีที่สมบูรณ์ขึ้น เมื่อดำรงจิตไว้อย่างถูกต้อง.

 

ตอบโดย: Vicha 02 ก.ค. 52 - 16:54




ผลย่อมเกิดจากเหตุครับ

ปฎิบัติวิปัสสนากันเถอะครับ เราถูกปลูกฝังค่านิยมผิดๆจากผลของการปฎิบัติวิปัสสนามานานมากแล้ว ช่วยกันปฎิบัติให้เกิดผลครับ ทำลายค่านิยมเก่าๆครับ เช่น นั่งสมาธิแล้วทำให้เป็นบ้า ปฎิบัติแนวนั้นแนวนี้ผิด ได้ผลอย่างนี้อย่างนั้นผิด ฯลฯ

ผมมีความเห็นว่าปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลกันเถอะครับ ปฏิบัติจนชำนาญแม้จะไม่ถึงมรรคผลนิพพาน ก็ใช่ว่าจะผิดทาง บางท่านคิดว่าปฏิบัติแล้วญาณ๑ ญาณ๒ ยังไม่รู้เลยทว่าแท้จริงอาจทราบแล้วแต่ยังขาดศรัทธา ทำให้ลังเลสงสัย?

คุณVichaครับ แม้บุคคลที่เห็นไตรลักษณ์จนชัดเจนแล้ว ก็ยังไม่ได้มรรคผลนิพพานใช่ไหมครับ?

คุณVichaครับ ขอรบกวนย้อนเริ่มใหม่ ขอถามว่าปฎิบัติเพื่ออะไรกันครับ?

     

ตอบโดย: damrong121 02 ก.ค. 52 - 21:27


สวัสดีค่ะ
อยากจะเรียนถามคุณวิชา และท่านอื่นๆ ด้วยค่ะ
ว่าเคยฝึกอานาปานสติจนถึงฌานขั้นสูงๆ บ้างหรือไม่คะ
อยากจะทราบว่าในแต่ขั้น มีอาการอย่างไรบอกให้ทราบ
อยากจะฟังประสบการณ์ตรงน่ะค่ะ

เพราะเวลาอ่านตามที่ต่างๆ เกี่ยวกับฌาน  ส่วนมากจะอธิบายแบบวิชาการ
เช่น ฌาน ๒ มีองค์ธรรม คือ ปีติ สุข เอกัคคตา  จึงอยากทราบว่า
อาการในเวลาปฏิบัติจริงๆ  มีอาการและความรู้สึกเป็นอย่างไร
จะได้ไปลองเปรียบเทียบกับที่ตัวเองเคยทำมา

เคยอ่านการปฏิบัติของครูบาอาจารย์ที่ท่านทำสมถะ  จะมีส่วนคล้ายๆ กันคือ
ท่านทำไปแล้วจิตรวมลง  อยู่ในสมาธิได้ทั้งคืน  แล้วจิตก็ออกจากสมาธิเอง
อยากทราบว่าระหว่างที่จิตรวมลงนั้น  มีความรู้สึกตัวอยู่หรือไม่

   

ตอบโดย: อัญญาสิ 03 ก.ค. 52 - 05:56


อนุโมทนาสาธุ ครับพี่วิชา
กับการนำเสนอแนวทางปฏิบัติอานาปานสติ
มาเล่าสู่ แลกเปลี่ยนประสพการณ์กัน
ผิดหรือถูก ใช่หรือไม่ใช่
สามารถตรวจสอบได้ทุกขณะเวลา (อกาลิโก, สันทิฏฐิโก) ครับ

ขออนุญาตพี่วิชานำเสนอแลกเปลี่ยนมุมมองประสพการณ์เกี่ยวกับ
การเจริญอานาปานสติในช่วงขั้นตอนจิตสังขาร นี้ด้วยคนครับ
ขอกราบเรียนนำเสนอดังนี้ครับ

เมื่อเดินมาถูกทาง ทางมันก็จะยิ่งแจ้ง สว่างแจ่มชัดเจน ยิ่งๆขึ้นไป
เสมือนเรากำลังเดินทางไปสู่ชายหาด
ยิ่งใกล้ถึงชายหาดมาเท่าไร กลิ่นไอของน้ำทะเล
ก็จะยิ่งถูกกระทบสัมผัสมากยิ่งๆขึ้น
ทำให้เราสามารถรู้ได้ว่า ใกล้ที่จะถึงชายหาดแล้วเต็มทีแล้ว

อานาปาสติ เมื่อขยับขั้นสูงเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ
ความสงบระงับก็จะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ
ซึ่งจะตรงกันข้ามกับความสับสน ความลังเล ความไม่แน่ใจ


จิตสังขาร...ผมเข้าใจว่า น่าจะหมายถึง ตัวเวทนาและตัวสัญญา ครับ

เพราะจิตหรือวิญญาณหรือตัวรู้หรือธาตุรู้นี้หรือตัวมโนนี้ นั้น
จะรู้อยู่ที่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร

เมื่อท่านกล่าวว่า จิตสังขาร รำงับ
นั่นก็ย่อมหมายความว่า จิตหรือมโนหรือวิญญาณ หรือตัวรู้ นั้น
ไม่เข้าไปรู้อยู่ซึ่งเวทนาซึ่งสัญญา ใดๆแล้ว

การรู้ลมหายใจเข้าออก จะไม่เป็นไปเพื่อเวทนาหรือสัญญาใดๆอีกต่อไป
การรู้ลมหายใจเข้าออก ยังคงถูกระลึกรู้อยู่
แต่ปิต,สุข (เวทนา,สัญญา) ทั้งหลายถูกปลดปล่อยวางลงไปหมดแล้ว

เมื่อจิตปลดปล่อยวาง ซึ่งเวทนาสัญญาใดลงไปได้แล้ว
จิตย่อมรำงับ
เมื่อจิตรำงับ จิตย่อมดำดงค์อยุ่
เมื่อจิตดำรงค์อยู่ จิตจึงยินดีร่าเริง(ความร่าเริงยินดีน่าจะไม่หมายถึงตัวเวทนา)

เมื่อจิตยินดีร่าเริง จิตจึงไม่หวั่นไหว ไม่หวาดสะดุ้ง
จิตจึงตั้งมั่น

เมื่อจิตตั้งมั่นได้แล้ว ก็หมดภาระที่จะกระทำการใดต่อจิตอีกต่อไป
จึงปล่อยจิตอยู่ตามนั้น ตามธรรมชาติอันสงบบริสุทธิ บริบูรณ์...
อยู่พร้อมกับลมหายใจเข้าและออก....
เพื่อเตรียมพร้อมที่จะระลึกรู้ถึง ธรรมอันเป็นอนิจจังในลำดับถัดไป.




 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 03 ก.ค. 52 - 08:50


อ้างอิง (อัญญาสิ @ 03 ก.ค. 52 - 05:56)
สวัสดีค่ะ
อยากจะเรียนถามคุณวิชา และท่านอื่นๆ ด้วยค่ะ
ว่าเคยฝึกอานาปานสติจนถึงฌานขั้นสูงๆ บ้างหรือไม่คะ
อยากจะทราบว่าในแต่ขั้น มีอาการอย่างไรบอกให้ทราบ
อยากจะฟังประสบการณ์ตรงน่ะค่ะ



ความเห็นของคุณอัญญาสิน่าสนใจมากเลยครับ   ผมก็อยากรู้การภาวนาของตัวผมเองและของเพื่อนท่านอื่นๆด้วยครับ
                   -------------------------------------------

ตัวผมเองก็มีความอยากรู้ว่า  แบบที่ผมเคยปฏิบัติมาก่อนที่จะพบลานธรรมนั้น  เรียกว่าอะไรครับ   ผมขอเรียนถามคุณวิชาว่า.......

ผมเริ่มต้นโดย   ผมฝึกฝนการรู้ความรู้สึกที่ลมหายใจเข้า - ออก ( เข้าว่า -พุท / ออกว่า - โธ )

ผมฝึกอย่างนี้ 3 - 4 ปี  จนความรู้สึกจดจ่ออยู่ที่ความรู้สึกที่ลมเข้าออกดีแล้ว  ผมก็ละวางคำพุทโธ  แล้วผมก็ดูความรู้สึกที่ลมหายใจไปเรื่อยๆ

ผมฝึกอย่างนี้อีก 2 - 3 ปี  ผมก็เริ่มมีความสุขเพลิดเพลินในการรู้ลมหายใจ

ผมฝึกอย่างนี้ไปอีก 6 - 7 ปี  ผมก็เห็นความรู้สึกที่ลมหายใจสว่างลุกโพลงขึ้นมา  แล้วความรู้สึกอื่นๆก็ดับหายไป  สักประเดี๋ยวหนึ่ง  ความสว่างนี้ก็ค่อยๆหรี่แสงลง  แล้วความรู้สึกอื่นๆก็กลับคืนมาตามเดิม


ถ้าผมยังนั่งภาวนาต่อไปเรื่อยๆ  ความรู้สึกที่ลมหายใจเข้า - ออกนี้ก็สว่างลุกโพลงขึ้นมาแล้วความรู้สึกอื่นๆก็ดับหายไป  สักพักหนึ่งความสว่างก็ค่อยๆหรี่แสงลง  ความรู้สึกอื่นๆก็กลับคืนมา   เป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ


เมื่อถึงปลายปี 2548  ผมมารู้จักลานธรรม  ผมจึงเปลี่ยนมาฝึกฝนการภาวนาใหม่โดย  เปลี่ยนจากการรู้ความรู้สึกที่ลมหายใจเพียงจุดๆเดียวมาเป็นการรู้ความรู้สึกทั่วทั้งร่างกาย    แล้วผมก็เห็นความรู้สึกในใจควบคู่กันไป   ( ดังที่เคยเล่าให้คุณวิชาทราบไปแล้ว )

                         ----------------------------------------

ผมขอเรียนถามคุณวิชาว่า  การภาวนาที่ผมเคยปฏิบัติก่อนที่ผมจะมาพบลานธรรม  เรียกว่าอะไรครับ  มีประโยชน์อะไรหรือเปล่า  เดี๋ยวนี้ผมไม่ได้ปฏิบัติแบบนั้นแล้ว และ ผมควรจะกลับมาฝึกฝนแบบนั้นอีกหรือไม่ครับ

ตอบโดย: ระนาด 03 ก.ค. 52 - 09:20


สวัสดีครับ  คุณ damrong121 คุณ อัญญาสิ คุณปล่อยรู้

   สนทนากับคุณ damrong121 ก่อนนะครับ

     ผมได้เพิ่มข้อมูลที่ก่อให้เกิดความศรัทธาเพิ่มขึ้นแล้วนะครับ หลังจากที่คุณ damrong121 เสนอแนะ.

     และจากคำถามของคุณ damrong121
อ้างอิง
     คุณVichaครับ แม้บุคคลที่เห็นไตรลักษณ์จนชัดเจนแล้ว ก็ยังไม่ได้มรรคผลนิพพานใช่ไหมครับ?


    ตอบ ต้องแบ่งเป็นระดับเปอร์เช็นตร์ครับ  ดังนั้นเมื่อถามแบบประโยคธรรมดาว่า.

         แม้บุคคลที่เห็นไตรลักษณณ์แล้ว ก็ยังไม่ได้มรรคผลนิพพานใช่ไหมครับ?

         ตอบว่า ใช่ครับ ถ้าเห็นต่ำกว่า 100 % เพราะการเห็นไตรลักษณ์นั้นแบ่งเป็นระดับๆ ไป.

          เมื่อถามว่าบุคคลที่เห็นไตรลักษณ์แล้ว 100 เปอรเซ็นตร์  ก็ยังไม่ได้มรรคผลนิพพานใช่ไหมครับ?
          ตอบว่า ส่วนมากได้มรรคผลนิพพาน ส่วนน้อยยังไม่ได้มรรคผลนิพพาน

            และส่วนน้อยที่ยังไม่ได้มรรคผลนิพพานแม้เห็นไตรลักษณ์สมบูรณ์ 100 % มีเหตุน่าจะเหตุ 3. ประการคือ
                      1. วิบากของอกุศลกรรมอันหนักหนานั้นขว้างกั้น เช่นผู้ทำอนันตกรรม
                      2. ความปรารถนาอันเป็นมหากุศล ยังไม่สมฐานะตามปรารถนาซึ่งยังติดอยู่ในอนุสัยวางคลายยังไม่ได้ เช่นผู้ที่จะเป็นมหาสาวก(ไม่ใช่เป็นเอกคัดตะนะครับ) ซึ่งไม่จำเป็นว่าได้รับพุทธพยากรณ์มาก่อนเลย
                      3. สิ่งที่ตั้งมั่นตามสัจจธรรมแล้วแต่ยังไม่สมบูณร์ด้วยความเหมาะแห่งกาล ได้แก่ผู้ที่สร้างบารมีจนได้รับพุทธพยากรณ์จากพระพุทธเจ้ามาแล้ว ตามฐานะต่างๆ เช่นจะได้เป็นพระสาวกที่ทรงเอกคัตตะ  จะได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า จะได้เป็นพระพุทธเจ้า

                  ส่วนที่เหลือในกรณีอื่นที่ยังไม่บรรลุมรรคผลนิพพานคือเห็นไตรลักษณ์ไม่สมบูรณ์ 100 % แทบทั้งสิ้น.

           หมายเหตุ การเห็นไตรลักษณ์สมบูรณ์ คือย่อมเห็นมรรคมีองค์ 8 สมบูรณ์ อริยสัจสี่สมบูรณ์  หรือเห็นโพธิปักขิยธรรม 37 ประการสมบูรณ์นั้นเองในช่วงขณะจิตเดียว

           ต่อไปผมจะบอกจุดที่ผมสงสัยรังเล เมื่อมีผู้บอกผลการปฏิบัติให้ทราบทำให้ผมหวั่นไหวในการตัดสินใจบอกกล่าว และสามารถทำให้ผมผิดพลาดไปปราสมาศท่านได้คือ

           1.ผู้ที่ปฏิบัติที่บรรลุมรรคผลนิพพานโดย ที่ไม่สนใจและจดจำสภาวะธรรมที่เกิดกับตน แล้วกิเลสนั้นหดหายไป ประเภท สุขวิปัสสโก จริงๆ
           ดังพระพุทธเจ้าทรงตรัสทำนองเปรียบเสมือนชาวไร่ ผู้มีมีดพร้าด้ามเป็นไม้  ใช้มีดพร้านี้ทำไร่ทำสวนอยู่เป็นประจำโดยหาสนใจใดๆ  แต่เมื่อใช้มิดพร้ามายาวนานก็ย่อมรู้ย่อมเห็นด้านมิดพร้านั้นสึก ก็รู้เพียงว่ามันสึก
           2.ผู้ที่ปฏิบัติสมถะและวิปัสสนา เมื่อวิปัสสนาญาณเบื้องต้นปรากฏถึง สัมมสนญาณแล้ว หลังจากนั้นพอวิปัสสนาญาณเจริญก็เจริญพรวดเดียวจนบรรลุมรรคผลนิพพาน โดยที่ท่านเองก็ยังแยกแยะอะไรไม่ชัดเจน ซึ่งก็มีกล่าวอยู่ในพระไตรปิกฏ
           อาจจะเหมือนกับที่หลวงพ่อชากล่าวไว้ เหมือนผู้ตกต้นไม้พรวดเดียวถึงพื้นโดยที่ยังไม่ทันได้สังเกตุจนแยกแยะอะไรได้ชัดเจน


และจากคำถามของคุณ damrong121
    อ้างอิง
    คุณVichaครับ ขอรบกวนย้อนเริ่มใหม่ ขอถามว่าปฎิบัติเพื่ออะไรกันครับ?


    ผมไม่ทราบว่าถามถึงตัวผมหรือถามตามหลักการ

    ถ้าถามตามหลักการ
        ตอบ ตามอุดมคติสูงสุดได้ว่า เพื่อละเพื่อดับกิเลสจนหมดสิ้น บรรลุมรรคผลนิพพาน แต่ เมื่อยังไม่ถึงอุดมคติสูงสุด ก็ยังทำให้ดำเนินในทางกุศลกรรม และพอมีปัญญาดำรงตามฐานะที่ถูกที่ควรและมีความปกติสุขตามอัตตภาพปัจจุบันของตนตามวิบากกรรม(วิบากกรรมคือ ผลของการกระทำในอดีตและผลของกรรมที่ทำในปัจจุบัน)
      
    ถ้าถามหมายถึงตัวผม

     ตอบ  1.ตั้งแต่เกิดมาพอมี กามราคะ  (อารมณ์ทางเพศ) ก็รู้สึกว่าเป็นทุกข์ และปรารถนาไม่ให้มี และทุกจากฐานะที่รู้ตามประสาเด็ก แล้วนั่งสมาธิโดยตนเอง
             2.เมื่อโตมารับรู้และเรียนรู้มากขึ้น มีใจเป็นทุกข์เรื่องฐานะและความกดดันทั้งสังคมและกฏหมาย อย่างมากจึงปรารถนาที่จะดับทุกข์ทางใจนั้น (ดูลมหายใจ ทุกเวลาที่ระลึกได้ แต่เมื่อรู้ทุกข์ทางใจเป็นส่วนมากจึง ดูลมหายใจเป็นส่วนมาก จนความรู้สึกติดอยู่ที่จมูกเคลื่อนไปไหนได้ยาก)
             3.เมื่อปฏิบัติกรรมฐานเป็นรูปแบบก็ปรารถนานิพพานเป็นอย่างยิ่ง เพราะรับความกดดันจากฐานะนั้นมาก และยังไม่เห็นทางออก.

       หมายเหตุ ไม่เคยรู้เรื่องความปรารถนาต่างๆ รู้แต่มีความศรัทธากับ พระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ อย่างมาก แตกต่างกับสมาชิกของครอบครัว และเมื่อได้ศึกษาและทราบว่ามีการปรารถนากันเมื่อเรียนในระดับมหาลัย แต่ก็หาได้ไปตั้งความปรารถนาในฐานะใดๆ เพราะปัจจุบันตนเองก็ต่ำต้อยและมีความทุกข์และกดดันมากมายอยู่แล้วไม่เห็นจุดสว่างที่ปลายอุโมงเลย
      แต่เกิดความสงสัยลังเลกับตนเองขึ้นมาจากที่ได้ศึกษาและอ่านตำรา จึงได้อธิษฐานประสงค์ให้ทราบฐานะความเป็นจริง จากพระอนาคามีหรือพระอรหันต์ที่มีอภิญญา เพื่อจะได้ละกิเลสดับทุกข์โดยเร็วพลัน เป็นประจำหลังจากสวดมนตร์ไหว้พระก่อนนอน ตั้งแต่เรียนอยู่ปี 2 และได้พยายามถือศีล 8 อยู่ 1 ปี ตอนเรียนปี 3.
     แต่พอได้ปฏิบัติธรรมตามรูปแบบจริง ลืมหมดสิ้นเรื่องที่อธิษฐานไว้ เพระอยู่ใจอยู่ที่การปฏิบัติและกำหนดกรรมฐานอย่างเดียว เพื่อมรรคผลนิพพาน เป็นเวลาติดต่อกัน เกือบ 5 ปี

       และสรุป เพราะการปฏิบัติธรรมและดำรงจิตอย่างถูกต้อง ทำให้ผมคลายทุกข์ลงได้บ้าง และสามารถดำรงตนตามฐานะได้ตามปกติสุข อดทนและฟันฝ่าความกดดันอันเป็นทุกข์นั้นอยู่ได้และผ่านไปได้.

 

ตอบโดย: Vicha 03 ก.ค. 52 - 10:54


สวัสดีครับคุณ อัญญาสิ
     ผมขอตอบคำถามของคุณระนาดก่อนนะครับ เพราะคำถามของคุณระนาดจะกลายเป็นคำตอบบางส่วนของคุณ อัญญาสิ

    จากคำถามและเล่าประสบการณ์ของคุณระนาด.

อ้างอิง
ผมฝึกอย่างนี้ 3 - 4 ปี  จนความรู้สึกจดจ่ออยู่ที่ความรู้สึกที่ลมเข้าออกดีแล้ว  ผมก็ละวางคำพุทโธ  แล้วผมก็ดูความรู้สึกที่ลมหายใจไปเรื่อยๆ

ผมฝึกอย่างนี้อีก 2 - 3 ปี  ผมก็เริ่มมีความสุขเพลิดเพลินในการรู้ลมหายใจ


    ตอบตามที่ผมเข้าใจ เป็นสภาวะของ สมาธิที่เป็นหนึ่ง บังเกิดขึ้น แต่ยังไม่เป็นอุปจารสมาธิที่ชัดเจน ครับ ดูตามระยะเวลาแล้วคุณระนาดฝึกปฏิบัติไปเรื่อยๆ ตามเวลาที่พอมีเท่านั้น ไม่ได้ทุ่มสดตัว

อ้างอิง
ผมฝึกอย่างนี้ไปอีก 6 - 7 ปี  ผมก็เห็นความรู้สึกที่ลมหายใจสว่างลุกโพลงขึ้นมา  แล้วความรู้สึกอื่นๆก็ดับหายไป  สักประเดี๋ยวหนึ่ง  ความสว่างนี้ก็ค่อยๆหรี่แสงลง  แล้วความรู้สึกอื่นๆก็กลับคืนมาตามเดิม


      ตอบ ช่วงนี้ อุคหนิมิตได้ปรากฏขึ้น อุปจารสมาธิ เกิดอย่างสมบูรณ์ แล้วปฐมฌานได้บังเกิดขึ้น  ถึงช่วงนี้ผมสามารถอธิบายอารมณ์แทนคุณระนาดได้เลยครับ คือมีปีติ มีสุข และมีความเป็นหนึ่งในขณะปฏิบัติเป็นอย่างมาก
       และสามารถทายได้เลยว่า เมื่อปรากฏในครั้งแรกของคุณระนาด จะเต็มไปด้วยความยินดี มีปีติสุข ที่หาไม่ได้ในโลกวัตถุ

อ้างอิง
ถ้าผมยังนั่งภาวนาต่อไปเรื่อยๆ  ความรู้สึกที่ลมหายใจเข้า - ออกนี้ก็สว่างลุกโพลงขึ้นมาแล้วความรู้สึกอื่นๆก็ดับหายไป  สักพักหนึ่งความสว่างก็ค่อยๆหรี่แสงลง  ความรู้สึกอื่นๆก็กลับคืนมา   เป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ


       ตอบ ช่วงนี้พอดีคุณระนาด ไม่ได้บอกถึงองค์ฌานที่ปรากฏกับใจในแต่ละครั้ง จึงไม่สามารถชี้ชัดได้ว่า เป็นมากกว่า ฌานที่ 1 หรือไม่.  ถ้าตามที่อธิบายเล่ามาเสมือนเป็น ฌานที่ 1 ไม่น่าจะเป็น ฌานที่ 2 ครับ (ไม่บอกองค์ฌานที่ปรากฏจึงไม่สามรถทราบได้อย่างแน่นอนครับ)


อ้างอิง
เมื่อถึงปลายปี 2548  ผมมารู้จักลานธรรม  ผมจึงเปลี่ยนมาฝึกฝนการภาวนาใหม่โดย  เปลี่ยนจากการรู้ความรู้สึกที่ลมหายใจเพียงจุดๆเดียวมาเป็นการรู้ความรู้สึกทั่วทั้งร่างกาย    แล้วผมก็เห็นความรู้สึกในใจควบคู่กันไป   ( ดังที่เคยเล่าให้คุณวิชาทราบไปแล้ว )

                         ----------------------------------------

ผมขอเรียนถามคุณวิชาว่า  การภาวนาที่ผมเคยปฏิบัติก่อนที่ผมจะมาพบลานธรรม  เรียกว่าอะไรครับ  มีประโยชน์อะไรหรือเปล่า  เดี๋ยวนี้ผมไม่ได้ปฏิบัติแบบนั้นแล้ว และ ผมควรจะกลับมาฝึกฝนแบบนั้นอีกหรือไม่ครับ


   ตอบ เรียกว่า อานาปานสติได้ถึง ฌาน มีประโยชน์ มากๆ ครับ  เมื่อเรียนรู้การเจริญสติที่เป็นสติปัฏฐาน 4 ก็จะทำให้วิปัสสนาญาณบังเกิดขึ้นได้ง่าย โดยเสมือนใช้กำลังนิดหน่อย แล้ว สัมมสนญาณ (วิปัสสนาญาณที่ 3) ก็บังเกิดขึ้นโดยไม่ลำบากนัก.

   สามารถปฏิบัติประสมประสานกันได้ครับเพื่อปรับพละ 5 ให้สมดุลย์ และเจริญขึ้นได้ เพราะพระพุทธเจ้าทรงตรัสรับรองไว้ เมื่อปฏิบัติอานาปานสติมากและสมบูรณ์ สติปัฏฐาน 4 ก็สมบูรณ์ด้วย.
 

ตอบโดย: Vicha 03 ก.ค. 52 - 11:47


อ้างอิง (Vicha @ 03 ก.ค. 52 - 11:47)


อ้างอิง
ระนาด

ถ้าผมยังนั่งภาวนาต่อไปเรื่อยๆ  ความรู้สึกที่ลมหายใจเข้า - ออกนี้ก็สว่างลุกโพลงขึ้นมาแล้วความรู้สึกอื่นๆก็ดับหายไป  สักพักหนึ่งความสว่างก็ค่อยๆหรี่แสงลง  ความรู้สึกอื่นๆก็กลับคืนมา   เป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ



       ตอบ ช่วงนี้พอดีคุณระนาด ไม่ได้บอกถึงองค์ฌานที่ปรากฏกับใจในแต่ละครั้ง จึงไม่สามารถชี้ชัดได้ว่า เป็นมากกว่า ฌานที่ 1 หรือไม่.

 


ก่อนหน้าที่ผมภาวนาได้แบบข้างบนนี้    ผมต้องฝึกฝนเกือบทุกวันในตอนกลางคืน  นานๆจึงจะว่างเว้นบ้าง


ตอนที่ผมเห็นความสว่างได้แล้ว   เวลาเริ่มนั่งภาวนา    ผมจะจับหลักตรงความรู้สึกที่ลมหายใจและความสุขความเพลิดเพลิน ( ผมไม่ต้องเริ่มจากคำบริกรรมพุทโธเหมือนตอนหัดใหม่ๆ )   เมื่อนั่งภาวนาไปพักใหญ่ๆ   ก็เห็นความรู้สึกสว่างลุกโพลงขึ้นมา   ....  สว่างแล้วหรี่ลง...สว่างแล้วหรี่ลง......แบบนี้ไปเรื่อยๆ ..... แต่ผมไม่เห็นไตรลักษณ์ แม้ว่าจะมีการเกิดและดับ ... และผมก็เห็นแต่ความเป็นตัวเราของเราอยู่ในความรู้สึกครับ  ( หมายความว่า  เห็นเป็นตัวเรา และ ความรู้สึกที่เป็นของเรา ที่กำลังนั่งภาวนาอยู่  โดยเพลิดเพลินอยู่กับความรู้สึกที่ลมหายใจ เข้าและออก )
                ------------------------------------------

ตรงนี้จะเรียกชื่อว่าอะไรก็ไม่สำคัญครับคุณวิชา  คือถ้าหากว่า  มันจะเป็นกำลังช่วยให้ผมเห็นไตรลักษณ์ได้ง่าย  ผมก็จะกลับมาฝึกฝนตรงนี้อีกเป็นระยะๆ  ( แต่ผมจะดูความรู้สึกทั่วทั้งร่างกายเลย  จะไม่ดูแค่จุดๆเดียวเหมือนตอนนั้น  เพราะว่า ดูความรู้สึกทั่วทั้งร่างกายจะง่ายกว่า   ทำให้เห็นไตรลักษณ์ได้ด้วย  แล้วมันก็เบาสบายดีกว่าเดิมครับ)

ขอบคุณ  สำหรับคำแนะนำครับคุณวิชา  

ตอบโดย: ระนาด 03 ก.ค. 52 - 12:42


สวัสดีครับคุณระนาด

 จากข้อความของคุณระนาด

อ้างอิง
  ก่อนหน้าที่ผมภาวนาได้แบบข้างบนนี้    ผมต้องฝึกฝนเกือบทุกวันในตอนกลางคืน  นานๆจึงจะว่างเว้นบ้าง


    ก็ต้องเป็นการปฏิบัติที่เข้มขึ้นลักษณะนี้อยู่แล้ว จึงจะปรากฏผลได้เช่นนั้นได้ครับ... สำหรับสมถะ.

    แต่ถ้าเป็นวิปัสสนาก็สามารถปฏิบัติได้ตลอดเวลา เพราะมีสติเป็นปัจจุบัน เป็นส่วนมาก.

อ้างอิง
  ตอนที่ผมเห็นความสว่างได้แล้ว   เวลาเริ่มนั่งภาวนา    ผมจะจับหลักตรงความรู้สึกที่ลมหายใจและความสุขความเพลิดเพลิน ( ผมไม่ต้องเริ่มจากคำบริกรรมพุทโธเหมือนตอนหัดใหม่ๆ )   เมื่อนั่งภาวนาไปพักใหญ่ๆ   ก็เห็นความรู้สึกสว่างลุกโพลงขึ้นมา   ....  สว่างแล้วหรี่ลง...สว่างแล้วหรี่ลง......แบบนี้ไปเรื่อยๆ ..... แต่ผมไม่เห็นไตรลักษณ์ แม้ว่าจะมีการเกิดและดับ ... และผมก็เห็นแต่ความเป็นตัวเราของเราอยู่ในความรู้สึกครับ


    ความจริงความเป็นไตรลักษณ์ปรากฏอยู่แล้วครับ แต่ปัญญาที่จะเห็นยังไม่ปรากฏขึ้น เพราะมากไปด้วยสมาธิ ที่เป็นหนึ่งเป็นตัวตนของตนอยู่เสียมากกว่า ซึ่งยังขาดการพัฒนาสติและปัญญาขึ้นมาครับ.
    และพอมาเจริญสติเพิ่มขึ้น ปัญญาก็จะปรากฏชัดเจนขึ้นครับ.

 
 

ตอบโดย: Vicha 03 ก.ค. 52 - 13:31


ต่อไปก็จะเป็นการบอกข้อมูลตามที่คุณ อัญญาสิ ต้องการ

อ้างอิง
อยากจะเรียนถามคุณวิชา และท่านอื่นๆ ด้วยค่ะ
ว่าเคยฝึกอานาปานสติจนถึงฌานขั้นสูงๆ บ้างหรือไม่คะ
อยากจะทราบว่าในแต่ขั้น มีอาการอย่างไรบอกให้ทราบ
อยากจะฟังประสบการณ์ตรงน่ะค่ะ


   ต่อไปนี้เป็นข้อมูลนะครับ เพราะผมเรียนมาทางวิทยาศาสตร์  เรื่องข้อมูลดิบผมจึงเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา  ไม่ใช่เป็นอีโก้หรืออะไรที่ผิดไปจากธรรมดา  เป็นข้อมูลการศึกษาและเรียนรู้ ธรรมดานี้เอง.

   และเน้นย้ำว่า ข้อมูลนี้เป็นสภาวะของ อานาปานสติ ที่ควบคู่กับ สติปัฏฐาน 4 แบบ "หนอ"  ต่างกับของคุณระนาด ที่เป็นอานาปานสติ ที่เป็นสมถะล้วน ก่อนที่จะปฏิบัติเจริญสติ    มีสภาวะดังนี้

   หมายเหตุ สภาวะแวดล้อมของแต่ละท่านไม่เหมือนกัน แต่สภาวะของขณะเกิดสมาธิจะคล้ายเคียงกัน  แต่เนื่องจากผมปฏิบัติทั้งวิปัสสนาญาณและฌานเกิดขึ้นควบคู่กันไปจึงจะแตกต่างกันบ้าง กับผู้ที่ปฏิบัติได้ฌานล้วนๆ.

************************************
         ในช่วงวันสองวันแรกก็ยังมีปัญหาระหว่างยุบหนอ-พองหนอ กับสติที่จมูกดูลมหายใจอยู่พอถึงวันที่ 3 จึงปลงใจได้ว่า ยุบหนอ-พองหนอไม่ต้องภาวนา ดูลมหายใจเหมือนเดิม และภาวนาอย่างอื่นเช่น นั่งหนอ-ถูกหนอ เจ็บหนอ คิดหนอ เดินจงกลม คืออะไรเด่นชัดที่สุดภาวนาสิ่งนั้นให้ทันเมื่อความกังวลเริ่มคลายจึงภาวนาสบายขึ้น ตัวเริ่มเบา มีอยู่ช่วงหนึ่งขณะนั่งกรรมฐานกำลังดูลมหายใจกระทบท้องอยู่เกิดตัวเบาสว่างนวล เหมือนปุยเมฆ มีความสุขปีติหูยังได้ยินเสียงภายนอกอยู่แต่เบามากสักพักหนึ่งมีเสียงกระสิบใสตรงทีจิตว่า "ให้พยายามทำต่อไป อย่าได้หยุด" หลังจากนั้นอีกประมาณ 10 หรือ 20 นาที ก็เป็นเวลาช่วงพักกรรมฐาน ความจริงเวลาพักกรรมฐาน ข้าพเจ้าก็ยังกำหนดภาวนาอยู่ทุกเวลา
************************************

  อธิบาย ตรงที่ระบายสีแดงนั้น อุคหนิมิต และอุปจารสมาธิ ของ อานาปานสติ ปรากฏขึ้น

************************************
พอวันที่ 7 หลังจากพักกรรมฐานช่วง 20.00 น เป็นเวลาที่เตรียมตัวอาบน้ำข้าพเจ้าเห็นว่าช่วงนั้นมีคนใช้ ห้องน้ำกันมาก จึงทำกรรมฐานรอไปเรื่อยๆ แล้วเอนกายลงนอนแต่กำหนดภาวนาอยู่ ความรู้สึกก็หายไปมารู้อีก ครั้งคล้ายเป็นนิมิตที่ชัดเจน เห็นพระอายุประมาณ 50 ผิวขาวท้วมกำลังเดินขึ้นกุฏิ ความรู้สึกก็ได้น้อมมาที่จิต ของตนเองและคำนึงขึ้นว่า เป็นพระนี้ดีหนอถ้าไม่มี ราคะ โทสะ โมหะ จะอยู่อย่างสงบสุข หลังจากนั้นจิต ก็มีความรู้สึกเต็ม แต่ไม่ได้รู้ที่ร่างกาย แล้วรวมตัวดิ่งลงภวังค์ลึก ถอยขึ้นมารับความรู้สึกเหมือนเดิมแล้ว รวมตัวลงภวังค์ลึกไปอีก เป็นอยู่ 3 ครั้ง จึงขึ้นมารับรู้ทั้งตัวทันทีทันใด หลังจากนั้นร่างกายทุกส่วน ก็สะบัดอย่าง รวดเร็วติดต่อกันหลายครั้ง คล้ายปลาที่โดนตีหัว ต่อจากนั้นจิตใจวางเฉยมาก และไม่สนใจเรื่องที่ผ่านมา
************************************

  อธิบาย  คำว่า "กำหนดภาวนาอยู่" คือขณะช่วงนั้นมีสติรู้ชัดที่ปลายจมูกรู้ลมกระทบออกและเข้า พร้อมกับพิจารณาเห็นตามความจริงว่า "ไม่เทียงเป็นทุกข์ " เมื่อหายใจเข้า และ "ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน" เมื่อหายใจออกโดยมีสติตั้งที่ปลายจมูกเป็นหลัก และเมื่อหายใจเข้าต้องให้พิจารณาเห็นว่าลมไม่เที่ยงจริงต้องเปลี่ยนไปเป็นทุกข์คือทนอยู่ไม่ได้  เมื่อหายใจออก พิจารณาเห็นว่า ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนจริงๆ ยึดถือไม่ได้ ส่วนคำภาวนาอย่างอื่นก็ตามแบบของคณะ 5 ทุกอย่าง
      ตรงที่ระบายสีแดง เป็นสภาวะมีกำลังเท่ากับปฐมฌานและเป็น สัมมสนญาณ (วิปัสสนาญาณที่ 3)

      หลังจากนั้น วิปัสสนูกิเลส ก็บังเกิดขึ้นดังนี้.

        1. มีปีติบังเกิดขึ้นอย่างมากมายคล้ายระลอกคลื่นที่กระทบฝั่ง นอนไม่หลับต้องนั่งตัวโยกเพราะปีติทั้งคืน
        2. ดวงตาเริ่มมองเห็นรัศมีจากคนทั่วไป และรูปพระต่างๆ ในขณะปกติไม่ใช่ขณะนั่งสมาธิหลับตา รัศมีของแต่ละคน นั้นแตกต่างกันตามระดับสติและสมาธิ
        3. นอนกำหนดอยู่พอเคลื่อนลงภวังค์ กายในเริ่มแยกจากร่างกายออกมา พอรู้ตัวก็รีบเข้าร่างกายตัวเองตามเดิม
        4. มีญาณรู้ กับเหตุการณ์ที่ปรากฏได้รวดเร็ว
        5. เริ่มมีสิ่งไม่ใช่คนมาสัมผัส
        6. กำหนดภาวนาแล้ววูบหายไป หรือรวมตัวกันแล้ววูบหายไป
        7. มีปีติและความตื่นตัวหล่อเลี้ยงอยู่ตลอด

     ทำให้หลงไปกับวิปัสสนูกิเลส เกือบ 2 เดือน. แต่ในขณะช่วงที่หลงอยู่ก็พอมีสติเตือนตนอยู่เป็นระยะ ว่า ยังทุกข์อยู่นะ กิเลสยังปรากฏมาอยู่นะ แต่ต้านความหลงที่พิศดารนั้นยังไม่ได้  แต่สุดท้ายเมื่อรู้ตัวว่าทั้งหมดนั้น เราหลงอยู่เพราะยึดมั่นถือมั่นอยู่ จึงคลายความหลงยึดนั้นไปเสีย ไม่ไปสนใจ.
      สมาธิและวิปัสสนาญาณ ก็เจริญขึ้น.

*****************************************
โดยให้บวชพร้อมกันกับนาคอื่นอีก 6 นาค ต้องรอไปอีก 7-8 วัน และระหว่างที่รอข้าพเจ้าก็ทำกรรมฐานต่อ โดยพิจารณาลมหายใจตามที่กล่าวมา มีเหตุการณ์ในตอนหนึ่งขณะนอนพิจารณาดูลมหายใจอยู่ ความรู้สึกตัวก็หายไปเหลือแต่จิตอย่างเดียว สว่างนวลมีปีติเล็กๆ มีสุขเด่นกว่า ทรงอยู่พักใหญ่แล้วถอนมารู้ทั่วตัว

แล้วเริ่มกำหนดภาวนาใหม่ ก็มีอาการเหมือนเดิมครั้งนี้ใสกว่าเก่า มีปีติสุขละเอียดมากกว่าเก่า ทรงอยู่นานกว่าแล้วถอยออกมาปกติ แล้วก็ไม่พยายามทำต่อเพียงแต่ทรงอารมณ์กรรมฐานไว้ จนถึงวันที่ได้บวช

*****************************************

อธิบาย 1.ตรงที่ระบายสีแดงนั้น วิตก ไม่มีเหลืออยู่เลย เหลือจิตอย่างเดียวไม่มีกายสว่างนวล มีปีติสุข เป็น ฌานที่ 2 ของ อานาปาสนสติ

อธิบาย 2.ตรงที่ระบายสีน้ำเงิน  วิจาร ไม่มีเหลืออยู่เลย เหลือจิตอย่าเดียวสว่างสดใสยิ่งกว่า มีปีติสุขละเอียดกว่าที่ระบายสีแดงมาก ทรงอยู่นานกว่า เป็น ฌานที่ 3 ของอานาปานสติ.

    หลังจากนั้นจิตรวมตัวพร้อมมีสติวิ่งตามรู้พร้อมด้วยคำภาวนาสติปฏิบัติ 4 แบบหนอ เข้าไปเท่าทันช่วงนั้นๆ และวูบหรือลงภวังค์ ก็ปรากฏขึ้นมาให้เห็น

   เป็นอันว่าข้อมูลพื้นฐานที่เป็นข้อมูลดิบ ผมได้เสนอให้คุณ อัญญาสิ ศึกษาแล้วนะครับ.

 

ตอบโดย: Vicha 03 ก.ค. 52 - 16:53


อ้างอิง (Vicha @ 03 ก.ค. 52 - 13:31)


อ้างอิง
ระนาด

 ผมไม่เห็นไตรลักษณ์ แม้ว่าจะมีการเกิดและดับ ... และผมก็เห็นแต่ความเป็นตัวเราของเราอยู่ในความรู้สึกครับ


  คุณวิชา
  ความจริงความเป็นไตรลักษณ์ปรากฏอยู่แล้วครับ แต่ปัญญาที่จะเห็นยังไม่ปรากฏขึ้น เพราะมากไปด้วยสมาธิ ที่เป็นหนึ่งเป็นตัวตนของตนอยู่เสียมากกว่า ซึ่งยังขาดการพัฒนาสติและปัญญาขึ้นมาครับ.
    และพอมาเจริญสติเพิ่มขึ้น ปัญญาก็จะปรากฏชัดเจนขึ้นครับ.



อ๋อ.....มิน่า ..... ทำไมผมจึงไม่เห็นไตรลักษณ์ทั้งๆที่ผมเห็นเกิดและดับได้แล้ว  ขอบคุณคุณวิชามากครับ

                   -------------------------------------

ขอรบกวนเรียนถามคุณวิชาว่า  .. ตอนที่คุณวิชาเห็นไตรลักษณ์ได้แล้ว  ทำไมคุณวิชาจึงยังเกิดวิปัสสนูปกิเลสครับ   ในเมื่อตอนนั้นคุณวิชาก็เห็นได้ว่า...วิปัสสนูปกิเลสเป็นสภาวะธรรมอันหนึ่งที่ไม่ใช่เป็นของๆเรา  ไม่ใช่ตัวเรา    วิปัสสนูปกิเลสก็ไม่น่าจะก่อปัญหาอะไร ( ผมอยากทราบเพื่อผมจะได้ระมัดระวัง   ไม่ให้ตัวเองผิดพลาดแบบเดียวกันครับ )
 

ตอบโดย: ระนาด 03 ก.ค. 52 - 18:01


ดูเหมือนง่ายนะครับ  ขอบคุณคุณVichaครับ ที่ตอบทั้งหลักการและส่วนตัว
เจตนาผมอยากให้คุณVichaตอบอย่างไรก็ได้ครับเพื่อให้ผู้ติดตามการสนทนาได้วัดผลประมวลผล(วิมังสา)เพื่อยังฉันทะให้ยิ่งๆขึ้นครับ

จาก เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน สู่ ถ้ารู้............(กู).......ทำไปนานแล้ว

http://larndham.net/index.php?showtopic=34177&st=16

อย่างที่คุณVichaบอกครับแม้ไม่บรรลุ แต่พอถึงญาณที่๓ คนที่ปฏิบัติก็เป็นคนดีของสังคมครับ

สังคมตอนนี้กระหายที่จะรู้ใช่ไหมครับ?

ดูกรจุนทะ เหตุแห่งธรรมเครื่องขัดเกลา เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งจิตตุปบาทเราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งการหลีกเลี่ยง เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งความเป็นเบื้องบน เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งความดับสนิท เราได้แสดงแล้ว ด้วยประการฉะนี้ ดูกรจุนทะ กิจอันใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์ เอ็นดูอนุเคราะห์ แก่เหล่าสาวกจะพึงทำ กิจนั้นเราทำแก่เธอทั้งหลายแล้ว ดูกรจุนทะ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจเถิด อย่าประมาทอย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลังเลย นี้เป็นคำสอนของเราสำหรับเธอทั้งหลาย ฉะนี้แล.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=1237&Z=1517
ผมจะจดจำพระสูตรนี้ไว้ครับ ว่าฌานเพียงแค่ความสงบแต่พิจารณาธรรมเครื่องขัดเกลากิเลสสำคัญกว่าครับ

รบกวนถามคุณVichaครับว่า ที่พระพุทธเจ้าเอ็นดูเราสั่งสอนเรื่องการเกิดของจิต เบื้องต้นเราควรรู้อะไรบ้างครับ? และนำประยุกต์ตั้งแต่เริ่มที่รู้กายสังขารหรือเปล่าครับ?

 

ตอบโดย: damrong121 03 ก.ค. 52 - 20:56


จาก คห ข้างบนที่คุณวิชาแนะนำเรื่องการปรับพละ ๕ อินทรีย์ ๕
เลยทำให้นึกถึงโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ซึ่งเป็นธรรมอันเกื้อกูลแก่อริยมรรค
โพธิปักขิยธรรม ๓๗ มีองค์ประกอบคือ

1. สติปัฏฐาน ๔
http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=182

2. สัมมัปปธาน ๔
http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=156

3. อิทธิบาท ๔
http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=213

4. อินทรีย์ ๕
5. พละ ๕
http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=228

6. โพชฌงค์ ๗
http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=281

7. มรรคมีองค์ ๘
http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=293

เอามาฝากให้พิจารณา ตรวจสอบการปฏิบัติว่าสิ่งใดเรายังไม่ได้ทำ
สิ่งใดที่ยังพร่องอยู่  จะได้ปรับปรุงกันต่อไปค่ะ
   

ตอบโดย: อัญญาสิ 03 ก.ค. 52 - 22:29


สวัสดีครับพอดี

พรุ่งนี้ผมต้องไปปฏิบัติที่วัดเป็นเวลา 2 วันครับ จึงขอตอบสั้นๆ นะครับ

   ขอตอบคำถามของคุณระนาดก่อนนะครับ.

อ้างอิง
ขอรบกวนเรียนถามคุณวิชาว่า  .. ตอนที่คุณวิชาเห็นไตรลักษณ์ได้แล้ว  ทำไมคุณวิชาจึงยังเกิดวิปัสสนูปกิเลสครับ   


เพราะยังเห็นไตรลักษณ์เพียงไม่กีเปอรเช็นตร์ แต่ความอยากในนิพพานจึงหลงญาณ ว่าสัมมสนญาณ เป็นมรรคผลนิพพาน เป็นดังนี้.
 
  เมื่อสัมมสนญาณบังเกิดขึ้นพร้อมกับกำลังของปฐมฌาน จึงเสมือนกับการผลิกจิตใจไปจากเดิมที่เดียว ด้วยสภาวะธรรมที่ชัดเจนอย่างนั้น.

  นึกขึ้นว่า เอะ ! ที่ผ่านมาคืออะไร? จึงคิดเข้าข้างตนเองว่าเป็นมรรคผลนิพพาน ก็บังเกิดตัวร้อนวูบวาบด้วยความดีใจ

    วิปัสสนูกิเลสจึงเริ่มทย่อยเกิดขึ้น ด้วยกำลังสมาธิระดับฌาน

  เมื่อข้าพเจ้าสามารถเห็นรัศมีจากผู้อื่นทำให้ข้าพเจ้ามีความหลงในตัวเองมาก ว่าเป็น พระอริยะไปแล้ว  

    จึงเป็นการหลงญาณ อย่างสมบูรณ์  แต่หาได้ไปประกาศกับคนทั่วไป. ใจมันหลงยึดไปเอง.
     จนความทุกข์บังเกิด กิเลสปรากฏชัด จึงได้สติว่าตนเองหลงไปเสียแล้ว.

    คุณระนาดครับการเห็นไตรลักษณ์นั้นเริ่มเห็นตั้งแต่วิปัสสนาญาณที่ 2 แล้วครับ

     และการเห็นไตรลักษณ์  นั้นเห็นได้สามแบบคือ

     1.เห็นความไม่เที่ยง คืออนิจังนุปัสสนา
     2.เห็นความทุกขัง    คือ ทุกขะนุปัสสนา
     3.เห็นอนัตตา หรือ ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ หรือไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน คือ อนัตตานุปัสสนา


      และ การเห็นไตรลักษณ์ใน สัมมสนญาณ เป็นการเห็นไตรลักษณ์เพียง 50 กว่า% เท่านั้นเอง ยังอยู่ในเขตของจินตมยปัญญาเสียมากกว่า ซึ่งยังหลงญาณ หลงในวิปัสสนูกิเลสได้อยู่ครับ.
 

ตอบโดย: Vicha 04 ก.ค. 52 - 00:13


จากคำถามของคุณ damrong121

อ้างอิง
รบกวนถามคุณVichaครับว่า ที่พระพุทธเจ้าเอ็นดูเราสั่งสอนเรื่องการเกิดของจิต เบื้องต้นเราควรรู้อะไรบ้างครับ? และนำประยุกต์ตั้งแต่เริ่มที่รู้กายสังขารหรือเปล่าครับ?


ผมตอบสั้นๆ นะครับเพราะดึกแล้ว.

  เบื้องต้นเราควรรู้ ศีล และ การมีสติรู้ตัวทั่วพร้อม แล้วลงไปที่รายละเอียดของ ขันธ์ 5 และ อุปทานขันธ์  สรุปลงที่ รูป กับ นาม หรือกายสังขารกับใจนั้นเอง กับความเป็นไตรลักษณ์. ซึ่งนำไปสู่สติปัฏฐาน 4. คือ
      1.มีสติพิจารณากายในกาย
      2.มีสติพิจารณาเวทนาในเวทนา
      3.มีสติพิจารณาจิตในจิต
      4.มีสติพิจารณา ธรรมในธรรม.
 

ตอบโดย: Vicha 04 ก.ค. 52 - 00:27


อ้างอิง (Vicha @ 04 ก.ค. 52 - 00:13)


อ้างอิง
ระนาด.....ขอรบกวนเรียนถามคุณวิชาว่า  .. ตอนที่คุณวิชาเห็นไตรลักษณ์ได้แล้ว  ทำไมคุณวิชาจึงยังเกิดวิปัสสนูปกิเลสครับ  


วิชา.....เพราะยังเห็นไตรลักษณ์เพียงไม่กีเปอรเช็นตร์ แต่ความอยากในนิพพานจึงหลง ว่าสัมมสนญาณ เป็นมรรคผลนิพพาน


       และ การเห็นไตรลักษณ์ใน สัมมสนญาณ เป็นการเห็นไตรลักษณ์เพียง 50 กว่า%  ยังอยู่ในเขตของจินตมยปัญญาเสียมากกว่า ซึ่งยังหลงญาณ หลงในวิปัสสนูกิเลสได้อยู่ครับ.


อ๋อ.....เป็นแบบนี้เอง  ตัวผมก็จะระมัดระวัง  ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของวิปัสสนูปกิเลส

คุณวิชามีอะไรจะแนะนำแก่ผมบ้างไหมครับว่า   " นักภาวนาควรจะระมัดระวังอย่างไร "  ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของวิปัสสนูปกิเลส

ขอบคุณ  คุณวิชามากครับ  
 

ตอบโดย: ระนาด 04 ก.ค. 52 - 05:48


สวัสดีครับคุณระนาด

     พอดีผมพึ่งกลับจากพาทั้งครอบครัวไปปฏิบัติธรรมที่ชลบุรีมาถึงบ้าน

   จากคำถามของคุณระนาด
อ้างอิง
คุณวิชามีอะไรจะแนะนำแก่ผมบ้างไหมครับว่า   " นักภาวนาควรจะระมัดระวังอย่างไร "  ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของวิปัสสนูปกิเลส


    วิปัสสนูกิเลส  เป็นสภาวะธรรมที่ปรากฏขึ้นบอกให้ทราบว่า ได้ปฏิบัติวิปัสสนามาถึง สัมมสนาญาณ (วปัสสนาญาณที่ 3) แล้ว ซึ่งผู้ที่ปฏิบัติธรรมจะต้องผ่านไม่มากก็น้อย ตามวาสนาแห่งตน
    แต่เมื่อเกิดความยึดมั่นถือมั่นก็ทำให้เกิดความหลงเพราความพิศดารนั้นได้ง่าย ก็คงได้ยินข่าวของผู้ที่ปฏิบัติธรรมหลง วิปัสสนูกิเลสให้ทราบเป็นระยะ
    ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา ของผู้ปฏิบัติธรรมบางท่านหรือส่วนหนึ่ง แต่หลังจากนั้นถ้าเป็นผู้มีสติเตือนตน เห็นกิเลสตนที่เป็นทุกข์และสับสน เกิดจากวิปัสสนูกิเลส ก็จะรู้ตัวว่าตนได้หลงไปแล้ว ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยกัลยามิตรที่มีประสบการณ์เป็นผู้รู้มาก่อนหรือครูบาอาจารย์นั้นเอง
    แต่จะผิดจากธรรมดาถ้าผู้นั้นมีความยึดมั่นถือมั่นด้วยอัตตาที่สูงมากๆ ไม่ฟังความทุกข์สับสนที่เกิดจากกิเลสตน แม้กระทั้งคำของกัลยามิตร จนหลงผิดแบบวิปลาสไปก็พอมีให้เห็นอยู่บ้างก็เป็นกรรมตามที่เขาได้กระทำเอง

   สรุป วิปัสสนูกิเลส ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ต้องกลัวหรือน่ากลัว เพราะเมื่อปรากฏให้ทราบ ก็หมายถึงได้เจริญวิปัสสนาถึง สัมมสนญาณแล้ว  สิ่งที่น่ากลัวคือความยึดมั่นถือมั่นจนเป็นอัตตาที่เหนียวแน่นหลงผิดไปกับสิ่งพิศดารนั้น.

 

ตอบโดย: Vicha 05 ก.ค. 52 - 15:39


  อนุโมทนาบุญจากการปฏิบัติของคุณVichaด้วยครับ อนุโมทนาด้วยความอัศจรรย์ครับ

ดูกรปหาราทะ มหาสมุทรลาด ลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ ไม่โกรกชันเหมือนเหว ฉันใด ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยตรง ดูกรปหาราทะ ข้อที่ในธรรมวินัยนี้มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยตรง นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๑ ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯ

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=4030&Z=4163

น เตน นิพฺพานธาตุยา อูนตฺตํ วา ปูรตฺตํ วา

เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่เสด็จอุบัติขึ้น แม้ตลอดอสงไขยกัป แม้สัตว์ตนหนึ่งก็ไม่อาจปรินิพพานได้ แม้ในกาลนั้นก็ไม่อาจกล่าวได้ว่า นิพพานธาตุว่างเปล่า แต่ในพุทธกาล ในสมาคมหนึ่งๆ สัตว์ทั้งหลายยินดีอมตธรรมนับไม่ถ้วน แม้ในกาลนั้นก็ไม่อาจกล่าวได้ว่า นิพพานธาตุเต็ม

     

ตอบโดย: damrong121 05 ก.ค. 52 - 23:48


_/\_ คห ก่อนหน้าของคุณวิชาค่ะ

อยากจะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของตัวเอง  ในช่วงที่ภาวนาแล้วมีนิมิตเกิดมากๆ

ตอนที่เริ่มภาวนา ดิฉันได้เริ่มด้วยการภาวนาแบบยุบหนอ พองหนอ
(ตามแบบเจ้าคุณโชดก วัดมหาธาตุ)
อาจารย์ที่สอนได้สอนว่า เมื่อมีนิมิตเกิดขึ้น  เช่น นิมิตเกิดทางจักษุวิญญาณ
เห็นเป็นภาพต่างๆ  ให้มีสติรู้ว่าเห็น  พร้อมบริกรรมว่า เห็นหนอ
ถ้านิมิตเกิดทางทวารอื่นๆ ให้มีสติรู้ไปตามอาการของทวารนั้นๆ
พร้อมบริกรรมไปด้วย เช่น กลิ่นหนอ
ถ้านิมิตเกิดเป็นความรู้สึกที่ใจ  ก็ให้รู้ไปตามอาการที่เกิด
ถ้าบริกรรมไม่ถูกก็อาจจะบริกรรมว่า รู้หนอ

การบริกรรมนั้นแล้วแต่ความถนัด  สำหรับตัวเอง ในช่วงนั้นได้บริกรรมไปด้วย
ซึ่งตอนนั้นช่วยให้ตัวเองมีสติได้ดี ไม่หลงไปนาน  และตอนนั้นนิมิต
เกิดกับตัวเองมาก, นิมิตมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว  และปรากฎเป็นสิ่งน่ากลัว
ซึ่งถ้าไม่มีคำบริกรรมช่วยยึดเหนี่ยวไว้  ก็ไม่ทราบว่าจะมีสติเพียงพอที่จะผ่าน
มาได้หรือไม่  เพราะตอนนั้นเพิ่งเริ่มภาวนาได้ไม่นาน  แต่ต่อมาเมื่อภาวนา
มานานขึ้น สติดีขึ้น  เข้าใจธรรมชาติของนิมิต  ก็ไม่ค่อยได้บริกรรมแล้ว
บวกกับหลังๆ มา นิมิตก็เกิดน้อยลง  ดิฉันก็เพียงแค่รู้ไปเฉยๆ

สรุป หลักการคือ เมื่อนิมิตเกิดขึ้นไม่ว่าจะที่ทวารใด ให้มีสติรู้อาการของทวารนั้นๆ
ให้มีสติอยู่กับอาการปัจจุบันของกาย/ใจ
 ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นจริงๆ
เช่น เราเห็นภาพนั้น มีการเห็นเกิดขึ้นจริง  แต่เรื่องที่เราเห็นนั้นไม่จริง
ถ้าเราตามนิมิตไปก็เป็นการเผลอไปจากกายใจ  แล้วนิมิตก็สามารถที่จะเปลี่ยน
ไปได้เรื่อยๆ  ถ้าเราเผลอตามนิมิตไป   เราก็อาจหลงยึดเป็นจริงเป็นจังได้
แต่ถ้าได้หลงเข้าไปแล้ว ให้มีสติรู้ว่าหลง  แล้วกลับมาดูกายดูใจต่อไป

วิธีนี้อาจจะต่างกับที่หลายๆ ท่านภาวนาอยู่  ถือว่าบอกเล่าก็แล้วกันค่ะ
แต่หลักการก็อันเดียวกัน      

ตอบโดย: อัญญาสิ 06 ก.ค. 52 - 08:19


สวัสดีครับคุณ damrong121 และคุณอัญญาสิ

   สนทนากับคุณอัญญาสิ...

อ้างอิง
       ตอนที่เริ่มภาวนา ดิฉันได้เริ่มด้วยการภาวนาแบบยุบหนอ พองหนอ
(ตามแบบเจ้าคุณโชดก วัดมหาธาตุ)
อาจารย์ที่สอนได้สอนว่า เมื่อมีนิมิตเกิดขึ้น  เช่น นิมิตเกิดทางจักษุวิญญาณ
เห็นเป็นภาพต่างๆ  ให้มีสติรู้ว่าเห็น  พร้อมบริกรรมว่า เห็นหนอ
ถ้านิมิตเกิดทางทวารอื่นๆ ให้มีสติรู้ไปตามอาการของทวารนั้นๆ
พร้อมบริกรรมไปด้วย เช่น กลิ่นหนอ
ถ้านิมิตเกิดเป็นความรู้สึกที่ใจ  ก็ให้รู้ไปตามอาการที่เกิด
ถ้าบริกรรมไม่ถูกก็อาจจะบริกรรมว่า รู้หนอ

การบริกรรมนั้นแล้วแต่ความถนัด  สำหรับตัวเอง ในช่วงนั้นได้บริกรรมไปด้วย
ซึ่งตอนนั้นช่วยให้ตัวเองมีสติได้ดี ไม่หลงไปนาน  และตอนนั้นนิมิต
เกิดกับตัวเองมาก, นิมิตมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว  และปรากฎเป็นสิ่งน่ากลัว
ซึ่งถ้าไม่มีคำบริกรรมช่วยยึดเหนี่ยวไว้  ก็ไม่ทราบว่าจะมีสติเพียงพอที่จะผ่าน
มาได้หรือไม่  เพราะตอนนั้นเพิ่งเริ่มภาวนาได้ไม่นาน  แต่ต่อมาเมื่อภาวนา
มานานขึ้น สติดีขึ้น  เข้าใจธรรมชาติของนิมิต  ก็ไม่ค่อยได้บริกรรมแล้ว
บวกกับหลังๆ มา นิมิตก็เกิดน้อยลง  ดิฉันก็เพียงแค่รู้ไปเฉยๆ

สรุป หลักการคือ เมื่อนิมิตเกิดขึ้นไม่ว่าจะที่ทวารใด ให้มีสติรู้อาการของทวารนั้นๆ
ให้มีสติอยู่กับอาการปัจจุบันของกาย/ใจ  ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นจริงๆ
เช่น เราเห็นภาพนั้น มีการเห็นเกิดขึ้นจริง  แต่เรื่องที่เราเห็นนั้นไม่จริง
ถ้าเราตามนิมิตไปก็เป็นการเผลอไปจากกายใจ  แล้วนิมิตก็สามารถที่จะเปลี่ยน
ไปได้เรื่อยๆ  ถ้าเราเผลอตามนิมิตไป   เราก็อาจหลงยึดเป็นจริงเป็นจังได้
แต่ถ้าได้หลงเข้าไปแล้ว ให้มีสติรู้ว่าหลง  แล้วกลับมาดูกายดูใจต่อไป


  อัญญาสิ ปฏิบัติถูกต้องแล้วครับ ตามการเจริญสติ ให้บริบูรณ์ขึ้นเจริญขึ้น ตามการปฏิบัติตามที่คุณ อัญญาสิ เสนอตามแนวของการปฏิบัติ "ยุบหนอ พองหนอ".

   แม้แต่ผมในปัจจุบัน ก็ยังใช้การบริกรรมแบบ "หนอ" อยู่บ้างนะครับ เพื่อปรับสติให้เจริญขึ้น  ในบางครั้ง ขณะที่ปฏิบัติกรรมฐานอยู่ โดยการบริกรรมภาวนาตามสภาวะธรรมที่ปรากฏขึ้นกับกายและใจ จนสงบทิ้งความรูสึกภายนอกทั้งหมด แล้วบังเกิดนิมิตขึ้นแบบทยอยมาเรื่อยๆ  ก็จะเกิดสภาวะธรรมสองกรณีอย่างนี้.

    กรณีที่ 1.ถ้าไม่บริกรรมภาวนา แต่เพ่งให้สติเจริญขึ้นเรื่อยๆ ในการรู้ใจ(รู้ความรู้สึกล้วนๆ) โดยไม่จงใจในภาพที่ปรากฏ ถ้าปรากฏชัดก็ชัดถ้าไม่ชัดก็แล้วไปไม่ไปจงใจ เพียงแต่ให้สติเจริญขึ้นเพ่ง รู้ รู้ๆ   ไปเรื่อยๆ ไม่ต้องบริกรรมคำภาวนา เมื่อสติและพละอื่นๆ เพิ่มขึ้นถึงจุดหนึ่ง นิมิตที่เกิดขึ้นและความรู้สึกจะโดนบล็อก หยุดนิ่งสักพักแล้ว ความรู้สึกถอยกลับมารับรู้ความรู้ในส่วนของร่างกายตามปกติ.


     กรณีที่ 2.ถ้าบริกรรมคำภาวนา ให้มีสติเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เช่น บริกรรมภาวนาว่า "รู้หนอ"ๆ ๆ ๆ ๆ  คือรู้สภาวะอารมณ์ความรู้สึกที่เกิด สลับ รู้นิมิตที่ทะยอยปรากฏแต่ไม่ไปจงใจหรือใสใจในนิมิตที่ทะยอยเกิดขึ้น เมื่อสติและพละอื่นๆ เจริญถึงระดับหนึ่ง ทั้งนิมิตที่ปรากฏและความรู้สึกที่เป็นอยู่นั้นก็ดับทันที่ นิ่งหายไป แล้วมารู้ที่กายชัดเจนตามปกติ.

   หมายเหตุ ในขณะช่วงนิ่ง หรือดับและขึ้นมารับรู้ใจอย่างเดียวขณะหนึ่งนั้น อาจจะมีปีติอ่อนเบา หรือสุขเบาๆ หรือการวางเฉยสงบนิ่ง หล่อเลี้ยงอารมณ์อยู่

   ต่อไปก็คือปัญหาที่มีการถกเถียงกัน ในแนวการปฏิบัติของแต่ละแนว เสมือนจะขัดแย้งกัน ในการกำหนด ในการเพ่ง ในการบริกรรมภาวนา
   ซึ่งก็เป็นการขัดแย้งกัน ใน แบบ หรือ แพทเติล ที่บังเกิดขึ้นตามอุบายหรือกุศโลบายของแต่ละสำนัก ที่มีการบัญยัติแนวการปฏิบติธรรมในภายหลังที่เป็นของสำนักตน (บางที่ก็ผิดไปเข้าใจผิดเป็นแค่สมถะแต่กลับเข้าใจและยึดมั่นว่าเป็นวิปัสสนาหรือมรรคผลนิพพานก็มี)
 
   ดังนั้นเมื่อผู้ปฏิบัติ มีลักษณะการกำหนด หรือเพ่ง หรือใช้คำบริกรรมภาวนา ที่แตกต่างกัน สภาวะธรรมที่เกิดเบื้องต้นก็จะมีความแตกต่างกันบ้างเป็นเรื่องธรรมดา

   ต่อไปก็มาเข้าตามหลักอานาปานสติ ที่สนทนากันอยู่  ตามที่คุณอัญญาสิ ตั้งประเด็นไว้ เมื่อเกิดนิมิตขึ้นในการปฏิบัติ อานาปาสนสติ จะปฏิบัติ หรือจะวางการกำหนดอย่างไร.

  ซึ่งก็ต้องต่างกับแนวการปฏิบัติ ยุบหนอ-พองหนอ อยู่แล้ว เพราะเป็นแบบ หรือ แพทเติล คนละอย่างกัน และเนื่องจาก อานาปานสตินั้น เป็นแบบ สมถะและวิปัสสนา ย่อมแตกต่างกับการปฏิบัติที่เป็นวิปัสสนาล้วนๆ. ในเบื้องต้นเป็นธรรมดา.

    เมื่อมีสติรู้ชัดลมหายใจออก ลมหายใจเข้า ถึงระดับที่สงบลงและปลอดโปร่งเบา อุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตก็จะบังเกิดขึ้น(ย่อรวบรัด)  ก็จะรู้ใจที่สงบปลอดโปร่งมีปีติสุขหล่อเลี้ยง กับรู้นิมิต(อุคหนิมิตหรือปฏิภาคนิมิต)ที่ปรากฏ โดยทิ้งความรู้สึกภายนอกแทบหมดสิ้นแล้ว เมื่อผู้ปฏิบัติมีสติปัญญาดีก็จะรู้ว่า ใจที่สงบปลอดโปร่งมีปีติสุขหล่อเลี้ยง กับนิมิตที่ปรากฏ นั้นเป็นคนละอันกัน แต่สัมพันธ์และหล่อเลี้ยงกันอยู่

    เมื่อสมาธิเจริญขึ้นจนถึงจุดหนึ่ง ก็จะได้ปฐมฌาน นิมิตนั้นก็หายมีแต่ใจที่สงบนิ่งหล่อเลี้ยงด้วยวิตกวิจารปีติสุขคงอยู่ช่วงขณะหนึ่ง แล้วถอยมารับรู้สึกที่ร่างกายเป็นปกติเริ่มมีสติรู้ชัดที่ลมหายใจออกและเข้า ตามแบบของการปฏิบัติอานาปานสติ.

   แล้วคอยยกการปฏิบัติไปยังบทต่อไปของ อานาปาสนสติ ตามพุทธพจน์ ก็จะเป็นสมถะและวิปัสสนา  หรือเมื่อเจริญอานาปานสติได้สมบูรณ์ทุกบทมากๆ  สติปัฏฐาน 4 ก็ย่อมสมบูรณ์ด้วย เมื่อสติปัฏฐาน 4 สมบูรณ์ โพดชงค์ 7 ก็สมบูรณ์ ก็ย่อมบรรลุมรรคผลนิพพานได้.

   ปัญหาการถกเถียงและความไม่เข้าใจกันของบุคคลภายหลังของผู้ปฏิบัติธรรม ก็เพราะการมีทิฏฐิการยึดในแบบหรือแพทเติล ของตนของพวกตนของกล่มตนนั้นเอง

    แต่ถ็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาของสังคมแบบโลกๆ ทั่วๆ ไป เพราะ "เป็นเช่นนั้นเอง" ตามธาตุ ตามอุปนิสัยที่ปฏิบัติ  ตามความเคยชินเฉพาะ หรือตามทิฏฐิที่ถือไว้.


 

ตอบโดย: Vicha 06 ก.ค. 52 - 10:41


เพิ่งได้เข้ามาอ่านกระทู้
ทำให้รู้ว่าหนทางของเรายังอีกยาวไกล
จะมัวประมาท เดินชมนกชมไม้เล่นอยู่ไม่ได้
ขออนุโมทนากับทุกท่านที่ได้ให้ธรรมทาน
เปรียนเสมือนแสงสว่างส่องทางแด่ผู้ยังอยู่ในความมืดมิด

 

ตอบโดย: วายุภักษ์ 07 ก.ค. 52 - 15:08


ขออนุญาตเล่าประสบการณ์ปฏิบัติสติปัฏฐานแนวพอง-ยุบเมื่อ๑๔ปีก่อนให้คุณVichaแนะนำด้วยครับ

เดินจงกลม๖ระยะ ๑ชม. นั่งพอง-ยุบและไล่จุดตามร่างกาย ๑ชม.

มีการอธิฐานให้เกิดญาณต่างๆแต่ตอนนั้นเด็กครับเพิ่งจบม.ปลายไม่ทราบคำบาลีครับ

ผมจำไม่ได้ว่าเกิดวิปัสนูกิเลสหรือเปล่าแต่คิดว่าไม่น่าเกิดครับ การปฏิบัติตลอด๓๐วัน ตอนนั่งเกิดการสัปหงกไปข้างหลังอาจารย์แม่ชีให้หักก้านธูปหนึ่งครั้งต่อหนึ่งหักแล้วนำไปให้แม่ชีดูวันต่อไป อาจารย์แม่ชีบอกว่าเยอะดีครับเท่านี้ไม่บอกอะไรต่อครับ

ปฏิบัติสัก๒๕วัน เกิดเบื่อหน่ายอยากกลับบ้านไม่อยากปฏิบัติครับ บอกเพื่อนที่ร่วมปฏิบัติด้วยเพื่อนบอกให้ไปหาอาจารย์แม่ชีเลยในตอนเย็น แม่ชีก็พูดอย่างไรจำไม่ได้ครับ แต่ก็ปฏิบัติต่อ

๑๐วันหลังสุด อาจารย์อนุญาตให้เข้ากรรมห้ามอาบน้ำห้ามนอน แต่ผมนอนทุกคืนครับ

ปล.เคยเล่าประสบการณ์ในลานธรรมครั้งหนึ่งครับ แต่ครั้งนี้หวังให้คุณVichaจะช่วยแนะนำครับ ขอบคุณครับ

ปัจจุบันกำลังฝึกตามคุณVichaครับ เมื่อมีสติก็กำหนดลมหายใจ แต่คงได้แค่ขั้นแรกเท่านั้นครับ อาการที่ติดมาตั้งแต่๑๔ปีก่อนคือการยกมือไหว้กราบเบญจางคประดิษฐ์จะรู้สึกเบาเมื่อมีลมหอบมือทุกครั้งครับ ปัจจุบันยังหวังมรรคผลนิพพานครับ

     

ตอบโดย: damrong121 07 ก.ค. 52 - 23:06


สวัสดีครับ  คุณวายุภักษ์ คุณ damrong121

  สนทนากับคุณ damrong121 นะครับ.

อ้างอิง
ตอนนั่งเกิดการสัปหงกไปข้างหลังอาจารย์แม่ชีให้หักก้านธูปหนึ่งครั้งต่อหนึ่งหักแล้วนำไปให้แม่ชีดูวันต่อไป อาจารย์แม่ชีบอกว่าเยอะดีครับเท่านี้ไม่บอกอะไรต่อครับ


    การสัปหงกไปข้างหลัง ตามการปฏิบัติแบบ ยุบหนอ-พองหนอ  เรียกว่าการ ผงักไปข้างหลัง.
    ซึ่งเป็นช่วงที่สติเจริญขึ้นจนนำพละอื่นๆ พอควร ถือว่าปฏิบัติมาได้อย่างถูกต้องตามการเจริญสติแบบ ยุบหนอ-พองหนอ
    หมายความว่าสติไว สามารถพอทันในช่วงสันตติขาด หรือสะดุด ก็จะมีการผงักไปข้างหลังเบาบ้างแรงบ้างเป็นสภาวะปกติ ของการฝึกแบบ "หนอ"

    คืออยู่ในเขตของวิปัสสนาญาณที่ 3 (สัมมสนญาณ)

    ถ้าเกิดสภาวะการ เกิดดับ อย่างชัดเจน ก็จะเป็นวิปัสสนาญาณที่ 4 (อุทัพพยญาณ)  แต่เนื่องจากคุณ damrong121  กล่าวถึงการผงักอย่างเดียว จึงไม่สามารถยื่นยันได้ว่า วิปัสสนาญาณที่ 4 เกิดขึ้นแล้วหรือยัง (อาจจะเกิดขึ้นแล้วก็ได้ เพราะถ้าเกิดการผงักมากอย่างนั้น)


อ้างอิง
ปฏิบัติสัก๒๕วัน เกิดเบื่อหน่ายอยากกลับบ้านไม่อยากปฏิบัติครับ บอกเพื่อนที่ร่วมปฏิบัติด้วยเพื่อนบอกให้ไปหาอาจารย์แม่ชีเลยในตอนเย็น แม่ชีก็พูดอย่างไรจำไม่ได้ครับ แต่ก็ปฏิบัติต่อ


   การเกิดการเบื่อหน่าย จะเกิดขึ้นกับ วิปัสสนาญาณสองวิปัสสนาญาณ  คือ.
      1.เบื่อหน่ายเพราะ วิปัสสนาญาณที่ 3 หรือ สัมมสนญาณ  เบื่อหน่ายเพราะจินตมยปัญญา ถึงเรื่องทุกข์ เรื่องความไม่เที่ยง เรื่องความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน
      2.เบื่อหน่ายเพราะ วิปัสสนาญาณที่ 8  หรือ นิพพิทาญาณ  เบื่อหน่ายเพราะปัญญาเห็นรูปนาม ปรากฏเป็นไตรลักษณ์โดยตลอด ไม่ได้เกิดจากการจินตมยปัญญา เพราะปัญญาไปเห็นจริงของรูปนามที่แสดงความเป็นไตรลักษณ์ จึงเกิดการเบื่อหน่าย อยากหนี อยากพ้น บางครั้งก็พาลไม่ยากปฏิบัติไปเสีย เพราะอยากพ้นจากที่ปัญญาเห็นรูปนามนั้นๆ .
 
    แต่เนื่องจากคุณ damrong121 ไม่ได้บอกให้ทราบถึงอารมณ์อื่นๆ ที่บ่งชี้ถึงญาณที่ 5,6,7  จึงไม่สามารถกล่าวได้ว่า การเบื่อหน่ายนั้นเป็นวิปัสสนาญาณที่ 8 หรือ นิพพิทาญาณหรือเปล่าครับ.

อ้างอิง
อาการที่ติดมาตั้งแต่๑๔ปีก่อนคือการยกมือไหว้กราบเบญจางคประดิษฐ์จะรู้สึกเบาเมื่อมีลมหอบมือทุกครั้งครับ


    นี้แหละเป็นวิปัสสนูกิเลสอย่างหนึ่ง   แต่หาได้พิศดารรุนแรงมากมายนัก เหมือนเป็นเรื่องธรรมดา. (วิปัสสนูกิเลส เกิดมาตั้งแต่ง 14 ปี แล้วครับ).

    และเมื่อคุณ damrong121 ปฏิบัติตามแนว ยุบหนอ-พองหนอ ได้ดีพอควรแล้ว และมีความคุ่นเคยตั้งแต่เด็ก ก็ควรปฏิบัติแนวนี้ต่อจนกว่าจะถึงที่สุด  ไม่จำเป็นต้องมาเริ่มฝึกอานาปานสติใหม่ครับ ซึ่งจะทำให้เกิดความสับสนในการกำหนดภาวนาได้ครับ.

    จนกว่าจะปฏิบัติถึงที่สุดของ ยุบหนอ-พองหนอ แล้ว  แล้วก็มาลองปฏิบัติอานาปานสติดูจึงจะสมควรครับ.

ตอบโดย: Vicha 08 ก.ค. 52 - 09:23


ขอบคุณครับคุณVicha เป็นเช่นนั้นเอง

คงเป็นญาณ๓ครับ ที่ไม่กล่าวเพราะจำไม่ได้แล้วครับ

ได้เห็นสันตติขาดก็ทำให้ผมคิดว่าไม่เสียชาติเกิดแล้วครับ ตอนนั้นคงไม่ได้พิจารณาให้เกิดสัมปชัญญะนะครับ โชคดีครับตอนนั้นติดมหาวิทยาลัยแล้วมีเวลาว่างตั้ง๓เดือน เพื่อนชวนกันไปปฏิบัติ๙คน ๓วันออกไปหนึ่ง ๗วันออกไปอีกห้า เหลือกัน๓คนครับ  จะหาโอกาสปฏิบัติต่อครับ

สันตติขาดนี่หมายถึงสามารถเห็นภวังคจิตเช่นไหมครับ?

ส่วนปฏิบัติอานาปานสติจะไม่ครับ แค่มีสติระลึกรู้ที่ปลายจมูกหายใจเข้าออก เพราะตั้งแต่เข้าลานธรรมมาสมาชิกหลายท่านทำให้หวั่นไหวในพอง-ยุบครับ
 

ตอบโดย: damrong121 08 ก.ค. 52 - 10:41


ตอบคุณ damrong121

อ้างอิง
   สันตติขาดนี่หมายถึงสามารถเห็นภวังคจิตเช่นไหมครับ?


  กล่าวอย่างนั้นก็ได้ครับปกติสันตติ นั้นปรากฏอยู่ตลอดเวลา แต่เนื่องจากสติและปัญญายังไม่วองไวและไม่ระเอียด จึงเพียงรู้ว่ามันปรากฏต่อเนื่องโดยตลอด

   แต่เมื่อเจริญสติและปัญญาถึงระดับหนึ่ง ในบางครั้งบางขณะ สติก็จะเท่าทันกับช่วงของสันตตินั้น ก็จะทำให้เกิดการสะดุด การขาดตอน ที่ปัญญาเห็นได้ชัดเจนขึ้น.
   ถ้าตามหลักของการภาวนาแบบ "หนอ" ทั้งสติ และ คำภาวนาที่กำหนดภาวนา ก็จะตามทันพอดิบพอดี กับสันตตินั้นที่ขาด หรือสะดุด แล้วผงักไปข้างหลัง.

   แต่ถ้าผู้ที่มีสมาธิที่ดีมาก  คือมี สติ+สมาธิ ที่ดีมาก เมื่อจิตรวมลงภวังค์ สติจะตามรู้ลงไปอย่างเท่าทันกับภวังค์นั้นพร้อมกับคำภาวนา ที่กำหนดภาวนา นั้นๆ  จนสะดุดหรือจนขาดตอน หรือตกภวังค์หลับไป.

    ซึ่งผมเองก็เชียวชาญในการปฏิบัติแบบหนอ มาอย่างดี ถึงดีมาก

    แต่จุดมุ่งหมายในการที่ผมสนทนาเรื่องอานาปาสนาติเป็นส่วนมาก  เพราะผู้มีปัญหาเรื่องอานาปานสตินั้นมาก เนื่องจากได้ปฏิบัติมานานจนเคยเชิน เมื่อไปปฏิบัติแบบหนอก็จะเกิดปัญหาดังนี้
    1. ปัญหาการกำหนดในการภาวนา ซึ่งแตกต่างกัน ในการปรับให้เป็นวิปัสสนา.
    2. ปัญหาของการไม่เข้าใจโดยคิดว่าอานาปาสนสตินั้นเป็นเพียงสมถะ.
 
    และเมื่อผมได้ศึกษาพระไตรปิฏกอย่างดีขึ้นตามพุทธพจน์ ที่พระพุทธเจ้าทรงยืนยันไว้ ในเรื่องการปฏิบัติอานาปานสติอย่างสมบูรณ์ ย่อมทำให้สติปัฏฐาน 4 สมบูรณ์ ย่อมทำให้โพดชงค์ 7 สมบูรณ์ และสามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้.

    ผมจึงต้องกลับไปศึกษาปฏิบัติตรวจสอบดูกับสภาวะธรรมที่เคยค้างไว้เมื่อสมัยปี 2526 แล้วยุติไว้เพียงแค่นั้น จึงได้เห็นว่า อานาปานสติ ก็สามารถทำให้วิปัสสนาญาณเจริญได้ตามปกติ แต่ปรากฏเป็นอารมณ์กรรมฐานที่ชัดเจนและอาจจะหยายหรือรุนแรงกว่า ในวิปัสสนาญาณที่ 3 - 10 เพราะการที่มีสามาธิมากนั้นเอง.
 

ตอบโดย: Vicha 08 ก.ค. 52 - 11:16


เรียน คุณวิชา และคุณอัญญาสิ และเพื่อนๆร่วมทางทุกท่าน
ดิฉันฝึกดูจิตแนวทางหลวงพ่อปราโมทย์
เจริญสติได้ดีตอนมีทุกข์มากๆ
หลังจากฝึกมา 3 ปีกว่า ทุกข์ได้น้อยลง ศีลก็สมบูรณ์ขึ้น
ทำให้เกิดความประมาท การรู้ตัวก็ลดลงมาก
จะรู้ตัวได้ก็เวลาที่จิตใจมีความหนักอึ้ง จิตจะสลัดเรื่องนั้นทิ้งทันที (เป็นส่วนใหญ่)
แต่การนั่งสมาธิ เดินจงกรมทำได้น้อยมาก เพราะจิตไม่ชอบ ทำแล้วจะอึดอัด
และไม่ค่อยรู้ตัว  แต่ถ้าล้มตัวลงนอน จิตจะเบาสบาย และรู้กายใจได้ดี
แต่มักจะหลับในเวลาอันรวดเร็ว
รู้ว่าเราเป็นคนที่ไหลไปตามกิเลสได้ง่ายมาก และขาดความอดทน
พอได้เข้ามาอ่านที่หลายท่านตอบในกระดานก็รู้สึกว่า เรานี่ประมาทเหลือเกิน
แต่ก็มีกำลังใจ และมีความรื่นเริงยินดี ที่ได้ทราบผลการปฎิบัติของหลายๆท่าน
หลายๆเรื่องก็เป็นอุทาหรณ์ ให้เราพิจารณา และเตือนสติได้ดี
ก็ขอขอบพระคุณ คุณวิชาเจ้าของกระทู้  และผู้เข้ามาตอบทุกๆท่าน
โดยเฉพาะคุณอัญญาสิ ที่ปฏิบัติแนวทางเดียวกัน มีความรู้สึกว่าเข้าใจประเด็น
และตอบได้เข้าใจดีมาก
 

ตอบโดย: วายุภักษ์ 08 ก.ค. 52 - 15:37


สวัสดีครับ คุณวายุภักษ์

อ้างอิง
 หลังจากฝึกมา 3 ปีกว่า ทุกข์ได้น้อยลง ศีลก็สมบูรณ์ขึ้น


  ก็เป็นแนวทางที่ดี ครับ  เพราะทุกข์น้อยลงศีลก็สมบูรณ์ขึ้น.

อ้างอิง
ทำให้เกิดความประมาท การรู้ตัวก็ลดลงมาก
จะรู้ตัวได้ก็เวลาที่จิตใจมีความหนักอึ้ง


  นี้ก็อยู่ที่ความเพียรของเราเองครับว่า ปฏิบัติได้ต่อเนื่องโดยตลอดหรือเปล่า? หรือเป้าหมายของเรานั้นอยู่เพียงแค่ไหนหรือระดับใหน แล้วดำเนินปฏิบัติไปถึงตามระดับให้ได้.

    ผมมีเรื่องเล่าส่วนการปฏิบัติของผมให้ทราบอีกครั้ง เมื่อประมาณปี 2532 เมื่อผมตัดสินใจเริ่มใช้การปฏิบัติพิสูจน์ตนเองเรื่องความปรารถนา กับความทุกข์ที่ประดังมาทุกทิศทุกข์ทาง ดังนี้

                     เริ่มพิสูจน์ตนเองอย่างจริงจังอีกครั้ง
        เมื่อปี พ.ศ 2532 พระอาจารย์ปลัดธีรวัตได้มรณภาพด้วยโรคหัวใจ ทำให้ข้าพเจ้าพยายามหาพระท่านอื่นที่มีคุณธรรมสูง เพื่อจะเป็นอุปัฏฐากตามฐานะของตน และเพื่อจะพิสูจน์สิ่งที่พระอาจารย์ได้ดูไว้ให้  เพราะนักวิทยาศาสตร์จะเชื่ออะไรง่ายๆ คงเป็นไปไม่ได้  จึงทำให้ข้าพเจ้าเสาะหาพระท่านที่ดังๆ แต่ก็ผิดหวัง และเนื่องจากข้าพเจ้าเห็นกิเลสตนเองบ่อย  เมื่อสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดทุกข์กิเลสก็ก่อให้เกิดทุกข์มากขึ้นเพราะไปเห็นมัน จึงทำให้เกิดความลังเลในสิ่งที่พระอาจารย์ได้ดูไว้ ใจของตนเองก็ยากจะละกิเลสเหล่านี้ เพราะความทุกข์ที่ รุมมาพร้อมกันทุกด้านตลอดเวลาที่ผ่านมา 1 ปีกว่า  จึงบังเกิดความคิดขึ้นมาว่า

     "จะจริงหรือเท็จก็จะต้องยก เอาไว้ไม่ต้องไปคำนึงหรือยึดถือ ให้ถือเอาการทำกรรมฐานเพื่อละเป็นหลักเป็นเครื่องพิสูจน์  เพราะถ้าละได้จริงเรื่องต่างๆ ที่ผ่านมาก็ไม่ถูกต้อง แต่ถ้าละไม่ได้ก็มีเค้าความจริงอยู่"

     ตั้งแต่นั้นข้าพเจ้า จึงเริ่มกำหนดกรรมฐานแต่ครั้งนี้จะกำหนด และการวางใจให้สวนทางกับที่ผ่านมา เพราะถ้ากำหนดแบบเก่า คือจะต้องภาวนาอย่างเข้มขนไม่ขาดระยะ และจับให้ได้ว่ามีการผะงักหรือดับขาดตอนของอารมณ์ ในช่วงไหนของคำภาวนา ซึ่งถ้าทำแบบนี้อารมณ์ก็เหมือนเดิม คือละกิเลสไม่ได้เพียงแต่ข่มไว้ได้ แต่ความทุกข์ที่เผาลนจิตใจก็ยังมีอยู่เหมือนเดิม
      ทำให้ข้าพเจ้าคิดได้ว่าถ้าเพียงแต่สักแต่รู้ตามหลักที่พระพุทธเจ้า ทรงกล่าวว่า  สักแต่รู้ สักแต่เห็น สักแต่ได้ยิน กับสิ่งที่มากระทบ ข้าพเจ้าจึงคิดว่าใช้คำภาวนาว่า "สักแต่รู้" "สักแต่เห็น" "สักแต่ได้ยิน" เป็นตัวนำสติ และจะไม่ไปบังคับไม่ว่าจะง่วงนอน หรือจะเคลิ้มไปก็ไม่บังคับหรือฝืนให้มีสติ เพียงแต่ภาวนาว่า"สักแต่รู้" ถ้าภาวนาไม่ได้ก็เพียงแต่สักแต่รู้เท่าที่จะทำได้ จึงเริ่มทำกรรมฐาน

      วันแรกที่ทำกรรมฐานก็ยังติดอยู่กับอารมณ์เดิม  พยายามปรับลงมาเพื่อให้อ่อนตัวในการภาวนาพยายามปรับอยู่ 2-3 วัน จึ่งอ่อนตัวลงได้  ไม่ควบคุมแม้แต่ท่าที่นั่งกรรมฐาน ปล่อยให้เป็นธรรมชาติเพียงแต่สักแต่รู้ ให้เป็นปัจจุบันไม่ใช่พยายามให้ทันปัจจุบัน เพราะที่ผ่านมาทำไว้มากแล้ว
       พอขึ้นวันที่ 3 เมื่อกำหนดกรรมฐาน ความง่วงนอนก็เกิดขึ้นแต่เพียงสักแต่รู้เท่านั้นก็หลับคู่ไปโดยที่ไม่ไปบังคับ เป็นอย่างนี้อยู่ 2-3 วัน หลังจากนั้นจะไม่เผลอหลับแบบขาดสติ หลังจากนั้นตื่นอยู่ก็สักแต่รู้ว่าสติดี พอลงภวังค์จะหลับก็จะรู้ว่าสติไม่ดีเพราะเริ่มมีความมืดเข้ามาครอบครองจิต เหมือนกับผู้ที่นั่งอยู่บนรถไฟ วิ่งลอดอุโมงค์ เป็นช่วงๆ มืดสว่างๆ แต่ไม่เผลอหลับ หลังจากนั้นมืดสว่างก็จะเกิดเร็วขึ้นๆ จนมีแต่ความสว่างอย่างเดียว คือสติดีจิตมีความสว่างกำหนดกรรมฐานได้นานแต่เพียงสักแต่รู้เท่านั้น

       เมื่อทำมากๆ หลายวันเข้าวิปัสสนาญาณต่างๆ ก็เกิดขึ้น จิตก็เพียงแต่สักแต่รู้จริงมากขึ้นจะรู้อยู่เพียง 2 อย่างขณะที่ทำกรรมฐาน คือสักแต่รู้ร่างกาย เมื่อรู้ร่างกายน้อยลงก็สักแต่รู้อารมณ์หรือจิต เป็นไปอย่างนี้กลับไปกลับมา คือจะมีแต่รูปละนามเท่านั้นที่เห็นอยู่
       เมื่อกำหนดกรรมฐานหลายวันเข้าก็เริ่มทิ้งทั้งหมด เป็นความว่างจากทุกอย่างในช่วงหนึ่ง ในขณะที่ว่างเริ่มนับไปเองจาก 1 ถึง 4 ก็ออกมารับรู้ปกติ เมื่อกำหนดกรรมฐานใหม่สักระยะหนึ่ง ก็เข้าสู่ความว่างเหมือนเดิมแต่นับได้ถึง 6 ก็ออกมารับรู้ปกติ เมื่อเริ่มกำหนดใหม่ ก็เข้าสู่ความว่างอีกนับได้ถึง 8 หลังจากนั้นไม่สนใจที่จะเข้าอีก
       
         หลังจากนั้นอารมณ์ที่ยึดติดกับสิ่งที่มากระทบก็เบาลง มีความสุขสงบสบายติดต่อเป็นเวลาหลายวัน ทำให้เข้าใจฐานะของตนเอง และหันมาปฏิบัติตัวตามฐานะของตนเองมากขึ้น ให้เวลาลูกเมียมากขึ้น แทนที่คิดจะหนีไปบวชให้ภรรยาต้องทุกข์ และคลายความยึดถือเก่าๆ ลงมาก  เพราะอารมณ์เห็นความว่างมากขึ้น และภาวนาสักแต่รู้กับอารมณ์ที่มากระทบ หรือที่เกิดขึ้นจากภายในของอารมณ์เอง


    ออ. ผมเป็นคนทำอะไรก็จะทำจริง ผมจึงปฏิบัติมาเรื่อยๆ โดยตลอด ทั้งแต่เริ่ม ปี 2526 ไม่เคยละทิ้ง จิตใจจะอยู่กับการปฏิบัติหรือเรื่องธรรมเป็นส่วนมาก ถึงแม้จะทำงานหาเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวก็ตาม  และปัจจุบันก็ยังดำเนินปฏิบัติอยู่ แต่การปฏิบัติแบบเข้มข้นหรือความต่อเนื่องอาจด้อยลงกว่าในอดีดมากพอใช้
     เพราะความทุกข์ในการสงสัยลังเลจนสับสนได้พิสูจน์จนจบไปแล้ว พร้อมทั้งไม่ยึดมั่นถือมั่นในฐานะนั้นๆ ด้วยปัญญาที่เจริญขึ้นแล้ว และฐานะทางกฏหมายอันเป็นทุกข์ที่เป็นเศษวิบากกรรมเก่าก็ได้หลุดพ้นไปแล้ว   จึงดำรงตนอยู่อย่างปกติสุข อยู่ในศีลธรรมที่ดีได้เป็นปกติ.

ตอบโดย: Vicha 09 ก.ค. 52 - 10:32


ขอบคุณค่ะ

ตอบโดย: วายุภักษ์ 09 ก.ค. 52 - 17:52


สวัสดีทุกๆ ท่านค่ะ  เรียนตอบคุณวายุภักษ์ค่ะ

ขออนุญาิตแนะนำนะคะ  ไม่ว่าเราจะทำกรรมฐานแบบใดนะคะ
อย่าิ้ทิ้งสมถะ  การที่เราตามรู้ตามดูนั้น  ถ้าเราไม่ทำสมถะเลย
เมื่อถึงจุดหนึ่ง  จิตจะไม่มีแรง  ถามว่าถึงจุดนี้ยังตามรู้ได้มั้ย
ยังตามรู้ได้  แต่จะมัวๆ  รู้เหมือนไม่รู้  รู้แต่ไม่ชัด  จิตใจจะหนักๆ

เหมือนเวลาเราเหนื่อยแต่ยังดันทุรังทำงานน่ะค่ะ  ยังทำงานได้
แต่ไม่เอนจอย  ไม่สดชื่น  จิตจะออกอาการคือ หนักๆ มัวๆ
เห็นสภาวะอยู่  แต่เห็นแล้วมักจะคลุกวงใน  ไหลเข้าไป ไม่ตั้งมั่น

ลองหากรรมฐานที่สบายทำดูค่ะ  เวลาทำสมถะ คือ ให้ทำสบายๆ
ไม่ต้องคิดว่าทำแล้วต้องสงบ หรืออะไรทั้งนั้น  ทำไปเรื่อยๆ
สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้  เผลอก็รู้  เพ่งก็รู้  สบายๆไป อย่าซีเรียส

ลองอ่านเรื่องอินทรีย์ห้า พละห้าที่คุณวิชาเขียนไว้ในที่กระทู้นี้ดูค่ะ
ย่อๆ คือ การภาวนาจะก้าวหน้า  ต้องปรับอินทรีย์ห้าให้เสมอกัน
อันได้แ่ก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา  อันใดยังหย่อนไป
ให้ปรับโดยเจริญให้มากขึ้นค่ะ

ที่ได้สังเกตตนเองมาคือ  วิริยะนำหน้า แต่สติ สมาธิ ยังตามไม่ัทัน
จะเกิดอาการตามดูแต่จิตหนักๆ เป็นทุกข์ ดิ้นรน  แต่เมื่อลอง
กลับไปทำสมถะซึ่งไม่ได้ทำมานาน  อาการก็หายไป
ขอให้เจริญในธรรมค่ะ    

ตอบโดย: อัญญาสิ 12 ก.ค. 52 - 02:18


ถึง คุณวิชา และ คุณอัญญาสิ
          เป็นตามที่คุณอัญญาสิว่า จิตจะไหลไปตามกิเลสได้ง่าย
เริ่มนั่งสมาธิเมื่อคืน ตามดูลมหายใจ สลับกับเวทนา กับ ความรู้สึกทางกาย
จะพยายามค่ะ  ขอบคุณที่ทุกท่านให้คำแนะนำ

ตอบโดย: วายุภักษ์ 12 ก.ค. 52 - 16:52


สวัสดีครับทุกท่าน

     วันนี้ผมก็ได้มีโอกาศมาสนทนาได้เต็มที่อีกครั้ง  หลังจากที่ผมไปตะเวณหาซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และอาไหล่คอมมือสองของ AMD ทั้ง CPU พร้อม บอร์ด สเป็ครุ่นใหม่แบบต่ำสุดราคาถูกที่มีความเร็วระดับพอใช้ ที่พันทิพเป็นเวลา 2-3 วัน แล้วเอามายำ ประกอบเครื่องคอมได้ถึง 3 ชุด  บอร์ดรุ่นใหม่แต่สเป็คต่ำสุดมือสอง 1 ชุด และบอร์ดรุ่น 478 ที่มีอยู่แล้ว เป็น เพนเทียม ชีรีรอนดี อีก 2 ชุด
      ส่วนชุดที่ 4 เป็นชุดใหม่ เพนเทียมดูโอคอร์ ที่พึ่งซื้อเมื่อมีนาคมของลูกชายก็อัปเกรดให้ดีขึ้น ด้วยการ์ดจอ 512 และเพิ่มแรมเป็น 2 กิก ให้พอใช้กับเกมส์รุ่นใหม่ได้บ้าง
      ที่ต้องทำเพราะไม่มีเงินพอที่จะซื้อคอมชุดใหม่สเป็คดีๆ ให้ทุกคนได้ และเพื่อให้ทุกคนในบ้านมีคอมใช้กันทุกคนไม่ต้องนั่งแย่งเล่นเน็ตกัน แล้วแบ่งให้หลาน ป.5 ไป 1 ชุด
      ซึ่งผมต้องเสียเวลายำเครื่องประกอบขึ้นมาใหม่เป็นเวลา 1 วันเต็มๆ  ซึ่งผมมีอาการปวดขาเมื่อตกกลางคืนไข้ขึ้นตั้งแต่วันที่เดินหาของที่พันทิพแล้วครับ แต่ก็ฝืนจนเสร็จระบมไปทั้งตัว ก็ต้องอาศัยยาพาราและยาแก้แพ้เข้าช่วย  ทำให้รู้ซึ่งขึ้นอีกว่า ร่างกายผมไม่เต็มร้อย ประมาณ 70 % เมื่อเทียบกับคนปกติในวัยเดียวกัน เพราะผมทั้งปวดและอักเสษตามข้อจนไข้ขึ้นทุกคืน.

      เมื่อยังอยู่ในเพศฆราวาส  ก็ต้องทำหน้าที่ทั้งในส่วนของของฆราวาสให้ดำเนินไปได้อย่างพอเพียง และดำเนินหน้าที่ทางธรรมอย่างพอเหมาะกับสภาวะธรรม

     สัตว์ทั้งหลายและเราท่านทั้งหลาย ต่างเกิดมาพร้อมกับความไม่รู้ และความทุกข์ก็ยังจับเราท่านทั้งหลายเป็นตัวประกันโดยตลอด เห็นผิดเห็นพลาดแล้วไปทำผิดทำพลาดก็จะถูกนายประกันคือความทุกข์ให้โทษให้ทุกข์ที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น ตามวัฏฏสงสาร

       เราท่านทั้งหลายต่างก็ได้มาสู่พุทธศาสนา ด้วยความศรัทธาและศึกษาแสวงหาความดับทุกข์  แต่เนื่องจากพุทธศาสนานั้นดำเนินมาเลยกึ่งพุทธกาลเล็กน้อยแล้ว แนวทางในการปฏิบัติตามพุทธพจน์นั้น ย่อมมีสิ่งเพิ่มเติมและดัดแปลงไปต่างๆ นาๆ มากพอควรแล้ว  จนมีบางส่วนละเลยทิ้งการปฏิบัติกรรมฐานตามพุทธพจน์ก็มี ไปยึดถือการปฏิบัติธรรมที่พระพุทธเจ้ามิได้ตรัสไว้ มากมายเพิ่มขึ้น.

       ก็เพราะความยากมียากเป็นของสัตว์ทั้งหลาย บวกความยึดมั่นและถือมั่นของมนุษย์ที่สร้างมานะเพื่อโลกธรรม 8 สนองตัณหาแห่งตนนี้แหละ ยกตนโฆษณา จึงเบียดเบียนธรรมปฏิบัติอันเป็นพุทธพจน์นั้นโดนบิดบังเสมือนถูกซ้อนเร้นไว้เสีย กับผู้คนหรือสัตว์บางส่วนเสีย.

       นี้ก็เป็นเรื่องอันน่าเสียดายกับเวลาของมนุษย์ที่เกิดมาภายหลัง แต่หลงเดินไปในทางของผู้หลงแล้วยกตนโฆษณา ซึ่งสภาวะสังคมก็เปิดโอกาสกับทุกคนตามความทยานยาก และสังคมก็ไม่รู้เช่นกันว่าแนวทางใหนที่ใช่ทางหรือที่ไม่ใช่ทางที่พระพุทธเจ้าทรงชี้ทรงบอกไว้อย่างดีแล้ว.

        แต่สิ่งที่เกิดย่อมเกิดจากเหตุ และสิ่งที่เกิดทั้งหมดทั้งมวลย่อมดับไปเป็นธรรมดา.
 
        เมื่อยังดำรงอยู่หรือเกิดอยู่  ก็ต้องพยายามรักษาหรือตั้งไว้ให้มั่นคงด้วยธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว คือพระไตรปิฏกที่พระเถระตั้งกะติกา ห้ามเพิ่มห้ามลบห้ามแก้ไขผิดจากใจความเดิมนั้นเอง.  คือหลักธรรมทั้งธรรมวินัยมีมาอย่างไรก็ให้รักษาไว้อย่างนั้น แต่เมื่อจะแตกประเด็นก็อนุญาติให้แตกลงในบัญยัติส่วนอื่นๆ ห้ามไปแก้ไขหรือเพิ่มหรือลบในพระไตรปิฏก.

         นี้แหละเป็นวิธีที่สามารถรักษาพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ได้ดีที่สุดและสามารถตกทอดไปได้นานโดยไม่ถูกแก้หรือเพิ่มหรือลบ หรือมีความผิดพลาดจากฉบับเบื้องต้นน้อยที่สุด ในโลกนี้.

        หมายเหตุ แต่ผู้ที่หลงยึดมั่นถือมันและทะยานอยากในพวกตนหรือกล่มตน ก็มีบางส่วนก็พยายามด้วยอกุศลอย่างหนักแก้หรือเพิ่มบางส่วนในพระไตรปิฏก เพื่อให้เข้ากับพวกตนหรือกลุ่มตน

        ดังนั้น 1. ผู้ที่ศรัทธาในพุทธศาสนาประสงค์ปฏิบัติธรรม  2.ผู้แสวงหาแนวทางปฏิบัติธรรม ก็จงหาผู้ที่รู้ทางหรือเดินอยู่ในทางปฏิบัติธรรม ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วเถอด แล้วศึกษาพระไตรปิฏกเพื่อให้มีความเข้าใจหรือปัญญาเพิ่มขึ้น.
 
         วันนี้เมื่อมีเวลา ก็สนทนาธรรมกันต่อเรื่อง อานาปานสติ ซึ่งได้สนทนามาถึงส่วนของ การพิจารณาธรรมในธรรม ตามแบบของ อานาปาสนสติ ตามพระไตรปิฏกดังนี้
 
  ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจเข้า
     ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจเข้า
     ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความสละ
คืนหายใจเข้า


     ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก.

    ส่วนในรายระเอียดในการแตกประเด็นการปฏิบัติอานาปานสติ ในหมวดพิจารณาธรรมในธรรม ค่อยสนทนากันในความคิดเห็นต่อไป.

ตอบโดย: Vicha 13 ก.ค. 52 - 11:53


 อนุโมทนาสาธุ ค่ะ    คุณวิชา

ตอบโดย: พู่กัน 13 ก.ค. 52 - 13:37


     มาสนทนาต่อเรื่องการแตกประเด็น พิจารณาธรรมในธรรม ตามแบบอานาปานสติในบทแรก.

    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า

      ถ้าแตกประเด็นกันตรงๆ คือ ในขณะที่มีสติหายใจออก หรือหายใจเข้า ย่อมเห็นความไม่เที่ยง หรือการเปลี่ยนแปลงที่เป็นหนึ่งของไตรลักษณ์จริงๆ

      คือเห็นและเข้าใจถึงความเป็นของไม่เที่ยงในขณะมีสติหายใจจริงๆ นะครับ.

       ไตรลักษณ์ มี 1.ความไม่เทียงเปลี่ยนแปลง(อนิจัง)  2.ความคงทนอยู่ไม่ได้(ทุกขัง) 3.ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนยึดมั่นถือมั่นไม่ได้(อนัตตา).

       ซึ่งจะเห็นว่าในบทนี้จะกล่าวถึงเห็นความไม่เที่ยงเป็นหลักในขณะช่วงมีสติหายใจออกหายใจเข้า
        แต่สามารถแตกประเด็นได้หลายแบบตามไตรลักษณ์  คือมีสติเห็นและเข้าใจความเป็นทุกข์ ขณะมีสติหายใจออก หายใจเข้าก็ได้ หรือมีสติเห็นความไม่เป็นใช่ตัวไม่ใช่ตนในขณะหายใจออกหายใจเข้าก็ได้.
        หรือจะเห็นถึง 2 อย่าง หรือ 3 อย่างครบ ในขณะมีสติหายใจออกหายใจเข้าก็ได้

        หรือมีสติหายใจออกหรือเข้า แล้วชำเลืองรู้ สภาวะธรรมอย่างอื่นที่ปรากฏ แล้วพิจารณาหรือเห็นและเข้าใจความเป็นไตรลักษณ์ของสภาวะที่ปรากฏนั้น.

        หรือมีสติหายใจออกหรือเข้า แล้วพิจารณาหรือกำหนดภาวนา กองลมที่กระทบหรือมีเวทนารู้ว่าเคลื่อนผ่านจมูก ปรากฏสภาวะไม่เที่ยงเป็นทุกข์(ตั้งทนอยู่ไม่ได้) และไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ก็ได้.

        ซึ่งผมเองก็ได้กำหนดภาวนาแบบหลังสุดตามธรรมในธรรมนั้น โดยไม่เคยเรียนรู้และถูกแนะนำจากที่ใดมาก่อนเลย เมื่อปี 2526 ดังที่ได้เล่าไว้แล้ว  มีเนื้อความดังนี้.

      ข้าพเจ้าพิจารณาว่าเมื่อลมหายใจเข้า ลมหายใจออกก็ต้องพิจารณาให้ทัน จึงต้องมีคำภาวนากำกับ ตกลงใจใช้คำภาวนาว่า "ไม่เทียงเป็นทุกข์ " เมื่อหายใจเข้า และ "ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน" เมื่อหายใจออกโดยมีสติตั้งที่ปลายจมูกเป็นหลัก และเมื่อหายใจเข้าต้องให้พิจารณาเห็นว่าลมไม่เที่ยงจริงต้องเปลี่ยนไปเป็นทุกข์คือทนอยู่ไม่ได้  เมื่อหายใจออก พิจารณาเห็นว่า ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนจริงๆ ยึดถือไม่ได้
       ส่วนคำภาวนาอย่างอื่นก็ตามแบบของคณะ 5 ทุกอย่าง  


       ด้วยผลของการปฏิบัติที่ติดต่อและต่อเนื่องเป็นเวลา ประมาณ 3 วัน สัมมสนญาณ และ กำลังสมาธิระดับปฐมฌานก็ได้บังเกิดขึ้น.
          
         และเมื่อผ่านพ้นการหลงอยู่ในวิปัสสนูกิเลสแล้ว ด้วยการภาวนาแบบนี้ ทำให้ได้ ทุติยฌาน และตติยฌาน แบบอานาปานสติ อย่างไม่ลำบาก และวิปัสสนาญาณพัฒนาจนถึงนิพพิทาญาณ(วิปัสสนาญาณที่ 8) ภายในเวลา เดือนกว่าๆ  แล้วหยุดอยู่เพียงแค่นั้นเพราะเหตุปัญหาอื่นทางสังคม.

         จะเห็นว่าอานาปานสติ บทพิจารณาธรรมในธรรมเพียงบทนี้บทเดียว ก็เกิดสภาวะธรรมที่เป็นวิปัสสนาญาณหรือฌานปรากฏได้อย่างมากมายแล้ว ก็ขึ้นกับพื้นฐานและฐานะบารมีของแต่ละท่านด้วย.
 

ตอบโดย: Vicha 13 ก.ค. 52 - 14:22


ผ่านมาเจอขอแชร์ประสบการณ์ครับอานาปนาสติสำคัญครับการทำอานาปานสติอยู่กับลมหายใจเป็นสะพานข้ามไปสู่การรู้รูปนามจริงๆเมื่อเราดูลมหายใจอยู่บริปลายจมูกสิ่งที่เราต้องรับรู้ได้คือลมหายใจออกจะร้อนกว่าลมหายใจเข้านะครับปกติแล้วเกือบทั้งชีวิตเลยก็ว่าได้บางคนไม่เคยรับรู้เลยทั้งๆมันเกิดขึ้นตลอด พอรับรู้ได้แล้วพิจารณาต่อก็จะรู้ว่ามีเวทนาที่ละเอียดอ่อนเกิดดับเกิดดับอยู่ที่บริเวณนั้นตลอด เราลองดูสิ เมื่อสติเรารับรู้เวทนาที่ละเอียดอ่อนที่นั้นได้แล้วเราลองพิจารณาให้ทั่วตัวสิครับ  เช่นตั้งแต่หัวจดเท้าทุกส่วนของร่างกายจะมีเวทนาอ่อนปรากฎ การรู้สึกตัวทั่วพร้อมน่าจะเป็นสิ่งที่นักปฎิบัติทุกท่านน่าจะรับรู้ให้ได้นะครับ กาลปะที่เกิดดับเกิดดับถ้าเรารับรู้ได้เท่ากับเราเห็นความจริงหรือสัจจะธรรมระดับหนึ่งแล้วนะครับ แต่ถ้าเราปฏิบัติต่อไปเรื่อยๆปัญญาที่เห็นความจริงก็จะมีกำลังเข้าไปตัดกิเลสได้ครับ

ตอบโดย: savika 13 ก.ค. 52 - 15:11


รบกวนสนทนากับคุณบุญรักษ์ คุณVichaครับ

http://84000.org/tipitaka/read/?31/99

http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=99&p=1#อรรถกถาสัมมสนญาณนิทเทส

จริงอยู่ กลาปสัมมสนญาณนี้ย่อมเกิดแก่พระโยคีบุคคลผู้ได้ธัมมัฏฐิติญาณเป็นเครื่องกำหนดปัจจัยของนามรูป ในลำดับแห่งนามรูปววัตถานญาณ ยกแต่ละขันธ์ๆ ที่กำหนดไว้แล้วในก่อนขึ้นสู่พระไตรลักษณ์แล้วเห็นแจ้งอยู่ โดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาตามที่กล่าวแล้ว

http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=0&p=2#๕._อรรถกถาสัมมสนญาณุทเทส

  คุณบุญรักษ์ครับ ปัจจุบันสันตติเป็นเหตุปัจจัยในการพิจารณาไตรลักษณ์

  คุณVichaครับ สรรเสริญคุณพระธรรมครับ (สันทิฎฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ)

     

ตอบโดย: damrong121 13 ก.ค. 52 - 23:39


.....เออ.....เวลาคุยแล้วใช้บาลี ผมจะเกร็งๆ.....

.....ขออนุญาตคุยด้วยคำธรรมดาๆแล้วกันนะครับ.....

เมื่อ เห็น สันตติ ขาด ย่อมเห็น รูป/นาม แสดง ไตรลักษณ์
ปัญญาแค่เห็น รูป/นาม แสดงไตรลักษณ์ ยังไม่พอที่จะก้าวข้ามเข้าสู่ภูมิพระอริยะ

แต่ก็เริ่มจากการเห็น รูป/นาม แสดงไตรลักษณ์ นี่แหล่ะ
จิตจะเริ่ม เห็นโทษเห็นภัยของ รูป/นาม เริ่มกลัวภัยของ รูป/นาม เริ่มเบื่อหน่ายใน รูป/นาม
แล้วก็เริ่มดิ้นรน พยายามหาทางให้พ้นไปจาก รูป/นาม
มันก็ ดิ้น ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ไปทางโน้นบ้าง ไปทางนี้บ้าง
ลองหาทางทำโน่นทำนี่ไปเรื่อยๆ เพื่อจะหนีภัยจาก รูป/นาม ให้ได้
จนถึงจุดนึงมันก็เลิกดิ้น
เพราะมันดิ้นไปจนหมดปัญญาแล้ว มันก็หนีไม่พ้น
มันก็เลยยอมอยู่เฉยๆ

วนไปวนมา ทวนไปทวนมา จนสังขารุเบกขาญาณแก่รอบเต็มที่เพียงพอ
การประชุมมรรคจึงเกิดขึ้น สังโยชน์เริ่มถูกละได้เป็นสมุจเฉทปหาน

หนึ่งครั้ง สองครั้ง สามครั้ง สี่ครั้ง
ก็ละสังโยชน์ได้จนหมดสิ้น
ก็จบกิจในพระพุทธศาสนา

เจริญในธรรมครับ

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 14 ก.ค. 52 - 14:50


อานาปานสติ ต้องปฏิบัติสลับกับอินทรีย์สังวร ตามกุณทลิยะสูตร คือ ตื่นเช้าก่อนนอนนั่งทำสมาธิแบบอานา เวลาที่เหลือมีสติอยู่กับตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ คอยควบคุมเพื่อให้ กาย วาจา ใจสุจริต
จากประสบการณ์ 15 ปีกว่า เจริญอานา ฯ ทีละขั้นๆ ไม่เคยข้ามขั้นไปได้เลย นอกจากเพ่งอสุภะ 4 ขั้นแรกเป็นหมวดกาย ขั้น 5 - 8 เป็นหมวดเวทนา ขั้น 9 - 12 เป็นหมวดจิต
การพิจารณาธรรมได้ ต้องทำให้มีสติต่อเนื่องไม่ขาดตอน จึงจะเกิดภาวนาปัญญา ดูโพชฌงค์เจ็ดท้ายพระสูตร
เมื่อมีสติต่อเนื่องจะเกิดอาการที่หลวงพ่อชาท่านเทศน์ไว้ เห็นปุ๊บเข้าใจทันที นี่น่าจะเป็น อาการของการพิจารณาธรรมในพระสูตร
 

ตอบโดย: สักแต่ว่า 14 ก.ค. 52 - 15:25


สวัสดีครับคุณ damrong121 คุณบุญรักษ์ คุณสักแต่ว่า

   ขอบคุณ คุณ damrong121 ที่ทำให้ผมได้อ่าน สัมมสนญาณ ในพระไตรปิฏกและพระอรรถกถาอีกครั้ง.

    คุณบุญรักษ์ อธิบายให้เห็นภาพชัดเจนเลยครับ.  สรุปย่อได้อย่างชัดเจนดีครับ.

    คุณสักแต่ว่า เล่าขั้นตอนปฏิบัติอานาปาสนสติอย่างย่อได้ชัดเจนดีครับ.

 

ตอบโดย: Vicha 14 ก.ค. 52 - 17:11


  ในความคิดเห็นนี้ ก็มาสนทนาธรรม ในเรื่องอานาปานสติ ตามพุทธพจน์ต่อในส่วนที่เหลือ จากบทนี้.

อ้างอิง
        ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า


      ข้อสังเกตุ ในการปฏิบัตินั้นคือ  เราจักพิจารณาเห็น
          หมายความว่าโน้มใจเพื่อเห็นเพื่อพิจารณาเป็นไปตามไตรลักษณ์ กับสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นจริงๆ ในขณะนั้นๆ ที่เกิดผัสสะ  หรือที่เกิดเวทนา หรือที่เกิดตัณหา หรือที่เกิดอุปาทาน ถ้าในระดับลึกที่เกิดนามรูป หรือที่เกิดวิญญาณ

           ถ้าแจกแจงให้กระจ่างไปอีกคือ มีสติ มีสมาธิ แล้วโน้มใจเพื่อเห็นเพื่อพิจารณาตามไตรลักษณ์กับสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นจริงๆ  แล้วก่อให้เกิด ภาวนามยปัญญา เจริญขึ้น เป็นปัจจุบัน หรือ มีสติมีสมาธิมีปัญญาเห็นไตรลักษณ์ พร้อมกันเป็นปัจจุบันนั้นเอง.

          เมื่อบทด้านบนนั้นชัดเจนแจ่มแจ้ง สภาวะธรรมปรากฏชัดแล้วด้วยปัญญา การพิจารณาธรรมในธรรม ของอานาปานสติ บทต่อไปก็จะเจริญขึ้น.

   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจเข้า

        เมื่อมีสติสมาธิและปัญญาดังบทด้านบนแล้ว  เมื่อมีสติหายใจอยู่ แล้วเกิดมีกิเลสเข้ามาหรือปรากฏขึ้นในใจ สมาธิก็ตั้งมั่นขึ้น ปัญญาก็จะเห็นความเป็นไตรลักษณ์ กิเลสที่เข้ามาหรือที่ปรากฏขึ้นในใจนั้น ก็ย่อมคลาย หรือวูบหายไป หรือผลิกเปลี่ยนไปลงสู่ความสงบดังเดิม.

         เพราะมีสติสมาธิและปัญญาเท่าทันปัจจุบันเห็นเป็นไตรลักษณ์นั้นเอง.

 

ตอบโดย: Vicha 15 ก.ค. 52 - 11:11


   วันนี้เมื่อไม่มีผู้สอบถามหรือสนทนา ผมก็สนทนาธรรมในธรรมของอานาปานสติสูตรในบทต่อไปนะครับ.

    จะเห็นว่าจากความคิดเห็นที่ผ่านในเรื่องธรรมในธรรมของอานาปาสนสติ นั้นเข้าสู่การเป็นวิปัสสนาอย่างชัดเจน ยกขึ้นเป็นวิปัสสนาญาณ.

     เมื่อสติปัญญาเป็นปัจจุบันเจริญขึ้น วิปัสสนาญาณก็เจริญขึ้น สมาธิก็ตั้งมั่นขึ้น ปัญญาก็จะเห็นความเป็นไตรลักษณ์ กิเลสที่เข้ามาหรือที่ปรากฏขึ้นในใจนั้น ก็ย่อมคลาย หรือวูบหายไป หรือผลิกเปลี่ยนไปลงสู่ความสงบดังเดิม เห็นเป็นดังนี้โดยตลอดเป็นระยะ เพราะใจนั้นเปลี่ยนแปลงอยู่โดยตลอด มีการปรุงแต่งไปตามธรรมชาติ ที่มีกิเลสปรุงแต่งได้อยู่ .

     ดังในอานาปานสติบทนี้

       ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจเข้า

    ย่อมมีสติปัญญาเท่าทันกับกายและใจ เป็นปัจจุบันขณะโดยตลอด  ก็จะปรากฏสภาวะธรรม คือเห็นสันตติบ้าง เห็นสันตติขาดบ้าง พอเท่าทันกิเลสก็เกิดสภาวะวูบหายไปบ้าง พอเท่าทันกิเลสก็จะเปลี่ยนอารมณ์เป็นความสงบไปบ้าง

    และเมื่อปฏิบัติติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง ก็จะเริ่มปรากฏความดับ ขึ้น(ดับไปจริงๆ)บางครั้ง  และเมื่อรู้จนชำนาญในการกำหนดสติและมีปัญญาเห็นไตรลักษณ์ ก็ย่อมสามารถโน้มสติปัญญา หรือพิจารณาในอานาปานสติบทต่อไปนี้ได้.
 
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจเข้า

      ดังที่มีผู้ถามผมว่า เมื่อปฏิบัติไปอธิฐาน เพื่อให้เกิดการเกิดดับได้หรือไม่?
        ผมจึงสามารถตอบว่าได้ แต่ต้องมีความชำนาญในการมีสติกำหนดภาวนา และผ่านวิปัสสนาญาณเบื้องต้นมาแล้ว ถึง อุทยัพพยญาณ (วิปัสสนาญาณที่ 4) แล้ว

        แต่ความจริงไม่ต้องอธิษฐานก็ได้ ตามอานาปานสติบทข้างบนนั้น พอมีสติสมาธิและปัญญา อันเหมาะก็จะเกิดความดับขึ้นได้.

        ดังนั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับ (จริงๆ) ได้ ในขณะที่มีสติหายใจออกหายใจเข้า.

ตอบโดย: Vicha 16 ก.ค. 52 - 10:01


  อนุโมทนาครับคุณวิชาและคุณบุญรักษ์เพื่อนๆทุกๆท่าน

ดำรงค์สติเฉพาะหน้า ชำเรือง สำเหนียก รู้ตัวทั่วพร้อม

บางครั้งเราชอบหลับตาเข้าสมาธิกันมากไปหน่อยในขณะที่ลืมตาจะเห็นชัดมากกว่า

เมื่อลืมตาจะดำรงค์สติเฉพาะหน้าได้ เมื่อหายใจจะเป็นธรรมชาติไม่บังคับลม
เมื่อรู้ผัสสะจะรู้การชำเริองลม เราจะเห็นกองลมที่หายใจออกสุดสบายที่สุด มีสุข มีปิติอยู่ที่ปลายลมหายใจออก

แต่ถ้าเราตามลมโดยขาดดำรงค์สติเฉพาะหน้า เราจะเคลิ้มลืมตน เข้าไปจมแช่กับลมจนลืมดำรงค์สติเฉพาะหน้าไป

สมาธิเราอาศัยคุณแห่งอิทธิบาท๔เป็นสิ่งชี้นำ คือพอใจ
ทำอย่างไรจึงพอใจในการกระทำแบบไม่ฝืน

สิ่งที่คุณวิชาอธิบายดำรงค์สติเฉพาะหน้า ขำเรือง สำเหนียก รู้ตัวทั่วพร้อมจึงขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้ เพราะถ้าไปจมแช่กับลมสติจะเลือนหาย

แต่เมื่อจิตรวมลมจะแผ่วเบาจางหายเหลือเพียงดำรงค์สติเฉพาะหน้าที่ตั้งมั่น มีความเป็นกลาง เฉยๆ สบายๆอยู่ภายใน สมาธิอ้องจึงดูเหมือนการฝึกความอดทนเพื่อพบใจที่เที่ยงธรรม

หลวงปู่เทสก์สอนว่า"อย่าพึ่งรีบพิจารณาโดยลืมสติ สมาธิเสียก่อน"

สติสมาธิอ้องจึงคิดว่า สิ่งที่คุณวิชาอธิบายมาชอบแล้วเป็นการแจกแจงรายละเอียดเป็นอย่างดี ขอชื่นชม

เมื่ออ้องลืมตาดูลม จับความรู้สึกได้ ก็นั่งหลับตา ดังนั้นการเดินจงกรมอิริยาบทจึงมีสมาธิเพราะจดจ่อในอิริยาบทมีีสติเฉพาะหน้าเช่นกัน เป็นกำลังให้กายเนื้อผ่อนคลายออก เมื่อกายสงบระงับลง ในอิริยาบทเดิน เมื่อมานั่งสมาธิต่อ

อ้องจะทิ้งลมหยาบเข้าหาลมละเอียดได้เป็นอย่างดีและสภาพร่างกายก็จะปราศจากการบีบรัดกล้ามเนื้อทำให้เกิดอาการชาตามมา

ณานนั้นยากสำหรับบางท่าน แต่ง่ายสำหรับคนเข้าใจ
เมื่อจิตตั้งมั่นแล้วพิจารณาธรรมหยั่งลงสู่ขันธ์ย่อมเห็นความจริงธรรมชาติ
ในส่วนนี้คุณเฉลิมศักดิ์กล่าวถูกขออนุโมทนา

เพราะถ้าจิตไม่ตั้งมั่น สติสมาธิย่อมปราศจากกำลัง เมื่อพิจารณาสิ่งใดย่อมไม่รู้ชัดคลาดเคลื่อน

คุณวิชาอธิบายต่อนะครับ อ้องเองก็เป็นแค่ผู้เข้าใจคำว่าดำรงค์สติเฉพาะหน้า ไม่เข้าไปจมแช่กับลม เข้าใจคำว่าชำเรือง

เหมือนอ้องเลื่อยไม้...
ตาที่อ้องดูอยู่คือชำเรือง มีดำรงค์สติเฉพาะหน้าคือรู้ว่ากำลังกระทำ รู้ว่าเลื่อยยาวเลื่อยสั้น
รู้ว่าเลื่อยหยาบเลื่อยละเอียด สิ่งทั้งหมดมาจากแหล่งเดียวกันคือผู้รู้ที่สลัับกันแต่อาการต่างกัน

เมื่อเลื่อยไม้เสร็จก็ไม่ต้องตามรู้ลมอีกมันเสร็จเพราลมมันเป็นหนึ่งลมมันเต็มปราศจากความสอดแทรกของลมในสุขทุกข์ปรากฏอีก

อ้องจะเห็นคำว่าดำรงค์สติเฉพาะหน้าพร้อมสติและใจที่เที่ยงธรรมปรากฏโดยไม่มีสิ่งภายนอกมาทำให้จิตที่เที่ยงธรรมสั่นไหวได้

ผิดพลาดขออภัยครับคุณวิชา
การพบเห็นในสมาธิการเห็นหรือประสพการณ์ใดๆ อ้องเห็นครูอาจารย์ต่างๆท่านก็เล่าให้ศิษย์ท่านฟังแบบสนุกๆและเป็นกำลังใจในการต่อสู้ไม่ท้อแท้และท่านก็จะสอดแทรกธรรมอันประเสริฐเพื่อความกระจ่างแจ้งแก่ใจไม่ให้ไปยึดติดในสมาธิเรื่องนิมิตและสุข

ในบอรด์ลานธรรมอ้องว่าอ้องหนักกว่าคุณวิชานะครับแหะๆ

 

 อนุโมทนาในการให้แสงสว่างที่อบอุ่นครับ

ตอบโดย: ชัชวาล เพ่งวรรธนะ 16 ก.ค. 52 - 13:12


.....ไม่มีตรงไหนในพระสูตร.....บอกให้หลับตา.....

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=3924&Z=4181&pagebreak=0

.....เนี่ย.....พอคุยแบบนี้.....บางคนก็หงุดหงิด....

.....แต่มันเรื่องจริงนะ.....มันหลับตาได้เอง.....
.....หรือหลับตาอยู่.....มันก็ลืมตาได้เอง.....

.....จะเริ่มด้วย.....หลับตา...หรือ...ลืมตา.....ก็ได้.....
.....แล้วก็รู้ลมไปเรื่อยๆ.....

.....จะหลับตา หรือ ลืมตา.....ก็ปล่อยไปตามนั้น.....

.....มันหลับเองก็ได้.....มันลืมตาเองก็ได้.....

.....หะหะหะ.....คุณอ้องกำลังวังชาดี.....ก็ทำได้สิ.....

.....แต่ก็น่าลองนะครับ.....อยากให้ลองทำแบบลืมตากันดูบ้าง.....

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 16 ก.ค. 52 - 14:07


สวัสดีครับ คุณชัชวาล เพ่งวรรธนะ คุณ บุญรักษณ์

   คุณชัชวาล เพ่งวรรธนะได้สนทนาเสนอการตั้งสติไม่ให้ลงลึกแช่ในสมาธิลึกๆ ก็ดีครับ.


    แต่ อานาปานสติ นั้นเป็นกรรมฐานที่ยืดยุ่นได้มาก  คือ

     1.ยังไม่เกิดสมาธิระดับฌานแบบแน่น แล้วไปเจริญสตินำ แบบสติปัฏฐาน 4 ก็ได้
     2.ได้สมาธิระดับปฐมฌาน หรือทุติยฌาน หรือตติยฌาน แล้วยกขึ้นมีสตินำ เจริญแบบสติปัฏฐาน 4 ก็ได้
     3.เจริญภาวนาจนครบทั้ง 16 บท ดังพระสูตรเลยก็ได้ ซึ่งสมบูรณ์ทั้งสมถะและวิปัสสนา.

     จึงมีคำถามว่า จุดเปลี่ยนของสมถะเป็นวิปัสสนา ของอานาปานสติ คืออะไร?

      คำตอบ ก็คือการเจริญ สติ เพิ่มขึ้นนั้นเอง

      ถ้าจะกล่าวตามพุทธพจน์ การเจริญสติ ก็คือ การมีสติรู้ตัวทั่วพร้อม การมีสติรู้ในอริยาบทใหญ่และอริยาบทย่อย และ การเจริญอินทรีย์สังวร นั้นเอง

      การเจริญอินทรีย์สังวรคือ การมีสติรู้เท่าทับกับผัสสะ ที่เกิดขึ้นกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ นั้นเอง

      ทั้งหมดด้านบนนั้นเป็นการปฏิบัติที่ให้สติเจริญขึ้นสมบูรณ์ขึ้น ว่องไวขึ้นเท่าทันเป็นปัจจุบัน ขณะเคลื่อน หรือขณะเกิดผัสสะ หรือขณะเกิดสภาวะขึ้นกับกายหรือใจ.

       เมื่อสติเป็นปัจจุบันขณะ ก็ย่อมเห็นการเปลี่ยนแปลงหรือการปรากฏของไตรลักษณ์ ที่ปรากฏอยู่โดยธรรมชาติของสังขารหรือของกายกับใจ. เมื่อสติเป็นปัจจุบันทันกับสภาวะของไตรลักษณ์ที่เป็นธรรมชาติอยู่แล้ว  ปัญญาของผู้ปฏิบัติก็ย่อมเห็นความเป็นไตรลักษณ์ตามลำดับกำลังของผู้ปฏิบัตินั้นๆ

     สรุป ก็คือเพียงการเคื่อนไหว  หรือผัสสะที่ปรากฏ หรือสภาวะต่างๆ ที่บังเกิดปรากฏกับกายหรือใจ  ย่อมเป็นไตรลักษณ์อยู่แล้วโดยธรรมชาติ  เมื่อมีสติสมาธิและมีปัญญาแจ้งชัดเท่าทันเป็นปัจจุบัน ความยึดมั่นที่ผิดไปจากธรรมชาติจนเป็นอัตตาตัวตนก็จะคลายลง ตามระดับปัญญาที่แจ้งชัดขึ้น ตามกำลังญาณ ตามกำลังของมรรค.

      ปัญหาคือ ผู้ปฏิบัติอานาปาสนสตินั้น สามารถเจริญสติ หรือรู้จักเจริญสติ ให้เจริญขึ้นสมบูรณ์ขึ้นอย่างถูกต้องหรืออย่างเหมาะสมหรือไม่.

      และเมื่อเจริญสติมากจนเกินไป กลายเป็นความเพียรเพ่งมากไป จนเคร่ง จนเครียด จนเบรอ แล้วรู้จักการปรับการผ่อนลงหรือเปล่า?
       ก็คือการรู้จักรักษาระดับความสมดุลย์และสมบูรณ์ของพละ 5 นั้นเอง  (1.สติ 2.สมาธิ 3.ปัญญา 4.ความเพียร 5.ความศรัทธา)

       เมื่อปรับพละ 5 ได้อย่างสมดุลย์และเจริญขึ้นอย่างสมบูรณ์  จะไม่ เคร่งเครียด จะไม่เบรอ จะกำหนดภาวนาได้ ชัดเจนแจ่มใส สว่างเบาสงบ และเป็นหนึ่งขึ้น.

        แต่การจะเกิดความทุกข์มากหรือน้อยในการปฏิบัตินั้น ได้กล่าวไว้แล้วในความเห็นเบื้องต้น ที่เป็น 4 แนวที่คือ.

         1.ปฏิบัติด้วยความลำบาก(ทุกข์)       แต่บรรลุช้า
         2.ปฏิบัติด้วยความลำบาก(ทุกข์)       แต่บรรลุเร็ว
         3.ปฏิบัติด้วยความสบาย(ทุกข์น้อย)   แต่บรรลุช้า
         4.ปฏิบัติด้วยความสบาย(ทุกข์น้อย)   แต่บรรลุเร็ว
        
   เมื่อปฏิบัติอย่างดี ก็เป็นไปตามวิบากกรรมและการปรับพละ 5 ของผู้ปฏิบัตินั้นเอง ว่าจะเป็นไปตามข้อใดข้อหนึ่งใน 4 แบบด้านบน.

     ข้อสังเกตุ พละทั้ง 4 คือ สติ สมาธิ ความเพียร และศรัทธา ย่อมเจริญขึ้นสมบูรณ์ขึ้น แต่ ปัญญาเจริญในการปล่อยวาง ในการคลายกำหนัด เจริญขึ้นสมดุลย์กับพละทั้ง 4.

ตอบโดย: Vicha 16 ก.ค. 52 - 15:01


     

ตอบโดย: ชัชวาล เพ่งวรรธนะ 16 ก.ค. 52 - 16:55


วันนี้ก็สนทนาในกรอบของอานาปานสติสูตรต่อนะครับ.

    ผมได้สนทนามาถึง การพิจารณาธรรมในธรรม ตามแบบอานาปานสติ ถึงบทนี้

   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจเข้า

    ซึ่งเป็นบทสั่นๆ  แต่ด้วยความเข้าใจส่วนตัวของผม นั้นแฝงความหมายด้วยวิปัสสนาญาณถึงหลายญาณ ตั้งแต่.
     1.อุทยัพพยญาณ  เห็นการเกิดดับของรูปนามอย่างชัดเจน
     2.ภังคญาณ    กำหนดอะไรก็ดับหายไปๆ
     3.ภยยญาณ    เห็นรูปนาม ดับหายๆ จึงเกิดความกลัวขึ้น
     4.อาทีนวญาณ   เห็นแต่ความ ดับๆๆ  จึงเกิดความอึดอัด ในอารมณ์ไปหมด ไม่สบายไม่ปลอดโปร่ง รำคาญในรูปนามที่กำหนด.

     เมื่อผู้ปฏิบัติ ปฏิบัติอานาปานสติดังบทด้านบนจนสมบูรณ์ ก็จะพัฒนาขึ้นไปสู่บทสุดท้ายของอานาปานสติคือ.

   ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า

    ตามความเข้าใจของผมในบทนี้ ผู้ปฏิบัติ ต้องรู้จักปล่อยวาง สละความยึดมั่นถือมั่น รู้จักในการประกองให้พละ 5 สมดุลย์อย่างเจริญขึ้น  เพราะอารมณ์ปรมัตของวิปัสสนาญาณปรากฏชัดเจนมากขึ้น
     ตามความเข้าใจของผมในบทนี้  นั้นแฝงด้วยความหมายของวิปัสสนาญาณ หลายญาณด้วยกัน ที่ต้องยากหลุดอยากพ้น ประสงค์สละโดยมุ่งปฏิบัติไปเบื้องหน้า. ประกอบไปด้วยวิปัสสนาญาณ ดังนี้.
         1.นิพพิทาญาณ    เบื่อหน่าย แห้งเหี่ยวแห้งแล้งในรูปนาม จนเกินกำลัง  ด้วยการปฏิบัติไม่ใช้ ด้วยจินตมยปัญญา
         2.มุญจิตุกัมยตาญาณ  ต้องการจะหนีต้องการจะหลุดพ้น จากรูปนามที่แสนเบื่อหน่าย แห้งแล้ง ด้วยการปฏิบัติไม่ใช่ ด้วยจินตมยปัญญา
         3.ปฏิสังขาญาณ   เริ่มปล่อยวาง เริ่มคลายความยึดมั่น ปฏิบัติได้สะดวกขึ้น
         4.สังขารุเบกขาญาณ  ปฏิบัติไปคลายความยึดมั่นลงหมดสิ้น มีความเป็นกลางมีอุเบกขา พละทั้ง 5 สมดุลย์สมบูรณ์พร้อม ภาวนารักษาอารมณ์ได้อย่างต่อเนื่อง ติดต่อกันเป็นเวลายาวนานได้ ด้วยความเบาสบายและสงบ.

       เป็นอันว่าผมได้อธิบาย อานาปานสติสูตรตามที่ผมพอรู้มาครบแล้ว

      แต่อาจจะมีผู้ถามว่า เอ้า... แล้วปฏิบัติอานาปานสติได้สมบูรณ์ ทำไมไม่ถึงมรรคญาณ ในอานาปานสติบทสุดท้ายเลยละ ?

       ผมจะแสดงความคิดเห็นนั้น ในความคิดเห็น ต่อไปนะครับ.

ตอบโดย: Vicha 17 ก.ค. 52 - 10:15




แต่ อานาปานสติ นั้นเป็นกรรมฐานที่ยืดยุ่นได้มาก  คือ

     1.ยังไม่เกิดสมาธิระดับฌานแบบแน่น แล้วไปเจริญสตินำ แบบสติปัฏฐาน 4 ก็ได้

     2.ได้สมาธิระดับปฐมฌาน หรือทุติยฌาน หรือตติยฌาน แล้วยกขึ้นมีสตินำ เจริญแบบสติปัฏฐาน 4 ก็ได้


--------------------------------------------------------------------------------------------

แล้วสำหรับกรณีจตุตถฌานนั้นมันนิ่งดิ่งลึก Deep Deep Deep เกินกว่าจะน้อมใจไปเจริญวิปัสสนาใช่ไหมครับ

ซึ่งต่างจากตติยฌาน

แล้วถ้าหากออกจากจตุตถฌานแล้วเจริญวิปัสสนาในทันทีทันใดละครับท่าน Vicha

จะเกื้อหนุนให้วิปัสสนาญาณเกิดต่อเนื่องขึ้นไปจนถึงมัคคญาณ ผลญาณได้ไหมครับ

การทำดังนี้จะให้ผลดีกว่า ออกจากปฐมฌานแล้วเจริญวิปัสสนาไหมครับ

ขอโทษที่โพล่งขึ้นมาตอนนี้นะขอรับ

ไคลแม็กซ์แล้วสินะครับ สำหรับความคิดเห็นของคุณ Vicha ถัดไปนับจากนี้

ตอบโดย: วสวัตตี 17 ก.ค. 52 - 10:27


อานาปานสติ สามารถใช้ในการเจริญสติ เพื่อเพิ่มพูนกำลังสติก็ได้

อานาปานสติ สามารถใช้ในการเข้า ฌาน 1234 ตามลำดับก็ได้

อานาปานสติ สามารถใช้ได้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน  เพราะทุก ๆ คนต้องอยู่ในกิริยาที่ต้องหายใจอยุ่ตลอดอยู่แล้ว จึงสะดวกในการนำไปใช้

อานาปานสติ สามารถรู้ได้ชัดที่สุด โดยธรรมชาติของมันเอง เมื่อใดสงบกาย สงบใจ  สิ่งที่ปรากฏชัดเจน และจิตจะวิ่งไปรับรุ้ก่อน  นั้นก็คือลมหายใจเข้าออก (ในกรณีที่กายไม่เจ็บไข้ได้ป่วยนะครับ)

* ถ้าในกรณีกายเจ็บป่วย  เมื่อกายสงบ จิตสงบ  จิตจะวิ่งไปรับรู้ตรงที่กายเจ็บอยู่ เช่น ปวดหัว  เจ็บขา  อะไรทำนองนี้

อานาปานสติ ฯลฯ (อานิสงฆ์เยอะครับ นึกไม่ออกแล้ว )

สาธุครับพี่วิชา สำหรับกระทู้นี้

ตอบโดย: น้องบู 17 ก.ค. 52 - 10:34


สวัสดีครับ คุณวสวัตตี  และน้องบู

   จากข้อความ
อ้างอิง
    2.ได้สมาธิระดับปฐมฌาน หรือทุติยฌาน หรือตติยฌาน แล้วยกขึ้นมีสตินำ เจริญแบบสติปัฏฐาน 4 ก็ได้


  ผมไม่ได้พิมพ์ ฯลฯ หรือ จตุตถฌาน หรือปัจจฌานไว้ด้วย ครับ

  หมายเหตุ อานาปานสติ นั้นมีระดับ ฌานถึง 5 ฌาน  แต่เทียบเท่ากับ ฌาน 4 ในกสิน
 
    ปกติแล้วไม่ว่าจะเป็นฌานใด ถ้าอยู่ในอัปปนาสมาธิ ของฌานนั้นๆ ก็ไม่สามารถนำมาพิจารณาธรรมในธรรม หรือ จิตในจิต ตามสติปัฏฐาน 4 ได้.

     แต่เมื่อถอยออกมาจากอัปปนาสมาธิ  อยู่ในองค์ฌานของฌานนั้นๆ   สติจะแจ่มใส่ อารมณ์จะชัดเจน ขณะที่อยู่ในองค์ฌานนั้นๆ   ตรงนี้แหละสามารถยก ธรรมในธรรม หรือ จิตในจิต ขึ้นมาให้เห็นเป็นไตรลักษณ์  คือความเป็นไตรลักษณ์ขององค์ฌาน ความเป็นไตรลักษณ์ของจิตที่เปลี่ยนไม่เที่ยง  ความสงบมากสงบน้อยของฌานเองหรือของแต่ละฌาน หรือตามอำนาจฌานที่สามารถคงอยู่ได้ชั่วเวลาหนึ่งก็เปลี่ยนแปลง แล้วมีอุปทานอื่นเข้ามาปรุงแต่ง ด้วยความบังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ที่จะยึดมั่นถือมั่นได้.

    แต่ถ้าอยู่ในองค์ฌานแล้ว แต่มีกำลังน้อยหรือคงอยู่ได้ไม่นาน ไม่สามารถพิจารณาธรรมในธรรม หรือ จิตในจิต ได้อย่างสมบูรณ์  แต่อารมณ์ถอยกลับมาสู่อุปจารณาสมาธิหรือสภาวะปกติ แต่ก็มีสติเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของความไม่เทียงของฌานแล้วก็สามารถปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 ได้ในสภาวะปกติ นั้นๆ ได้ทุกขณะต่อไปอยู่แล้วครับ.


    สรุป การยกขึ้นสู่วิปัสสนานั้นสามารถ ทำได้โดยตลอดเมื่อมีสติ ไม่ว่าอยู่ในสภาวะปกติหรืออยู่ในองค์ฌานนั้นๆ   ยกเว้นอยู่ในอัปปนาสมาธิของฌานนั้นๆ เพราะอัปปนาสมาธินั้นทิ้งความรู้หรือความรับรู้เกือบหมดหรือหมดแล้ว ไม่สามารถมีสติยกขึ้นเป็นสติปัฏฐาน 4 ได้.

อ้างอิง
  ไคลแม็กซ์แล้วสินะครับ สำหรับความคิดเห็นของคุณ Vicha ถัดไปนับจากนี้


   ใช่ครับคุณ วสวัตตี

ตอบโดย: Vicha 17 ก.ค. 52 - 11:03


สวัสดีครับคุณวิชาและเพื่อนๆที่เข้ามาอ่านกระทู้นี้

ผมมีเรื่องที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆมาเล่าให้อ่านครับ

เมื่อเช้านี้ผมไปส่งการบ้านที่ศรีราชา  ผมได้กราบเรียนถามหลวงพ่อว่า  ตำราบอกว่า  จิตรู้อารมณ์ได้ทีละอย่าง  แต่ทำไมผมจึงรู้ความรู้สึกทางกายและทางใจได้พร้อมกันและเห็นความรู้สึกแยกกันเป็นส่วนๆได้  ในเวลาเดียวกัน


หลวงพ่อได้เมตตาให้คำตอบมาว่า  เพราะว่าจิตของคุณรู้ความรู้สึกแบบจี้ติดเกินไป   ความจริงแล้วจิตรู้ความรู้สึกได้ทีละอย่าง  แต่ว่ารู้ถี่ๆ  จึงดูเหมือนว่า  รู้ได้พร้อมๆกัน และรู้ได้หลายๆความรู้สึก  ในเวลาเดียวกัน


การรู้แบบนี้ไม่ถูกต้อง  คุณควรจะแก้ไขเสียใหม่โดย  ลดกำลังของสมาธิลง  แล้วรู้ความรู้สึกต่างๆไปให้เบาสบายมากกว่านี้  แล้วคุณจะเห็นความรู้สึกเกิดขึ้นทีละอย่าง  ทีละอย่างเรียงกันไปเป็นลำดับๆ

                ----------------------------------------------

สรุปว่า........ นักภาวนาที่มีกำลังสมาธิมากๆ  จะสามารถเห็นความรู้สึกหลายๆอย่างได้พร้อมๆกัน  แต่ว่า  ไม่ควรปฏิบัติแบบนี้  เพราะว่า  ไม่ใช่การรู้ตามความเป็นจริง ( เพราะว่ารู้ด้วยกำลังสมาธิที่มากเกินไป )


ความจริงหลวงพ่อได้อธิบายให้ผมฟังมากกว่านี้  แต่ผมจดจำคำพูดของท่านที่เป็นใจความสำคัญๆได้เพียงเท่านี้  ถ้าเพื่อนๆท่านใดสนใจในรายละเอียด  ก็เข้าไปฟังเพิ่มเติมได้ในซีดีของหลวงพ่อครับ  ( ผมส่งการบ้านเป็นคนที่ 4 ของวันที่ 17 กรกฏาคม ใช้หมายเลข 115 )
 

ตอบโดย: ระนาด 17 ก.ค. 52 - 16:56


สาธุครับ  

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 17 ก.ค. 52 - 17:00


  สาธุค่ะ พี่ระนาด

ขอบคุณที่เล่าเรื่องส่งการบ้านครั้งนี้ให้ฟัง เป็นประโยชน์กับคนที่ภาวนาตามมาอย่างมาก
แล้วก็ขอบคุณในความเมตตาของพี่ ครูบาอาจารย์เมตตาบอกให้ ก็นำมาเล่าสู่กันฟัง


อ้างอิง
หลวงพ่อได้เมตตาให้คำตอบมาว่า  เพราะว่าจิตของคุณรู้ความรู้สึกแบบจี้ติดเกินไป   ความจริงแล้วจิตรู้ความรู้สึกได้ทีละอย่าง  แต่ว่ารู้ถี่ๆ  จึงดูเหมือนว่า  รู้ได้พร้อมๆกัน และรู้ได้หลายๆความรู้สึก  ในเวลาเดียวกัน

การรู้แบบนี้ไม่ถูกต้อง  คุณควรจะแก้ไขเสียใหม่โดย  ลดกำลังของสมาธิลง  แล้วรู้ความรู้สึกต่างๆไปให้เบาสบายมากกว่านี้  แล้วคุณจะเห็นความรู้สึกเกิดขึ้นทีละอย่าง  ทีละอย่างเรียงกันไปเป็นลำดับๆ

การรู้แบบนี้ไม่ถูกต้อง  คุณควรจะแก้ไขเสียใหม่โดย  ลดกำลังของสมาธิลง  แล้วรู้ความรู้สึกต่างๆไปให้เบาสบายมากกว่านี้  แล้วคุณจะเห็นความรู้สึกเกิดขึ้นทีละอย่าง  ทีละอย่างเรียงกันไปเป็นลำดับๆ

                            ----------------------------------------------


สรุปว่า........ นักภาวนาที่มีกำลังสมาธิมากๆ  จะสามารถเห็นความรู้สึกหลายๆอย่างได้พร้อมๆกัน  แต่ว่า  ไม่ควรปฏิบัติแบบนี้  เพราะว่า  ไม่ใช่การรู้ตามความเป็นจริง ( เพราะว่ารู้ด้วยกำลังสมาธิที่มากเกินไป )




 

 

ตอบโดย: ตะเกียงแก้ว 17 ก.ค. 52 - 18:25


  อนุโมทนาคุณระนาด

ปรับสมดุลย์ไม่ให้ฝ่ายใดมากเกินไป ไม่ตึง ไม่หย่อน ดั่งสายพิณที่ดีดออกมาได้อย่างไพเราะมาร่วมอนุโมทนกับคุณระนาดพร้อมๆกับคุณบุญรักษ์ด้วนะครับ

คุณวิชาครับ...
หลวงปู่เทสก์สอนพระเจ้าอยู่หัวว่าปัญญาที่ดีอยู่ที่อุปจารสมาธิ
หลวงพ่อพุธสอนว่าถ้าใครทำไม่ถึงณานมิจบกันหรอกหรือในชาตินี้
หลวงพ่อปราโมทย์สอนว่าการจดจำได้หมายรู้ถีรสัญญาเป็นเหตุใกล้ให้เกิดสติ

คุณวิชชาแจกแจงออกมาจึงมีบุคคลสองจำพวกคืออาศัยณาณและอาศัยสภาวะธรรมเป็นเหตุใกล้ฝ่ายหนึ่งคือสมถยานิกฝ่ายหนึ่งเป็นวิปัสสนายานิก

ขออนุโมทนาที่แจกแจงแก่เพื่อนๆถ้าได้คุณหมอตรงประเด็นเข้าร่วมด้วยช่วยกันอ้องว่ากระทู้นี้จะเปรียบดั่งเพชรเพราะท่านหนึ่งปฎิบัติอย่างรู้จริงอีกท่านหนึ่งศึกษาอย่างเข้าถึง

อ่านแล้วไม่เบื่อเลยครับคุณวิชา...

ตอบโดย: ชัชวาล เพ่งวรรธนะ 17 ก.ค. 52 - 23:01


  คุณระนาด  กำลังรอฟังข่าวอยู่พอดีเลยค่ะ

อ่านแล้วเลยแ็ว้บขึ้นมาอย่างนี้คะ  ขอร่วมแบ่งปัน

การดูกายดูใจ = การทำเหตุ
ผลของเหตุ  = การเห็นความจริงของกาย-ใจ
                   
ถ้าเหตุ = การดูด้วยสมาธิอย่างพอดีๆ  ให้ผลเป็นอย่างหนึ่ง

ถ้าเหตุ = สมาธิมากไปหรือหย่อนไป  ก็ให้ผลเป็นอย่างหนึ่ง

การเห็นไม่ว่าจะเหตุแบบใด  ตอนเห็นนั้นเห็นอย่างที่เห็นจริงๆ
แต่สิ่งที่ถูกเห็นจะตรงกับความเป็นจริงหรือไม่  ให้ย้อนไปดูที่เหตุ
ว่าเหตุที่ได้ทำนั้น  เป็นการทำอย่างพอดีๆ หรือไม่

อยากให้คุณระนาดจำสภาวะที่ว่าสมาธิมากไปไว้ค่ะ  รวมถึงสภาวะ
ที่รู้สบายๆ ด้วย  จะเป็นประโยชน์ในวันข้างหน้า  เผื่อว่าติดขัดอย่างไร
จะได้เปรียบเทียบ ตรวจสอบ แก้ไขได้ค่ะ
 

ตอบโดย: อัญญาสิ 18 ก.ค. 52 - 07:47


ขอปรึกษาคุณวิชาสักเล็กน้อยครับ

ปัญหาของผมในตอนนี้คือ   การรู้กายรู้ใจด้วยกำลังสมาธิที่มากเกินไป  จึงเห็นกายและใจ  ได้พร้อมๆกัน  และแยกออกเป็นส่วนๆในเวลาเดียวกัน

ผมอยากจะขอคำแนะนำจากคุณวิชาว่า  การลดกำลังของสมาธิลง  เราควรปฏิบัติอย่างไรครับ ( การเห็นกายและใจได้พร้อมๆกัน  และ แยกออกเป็นส่วนๆ ในเวลาเดียวกัน ทำให้ผมมีความสุขดีมากๆๆๆ    ความสุขนี้เรียกว่า  ความสุขจากฌาน...ใช่หรือเปล่าครับ )
                 ----------------------------------------------

ความเห็นส่วนตัวของผมนะ ( อาจจะผิดก็ได้ )   ผมจะหยุดการนั่งสมาธิและหยุดเดินจงกรมสัก 2 - 3 เดือน  กำลังสมาธิก็น่าจะลดลงไปเอง  คุณวิชามีความเห็นอย่างไรบ้างครับ  ( ที่ผ่านๆมา  ผมนั่งสมาธิเดินจงกรมวันละ 2 - 3 ชั่วโมง  เป็นเวลานานหลายปีแล้ว )

 

ตอบโดย: ระนาด 18 ก.ค. 52 - 07:53


อ้างอิง (อัญญาสิ @ 18 ก.ค. 52 - 07:47)


การเห็นไม่ว่าจะเหตุแบบใด  ตอนเห็นนั้นเห็นอย่างที่เห็นจริงๆ
แต่สิ่งที่ถูกเห็นจะตรงกับความเป็นจริงหรือไม่  ให้ย้อนไปดูที่เหตุ
ว่าเหตุที่ได้ทำนั้น  เป็นการทำอย่างพอดีๆ หรือไม่

อยากให้คุณระนาดจำสภาวะที่ว่าสมาธิมากไปไว้ค่ะ  รวมถึงสภาวะ
ที่รู้สบายๆ ด้วย  จะเป็นประโยชน์ในวันข้างหน้า  เผื่อว่าติดขัดอย่างไร
จะได้เปรียบเทียบ ตรวจสอบ แก้ไขได้ค่ะ



ใช่เลย........ใช่อย่างที่คุณอัญญาสิบอกมาไม่มีผิดเลย

เมื่อวานนี้  หลวงพ่อได้ให้ผมนั่งสมาธิต่อหน้าท่านเลยครับ   พอจิตมันออกไปรู้ความรู้สึกแล้วเกิดอาการซาบซ่านขึ้นมาทั่วทั้งร่างกาย  ท่านบอกขึ้นมาทันทีทันใดเลยว่า  รู้แบบนี้ผิดแล้ว  เพราะว่าจิตมันไหลแว้บออกมา

 หลังจากที่ผมส่งการบ้านเสร็จแล้ว   ในขณะที่คนอื่นๆกำลังส่งการบ้าน  หลวงพ่อท่านได้เมตตา  ย้อนกลับมาชี้สภาวะให้ผมดูอีก 3 ครั้งว่า   ตอนนี้ผมกำลังเพ่ง  ตอนนี้ผมกำลังเผลอ และ ตอนนี้ผมเพ่งอีกแล้ว (คือว่า.. กายและใจมันสามารถเพ่งของมันได้เองโดยที่ผมไม่ต้องทำอะไร )


หลวงพ่อเก่งมากจริงๆ  ท่านรู้วาระจิตของผมได้อย่างรวดเร็วอย่างเหลือเชื่อจริงๆ   ตอนที่ผมมีอาการซาบซ่านไปทั่วทั้งร่างกายนั้น  มันเป็นอาการที่อยู่ในร่างกาย  มีผมคนเดียวเท่านั้นที่รู้สึกได้  ซึ่งคนภายนอกแม้จะนั่งติดกับผม  ก็ไม่สามารถมองเห็นอาการนี้ได้  แต่หลวงพ่อท่านกลับรู้ได้อย่างทันทีทันใด  ทั้งๆที่ท่านนั่งอยู่หน้าห้องประชุมห่างจากผมตั้ง 6 - 8 เมตร  ( ผมนั่งอยู่แถวที่ 2 นับจากข้างหน้า )

              -----------------------------------------------------

หลังจากส่งการบ้าน  และกลับมาอยู่ที่บ้านแล้ว  ผมทดลองลดกำลังสมาธิลง  แล้วรู้ความรู้สึกทางกายแบบเบาๆ  ผลก็คือ   ผมจะเห็นความรู้สึกทางกายขึ้นมาก่อน  แล้ว  ความรู้สึกในใจจึงเกิดตามหลังมา  ( ห่างกันราวๆ 1 - 2 วินาที )  เมื่อผมเห็นความรู้สึกในใจเกิดขึ้นแล้ว  ผมไม่ติดตามที่จะรู้ต่อไป  ปรากฏว่า  ความรู้สึกในใจมันดับพรึ่บลงไปทันทีเลยครับ  ซึ่งการรู้แบบนี้   มันมีความเบามากๆ  คล้ายเป็นปุยนุ่นที่ไม่มีน้ำหนัก


ผมจะฝึกฝนการรู้ความรู้สึกแบบสบายๆอย่างนี้เป็นเวลาสัก 6 - 8 เดือน  แล้วจะไปส่งการบ้าน  ไปภาวนาแบบนี้ให้ท่านดู  ผิด - ถูกอย่างไร  ก็คงจะได้รู้กันในตอนนั้น

                ----------------------------------------------------

            ขอกราบนมัสการหลวงพ่อด้วยความเคารพอย่างสูงครับ
                                        

ตอบโดย: ระนาด 18 ก.ค. 52 - 08:17


     

ตอบโดย: ชัชวาล เพ่งวรรธนะ 18 ก.ค. 52 - 08:38


ไม่ต้องไปหาทางลดหรอกครับ

คุณระนาดจำได้แล้ว ว่าใจที่ตั้งแรงเกินไป เป็นแบบไหน

ก็แค่รู้ว่า ใจตั้งมั่นแรงเกินไป

แล้วมันจะค่อยๆพอดีเอง

เจริญในธรรมครับ

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 18 ก.ค. 52 - 09:08


สนทนากับคุณVichaครับ

อ้างอิง
พอผมเห็นไตรลักษณ์ในครั้งแรกได้เล้ว  ผมจึงรู้ว่าอาการไม่เพ่งและไม่เผลอ  มันเป็นอย่างไร  และ เราจะต้องวางน้ำหนักในการรู้กายและรู้ใจอย่างไร  เราจึงจะเห็นไตรลักษณ์ในครั้งต่อๆไปได้ง่ายขึ้นอีก   ไม่ใช่ผมปรุงแต่งการเห็นไตรลักษณ์


http://larndham.net/index.php?showtopic=34753&st=255
คุณบุญรักษ์ คุยแบบง่ายๆครับ

สัก 6 - 8 เดือน
ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ ครูย่อมสอน ปัจจุบันอารมณ์เราย่อมพิจารณาเองครับ
สังเกตุดูซิครับอาจารย์สอนเรา แต่ไม่ได้นำจิตเรา

จริงอยู่ เมื่อพระโยคีบุคคลนั้นเสพอยู่ เจริญอยู่ กระทำให้มากอยู่ซึ่งสังขารุเปกขาญาณนั้น อธิโมกขสัทธาก็ย่อมมีกำลังยิ่ง, วิริยะก็ประคองไว้ได้ด้วยดี, สติก็ตั้งมั่น, จิตก็เป็นสมาธิ, สังขารุเปกขาญาณก็ย่อมเป็นไปอย่างแก่กล้า
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31.0&i=0&p=3

เอ้า... แล้วปฏิบัติอานาปานสติได้สมบูรณ์ ทำไมไม่ถึงมรรคญาณ ในอานาปานสติบทสุดท้ายเลยละ ?

ตอบโดย: damrong121 18 ก.ค. 52 - 09:18


อ้างอิง (บุญรักษ์ @ 18 ก.ค. 52 - 09:08)
ไม่ต้องไปหาทางลดหรอกครับ

คุณระนาดจำได้แล้ว ว่าใจที่ตั้งแรงเกินไป เป็นแบบไหน

ก็แค่รู้ว่า ใจตั้งมั่นแรงเกินไป

แล้วมันจะค่อยๆพอดีเอง

เจริญในธรรมครับ

 


ขอบคุณครับคุณบุญรักษ์  

เมื่อวานนี้ผมกราบเรียนถามหลวงพ่อว่า  ผมจะปล่อยให้มันเพ่งไปตามสบายจะแก้ปัญหาได้ไหม  หลวงพ่อท่านให้คำแนะนำมาว่า  แบบนั้นก็ได้  แต่ว่าเราต้องรู้ว่าเมื่อตะกี้นี้มันเพ่งไปแล้ว  จิตดวงใหม่ที่เกิดขึ้นเมื่อเขารู้ว่าดวงเก่าเพ่งไปแล้ว  ดวงใหม่ก็จะหายเพ่ง


จุดสำคัญคือ  ผมต้องรู้ว่าอย่างไรคือเพ่ง  อย่างไรคือเผลอ  ซึ่งตรงนี้มันก็ยากอยู่สักหน่อย  เพราะว่าผมฝึกสมถะมามาก  กายและใจมันจึงสามารถเพ่งได้เอง  โดยที่ผมรู้สึกว่ากำลังนอนพักผ่อนแบบสบายๆอยู่แท้ๆเลย  ( เวลาเห็นความรู้สึกได้พร้อมๆกันและเห็นกาย - ใจ แยกออกเป็นหลายๆส่วน  มันมีความสุขและเพลิดเพลินใจดีมากๆๆเลยครับ )


เมื่อวานนี้อยากให้คุณบุญรักษ์เข้าไปฟังด้วยกัน  จะได้ช่วยกันจำคำตอบของหลวงพ่อ


ถ้ามีเครื่อง " ภาวนามิเตอร์ "  อยู่ที่บ้านก็ดีนะ    คุณบุญรักษ์หาให้ผมสักเครื่องนึงสิ  ราคาเท่าไรผมก็สู้

ฮี่  ฮี่  ฮี่      

 

ตอบโดย: ระนาด 18 ก.ค. 52 - 09:20


  สวัสดีครับ

เรียนตรงๆด้วยความเคารพนะครับ ผมยังไม่ค่อยเข้าใจประเด็นที่คุณdamrong121 ชวนคุยเท่าไรนัก

แต่ผมขอเสนอความเห็นส่วนตัวก่อนดีกว่านะครับ

การเจริญ อานาปานสติ ไม่จำเป็นต้องเทียบลงใน โสฬสญาณ หรือ เทียบลงกับพระสูตรอื่นใด
การเจริญ อานาปานสติ สมบูรณ์ อยู่ในตัวเองอยู่แล้ว

คล้ายบ้านหลังเดียวกัน มองคนละมุม จะมองมาจากมุมไหน ก็รู้ได้ว่าเป็นบ้าน
พอมานั่งเทียบกัน  บางทีมันเทียบกันไม่ได้ชัดนัก
คนฟังก็อาจสับสน

แต่จริตของบางคน จะเทียบให้ได้ ก็ไม่ว่ากัน
ใครใคร่พิจารณาธรรมะให้แตกย่อยไปขนาดไหน
ก็แล้วแต่อัธยาศัยของแต่ละบุคคล

แต่ควรมีหลักไว้ก่อน ว่ามองด้านเดียวก็ได้ แล้วมันสรุปเห็นบ้านได้ทั้งหลังเหมือนกัน

ก็มีความเห็นส่วนตัวแบบนี้นะครับ

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 18 ก.ค. 52 - 09:34


อ้างอิง (ระนาด @ 18 ก.ค. 52 - 09:20)
ถ้ามีเครื่อง " ภาวนามิเตอร์ "  อยู่ที่บ้านก็ดีนะ    คุณบุญรักษ์หาให้ผมสักเครื่องนึงสิ  ราคาเท่าไรผมก็สู้

ฮี่  ฮี่  ฮี่      

.....หะหะหะ.....ถ้ามีจริงผมก็คงไม่ขาย.....จะแจกฟรีให้ท่วมโลกเลย.....

.....คงต้องค่อยๆสร้างมิเตอร์ของตัวเองขึ้นมา.....แล้วก็ไปเทียบกับมิเตอร์มาตรฐานเป็นระยะๆ.....

.....แล้วค่อยทำแจกเนอะ.....

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 18 ก.ค. 52 - 09:42


อนุโมทนาที่คุณบุญรักษ์ตอบครับ ที่คุณบุญรักษ์ตอบก็ตรงกับที่ผมชวนคุยครับ

     

แต่ขอถามว่าคุณบุญรักษ์จะแนะนำอะไรผมครับ ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ
พระสูตรที่เกี่ยวกับอานาปานสติพระสูตรไหนที่จะแนะนำครับ

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=4070&Z=5199

http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=362

ถ้าเห็นว่าล่วงเกินก็ขออภัยด้วยครับ  

ตอบโดย: damrong121 18 ก.ค. 52 - 09:45


.....55555.....อะไรจะฟลุ๊คขนาดนั้น.....    

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 18 ก.ค. 52 - 09:50


คุณระนาดชวนผมไปฟังด้วยอีกคนก็ดีนะครับ  เผื่อจะได้โจทย์การบ้านกับเขาบ้าง
 

เคยทดลองแนวดูจิตทีนึง แล้วจิตดับแรงๆ ให้ได้รู้ ตูมเดียวจบเท่านั้น

หากไม่รังเกียจเรื่องสมถะ ก็อยากแลกเปลี่ยนความรู้ด้วยคนครับ

ตอบโดย: วสวัตตี 18 ก.ค. 52 - 09:56


อ้างอิง (วสวัตตี @ 18 ก.ค. 52 - 09:56)
เคยทดลองแนวดูจิตทีนึง แล้วจิตดับแรงๆ ให้ได้รู้ ตูมเดียวจบเท่านั้น

ตูมเีดียวจบ = จบกิจ ??  ฮิฮิ แซวเล่นนะค้า  

ตอบโดย: อัญญาสิ 18 ก.ค. 52 - 10:41


แหะๆ  

 

ตอบโดย: วสวัตตี 18 ก.ค. 52 - 10:46


  เครื่องมือภาวนาคือสติทีเกิดขึ้นมาตามธรรมชาติ
ส่วนของคุณบุญรักษ์ ที่จะแจกให้ทั่วโลก อ้องขอสั่งจองหนึ่งตัวก่อนนะคร๊าบ

ตอบโดย: ชัชวาล เพ่งวรรธนะ 18 ก.ค. 52 - 10:47


อ้างอิง
ถ้าเห็นว่าล่วงเกินก็ขออภัยด้วยครับ   
จากคุณ : damrong121 [ ตอบ: 18 ก.ค. 52 09:45 ]

ไม่ได้ล่วงเกินอะไรเลยครับ
ผมแค่งงๆไปเอง ก็เลยลองถามดู เท่านั้นเองจริงๆครับ

ส่วนที่ว่าจะแนะนำอะไร ก็ไม่มีอะไรเหมือนกันครับ

พออ่านๆๆๆๆ แล้วก็ คิดๆๆๆๆ แล้วมันก็มีความเห็นส่วนตัวผุดขึ้นมา
ก็แค่อยากบันทึกไว้ หรือเผื่อว่าจะมีท่านอื่นๆมาเพิ่มเติมขัดเกลาให้

เกี่ยวกับ อานาปานสติ ก็เคยอ่านแค่พระสูตรเดียวครับ ที่เคยทำลิ้งค์ไว้นั่นแหล่ะ
ขออ่าน พระสูตรกับอรรถกถา ที่คุณdamrong121 ทำลิ้งค์ไว้ให้ก่อน
แล้วถ้ามีอะไรอยากคุยค่อยว่ากันอีกทีนะครับ

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 18 ก.ค. 52 - 10:47


อ้างอิง (วสวัตตี @ 18 ก.ค. 52 - 09:56)


หากไม่รังเกียจเรื่องสมถะ ก็อยากแลกเปลี่ยนความรู้ด้วยคนครับ
(วสวัตตี @ 18 ก.ค. 52 - 09:56)

สมถะผมไม่รังเกียจครับ

แต่ว่าระยะนี้ต้องเพลาๆลง

ยินดีที่ได้คุยกับคุณครับ  แต่ว่าผมไม่มีความรู้มาแลกเปลี่ยนกับคุณนี่ซิ

แหะ...แหะ...แหะ... คุณมีอะไรดีๆก็เขียนมาให้อ่านนะครับ  ผมเป็นพวกชอบอ่านชอบลอกการบ้านเพื่อน  ( เป็นมาแต่เด็กๆง่ะ ...... แบ่บว่า....เคยตัว )

                          


 

ตอบโดย: ระนาด 18 ก.ค. 52 - 11:06


อ้างอิง (บุญรักษ์ @ 18 ก.ค. 52 - 09:42)


.....คงต้องค่อยๆสร้างมิเตอร์ของตัวเองขึ้นมา.....แล้วก็ไปเทียบกับมิเตอร์มาตรฐานเป็นระยะๆ.....

.....แล้วค่อยทำแจกเนอะ.....

 
(บุญรักษ์ @ 18 ก.ค. 52 - 09:42)


มีศูนย์บริการด้วยนะ  ( รอบคอบไว้ก่อน...เผื่อเครื่องมันเสีย )

                     

ตอบโดย: ระนาด 18 ก.ค. 52 - 11:12


สวัสดีครับทุกท่าน  ขอสวัสดีโดยรวมๆ นะครับ.

   พอดีเมื่อวานภาคบ่าย ผมต้องไปโรงพยาบาล และพึ่งจะเข้าเน็ตตอนนี้เอง ได้เห็นความคิดเห็นต่างเพิ่มขึ้นมาก
  ดังนั้นผมจะสนทนาไปตามคำถามของคุณระนาดก่อนนะครับ.

อ้างอิง
เมื่อเช้านี้ผมไปส่งการบ้านที่ศรีราชา  ผมได้กราบเรียนถามหลวงพ่อว่า  ตำราบอกว่า  จิตรู้อารมณ์ได้ทีละอย่าง  แต่ทำไมผมจึงรู้ความรู้สึกทางกายและทางใจได้พร้อมกันและเห็นความรู้สึกแยกกันเป็นส่วนๆได้  ในเวลาเดียวกัน


หลวงพ่อได้เมตตาให้คำตอบมาว่า  เพราะว่าจิตของคุณรู้ความรู้สึกแบบจี้ติดเกินไป   ความจริงแล้วจิตรู้ความรู้สึกได้ทีละอย่าง  แต่ว่ารู้ถี่ๆ  จึงดูเหมือนว่า  รู้ได้พร้อมๆกัน และรู้ได้หลายๆความรู้สึก  ในเวลาเดียวกัน


การรู้แบบนี้ไม่ถูกต้อง  คุณควรจะแก้ไขเสียใหม่โดย  ลดกำลังของสมาธิลง  แล้วรู้ความรู้สึกต่างๆไปให้เบาสบายมากกว่านี้  แล้วคุณจะเห็นความรู้สึกเกิดขึ้นทีละอย่าง  ทีละอย่างเรียงกันไปเป็นลำดับๆ


    ครับคุณระนาด ปกติโดยธรรมชาติแล้วจิต รับรู้อารมณ์ได้ที่ละอย่าง แต่เนื่องจากจิตเกิดดับนั้นรวดเร็วมาก   จึงเสมือนร้บรู้หลายอย่างในช่วงเวลาเดียวกัน.

     เปรีบบเทียบเหมือนกับหลอดไฟที่เป็นใส้ ที่ตาเราเห็นแสงสว่างอยู่ตลอดเวลา แต่ความจริงนั้นแสงสว่างเกิดดับอยู่ตลอดเวลา  แต่จิตนั้นเกิดดับเร็วยิ่งกว่าแสงสว่างที่สว่างจากหลอดไฟเสียอีก.

   เมื่อเราปฏิบัติธรรมใหม่ๆ ที่ยังไม่เจริญเป็นวิปัสสนาเบื้องสูง จะให้เห็นหรือเท่าทับกับจิตรับรู้ที่ละอารมณ์นั้นย่อมเป็นไปไม่ได้.

    และถ้าเป็นบุคคลธรรมดาแล้วบอกว่าตนเห็นจิตรับรู้อารมณ์ที่ละอารมณ์โดยตลอดก็ย่อมเป็นไปไม่ได้.

    ผมก็เลยตั้งข้อสังเกต ในความคิดเห็นต้นๆ แล้วว่า คุณระนาด จะยกวิปัสสนาญาณที่สูงกว่านั้นได้อย่างไร  ในเมื่อคุณระนาด เข้าใจอยู่อย่างนั้นว่า ปฏิบัติอย่างที่เป็นสบายและเห็นไตรลักษณ์ได้ดี
    เพราะที่คุณระนาดปฏิบัตินั้น ไม่ได้เป็นการเจริญสติที่ให้เจริญขึ้น เพี่ยงลดอารมณ์ของสมาธิลงมาเพื่อให้สติเด่นขึ้นเท่านั้นเอง จึงปฏิบัติเหมือนสบายขึ้น วิปัสสนาเบื้องต้นพื้นฐานจึงพัฒนาขึ้น.

     ผมจึงตั่งข้อสังเกตุว่า จะพัฒนาวิปัสสนาเบื้องสูงได้อย่างไร?

   ซึ่งคุณบุญรักษ์ ก็ได้แนะนำไว้แล้วว่า ไม่ต้องลดอะไร

    ก็คือการเจริญสติเพิ่มขึ้นนั้นเอง  การจะเท่าทันกับจิตที่รับรู้ได้ที่ละอารมณ์ได้ก็คือการเจริญสติให้ว่องไวขึ้น.

     วิธิปฏิบัติ คือการมีสติกำหนดรู้เท่าทันกับอารมณ์ที่เกิดปรากฏเด่นชัดเป็นปัจจุบันอยู่เนื่องๆ ด้วยใจที่ไม่ไปปรุงแต่งอารมณ์ (มีเจตนาในการกำหนดรู้อารมณ์  แต่ไม่ปรุงแต่งคือสักแต่ นี้เป็นการพัฒนาสติให้เจริญขึ้น วองไวขึ้นเท่าทันขึ้น)

     และในการเจริญสติให้เพิ่มขึ้นผมก็ได้พิมพ์ไว้แล้ว ตามพุทธพจน์คือ การมีสติรู้ตัวทั้วพร้อมในอริยาบทใหญ่ แล้วมีสติรู้แยกย่อยในอริยาบทย่อยต่างๆ
   แล้วมีสติรู้เท่าทันเป็นปัจจุบันละเอียดขึ้น กับกายและใจ คืออินทรีย์สังวร  นั้นก็คือ

   คือมีสติเท่าทันกับผัสสะ หรือสิ่งที่ปรากฏทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ โดยไม่ปรุงแต่นั้นเอง

    เมื่อสติเจริญขึ้น ก็จะเท่าทันกับสันตติ ที่ปรากฏครับ และเมื่อพละ 5 เจริญสมบูรณ์ วิปัสสนาก็จะเจริญขึ้น เห็นการเกิดดับได้ครับ.


     หมายเหตุ กำหนดรู้อย่างมีสติ เป็นกลางๆ อย่าไปปรุงแต่ง นะครับ แล้วสติจะเจริญพัฒนาขึ้น.
      เมื่อจะเป็นวิปัสสนานั้น  สตินี้แหละเป็นสิ่งจำเป็นในการปฏิบัติเป็นอย่างมาก.


           

ตอบโดย: Vicha 18 ก.ค. 52 - 17:24


ต้องขอบคุณ คุณ damrong121

    ที่เอาลิงค์ในความคิดเห็นที่ 281 มาให้อ่าน  ผมยอมรับว่าที่ผ่านมาผมยังไม่เคยอ่านตรงนี้เลยครับ

  ส่วนคำถามตรงนี้.

อ้างอิง
เอ้า... แล้วปฏิบัติอานาปานสติได้สมบูรณ์ ทำไมไม่ถึงมรรคญาณ ในอานาปานสติบทสุดท้ายเลยละ ?


  เอาไว้เมื่อสะดวกในวันหลังนะครับ.

 

ตอบโดย: Vicha 18 ก.ค. 52 - 17:39


ผมมีข้อสังเกตุเพิ่มเติมให้คุณระนาด ครับ

     แก้ไขเพิ่มเติม มีสติกำหนดรู้อารมณ์ที่ที่เด่นที่สุดที่ละอย่าง คืออารมณ์หรือผัสสะ หรือปรากฏเด่นชัดกว่าอย่างอื่นก็มีสติกำหนดรู้สภาวะนั้นให้เป็นปัจจุบัน และเมื่อมีอารมณ์อื่นกลับมาปรากฏชัดกว่า ก็มีสติกำหนดรู้อามรมณ์ที่ชัดกว่านั้นต่อไป ปฏิบัติให้เป็นปัจจุบันอย่างเนื่องๆ
   ไม่ใช่ดูโดยรวมๆ ปนกันทังหมด  ถ้ามีสติดูรวมปนกันทั้งหมดโดยตลอด จะไม่ใช้เป็นการเจริญสติให้เพิมขึ้นครับ.
   แต่ถ้าใช้เพื่อเป็นการปรับเพื่อผ่อนคลายบางครังบางคร่าวก็ไม่ว่ากันครับ. แล้วค่อยมีสติไปเท่าทันที่ละอย่างที่ปรากฏชัดของรูปนาม ก็เป็นการผ่อนคลายแบบหนึ่งได้ครับ.
 

ตอบโดย: Vicha 18 ก.ค. 52 - 18:01


อนุโมทนาสาธุค่ะ
คุณระนาดคะ
ตามอ่านกระทู้นี้มาเรื่อยแม้จะไม่รู้เรื่องสมถะเท่าใดนักแต่ก็ทำให้ได้ความรู้ดีขึ้น
เพียงแต่รู้สึกสังเกตุได้ตอนอ่านความคิดเห็นของคุณระนาดเมื่อก่อนนี้ว่า
มีความอึดอัดครัดเคร่งมาก
แต่หลังจากไปส่งการบ้านมา
ความคิดเห็นของคุณระนาดมีความเบาสบาย โปร่งโล่งขึ้นมาก
ข้างในใจของคุณระนาดคงเบา รื่นรมย์  และรู้สึกเหมือนจะยิ้มหลายๆ ครั้ง

หากจะศึกษาเพิ่มเติมเรื่องการเจริญสติ
ขออนุญาตแนะนำหนังสือประมวลธรรมเทศนา ของหลวงพ่อปราโมทย์ เลยดีกว่า
รวมหมดทุกเรื่องทุกขั้นตอนโดยแยกหมวดหมู่ไว้แล้วอย่างดี
หากไม่รังเกียจการอ่านหนังสือหนา ๆ(ประมาณ หกร้อยกว่าหน้า)
ลองเข้าไปดูเว็บวิมุติก็ได้ค่ะ
(ขอโทษทีค่ะ ทำลิงก์ไม่เป็นน่ะค่ะ)

ตอบโดย: เภตรา 18 ก.ค. 52 - 18:12


อ้างอิง (phetra @ 18 ก.ค. 52 - 18:12)
สังเกตุได้ตอนอ่านความคิดเห็นของคุณระนาดเมื่อก่อนนี้ว่า
มีความอึดอัดครัดเคร่งมาก
แต่หลังจากไปส่งการบ้านมา
ความคิดเห็นของคุณระนาดมีความเบาสบาย โปร่งโล่งขึ้นมาก
ข้างในใจของคุณระนาดคงเบา รื่นรมย์  และรู้สึกเหมือนจะยิ้มหลายๆ ครั้ง




สวัสดีครับคุณเภตรา

  อาการที่เห็นความรู้สึกหลายๆอย่าง  หลายๆส่วนในเวลาเดียวกัน  เป็นความสุขความสบายดีมากๆเลยครับ  ไม่ใช่เป็นความอึดอัดเคร่งครัดแต่อย่างใด  ( ถ้าทำแล้วไม่มีความสุขสบาย   ผมก็เลิกทำแบบนี้ไปนานแล้วครับ )

หลังจากผมไปส่งการบ้านมาแล้ว  ผมท้อแท้ใจอย่างบอกไม่ถูก  แต่ก็ไม่เป็นไร  ตอนนี้ผมรู้แล้วว่าการปฏิบัติที่ผิดเป็นอย่างไร  ซึ่งต่อไปถ้าผมไม่ปฏิบัติผิด  สักวันหนึ่งมันก็คงจะถูกได้เองแหละ

ขอบคุณในความปรารถนาดีของคุณครับ    
                 ---------------------------------------------

ขอบคุณ  คำแนะนำของคุณวิชาครับ    
 

ตอบโดย: ระนาด 18 ก.ค. 52 - 19:02


อย่าท้อแท้ใจไปเลยครับ ความท้อแท้ใจเป็นถีนะมิทธะ

ผมเองก็ยังมีการเข้าใจผิดหลายอย่างเหมือนกัน อย่างเช่น เคยคิดว่า มัคคญาณมันสุ่มเกิด แต่ที่จริงมันเกิดเรียงกันไปตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจิตแล้ว  ไม่มีการข้ามลำดับ

โลกุตตรจิตดวงไหนเกิดก็มีหน้าที่ทำลายกิเลสชนิดนั้นๆตามหน้าที่ของตัวเอง ที่เป็นดังนี้เพราะผมมิได้อ่านพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ 9  ดีว่าได้หลายๆท่านในนี้ช่วยเตือน ไม่งั้นคงเข้าใจผิดไปนาน

หรืออย่างที่คุณน้องบูได้เตือนว่า ผู้ที่ได้ฌานนั้น การได้ฌานแต่ละชั้น ครั้งแรกนั้นจะไม่มีการข้ามลำดับ แต่หลังจากครั้งแรกของแต่ละชั้นผ่านไปแล้ว ครั้งหลังๆ เมื่อมีความชำนาญจึงจะข้ามฌานชั้นต่ำๆกว่าไปได้

(หมายเหตุ : ที่กล่าวนี้ไม่รวมถึงการเข้าผลสมาบัติของพระอริยบุคคล ซึ่งต่างจากการเข้าฌาน)

 

ตอบโดย: วสวัตตี 18 ก.ค. 52 - 21:59


ตอนแรกที่คุณระนาดเข้ามาถามเรื่องการเห็นแยกเป็นส่วนๆ
แล้วรู้สึกมีความสุข   ตอนนั้นดิฉ้นไม่ทราบว่าเป็นความสุข
แบบแผ่ซ่านอย่างที่คุณระนาดเล่า หลังจากได้ส่งการบ้านแล้ว

ถ้าเราเห็นความจริงของกาย-ใจ  ด้วยสติสมาธิที่สมดุลย์
ความสุขอาจเกิดได้  แต่จะสั้นๆ แล้วเป็นสุขแบบปลอดโปร่ง
โล่งเบา  เห็นแล้วก็จบ  สุขแล้วก็จบไป  จะโปร่งโล่งเบา

แต่ถ้าอย่างที่บอกว่าพอออกไปรู้  แล้วสุุขแผ่ซ่าน  อันนี้
เป็นอาการที่สมาธินำหน้าสติไปค่ะ  พออ่านทวนที่คุณระนาดเล่า
หลายๆ รอบ  รู้สึกว่าเวลาคุณระนาดดูกายดูใจทีไร (ถ้าผิดก็ขออภัย)
จิตจะไปตรงสภาวะนี้บ่อยๆ  อันนี้เป็นอาการที่ เราไปจงใจน่ะค่ะ
มันจะกลับไปตรงที่ๆ เคยไป  เป็นอาการหนึ่งของสมถะที่นำหน้า

ถ้าิจิตมีสติ-สมาธิ สมดุลย์กัน  เมื่อไประลึกรู้สภาวะใดๆ
เมื่อรู้แล้วมันจะจบ  คือ รู้แล้วทิ้ง รู้แล้วไม่เอา โดยจะเป็นไปเอง
แต่ถ้าเราจงใจดู  เราจะเห็นสภาวะนั้นซ้ำบ่อยๆ ถี่ๆ ไม่จบ ไม่ขาด

การแ้ก้ไขคงต้องเจริญสติให้ขึ้นมาเท่าเทียมกับสมาธิ
อย่างที่ท่านอื่นๆ ได้แนะนำไปแล้ว  ลองเจริญสติในระหว่างวัน
ไม่ทราบว่าถนัดดูกายหรือไม่  การดูอิริยาบทของกาย
ในชีวิตประจำวันก็เป็นกรรมฐานหนึ่งที่ทำให้สติเกิดได้ง่ายค่ะ
(ถ้าถูกกับจริตนะคะ)  ลองอ่านที่คุณวิชาแนะนำไว้แล้ว

วิธีแก้อีกแบบคือ ไม่ห้าม ถ้าจิตไปตรงที่เคยไปอีก  ก็ปล่อยให้เขา
ทำไปอย่างที่เขาคุ้นชิน  แต่เราตามรู้อยู่ห่างๆ  เราจะค่อยๆ เข้าใจ
กระบวนการการทำงานตรงนี้ได้ดีขึ้น เมื่อเข้าใจแล้ว จิตก็จะเลิกทำไปเอง
แต่ถ้้าใช้วิธีต้องอดทนที่จะตามดู  เพราะเมื่อเห็นจิตเริ่มเข้าวิถีแบบเดิมๆ
เราจะอดทำตามความเคยชินเก่าๆ ไม่ได้  แต่ทำไปสักพัก ก็จะพอไปไหวค่ะ
สู้ๆ ค่ะ      
 

ตอบโดย: อัญญาสิ 18 ก.ค. 52 - 22:40


อ้างอิง (อัญญาสิ @ 18 ก.ค. 52 - 22:40)

อย่างที่บอกว่าพอออกไปรู้  แล้วสุุขแผ่ซ่าน  อันนี้
เป็นอาการที่สมาธินำหน้าสติไปค่ะ  พออ่านทวนที่คุณระนาดเล่า
หลายๆ รอบ  รู้สึกว่าเวลาคุณระนาดดูกายดูใจทีไร (ถ้าผิดก็ขออภัย)
จิตจะไปตรงสภาวะนี้บ่อยๆ  อันนี้เป็นอาการที่ เราไปจงใจน่ะค่ะ
มันจะกลับไปตรงที่ๆ เคยไป  เป็นอาการหนึ่งของสมถะที่นำหน้า


การแ้ก้ไขคงต้องเจริญสติให้ขึ้นมาเท่าเทียมกับสมาธิ
  ลองเจริญสติในระหว่างวัน


ผมขอขอบคุณ  คุณวสวัตตีและคุณอัญญาสิมากๆครับ  ที่มีความปรารถนาดีต่อผม  


การที่ผมเห็นความรู้สึกทางกายและใจพร้อมๆกัน และเห็นแยกกันเป็นส่วนๆในเวลาเดียวกัน  มีลำดับขั้นตอนดังนี้ครับ


เริ่มจาก.....ผมระลึกรู้ความรู้สึกทั่วทั้งร่างกายขึ้นมานิดหน่อย ( ตอนก่อนไปส่งการบ้านผมนึกว่ามันเกิดขึ้นเอง  แต่หลังจากส่งการบ้านกลับมาแล้ว  ผมจึงสังเกตุพบว่า  ผมจงใจระลึกรู้ขึ้นมานิดดดดส์ส์ส์..นึงครับ ) ก็จะเกิดความซาบซ่านไปทั่วทั้งร่างกาย ( ตรงนี้แหละที่หลวงพ่อทักว่า รู้ผิดแล้ว )  แล้วก็มีความสุขเบาสบายใจพร้อมๆกับเห็นกาย - ใจ ได้พร้อมๆกันและเห็นกาย - ใจ แยกกันเป็นส่วนๆ


การที่ผมเห็นกาย - ใจ ได้พร้อมกันและเห็นแยกกันเป็นส่วนๆ  มีความเบาสบายใจดีมากครับ  .....เมื่อมีความเบาสบายใจ ..... ก็เป็นปัจจัยทำให้เห็นกาย - ใจ แยกกันเป็นส่วนๆและเห็นได้พร้อมๆกันได้ดีขึ้น


เมื่อผมเห็นกาย - ใจ ได้พร้อมกันและเห็นแยกกันเป็นส่วนๆได้ดีขึ้น  ... ก็เป็นปัจจัยทำให้มีความเบาสบายใจเกิดตามมามากขึ้น


เมื่อมีความเบาสบายใจมากขึ้น     ก็เป็นปัจจัยทำให้ผมเห็นกาย - ใจ ได้พร้อมกันและเห็นแยกกันเป็นส่วนๆได้ดียิ่งขึ้นไปอีก.....วนเวียนกันอย่างนี้เรื่อยๆไป.......ทั้งการนั่งสมาธิเดินจงกรมตอนกลางคืน   และ  การเจริญสติในชีวิตประจำวันครับ ( เห็นได้ทั้งวันทั้งคืน )

                 ------------------------------------------------

ผมขอรบกวนปรึกษาคุณวิชาและเพื่อนๆว่า   อาการที่ผมเล่ามานี้  คือการทำฌานชนิดหนึ่งใช่ไหมครับ   เพราะว่ามีองค์ประกอบครบถ้วนคือ  มีปีติสุข  และเอกกัคตารมณ์ ( คือเห็นกาย - ใจ พร้อมๆกันโดยเห็นแยกกันเป็นส่วนๆในเวลาเดียวกัน )


สำหรับ  วิตกและวิจารณ์นั้น  เมื่อก่อนนู้นนนน.....ผมต้องอาศัยการรู้ความรู้สึกตัวทั่วร่างกายเป็นตัวนำ ( คือ..มีวิตกวิจารณ์ขึ้นมาก่อน...ใช่ไหม )  เพื่อให้เกิดความซาบซ่าน ( คือปีติ...ใช่ไหม ) ไปทั่วทั้งร่างกายขึ้นมาก่อน


    แต่เดี๋ยวนี้  ผมไม่ต้องอาศัยการรู้ความรู้สึกทั่วทั้งร่างกายเป็นตัวนำอีกแล้ว  เพราะว่า  ผมระลึกรู้ความรู้สึกเพียงเบาๆแค่ 5 วินาที  อาการซาบซ่านไปทั่วทั้งร่างกายก็เกิดขึ้นมาเองได้แล้ว  ( ซึ่งตรงนี้หลวงพ่อบอกขึ้นมาทันทีว่า  ผมรู้ความรู้สึกไม่ถูกวิธีแล้ว ) ........ และขบวนการณ์ทั้งหลายก็เกิดตามมาเองอย่างรวดเร็วจนผมรู้สึกเสมือนว่า  เกิดขึ้นพร้อมกัน ดังที่ผมได้เล่ามาข้างต้น

               ------------------------------------------------

ถ้าสมมุติว่า   ที่ผมปฏิบัติอยู่คือการทำฌานชนิดหนึ่ง ( แต่ผมนึกว่าเป็นการเจริญสติปัฏฐาน  )  วิธีแก้ให้หลุดจากฌาน  เราควรจะแก้ไขอย่างไรครับ  เลิกนั่งสมาธิ เลิกเดินจงกรม  เลิกการเจริญสติในชีวิตประจำวันสัก 3 เดือน   แล้วค่อยมาเริ่มต้น  ฝึกฝนกันใหม่เหมือนเด็กหัดใหม่เลย   จะแก้ไขได้ไหมครับ  ...  ( ผมว่าน่าจะแก้ไขได้นะ )
                   ------------------------------------------------

หมายเหตุ   ตอนนี้ผมคิดว่า  สติกับสมาธิ  เป็นองค์ธรรมคนละตัว....ใช่ไหมครับ

ถ้าใช่............การฝึกสติ  คือฝึกอย่างไร  แตกต่างจากการฝึกสมาธิอย่างไรครับ

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ ( คือว่าผมไม่มีความรู้ทางธรรมเลย  ศัพท์เทคนิกที่เป็นภาษาบาลี  ผมไม่เข้าใจ  อ่านไม่รู้เรื่อง   ผมขอคำแนะนำที่เป็นภาษาที่ชาวบ้านพูดกันครับ ....แหะ...แหะ....     )

ตอบโดย: ระนาด 19 ก.ค. 52 - 08:00


อ้างอิง (ระนาด @ 19 ก.ค. 52 - 08:00)



เมื่อมีความเบาสบายใจมากขึ้น     ก็เป็นปัจจัยทำให้ผมเห็นกาย - ใจ ได้พร้อมกันและเห็นแยกกันเป็นส่วนๆได้ดียิ่งขึ้นไปอีก.....วนเวียนกันอย่างนี้เรื่อยๆไป.......ทั้งการนั่งสมาธิเดินจงกรมตอนกลางคืน   และ  การเจริญสติในชีวิตประจำวันครับ ( เห็นได้ทั้งวันทั้งคืน )
 


ผมขอขยายความตรงนี้ให้เข้าใจง่ายๆอีกหน่อยนะครับ

ผมเห็นสภาวะนี้ได้ทั้งวันทั้งคืน  หมายความว่า  ผมเห็นสภาวะนี้เป็นระยะเวลาสั้นบ้างยาวบ้าง  คือว่าจะมีการดับหายไปสั้นๆ  แล้วก็เห็นขึ้นมาแบบต่อเนื่องได้อีกครับ


ซึ่งตรงนี้  ( ผมเคยบอกคุณวิชาไปในความเห็นเมื่อหลายวันก่อน )  ผมไม่เห็นการเกิดและดับแบบที่คุณอัญญาสิเห็นครับ  คือ  ผมเห็นกายและใจดำเนินงานไปแบบต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ  โดยที่ผมเป็นคนดูอยู่ข้างนอก  ( ดังนั้นผมจึงนึกว่าตนเองกำลังเจริญสติปัฏฐานคือ .... ดูอนัตตาอยู่ )


เรื่องราวมันเป็นแบบนี้แหละครับสารวัตร    ( ขอล้อเล่นหน่อยนึงเถอะ  นิสัยผมทำอะไรเป็นการเป็นงานนานๆนักไม่ค่อยจะได้ )  ฮี่  ฮี่  ฮี่  

                    

ตอบโดย: ระนาด 19 ก.ค. 52 - 08:40


อืม พออ่านที่คุณระนาดเล่ามา  เป็นการเพ่งจริงๆ ด้วยค่่ะ
ถ้าเราเห็นสภาวะใดๆ ทั้งวันทั้งคืน  ถึงจะสั้นบ้างยาวบ้าง
อันนั้นคือเราเพ่งค่ะ  เพราะเวลาสติระลึกรู้จริงๆ
มันสั้นๆ เกิดแล้วดับไป  ไม่อยู่นาน

เคยเป็นมาก่อนเหมือนกันค่ะ  ตอนนั้นอาจารย์แก้ให้โดย
ให้ิ้ทิ้งสภาวะนั้นไปเลย ไม่ต้องไปดูอีก แล้วก็กลับไปเจริญสติต่อ
คุณระนาดก็ใจแข็งๆ ทิ้งไปเลยเน้อ  

สติ กับ สมาธิ เป็นคนละตัวกันค่ะ
สติ คือ การระลึกรู้  ส่วนสมาธิเป็นการตั้งมั่น จดจ่อในการทำอะไรๆ

สมาธิก็ำจำเป็นในการวิปัสสนา  แต่ต้องพอดีๆ  ถ้ามากไปก็จะเพ่งจ้อง
สภาวะที่คุณระนาดเล่ามา คือ การไปเพ่งจ้องสิ่งที่คุณเห็น
แต่ขณะนั้นคุณจะลืมกายลืมใจไป  คือใจมันไปอยู่กับสิ่งที่เห็นเสียแล้ว
ตอนนั้นกายทำอะไรอยู่ ใจทำอะไรอยู่ก็ไม่รู้

สติ หรือ ความรู้สึกตัว ที่เราต้องการในการทำวิปัสสนา คือ มันจะระลึกรู้ขึ้นมาเอง
(อธิบายไม่ถูกเหมือนกันค่ะ)  จะไม่ใช่การทำขึ้น หรือ ไประลึกถึงขึ้นมา

ขอลองยกเปรียบเทียบให้ฟัง  บางทีเวลาเราลืมอะไรบางอย่าง เช่น
ลืมว่าวางกุญแจบ้านไว้ตรงไหน  นึกเท่าไหร่ก็นึกไม่ออกจนเลิกนึกไปแล้ว
แต่ตอนนึกออกน่ะ มันนึกออกเอง  แล้วเราก็จะ อ๋อ นึกออกแล้ว
คล้ายๆ ประมาณนั้น  แต่ในการเจริญสติ คือ เราจะอ๋อกับสภาวะของกายใจ
โดยไม่ได้ไปจงใจดูหรือ  จงใจดักไว้ก่อน

จะให้แนะนำการเจริญสติในตอนนี้  ก็ไม่แน่ใจว่าจะเป็นการไปทำขึ้นมาอีกหรือไม่
ลองไม่ทำอะไรๆ ไปซักระยะน่าจะดีค่ะ  อาจจะลดเหลือแค่สวดมนต์บ้าง
แล้วในชีวิตประจำวันก็ำทำตัวไปตามสบาย  ไม่ต้องคิดว่าต้องรู้ต้องดูอะไร
ถ้าสภาวะใดๆ เกิดขึ้น เช่น โกรธ ชอบใจ ฯลฯ  แล้วจิตไประลึกรู้เองก็ปล่อยมันไป
แต่ไม่ต้องตั้งท่าว่าจะดู หรือ ระลึกถึงความรู้สึกตัว อย่างที่ผ่านมาค่ะ
รอให้ท่านอื่นๆ มาช่วยแชร์
 

ตอบโดย: อัญญาสิ 19 ก.ค. 52 - 09:30


อ้างอิง (ระนาด @ 19 ก.ค. 52 - 08:00)
ตอนก่อนไปส่งการบ้านผมนึกว่ามันเกิดขึ้นเอง  แต่หลังจากส่งการบ้านกลับมาแล้ว  ผมจึงสังเกตุพบว่า  ผมจงใจระลึกรู้ขึ้นมานิดดดดส์ส์ส์..นึงครับ

ในที่สุด หลังจากการสืบสวน  จำเลยก็ให้การรับสารภาพ ว่าได้จงใจไประลึกรู้  ฮึ่ม  
 

ตอบโดย: อัญญาสิ 19 ก.ค. 52 - 09:41


อ้างอิง (อัญญาสิ @ 19 ก.ค. 52 - 09:41)
อ้างอิง (ระนาด @ 19 ก.ค. 52 - 08:00)
ตอนก่อนไปส่งการบ้านผมนึกว่ามันเกิดขึ้นเอง  แต่หลังจากส่งการบ้านกลับมาแล้ว  ผมจึงสังเกตุพบว่า  ผมจงใจระลึกรู้ขึ้นมานิดดดดส์ส์ส์..นึงครับ

ในที่สุด หลังจากการสืบสวน  จำเลยก็ให้การรับสารภาพ ว่าได้จงใจไประลึกรู้  ฮึ่ม  
(อัญญาสิ @ 19 ก.ค. 52 - 09:41)


ผมผิดไปแล้วครับ  สารวัตร ( ก็เด็กมันยั่วง่ะ )

                         

                                

ตอบโดย: ระนาด 19 ก.ค. 52 - 10:53


อ้างอิง (อัญญาสิ @ 19 ก.ค. 52 - 09:30)


สมาธิก็ำจำเป็นในการวิปัสสนา  แต่ต้องพอดีๆ  ถ้ามากไปก็จะเพ่งจ้อง
สภาวะที่คุณระนาดเล่ามา คือ การไปเพ่งจ้องสิ่งที่คุณเห็น
แต่ขณะนั้นคุณจะลืมกายลืมใจไป  คือใจมันไปอยู่กับสิ่งที่เห็นเสียแล้ว
ตอนนั้นกายทำอะไรอยู่ ใจทำอะไรอยู่ก็ไม่รู้


เรื่องราวมันเป็นยังงี้ครับ  สารวัตร

สภาวะที่ผมรู้กายรู้ใจไปพร้อมๆกัน  หมายความว่า  เวลาที่ผมทำอะไรๆอยู่ ( เช่นกินข้าว  อาบน้ำ  พูดคุยกับคนอื่นๆ..............ฯลฯ ) ผมจะรู้ความรู้สึกไปพร้อมๆกันหมดเลยครับ  รู้ทั้งการสัมผัสทางกาย  รู้ทั้งการได้ยินเสียง  รู้ทั้งอารมณ์ในใจที่เกิดขึ้น  รู้ความสุขความเพลิดเพลินไปพร้อมๆกันทั้งหมดเลย  รู้แบบนี้ด้วยความปลอดโปร่งโล่งเบาสบายดีมากครับ ... ถ้าไม่เบาสบาย  ผมก็ไม่ทำแบบนี้อยู่แล้วครับ  ( ถ้าทำแล้วเป็นทุกข์จะทำไปทำไม )


ไม่ใช่ผมลืมกายลืมใจ  ไม่ใช่กายทำอะไรอยู่ก็ไม่รู้  ไม่ใช่ใจทำอะไรอยู่ก็ไม่รู้ ....ไม่ใช่แบบนี้ครับ  ( เพราะฉะนั้น  ผมจึงเข้าใจว่าตนเองกำลังเจริญสติปัฏฐานครับ )

                  

ตอบโดย: ระนาด 19 ก.ค. 52 - 11:01


อ้างอิง (อัญญาสิ @ 19 ก.ค. 52 - 09:30)

สติ หรือ ความรู้สึกตัว ที่เราต้องการในการทำวิปัสสนา คือ มันจะระลึกรู้ขึ้นมาเอง        จะไม่ใช่การทำขึ้น หรือ ไประลึกถึงขึ้นมา

  บางทีเวลาเราลืมอะไรบางอย่าง เช่น
ลืมว่าวางกุญแจบ้านไว้ตรงไหน  นึกเท่าไหร่ก็นึกไม่ออกจนเลิกนึกไปแล้ว
แต่ตอนนึกออกน่ะ มันนึกออกเอง  แล้วเราก็จะ อ๋อ นึกออกแล้ว
คล้ายๆ ประมาณนั้น  แต่ในการเจริญสติ คือ เราจะอ๋อกับสภาวะของกายใจ
โดยไม่ได้ไปจงใจดูหรือ  จงใจดักไว้ก่อน
(อัญญาสิ @ 19 ก.ค. 52 - 09:30)


ขอบคุณมากครับ  คุณอัญญาสิ  

คำแนะนำของคุณมีประโยชน์กับผมมาก   ตอนนี้ผม save ข้อความของคุณเก็บไว้เรียบร้อยแล้วครับ ( คือผมจดความเห็นของคุณลงในสมุดบันทึกด้วยลายมือของผมนี่เเหละ  แต่ว่าผมใช้คำว่า save เพราะว่า  ดูมันโก้ขึ้นอีกหน่อย    )

                     

ตอบโดย: ระนาด 19 ก.ค. 52 - 11:55


ขออนุญาตแชร์ด้วยคนนะครับ ขอเรื่องสมถะก่อนเป็นลำดับแรก ว่าสภาวธรรมที่เกิดขึ้นกับท่านระนาดเป็นฌานหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ทุกท่านจะได้ข้ามไปกล่าวถึงเรื่องกายานุปัสสนาและเรื่องของสติกัน

สำหรับสภาวธรรมที่เกิดขึ้นกับท่านระนาดนั้น จะเป็นฌานหรือไม่ คิดว่าคงมีเพียงคุณระนาดเท่านั้นที่รู้ดีกว่าใคร

ก่อนอื่นท่านระนาดก็ต้องย้อนกลับไปตรวจสอบว่า  เวลาที่ท่านรู้สึกซาบซ่านนั้นความเย็นกายและเย็นใจที่เกิดขึ้นนั้นมันเย็นแค่ไหน เย็นเหมือนเข้าไปอยู่ในช่องทำน้ำแข็งของตู้เย็นแต่ไม่หนาว ไม่สะดุ้งไม่สะท้านหรือเปล่า เย็นราวกับชุบตัวด้วยน้ำทิพย์หรือไม่

และเย็นกายคล้ายกับทั้งร่างกายภายนอกและภายในฉาบทาไปด้วยยาหม่อง(แต่ไม่แสบ)หรือไม่  และใจรู้สึกเอิบอาบซาบซ่านโลดแล่นหรือไม่  ความเย็น ความเบา ความสบายความสุขเกิดขึ้นเท่ากันทั่วทั้งร่างกายหรือเปล่า

เวลาถูกยุงกัดหรือร่างกายกระทบสิ่งใด ไม่รู้สึกเจ็บ ไม่รู้สึกปวดหรือไม่  และสามารถยืนเดิน หรือนั่งติดต่อกันไปได้เป็นเวลานานโดยไม่รำคาญ ไม่ปวด ไม่เมื่อย เคลื่อนไหวร่างกายไปตามเหตุผลที่เหมาะสมโดยไม่ต้องสั่งงานร่างกายหรือไม่

ยังรับรู้อารมณ์ภายนอกทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ได้เป็นปกติอยู่หรือเปล่า  รับรู้โดยเท่าทันและใจไม่มีความปรารถนาในรูปที่ดี เสียงที่ไพเราะ กลิ่นที่หอม รสที่อร่อย หรือความสุขจากการสัมผัส

และที่ไม่ยินดี ไม่ปรารถนาอารมณ์ทั้งหลายในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตนั้นเป็นเพราะทางใจได้รับอารมณ์ปีติที่มีสติมั่นคงเป็นหนึ่งเดียวหรือไม่  กล่าวคือถึงแม้ใจจะได้รับอารมณ์ที่มีปีติโลดแล่น เอิบอาบ ซาบซ่าน เย็นสบาย สุขอย่างล้นเปี่ยม แต่ก็ไม่หวั่นไหวไปกับอารมณ์ทางใจนั้น ยึดมั่นเป็นหนึ่งเดียวพร้อมด้วยความแจ่มใสไม่วอกแวก

รู้หรือไม่ว่าอารมณ์ที่เกิดขึ้นทางใจนั้นมันครอบงำกำราบอารมณ์ทางกายได้หมด

สามารถอยู่ใกล้กับเสียงดังๆโดยปราศจากความรำคาญใจแม้แต่น้อยได้หรือไม่  สามารถอยู่ในที่ๆพลุกพล่นได้เป็นเวลานานๆหรือเปล่า

เวลาที่ความสุข ความเย็น ความเอิบอาบซาบซ่านใจนั้นมันเกิดขึ้นมาและกำลังจะสุดอารมณ์ ท่านรู้หรือไม่ว่าต้องทำอย่างไร  ควรระลึกถึงอะไร ตรงไหน ส่วนใดจึงจะทำให้เกิดอารมณ์นั้นขึ้นมาอีกครั้ง และรู้ว่าทำอย่างไรไม่ให้ใจตก หรือห่างไปจากอารมณ์นั้น

รู้ว่าควรจะทำอย่างไรให้สภาวะนั้นๆมันอยู่คู่กับใจเราไปได้นานๆ

และเวลาที่ระลึกถึงต้นเหตุหรือสิ่งที่ทำให้ใจเกิดปีตินั้น ท่านโผใจเข้าไปหาหรือไม่ เวลาที่เข้าไปหาแหล่งกำเนิดที่เกิดปีตินั้นใจของท่านบังเกิดความสุข ความสบาย ความเย็นและความอิ่บเอิบซาบซ่านยิ่งๆขึ้นไปกว่าเดิมเพิ่มขึ้นหรือเปล่า

และได้พยายามหน่วงใจไว้ให้อยู่คลุกเคล้ากับต้นเหตุและที่มาแห่งปีตินั้นไว้ให้นานที่สุดหรือไม่  เวลาที่ใจของท่านบังเกิดปีติและความสุขนั้น กายของท่านมันสุขตามไปทั่วทั้งลำตัวพร้อมกันกับใจหรือเปล่า

ได้ทำซ้ำไปซ้ำมาตลอดเวลาแบบนี้หรือไม่  และรู้ไหมว่าถ้าไม่ทำใจจะตกไปจากอารมณ์ดังกล่าว รู้หรือไม่ว่าถ้าไม่ทำปีติจะหมดไป  ได้ประคองจิตให้อยู่ในลักษณาการแบบนี้โดยไม่มีความลังเลสงสัย และรู้ว่าอะไรเกิดขึ้นกับใจ ไม่คิดจะไปถามใคร ไม่มีความกังวลในเรื่องเวลา ไม่มีอาการฟุ้งซ่านรำคาญใจ  สามารถอยู่ได้นานข้ามวันข้ามคืนโดยไม่มีอาการง่วงซึมหรือเปล่า

สติแจ่มใส สะอาด สว่าง สงบ สามารถคิดอ่านสิ่งใดๆได้โดยไม่ติดขัดและชัดทุกเรื่องหรือเปล่า คิดไปได้เรื่อยๆด้วยความสงบใจไม่รีบร้อน แต่ก็ไม่เนิ่นช้า และรู้ว่าไม่เคยคิดอ่านได้เจนจบเท่าช่วงเวลานี้มาก่อนเลยหรือไม่

รู้สึกได้ถึงเอกัคคตาไหมว่า มันมั่นคงหนักแน่นในอารมณ์เหมือนมีเสาขนาดใหญ่ปักอยู่ตรงกลางใจแต่ไม่รู้สึกแข็ง ไม่รู้สึกว่ามันหนักหรืออึดอัดแต่อย่างใด

เวลาถอนใจออกจากสภาวะดังกล่าว ร่างกายและจิตใจยังมีอาการดังกล่าวติดตามต่อเนื่องมาอีกสักชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือไม่

และเวลาถอนใจออกจากสภาวะดังกล่าว ทำโดยการตัดสินใจไม่โผใจ ไม่ยกใจเข้าไปหาต้นกำเนิดและแหล่งที่มาของปีติความยินดีเอิบอาบซาบซ่านใจหรือไม่

เป็นดังนี้แหละครับสำหรับสภาวะที่เรียกว่าปฐมฌาน หรืออัปปนาสมาธิ อย่าคิดว่าเป็นการสอบทานอารมณ์เลยนะครับ คิดว่าเป็นการแชร์ความรู้คู่กันไปจะดีกว่า เพราะพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่ากัลยาณมิตรเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์ ไม่ใช่เพียงครึ่งเดียว ผมเองก็ปรารถนาจะได้เรียนรู้ภาวนามยปัญญาจากท่านระนาดและทุกๆท่านเช่นกัน  ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรมครับ      

ตอบโดย: วสวัตตี 19 ก.ค. 52 - 12:09


อ่านไปอ่านมา แล้วคิดถึงคุณหมอฟันท่านหนึ่งที่พูดถึงเจ๊ปรุง
ท่านเล่าว่า พอปฏิบัติไปๆ เจ๊ปรุงแกก็จะเนียนไปกับเรา
กับทิฎฐิของเรา หลอกให้เราหลงทำนั่นทำนี่
จนลืมดูความจริง ของกายกับใจ
บางทีก็มัวแต่เสียใจ ท้อแท้ บางทีก็ลิงโลด ลำพองใจ
ถ้าเป็นผู้ที่มีความแน่วแน่ ท่านคงจะไม่สนใจที่ตัวควาย
คงสนใจดูเฉพาะคนที่ถือคันไถ
เคยอ่านการตอบคำถามของอาจารย์สุรวัฒน์
ดูเหมือนท่านจะมีหลักการตอบว่า เกิดอะไรก็ให้ดูไป
หลวงพ่อปราโมทย์ท่านก็เน้นให้เรานับหนึ่งทุกวัน
ไม่ต้องฉลาดปราดเปรื่องอะไร แต่ให้มีความอดทน
อดทนต่อการตามดู ตามรู้ ทั้งสิ่งที่พอใจ และไม่พอใจ
นึกแล้วก็รู้สึกละอายตนเองเหมือนกัน
ที่มีครูบาอาจารย์ที่ประเสริฐมากมาย ยังมัวลุ่มหลงอยู่กับความสุขสบาย
ขาดขันติวิรยะในการภาวนา
ขออนุโมทนากับทุกท่านที่ภาวนาอย่างต่อเนื่อง
และร่วมสนทนาธรรมให้เกิดความชุ่มชื่นใจในการปฎิบัติสำหรับผู้ที่อินทรีย์อ่อนด้อยอย่างดิฉัน


 

ตอบโดย: วายุภักษ์ 19 ก.ค. 52 - 12:18


สวัสดีครับคุณวสวัตตี

ที่ผมอยากทราบว่าผมทำฌานอยู่หรือไม่....ก็เพราะว่า  ถ้าผมทำฌานอยู่  ผมก็ควรจะรู้ว่าผมทำฌานอยู่   ไม่ใช่ทำฌานอยู่แต่นึกว่ากำลังเจริญสติปัฏฐานอยู่  หรือว่า  ถ้าไม่ใช่ฌาน  ผมก็ควรจะรู้ว่าผมกำลังทำอะไร (  สิ่งที่ผมได้ทำมาจะเป็นฌานหรือไม่เป็นฌาน  มันไม่มีความสำคัญอะไร  แต่ผมควรจะรู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่  )

                                ---------------------------------

จากคำถามของคุณวสวัตตี

อาการซาบซ่าไปทั่วทั้งตัวนี้  มันเกิดขึ้นหลังจากที่ผมส่งจิตไประลึกรู้ความรุ้สึกทางกาย ( ผมส่งจิตไประลึกรู้เพียงเบาๆๆๆเท่านั้น )  แล้วมันก็ซาบซ่าไปทั่วร่างกาย ( หลวงพ่อบอกว่าจิตมันไหลแว้บออกมา ) แล้วผมก็เห็นความรู้สึกทางกายและทางใจพร้อมๆกันไปหมด  ยิ่งถ้าร่างกายมีการเคลื่อนไหว เช่น เดินไปเดินมา หรือ กินข้าว หรือ เข้าห้องน้ำ และกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวอื่นๆ  ผมจะเห็นความรู้สึกทางกายและเห็นอารมณ์ในใจได้ง่ายยิ่งขึ้นไปอีก


การรู้กายและรู้ใจแบบนี้  ผมไม่ต้องหน่วงใจให้อยู่คลุกเคล้ากับต้นเหตุและที่มาแห่งปีติเลย  เพราะว่า  ความสุขความเบาสบายใจที่เกิดขึ้น  มันเป็นตัวหล่อเลี้ยงให้สภาวะนี้ดำเนินไปได้ด้วยตัวของมันเองอยู่แล้ว  คือว่า  มันดำเนินไปได้เรื่อยๆโดยที่ผมไม่มีความหนักหน่วงใจเลย  ( ถ้าทำแล้วหนักใจ  ผมจะทำไปทำไม )


และถ้าผมถอนออกจากสภาวะนี้  ผมก็กลับเข้ามาใหม่ได้ง่ายๆ  เพียงแค่ผมระลึกรู้ความรู้สึกทางกายเพียงเบาๆ  ไม่เกิน 5 วินาที  ก็มีความซาบซ่านเกิดขึ้นมาเอง  แล้วขบวนการทั้งหมดก็ดำเนินไปเอง  ตามที่เล่ามาข้างต้น


สำหรับความฟุ้งซ่าน  ความลังเลสงสัย หรือความปรุงแต่งทั้งหลาย  มันก็เกิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติของเขา  แต่ว่ามันไม่กระทบเข้ามาถึงตัวผม  เพราะว่าผมเป็นคนดูอยู่ต่างหาก  การปรุงแต่งจึงเป็นสิ่งที่ถูกรู้ถูกดู    ผมไม่ได้เป็นทุกข์ตามสิ่งที่ปรุงแต่งเหล่านั้นเลย  ตรงนี้แหละ ผมจึงบอกว่า  ผมมีความสุขที่ได้อยู่ในสภาวะนี้

                 ----------------------------------------------

หมายเหตุ   หลวงพ่อบอกว่า  การรู้แบบนี้ไม่ใช่การเจริญสติปัฏฐาน  เพื่อนๆที่เข้ามาอ่าน  อย่าทำตามผมนะ  พอดีคุณวสวัตตีถามเข้ามา   ผมจึงตอบคำถามของคุณวสวัตตี

ตอบโดย: ระนาด 19 ก.ค. 52 - 12:53


อนุโมทนากับท่านระนาดด้วยครับ สำหรับจะเป็นฌานหรือไม่ใช่ฌาน ก็คิดเช่นเดียวกับท่านว่ามันไม่สำคัญ เพราะว่าปลายทางของสมถะมันก็ต้องเป็นฌานหรืออัปปนาสมาธิอยู่แล้ว

จากที่อ่านดูบางทีท่านระนาดอาจผ่านปฐมฌานไปสู่ทุติยฌานแล้วก็เป็นได้ เลยไม่ต้องยกจิตขึ้นรับอารมณ์ เข้าอยู่ในอารมณ์ได้เลยโดยอาศัยการระลึกถึงอารมณ์ในกาลก่อน ผมก็ได้แต่เดาๆเอานะครับ อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อนะฮะ

แต่ที่สำคัญคือมหาสติปัฎฐาน 4 ที่มีปลายทางเป็นพระนิพพาน ดับกิเลสได้อย่างสิ้นเชิง ที่พวกเรายังไม่เคยได้เดินทางไปถึงกันเลย

ตะกี้ผมได้อ่านกระทู้ เมื่อพุท-โธ หายไป ลมหายใจหายไปควรทำอย่างไร

http://larndham.net/index.php?showtopic=35213&st=0

เพราะเห็นว่าเป็นกระทู้คู่ขนานกับกระทู้นี้ ก็มีความคิดขึ้นมาว่า ถ้าหากสมาชิกหลายๆท่านในลานธรรมนี้ออกบวช พระศาสนาก็คงจะได้พระสุปฏิปัณโณเพิ่มขึ้นอีกอักโขเลย

อ้อ..รวมทั้งแม่ชีและภิกษุณีสุปฏิปัณโณด้วย

ระหว่างรอท่าน Vicha มาโพสถึงอานาปานสติที่มีวิปัสสนาญาณลำดับสูงๆมาบังเกิดนั้นคงได้แต่ช่วยกันแชร์เรื่องสติ และ มหาสติปัฎฐาน 4 ที่เกี่ยวเนื่องในอานาปานสติไปพลางๆก่อนสินะครับ

 

ตอบโดย: วสวัตตี 19 ก.ค. 52 - 13:21


ฝึกดูลมหายใจ เพื่อสติ หรือฝึกสติ เพื่อลมหายใจ

ตอบโดย: ช.ชุตินธโร 19 ก.ค. 52 - 13:44


อ้างอิง (วสวัตตี @ 19 ก.ค. 52 - 13:21)
อนุโมทนากับท่านระนาดด้วยครับ สำหรับจะเป็นฌานหรือไม่ใช่ฌาน ก็คิดเช่นเดียวกับท่านว่ามันไม่สำคัญ

 เพราะว่าปลายทางของสมถะมันก็ต้องเป็นฌานหรืออัปปนาสมาธิอยู่แล้ว
(วสวัตตี @ 19 ก.ค. 52 - 13:21)


อ๋อ ...... ปลายทางมันเป็นแบบนี้เองหรือ

ตอนนี้ผมเอาสภาวะนี้เป็นเครื่องพักผ่อนครับ  เพราะว่ามันมีความสุขและเบาสบายดี ( ความซาบซ่าน  เป็นตัวนำในตอนแรก  แล้วก็หายไป )  แล้วมันจะมีชื่อเรียกว่าอะไร  ก็ช่างมันเถอะเนาะ   ผมรู้ว่าสภาวะนี้ไม่ใช่การเจริญสติที่ถูกต้อง  แค่นี้ผมก็พอใจแล้วครับ


ขอบคุณ  คุณวสวัตตีมากๆเลยครับ  ผมไม่ค่อยอ่านตำรา  เพราะว่าเป็นคนขี้ลืม  แล้วผมไม่ค่อยชอบวิเคราะห์เรื่องอะไรๆ     ผมก็อาศัยเพื่อนที่เก่งตำราแบบคุณวสวัตตีนี่เเหละครับ  มาเป็นครูของผม    

 

ตอบโดย: ระนาด 19 ก.ค. 52 - 14:31


เพิ่งได้เข้ามาอ่านครับ

ขออนุโมทนากับคุณระนาดที่ได้ไปส่งการบ้านกับท่าน ตามที่เล่าในความเห็น 268 ครับ สุ่มคลิ้กความเห็นของคุณระนาด เพราะผ่านไป เกือบร้อยความเห็นจากครั้งก่อนที่เข้ามาอ่านกระทู้นี้ครับ   ก็เจอความเห็นนี้เลยครับ

ทำให้ผมได้ความรู้ใหม่ ในเรื่องนี้ด้วยครับ

ขอให้เจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไปครับ
     

ตอบโดย: กอบ 19 ก.ค. 52 - 16:24


ผมเองก็ไม่ได้เก่งตำราอะไรหรอกครับ ดังเช่นความคิดเห็นที่ 295 ที่ผมได้เรียนไว้ข้างต้น

ว่าผลจากการที่ตัวผมไม่ได้อ่านตำราให้ครบถ้วนก่อให้เกิดความเชื่อที่ผิดๆอย่างไร

ดีที่ได้กัลยาณมิตรในลานธรรมแห่งนี้ 4 - 5 ท่าน ตักเตือนเอาไว้ ไม่อย่างนั้นคงรู้แบบผิดๆ

ตะกี้เห็นท่านกอบเข้ามาตอบในกระทู้ก็ร้อนๆหนาวๆว่า ตายละวา คุณกอบเข้ามาเตือนไม่ให้หลงใหลกันไปกับสมถกรรมฐานหรือเปล่าหว่า  

เพิ่งรู้ว่าท่านกอบใช้วิธีสุ่มอ่าน ผมก็นึกว่าไล่อ่านไปตามลำดับเสียอีก

 

ตอบโดย: วสวัตตี 19 ก.ค. 52 - 17:16


สวัสดีครับทุกท่าน.

    พึ่งได้เข้าเน็ต ก็เห็นมีการแสดงความคิดเห็นกันเพิ่มขึ้น ในเรื่องของคุณระนาด ดังนั้น ผมจะตอบแบบสรุปอีกครั้ง ถ้าเข้าใจก็จะตรงประเด็น ก็จะไม่ต้องไปแตกความคิดเห็นจนละเอียดกันทุกอย่าง.

     คุณระนาดถามผมเรื่องวิปัสสนูกิเลส  ก็สิ่งที่คุณระนาดเป็นและปรากฏกับกายและใจที่มีปิติหล่อเลี่ยงเบาสบายและเห็นความเป็นไตรลักษณ์ ทั้งชัดเจนในจินตมยปัญญา นั้นแหละเรียกว่า วิปัสสนูกิเลส  อย่างหนึ่ง.

    เน้นย้ำคุณระนาดได้ปฏิบัติอานาปานสติบวกกับสติป้ฏฐาณ 4  ได้เจริญวิปัสสนาญาณมาถึงวิปัสสนาญาณที่ 3 หรือ สัมมสนญาณแล้ว  วิปัสสนูกิเลสก็ย่อมวนเวียนกับอารมณ์กรรมฐานเป็นธรรมดา
   ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรเลย ไม่ใช่เกิดจากการปฏิบัติผิดพลาดอะไรเลย

    เพียงแต่วนเวียนอยู่ในวิปัสสนาญาณที่ 3 เท่านั้น  เนื่องจากยังไม่มีสติที่เจริญขึ้น พร้อมทั้งพละ 4 ที่เหลือได้เจริญและรวมกันสมบูรณ์ เพื่อพัฒนาไปสู่วิปัสสนาญาณที่ 4 อุทยัพพยญาณ เท่านั้นเอง

    ดังนั้นเมื่อยังไม่หลงจนยึดมั่นและถือมั่นในวิปัสสนูกิเลสนั้น ก็เพียงแต่ปฏิบัติให้สติเจริญขึ้นพัฒนาขึ้น ซึ่งตามพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ คือมีสติรู้ตัวทั่วพร้อมในอริยาบทใหญ่  แล้วมีสติระเอียดขึ้นรู้ในอริยาบทย่อย(เช่นการเอียวตัว การกิน การนุ่งใส่เสือผ้า การคุย ฯลฯ)
     และมีสติระเอียดลงไปอีก ถึงผัสสะที่ปรากฏ หรือสิ่งที่กระทบกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ต้องมีสติเท่าทันเป็นปัจจุบันขณะที่เกิดผัสสะหรือที่กระทบที่เด่นชัดทีละอย่างทีละอย่างไปที่ปรากฏชัดกว่าอย่างอื่น โดยไม่ไปปรุงแต่ง มีใจกลางๆ ไม่ไปปรุงแต่งกับสภาวะที่เกิดจากผัสสะหรืออารมณ์ที่กระทบนั้นๆ  ไม่ใช่เพียงแต่รู้โดยรวมที่เดียวทั้งหมด.

     ซึ่งมีเพียงแค่นี้เอง อยู่ที่ว่า คุณระนาด จะพัฒนาตนเองก้าวข้ามไปได้อย่างไร. เพื่อขึ้นไปสู่วิปัสสนาญาณเบื้องสูงขึ้น หรือถ้าถอยกลับทิ้งไป  แล้วเริ่มใหม่ก็จะกลับมาอยู่ที่เดิมอีก  ก็ในเมื่อยังไม่เจริญสตินำโดยมีพละ ทั้ง 4 ที่เหลือประกอบรวมกันให้สมบูรณ์ขึ้น.
  
    จึงไม่ใช่มีเรื่องอะไรมากหลอกครับ เพราะเมื่ออยู่ในสัมมสนญาณ ไม่ว่าจะพิจารณาอะไรก็จะรู้สึกว่าง่ายและสดวกเสมืนอเข้าใจได้ง่าย นี้ก็เป็นวิปัสสนูกิเลสอย่างหนึ่ง ดังนั้นทิฏฐิ(ความคิดเห็น)ลึกๆ หาได้คล่อยตามใครง่ายๆ ถ้ามีข้อมูลและเหตุผลพอควร.

     เพราะปัญญาเห็นไตรลักษณ์เบื้องต้นบ้างแล้ว และจินตมยปัญญาก็เข้าใจเรื่องไตรลักษณ์ได้ดีในระดับของวิปัสสนาญาณนี้แล้ว.
 

ตอบโดย: Vicha 19 ก.ค. 52 - 19:17


อ้างอิง (วสวัตตี @ 19 ก.ค. 52 - 17:16)
เพิ่งรู้ว่าท่านกอบใช้วิธีสุ่มอ่าน ผมก็นึกว่าไล่อ่านไปตามลำดับเสียอีก
(วสวัตตี @ 19 ก.ค. 52 - 17:16)

ปรกติก็อ่านไล่ไปครับ ไม่ได้สุ่มอ่านอะไรหรอกครับ
ช่วงนี้เวลาเข้าเนตน้อยมาก ๆ พอดีเห็นคุณระนาดเคยมาถามพี่วิชาในกระทู้นี้ครับ พอจะเข้ามาก็เห็นมีตอบไปมาก ๆ แล้ว ก็เลยลองสุ่ม ๆ ดูครับ เพราะวันนี้มีเวลาอ่านไม่มากครับ        บังเอิญเจอพอดีครับ ^_^

ตอบโดย: กอบ 19 ก.ค. 52 - 19:49


นั่นซีนะ อาจเป็นวิปัสสนูปกิเลสดังที่ท่าน Vicha ว่าเอาไว้

แต่ผมสงสัยอย่างหนึ่งครับ

คือวิปัสสนูปกิเลสจะเกิดขึ้นในช่วงของวิปัสสนาญาณลำดับที่ 4 ที่ชื่ออุททยัพพยญาณไม่ใช่หรือครับ

ตอบโดย: วสวัตตี 19 ก.ค. 52 - 19:59


อ้างอิง (ระนาด @ 19 ก.ค. 52 - 11:01)
สภาวะที่ผมรู้กายรู้ใจไปพร้อมๆกัน  หมายความว่า  เวลาที่ผมทำอะไรๆอยู่ ( เช่นกินข้าว  อาบน้ำ  พูดคุยกับคนอื่นๆ..............ฯลฯ ) ผมจะรู้ความรู้สึกไปพร้อมๆกันหมดเลยครับ  รู้ทั้งการสัมผัสทางกาย  รู้ทั้งการได้ยินเสียง  รู้ทั้งอารมณ์ในใจที่เกิดขึ้น  รู้ความสุขความเพลิดเพลินไปพร้อมๆกันทั้งหมดเลย

สวัสดีทุกๆ ท่านค่ะ

คุณระนาดคะ ดิฉันได้อ่าน คห 302 303 306 ที่คุณระนาดอธิบาย
วิธีการที่คุณภาวนาอย่างละเอียด  พอจะเข้าใจได้เลาๆ แล้ว

คือ เวลาคุณระนาดรู้เนี่ย  คุณระนาดรู้รวมๆ ไปในขณะเดียวกันใช่หรือไ่ม่
ทั้งสิ่งที่มากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ  ดิฉันเข้าใจถูก ??

ถ้าใช่ ให้ปรับโดย ให้รู้สัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้น
ทีละอย่างค่ะ  ขึ้นกับว่าขณะนั้นๆ  สัมผัสทางทวารไหนเด่นที่สุด
(ดังที่คุณวิชาได้แนะนำไป)

เช่น ขณะที่นั่งกินข้าวนั้น  ย่อมมีสัมผัสหลายอย่าง  ทั้งกายนั่งอยู่
มือเคลื่อนไปตักข้าว  ปากอ้าปาก ข้าวเข้าปาก รับรู้รส เคี้ยวอาหาร
กลืน ได้ิยินเสียงภรรยาคุย  ใจแอบไปคิด  ฯลฯ เป็นต้น

ให้ปรับมารับรู้ทีละอาการค่ะ โดยสิ่งที่เด่นที่สุดตอนนั้นคืออะไร
ให้รู้อันนั้น  เช่น  ตอนข้าวเข้าปาก เราก็นั่งอยู่ จริงมั้ยคะ
แต่สัมผัสที่เด่นตอนนั้น  คือ ข้าวเข้าปาก มีการรู้รส(สัมผัสที่ลิ้น)
ไม่ใช่การนั่ง  รู้รสแล้ว  ใจยินดีในรสอร่อย(สัมผัสที่ใจ)  ก็รู้ไป
แม้ขณะนั้น กายเราก็นั่งอยู่  แต่สัมผัสทางกายจะไม่ใช่อาการเด่น

แต่ถ้าตอนนั้นอาการทางกายเป็นอาการเด่น  เช่น เพิ่งลงนั่งเลย
ขณะนั้นให้รู้ว่านั่ง  เพราะตอนนั้น อาการนั่งเด่น  ยังไม่มีสัมผัสอื่นๆ
ที่เด่นกว่าเข้ามา  แต่ถ้านั่งแวบแรกรู้นั่ง  นั่งปุ๊ปใจหนีไปคิดปั๊ป
อันนี้ก็ให้รู้ใจหนีไปคิด  เพราะตอนนั้นๆ ใจหนีไปคิดมันเด่น

หรืืือเราอาบน้ำ ยืนอยู่ไม่ได้ิคิด อันนี้ยืนเด่น  พอน้ำถูกตัว  มันเย็น
ตอนนี้กายรู้สึกว่าเย็นเด่น  อาบๆ ไปคิดเรื่องโน้นเรื่องนี้
อันนี้ใจคิดเด่น  ยืนไม่ใช่อาการเด่น  ถ้าอาบๆ ไปไม่ได้คิด
แต่รู้สึกว่าฟอกสบู่ตรงแขนอยู่  สัมผัสที่แขนก็เด่น
ฟอกแล้วใจรู้สึกสบาย  อันนี้สัมผัสที่ใจเด่น  ก็รู้ไป

คือเวลาใจรู้สัมผัสทางทวารใดก็ตาม  จะรู้ทีละหนึ่งอาการ
แล้วก็เกิดเปลี่ยนที่ไปเรื่อยๆ  ขึ้นกับตอนนั้นสัมผัสตรงไหนชัด
เกิดสับไปสับมาก็ได้  เช่น ตาเห็น ใจแอบคิด กลับไปเห็นอีก
หรือ ตาเห็น ใจคิด คิด คิด คิด พอดีเสียงเข้ามา ก็ไปได้ยิน อย่างนี้ก็ได้
อะไรเด่น ให้รู้อันนั้นพียงอันเดียว อันอื่นไม่ต้องเอา

การฝึกรู้ทีละขณะๆ แบบนี้ ย่อมเป็นธรรมดาที่เราจะรู้บ้าง ไม่รู้บ้าง
บางทีก็เผลอไป บางทีก็เพ่งไป  เป็นเรื่องธรรมดาไม่ต้องกังวลใจ
ให้ทำใจง่ายๆ (ง่ายๆ แต่ทำยาก) ว่า  ได้แค่ไหนเอาแค่นั้น
รู้ได้ตรงไหนก็ตรงนั้น  อย่าไปเพ่งจ้องไว้ก่อน
ทำตัวให้เหมือนนักสังเกต  ไม่ใช่นักจับผิดนะคะ

ปล การรู้แบบนี้จะบริกรรมด้วยหรือไม่ก็ได้ขึ้นกับความถนัด
ถ้าแรกๆ จะลองบริกรรมด้วยก็ได้  เพื่อให้เข้าใจในสภาวะนั้นๆ ได้ดี
เช่น รู้่ว่านั่ง บริกรรมในใจว่านั่ง  คล้ายเป็นการเตือนใจตนเอง
เป็นการช่วยจิตในช่วงที่เค้าหัดดู  แต่ถ้าจิตเค้ารู้สภาวะได้ชัดเจนดี
เข้าใจได้ดีแล้ว  ไม่บริกรรมก็ได้  อีกอย่างคุณระนาดทำสมถะมามาก
คิดว่าเรื่องกำลังสมาธิในการตามดูคงไม่ใช่ปัญหา อาจไม่บริกรรมก็ได้ค่ะ
หรือจะลองทั้งสองแบบ  แล้วดูว่าอย่างไหนดีกว่าก็ได้

 

ตอบโดย: อัญญาสิ 19 ก.ค. 52 - 23:05


สวัสดีครับ  คุณอัญญาสิ

อาการที่ผม  เห็นกาย และ ใจ แยกกันเป็นส่วนๆในเวลาเดียวกันนั้น  ผมรู้เด่นชัดทั้งหมดเลยครับ  หมายความว่า  ผมระลึกรู้ความรู้สึกทางกายเพียงนิดนึง  แล้วผมก็จะเกิดความซาบซ่านมีความสุขและเห็นกายและใจแยกกันเป็นส่วนๆ  โดยทั้งหมดนี้ผมเห็นว่า  พวกเขาเกิดขึ้นมาพร้อมกันแบบ...พรึ่บ...ขึ้นมาทั้งหมดเลยครับ  ผมดูไม่ทันเลยว่า  อะไรเกิดก่อนอะไรครับ
                       -------------------------------------

 วันที่ผมไปส่งการบ้าน  ตอนใกล้ๆจะเลิกประชุม  หลวงพ่อท่านเปรยๆขึ้นมานิดนึงว่า ( ท่านไม่ได้หมายถึงตัวผมนะ )  นักภาวนาที่มีกำลังสมาธิมากๆ  จะเห็นอะไรๆได้พร้อมๆกัน  เช่น  สามารถเห็นจิตของคนที่มาประชุมในห้องนี้พร้อมกันได้หมดเลย
                           ---------------------------------------

                  เมื่อวานนี้  จากคำแนะนำของคุณอัญญาสิในความเห็นที่ 299  ตรงที่คุณบอกผมว่า  การใช้สติในการภาวนา  มันคล้ายๆกับการที่เราลืมกุญแจบ้าน  แล้วเรานึกไม่ออกว่าเราลืมเอาไว้ตรงไหน  พอเราเปลี่ยนความสนใจไปทำอย่างอื่น  แล้วอยู่ดีๆมันก็มีอะไรผุดขึ้นมาเองว่า    เราลืมกุญแจเอาไว้ตรงไหน


ตรงจุดนี้แหละครับ  เมื่อวานผมจับหลักตามที่คุณบอกมา  ผมได้รู้ความรู้สึกไปแบบ .. คล้ายว่าจะเผลอ ( แต่ไม่ใช่เผลอนะ )...แล้วสักพักหนึ่งขณะที่ผมกำลังทำงานอยู่  มันก็มีอะไรในใจผุดขึ้นมาเองแว้บหนึ่งแล้วก็ดับไป


ตอนนี้ผมจึงพอจะมองเห็นแนวทางฝึกฝนการเจริญสติขึ้นมาได้บ้างแล้วว่า...ผมควรจะรู้ความรู้สึกไปแบบ...คล้ายๆว่าจะเผลอ  แต่ว่าไม่เผลอ....แล้วสติมันก็จะออกมาทำงานของมันเอง


ผมจะหมั่นฝึกฝนตามแนวทางที่คุณแนะนำมานี้ให้มีความชำนาญสัก 7 - 8 เดือน  แล้วผมจะไปส่งการบ้าน  แล้วผลเป็นอย่างไร  จะมาเล่าให้อ่านครับ
                     --------------------------------------------

คุณอัญญาสิรู้ไหมครับว่า  คำแนะนำในความเห็นที่ 299 ของคุณ ที่คุณบอกแนวทางการเจริญสติให้กับผมเมื่อวานนี้  เป็นคำแนะนำที่ชุบชีวิตใหม่ให้แก่ผมเลยนะ  ทั้งๆที่เมื่อตอนที่ผมกลับมาจากศรีราชาใหม่ๆ    ผมท้อแท้ใจอย่างบอกไม่ถูกเลยครับ

ผมขออนุญาตแสดงความดีใจหน่อยนะ

ไชโย้...ไชโย้...ไชโย้...500หน...........ฮี่..ฮี่...ฮี่...    

ถ้าคุณได้รู้จักตัวจริงของผม   คุณอย่าแปลกใจนะ  เพราะว่าผมไม่ใช่เป็นนักภาวนาที่เคร่งๆครึมๆ    คือว่า ผมชอบพูดเล่นพูดคุยสนุกสนาน   เพื่อนๆผมไม่ค่อยมีใครรู้ว่าผมชอบภาวนา ( แต่ผมไม่พูดเล่นในเรื่องไม่จริงนะ )

ผมขอขอบคุณ  คำแนะนำในความเห็น299 ของคุณมากๆครับ      

ตอบโดย: ระนาด 20 ก.ค. 52 - 05:42


ความจริงแล้วในลานธรรมนี้  ยังมีเพื่อนๆอีกหลายคนที่ผมต้องแสดงความขอบคุณ  เช่น  คุณกอบ   ที่ได้ทักท้วงและเคี่ยวเข็ญให้ผมรีบๆไปส่งการบ้านตั้งแต่ตอนต้นปีโน่นแน่ะ   ผมต้องขอขอบคุณ  คุณกอบมากๆๆๆๆเลยครับ
                     ---------------------------------------------

ผมขอขอบคุณ  คุณวิชาที่ได้ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา    ตอนระยะหลังๆผมไม่ค่อยอยากจะคุยกับใครๆในเรื่องการภาวนาแบบรู้กายรู้ใจได้พร้อมๆกัน   แต่พอดีคุณตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา  ผมจึงได้เข้ามาปรึกษาและขอคำแนะนำ  จึงทำให้ผมเข้าใจอะไรๆมากขึ้นครับ

ขอขอบคุณคุณวิชามากเลยครับ

และผมขอขอบคุณเพื่อนๆคนอื่นๆที่เคยให้คำแนะนำและให้กำลังใจแก่ผมครับ

                     

                  -------------------------------------------------

ตอนนี้ผมคิดว่า  ผมจะลดการเดินจงกรมและนั่งสมาธิลงเหลือเพียงวันละ 30 นาทีก็พอแล้ว  เพราะว่าถ้าผมทำสมาธิมากกว่านี้  มันอาจจะไปบดบังการทำงานของสติ  ทำให้สติไม่รู้จักโตสักที

ตอนแรกผมนึกว่าจะเลิกทำสมาธิสัก 3 เดือน  แต่ว่าตอนนี้ผมเปลี่ยนใจเพราะว่า  ผมเห็นได้แล้วว่า   สมาธิเป็นเสมือนเครื่องมือที่ช่วยถากถางเส้นทางให้เป็นทางที่ราบรื่น   ให้เหมาะแก่สติ ที่จะเดินทางตามหลังมาได้อย่างสะดวกและง่ายดาย


ผมว่านะ ( อาจจะผิดก็ได้ )  ถ้าไม่มีสมาธิช่วยนำทาง  ลำพังสติอย่างเดียวมันคงไปไหนไม่รอดนะ

 

ตอบโดย: ระนาด 20 ก.ค. 52 - 06:13


    ถ้าคุณระนาดคิดว่าพอจับทางได้
ก็ลองทำไปก่อน  แล้วค่อยติดตามผลกันอีกที
ไม่ลองก็ไม่รู้เนอะ  ลองผิดจนครบมันก็ถูกเองล่ะ ฮิฮิ

สติกับสมาธิต้องมีทั้งคู่ค่ะ  แต่ให้พอดีนี่สำคัญ
สมาธิทำง่าย (ก็เรามันสมถยานิก  ทำแป๊บๆ ก็สงบละ)
แต่ทำให้พอดีก็ยากอยู่  ส่วนมากจะเกินๆ
ส่วนสติเกิดยาก แต่เกิดแล้วไม่ค่อยจะเิกิน มีแต่จะน้อยไป
แต่พอมีสติได้พอดีๆ แล้ว  ก็ดันลืมสมถะไปซะอีก
นี่แหละน้า  ถึงต้องคอยสำรวจตัวเองเป็นระยะๆ

รอคุณวิชามาต่อ อานาฯ จนถึงญาณสูงๆ อยู่เหมือนกัน
เอาไว้ว่างๆ จะมาเล่าประสบการณ์อานาฯ ผสานพองยุบให้ฟังค่ะ
 

ตอบโดย: อัญญาสิ 20 ก.ค. 52 - 08:22


อ้างอิง (ช.ชุตินธโร @ 19 ก.ค. 52 - 13:44)
ฝึกดูลมหายใจ เพื่อสติ หรือฝึกสติ เพื่อลมหายใจ

เคยดูลมแล้วเห็นเช่นนี้ค่ะ

ลมนั้นปรุงสติ สติก็กลับมาปรุุงลม

ผิดถูกประการใด เรียนแก้ไขตามสมควร

ตอบโดย: อัญญาสิ 20 ก.ค. 52 - 08:25


อ้างอิง (อัญญาสิ @ 20 ก.ค. 52 - 08:22)
  ถ้าคุณระนาดคิดว่าพอจับทางได้
ก็ลองทำไปก่อน  แล้วค่อยติดตามผลกันอีกที
ไม่ลองก็ไม่รู้เนอะ  ลองผิดจนครบมันก็ถูกเองล่ะ ฮิฮิ



นั่นน่ะซิ  ผมก็ว่าแบบนี้เหมือนกัน  ถ้าจะภาวนาให้ถูกต้องโดยไม่มีที่ผิดเลย  มันเป็นเรื่องยากมากๆ  แต่ว่าถ้าเราภาวนาผิดขึ้นมาก่อน  แล้วแก้ไขโดยไม่ภาวนาผิดซ้ำแบบเดิมอีก  แล้วสักวันหนึ่งมันคงจะถูกขึ้นมาเอง   แบบนี้ทำได้จะง่ายกว่า

                 --------------------------------------------

ผมอ่านคำแนะนำของคุณทีไร  ผมชื่นใจทู้กที      
  ( ขอแซวหน่อยนะ ...ฮิฮิฮิ )
 

ตอบโดย: ระนาด 20 ก.ค. 52 - 08:51


อ้างอิง (ระนาด @ 20 ก.ค. 52 - 08:51)
ถ้าเราภาวนาผิดขึ้นมาก่อน  แล้วแก้ไขโดยไม่ภาวนาผิดซ้ำแบบเดิมอีก  แล้วสักวันหนึ่งมันคงจะถูกขึ้นมาเอง 
แบบนี้ทำได้จะง่ายกว่า

ผมอ่านคำแนะนำของคุณทีไร  ผมชื่นใจทู้กที      
 

ที่คุณเรียกง่าย คนอื่นเค้าเรียก ยากนะนั่น
เพิ่งรู้ว่าคุณระนาดชอบของยาก ฮิฮิ  

เรื่องคำแนะนำ รอท่านอื่นด้วยก็ดีค่ะ
พระท่านว่า เราถูกใจคำแนะนำที่ถูกกิเลสเราน่ะ
เผื่อท่านอื่นมีข้อคิดดีๆ  เห็นสิ่งใดที่เรายังไม่เห็น
จะได้ไม่พลาดไปค่ะ    

ตอบโดย: อัญญาสิ 20 ก.ค. 52 - 09:06


.....โห.....ตั้งเจ็ดแปดเดือน.....นานไปมั้งครับ.....

.....สักเดือนละครั้ง.....สองเดือนครั้งก็ยังดีเอ้า.....

.....นะ.....นะ.....นะ.....

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 20 ก.ค. 52 - 09:21


สวัสดีครับทุกท่าน

 ผมขอตอบข้อสงสัยของคุณ วสวัตตี ก่อน นะครับ

อ้างอิง
แต่ผมสงสัยอย่างหนึ่งครับ

คือวิปัสสนูปกิเลสจะเกิดขึ้นในช่วงของวิปัสสนาญาณลำดับที่ 4 ที่ชื่ออุททยัพพยญาณไม่ใช่หรือครับ
จากคุณ : วสวัตตี


  วิปัสสนูกิเลสนั้น ปรากฏในช่วงของ วิปัสสนาญาณลำดับที่ 3 นั้นถูกต้องแล้วครับ.

  และเมื่อเจริญวิปัสสนา จนวิปัสสนาญาณลำดับที่ 4 คือ อุทยัพพยญาณ   วิปัสสนูกิเลสย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ หรือตั้งอยู่ได้ไม่นาน เมื่อพละ 5 ถูกส่วนก็จะดับ หรือเห็นการเกิดดับ.

  เนื่องด้วยมีสติปัญญาเข้าใจ ในวิปัสสนูกิเลส ไม่นำใจไปยึดมั่นถือมั่น จึงไม่ไปหลงในวิปัสสนูกิเลส และเมื่อมีปัญญาถึง อุทยัพพยญาณ เห็นการเกิดดับของอารมณ์ หรือรูปนาม หรือ กิเลสที่ปรากฏอยู่ได้อย่างชัดเจน ก็ย่อมไม่หลงในวิปัสสนูกิเลสนั้นจนยึดมั่นและถือมั่นเป็นอัตตาตัวตน จนวิปลาส.

   ผมขอตั้งคำถามและตอบเอง เพื่อให้ผู้ที่ได้อ่านได้ทำการศึกษาได้เข้าใจ ดังคำถาม.

    เมื่อปฏิบัติธรรมมาถึง อุทยัพพยญาณ (วิปัสสนาญาณที่ 4) จะไม่มีวิปัสสนูกิเลสเกิดอีกเลยหรือ?

    ตอบ  ตอบ วิปัสสนูกิเลสเกิดได้อีก เช่นการมีปีติ การมีความสงบ การมีสติว่องไว้ไหลลื่น การพิจารณาอะไรก็แตกฉานดี   ก็เพราะวิปัสสนาญาณ นั้นมีขึ้นมีลงได้ แต่การจะยึดมั่นถือมั่นในวิปัสสนูกิเลสนั้นน้อยลง ก็เพราะ การเห็นการเกิดดับของกิเลสหรือรูปนามหรือวิปัสสนูกิเลสนั้นเอง จะปรากฏให้เห็นอีกเมื่อพละ 5 ถูกส่วน.

    คำถามต่อไป ผู้ที่ปฏิบัติได้วิปัสสนาญาณสูงๆ แล้ว แต่ยังไม่บรรลุมรรคผลนิพพาน จะกลับมาวิปลาสยึดติดวิปัสสนูกิเลสได้อีกหรือไม่?

     ตอบ  ได้อีก เมื่อมีทิฏฐิหลงผิด ยึดมั่นในอัตตาของตนด้วยความอยากมีอยากเป็นตามกระแสของกิเลสตัณหาที่ปลุกเร้า หรือเห็นผิดตามที่มีผู้ชักนำไปได้อยู่.

 

ตอบโดย: Vicha 20 ก.ค. 52 - 10:05


สวัสดีอีกครั้ง.

     คุณระนาดครับ ในความคิดเห็นที่ 322 คุณบุณรักษ์  แนะนำดีนะครับ.

     คุณระนาดครับ เมื่อรู้ตัวว่าจะไม่ให้ใจไปหลงยึดมั่นถือมั่นใดๆ  แล้วเจริญสติให้ระเอียดขึ้น ตามพุทธพจน์ สังเกตแล้วปฏิบัติอยู่เนื่องๆ พละ 5 ย่อมปรับได้อย่างเหมาะสม ก็จะดำเนินไปตามทางที่ควรก้าวผ่านไปได้เองครับ.

 

ตอบโดย: Vicha 20 ก.ค. 52 - 10:15


ขอบคุณครับท่าน Vicha ได้ความรู้กระจ่างดีครับ    

ตอบโดย: วสวัตตี 20 ก.ค. 52 - 10:48


อ้างอิง (Vicha @ 20 ก.ค. 52 - 10:15)
สวัสดีอีกครั้ง.

     คุณระนาดครับ ในความคิดเห็นที่ 322 คุณบุณรักษ์  แนะนำดีนะครับ.

     คุณระนาดครับ เมื่อรู้ตัวว่าจะไม่ให้ใจไปหลงยึดมั่นถือมั่นใดๆ  แล้วเจริญสติให้ระเอียดขึ้น ตามพุทธพจน์ สังเกตแล้วปฏิบัติอยู่เนื่องๆ พละ 5 ย่อมปรับได้อย่างเหมาะสม ก็จะดำเนินไปตามทางที่ควรก้าวผ่านไปได้เองครับ.
(Vicha @ 20 ก.ค. 52 - 10:15)


ขอบคุณในคำแนะนำของคุณวิชาครับ  

ยินดีปฏิบัติตามคำชี้แนะของคุณบุญรักษ์ครับ    ( ตอนแรกก็นึกว่าคุณบุญรักษ์เข้ามาแซวเล่นๆ )  



 

ตอบโดย: ระนาด 20 ก.ค. 52 - 11:38


.....ผมแซวแบบเอาจริง.....ฮี่ๆๆ.....

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 20 ก.ค. 52 - 12:08


อ้างอิง (อัญญาสิ @ 20 ก.ค. 52 - 09:06)
อ้างอิง (ระนาด @ 20 ก.ค. 52 - 08:51)
ถ้าเราภาวนาผิดขึ้นมาก่อน  แล้วแก้ไขโดยไม่ภาวนาผิดซ้ำแบบเดิมอีก  แล้วสักวันหนึ่งมันคงจะถูกขึ้นมาเอง
แบบนี้ทำได้จะง่ายกว่า

ผมอ่านคำแนะนำของคุณทีไร  ผมชื่นใจทู้กที      
 



พระท่านว่า เราถูกใจคำแนะนำที่ถูกกิเลสเราน่ะ


คุณอัญญาสิเนี่ย  ชอบถล่มตัวซะเรื่อยเลย  

    เมื่อผมปฏิบัติตามคำแนะนำที่ 299 ของคุณแล้ว  มันทำให้กิเลสในใจของผมลดลงได้    ผมก็เลย............ชื่นใจทู้กกกที.

......อะแฮ่ม...อะแฮ่ม...      

                      ---------------------------------

อ่านความเห็นของคุณบุญรักษ์แล้วผมก็ขำ   หุ  หุ  หุ  ชอบเอาความจริงมาแซวเล่น
 

ตอบโดย: ระนาด 20 ก.ค. 52 - 12:32


สวัสดีครับคุณวิชา  คุณอัญญาสิ และ เพื่อนๆ

เช้านี้ผมมีอะไรมาปรึกษานิดหน่อยครับ

คือว่า.....เมื่อวานนี้  ผมฝึกการเจริญสติโดย  รู้กายรู้ใจไปแบบคล้ายๆจะเผลอแต่ว่าไม่เผลอ ( คือ เหมือนเด็กหัดนั่งสมาธิใหม่ๆ )  แล้วผมก็เห็นอะไรในใจผุดขึ้นมาแผ่วๆแล้วก็ดับลงไปเอง


ผมก็ดูแบบนี้ไปเรื่อยๆ   โดยที่ผมไม่ภาวนาแบบรู้กาย - รู้ใจพร้อมกัน และเห็นแยกกันเป็นส่วนๆในเวลาเดียวกัน เหมือนตอนก่อนไปส่งการบ้าน


ผลปรากฏว่า  ตอนเย็นๆ  ผมไม่มีความสุขเลย  จิตใจมันแห้งแล้ง  ไม่มีชีวิตชีวาเอาเสียเลย  ตอนก่อนนอน  ผมจึงต้องนั่งสมาธิเดินจงกรม  กลับมาภาวนาแบบรู้กาย รู้ใจพร้อมๆกัน  และเห็นกาย - ใจ แยกกันเป็นส่วนๆในเวลาเดียวกัน  จึงทำให้ผมมีความสุขเพลิดเพลินใจ  กลับคืนมาเหมือนเดิม


ผมจึงคิดว่า  ตอนนี้ผมจะหักดิบทันทีไม่ได้ ( เลิกการภาวนาแบบรู้กาย รู้ใจพร้อมๆกัน และ เห็นกาย - ใจแยกเป็นส่วนๆในเวลาเดียวกัน )   ผมน่าจะค่อยๆเลิก  จะดีกว่าไหม  คุณวิชามีความเห็นว่าอย่างไรครับ
                 ------------------------------------

 ตรงที่ผมเลิกทันทีไม่ได้นี้  เรียกว่าผมเกิดวิปัสสนูปกิเลสใช่ไหมครับ


และการติดสุขในการภาวนาแบบที่ผมเล่ามานี้  ทางตำราท่านเรียกว่า  ผมกำลังติดสุขในฌานใช่ไหมครับ

ตอบโดย: ระนาด 21 ก.ค. 52 - 08:18


ขออนุญาต คุณวิชา

คุณระนาดไม่ต้องรีบร้อนครับ

รู้กาย รู้ใจ ไปเรื่อยๆ เห็นปรมัตแล้ว มันยังไม่เกิดดับก็ช่างมัน เดี๋ยวมันก็เห็นเองแหละ

ที่เห็นอยู่นั้นมันก็ดีอยู่แล้ว ใช้ชีวิตสบายๆ


อย่ากังวลใจเรื่องที่ไปส่งการบ้านเลย ท่านทักเฉพาะตอนนั้นว่าจิตแว้ปออกมา เราก็แค่รู้ว่ามันออกมา เราห้ามไม่ให้ออกไม่ได้หรอก พอมันเกิดแบบเดิมอีกเราก็แค่รู้ว่า มันเกิดอีก ไม่ต้องคิดมากนะครับ

ตอนนี้เรามีความเห็นว่าควรทำอย่างนี้ๆ น่าจะอย่างนี้ๆ ไม่น่าจะอย่างนี้ๆ

เราก็ทำแบบที่เราถนัดไปก่อนครับ ยังไงจิตที่ตื่นแล้ว มันก็พัฒนาไปได้เอง




อิอิ ทำบุญมาเยอะจัง เพื่อนๆ มาช่วยกันตรึมเลย

ตอบโดย: อิธ 21 ก.ค. 52 - 09:07


สวัสดีครับ คุณระนาด และทุกท่าน.

   ดีแล้วครับคุณระนาด  เมื่อได้ข้อคิดเห็นอะไรที่พอนำไปลองปฏิบัติดู ก็ทดลองปฏิบัติจริงๆ และสังเกตุ อย่างมีสติ

   การที่ผมพยายามแนะและชี้นำ ให้คุณระนาดเจริญสติให้ละเอียดขึ้นเจริญขึ้น โดยปฏิบัติตามพุทธพจน์ คือรู้ตัวทั่วพร้อมในอริยาบทใหญ่ แล้วแยกย่อยลงไปในอริยาบทย่อย แล้วระเอียดลงให้ทันเป็นปัจจุบันกับผัสสะหรือสิ่งที่ปรากฏ กับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ที่ปรากฏชัด เป็นขณะๆ ปัจจุบันไป โดยไม่ไปปรุงแต่งกับผัสสะหรือการกระทบนั้น.

    สติก็จะระเอียดและเจริญขึ้นเท่าทันและเป็นปัจจุบันขณะ เมื่อปฏิบัติได้อย่างนี้ ทริก หรือวิธีกำหนดกรรมฐาน ก็จะว่องไวและสะดวกขึ้น แม้จะเป็นรูปแบบเดิม จากข้อความของคุณระนาดที่กล่าวว่า.

    ภาวนาแบบรู้กาย - รู้ใจพร้อมกัน และเห็นแยกกันเป็นส่วนๆในเวลาเดียวกัน

    เมื่อสติได้เจริญและพัฒนาขึ้นก็จะเป็นแบบนี้

           ภาวนามีสติ รู้กาย-รู้ใจ อะไรปรากฏชัดก็รู้ทันก่อน เพราะ รู้กาย-รู้ใจ นั้นย่อมไม่เที่ยง บางครั้งรู้กายชัดกว่า บางครั้งรู้ใจชัดกว่า แต่มีสติรู้ทันเป็นปัจจุบันขณะนั้นๆ ซึ่งเสมือนรู้คล้ายแบบเดิมแต่มีสติว่องไวขึ้น รู้ช้ดในสิ่งที่ปรากฏชัด ที่ทยอยปรากฏ เพราะอำนาจของความไม่เที่ยงของ กาย-ใจ นั้นเอง
        และเมื่อเห็นแยกกันเป็นส่วนก็เช่นเดียวกันคือมันไม่เที่ยงบางครั้งตรงนี้ชัดกว่า บางครั้งตรงส่วนนั้นชัดกว่า ก็มีสติรู้ทันเป็นปัจจุบันขณะๆ นั้นที่ปรากฏชัด เช่นเดียวกัน.


      สรุป ต้องค่อยๆ พัฒนาสติอย่างเนื่องๆ  เมื่อมีความชำนาญแล้ว เพียงกำหนดรู้ช่วงเวลาเดียว  สติจะว่องไวรู้ทัน กาย เวทนา จิต และธรรม ได้ครบสมบูรณ์ เพราะความไม่เที่ยง ของกายและใจเปลี่ยนแปลงสลับสับเปลี่ยนอยู่ทุกขณะปัจจุบัน.

      หมายเหตุ การปฏิบัติวิปัสสนานั้น อย่ากลัวความทุกข์ที่เกิดจากการปฏิบัติจนเกินไป เพราะเมื่อเกิดการสังเกตุและมีสติปัญญาก็สามารถปรับพละ 5 ให้เหมาะสมได้  สิ่งที่ควรกลัวคือกลัวความหลง การขาดสติ และความยึดมั่นถือมั่นเสียมากกว่า.
 

ตอบโดย: Vicha 21 ก.ค. 52 - 09:41


ผมว่าถ้าจิตมันจะติดมันก็เป็นเรื่องธรรมดาของจิต ที่จิตสั่งสมมาในด้านนี้นะครับ


แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้น   คือ  คุณติดในจิตหรือเปล่ามากกว่า

ดับคุณในจิต ดับกูในจิต  ดับของกูในจิต  อาการที่ปรากฏก็จะเป็นเพียงปรากฏการณ์ทางจิต ไม่ได้มีเรามีเขาในจิต เป็นเพียงสภาวะธรรมหนึ่ง ๆ เท่านั้น

ตรงนี้จะทำให้เห็นไตรลักษณ์ได้ง่ายขึ้น และจะเห็นจิต เจตสิก รูป ได้ง่าย

เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ ถ้าหลงทางอย่างไรช่วยแนะนำให้ด้วย

ตอบโดย: น้องบู 21 ก.ค. 52 - 10:04


ต่อไปผมจะขอตอบคำถามที่ถามนะครับ

อ้างอิง
ตรงที่ผมเลิกทันทีไม่ได้นี้  เรียกว่าผมเกิดวิปัสสนูปกิเลสใช่ไหมครับ


ตอบ  ทำไมต้องเลิกมันละ !  ซึ่งเป็นธรรมชาติที่เป็นสภาวะธรรมที่เกิดกับเราอย่างนั้น สิ่งที่ควรเลิกหรือควรกลัวคือ ความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ปรากฏว่า เป็นเรา เป็นของเรา ที่วิเศษวิโส จนเกินควร
              วิปัสสนูกิเลสเกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องปกติธรรมดาของผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานครับ และเมื่อพัฒนาพละ 5 ได้เจริญขึ้น สภาวะธรรมนั้นก็ผ่านไปเอง เรียนรู้ได้เองว่า มันเป็นเช่นนั้นเอง.

 
อ้างอิง
    และการติดสุขในการภาวนาแบบที่ผมเล่ามานี้  ทางตำราท่านเรียกว่า  ผมกำลังติดสุขในฌานใช่ไหมครับ


      ตอบ เมื่อยังไม่หลงตนจนวิเศษวิโส และยังไม่ยึดมั่นถือมั่นจนเกินไป ก็คือยังไม่ติดยังไม่หลง
                      แต่ถ้าผลักไส่มากไป ก็จะเกิดความหลงไปอีกด้านหนึ่ง คือความไม่อยากให้มีไม่อยากให้เป็น จนเลยจากความคำว่า พอดี หรือ พอเหมาะ  ซึ่งก็เป็นความหลงเหมือนกันแต่ตรงกันข้ามกันนะครับ.
 

ตอบโดย: Vicha 21 ก.ค. 52 - 10:06


ขออนุญาตเสนอความเห็นด้วยคนนะครับ สำหรับคุณระนาดนั้น ตามที่ผมเดา คุณระนาดอาจจะได้ทุติยฌาน จิตยังยินดีต่อการคลุกเคล้าหรือเข้าไปพักในอารมณ์ จิตยังชิดใกล้กับผรณาปีติอยู่

สำหรับความเห็นของผมนั้นผมก็เห็นด้วยเหมือนกับหลายๆท่านคือ ไม่ต้องปฏิเสธปีติ ไม่ต้องหลีกหรือไม่เอาสมถะ เพราะแนวทางการปฏิบัติของคุณระนาดมาในแนวเจริญสมถะคู่กันไปกับวิปัสสนา พอคุณระนาดลองหันมาเจริญวิปัสสนานำหน้าสมถะก็เลยเป็นดังความเห็นที่ 329

สำหรับความเห็นของผมวิธีที่เหมาะกับคุณระนาด คุณระนาดน่าจะทำแบบเดิมคือน้อมระลึกไปถึงอารมณ์เก่าที่เคยได้  ที่ว่าสภาวะนั้นมันจะเกิดภายใน 5 วินาที

แล้วภาวนาแบบรู้กาย รู้ใจพร้อมๆกัน  และเห็นกาย - ใจ แยกกันเป็นส่วนๆในเวลาเดียวกัน

เพียงแต่ให้คุณระนาดไม่ต้องไปยินดีกับปีติ ให้น้อมใจไปสู่ความสงบแทน

วิธีทำคือ ในใจของคุณระนาดช่วงเวลาดังกล่าวน่าจะมีสิ่งที่เรียกว่าความตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียวของอารมณ์อยู่ ให้คุณระนาดอิงสิ่งนี้เอาไว้

ไม่นานความปีติจะหมดและดับไปจากใจและกายของคุณระนาดได้โดยไม่ทำให้คุณระนาดแห้งแล้งใจหรือเหี่ยวแห้งใจ แต่คุณระนาดจะได้ความสงบเกิดขึ้นแทน

คุณระนาดจะได้ช่วงเวลาที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า เป็นผู้เห็นเสมอกัน มีสติ อยู่เป็นสุข มาทดแทน

จากนั้นคุณระนาดก็จะเจริญวิปัสสนากรรมฐานได้โดยมีจิตที่มีคุณภาพขึ้นกว่าเดิม ไม่มีความโทมนัสอีกต่อไป

ลองอ่านแบบผ่านๆ ดูนะครับ ขอให้เจริญในวิปัสสนากัมมัฎฐานยิ่งๆขึ้นไปครับ ขออวยพรจากใจ  

ตอบโดย: วสวัตตี 21 ก.ค. 52 - 10:30


อ้างอิง (อิธ @ 21 ก.ค. 52 - 09:07)



อย่ากังวลใจเรื่องที่ไปส่งการบ้านเลย ท่านทักเฉพาะตอนนั้นว่าจิตแว้ปออกมา เราก็แค่รู้ว่ามันออกมา เราห้ามไม่ให้ออกไม่ได้หรอก พอมันเกิดแบบเดิมอีกเราก็แค่รู้ว่า มันเกิดอีก ไม่ต้องคิดมากนะครับ

ตอนนี้เรามีความเห็นว่าควรทำอย่างนี้ๆ น่าจะอย่างนี้ๆ ไม่น่าจะอย่างนี้ๆ

เราก็ทำแบบที่เราถนัดไปก่อนครับ ยังไงจิตที่ตื่นแล้ว มันก็พัฒนาไปได้เอง

 

อ่านคำตอบของคุณอิธแล้ว     ผมโล่งใจเหมือนยกภูเขาออกจากอกเลยครับ   แบบนี้ค่อยยังชั่วหน่อย   ผมห้ามไม่ให้จิตแว้บออกมาไม่ได้จริงๆครับ
 
                         ----------------------------------

ขอบคุณ คุณอิธ  คุณวิชา  คุณน้องบู  คุณวสวัตตีมากครับ

ผมจดคำแนะนำของทุกท่านเก็บเอาไว้อ่านเรียนร้อยแล้ว  ถ้าไม่มีเพื่อนช่วยแนะนำ  บางทีผมก็มืด 8 ด้านเหมือนกัน
 
เอาไว้ถ้ามีอะไรติดขัด  ผมจะเข้ามาขอปรึกษาใหม่ครับ    
 

ตอบโดย: ระนาด 21 ก.ค. 52 - 12:04


เดาเอาว่า จิตใจคุณระนาดยังไม่ยินดีที่จะรู้ทีละอย่างครับ   เพราะเคยชินที่จะรู้พร้อม ๆ กันมานานมาก ๆ

ตามที่เล่ามาคือ ถ้ารู้แบบพร้อม ๆ กันนั้นจิตใจจะมีความสุขมาก ๆ เมื่อเริ่มปฏิบัติไปแบบปรกติมันก็จะไม่เกิดอารมณ์แบบนั้นขึ้น ก็ทุกข์ครับ ใจมันก็แห้งแล้งห่อเหี่ยวไปได้ เพราะไม่เกิดสุข แบบที่เคยมีเคยได้จากการปฏิบัติครับ

เดาอีกนิดนึง ก็คือคุณระนาดปรารณาจะเห็นผลการปฏิบัติทันที ชนิดที่เจริญสติแล้วเห็นกิเลสดับไปตรงหน้าได้ทันที ปรารถนาจะเจริญสติแล้วก้าวหน้าได้ไว ๆ พอไม่เกิดตามที่ต้องการก็จะดิ้นรน โทสะ เกิดง่าย หงุดหงิดง่าย สุดท้ายบางทีจะท้อถอยไปเลยก็มีครับ
ผมเคยติดตรงนี้อยู่หลายเดือนครับ กว่าจะหลุดออกมา โดยละความจงใจที่จะปฏิบัติออกไป ไม่คาดหวังผลว่าจะได้ผลดียังไงบ้าง ถึงหลุดออกมาได้ครับ

ถ้าผิดก็ขออภัยด้วยนะครับ

ถ้าเป็นตรงนี้ ขอให้ลืมคำว่าปฏิบัติธรรมไปเลยครับ ไม่ต้องคาดหวังผลอะไรว่าจะได้อะไรเลย คิดเสียว่าการปฏิบัติธรรมเรามีหน้าที่คือสร้างเหตุให้ดีครับ ถ้าเหตุดีแล้วผลก็ย่อมดีขึ้นมาเองครับ เหมือนเราปลูกต้นไม้ ก็มีหน้าที่รดน้ำใส่ปุ๋ยกันเข้าไป เมื่อถึงเวลามันก็ออกดอกออกผลมาให้ชื่นชมกันเองครับ

     

เดาอีกอันนึงคือแนะนำให้ทำบุญครับ หาที่ทำบุญให้จิตเป็นกุศลบ้างก็ดีครับ
บางทีจิตใจที่ขาดบุญกุศลหล่อเลี้ยง มันก็แห้ง ๆ ไปได้เหมือนกันครับ

เล่าสู่กันฟังครับ

ตอบโดย: กอบ 21 ก.ค. 52 - 21:38


วิสัยสมถยานิก  คุ้นเคยกับความสุขในฌานในสมาธิมาก่อน
พอให้ทำวิปัสสนาล้วนๆ  จิตใจก็แห้งแล้วแบบนี้แหละค่ะ
พอจิตไม่ได้เสพของที่เคยเสพ  ก็เลยออกอาการค่ะ  

ส่วนตัวแนะนำว่า ระหว่างวันให้ดูแบบที่ฝึกใหม่  ส่วนแบบเก่าทำเพื่อพักผ่อน

มีเพิ่มเติม คือ ขณะที่ทำแบบเก่า เมื่อปีติเกิดขึ้น ลองทำแบบที่คุณวสวัตตีว่ามา
พอปีติเกิด ให้รู้ มีจิตตั้งมั่น เป็นผู้รู้ผู้ดูอาการของปีติ  ไม่ต้องอยากให้หาย
หรืออะไร  แค่ดูไป  คล้ายๆ กับใช้ปีติเป็นอารมณ์สมถะ
สักพัก ปีติจะหายไป จิตเข้าสู่ความสงบ  ซึ่งตรงนี้จะยกขึ้นสู่ฌานสาม
มีสุขกับเอกัคคตา  แล้วเอาจิตตรงนี้ออกมาดูกายดูใจแบบที่ฝึกใหม่ต่อไป

ซึ่งจิตถ้าิทิ้งปีีติไปแล้ว  จะคงเหลือความสุข แต่สงบไม่ไหลเข้าไปสู่ความสุข
ไม่เหมือนกับตอนที่ัยังมีปีติอยู่   ซึ่งจะเป็นจิตที่เหมาะควรแก่การงาน
เนื่องจากสงบจากปีติแล้ว  แต่มีความตั้งมั่่น  จิตตรงนี้ถ้าเอามาตามรู้ตามดู
จะว่องไวมาก ดูอะไรๆ ก็ไม่ิติดขัด

จากที่เคยทำมาเอง  ถ้าจิตเข้าตรงนี้ได้ทีนึง  พอเอามาเจริญสติในระหว่างวัน
สังเกตว่า จะรู้ได้ดี ไม่ค่อยเผลอ ไม่ค่อยเพ่ง  หรือถ้าเผลอ/เพ่ง  ก็รู้้ตัวเร็ว
แล้วกำลังสมาธิจะอยู่ไปได้สบายๆ สาม-ห้าวัน  ซึ่งบางทีก็ไม่ได้้นั่งสมาธิในช่วงนั้น
พอกำลังตกก็ค่อยไปทำสมาธิใหม่  ท่านอื่นอาจจะมีประสบการณ์มากกว่า
ช่วยเพิ่มเติมได้นะคะ

ขอสรุปอีกทีค่ะ เขียนเองยังงงเอง
ทำแบบเก่า ---> จนจิตยกขึ้นณานสาม เหลือแต่ความสงบตั้งมั่น --->
เอาจิตแบบนี้มาฝึกตามดูแบบใหม่ในระหว่างชีวิตประจำวัน

อ้างอิง (อิธ @ 21 ก.ค. 52 - 09:07)
อิอิ ทำบุญมาเยอะจัง เพื่อนๆ มาช่วยกันตรึมเลย

เอ้า มีคนแอบอิจฉาแน่ะ (แซวเล่นนะคะ)  

ตอบโดย: อัญญาสิ 22 ก.ค. 52 - 05:21


อ้างอิง (กอบ @ 21 ก.ค. 52 - 21:38)
ขอให้ลืมคำว่าปฏิบัติธรรมไปเลยครับ ไม่ต้องคาดหวังผลอะไรว่าจะได้อะไรเลย คิดเสียว่าการปฏิบัติธรรมเรามีหน้าที่คือสร้างเหตุให้ดีครับ ถ้าเหตุดีแล้วผลก็ย่อมดีขึ้นมาเองครับ เหมือนเราปลูกต้นไม้ ก็มีหน้าที่รดน้ำใส่ปุ๋ยกันเข้าไป เมื่อถึงเวลามันก็ออกดอกออกผลมาให้ชื่นชมกันเองครับ

    


โห.............คุณกอบแนะนำมาโดนใจผมตรงเผงเลย  คือว่านิสัยดั้งเดิมของผม  เป็นคนชอบมีกฏเกณฑ์ในทุกเรื่อง   เช่นตอนผมเด็กๆ  ต้องตื่น 6 โมงเช้าเพื่อไปโรงเรียนให้ทัน 8 โมง   ถึงเวลา 6 โมงเย็นต้องทำการบ้าน  ถึง 2 ทุ่มต้องเข้านอน เวลาสอบต้องได้ อันดับ 1 - 10 ในห้อง  แบบนี้เป็นต้น

ตอนนี้  แม้ว่าผมเป็นผู้ใหญ่แล้ว   แต่ผมก็ยังติดนิสัยมีกฏเกณฑ์แบบนี้อยู่ครับ
             --------------------------------------

แต่เมื่อวานนี้  หลังจากที่ได้รับคำแนะนำจากเพื่อนๆ  ผมจึงเปลี่ยนแปลงการภาวนาเสียใหม่ไม่มีกฏเกณฑ์ที่ตายตัวโดย...

ถ้าร่างกายเขาจะมีความซาบซ่านเเล้วก็.....พรึ่บ.....เห็นกาย - ใจ - ความสุข....ขึ้นมาพร้อมๆกัน   ผมก็ปล่อยให้เขาเป็นไปแบบนั้น

หรือว่า  ถ้ามีอะไรในใจผุดขึ้นมาแล้วดับไปเบาๆ   ผมก็ปล่อยให้เขาเป็นไปอย่างนั้น

หรือว่า  ถ้าเผลอไป  ผมก็รู้ว่าเมื่อตะกี้เผลอไป

จากการปฏิบัติแบบนี้  เช้านี้ผมจึงรู้สึกปลอดโปร่งโล่งใจอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน  พอมาเปิดลานธรรม  ก็เจอข้อความคุณกอบโดนใจผมพอดิบพอดีเลย  ผมนั่งยิ้มคนเดียวตั้งนาน  ทำไมจะบังเอิญได้ขนาดนี้  หุ หุ หุ
                   -----------------------------------------

เพื่อนๆครับ   เพื่อนๆทุกท่าน ที่ให้คำแนะนำแก่ผมทราบไหมว่า  ตลอดการภาวนา 18 ปีของผม  ผมไม่เคยอับจนหมดหนทางเท่ากับครั้งนี้เลย  แต่ว่ามีคำแนะนำของเพื่อนๆมาช่วยกันชี้ช่องทางให้แก่ผมคนละเล็กละน้อย  เมื่อเอาคำแนะนำมารวมๆกันแล้ว  จึงทำให้ผมแก้ไขปัญหาลุล่วงมาได้ ...... คล้ายๆกับมีความบังเอิญในตอนนี้พอดีที่ผมได้รับคำแนะนำที่ถูกจริต   ถ้าขาดคำแนะนำของเพื่อนคนใดคนหนึ่ง  ผมก็จะแก้ปัญหาไม่ได้ครับ ( ผมนึกแล้วก็เหลือเชื่อ  บางทีความอัศจรรย์  ปาฏิหาริย์มันก็มีจริงนะ )

ก็อยากจะบอกว่าผมซาบซึ้งความมีน้ำใจของเพื่อนๆมากๆครับ  

กราบขอบพระคุณเพื่อนๆทุกท่านมากๆเลยครับ      

ตอบโดย: ระนาด 22 ก.ค. 52 - 07:31


อ้างอิง (อัญญาสิ @ 22 ก.ค. 52 - 05:21)


ขอสรุปอีกทีค่ะ เขียนเองยังงงเอง
ทำแบบเก่า ---> จนจิตยกขึ้นณานสาม เหลือแต่ความสงบตั้งมั่น --->
เอาจิตแบบนี้มาฝึกตามดูแบบใหม่ในระหว่างชีวิตประจำวัน

อ้างอิง (อิธ @ 21 ก.ค. 52 - 09:07)
อิอิ ทำบุญมาเยอะจัง เพื่อนๆ มาช่วยกันตรึมเลย

เอ้า มีคนแอบอิจฉาแน่ะ (แซวเล่นนะคะ)  


ขอบคุณมากครับ คุณอัญญาสิ

คุณอัญญาสิลองย้อนกลับไปอ่านความเห็นของคุณ ( ความเห็นที่ 299 )  ความเห็นของคุณ อิธ ( ที่330) ความเห็นของคุณวิชา ( ที่ 331 และ 333 )  ความเห็นของคุณน้องบู ( ที่332 )  ความเห็นของคุณวสวัตตี ( ที่ 334 )

แล้วคุณจะพบว่า  มีความต่อเนื่องและตรงจริตในใจของผมอย่างน่าอัศจรรย์
          ---------------------------------------------

    เมื่อวานนี้ผมจดความเห็นของเพื่อนๆที่กล่าวชื่อมานี้  ลงในสมุด  แล้วผมมานั่งอ่านทบทวน  แบบอ่านรวมๆกันไปทั้งหมด  ผมจึงมองเห็นว่า  คล้ายๆกับเป็นคนๆเดียวเขียนขึ้น  แต่ความจริงแล้วต่างคนต่างเขียนแยกกัน  แต่น่าอัศจรรย์ว่า  ทำไมตรงจริตของผมได้พอดิบพอดี   อะไรมาดลใจให้เพื่อนๆเขียนคำแนะนำได้แบบนี้

                 -------------------------------------------

อ้างอิง
  คุณวสวัตตี  ความเห็นที่ 334

ในใจของคุณระนาดช่วงเวลาดังกล่าว  น่าจะมีสิ่งที่เรียกว่า  ความตั้งมั่น  เป็นหนึ่งเดียวของอารมณ์ ขอให้คุณอิงสิ่งนี้เอาไว้  ไม่นานความมีปีติจะดับไปจากกายและใจ  โดยไม่ทำให้คุณระนาดแห้งแล้งใจหรือเหี่ยวแห้งใจ  แต่คุณจะได้ความสงบแทน


เมื่อคืนนี้  ผมนั่งภาวนาแบบเห็นกาย - ใจ - ความสุข ..พรึ่บขึ้นมาพร้อมๆกัน  สักระยะหนึ่ง ( ก็ใช้เวลานานพอสมควร )  ผมก็เห็นว่า  มีอะไรบางอย่างเป็น background ในการเห็นกาย - ใจ - ความสุข

อะไรบางอย่างที่เป็น background นั้น  ก็คือ " ความตั้งมั่น "  ที่คุณกล่าวถึง...ใช่ไหมครับ

ถ้าการเห็น กาย - ใจ - ความสุข  ดับหายไป  อะไรบางอย่างที่เป็น backgroundนั้น  ก็จะดับตามไปด้วยครับ



 

ตอบโดย: ระนาด 22 ก.ค. 52 - 08:03


พุทธพจน์ท่านว่า กัลยาณมิตรเป็นทั้งหมดแห่งพรหมจรรย์  
 

ตอบโดย: อัญญาสิ 22 ก.ค. 52 - 08:47


อ้างอิง (ระนาด @ 22 ก.ค. 52 - 08:03)

อ้างอิง
คล้ายๆกับเป็นคนๆเดียวเขียนขึ้น  แต่ความจริงแล้วต่างคนต่างเขียนแยกกัน  แต่น่าอัศจรรย์ว่า  ทำไมตรงจริตของผมได้พอดิบพอดี   อะไรมาดลใจให้เพื่อนๆเขียนคำแนะนำได้แบบนี้

คิดว่าคงเป็นเพราะช่วงหลังๆ คุณระนาดให้รายละเีอียดมากขึ้น
ว่าแต่ละขณะๆ รู้สึกยังไง  มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง  แบบว่าว่ากันเพียวๆ เลย
เพื่อนๆ ก็เลยพอจับทางได้ว่า คุณระนาดน่าจะมีจริตนิสัยยังไง
อนุโมทนากับทุกๆ ท่านที่พยายามช่วยกันจริงๆ ค่ะ

อ้างอิง
ถ้าการเห็น กาย - ใจ - ความสุข  ดับหายไป  อะไรบางอย่างที่เป็น backgroundนั้น  ก็จะดับตามไปด้วยครับ

หลังจาก background ดับไปแล้ว  จิตตอนนั้นเป็นอย่างไรคะ

ตอบโดย: อัญญาสิ 22 ก.ค. 52 - 08:57


รอฟังเรื่อง background เพิ่มเติมเหมือนกันครับ
 

ตอบโดย: วสวัตตี 22 ก.ค. 52 - 10:18


สวัสดีครับทุกท่าน...

    ... เป็นอันว่า คุณระนาดผ่านจุดนั้นไปได้จนเห็น การเกิดดับ ซึ่งชัดเจนด้วยกำลังสมาธิที่ดี จนได้...

      แหม... เพราะพื้นฐานตอนเป็นเด็กดีอย่างนี้เอง ไม่ใช่ข้อเสียนะครับเป็นข้อดีนะครับ.

     ต่อไปเมื่อคุณระนาด ยังรักษาอารมณ์กรรมฐานอยู่ได้ และยังเจริญพละ 5 ให้พัฒนาขึ้นได้  การเกิดดับ ที่เกิดกับรูปนาม หรือของอารมณ์ หรือของกิเลสที่ปรากฏแล้วสติเท่าทันพร้อมมีพละที่พอเหมาะ จะปรากฏให้เห็นบ่อยๆ ขึ้น ตามการปฏิบัติ ชัดบ้างไม่ชัดบ้าง ไปโดยตลอด   จนกว่าวิปัสสนาญาณเบื้องสูงจะเจริญขึ้นไปอีก.

     ถึงตอนนี้ผมเห็นควรต้องชี้แจง  เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนกันจนเกินไป ระหว่างการปฏิบัติแนวต่างๆ ที่มีการสนทนากันในกระทู้ ที่แยกเป็น 3 แนวทาง ซึ่งจะดูเหมือนจะขัดแย้งกันบ้างเรื่องแนวปฏิบัติเบื้องต้นนะครับ 3 แนวทางดังนี้.

     1.แนวทางปฏิบัติแบบ ยุบหนอ พองหนอ
     2.แนวอานปานาสติ แบบตามที่ผมเสนอโดยยกจากพุทธพจน์เป็นหลัก.
     3.แนวทางปฏิบัติแบบ หลวงพี่ปราโมทย์

    หมายเหตุ ผมต้องขอโทษผู้ที่ศรัทธาใน หลวงพี่ปราโมทย์ ที่ผมเรียกท่านว่าหลวงพี่นะครับ สาเหตุเพราะผม ได้ทำการรู้จักและได้เห็นหน้าค่าตา ทั้งแต่ก่อนที่ท่านจะบวชที่ศาลาลุงชิน และอายุของท่านกับผมห่างกันประมาณ 5 ปี ความรู้สึกว่าท่านเป็นพี่ในทางโลกได้บังเกิดขึ้นทั้งแต่นั้นมา เมื่อท่านได้บวชความรู้สึกแบบพี่ยังคงอยู่ จึงเรียกท่านว่า หลวงพี่ปราโมทย์ ก็จะไม่ตะขิดขัดกับความรู้สึกที่เป็นมาก่อน.

    ซึ่งแนวปฏิบัติแบบ ยุบหนอ พองหนอ    คุณ damrong121 ได้ตั้งประเด็นมาแล้วในความคิดเห็นก่อน ผมก็ได้เสนอแล้วว่าไม่ได้ขัดแย้งกัน และสำหรับผู้ที่คุ่นเคยในการปฏิบัติแบบ ยุบหนอ พองหนอ จนมีความเคยชิน ก็ไม่จำเป็นต้องมาปฏิบัติ ตามแบบอานาปานสติ นี้ก็ได้
     แต่สำหรับผู้ที่ปฏิบัติ ยุบหนอ พองหนอ จนมีความชำนาญและเชี่ยวชาญ ในวิปัสสนาญาณแล้ว จะลองมาปฏิบัติแบบอานาปานสติดู ก็ไม่มีข้อห้าม แต่ต้องปรับการกำหนดหรืออารมณ์กันหน่อย.

     สำหรับแนวดูจิต ที่หลวงพี่ปราโมทย์แนะนำนั้นก็ไม่ได้ขัดแย้งกัน ต่างกันแค่พื้นฐานการกำหนดเท่านั้นเอง ก็เป็นกรณีคล้ายกับ ยุบหนอ พองหนอ นั้นแหละครับ ที่แตกต่างกับอานาปานสติ ในการกำหนดพื้นฐาน.

      แต่เมื่อแนวปฏิบัตินั้นขมวดลงสู่ สติปัฏฐาน 4 เช่นเดียวกัน  และผู้ปฏิบัติสามารถปฏิบัติจนวิปัสสนาญาณปรากฏขึ้นได้  ก็หาได้ขัดแย้งกันในเรื่อง สติปัฏฐาน 4.

      ดังนั้นผู้ที่ปฏิบัติแนวใดจนคุ่นเคยชินในแนวทางนั้น ก็ไม่ต้องสับสนว่าอย่างไรถูกกว่า อย่างไรดีกว่า เมื่อขมวดลงสู่ สติปัฏฐาน 4 เช่นเดียวกัน

      แค่ให้ผู้ปฏิบัติเจริญวิปัสสนาญาณ ถึงวิปัสสนาญาณที่ 2. (ปัจจัยปริคคหาญาณ)  วิปัสสนาญาณที่ 3.(สัมมสนญาณ)  วิปัสสนาญาณที่ 4.(อุทยัพพยญาณ)  ก็นับว่าประเสริฐ ในเบื้องต้นแล้ว เข้าใกล้พระนิพพานมากขึ้นแล้ว.

        เพราะแค่ปฏิบัติถึง วิปัสสนาญาณที่ 2 (ปัจจัยปริคคหาญาณ) ก็เรียกว่า จุฬโสดาบัน (น่าจะพิมพ์ผิด) หรือเรียกว่าเป็นโสดาบันน้อยๆ แล้ว.  และมีอานิสงค์มากพอประมาณ ตามพระอรรถกถา คือผู้ที่รักษาวิปัสสนาญาณนี้ไว้ได้ จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต  สุขคติโลกสวรรค์เป็นที่ไปเท่านั้นในชาติที่ 2  แต่ในชาติที่ 3 ไม่สามารถรองรับไว้ได้ ก็จะเป็นไปตามวิบากแห่งกรรมแห่งตน  แต่บารมีอันเป็นอุปนิสัยปัจจัยนั้นได้ติดตามไปตลอดจนกว่าได้พัฒนาเพิ่มขึ้นจนกระทั้งบรรลุมรรคผลนิพพาน.

   ผมได้พิมพ์เพื่อให้เกิดความศรัทธาในธรรมเพิ่มขึ้นอีกแล้วนะครับ คุณ damrong121  

ตอบโดย: Vicha 22 ก.ค. 52 - 10:41


อ้างอิง (อัญญาสิ @ 22 ก.ค. 52 - 08:57)


อ้างอิง
ถ้าการเห็น กาย - ใจ - ความสุข  ดับหายไป  อะไรบางอย่างที่เป็น backgroundนั้น  ก็จะดับตามไปด้วยครับ


หลังจาก background ดับไปแล้ว  จิตตอนนั้นเป็นอย่างไรคะ


มีอะไรแผ่วๆ  ผุดขึ้นมาแล้วดับไปเบาๆครับ

หรือ  ...... มีอะไรพรึ่บขึ้นมา.....แล้วเห็นกาย - ใจ - ความสุข พร้อมกันได้อีก

                   --------------------------------

ภาวนาแบบไม่มีกฏเกณฑ์    ทำให้ผมสบายใจดีมากครับ   มันเป็นอิสระ    มันโล่งไปหมด   กาย - ใจจะปรุงอะไร  เขาจะปรุงแบบไหน ... ผมแค่รู้ ...  เท่านี้ก็จบ

ตอบโดย: ระนาด 22 ก.ค. 52 - 11:41


อ้างอิง (Vicha @ 22 ก.ค. 52 - 10:41)


      แหม... เพราะพื้นฐานตอนเป็นเด็กดีอย่างนี้เอง ไม่ใช่ข้อเสียนะครับเป็นข้อดีนะครับ.

 

     ถึงตอนนี้ผมเห็นควรต้องชี้แจง  เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนกันจนเกินไป ระหว่างการปฏิบัติแนวต่างๆ  ที่แยกเป็น 3 แนวทาง .

     1.แนวทางปฏิบัติแบบ ยุบหนอ พองหนอ
     2.แนวอานปานาสติ แบบตามที่ผมเสนอโดยยกจากพุทธพจน์เป็นหลัก.
     3.แนวทางปฏิบัติแบบ หลวงพี่ปราโมทย์


นานๆ  จะเห็นคุณวิชาแซวเพื่อร่วมสนทนาสักทีหนึ่ง  ผมอ่านแล้วผมก็ขำ   หุหุหุ

ทุกวันนี้  เพื่อนของผมยังเรียกผมว่า  " เด็กอนามัย "  อยู่เลยครับ
                    -------------------------------------

ความเห็นส่วนตัวของผมนะ    ผมว่า  แนวทางทั้ง 3 ทางนั้น  ไม่มีอะไรขัดแย้งกันเลยครับ  เพียงแต่อธิบายกันคนละแง่มุมเท่านั้น  และ เราเมื่อปฏิบัติแล้ว  จะเข้าถึงจุดเดียวกันนั่นเองครับ ( หมายความว่า  เราเลือกปฏิบัติเพียงแนวใดแนวหนึ่งก็พอแล้ว  แล้วเราจะเข้าถึงได้เหมือนกับแนวอื่นๆที่เหลือ )

                            -----------------------------

สรุป....ดูกาย...ก็เห็นจิต

          ดูจิต...ก็เห็นกาย

           ดูเวทนา...ก็เห็นกายและเห็นจิต
                       --------------------------------

ถ้าไม่มีคุณวิชาตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา  ผมต้องแย่แน่ๆเลย   ผมขอขอบคุณ  คุณวิชาที่ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาครับ
                       

ตอบโดย: ระนาด 22 ก.ค. 52 - 12:05


อ้างอิง (ระนาด @ 22 ก.ค. 52 - 11:41)
ภาวนาแบบไม่มีกฏเกณฑ์    ทำให้ผมสบายใจดีมากครับ   มันเป็นอิสระ    มันโล่งไปหมด   กาย - ใจจะปรุงอะไร  เขาจะปรุงแบบไหน ... ผมแค่รู้ ...  เท่านี้ก็จบ
(ระนาด @ 22 ก.ค. 52 - 11:41)

แล้วตอนที่ไม่รู้ เพราะจิตต้องทำกิจอื่น ๆ อยู่จึงไม่สามารถรู้กาย - ใจ ได้

ตอนนั้นเป็นปัญหาในการปฏิบัติหรือไม่ครับ  หรือยังเบา ๆ สบาย ๆ อยู่

แล้วเวลาจิตจะกลับมารู้กาย - ใจ ต้องอาศัยเจตนาหรือไม่ครับ หรือเป็นเพียงความเคยชินที่จิตเขาจะกลับมาเอง


ถามเพื่อตรวจทานตัวผมเองนะครับ  ไม่ใช่เพื่อตรวจทานพี่ระนาด

ขอบคุณครับ

ตอบโดย: น้องบู 22 ก.ค. 52 - 12:21


จตุกกะ (หมวดสี่) สี่หมวด

๐ มติของอรรถกถาว่า ผู้เริ่มต้นพึงปฏิบัติได้เฉพาะจตุกกะแรก คือหมวดสี่ที่ ๑ นี้เท่านั้น
๐ ส่วนจตุกกะที่เหลือจากนี้ ปฏิบัติได้ต่อเมื่อบรรลุฌานแล้ว
๐ อนึ่ง เฉพาะสามจตุกกะต้นเท่านั้น ใช้ได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา
๐ จตุกกะสุดท้ายใช้ได้แต่สำหรับวิปัสสนาอย่างเดียว (วิสุทธิ.๒/๖๖,๘๔)

จากพุทธธรรม พระพรหมคุณาภรณ์

ผมไม่เชื่อคุณVichaครับ พอผมมีสติผมก็จะฝึกสติรู้ที่ลมหายใจเข้า ลมหายใจออกครับ เพราะตามหัวข้อครับ  
ผมไม่เคยทราบว่าตนเองเคยบรรลุฌานหรือเปล่า แต่วิปัสสนาเคยฝึกบ้างแล้วนั้น ผมจะกระโดดมาพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง พิจารณาเห็นความดับไป (หมวดที่๔ ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน)ได้ไหมครับ

ตอบโดย: damrong121 22 ก.ค. 52 - 14:10


อ้างอิง (น้องบู @ 22 ก.ค. 52 - 12:21)


แล้วตอนที่ไม่รู้ เพราะจิตต้องทำกิจอื่น ๆ อยู่จึงไม่สามารถรู้กาย - ใจ ได้

ตอนนั้นเป็นปัญหาในการปฏิบัติหรือไม่ครับ  หรือยังเบา ๆ สบาย ๆ อยู่

แล้วเวลาจิตจะกลับมารู้กาย - ใจ ต้องอาศัยเจตนาหรือไม่ครับ หรือเป็นเพียงความเคยชินที่จิตเขาจะกลับมาเอง


ตอนที่ไม่รู้  เพราะจิตต้องทำกิจอื่นๆ  จึงไม่สามารถรู้กาย - ใจ ได้  ตรงนี้ถ้าผมเผลอไป  ผมก็รู้ว่า  เมื่อตะกี้นี้ผมเผลอไปครับ  ตรงนี้ไม่มีปัญหาในการปฏิบัติเลยครับ  คือว่า  การภาวนาแบบไม่มีกฏเกณฑ์  ผมจะภาวนาอย่างไรก็ได้  กายและใจ  จะปรุงแต่งอย่างไรก็ได้   ผมแค่.... " รู้ " .......เท่านี้จบเลยครับ


              -------------------------------------------

เวลาที่จิตกลับมารู้กาย - ใจ แบบพร้อมกันและแยกเป็นส่วนๆต้องอาศัยเจตนาหรือไม่  หรือว่าเป็นความเคยชิน

ตรงนี้จะเรียกว่า ผมมีเจตนา....ก็ไม่ใช่ / จะว่าผมมีเจตนา....ก็ไม่เชิง   แต่ว่ามันเกิดมาจากการฝึกฝนครับ  วิธีการฝึกฝน  ผมเคยเล่าในตอนต้นๆของกระทู้นี้แล้วครับ
 
http://www.larndham.net/index.php?showtopic=34753&st=111

อาการนี้ถ้าอธิบายด้วยคำพูด  จะเข้าใจยากมาก  แต่ถ้าลงมือปฏิบัติ  จะง่ายมากๆ  เช่น  เวลาเราจะขยับนิ้วมือ  เราจะรู้สึกว่ามีแรงดันในนิ้วมือนิดนึงแล้วนิ้วมือก็ขยับ  อาการที่ผมระลึกรู้ความรู้สึกทางกายแล้วซาบซ่าน  แล้ว...พรึ่บ...เห็นกาย - ใจ พร้อมๆกันและมีความสุข ก็เช่นเดียวกันครับ

               ----------------------------------------

ถ้าคุณน้องบูพยายามไม่นึกไม่คิด  ไม่ให้มีเสียงของความคิดดังขึ้นในสมองสัก 5 นาที  คุณจะรู้สึกเครียด  ใช่ไหมครับ


  ก็ทำนองเดียวกัน  ถ้าผมพยายามไม่ให้ร่างกายมีความซาบซ่านเกิดขึ้น  แล้วพยายามไม่ให้มีอาการ...พรึ่บ...รู้กาย - ใจ พร้อมๆกัน .... ผมก็จะเครียดเช่นเดียวกันครับ
                ---------------------------------------------

อ้างอิง
คุณน้องบู  ความเห็นที่ 332

ถ้าจิตมันจะติด  มันก็เป็นเรื่องธรรมดาของจิต  ที่ได้สั่งสมมาในด้านนี้ครับ  อาการที่ปรากฏเป็นเพียง  ปรากฏการณ์ของจิต  เป็นเพียงสภาวะธรรมหนึ่งๆเท่านั้น


   คำแนะนำของคุณตรงนี้แหละครับ  ที่ช่วยชีวิตการภาวนาของผมเอาไว้

ขอบคุณมากครับ
                ------------------------------------

เพื่อนๆที่เข้ามาอ่านครับ

อาการที่ผมระลึกรู้ความรู้สึกทางกาย  แล้วมีความซาบซ่าน  แล้วเห็นกาย - ใจ - ความสุขได้พร้อมกัน  ไม่ใช่การบรรลุธรรมนะครับ  แต่เป็นธรรมชาติของกาย - ใจ อย่างหนึ่งเท่านั้นเอง

ตอบโดย: ระนาด 22 ก.ค. 52 - 14:47


เมื่ออ่านแล้วเทียบเคียง ก็จะเกิดความเข้าใจ  เมื่อเกิดความเข้าใจ ก็สักแต่ว่าเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย

ขอบคุณสำหรับการให้ข้อมูลครับ

ตอบโดย: น้องบู 22 ก.ค. 52 - 15:02


สนทนากับคุณ damrong121

  ดีครับที่คุณ damrong121 พิมพ์ยก จตุกกะ (หมวดสี่) สี่หมวด ให้อ่านกันครับ.

  จากคำถาม
อ้างอิง
  ผมไม่เคยทราบว่าตนเองเคยบรรลุฌานหรือเปล่า แต่วิปัสสนาเคยฝึกบ้างแล้วนั้น ผมจะกระโดดมาพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง พิจารณาเห็นความดับไป (หมวดที่๔ ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน)ได้ไหมครับ


  ตอบ คุณ damrong121  จะเอาอย่างนั้นเลยหรือครับ

   ผมขอแสดงความเห็นก่อนที่จะตอบคำถามนะครับ

    พื้นฐานของคุณ damrong121 นันต่างกับคุณระนาดมากเลยครับ  เพราะคุณระนาดปฏิบัติจนได้ฌานมาก่อน

    และก็ต่างจากผมมากด้วย เพราะผมฝึกดูลมหายใจเป็นเวลา 10 กว่าปี จนสติตั้งอยู่ที่บริเวณจมูกตลอดเวลามาก่อน แล้วในเมื่อปรับสติ ตามแบบวัดมหาธาตุท่าพระจันทร์(ยุบหนอ พองหนอ) จนแยกรูปแยกนามที่ปรากฏกายกับใจที่เด่นชัดเป็นขณะปัจจุบันๆ ไป เมื่อผมนำมาพิจารณาความไม่เที่ยง ความเป็นทุกขัง ความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน กับภาวะที่ลมหายใจสัมผัสหรือรู้สึกออกหรือเข้าที่ปลายจมูก  วิปัสสนาญาณเบื้องสูงก็เจริญขึ้นพร้อมทั้งการได้บรรลุฌานไปด้วยตามลำดับ.

   คุณ damrong121 ไม่เคยปฏิบัติอานาปานสติอย่างมากมาก่อนจนแนบแน่น แต่เคยปฏิบัติวิปัสสนาตามแบบ ยุบหนอ-พองหนอ มาพอประมาณ และวิปัสสนาญาณเบื้องต้นก็ได้ปรากฏขึ้นแล้ว ความเป็นจริงน่าจะปฏิบัติตามแบบ ยุบหนอ-พองหนอ ต่อไป ให้เวลากับการปฏิบัติมากขึ้น เจริญพละทั้ง 5 ให้เจริญขึ้น มีสติปัญญาสังเกตุ ปรับพละ 5 ให้สมดุลย์ได้พอเหมาะพอดี ก็สามารถพัฒนาขึ้นสู่วิปัสสนาญาณเบื้องสูงได้ง่ายกว่านะครับ  เรื่องการบรรลุฌานหรือไม่นั้นไม่น่าจะเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงเมื่อปฏิบัติตามแนววิปัสสนาล้วนๆ.

   ต่อไปจะตอบคำถามตรงประเด็นที่ถามนะครับ.
    
   คุณ damrong121 ถาม  "ผมจะกระโดดมาพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง ได้ไหมครับ"

   ผม ตอบ  "ได้ครับ แต่ต้องมีฐานการกำหนดอานาปานสติ หมวดที่ 1 หรือ จตุกกะส่วนที่ 1 ให้มากให้มั่นคงก่อน  แล้วกระโดดมาพิจารณาเห็นความไม่เทียงได้ เพราะวิปัสสนาเบื้องต้น damrong121 เคยผ่านมาก่อน จึงสามารถยกเข้าสู่วิปัสสนาล้วนๆ ได้ครับ" .

    คุณ damrong121 ถาม " พิจารณาเห็นความดับไป ได้ไหมครับ"

    ผมตอบ "ยังไม่ได้ในทันทีครับ ตัองเจริญได้ อุทยัพพยญาณ (วิปัสสนาญาณที่ 4) ก่อนครับ แต่ถ้าจะพิจารณาก็พิจารณาตามจินตมยปัญญาไปก่อน คือมีสติกำหนดรู้อารมณ์หรือรูปนาม ที่ปรากฏอยู่แล้วสืบต่อตั้งอยู่จนค่อยๆ หายไป ได้ครับ แต่หาใช่ เป็นการพิจารณาเห็นความดับไป ตามอานาปานสติสูตรอย่างแท้จริงนะครับ.

ตอบโดย: Vicha 22 ก.ค. 52 - 15:03


ผมยังมีศรัทธาในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าครับ  
มั่นใจในความจริงที่ปฏิบัติสติปัฏฐาน นับถือในพ่อแม่ครูอาจารย์ทุกท่าน

เพราะแค่ปฏิบัติถึง วิปัสสนาญาณที่ 2 (ปัจจัยปริคคหาญาณ) ก็เรียกว่า จุฬโสดาบัน (น่าจะพิมพ์ผิด) หรือเรียกว่าเป็นโสดาบันน้อยๆ แล้ว.  และมีอานิสงค์มากพอประมาณ ตามพระอรรถกถา คือผู้ที่รักษาวิปัสสนาญาณนี้ไว้ได้ จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต  สุขคติโลกสวรรค์เป็นที่ไปเท่านั้นในชาติที่ 2  แต่ในชาติที่ 3 ไม่สามารถรองรับไว้ได้ ก็จะเป็นไปตามวิบากแห่งกรรมแห่งตน  แต่บารมีอันเป็นอุปนิสัยปัจจัยนั้นได้ติดตามไปตลอดจนกว่าได้พัฒนาเพิ่มขึ้นจนกระทั้งบรรลุมรรคผลนิพพาน.

แต่ผมแค่จำสภาวะธรรมที่เคยเกิดได้เท่านั้นครับ ไม่มีความศรัทธาในการน้อมใจดิ่งหรือเด็ดเดี่ยวที่จะปฏิบัติทำให้อ่านแล้วละอายมากกว่าครับ ผ่านแต่ไม่ทราบรักษาอย่างไรครับ
รู้สึกว่าละอายยังไม่พอ ขอถามตรงๆครับว่าจะรักษาอย่างไร ขนาดผู้ที่ปฏิบัติอยู่ยังเผลออยู่เลยครับ  

เหมือนคุณVichaเกิดสภาวะเบื่อหน่ายตั้งหลายปีหรือเปล่าครับ  

ตอบโดย: damrong121 22 ก.ค. 52 - 17:21


อนุโมทนาคุณระนาดนะครับ และขออนุญาตยุยงให้ไปส่งการบ้านกับหลวงพ่อปราโมทย์อีกครั้งในเร็วๆ นี้นะครับ อย่าปล่อยให้เนิ่นนานไป (ภาวนาได้อย่างคุณระนาด ไม่ควรไปน้อยกว่าเดือนละครั้ง เพราะมันใกล้ถูกต้องได้ผลเต็มทีแล้ว)

เพราะถ้าจิตของคุณระนาดดำเนินวิปัสสนาถูกแล้ว หลวงพ่อท่านจะได้ชื่นใจว่ามีผู้ใกล้พ้นทุกข์อีกคนหนึ่ง (หลวงพ่อท่านเคยกล่าวว่า การปฏิบัติบูชาของเหล่าศิษย์ จะทำให้ครูบาอาจารย์มีกำลังใจดำรงขันธ์เพื่อสอนต่อไป) แต่หากจิตคุณระนาดยังติดขัดเล็กน้อยด้านใดอีก ท่านจะได้ชี้ให้คุณผ่านไปได้โดยไม่ติดสิ่งใดให้เนิ่นช้า

ด้วยจิตคาราวะและอนุโมทนาครับ _/\_

ตอบโดย: จุ๊ 22 ก.ค. 52 - 21:44


อ้างอิง (จุ๊ @ 22 ก.ค. 52 - 21:44)
อนุโมทนาคุณระนาดนะครับ และขออนุญาตยุยงให้ไปส่งการบ้านกับหลวงพ่อปราโมทย์อีกครั้งในเร็วๆ นี้นะครับ อย่าปล่อยให้เนิ่นนานไป (ภาวนาได้อย่างคุณระนาด ไม่ควรไปน้อยกว่าเดือนละครั้ง เพราะมันใกล้ถูกต้องได้ผลเต็มทีแล้ว)
 
(จุ๊ @ 22 ก.ค. 52 - 21:44)

ขอสนับสนุนการยุยงนั้นครับ
     

ตอบโดย: กอบ 22 ก.ค. 52 - 22:13


อ้างอิง (กอบ @ 22 ก.ค. 52 - 22:13)
อ้างอิง (จุ๊ @ 22 ก.ค. 52 - 21:44)
อนุโมทนาคุณระนาดนะครับ และขออนุญาตยุยงให้ไปส่งการบ้านกับหลวงพ่อปราโมทย์อีกครั้งในเร็วๆ นี้นะครับ อย่าปล่อยให้เนิ่นนานไป (ภาวนาได้อย่างคุณระนาด ไม่ควรไปน้อยกว่าเดือนละครั้ง เพราะมันใกล้ถูกต้องได้ผลเต็มทีแล้ว)
 

ขอสนับสนุนการยุยงนั้นครับ
     
(กอบ @ 22 ก.ค. 52 - 22:13)


ยินดีที่จะรับไปปฏิบัติตามครับผม

ขอบคุณ  คุณจุ๊และคุณกอบครับ

      
                 -------------------------------------

  ตรงนี้เราคุยกันในฐานะต่างก็เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อด้วยกันนะ ( ผมก็อยากจะไปทุกเดือนอยู่แล้ว )

ถ้าผมไปส่งการบ้านเดือนละครั้ง   จะเป็นการรบกวนหลวงพ่อมากเกินไปไหมครับ

ลูกศิษย์ที่เป็นคนเก่าๆ ที่เคยใกล้ชิดสนิทสนมกับท่านมาก่อน  มีความเห็นอย่างไรบ้างครับ ( ผมเป็นคนมาใหม่  ผมเกรงใจท่านครับ  เวลาส่งการบ้าน  ผมจะถามคำถามที่สำคัญที่สุดเพียงคำถามเดียว )
 

ตอบโดย: ระนาด 23 ก.ค. 52 - 07:14


อ้างอิง
คุณระนาด
มีอะไรแผ่วๆ  ผุดขึ้นมาแล้วดับไปเบาๆครับ

สิ่งที่เราต้องรู้ก็มีเท่า่นี้แหละค่ะ
"สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมดับไป เป็นธรรมดา"
ไม่จำเป็นต้องให้ชื่อ หรือ รู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไรด้วยซ้ำ

เมื่อเห็นธรรมดามากๆ บ่อยๆ จนใจมันพอ  ใจก็จะค่อยๆ เห็นถูกว่า
ไม่มีสิ่งใดที่เรียกว่า "เรา"   จนใจนั้นปล่อยวางไปเอง

อ้างอิง
ภาวนาแบบไม่มีกฏเกณฑ์    ทำให้ผมสบายใจดีมากครับ   มันเป็นอิสระ    มันโล่งไปหมด   กาย - ใจจะปรุงอะไร  เขาจะปรุงแบบไหน ... ผมแค่รู้ ...  เท่านี้ก็จบ

  ฮี่ ฮี่ ในที่สุดก็เข้าใจที่ครูบาอาจารย์ว่า  อะไรเกิดขึ้นก็รู้ไป
สภาวะของกาย-ใจ ไม่ว่าจะเป็นสภาวะใดๆ ก็ตามเมื่่อเกิดขึ้น หน้าที่เราก็แค่ "รู้"

สิ่่ิ่งต่อไปคือ ทำบ่อยๆ ทำเนืองๆ (คุณระนาดก็ทำอยู่แล้ว)
กาลข้างหน้าจะติดขัดอย่างไรก็ค่อยตรวจสอบไปค่ะ
      อนุโมทนาค่ะ
 

ตอบโดย: อัญญาสิ 23 ก.ค. 52 - 07:59


เพิ่มเรื่อง รู้ หรือ ไม่รู้ (เผลอหรือจิตต้องทำกิจอื่น ทำให้รู้กายรู้ใจไม่ได้)

รู้ หรือ ไม่รู้ ทั้งสองสิ่งก็เป็นเพียงสภาวะ
สภาวะ "รู้" คือ มีสติเห็นกายเห็นใจ
สภาวะ "ไม่รู้" คือ ไม่่มีสติเห็นกายเห็นใจ
(แต่อาจจะมีสติอย่างโลกๆ ได้ เช่น กำลังทำงาน กำลังข้ามถนน)

หน้าที่ของเราต่อสภาวะทั้งหลาย คือ รู้
เผลอไปก็รู้  ไม่เผลอก็รู้  รู้ก็รู้ว่ารู้  ไม่รู้ก็รู้ว่าไม่รู้
รู้นั้นจะจงใจ หรือ ไม่จงใจ เราก็แค่รู้ จงใจก็รู้ว่าจงใจ ไม่จงใจก็รู้ว่าไม่จงใจ
สภาวะทำหน้าที่ของสภาวะ  เราก็ทำหน้าที่ของเรา คือ "รู้"
เจริญในธรรมค่ะ    

ตอบโดย: อัญญาสิ 23 ก.ค. 52 - 08:22


ง่า ขอเพิ่มอีกเรื่องค่ะ

การปฏิบัติไม่ว่าจะทำเบื้องต้นมาแบบใด ดูกาย ดูเวทนา ดูจิต
ก็เป็นกาำรทำเพื่อฝึกดูสภาวะทั้งนั้น  จนสติตัวจริงเกิด  เกิดเองไม่ได้จงใจ
สติเกิดแล้วก็ระลึกรู้กายบ้าง จิตบ้าง เวทนาบ้าง
(ระลึกรู้ธรรมนี่ ยังไม่ค่อยเข้าใจค่ะ ขอข้าม แหะๆ)

ตรงนี้ก็ไม่มีสายแล้ว  จะทำมาอย่างไรก็จะมาเจอกันตรงนี้แหละ
หลังจากนั้นก็ดูต่อไปเรื่อยๆ  จนจิตเข้าใจความจริงอย่างแจ่มแจ้ง
เข้าใจว่าอะไร  ก็เข้าใจว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ของเรา  จิตเค้าก็วางของเค้าเอง

จึงเห็นว่า ไม่มีความแตกต่างกันในสายการปฏิบัิติเลยค่ะ
ถ้้าทำถูกก็จะมาลงที่เดียวกันทั้งสิ้นค่ะ
     

ตอบโดย: อัญญาสิ 23 ก.ค. 52 - 08:30


     

ตอบโดย: พู่กัน 23 ก.ค. 52 - 09:17


อ้างอิง (อัญญาสิ @ 23 ก.ค. 52 - 08:22)


หน้าที่ของเราต่อสภาวะทั้งหลาย คือ รู้
เผลอไปก็รู้  ไม่เผลอก็รู้  รู้ก็รู้ว่ารู้  ไม่รู้ก็รู้ว่าไม่รู้
รู้นั้นจะจงใจ หรือ ไม่จงใจ เราก็แค่รู้ จงใจก็รู้ว่าจงใจ ไม่จงใจก็รู้ว่าไม่จงใจ
สภาวะทำหน้าที่ของสภาวะ  เราก็ทำหน้าที่ของเรา คือ "รู้"
เจริญในธรรมค่ะ    


ผมเห็นด้วยครับ    


เราจงใจปฏิบัติก็ได้  ไม่จงใจปฏิบัติก็ได้  เผลอก็ได้  เพ่งก็ได้  ไม่มีการบังคับ  ไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัวอะไร  การภาวนาก็แค่..." รู้ "..เท่านั้นเอง

( ถ้าอ่านจากตัวหนังสือ  จะเข้าใจยาก  แต่ถ้าลงมือปฏิบัติจะง่ายกว่าเยอะ )
 

ตอบโดย: ระนาด 23 ก.ค. 52 - 09:35


 คุณระนาดเห็นแล้วหนอ เข้าใจแล้วหนอ
สิ่งที่บรรยายมา บ่งบอกสภาวะธรรมและความเข้าใจได้เป็นอย่างดีจริงๆ ค่ะ  

ตอบโดย: อัญญาสิ 23 ก.ค. 52 - 09:39


อ้างอิง (ระนาด @ 23 ก.ค. 52 - 07:14)
ตรงนี้เราคุยกันในฐานะต่างก็เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อด้วยกันนะ ( ผมก็อยากจะไปทุกเดือนอยู่แล้ว )

ถ้าผมไปส่งการบ้านเดือนละครั้ง   จะเป็นการรบกวนหลวงพ่อมากเกินไปไหมครับ

ลูกศิษย์ที่เป็นคนเก่าๆ ที่เคยใกล้ชิดสนิทสนมกับท่านมาก่อน  มีความเห็นอย่างไรบ้างครับ ( ผมเป็นคนมาใหม่  ผมเกรงใจท่านครับ  เวลาส่งการบ้าน  ผมจะถามคำถามที่สำคัญที่สุดเพียงคำถามเดียว )
(ระนาด @ 23 ก.ค. 52 - 07:14)

ปรกติ ถ้ามีปัญหาผมก็จะไปถามหลวงอากันทั้งนั้นครับ  
ถ้ามีโอกาสก็ไปส่งการบ้านท่านเหมือนกันครับ

เพราะถ้ามีปัญหาแล้วไม่รีบแก้ไข มันก็จะเข้าใจผิด ๆ กันไป สอนต่อผิด ๆ กันไป
สุดท้ายพวกที่เรียนมาผิด ๆ ก็จะต้องกลับมาให้หลวงอาท่านแก้ไขเหมือนกันครับ  

ถ้าให้ดีไปส่งการบ้านท่านจนกว่าจิตจะตั้งมั่นได้เอง ภาวนาเป็น รู้สึกตัวเป็นแล้วจริง ๆ ก็ดีครับ
เพราะถ้าทำได้ถึงตรงนั้น เท่ากับเรารู้หลักการภาวนาแล้ว เจริญสติเป็นแล้วครับ ต่อไปก็ขยันรู้ให้ได้บ่อย ๆ ครับ

ตอบโดย: กอบ 23 ก.ค. 52 - 09:54


อ้างอิง (อัญญาสิ @ 23 ก.ค. 52 - 09:39)
  คุณระนาดเห็นแล้วหนอ เข้าใจแล้วหนอ


โห..........ยังไม่ถึงขนาดนั้นม้าง      

              ---------------------------------

คุณอัญญาสิรู้สึกไหมว่า....... " รู้ " ในตอนนี้กับ... " รู้ " ในสมัยก่อน ตอนที่เรายังไม่ได้ฝึกการภาวนา  มันเป็นคนละอาการ

ทำไมมันเป็นอย่างนี้ได้ผมก็ไม่รู้    และมันเริ่มเป็นตอนไหนผมก็ไม่รู้    คือว่า  ถ้าเราทิ้งกฏเกณฑ์ไปให้หมด  เราก็จะเห็น " รู้ " ตัวนี้ได้

แต่ว่าเมื่อก่อน  ทำไมผมจึงทิ้งกฏเกณฑ์พวกนี้ไม่ได้    ผมก็ไม่เข้าใจตัวเองเหมือนกันนะ

ถ้าใช้คำพูดมาอธิบาย  ก็ดูเหมือว่ายาก  แต่จริงๆแล้วก็ไม่มีอะไร  ก็ธรรมดาๆ
 

ตอบโดย: ระนาด 23 ก.ค. 52 - 10:05


สวัสดีครับทุกท่าน ที่รวมสนทนา

   ผมขอสนทนากับคุณ  damrong121

  จากข้อความ
อ้างอิง
  แต่ผมแค่จำสภาวะธรรมที่เคยเกิดได้เท่านั้นครับ ไม่มีความศรัทธาในการน้อมใจดิ่งหรือเด็ดเดี่ยวที่จะปฏิบัติทำให้อ่านแล้วละอายมากกว่าครับ ผ่านแต่ไม่ทราบรักษาอย่างไรครับ
รู้สึกว่าละอายยังไม่พอ ขอถามตรงๆครับว่าจะรักษาอย่างไร ขนาดผู้ที่ปฏิบัติอยู่ยังเผลออยู่เลยครับ 


   การที่จะรักษาวิปัสสนาญาณอย่างน้อยให้คงอยู่ในวิปัสสนาญาณเบื้องต่ำคือ ปัจจัยปริคคหาญาณ วิปัสสนาญาณที่ 2   ก็คือการน้อมใจระลึกรู้หรือกำหนดภาวนาอยู่เนื่องๆ  ในการดำรงชีวิตในประจำวัน ที่เป็นปกติทั่วไป จนมีความเคยชิน
    แต่ถ้าจะให้เป็นพื้นอารมณ์อยู่เสมอๆ และเด่นชัด ต้องปลูกศรัทธา ในการให้ทานตามฐานะ ในการรักษาศีล ในการศึกษาพระธรรม พิจารณาธรรม เป็นกิจวัตร ผู้ที่เคยผ่านวิปัสสนาญาณนี้มาแล้ว ก็ย่อมถูกชำนำขึ้นมาได้ง่าย ด้วยกุศลจิตด้วยกำลังศรัทธานั้น มีปัญญาเห็นเท่าทันรูปและนามที่เป็นปัจจัยกันอยู่.

     สำหรับผมตลอดเวลาเกือบ 30 ปีมานี้  ก็น้อมใจเพื่อกำหนดภาวนาอยู่เนื่องๆ บางช่วงก็เข้มข้นบางช่วงก็ไม่เข้มข้น บางช่วงระเอียดบางช่วงไม่ละเอียด บางช่วงก็เผลอไปยาว บางช่วงก็เผลอไม่ยาว แต่ก็น้อมใจเพื่อกำหนดภาวนาทุกวัน อาจจะน้อยบ้างมากบ้าง ซึ่งไม่น่าจะขาดไปสักวันเดียว ที่ไม่ได้น้อมใจกำหนดรู้เลย.

      และการที่ผู้ปฏิบัตินั้นยังเผลออยู่นั้นเป็นเรื่องปกติครับ  ในเมื่อยังมีกิเลสอยู่ก็ย่อมเผลอบ้างเป็นธรรมดา สำคัญอยู่ที่ว่ามีใจน้อมเพื่อการปฏิบัติหรือกำหนดภาวนาอยู่เนื่องๆ หรือเปล่า เมื่อมีใจน้อมในการปฏิบ้ติอย่างมีสติอยู่ เมื่อเผลอก็ย่อมรู้ว่าเผลอ เมื่อจิตใจไหลไปตามกิเลสก็ย่อมรู้ว่า ใจกำเริบไหลไปตามกิเลสที่ปรุงแต่ง ก็จะค่อยมีกำลังสติปัญญาและสมาธิพอที่จะระงับ หรือมีปัญญาเห็นค่อยๆ ปลดเหตุที่เกิดกิเลสนั้น ไม่ให้ปะทุออกทางกายหรือวาจา ที่เป็นอกุศลกรรมที่รุนแรง จนศีลขาดจนขาดคุณธรรมได้.

     สรุป คุณ damrong121 อาจจะเข้าใจว่า การรักษาอารมณ์วิปัสสนาญาณพื้นฐาน นั้นต้องปฏิบัติภาวนาอยู่ตลอดเวลาเหมื่อนตอนที่เข้าไปปฏิบัติตามช่วงเวลาที่กำหนด ถ้าทำได้อย่างนี้ตลอดเวลาก็ดีมากเลยครับ  ผมเคยทำมาก่อนติดต่อกันเป็นเวลายาวนานหลายปี แต่จะเกิดสภาวะไม่สมดุลย์ในการดำเนินชีวิตประจำวันในครอบครัวในฐานะฆราวาส เพราะผมปรารถนานิพพานเป็นอย่างยิ่ง และเพื่อพิสูจน์อะไรบางอย่าง.
 
     ถ้าประสงค์เพื่อแต่รักษาอารมณ์วิปัสสนาญาณพื้นฐานไม่จำเป็นต้องขนาดนั้น เพียงแต่มีใจน้อมในการกำหนดภาวนาอยู่เนื่องๆ ที่พอมีสติเป็นปัจจุบันบ้างครับ.

     แต่ถ้าปรารถนาบรรลุมรรคผลนิพพานอย่างเร็วพลันก็ลุยไปข้างหน้าเลยครับ แต่จำเป็นต้องมีสติปัญญาสังเกต พละทั้ง 5 ให้เหมาะสมให้สมดุลย์ และอย่าลืมภาระหน้าที่ ที่ต้องรับผิดชอบด้วยทั้งครอบครัวและหน้าที่การงาน คือบัวก็ไม่ให้ช้ำ น้ำก็ไม่ขุ่น จนเกินไปหรือจนเยียวยาไม่ได้.
  
      ตกลงคุณ damrong121 จะปฏิบัติตามแนวยุบหนอ-พองหนอ ต่อหรือปรับเป็น อานาปานสติครับ?

      แต่ด้วยใจของผมเห็นว่า น่าจะปฏิบัติแบบ ยุบหนอ-พองหนอ ต่อจนมีความชำนาญในวิปัสสนาญาณครับ.

 

ตอบโดย: Vicha 23 ก.ค. 52 - 10:14


อ้างอิง (กอบ @ 23 ก.ค. 52 - 09:54)


ถ้าให้ดีไปส่งการบ้านท่านจนกว่าจิตจะตั้งมั่นได้เอง ภาวนาเป็น รู้สึกตัวเป็นแล้วจริง ๆ ก็ดีครับ
เพราะถ้าทำได้ถึงตรงนั้น เท่ากับเรารู้หลักการภาวนาแล้ว เจริญสติเป็นแล้วครับ ต่อไปก็ขยันรู้ให้ได้บ่อย ๆ ครับ
(กอบ @ 23 ก.ค. 52 - 09:54)


คุณกอบกล่าวมาผมเห็นด้วยครับ

ถ้าท่านเหนื่อยสอนไม่ไหว  ท่านก็คงแจ้งวันหยุดให้เราทราบ

ถ้าวัดเปิดวันไหน  ก็แสดงว่า  ท่านพร้อมที่จะสอนแล้ว  เราก็ไปเรียนได้

    ทีนี้ผมไปส่งการบ้านเต็มที่ละนะ ( แต่ว่าเพื่อนๆจะรำคาญน่ะซิ  หุ  หุ  หุ )

ตอบโดย: ระนาด 23 ก.ค. 52 - 10:26



ผมขอสนทนากับคุณระนาดนะครับ.

    เมื่อถึงภาวะอย่างนี้แล้ว คุณระนาดจะไปต่ออย่างไรหรือครับ?

    อย่าลืมฐานของกรรมฐานเบื้องต้นนะครับ..... ตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้....ดังนี้.

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก.

     บทความเพียงแค่นี้น่าจะเข้าใจแล้วนะครับ....

 

ตอบโดย: Vicha 23 ก.ค. 52 - 10:28


อ้างอิง (ระนาด @ 22 ก.ค. 52 - 14:47)


เพื่อนๆที่เข้ามาอ่านครับ

อาการที่ผมระลึกรู้ความรู้สึกทางกาย  แล้วมีความซาบซ่าน  แล้วเห็นกาย - ใจ - ความสุขได้พร้อมกัน  ไม่ใช่การบรรลุธรรมนะครับ  แต่เป็นธรรมชาติของกาย - ใจ อย่างหนึ่งเท่านั้นเอง

 


ตัวแดงๆ น่าจะเป็นลักษณะของวิจารณ์นะครับ

ตอบโดย: วสวัตตี 23 ก.ค. 52 - 10:36


รอพี่ วิชา มาต่อครับ

ตอบโดย: อิธ 23 ก.ค. 52 - 10:43


อ้างอิง (Vicha @ 23 ก.ค. 52 - 10:28)
ผมขอสนทนากับคุณระนาดนะครับ.

    เมื่อถึงภาวะอย่างนี้แล้ว คุณระนาดจะไปต่ออย่างไรหรือครับ?


ปฏิบัติไปเหมือนที่เคยปฏิบัติอยู่ครับ

แต่ว่า  ไม่ต้องมีกฏเกณฑ์ว่า  เราต้องภาวนาอย่างนี้  เราต้องรู้อย่างนี้  ถ้าเรารู้อย่างนั้นแล้วผิดจะต้องแก้ไข ........ อะไรทำนองนี้ครับ ( ไม่บังคับก็รู้ว่าไม่บังคับ  ถ้าบังคับก็รู้ว่าบังคับ .... เมื่อบังคับไปแล้วเป็นอย่างไร  ... ก็รู้ว่าเป็นอย่างไร  ..ไม่ต้องแก้ไข...หมั่นรู้ไปบ่อยๆ เท่าที่จะทำได้ )

คำว่า " ไม่มีกฏเกณฑ์ "  ก็ไม่ใช่ว่า  การปล่อยปละละเลยครับ  คือว่า  ถ้าบอกเล่าเป็นถ้อยคำมันฟังแล้วสับสน  แต่ปฏิบัติจริงไม่ยากครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 23 ก.ค. 52 - 10:44


สวัสดีครับทุกท่าน...

    สนทนากับคุณระนาดต่อนะครับ....

     การมีสติรู้ลมหายใจนั้นเป็นฐานนะครับ ไม่ควรทิ้งไปเลย ไม่เช่นนั้นสภาวะที่เป็นอยู่ก็จะหายไปกับกาลเวลา....
        แล้วการจะไป รู้ หรือกำหนดรู้อะไร  แบบที่กล่าวว่า ไม่ต้องมีกฏเกณฑ์ ก็ไม่น่าจะมีปัญหานะครับ แต่สรุปลงที่เห็นความเป็นไตรลักษณ์ หรือความเป็นไตรลักษณ์ปราฏกแสดงให้เห็น เกิดปัญญาในการปล่อยวาง สะลัดคืน เป็นสำคัญนะครับ.

 

ตอบโดย: Vicha 23 ก.ค. 52 - 11:58


อ้างอิง (Vicha @ 23 ก.ค. 52 - 11:58)


     การมีสติรู้ลมหายใจนั้นเป็นฐานนะครับ ไม่ควรทิ้งไปเลย ไม่เช่นนั้นสภาวะที่เป็นอยู่ก็จะหายไปกับกาลเวลา....


        แล้วการจะไป รู้ หรือกำหนดรู้อะไร  แบบที่กล่าวว่า ไม่ต้องมีกฏเกณฑ์ ก็ไม่น่าจะมีปัญหานะครับ แต่สรุปลงที่เห็นความเป็นไตรลักษณ์ หรือความเป็นไตรลักษณ์ปราฏกแสดงให้เห็น เกิดปัญญาในการปล่อยวาง สะลัดคืน เป็นสำคัญนะครับ.


ขอบคุณ  คุณวิชามากๆเลยครับที่เข้ามาทักท้วงด้วยความเป็นห่วง  

               ------------------------------------

คุณวิชาครับ

ถ้าผมรู้ลมหายใจเพียงอย่างเดียว  ผมจะเครียดครับ  คือว่า  การระลึกรู้ความรู้สึกทางร่างกาย  แล้วเกิดความซาบซ่านตามมา
  

 หมายความว่า .... ผมรู้ลมหายใจ...รู้ความรู้สึกที่ทรวงอกพองยุบ.....รู้ความรู้สึกที่แผ่นหลังขยับขึ้นลง ....รู้อาการที่ร่างกายกำลังทรงตัว  .... รู้ความรู้สึกที่มาสัมผัสทางผิวหนัง.....รู้ความรู้สึกที่เท้ากำลังแตะพื้น.........รู้ความซาบซ่านที่แผ่ไปตามร่างกาย..................ฯลฯ    แล้วผมก็เห็นอะไรในใจ  ตามที่เคยเล่าไปแล้ว


ผมไม่สามารถรู้ความรู้สึกที่ลมหายใจเพียงอย่างเดียวครับ   เพราะว่ามันยากแล้วผมจะเครียด   แต่ว่าผมต้องรู้พร้อมๆกันทั้งหมด   ผมจึงจะไม่เครียดครับ

ถ้าให้ผมรู้ลมหายใจเพียงอย่างเดียว   ก็เหมือนกับจับตัวผมยัดเข้าไปในห้องแคบๆ   ซึ่งผมจะรู้สึกอึดอัดมากเลยครับ   ผมต้องรู้พร้อมๆกันทั้งหมด  จึงจะเป็นการรู้ที่โปร่งโล่งสบาย  และมีอิสระภาพ
                   ---------------------------------------

การรู้แบบไม่มีกฏเกณฑ์  มันทำให้ผมเห็นกาย - ใจ เป็นสิ่งที่ไม่มีเจ้าของได้ดีขึ้น ( ตรงนี้ผมไม่แน่ใจว่า  เรียกว่า  เห็นไตรลักษณ์ได้หรือไม่ )  ผมตั้งใจว่า  ผมจะหมั่นฝึกฝนการรู้กาย - ใจ แบบไม่มีกฏเกณฑ์  รู้แบบมีอิสระภาพ  ให้ชำนาญ  เพื่อให้หลวงพ่อตรวจสอบได้ชัดๆ    แล้วผมจะไปส่งการบ้านครับ


ผลของการส่งการบ้านครั้งต่อไปเป็นอย่างไร  ผมจะเข้ามาปรึกษาและขอคำแนะนำจากคุณวิชาอีกครับ  

ถ้ากระทู้นี้ยาวมากๆ  ขอรบกวนคุณวิชาเปิดภาค 2   แต่คุณอย่าปิดกระทู้หายไปเลยนะครับ

แฮ่...แฮ่...  

ตอบโดย: ระนาด 23 ก.ค. 52 - 13:36



อ้างอิง
หมายความว่า .... ผมรู้ลมหายใจ...รู้ความรู้สึกที่ทรวงอกพองยุบ.....รู้ความรู้สึกที่แผ่นหลังขยับขึ้นลง ....รู้อาการที่ร่างกายกำลังทรงตัว  .... รู้ความรู้สึกที่มาสัมผัสทางผิวหนัง.....รู้ความรู้สึกที่เท้ากำลังแตะพื้น.........รู้ความซาบซ่านที่แผ่ไปตามร่างกาย..................ฯลฯ    แล้วผมก็เห็นอะไรในใจ  ตามที่เคยเล่าไปแล้ว



   ครับ อย่างนี้แหละครับ แต่อย่าทิ้งลมหายใจ ที่เป็นฐานหลัก  สิ่งใดปรากฏชัดก็มีสติเท่าทันเป็นปัจจุบัน อะไรปรากฏชัดก็รู้ทันเป็นปัจจุบันกับสิ่งนั้น ในกายยาววาหนาศอก และใจ ของตนเอง ธรรมชาติของกายและใจนั้นแหละจะแสดงไตรลักษณ์ให้เห็นอยู่เรื่อยๆ.



  

ตอบโดย: Vicha 23 ก.ค. 52 - 13:59



ขอบคุณครับ  

ตอบโดย: ระนาด 23 ก.ค. 52 - 14:56


คิดว่าที่คุณวิชาแนะนำเรื่องการมีสติอยู่กับลม  หมายถึงว่าอย่าลืมการมีวิหารธรรมใ้ห้จิตอยู่ด้วย

เรื่องการ "รู้" สมัยก่อนที่เราจะ "รู้" เป็นจริงๆ  มันต่างกันอย่างที่คุณระนาดเล่ามาจริงๆ
แต่ก็ไม่รู้ว่าทำไมเมื่อก่อนมันทำไม่ได้  พอเราิทิ้งกฏเกณฑ์ไปได้
พอ "รู้" เป็น  ก็รู้สึกว่า มันง่ายๆ ธรรมดาๆ ง่ายมากๆ  แต่...ตั้งนานกว่าจะเข้าใจ
คงอย่างที่ หลวงพ่อปราโมทย์ว่า ให้ใจถึงๆ ทิ้งสิ่งที่เคยเรียนมาไปก่อน ให้เหลือแต่ "รู้"

ทีนี้เวลาเรา "รู้" เป็นแล้ว  ต่อไปเราก็จะิเริ่มเห็นกายใจแสดงความจริงออกมามากบ้างน้อยบ้าง
สภาวะธรรมที่ยังไม่เคยเกิด  ก็จะเกิดกับเรา   ซึ่งตรงนี้  เราก็แค่ "รู้"  อะไรๆ จะเกิดก็แค่รู้

แต่บางครั้งบางคราวจิตก็จะอดเข้าไปติดอยู่ไม่ได้  ยิ่งสภาวะที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน
การแก้ไขการติดสภาวะไปได้ครั้งหนึ่ง  มิใช่ว่ามันจะไม่เกิดอีก  ถ้าจิตมันจะติดมันก็ติด
ของมันเอง  มันจะจงใจมันก็จงใจของมันเอง (ไม่เคยขออนุญาตเราเลย)  มันห้ามกันไม่ได้

แต่ถ้าเรามีความสังเกตอย่างแยบคาย ก็จะพอเห็นได้  ยิ่งถ้าเรารู้แล้วว่า "รู้" จริงๆ เป็นยังไง
ก็จะเทียบเคียงกันได้ง่ายขึ้น

เล่าที่ตัวเองเคยผ่านมา พอแก้อันหนึ่งไปได้  ก็ไปติดอีกอันหนึ่ง  บางทีติดเพราะกิเลสละเอียด กิเลสอยากภาวนา กิเลสอยากได้ดี  ติดอยู่ได้สองสามปี  จนวันหนึ่งหันกลับมาทำสมถะ
จิตตั้งมั่นจึงดูออกว่าิติดอะไร  พอเห็นว่าจิตติดอะไร  จิตมันทิ้งไปเองเลย
จึงรู้ว่าจิตตั้งมั่นมีกำลังสมาธิหนุนก็สำคัญ  ยิ่งสภาวะละเอียดๆ จะดูยาก
ก็เล่่าเผื่อไว้เท่านั้นค่ะ  เผื่อวันหน้าติดขัดก็จะได้แก้ตัวเองพอได้บ้าง

ปล แหะๆ ที่บอกว่า รู้แล้ว หมายถึง รู้แล้วไงคะ ว่า "รู้" น่ะเป็นยังไง
คุณวิชาเปิดกระทู้ภาคสองก็ดีเหมือนกันนะคะ  กระทู้นี้เริ่มยาวแล้ว

ตอบโดย: อัญญาสิ 23 ก.ค. 52 - 20:03



คิดว่าที่คุณวิชาแนะนำเรื่องการมีสติอยู่กับลม  หมายถึงว่าอย่าลืมการมีวิหารธรรมใ้ห้จิตอยู่ด้วย

  ครับ... และมีประโยชน์ในการรักษาอารมณ์กรรมฐาน หรือรักษาพละ 5 หล่อเลี้ยงอยู่ได้  เพราะ การมีสติรู้ลมหายใจนั้น จะมีสติไปรู้เมื่อไหรก็ได้ จึงกำหนดให้เป็นพื้นฐานหลักหรือกรรมฐานหลัก เนื่องจากเป็นอยู่โดยธรรมชาติอยู่แล้ว.

  

ตอบโดย: Vicha 23 ก.ค. 52 - 20:27


ขอบคุณคุณVichaครับ

ตอนนี้มีครอบครัวแล้วครับ กำลังมีลูกชายครับ

ปรารถนานิพพานครับ อย่างน้อยก็โสดาปฏิผลครับ เอาอย่างมหาอุบาสก อุบาสิกา
ผู้ครองเรือนครับ

แต่จากการเข้ามาในลานธรรมผมก็อ่านดูจิต อานาปานสติ มีบางท่านบอกว่าพองยุบผิด พระพุทธเจ้าสอนให้หายใจเข้าออกรู้ที่ปลายจมูก พอผมระลึกได้ผมก็รู้ที่ปลายจมูกครับ พอมีความรู้สึกสดชื่นของร่างกายครับ

สรุปคือมีสติระลึกรู้นามรูปเมื่อมีสติครับ (กาย เวทนา จิต ธรรม) ระลึกรู้นามรูปโดยสัมปชัญญะ(ไตรลักษณ์ หรือเหตุปัจจัย)แล้วแต่อันไหนชัดครับ
จะพยายามรักษาและพัฒนาสติสัมปชัญญะครับ เพื่ออย่างน้อยเป็นนิสัยครับ

ตอบโดย: damrong121 23 ก.ค. 52 - 20:43


พองยุบ จะว่าผิดหลักอานาฯ เอ พองยุบก็ไม่ใช่อานาฯ อยู่แล้วนี่นา ??

พองยุบ เราดูที่ปลายลม   จริงๆ คือ ดูการเคลื่อนไหวของท้อง
การเคลื่อนไหวของท้อง จะว่าสัมพันธ์หรือไม่สัมพันธ์กับการหายใจ ก็ได้

แรกๆ ที่ตัวเองฝึกจะรู้สึกว่าพองยุบสัมพันธ์กับลม คือ หายใจเข้าท้องพอง
หายใจออกท้องยุบ  แต่พอทำไปๆ  ก็เห็นว่าพองยุบก็เป็นตัวของมันเอง
มันพองยุบได้เองโดยไม่เกี่ยวกับการหายใจ  ถ้าลองทำแต่พองยุบล้วนๆ เลย
โดยพักการทำอานาฯ ไปก่อน  จะเข้าใจค่ะว่า มันแยกกันได้ มันไม่ใช่อันเดียวกัน

ที่ตัวเองทำมาคือ เคยดูลมมาก่อน  พอมาทำพองยุบ  ก็ทิ้งลมไปเลยช่วงหนึ่ง
พอเข้าใจหลักการแล้ว  เห็นพองยุบชัดเจนแล้ว  จับหลักได้แล้ว  ช่วงหลังๆ นี่
บางทีเรานั่งสมาธิจะรู้ท้อง  จิตกลับไปรู้ลมเองก็มี  แล้วก็เกิดในทางกลับกันด้วย
คือ คิดจะรู้ลม แต่จิตกลับไปรู้ท้อง  ถ้าเข้าใจการรู้้การดู  จะดูอันไหนก็ได้
ไม่สับสนหรอกค่ะ  แต่แรกๆ  ควรจะลองทำอย่างเดียวไปก่อน

สำหรับตัวเองข้อดีของการดูพองยุบคือ ไม่ค่อยง่วง  ถ้าดูลมอย่างเดียวทีไร
ได้ไปเฝ้าพระิ้ิอินทร์ทุกที  

ตอบโดย: อัญญาสิ 24 ก.ค. 52 - 06:26


สวัสดีครับ   คุณวิชา คุณอัญญาสิ และคุณดำรง 121

ผมว่า   ภาวนาแบบพองยุบกับภาวนาแบบดูลม  มันก็อย่างเดียวกันนะ  แต่ว่า  ตอนเริ่มต้น  เราเริ่มกันคนละด้านเท่านั้นเองครับ

เมื่อฝึกฝนจนเข้าถึงเเล้ว  เราจะเห็นทั้งอาการของลม ( ร้อน - เย็น ) และ เห็นอาการหายใจของร่างกายได้พร้อมๆกัน ( พอง - ยุบ )

เวลาฝึกฝนใหม่ๆ  ถ้าจะให้มันง่ายขึ้น  เราควรจะดูไปทั้ง 2 แบบ

หมายความว่า... บางทีก็รู้ลมร้อน ลมเย็น  บางทีก็รู้ท้องพอง  ท้องยุบ  เราก็ดูรวมๆกันไปเลย  ไม่ต้องเลือกว่าจะดูแต่ลมหรือดูแต่ท้องพองยุบ  เห็นอะไรก่อนก็ดูอันนั้น แล้วทีหลังมันก็จะเห็นพร้อมกันได้เองครับ ( ถ้าลงมือปฏิบัติจะรู้สึกว่าง่าย  แต่  อ่านจากตัวหนังสือก็ดูเหมือนว่ายาก )

ตอบโดย: ระนาด 24 ก.ค. 52 - 07:27


อ้างอิง (อัญญาสิ @ 23 ก.ค. 52 - 20:03)

ทีนี้เวลาเรา "รู้" เป็นแล้ว  ต่อไปเราก็จะิเริ่มเห็นกายใจแสดงความจริงออกมามากบ้างน้อยบ้าง
สภาวะธรรมที่ยังไม่เคยเกิด  ก็จะเกิดกับเรา   ซึ่งตรงนี้  เราก็แค่ "รู้"  อะไรๆ จะเกิดก็แค่รู้

แต่บางครั้งบางคราวจิตก็จะอดเข้าไปติดอยู่ไม่ได้  ยิ่งสภาวะที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน


สาธุครับ  คุณอัญญาสิกล่าวมาดีแล้ว  


เมื่อ 1 - 2 วันมานี้ผมเริ่มเห็นว่า  ในชีวิตของเรา  บางครั้งเราก็บังคับร่างกายและความคิด ( เช่น  เวลาทำงาน)  บางครั้งร่างกายและจิตใจ  เขาก็ทำงานของเขาไปเอง ( เช่น เวลาเราภาวนาดูอนัตตา )


เราไม่สามารถปล่อยให้ร่างกายและจิตใจทำงานไปเองตลอดเวลา  และ  เราไม่สามารถบังคับร่างกายและความคิดให้เป็นไปตามที่เราต้องการตลอดเวลา

  ความจริงแล้ว  ร่างกายและจิต  เขาเป็นแบบนี้มาตั้งไหนตั้งไรแล้ว  แต่ว่าเมื่อก่อนหน้านี้ ผมยึดติดกับกฏเกณฑ์ว่า  มันต้องทำแบบนี้จึงจะถูก  ถ้าทำแบบนั้นแล้วจะผิด  ผมจึงมองตรงนี้ไม่เห็นครับ


สภาวะที่ผมไม่ค่อยจะได้เจอบ่อยๆ  ผมก็เข้าไปติด ( คือว่าเห็นเป็นตัวเราของเรา )  เหมือนที่คุณอัญญาสิกล่าวมาจริงๆครับ

ตอบโดย: ระนาด 24 ก.ค. 52 - 08:27


  อนุโมทนาครับ

คุณกอบอธิบายได้ดีเรื่อง จิตตั้งมั่น(สมาธิ) รู้สึกเป็นกลาง(ใจ)

หลวงพ่อปราโมทย์ให้อบรมสภาวะเพื่อให้เกิดสติเพราะจดจำได้ในถีรสัญญา

หลวงปู่เทสก์สอนว่าอย่าพึ่งพิจารณาใดๆโดยลืมกำลังของสติ สมาธิ

หลวงปู่ดูลย์ ฝึกตัวรู้ "รู้อยู่กับที่โดยไม่ต้องรู้อะไรอื่นเหลือเพียงตัวรู้ รักษาจิตให้รู้อยู่เฉยๆ
ไม่ต้องแยกแยะ  อย่าไปบังคับ อย่าพยายาม อย่าปล่อยไปตามยถากรรม เมื่อรักษาสักครู่
จิตจะซักส่ายไปยังอารมณ์ต่างๆเป็นเรื่องธรรมดา

เมื่อรู้สึกตัวให้พิจารณาเปรียบเทียบสภาวะขณะที่มีผู้รู้กับจิตที่แล่นไปในอารมณ์เพื่อเป็นอุบายสอนจิตให้จดจำ

รักษาจิตให้อยู่ในสภาวะรู้ต่อไป อีกไม่นานมากนักก็จะควบคุมจิตได้และบรรลุสมาธิในที่สุด
ฉลาดในพฤติของจิต โดยไม่ต้องไปปรึกษาหารือใคร

เมื่อถึงเวลาตาย ให้ทำจิตเป็นหนึ่งแล้วหยุดเพ่ง ปล่อยวางทั้งหมด"

คุณวิชาบางครั้งถ้าอ้องจิตมันหดแคบเข้ามาที่กายที่จิต มาอยู่กับผู้รู้ที่กายที่จิตอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ จิตมันยึดกายจึงทุกข์และจิตมันยึดจิตจึงทุกข์ คำว่าหดเข้ามาคือบางครั้งรู้สึกว่า
โลกภายนอกเหมือนไร้สาระอย่างบอกไม่ถูก

และเมื่อหันมาดูกายและจิตโดยไม่ใส่สมมุติบัญญัติ ขันธ์ที่ปรากฏ (รูปนาม) มันแปลกๆอธิบายไม่ถูก เรียกไม่เป็นและมันเหมือนจับเอาละอองของขันธ์เข้ามารวมๆกันจนกลายเป็นรูปร่างเป็นกายเราและแม้แต่จิตก็เหมือนเป็นเรา

แต่ยามที่จิตตั้งมั่นด้วยสมาธิ มีความรู้สึกเป็นกลาง มีสติปรากฏเกิดขึ้นเพราะจดจำได้ใน
ถีรสัญญา ความรู้สึกคือมันมีแต่ไม่ใช่เรา แต่อ้องคงจะต้องพิจารณาจนจิตมันยอมรับให้ได้ในวันใดวันหนึ่ง

คุณวิชาครับ ทำไมคนเราจึงกลัวทุกข์ กลัวนรก กลัวความลำบาก แต่ทำไมอ้องมันเหมือนมีสิ่งที่ต้องกระทำเป็นหน้าที่แม้ลึกๆก็กลัวแต่ใจมันยอมที่จะรับทุกสิ่ง แบกรับทุกสิ่ง มุมมองของอ้องแปลกๆแตกต่างจากเพื่อนๆที่มุ่งหวังเพื่อหนีไปจากโลก เพื่อบรรลุธรรม เพื่อการไม่กลับมา

แต่อ้องก็ทำสบายๆแบบไม่กดดันตนเองในการฝึกอบรมสภาวะ ไม่หวังผลเพื่อสร้างแรงกดดันตนเอง

อ้องคิดว่าอนาคตกาลแม้ยาวนานขนาดไหนแต่การที่ได้พบพระธรรมอันบริสุทธิ์ ทำให้อ้องรู้แล้วว่า อ้องเกิดมาเพื่ออะไร ต้องทำอะไร กาลเวลาไม่ได้ทำให้อ้องรู้สึกหน้ากลัวแต่อย่างไร
แม้จะต้องผิดพลาดพลาดพลั้งต้องไปอบาย๔และรู้ว่าจะต้องเดินทางอันแสนยาวไกล

คุณวิชา คุณบุญรักษ์ คุณระนาด คุณกอบ คุณบู คุณอัญญาสิ หลวงพี่รักเดียว คุณดำรงค์และเพื่อนๆ...
คงจะเดินหนีออกไปจากโลกนี้ไปนานแล้ว ส่วนอ้องก็คงมาคอยปัดกวาด เก็บต๋งเพื่อนๆที่เหลือตามไปที่หลังเพื่อพบเส้นทางแห่งสันติสุขในอนาคตกาลเวลาข้างหน้าด้วยเช่นกัน
 

รู้สึกยินดีที่ได้พบกันในเส้นทางแห่งความสว่างกระจ่างใจนะครับคุณวิชา...

ตอบโดย: ชัชวาล เพ่งวรรธนะ 24 ก.ค. 52 - 12:40


อ้างอิง (ชัชวาล เพ่งวรรธนะ @ 24 ก.ค. 52 - 12:40)

แต่อ้องก็ทำสบายๆแบบไม่กดดันตนเองในการฝึกอบรมสภาวะ ไม่หวังผลเพื่อสร้างแรงกดดันตนเอง



ปฏิบัติแบบสบาย บรรลุได้เร็วก็มี  บรรลุได้ช้าก็มี  นี่นาครับ


เมื่อถึงคราวจะบรรลุ ปัจจัยพร้อมมันก็บรรลุ  ไม่ได้เป็นเพราะว่า อยากบรรลุ หรือ ไม่อยากบรรลุ หรอกครับ


มันเป็นเรื่องของการกระทำที่สืบต่อกันมา

ทำกรรมที่เป็นปัจจัยให้เกิดการหลุดพ้น  ผลที่ได้จากกรรมก็คือการหลุดพ้น
ทำกรรมที่เป็นปัจจัยให้ไม่หลุดพ้น ผลที่ได้จากกรรมก็คือการไม่หลุดพ้น

บางครั้งคำว่าหลุดพ้น อาจจะถูกตีความว่า   เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ออกจากสิ่งทั้งหลาย

แต่

บางครั้งคำว่าหลุดพ้น อาจจะถูกตีความว่า  ไม่ได้เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ออกจากสิ่งทั้งหลาย แต่รู้แล้วว่ามีแต่สิ่งทั้งหลายเท่านั้น

ฉะนั้นแล้ว   ปัจจัยจากจิตที่สั่งสมมา ทำให้สามารถตีความคำว่าหลุดพ้นออกได้ 2 แบบ ดังที่ผมกล่าว  ซึ่งผมเดาเอาจากความคิด

เป็นความเห็นส่วนตัว  ที่แสดงออกมาเพื่อให้เพื่อนสมาชิกได้ทราบ และถ้าตรงไหนผิดผลาด  รบกวนตักเตือนผมด้วย  เพื่อประโยชน์แก่ตัวผมยิ่ง ๆ ขึ้นไปครับ

ตอบโดย: น้องบู 24 ก.ค. 52 - 13:02


อ้างอิง (น้องบู @ 24 ก.ค. 52 - 13:02)


บางครั้งคำว่าหลุดพ้น อาจจะถูกตีความว่า  ไม่ได้เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ออกจากสิ่งทั้งหลาย แต่รู้แล้วว่ามีแต่สิ่งทั้งหลายเท่านั้น
(น้องบู @ 24 ก.ค. 52 - 13:02)


เห็นด้วยครับ    
 

ตอบโดย: ระนาด 24 ก.ค. 52 - 13:25


.....ใครจะไปไหน.....หะหะหะ.....

.....ตอนนี้ผมยังไม่ค่อยแน่ใจ.....ไว้แน่ใจเมื่อไหร่ค่อยมาโม้เรื่องนี้กะคุณอ้อง.....

.....ตอนนี้แค่รู้สึกว่า.....ผมคงยังไม่ไปไหนง่ายๆ.....

.....กลัวคุณอ้องเหงา.....อิอิ.....

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 24 ก.ค. 52 - 13:46


อ้างอิง (บุญรักษ์ @ 24 ก.ค. 52 - 13:46)
.....ใครจะไปไหน.....หะหะหะ.....

.........ตอนนี้แค่รู้สึกว่า.....ผมคงยังไม่ไปไหนง่ายๆ.....

.....กลัวคุณอ้องเหงา.....อิอิ.....

 
(บุญรักษ์ @ 24 ก.ค. 52 - 13:46)


ถ้าจะไป............พวกเราก็ไปด้วยกันสิ

ก็ไม่แน่นะ  อีก 20 ปี  พวกเราอาจจะบวชเป็นพระอยู่วัดเดียวกันก็ได้

     

ตอบโดย: ระนาด 24 ก.ค. 52 - 14:00


จัดว่าเป็นวิปัสนากรรมฐารหรือปล่าวค่ะขอบคุณคะ

ตอบโดย: ชาติที่ดี 24 ก.ค. 52 - 14:11


สวัสดีครับทุกท่าน

  สนทนากับคุณ ชัชวาล เพ่งวรรธนะ นะครับจากคำถาม

อ้างอิง
คุณวิชาครับ ทำไมคนเราจึงกลัวทุกข์ กลัวนรก กลัวความลำบาก แต่ทำไมอ้องมันเหมือนมีสิ่งที่ต้องกระทำเป็นหน้าที่แม้ลึกๆก็กลัวแต่ใจมันยอมที่จะรับทุกสิ่ง แบกรับทุกสิ่ง มุมมองของอ้องแปลกๆแตกต่างจากเพื่อนๆที่มุ่งหวังเพื่อหนีไปจากโลก เพื่อบรรลุธรรม เพื่อการไม่กลับมา

แต่อ้องก็ทำสบายๆแบบไม่กดดันตนเองในการฝึกอบรมสภาวะ ไม่หวังผลเพื่อสร้างแรงกดดันตนเอง

อ้องคิดว่าอนาคตกาลแม้ยาวนานขนาดไหนแต่การที่ได้พบพระธรรมอันบริสุทธิ์ ทำให้อ้องรู้แล้วว่า อ้องเกิดมาเพื่ออะไร ต้องทำอะไร กาลเวลาไม่ได้ทำให้อ้องรู้สึกหน้ากลัวแต่อย่างไร แม้จะต้องผิดพลาดพลาดพลั้งต้องไปอบาย๔และรู้ว่าจะต้องเดินทางอันแสนยาวไกล


     ธรรมดาผู้เป็นปุถุชนหรือมีกิเลสอยู่ ย่อมกลัวทุกข์ทั้งหมดทั้งสิ้น  ยิ่งเป็นนิยตโพธิสัตว์หรือผู้ที่ได้รับพุทธพยากรณ์แล้วว่าจะเป็นเอกคัคตะมหาสาวก  จะกลัวบาปเป็นอย่างยิ่ง  เพราะการทำบาปนั้นแหละจะนำมาซึ่งความทุกข์ แต่ก็ยังพลาดพลั่งกันได้ ด้วยความหลงของกิเลสที่ผลักดัน เมื่อยังต้องสร้างสมบารมีอีกยาวไกล.
 
      เมื่อผ่านทุกข์มามากแล้วในชีวิต ผ่านการปฏิบัติธรรมมาแล้ว และยังดำรงณ์จิตอย่างนี้

   แต่อ้องก็ทำสบายๆแบบไม่กดดันตนเองในการฝึกอบรมสภาวะ ไม่หวังผลเพื่อสร้างแรงกดดันตนเอง

    อ้องคิดว่าอนาคตกาลแม้ยาวนานขนาดไหนแต่การที่ได้พบพระธรรมอันบริสุทธิ์ ทำให้อ้องรู้แล้วว่า อ้องเกิดมาเพื่ออะไร ต้องทำอะไร กาลเวลาไม่ได้ทำให้อ้องรู้สึกหน้ากลัวแต่อย่างไร แม้จะต้องผิดพลาดพลาดพลั้งต้องไปอบาย๔และรู้ว่าจะต้องเดินทางอันแสนยาวไกล


    ก็หมายความมีจิตใจเป็นมหากุศลปรารถนาก่อคุณประโยชน์ ดำรงฐานะอย่างใดอย่างหนึ่งในอนาคตกาลเสียแล้ว
     และมหากุศลจิตนั้นก็กำลังเจริญอยู่กระตุ่นกระจายปรากฏอยู่ในใจอยู่เนื่องๆ.

     ผู้ที่มีใจเห็นต่างมุมกันคือปรารถนานิพพานอย่างเร็วพลันอาจจะไม่เข้าใจ  ดังนั้นผมจะอธิบายเปรียบเทียบให้เข้าใจอย่างง่ายขึ้นดังนี้.

     การมีมหากุศลจิตปรารถนาในฐานะใดๆ ที่เป็นคุณประโยชน์ใหญ่ เปรียบเทียบเสมือนดังใจของผู้ที่ข้องอยู่ใน ความรัก และโดยทั่วไปจะเคยเกิดขึ้นกับเกือบทุกตัวคน และน่าจะเข้าใจกันทุกคนที่เคยมีความรักมาแล้ว ทั้งที่สมหวังและไม่สมหวัง.

     ซึ่งความรัก มีคุณลักษณะดังนี้  ทำให้เสียสละเพื่อให้ได้มาซึ่งความรักหรือรักษาความรักนั้น และก็ทำให้ตาบอดด้วย.

      แม้ว่าจะมีผู้มาบอกว่า ให้เลิกรักคนนั้นคนนี้เสีย ย่อมไม่ยอมเลิกเมื่อรักเข้าไปแล้ว แม้จะทุกข์แม้จะลำบากก็ยังรักอยู่อย่างนั้น แม้จะถูกพรากจากกันด้วยเหตุสุดวิสัยแต่ก็ยังอาลัยอาวรณ์อยู่ไม่คลายเกิดเป็นปมอยู่ในใจอย่างนั้นจนพบรักใหม่ แต่ปมนั้นก็ยังขมวดอยู่ในใจ  จนกว่าจะผิดหวังจากคนที่รักนั้นอย่างสิ้นเชิงจึงจะเลิกรักไปได้

      ก็เช่นเดียวกันกับผู้ที่มีจิตเป็นมหากุศลปรารถนาฐานะอันมีคุณประโยชน์ใหญ่ในพุทธศาสนา
       
       เมื่อมีมหากุศลจิตปรารถนาแล้ว ก็ย่อยเสียสละเพื่อความปรารถนานั้นเพื่อให้ถึงซึ่งฐานะอันปรารถนา แล้วทำให้ตาบอดก็ไม่กลัวต่อทุกข์ในวัฏสงสาร แม้จะเดินทางอันแสนยาวไกล.
          
       ตัวอย่างก็ปรากฏมีในพระไตรปิกฏ  เช่นดังพระโพธิสัตว์  หรือพระมหาสาวก ที่เคยมีปฏิสัมพันธ์กับพระโพธิสัตว์มาอย่างยาวนาน
       ดังนั้นเช่น พระกัสสปะมหาเถระ ที่เกิดร่วมชาติกับพระโพธิสัตว์มาอย่างยาวนานเกินกว่า 20 อสงไขยแสนกัปมาแล้ว.
       และมีเป็นหมื่นๆ ท่าน โดยมีพระนางยโสธราเป็นต้น ที่ปรารถนาอธิษฐานเพื่อบรรลุในสมัยของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน เมื่อสมัย 4 อสงไขยกับแสนกัปมาแล้ว ตอนที่พระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นสุเมธดาบส และได้รับพุทธพยากรณ์จากพระทีปังกรพุทธเจ้าเป็นครั้งแรก และพระทีปังกรพุทธเจ้าได้ตรัสทำนองว่า ผู้ใดที่ยังไม่สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานในสมัยพระองค์(ไม่สามารถขึ้นท่าน้ำนี้ของพระองค์) ก็สามารถอธิษฐานปรารถนาเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพานในสมัยของท่านสุเมธดาบสองค์นี้(ขึ้นท่าน้ำข้างหน้าของสุเมธดาบัส) ในอีก 4 อสงไขยเศษแสนกัป เบื้องหน้า.

      ก็มีผู้เทวดาและมนุษย์ อธิษฐานเป็นหมื่นๆ ท่านที่เดียว และหมื่นๆ ท่าน เหล่านั้นก็เสมือนได้รับพุทธพยากรณ์ จากพระทีปังกรพุทธเจ้าเช่นเดียวกัน ว่าเที่ยงแท้บรรลุมรรคผลนิพพานในสมัยของท่านสุเมธดาบสเป็นอย่างช้าแน่นอน คำตรัสของพระพุทธเจ้าเป็นหนึ่งไม่มีสอง.

     และก็มีผู้อธิษฐานเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพานในสมัยของพระโพธิสัตว์มาตลอดเมื่อได้เห็นได้รับรู้ในขณะที่ พระโพธิสัตว์ ได้รับพุทธพยากรณ์ซ้ำ ในสมัยของพระพุทธเจ้าองค์ต่อมา ซึ่งมีมากมายเหลือคณานับ

      แต่ก็น่ายังน้อยกว่า ผู้ที่อธิษฐานปรารถนามรรคผลนิพพานโดยเร็วพลันโดยไม่เจาะจงกับพระโพธิสัตว์ แล้วสร้างบารมีไปตามลำดับ อาจจะเกิดชอบหรือไม่ชอบฐานะใดก็เป็นเพียงชั่วคร่าวเท่านั้น เป็นไหนๆ.
 
      ดังนั้นผู้ที่มีมหากุศลปรารถนาฐานะอันยิ่งใหญ่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือมีความสัมพันธ์กับพระโพธิสัตว์โดยตรง จึงเป็นเพียงกลุ่มน้อย เมื่อเทียบกับผู้ที่ปรารถนพ้นทุกข์โดยเร็วพลันทั้งหมด.

     ซึ่งคุณ ชัชวาล เพ่งวรรธนะ  อาจจะเป็นเพียงกลุ่มน้อยนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ หรือไม่ใช่ก็ได้ และจะบรรลุถึงรู้ฐานะนั้นเมื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน เพราะย่อมน้อมไปสู่มรรคผลอยู่แล้วด้วยการสร้างบารมีที่ผ่านๆ มา ที่เป็นกุศลปัจจัยชักนำไป ไม่ช้าก็เร็ว.

   หมายเหตุ ท่าทางกระทู้จะยาวมากแล้ว ดังนั้นถ้ามีเวลาก็จะเปิดกระทู้ที่สองขึ้นมา

ตอบโดย: Vicha 24 ก.ค. 52 - 15:06


ขอตอบคำถามของ คุณชาติที่ดี นะครับ

อ้างอิง
   จัดว่าเป็นวิปัสนากรรมฐารหรือปล่าวค่ะขอบคุณคะ
  จากคุณ : ชาติที่ดี


    ตอบ เมื่อกล่าวตามพุทธพจน์หรือในพระไตรปิฏกแล้ว อานาปานสติสูตรทั้ง 16 จาตุกะ นั้นเป็นทั้ง สมถะและวิปัสสนา ครับ.

     แสดงความคิดเห็นเพิ่ม อานาปานสติ สูตรทั้ง 16 จาตุกะ(หรือบท)

      ซึ่ง สมถะและวิปัสสนา อาจจะเกิดควบคู่กันไปตลอดการปฏิบัติก็ได้
      หรือ เกิดเป็นสมถะก่อนแล้วค่อยเจริญเป็นวิปัสสนาใน จาตุกะ หรือบทที่สูงขึ้นก็ได้
      หรืออาจจะปฏิบัติเกิดวิปัสสนาญาณก่อนและปรากฏฌานตามมาก็ได้.

         

ตอบโดย: Vicha 24 ก.ค. 52 - 16:36


     

ตอบโดย: ชัชวาล เพ่งวรรธนะ 24 ก.ค. 52 - 16:39


อ่านข้อความของเจ้าของกระทู้แล้วรู้เลยว่า ตัวเองมีความรู้ทางธรรมอันน้อยนิด ต้องศึกษาอีกมาก และรู้สึกว่าสิ่งที่ตัวเองปฏิบัติอยู่แค่เด็กๆ คงต้องขอความรู้เพิ่มเติมเป็นระยะๆจากคุณvicha หวังว่าคงไม่รำคาญก่อนนะคะ

ตอบโดย: ชาติที่ดี 24 ก.ค. 52 - 17:51


อ้างอิง
ผมเริ่มเห็นว่า  ในชีวิตของเรา  บางครั้งเราก็บังคับร่างกายและความคิด (เช่น เวลาทำงาน)  บางครั้งร่างกายและจิตใจ  เขาก็ทำงานของเขาไปเอง เช่น เวลาเราภาวนา

คุณระนาดเริ่มเห็นถูกแล้ว  แม้เวลาเราต้องตั้งใจคิด เช่น คิดเรื่องงาน หรือ
ต้องจดจ่อกับการทำงานใจยังแอบไปคิดเรื่องอื่นได้ด้วย  แล้วแม้แต่เวลาที่
เราไม่อยากคิดเรื่องงาน  มันกลับคิดเรื่องงานก็มี

อ้างอิง
ร่างกายและจิต  เขาเป็นแบบนี้มาตั้งไหนตั้งไรแล้ว  แต่ว่าเมื่อก่อนหน้านี้ ผมยึดติดกับกฏเกณฑ์ว่า  มันต้องทำแบบนี้จึงจะถูก  ถ้าทำแบบนั้นแล้วจะผิด

ก็ตอนนั้นเรายึดกฎเกณฑ์ แต่เราไม่เห็นว่าเรายึดอยู่  (อันนี้ไม่ได้ว่าคุณระนาดนะ)
เพียงแค่ขอชี้จุดให้เห็น  ต่อไปข้างหน้า  ยังมีอีกหลายสภาวะที่จะต้องผ่านไป
รายละเอียดตรงนี้ของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน  ตรงนี้ขอให้อย่ามีกฏเกณฑ์เช่นเดียวกัน
แต่เผลอไปมีกฎเกณฑ์ไ้ด้มั้ย  ตอบว่าได้  แต่ก็ตามรู้ไป  เห็นสิ่งใดก็รู้สิ่งนั้น คือ keyword
   
เมื่อไหร่ภาวนาแล้วคิดว่าต้องอย่างนั้นต้องอย่างนี้   ถ้าเรารู้ไม่ทันเราจะปรุงแต่งสภาวะ
หรือไม่ก็เข้าไปติดอยู่   แต่ก็อีกแหละ  ถึงติดอยู่ก็ให้รู้ ถึงปรุงแต่งก็ให้รู้
ปัญหาคือ ตอนแรกเลยเนี่ย  จะดูไม่ออกว่า ติดหรือปรุง  ต้องมีคนบอกให้หรือต้องสังเกตจริงๆ

ตอนนี้เมื่อ รู้แล้วว่า การที่เราจงใจ เรามีกฎเกณฑ์ เราปรุงขึ้น  นั้นเป็นอย่างไร
ต่างกับการมีสติรู้ไปเฉยๆ อย่างไร  เมื่อเรารู้จักแล้ว  ต่อไปจะเราจะเทียบเคียงได้ถูกค่ะ
แต่จะบอกความลับล่วงหน้า  กิเลสเค้าไม่ยอมให้เราผ่านไปได้ง่ายๆ หรอก
ต่อไปกิเลสอาจจะละเอียดขึ้นๆ  และสังเกตยากมากขึ้น (แอบขู่ ฮิฮิ)    

ตอบโดย: อัญญาสิ 25 ก.ค. 52 - 05:12


อ้างอิง
คุณน้องบู
แต่บางครั้งคำว่าหลุดพ้น อาจจะถูกตีความว่า  ไม่ได้เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ออกจากสิ่งทั้งหลาย แต่รู้แล้วว่ามีแต่สิ่งทั้งหลายเท่านั้น

เราไม่ได้เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกจากสิ่งทั้งหลาย
แต่เมื่อรู้ความจริงของสิ่งทั้งหลาย  จึงไม่ยึดในสิ่งทั้งหลาย

เพราะรู้(ความจริง)จึงไม่่ยึด  เพราะไม่รู้(ความจริง)จึงยึด

การรู้ว่า สิ่งๆ นั้นมีอยู่  ถ้ารู้ถึงแต่การมีอยู่ แต่ยังไม่เห็นถึงความจริง
ว่าในการมีอยู่นั้นมีการดับไป มีการแปรปรวน บังคับไม่ได้ ใจจะยังยึดอยู่

การเห็นว่าสิ่งใดมี เพราะยังยึดในสิ่งนั้น  เมื่อไม่ยึดในสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมไ่ม่มี

(แต่ถ้าแปลความหมายที่ต้องการจะสื่อผิดก็ขออภัย)
 

ตอบโดย: อัญญาสิ 25 ก.ค. 52 - 05:54


เรียนคุณอ้อง
การกระทำทุกอย่าง  ย่อมมีจุดประสงค์  และย่อมนำไปสู่วิธีการ
เป็นธรรมดาถ้าเราสร้างเรือเล็กนั่งคนเดียว หรือนั่งกันแค่สามสี่คน
ย่อมทำได้ง่ายและสำเร็จได้ไวกว่าผู้ที่จะสร้างเรือลำใหญ่

สร้างเรือเล็กหรือเรือใหญ่  ย่อมต้องรู้จักการสร้างเรือ
แต่เรือใหญ่ก็ย่อมต้องการวัตถุดิบมากกว่า  ต้องวางแผนมากกว่า
กินเวลานานในการสร้างมากกว่า  อันนี้ก็ว่ากันไม่ได้
ในเมื่อสิ่งที่อยากได้  มีขนาดไม่เท่ากัน  การเรียนรู้ก็ไม่เท่ากันเป็นธรรมดา
เมื่อใจรักในทางนั้นเสียแล้ว  บวกกับนิสัยปัจจัยที่เราสะสมมา
ถ้ายังไม่เปลี่่ยนใจ ก็คงต้องสะสมกันต่อไป จนสำเร็จในสิ่งที่ตั้งใจไว้สักวันค่ะ  

ปล ขอพักการสร้างเรือชั่วคราว แวะไปเที่ยวเขาค้อก่อนดีกว่า  

ตอบโดย: อัญญาสิ 25 ก.ค. 52 - 06:22


อ้างอิง (อัญญาสิ @ 25 ก.ค. 52 - 05:12)

อ้างอิง
ร่างกายและจิต  เขาเป็นแบบนี้มาตั้งไหนตั้งไรแล้ว  แต่ว่าเมื่อก่อนหน้านี้ ผมยึดติดกับกฏเกณฑ์ว่า  มันต้องทำแบบนี้จึงจะถูก  ถ้าทำแบบนั้นแล้วจะผิด

ก็ตอนนั้นเรายึดกฎเกณฑ์ แต่เราไม่เห็นว่าเรายึดอยู่    ตรงนี้ขอให้อย่ามีกฏเกณฑ์เช่นเดียวกัน
แต่เผลอไปมีกฎเกณฑ์ไ้ด้มั้ย  ตอบว่าได้  แต่ก็ตามรู้ไป  เห็นสิ่งใดก็รู้สิ่งนั้น คือ keyword


เห็นด้วยครับ คุณอัญญาสิ

ตอนฝึกฝนใหม่ๆ  เราต้องปฏิบัติไปตามกฏเกณฑ์  เมื่อถึงจุดหนึ่ง  เราจึงละทิ้งกฏเกณฑ์  แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า  ถึงเวลาที่เราจะต้องละทิ้งกฏเกณฑ์แล้ว  ตรงนี้ก็ตอบแทนกันยาก  ไม่รู้จะบอกอย่างไร
                 -------------------------------------

ภาวนาแบบไม่มีกฏเกณฑ์คือ  ภาวนาแบบบังคับกายและใจก็ได้ ( เพ่ง )  ไม่บังคับก็ได้  เผลอก็ได้  ไม่เผลอก็ได้ ......ถ้าเราบังคับกายและใจ ( เพ่ง )  ก็รู้ว่าบังคับกาย และ ใจ ....ถ้าไม่บังคับกายและใจ  ก็รู้ว่าไม่บังคับกายและใจ

เมื่อบังคับกายและใจแล้ว .... กายและใจเป็นอย่างไร  ก็รู้ว่าเป็นอย่างไร
ถ้าไม่บังคับกายและใจ  .... กายและใจเป็นอย่างไร  ก็รู้ว่าเป็นอย่างไร

 " อาการ " ที่เรารู้ว่า " เป็นอย่างไร"    ...  เป็นอาการที่เกิดขึ้นมาให้เราเห็นเอง  ไม่ใช่เราพยายามเข้าไปค้นหาความรู้สึกของอาการนี้
                  ---------------------------------------

สวัสดีครับ  คุณวิชาและคุณอัญญาสิและเพื่อนๆ

เช้านี้ผมมีอะไรบางอย่าง  ที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆที่มีจริตในการภาวนาแบบสมถะกรรมฐานมาเล่าให้อ่านครับ

เมื่อคืนนี้ผมนั่งสมาธิเดินจงกรม  ผมเห็นความรู้สึกทางกายและใจที่เกิดขึ้นว่า   พวกเขาเกิดขึ้นแบบเหลื่อมกัน  ไม่ใช่เกิดขึ้นพร้อมกันในเวลาเดียวกัน  แต่เพราะว่า  ผมเห็นได้ต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลานานๆ  ความรู้สึกอันเก่าดับลงแต่ยังไม่ทันจะดับสนิท  ความรู้สึกอันใหม่ก็เกิดขึ้นมาแล้ว  ฉะนั้น ผมจึงเห็นความรู้สึกทางกายและทางใจเสมือนเกิดขึ้นพร้อมกันในเวลาเดียวกัน


หมายความว่า.......

หายใจเข้า ----> ผมรู้ชัดที่หน้าอกและลมเย็นๆที่ไหลเข้ามา ----> ทำให้ผมเห็นความรู้สึกในใจผุดขึ้นมา ..... ต่อมาในขณะที่ความรู้สึกในใจแผ่วๆที่ผุดขึ้นมาค่อยๆดับลงช้าๆแต่ยังดับไม่สนิท.....ผมก็หายใจออก


เมื่อหายใจออก ---> ผมรู้ชัดที่ความซาบซ่านที่วิ่งวาบๆไปที่แขนและขา ( ตอนนี้ความรู้สึกที่หน้าอกชัดเจนน้อยลง ) ---> ทำให้ผมเห็นความรู้สึกในใจอันใหม่เกิดขึ้น .... ความรู้สึกในใจอันเก่าอ่อนกำลังลง  แต่ยังดับไม่สนิท ... ผมก็หายใจเข้า


เมื่อหายใจเข้า......ผมก็เห็นความรู้สึกที่หน้าอกชัดขึ้นมาอีก.....ในขณะที่ความรู้สึกที่แขนขามีความชัดน้อยลง ( แต่ยังดับไม่สนิท ) ....แล้วผมก็เห็นความรู้สึกในใจอันใหม่เกิดขึ้นมาอีก ( ความรู้สึกในใจอันเก่าอ่อนกำลังลงแต่ยังดับไม่สนิท )


ผมหายใจเข้า - ออกติดต่อกันแบบนี้ไปเรื่อยๆ   ผมจึงเห็นความรู้สึกต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ ความรู้สึกอันเก่ายังดับไม่สนิท  ความร้สึกอันใหม่ก็เกิดขึ้นมาแล้ว  ( ทั้งทางกายและทางใจ ) มันจึงคล้ายกับว่า  ผมเห็นกาย และ ใจ ได้พร้อมกัน  ในเวลาเดียวกัน
                        ----------------------------------------

ผมเคยอ่านเจอคำสอนของหลวงพ่อมาครั้งหนึ่งว่า  นักภาวนาแบบสมถะ  จะเห็นความรู้สึกได้ต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลานานๆ  แต่นักภาวนาแบบวิปัสสนายานิก  จะเห็นความรู้สึกเกิดและดับ .. ทีละขณะ .. ทีละขณะ .. ทีละขณะ

ตอนนี้ผมหาไม่เจอว่า  คำสอนของหลวงพ่ออยู่ตรงไหน  เอาไว้ผมหาเจอแล้วจะยกมาให้เพื่อนๆอ่านครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 25 ก.ค. 52 - 07:30


สวัสดีครับทุกๆ ท่าน
ผมเพิ่งจะเริ่มปฏิบัติเมื่อไม่นานมานี้เอง
และเพิ่งจะเจอเวบลานธรรมเมื่อสองเดือนที่ผ่านมา
ก็เลยขอเป็นผู้อ่านก่อนนะครับ เพราะผมยังต้องฝึกฝนอีกเยอะ
เพราะเท่าที่อ่านมานี้ แต่ละท่านปฏิบัติกันมาอย่างยาวนานแล้วทั้งนั้น
ส่วนผมเพิ่งจะเริ่มปฏิบัติจริงๆ เมื่อ ม.ค. 2552 ที่ผ่านมานี่เอง
และก็ขอบอกว่าผมได้รับความรู้ในข้อปฏิบัติมากมายทีเดียว (ยังไล่อ่านไม่ครบทุกความเห็นเลย) แต่ก็ช่วยให้ผมเข้าใจการปฏิบัติได้มากขึ้น ส่วนการปฏิบัติของผมนั้นเป็นอานาปานสติครับ

ไว้ผมติดอะไรตรงส่วนไหน จะเข้ามารบกวนขอความกรุณาจากทุกท่านครับ

ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป...

ตอบโดย: ณวบุตร 25 ก.ค. 52 - 16:43


ที่ท่านระนาดเห็นนั้น เป็นการเห็นว่าสิ่งหนึ่งเป็นปัจจัยให้อีกสิ่งหนึ่งเกิดต่อๆกันไปหรือเปล่าครับ อนุโมทนาครับ

 

ตอบโดย: วสวัตตี 25 ก.ค. 52 - 16:52


อ้างอิง (วสวัตตี @ 25 ก.ค. 52 - 16:52)
ที่ท่านระนาดเห็นนั้น เป็นการเห็นว่าสิ่งหนึ่งเป็นปัจจัยให้อีกสิ่งหนึ่งเกิดต่อๆกันไปหรือเปล่าครับ อนุโมทนาครับ


ใช่ครับ  ผมฝึกฝนมาจากการดูความรู้สึกทางกายครับ  เมื่อรู้กายได้อย่างพอเหมาะ  ก็จะรู้ความรู้สึกในใจตามมา   และเมื่อฝึกฝนไปนานๆ  ผมจะรู้แบบต่อเนื่องติดต่อกันไปเรื่อยๆ  ผมจึงเห็นว่า  รู้กาย รู้ใจได้พร้อมกัน แต่ความจริงแล้ว  ผมรู้แบบเหลื่อมซ้อนกันเหมือนลูกคลื่นที่วิ่งไล่กันเข้าหาฝั่ง ( ผมเพิ่งจะเห็นความจริงตรงนี้ได้เมื่อคืนนี้เองครับ )


  คนเราจะรู้กายและรู้ใจขึ้นมาพร้อมๆกันไม่ได้หรอกครับ  จะต้องรู้กายนำขึ้นมาก่อน ( เป็นเหตุ )  แล้วจึงเห็นความรู้สึกในใจตามมา ( เป็นผล )

หรือ  รู้ความรู้สึกในใจนำขึ้นมาก่อน ( เป็นเหตุ )  แล้วจึงรู้ความรู้สึกทางกายตามมา ( เป็นผล )
                           ---------------------------------

กรณีของปีติและความสุขก็ทำนองเดียวกัน

ความซาบซ่านที่วิ่งวาบไปถึงปลายแขนปลายขาก็เป็นเหตุนำขึ้นมาก่อน  แล้วจึงมีความสุขตามมาทีหลัง ( เป็นผล )  .. เมื่อฝึกฝนบ่อยๆจนเคยชินแล้ว  เวลาซาบซ่านขึ้นมาจะเกิดความสุขตามมาอย่างรวดเร็วจนแทบจะพร้อมๆกัน
                   -------------------------------------

... ตอนที่ผมเห็นความซาบซ่านได้ใหม่ๆ  ผมต้องใช้เวลานานถึง 20 - 30 นาที กว่าจะเกิดความสุขตามมา  หรือว่าบางวันก็ไม่เกิดความสุขตามมาเลยก็มีครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 25 ก.ค. 52 - 21:28


สวัสดีครับทุกท่าน.

   สนทนากับคุณระนาด ในความคิดเห็นที่ 395

   นี้แหละ เรียกว่า ปัญญา ที่เป็น ภาวนามยปัญญา เห็นหรือปรากฏก่อนแล้ว ภายหลังจึงมาแจ้งชัดด้วยความเข้าใจ เมื่อได้มาทบทวนสภาวะนั้นอีกในภายหลัง ครับ.  

   อึม.. บัญยัติก็จะแจ้งชัดขึ้น

 

ตอบโดย: Vicha 25 ก.ค. 52 - 22:25


อ้างอิง (Vicha @ 25 ก.ค. 52 - 22:25)
สวัสดีครับทุกท่าน.

   สนทนากับคุณระนาด ในความคิดเห็นที่ 395

   นี้แหละ เรียกว่า ปัญญา ที่เป็น ภาวนามยปัญญา เห็นหรือปรากฏก่อนแล้ว ภายหลังจึงมาแจ้งชัดด้วยความเข้าใจ เมื่อได้มาทบทวนสภาวะนั้นอีกในภายหลัง ครับ. 

   อึม.. บัญยัติก็จะแจ้งชัดขึ้น


อ๋อ....ภาวนามยปัญญา  เป็นแบบนี้เองเหรอ  ผมนึกว่า  ถ้าภาวนาไปแล้วเจอสภาวะอะไรแปลกๆที่ไม่เราเคยเจอ  จึงจะเรียกว่า  ภาวนามยปัญญา  
 
ขอบคุณ  คุณวิชามากๆครับ  

( กระทู้นี้คุณวิชาช่วยแบ่งเบาภาระในการสอนลูกศิษย์ของครูอาจารย์ไปได้มากเลยครับ    )
 

ตอบโดย: ระนาด 26 ก.ค. 52 - 07:35


ขอรบกวนเรียนถามคุณวิชาว่า  เอกกัคคตา คืออะไรครับ

ผมมีรายละเอียดให้คุณวิชาช่วยพิจารณา  ดังนี้ครับ

เวลาที่ผมระลึกความรู้สึกทั่วทั้งต้ว  ผมจะซาบซ่านไปถึงแขนและขา  แล้วผมก็เห็นอะไรในใจผุดขึ้นมาเบาๆ   แล้วผมก็รู้ความรู้สึกทั่วทั้งร่างกายและรู้ความรู้สึกต่างๆในใจ   ซึ่งความรู้สึกทั้งหลายจะเคลื่อนไหวแบบเหลื่อมซ้อนกัน  ไล่ตามกันเหมือนลูกคลื่นที่วิ่งไล่กันเข้าหาฝั่ง  ต่อเนื่องติดต่อกันกันไปเรื่อยๆ


ในระหว่างที่ผมนั่งภาวนาดูความรู้สึกต่างๆวิ่งไล่กันเหมือนลูกคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่งนี้  มันจะมีอะไรบางอย่างเป็น background


ไอ้ตัวอะไรบางอย่าง ( ที่เป็น background )  มันทำให้ผมรู้ว่า  ผมไม่ได้รู้กาย และ ใจ แบบพร้อมกัน  แต่ว่าผมรู้แบบเหลื่อมซ้อนกันเป็นลูกคลื่น ( ตามที่เคยเล่ามาแล้วในความเห็นที่ 392 และ 395 ) )


ไอ้ตัวที่อยู่เป็น background นี้  ตำราเรียกว่า ....... เอกกัคตา.....ใช่ไหมครับ
         -------------------------------------------

หมายเหตุ.......ตอนแรกเริ่ม ... ตัวที่เป็น background นี้แหละ  มันทำให้ผมเห็น กาย และ ใจ แยกออกเป็น 2 ส่วน   ต่อมามันก็ทำให้ผม เห็นกายและใจแบบพร้อมกัน ( ตอนนั้นผมนึกว่ามันพร้อมกัน )  และเดี๋ยวนี้  มันทำให้ผมเห็นว่าผมรู้ความรู้สึกแบบเหลื่อมซ้อนกันเป็นลูกคลื่น ( ความรู้สึกอันเก่ายังดับไม่สนิท  ความรู้สึกอันใหม่ก็เกิดขึ้นมาแล้ว )
   
 

ตอบโดย: ระนาด 26 ก.ค. 52 - 07:59


ตัว background นี้เป็นตัวไปรู้ ไปดู ??

ตอบโดย: อัญญาสิ 26 ก.ค. 52 - 11:10


สวัสดีครับคุณระนาด

  ในความคิดเห็นที่ 397
       อ้างอิง
อ๋อ....ภาวนามยปัญญา  เป็นแบบนี้เองเหรอ


   น่ากลัวผมสื่อความหมายให้คุณระนาดไม่ชัดเจนครับ จึงเข้าใจคลาดเคลื่อนไปครับ.

  ภาวนามยปัญญาปรากฏ เช่น ช่วงได้ฌาน หรือขณะถึงวิปัสสนาญาณที่มีสติเท่าปัญปัจจุบันแล้วมีปัญญาแยกรูปนามได้ในปัจจุบันขณะนั้นปรากฏขึ้น

   นี้แหละที่เป็นสภาวะ ภาวนามยปัญญา เจริญขึ้น.

  แต่ผู้ปฏิบัตหาได้เข้าใจในทันที่ว่านั้นคือ ฌาน หรือวิปัสสนาญาณที่เท่านั้นที่เท่านี้. จนเมื่อไปปฏิบัติทบทวนสภาวะเดิมที่ปรากฏ อาจจะไม่กี่ครั้งหรือหลายๆ ครั้ง และสังเกตุแยกแยกได้ด้วยความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น เข้ากับตามบัญยัติที่มีอยู่ในพระไตรปิกฏ หรือพระอรรถกถา.

ตอบโดย: Vicha 26 ก.ค. 52 - 11:23


ตอบ คุณระนาด

     ตามความเห็นของผมที่คุณระนาดกล่าวว่า "ไอ้ตัวที่อยู่เป็น background"

     ในเมื่อสติว่องไวพอเท่าทันเป็นปัจจุบันขณะกับรู้นามที่ปารกฏแล้ว  อะไรแหละ? ที่เป็น background

      ก็มีอยู่สองตัวคือ  สมาธิ กับ ปัญญานั้นเอง.

      สมาธิ มีหน้าเป็นหนึ่งหรือ เป็น เอกกัคตา กับรูปนามที่ปรากฏ เป็นปัจจุบันขณะไปๆ โดยไม่ให้กิเลสเข้ามาปรุงแต่งต่อ หรือไม่เกิดการปรุงแต่งเพิ่มขึ้น
     แล้วปัญญา แยกแยะสภาวะนั้นได้อย่างฉับไว ชัดเจนแจ่มแจ้งขึ้น.

     ดังนั้น background ที่คุณระนาดกล่าวควรจะเป็นทั้ง สมาธิและปัญญา ที่พัฒนาตามสติอย่างพร้อมเพรียงขึ้น ครับ.

 

ตอบโดย: Vicha 26 ก.ค. 52 - 11:40


อ้างอิง (Vicha @ 26 ก.ค. 52 - 11:40)

      สมาธิ มีหน้าเป็นหนึ่งหรือ เป็น เอกกัคตา กับรูปนามที่ปรากฏ เป็นปัจจุบันขณะไปๆ โดยไม่ให้กิเลสเข้ามาปรุงแต่งต่อ หรือไม่เกิดการปรุงแต่งเพิ่มขึ้น
     แล้วปัญญา แยกแยะสภาวะนั้นได้อย่างฉับไว ชัดเจนแจ่มแจ้งขึ้น.

     ดังนั้น background ที่คุณระนาดกล่าวควรจะเป็นทั้ง สมาธิและปัญญา ที่พัฒนาตามสติอย่างพร้อมเพรียงขึ้น ครับ.


ขอบคุณ  คุณวิชามากๆครับ

เวลาผมอ่านตำรา  ผมตีความว่า  เอกกัคตาคือ    เราภาวนาไปแล้วเห็นความรู้สึกนิ่งๆอยู่อันเดียว  โดยไม่มีความรู้สึกอื่นๆเคลื่อนไหว  ที่แท้ผมเข้าใจผิดมิน่าผมจึงอ่านตำราไม่รู้เรื่อง 5 5 5


ตอนผมส่งการบ้าน  หลวงพ่อท่านบอกว่า  ถ้ารู้แบบพอดี  สมาธิไม่มากไม่น้อยเกินไป  คุณจะเห็นความรู้สึกต่างๆเกิดขึ้นเรียงกันไปเป็นลำดับ


ตอนนั้นผมนึกว่า  ผมจะเห็นความรู้สึกเกิดขึ้นทีละอย่างเหมือนกับเห็นคนเดินแถวเรียงเดี่ยว   แต่ที่ไหนได้  ในองค์ภาวนาจริงๆ  ผมเห็นความรู้สึกหลายๆอย่าง  เกิดขึ้นไล่ตามกันมาแบบเหลื่อมซ้อนกันเป็นลูกคลื่นที่วิ่งเข้าหาฝั่ง ( แต่ละอย่างเกิดไม่พร้อมกันและดับไม่พร้อมกัน   อันเก่ายังดับไม่สนิท  อันใหม่ก็เกิดขึ้นมาแล้ว )


ผมว่า   สภาวะธรรมที่เราเห็นในองค์ภาวนาจริงๆ  กับการจินตนาการว่า  ภาวนาแล้วน่าจะเป็นอย่างนั้น  เป็นอย่างนี้  มันต่างกันเยอะมากๆเลยครับ  ถ้าไม่เห็นด้วยการภาวนาของตนเองจริงๆแล้ว  ผมจะคาดไม่ถึงเลย

ตอบโดย: ระนาด 26 ก.ค. 52 - 13:37


อ้างอิง (อัญญาสิ @ 26 ก.ค. 52 - 11:10)
ตัว background นี้เป็นตัวไปรู้ ไปดู ??



คือว่า  ผมเห็นความรู้สึกต่างๆด้วยความเบาสบาย  ปลอดโปร่งโล่งใจ  แล้วรายละเอียดของความรู้สึกต่างๆก็ปรากฏขึ้นมาให้เราเห็นเอง


แต่ว่า  ถ้าผมเข้าไปค้นหาดูความรู้สึกข้างในลึกๆ  ผมจะรู้สึกหนักๆแน่นๆ  แล้วผมจะไม่เห็นอะไรเลยครับ ( เจอแต่อะไรว่างๆ )


ถ้าไม่มีตัวอะไรเป็น background ผมจะไม่ปลอดโปร่งโล่งใจ    เมื่อไม่ปลอดโปร่งโล่งใจ  ผมก็จะมองอะไรไม่เห็นครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 26 ก.ค. 52 - 13:50


ตอบคุณระนาดค่ะ

เข้าใจว่า background ที่ว่า คือ จิตผู้รู้ ค่ะ (ตามศัพท์ที่ครูบาอาจารย์ท่านเรียกกัน)
จิตผู้รู้ก็คือ จิตที่มีสติ สมาธิ ไประลึกรู้รูปนามที่กำลังปรากฎ

ลักษณะของการมีจิตผู้รู้ คือ เวลาเราไปเห็นสภาวะของกายหรือใจ
อย่างคุณระนาดไปเห็น ความรู้สึกทางกาย หรือ ใจ อย่างที่บอกมา
จะรู้สึกว่ามีอีกสิ่งหนึ่่งอยู่ต่างหาก แยกออกมาจากสภาวะของกายใจที่เราเห็นอยู่

แต่ถ้าเราหันมาดูสิ่งๆ นี้เมื่อไหร่ มันจะรู้สึกว่าว่างๆ ไม่มีอะไร ดูอะไรๆ ก็ไม่เห็น

ภาวนามยปัญญานั้น  ขออนุญาตเพิ่มเติม  เปรียบเทียบกับทางโลกแบบง่ายๆ
เช่น เราได้ยินได้ฟังมาว่ากาแฟขม  แต่ไม่เคยกินกาแฟ เราก็รู้แบบคนฟังเค้าพูด
แต่ไม่เคยชิมเอง  เมื่อได้ลองกิน เราก็รับรู้รสชาติจริงๆ  ก็รู้ก็เข้าใจด้วยตนเอง เป็นต้น

ในทางธรรม  เราต่างก็เคยอ่านเคยฟังมาไม่มากก็น้อย  ว่ากาย-ใจนั้นเกิดดับ
อาศัยเหตุปัจจัยให้เกิดต่อๆ กันไป เป็นต้น  เราฟังเรามีศรัทธา แต่เราไม่เคยเห็นจริงๆ
ว่าการเกิดดับเป็นเช่นไร  เมื่อภาวนาจนเห็นสภาวะนั้นๆ ด้วยตนเอง  จึงเกิดความรู้ความเข้าใจ
จากการมีประสบการณ์ตรง  เมื่อสอบทวนกลับไปกับปริยัติธรรมที่เคยศึกษามา  ก็พบว่า
เป็นสิ่งเดียวกัน  ตรงกันทั้งอรรถและสภาวะ เป็นต้น
 

ตอบโดย: อัญญาสิ 26 ก.ค. 52 - 22:08


ขอบคุณ  คุณอัญญาสิมากๆเลยครับ  ตอนแรกผมก็นึกว่าจิตผู้รู้เป็นอย่างหนึ่ง  สมาธิและปัญญาก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง   ความจริงแล้วจิตผู้รู้ก็คือ  จิตที่มีสมาธิและมีปัญญานี่เอง

เวลาผมอ่านตำราธรรมะ  ผมมักจะง่วงนอนครับ  ผมจึงอ่านไม่รู้เรื่อง  แต่ถ้าผมเอาสภาวะที่เกิดขึ้นในองค์ภาวนาจริงๆมาถาม   แบบนี้ผมจึงจะเข้าใจครับ
                            ------------------------

สวัสดีครับคุณวิชา

เมื่อคืนนี้ผมนั่งสมาธิภาวนา  ดูความรู้สึกที่เหลื่อมซ้อนกันเป็นลูกคลื่นแบบ   ดูไปเบาๆ สบายๆ และ ผ่อนคลาย ....ความรู้สึกต่างๆจึงปรากฏชัดเจนขึ้นมาเรื่อยๆ  ..  ผมก็ผ่อนคลายไปเรื่อยๆ...จนกระทั่งความซาบซ่านที่วิ่งไปตามแขนขา  ค่อยๆดับลงไปเอง  เหลืออยู่แต่ลมหายใจเข้าและออกเท่านั้น .....  ตอนนี้ความรู้สึกในใจก็ยังมีอยู่  แต่ไม่มีอะไรให้รู้  จึงรู้สึกว่า........ในใจไม่รู้อะไร

ผมอยู่ในสภาวะนี้สักพักหนึ่ง  แล้วมันก็ถอยออกมาเอง  แล้วสักพักหนึ่งมันก็กลับเข้ามาอยู่ในสภาวะนี้อีก   ผมเข้าและออกแบบนี้ 3 ครั้ง  แล้วผมก็รู้สึกง่วงนอน  ( มันเริ่มดึกแล้ว ) ผมจึงหยุดการภาวนาแค่นี้
             
ผมขอเรียนถามคุณวิชาว่า  สภาวะที่ผมเจอเมื่อคืนนี้เรียกว่าอะไรครับ

  สภาวะนี้ผมเข้าถึงได้ไม่ยากนัก  จุดสำคัญที่ทำให้ผมเข้าถึงคือ.....การรู้แบบสบายๆ  รู้แบบผ่อนคลายแล้วปล่อยให้ความรู้สึกต่างๆปรากฏขึ้นมาเอง...เมื่อปรากฏจนเต็มที่แล้วก็ดับลงไปหมดเหลือแต่ลมหายใจเข้าและออกเพียงอย่างเดียวครับ ( มันดับของมันเอง ) ..... ไม่ใช่รู้จี้เข้าไปที่ลมหายใจจนความรู้สึกอื่นๆดับไป...ไม่ใช่แบบนี้ครับ ( แบบนี้จะเครียด )
                         --------------------------------------
 
จุดสังเกตุ.... ตอนที่ผมออกจากสภาวะนี้กลับมาสู่ภาวะเดิม   ..  ผมเห็นความรู้สึกต่างๆ  เกิดขึ้นมาแบบ...เรียงกันไป ทีละอย่าง  ทีละอย่าง  แล้วต่อมา  ผมจึงเห็นว่าความรู้สึกต่างๆ ดับไม่พร้อมกันและเกิดใหม่ไม่พร้อมกัน  ผมจึงเห็นต่อเนื่องมาอีกว่า  มันเป็นลูกคลื่นที่วิ่งไล่ตามๆกันมาครับ ( ดังที่เคยเล่ารายละเอียดไปแล้ว )

ถ้าผมไม่เข้าสู่สภาวะนี้แล้วถอยออกมาสู่สภาวะเดิม   ผมจะไม่เห็นความรู้สึกเกิดขึ้นทีละอย่าง...ทีละอย่าง ... แต่ผมจะเห็นว่า  ความรู้สึกต่างๆเป็นลูกคลื่นที่วิ่งไล่ตามกันครับ ( ต้องเข้าสภาวะนี้ก่อนแล้วถอยออกมา  จึงจะเห็นความรู้สึกเกิดขึ้นทีละอย่าง  ทีละอย่าง )

ผมขออภัยด้วยครับที่ผมรบกวนคุณวิชามาหลายวัน  ช่วงนี้การภาวนาของผมก้าวหน้าไปเร็วมาก  ผมไม่เคยเจอสภาวะแบบนี้มาก่อนเลยครับ

ตอบโดย: ระนาด 27 ก.ค. 52 - 07:41


อ้างอิง (ระนาด @ 27 ก.ค. 52 - 07:41)


  สภาวะนี้ผมเข้าถึงได้ไม่ยากนัก  จุดสำคัญที่ทำให้ผมเข้าถึงคือ.....การรู้แบบสบายๆ  รู้แบบผ่อนคลายแล้วปล่อยให้ความรู้สึกต่างๆปรากฏขึ้นมาเอง...เมื่อปรากฏจนเต็มที่แล้วก็ดับลงไปหมดเหลือแต่ลมหายใจเข้าและออกเพียงอย่างเดียวครับ ( มันดับของมันเอง )


ขอขยายความตรงนี้นิดนึงครับ

ความแตกต่างที่ทำให้เข้าสภาวะนี้ได้  กับเข้าสภาวะนี้ไม่ได้ก็คือ.......

.....การรู้ความรู้สึกแบบรู้สบายๆ .... รู้แบบผ่อนคลาย ...ปล่อยให้ความรู้สึกต่างๆปรากฏขึ้นมาเอง.... แล้วมีความซาบซ่านวิ่งไปถึงปลายแขนปลายขา...   การรู้แบบสบายๆและความซาบซ่าน  ทั้ง 2 อย่างนี้ครับ  เป็นเสมือนเครื่องนำทางที่พาให้ผมเข้าสู่สภาวะนี้ได้ ( ขาดตัวใดตัวหนึ่งไม่ได้ )
                      ------------------------------------

แต่ว่า  ถ้ารู้ความรู้สึกแบบเอาจริงเอาจัง  หรือรู้แบบรู้ชัดๆ  ....แบบนี้จะไม่เกิดความซาบซ่านวิ่งไปตามปลายแขนปลายขา....แล้วก็จะเข้าสภาวะนี้ไม่ได้
                    ---------------------------------------
ความแตกต่างของการเข้าสภาวะนี้ได้ หรือ ไม่ได้.... จึงเป็นแบบที่ผมเล่ามาครับ

ตอบโดย: ระนาด 27 ก.ค. 52 - 08:26


น่าจะเป็น ฌาณสาม นะคะ คือ วิตก วิจารณ์ ปีติ ได้หายไป
เหลือแต่ สุข (จิตอิ่มในอารมณ์) และ เอกัคคตา (จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งไม่ฟุ้งซ่าน)
ถ้าผิดรบกวน คุณวิชาและท่านอื่นๆ ช่วยแ้ก้ด้วยค่ะ

เวลาจิตเข้าสมาธินั้น สำหรับผู้ที่ไม่ชำนาญ จะเข้าจากฌานต้นๆ
คือ ฌานหนึ่ง แล้วขยับไปเรื่อยๆ  จากหนึ่งไปสอง สองไปสาม

แต่สำหรับผู้จะหวังอภิญญาต้องฝึกการเข้้าออกฌาน จนคล่องขนาดว่า
นึกถึงฌานไหน ก็เข้าได้ปั๊บเลย  (ว่าตามตำราค่ะ แหะๆ)

ทีนี้เราๆ ท่านๆ ก็จะเข้าๆ ออกๆ อาการอย่างที่คุณระนาดว่ามา  คือ พอ 1 2 3
ก็จะถอยลงมา  แล้วก็ขึ้นไปใหม่  ขึ้นๆ ลงๆ แต่จะแบบบังคับเอาไม่ได้
ผู้ทรงได้จริง เค้านึกเอาก็ถึงเลยน่ะค่ะ

จำความเห็นก่อนๆ ได้มั้ยคะ ได้บอกคุณระนาดว่า ให้พัฒนาสมาิธิจนขึ้นมาฌานสาม
แล้วจิตตรงฌานสามนี้ จะสงบตั้งมั่นกว่าฌานสอง  เพราะระงับซึ่งปีติไปแล้ว
เมื่อนำจิตตรงนี้มาดูกายดูใจ  จึงเห็นสภาวะได้อย่างที่มันเป็น
ดังนั้นพอจิตถอยออกมาจากตรงนั้น  ก็ให้ตามดูกายดูใจต่อไปเลยค่ะ
(ส่วนฌานสี่ ข้าพเจ้าก็ยังไม่ค่อยเข้าใจค่า)

สมถะนั้นถ้าทำเป็น และไม่ไปติดสงบติดสุข
จิตที่มีกำลังสมาธิ  จะนำใช้ทำวิปัสสนาได้ดีค่ะ  แล้วก็จะทำให้เรา
ไม่รู้สึกแห้งแล้งเกินไปนัก  เพราะจิตมีกำลังและมีที่พักผ่อน

คิดว่าตอนนี้คุณระนาดได้ทำทั้งสมถะและวิปัสสนาควบกันไป
คือ สมถะใจก็เดินในฌานไปตามลำดับ  แต่ก็มีสติรู้เนี้อรู้ตัวไปด้วยพร้อมๆ กัน
รวมถึงมีสติเห็นจิตถอยเข้าถอยออกในสมาธิด้วยค่ะ
 

ตอบโดย: อัญญาสิ 27 ก.ค. 52 - 08:57


สวัสดีครับทุกท่าน.

       ผมขอตอบคำถามที่คุณระนาดถามนะครับ.

อ้างอิง
สวัสดีครับคุณวิชา

เมื่อคืนนี้ผมนั่งสมาธิภาวนา  ดูความรู้สึกที่เหลื่อมซ้อนกันเป็นลูกคลื่นแบบ   ดูไปเบาๆ สบายๆ และ ผ่อนคลาย ....ความรู้สึกต่างๆจึงปรากฏชัดเจนขึ้นมาเรื่อยๆ  ..  ผมก็ผ่อนคลายไปเรื่อยๆ...จนกระทั่งความซาบซ่านที่วิ่งไปตามแขนขา  ค่อยๆดับลงไปเอง  เหลืออยู่แต่ลมหายใจเข้าและออกเท่านั้น .....  ตอนนี้ความรู้สึกในใจก็ยังมีอยู่  แต่ไม่มีอะไรให้รู้  จึงรู้สึกว่า........ในใจไม่รู้อะไร

ผมอยู่ในสภาวะนี้สักพักหนึ่ง  แล้วมันก็ถอยออกมาเอง  แล้วสักพักหนึ่งมันก็กลับเข้ามาอยู่ในสภาวะนี้อีก   ผมเข้าและออกแบบนี้ 3 ครั้ง  แล้วผมก็รู้สึกง่วงนอน  ( มันเริ่มดึกแล้ว ) ผมจึงหยุดการภาวนาแค่นี้
             
ผมขอเรียนถามคุณวิชาว่า  สภาวะที่ผมเจอเมื่อคืนนี้เรียกว่าอะไรครับ


ตอบ  เรียกว่าเป็นการเข้าสมาธิครับ.  ถ้าจะตอบให้ชัดๆ คือเข้าสู่อุปจารสมาธิ อาจจะถึงฌาน ก็ได้ครับ แต่ไม่เป็นไรไม่ต้องสนใจเรื่องฌาน มาสนใจเรื่อง องค์ฌาน หรือ อุปจารสมาธิกันดีกว่า เพราะสามารถใช้ประโยนช์ได้.

  จากข้อความ
อ้างอิง
    เหลืออยู่แต่ลมหายใจเข้าและออกเท่านั้น .....  ตอนนี้ความรู้สึกในใจก็ยังมีอยู่  แต่ไม่มีอะไรให้รู้  จึงรู้สึกว่า........ในใจไม่รู้อะไร


   ซึ่งช่วงนี้ถ้ามีสติปัญญาชัดแจ้ง สามารถ โยนิโสมนสิการ ยก ไตรลักษณ์ ความเป็น อนัตตา ว่า นั้นไม่ใช่เรา นี้ไม่ใช่ตัวตนของเรา  สักแต่เป็นที่ระลึกที่รู้อาศัยเท่านั้น แล้วก็รู้สักแต่รู้ในสภาวะนั้น อย่างมีสติเป็นปัจจุบันขณะ ต่อเนื่องไปตลอด   ถ้าสามารถทำได้ก็อาจจะทำให้สภาวะธรรม พัฒนาขึ้นได้.

  จากข้อความ
อ้างอิง
 สภาวะนี้ผมเข้าถึงได้ไม่ยากนัก  จุดสำคัญที่ทำให้ผมเข้าถึงคือ.....การรู้แบบสบายๆ  รู้แบบผ่อนคลายแล้วปล่อยให้ความรู้สึกต่างๆปรากฏขึ้นมาเอง...เมื่อปรากฏจนเต็มที่แล้วก็ดับลงไปหมดเหลือแต่ลมหายใจเข้าและออกเพียงอย่างเดียวครับ ( มันดับของมันเอง ) ..... ไม่ใช่รู้จี้เข้าไปที่ลมหายใจจนความรู้สึกอื่นๆดับไป...ไม่ใช่แบบนี้ครับ ( แบบนี้จะเครียด )


    ตอบ  คุณระนาดเข้าสมาธิโดยไม่ยากแล้วครับ เมื่อได้ทบทวนได้หลายครั้งอย่างนี้ และสามารถน้อมอารมณ์นั้นมาได้โดยไม่ลำบาก  ซึ่งความจริงผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายควร ทดสอบตรวจสอบด้วยตัวเองให้แจ้งชัด อย่างนี้หลายรอบ แล้วก็จะผ่านไปเอง
      ไม่ใช่เกิดสภาวะธรรมขึ้นเพียงครั้งเดียวแล้วหายไป แล้วไปโมเมทำให้เข้าใจผิดหรือหลงผิด เกิดความพิดพลาดได้.

   และจากข้อความ

อ้างอิง
   ความแตกต่างที่ทำให้เข้าสภาวะนี้ได้  กับเข้าสภาวะนี้ไม่ได้ก็คือ.......

.....การรู้ความรู้สึกแบบรู้สบายๆ .... รู้แบบผ่อนคลาย ...ปล่อยให้ความรู้สึกต่างๆปรากฏขึ้นมาเอง.... แล้วมีความซาบซ่านวิ่งไปถึงปลายแขนปลายขา...   การรู้แบบสบายๆและความซาบซ่าน  ทั้ง 2 อย่างนี้ครับ  เป็นเสมือนเครื่องนำทางที่พาให้ผมเข้าสู่สภาวะนี้ได้ ( ขาดตัวใดตัวหนึ่งไม่ได้ )


  ตอบ เมื่อชำนาญทางแบบสบายๆ  ก็ปฏิบัติอยู่เนื่องๆ เพื่อให้สติปัญญาพัฒนาเป็นวิปัสสนาญาณที่สูงขึ้นไปนะครับ เพราะจะต้องดำเนินไปต่อ หรือถ้าคงอยู่เพียงแค่นี้ด้วยเหตุต่างๆ ก็เป็นไปตามวาสนาบารมีนะครับ
    
     หมายเหตุ สำหรับผมนั้นด้วยปฏิบัติมาแบบเข้มข้น และ แบบสบายผ่อนคลายมาก่อน เรียนรู้มาทั้งสองแบบ
         และปฏิบัติแบบเข้มข้นมาอย่างมากอย่างมีขันติต่อความกดดันที่เป็นทุกข์มากมาก่อน จนสามารถแลกได้แม้ต้องตาย

        ซึ่งทั้งสองแบบ ถ้าปฏิบัติกำหนดสติเป็นปัจจุบันขณะอย่างถูกต้อง มีสมาธิและปัญญาพัฒนาตามมาได้อย่างสมดุลย์  ก็สามารถผ่านขึ้นสู่วิปัสสนาเบื้องสูงได้เช่นเดียวกัน

        เพียงแต่แบบ เพ่ง จนเป็นทุกข์เกินกำลังนั้น เมื่อผ่านทั้ง ฌาน หรือ วิปัสสนาญาณ ไปแล้วจะทบทวน ฌาน หรือวิปัสสนาญาณ ไม่ได้ง่ายต้องใช้เวลานานมากจนกว่าจะปรับพละ 5 ให้สมดุลย์กันโดยตลอดในภายหลัง

       ข้อสังเกตุ .....  ไม่ควรเพ่ง จนเป็นทุกข์เกินกำลังแบบผม(ถ้าไม่ถึงจุดวิกฤตจริงๆ)  เพราะถ้าเมื่อเกิดความหลงแล้ว มีโอกาศผิดปกติและวิปลาสได้ ดีที่มีหลักและครูบาอาจารย์อยู่ใกล้ คอยแนะนำ และผมก็พยายามเตือนตนหรือดูตนเรื่องกิเลสของตนปรากฏจนเกิดทุกข์มาก ว่ายังมีกิเลสอยู่มากโดยไม่เข้าข้างตน จึงปรับอารมณ์กรรมฐานพัฒนาไปได้.

ตอบโดย: Vicha 27 ก.ค. 52 - 10:25


ขอบคุณ  คุณวิชาและคุณอัญญาสิครับ

คุณวิชาบอกว่า  " ไม่ควรเพ่งจนเป็นทุกข์เกินกำลังแบบผม "  ตรงนี้หมายความว่า   ยังมีวิธีเข้าสมาธิอีกวิธีหนึ่ง  นอกจากที่ผมเล่ามา...ใช่ไหมครับ

ถ้าคุณวิชามีเวลาว่างๆ  ช่วยเล่าวิธีอีกอย่างหนึ่ง  เป็นวิทยาทานแก่ผมได้ไหมครับ

คือว่า  ผมจะฝึกฝนแบบสบายๆตามที่ผมถนัด  แต่ว่าผมอยากรู้เอาไว้เป็นความรู้รอบตัวครับ
               -----------------------------------

ถ้าผมจะหมั่นฝึกฝนการเข้า - ออก  สมาธิแบบนี้บ่อยๆ  จะช่วยให้ผมละสักกายทิฏฐิได้เร็วขึ้นไหมครับ ( เพราะว่าตอนถอยออกมา  ผมเห็นความรู้สึกต่างๆเริ่มเกิดขึ้น  ทยอยๆกันไป  ทีละอย่าง  ทีละอย่าง )
 

ตอบโดย: ระนาด 27 ก.ค. 52 - 11:14


อ้างอิง (Vicha @ 27 ก.ค. 52 - 10:25)

อ้างอิง
    เหลืออยู่แต่ลมหายใจเข้าและออกเท่านั้น .....  ตอนนี้ความรู้สึกในใจก็ยังมีอยู่  แต่ไม่มีอะไรให้รู้  จึงรู้สึกว่า........ในใจไม่รู้อะไร


   ซึ่งช่วงนี้ถ้ามีสติปัญญาชัดแจ้ง สามารถ โยนิโสมนสิการ ยก ไตรลักษณ์ ความเป็น อนัตตา ว่า นั้นไม่ใช่เรา นี้ไม่ใช่ตัวตนของเรา  สักแต่เป็นที่ระลึกที่รู้อาศัยเท่านั้น แล้วก็รู้สักแต่รู้ในสภาวะนั้น อย่างมีสติเป็นปัจจุบันขณะ ต่อเนื่องไปตลอด

 


ตอนที่ผมอยู่ในสภาวะนี้   ผมไม่สามารถพิจารณาอะไรได้เลยครับ  เพราะว่า  มีแต่ลมหายใจเข้าและออก   ความรู้สึกอื่นๆไม่มี  กายก็ไม่มี  ความรู้สึกในใจก็ไม่มี ( ก็มันไม่มีอะไรให้รู้...มีก็เหมือนไม่มี )  เสียงของความคิดที่เคยดังในหัวก็ไม่มี  เหมือนอยู่ในภาวะสูญญากาศ


เมื่อถอยออกมาแล้ว  ผมจึงเห็นความรู้สึกต่างๆทยอยเกิดขึ้น  ทีละอย่าง  ทีละอย่าง  กายก็กลับคืนมา  เสียงของความคิดก็ดังขึ้นมา  ความรู้สึกในใจก็เกิดขึ้นมา
 

ตอบโดย: ระนาด 27 ก.ค. 52 - 11:31


สวัสดีครับคุณระนาด

อ้างอิง
    คุณวิชาบอกว่า  " ไม่ควรเพ่งจนเป็นทุกข์เกินกำลังแบบผม "  ตรงนี้หมายความว่า   ยังมีวิธีเข้าสมาธิอีกวิธีหนึ่ง  นอกจากที่ผมเล่ามา...ใช่ไหมครับ


    ตอบ ใช่ครับ (แต่เป็นคนละแบบคนและแนวปฏิบัติ.)

อ้างอิง
  ถ้าคุณวิชามีเวลาว่างๆ  ช่วยเล่าวิธีอีกอย่างหนึ่ง  เป็นวิทยาทานแก่ผมได้ไหมครับ


  ตอบ ครั้งที่ 1.

   ข้าพเจ้าเริ่มทำกรรมฐานวันหนึ่งประมาณ 20 ชั่วโมง และภาวนาจนหลับไปเองเมื่อร่างกายต้องการพักผ่อนกระทำติดต่อกันจนถึงวันที่ 7 ของการเข้าทำกรรมฐานครั้งนี้ และในวันนั้นหลังสอบอารมณ์ 21.00น เมื่อทำการอาบน้ำเสร็จข้าพเจ้าก็ทำกรรมฐานต่อตามปกติ ความชาบนใบหน้าบังเกิดขึ้นมากจนทนนั่งไม่ไหวจึงกำหนดนอนกรรมฐาน ภาวนาได้ยินหนอเป็นหลัก เมื่อกำหนดมากเข้าแหนบชาเริ่มจับตั้งแต่มือที่วางทับอยู่บนอกแล้วเคลื่อนมาตามลำตัวจนถึงใบหน้า จึงคอยมารวมที่บริเวณหูที่กำหนด
      ขณะนั้นจิตข้าพเจ้าวางแล้วว่าถ้าเกิดพิการหรือเกิดผิดปกติทางระบบประสาทก็ยอมเสี่ยงเพราะที่ศึกษามามีบุคคลเป็นเช่นนี้ก็ไม่เป็นอะไร เมื่อศรัทธาในธรรมจริง เพราะข้าพเจ้าศรัทธาจริงๆ
       จึงกำหนดกรรมฐานต่อความชาก็มารวมที่บริเวณหูมากขึ้น เมื่อมากขึ้นความรู้สึกก็หายไปชั่วระยะหนึ่งมารู้สึกอีกครั้งรู้เฉพาะจิต ไม่มีร่างกาย แต่ยังภาวนาอยู่ว่า "ยินหนอ ยินหนอ ยินหนอ" ได้ 3 ครั้งก็ขาดความรู้สึกทันทีทันใดหรือที่เขาเรียกว่าดับ มันเสมือนไฟฟ้าดับไปทันที่
        พอรู้สึกตัวก็รู้สึกทันทีสติเต็มตัวทันใด    ไม่มีความชาหลงเหลืออยู่เลย   แถมร่างกายยังกระฉับกระเฉงมีปีติสุขที่นิ่มนวลกว่าที่ผ่านมา ซึ่งครั้งนี้ข้าพเจ้าไม่ให้ความหลงเข้ามาครองใจเหมือนที่ผ่านมาเพราะที่ผ่านมาเป็นบทเรียนที่เจ็บปวดทางใจที่มากพอแล้ว


      ครั้งที่ 2.
        พอถึงเช้ามืดหลังจากทำกรรมกรรมฐานมา 24 วันในการเข้าทำกรรมฐานครั้งนี้ พอจิตขึ้นมาจากภวังค์หลับ รับรู้เพียงอารมณ์ที่รู้สึกที่หูไม่ทันรู้ทั่วร่างกาย ก็กำหนดภาวนาทันที ซึ่งสติมีความเร็วมาก พอภาวนาที่จุดนั้นก็เกิดความเจ็บที่ภาวนาขึ้นแต่ไม่สนใจภาวนาต่อก็มีความเจ็บมากขึ้น
         ความคิดก็แวบขึ้นมาว่าจะภาวนายินหนอหรือ เจ็บหนอดี ก็เกิดความคิดขึ้นว่าภาวนา ยินหนอต่อ เพราะทำมาอย่างนี้แล้ว ก็เลยตัดสินใจภาวนา ยินหนอต่อ
         ภาวนาเร็วขึ้น ความเจ็บก็เพิ่มมากขึ้น จนเกิดแสงสว่างสีเหลืองอ่อนเท่ากับดาวประกายพรึกเจ็บเจียนตายแต่ก็ไม่กลัว เพราะที่ผ่านมาครั้งก่อนไม่เป็นอะไร ถึงแม้ว่าครั้งนี้จะเป็นมากกว่ามากหลายเท่าตัว
          คำภาวนาเร็วขึ้นมาก ความเจ็บทวีคูณขึ้น แสงสว่างจ้าขึ้นใสมากขึ้น เป็นมากขึ้นจนชีวิตนี้กำลังจะตายจากจึงเกิดความหน่วงของจิตคล้ายกับรถที่วิ่งมาอย่างเร็วมาก แล้วเบรกกะทันหันชะรอตัวลง
           แล้วคำภาวนาคงที่ ความเจ็บคงที่ แสงสว่างคงที่ เสมอเรียบได้สักระยะหนึ่ง (ขอให้เข้าใจด้วยว่าช่วงนี้ใดๆ ในโลกนี้ไม่มีอะไร นอกจากจุดนี้จุดเดียว) หลังจากนั้นจิต ก็มีการ เกิด ดับ คือแสงของจิตดับ ความเจ็บขาดเป็นช่วงๆ ประมาณ 7 - 8 ครั้งที่ชัดเจนที่สุดและอีกหลายครั้งที่ไม่ชัดเจน
           หลังจากนั้นจิตก็ตกจากที่สูงดิ่งลงเหมือนคนกำลังตกเหวลงมาข้างล่างแล้วขาดหายไปชั่วเวลาไม่นาน

         จากนั้นจิตยกขึ้นมารับอารมณ์เพราะจิตไม่มีร่างกาย มีความสุขและเอกคะตาแล้วจิตพิจารณาอารมณ์ว่า "นี้เป็นมรรคผลนิพพาน" แต่ด้วยความกลัวหลงจนวิปลาสเหมือนที่ผ่านมาจึงพิจารณาว่า "ไม่ใช่ออ! อารมณ์สุขอย่างนี้ เป็นอารมณ์ของพรหม"
          พอพิจารณาเสร็จหลังจากนั้นช่วงเวลาไม่นานก็บังเกิดเป็นดวงสีเหลืยงอ่อนเท่าดวงดาวขึ้นมาหลังจากนั้นรู้สึกโครงเคลงคล้ายกับคนที่อยู่ในท้องเรือใหญ่โดนคลื่นกระทบ แล้วรู้สึกทั่วตัวในท่านอนหายคู้เข่าด้านขวามือสองข้างทาบบนอกเหมือนอย่างเดิมกับตอนแรกที่กำหนดกรรมฐานเข้าภวังค์จนออกมา
           หลังจากนั้นกำหนดกรรมฐานก็จะมีความสุขความสบายอาบทั่วทั้งจิตละร่างกาย และเวลากำหนดกรรมฐานมีอาการดับขาดตอนบ่อยคือนั่งกำหนดกรรมฐานก็ดับไปทันทีและสติบังเกิดขึ้นเต็มตัวทันที่


       หมายเหตุ การดับ นั้น เป็นการดับหมดสิ้นทั้งรูปนาม หรือทั้งความรู้และใจ  หรือทั้งผู้รู้และสิ่งถูกรู้.


  จากข้อความและคำถามของคุณระนาด
  
อ้างอิง
  ถ้าผมจะหมั่นฝึกฝนการเข้า - ออก  สมาธิแบบนี้บ่อยๆ  จะช่วยให้ผมละสักกายทิฏฐิได้เร็วขึ้นไหมครับ ( เพราะว่าตอนถอยออกมา  ผมเห็นความรู้สึกต่างๆเริ่มเกิดขึ้น  ทยอยๆกันไป  ทีละอย่าง  ทีละอย่าง )


   และข้อความส่วนนี้

อ้างอิง
  ตอนที่ผมอยู่ในสภาวะนี้   ผมไม่สามารถพิจารณาอะไรได้เลยครับ  เพราะว่า  มีแต่ลมหายใจเข้าและออก   ความรู้สึกอื่นๆไม่มี  กายก็ไม่มี  ความรู้สึกในใจก็ไม่มี ( ก็มันไม่มีอะไรให้รู้...มีก็เหมือนไม่มี )  เสียงของความคิดที่เคยดังในหัวก็ไม่มี  เหมือนอยู่ในภาวะสูญญากาศ

เมื่อถอยออกมาแล้ว  ผมจึงเห็นความรู้สึกต่างๆทยอยเกิดขึ้น  ทีละอย่าง  ทีละอย่าง  กายก็กลับคืนมา  เสียงของความคิดก็ดังขึ้นมา  ความรู้สึกในใจก็เกิดขึ้นมา



  ตอบ จะละสักกายทิฏฐิได้เร็วขึ้นไหม ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราพัฒนาวิปัสสนาญาณขึ้นเบื้องสูงได้เร็วหรือไม่ครับ.

      โดยความเป็นจริงแล้ว เมื่อ "มีแต่ลมหายใจเข้าและออก   ความรู้สึกอื่นๆไม่มี  กายก็ไม่มี  ความรู้สึกในใจก็ไม่มี"

       ก็หมายความยังสามารถมีสติเป็นปัจจุบันขณะที่ชัดเจนได้อยู่ เพราะยังรับรู้ลมหายใจเข้าออกได้อยู่ ยังไม่เป็นอัปปนาสมาธิที่แท้จริง

       แต่ด้วยกำลังสมาธิที่มากกว่าสติและปัญญา จึงเกิดสภาวะดังที่เป็น มีทางแก้ได้น่าจะมี 2 วิธี
       1.เจริญสติให้เจริญมากขึ้น โดยมีสติรู้ตัวทั่วพร้อม แล้วกำหนดสติระเอียดในอริยาบทย่อ แล้วกำหนดสติระเอียดขึ้นเป็นปัจจุบันขณะเท่าทันกับ ผัสสะ ที่ปรากฏกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ให้มีสติที่ว่องไวขึ้น. จึงพอสามารถมีสติปัญญาโยนิโสมนสิการถึงความเป็นไตรลักษณ์ได้ แล้วสักแต่มีสติเป็นปัจจุบันขณะกับสภาวะนั้นที่เกิดขึ้น.

       2.มีสติเป็นขณะปัจจุบัน พิจารณาการเข้าและออกสมาธิ เห็นถึงความไม่เที่ยงที่ต้องเปลี่ยนแปลงของสภาวะธรรมนั้นตอนเข้า  และมีสติปัญญาเห็นถึงความเป็นอนันตา คือความไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของ ไม่ใช่ตัวตนของเรา เป็นไปตามสภาวะธรรมของมันเอง และเมื่อถอยออกก็เห็นถึงความไม่เที่ยงของสภาวะธรรมนั้น.
         เมื่อพิจารณา เข้าและถอยออกบ่อยๆ ก็อาจจะทำให้วิปัสสนาญาณเบื้องสูงเจริญขึ้นได้
           
 

ตอบโดย: Vicha 27 ก.ค. 52 - 13:56



ขอบคุณมากครับ  คุณวิชา

ในชีวิตประจำวัน  ผมจะเจริญสติตามวิธีที่ 1 ที่คุณแนะนำ

และ  การนั่งภาวนาตอนกลางคืน  ผมจะปฏิบัติตามวิธีที่ 2 ครับ

แล้วต่อไปในวันข้างหน้า  ผมมีความคืบหน้าอย่างไร  จะมาแจ้งให้ทราบครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 27 ก.ค. 52 - 16:20


สวัสดีครับทุกท่าน..

   เมื่อคุณระนาดหมดคำถาม และจะนำไปปฏิบัติให้ก้าวหน้าขึ้นตามโอกาศ กระทู้คงไม่มีการเคลื่อนไหวไปมากกว่านี้แล้ว.. (ซึ่งหาผู้ที่ปฏิบัติได้ชัดเจน ทั้งสมาธิระดับฌาน และวิปัสสนาญาณพื้นฐานได้เจริญขึ้น แบบนี้ที่สนทนากันในกระทู้ได้ยากครับ)

    จึงมาถึงจุดไครแม็กช์  ที่คุณ วสวัตตี ได้เสนอไว้  ในความคิดเห็นต่อไป.
 

ตอบโดย: Vicha 29 ก.ค. 52 - 10:16


ต่อเลยครับ..

ตอบโดย: วสวัตตี 29 ก.ค. 52 - 10:35



ข้าวเหนียวหมูปิ้ง พร้อมแล้ว

กำลังรออ่านอยู่ครับ  

( ผมชอบกินไปด้วย  อ่านอะไรในเนตไปด้วย  สาระรูปไม่เหมือนนักภาวนาเลยครับ  แฮ่  แฮ่     )

ตอบโดย: ระนาด 29 ก.ค. 52 - 10:49


ผมก็ได้สนทนาอานาปานสติ มาครบทั้ง 16 จาตุกะ แล้วนะครับ.
   และก็ได้สนทนาเรื่องวิปัสสนาญาณ มาถึง 11 ญาณแล้ว คือถึง สังขารุเบกขาญาณ (วิปัสสนาญาณที่ 11)

   ซึ่งผมได้เคยกล่าวแล้วว่า ผู้ปฏิบัติอานาปานสติได้ครบทั้ง 16 จาตุกะ แล้วนั้นก็หาใช้ว่าจะต้องบรรลุมรรคผลนิพพานในทันที

    และเช่นเดียวกันผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานมาถึง สังขารุเบกขาญาณ อย่างสมบูรณ์แล้วหาใช่ว่า จะต้อง ดำเนินไปตลอดถึง มรรคญาณ (วิปัสสนาญาณที่ 14) บรรลุมรรคผลนิพพานในทันที.

     ซึ่งความจริงแล้วผู้ปฏิบัติอานาปานสติอย่างสมบูรณ์ หรือผู้ที่ได้วิปัสสนาญานที่ 11 นั้น เป็นผู้ที่อยู่ใกล้นิดเดียว ในการบรรลุนิพพาน.

       แต่การจะบรรลุมรรคผลนิพพานนั้นต้องประกอบด้วย  พละ 5 ที่สมบูรณ์ โพดชงค์ 7 และมรรคมีองค์แปด สมบูรณ์  หรือหมายถึง โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ รวมกันอย่างสมบูรณ์นั้นเอง.

       แต่ผู้ที่ไม่มีสิ่งใดมาขัดขวางหรือทำให้ถอยการปฏิบัติลง ย่อมบรรลุมรรคผลนิพพานอย่างแน่นอน เมื่อปฏิบัติอานาปานสติอย่างสมบูรณ์ หรือเจิรญสติปัฏฐาน 4 อย่างถูกต้องสมบูรณ์  ดังมีคำพุทธพจน์ยืนยันดังนี้.

สำหรับการปฏิบัติอานาปานสติอย่างสมบูรณ์อย่างมากต่อเนื่อง

  [๑๓๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ พึงหวังได้ผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คืออรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความถือมั่นอยู่ เป็นพระอนาคามี.

สำหรับการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 อย่างถูกต้องสมบูรณ์.

     [๓๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้
 อย่างนี้ ตลอด ๗ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
 พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ ปี
 ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี ... ๓ ปี ...
 ๒ ปี ... ๑ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลใน
 ปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๑ ปียกไว้ ผู้ใดผู้
 หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการ
 อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่
 เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ เดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้
 ตลอด ๖ เดือน ... ๕ เดือน ... ๔ เดือน ... ๓ เดือน ... ๒ เดือน ... ๑ เดือน ... กึ่ง
 เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน
 ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ กึ่งเดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง
 พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใด
 อย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็น
 พระอนาคามี ๑ ฯ
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่า
 สัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส เพื่อ
 บรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔
 ประการ ฉะนี้แล


และที่สนทนากันมานั้น   การปฏิบัติธรรมนั้นจะลำบากหรือทุกข์ หรือสบาย นั้นมีสรุปลง 4 แนวทางตามพระไตรปิฏก.คือ

            1.ปฏิบัตธรรมด้วยความสบาย  บรรลุเร็ว
            2.ปฏิบัติธรรมด้วยความสบาย  บรรลุช้า
            3.ปฏิบัติธรรมด้วยความทุกข์    บรรลุเร็ว
            4.ปฏิบัติธรรมด้วยความทุกข์    บรรลุช้า

     ดังนั้นการปฏิบัติย่อมมีแนวทางการปฏิบัติต่างๆ กันได้ ไม่ได้เป็นกฏตายตัว แต่สรุปลงที่สติปัฏฐาน 4 อันเป็นทางเอก และความเป็นไตรลักษณ์.

     ดังนั้นการที่ได้ไปปฏิบัติแนวใหน ก็อยู่ที่โอกาศและวาสนาบารมีของผู้ปฏิบัตินั้นๆ เมื่อถูกต้องไปตามพุทธพจน์โดยส่วนมากแล้ว ลงสู่สติปัฏฐาน 4 อันเป็นทางเอก จึงกล่าวไม่ได้ว่า แนวทางไหนดีกว่าแนวทางไหน  มีแต่คำว่า แนวทางนี้เหมาะกับผู้มีอุปนิสัยเยี้ยงนี้เสียมากกว่า.
      และการบรรลุเร็วหรือช้า ก็อยู่ที่ความสมบูรณ์พร้อมของพละ 5 และวิบากแห่งกรรมเสียมากกว่าที่เป็นเฉพาะบุคคล จะไปโทษแนวทางปฏิบัตินั้นๆ ที่ถูกต้องตามพุทธพจน์แล้วหาควรไม่.

     ส่วนการเลวร้ายที่สุดของผู้ปฏิบัติคือการไปปฏิบัติตามแนวทางที่ผิดไปจากพุทธพจน์เป็นอย่างมาก แล้วทำให้ล้าช้าหรือผิดทางไปเลย เสียมากนั้นเอง.

ตอบโดย: Vicha 29 ก.ค. 52 - 11:25


สวัสดีครับ  คุณวิชา คุณอัญญาสิ คุณวสวัตตี และเพื่อนๆครับ

2 วันที่ผ่านมานี้  ผมเจริญสติในชีวิตประจำวันแบบ  เห็นความรู้สึกอะไรเกิดขึ้นมาแล้ว  ผมก็รู้ไปตรงๆอย่างนั้น  โดยผมไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการปรับปรุงแก้ไขใดๆทั้งสิ้น

ผลก็คือ.............

บางที .... ผมก็เห็นความรู้สึกต่างๆ  วิ่งไล่ตามกันเหมือนคลื่นกระทบฝั่ง

บางที ... ผมก็เห็นความรู้สึกต่างๆ  เกิดและดับไม่พร้อมกัน  ทีละ 2 - 3 อย่างบ้าง  หรือ  เห็นมากกว่า 2 - 3 อย่างบ้าง  เช่น .... เห็นลมหายใจเข้าและออก / รู้สึกหัวใจเต้นตุบๆ / เห็นความซาบซ่านที่วิ่งไปตามผิวหนัง / เห็นจิตกำลังคิด / เห็นอารมณ์ในใจที่เกิดจากจิตที่กำลังคิด.....ฯลฯ

บางที.....ผมก็เห็นความรู้สึกได้เพียงอย่างเดียว  เช่นเวลาผมคิดเงินให้ลูกค้า

บางที.....ผมก็เห็นว่าเมื่อตะกี้ผมเผลอไป

แต่ว่า ตอนนี้ผมไม่เห็นความซาบซ่านที่วิ่งไปทั่วทั้งตัวแล้วก็....พรึ่บ....เห็นกายและใจพร้อมๆกัน  เหมือนเมื่อก่อน  ( แต่ว่าอีก 2 - 3 วัน  ผมอาจจะกลับมาเห็นแบบนี้อีกก็ได้...มันก็ไม่แน่ )


ผลของการดูความรู้สึกที่ร่างกายและจิตใจปรุงแต่งมาให้แบบนี้  ผมจึงเห็นว่า...ร่างกายและจิตใจ  สามารถทำงานได้ด้วยตัวเขาเอง  โดยไม่ต้องพึ่งพาอาศัยใดๆในตัวผม.....


จุดสำคัญที่สุด  ที่ทำให้ผมเห็นความจริงตรงนี้ได้  เพราะว่า  ผมดูความรู้สึกด้วยความปลอดโปร่งโล่งสบาย   แล้วความจริงว่ากายและใจสามารถทำงานได้ด้วยตนเอง  ก็จะปรากฏชัดขึ้นมาเองครับ ( ผมไม่ต้องนึกคิดใดๆเลย  แต่มันรู้สึกขึ้นมาได้เอง )


แต่ถ้าหากว่า  เมื่อผมเห็นความรู้สึกใดๆแล้ว  ผมเข้าไปมีส่วนร่วมในการปรับปรุงแก้ไขความรู้สึกเหล่านั้น ( เช่น  เห็นกายและใจพร้อมๆกัน  แล้วพยายามแก้ไขให้เห็นทีละอย่างทีละอย่าง )   แบบนี้  ความปลอดโปร่งโล่งสบายจะหายไปทันที   แล้วผมจะไม่เห็นความจริงว่า  กายและใจสามารถทำงานได้ด้วยตนเองครับ

              ----------------------------------

ผมขอปรึกษาคุณวิชาว่า....

ถ้าผมจะภาวนาโดยจับหลักว่า....ผมภาวนาเพื่อเห็นความจริงว่า ...  กายและใจสามารถทำงานได้ด้วยตนเอง  โดยไม่ต้องพึ่งพาอาศัยในตัวผม  .... โดยผมจะดูความรู้สึกที่เกิดขึ้นมาแบบ....ดูด้วยความปลอดโปร่งโล่งใจ....แล้วจะเห็นความรู้สึกแบบหยาบๆก็ได้  เห็นแบบละเอียดก็ได้    เห็นว่าตะกี้เราเผลอไปก็ได้   สุดแล้วแต่กายและใจจะทำงานของเขาขึ้นมา  โดยผมจะไม่เลือก  ไม่ดัดแปลง  ไม่แก้ไขความรู้สึกใดๆทั้งสิ้น  คือว่า....กายและใจทำความรู้สึกมาให้ผมอย่างไร  ผมก็ดูไปอย่างนั้น


คุณวิชามีความเห็นอย่างไรครับ  ถ้าเจริญสติแบบที่ผมว่ามานี้  จะช่วยให้ปัญญาวิปัสสนาเจริญขึ้นได้ไหมครับ
                -------------------------------------

หมายเหตุ    ถ้าผมรู้ความรู้สึกที่เกิดขึ้นมา   แล้วผมเข้าไปปรับปรุงแก้ไข  ให้ความรู้สึกเหล่านั้นเป็นไปตามทฤษฏี   ความปลอดโปร่งโล่งใจจะดับหายไป  เหลือแต่ความหนักๆแน่นๆไม่สบายใจครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 29 ก.ค. 52 - 22:11


รอพี่วิชามาต่อ... กำลังสนุกมากครับ

คุณระนาด ค่อยๆศึกษา กาย - ใจ ทำงานไปนะครับ ไม่ต้องรีบร้อน ทุกสภาวะเกิดแล้วย่อมดับไปเป็นธรรมดา

ที่ฝึก สติในชีวิตประจำวันนั้นดีอยู่แล้วครับ ก่อนนอน ทำในรูปแบบ เป็นการภาวนา ที่เยี่ยมยอดแล้วครับ

ผลเป็นอย่างไรเป็นเรื่องของมันไม่ใช่เรื่องของเรา มีอะไรเกิดขึ้นในปัจจุบันให้ดูอยู่แค่นั้นครับ แค่ดูจริงๆ จะได้ผลอย่างเร็ว


การทำสมาธิ ช่วงที่เหลือแต่ลม ถ้าไม่ถอย ค่อยๆรู้สึกสบายๆ ทำต่อไปอีก จนลมอะเอียด เป็นนิมิตขึ้นมาก็ได้ครับ จะได้เข้าอัปปนาไป ลึกบ้างตื้นบ้างลองฝึกดูก็ได้ครับ

แต่ช่วงนี้ผมขอเสนอว่า ควรเพิ่มสติให้มากกว่านี้ก่อนก็ดีครับ


ทำใจให้สบายครับค่อยๆดูไปแบบสบายๆ พี่วิชาตอบคุณระนาดอย่างถูกต้องสมบูรณ์แล้วจริงๆ

หมดแรงเลย

ตอบโดย: อิธ 30 ก.ค. 52 - 00:41


ครับเห็นด้วย ช่วงนี้คุณระนาดคงวนเวียนอยู่ระหว่างมุญจิตุกัมยตาญาณไปจนถึงอนุโลมญาณ เดาเอาน่ะครับ

เห็นด้วยกับคุณอัญญาสิว่าบางขณะของคุณระนาดอาจเป็นฌาน 3 แต่ถ้าหากประสงค์จะทราบว่าเป็นฌานหรือไม่ ภายหลังออกจากสภาวะนั้นให้ลองส่องกระจกแล้วพยายามยกมือเพื่อจะหวีผมดูนะครับ ถ้าจิตสั่งให้มือหวีผมไม่ได้ ก็แสดงว่าสภาวะก่อนหน้านี้เป็นฌาน

(ที่หวีผมไม่ได้เพราะจิตไม่ยินดีต่อรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ฤาษีชีไพรมักไว้หนวดไว้เครายาวเพราะเหตุนี้ เนื่องจากจิตไม่ยินดีในกามคุณ)

ตอบโดย: วสวัตตี 30 ก.ค. 52 - 03:51


ขอบคุณ คุณอิธและคุณวสวัตตีมากครับ

ผมขอขยายความให้เข้าใจง่ายๆอีกนิดนึงนะครับ

ตรงที่ผมบอกว่า " กายและใจทำความรู้สึกมาอย่างไร   ผมก็รู้ตามไปอย่างนั้น "  ตรงนี้หมายความว่า .... ในช่วงเวลาของแต่ละวัน  เช่นช่วงกลางวัน และ กลางคืน กายและใจจะทำความรู้สึกขึ้นมาไม่เหมือนกันครับ  บางทีก็หยาบ  บางทีก็ละเอียด แต่ถ้าเราไปฝืนเพื่อจะเห็นความรู้สึกได้เหมือนกันทั้งวันทั้งคืน ( เช่นเราจะให้เห็นแบบละเอียดตลอดทั้งวัน  เพราะเราคิดว่าแบบละเอียดดีกว่าแบบหยาบ ) แบบนี้เราจะไม่เห็นความจริงของกายและใจครับ ( อาจจะเห็นได้แค่สั้นๆแล้วก็ไม่เห็นอีก )


ตัวอย่างเช่น  ช่วงเช้าๆ  ร่างกายกำลังตื่นตัว  ผมจะเห็นความรู้สึกแต่ละอย่างต่างคนต่างทำงานกันไป   ตอนที่กำลังแปรงฟัน  มือก็ขยับไปๆมาๆ   ในปากก็รู้สึกว่ามีอะไรขยับไปขยับมา  ถ้ากายและใจทำความรู้สึกขึ้นมาแบบนี้ผมก็รู้ไปแบบนี้    อย่างนี้จะทำให้ผมเห็นความจริงได้ว่า    กายและใจเขาทำงานของเขาได้เองโดยไม่พึ่งพาอาศัยตัวผม ( ภาษาตำราเรียกว่าเห็นกายใจไม่ใช่ตัวเราไม่ใช่ของเรา )


แต่ถ้าผมเข้าไปแทรกแซงเพื่อให้เห็นความรู้สึกที่เป็นลูกคลื่นเหมือนตอนนั่งภาวนาตอนกลางคืน  แบบนี้ผมจะไม่เห็นความจริงของกายและใจครับ ( กลางคืนเห็นความจริงได้ด้วยวิธีนี้  แต่ตอนเช้ากลับไม่เห็น )
                    ----------------------------------------

ทำนองเดียวกัน  ตอนนั่งสมาธิตอนกลางคืน  กายและใจมีความสงบระงับดีกว่าตอนกลางวัน   ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจะเห็นเป็นลูกคลื่นที่วิ่งเข้าหาฝั่ง ถ้าผมเห็นความรู้สึกตามความจริงไปแบบนี้  ผมก็จะเห็นความจริงของกายและใจได้   แต่ถ้าผมเข้าไปแทกแซง  เพื่อจะเห็นความรู้สึกต่างคนต่างทำงานเหมือนที่เห็นตอนเช้า   แบบนี้ผมจะไม่เห็นความจริงของกายและใจครับ  ( ตอนเช้าเห็นความจริงได้ด้วยวิธีนี้  แต่ตอนกลางคืนกลับไม่เห็น )
                 ------------------------------------------------

หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง   ในช่วงบ่ายๆ   หลังกินข้าวเที่ยงเสร็จแล้ว  ร่างกายต้องการพักผ่อน  จะมีอาการเคลิ้มๆง่วงนอน  แต่ว่าถ้าผมเข้าไปแทรกแซงเพื่อจะเห็นความรู้สึกให้เหมือนตอนเช้า ( เพราะตำราบอกว่าความง่วงเป็นนิวรณ์ )  แบบนี้ผมจะไม่เห็นความจริงของกายและใจ  แต่ว่าถ้าผมภาวนาดูความง่วง  แบบนี้ผมจึงจะเห็นความจริงของกายและใจได้ครับ  ( ตอนเช้าเห็นความจริงได้ด้วยวิธีนี้  แต่ตอนบ่ายกลับไม่เห็น )
                 ----------------------------------

 เพราะฉะนั้น  ในช่วงเวลาของวันหนึ่งๆ   ความรู้สึกในกายและใจจะแปรเปลี่ยนไปเรื่อยๆไม่คงที่  บางทีก็หยาบ  บางทีก็ละเอียด  ถ้าผมรู้ตามที่เขาเป็นจริง    ผมจะเห็นความจริงของกายและใจได้ตลอดทั้งวัน  แต่ถ้าผมเข้าไปแทรกแซง  ผมจะเห็นความจริงของกายและใจได้เพียงช่วงใดช่วงหนึ่ง   แล้วก็จะไม่เห็นอีกครับ


สรุปว่า    ผมจะจับหลักตรงที่  เห็นความจริงของกายและใจตลอดทั้งวันเป็นจุดสำคัญ   แล้วความรู้สึกที่กายและใจทำขึ้นมาในช่วงหนึ่งๆเป็นอย่างไร  จะหยาบหรือละเอียด  ผมก็รู้ไปตามนั้น  ไม่ใช่ว่าจะต้องรู้แบบลูกคลื่นที่วิ่งไล่กันเข้าหาฝั่งตลอดทั้งวันทั้งคืน  หรือ  จะต้องรู้ความรู้สึกทีละอย่างทีละอย่าง  ตลอดทั้งวันทั้งคืน


ถ้าไม่เข้าใจตรงไหนก็ถามเข้ามาได้ครับ   ผมจะอธิบายให้อ่าน  การภาวนาแบบนี้ไม่ยากเลยครับ  คือว่า  ผมเห็นความรู้สึกเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ได้    เพื่อให้เห็นความจริงของกายและใจได้ตลอดทั้งวัน  ก็เป็นอันว่าใช้ได้
                         ---------------------------------

ความจริงของกายและใจ   คือ... ผมเห็นด้วยความรู้สึกตัวของผมเองว่า  กายและใจเขาทำงานได้ด้วยตัวเขาเอง  โดยที่เขาไม่ต้องพึ่งพาอาศัยตัวผม  ...  แต่ภาษาตำราใช้สำนวนว่า  เห็นกายและใจไม่ใช่ตัวเราไม่ใช่ของเรา ( สำนวนนี้  ผมไม่ get เอาเสียเลย )
 

ตอบโดย: ระนาด 30 ก.ค. 52 - 06:12


คุณระนาดก็จับหลักได้ถูกแล้วนี่คะ

วิปัสสนา = รู้ตามความเป็นจริง = กายหรือใจในขณะนั้นเป็นอย่างไร ก็รู้ไปอย่างนั้น

การรู้แต่ละครั้งก็จะไม่เหมือนกัน  บางทีก็หยาบ  บางทีก็ละเอียด
บางทีก็เห็นชัดๆ  บางทีก็ไม่ชัด  บางทีก็เห็นต่อเนื่อง  บางทีก็ไม่ต่อเนื่อง ฯลฯ

มันไม่มีคำว่าตายตัว   อะไรปรากฎขึ้นมา จะหยาบ จะละเีอียด จะดี จะไม่ีดี
หรือแม้จะเฉยๆ  ก็แค่รู้ไป  เท่านี้เองค่ะ
 

ตอบโดย: อัญญาสิ 30 ก.ค. 52 - 07:01


วันนี้ฟังซีดีหลวงพ่อปราโมทย์ตามปกติ  บังเอิญเปิดเจอตอนท่านเทศน์
เรื่องจิตตั้งมั่นและฌานพอดี  เลยเอามาฝากค่ะ
แต่ไม่ได้ถอดมาทุกคำนะคะ จับใจความมา  ถ้ายังไงลองไปโหลดมาฟังได้ค่ะ
(ซีดีสวนสันติธรรมแผ่น 28 วันที่ 22 มกรา 52  ประมาณหลังนาทีที่สิบ)

"..การทำฌานจะมีสติ รู้สึกตัว ประกอบอยู่ตลอด  ไม่ใช่นั่งสัปหงกไปแล้วบอกว่าทำฌาน...
ในการทำฌาน จะมีวิตก วิจารณ์ ปีติ....(ท่านพูดรายละเอียดขั้นของฌานด้วยค่ะ)
ทำไปจนใจตั้งมั่น  ใจตรงที่ำทำฌานมา  จนใจตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู  จะตั้งมั่นอยู่ได้นาน
ในพระไตรปิฎกจะบอกว่า  พอออกจากฌานแล้ว  จะมีจิตที่เบา มีจิตที่นุ่มนวล
ควรแก่การงาน  คล่องแคล่วว่องไว ซื่อตรงในการรู้อารมณ์  โน้มน้อมจิตนี้ไป
เพื่อญาณทัศนะ  คือ นำจิตที่ตั้งมั่นนี้ ไปเจริญสติรู้กายรู้ใจ  ก็จะเกิดญาณทัศนะขึ้นมา..."

     

ตอบโดย: อัญญาสิ 30 ก.ค. 52 - 07:35


สวัสดีครับ  คุณอัญญาสิ

ตอนนี้ผมไม่ได้เข้าสมาธิตามที่เคยเล่ามาแล้วครับ  เพราะว่า  ผมดูตามความเหมาะสมว่า  ถ้าผมเข้าสมาธิแล้วผมไม่เห็นความจริงของกายและใจ  ผมก็ไม่เข้าสมาธิ

แต่ว่าถ้าผมเข้าสมาธิแล้วผมเห็นความจริงของกายและใจได้เรื่อยๆ  ผมก็ฝึกถอยเข้าและถอยออก  ไปเรื่อยๆครับ

บางทีผมรู้ความรู้สึกเพียง 2 - 3 อย่าง  แล้วผมเห็นความจริงของกายและใจได้ดี    ผมก็รู้แค่ 2 - 3 อย่าง    แม้ว่าผมจะสามารถรู้ความรู้สึกได้มากกว่า 2 - 3 อย่าง    แต่ถ้ารู้ได้มากๆแล้ว   ผมไม่เห็นความจริงของกายและใจ   ผมก็ไม่เข้าไปรู้แบบนั้นครับ
              --------------------------------------

ต้องขอขอบคุณเพื่อนๆที่ช่วยๆกันแนะผมมาคนละเล็กละน้อยเมื่อหลายวันก่อน  ซึ่งผมเอามาปฏิบัติแล้วพัฒนาต่อยอดอีกทีหนึ่ง  ถ้าผมไม่มีเพื่อนๆเป็นที่ปรึกษา  ผมไปไหนไม่รอดเเน่ๆครับ

ขอบคุณเพื่อนๆนะครับ      
              --------------------------------

ข้าวเหนียวหมูปิ้งพร้อมแล้ว  รอคุณวิชาเข้ามาบรรยายต่อครับ  

( ในบางโอกาส  ถ้าผมได้พูดเล่นแล้ว  มันจะช่วยให้ผมเห็นความจริงของกายและใจได้ดี  แต่ถ้าผมเครียดๆ  ผมจะไม่เห็นครับ ....แหะ...แหะ...     )
 

ตอบโดย: ระนาด 30 ก.ค. 52 - 07:41


อ้าว....ผมไม่ทันเห็นความเห็นที่ 422 ของคุณอัญญาสิ

  เห็นหลวงพ่อกล่าวถึงประโยชน์ของการเข้าฌาน    ต่อไปผมก็จะหมั่นฝึกการเข้าฌานเพื่อเอากำลังมาใช้ในการดูความรู้สึกในชีวิตประจำวันครับ

ไม่ค่อยอยากใช้คำว่าเข้าฌาน  ฟังดูเหมือนคนนั่งหลับ
               ----------------------------------------------

กราบนมัสการหลวงพ่อด้วยความเคารพอย่างสูงครับ
          

ตอบโดย: ระนาด 30 ก.ค. 52 - 08:05


สวัสดีครับทุกท่าน

       ขอตอบคุณระนาด นะครับ.

      ทางของคุณระนาด ท่าทางจะเหมาะกับรูปแบบปฏิบัติแบบสบายๆ แล้วครับ แต่จะบรรลุช้าหรือเร็วนั้นกำหนดไม่ได้

       เมื่อไหร่สติเจริญพัฒนาได้อย่างเท่าทันเป็นปัจจุบันกับรูปและนาม เมื่อนั้นก็จะเป็นการเจริญสติปัฏฐาน 4 เป็นปกติอยู่

       อาจจะเป็นการปฏิบัติแบบสบาย หรือแบบลำบากหรือทุกข์ได้

      อย่างเช่นพระสารีบุตรท่านปฏิบัติแบบสบายบรรลุเร็ว

      แต่ท่านจักษุบาลปฏิบัติแบบลำบากเป็นทุกข์โดยไม่ยอมล้มตัวลงนอนหรือแม้แต่พิงหลัง สุดท้ายท่านปฏิบัติโดยลืมตาโดยตลอด บรรลุเป็นพระอรหันต์พร้อมทั้งตาของท่านได้บอดพอดี.

      ถามว่าทำไม ท่านไม่ปฏิบัติแบบสบายเล่า?

       ตอบ....  ท่านปฏิบัติแบบสบายแล้วมากด้วย แต่สติปัญญาไม่สามารถพัฒนาเป็นปัจจุบัน และพละ 5 ก็ไม่สามารถสมบูรณ์พร้อมกัน ท่านจึงต้องปฏิบัติแบบใช้ขั้นอุกฤต จึงสำเร็จได้.

       ดังนั้น ฟอร์มหรือแนวการวางสติหรือวางใจ ไม่สามารถจัดให้เหมือนกันทุกคนได้ อยู่ที่จริตหรือกรรมอันเป็นวาสนาบารมีนั้นเอง.

        สำหรับคุณระนาดเมื่อวางจิตหรือวางใจอย่างนี้ทำให้ สติปัญญา ดำรงอยู่หรือเจริญขึ้นได้ในการปฏิบัติ ก็เป็นสิ่งที่ดีครับ. และ  1.การนั่งสมาธิ  2.การทำกิจกรรมอยู่คนเดียว(ไม่ได้นั่งสมาธิ) 3.การพบปะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คน  การที่จะดำรงรักษาสติให้เท่าทันเป็นปัจจุบันกับรูปนามย่อมไม่เหมือนกัน เป็นธรรมดา.
       แต่สำหรับบางท่านหรือส่วนมาก จะรักษาฟอร์มการปฏิบัติก็สามารถทำได้ แต่จะตัดการพบปะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนเสีย หรือมีให้น้อยที่สุด.

       คุณระนาดครับแม้แต่การกินอาหารเหมือนกัน แต่ก็ต้องอาศัยอุปกรณ์ในการกินอาหารต่างกัน เพื่อสะดวกในการกิน เช่น

        กินข้าวกับแกง ก็ต้องใช้ ช้อนหรือช้อนซ่อม
        กินโจ๊ก         ก็ต้องใช้ ช้อนอย่างเดียว
        กินก้วยเตียว   ก็ต้องใช้ ตะเกียบ
        กินน้ำพลิกปลาทูกับข้าวอุ่นๆ  ก็ต้องใช้มือ ไม่ต้องอาศัยช้อนก็ได้.

      เช่นเดียวกันในเมื่อประสงค์ รักษาสติไว้ ในกิจกรรมที่แตกต่างกันก็ต้องวางใจให้พอดี จึงจะไม่ทุกข์หรือเคร่งเครียดมากนัก.
      แต่สำหรับผู้ที่มีความเพียรสูงในการพัฒนากรรมฐาน ก็ต้องปฏิบ้ติตามแบบพุทธพจน์หรือฟอร์มไว้ แล้วตัดกิจกรรมที่พบปะมีปฏิบัติสัมพันธ์ตามกระแสโลกออกเสีย  เช่นการไปปฏิบัติในสำนักปฏิบัติตามช่วงเวลาที่กำหนด 3-7-15-30 วันตามที่กำหนด.
  
       ดังนั้นการปฏิบัติธรรมหรือรักษาสติ ในขณะที่ประกอบกิจการต่างๆ ทางโลก ย่อมแตกต่างกับในช่วงที่เราได้เข้าปฏิบัติในวัดหรือสำหนักปฏิบัติเป็นธรรมดา

        และการปฏิบัติธรรมในขณะประกอบกิจการต่างๆ ทางโลก นั้น การพัฒนาการเจริญของ พละ 5  ย่อมน้อยกว่า หรือด้อยกว่า การปฏิบัติในเพศบรรพชิต หรือฆราวาสในช่วงที่เข้ากรรมฐานตามกำหนดในสถานที่เหมาะสมในการปฏิบัติครับ.

ตอบโดย: Vicha 30 ก.ค. 52 - 10:23


สำหรับผมก็ไม่ทราบว่าตนเองเห็นถูกต้องแค่ไหนนะครับ

สำหรับผม ขันธ์มันทำงานได้เองอยู่แล้วครับ   เมื่อใดเราค่อย ๆ เพิกถอนความเห็นว่า ขันธ์เป็นเราเป็นของเรา  เรามีในขันธ์ ขันธ์มีในเรา    จิตก็จะเห็นขันธ์ที่ ทำงานได้เองครับ  จิตที่เห็นขันธ์หรือเห็นกายใจ นี้เรียกว่าสติ

เมื่อสติมีกำลัง  อาการที่จะเห็นขันธ์ทำงานได้เองก็จะปรากฏขึ้นครับ   ซึ่งตรงนี้เป็นปรากฏการณ์ธรรมดา

เมื่อทำเหตุได้ระดับหนึ่ง ผลลัทธ์ก็จะปรากฏตามเหตุที่ได้ทำไว้ครับ


ณ.ตอนนั้น ผมมีความเห็นเช่นนี้ว่าขันธ์ทำงานได้เอง  จึงมีคำถามอยู่คำถามหนึ่งปรากฏขึ้นแก่ใจครับ


"ก็เมื่อขันธ์ทำงานได้เอง   ก็อะไรเล่าที่ทำให้ขันธ์ทำงาน "

ตอนนั้นคำตอบที่ได้ ซึ่งไม่รู้ว่าถูกหรือไม่คือ

"เพราะขันธ์มันทุกข์  เพราะทุกข์มันจึงบีบ  เพราะมันบีบจึงต้องแปรปรวน เพราะแปรปรวนมันจึงอนัตตา"


ค่อนข้างจะพอใจในคำตอบที่สมเหตุสมผลกับสิ่งที่จิตบอกมาครับ

แต่ก็ไม่ได้ยึดถือความเห็นนี้ว่าถูกหรือว่าผิด  ตราบใดที่ยังมีเหตุผลใดที่ดีกว่าหรือหักล้างก็พร้อมจะรับฟังครับ

ถือเป็นคำถาม รบกวนให้พี่ Vicha ตอบด้วยครับ

ขอบคุณล่วงหน้านะครับ

ตอบโดย: น้องบู 30 ก.ค. 52 - 10:44


อ้างอิง (Vicha @ 30 ก.ค. 52 - 10:23)

     เมื่อวางจิตหรือวางใจอย่างนี้ทำให้ สติปัญญา ดำรงอยู่หรือเจริญขึ้นได้ในการปฏิบัติ ก็เป็นสิ่งที่ดีครับ. และ  1.การนั่งสมาธิ  2.การทำกิจกรรมอยู่คนเดียว 3.การพบปะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คน  การที่จะดำรงรักษาสติให้เท่าทันเป็นปัจจุบันกับรูปนามย่อมไม่เหมือนกัน .

       แต่สำหรับบางท่านหรือส่วนมาก จะรักษาฟอร์มการปฏิบัติก็สามารถทำได้ แต่จะตัดการพบปะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนเสีย หรือมีให้น้อยที่สุด.


ขอบคุณ  คุณวิชาครับ

จากการเจริญสติในชีวิตประจำวัน  ผมพบว่า  ถ้าผมรักษารูปแบบการดูความรู้สึกให้เหมือนกันตลอดวัน  ผมจะเห็นความจริงของกายและใจได้เป็นบางเวลา

ถ้าผมจะเห็นความจริงของกายและใจให้ได้ตลอดทั้งวัน    ผมต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการดูความรู้สึกไปเรื่อยๆ   ซึ่งต้องแล้วแต่กายและใจจะเป็นไป   ผมจะกำหนดไม่ได้ว่าจะดูความรู้สึกแบบหยาบๆหรือดูแบบละเอียดครับ

การเจริญสติโดยปรับเปลี่ยนรูปแบบไปเรื่อยๆ  ทำให้ผมเจริญสติด้วยความเบาสบายใจดีมาก    ผมจึงคิดว่า  ถ้าวิธีนี้ทำให้ผมบรรลุช้า  ก็ไม่เป็นไร   เพราะว่าผมปฏิบัติธรรมด้วยความสุข    เท่านี้ผมพอใจแล้วครับ ( บรรลุหรือไม่บรรลุ  มันก็ครือๆกัน )

ผมดีใจที่คุณวิชาเข้าใจการปฏิบัติของผมครับ

ขอบคุณครับ    
 

ตอบโดย: ระนาด 30 ก.ค. 52 - 13:02


อ้างอิง (น้องบู @ 30 ก.ค. 52 - 10:44)



ณ.ตอนนั้น ผมมีความเห็นเช่นนี้ว่าขันธ์ทำงานได้เอง  จึงมีคำถามอยู่คำถามหนึ่งปรากฏขึ้นแก่ใจครับ


"ก็เมื่อขันธ์ทำงานได้เอง   ก็อะไรเล่าที่ทำให้ขันธ์ทำงาน "

ตอนนั้นคำตอบที่ได้ ซึ่งไม่รู้ว่าถูกหรือไม่คือ

"เพราะขันธ์มันทุกข์  เพราะทุกข์มันจึงบีบ  เพราะมันบีบจึงต้องแปรปรวน เพราะแปรปรวนมันจึงอนัตตา"


สวัสดีครับคุณน้องบู  

ผมขอเข้ามาคุยกันสนุกๆนะครับ  

สำหรับตัวผมนะ  ผมเห็นว่า   สิ่งที่ทำให้ขันธ์ทำงานก็คือ   พลังงานและความทุกข์

หมายความว่า  ขันธ์ 5 หรือกายและใจ  มีพลังงานอยู่ในตัวเอง  และ  มีทุกข์เข้ามาบีบคั้น  เขาจึงต้องทำงานตลอดเวลาครับ

ถ้าขันธ์มีแต่ทุกข์แต่ไม่มีพลังงานในตัวเอง  เขาก็ทำงานไม่ได้

คุณบูสังเกตุเห็นเหมือนผมไหมครับว่า  ช่วงเวลาในแต่ละวัน  กายและใจจะมีพลังงานไม่เท่ากัน   เช่น...ตอนเช้ามีความสดชื่นกระปรี้กระเปร่า  ตอนบ่ายๆรู้สึกเพลียๆ   การเจริญสติตอนเช้ากับตอนบ่ายจึงมีความแตกต่างกัน  เราจึงเลือกรูปแบบการเจริญสติที่ตายตัวไม่ได้ ( มันเป็นอนัตตา )
 
ก็ไม่ยืนยันว่า  ความเห็นของผมถูกหรือผิดนะครับ  ผมเข้ามาคุยกับคุณสนุกๆ

ยินดีที่ได้คุยกันครับ    

ตอบโดย: ระนาด 30 ก.ค. 52 - 13:30



   สวัสดีครับคุณระนาด ผมเข้าใจในการปฏิบัติของคุณครับ.

  สวัสดีครับน้องบู

      ในเมื่อได้เกิดขึ้นเป็นบุคคลมาแล้ว  มีเหตุปัจจัยเกื่อหนุนหล่อเลี้ยงอยู่ ขันธ์ ก็จะทำงานของเขาตามธรรมชาติอยู่แล้วครับ ไม่ว่าไปรู้หรือไม่ไปรู้ก็ตาม ไม่ว่าจะไปยึดมั่นหรือไม่ยึดมั่นก็ตาม.

       แต่การที่จะ สักแต่ระลึกสักแต่อาศัย โดยไม่มีทิฏฐิและตัณหา ไม่ยึดมั่นถื่อใดๆ ในโลก นั้นต้องศึกษาต้องปฏิบัติถูกต้องตามพุทธธรรม.
   

ตอบโดย: Vicha 30 ก.ค. 52 - 13:37


เรียน คุณระนาด
      เมื่อช่วงก่อนเข้าพรรษาได้มีโอกาสฟังธรรมของหลวงพ่อปราโมทย์ที่วัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์ มีตอนหนึ่งท่านเทศน์แล้วดิฉันจับใจความได้ว่า การดูจิต ถ้าขยันดู ก็ถือว่าทำความเพียรไม่แพ้การภาวนาด้วยวิธีอื่นๆเช่นกัน

ตอบโดย: วายุภักษ์ 30 ก.ค. 52 - 18:24


ขอบคุณ  คุณวายุภักดิ์มากๆครับ

ดูจิตหรือดูกายหรือดูเวทนา   ก็เข้าถึงการเจริญสติปัฏฐานเช่นเดียวกันครับ

ผมใช้คำว่า  เปลี่ยนแปลงรูปแบบการเจริญสติไปเรื่อยๆ  หมายความว่า  บ้างทีก็เห็นกายชัด  บางทีก็เห็นใจชัด   บางทีก็เห็นความรู้สึกแบบหยาบๆ    บางทีก็เห็นความรู้สึกแบบละเอียดๆ  บางทีก็รู้ว่าเมื่อตะกี้เราเผลอไป   บางทีก็รู้ว่าเมื่อตะกี้เราเพ่งมากเกินไป


ซึ่งผมจะรู้ความรู้สึกในแบบใดก็ได้ที่จะทำให้ผมเห็นว่า  กายและใจทำงานได้เองอย่างเป็นอิสระ  โดยไม่พึ่งพาอาศัยผม    ผมดูไปทุกๆรูปแบบ  โดยไม่เจาะจงว่าจะดูกายอย่างเดียว  หรือ  ดูจิตอย่างเดียว  หรือดูเวทนาอย่างเดียว ( แล้วธรรมก็ปรากฏขึ้นมาเอง )


ขออภัยด้วยครับที่ผมใช้คำที่มีความหมายคลุมเครือ
 

ตอบโดย: ระนาด 30 ก.ค. 52 - 19:13


สวัสดีครับ  คุณวิชาและเพื่อนๆ

2 วันที่ผ่านมานี้  ผมพบว่า  การที่ผมจะเห็นความจริงว่ากายและใจทำงานได้ด้วยตัวเขาเอง   ผมต้องอาศัยกำลังจากการฝึกสมาธิในตอนกลางคืนครับ

หมายความว่า......ถ้าไม่มีกำลังจากสมาธิมาช่วยหนุน    เวลาผมเจริญสติในชีวิตประจำวัน  ผมจะเห็นความรู้สึกต่างๆแบบตัวเราเป็นผู้รู้สึก ( มีเรา )  แต่จะไม่เห็นว่ากายและใจเป็นผู้รู้สึก ( ไม่มีเรา )  หรือ  ไม่เห็นว่ากายและใจทำงานได้ด้วยตัวเขาเองครับ

ความแตกต่างของผู้ที่ฝึกฌานสมาธิกับไม่ฝึกฌานสมาธิ  อยู่ตรงนี้ครับ

ขอขอบคุณ  คุณวิชาที่ชี้แนะให้ผมนั่งสมาธิตอนกลางคืนตามความเห็นที่ 411 ครับ
                     
              ----------------------------------------

เมื่อก่อนหน้านี้ผมไม่เข้าใจว่า  ทำไมครูอาจารย์สายวัดป่า  จะต้องให้ลูกศิษย์เริ่มต้นฝึกฝนด้วยการภาวนาพุทโธ   และ ฌานจะเข้ามาช่วยในการทำวิปัสสนาได้อย่างไร   ซึ่งผมก็เพิ่งจะเข้าใจในวันนี้นี่เอง
                  --------------------------------

ตอนผมเริ่มต้นฝึกภาวนาพุทโธใหม่ๆ    ผมฝึกๆไปก็เพราะว่า  ผมชอบความสงบเท่านั้นเอง    ตอนนั้นผมไม่รู้หรอกว่ามันจะมีประโยชน์ได้อย่างไร ( รู้จากครูอาจารย์บอกแต่ไม่เคยรู้ด้วยตนเอง )  ผมก็ทำมาเรื่อยๆ  แต่ก็ไม่เห็นความจริงของกายและใจได้สักที  จนกระทั่งมาฝึกเจริญสติในชีวิตประจำวัน  ผมจึงเห็นความจริงของกายและใจได้    ซึ่งเมื่อผมเห็นได้แล้ว   ผมก็ยังไม่รู้ว่าตนเองเห็นได้เพราะอะไร   เพิ่งจะมาสังเกตุว่าผมเห็นได้เพราะกำลังจากฌานสมาธิเมื่อวันนี้เอง   หุ หุ หุ ( โง่มาตั้งนาน )
 

ตอบโดย: ระนาด 01 ส.ค. 52 - 06:20


อนุโมทนาสาธุด้วยมุทิตาจิตกับคุณระนาดด้วยครับ

เป็นดังที่คุณระนาดได้กล่าวมาครับ ทุกวันนี้ฌานสมาธิมักถูกโยงไปกับพวกหนังจีนกำลังภายใน ฤาษีตาไฟหรือพวกทรงเจ้าเข้าผี เจ้าพ่อเจ้าแม่ทั้งหลายแหล่หรือพวกนักดูดวง

ฌานสมาธิที่แท้ต้องปราศจากความง่วงเหงาหาวนอน ต้องไม่มีอาการมึน ซึม หรือนั่งเบลอไม่รู้เนื้อรู้ตัว (ซึ่งเป็นอาการของถีนมิทธะ 1 ในนิวรณ์ 5)

การฝึกสมาธิก็คือการฝึกสติ การฝึกสติก็คือการฝึกสมาธิ เพราะว่าทั้ง 2 สิ่ง เป็นเจตสิกฝ่ายกุศลและเป็นสหชาติธรรมที่เกิดร่วมกัน

ตอบโดย: วสวัตตี 01 ส.ค. 52 - 13:39


อ้างอิง (วสวัตตี @ 01 สิ.ค. 52 - 13:39)
ทุกวันนี้ฌานสมาธิมักถูกโยงไปกับพวกหนังจีนกำลังภายใน ฤาษีตาไฟหรือพวกทรงเจ้าเข้าผี เจ้าพ่อเจ้าแม่ทั้งหลายแหล่หรือพวกนักดูดวง

ฌานสมาธิที่แท้ต้องปราศจากความง่วงเหงาหาวนอน ต้องไม่มีอาการมึน ซึม หรือนั่งเบลอไม่รู้เนื้อรู้ตัว (ซึ่งเป็นอาการของถีนมิทธะ 1 ในนิวรณ์ 5)


นั่นน่ะซิครับ

เมื่อก่อนผมก็ยังนึกว่า  พวกนั่งเข้าฌานคือ  การนั่งเพ่งจนนิ่งเงียบไม่รู้เนื้อไม่รู้ตัว  หรือ  เป็นพวกเสกคาถาอาคมต่างๆ   ยิ่งวันนี้วันหวยออก  หลายๆวัดมีคนมาหัดนั่งเข้าฌานเพื่อดูเลข   ผมอยากจะหัวเราะให้ท้องแตก  มีอย่างที่ไหน  นั่งเข้าฌานสมาธิเพื่อดูเลขหวย  เพี้ยนกันไปหมดแล้ว


การเข้าฌานสมาธิก็ไม่ใช่เรื่องยากจนสุดวิสัย   เพราะว่า ถ้าการเข้าฌานสมาธิเป็นเรื่องลำบากยากเย็น  แล้วมันจะเป็นการพักผ่อนได้อย่างไร  มันต้องเป็นของง่าย  เป็นของเบาและสบาย  มันจึงใช้เป็นเครื่องพักผ่อนได้  จริงไหมครับ


พวกนิตยสารเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์และปาฏิหาริย์ต่างๆ  ชอบเอาคำว่า " ฌานและสมาธิ "  ไปตีความหมายไปในทางมหัศจรรย์พันลึก   จนคนอ่านเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเรื่องสุดวิสัยที่ปุถุชนจะเข้าถึงได้


ขอขอบคุณวสวัตตีนะครับ    คำแนะนำของคุณเมื่อหลายวันก่อน  มีประโยชน์ต่อผมมาก  
                ----------------------------------

เวลานั่งสมาธิจนดึกมากๆ  จะเห็นกายและใจง่วงนอน  แต่เรากลับไม่ง่วง  คล้ายๆกับเรานั่งรถชมวิวข้างทาง  แล้วมองเห็นความง่วงวิ่งผ่านเราไปเรื่อยๆ   ความหมายที่ตำราบอกว่า  เวลาเข้าฌานสมาธิไม่มีความง่วง  มันเป็นแบบนี้ครับ

ถ้ากายและใจถึงเวลาพักผ่อน  เขาจะต้องมีความง่วงเกิดขึ้น   ถ้าเราพยายามเข้าไปขัดขวางไม่ให้มีความง่วง  เราจะไม่เห็นความจริงของกายและใจ  แต่เราจะเห็นว่ากายและใจเป็นของๆเราครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 01 ส.ค. 52 - 16:14


คุยกับคุณระนาดเล่นๆ ครับ

ผมมีความเห็นว่าการฝึกสมถะจนได้สมาธิระดับฌานนั้นไม่ง่าย หากไม่เคยฝึกสะสมมา (ไม่ว่าชาตินี้หรือชาติก่อน)

ซึ่งคุณระนาดมีความเห็นว่าไม่น่ายากเพราะถ้ายากมันก็ไม่ใช่การพักผ่อน

ผมจึงอยากลองเปรียบเทียบคนทำสมถะได้ง่ายก็คล้ายกับคนทำจิตให้สงบแล้วหลับไปง่ายๆ สามารถหลับเมื่อไหร่ก็ได้ ร่างกายได้พักผ่อนมาก

แต่บางคนเป็นคนหลับยาก จะฝึกฝนให้เป็นคนหลับง่ายนั้นไม่ง่ายเลย หลับก็ยากแล้วดันตื่นง่ายอีก ร่างกายได้พักผ่อนไม่มาก

ดังนั้นผมจึงมีความเห็นว่าแม้สมาธิระดับฌานจะเป็นการพักผ่อนชั้นเยี่ยม แต่ก็ฝึกไม่ง่ายเลยครับ

คุยกันเล่นนะครับ เพราะผมยังไม่ใช่ผู้รู้ หากผิดพลาดไปขอผู้รู้ช่วยแก้ให้ด้วยนะครับ

ตอบโดย: จุ๊ 01 ส.ค. 52 - 19:36


สวัสดีครับทุกท่าน

 จากข้อความของคุณระนาด

อ้างอิง
  เมื่อก่อนหน้านี้ผมไม่เข้าใจว่า  ทำไมครูอาจารย์สายวัดป่า  จะต้องให้ลูกศิษย์เริ่มต้นฝึกฝนด้วยการภาวนาพุทโธ   และ ฌานจะเข้ามาช่วยในการทำวิปัสสนาได้อย่างไร   ซึ่งผมก็เพิ่งจะเข้าใจในวันนี้นี่เอง


   ดีครับที่คุณระนาดเข้าใจอะไรเพิ่มขึ้น  ก็ประสงค์จะบอกทั้งนานแล้ว แต่ถึงบอกก็คงยังไม่เข้าใจจึงปล่อยให้เห็นเข้าใจเอง  เพราะฌานก็มีแล้ว วิปัสสนาก็เกิดแล้ว

    ถ้าไม่หลงผิดไปไกล เดียวก็เข้าใจเอง.


    สวัสดีครับคุณ จู๊    ไม่ได้สนทนาเสียนาน

           จริงครับ ฌาน นั้นไม่ใช่เป็นเรื่องที่ได้กันง่ายๆ  เลย บางท่านปฏิบัติทั้งชีวิตก็ยังไม่ปรากฏขึ้นมาเลย(อาจจะด้วยความไม่พร้อม)

            แต่ผู้ที่ได้ฌานแล้วในชีวิตนี้  เมื่อยังมีชีวิตอยู่ การเข้า ฌาน จึงเป็นเรื่องที่ไม่ยากนักสำหรับผู้นั้น ยกเว้นเสื่อมแล้วก็ไม่สนใจอีกเลย.

ตอบโดย: Vicha 01 ส.ค. 52 - 23:16


อ้างอิง (จุ๊ @ 01 สิ.ค. 52 - 19:36)

ผมมีความเห็นว่าการฝึกสมถะจนได้สมาธิระดับฌานนั้นไม่ง่าย หากไม่เคยฝึกสะสมมา (ไม่ว่าชาตินี้หรือชาติก่อน)

ซึ่งคุณระนาดมีความเห็นว่าไม่น่ายากเพราะถ้ายากมันก็ไม่ใช่การพักผ่อน

ดังนั้นผมจึงมีความเห็นว่าแม้สมาธิระดับฌานจะเป็นการพักผ่อนชั้นเยี่ยม แต่ก็ฝึกไม่ง่ายเลยครับ



อ๋อ...เป็นแบบนี้หรือ

แบบนี้ก็แสดงว่า    ฌานเหมาะกับคนบางคนไม่ใช่เหมาะกับทุกๆคน  คนที่ไม่ชอบฌานก็คงมีเครื่องพักผ่อนอย่างอื่นๆมาแทน ( กระมังครับ )

เราคุยกันเล่นๆนะ

            ผมมีนิสัยแตกต่างจากคนอื่นๆคือ  คนส่วนมากชอบร้องเพลง  แต่ผมไม่ชอบร้องเพลงครับ   เวลาผมมาเที่ยวพักผ่อนกับเพื่อนๆ  พวกเพื่อนๆเขาจะชอบร้องเพลง  เช่นร้องเพลงบนรถ  หรือ  ร้องเพลงตอนหัวค่ำด้วยกัน   แล้วเพื่อนๆมักจะชวนให้ผมร้องเพลงเสมอๆ  เมื่อผมปฏิเสธ  เพื่อนก็มักจะถามว่า  ทำไมผมไม่ชอบร้องเพลง  ซึ่งผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมผมไม่ชอบร้องเพลง
 

ตอนผมเป็นเด็ก    ผมเคยโดนครูบังคับให้ร้องเพลง  แต่ผมก็ร้องเพลงไม่ได้   ซึ่งเพื่อนๆในห้องจะร้องเพลงได้หมดทุกคน  มีผมคนเดียวที่ร้องเพลงไม่ได้

ภรรยาผมบอกว่า  คนอื่นๆชอบร้องเพลง  เพราะว่าร้องเพลงแล้วเขามีความสุข  ซึ่งผมก็ไม่เข้าใจว่า  การร้องเพลงมีความสุขได้อย่างไร

ก็คงทำนองเดียวกันกับการที่ผมชอบเข้าฌานสมาธิแต่คนอื่นๆไม่ชอบ   กระมังครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 02 ส.ค. 52 - 08:55


อ้างอิง (Vicha @ 01 สิ.ค. 52 - 23:16)
ฌาน นั้นไม่ใช่เป็นเรื่องที่ได้กันง่ายๆ  เลย บางท่านปฏิบัติทั้งชีวิตก็ยังไม่ปรากฏขึ้นมาเลย(อาจจะด้วยความไม่พร้อม)

            แต่ผู้ที่ได้ฌานแล้วในชีวิตนี้  เมื่อยังมีชีวิตอยู่ การเข้า ฌาน จึงเป็นเรื่องที่ไม่ยากนักสำหรับผู้นั้น ยกเว้นเสื่อมแล้วก็ไม่สนใจอีกเลย.


สำหรับผม  การร้องเพลงด้วยความสุขไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลยครับ  แหะ  แหะ
              ------------------------------

เช้านี้  ผมกำลังจะมาบอกคุณวิชาว่า  ฌานที่ผมเคยทำได้เมื่อคืนก่อน  ตอนนี้มันเสื่อมไปแล้วครับ  พอดีคุณวิชาพูดดักพอดีเลย

แต่อีกวัน  สองวัน  มันก็กลับมาทำได้อีก  ผมเคยเป็นแบบนี้มานานแล้วครับ  คือมันไม่อยู่กับเราตลอดไปหรอก
 

ตอบโดย: ระนาด 02 ส.ค. 52 - 09:04


อ้างอิง (ระนาด @ 02 สิ.ค. 52 - 09:04)


แต่อีกวัน  สองวัน  มันก็กลับมาทำได้อีก  ผมเคยเป็นแบบนี้มานานแล้วครับ  คือมันไม่อยู่กับเราตลอดไปหรอก

สาธุครับ ถ้าเหตุคงที่ ผลยังไงก็คงที่ครับ

แต่เพราะเหตุไม่คงที่ ผลจึงไม่คงที่ครับ

เหตุที่มันไม่อยู่กับเราตลอดเพราะไม่มีอะไรที่คงที่ให้เราใช้งานได้ตลอด ทำได้เพียงบำรุงรักษาให้มันมีเหตุใกล้เคียงกับเหตุเดิมไปเรื่อย ๆ น่ะครับ

ตอบโดย: น้องบู 02 ส.ค. 52 - 14:45


อนุโมทนาสาธุการกับทุกท่านและทุกความเห็นด้วยครับ งดงามในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในที่สุดครับ
 
ไม่อยากให้แยกเป็น  2 กระทู้เลย ดอกไม้หากแยกช่อดอกออกจากก้านดอกก็คงออกมาไม่สวยงาม  ฉันใดก็ฉันนั้นครับ

สำหรับเรื่องฌานนั้น จำได้ว่าในพระอภิธรรมมัตถสังคหะกล่าวว่า ถ้าผู้ใดเกิดมาปฏิสนธิจิตด้วยไตรเหตุ อโลภะ อโทสะ อโมหะ จะได้ชื่อว่าเป็นติเหตุกบุคคล สามารถทำฌานและมรรคผลนิพพานให้บังเกิดขึ้นได้ในชาตินี้

แต่ถ้าผู้ใดเกิดมาปฏิสนธิจิตด้วยทวิเหตุ อโลภะ อโทสะ จะได้ชื่อว่าเป็นทวิเหตุกบุคคล
ซึ่งไม่อาจทำฌานและไม่อาจทำให้มรรคผลนิพพานบังเกิดขึ้นได้ในชาตินี้ ได้เพียงแค่สร้างเหตุสร้างปัจจัยไว้ให้แก่ชาติต่อๆไป

ดังนั้น ถ้าหาก ติเหตุกบุคคล ยังฌานให้เกิดขึ้นได้ ก็น่าจะยังมรรคผลนิพพานให้เกิดขึ้นได้นะครับ ถ้าไม่ประมาท

แต่มรรคผลนิพพานน่าจะสำเร็จได้ยากกว่าการทำฌานหลายเท่านะ ว่าไหมครับ

ตัวอย่าง เช่น พระอนาคามีหลายท่านที่ยังต้องไปทำความเพียรต่อในพรหมโลกชั้นสุทธาวาส

ดังนั้นจึงไม่ควรคิดกันไปว่า ฌานทำยากกว่ามรรคผลนิพพาน เพราะบูรพาจารย์หลายท่านก็อนุโลมกันถ้วนหน้าว่าฌานมีส่วนช่วยให้มรรคผลนิพพานบังเกิดขึ้นได้ง่าย

ตอบโดย: วสวัตตี 02 ส.ค. 52 - 16:12


สวัสดีครับทุกท่าน

    วันนี้จะมา ชี้ประเด็น การที่ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เกิดมีสภาวะ เกิดสติที่ว่องไว้ สติชัด หรือสติเหมือนเป็นอัตโนมัติ

   หรือกรณีที่ รู้ขันธ์ทำงานด้วยตัวของเขาเอง โดยเรามีสติรู้ทันเป็นอัตโนมัติ  สภาวะอย่างนี้เกิดจากอะไร?.

    ความจริงผมเห็นแล้วในการแสดงความเห็นที่ผ่านมา แต่ก็ต้องปล่อยเวลาออกไปอีก เพื่อให้มีการทบทวนกัน แล้วชี้ประเด็นก็จะทำให้ เข้าใจหรือเทียบเคียงได้มากขึ้น (ถึงแม้สภาวะนี้ผมเคยปรากฏมานานแล้ว เมื่อ 20 กว่าปีมาแล้ว.

    ซึ่งในสภาวะนั้นจัดเป็นวิปัสสนูกิเลสข้อหนึ่งใน 10 ข้อครับ  

    หมายเหตุ วิปัสสนูกิเลส เป็นสิ่งที่ไม่ใช่เลวร้าย แต่จะเป็นสิ่งที่ดีมากกว่า ที่ชี้ว่าได้ปฏิบัติขึ้นเป็นวิปัสสนาแล้ว.

     วิปัสสนูกิเลส 10 มีดังนี้

[328] วิปัสสนูปกิเลส 10 (อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา, ธรรมารมณ์ที่เกิดแก่ผู้ได้ตรุณวิปัสสนา หรือวิปัสสนาอ่อนๆ ทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว เป็นเหตุขัดขวางให้ไม่ก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ — im-perfection or defilements of insight)
       1. โอภาส (แสงสว่าง — illumination; luminous aura)
       2. ญาณ (ความหยั่งรู้ — knowledge)
       3. ปีติ (ความอิ่มใจ — rapture; unprecedented joy)
       4. ปัสสัทธิ (ความสงบเย็น — tranquillity)
       5. สุข (ความสุขสบายใจ — bliss; pleasure)
       6. อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ, ศรัทธาแก่กล้า, ความปลงใจ — favor; resolution; determination)
       7. ปัคคาหะ (ความเพียรที่พอดี — exertion; strenuousness)
       8. อุปัฏฐาน (สติแก่กล้า, สติชัด — established mindfulness)
       9. อุเบกขา (ความมีจิตเป็นกลาง — equanimity)
       10. นิกันติ (ความพอใจ, ติดใจ — delight)

ที่มา:-
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=328


     การมีสติแก่กล้า มีสติชัด  สติเท่าทันกับขันธ์แบบเป็นอันตโนมัติ  หรือมีสติเห็นขันธ์ทำงานไปเองโดยมีสติรู้ทันอยู่  ก็จัดอยู่ใน วิปัสสนูกิเลสข้อที่ 8 คือ อุปัฏฐาน

     เป็นการสนทนาเพื่อให้เห็นให้เข้าใจในประสบการณ์ที่ปรากฏขึ้นจริง  แล้วได้ทบทวนกันตามบัญญัติที่ถูกต้องครับ.

      ถ้าเกิดมีคำถามว่า แล้วพระอริยะไม่เกิดสภาวะทั้ง 10 หรือ?

      ตอบ (ตามที่ผมเข้าใจ)  พระอริยะน่าจะมีเพียง 9 เท่านั้น ข้อที่ 10 ไม่มีแล้ว  และสภาวะทั้ง 9 นั้น เกิดสภาวะธรรมบางอย่างไปตรงกับวิปัสสนูกิเลสบางข้อกับพระอริยะ ก็น่าจะเกิดจากการสร้างสมเป็นกริยาที่เคยชิน หาใช่เป็นวิปัสสนูกิเลส   เพราะตั้งแต่พระโสดาบันนั้น วิปัสสนูกิเลส ไม่ปรากฏเป็นกิเลสกับท่านแล้ว
  
       เช่นพระอริยะ ก็อาจเกิดญานขึ้นได้ หรือเกิดปีติได้  หรือเกิดอุเบกขาได้ ฯลฯ แต่ไม่เป็นสภาวะของวิปัสสนูกิเลส ที่ทำให้ติดอยู่หรือค้างอยู่ หรือขัดขวาง.

ตอบโดย: Vicha 03 ส.ค. 52 - 10:51


สวัสดีครับคุณวิชาและเพื่อนๆ  ผมมีเรื่องที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆมาเล่าสู่กันฟังครับ

 ตอนที่ผมกลับจากไปส่งการบ้านมาใหม่ๆ  ผมไม่เข้าใจอยู่อย่างหนึ่งว่า  ผมอุตส่าห์ฝึกสมาธิจนเห็นกายและเห็นใจได้พร้อมกันดีแล้ว   แต่ทำไมหลวงพ่อท่านจึงให้ผมแก้ไขโดย  ให้ผมฝึกใช้สติมาเจริญปัญญา  แทนการใช้สมาธิ

เมื่อตะกี้นี้ผมเพิ่งฟังซีดีของหลวงพ่อ  แผ่นที่ 29 วันที่ 28 กพ.52 ( A ) หลังนาทีที่ 15  ท่านได้กล่าวว่า.......

ผู้ที่ฝึกสมาธิมา  จนมีตัวผู้รู้ ... เมื่อเอาตัวผู้รู้มาดูกาย  จะเห็นความรู้สึกของกายทั้งหมดเลย  เมื่อเอามาดูจิต  ก็จะเห็นจิตได้ทั้งหมด  แต่พวกที่ฝึกสมาธิมามีข้อเสียอยู่อย่างหนึ่ง  คือ  เมื่อพบตัวผู้รู้แล้ว  ต้องมาทำลายตัวผู้รู้ทีหลัง  เพื่อมาหัดใช้สติในการเจริญปัญญา
               ---------------------------------------

กับอีกตอนหนึ่งในวันเดียวกัน        ท่านกล่าวว่า.........ผู้ที่เข้าสมาธิลึกๆ  เมื่อตอนถอยออกมาจากสมาธิ  จะเริ่มเห็นความคิดเกิดขึ้นมาก่อน  ต่อมาก็จะเริ่มเห็นความรู้สึกในใจ  ต่อมาเมื่อถอยออกมาอีก  ก็จะเริ่มเห็นความรู้สึกทางกาย  แบบนี้จะช่วยให้เจริญปัญญาได้ง่าย  เหมือนโต๊ะที่รกๆ  เมื่อทำความสะอาดแล้ว  เวลามีเศษผงเล็กๆตกลงไปชิ้นเดียวก็มองเห็นได้ง่าย

เมื่อผมได้ฟังแล้ว  ก็อัศจรรย์ใจว่า  ท่านสามารถบรรยายได้ตรงสภาวะที่ผมเห็นไม่มีผิดเลยครับ ( ความเห็นของผมที่ 405 และ 406 ) ตอนแรกผมจะเอาเรื่องนี้ไปส่งการบ้าน  แต่พอผมฟังซีดีของหลวงพ่อแล้ว  ทำให้ผมเข้าใจอะไรๆขึ้นอีกเยอะ  เรื่องนี้ผมจึงไม่ต้องเอาไปส่งการบ้านแล้ว  หลวงพ่อเก่งจริงๆครับ
                 ------------------------------------

อีกตอนหนึ่งในวันเดียวกัน....   ท่านบอกว่า  สำหรับพวกที่ทำสมาธิ  เวลาดูกายในชีวิตประจำวัน จิตเป็นผู้เข้าไปเห็นกาย  แต่เวลาทำสมาธิ  สติเป็นผู้เข้าไปเห็นจิต  ( ตอนแรกผมไม่เข้าใจว่าอะไรที่เข้าไปเห็นจิตที่มีความสุขในสมาธิ )
                   -------------------------------------

ขอแนะนำให้เพื่อนๆเข้าไปฟังซีดีแทรคนี้นะครับ  มีประโยชน์ดีมากครับ ( ขอบคุณเพื่อนที่เป็นผู้แนะนำผมให้ฟังซีดีท่อนนี้ ทางข้อความส่วนตัวด้วยครับ )

กราบนมัสการขอบคุณหลวงพ่อด้วยความเคารพอย่างสูงครับ
             

ตอบโดย: ระนาด 03 ส.ค. 52 - 23:41


สวัสดีครับคุณวิชาและเพื่อนๆ

เช้านี้ผมมีอะไรที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆมาเล่าให้ฟังครับ

เมื่อคืนนี้ผมฟังซีดีของหลวงพ่อ   มีตอนหนึ่งท่านกล่าวว่า  สมาธิที่ลึกๆจะเห็นว่ากายดับหายไป  เมื่อเข้าสมาธิที่ลึกเข้าไปอีกจะเห็นลมหายใจดับหายไปเหลือแต่ความสุข  แล้วถ้าเข้าสมาธิที่ลึกมากๆความสุขก็จะดับไปเหลือแต่อุเบกขาตั้งมั่นอยู่
             --------------------------------

ก่อนนอนผมจึงนั่งสมาธิ  แต่ว่าคราวนี้ผมเอาสติตั้งมั่นที่ความสุขที่เกิดจากลมหายใจ ( ไม่ใช่ตั้งมั่นที่ลมหายใจเข้า - ออก ตามความเห็นที่ 405 )   ผลปรากฏว่า  ความรู้สึกทางกายค่อยๆดับลง   แล้วต่อมา  ความรู้สึกที่ร่างกายหายใจเข้า - ออก ก็ค่อยๆดับลงเหลือแต่ความสุขตั้งมั่นเด่นอยู่

ตรงนี้ต่างจากนั่งหลับตกภวังค์  คือ  ฌานสมาธิลึกๆ  เราจะมีสติรู้อยู่เสมอว่า ร่างกายยังหายใจอยู่แต่ความรู้สึกที่ลมเข้าลมออกมันดับไปเท่านั้น    แต่คนนั่งตกภวังค์  จะหายเงียบไปหมดเลย  ไม่รู้อะไรเลย  สติที่จะระลึกรู้ว่า  ความรู้สึกต่างๆดับไป....ก็ไม่มี
                ----------------------------------------

อีกประการหนึ่ง  ถ้าสติมีกำลังเพียงพอที่จะเข้าสมาธิในระดับลึกๆได้แล้ว   เราต้องย้ายจุดตั้งมั่น   ฌานจึงจะเลื่อนลำดับขึ้นไปฌานที่สูงกว่าได้  ถ้าเราไม่ย้ายจุดตั้งมั่น  ฌานก็จะคงที่อยู่อย่างนั้น   หมายความว่า .....

จากความเห็นที่ 405  ผมมีสติตั้งมั่นอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก  ความรู้สึกทางกายและความซาบซ่านจึงดับไป  เหลือแต่ลมเข้าออกและความสุขตั้งมั่นเด่นอยู่

เมื่อคืนนี้  ผมย้ายฐานตั้งมั่นไปที่  ความสุขที่เกิดจากลมหายใจ ( ไม่ใช่ตั้งมั่นที่ลมหายใจ ) ผมจึงเห็นความรู้สึกที่ร่างกายหายใจเข้าออกดับไป  เหลืออยู่แต่ความสุขตั้งมั่นเด่นอยู่
            -------------------------------------------

เพื่อนๆคนไหนที่ทำฌานสมาธิมานานแล้วแต่ไม่สามารถเลื่อนระดับไปยังฌานที่สูงกว่าได้  ลองย้ายฐานตั้งมั่นตามที่ผมแนะนำมานี้นะครับ  แล้วเพื่อนๆจะเห็นการเลื่อนระดับของฌานได้อย่างง่ายดายเลยครับ  เราไม่ต้องปล่อยวางอะไรทั้งนั้น  แต่เขาจะเป็นไปเเอง  เราไม่ต้องพยายามทำอะไรเลยครับ

ฌานยิ่งระดับสูงเท่าไรหรือสมาธิยิ่งลึกเท่าไร  ก็เบาสบายและง่ายดายมากขึ้นเท่านั้น  เพราะว่าลดภาระในการทำงานของกายและใจลงไปเรื่อยๆ  ไม่ใช่ยิ่งสูงก็ยิ่งยากแบบที่คนทั่วไปเข้าใจอย่างผิดๆ  และก็ไม่ใช่นั่งสะลืมสะลือด้วยครับ ( สำนวนที่เขียนในหนังสือมักจะทำให้คนที่ยังไม่เคยปฏิบัติ ตีความหมายอย่างผิดๆ )
  

ตอนที่ถอยออกมาจากสมาธิที่ระดับลึกๆ  เราจะเห็นการเกิดขึ้นของความมีตัวเราของเราได้ดีมากครับ ( เห็นความรู้สึกเกิดขึ้นมา  ทีละอย่าง  ทีละอย่าง )
               -----------------------------

ผมจะฝึกฝนตรงนี้ให้ชำนาญมากกว่านี้  แล้วสิ้นเดือนนี้ผมจะไปส่งการบ้าน  แล้วผลเป็นอย่างไรจะมาเล่าให้อ่านครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 04 ส.ค. 52 - 08:06


คุณระนาดปฏิบัติก้าวหน้าในเวลาอันรวดเร็วนะคะ

สติกับสมาธินั้น ทิ้งกันไม่ได้หรอกค่ะ  ตัวเองก็เพิ่งจะมาเข้าใจเมื่อไม่นานมานี้เอง

ถ้าเราเจริญสติเป็นแล้ว  พอเราทำสมาธิ  จะเห็นว่า เวลาเราทำสมาธิ
จริงๆ แล้วเราก็เจริญสติไปด้วย  เช่น ใจจดจ่อที่ลมหายใจ แต่ในขณะเีดียวกัน
ก็ตามรู้ลมไปด้วย  เมื่อจิตทิ้งลมไปอยู่กับความสุข ความสงบ ก็ตามรู้ต่อไป
(ที่คุณระนาดใช้คำว่า ย้ายฐานตั้งมั่น)

เมื่อก่อนก็ติดอยู่ตรงที่ พอจิตไม่สนใจลมก็ไม่รู้จะทำอะไรต่อ
พอเลยเอาหลักการเจริญสติจับเข้าไปว่า  อะไรที่เกิดขึ้นขณะนั้นๆ ก็รู้ไป
เช่น จิตสุขก็รู้ว่าสุข เป็นต้น  ก็ค่อยผ่านมาได้เป็นลำดับๆ ค่ะ

ก็จึงค่อยเข้าใจว่า  การจะให้สมาธิก้าวหน้าต้องมีสติกำกับไปด้วยเสมอ
ไม่อย่างนั้นเราก็เข้าสมาธิลึกๆ ไม่ได้   ส่วนการจะทำไปถึงฌานหรือไม่
คิดว่า การถึงฌานในขณะที่นั่งสมาธิไม่ใช่ของยาก  เพราะส่วนมากที่เคยทำ
ก็เข้าได้ขณะที่นั่งสมาธิ  แต่ก็ไม่นาน  แต่เพียงแค่นั้นพอจิตมันถอนออกมา
จิตก็มีความตั้งมั่น ไปได้สองวันบ้าง สามวันบ้าง ห้าวันบ้าง (ส่วนมากจะสองสามวัน)
แต่การที่จะทรงไว้ได้นานๆ นั้น   อันนั้นคิดว่าคงจะยากจริงค่ะ
 

ตอบโดย: อัญญาสิ 04 ส.ค. 52 - 08:57


สวัสดีครับทุกท่าน

    และสวัสดีครับคุณระนาด
          ดีแล้วครับที่ได้พิมพ์บอกสภาวะธรรมที่เกิดกับตนให้ทราบ แล้วเทียบเคียงกับผู้ที่ปรากฏมาก่อน ก็เพื่อให้ผู้ศึกษาได้ทราบว่า สภาวะธรรมอย่างนี้มีอยู่ เมื่อปฏิบัติได้ก็จะเป็นแนวทางเช่นเดียวกัน ก็เป็นการทำให้ผู้ที่เริ่มศึกษานั้นมีกำลังใจปฏิบัติ และสภาวะธรรมนั้นก็ยังมีบุคคลปฏิบัติได้อยู่ในปัจจุบัน  แต่สภาวะการอธิบายของแต่และท่านก็อาจจะแตกต่างกันได้บ้างอยู่ที่ประเด็นการเน้นย้ำ
 
      ซึ่งสภาวะการเข้าฌานไปตามลำดับมีอยู่ในแล้วในพระไตรปิฏกครับ พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้หลายรูปแบบ เป็นลำดับขึ้นอยู่กับการที่จะยกธรรมหมวดไหนเป็นประเด็น ดังตัวอย่างในพระไตรปิฏก ที่ผมยกขึ้นมาเฉพาะรูปฌานนะครับ.

                        เหตุเกิดและเหตุดับสัญญา
         เมื่อเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ที่ละได้แล้วในตน ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปิติ เมื่อมีปิติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น. เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ สัญญาเกี่ยวด้วยกามที่มีในก่อนของเธอย่อมดับ สัจจสัญญาอันละเอียดมีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก ย่อมมีในสมัยนั้น เธอย่อมเป็นผู้มีสัจจสัญญาอันละเอียด มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกในสมัยนั้น สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น เพราะการศึกษา สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไปเพราะการศึกษา ด้วยประการอย่างนี้ แม้นี้ก็เป็นข้อที่จะพึงศึกษาอย่างหนึ่ง.
          [๒๘๐] ดูกรโปฏฐปาทะ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต
ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุข
เกิดแต่สมาธิอยู่. สัจจสัญญาอันละเอียด มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกมีในก่อนของเธอย่อมดับ
สัจจสัญญาอันละเอียด มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิย่อมมีในสมัยนั้น เธอย่อมเป็นผู้มีสัจจสัญญาอันละเอียด มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิในสมัยนั้น สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้นเพราะการศึกษาสัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไปเพราะการศึกษา ด้วยประการอย่างนี้ แม้นี้ก็เป็นข้อที่จะพึงศึกษา
อย่างหนึ่ง.
          [๒๘๑] ดูกรโปฏฐปาทะ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข สัจจสัญญาอันละเอียด มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิในก่อนของเธอย่อมดับไป สัจจสัญญาอันละเอียด ประกอบด้วยสุขเกิดแต่อุเบกขาย่อมมีในสมัยนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้มีสัจจสัญญาอันละเอียด ประกอบด้วยสุขเกิดแต่อุเบกขาในสมัยนั้น สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้นเพราะการศึกษา สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไปเพราะการศึกษา ด้วยประการอย่างนี้แม้นี้ก็เป็นข้อที่จะพึงศึกษาอย่างหนึ่ง.
          [๒๘๒] ดูกรโปฏฐปาทะ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌานไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
สัจจสัญญาอันละเอียด ประกอบด้วยสุขเกิดแต่อุเบกขามีในก่อนของเธอย่อมดับ สัจจสัญญาอันละเอียด ประกอบด้วยอทุกขมสุขย่อมมีในสมัยนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้มีสัจจสัญญาอันละเอียดประกอบด้วยอทุกขมสุข ในสมัยนั้น สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้นเพราะการศึกษา สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไปเพราะการศึกษา ด้วยประการอย่างนี้ แม้นี้ก็เป็นข้อที่จะพึงศึกษาอย่างหนึ่ง.



 

ตอบโดย: Vicha 04 ส.ค. 52 - 09:32


สวัสดีครับ  คุณอัญญาสิ

ผมดีใจที่คุณเข้าใจการปฏิบัติของผมครับ

ผมว่าการเห็นด้วยกำลังของสมาธิกับการเห็นด้วยกำลังของสติจะมีความแตกต่างกันตรงที่

ถ้าเราดูความรู้สึกทางกายหรือทางใจด้วยกำลังของสมาธิ  เราจะเห็นความรู้สึกชัดหมดเลย  เห็นกายเห็นใจพร้อมกันและเห็นแยกกันเป็นส่วนๆได้ ในเวลาเดียวกัน  แต่ตรงนี้หลวงพ่อบอกว่า  ยังไม่ใช่เห็นไตรลักษณ์ ( ผมทำให้ท่านดูตอนส่งการบ้าน )

แต่ว่า  ถ้าเราดูความรู้สึกด้วยกำลังของสติ  เราจะเห็นความรู้สึกไม่ค่อยชัดเจนนัก  แต่เราจะเห็นความไม่เที่ยง  เห็นอนัตตา  หรือเห็นไตรลักษณ์ได้ดีกว่าเห็นด้วยสมาธิ  ในซีดี  หลวงพ่อก็บอกว่ามันเห็นไม่ชัดหรอก  แค่เห็นว่ามีอะไรแผ่วๆ


ผมก็เพิ่งจะรู้ว่าการดูความรู้สึกด้วยสมาธิกับดูด้วยสติ  มีความแตกต่างกัน  เมื่อหลังจากไปส่งการบ้าน  แล้วผมกลับมาฝึกการใช้สติแทนการใช้สมาธิ  ซึ่งก่อนหน้านั้นผมแยกไม่ออกเลยว่า  สติกับสมาธิมันต่างกันอย่างไร
                 -----------------------------------

ผมว่า   สำหรับปุถุชน  การทรงฌานนานๆนั้นเป็นเรื่องยากอย่างที่คุณอัญญาสิกล่าวมาจริงๆ  อย่างเราๆเท่าที่พอจะทำได้ก็คือ  ทำฌานให้เกิดขึ้นบ่อยๆ  ทำเนืองๆให้ชำนาญ

  สำหรับผมนะ  ถ้าคืนไหนผมทำฌานมากๆ  ผมจะมีเวลานอนหลับไม่เพียงพอ  แล้วถัดมาอีกคืนหนึ่งฌานก็เสื่อมไป  ผมต้องหลับพักผ่อนเต็มที่สัก 2 - 3 วัน  ผมก็จะกลับมาทำฌานได้อีก
              --------------------------------

ผมตั้งมั่นอยู่ที่ลมหายใจมานานเป็นสิบปี   แต่ผมไม่เคยลองเปลี่ยนฐานในการตั้งมั่นเลย  เพราะฉะนั้น ฌานสมาธิจึงคงที่อยู่ในระดับเดิมๆเป็นปีๆ  ไม่พัฒนาขึ้นมาได้  ความจริงผมก็น่าจะเฉลียวใจบ้างว่า   ผมตั้งมั่นที่ลมหายใจแล้วลมหายใจมันจะดับไปได้อย่างไร  ถ้าลมหายใจจะดับลงไปเหลือความสุขและอุเบกขา   ผมก็ต้องย้ายไปตั้งมั่น ( ไม่ใช่ยึดมั่น ) ที่ความสุข  ลมหายใจจึงจะดับลงไปได้ ( มันดับเอง ผมไม่ได้ทำให้มันดับ)

แล้วถ้าจะเลื่อนระดับฌานให้สูงขึ้นไปอีก  ผมก็ควรย้ายไปตั้งมั่นที่อุเบกขา  แล้วความสุขจึงจะดับไป คือ ผมจะปล่อยให้มันดับเอง   ผมไม่ได้ปล่อยวางอะไร แต่ในตำราจะเขียนว่าปล่อยวางความสุข  ผมอ่านแล้วก็เข้าใจผิดมานานเป็นสิบปี

ก้าวต่อไป  ผมจะลองย้ายฐานไปตั้งมั่นที่อุเบกขา  แล้วจะดูผลลัพธ์ว่า  จะเป็นไปตามที่ผมคาดคะเนหรือไม่
                  -------------------------------------------

ผมว่านะ  การภาวนา  เราจะต้องมีการพิจารณาทบทวนการปฏิบัติของตนเอง  และ  มีเพื่อนที่เป็นกัลยาณมิตร  มีครูอาจารย์ช่วยแนะนำ  การภาวนาจึงจะก้าวหน้าไปได้  ถ้าขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  การภาวนาก็ล่าช้ามาก
  
ผมขอขอบคุณเพื่อนๆทุกท่านที่แนะนำผมในกระทู้นี้  และเพื่อนๆที่เข้ามาแนะนำให้ผมฟังซีดีทางข้อความส่วนตัว    ฟังซีดีหลวงพ่อช่วยได้มากๆเลยครับ  

                     

ตอบโดย: ระนาด 04 ส.ค. 52 - 10:06


กราบขอบพระคุณ คุณVicha, คุณระนาด, คุณอัญญาสิ, คุณวสวัตตี และท่านอื่นๆ ที่ได้เข้ามาตอบถามเรื่องการเจริญสมาธิและปัญญาทุกท่านครับ

โดยเฉพาะการส่งการบ้านของคุณระนาดวันที่ 3 และ 4 สิงหาคม 52 ครับ เพราะผมเองก็ติดอยู่เหมือนกันครับ คือเวลาผมนั่งสมาธินั้น ผมจะมีสติอยู่กับลมหายใจบ้าง กาย(ท้องยุบพอง)บ้าง เสียงที่ได้ยินบ้าง เวทนาที่เกิดขึ้น(ปวดหลัง, เหน็บขา) บ้าง ธรรมารมณ์ที่เกิดขึ้นบ้าง วนเวียนอยู่อย่างนี้ตลอด และเป็นอย่างนี้อยู่หลายวันแล้ว ไม่ยอมก้าวหน้าไปไหนเลย เหมือนวนเป็นวงกลมอย่างไรไม่รู้

พอได้มาอ่านที่คุณระนาดบอกเรื่องการย้ายฐานที่ตั้งของจิต (จุดตั้งมั่น) ผมก็เลยถึงบางอ้อ อ้อ อย่างนี้นี่เอง ผมจะเอาไปทดลองคืนนี้ครับ

กราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ

ขอทุกท่านเจริญในปัญญายิ่งๆ ขึ้นไป
สาธุ

ตอบโดย: ณวบุตร 04 ส.ค. 52 - 10:12


สวัสดีครับคุณระนาด

        มีคำตรัสของพระพุทธเจ้าอยู่ประโยคหนึ่ง  "ไม้นั้นแหละสอนช่างไม้"

        การปฏิบัติสมถะหรือวิปัสสนาก็เช่นเดียวกัน  มูลฐานกรรมฐานควรมาจากครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัติมาก่อนที่อยู่ในทางและเข้ากับ/ตรงกับพุทธพจน์
         เมื่อปฏิบัติพัฒนาธรรมพื้นฐานได้ในระดับหนึ่งแล้ว ผลการปฏิบัติที่เป็นแนวการปฏิบัติแห่งตนนั้นแหละสอนผู้ปฏิบัติเองให้พิจารณาและโยนิโสมนสิการ เพื่อการศึกษาแห่งตน เพื่อการเรียนรู้และแจ่มแจ้ง ในการพัฒนาธรรมเจริญยิ่งขึ้น.

          ยิ่งเป็นสมถะและวิปัสสนาแล้ว สภาวะธรรมนั้นสามารถมีความแตกต่างได้อย่างมากในข้อปลีกย่อย แต่สภาวะขณะที่บรรลุฌานจะเหมือนหรือคล้ายกันทั้งหมด

          จึงจะเห็นว่าในแต่ละที่ในพระไตรปิกฏ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรื่องการบรรลุฌาน ทั้ง 4 ตามลำดับ แตกต่างกันบ้างในรายละเอียด อยู่ที่การเน้นย้ำในการยกธรรมหมวดใดเป็นสำคัญ.


 

ตอบโดย: Vicha 04 ส.ค. 52 - 10:28


อ้างอิง (ณวบุตร @ 04 สิ.ค. 52 - 10:12)
เวลาผมนั่งสมาธินั้น ผมจะมีสติอยู่กับลมหายใจบ้าง กาย(ท้องยุบพอง)บ้าง เสียงที่ได้ยินบ้าง เวทนาที่เกิดขึ้น(ปวดหลัง, เหน็บขา) บ้าง ธรรมารมณ์ที่เกิดขึ้นบ้าง วนเวียนอยู่อย่างนี้ตลอด

พอได้มาอ่านที่คุณระนาดบอกเรื่องการย้ายฐานที่ตั้งของจิต (จุดตั้งมั่น) ผมก็เลยถึงบางอ้อ อ้อ อย่างนี้นี่เอง ผมจะเอาไปทดลองคืนนี้ครับ


ตอนที่ผมตั้งมั่นที่ความสุข  ผมจะเห็น ความสุข ตั้งมั่นเด่นอยู่

ในขณะเดียวกัน  ผมก็จะเห็นลมหายใจ  และความรู้สึกอื่นๆ  วนๆเวียนๆ ตามที่คุณณวบุตรกล่าวมาเช่นเดียวกัน  เพียงแต่ว่า  ผมเห็นแบบ  ดูผ่านๆ  คล้ายกับว่า  ผมเห็นเป็นอะไรแผ่วๆที่เคลื่อนผ่านไปผ่านมา

 ( ตรงนี้เปรียบให้คุณเข้าใจง่ายๆว่า  เวลาเราอ่านหนังสือ  เราจะได้ยินเสียงอื่นๆรอบๆตัวเราร่วมกันไปด้วย  แต่จุดที่เราสนใจอยู่ที่เรื่องราวในหนังสือ  )

เมื่อนั่งภาวนาไปเรื่อยๆ  จนถึงเวลาที่เหมาะสม  ความรู้สึกอื่นๆจะค่อยๆจางลง  จางลง  เหลือแต่ความสุขตั้งมั่นอยู่   ตรงนี้ไม่ใช่ตัวเราไปปล่อยวางให้มันจางลงนะครับ  คือว่า  เขาจะต้องเป็นไปเองครับ  ผมไม่ได้ปล่อยวางอะไร  แต่จุดนี้  ตำราจะเขียนว่า " ปล่อยวาง "  ซึ่งทำให้ผมเข้าใจผิดนานเป็นสิบปีเลยครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 04 ส.ค. 52 - 10:35


สวัสดีครับคุณ ณวบุตร

        ดีครับได้ "แนว" ในการปฏิบัติไปลองปฏิบัติดูนะครับ  แล้วผลจะเป็นอย่างไรก็ค่อยพิจารณากันต่อนะครับ เพราะเป็นการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุฌาน.

     หมายเหตุ  สำหรับบางท่านที่บรรลุฌานแล้วและมีกำลังสมาธิ สติ ดี  กำหนดลมหายใจ แล้วทิ้งลมหายใจความรู้สึกภายนอกหมดสิ้น เข้า ฌาน 1 ต่อมาเข้า ฌาน 2 ต่อมาเข้า ฌาน 3 ต่อมาเข้าฌาน 4 . ติดต่อกันได้เลยครับ โดยที่ไม่ไปข้องแวะหรือรับรู้องค์ฌานเต็มที่ เสมือนจิตที่มีสติเข้าสมาธิ ลึกลงไปตามขั้นบันใด (ผมเป็นในบางครั้งแล้วก็เสื่อมไป เป็นธรรมดาของผู้เสพกามอยู่ และสภาวะนี้ก็หาได้เกิดบ่อยๆ  ในชีวิตที่ผ่านมาน่าจะเกิดประมาณ 3 - 5 ครั้งเอง)

         ข้อเสอนแนะ สำหรับผู้มีวสี หรือมีความชำนาณในการเข้าออก ฌาน  สามารถกำหนดใจเข้าออก ฌาน ไม่เป็นตามลำดับก็ได้ครับ . เช่น กำหนดจิตเข้า ฌาน 1 ถอนออกมาจาก ฌาน 1 แล้ว เข้าฌาน 4 ที่เดียวก็ได้
           หรือ กำหนดเข้าฌาน 4 เลยที่เดียวก็ได้ เมื่อถอนจากฌาณ 4 กำหนดจิตเข้าฌาน 2 ได้. (แต่ผมไม่สามารถทำได้ตามข้อเสนอแนะ นะครับ แม้แต่การอธิษฐานเข้าก็ไม่เคยฝึกเป็นรูปแบบมาก่อนเลยครับ ด้วยกิจเป็นฆราวาสย่อมมีมากกว่าการที่จะมีใจไปฝึกเป็นรูปแบบเป็นธรรมดา)
 

ตอบโดย: Vicha 04 ส.ค. 52 - 10:53


อ้างอิง (ณวบุตร @ 04 สิ.ค. 52 - 10:12)


พอได้มาอ่านที่คุณระนาดบอกเรื่องการย้ายฐานที่ตั้งของจิต (จุดตั้งมั่น) ผมก็เลยถึงบางอ้อ อ้อ อย่างนี้นี่เอง ผมจะเอาไปทดลองคืนนี้ครับ
 


ผมเกือบลืมบอกคุณไปว่า  คุณต้องฝึกฝนเรียงกันไปตามลำดับ  อย่าข้ามขั้นตอนอย่างเด็ดขาด

หมายความว่า  คุณจะต้องมีลำดับขั้นตอนคือ.........

ตอนแรกๆ  คุณตั้งมั่นที่ลมหายใจแล้วเกิดความซาบซ่านวิ่งไปตามปลายแขนปลายขาเกิดขึ้นมาเสียก่อน ( ต้องมีปีติก่อน )

ต่อมาเมื่อฝึกฝนมาเรื่อยๆ  คุณเห็นความซาบซ่านตามร่างกาย และ ลมหายใจ และ ความสุข ตั้งมั่นอยู่......  แล้วความรู้สึกอื่นๆค่อยๆดับหายไป

ต่อมาเมื่อคุณฝึกฝนมาเรื่อยๆ   คุณจึงเห็นความซาบซ่านและความรู้สึกอื่นๆดับหายไป  เหลือแต่ลมหายใจและความสุขตั้งมั่นอยู่ ( เห็นปีติดับไปก่อน )

ต่อมา...เมื่อคุณฝึกฝนมาเรื่อยๆ  คุณจึงย้ายมาตั้งมั่นที่ความสุข  แล้วจึงจะเห็นความซาบซ่านและลมหายใจและความรู้สึกอื่นๆค่อยๆดับหายไป ( เหลือความสุขตั้งมั่นอยู่ )

คุณจะต้องมีขั้นตอนฝึกฝนมาเป็นลำดับ  ลำดับ  เห็นอะไรดับไปทีละอย่างทีละอย่าง  คุณข้ามขั้นตอนไม่ได้นะครับ

แต่ถ้าคุณฝึกฝนมาจนเห็นความซาบซ่านที่วิ่งไปตามแขขาดับลงเหลืออยู่แต่ลมหายใจและความสุข    ตั้งมั่นอยู่ได้แล้ว   ผมก็ขอเป็นกำลังใจให้คุณนะครับ

ถ้าคุณยังไม่เห็นอะไรดับไปตามลำดับที่ผมเล่ามา  คุณอย่ารีบย้ายฐานนะครับ  เดี๋ยวจะตกภวังค์นั่งหลับไปโดยไม่รู้ตัว
 

ตอบโดย: ระนาด 04 ส.ค. 52 - 10:59


ผมต้องขอกราบขอบพระคุณคุณระนาดอีกครั้งครับ

ที่คุณระนาดยกตัวอย่างมานั้นผมเข้าใจแจ่มแจ้งเลยครับ เพราะผมนั้นจะว่าไปก็จัดเป็นหนอนหนังสือตัวยงคนหนึ่งครับ

แต่ของผมนั้นมันจะชัดอยู่กับสิ่งเหล่านั้นวนเวียนกันไปครับ แล้วแต่ว่าอันไหนจะเด่นขึ้นมา ผมก็จะไปจับอยู่ที่อันนั้น ไม่ได้ไปบังคับหรือเพ่งอะไร พูดง่ายๆ ว่าแรกๆ ก็ชัดที่ลมหายใจ พอนั่งไปเกิดมีเสียงดังมากๆ เข้ามา ผมก็จะไปตั้งมั่นที่เสียง พอเสียงหายผมก็กลับมาที่ลมหายใจ พอต่อไปเกิดมีความคิดอะไรขึ้นมา ผมก็ไปอยู่กับความคิดอันนั้น ดูไปจนมันเงียบหายไป แล้วก็มาอยู่กับลมหายใจใหม่ พอนานๆ ไปเกิดปวดหลังปวดขาขึ้นมาผมก็ไปอยู่กับความปวดนั้น บางครั้งก็หายไป ก็กลับมาอยู่กับลมหายใจใหม่ แต่ถ้าไม่หายสักที ผมก้จะออกจากสมาธิครับ

ผมเลยไม่รู้ว่าไอ้ที่ผมทำอยู่นี้ จะจัดเข้าไปอยู่ในส่วนของสมาธิหรือสติ (สมถะหรือวิปัสสนา) แต่ผมรู้สึกได้ว่าความทุกข์ทั้งหลายมันเบาบางลง ผมรู้ทันความคิดได้มากขึ้น ผมสงบกายวาจาใจได้ดีขึ้น ไม่โมโหโกรธาเหมือนเมื่อก่อนแล้ว เรียกได้ว่าเดี๋ยวนี้ผมมีความไม่ทุกข์เกิดขึ้นบ้างแล้ว

นึกขึ้นมาแล้วรู้สึกสบายใจ รู้สึกว่าเป็นหนี้พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ และกัลยาณธรรมทุกท่านที่มีส่วน เป็นล้นพ้นจนตื้นตันน้ำตาไหลทุกที ที่พิมพ์อยู่ตอนนี้ก็กำลังน้ำตาซึมครับ

ขอทุกท่านเจริญในธรรมและปัญญายิ่งๆ ขึ้นไป

ตอบโดย: ณวบุตร 04 ส.ค. 52 - 11:07


สวัสดีครับ คุณณวบุตร และคุณ ระนาด

     ผมขอสอดแทรกในการสนทนานะครับ. เพื่อให้เข้าใจในการปฏิบัติที่ยังเป็นคนละแนวกันอยู่ ทั้งของคุณณวบุตร และของคุณระนาด.

     คุณระนาดเข้าพัฒนาฝึก พุทธ-โธ มาก่อนจนได้ฌาน แล้วมาปรับมีสตินำเป็นวิปัสสนา ทำให้มีสติเจริญขึ้น และฌานละเอียดขึ้นครับ

    แต่ของคุณ ณวบุตร

อ้างอิง
แต่ของผมนั้นมันจะชัดอยู่กับสิ่งเหล่านั้นวนเวียนกันไปครับ แล้วแต่ว่าอันไหนจะเด่นขึ้นมา ผมก็จะไปจับอยู่ที่อันนั้น ไม่ได้ไปบังคับหรือพ่งอะไร พูดง่ายๆ ว่าแรกๆ ก้ชัดที่ลมหายใจ พอนั่งไปเกินมีเสียงดังมากๆ เข้ามา ผมก้จะไป่งมั่นที่เสียง พอเสียงหายผมก้กลับมาที่ลมหายใจ พอต่อไปเกิดมีความคิดอะไรขึ้นมา ผมก็ไปอยุ่กับความคิดอันนั้น ดูไปจนมันเงียบหายไป แล้วก็มาอยู่กับลมหายใจใหม่ พอนานๆ ไปเกิดปวดหลังปวดขาขึ้นมาผมก็ไปอยู่กับความปวดนั้น บางครั้งก็หายไป ก็กลับมาอยุ่กับลมหายใจใหม่ แต่ถ้าไม่หายสักที ผมก้จะออกจากสมาธิครับ


    เป็นคนละเรื่องกับการปฏิบัติของคุณระนาด  เพราะ ณวบุตร นั้นกำลังปฏิบัติทั้งสมถะและวิปัสสนาเสมอกันอยู่ครับ. แต่วิปัสสนาญาณยังไม่เด่นชัด และ สมถะก็หาได้เจริญเป็นอุคหนิมิต หรืออุปจาระเลยครับ.

    จึงต้อง ปฏิบัติเนื่องๆ ต่ออีกไป ให้เวลากับการปฏิบัติ ที่เหมาะสมเพิ่มขึ้นอีกครับ  จะให้เกิดผลแบบเดียวกับคุณระนาดในขณะช่วงนี้ก็ยังไม่ได้ครับ.

     แต่ถ้าวิปัสสนาญาณเจริญขึ้น สามารถแยกรูปแยกนามได้ คือ นามรูปปริเฉทญาณ จนไปถึง  สมนสนญาณ ฌานก็อาจจะเจริญขึ้นตามได้โดยง่ายครับ

      เน้นปฏิบัติอยู่เนื่องๆ ให้เวลาอันเหมาะสมกับการปฏิบัติให้มากขึ้นครับ จนแยกรูปแยกนามได้.


  

ตอบโดย: Vicha 04 ส.ค. 52 - 11:24


สวัสดีครับ  คุณวิชา

ฌานหรือสมาธิของผมเกิดๆดับๆครับ   ถ้าผมคาดหวังว่า  คืนนี้ผมอยากจะทำให้ได้เหมือนคืนก่อน  แบบนี้ผมจะทำฌานไม่สำเร็จ  หรือว่า  ถ้าผมไม่มีความหวังเลยว่าคืนนี้จะทำได้  แบบนี้ก็ทำฌานไม่สำเร็จเช่นเดียวกัน    ที่กล่าวกันว่าฌานทำได้ยาก  คงเป็นเพราะว่ามันยากแบบนี้เอง   กระมังครับ


การที่ผมได้ฌานในการนั่งสมาธิภาวนา   เพราะว่าผมชอบความสงบครับ  ฌานมันเลยเกิดขึ้นมาเอง   ผมไม่ได้ตั้งใจว่าจะทำฌานเลยครับ  ซึ่งตอนแรกๆผมก็ไม่รู้ว่ามันเรียกชื่อว่าอะไร  ก็อาศัยการสอบถามคุณวิชาและไปส่งการบ้านนี่แหละครับ

เดี๋ยวสิ้นเดือนนี้ผมไปส่งการบ้านอีกที  ก็คงจะมีอะไรใหม่ๆมาปรึกษาคุณอีกครับ    

ตอบโดย: ระนาด 04 ส.ค. 52 - 11:29


อ้างอิง
  นึกขึ้นมาแล้วรู้สึกสบายใจ รู้สึกว่าเป็นหนี้พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ และกัลยาณธรรมทุกท่านที่มีส่วน เป็นล้นพ้นจนตื้นตันน้ำตาไหลทุกที ที่พิมพ์อยู่ตอนนี้ก็กำลังน้ำตาซึมครับ


     อึม... ศรัทธาได้เจริญขึ้น  เพียงเจริญ สติให้เป็นปัจจุบันขณะกับสภาวะธรรมที่ปรากฏ (รูป-นาม) ก็อาจจะมีปัญญาแยก สภาวะธรรมได้ (แยก รูป-นาม) ได้ในปัจจุบันขณะนี้ วิปัสสนาญาณก็มีโอกาศเจริญได้ครับ เพราะ พละ 5 สามารถเจริญได้ครบขึ้นในช่วงเวลานี้.

 

ตอบโดย: Vicha 04 ส.ค. 52 - 11:30


อ้างอิง (ณวบุตร @ 04 สิ.ค. 52 - 11:07)

แต่ของผมนั้นมันจะชัดอยู่กับสิ่งเหล่านั้นวนเวียนกันไปครับ แล้วแต่ว่าอันไหนจะเด่นขึ้นมา ผมก็จะไปจับอยู่ที่อันนั้น ไม่ได้ไปบังคับหรือเพ่งอะไร พูดง่ายๆ ว่าแรกๆ ก็ชัดที่ลมหายใจ พอนั่งไปเกิดมีเสียงดังมากๆ เข้ามา ผมก็จะไปตั้งมั่นที่เสียง พอเสียงหายผมก็กลับมาที่ลมหายใจ พอต่อไปเกิดมีความคิดอะไรขึ้นมา ผมก็ไปอยู่กับความคิดอันนั้น ดูไปจนมันเงียบหายไป แล้วก็มาอยู่กับลมหายใจใหม่
(ณวบุตร @ 04 สิ.ค. 52 - 11:07)


คุณณวบุตรครับ

การเจริญสติในชีวิตประจำวัน  คุณเห็นอะไรชัด  คุณก็ดูอันนั้นก่อน  ตามที่คุณเล่ามาครับ

แต่  สำหรับการนั่งสมาธิตอนกลางคืน ( ทำสมถะ )  คุณควรจะตั้งมั่นที่ลมหายใจเพียงอย่างเดียว  แล้วจึงจะเห็นอย่างอื่นเคลื่อนไหวไปๆมาๆ   คุณอย่าย้ายฐานในการทำสมาธิ  เพราะว่าสมาธิจะไม่มีกำลังครับ

คุณปฏิบัติแบบค่อยเป็นค่อยไปนะครับ  ทำแบบเล่นๆ  อย่าเคร่งเครียดกับมันมากนัก

เป็นกำลังใจให้คุณนะครับ


 

ตอบโดย: ระนาด 04 ส.ค. 52 - 11:41


สวัสดีครับคุณระนาด

 จากข้อความของคุณะนาด
อ้างอิง
ฌานหรือสมาธิของผมเกิดๆดับๆครับ   ถ้าผมคาดหวังว่า  คืนนี้ผมอยากจะทำให้ได้เหมือนคืนก่อน  แบบนี้ผมจะทำฌานไม่สำเร็จ  หรือว่า  ถ้าผมไม่มีความหวังเลยว่าคืนนี้จะทำได้  แบบนี้ก็ทำฌานไม่สำเร็จเช่นเดียวกัน    ที่กล่าวกันว่าฌานทำได้ยาก  คงเป็นเพราะว่ามันยากแบบนี้เอง   กระมังครับ


การที่ผมได้ฌานในการนั่งสมาธิภาวนา   เพราะว่าผมชอบความสงบครับ  ฌานมันเลยเกิดขึ้นมาเอง   ผมไม่ได้ตั้งใจว่าจะทำฌานเลยครับ  ซึ่งตอนแรกๆผมก็ไม่รู้ว่ามันเรียกชื่อว่าอะไร  ก็อาศัยการสอบถามคุณวิชาและไปส่งการบ้านนี่แหละครับ


    เมื่อปฏิบัติอานาปานสติ แล้วมีสติรู้ตัวทั่วพร้อม และลงในอริยาบทย่อย และมีสติระเอียดลงไปกับกับสภาวะที่ปรากฏ หรือเกิดผัสสะ กับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

     การปฏิบัตินี้เรียกว่า การปฏิบัติทั้งสมถะและวิปัสสนา ตามพุทธพจน์ครับ.

     ดังนั้นสามารถบรรลุฌานได้ครับ และเป็นการบรรลุฌานที่มีสติละเอียดเท่าทันกว่า การได้ฌานที่เป็นกสิน 10 เสียอีก
     และที่สำคัญ ฌาน ที่ได้ในการปฏิบัติอานาปานสติ นั้น เป็น สัมมาสมาธิ ด้วย  หาได้เป็น สมาธิธรรมดา หรือ มิฉฉาสมาธิครับ.

     การ บรรลุฌาน นั้นก็เป็นเรื่องที่ยากแล้ว สำหรับฆราวาส  แล้วการรักษาซึ่งฌานที่ได้บรรลุแล้ว ก็เป็นเรื่องไม่ง่ายเลยสำฆราวาสเป็นธรรมดา เพราะยังต้องเสพกามอยู่.

     และถ้าในเมื่อไม่มีเวลาฝึกพัฒนาจนชำนาณเป็นวสี จะกำหนดเข้าฌานให้ได้ดังใจ ก็จะเป็นเรื่องที่ยากด้วย.

       เน้น อานาปานสติ นั้นเป็นทั้ง สมถะและวิปัสสนา  ดังนั้นการได้ฌานก่อน หรือได้วิปัสสนาญาณก่อน หรือได้ทั้งฌานและวิปัสสนาควบคู่กันไป ของผู้ปฏิบัติ จึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ครับ.
 

ตอบโดย: Vicha 04 ส.ค. 52 - 12:00


กราบขอบพระคุณทั้งคุณVicha และคุณระนาด ครับ

เป็นกำลังใจให้ผมได้มากทีเดียว และได้รู้อะไรเพิ่มมากขึ้น เรียกว่าความโง่ของผมค่อยๆ ลดน้อยลงครับ 555

ผมเป็นอย่างที่คุณระนาดว่ามาครับ คือไม่ว่าเวลาไหนผมมักจะเป็นเหมือนกันครับ คือเจริญสติอยู่ตลอด ทั้งตอนที่ทำงาน ตอนนั่งสมาธิก้ไม่เว้นครับ แต่ผมไม่ได้บังคับให้เขาเป็นนะครับ แต่มันเป็นไปเอง สมาธิของผมเลยไม่มีกำลัง ถ้าคืนไหนนั่งได้นานเป็นชั่วโมงละก็ คืนถัดไปผมจะนั่งได้ไม่นานครับ แล้วก็จะรู้สึกเพลียๆ นิดหน่อยครับ แต่ก็สามารถมาทำงานได้ปกติทั้งวันครับ

อ้อ ผมขอนุญาตเล่าความนิดนึงครับ ผมนั้นน่าจะมาทางอานาปานสติครับ แล้วตอนแรกนั้นผมนั่งสมาธิไม่ได้เลย มันฟุ้งไปหมด นั่งห้านาทีเหมือนเป็นชั่วโมง ก็เพิ่งจะมานั่งสมาธิได้บ้างเมื่อเดือนสองเดือนที่ผ่านมานี่เอง (หลังจากไปเข้าคอร์สอบรมอานาปานสติที่สวนโมกข์นานาชาติ มาเมื่อปลายเดือนพฤษภาคม นี้เอง แล้วก็เป็นการเข้าอบรมครั้งแรกในชีวิตครับ) ก่อนหน้านี้ก็อาศัยเอาจากการอ่านครับ และก็คงเพราะบุญกุศลแน่นอนเลยที่ทำให้ผมได้เข้ามาเจอเวบลานธรรม และได้เข้ามาอ่าน จนได้สมัครเข้าเป็นสมาชิก และได้เพิ่มพูนปัญญามากขึ้น จากหลายๆ ท่านในเวบนี้ ไม่ว่าจะเป็นท่านwit ท่านรักเดียวใจเดียว คุณวิชา คุณระนาด คุณวสวัตตี คุณอัญญาสิ คุณพริม คุณรักพงษ์ และอีกมากมายหลายท่านครับ

ขอบพระคุณมากครับ ขอบพระคุณ

ตอบโดย: ณวบุตร 04 ส.ค. 52 - 12:47


ขอบคุณมากครับคุณวิชา
              ----------------------------

สวัสดีครับคุณ ณวบุตร

ถ้าคืนไหนคุณนั่งสมาธิแล้วไม่มีกำลัง   คุณก็เดินจงกรมก็ได้ครับ

จริงๆแล้วผมถูกจริตกับการเดินจงกรมมากกว่านั่ง  แต่ตอนหัดใหม่ๆผมไม่รู้  ผมจึงฝึกนั่งมากกว่าเดินจงกรม  การฝึกฝนใน 2 - 3 ปีแรก  ผมจึงปฏิบัติด้วยความทุกข์ความลำบากพอสมควร

การเดินจงกรมทำให้สติ ( อาจจะเรียกชื่อผิด ) ตั้งมั่นได้นานกว่านั่ง ก่อนที่คุณจะนั่งภาวนาตอนกลางคืน  คุณควรเดินจงกรมให้สติตั้งมั่นเสียก่อน   แล้วจึงค่อยมานั่ง  แล้วคุณจะรู้สึกว่าภาวนาได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมครับ ( เดินก่อนแล้วค่อยนั่ง / ไม่ใช่นั่งก่อน แล้วลุกมาเดิน...แบบนี้มันจะง่วงนอน , สมาธิไม่มีกำลัง )
 

ตอบโดย: ระนาด 04 ส.ค. 52 - 15:01


 ...เมื่อมีสัมมาสติ  สัมมาสมาธิจึงพอเหมาะได้,(พอเหมาะได้ = ใช้งานได้ดี)

            เมื่อมีสัมมาสมาธิ  สัมมาญาณจึงพอเหมาะได้,

            เมื่อมีสัมมาญาณ  สัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้ ......

             

ตอบโดย: น้องบู 04 ส.ค. 52 - 15:44


สวัสดีทุกๆ ท่านค่ะ

เรียนคุณณวบุตร  จากที่คุณเล่าวิธีปฏิบัติขณะนั่งสมาธิใน คห ที่ผ่านๆ มา
อาจจะลองปรับเล็กน้อยค่ะ  ลองเอาไปพิจารณาดูค่ะ

จากที่คุณระนาดว่า การฝึกสมาธินั้นเราจดจ่อกับสิ่งๆ เีดียว จนเกิดสมาธิขึ้น
อันนี้เห็นด้วย  คาดว่าที่คุณเหมือนวนไปวนมา เพราะย้ายฐานที่จะให้จิตรู้บ่อยไปนิดนึงค่ะ

ขออนุญาตแนะนำว่า  ให้ทำแบบเดิม คือ นั่งดูลมหายใจไป  ไม่ต้องเครียด
เมื่อมีสิ่งอื่นมากกระทบ เช่น ได้ยินเสียง ก็ให้รู้ว่าได้ยิน  ร่างกายปวดก็ให้ตามรู้ไป
แต่เมื่อไปรู้แล้ว  พอสิ่งที่มากระทบหายไปแล้ว  ก็ให้กลับมาดูลมต่อ
อย่าหักหาญจิตให้กลับมานะคะ  ค่อยๆ พากลับมา  แต่ก็ไม่ได้ห้ามว่า
ต้องรู้ลมอย่างเดียว  ห้ามว่อกแว่กไปไหน  ธรรมดามันต้องว่อกแว่กอยู่แล้ว
แต่พอจิตออกจากลมไป  ก็ให้รู้ เมื่อรู้แล้วก็ให้กลับมาที่ลมต่อ

คล้ายๆ ว่า ให้ลมหายใจเป็นบ้าน  พออะไรผ่านหน้าบ้าน เราก็เยี่ยมหน้าไปดูหน่อย
แล้วก็กลับเข้ามาในบ้านเราต่อ  ดูลมหายใจต่อ  พอจิตคุ้นชินกับการอยู่กับลมแล้ว
ต่อๆ ไป เค้าจะกลับบ้านได้ง่ายขึ้น  แต่ถ้าไม่มีบ้านเลย  จิตก็จะไม่จดจ่อ ไม่ตั้งมั่น
เราอาจจะพัฒนาไปสู่ระดับสมาธิที่ลึกๆ ได้ยากค่ะ

ส่วนระหว่างวัน ก็ิเจริญสติไปดีแล้วค่ะ  ความสำำคัญของสติคือ ต้องต่อเนื่อง
พอเจริญต่อเนื่อง  สติก็มีกำลัง  พอทำสมาธิก็ใช้สติร่วมด้วย  พอสมาธิลึกๆ แล้ว
สติที่ดีก็จะทำให้เรารู้ตัวอยู่ได้  ไม่ตกภวังค์ หรือ วูบไปน่ะค่ะ

การเจริญสติในชีวิตประจำวันนั้น  ส่งผลกับใจเราด้วยว่า จะสงบได้ง่ายหรือยาก
ยกตัวอย่างจากตัวเอง  ถ้าวันไหนคิดมากเรื่องงาน หรือมีเรื่องกังวล
หรือต้องพูดคุยมากๆ เจอคนมากๆ  แบบสติตามไม่ค่อยทันนี่
วันนั้นก็นั่งสมาธิไม่ค่อยได้  นั่งแล้วใจมันกระสับกระส่ายชอบกล
ดังนั้น ถ้าบางวันทำได้ดี บางวันไม่ได้ดี  ก็อย่าเสียใจไปนะคะ
มันก็ขึ้นๆ ลงๆ กันเป็นธรรมดา  เพียงแต่อย่าิ้ทอดทิ้งไม่ทำเลย

การเิดินจงกรมก่อนนั่งสมาธิก็ดีค่ะ  สติ สมาธิที่เกิดจากการเดินจงกรม จะตั้งมั่นได้นาน
อันนี้มีทริกส่วนตัวนิดนึง คือ ระหว่างรอยต่อของการเิดินกับการมานั่ง
ให้มีสติต่อเนื่องให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  เพื่อให้ต่อเนื่องกันมา  เวลาเข้าสมาธิจะง่ายขึ้นค่ะ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่คาดหวังดีที่สุด แค่ทำเหตุทำปัจจัยให้พอดีๆ ผลมันก็มาเองค่ะ

ปล คงไม่สร้างความสับสนนะคะ ที่จริงๆ หลายๆ ท่านที่แนะนำไป
ก็แนะนำเรื่องเดียวกันนั่นแหละค่ะ  แต่อาจจะต่างกันตรงวิธีอธิบายค่ะ

ตอบโดย: อัญญาสิ 05 ส.ค. 52 - 05:27



สวัสดีครับ  คุณณวบุตร

เมื่อคืนนี้คุณภาวนาดีไหม

เข้ามาเป็นกำลังใจให้คุณครับ    

ตอบโดย: ระนาด 05 ส.ค. 52 - 07:45


สวัสดีทุกๆท่านครับ

เผลอแป๊บเดียว กระทู้นี้ก็มีข้อความหลั่งไหลเข้ามาไม่ขาดสาย และสำคัญๆทั้งนั้นเลย

ขออนุโมทนาสาธุการกับความก้าวหน้าและความสำเร็จของทุกๆท่านด้วยครับ

ทีนี้ก็ได้แต่รอท่าน Vicha มาชี้แนะวิธีการปฏิบัติกัมมัฏฐานโดยอาศัยอานาปานสติกันต่อ

ระหว่างนี้ขออนุญาตแสดงความเห็นเรื่องสมถกัมมัฏฐานด้วยคนนะครับ

สำหรับคุณระนาดขอแสดงความยินดีด้วยครับที่สามารถละปีติลงได้

จนตอนนี้เหลือเพียงแค่ความสุข

กระผมคาดเดาเอาว่า ความซาบซ่านทั้งทางกายและทางใจของคุณระนาดได้หายไป เหลือเพียงแต่ความสงบทางใจอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน และจิตของคุณระนาดคงจะมีแต่ความโสมนัสยินดี ที่จิตสงบและมีสติตั้งมั่นแจ่มใส คิดอ่าน พิจารณาและดูธรรมทั้งหลายได้อย่างคล่องแคล่วและราบรื่น อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน

คุณระนาดคงเข้าใจแล้วสินะครับว่าทำไมพระอริยะทั้งหลายท่านจึงได้สรรเสริญสภาวะนี้ว่า "เป็นผู้เห็นเสมอกัน มีสติ อยู่เป็นสุข"

มาถึงตรงนี้สิ่งที่คุณระนาดยังเหลืออยู่คือเอกัคคตา กับสุข (ความยินดี โสมนัส)

คุณระนาดลองไม่ยินดียินร้ายกับสภาวะนั้นๆ ดูไหมครับ ทำใจให้เป็นกลาง วางเฉยในสิ่งทั้งปวง โดยพยายามวางจิตอิงไว้กับความตั้งมั่น ความหนักแน่นเป็นหนึ่งเดียวไม่ผันแปรที่อยู่คู่กับเรามาตลอด สงบจิตให้นิ่งและดำดิ่งให้ลึกขึ้นกว่าเดิม

ลองดูครับ ไม่ต้องกลัวหรือกังวล ตัวท่านจะไม่หายไปไหนทั้งสิ้น สติยังมีอยู่เหมือนเดิมแถมสติยังตั้งมั่นสะอาด สว่าง สดใสยิ่งไปกว่าเดิม และจิตของท่านจะไม่ยินดี จะไม่ยินร้าย ทั้งต่อสิ่งที่ดี และไม่ดีทั้งหลาย ความอยากจะหมดไป

เป็นกำลังใจให้ครับ ผมเองเมื่อพฤหัสบดีที่แล้วก็ป้วนเปี้ยนๆ เข้าๆออกๆ 3 กับ 4 นี่เหมือนกัน

ผมเองก็เป็นเช่นเดียวกับหลายๆท่าน ถ้าวันไหนอยากได้ มันจะไม่ได้ แม้จะบอกหรือหลอกตัวเองว่าไม่อยากได้ ก็ไม่เป็นผล

ต้องไม่อยากได้จริงๆ ทำสมาธิเพื่อความสงบจริงๆถึงจะได้ แต่หากทำเพื่อต้องการสภาวะดังกล่าว หรือพยายามนึกถึงๆๆ รับรองว่าไม่ได้

แต่เท่าที่ผมสังเกตดู ถ้าวันไหนหรือตอนไหนเบื่อหน่ายกามคุณ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส หรือโลกธรรม 8 มากๆ แล้วเข้าสมาบัติ มันจะเข้าได้ทันทีและง่ายดี

สำหรับท่านณวบุตร ผมอ่านแล้วเข้าใจท่านดี เพราะแต่ก่อนผมก็เคย

ที่ไหนๆก็มักสอนว่าทำสมาธิต้องอย่าเผลอสติต้องพยายามมีสติ แต่มักไม่สอนกันว่า ต้องบริหารสติกับสมาธิอย่างไร  ต้องทำอย่างไรกับสติ และสภาวะแบบไหนคือสมาธิ

สำหรับเรื่องบริหารสติและทำอย่างไรกับสมาธินั้นคิดว่าคุณ Vicha คงจะแจกแจงได้ดีกว่าผม เพราะท่านแตกฉานในการปฏิบัติที่หลากหลาย

ขอให้เจริญในธรรมทุกท่านครับ
 

ตอบโดย: วสวัตตี 05 ส.ค. 52 - 14:46


ขอบพระคุณคุณอัญญาสิอย่างมากครับ แล้วผมจะเอาไปปฏิบัติดูครับ ได้ผลอย่างไรจะมาเล่าให้ฟังครับ

ส่วนเรื่องการภาวนาเมื่อคืนนี้ ผมเริ่มตอนตี 3 กว่านิดหน่อย เริ่มด้วยการเดินจงกรมประมาณ 30 นาที และนั่งสมาธิ 1 ชั่วโมง ได้ผลดีกว่าทุกวันที่ผ่านมาครับ รู้สึกได้ว่าร่างกายรู้สึกเบาสบายกว่าเดิม สงบมากกว่าเดิม แม้ว่าจะเห็นการหายใจกับเวทนาได้ไม่ชัดเหมือนเดิม แต่ก็ดีกว่าชัดแต่ไม่ไปไหนเลย และนอกจากนี้แล้วผมยังเห็นภาพคล้ายกองไฟลุกโพลงขึ้นแล้วก็ดับวูบหายไปเลย ในชั่วเวลาสักสองสามวินาที ครับ อย่างนี้เรียกว่าเห็นนิมิตหรือเปล่าครับ

อ้อ ลืมบอกไปว่า คราวนี้ผมเริ่มต้นจากการดูลมหายใจก่อนครับ พอสงบดีแล้ว ก็เปลี่ยนไปดูความว่างหรือเปล่าก็ไม่แน่ใจ แต่เป็นการเอาจิตไปไว้ที่ฐานด้านหน้าตรงระหว่างเหนือหัวคิ้วครับ เหมือนให้มันลอยอยู่นิ่งๆ ตรงนั้นครับ เพราะผมรู้สึกตรงส่วนนี้ชัดเจนบ่อยมากๆ อย่างเช่น ขณะนั่งรถเมล์กลับบ้าน ผมจะนั่งหลับตาเข้าสมาธิไปด้วยครับ แรกๆ ก็อยู่ที่ลมหายใจอยู่หรอกครับ แต่พอรถขับเร็วขึ้นหรือส่ายไปมาบ้าง มันก็เปลี่ยนไปรู้ที่ฐานตรงระหว่างคิ้ว ตรงตำแหน่งตาที่สาม แทนครับ แบบนี้เขาเรียกว่าอะไรครับ

ผมอาจจะต้องรบกวนเยอะพอสมควรครับ เพราะผมเองปฏิบัติมาโดยไม่มีครูบาอาจารย์มาตลอดครับ อาศัยหนังสืออย่างเดียว (เพิ่งจะเริ่มปฏิบัติจริงจังเมื่อมีนาคมที่ผ่านมาครับ) ก็เพิ่งเข้าคอร์สก็ครั้งเดียวตามที่บอกไปครับ และผมเองก็ยังไม่เคยส่งอารมณ์หรือเข้าสอบกรรมฐานอะไรทำนองนั้นเลยครับ เลยยังเรียบเรียงได้ไม่ตรงตามลำดับ เรียกว่าอธิบายตามสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นหลักครับ ก็ได้จากการอ่านการส่งอารมณ์ของคุณระนาดนั่นละครับ ผมก็เลยพอจะรู้แนวทางการส่งอารมณ์บ้าง เลยกล้าที่จะลองส่งดูบ้างครับ และก็ได้ผลเกินคาดครับ ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ

ตอบโดย: ณวบุตร 05 ส.ค. 52 - 17:23


สวัสดีครับคุณวสวัตตี

ผมขอขอบคุณในความปรารถนาดีที่คุณมีต่อผมครับ

ตอนนี้ในชีวิตประจำวัน  ผมมีความปลอดโปร่งเบาสบายใจแล้วมีความรู้สึกแผ่วๆเบาๆเคลื่อนไหวไปๆมาๆอยู่ภายในใจ  ( ไม่ใช่สงบนิ่งเหมือนแผ่นกระจก )


         เมื่อคืนนี้  ผมไม่ได้ภาวนาเพราะว่ามีเสียงร้องเพลงจากร้านคาราโอเกะที่อยู่หน้าบ้าน  ส่งเสียงดังรบกวนผม    ซึ่งผมภาวนาท่ามกลางเสียงดังรบกวนแบบนี้  ด้วยความอดทนมานาน 5 ปีแล้ว  บางวันผมก็ทนได้  บางวันผมทนไม่ได้ผมก็ต้องหยุดการภาวนา  เรื่องนี้มันคงจะเป็นวิบากกรรมจากอดีตชาติของผมเอง  เพราะว่าในชาตินี้  ผมไม่เคยทำเสียงดังรบกวนใคร  และผมไม่ร้องเพลง


ผมตั้งใจว่า  คืนไหนที่ร้านคาราโอเกะไม่ส่งเสียงดังรบกวนจนเกินไป   ผมจะนั่งภาวนาโดยตั้งมั่นที่ความสุขความเบาสบาย  แล้วปล่อยให้ความรู้สึกอื่นๆดับไปเอง  ผมคาดว่า เมื่อผมเคยชินกับความสุขความเบาสบายนี้ดีแล้ว  ความสุขจะดับลงไปเอง ( เช่นเดียวกับลมหายใจและความซาบซ่าน ) คงเหลืออยู่แต่อุเบกขา ......... ตอนนี้อุเบกขาเป็นยังไงผมก็ยังไม่รู้  ถ้าผมปฏิบัติได้แล้ว  จะมาเล่าให้ฟังว่า  อาการหลังจากที่ความสุขดับลงไปแล้วมันเป็นยังไง  แล้วตำราใช้สำนวนอย่างไร
 

ตอบโดย: ระนาด 05 ส.ค. 52 - 17:52



ผมขออนุโมทนากับการปฏิบัติของคุณณวบุตรด้วยครับ

คุณณวบุตรรู้ความรู้สึกตรงไหนแล้วสติเกิดขึ้นได้ง่าย  คุณก็รู้ตรงนั้น  ไม่ต้องเป็นตำแหน่งเดียวกับคนอื่นๆก็ได้ครับ  ( เพราะว่าภาวนาเอาสติ )

เดี๋ยวคุณวิชาคงจะมีอะไรดีๆมาบอกคุณเพิ่มเติมอีก

เป็นกำลังใจให้คุณนะครับ      

 

ตอบโดย: ระนาด 05 ส.ค. 52 - 18:03


ขอบพระคุณคุณระนาดเป็นอย่างสูงครับ

ตอบโดย: ณวบุตร 05 ส.ค. 52 - 18:18


ขอขอบคุณคุณวิชาที่กรุณาระลึกถึง และขอขอบพระคุณที่แจกแจงธรรมะที่น่าชื่นใจให้ได้อ่านตั้งมากมาย

ขอบพระคุณครับ

ตอบโดย: จุ๊ 06 ส.ค. 52 - 00:16


ยังรอพี่วิชามาต่อครับ

ผมก็ได้ประโยชน์จากพี่วิชาเรื่อง พละ5 ด้วยครับ จากการอ่านกระทู้ เกี่ยวกับความสมดุลใน พละ5 แล้วการภาวนาพัฒนาไปรวดเร็วมากครับ ขอบคุณพี่มากๆ

เมื่อประมาณ 7 เดือนก่อนไปส่งการบ้าน หลวงพ่อบอกว่า คุณอย่าไปกลัว ขึ้นวิปัสสนาแล้ว ขึ้นแล้วยังไม่รู้ตัว แล้วหัวเราะกันทั้งศาลา ท่านบอกรู้สึกมั้ยกิเลสมันเกิดดับในใจเราเรื่อยๆ เราบอกว่าดูไม่ออก(เห็นแต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไรเราไม่รู้ว่าตัวนี้เรียกว่ากิเลส) ท่านถามอีกเห็นร่างกายทำงานมั้ย เราตอบไปว่าเห็นทั้งวันทั้งคืน (มันทำงานตลอดตอนมันหลับเราก็ดูมันทำงานทั้งวันทั้งคืน)คุณถนัดดูกายเห็นร่างกายมันทำงานไปไม่ใช่ตัวเรา เอ้าเบอร์....

ตัวผมเองก็ไม่รู้เรื่องอะไร ก็ถามหลวงพ่อ ท่านก็เมตตาตอบให้ ดีกว่าเราไปคิดเองไปเรื่อยมันจะผิดไปเปล่าๆ

ผมเล่าเพื่อ อยากให้เพื่อนๆที่สงสัย สภาวะต่างๆ แต่ไม่รู้จะถามใครดี ก็เล่ากันที่เวปนี้แหละครับ คนอ่านที่ภาวนาดีๆ ที่นี่มีเยอะมาก ย้ำว่า เยอะมากและดีมากด้วย แต่ไม่ได้ตอบ อ่านเฉยๆ ก็ถามกันเข้ามาครับ ท่านที่ภาวนาดีมากทั้งหลายก็จะทยอยมาช่วยกันตอบเอง อย่าเก็บไว้แล้วเดาเอาเองเลยถ้ามันถูกแล้วก็พัฒนาต่อได้อีก ถ้าผิดแล้วจะเสียเวลา

สงสัยก็ถามครับ อยากช่วยก็ตอบ ท่านที่อยากช่วยตอบแต่กลัวจะสื่อสารไม่ถูกต้องก็ลองดูครับลองตอบดู จะได้เป็นประโยชน์กับผู้ถามด้วย

ผมเองก็พยายามตอบเท่าที่มีกำลัง วันที่เห็นสภาวะผู้ถามชัดๆแล้วเคยผ่านมาก่อนก็จะพยายามสื่อสารเต็มที่ครับ


ยังรอพี่วิชามาต่อ.....ช่วงสำคัญ กำลังลุ้นสนุกมากครับพี่ รอ รอ รอ

ตอบโดย: อิธ 06 ส.ค. 52 - 02:23


อ้างอิง (อิธ @ 06 สิ.ค. 52 - 02:23)
ท่านบอกรู้สึกมั้ยกิเลสมันเกิดดับในใจเราเรื่อยๆ เราบอกว่าดูไม่ออก(เห็นแต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไรเราไม่รู้ว่าตัวนี้เรียกว่ากิเลส) ท่านถามอีกเห็นร่างกายทำงานมั้ย เราตอบไปว่าเห็นทั้งวันทั้งคืน (มันทำงานตลอดตอนมันหลับเราก็ดูมันทำงานทั้งวันทั้งคืน)คุณถนัดดูกายเห็นร่างกายมันทำงานไปไม่ใช่ตัวเรา


ขอรบกวนเรียนถามคุณอิธว่า

ในชีวิตประจำวัน  ผมจะมีความปลอดโปร่งโล่งสบายใจเป็น background แล้วมีความรู้สึกแผ่วๆ  ค่อยๆเกิดและค่อยๆดับไปเบาๆ  คล้ายกับว่ามีการเคลื่อนไหวเบาๆอยู่ในใจตลอดเวลา

ส่วนทางร่างกาย   ผมเห็นความรู้สึกต่างๆที่ร่างกายเคลื่อนไหว  แต่ไม่ใช่เห็นทุกส่วนของร่างกายพร้อมกัน  เหมือนเมื่อก่อน ( ส่งการบ้านเมื่อเดือนที่แล้ว  ผมเห็นทุกส่วนของร่างกายพร้อมกัน  ซึ่งหลวงพ่อบอกว่ามันแข็งๆ  เพราะว่าใช้สมาธิในการดูมากเกินไป )

อยากทราบว่าสภาวะที่ผมเล่ามา  ตรงกับสภาวะของคุณอิธไหมครับ

ถ้าตรงกัน  ผมจะฝึกฝนแบบนี้ให้ชำนาญแล้วสิ้นเดือนนี้จะไปส่งการบ้านครับ
           ----------------------------------------

ผมว่ากระทู้นี้ช่วยลดภาระในการตรวจการบ้านของหลวงพ่อไปได้มาก   ไม่ใช่อะไรนิดอะไรหน่อยก็ไปส่งการบ้าน  ถ้าเป็นแบบนั้นหลวงพ่อจะต้องตรวจการบ้านเยอะมากๆเลยครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 06 ส.ค. 52 - 07:51


อ้างอิง (อิธ @ 06 สิ.ค. 52 - 02:23)
เมื่อประมาณ 7 เดือนก่อนไปส่งการบ้าน หลวงพ่อบอกว่า คุณอย่าไปกลัว ขึ้นวิปัสสนาแล้ว ขึ้นแล้วยังไม่รู้ตัว แล้วหัวเราะกันทั้งศาลา

อิอิ คุณอิธนี่เอง    

ระหว่างรอคุณวิชา  ก็คุยกันไปพลางๆ

บางทีผู้ภาวนาๆ ไป   ก็เห็นอะไรบางสิ่งบางอย่าง (ลพ ปราโมทย์บางทีท่านว่า something)
เห็นอะไรบางอย่างผุดขึ้นมา แล้วก็หายไป  บางทีก็เห็นบางสิ่งขยับไหวๆ แล้วก็ดับไป
บางทีเราก็รู้ว่า สิ่งนั้นเรียกว่าอะไร  แต่บางทีก็เรียกไม่ถูก  อย่างเช่น
บางทีตัวเองเห็นอะไรบางอย่าง  ใจมันบอก "โมหะ"  แต่บางทีก็ไม่รู้ว่าอะไร รู้แค่ว่ามีบางสิ่ง

แรกๆ ตัวเอง (ไม่รู้คนอื่นเป็นกันหรือเปล่านะคะ) ก็แบบต้องรู้ให้ได้ว่ามันคืออะไร
ก็อาศัยถามอาจารย์เอาบ้าง  หรือไม่ก็อ่านตำรา  แต่เมื่อไหร่ที่เราเห็นสภาวะมามากๆ แล้ว
มันจะไม่ค่อยสงสัย คล้ายๆ ไม่สนใจการเรียกชื่อ  จะรู้แค่ว่ามีบางสิ่ง รู้บางสิ่ง เห็นบางสิ่ง
บางสิ่งเกิดดับ  บางสิ่งดับไปๆ   บางสิ่งเป็นปัจจัยของบางสิ่ง ฯลฯ

จะรู้สึกว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา"  เท่านั้นจริงๆ
จะเรียกว่าอะไร  อันนั้นเป็นเรื่องของสมมติ  แต่ไม่ได้ค้านสมมตินะคะ
ก็ต้องเรียกให้ตรงกัน จะได้คุยกันได้  แต่ปรมัตถ์จริงๆ แล้วมันคือ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง จริงๆ

แต่การอ่านตำราหรือฟังครูบาอาจารย์ก็มีประโยชน์มากอยู่  บางทีฟังไว้ก่อน ยังไม่ต้อง
เข้าใจก็ได้  พอภาวนาไปเห็นสภาวะอย่างที่ครูบาอาจารย์ท่านว่า  จิตมันบอกขึ้นมาเอง
ธรรมะที่เคยฟังเคยอ่าน  มันผุดขึ้นมาเอง  ดังนั้นการฟังการอ่า่นก็มีประโยชน์อย่างนี้

นอกจากนี้  ถ้าอยากทราบว่าสภาวะที่ตัวเองประสบคืออะไร   นอกจากถามแล้วก็อาจจะ
อ่านตำราก็ได้    ที่ตัวเองประหลาดใจมากๆ คือ พอได้อ่านตำรา  ถ้าตรงกับสิ่งที่เราเคย
ภาวนาผ่านมาแล้ว   ก็จะเกิดความเข้าใจมากๆ  รู้ว่าตำรานั้นพูดตรงกับสภาวะภายใน
อย่างเช่น ปฏิจจสมุปบาท  เมื่อก่อนไม่เข้าใจ  พอภาวนาไปเห็นสภาวะ
ก็ไม่ได้รู้ทุกครั้งนะว่า อะไรเรียกอะไร  แต่พอกลับไปอ่านตำรา  พอท่านว่า สิ่งหนึ่งๆ ก็อาศัย
ปัจจัยต่อเนื่องกันมา  แล้วการเรียงลำดับก็ถูกต้องตามสภาวะที่เห็นจริงๆ
ที่จริงต้องบอกว่าตำราถูกอยู่แล้วค่ะ   เพียงแต่ต้องการสื่อว่าสภาวะจริงๆ กับตำราน่ะ มัน
ก็มาจากแหล่งเดียวกันคือ ความจริงของกายใจเรานี่เอง    
 

ตอบโดย: อัญญาสิ 06 ส.ค. 52 - 08:08


อ้างอิง (อัญญาสิ @ 06 สิ.ค. 52 - 08:08)


บางทีผู้ภาวนาๆ ไป   ก็เห็นอะไรบางสิ่งบางอย่าง (ลพ ปราโมทย์บางทีท่านว่า something)
เห็นอะไรบางอย่างผุดขึ้นมา แล้วก็หายไป  บางทีก็เห็นบางสิ่งขยับไหวๆ แล้วก็ดับไป
บางทีเราก็รู้ว่า สิ่งนั้นเรียกว่าอะไร  แต่บางทีก็เรียกไม่ถูก  อย่างเช่น
บางทีตัวเองเห็นอะไรบางอย่าง  ใจมันบอก "โมหะ"  แต่บางทีก็ไม่รู้ว่าอะไร รู้แค่ว่ามีบางสิ่ง


ใช่ครับ  คุณอัญญาสิ

หลังจากที่ผมแก้ไขการภาวนาตามคำแนะนำของเพื่อนๆ ( คุณอิธ - คุณอัญญาสิ - คุณวิชา - คุณน้องบู - คุณวสวัตตี และคนอื่นๆ )

ผมจะมีความโปร่งโล่ง  เบาสบายใจ เป็น background แล้วมีความรู้สึกแผ่วๆเบาๆ  เคลื่อนไหวไปๆมาๆในใจตลอดเวลา

ความรู้สึกแผ่วๆนี้  บางทีมันก็เป็นความทุกข์ใจแบบอ่อนๆ  ที่อ่อนมากๆ  จนผมไม่อาจจะเรียกมันว่าเป็นความทุกข์ใจ

หรือบางที   ความรู้สึกแผ่วๆนี้เป็นความโกรธที่อ่อนมากๆ  จนไม่อาจจะเรียกมันว่า  เป็นความโกรธ  ฉะนั้นผมจึงเห็นความปลอดโปร่งโล่งเบาสบายใจเป็น background ไปเรื่อยๆ
              ------------------------------------------

แต่ที่เมื่อก่อนนั้น  ผมเป็นทุกข์บ้าง   ผมโกรธบ้าง  ก็เพราะว่า  มันเริ่มต้นมาจากความรู้สึกแผ่วๆนี้แหละ  มันเกิดขึ้นแล้วผมก็เข้าไปจับมัน  มันจึงขยายตัวขึ้นมาเป็นความทุกข์ใจบ้าง   ความโกรธบ้าง  แล้วความปลอดโปร่งโล่งสบายใจจึงโดนอารมณ์เหล่านี้บดบังไป

ซึ่งนั่นก็หมายความว่า............

ความปลอดโปร่งโล่งสบายใจนี้  เขามีของเขาอยู่แล้ว  แต่โดนความรู้สึกอ่อนๆ  แผ่วๆ ที่มันเติบโตขึ้นมาจนเรียกชื่อใหม่ว่า " อารมณ์ " บดบังไป  ไม่ใช่ว่าผมภาวนาแล้วสร้างความปลอดโปร่งเบาสบายใจขึ้นมา แต่ว่าผมภาวนาแล้ว  จึงทำให้ผมเข้าไปเห็นความปลอดโปร่งโล่งสบายอันนี้

อีกอย่างหนึ่ง......ความรู้สึกแผ่วๆเบาๆนี้  มันเกิดขึ้นมาเอง  ผมไม่สามารถห้ามมันได้  แต่ว่าเมื่อมันเกิดขึ้นมาแล้ว  ถ้าผมไม่เข้าไปจับมัน  ( แค่ดู เฉยๆ )  มันจะหายไปเอง

แบบนี้เรียกว่า  เห็นกิเลสทำงาน  ใช่หรือเปล่าครับ  ( ไม่แน่ใจ )

ก็เข้ามาเล่าสู่กันฟัง  รอคุณวิชาครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 06 ส.ค. 52 - 08:47


.....คุณระนาดลำเอียงนี่นา.....

.....เสียง กระทบ หู.....กับ.....สุข กระทบ ใจ.....

.....มันต่างกันตรงไหนครับ.....

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 06 ส.ค. 52 - 08:52


อ้างอิง (บุญรักษ์ @ 06 สิ.ค. 52 - 08:52)
.....คุณระนาดลำเอียงนี่นา.....

.....เสียง กระทบ หู.....กับ.....สุข กระทบ ใจ.....

.....มันต่างกันตรงไหนครับ.....
 
(บุญรักษ์ @ 06 สิ.ค. 52 - 08:52)

แอบถูกใจ อิอิ      

ตอบโดย: อัญญาสิ 06 ส.ค. 52 - 09:09


กิเลสใหญ่ๆ  ก็เกิดจากกิเลสเล็กๆ  ที่ไม่เคยเอาสติไปตามดู

โกรธเล็กน้อย  แต่ไม่รู้ไม่เห็น  จึงเข้าไปยึดด้วยนึกว่า
กิเลสที่่เกิดกับจิตนั้นเป็นของเรา พอยึดเข้า จึงเป็นปัจจัย
ให้กิเลสนั้นขยายตัวใหญ่ขึ้น จนออกมาให้รู้สึกได้ค่ะ
สติจึงจำเป็นในที่ทุกสถานด้วยประการเช่นนี้เอง    

ปล เห็นคุณวิชามาแล้ว  รอให้เข้ามาต่อกันอยู่ค่ะ

ตอบโดย: อัญญาสิ 06 ส.ค. 52 - 09:14


อ้างอิง (บุญรักษ์ @ 06 สิ.ค. 52 - 08:52)
.....คุณระนาดลำเอียงนี่นา.....

.....เสียง กระทบ หู.....กับ.....สุข กระทบ ใจ.....

.....มันต่างกันตรงไหนครับ.....

 



เสียงกระทบหู  ก็เกิดความรู้สึกแผ่วๆ แล้วก็ดับไป

สุขกระทบใจก็เกิดความรู้สึกแผ่วๆ  แล้วก็ดับไป

เมื่อไม่มีภาระ  จึงเห็นความปลอดโปร่งโล่งสบายใจ  ต่อเนื่องกันได้เรื่อยๆ
                  ----------------------------

ความปลอดโปร่งโล่งสบายใจ  แตกต่างจาก ความสุขที่เคยพบในชีวิตประจำวัน  และ  ความปลอดโปร่งโล่งสบายใจ ไม่ใช่ความว่าง  ไม่ใช่ความไม่มีอะไรนะครับ  คือว่ามันมีอะไร ( มีความรู้สึกแผ่วๆเบาๆเคลื่อนไหวไปมา ) แต่ว่ามันไม่เป็นภาระ   มันจึงปลอดโปร่งโล่งสบายใจ


อีกอย่างหนึ่ง  ตรงนี้แตกต่างจาก  การใช้สมาธิเพ่งแรงๆที่ลมหายใจจนความรู้สึกในใจสงบนิ่งเงียบ  แตกต่างกันมากเลยครับ

 

ตอบโดย: ระนาด 06 ส.ค. 52 - 09:21


อ้างอิง (อัญญาสิ @ 06 สิ.ค. 52 - 09:14)
กิเลสใหญ่ๆ  ก็เกิดจากกิเลสเล็กๆ  ที่ไม่เคยเอาสติไปตามดู
 
(อัญญาสิ @ 06 สิ.ค. 52 - 09:14)


เมื่อก่อนนี้  ผมนึกว่าสติกับสมาธิเป็นอย่างเดียวกัน

แต่ว่าหลังจาก  ผมได้รับคำแนะนำจากคุณอัญญาสิ (ความเห็นที่ 299 )  ตรงที่คุณบอกว่า  คล้ายๆกับเราลืมไปว่า  เราวางกุญแจบ้านเอาไว้ตรงไหนแต่เรานึกไม่ออก   แล้วอีกสักพักหนึ่งมันก็นึกออกขึ้นมาได้เอง


ผมเริ่มต้นฝึกฝนจากจุดที่คุณแนะนำนี้แหละ    ฝึกในวันแรก  ผมเห็นอะไรแผ่วๆผุดขึ้นมาแค่ 2 ครั้งเท่านั้นเอง    เมื่อผมฝึกฝนต่อเนื่องไปเรื่อยๆ   วันต่อๆมาผมจึงเห็นอะไรแผ่วๆผุดขึ้นมาบ่อยๆ และ บ่อยๆๆๆ  จนเดี๋ยวนี้   ผมเห็นอะไรแผ่วๆเบาๆ  เคลื่อนไหวไปๆมาๆ อยู่ตลอดเวลา  ตามที่เล่ามาข้างบน


ผมต้องขอขอบคุณ  คุณอัญญาสิมากๆที่แนะนำวิธีการฝึกใช้สติในการดูสภาวะต่างๆ  ถ้าผมไม่ได้คำแนะนำของคุณ ( ความเห็นที่ 299 )  ผมตายหยังเขียด  ผมไปไม่เป็นเลยครับ

การใช้สมาธิดูสภาวะ  มันเห็นได้ชัดก็จริง  แต่มันจะแข็งๆ

ถ้าใช้สติดูสภาวะ  มันเห็นไม่ชัดเท่าไร  แต่ว่าเบาสบายและเป็นธรรมชาติครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 06 ส.ค. 52 - 09:49


อนุโมทนาคุณระนาดค่ะ      

ตอบโดย: อัญญาสิ 06 ส.ค. 52 - 09:56


สวัสดีครับทุกท่าน

    ช่วงนี้ผมมีงานยุ่งหน่อย  และพอดีข้อมือก็อักเสบบวมมาก (โรคประจำตัว รูมาตอย)

    ผมขอสนทนากับคุณณวบุตร ก่อนนะครับ

อ้างอิง
   ผมเริ่มตอนตี 3 กว่านิดหน่อย เริ่มด้วยการเดินจงกรมประมาณ 30 นาที และนั่งสมาธิ 1 ชั่วโมง ได้ผลดีกว่าทุกวันที่ผ่านมาครับ รู้สึกได้ว่าร่างกายรู้สึกเบาสบายกว่าเดิม สงบมากกว่าเดิม แม้ว่าจะเห็นการหายใจกับเวทนาได้ไม่ชัดเหมือนเดิม แต่ก็ดีกว่าชัดแต่ไม่ไปไหนเลย และนอกจากนี้แล้วผมยังเห็นภาพคล้ายกองไฟลุกโพลงขึ้นแล้วก็ดับวูบหายไปเลย ในชั่วเวลาสักสองสามวินาที ครับ อย่างนี้เรียกว่าเห็นนิมิตหรือเปล่าครับ


    เป็นนิมิตครับ.... ในอานาปานสติ หรือวิปัสสนานั้น นิมิตเกิดก็เรื่องของเขา  ไม่จำเป็นต้องไปสนใจมากนะครับ สนใจในการเจริญสติปัญญาครับ เป็นเพียงทางที่บอกให้เราทราบว่า นิมิตก็ได้ปรากฏกับเราแล้ว เล็กๆ น้อยๆ

         การปฏิบัติธรรม นั้นเป็นการฝึก  และการฝึกนั้นก็ต้องฝึกหลายรูปแบบ เช่นในการวางอารมณ์ ในการกำหนด ที่พัฒนาพละ 5 นั้นเจริญขึ้นได้อย่างเหมาะสม.

         พระพุทธเจ้าจึงตรัสคำเปรียบเทียบว่า "ไม้นั้นแหละสอนช่างไม้"

        เหมือนกับการปฏิบัติธรรม อารมณ์ การกำหนด เปรียบเสมือนไม้ ในการพัฒนา พละ 5 ที่สม่ำเสมอและเจริญขึ้น เป็นตัวสอนผู้ปฏิบัติ.

        ผมต้องยุติก่อนครับ งานเข้าครับ   (เทคโนโลยี่ใหม่ กับเทคโนโลยี่เก่า Dos พอขยับก็ต้องเหนื่อยปรับกันหน่อยครับ)
    

ตอบโดย: Vicha 06 ส.ค. 52 - 10:49


อ้างอิง (ระนาด @ 06 สิ.ค. 52 - 09:21)
เสียงกระทบหู  ก็เกิดความรู้สึกแผ่วๆ แล้วก็ดับไป

สุขกระทบใจก็เกิดความรู้สึกแผ่วๆ  แล้วก็ดับไป

เมื่อไม่มีภาระ  จึงเห็นความปลอดโปร่งโล่งสบายใจ  ต่อเนื่องกันได้เรื่อยๆ

 

ความรู้สึกแผ่วๆ คืออะไร ในปฏิจจสมุปบาท

 

ความปรอดโปร่งโล่งสบายใจ ไม่ใช่ภาระหรือครับ

 

ความปรอดโปร่งโล่งสบายใจ มีโทษอย่างไรครับ

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 06 ส.ค. 52 - 10:57


จาก470
ดีใจจังก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว แบบรวมๆคุณระนาดก็มีสติ(ที่รู้สึกแผ่วๆในใจ)ในชีวิตประจำวันไปแบบนี้แหละครับ พอกลางคืนก็ทำสมาธิ ช่วงนี้จิตชอบเดินปัญญามากกว่า เข้าหรือไม่เข้าอัปปนาก็ไม่เป็นไร

แบบละเอียดเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากที่เห็นร่างกายทำงานไป ตอนนี้จะเห็นร่างกายแค่ส่วนเล็กๆ(จิตมันถอยห่างออกมาอีก) คราวนี้พอสติเกิดดับในใจ มีโอกาสที่จะพอใจความสุขนั้น ถ้าชอบก็รู้สึก อย่าปฏิเสธความรู้สึกที่เกิดขึ้นนะครับถ้าชอบให้รู้สึก เฉยๆให้รู้สึก



จาก473
....เสียง กระทบ หู.....กับ.....สุข กระทบ ใจ.....

.....มันต่างกันตรงไหนครับ.....


เสียงกระทบ...หู  เห็นจิตดับลงไป ใจยังไม่ปรุง ก็เห็นกระบวนการทำงานของ รูป นาม

สุขกระทบ...ใจ ใจปรุง ยังไม่รู้ว่าชอบหรือไม่ชอบ สติมาตัดขาดลงไปเลย ตรงนี้ สติรู้ทันกิเลส

ถ้าใจยังไม่ปรุงมันไม่เต็มบรรพ ถ้าฝึกเต็มบรรพ จะได้รู้ทันกิเลส


ความเห็นส่วนตัว
ในแนวปรัชญาอาจจะไม่ต่างกัน

จากที่เห็นมาถ้ากิเลสยังไม่เกิดเห็นจิตดับไปตามอายาตนะก็ไม่มีอะไรแต่ถ้ากิเลสเกิดแล้วมันกลับมากินจิต สติไม่ทัน จิตก็โดนกินไปเรียบร้อยแล้ว ก็เหมือนฝึกไปครึ่งเดียว ยังโดนกินอยู่ดี ฝึกจนชำนาญ ใจไหวสติตัดวับเลย

ตอบโดย: อิธ 06 ส.ค. 52 - 11:45


ภูมิธรรมระดับที่ต้องรู้กิเลส ก็รู้ไปก่อน เดินตามที่พระพุทธสอนไปก่อน


เคยอ่านเจอ มีคนถามหลวงปู่ดูลย์ว่า ท่านโกรธมั้ย ท่านบอกว่า โกรธแต่ไม่เอา

ผู้จบกิจในพุทธที่ยังไม่ทิ้งขันธ์ มีกิเลสมั้ย

ขอเดาเอาว่า มีนะ แต่มันไม่กินจิต

เราเข้าเวปแล้วโดนกิเลสรุมแบบนี้นี่เอง

ผู้ภาวนาคนอื่นๆถึงไม่ค่อยมาตอบกันเลยคงไม่อยากให้กิเลสรุม เร่งภาวนาเอาตัวรอดกันหมดเลย

ถ้ารอดแล้วคงไม่ทิ้งกันนะ...

ตอบโดย: อิธ 06 ส.ค. 52 - 12:16


อ้างอิง (อิธ @ 06 สิ.ค. 52 - 12:16)


ผู้จบกิจในพุทธที่ยังไม่ทิ้งขันธ์ มีกิเลสมั้ย

ขอเดาเอาว่า มีนะ แต่มันไม่กินจิต

 
(อิธ @ 06 สิ.ค. 52 - 12:16)

เหตุใดจึงมั่นใจขนาดนั้นครับ   หลักเกณฑ์ กรอบ หรือ หลักฐานใดหรือ จึงทำให้มั่นใจขนาดนั้นครับ


 

ตอบโดย: น้องบู 06 ส.ค. 52 - 12:28



พอมีเวลาอยู่จึงแวบเข้ามาสนทนากันก่อนนะครับ.


อืม... คุณบุญรักษ์ ถามได้ตรงจริงๆ

และคุณระนาด ต้องไปศึกษาปฏิจสมุทปบาททั้ง 12  แล้วแหละครับ.

และต้องมีสติปัญญาเฉียบคมเป็นปัจจุบันสภาวะนั้นพอประมาณ จึงจะพอตอบคำถามนี้ได้.

 

ตอบโดย: Vicha 06 ส.ค. 52 - 13:27


      ผมขอสนทนาต่อกับคุณ ณวบุตรนะครับ เพราะยังสนทนาไม่จบแต่มีงานเข้าเสียก่อน (ตอนนี้ยังไม่เสร็จ แต่ได้ทำการทดสอบแล้ว น่ากลัวผมต้องรื้อเครื่องคอมอีกหลายเครื่องที่เดียว)

   จากข้อความของคุณณวบุตร

อ้างอิง
อ้อ ลืมบอกไปว่า คราวนี้ผมเริ่มต้นจากการดูลมหายใจก่อนครับ พอสงบดีแล้ว ก็เปลี่ยนไปดูความว่างหรือเปล่าก็ไม่แน่ใจ แต่เป็นการเอาจิตไปไว้ที่ฐานด้านหน้าตรงระหว่างเหนือหัวคิ้วครับ เหมือนให้มันลอยอยู่นิ่งๆ ตรงนั้นครับ เพราะผมรู้สึกตรงส่วนนี้ชัดเจนบ่อยมากๆ อย่างเช่น ขณะนั่งรถเมล์กลับบ้าน ผมจะนั่งหลับตาเข้าสมาธิไปด้วยครับ แรกๆ ก็อยู่ที่ลมหายใจอยู่หรอกครับ แต่พอรถขับเร็วขึ้นหรือส่ายไปมาบ้าง มันก็เปลี่ยนไปรู้ที่ฐานตรงระหว่างคิ้ว ตรงตำแหน่งตาที่สาม แทนครับ แบบนี้เขาเรียกว่าอะไรครับ


      ตอบ โดยปกติอานาปานสติ สติและความรู้สึกจะอยู่ที่บริเวณจมูก  แต่เมื่อรวมเข้าสมาธิ ไม่รับรู้อารมณ์ภายนอก เช่นเสียงหรือสิ่งกระทบทางภาย ไม่สนใจแล้วหรือแผ่วเบามาก จนตัดสภาวะการรู้สึกที่ลมหายใจ (ร่างกายยังหายใจอยู่ แต่สติยังไม่เจริญละเอียดพอ)  มารับรู้ความรู้สึกเสมือนตรงส่วนใดส่วนหนึ่ง เป็นนิมิตขึ้น หรือเป็นจุดหรือเป็นกรอบของความรู้สึก ที่มีความเป็นหนึ่ง มีปิติ มีสุข มีความวางเฉย(อุเบกขา) ผสมประสานอยู่

       ก็ให้มีสติรู้ หรือประกองสติรู้สภาวะนั้น จนเขาคลายไปเอง เมื่อมีความรู้สึกเต็มตัว ก็มามีสติรู้ที่ลมหายใจต่อไปเป็นฐานหลัก.

        หมายเหตุ เมื่อมีความชำนาญในการปฏิบัติ แล้วเข้าสมาธิ ไม่ว่าจะเป็นขณิกะสมาธิอย่างแก่ หรืออุปจารสมาธิ ความรู้สึกจะปรับไปอยู่ในตำแหน่งที่สมดุลย์โดยอัตโนมัติ เป็นหนึ่งขึ้น ที่สมมาตรกับร่างกาย จึงไม่เสมอไปว่าจะต้องอยู่ในตำแหน่งเดิมเมื่ออยู่ในอริยบทต่างกัน ยกเว้นจะจงใจเพ่ง.
          

ตอบโดย: Vicha 06 ส.ค. 52 - 13:50


อ้างอิง (อิธ @ 06 สิ.ค. 52 - 11:45)
แบบรวมๆคุณระนาดก็มีสติ(ที่รู้สึกแผ่วๆในใจ)ในชีวิตประจำวันไปแบบนี้แหละครับ พอกลางคืนก็ทำสมาธิ ช่วงนี้จิตชอบเดินปัญญามากกว่า เข้าหรือไม่เข้าอัปปนาก็ไม่เป็นไร

แบบละเอียดเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากที่เห็นร่างกายทำงานไป ตอนนี้จะเห็นร่างกายแค่ส่วนเล็กๆ(จิตมันถอยห่างออกมาอีก) คราวนี้พอสติเกิดดับในใจ มีโอกาสที่จะพอใจความสุขนั้น ถ้าชอบก็รู้สึก อย่าปฏิเสธความรู้สึกที่เกิดขึ้นนะครับ  ชอบให้รู้สึก เฉยๆให้รู้สึก


ขอบคุณครับคุณอิธ

ผมจะฝึกฝนตามที่คุณบอกแล้วสิ้นเดือนจะไปส่งการบ้านครับ
                  ---------------------------------

ตอนนี้ผมเห็นร่างกายเป็นส่วนที่เล็กลงกว่าเมื่อก่อน  ตามที่คุณบอกจริงๆครับ  ( เมื่อก่อนผมเห็นกายและใจชัดเจนหมดทุกส่วนพร้อมๆกัน )
                    ------------------------------

ทีแรกผมนึกว่าผมภาวนาผิด ( ทำไมเห็นกายไม่ค่อยชัดเท่าเมื่อก่อน ) พอดีคุณอิธเข้ามาบอกว่า  จะเห็นร่างกายเป็นส่วนเล็กๆ

ขอบคุณมากนะครับ


 

ตอบโดย: ระนาด 06 ส.ค. 52 - 14:22


สวัสดีครับ คุณวสวัตตี

  สำหรับข้อความ

อ้างอิง
สำหรับเรื่องบริหารสติและทำอย่างไรกับสมาธินั้นคิดว่าคุณ Vicha คงจะแจกแจงได้


     การบริหารสติ ทุกท่านน่าจะได้ยินได้ฟังและพอปฏิบัติกันบางแล้ว ซึ่งก็คือ การมีสติรู้ตัวทั่วพร้อม แล้วละเอียดในอริยาบทย่อย แล้วระเอียดเข้าไปอีกมีสติเป็นปัจจุบันกับสภาวะที่ปรากฏ หรือผัสสะ กับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ.
     สติเป็นปัจจุบันเจริญว่องไวและเท่าทันกับ สภาวะที่ปรากฏหรือผัสสะที่เกิด ก็เป็นการบริหารที่เจริญขึ้นเท่านั้น

      สำหรับอานาปานสติ หรือวิปัสสนากรรมฐานนั้น สมาธิ ต้องเจริญด้วยสติ คือเมื่อสติเจริญขึ้น สมาธิก็เจริญพัฒนาอย่างเหมาะสม
       ดังนั้น สมาธิ ที่เกิดจากอานาปานสติ จึงเป็นสมาธิที่สมบูรณ์ เพราะมีสติที่สมบูรณ์นั้นเอง เมื่อสติเท่าทันเป็นปัจจุบันขณะกับรูปนามและปัญญาเห็นความไตรลักษณ์ สมาธิ นั้น ก็จะเป็น สัมมาสมาธิ  ครับ.
 
       ข้อสังเกตุ สำหรับผู้ที่ได้สมาธิลึกๆ มาแล้วนะครับ (เน้นๆ สำหรับผู้ได้สมาธิ)

           ข้อที่ 1. ถ้าเราพัฒนาปฏิบัติสติเป็นปัจจุบันขณะตลอด เมื่อจิตรวมเข้าสมาธิเป็นหนึ่งแล้วก็ยังเหมือนมีสติรู้ติดตามไปโดยตลอด แล้วค่อยถอนออกมาอย่างมีสติรู้ค่อยๆ ถอนออก
             แต่ถ้าผู้ปฏิบัติจนผ่านสภาวะ การเกิดดับ มาแล้วจนชำนาญ แล้วพัฒนาปฏิบัติสติเป็นปัจจุบันขณะตลอด เมื่อจิตรวมเข้าสมาธิเป็นหนึ่งแล้วก็ยังเหมือนมีสติรู้ติดตามไปโดยตลอด พอถึงจุดหนึ่งก็จะหยุดนิ่งแล้วดับทันที่ให้เห็น ถอนออกมาเป็นปกติ.
                             
            ข้อที่ 2. ถ้าผู้ได้สมาธิโดยขาดการพัฒนาสติให้เจริญ หรือเคยได้สมาธิจากอานาปานสติแต่ก่อนหน้านั้นไม่ได้พัฒนาเจริญสติอย่างดี เมื่อจิตรวมเข้าสมาธิเป็นหนึ่งเสมือนรู้สภาวะนั้นแต่ไม่มีสติติดตามชัด แล้วค่อยๆ ถอนออกมาตามลำดับ
             แต่ถ้าเป็นผู้มีสมาธิดีและเป็นอัปปนาสมาธิ แต่ไม่พัฒนาสติมาอย่างดีก่อน  เมื่อจิตรวมเข้าสมาธิเป็นหนึ่งเสมือนรู้สภาวะนั้นแต่ไม่มีสติติดตามชัด เมื่อถึงจุดหนึ่ง เสมือนสภาวะโดนบล็อกแน่นิ่งหยุดไปขณะหนึ่งหรือช่วงหนึ่ง แล้วถอนกลับมารู้สึกทั่วตัว

       

ตอบโดย: Vicha 06 ส.ค. 52 - 14:30


อ้างอิง (บุญรักษ์ @ 06 สิ.ค. 52 - 10:57)



ความรู้สึกแผ่วๆ คืออะไร ในปฏิจจสมุปบาท

 

ความปรอดโปร่งโล่งสบายใจ ไม่ใช่ภาระหรือครับ

 

ความปรอดโปร่งโล่งสบายใจ มีโทษอย่างไรครับ

 



ความปลอดโปร่งโล่งสบายใจที่ผมกล่าวถึงไม่ได้เป็นภาระเหมือนกับความสุขในชีวิตประจำวัน    เพราะว่า  ความสุข 2 อย่างนี้มีที่มาที่ไปต่างกันมากๆ  คือ.....


กลไกของการมีความสุขในชีวิตประจำวัน  ...

            เวลามีสิ่งที่ถูกใจมากระทบ.....มีความรู้สึกแผ่วๆเบาๆเกิดขึ้นมา.....เราจับความรู้สึกที่แผ่วเบานี้ไว้....ความรู้สึกที่แผ่วเบาจึงเติบโตขึ้นมาจนเรารู้ว่า  .........นี่คือความสุข
                 ------------------------------------

กลไกของความปลอดโปร่งโล่งสบายใจ.....

             เวลามีสิ่งมากระทบ ( ถูกใจหรือไม่ถูกใจก็ได้ ).........มีความรู้สึกแผ่วๆเบาๆเกิดขึ้นมา........เราไม่จับความรู้สึกที่แผ่วเบานี้ไว้.........ความรู้สึกที่แผ่วเบาจึงค่อยๆดับไปเอง........

การที่เราไม่จับความรู้สึกที่แผ่วๆเบาๆนี้  ทำให้ความรู้สึกแผ่วๆเบาๆไม่เติบโตขึ้นมา  จึงทำให้ไม่เป็นภาระ  จึงมีความปลอดโปร่งโล่งสบายใจครับ

                ฉะนั้น  ความปลอดโปร่งโล่งสบายใจจึงไม่ใช่เป็นภาระเหมือนกับความสุขในชีวิตประจำวันครับ
                        ---------------------------------

ความรู้สึกที่แผ่วๆเบาๆคืออะไรในปฏิจจสมุปบาท  และ  มีโทษอย่างไร.... 2 ข้อนี้ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ
                 ------------------------------

กลไกของการเกิดความสุขในชีวิตประจำวัน  และกลไกของการเห็นความปลอดโปร่งโล่งสบายใจ  ผมไม่ได้เอามาจากการอ่านหนังสือ  แต่ผมได้มาจากการนั่งสมาธิ  แล้วเห็นความซาบซ่าน - เห็นลมหายใจ - เห็นความคิด... ดับลงไปเหลือแต่ความปลอดโปร่งโล่งสบายใจ

แล้วอีกสักพัก  ผมก็เห็นความคิด - เห็นลมหายใจ - เห็นความซาบซ่าน  ค่อยๆเกิดขึ้นมา

แล้วอีกสักพัก  ผมก็เห็นความซาบซ่าน - เห็นลมหายใจ - เห็นความคิด  ดับลงเหลือเเต่ความปลอดโปร่งโล่งสบายใจ  วนเวียนกันแบบนี้ครับ  ( ผมเคยเล่ารายละเอียดไปแล้วในความเห็นที่ 405 และ 406 )

                   ---------------------------

ผมมีความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติของผมเอง  ส่วนการเรียกชื่อในตำรา และความรู้ในตำรา ผมไม่มีครับ  แหะ  แหะ    
 

ตอบโดย: ระนาด 06 ส.ค. 52 - 14:46


อ้างอิง (ระนาด @ 06 สิ.ค. 52 - 14:46)
ความรู้สึกที่แผ่วๆเบาๆคืออะไรในปฏิจจสมุปบาท  และ  มีโทษอย่างไร.... 2 ข้อนี้ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ

 

ในที่สุด คุณระนาดก็จะทราบได้ครับ

 

เจริญในธรรมครับ

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 06 ส.ค. 52 - 15:12


เพื่อไม่ให้เพื่อนๆที่เข้ามาอ่านเกิดความสับสน  คำว่า  เราจับความรู้สึกแผ่วๆ  กับ  เราไม่จับความรู้สึกแผ่วๆ  ...... ที่ผมกล่าวถึงในความเห็น 488 หมายความว่า

เราจับความรู้สึกแผ่วๆคือ  ... เมื่อรู้ความรู้สึกแผ่วๆนั้นแล้ว  เราปรุงแต่งตาม หรือ เราไหลตามความรู้สึกนั้น ( รู้แล้วปรุงแต่ง )

เราไม่จับความรู้สึกแผ่วๆคือ ...  เมื่อรู้ความรู้สึกแผ่วๆนั้นแล้ว  เราไม่ปรุงแต่งหรือเราไม่ไหลตามความรู้สึกนั้น ( รู้แล้วไม่ปรุงแต่ง )

                       -----------------------------------
                   
เวลาเจริญสติที่เป็นการปฏิบัติจริงของผมเอง   ผมรู้สึกแค่ " จับ " หรือ " ไม่จับความรู้สึก " ฉะนั้นเวลาอธิบาย  ผมจึงใช้ถ้อยคำที่ตรงกับการปฏิบัติที่แท้จริงของผมครับ  แต่ในตำราท่านใช้คำว่า " ปรุงแต่ง "  ท่านไม่ใช้คำว่า  จับหรือไม่จับความรู้สึก
 

ตอบโดย: ระนาด 06 ส.ค. 52 - 15:20


อ้างอิง (บุญรักษ์ @ 06 สิ.ค. 52 - 15:12)
อ้างอิง (ระนาด @ 06 สิ.ค. 52 - 14:46)
ความรู้สึกที่แผ่วๆเบาๆคืออะไรในปฏิจจสมุปบาท  และ  มีโทษอย่างไร.... 2 ข้อนี้ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ



ในที่สุด คุณระนาดก็จะทราบได้ครับ

 

เจริญในธรรมครับ

 


ตรงนี้ก็ต้องรอเพื่อนๆที่เก่งตำราเข้ามาบอกครับ


เรื่องตำราผมขอยอมแพ้    แค่ผมเห็นหนังสือปฏิจจสมุปบาท  ยังไม่ทันจะเปิดอ่านผมก็ง่วงนอนทันทีเลยครับ

  แฮ่  แฮ่      

ตอบโดย: ระนาด 06 ส.ค. 52 - 15:46


ขอบพระคุณมากครับ คุณVicha

และรบกวนปรึกษาอีกนิดครับ คือตอนนี้ผมมองเห็นการเต้นของหัวใจควบคู่ไปกับลมหายใจครับ ทั้งๆ ที่ผมไม่ได้เพ่งหรืออะไรเลยครับ มันเป็นไปเหมือนกับเป็นปกติเลยครับ อย่างตอนที่ผมเดินไปไหนมาไหนผมก็จะมองเห็นการเต้นของหัวใจ, ลมหายใจเข้าออก และการก้าวไปของเท้า พร้อมๆ กันครับ อย่างเวลานั่ง ผมก็จะมองเห็นหัวใจเต้น เห็นลมหายใจ และรู้สัมผัสที่ก้น พร้อมๆ กันครับ แบบนี้เขาเรียกว่าอะไรครับ และผมต้องทำอย่างไรบ้างกับสิ่งนี้ ใช่ สติเกินหรือเปล่าครับ

ตอบโดย: ณวบุตร 06 ส.ค. 52 - 18:20


สวัสดีครับ คุณณวบุตร.

    ดีแล้วครับ สติมาอยู่กับกายและใจได้ชัดขึ้น ไม่กระจายไปข้างนอกมากแล้ว.

    สติดีขึ้นแต่ยังไม่ละเอียด  ถ้าจะให้สติละเอียดต้องสังเกตุ

    เพราะตามหลักแล้ว จิตขณะหนึ่งนั้นสามารถรับรู้อารมณ์ได้เพียงอย่างเดียว.

    ต่อไปก็ใช้การสังเกตุ ก็จะเกิดสติปัญญาเท่าทันเป็นปัจจุบันในสิ่งที่เราเข้าใจว่าพร้อมกันนั้น มันพร้อมกันจริงหรือเปล่า?...

      แค่นี้เองสำหรับคืนนี้ ถ้าเกิดผลอย่างไร ก็คุยกันต่อวันพรุ้งนี้ นะครับ.


 

ตอบโดย: Vicha 06 ส.ค. 52 - 21:11


ตอบ 483 ผมตอบด้วยกิเลสอย่างหยาบ ขอโทษด้วยครับ

อ่านทวนแล้ว คำว่าเดา มันไม่น่าจะแปลว่ามั่นใจ ถ้าเห็นไม่สมควรช่วยแจ้งลบด้วยครับ

ที่สำคัญมันไม่เกี่ยวกับหัวข้อกระทู้ด้วยครับ ผมตอบผิดไปแล้ว อย่าถือโทษกันเลยครับ


คุณ ณวบุตร ลองให้คุณระนาดช่วยตอบ เพิ่งผ่านสภาวะนี้ไปไม่ถึงเดือนเลย อาจจะเป็นแนวทางได้ครับ ไม่รู้สภาวะจะเห็นคล้ายๆกันหรือเปล่า ลองดูครับ

ตอบโดย: อิธ 06 ส.ค. 52 - 22:36


คุณระนาดกำลังสร้าง...ภพ...ติดอยู่ในภพที่ตนเองสร้าง

ผิดถูกอย่างๆไรกราบขออโหสิกรรมด้วยนะคะ

ตอบโดย: สายศีล 07 ส.ค. 52 - 03:40


เรียนคุณณวบุตร

จาก คห 492 น่าจะเกิดจากสติยังพัฒนาขึ้นมาไม่เท่าเทียมกับสมาธิ
ลองหาอ่านเรื่อง พละ 5 หรือ อินทรีย์ 5 ดูค่ะ

อีกความเป็นไปได้คือ ไปเพ่งเอาไว้  แม้ว่าใจเราจะว่าไม่เพ่งก็ตาม
แต่ถ้าสมาธิล้ำเกินสติอยู่นั้น  อาจเ่พ่งได้โดยไม่รู้ตัว  แต่เวลาถามกันอย่างนี้
ก็ว่าไม่เพ่ง  ถ้ามีสติพอดีๆ จริง   จะเห็นทีละอย่างเรียงกัน

อีกประการหนึ่ง การเห็นสภาวะแบบเดิมๆ หลายๆ ครั้ง เช่น เห็นหัวใจเต้นพร้อมเห็นลม
พร้อมรับรู้ความรู้สึกที่กาย  แม้จะยืนจะนั่งก็เห็นแบบเดิม  ส่วนมากจะผู้ปฏิบัติ
จะไปเพ่งไว้  เมื่อภาวนาจึงไปตรงจุดๆ นั้นเสมอๆ  ภาวะนี้เกิดได้เมื่อเราภาวนาแล้ว
เจอสภาวะอะไรที่ไม่เคยพบมาก่อน  ก็มักจะไปติดอยู่  แบบว่าชอบขอดูบ่อยๆ ว่างั้นเหอะ
ให้ค่อยๆ สังเกตไปค่ะ  ถ้าเห็นว่าติดอยู่ ก็จะปล่อยไปได้
(ถ้าเจอคนแนะนำแบบเฉียบขาด เค้าจะว่า ให้ิ่ทิ้งไป อย่าไปเพ่ง  แต่เวลาทำจริง
แล้วแต่ความเด็ดเดี่ยวของแต่ละคนค่ะ  บางทีเรายังทิ้งไม่ได้ เพราะใจมันไม่ยอมรับ)

อยากจะเรียนเพิ่มเติมว่า  จิตนั้นเกิดดับรวดเร็ว  หนึ่งขณะที่เรารู้ (มีสติ) นั้น
ทางอภิธรรมว่า จิตเกิดดับไปแล้ว 7 ขณะ  แล้วตอนที่เราไม่มีสติน่ะ
เกิดดับไปเท่าไหร่  นับกันไม่ถ้วน  ทีนี้เวลาเราว่า เราไม่ได้เพ่งน่ะ
อาจจะไม่จริงก็ได้  พูดกันแบบเข้าใจง่ายๆ ก็คือ ที่เราว่าเราไ่ม่ได้เพ่งน่ะ
เราตอบแบบที่เรารู้สึก  แต่จิตนั้นแอบสร้างภพของการเพ่งไปแล้วแบบนั้นก็มีบ่อยๆ
จิตนั้นสร้างภพตลอดเวลา  เพียงแต่ว่าเราเห็นหรือไม่เห็นเท่านั้นเอง

แต่ไม่ต้องไปเพ่ง ไปตั้งใจ จะใ้ห้เห็นทุกขณะจิตนะคะ  อันนั้นไม่ใช่วิสัยที่จะทำได้ค่ะ
แค่คอยตามรู้ตามดูอย่างที่ทำอยู่นี่แหละ  พอสติเจริญขึ้น สมาธิพอเหมาะ ปัญญาก็ย่อมเกิด
พอภาวนาไปมากๆ  สติสมาธิปัญญาก็จะค่อยๆ ละเอียดไปเป็นลำดับ  พอจิตไปติด
ภพเล็กภพน้อย  ติดกิเลสละเอียดๆ  ต่อไปก็จะค่อยๆ แก้ไขตนเองไปได้ค่ะ

ของอย่างนี้ละเอียด  บางทีต้องช่างสังเกตจริงๆ ค่ะ  แล้วก็ถ้าสังเกตพบแล้วต้อง
ยอมรับความจริงด้วย  ถ้าไม่ยอมรับความจริง  จะไม่เกิดการแก้ไขค่ะ

ช่วงนี้อาจจะลองปรับเจริญสติเพิ่มขึ้นหน่อย  อาจจะเดินจงกรมให้นานกว่า่นั่งสมาธิ
เช่นเดินหนึ่งชั่วโมง  นั่งครึ่งชั่วโมง  แล้วก็อย่าลืมการเจริญสติระหว่างวันค่ะ    

ตอบโดย: อัญญาสิ 07 ส.ค. 52 - 06:04


หึหึ พอจะเข้าใจลางๆ ว่าที่คุณบุญรักษ์ถาม คืออะไร  แต่ไม่บอกดีกว่า
ของอย่างนี้ต้องรอให้เจอเองค่ะ

เพิ่มเติมจาก คห ที่ตัวเองตอบไปอันก่อนนะคะ พอดีเพิ่งนึกออก

ที่คาดว่าคุณณวบุตรอาจจะเพ่ง  เนื่องจากเห็นสภาวะิเดิมซ้ำๆ
ทั้งนี้เพราะความจริงของสภาวะทั้งหลาย คือ เกิดแล้วก็ดับไป
แล้วปัจจุบันขณะนั้น จริงๆ สั้นนิดเดียว  การที่เห็นสิ่งใดซ้ำๆ
ส่วนมากมักจะเผลอเพ่ง  ทำให้รู้สึกเหมือนมันคงที่อยู่ค่ะ
 

ตอบโดย: อัญญาสิ 07 ส.ค. 52 - 06:22


อ้างอิง (สายศีล @ 07 สิ.ค. 52 - 03:40)
คุณระนาดกำลังสร้าง...ภพ...ติดอยู่ในภพที่ตนเองสร้าง




พี่สายฯครับ  ผมขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้ไหมครับ

คือว่า ........ ภพ...มันเกิดขึ้นมาเอง แม้ว่าเราจะไม่ภาวนา  มันก็มีของมันอยู่แล้ว

แล้วเราภาวนาเพื่อ เข้าไปรู้  เข้าไปเห็น...ไม่ใช่หรือครับ

เมื่อเราเข้าไปรู้  เข้าไปเห็น  มันก็จะละวางของมันเอง  ไม่ใช่เราเป็นผู้ละวาง  ถ้าเราพยายามละวาง  ตรงนี้แหละเรียกว่าเราติดอยู่ในภพที่เราเข้าไปรู้เข้าไปเห็น
              ------------------------------------

ผมอ่านคำทักท้วงของพี่สายฯแล้วผมไม่เข้าใจว่า  ผมสร้างภพได้อย่างไรครับ  การภาวนาที่เห็นความซาบซ่านเกิดขึ้น  แล้วมีความสุขเกิดขึ้น    ต่อมา....ผมเห็นความซาบซ่านดับไป   เห็นความรู้สึกว่าร่างกายกำลังหายใจอยู่ดับไป   เห็นความคิดดับไป   เหลืออยู่แต่ความสุข   ตรงนี้ผมสร้างมันขึ้นมาเองหรือครับ  ถ้าภาวนาแบบไม่ให้มีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น  ผมต้องภาวนาอย่างไรครับ ( ถ้ามันจะเป็นแบบนี้  ก็ต้องเป็นแบบนี้  ถ้ามันไม่เป็นแบบนี้   มันก็ไม่เป็น  ผมเข้าไปรู้  เข้าไปเห็น  แล้วเอามาบอกครับ )

ถ้าผมภาวนาผิดตรงไหนก็ช่วยบอกผมด้วยครับ  ผมยินดีเสมอ

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ    
 

ตอบโดย: ระนาด 07 ส.ค. 52 - 07:45


อ้างอิง (ณวบุตร @ 06 สิ.ค. 52 - 18:20)

และรบกวนปรึกษาอีกนิดครับ คือตอนนี้ผมมองเห็นการเต้นของหัวใจควบคู่ไปกับลมหายใจครับ ทั้งๆ ที่ผมไม่ได้เพ่งหรืออะไรเลยครับ มันเป็นไปเหมือนกับเป็นปกติเลยครับ อย่างตอนที่ผมเดินไปไหนมาไหนผมก็จะมองเห็นการเต้นของหัวใจ, ลมหายใจเข้าออก และการก้าวไปของเท้า พร้อมๆ กันครับ อย่างเวลานั่ง ผมก็จะมองเห็นหัวใจเต้น เห็นลมหายใจ และรู้สัมผัสที่ก้น พร้อมๆ กันครับ


ขณะที่คุณเห็นการเต้นของหัวใจ  เห็นลมเข้าออก  และรู้สึกได้ถึงการก้าวเท้าเวลาเดิน หรือ รู้สัมผัสที่ก้นเวลานั่ง......  แล้วคุณก็รู้อารมณ์ในใจไปพร้อมๆกัน...ใช่ไหมครับ

ถ้าใช่.........หมายความว่า  คุณเห็นด้วยกำลังของสมาธิ

ถ้าคุณใช้สมาธิดูความรู้สึก   คุณจะเห็นชัดเจนหมดเลย  คือว่าคุณจะเห็นทุกอย่างได้พร้อมๆกัน และ เห็นแยกกันเป็นส่วนๆได้  ในเวลาเดียวกัน

  ขณะที่คุณเห็นทุกๆอย่างพร้อมๆกันนั้น  มันโล่ง  มันโปร่ง  มันกว้างขวางไปหมดเลย  เบาสบายใจดีมาก  แต่ว่ามันชัดเจนเกินความเป็นจริง

ถ้าคุณดูด้วยสติ  คุณจะเห็นความรู้สึกต่างๆ    แบบเหลื่อมซ้อนกัน  ไม่ใช่เห็นพร้อมกัน  หมายความว่า  คุณจะเห็นความรู้สึกแต่ละอย่างเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน และดับลงไม่พร้อมกัน  ความรู้สึกอันเก่าไม่ทันจะดับสนิท  ความรู้สึกอันใหม่ก็เกิดขึ้นมาแล้ว
                   ------------------------------------

วิธีการดูความรู้สึกด้วยสติ  เปรียบเทียบว่า  เวลาคุณวางกุญแจบ้าน  แล้วคุณลืมไปว่าคุณวางไว้ตรงไหน  เวลาคุณตั้งใจนึก  คุณจะนึกไม่ออกใช่ไหม  เวลาคุณลืมๆ  หรือ  ทำอย่างอื่นๆไปเรื่อยๆ  แล้วมันก็ผุดขึ้นมาเองว่า   ตะกี้ลืมกุญแจตรงไหน........ ให้คุณดูความรู้สึกไปแบบนี้แหละครับ

 คุณไม่ต้องกลัวว่าจะเห็นความรู้สึกได้ไม่ชัด  เพราะว่า  ถ้าดูด้วยกำลังของสติ ( สติไม่ใช่สมาธิ )  มันจะเห็นความรู้สึกได้ไม่ชัดเจนนัก    แต่จะเห็นแบบแผ่วๆเบาๆผุดขึ้นมาแล้วค่อยๆดับไป  คุณจะเห็นแบบสบายๆเป็นธรรมชาติ   คือว่า  มันจะไม่เห็นแบบแข็งๆชัดๆ  เหมือนกับการดูด้วยสมาธิ  และการดูด้วยสติ  มันไม่เป็นภาระแก่เราเหมือนดูด้วยสมาธิครับ
                ---------------------------------

  สมาธิเราฝึกขึ้นมาเพื่อประโยชน์ว่า  เวลาเราเดิน  เราจะรู้สึกว่าร่างกายเขาเดินเอง ( ไม่ใช่เราเดิน )  แต่ถ้าไม่มีกำลังสมาธิมาช่วย   เวลาเราเดิน  เราจะเห็นว่าเราเดิน

เวลาดูความรู้สึก   เราไม่ใช่สมาธิดู  แต่เราใช้สติดูครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 07 ส.ค. 52 - 08:30


อ้างอิง (อิธ @ 06 สิ.ค. 52 - 22:36)


ที่สำคัญมันไม่เกี่ยวกับหัวข้อกระทู้ด้วยครับ ผมตอบผิดไปแล้ว อย่าถือโทษกันเลยครับ




ขอชี้แจงอย่างนี้นะครับ คุณอิธ

เหตุที่ผมได้ถามไปแบบนั้น  เพราะว่าผมกำลังสนใจหัวข้อตรงนี้อยู่ และเป็นเรื่องที่คาใจผมอยู่บ้างเหมือนกัน    ผมจึงได้ถามว่าเหตุใดคุณอิธจึงคิดแบบนั้น  เพื่อจะได้นำมาเทียบเคียงกับความเห็นที่อยู่ในใจผม ความสงสัยที่อยู่ในใจผม


ด้วยเหตุที่การพิจารณาผมยังไม่แยบคายพอ จึงต้องการอาศัยเหตุผล และปัญญาของผู้อื่นมาช่วยในการพิจารณาของผมเท่านั้นเองครับ


แน่นอนครับ สิ่งทั้งหลายเป็นการคาดเดา  เพราะหากเป็นการเห็นจริงแล้ว คุณอิธคงจะไม่ใช้คำว่าคาดเดาเป็นแน่

แค่ต้องการฟังความเห็นเท่านั้นเองครับ คำของครูบาอาจารย์นั้นผมเคารพเสมอครับ แต่ผมไม่เคยยึดถือเลย  และคำของครูบาอาจารย์นั้นก็ช่วยให้ผมพัฒนาธรรมมามากต่อมากแล้ว  แต่คำใดที่ผมยังตีได้ไม่แตก ยังมีข้อสงสัยอยู่ ผมก็จะอยู่ตรงกลางระหว่าง  จริงหรือไม่จริง จนกว่าจิตจะเข้าไปรู้แจ้งเองเท่านั้นครับ  เพราะจิตที่รู้แจ้งด้วยจิตเองเท่านั้นจึงจะตัดสงสัยได้เด็ดขาดครับ

จึงขอชี้แจงเพื่อให้คุณอิธเกิดเข้าใจ ว่าเหตุใดผมจึงถามครับ

ตอบโดย: น้องบู 07 ส.ค. 52 - 10:08


ขอบพระคุณครับ คุณอัญญาสิ,คุณVicha, คุณระนาด, คุณอิธ, คุณน้องบู ครับ

แต่เมื่อคืนนี้ผมเหลวไหลครับ คือสวดมนต์เสร็จก็นั่งสมาธิครับ แต่ไม่มีสมาธิเลย นั่งไปได้สักพักหนึ่งก็เลิกครับ แต่ก็ไม่ได้เครียดหรือโมโหอะไรนะครับ เพราะรู้อยู่ว่าไม่มีสมาธิ ก็เลยนอนครับ แหะๆๆๆ

เช้านี้ก็เลยไปค้นหาธรรมะเรื่อง อินทรีย์ ๕ และพละ ๕ อย่างละเอียดมาอ่านครับ เลยไปโหลดเอาบทธรรมเทศนาเรื่องการปฏิบัติอบรมจิตของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร มาแล้วครับ จะเอาไปอ่านคืนนี้ครับ และคาดว่าเร็วๆ นี้ผมคงจะปลีกวิเวกสัก 3-4 วัน เพื่อปฏิบัติแบบสงบๆ จริงๆ อีกสักครั้ง เพราะผมนั้นยังอ่อนอยู่มาก เรียกว่ายังต่อสู้กับโลกธรรม ๘ ได้ไม่ดีพอ บางครั้งเลยหลุดไปบ้าง แต่ในเรื่องของการปฏิบัติระหว่างวันนั้นผมไม่มีปัญหาครับ แม้ว่าจะได้ไม่เต้มเม็ดเต็มหน่วยแต่ก็ทำได้ทุกวันครับ เรียกว่าสะสมไปวันละเล็กละน้อยครับ
 

ตอบโดย: ณวบุตร 07 ส.ค. 52 - 12:22


สวัสดีครับคุณ ณวบุตร

     หลักการมีสติ สังเกตุ ไม่จำเป็นต้องนั่งสมาธิ กระทำได้ทุกเวลาครับเมื่อตื่นอยู่ เมื่อมีอะไรกระทบกับกายและใจ เพียงแต่มั่นมีสติอยู่เนื่องๆ โดยไม่ไปปรุงแต่งในสภาวะที่ปรากฏแต่ละครั้งหรือแต่ละขณะนั้นๆ ครับ.

     ก็จะเข้าใจกับ  สติที่ไปรู้ทันสิ่งที่กระทบเกิดสภาวะต่างๆ  กับ สติที่รู้ใจ  ในขณะนั้นๆ แตกต่างกันอย่างไร  เช่น
           รู้ชัดทั้งคู่?
           หรือ รู้อย่างใดอย่างหนึ่งชัด?
           หรือ เมื่อสติไปทันกับสภาวะใด ก็จะรู้สภาวะนั้นชัด ส่วนที่ไม่สนใจหรือสติรู้ไม่ทันสภาวะนั้นก็ไม่ชัด?
   
           ทดลองปฏิบัติดูนะครับ

ตอบโดย: Vicha 07 ส.ค. 52 - 13:33


อ้างอิง (ณวบุตร @ 07 สิ.ค. 52 - 12:22)
ขอบพระคุณครับ คุณอัญญาสิ,คุณVicha, คุณระนาด, คุณอิธ, คุณน้องบู ครับ

แต่เมื่อคืนนี้ผมเหลวไหลครับ คือสวดมนต์เสร็จก็นั่งสมาธิครับ แต่ไม่มีสมาธิเลย นั่งไปได้สักพักหนึ่งก็เลิกครับ แต่ก็ไม่ได้เครียดหรือโมโหอะไรนะครับ เพราะรู้อยู่ว่าไม่มีสมาธิ ก็เลยนอนครับ แหะๆๆๆ



คุณปฏิบัติดีแล้วครับ

เวลานั่งสมาธิ  ไม่จำเป็นว่าจะต้องรู้ความรู้สึกได้เหมือนกันทุกๆวัน

 บางวันเราไม่มีสมาธิก็ได้   ถ้ากายและใจไม่มีสมาธิ  เราจะบังคับให้มีสมาธิได้อย่างไร ..........เราแค่เข้าไป " รู้ " ก็พอแล้วครับ ....  รู้ได้แค่ไหนก็แค่นั้น รู้ชัดก็ได้  รู้ไม่ชัดก็ได้ ......เมื่อรู้อะไรแล้วอย่าพยายามละวางนะครับ   เพราะว่า  เมื่อถึงจุดอิ่มตัว  จิตจะเป็นผู้ละวางเอง  การละวางไม่ใช่หน้าที่ของเรา

สภาวะที่เราเข้าไปรู้เข้าไปเห็น  เช่น  รู้ว่ามีสมาธิ หรือ รู้ว่าไม่มีสมาธิ  ซึ่งจะเป็นสภาวะที่เราสร้างขึ้นมาก็ตาม  หรือเราไม่ได้สร้างขึ้นมาก็ตาม ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ

จุดสำคัญคือ  " รู้ "  เท่านี้พอแล้วครับ ( ถ้าเป็นสภาวะที่เราสร้างมันขึ้นมา  มันจะดับไปเอง หรือ ถ้าไม่ใช่สภาวะที่เราสร้างขึ้นมา  มันก็ดับไปเอง เช่นเดียวกัน )
             ---------------------------------
สาธุกับความเห็นที่502 ของคุณวิชาครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 07 ส.ค. 52 - 15:18


ขอตอบเหมือนคุณอัญญาสิละกันค่ะ ของอย่างนี้ต้องรู้เอง

พี่สายไม่ใช่นักภาวนา ไม่ใช่นักปฎิบัติ ไม่มีความรู้มากพอที่จะแจกแจงอธิบาย

ตราบใดที่ครูบาอาจารย์ยังไม่บอกว่า เอาตัวรอดได้แล้ว ก็ยังถือว่าเป็นผู้ต้องเดินทาง
ต้องค้นหาคำตอบของธรรมต่อไป

สงสัยให้รู้ว่าสงสัย  งงให้รู้ว่างง อยากรู้ให้รู้ว่าอยากรู้      

ตอบโดย: สายศีล 08 ส.ค. 52 - 01:02


อ้างอิง (สายศีล @ 08 สิ.ค. 52 - 01:02)
ขอตอบเหมือนคุณอัญญาสิละกันค่ะ ของอย่างนี้ต้องรู้เอง

พี่สายไม่ใช่นักภาวนา ไม่ใช่นักปฎิบัติ ไม่มีความรู้มากพอที่จะแจกแจงอธิบาย

ตราบใดที่ครูบาอาจารย์ยังไม่บอกว่า เอาตัวรอดได้แล้ว ก็ยังถือว่าเป็นผู้ต้องเดินทาง
ต้องค้นหาคำตอบของธรรมต่อไป 

สงสัยให้รู้ว่าสงสัย  งงให้รู้ว่างง อยากรู้ให้รู้ว่าอยากรู้     


สวัสดีครับพี่สายฯ

คือว่าที่พวกเราคุยๆกันอยู่นี้  ก็เรียกว่ายังไม่มีใครเอาตัวรอดได้  เพราะฉะนั้น  ถ้ามีอะไรพี่ก็ทักท้วงผมได้  และถ้าผมไม่เข้าใจจุดที่พี่ทักท้วง  ผมก็สอบถามพี่ได้   ตรงนี้ผมเห็นว่าเป็นเรื่องปกติของการปฏิบัติครับ  ถ้าหากว่า  ไม่มีการทักท้วง  ไม่มีการสอบถามกัน  แล้วการภาวนาจะก้าวหน้าได้อย่างไร  ใช่ไหมครับ

เพราะฉะนั้น  ถ้าพี่เห็นว่าผมภาวนาออกนอกลู่นอกทางตรงไหนก็แนะนำผมเข้ามาได้ครับ  ( ผมรู้ว่าพี่มีเจตนาดีต่อผม  พี่ไม่ได้เข้ามาคุยทับถม )
                         -----------------------------
  ความเห็นของผมนะ
  
     ผมเห็นว่า " ภพ "  เขามีของเขาอยู่ก่อนแล้ว ผมจะภาวนาหรือไม่ภาวนา  เขามีของเขาอยู่  ซึ่งจะเป็นภพที่ผมสร้างขึ้นมาก็ตาม หรือ เป็นภพที่กายและใจสร้างขึ้นมาก็ตาม  เมื่อผมภาวนาแล้ว ผมจึงเข้าไปรู้  เข้าไปเห็น ตรงนี้ผมต้องเข้าไปสัมผัสกับมันบ่อยๆ  เมื่อเข้าไปรู้เข้าไปเห็นจนจิตเขาอิ่มตัว  เต็มภูมิของจิตแล้ว  จิตเขาจึงจะละวางด้วยตัวของจิตเอง

แต่ว่าถ้าผมพยายามละวาง หรือ พยายามไม่สร้างภพ หรือ  พยายามไม่ปรุงแต่ง  แบบนี้แหละเรียกว่า  ผมหลงเข้าไปยึดมั่นถือมั่นไปแล้ว

อีกอย่างหนึ่ง  ผมเห็นว่าการที่เราจะละวาง สิ่งที่เราเข้าไปรู้เข้าไปเห็นจากการภาวนา   ผมจะละวางตามใจชอบไม่ได้  หน้าที่ในการละวางเป็นของจิต  ผมมีหน้าที่แค่ " รู้ "
         
ถ้าพี่สายเห็นว่าผมเข้าใจผิดตรงไหนก็บอกผมได้นะครับ   และที่ผมสอบถามพี่สายฯในความเห็นข้างบนนั้นไม่ใช่ว่าผมไม่พอใจนะ  แต่ว่าเป็นเรื่องปกติของการปฏิบัติ  ถ้าผมใช้คำไม่เหมาะสม  ผมก็กราบขออภัยพี่ด้วยนะครับ

                  ---------------------------------
สงสัยก็รู้ว่าสงสัย  งงให้รู้ว่างง  อยากรู้ให้รู้ว่าอยาก........ แบบนี้ผมก็ปฏิบัติอยู่เรื่อยๆครับ   แต่ที่ผมเข้ามาคุยกับพี่เช้านี้  เพราะผมเกรงว่า  พี่จะนึกว่าผมไม่พอใจที่พี่ได้ทักท้วงผมน่ะครับ    แหะ  แหะ  แหะ

ถ้าพี่เข้าใจเจตนาของผมแล้ว   ผมก็สบายใจแล้วครับ  พี่จะตอบหรือไม่ตอบคำถามของผม  ก็ไม่ใช่ประเด็นแล้วครับ  ( ปกติผมก็คุยกับเพื่อนๆแบบนี้นะ  )

  แฮ่  แฮ่  แฮ่      
 

ตอบโดย: ระนาด 08 ส.ค. 52 - 07:34


อ้างอิง (ระนาด @ 08 สิ.ค. 52 - 07:34)

 
     ผมเห็นว่า " ภพ "  เขามีของเขาอยู่ก่อนแล้ว ผมจะภาวนาหรือไม่ภาวนา  เขามีของเขาอยู่  ซึ่งจะเป็นภพที่ผมสร้างขึ้นมาก็ตาม หรือ เป็นภพที่กายและใจสร้างขึ้นมาก็ตาม  เมื่อผมภาวนาแล้ว ผมจึงเข้าไปรู้  เข้าไปเห็น ตรงนี้ผมต้องเข้าไปสัมผัสกับมันบ่อยๆ  เมื่อเข้าไปรู้เข้าไปเห็นจนจิตเขาอิ่มตัว  เต็มภูมิของจิตแล้ว  จิตเขาจึงจะละวางด้วยตัวของจิตเอง




ผมขอขยายความตรงนี้อีกหน่อย

เมื่อจิตละวางแล้ว  จิตจะไปยึดกับอีกสิ่งหนึ่ง  ที่อยู่ถัดขึ้นไป  ทวนกระแสของปฏิจจสมุปบาท  ต่อไปเรื่อยๆ

ผมภาวนาตามรู้ไปเรื่อยๆ   ซึ่งผมก็ไม่ได้ปล่อยวางอะไร และ  ผมก็ไม่ได้ห้ามไม่ให้จิตยึดอะไร ( ห้ามมันไม่ได้อยู่แล้ว )

การปฏิบัติจริงๆแล้ว  การภาวนาก็ไม่ได้มีอะไรซับซ้อน  แต่ถ้าอธิบายเป็นถ้อยคำ  จะดูเหมือนว่ามีความซับซ้อนครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 08 ส.ค. 52 - 09:23


อ้างอิง
คือว่าที่พวกเราคุยๆกันอยู่นี้  ก็เรียกว่ายังไม่มีใครเอาตัวรอดได้ 



คนที่กำลังคุยในกระทู้นี้กับคุณ....มีบางคนเอาตัวรอดได้นะแล้วครับ     คุณระนาด
 

แต่เขาไม่ยอมเผยต่างหาก....  



 

ตอบโดย: เปา 08 ส.ค. 52 - 14:38


อ้างอิง
เมื่อคืนนี้  ผมไม่ได้ภาวนาเพราะว่ามีเสียงร้องเพลงจากร้านคาราโอเกะที่อยู่หน้าบ้าน  ส่งเสียงดังรบกวนผม    ซึ่งผมภาวนาท่ามกลางเสียงดังรบกวนแบบนี้  ด้วยความอดทนมานาน 5 ปีแล้ว  บางวันผมก็ทนได้  บางวันผมทนไม่ได้ผมก็ต้องหยุดการภาวนา  เรื่องนี้มันคงจะเป็นวิบากกรรมจากอดีตชาติของผมเอง  เพราะว่าในชาตินี้  ผมไม่เคยทำเสียงดังรบกวนใคร  และผมไม่ร้องเพลง


ผมตั้งใจว่า  คืนไหนที่ร้านคาราโอเกะไม่ส่งเสียงดังรบกวนจนเกินไป   ผมจะนั่งภาวนาโดยตั้งมั่นที่ความสุขความเบาสบาย  แล้วปล่อยให้ความรู้สึกอื่นๆดับไปเอง  ผมคาดว่า เมื่อผมเคยชินกับความสุขความเบาสบายนี้ดีแล้ว  ความสุขจะดับลงไปเอง ( เช่นเดียวกับลมหายใจและความซาบซ่าน ) คงเหลืออยู่แต่อุเบกขา ......... ตอนนี้อุเบกขาเป็นยังไงผมก็ยังไม่รู้  ถ้าผมปฏิบัติได้แล้ว  จะมาเล่าให้ฟังว่า  อาการหลังจากที่ความสุขดับลงไปแล้วมันเป็นยังไง  แล้วตำราใช้สำนวนอย่างไร


อ้างอิง
.....คุณระนาดลำเอียงนี่นา.....

.....เสียง กระทบ หู.....กับ.....สุข กระทบ ใจ.....

.....มันต่างกันตรงไหนครับ.....



ชอบใจก็อยากภาวนา ไม่ชอบใจเสียงดังก็ไม่อยากภาวนา

ผมจะนั่งภาวนาโดยตั้งมั่นที่ความสุขความเบาสบาย

แหะๆๆๆ ติดสุขอยู่หรือเปล่า กำลังสร้างภพอยู่หรือเปล่าคะ  


วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2551(B) ไปฟังซีดีแผ่นที่ 27 นะคะหลวงพ่อพูดเรื่องการสร้างภพไว้ ช่วงต้นๆเลยค่ะ


สำหรับพี่สาย ภาวนาที่ทำในรูปแบบ คือถึงเวลาที่จะต้องทำก็ทำ จัดตารางให้ตัวเอง ตอนเช้าก่อนไปทำงาน จะรู้สึกขยันหรือขี้เกียจ ง่วง เหนื่อย ปวดเมื่อย ฝนจะตกฟ้าจะร้อง สุข ทุกข์ ก็ต้องทำ เพราะรู้ว่าต้องทำด้วยสัจจะวาจาที่ตั้งไว้ ภาวนาแล้ว จะสงบบบ้างนิ่งบ้างฟุ้งบ้าง เป็นเรื่องธรรดา ไม่มีคำว่าวันนี้ภาวนาดี วันนี้ภาวนาไม่ดี  มีแต่เห็นสภาวะที่เกิดขึ้น ทางกายบ้าง ทางใจ บ้างไปตามเรื่องตามราวของเค้าค่ะ  ไม่ได้ทำอะไร วิ่งจงกรม วิ่งไปก็รู้กายรู้ใจไป  นั่งสมาธิ หลับตาบ้าง ไม่หลับบ้าง แต่ส่วนมากก็จะค่อยๆหลับตาลงไปเองเพราะแสบตา เหมือนเราเปิดตาอยู่นานๆ แล้วลมมันเข้าตา หลับตาลงก็จะรู้สึกผ่อนคลายแล้วสบายตา ซึ่งนั้นก็เป็นการทำงานของกายของใจ เค้าอยากหลับตาก็หลับ เค้าอยากลืมตาก็ลืม

การดูจิตในชีวิตประจำวันที่พี่สายทำ ก็ตามรู้กายรู้ใจ ไปอย่างที่เค้าเป็น รู้บ้างเผลอบ้างหลงบ้าง รู้ไปซื่อๆ ไม่ต้องทำอย่างนี้ๆ เพื่อที่จะให้ได้อย่างนั้น แล้วต้องได้อย่างนั้น ถึงจะได้อย่างโน้น

การปฎิบัติของคุณ พี่สายคงไม่สามารถจะแจกแจงได้จริงๆ เพราะทุกสภาวะที่เกิดขึ้น มันรู้ได้เฉพาะตนเท่านั้น ถ้าคุณคิดว่ามาถูกทางแล้วพี่สายก็ขออนุโมทนาด้วยค่ะ

ตอบโดย: สายศีล 08 ส.ค. 52 - 15:06


อ้างอิง (สายศีล @ 08 สิ.ค. 52 - 15:06)
สำหรับพี่สาย ภาวนาที่ทำในรูปแบบ คือถึงเวลาที่จะต้องทำก็ทำ จัดตารางให้ตัวเอง ตอนเช้าก่อนไปทำงาน จะรู้สึกขยันหรือขี้เกียจ ง่วง เหนื่อย ปวดเมื่อย ฝนจะตกฟ้าจะร้อง สุข ทุกข์ ก็ต้องทำ เพราะรู้ว่าต้องทำด้วยสัจจะวาจาที่ตั้งไว้ ภาวนาแล้ว จะสงบบบ้างนิ่งบ้างฟุ้งบ้าง เป็นเรื่องธรรดา ไม่มีคำว่าวันนี้ภาวนาดี วันนี้ภาวนาไม่ดี  มีแต่เห็นสภาวะที่เกิดขึ้น ทางกายบ้าง ทางใจ บ้างไปตามเรื่องตามราวของเค้าค่ะ
(สายศีล @ 08 สิ.ค. 52 - 15:06)

ผมขอขอบพระคุณคุณสายศีลเป็นอย่างสูงครับ เพราะผมนั้นเข้าใจการปฏิบัติได้มากขึ้น ตามอ้างอิงที่ยกมา เพราะผมนั้นบางวันก็ปล่อยปละมากไป อย่างวันที่ต้องวิ่งออกทำงานนอกสถานที่ตลอดวัน ก็จะรู้สึกเหนื่อยและเพลีย เลยนอนขี้เกียจ ตื่นสาย ได้แค่สวดมนต์เช้าระลึกถึงพระรัตนตรัยเท่านั้น ไม่ได้นั่งสมาธิหรือเดินจงกรม ก้อาบน้ำไปทำงาน เรียกว่าไม่ค่อยมีรูปแบบหรือวินัยเท่าที่ควรนั่นเอง ต่อไปผมคงจะต้องเอาแบบอย่างคุณสายศีลบ้างแล้ว จะได้พัฒนาได้เร็วขึ้น

ส่วนในเรื่องของการเจริญสติระหว่างวันนั้นอันนี้ผมถือว่าผมสอบผ่านนะครับ (แม้ว่าจะสอบผ่านแบบเส้นยาแดงผ่าแปดก็ตาม) คือผมจะตามรู้ไปเรื่อยๆ เผลอก็รู้ ไม่พอใจก็รู้ คิดก็รู้ แต่ก็ยังมีอยู่บ้างพอสมควรเหมือนกันที่หลุดไป แต่ก็ไม่นานมากนัก

ผมขอถามเพิ่มเติมสักเล็กน้อยนะครับ ทุกๆ ท่าน ผมอยากรู้เรื่องวิหารธรรม (เครื่องอยู่ของจิต) ครับ อย่างผมอยู่กับการตามรู้สภาวะธรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น อย่างนี้ใช่วิหารธรรมหรือเปล่าครับ ถ้าใช่ แล้วนอกจากนี้ยังมีอะไรอีกบ้างครับ

ตอบโดย: ณวบุตร 08 ส.ค. 52 - 15:38


สวัสดีครับคุณ ณวบุตร

ตรงที่ผมได้สนทนาในส่วนนี้ คุณวบุตร พอได้สังเกตุบางหรือยังครับ


อ้างอิง
สติที่ไปรู้ทันสิ่งที่กระทบเกิดสภาวะต่างๆ  กับ สติที่รู้ใจ  ในขณะนั้นๆ แตกต่างกันอย่างไร  เช่น
           รู้ชัดทั้งคู่?
           หรือ รู้อย่างใดอย่างหนึ่งชัด?
           หรือ เมื่อสติไปทันกับสภาวะใด ก็จะรู้สภาวะนั้นชัด ส่วนที่ไม่สนใจหรือสติรู้ไม่ทันสภาวะนั้นก็ไม่ชัด?


และจากคำถาม วิหารธรรม (เครื่องอยู่ของจิต) ตามที่ผมเข้าใจคือ ฐานหลักของกรรมฐาน หรือสภาวะหรือบริเวณที่ เป็นหลักเป็นที่ตั้ง ในการปฏิบัติกำหนดภาวนา เช่น

    อานาปานสติ  ฐานหลักหรือวิหารธรรม อยู่ที่ลมหายใจที่รู้สึกหรือที่สัมผัสกับกาย

    ยุบหนอ-พองหนอ ฐานหลักหรือวิหารธรรม อยู่ที่ ท้องพอง ท้องยุบ

     พุทธ-โธ  ฐานหลักหรือวิหารธรรมอยู่ที่ คำกำหนดภาวนา พุทธ-โธ กับลมหายใจ - หายใจออก.

      กระสิน  ฐานหลักหรือวิหารธรรม คือรูปกระสิน  แต่เมื่อได้ อุคหนิมิตแล้ว ก็เอาอุคหนิมิตนั้นเป็นวิหารธรรม

       ฯลฯ

จากคำถาม

อ้างอิง
อย่างผมอยู่กับการตามรู้สภาวะธรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น อย่างนี้ใช่วิหารธรรมหรือเปล่าครับ ถ้าใช่


ตอบ   ใช่ครับในช่วงปัจจุบันนี้

 

ตอบโดย: Vicha 08 ส.ค. 52 - 15:57


อ้างอิง (สายศีล @ 08 สิ.ค. 52 - 15:06)


ชอบใจก็อยากภาวนา ไม่ชอบใจเสียงดังก็ไม่อยากภาวนา

ผมจะนั่งภาวนาโดยตั้งมั่นที่ความสุขความเบาสบาย

แหะๆๆๆ ติดสุขอยู่หรือเปล่า กำลังสร้างภพอยู่หรือเปล่าคะ  


อ๋อ..........ผมเข้าใจละ        5 5 5
 
พี่สายฯวิเคราะห์การภาวนาของผม  โดยการตีความหมายจากข้อความของผมนี่เอง  หุ หุ หุ

สภาวะของการภาวนามันอธิบายลำบากตรงนี้แหละ  คนที่เข้ามาอ่านต่างก็ตีความหมายไปตามจริตของตน  ซึ่งผมก็ไม่รู้จะใช้ถ้อยคำมาอธิบายอย่างไร  คนอ่านจึงจะเข้าใจสภาวะที่ผมต้องการสื่อสารได้ตามความเป็นจริง

ถ้าพี่สายฯ ได้มาอยู่ที่บ้านผม  ได้มาฟังเสียงเพลงคาราโอเกะทุกๆวัน  สัก 4 - 5 ปีแบบที่ผมได้เจอ  พี่ก็จะเข้าใจได้เองว่า  ผมภาวนาอย่างไร  ผมติดสุขหรือไม่ติดสุข   ผมสร้างภพหรือไม่สร้างภพ


ถ้าใครคิดว่า  การภาวนาที่ถูกต้อง  จะต้องสามารถภาวนาได้ทุกสภาวะ ตรงนี้เข้าใจผิดแล้วครับ    ความจริงแล้ว  กายและใจจะทนเสียงดังๆที่มารบกวนได้ไม่เท่ากันในแต่ละวัน  บางวันจะทนได้ดี  แต่บางวันไม่สามารถทนได้เลย  ซึ่งตรงนี้ผมจะต้องสังเกตุแล้วรู้ไปตามความเป็นจริงว่า  วันนี้กายและใจทนไหวหรือไม่ไหว   ไม่ใช่ทนเสียงดังไม่ไหวแต่พยายามบอกกับตัวเองว่า ........ จะต้องทนให้ได้เพราะว่าไม่อยากจะติดสุขในการภาวนา....หุ หุ หุ


บางวันมีเสียงดังรบกวน  กายและใจสามารถภาวนาได้ดี  แต่อีกวันหนึ่ง  มีเสียงรบกวนดังเท่าเดิม   แต่กลับไม่สามารถภาวนาได้   อย่างนี้ก็มีบ่อยๆจนเป็นเรื่องปกติ   ซึ่งผมต้องหมั่นตามรู้ไปทีละวัน  ทีละวัน   ซึ่งมันไม่มีมาตรฐานอะไรเลยครับ


     เวลามีเสียงเพลงที่น่ารำคาญ  กายและใจมีปฏิกิริยาอย่างไร  กายและใจจะทนเสียงดังไหวหรือไม่ไหว   จะภาวนาได้หรือไม่ได้   ตรงนี้ผมมีความชำนาญมากๆเลยครับ  ซึ่งผมจะต้องดูไปเป็นวันๆ   เพราะว่าแต่ละวันจะไม่เท่ากัน  ตรงนี้ผมบังคับกายและใจไม่ได้เลย  เขาจะแสดงความไม่มีเจ้าของออกมาอย่างชัดเจนเลย  เป็นอนัตตาจริงๆเลย


    สภาวะในกายและในใจขณะที่ฟังเสียงเพลงดังๆติดต่อกันทุกๆวันนานหลายๆปีเป็นอย่างไร   อาการอนัตตาเป็นอย่างไร  ก็ต้องเป็นคนที่มีร้านคาราโอเกะอยู่หน้าบ้านเท่านั้น  จึงจะเข้าใจครับ


ผมดีใจที่ได้คุยกับพี่สายฯครับ

  ฮี่  ฮี่  ฮี่      

ตอบโดย: ระนาด 08 ส.ค. 52 - 18:52


อ้างอิง (เปา @ 08 สิ.ค. 52 - 14:38)
อ้างอิง
คือว่าที่พวกเราคุยๆกันอยู่นี้  ก็เรียกว่ายังไม่มีใครเอาตัวรอดได้  



คนที่กำลังคุยในกระทู้นี้กับคุณ....มีบางคนเอาตัวรอดได้นะแล้วครับ     คุณระนาด
 

แต่เขาไม่ยอมเผยต่างหาก....  
(เปา @ 08 สิ.ค. 52 - 14:38)


ขออนุโมทนาด้วยครับ

        

ตอบโดย: ระนาด 08 ส.ค. 52 - 19:27


อ้างอิง (เปา @ 08 ส.ค. 52 - 14:38)

สวัสดีค่ะ คุณเปา  ขอทักทายหน่อยค่ะ  นึกว่าไม่ค่อยได้เข้ามาแล้วเสียอีก
เห็นหายไปนานเลย  สบายดีนะคะ    

ตอบโดย: อัญญาสิ 08 ส.ค. 52 - 20:40


เรียนคุณณวบุตร

วิหารธรรม หรือ เครื่องให้จิตอยู่  เสมือนเป็นบ้านของจิตน่ะค่ะ
โดยเราให้จิตนั้นผูกอยู่กับวิหารธรรมอะไรสักอย่างหนึ่ง   อาจจะเป็น
ลมหายใจ  พุธโธ   อิริยาบทของกาย  การขยับนิ้ว  ท้องพองยุบ
โดยให้เป็นกรรมฐานที่เนื่องอยู่กับกายกับใจ  จะเลือกอันไหนแล้วแต่
ความชอบ  หรืออาจจะทำผสมกันก็ได้แล้วแต่ว่าตอนนั้นจิตชอบอะไร

ทีนี้พอเรามีบ้้านให้จิตอยู่แล้ว  ก็เหมือนเรามีบ้านอยู่ แต่เราก็ต้องออกไปทำงาน
ไปโน่นไปนี่ หรือ ออกมาดูหน้าบ้านบ้าง  ก็เหมือนเวลาเรามีชีวิตประจำวัน
พอมีอะไรมากระทบ  เราก็ออกไปรู้ไป  พอรู้แล้ว มันผ่านไปแล้ว ก็กลับมาอยู่
กับวิหารธรรม

ที่ให้มีบ้านให้จิตอยู่ เพราะโดยธรรมชาติจิตนั้นจะไหลไปปรุงแต่งเป็นปกติ
ไม่ว่าเราจะรู้หรือไม่รู้  เราจะตามดูหรือไม่  จิตก็ไหลไปอย่างนี้เป็นธรรมดา
แต่ถ้าเราปล่อยใจเราไหลไปเรื่อย  มันก็จะฟุ้งและไม่มีแรง  ทีนี้ก็อาาจจะงงว่า
ถ้าเรามีบ้านให้จิตอยู่จะกลายเป็นเราบังคับจิตหรือเปล่า  เราไม่ได้บังคับนะคะ
ถ้าจิตจะไหลไปฟุ้งซ่าน  ไปนึกคิดปรุงแต่ง  เค้าไปเองอยู่แล้ว  เราบังคับไม่ได้
แล้วเราก็ไม่ได้ไปตรึงจิตไว้กับวิหารธรรมนะคะ   อันนี้ต้องทำความเข้าใจ
ลองนึกภาพเราอยู่บ้านดู  เวลาเราต้องออกจากบ้าน  เราก็ไม่ได้ตรึงตัวเราว่า
ต้องอยู่แต่บ้านห้ามไปไหน  ก็ทำนองเดียวกันค่ะ

เมื่อจิตออกไปทำงาน  คือไปรู้อารมณ์แล้ว  ก็ให้เค้ากลับมาที่บ้าน   ถ้าเราไม่มีบ้านเลย
เอาแต่ตามรู้ตามดูตลอด  จะเกิดอาการหมดแรง  พอหมดแรงก็จะฟุ้งไปได้ง่ายอีก
แต่ถ้าจิตเค้าอยากออกตามรู้ตามดู  ยังไม่อยากเข้าบ้าน  เราก็ไม่ต้องไปบังคับอะไร
ตามดูไป  เพราะในแต่ละช่วงก็จะไม่เหมือนกันค่ะ  ค่อยๆ ดูไปค่ะ  สังเกตไปเรื่อยๆ
จะพอเข้าใจนิสัยจิตของตัวเองได้ดีขึ้นค่ะ    

ตอบโดย: อัญญาสิ 08 ส.ค. 52 - 21:11


ภิกษุ ท.! แม้เราเองก็เหมือนกัน
ในกาลก่อนแต่การตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่
ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรม คืออานาปานสติสมาธินี้ เป็นส่วนมาก.

เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นส่วนมาก กายก็ไม่ลำบาก ตาก็ไม่ลำบาก
และจิตของเราก็หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่มีอุปาทาน.
 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 08 ส.ค. 52 - 21:33


ไม่ยากค่ะ ตั้งใจ ตบๆความคิดมาที่ลมหายใจ เข้า-ออก

ยากค่ะ ถ้าความคิดดันไหลมากเกินกว่าจะสนใจแค่ลมหายใจ

มันยากสำหรับจุฬาภินันท์ค่ะ เพราะเป็นคนสงสัย คิดเยอะ เลยแก้ด้วยเพลงชินบัญชรและพาหุงค่ะ ก็ตบความคิดกลับมาที่เนื้อเพลงได้เป็นส่วน แม้ว่าในหัวยังคงมีเรื่องแทรกเข้ามาบ้าง แต่สติอยู่ที่ความหมายและศักดิ์สิทธิ์ของเพลงค่ะ

ตอบโดย: Chulapinan 09 ส.ค. 52 - 00:39


อ้างอิง (ณวบุตร @ 08 สิ.ค. 52 - 15:38)
ผมนั้นบางวันก็ปล่อยปละมากไป อย่างวันที่ต้องวิ่งออกทำงานนอกสถานที่ตลอดวัน ก็จะรู้สึกเหนื่อยและเพลีย เลยนอนขี้เกียจ ตื่นสาย ได้แค่สวดมนต์เช้าระลึกถึงพระรัตนตรัยเท่านั้น ไม่ได้นั่งสมาธิหรือเดินจงกรม ก้อาบน้ำไปทำงาน เรียกว่าไม่ค่อยมีรูปแบบหรือวินัยเท่าที่ควรนั่นเอง


ตรงที่คุณเห็นว่า...  รู้สึกเหนื่อยและเพลีย ... นอนขี้เกียจ   ภาวนาไม่ไหว...... ขอให้คุณสังเกตุดูปฏิกิริยาของกายและใจไปด้วยว่า   มีอาการเป็นอย่างไร  เมื่อคุณรู้แล้ว   คุณก็สังเกตุต่อไปว่า  เมื่อคุณได้นอนพักผ่อนแล้ว  กายและใจมีปฏิกิริยาอย่างไร  , กายและใจเปลี่ยนแปลงไปแล้ว...ใช่ไหม


เมื่อคุณหัดดูแบบนี้ไปบ่อยๆ  คุณจะเริ่มเห็นว่า  กายและใจเป็นสิ่งไม่เที่ยง  บังคับควบคุมไม่ได้ครับ
             
ถ้าวันไหนภาวนาไม่ไหว  คุณก็ไม่ต้องภาวนา  แต่ให้คุณหัดสังเกตุอาการแบบที่ผมบอก  แล้วคุณก็จะเห็นไตรลักษณ์ได้ครับ
            -------------------------

ข้อควรระวัง........ถ้าวันไหนคุณขี้เกียจ  แต่ว่าคุณพยายามฝืน  ลุกขึ้นมานั่งภาวนาได้เป็นผลสำเร็จทุกครั้ง   เมื่อคุณสามารถปฏิบัติได้แบบนี้เป็นเวลานานๆ  คุณจะมีอัตตาขึ้นมาว่า  กายและใจสามารถบังคับได้  ซึ่งอัตตานี้จะเกิดขึ้นโดยคุณไม่รู้ตัวครับ
             ------------------------------

สำหรับตัวผมเอง  ตอนที่ร้านคาราโอเกะมาเปิดหน้าบ้านผมใหม่ๆ    ตอนนั้นผมยังสามารถฝืนภาวนาท่ามกลางเสียงรบกวนได้  ไม่มีปัญหาอะไร  จนย่างเข้าปีที่ 4  อยู่มาคืนหนึ่ง  ผมไม่สามารถภาวนาได้ตามปกติ  ในคืนนั้นผมพยายามฝืน  เพื่อที่จะภาวนาให้ได้เหมือนที่เคยปฏิบัติมา  แต่ปรากฏว่า  ผมมีความโมโหเสียงที่น่ารำคาญนั้นอย่างรุนแรงมากๆ  จนผมต้องหยุดการภาวนาไปนานหลายเดือน


ต่อมาเมื่อ  วันที่ 19 ธันวาคม  ปี 2551  ผมเอาปัญหานี้ไปส่งการบ้าน  ผมกราบเรียนถามหลวงพ่อว่า  เวลาผมได้ยินเสียงคนร้องเพลงคาราโอเกะ  ผมจะโมโหมากจนภาวนาไม่ได้  หลวงพ่อได้เมตตาให้คำตอบมาว่า .... ถ้าโมโหจนภาวนาไม่ได้ก็ให้รู้ไปว่า........โมโห .... ภาวนาไม่ได้ก็ไม่ต้องภาวนา   คุณอย่าบังคับเค้า ( ท่านหมายถึงอย่าบังคับกายและใจ )


ผมจึงปฏิบัติตามคำสอนของหลวงพ่อ  ถ้าวันไหนผมรำคาญเสียงเพลงหน้าบ้านจนภาวนาไม่ได้  ผมก็ไม่ภาวนา  บางวันผมทนไม่ไหว  ผมก็หลบไปออกกำลังกายข้างนอกบ้าน ที่ๆไม่มีเสียงดังรบกวน    แต่ถ้าวันไหนผมภาวนาได้  ผมก็ภาวนา


หลังจากที่ผมปฏิบัติตามที่หลวงพ่อสอนมาเพียงไม่กี่เดือน  ผมก็เห็นความเป็นอนัตตาของกายและใจได้ครับ


เมื่อผมเห็นอนัตตาได้แล้ว  ผมจึงรู้ว่า  ที่ผ่านๆมา  ผมมีอัตตาว่าตัวเราสามารถภาวนาได้ในทุกสภาวะ  ขี้เกียจก็ภาวนาได้  ขยันก็ภาวนาได้  เหนื่อยก็ภาวนาได้  ดีก็ภาวนาได้  ไม่ดีก็ภาวนาได้  ซึ่งอัตตาตัวนี้  มันเกิดขึ้นมาโดยที่ผมไม่รู้ตัวเลยครับ


  เพราะฉะนั้น ถ้าวันไหนคุณภาวนาไม่ได้  คุณก็ไม่ต้องภาวนา  แต่ขอให้คุณสังเกตุดูปฏิกิริยาของกายและใจ  ตามที่ผมบอกข้างต้นนะครับ  แล้วคุณก็จะเห็นไตรลักษณ์ได้  เช่นเดียวกับการนั่งภาวนาเดินจงกรมครับ  การภาวนาจริงๆ  ไม่ได้มีรูปแบบตายตัวครับ  แค่เราสังเกตุแล้วก็รู้ เมื่อรู้แล้วก็สังเกตุ  / สังเกตุแล้วก็รู้ - รู้แล้วก็สังเกตุ / สังเกตุแล้วก็รู้ - รู้แล้วก็สังเกตุ..... ... แบบนี้เนืองๆ   แล้วการเห็นอนัตตาของกายและใจก็จะเป็นไปเอง

ผมเอาประสบการณ์ตรงของผมมาเล่าให้คุณทราบ  เผื่อว่าจะมีประโยชน์ต่อคุณครับ
              --------------------

หมายเหตุ........ถ้าวันที่คุณขี้เกียจไม่อยากภาวนา   คุณจะไม่ภาวนาก็ได้  แต่คุณต้องสังเกตุและตามรู้นะครับ

ตอบโดย: ระนาด 09 ส.ค. 52 - 08:43



ผมเอาประสบการณ์ตรงของผมมาเล่าให้คุณทราบ  เผื่อว่าจะมีประโยชน์ต่อคุณครับ

                                             กำหนดลมอัสสาสปัสสาสะ
             ในการกำหนดลมอัสสาสปัสสาสะนั้น ภิกษุประกอบกัมมัฏฐานในลมอัสสาสปัสสาสะ ย่อมกำหนดรูปอย่างนี้ว่า ลมอัสสาสปัสสาสะเหล่านี้อาศัยอะไร อาศัยวัตถุ กรัชกาย ชื่อว่าวัตถุ มหาภูตรูป ๔ กับอุปาทายรูป ชื่อว่ากรัชกาย ต่อแต่นั้น จึงกำหนดในนามธรรม ซึ่งมีผัสสะเป็นที่ ๕ (๑. เวทนา ๒. สัญญา ๓. เจตนา ๔. วิญญาณ ๕. ผัสสะ) มีรูปนั้นเป็นอารมณ์.
               ครั้นกำหนดนามรูปนั้นอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้แล้ว ค้นหาปัจจัยแห่งนามรูปนั้นอยู่ เห็นปฏิจจสมุปบาทมีอวิชชาเป็นต้นแล้ว ข้ามพ้นความสงสัยเสียได้ว่านี้เป็นเพียงปัจจัย และธรรมที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยเท่านั้น ไม่ใช้สัตว์หรือบุคคล จึงยกนามรูปกับทั้งปัจจัย ขึ้นสู่พระไตรลักษณ์เจริญวิปัสสนาอยู่ ย่อมบรรลุพระอรหัตโดยลำดับ. นี้เป็นทางปฏิบัติออกจากทุกข์จนถึงพระอรหัตของภิกษุรูปหนึ่ง.
               ภิกษุผู้เจริญฌานกัมมัฏฐาน กำหนดนามรูปว่า องค์ฌานเหล่านี้อาศัยอะไร อาศัยวัตถุรูป กรัชกายชื่อว่าวัตถุรูป องค์ฌานจัดเป็นนาม กรัชกายจัดเป็นรูป เมื่อจะแสวงหาปัจจัยแห่งนามรูปนั้น จึงเห็นปัจจยาการมีอวิชชาเป็นต้น จึงข้ามความสงสัยเสียได้ว่า นี้เป็นเพียงปัจจัยและธรรมอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ไม่ใช่สัตว์หรือบุคคล จึงยกนามรูปพร้อมทั้งปัจจัยขึ้นสู่ไตรลักษณ์ เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตโดยลำดับ. นี้เป็นมุขของการออกจากทุกข์จนถึงพระอรหัตของภิกษุรูปหนึ่ง.

               คำว่า อิติ อชฺฌตฺตํวา ในกายภายใน ความว่า พิจารณาเห็นกายในกาย คือลมอัสสาสปัสสาสะของตนอยู่อย่างนี้.
               คำว่า หรือ ภายนอก ความว่า หรือพิจารณาเห็นกายในกาย คือลมอัสสาสปัสสาสะของคนอื่น อยู่.
               คำว่า ทั้งภายในทั้งภายนอก ความว่า หรือในกาย คือลมอัสสาสปัสสาสะของตนตามกาล ของคนอื่นตามกาล ด้วยคำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกาลที่ภิกษุนั้นไม่หยุดกัมมัฏฐานที่คล่องแคล่ว ให้กาย คือลมอัสสาสปัสสาสะสัญจรไปมาอยู่ ก็กิจทั้งสองนี้ ย่อมไม่ได้ในเวลาเดียวกัน.

.........................................

                                                 เวทนาในเวทนานอก
              ข้อว่า อิติ อชฺฌตฺตํ วา หรือภายใน ความว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายของตน ในเวทนาทั้งหลายของคนอื่น หรือในเวทนาทั้งหลายของตนตามกาล ของคนอื่นตามกาล ด้วยการกำหนดสุขเวทนาเป็นต้น อย่างนี้อยู่.
               ส่วนในข้อว่า สมุทยธมฺมานุปสฺสี วา พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิด (ในเวทนาทั้งหลาย) นี้ มีวินิจฉัยว่า ภิกษุเมื่อเห็นความเกิด และความเสื่อมแห่งเวทนาทั้งหลายด้วยอาการอย่างละ ๕ ว่า เพราะอวิชชาเกิด จึงเกิดเวทนาดังนี้เป็นต้น พึงทราบว่า เธอพิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดในเวทนาทั้งหลายอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมในเวทนาทั้งหลายอยู่ หรือพิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดในเวทนาทั้งหลาย ตามกาลอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมในเวทนาทั้งหลาย ตามกาลอยู่.
               ข้อต่อจากนี้ไปก็มีนัยดังที่กล่าวมาแล้วในกายานุปัสสนานั่นแล.

..............................................

                                                 จิตในจิตนอก
               คำว่า อิติ อชฺฌตฺตํ วา หรือภายใน ความว่า ภิกษุโยคาวจรกำหนดจิตที่เป็นไปในสมัยใดๆ ด้วยการกำหนดจิตมีราคะเป็นต้นอย่างนี้ ชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตของตน หรือในจิตของคนอื่น ในจิตของตนตามกาล หรือในจิตของคนอื่นตามกาลอยู่.
               ก็ในคำว่า พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดนี้ พึงนำความเกิดและความเสื่อมแห่งวิญญาณออกเทียบเคียงด้วยอาการอย่างละ ๕ ว่า เพราะเกิดอวิชชา วิญญาณจึงเกิดดังนี้เป็นต้น.
               ข้อต่อไปจากนี้ ก็มีนัยดังกล่าวมาแล้วแล.



http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273

กายภายนอก เวทนาภายนอก จิตภายนอก เมื่อยกสู่การพิจารณาไตรลักษณ์ผมว่าย่อมมีประโยชน์ครับ

     

ตอบโดย: damrong121 09 ส.ค. 52 - 22:23


สวัสดีครับคุณดำรง

จากตำราที่คุณยกมาให้ดู  ผมอ่านแล้วไม่รู้เรื่องเลยครับ

กายภายนอก  ความว่า  พิจารณาเห็นกายในกาย คือ ลมอัสสาสะปัสสาสะ  ของคนอื่นอยู่  ........

 ผมไม่เข้าใจว่า  เราจะพิจารณาลมอัสสาสะปัสสาสะของคนอื่นได้อย่างไรครับ , คนอื่นนี้หมายถึงใคร

ลมอัสสาสะปัสสาสะคือลมอะไรครับ
                   ----------------------------------

คำว่า  ทั้งภายในทั้งภายนอก  ความว่า  หรือในกายคือลมอัสสาสะปัสสาสะของตนตามกาล  ของคนอื่นตามกาล  ด้วยคำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกาลที่ภิษุนั้นไม่หยุดกัมมัฏฐานที่คล่องแคล่ว  ให้กายคือลมอัสสาสะปัสสาสะสัญจรไปมาอยู่  ก็กิจทั้ง 2 ตัวนี้ย่อมไม่ได้ในเวลาเดียวกัน

ผมไม่เข้าใจความหมายของย่อหน้านี้  คุณดำรงช่วยขยายความให้เข้าใจด้วยภาษาที่ชาวบ้านพูดกันได้ไหมครับ
                      -------------------------------

เวทนาภายนอก และ จิตภายนอก  คืออะไร   แล้วเราจะยกขึ้นสู่การพิจารณาไตรลักษณ์ได้อย่างไรครับ        ขอบคุณครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 10 ส.ค. 52 - 07:21


ขออนุญาต ครับ

ลมอัสสาสะ - ลมหายใจเข้า
ลมปัสสาสะ - ลมหายใจออก

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 10 ส.ค. 52 - 09:22


  ไม่ให้พลาดเลยคุณบุญรักษ์...

ตอบโดย: ชัชวาล เพ่งวรรธนะ 10 ส.ค. 52 - 09:40


สวัสดีครับทุกๆ ท่าน
เมื่อวานนี้ผมไม่ได้เปิดคอมพ์เลยครับ เลยไม่ได้เข้ามาสนทนาครับ

ขอตอบที่คุณวิชาถามไว้ครับ ผมได้ลองสังเกตุดูบ้างแล้วครับ บางครั้งก็เห็นชัดทั้งคู่ครับ คือเห็นสิ่งที่มาสัมผัสและอารมณ์ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากสัมผัสนั้นครับ บางครั้งก็อย่างใดอย่างหนึ่งครับ เหล่านี้ทำให้ผมเข้าใจชัดเจนขึ้น ว่าสิ่งเหล่านี้เราไปบังคับมันไม่ได้ เรามีหน้าที่เพียงสังเกตุ และ รู้ เท่านั้น ไปบงการหรือบังคับบัญชามันไม่ได้ จะไปยึดมั่นไม่ให้เปลี่ยนก็เป็นทุกข์เท่านั้นเอง แล้วจะพยายามสังเกตุให้มากขึ้นครับ

ขอตอบคุณอัญญาสิครับ ใช่เช่นนั้นจริงๆ ครับ เพราะเดี๋ยวนี้ผมมีบ้านแล้ว (เย้ ดีใจจัง อิอิอิ ดีใจหนอๆ) เลยปฏิบัติได้ง่ายขึ้น เพราะเวลาเผลอคิดอะไรไป พอรู้ว่าเผลอมันก็กลับเข้าบ้านทันทีเลย ไม่ต้องเตือนกันให้วุ่นวายเหมือนก่อนแล้ว เบาสบายขึ้นเยอะเลยครับ

ขอตอบคุณระนาดครับ อันนี้ผมยังไม่ชัดเจนเท่าไหร่ครับ เพราะบางครั้งผมก็นอนหลับไปเลย ไม่ได้สังเกตุเท่าที่ควร แต่ผมก็ไม่ได้เป็นทุกข์กับมันนะครับ ว่าทำไมวันนี้ทำไม่ได้ อันนี้ผมขอรับไปเป็นการบ้านนะครับ ไว้ได้เกิดผลอย่างไรจะมาส่งการบ้านให้รู้ครับ

และกราบขอบพระคุณ คุณVicha คุณอัญญาสิ คุณระนาด คุณวสวัตตี คุณปล่อยรู้ คุณจุฬาภินันท์ คุณดำรง121 และอีกหลายท่านที่ไม่ได้เอ่ยนาม ณ ที่นี้ ที่เข้ามาให้คำตอบให้ความรู้ให้กับผม ให้ผมได้อ่าน ได้ศึกษา และได้นำไปปฏิบัติครับ

จึงขออานิสงส์แห่งบุญกุศลนี้ จงเป็นพลวปัจจัยให้ทุกท่านเจริญในธรรมและปัญญาโดยราบรื่น จนสามารถก้าวล่วงเสียซึ่งอวิชชาได้ภายในเร็ววันนี้เทอญ

สาธุ

ตอบโดย: ณวบุตร 10 ส.ค. 52 - 10:15


สวัสดีทุกๆท่านครับ ไม่ได้เข้ามาหลายวันเลย ความเห็นและประสบการณ์ของแต่ละท่านนั้นเยอะมาก อ่านแทบไม่ทัน  

สำหรับเรื่องเสียงนั้น ผมเองก็เคยประสบปัญหาเช่นกันที่บ้านเก่า เมื่อสัก14-15 ปีที่แล้ว

เลยเข้าใจปัญหาของคุณระนาดดี ข้างบ้านผมที่ติดกัน เขาซ้อมดนตรี เป็นวงร็อคนี่แหละครับ เพลงแต่ละเพลงนี่ก็จำพวกดิโอลานโปรเจ็ค สกอร์เปี้ยน หิน เหล็ก ไฟ หรั่ง ร็อคเคสตร้า ฯลฯ

เสียงเบส เสียงกลองชุด พวกนี้ระดับเดซิเบลเกินกว่าที่โสติประสาทของคนจะรับได้ คนที่จะทนอยู่ได้โดยไม่ได้ยินน่าจะเป็นคนที่เข้าอรูปฌานชั้นสูงๆหรือนิโรธสมาบัติเท่านั้น

ตอนนั้นก็ต้องอาศัยวิธีทนและหลบอย่างเดียวครับ ช่วงไหนที่เขาเล่นเราก็หลบ พอเขาเลิกค่อยอ่านหนังสือหรือนั่งสมาธิ

สำหรับเสียงที่ดังค่อยกว่านั้นเช่นเสียงที่พูดผ่านไมค์จากลำโพงขยายเสียงในห้องประชุมของวิทยากรบรรยายธรรม นี่ยังพอทนได้โดยใช้อุบายธรรมของท่านหลวงปู่ดูลย์ ที่ท่านกล่าวว่าความดังย่อมเป็นธรรมชาติของเสียงและเป็นธรรมดาของเสียง ถ้าไม่ส่งจิตออกไปตอบสนองกับเสียง เสียงก็ทำอะไรเราไม่ได้ อันนี้น้อมนำมาใช้แล้วได้ผลครับ แต่ต้องหลบเข้าไปในที่พักผ่อนทีเดียวกับคุณระนาด จึงจะอยู่ได้ เรียกว่าวิทยากรบรรยายธรรมบอกให้ออกก็ไม่อยากออกเลย

สำหรับสภาวะดังกล่าวที่คุณระนาดรู้จักนั้น ผมเห็นด้วยว่ามันมีประโยชน์ตรงการเข้าและออก เวลาเข้า เราก็รู้ว่าอะไรมันหายไปจากเดิมบ้าง

เวลาออกก็รู้ว่าอะไรมันค่อยๆกลับมาเหมือนเดิมบ้าง ทำให้รู้จักหน้าค่าตาของเจ้าพวกนี้ดีขึ้นเยอะเลย สามารถรับมือกับพวกมันได้ดีขึ้น ยิ่งถ้าวิ่งจากหน้าบ้านขึ้นดาดฟ้าเลย ยิ่งเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน

ผมว่าอัปปนาสมาธิ ก็มีสภาพเดียวกับเนกขัมมะ คือเป็นการออกจากกามซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์อีกข้อหนึ่ง

แต่ปัญหามันอยู่ตรงที่การจำอารมณ์ได้นี่สิ ที่มันไม่อยู่ตัว และกะเกณฑ์เอาแน่เอานอนไม่ได้เลย จึงเป็นผลให้ผมค่อนข้างที่จะสนใจในประสบการณ์ของคุณระนาด และพยายามเอาใจลุ้นคุณระนาด เผื่อว่าจะได้ช่วยกันตีแผ่หากุญแจที่จะใช้ในการไขเข้าไขออกได้ดังใจ

ตามหลักพุทธพจน์ที่ว่ากัลยาณมิตรเป็นทั้งหมดของการประพฤติพรหมจรรย์นั่นแหละครับ

ขืนมัวปฏิบัติอยู่ผู้เดียว อาจติดขัดอยู่โดยไม่รู้ที่มาที่ไป

สำหรับเรื่องภพนี่ ผมสงสัยอยู่เช่นกันครับ ว่านิยามของคำว่า ภพ นอกจากหมายถึง กามภพ รูปภพ และอรูปภพ ที่พวกเรามีเหตุเชื่อมโยงกันทำให้อยู่ในภพเดียวกันแล้วมันยังมีภพย่อยของแต่ละคนอีกหรือเปล่าครับ อย่างคนที่อยู่ในอภิญญาวิถีจิต ทั้งที่เขาก็อยู่ในกามภพเดียวกับเรา แต่ทำไมผลที่เขาได้รับจึงต่างจากพวกเรามาก อากาศปรากฎกับพวกเราเป็นอากาศ แต่สำหรับบุคคลที่ได้อภิญญา ทำไมอากาศจึงปรากฎกับพวกเขาเหมือนดังแผ่นดิน

แล้วคนที่เข้าฌานอยู่ จิตของเขาท่องไปในรูปภพใช่หรือเปล่าครับ

ภพนี่ตัดสินกันด้วยจิตหรือว่าด้วยกัมมชรูปครับ ท่านใดทราบช่วยอธิบายทีครับ

 

ตอบโดย: วสวัตตี 10 ส.ค. 52 - 10:49


สวัสดีครับทุกท่าน

   จากข้อความของคุณณวบุตร

อ้างอิง
  ขอตอบที่คุณวิชาถามไว้ครับ ผมได้ลองสังเกตุดูบ้างแล้วครับ บางครั้งก็เห็นชัดทั้งคู่ครับ คือเห็นสิ่งที่มาสัมผัสและอารมณ์ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากสัมผัสนั้นครับ บางครั้งก็อย่างใดอย่างหนึ่งครับ เหล่านี้ทำให้ผมเข้าใจชัดเจนขึ้น ว่าสิ่งเหล่านี้เราไปบังคับมันไม่ได้ เรามีหน้าที่เพียงสังเกตุ และ รู้ เท่านั้น ไปบงการหรือบังคับบัญชามันไม่ได้ จะไปยึดมั่นไม่ให้เปลี่ยนก็เป็นทุกข์เท่านั้นเอง แล้วจะพยายามสังเกตุให้มากขึ้นครับ


   ดีครับ คุณณวบุตร   เริ่มๆ จะเข้าที่เข้าทางการปฏิบัติวิปัสสนา ที่ถูกต้องขึ้นแล้วครับ.



 

ตอบโดย: Vicha 10 ส.ค. 52 - 11:29


อ้างอิง (ณวบุตร @ 10 สิ.ค. 52 - 10:15)
จึงขออานิสงส์แห่งบุญกุศลนี้ จงเป็นพลวปัจจัยให้ทุกท่านเจริญในธรรมและปัญญาโดยราบรื่น จนสามารถก้าวล่วงเสียซึ่งอวิชชาได้ภายในเร็ววันนี้เทอญ

สาธุ

 รีับเข้ามารับพรก่อนเลยค่า  ขอใ้ห้สิ่งนี้กลับไปหาคุณณวบุตรเช่นกันค่ะ  

ตอบโดย: อัญญาสิ 10 ส.ค. 52 - 11:50


อ้างอิง (ชัชวาล เพ่งวรรธนะ @ 10 สิ.ค. 52 - 09:40)
ไม่ให้พลาดเลยคุณบุญรักษ์...

ก็มันเคยสงสัยมาก่อน หะหะหะ  

ผมอ่านพระสูตรที่คุณdamrong121 แนะนำไว้ใน คคห 281
เจอสองคำนี้ เลยไปเปิดค้นหาความหมายดู
ก็เลยยกมาครับ จะได้ไม่เสียเวลาค้นกัน

ว่าแล้วผมยังอ่านพระสูตรนั้นไม่จบเลย หะหะหะ
สงสัยกว่าจะได้เอามาคุยกับคุณdamrong121 คงอีกนาน แหะๆๆ

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 10 ส.ค. 52 - 12:34


อ้างอิง (บุญรักษ์ @ 10 สิ.ค. 52 - 09:22)


ลมอัสสาสะ - ลมหายใจเข้า
ลมปัสสาสะ - ลมหายใจออก

 
(บุญรักษ์ @ 10 สิ.ค. 52 - 09:22)


คุณบุญรักษ์พอจะทราบไหมครับว่า  ทำไมตำราจึงให้เราพิจารณาลมหายใจของคนอื่น

เรารู้ลมหายใจของคนอื่นได้ด้วยหรือครับ   แล้วจะรู้ได้อย่างไร   ถ้ารู้แล้วจะมีประโยชน์อะไรกับเรา

คนอื่นคือ  คนที่อยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุดใช่ไหมครับ

ผมอ่านตำราทีไร  ไม่เคยรู้เรื่องเลยสักที
 

ตอบโดย: ระนาด 10 ส.ค. 52 - 13:40


สวัสดีครับคุณวสวัตตี

ระดับความดังของเสียงในการบรรยายธรรมในห้องประชุม  ผมฟังทีไรผมนั่งหลับทุกที  ไม่หนวกหูเลยครับ  ฮิ ฮิ ฮิ  เวลาผมฟังวิทยากรที่พูดน้ำเสียงเนิบๆนาบๆ  ผมง่วงนอนทุกที   เลยต้องขอหลบไปพักผ่อนแต่คงจะเป็นคนละที่กับคุณวสวัตตี  ( เข้าภวังค์ เพื่อการพักผ่อน .....อิ อิ อิ )


เสียงที่กวนประสาทของผมก็คือเสียงคนเมาร้องเพลงครับ  มันร้องเพลงเหมือนแกล้งยั่วโมโห  ยิ่งเพลง...ปูนาขาเกตัวใหญ่ซะไม่มี.....ผมได้ยินทีไร  ความรู้สึกแผ่วๆในใจมันผุดขึ้นมาอย่างรุนแรงจนกลายเป็นความโมโหทันที  ความรู้สึกมันกลายมาเป็นตัวเราของเราทันที


ทุกวันนี้ผมแผ่เมตตา  ขอให้ร้านคาราโอเกะเลิกกิจการเร็วๆ ( แผ่เมตตานะ   ไม่ได้แช่ง   )  คนที่กินเหล้าจะได้เลิกกินเหล้า  เขาจะได้ไม่ต้องตกนรกนานเกินไป

ตอบโดย: ระนาด 10 ส.ค. 52 - 14:10


มันเหมือนเครื่องรับวิทยุ
พอจูนตรงช่อง ไม่มีคลื่นรบกวน
ใครส่งสัญญาณความถี่นี้เข้ามา
เครื่องรับก็ต้องรับ มันเลี่ยงไม่ได้

เมื่อเห็นกายในกายภายในได้ ก็ย่อมเห็นกายในกายภายนอกได้
เมื่อเห็นเวทนาในเวทนาภายในได้ ก็ย่อมเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกได้
เมื่อเห็นจิตในจิตภายในได้ ก็ย่อมเห็นจิตในจิตภายนอกได้
เมื่อเห็นธรรมในธรรมภายในได้ ก็ย่อมเห็นธรรมในธรรมภายนอกได้

ส่วนที่ว่าการพิจารณานั้น
เครื่องรับวิทยุที่จูนตรงช่องแล้ว ไร้คลื่นรบกวนแล้ว
ไม่ว่าสัญญาณจะส่งมาจากภายใน หรือ ภายนอก
มันเลือกไม่ได้หรอก ว่าจะรับอะไร หรือ ไม่รับอะไร

มีแต่พิจารณาไปตามธรรมเท่านั้น

เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ

เจริญในธรรมครับ

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 10 ส.ค. 52 - 14:28


ต้องทำอย่างไร   จึงจะเห็นลมหายใจของคนอื่นครับ

( อยากจะเห็นลมหายใจของเจ๊ข้างบ้าน  แหะ  แหะ  ...    )
 

ตอบโดย: ระนาด 10 ส.ค. 52 - 15:12


ถ้าเป็นแบบส่งเครื่องรับวิทยุออกไปเที่ยวเล่น

ต้องถามคุณอ้องแล้วหล่ะครับ 555

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 10 ส.ค. 52 - 15:26


อ้างอิง (ระนาด @ 10 สิ.ค. 52 - 15:12)
ต้องทำอย่างไร   จึงจะเห็นลมหายใจของคนอื่นครับ

( อยากจะเห็นลมหายใจของเจ๊ข้างบ้าน  แหะ  แหะ  ...    )

โดยทั่วไปการเห็นลมหายใจของผู้อื่นคงไม่ใช่การเห็นเชิงประจักษ์เหมือนที่เห็นลมหายใจตนเองหรอกครับ

น่าจะเป็นการเห็นเชิงความคิดหรือการเห็นเชิงอนุมาน ที่เปรียบเทียบว่า เมื่อตนเองมีชีวิตอยู่ย่อมมีลมหายใจเข้าและออก

ดังนั้นเมื่อผู้อื่นมีชีวิต ก็ย่อมมีลมหายใจเข้าและออกเหมือนกัน

หากเราพิจารณาลมหายใจตนเอง จนเห็นไตรลักษณ์แล้ว  เราก็ย่อมอนุมานได้ว่าลมหายใจของผู้อื่นก็ตกอยู่ภายใต้ไตรลักษณ์เช่นกัน

(คงจะไม่มีใครคิดว่าลมหายใจของตนเองตกอยู่ในไตรลักษณ์ แต่ลมหายใจผู้อื่นไม่อยู่ในกฏไตรลักษณ์หรอกนะครับ)

แบบนี้น่าจะเป็นการเห็นในเชิงอนุมาน หรือการเห็นเชิงความคิด หรือการเห็นเชิงเปรียบเทียบครับ

ในอีกกรณีหนึ่งที่ผมเดาเอา  ผู้ที่มีญาณ บางชนิด  ก็อาจจะใช้กำลังญาณโน้มน้อมจิตไปรู้  จิตของผู้อื่น จนถึงรับรู้ลมหายใจเข้าและออกของผู้อื่นเสมือนว่าเป็นจิตตนเองได้เหมือนกัน  เรียกว่าไปรู้เชิงประจักษ์เลยครับ

ดังนั้นการรู้ทั้งเชิงอนุมาน(เปรียบเทียบ) และการรู้เชิงประจักษ์(รู้ได้เฉพาะตน) สามารถที่จะรู้ลมหายใจของผู้อื่นได้ทั้ง 2 วิธีนี้ครับ

(โดยวิธีรู้เชิงประจักษ์ ต้องมีญาณโดยเฉพาะ ซึ่งน้อยคนที่จะมีได้)


เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ เกิดจากการนึกคิดและเดาขึ้นเอง ไม่เคยมีประสบการณ์ที่จะรับรองในเรื่องนี้เลยครับ

ตอบโดย: น้องบู 10 ส.ค. 52 - 15:53


อ้างอิง (น้องบู @ 10 สิ.ค. 52 - 15:53)



เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ เกิดจากการนึกคิดและเดาขึ้นเอง ไม่เคยมีประสบการณ์ที่จะรับรองในเรื่องนี้เลยครับ



ยินดีที่ได้คุยกันครับ   ผิดถูกก็ไม่เป็นไร    พวกเราคุยกันหนุกๆ

ขอบคุณมากนะครับสำหรับคำตอบ  
 

ตอบโดย: ระนาด 10 ส.ค. 52 - 17:02


ความคิดเห็นที่ 519 : (ระนาด)
คุณดำรงช่วยขยายความให้เข้าใจด้วยภาษาที่ชาวบ้านพูดกันได้ไหมครับ


สวัสดีครับคุณระนาด และทุกๆท่านครับ

ผมชอบตัดแปะครับ ขอโทษครับขยายความไม่เป็นครับ คงอย่างคุณบุญรักษ์ และคุณน้องบู ตอบมั้งครับ ผมคงต้องขอคุณ Vicha หรือคุณอัญญาสิ ช่วยครับ

เหตุที่ตัดแปะก็เพราะว่าอ่านผลการปฏิบัติของคุณระนาดแล้ว ผมปฏิบัติไม่ได้ฌาณเหมือนคุณระนาด บังเอิญอ่านทวนสติปัฏฐาน ก็เลยคิดว่าผมก็น่าจะได้ประโยชน์ในการอ่านบ้าง ก็เลยพิจารณาข้อความนั้นแหละสื่อว่าไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน

     

ตอบโดย: damrong121 11 ส.ค. 52 - 01:00



ยินดีที่ได้คุยกันครับคุณดำรง  ผมคิดว่าตำราก็น่าจะมีความหมายในแบบที่คุณบุญรักษ์และคุณบูกล่าวมาครับ


ฌานที่ผมเคยทำได้ในวันก่อน ( ผมเรียกว่าฌานไปตามสมมุตินะ  จริงๆแล้วมันเป็นอะไรก็ไม่รู้ )   ตอนนี้  อาการอย่างนั้นมันหายไปหลายวันแล้วครับ  ซึ่งมันเป็นแบบนี้บ่อยๆจนเป็นเรื่องปกติ    เหมือนๆกับเสียงเพลงที่น่ารำคาญหน้าบ้านเนี่ยแหละครับ  บางวันเพลงเดียวกัน  เสียงดังเท่ากัน  คนร้องคนเดิม  แต่ผมไม่รำคาญ  แต่บางวันก็รำคาญ  ซึ่งความรำคาญมันก็ไม่แน่เสมอไป

การภาวนาก็ไม่แน่เหมือนกันครับ  ต้องดูกันไปเป็นวันต่อวัน

ถ้าคุณมีอะไรดีๆก็มาคุยกันอีกนะครับ        
 

ตอบโดย: ระนาด 11 ส.ค. 52 - 07:21


อ้างอิง
ความคิดเห็นที่ 534 : (damrong121) แจ้งลบ | อ้างอิง |


ความคิดเห็นที่ 519 : (ระนาด)
คุณดำรงช่วยขยายความให้เข้าใจด้วยภาษาที่ชาวบ้านพูดกันได้ไหมครับ

สวัสดีครับคุณระนาด และทุกๆท่านครับ

ผมชอบตัดแปะครับ ขอโทษครับขยายความไม่เป็นครับ คงอย่างคุณบุญรักษ์ และคุณน้องบู ตอบมั้งครับ ผมคงต้องขอคุณ Vicha หรือคุณอัญญาสิ ช่วยครับ



  เมื่อมีผู้ขอก็ต้องตอบ  เรื่องรู้ลมหายใจเข้าออกในภายนอก  รู้ลมหายใจในภายใน

     ตอนนี้ตามความเข้าใจของผมและที่ได้จากการปฏิบัติ มี 2 อย่างคือ.

     1.รู้สึกตัว และรู้ลมหายใจ  เหมือนกับยังรู้ลมหายใจที่เป็นภายนอก
     2.ไม่สนใจรู้สึกตัว หรือความรู้สึกตัวน้อย แต่มีสติรู้แต่เพียงลมหายใจเข้าหายใจออก ตรงที่กระทบกับจมูก หรือรู้สึกถึงเวทนาที่ลมหายใจเข้าหรือออก เสมือนเป็นหนึ่ง ไม่ไปรับรู้สภาวะอารมณ์อื่น  เปียบเหมือนกับรู้ลมหายใจในภายใน.

     แต่การไปรู้ลมหายใจของผู้อื่นยังไม่เคยมีประสบการณ์ครับ.

 
 

ตอบโดย: Vicha 11 ส.ค. 52 - 09:52


จากข้อความของคุณระนาด

อ้างอิง
  ฌานที่ผมเคยทำได้ในวันก่อน ( ผมเรียกว่าฌานไปตามสมมุตินะ  จริงๆแล้วมันเป็นอะไรก็ไม่รู้ )   ตอนนี้  อาการอย่างนั้นมันหายไปหลายวันแล้วครับ 


   ครับเป็นเรื่องธรรดาเองครับ คุณระนาด ฌานที่พัฒนามาคู่กับ วิปัสสนาญาณ ไม่สามารถรักษาให้เหมือนเดิมได้นานหลอกครับ. แต่ฌานนั้นจะละเอียดชัดเจนและเด่นชัด ติดตาติดใจไปนานครับ   แต่จะกลายเป็นหล่อเลี้ยงอยู่ในสภาวะปกติ เช่น มีสติตื่นตัวในธรรม เมื่อน้อมใจ มีพละ 5 เจริญขึ้นจากปกติ ก็จะ มีปีติ มีสุข มีความสงบ เล็กๆ น้อยๆ อยู่ในสภาวะปกติครับ.
     (แค่นี้ก็ความทุกข์ลดลงไปพอประมาณแล้วเมื่อเป็นเหตุการณ์ปกติ แต่ถ้าเป็นเหตุการณ์ทุกข์ใหญ่ ค่อยว่ากันว่ามีสติปัญญาระงับปล่อยวางได้เร็วแค่ไหน ซึ่งสามารถทำให้เป้ ไปได้เหมือนคนทั่วไป)

 

ตอบโดย: Vicha 11 ส.ค. 52 - 10:07


เข้าใจว่ารู้ลมหายใจคนอื่น  น่าจะเป็นการน้อมไปพิจารณาว่า ลมหายใจของคนอื่น
ก็เช่นเดียวกันกับของเรา  มีเข้าออกเกิดดับเหมือนกัน  แต่ไม่น่าจะเป็นการไปดู
ลมหายใจคนอื่นตรงๆ หรอกค่ะ  เพราะยังไงๆ ก็ต้องย้อนมาที่ตัวเราอีกที

ส่วนกายในกาย เข้าใจว่า การดูส่วนหนึ่งหรืออาการของกาย ไม่ได้ดูทั้งกาย
อย่างเช่น ดูลมหายใจ  เนื่องจากลมหายใจก็เป็นส่วนหนึ่งของกาย
จิตในจิต กับเวทนาในเวทนา ก็น่าจะเป็นไปในทำนองเดียวกันค่ะ
 

ตอบโดย: อัญญาสิ 11 ส.ค. 52 - 10:53


 กาย หมายถึง กายลม
กายภายนอก หมายถึง ลมหายใจที่อยู๋นอกฐานลมตรงปลายจมูก นั่งทำสมาธิแบบอานาปานสติ ลมหายใจส่วนนี้จะหายไปก่อน
ต่อมาลมหายใจที่อยู่ภายในจะหายไป (จิตจับความรู้สึกไม่ได้)
ต่อมาก็เหมือนไม่ได้หายใจ ความจริงยังหายใจ แต่จิตไม่รับรู้การหายใจ เมื่อพิจารณารอบตัวเรา เหมือนลอยอยู่ท่ามกลางที่ว่างไม่มีที่สิ้นสุด

ตอบโดย: สักแต่ว่า 11 ส.ค. 52 - 10:56


ขอนุญาตเรียนปรึกษาพี่วิชา ครับ

พี่ครับ ถ้าเราจะจับเอา ความสุข10ขั้น
ที่พระพุทธเจ้าท่านได้ทรงอธิบายจำแนกเอาไว้
มันเป็นเครื่องวัดสอบ ระดับขั้นของการภาวนาจะได้ไหม ครับ

ถ้าเราสามารถบอกตัวของเราเองได้ว่า
ความสุขที่เกิดขึ้น อันเป็นผลมาจากการภาวนาในปัจจุบันนี้นั้น
เรากำลังอยู่ใกล้หรือไกลจากจุดหมายปลายทางแค่ไหน
และมาถูกทางหรือไม่

เพราะผมเข้าใจว่า สุขทั้ง10ขั้น นั้น
น่าจะเป็นตัวบ่งชี้วัด  ระดับขั้นของการภาวนา ได้เป็นอย่างดี

ตราบใดที่เรายังไต่ไปไม่ถึงสุขในขั้นสุดท้าย หรือในขั้นที่10 นั้น
เราก็ไม่น่าที่จะปักหมุดความเห็น(สัมมาทิฏฐิ)ลงไป หรือหยุดอยู่แค่ความสุขอันนั้น

การที่จะนำผล(ความสุข)อันเกิดขึ้นจากการภาวนา
มาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ถือเป็นสิ่งที่ดี่ ครับ
แต่การยึดติด การยึดถือ ในสุขที่ยังไม่ใช่สุขในขั้นสุดท้าย นั้น
ผมมีความเห็นว่า น่าจะเป็นเหตุให้เกิดความสับสนได้ง่าย ครับ
และจะเป็นอุปสรรค เป็นเครื่องถ่วง ให้เกิดความล่าช้าในการเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางนั้น


การอธิบายถึงสภาพ สภาวะ  ถึงปีติ ถึงสุขใดๆทั้งหลาย อันเป็นผลที่เกิดจากการภาวนานั้น
ในที่สุดแล้ว ก็คือการอธิบายถึงเวทนาต่างๆทั้งหลายนั้นเอง ใช่ไหมครับ

เป็นเวทนา อันเป็นผลมาจากผัสสะ
จากการที่จิตหรือวิญญาณ หรือตัวรู้ ไปรู้สังขาร ไปรู้นามรูป ต่างๆทั้งหลาย...

ไม่ว่าจะอธิบาย ขยายความกันยังไง ก็ตาม
สรุปแล้ว คือการบรรยายถึงสภาพ กาย เวทนา จิต ธรรม นั้นเอง
เพื่อนำไปสู่ การปล่อย สละคืน กายเวทนา จิต ธรรม ในที่สุด...

ยังไม่มีตัวบ่งชี้ชัดว่า ใช่-ไม่ใช่  หรือถูกต้อง-ไม่ถูกต้อง
เพราะบรรดาสุข(เวทนา)ทั้งหลายนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นสุข(เวทนา)ด้วยกันทั้งหมด
จะแตกต่างกันเพียงแค่เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดสุข(เวทนา)นั้นๆเท่านั้นเอง...

ความพอใจ ความเพลินยินดี ในสุข(เวทนา)ใดก็ตาม
พระพุทธเจ้าท่านทรงชี้บอกเอาไว้ว่า เป็นมูลรากแห่งการเกิดขึ้นของกองทุกข์ทั้งปวง

และผมมีความเข้าใจว่า สุขในขั้นสุดท้ายนั้น
คือสุขที่ปราศจากเสียสิ้นความรู้สึกความเพลินยินดีใดๆ

ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมานั้น
ผมจึงมีความเห็นว่า ถ้าพี่วิชาจะช่วยให้น้ำหนักไปที่ความไม่ยึดติด ความไม่ยึดมั่นถือมั่น
ในบรรดาผลต่างๆทั้งหลาย อันเกิดจากการภาวนา
ก็น่าจะเป็นการช่วยขับเคลื่อน เป็นแรงผลักดัน
ให้การภาวนาของบรรดาเหล่าพุทธโยคีทั้งหลาย ได้เจริญก้าวหน้ากันยิ่งๆขึ้นไป ครับ






 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 11 ส.ค. 52 - 11:37


อ้างอิง (ปล่อยรู้ @ 11 สิ.ค. 52 - 11:37)
ขอนุญาตเรียนปรึกษาพี่วิชา ครับ

พี่ครับ ถ้าเราจะจับเอา ความสุข10ขั้น
ที่พระพุทธเจ้าท่านได้ทรงอธิบายจำแนกเอาไว้
มันเป็นเครื่องวัดสอบ ระดับขั้นของการภาวนาจะได้ไหม ครับ

การยึดถือ ในสุขที่ยังไม่ใช่สุขในขั้นสุดท้าย นั้น
ผมมีความเห็นว่า น่าจะเป็นเหตุให้เกิดความสับสนได้ง่าย ครับ
และจะเป็นอุปสรรค เป็นเครื่องถ่วง ให้เกิดความล่าช้าในการเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางนั้น


ข้อเสนอแนะของคุณปล่อยรู้น่าสนใจครับ  อยากให้คุณวิชาเข้ามาเล่าให้ฟังตรงนี้ครับ
                      ------------------------------

ความเห็นส่วนตัวของผม  ผมว่า  เมื่อนักภาวนาพบความสุขในการภาวนาแล้ว  จิตจะยึดอยู่กับความสุขนั้นระยะหนึ่ง  แล้วจึงจะปล่อยวางแล้วไปยึดกับความสุขที่ละเอียดกว่า   ขึ้นไปอีก  เป็นลำดับ  ลำดับ   ซึ่งการที่จิตจะยึดหรือละวางความสุขนั้น  ไม่ใช่เป็นงานของนักภาวนาแต่เป็นงานของจิต  ที่จิตจะต้องดำเนินไปเอง

แต่ว่าถ้านักภาวนาคิดว่าความสุขที่พบนั้นเป็นการบรรลุธรรม  ตรงนี้จึงจะเรียกว่า  ความสุขนั้นเป็นอุปสรรคของการปฏิบัติ

หรือว่า  ถ้านักภาวนาพบความสุขนั้นแล้ว  เกิดความหวั่นเกรงว่าจะติดสุขในการภาวนา  จึงพยายามละวางความสุขนั้นๆ    ตรงนี้ก็เรียกได้ว่าเป็นอุปสรรคของการปฏิบัติเช่นเดียวกัน
                     ------------------------------

การที่จิตจะละวางความสุขในองค์ภาวนาแล้วไปยึดความสุขที่ละเอียดกว่านั้น  เกิดจากจิตเห็นไตรลักษณ์ว่า  ความสุขที่พบอยู่นั้นไม่เที่ยง ความสุขเหล่านั้นไม่มีใครสามารถครอบครองได้ตลอดไป  ถ้าจิตยังไม่เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของความสุข  จิตจะยังไม่ยอมละวาง  หน้าที่ของนักภาวนาก็คือ " รู้ "  ต่อไปเรื่อยๆจนจิตเห็นไตรลักษณ์ของความสุข


อาการที่แจ้งให้นักภาวนาทราบว่า  จิตได้ละวางความสุขที่หยาบกว่าไปยึดกับความสุขที่ละเอียดกว่า   ก็คือ  นักภาวนาจะรู้สึกโล่งโปร่งสบายใจมากขึ้น  มากขึ้น  เมื่อเห็นความไม่เที่ยงขององค์ภาวนาได้มากขึ้น  มากขึ้น ( ถ้านักภาวนาอยากเห็นความสุขให้เหมือนกันทุกๆวัน  แบบนี้จะเป็นทุกข์ใจมากๆ )


สรุปว่า  ความสุขในองค์ภาวนาไม่ใช่เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติธรรม  แต่ท่าทีของนักภาวนาที่มีต่อความสุข  ตรงนี้ต่างหาก  เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ
              ------------------------------------

การภาวนาแบบไม่ให้มีความสุขเกิดขึ้น  หรือ  การภาวนาที่ไม่มีความสุข  ผมนึกไม่ออกเลยว่าจะเป็นไปได้อย่างไร

ผมเข้าใจแบบนี้  คุณวิชามีความเห็นอย่างไรบ้างครับ

ตอบโดย: ระนาด 11 ส.ค. 52 - 13:26


สวัสดีครับคุณ ปล่อยรู้

 จากข้อความ
อ้างอิง
พี่ครับ ถ้าเราจะจับเอา ความสุข10ขั้น
ที่พระพุทธเจ้าท่านได้ทรงอธิบายจำแนกเอาไว้
มันเป็นเครื่องวัดสอบ ระดับขั้นของการภาวนาจะได้ไหม ครับ


  ความสุข 10 ขั้นมีอะไรบ้างครับ  ผมยั้งไม่ทราบครับ.

  แต่เมื่อผมได้อ่านบทความทั้งหมดแล้วก็พอเข้าใจในเจตนาโดยรวมๆ ของคุณปล่อยรู้บ้างแล้วครับ.

  อธิบาย.

    การปฏิบัติธรรมนั้น เอาผลของการปฏิบัตของแต่ละขั้นในตำราหรือในพุทธพจน์ที่เราเคยมีความเข้าใจมีความเห็นว่าเป็นอย่างนั้น  มาวัดในช่วงที่เราปฏิบัติธรรมนั้นไม่ควรกระทำครับ แม้กระทั้งเอาความสุขที่เกิดขึ้นไปวัด

    เพราะเมื่อเกิดสภาวะธรรมขึ้น ใจก็จะมัวแต่ไปปรุงแต่งหาบัญญัติว่าเป็นอย่างนั้นๆ เสียก่อน ถ้าไม่หลงมากมายก็จะเข้าใจผิด  ถ้าหลงผิดก็จะผิดเพี้ยนไปได้.

     และการเอาผลของความสุขอย่างเดียวมาวัดผลของการปฏิบัติธรรมนั้นว่าถึงขั้นนั้นขั้นนี้ ยังไม่ควรเป็นอย่างยิ่ง
     
      มีนักวิชาการหรือนักปรัชาญาหรือนักปฏิบัติหรือนักศึกษาธรรมหรือคนทั่วไป บางกลุ่มบางท่าน ชอบแสวงหาธรรมแบบสั้นๆ ชอบคิดธรรมแบบสั้นๆ โป้งเดียว ได้นก 2 ตัว  หรือหาคำตอบที่เป็นคำปั้นทุบดิน แบบที่เดียวจบ หรือปริศนาธรรมประโยคเดียวรู้แจ้งหรือบรรลุธรรม  นี้และเป็นการสร้างธรรมปฏิรูป ธรรมที่คลาดเคลื่อนที่มากขึ้น ของผู้บรรยายธรรม หรือผู้บอกธรรมในภายหลัง เพราะติดอยู่ในโวหารแห่งตนหรือของผู้อื่น.

     ซึ่งผู้ที่ได้รับธรรมเพียงสั้นๆ แล้วบรรลุธรรมเลยนั้นมีเพียง 1 ในหลายพันหรือหลายหมื่นหรือหลายล้านคนเท่านั้น  แต่หมายความว่าผู้นั้นได้สั่งสมมาพร้อมก่อนแล้ว แต่ผู้อื่นแม้ได้ฟังได้น้อมนำธรรมประโยคเดียวกัน ก็หาได้บรรลุธรรมไม่ เพียงแต่เข้าใจหรือพอเข้าใจหรือรู้เรื่องเท่านั้น หรือไม่เข้าใจเลย.

     เช่นผมรู้แนวทางกระปฏิบ้ติธรรมสั้นๆ สามารถบรรลุธรรมได้เลย คือ.

     ให้มีสติรู้ตัวทั่วพร้อม สติละเอียดลงในอริยาบทย่อย แล้วสติละเอียดกับผัสสะที่ปรากฏ แล้วบริกรรมภาวนา "ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง" ๆ ๆ ๆ ๆ
     ทำความเข้าใจกับทุกสภาวะที่ปรากฏกับกายและใจว่า "ไม่ความยึดมั่นถือมั่น" จริงๆ ถ้าทำได้โดยตลอดจนถึงที่สุดย่อมบรรลุธรรมได้.

       แต่ผู้ที่ทำได้ก็มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นเองในจำนวน ล้านๆ คน และจากคนจำนวน ล้าน ๆ คนนั้น ถ้าล้านๆ คนนั้นปฏิบัติจริง ก็จะมีคนจำนวนหนึ่ง ติดกับดักเป็นระยะ ดังนี้.

        ระยะที่ 1. ติดกับดักของความเข้าใจ ว่าตนเองมีความเข้าแจ่มแจ้งแล้วในความไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง ธรรมนี้ถูกต้องแล้ว ธรรมอย่างอื่นผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนไม่ต้องศึกษาก็ได้ เพียงแต่เห็นเข้าใจ ความไม่ยึดมั่นถือมั่นก็พอ.

         ระยะที่ 2. เป็นระยะอันตรายของความเข้าใจผิดเมื่อวิปัสสนาญาณบังเกิดขึ้นแจ่มแจ้งในไตรลักษณ์ที่เป็นอนัตตา (ไม่ยึดมั่นถื่อมั่น,ไม่เป็นตัวเป็นตน)  อยู่ในเขต สัมนสนญาณ (วิปัสสนาญาณที่ 3) ก็จะเข้าใจผิดพลาดไปได้ว่า นี้เป็นการบรรลุธรรมแล้ว เมื่อคลายจากการวิปลาสทางธรรมไปแล้ว แล้วมีความคิดเห็นแปลกปรากฏขึ้น การปฏิรูปการปฏิวัตธรรมเพื่อเป็นของตนเองของกลุ่มตนเองก็บังเกิดขึ้น.

       ดังนั้นพระพุทธเจ้าทรงตรัสสอน
           1.ธรรมที่เหมาะกับจริตผู้นั้นในขณะอยู่ต่อหน้าพระพักตร์
           2.ธรรมที่เหมาะกลุ่มผู้ฟังธรรมอยู่เบื้องหน้าทั้งหลาย
           3.ธรรมที่เหมาะกับมนุษย์และเทวดาทั้งหลายที่ฟังธรรมอยู่
           4.ตรัสบัญยัติธรรม ทั้งธรรมปฏิบัติ และแนวทางธรรม เหมาะกับสัตว์ทั้งหลายเป็นไปตามลำดับที่จะได้ศึกษาในภายหลัง.

       ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงได้วางไว้อย่างครอบคลุมแล้ว แต่ก็มีการปฏิรูปเป็นกลุ่มๆ อยู่ดี ตามสภาวะของกฏแห่งธรรมชาติของสังคมมุษย์ที่เป็นไป.


    ธรรมสั้นๆ ที่ตรงไม่อ้อมค้อม คือ  ทุกสิ่งเกิดจากเหตุ สิ่งที่เกิดทั้งหมดย่อมดับไปเป็นธรรมดา เมื่อสติปัญญาแจ่มแจ้งในธรรมนี้ ก็จะปล่อยวางและไม่ยึดมั่นถือมั่น หรือธรรมสั้นๆ คือ  ความไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง
  
     แต่ใครบ้างแหละ ที่ได้ฟังธรรมนี้ ได้อ่านธรรมนี้ แล้วบรรลุธรรม ถ้าไม่เกิดจากการปฏิบัติธรรมมาตามลำดับอย่างถูกต้องมาก่อน  หรือไม่ได้สั่งสมมาก่อนในอดีตที่มากพอ.

    
       มันต่างกัน กับการได้กินข้าว ของสังคมสังคมมนุษย์ ที่บางคนไม่จำเป็นต้องไปปลูกข้าวเองก็มีข้าวกิน เพียงแต่ไปประกอบอาชีพอย่างอื่นก็ได้ ได้เงินไปซื้อข้าวกินได้.

        จึงสอนลูกสอนหลานว่า ต้องรู้จักประกอบอาชีพ หาเงินเก็บเงิน ก็มีข้าวกิน ไม่จำเป็นต้องไปปลูกข้าวเอง.

       ซึ่งต่างกับ การพัฒนาเพื่อหลุดพ้นจากวัฏสงสารอันเป็นทุกข์ ต้องมีจุดเริ่มต้นจากตนเองเป็นอันดับแรก  แล้วเจริญขึ้นไปตามลำดับ บรรลุถึงไปตามลำดับ นะครับ.

              

ตอบโดย: Vicha 11 ส.ค. 52 - 15:05


สวัสดีครับ คุณระนาด

  จากข้อความของคุณระนาด

อ้างอิง
การภาวนาแบบไม่ให้มีความสุขเกิดขึ้น  หรือ  การภาวนาที่ไม่มีความสุข  ผมนึกไม่ออกเลยว่าจะเป็นไปได้อย่างไร

ผมเข้าใจแบบนี้  คุณวิชามีความเห็นอย่างไรบ้างครับ


   เพราะยังเป็นเบื้องต้นอยู่ครับ จึงยังเห็นเป็นดังด้านบน

          การภาวนาที่ไม่มีความสุขมีครับ จะอยู่ในวิปัสสนาญาณที่เป็นปรมัตญาณเบื้องสูง ที่เป็นผลจากญาณที่ปรากฏจากการกำหนดกรรมฐานอย่างถูกต้องไปตามลำดับ ไม่ใช่จากการคิดปรุ่งแต่ง
 
           การภาวนาที่ไม่มีความสุขมีในวิปัสสนาญานเบื้องสูง  แต่ด้วยประสงค์อยากหลุดอยากพ้นจากทุกข์มากกว่า จึงยังต้องปฏิบัติธรรมไปเรื่อยๆ เพื่อผ่านพ้นไปตามลำดับ.

            

ตอบโดย: Vicha 11 ส.ค. 52 - 15:16


อ้างอิง (Vicha @ 11 สิ.ค. 52 - 15:16)

           การภาวนาที่ไม่มีความสุขมีในวิปัสสนาญานเบื้องสูง  แต่ด้วยประสงค์อยากหลุดอยากพ้นจากทุกข์มากกว่า จึงยังต้องปฏิบัติธรรมไปเรื่อยๆ เพื่อผ่านพ้นไปตามลำดับ.

สาธุครับ   คล้าย ๆ ว่าละตัณหาในสุขออกเสียสิ้นแล้วใช่ไหมครับ

ทั้งสุขในเรื่องกาม

และสุขในฌาน (รูปฌาน และ อรูปฌาน)


ผมสังเกตุเอาจากตนเองนะครับ ตั้งแต่อดีตจนถึงตอนนี้ จิตจากที่ทุกข์หนักหนาสาหัส ก็ทุกข์น้อยลง เพราะได้เรียนรู้ได้ศึกษาธรรมมะ

แต่บ่อยครั้งทีเดียวที่สติตามเห็นความขุ่นเคือง ขัดเคืองใจ ได้บ่อย ๆ

โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่ ขัดต่อการดำเนินชีวิตที่ราบเรียบ

ยกตัวอย่างเช่น


เวลาผมขับรถ   แล้วมีคนมาขับปาดหน้าผมแบบกระชั้นชิดแทบจะชน วันไหนจิตมีกำลัง ก็แทบจะไม่มีความขุ่นเคืองหรือขัดใจอะไรเลย ทั้ง ๆ ที่จะชน

ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้ว  ก็ไม่ได้โกรธไม่ได้ขุ่นเคือง ไม่ได้ขัดใจอะไร

แต่

บ่อยครั้งที่ผมสังเกตุว่า หากเหตุการณ์นั้นมันเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ความขัดใจและขุ่นเคือง เกิดขึ้นกับผมเป็นแน่ครับ

เช่น  มีคนขับรถปาดหน้าผมครั้งแรก  ผมก็ไม่รู้สึกอะไร แทบไม่คิดอะไรเลย เห็นว่าเป็นเหตุการณ์ทั่วไปในการจราจรช่วงเช้า    ต่อมาไม่ถึง 1 นาที ขับไปได้อีกหน่อย ก็เจอคนปาดหน้าซ้ำอีกโดยกระชั้นชิดจนเราต้องรีบเบรกอีกครั้ง   ตอนนี้ความขุ่นผมเกิดขึ้นแล้วครับ   ความดันเพิ่มขึ้นชั่วขณะหนึ่ง ความขุ่นมัวเกิดขึ้นแล้ว ตามมาด้วยอาการถอนหายใจ  แต่จิตก็ไม่คิดอะไร     ต่อมาอีกไม่ถึงนาทีเหมือนกัน เจอรถข้างหน้าเบรกกระชั้นชิดอีก  ตอนนี้ความขุ่นเคือง ความโกรธ เห็นชัด ๆ แล้วครับ  มีคำอุทาน  " ไร เนี่ย "  เกิดขึ้นแล้วครับ   โทสะ ออกทางวาจา แล้ว


ไม่ใช่แค่เหตุการณ์นี้นะครับ

ผมตามดูจิตเป็นอุปนิสัยไปแล้ว  บางครั้งกลับมาจากบ้าน ก็นอนเล่นพักผ่อนอยู่บนเตียง  สักพัก ก็เกิดอาการเจ็บที่แขนครับ  รู้ว่าเจ็บเกิดขึ้น ก็ดูว่ามันเกิดอะไรขึ้น   แล้วก็เห็น  "อ้อ ยุงนี่เอง " ตัวไม่ใหญ่หรอกครับ     ก็เลยไม่ได้โกรธอะไร ไม่ขุ่นอะไรเลยครับ  ก็เลยคิดว่า ให้มันกัดไปแล้วกัน ประเดี๋ยวมันก็คงอิ่ม  หากไปไล่มัน ประเดี๋ยวมันจะย้ายไปกัดที่อื่น จะคันหลายที่     ก็เลยให้มันดูดเลือดไปครับ     เพราะปกติก็ปิดห้องดี  ไม่มียุงอยู่แล้ว มีมาสักตัวก็ไม่เป็นไรหรอก   ผมก็อ่านหนังสือต่อครับ   สักพักก็เจ็บตรงหัวนิ้วโป้งเท้าครับ  เจออีกตัวครับ ผมชำเลืองตาไปดู  ตัวใหญ่ซะด้วยครับ   ก็คิดว่าไม่เป็นไร   ให้มันกัดอีกสักตัวคงไม่เป็นไร เดี๋ยวมันก็ไป       ไม่ทันไรครับ  มีเสียงอีกตัว  วี่ ๆ ๆๆ ๆ  อยู่ตรงหูครับ  ตรงนี้ทนไม่ไหวแล้วครับ ความขัดใจเกิดขึ้นแล้ว   ดีดตัวขึ้นมา แล้วก็บ่นกับตนเองครับ "เราก็ปิดประตูหน้าต่างดีแล้ว มันเข้ามาได้ยังไง"  ในขณะนั้นก็เห็นจิตครับ ว่าโทสะสุมใจเรียบร้อย  ก็มีสติรู้ครับ  ไม่รู้จะทำไงก็เลยเอาผ้าห่มมาห่มปิดไฟนอนเลยครับ


รู้การเกิดขึ้นของโทสะตั้งแต่ยังไม่เกิด  จนค่อย ๆ เกิด จนชัด  จนมันค่อย ๆ เบาลง  จนมันดับไป

แต่ก็มาพิจารณาดูว่า  ความขัดใจ โทสะ  มีเหตุมาจากอาวสะกิเลส    เพราะอาสวะยังมี ความขัดใจจึงมี  เพราะมารบกวนกิจกรรมต่าง ๆ ของชีวิตในขณะที่ดำเนินไปอย่างราบเรียบ   ผมมาฉุกคิดว่า   "ถ้าอย่างนั้นแสดงว่าผมมีตัณหา มีความพอใจ มีความเพลิดเพลินเป็นปัจจัย  โทสะ ความขัดใจ จึงเกิดขึ้นได้ "

เพราะผมกำลังขับรถอย่างราบรื่น ตามปกติ  เมื่อมีคนมาปาดหน้าหลาย ๆ ครั้ง โทสะจึงเกิดขึ้น  นั้นเพราะผมมีความพึงพอใจหรือเพลิดเพลินโดยเสพความเพลิดเพลินอยู่ในการขับอย่างราบเรียบอยู่ พอมีคนมาปาดหน้าหลายครั้ง โทสะจึงเกิดได้      ในทางตรงกันข้าม ถ้าผมขับรถโดยมีสติโดยไม่เผลอ โดยไม่เพลิดเพลิน  ก็ย่อมไม่มีปัจจัยให้โทสะเกิดขึ้นได้

เพราะผมกำลังพักผ่อนอ่านหนังสืออยู่บนเตียงนอน ตามปกติ อย่างผ่อนคลาย  มีความเพลิดเพลินในการพักผ่อนอยู่  เมื่อยุงมากัดหลาย ๆ ตัว หลาย ๆ ที่เข้า โทสะจึงเกิดได้ เพราะมีความเพลิดเพลินเป็นปัจจัย   ในทางตรงกันข้าม ถ้าผมไม่เผลอ ไม่เสพการเพลิดเพลินจากการพักผ่อน  ก็ย่อมไม่มีปัจจัยให้โทสะเกิดขึ้นได้


ผมจึงเห็นว่า  โทสะ เป็นหลักฐาน ที่แสดงให้เห็นว่าอาสวะยังอยู่ เพราะมีอาสวะมีอวิชชาเป็นปัจจัย    โดยผมพิจารณาว่า โทสะที่เกิดขึ้นนั้นมีเหตุปัจจัยมาจากความเพลิดเพลินในสุขนั้นแร่ะ  เมื่อมีอะไรมาทำสุขนั้นได้รับการกระทบกระเทือน โทสะย่อมเกิดขึ้นได้    สำหรับผมแล้ว สุขที่เห็นชัด เช่น สุขจากการกิน สุขจากนอน  ถ้ามีอะไรมาขัด ผมก็ไม่ได้รู้สึกโกรธอะไร  แต่สุขที่ไม่ชัดเจน  สุขที่ละเอียด สุขที่เราก็ไม่เคยสังเกตุอยู่เลยว่าจิตมันเสพอยู่ด้วยความเพลิดเพลิน  พอมีอะไรไปขัด เท่านั้น ความขัดใจก็เกิดขึ้นโดยง่าย


ถ้าไม่สังเกตุให้ดี การขับรถอย่างราบรื่น  ก็มีการเสพความเพลิดเพลินอยู่
ถ้าไม่สังเกตุให้ดี การที่นั่งพักเฉย ๆ ดูวิว นั้นก็คือ การเสพความเพลิดเพลินอยู่
ถ้าไม่สังเกตุให้ดี การมีจิตอยู่ในความสงบสงัด ก็มีการเสพความเพลิดเพลินอยู่

เพราะเพลิดเพลิน นั้นมีสุขเป็นปัจจัย เมื่อมีอะไรมาขัดความเพลิดเพลินหรือขัดสุข ย่อมทำให้โทสะกำเริบ


สุขทั้งหลายเริ่มไม่น่าเพลิดเพลินแล้ว การไม่มีสุขผมจึงเห็นด้วยจริง ๆครับ เพราะสุขมันมีภัยอยู่ในตัว


แล้วผมควรจะทำอย่างไรต่อดีครับ พี่ Vicha

ตอบโดย: น้องบู 11 ส.ค. 52 - 16:21


ถามคุณ Vicha หรือครับ หะหะหะ อดตอบเลยเรา

อยากตอบก็ รู้ว่า อยากตอบ แหะๆๆ  

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 11 ส.ค. 52 - 16:31


อยากฟังความเห็นของผู้อื่นด้วยครับ  ผลประโยชน์ต่อผมทั้งนั้นครับ  แสดงมาได้เลยครับ


ยิ่งมากก็ยิ่งดีครับ  เอามาประกอบกัน จะทำให้ได้มุมมองหลาย ๆ องศาครับ   มุมเล็ก  ๆบางมุม ที่ผมมองข้าม มีความเป็นไปได้ที่จะอยู่ในความเห็นของทุกคนอยุ่แล้วครับ

ตอบโดย: น้องบู 11 ส.ค. 52 - 16:35


สุข หรือ ทุกข์ ไม่ใช่ปัญหา

ปัญหาอยู่ที่ความเพลิดเพลินเกิดขึ้น แล้วรู้ไม่ทัน

ความเพลิดเพลิน เกิดขึ้นใหรู้ทัน

เจริญในธรรมครับ

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 11 ส.ค. 52 - 16:40


สาธุครับ พี่บุณรักษ์ วิธีที่พี่บอกผม  ผมก็เห็นว่าน่าจะเป็นหนทางเดียวครับ   แต่เหมือนผมจะรู้ว่าหากผมทำอย่างนั้นจริง ๆต่อเนื่อง เต็มกำลังที่มี  จิตคงจะไม่กลับมาเสพสุขอีกน่ะสิครับ เพราะจิตยังอาวรณ์ในสุข    แม้หนทางจะชัดเจนแต่ก็ไม่กล้าเดินไป เพราะเดินไปแล้วไม่สามารถจะกลับมาได้อีก   ก็คงจะทำแบบเดิมไปก่อนครับ  ยอมรับครับว่ากิเลสนั้นแร่ะที่ทำให้ผมไม่สามารถก้าวเดินต่อได้

คงต้องใช้เวลา โยนิโสมนสิการให้มากพอ จนกิเลสเขาเห็นใจ ปล่อยให้ผมไปตามทาง

แหม ก็ผมกับกิเลส รักกันมานาน คงจะตัดเยื่อใยกันยากอยู่เหมือนกันครับ

ขอรอฟังความเห็นท่านอื่น ๆ ต่อนะครับ  จะได้ใช้เป็นข้อมูลในการเจริญในธรรมต่อไป

ตอบโดย: น้องบู 11 ส.ค. 52 - 16:55


สวัสดีครับทุกท่าน

ผมเกิดอาการอย่างเดียกันกับคุณน้องบูเลยครับ แบบว่าเป๊ะๆ เลยล่ะ 555

และที่สำคัญมันเพิ่งจะสงบไปเมื่อสักครู่นี่เองครับ เหตุเกิดตอนประมาณบ่ายสามครับ คือว่าผมจะลาหยุดต่อเนื่องในวันที่ 13 14 ครับ ใจก็เลยอยากจะสะสางงานในหน้าที่ให้เรียบร้อยก่อนไป แต่ก็กลายเป็นว่ามีลูกค้าโทรเข้ามา 2 ราย ครับ รายแรกก็ยังเฉยอยู่ครับ ก็ทำงานไป ในใจก็คิดว่าไม่เป้นไรหรอก เดี๋ยวก็ฝากคนอื่นช่วยดูแลต่อให้ก็ได้ ทำยังไม่ทันเสร็จลูกค้ารายที่สองก็โทรเข้ามา ใจก็เริ่มนึกแล้ว สงสัยจะไม่ได้ไป ก็พอดีกับผู้จัดการเรียกให้ไปทำงานด่วนแทรกเข้ามา ไปเลยครับ ถึงกับรำพึงออกมาเลย อะไรกันเนี่ย แต่ก็รู้อยู่ครับว่าโมโหแล้ว

ส่วนในเรื่องขับรถกับยุงกัดนั้น ตรงกันเป๊ะๆ เลยครับ

ทีนี้พอได้อ่านข้อความไล่ลงมาจากคุณปล่อยรู้ คุณระนาด และของคุณVicha เข้า ผมก็พลันนึกขึ้นว่า เออ จริงแงะ เพราะมันตรงกับความรู้สึกของผมพอดี ว่าจริงๆ แล้วนั้น ผมไม่อยากเรียก "ความปกติที่เกิดขึ้นกับจิต หรือ จิตที่เป็นปกติ" นั้นว่าเป็นความสุขเลย เพราะผมมองว่ามันไม่ใช่ความสุข แต่มันเป็นความเบาสบายมากกว่า คือมันเป็นสภาวะที่ราบเรียบ ครั้นจะเรียกว่าสุข ผมก็รู้สึกว่ามันกระไรๆ อยู่ เพราะมันไม่ใช่สุข แต่จะไม่เรียกว่าสุขก็คงจะไม่ได้ เพราะมันไม่ได้ทุกข์อะไร

อาการแบบนี้จะเกิดขึ้นกับผมได้ครั้งละไม่นานครับ แต่ก็เกิดขึ้นบ่อยๆ อยู่ แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วผมก็มักจะเพลินไปกับสภาวะนั้นครับ ตอนนี้แหละครับที่ผมเรียกได้เต็มปากเต็มคำว่า สุข ครับ

ผมอธิบายว่าสภาวะนี้มันจะมีอยู่ 4 ระยะครับ
ระยะแรกคือในช่วงที่เราดำรงสติได้อย่างดีมีสมาธิรู้สภาวะธรรมทุกอย่างที่ผ่านเข้ามา
ระยะที่สองเป็นช่วงที่ต่อเนื่องกันไปคือเห็นว่าทุกอย่างผ่านมาก็ผ่านไปโดยไม่เกี่ยวข้องกับเราเลย รู้สึกเป็นอิสระจากทุกอย่างรอบกาย โปร่งโล่ง เบาสบายดีแท้
ระยะที่สามเป็นช่วงที่เราจะเผลอหลงเพลินไปกับอิสระที่ได้เสวยอยู่ในขณะนั้น
ระยะที่สี่คือระยะที่ไตรลักษณ์เริ่มปรากฏคอความสุขนั้นจะเริ่มลดลง เพราะเราเคลื่อนไปจากสติและสมาธิ ยิ่งมีอะไรเข้ามากระทบด้วยแล้วก็จะทำให้เราขัดเคืองได้ แต่ถ้าไม่เกิดซ้ำขึ้นหลายครั้งก็ไม่เป็นไร มันจะเป็นเหมือนการเข้ามากระตุ้นให้เราหันกลับมาดำรงสติใหม่ แต่ถ้าเกิดซ้ำหลายครั้งแบบติดๆ กัน ก็จะเริ่มขัดเคือง เริ่มขุ่น เริ่มโมโห และโกรธ แต่อาการนั้นๆ ก็จะถูกปล่อยไปได้ภายในระยะเวลาไม่นานครับ ของผมนั้นไม่เกิดครึ่งชั่วโมงทุกอย่างก็จะกลับมาเหมือนเดิมครับ

ผมพอจะอธิบายออกมาได้อย่างนี้ครับ
ผิดพลาดประการใดกรุณาชี้แนะด้วยนะครับ

ตอบโดย: ณวบุตร 11 ส.ค. 52 - 18:58


อ้างอิง (Vicha @ 11 สิ.ค. 52 - 15:16)
สวัสดีครับ คุณระนาด

  จากข้อความของคุณระนาด

อ้างอิง
การภาวนาแบบไม่ให้มีความสุขเกิดขึ้น  หรือ  การภาวนาที่ไม่มีความสุข  ผมนึกไม่ออกเลยว่าจะเป็นไปได้อย่างไร




   เพราะยังเป็นเบื้องต้นอยู่ครับ

         
           การภาวนาที่ไม่มีความสุขมีในวิปัสสนาญานเบื้องสูง  แต่ด้วยประสงค์อยากหลุดอยากพ้นจากทุกข์มากกว่า จึงยังต้องปฏิบัติธรรมไปเรื่อยๆ เพื่อผ่านพ้นไปตามลำดับ.
(Vicha @ 11 สิ.ค. 52 - 15:16)


หลวงพ่อเคยสอนในซีดีว่า  จากระดับพระอานาคามี  ก้าวไปสู่พระอรหันต์  ท่านจะเห็นขันธ์ 5 เป็นทุกข์ล้วนๆเลย   แต่ระดับต้นๆ  จะเห็นขันธ์ 5 เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง  เป็นแบบนี้ใช่ไหมครับคุณวิชา

ขอบคุณ คุณวิชามากครับ
                ------------------------

อยากอ่านความเห็นของคุณจุ๊บ้าง   พักนี้คุณจุ๊หายเงียบไปเลย
 

ตอบโดย: ระนาด 11 ส.ค. 52 - 19:11


สำหรับตัวผมนะ   ความสุขของผมขึ้นอยู่กับการยอมรับความจริงว่า  การภาวนาหรือการใช้ชีวิตประจำวัน  ย่อมจะต้องมีดีบ้าง  ไม่ดีบ้าง  สุขบ้าง  ทุกข์บ้าง  ภาวนาดีบ้าง  ไม่ดีบ้าง  แต่ละวันจะไม่เท่ากัน

ถ้าวันไหน  ผมยอมรับความจริงตรงนี้ได้มาก  วันนั้นผมก็มีความปลอดโปร่งโล่งใจมาก  แม้ว่าจะมีเรื่องทำให้เกิดความเคืองใจ   แต่ก็เป็นความเคืองใจที่อยู่นอกๆ   มันไม่กระเทือนลึกเข้ามาในใจ

ถ้าวันไหน   ผมมีความคาดหวังว่าวันนี้จะภาวนาได้ดีเหมือนเมื่อวาน หรือ วันนี้จะมีความปลอดโปร่งโล่งใจเหมือนเมื่อวาน  หรือ  วันนี้คงไม่มีใครมาทำให้เคืองใจ  แบบนี้ผมจะเป็นทุกข์ครับ    จนเดี๋ยวนี้ผมไม่อยากจะคาดหวังอะไรนัก  ผมดูความรู้สึกแบบปล่อยให้ความรู้สึกแผ่วๆผุดขึ้นมาแล้วดับไป ดูแบบวันต่อวัน  แบบนี้จะดีกว่า
 

ตอบโดย: ระนาด 11 ส.ค. 52 - 19:29


สวัสดีครับน้องบู

จากข้อความ

อ้างอิง
แล้วผมควรจะทำอย่างไรต่อดีครับ พี่ Vicha


ถ้าปรารถนาละกิเลสให้หมดสิ้นอย่างเด็ดขาด  ก็ให้เวลาในการปฏิบัติธรรมในการเจริญสติปัญญาด้วยวิปัสสนากรรมฐาน ให้พละ 5 เจริญสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เจริญถึงมรรคผลนิพพาน ครับ.

แต่จากข้อความนี้ ของน้องบู

อ้างอิง
แต่เหมือนผมจะรู้ว่าหากผมทำอย่างนั้นจริง ๆต่อเนื่อง เต็มกำลังที่มี  จิตคงจะไม่กลับมาเสพสุขอีกน่ะสิครับ เพราะจิตยังอาวรณ์ในสุข    แม้หนทางจะชัดเจนแต่ก็ไม่กล้าเดินไป เพราะเดินไปแล้วไม่สามารถจะกลับมาได้อีก   ก็คงจะทำแบบเดิมไปก่อนครับ  ยอมรับครับว่ากิเลสนั้นแร่ะที่ทำให้ผมไม่สามารถก้าวเดินต่อได้


ก็กลายเป็นการขัดแย้งกันอยู่ครับ .

  อือ... อย่างนั้นก็อย่าประมาท สร้างสมคุณงามความดีและคุณธรรมเป็นบารมีต่อไปนะครับ...
 

ตอบโดย: Vicha 11 ส.ค. 52 - 20:55


สวัสดีครับคุณ ณวบุตร

  จากข้อความของคุณณวบุตร

อ้างอิง
ผมอธิบายว่าสภาวะนี้มันจะมีอยู่ 4 ระยะครับ
ระยะแรกคือในช่วงที่เราดำรงสติได้อย่างดีมีสมาธิรู้สภาวะธรรมทุกอย่างที่ผ่านเข้ามา
ระยะที่สองเป็นช่วงที่ต่อเนื่องกันไปคือเห็นว่าทุกอย่างผ่านมาก็ผ่านไปโดยไม่เกี่ยวข้องกับเราเลย รู้สึกเป็นอิสระจากทุกอย่างรอบกาย โปร่งโล่ง เบาสบายดีแท้
ระยะที่สามเป็นช่วงที่เราจะเผลอหลงเพลินไปกับอิสระที่ได้เสวยอยู่ในขณะนั้น
ระยะที่สี่คือระยะที่ไตรลักษณ์เริ่มปรากฏคอความสุขนั้นจะเริ่มลดลง เพราะเราเคลื่อนไปจากสติและสมาธิ ยิ่งมีอะไรเข้ามากระทบด้วยแล้วก็จะทำให้เราขัดเคืองได้ แต่ถ้าไม่เกิดซ้ำขึ้นหลายครั้งก็ไม่เป็นไร มันจะเป็นเหมือนการเข้ามากระตุ้นให้เราหันกลับมาดำรงสติใหม่ แต่ถ้าเกิดซ้ำหลายครั้งแบบติดๆ กัน ก็จะเริ่มขัดเคือง เริ่มขุ่น เริ่มโมโห และโกรธ แต่อาการนั้นๆ ก็จะถูกปล่อยไปได้ภายในระยะเวลาไม่นานครับ ของผมนั้นไม่เกิดครึ่งชั่วโมงทุกอย่างก็จะกลับมาเหมือนเดิมครับ


  ผมขออธิบายอย่าง สั้นง่ายๆ นะครับ.

   การเห็นไตรลักษที่แท้จริงในการปฏิบัติธรรม คือเห็นแจ้งในขณะที่ สติปัญญาสมบูรณ์ หรือมีพละ 5 ที่เจริญที่สมบูรณ์ครับ  และการเห็นไตรลักษณ์นั้นมี 3 อย่างคือ.

   1.อนิจจังนุปัสสนา
   2.ทุกขังนุปัสสนา
   3.อนัตตานุปัสสนา

  ส่วนการเห็นไตรลักษณ์ที่ว่า กำหนดกรรมฐานมีสติดีก็มีสุขอยู่  เมื่อเผลอไปปล่อยการกำหนดไปความสุขก็ลดลง มีเวทนาอื่นเข้ามาปน  นี้เป็นการรู้ตามปกติสามัญทั่วไปครับ  ไม่ใช่การเห็นไตรลักษณ์ที่สติปัญญาไปเห็นอย่างแจ้งชัดครับ.
       

ตอบโดย: Vicha 11 ส.ค. 52 - 21:10


สวัสดีครับ คุณระนาด

  การมีสติปัญญาเห็นขันธ์ 5 เป็นทุกข์เป็นโทษ อย่างเต็มที่จนเบื่อหน่าย ไม่เอาเลย ทั้งแต่เกิดวิปัสสนาญาณ ที่ 8 - 9 - 10 ของปุถุชนแล้วครับ.

  แต่การที่จะบรรลุจากพระอนาคามี ไปสู่การเป็นพระอรหันต์นั้นจากที่ผมได้ทราบมา วิปัสสนาญาณต่างๆ จะมีความระเอียดอ่อนเป็นอย่างยิ่ง จึงต้องเจริญด้วยสติปัญญาละเอียดขึ้นดีขึ้นเป็นอย่างยิ่ง จนเบื่อหน่ายรูปนามทั้งรูปภพและอรูปภพเป็นอย่างยิ่ง ส่วนเรื่องทุกข์โทษของขันธ์ 5 นั้นก็ไม่ได้เกิดแบบหยาบๆ แบบปุถุชน หรือแบบพระโสดาบันหรือแบบพระสิทาคามีแล้วครับ.


อ้างอิง
ความคิดเห็นที่ 551 : (ระนาด) แจ้งลบ | อ้างอิง |


สำหรับตัวผมนะ   ความสุขของผมขึ้นอยู่กับการยอมรับความจริงว่า  การภาวนาหรือการใช้ชีวิตประจำวัน  ย่อมจะต้องมีดีบ้าง  ไม่ดีบ้าง  สุขบ้าง  ทุกข์บ้าง  ภาวนาดีบ้าง  ไม่ดีบ้าง  แต่ละวันจะไม่เท่ากัน

ถ้าวันไหน  ผมยอมรับความจริงตรงนี้ได้มาก  วันนั้นผมก็มีความปลอดโปร่งโล่งใจมาก  แม้ว่าจะมีเรื่องทำให้เกิดความเคืองใจ   แต่ก็เป็นความเคืองใจที่อยู่นอกๆ   มันไม่กระเทือนลึกเข้ามาในใจ

ถ้าวันไหน   ผมมีความคาดหวังว่าวันนี้จะภาวนาได้ดีเหมือนเมื่อวาน หรือ วันนี้จะมีความปลอดโปร่งโล่งใจเหมือนเมื่อวาน  หรือ  วันนี้คงไม่มีใครมาทำให้เคืองใจ  แบบนี้ผมจะเป็นทุกข์ครับ    จนเดี๋ยวนี้ผมไม่อยากจะคาดหวังอะไรนัก  ผมดูความรู้สึกแบบปล่อยให้ความรู้สึกแผ่วๆผุดขึ้นมาแล้วดับไป ดูแบบวันต่อวัน  แบบนี้จะดีกว่า


ก็เป็นไปตามการวางการปฏิบัติตามความเห็นเป็นแนวทางของคุณระนาดในช่วงปัจจุบันนี้นะครับ.  แต่เมื่อกาลต่อไปข้างก็อาจเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นก็ได้ครับ.

ผมต้องขออภัยด้วยนะครับ ผมต้องกล่าวธรรม ตรงไปตรงมา ตามที่ได้ศึกษามา ตามการปฏิบัติที่ผ่านมานะครับ
 

ตอบโดย: Vicha 11 ส.ค. 52 - 21:34


ก่อนจะมาภาวนา  เวลามีสุขมีทุกข์  เราจะรู้สึกว่า "เรา" มีสุขบ้าง มีทุกข์บ้าง
เวลากายสุข/ทุกข์ ก็รู้สึกว่า กาย "เรา" สุข/ทุกข์  ใจก็เช่นเีดียวกัน

พอเิริ่มภาวนา  ก็ยังเห็นว่ามีสุขบ้าง มีทุกข์บ้าง  แต่จะเิริ่มเห็นว่ากาย, ใจ, สุข, ทุกข์ นั้น
แยกเป็นส่วนๆ  ความสุข ความทุกข์เลยจะเหมือนห่างๆ ออกไป  เริ่มเห็นกาย ใจ และ
ความรู้สึกต่างๆ  แสดงความแปรปรวน บังคับไม่ได้ ตั้งอยู่ไม่ได้ (ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์)

พอภาวนาไปเรื่อยๆ  จะเห็นว่า ที่จริงแล้วนั้น รูปนามมันมีแต่ทุกข์ล้วนๆ  เพราะอะไรก็ตาม
ที่ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์  จะไม่มีสุขได้เลย  จะเห็นแต่ความทุกข์ เห็นแต่ความเป็นโทษภัย
ของรูปนาม  ในช่วงนี้  ถ้ากำลังใจดี อินทรีย์ห้าพอเหมาะ  ก็จะตั้งใจรู้ตั้งใจดูตั้งใจเจริญสติ
ไม่ให้ย่อหย่อน (แต่ไม่ได้จงใจดู)  เพราะได้เห็นความจริงแล้วว่า รูปนามนี้ไม่ใช่ของดี
ของวิเศษอะไร  มีแต่ทุกข์ล้วนๆ  จิตจะต้องการให้พ้นไปจากรูปนามนี้  จึงกำหนด(มีสติ)
ได้ดี  ไม่ยอมท้อถอย  ประกอบกับจิตใจจะประจักษ์แล้วว่า  สติปัฏฐานสี่นั้นเป็น
เส้นทางเีดียวจริงๆ  จิตใจจึงไม่ยอมถอย  เรียกว่าสู้ตายก็ว่าได้  แต่ถ้าิอินทรีย์อ่อน
คาดว่าอาจจะถอยได้ เพราะแค่เห็นความจริง  บางทีก็ทนรับความจริงไม่ไหวแล้ว

เมื่อผ่านช่วงนี้ไปได้  จิตจะค่อยๆ เป็นกลางกับรูปนามมากขึ้น  คือเห็นอยู่ว่า เป็นทุกข์
เป็นโทษ  แต่เป็นกลางได้ดีขึ้น  ก็จะยังกำหนดรู้รูปนามได้ดีต่อเนื่อง  จากตรงนี้ถ้าเจริญ
ภาวนาต่อไป  จนใจเป็นกลางอย่างแท้จริง  จะเข้าสู่วิปัสสนาญาณท้ายๆ และเกิดการ
ตัดสินความรู้ได้เลย  แต่ถ้าจิตใจยังกำลังไม่พอ ก็อาจจะถอยกลับลงไปได้
ในครั้งแรก  สิ่งที่จะถูกทำลายคือ ความเห็นผิดว่ากายนี้ใจนี้คือตัวเรา  ที่ำทำลายได้
เพราะเห็นความจริงมากพอ  จนยอมรับความจริงเกิดการเห็นถูกขึ้นมาแทน

การเห็นรูปนามเป็นไตรลักษณ์ก็ดี  เป็นทุกข์เป็นโทษก็ดี  ในวิปัสสนาญาณขั้นสูงๆ
ไม่ได้เกิดจาการคิดซ้ำ  หรือเอามานั่งพิจารณาว่าไอ้ที่เราเห็นน่ะมันอะไร
มีแต่ว่า รู้ไปดูไป รู้ไม่มีคำพูด รู้ไม่มีความคิด ไม่ไ้ด้มีคำบอกว่านี่อะไรๆ
แต่ในใจมันเห็นมันรู้อยู่ของมันเอง  มันเห็นความเป็นจริง  เห็นอยู่อย่างนั้น
จนเกิดความเบื่อหน่าย  ต้องการไปให้พ้น  ซึ่งก็เกิดขึ้นมาเอง

การภาวนาแรกๆ เราต้องหัดให้มีสติขึ้นมาก่อน  พอมีสติแล้วตามรู้ตามดูบ่อยๆ
จนเริ่มเ็ห็นความจริง  เห็นทีแรก ใจมันไม่ยอมรับหรอกว่า กายใจไม่เที่ยง ไม่น่าเอา
เห็นบ่อยๆ ใจมันจะหน่ายมันจะคลาย ของมันเอง  ถ้ายังไม่คลายก็ตามรู้ตามดูไป
คลายเมื่อไหร่  ก็เมื่อนั้น  เราทำได้แค่เหตุ ผลนั้นเร่งรัดไม่ได้

ขอยกคำหลวงพ่อปราโมทย์มานะคะ ท่านว่า "เราภาวนาไม่ได้เอาสุข เอาสบาย
เราภาวนาเอาความจริง  ความจริงคือกายนี้ใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ...."
แต่เิริ่มแรกยังเป็นสุขอยู่ก็ทำไปก่อน  สภาวะธรรมที่จะประสบจากการภาวนานั้น
ไม่คงที่หรอก  จะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับๆ ตามกำลังของสติปัญญาที่ค่อยๆ เจริญขึ้น

เวลาภาวนานั้นไม่ต้องไปสนใจหรอกค่ะว่า นี่คือตรงไหน ญาณไหน  บางทีมันทำให้เขวได้
แล้วอาการของแต่ละช่วง  มันก็อาจจะเป็นจากญาณ หรือ จากปัจจัยอื่นๆ ก็ได้
การรู้การฟังไว้ก่อน  ขอให้เป็นการฟังประดับความรู้ ทำนองรู้ไว้ใช่ว่า  แต่เวลาภาวนาอย่า
ไปนึกถึงเลย  เพราะจิตนั้นพิสดารนัก  พอเรานึกคิดถึงวิปัสสนาญาณ เป็นต้น
ก็อาจเกิดการปรุงแต่งสภาวะขึ้นมาได้
 

ตอบโดย: อัญญาสิ 12 ส.ค. 52 - 05:41


อ้างอิง (Vicha @ 11 สิ.ค. 52 - 21:34)

อ้างอิง
ความคิดเห็นที่ 551 : (ระนาด) แจ้งลบ | อ้างอิง |

   ความสุขของผมขึ้นอยู่กับการยอมรับความจริง

    ผมดูความรู้สึกแบบปล่อยให้ความรู้สึกแผ่วๆผุดขึ้นมาแล้วดับไป ดูแบบวันต่อวัน  แบบนี้จะดีกว่า


ก็เป็นไปตามการวางการปฏิบัติตามความเห็นเป็นแนวทางของคุณระนาดในช่วงปัจจุบันนี้นะครับ.  แต่เมื่อกาลต่อไปข้างก็อาจเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นก็ได้ครับ.
(Vicha @ 11 สิ.ค. 52 - 21:34)


ผมเห็นด้วยครับ

ผมว่า  ต่อไปในกาลข้างหน้า  การภาวนาของผมก็คงจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง  อย่างที่คุณวิชากล่าวมาครับ

ไม่ต้องดูอะไรมาก  แค่เมื่อเดือนที่แล้วกับเดือนนี้  การภาวนาของผมก็แตกต่างกันมากๆเลยครับ  และ วันนี้กับเมื่อวานนี้  ก็ไม่เหมือนกันแล้วครับ

ผมดูแบบวันต่อวัน  แต่ละวันไม่เหมือนกัน  แต่ละวันไม่เที่ยง  แบบนี้สบายใจดีครับ  ถ้าอยากจะให้การภาวนาเหมือนกันทุกวัน  แบบนี้เครียดมากเลยครับ  ทำไม่ได้เลย
                    -------------------------------------

ขอรบกวนเรียนถามว่า  การดูไตรลักษณ์  เราสามารถดูความเป็นไตรลักษณ์ของกายและใจไปเรื่อยๆ  จนถึงวิปัสสนาญานขั้นสูงๆเลยได้ไหมครับ  หรือว่าใช้ได้ในระดับต้นๆเท่านั้น
 

ตอบโดย: ระนาด 12 ส.ค. 52 - 05:48


อ้างอิง (น้องบู @ 11 สิ.ค. 52 - 16:21)
อ้างอิง (Vicha @ 11 สิ.ค. 52 - 15:16)

           การภาวนาที่ไม่มีความสุขมีในวิปัสสนาญานเบื้องสูง  แต่ด้วยประสงค์อยากหลุดอยากพ้นจากทุกข์มากกว่า จึงยังต้องปฏิบัติธรรมไปเรื่อยๆ เพื่อผ่านพ้นไปตามลำดับ.

สาธุครับ   คล้าย ๆ ว่าละตัณหาในสุขออกเสียสิ้นแล้วใช่ไหมครับ

ตรงนี้ยังเข้าใจไม่ถูก  ในวิปัสสนาญาณสูงๆ นั้น  ไม่มีสุข เพราะผู้ปฏิบัติจะเห็นทุกข์โทษ
ของรูปนาม  หาใช่เพราะละตัณหาได้  เมื่อเห็นว่ารูปนามเป็นทุกข์เป็นโทษ
จึงพยายามจะไปให้พ้น  ซึ่งทำได้โดยการเิจริญสติเท่านั้น จึงบังเกิดความตั้งใจ
ในการปฏิบัติ  แต่ยังละตัณหาได้ไม่เด็ดขาด

การละตัณหา จะเกิดได้เมื่อเกิดมัคคญาณ มีการประหารกิเลสเกิดขึ้นเท่านั้น  จึงจะเรียกได้ว่า
ละกิเลสตัณหาได้จริงๆ  ถ้ายังไม่ถึงตรงนี้  ที่เราปฏิบัติๆ คือ การทำให้กิเลสอ่อนกำลังเท่านั้น
แต่จะถือเป็นการละโดยสมุจเฉท (ละได้เด็ดขาด) ยังไม่ได้
 

ตอบโดย: อัญญาสิ 12 ส.ค. 52 - 05:59


สวัสดีครับ ทุกท่าน

ขอขอบคุณคุณ Vicha คุณอัญญาสิ คุณสักแต่ว่า ที่กรุณาขยายความสติปัฏฐานครับ

ขออนุญาตตัดแปะ ประเด็นคำว่าภาวนาครับ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ภาวนา&detail=on

ภาวนา การทำให้มีขึ้นเป็นขึ้น, การทำให้เกิดขึ้น, การเจริญ, การบำเพ็ญ
       1. การฝึกอบรม ตามหลักพระพุทธศาสนา มี ๒ อย่าง คือ
           ๑. สมถภาวนา ฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ
           ๒. วิปัสสนาภาวนา ฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้เข้าใจตามเป็นจริง,
       อีกนัยหนึ่ง จัดเป็น ๒ เหมือนกันคือ
           ๑. จิตตภาวนา การฝึกอบรมจิตใจให้เจริญงอกงามด้วยคุณธรรม มีความเข้มแข็งมั่นคง เบิกบาน สงบสุขผ่องใส พร้อมด้วยความเพียร สติ และสมาธิ
           ๒. ปัญญาภาวนา การฝึกอบรมเจริญปัญญา ให้รู้เท่าทันเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง จนมีจิตใจเป็นอิสระ ไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลสและความทุกข์
       2. การเจริญสมถกรรมฐานเพื่อให้เกิดสมาธิ มี ๓ ขั้น คือ
           ๑. บริกรรมภาวนา ภาวนาขั้นตระเตรียม คือกำหนดอารมณ์กรรมฐาน
           ๒. อุปจารภาวนา ภาวนาขั้นจวนเจียน คือเกิดอุปจารสมาธิ
           ๓. อัปปนาภาวนา ภาวนาขั้นแน่วแน่ คือเกิดอัปปนาสมาธิเข้าถึงฌาน


กิจในอริยสัจ ข้อที่ต้องทำในอริยสัจ ๔ แต่ละอย่าง คือ
       ปริญญา กำหนดรู้ เป็นกิจในทุกข์
       ปหานะ การละ เป็นกิจในสมุทัย
       สัจฉิกิริยา การทำให้แจ้งหรือการบรรลุ เป็นกิจในนิโรธ
       ภาวนา การเจริญคือปฏิบัติบำเพ็ญ เป็นกิจในมรรค


ปธาน ความเพียร,
       ความเพียรที่ชอบเป็นสัมมาวายามะ มี ๔ อย่าง คือ
           ๑. สังวรปธาน เพียรระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น
           ๒. ปหานปธาน เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
           ๓. ภาวนาปธาน เพียรเจริญทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
           ๔. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เสื่อมไปและให้เพิ่มไพบูลย์;


เข้าที่ นั่งภาวนากรรมฐาน

อ้างอิง
ความคิดเห็นที่ 556 : (ระนาด)
ขอรบกวนเรียนถามว่า  การดูไตรลักษณ์  เราสามารถดูความเป็นไตรลักษณ์ของกายและใจไปเรื่อยๆ  จนถึงวิปัสสนาญานขั้นสูงๆเลยได้ไหมครับ  หรือว่าใช้ได้ในระดับต้นๆเท่านั้น


ขออนุญาตสนทนากับคุณระนาดครับ
ต้นไม้พิษย่อมมีลูกเป็นพิษ เอ้อไม่ใช่ครับ ปลูกข้าวย่อมได้กินข้าวครับ หรือทำงานหาเงินซื้อข้าวได้ครับ  
ถ้าเปรียบการภาวนาของคุณระนาดเป็นการวิ่ง เข้าที่ ระวัง ไป ผมว่าคุณระนาดกำลังวิ่งอยู่ครับ ผมขอเป็นกองเชียร์ครับ สู้ สู้ วิ่งต่อไปครับ
เรื่องการอบรมจิตพิจารณาไตรลักษณ์ อบรมสติจนเก็บเป็นความรู้เอง(สัมปชัญญะ) ผมว่าตัวสัมปชัญญะนี้จะทำงานเองเมื่อวิปัสสนาสูงขึ้นครับ เหมือนคุณVichaบอกว่าชำเลืองมอง หรือคุณระนาดบอกว่ารู้สองอย่าง รู้เอง ผมว่าคุณระนาดอบรมอย่างนั้นก็ย่อมได้อย่างนั้นครับ ส่วนผมเวลาสวดทำวัตรเช้าง่วงก็ง่วงแต่ปากก็สวดได้ครับแถมยังเก็บเอาไปฝันเวลานั่งก็ยังก้องในหูอีกครับ เวลานั่งสมาธิแบบไล่จุดในร่างกายก็เหมือนกันครับง่วงก็ง่วงแต่ก็ยังมีสติรู้ว่ามันไล่จุดเองครับ

กัลยาณมิตรธรรมครับ
     

ตอบโดย: damrong121 12 ส.ค. 52 - 09:35


อนุโมทนาสาธุ ในการภาวนาปฏิบัติของทุกๆท่าน ครับ


เมื่ออ่านความเห็นของคุณน้องบู ทำให้ผมอดนึกถึงคำกล่าวนี้ไม่ได้ ครับ
"ตายคาปากประตูพระนิพพพาน"

เมื่อพบแล้ว ก็ไม่กล้าที่จะเหยียบเข้าไป เพราะกลัวตัวตนจะหายไป
ยังอาลัยอาวรณ์ ม้า รถ เรือ ที่อาศัยร่วมเดินทางกันมา
"สักกายะทิฏฐิ" มิได้หมายถึงเพียงแต่แค่กายและใจเท่านั้น
แต่ยังรวมหมายถึง สิ่งที่เข้าไปรู้กายและใจ นั้นด้วยน่ะครับ...


มีคฤหบดี ท่านหนึ่งเดินทางผ่านพระพุทธเจ้าที่กำลังทรงนั่งประทับอย่างสงบนิ่ง
อยู่ท่ามกลางลมหิมะอันหนาวเหน็บ ด้วยเพียงผ้าห่มจีวร เท่านั้น

คฤหบดีถามพระพุทธเจ้าว่า ท่านมีความสุขดีอยู่หรือ
พระพุทธเจ้าทรงตอบคฤหบดีนั้นกลับไปว่า ความสุขที่ท่านได้รับอย่างไร
เราย่อมได้รับอย่างนั้นเหมือนกับท่าน....


กามสุข.  ก็ได้ชื่อว่าสุขอย่างหนึ่ง
สุขอันเกิดจากสมาธิ.  ก็ได้ชื่อว่าสุขอย่างหนึ่ง
สุขอันเหนือจากกามสุขเหนือจากสุขอันเกิดจากสมาธิ.  ก็ได้ชื่อว่าสุขอย่างหนึ่ง

แต่ความเพลิดเพลินยินดีหลงใหล ในสุขต่างๆทั้งหลายนั้นต่างหาก
คือมูลรากเง้าแห่งการเกิดขึ้นของทุกข์ทั้งปวง...

การที่ไม่อาจสละ ละวาง ปล่อยทิ้ง คาย จากสุขต่างๆทั้งหลายนั้นต่างหาก
คือมูลรากเง้าแห่งการเกิดขึ้นของทุกข์ทั้งปวง...


ทุกข์นั้นมีอยู่ สุขนั้นมีอยู่
สิ่งใดที่โลกบอกว่ามี เราก็เห็นว่ามี
สิ่งใดที่โลกบอกว่าไม่มี เราก็เห็นว่าไม่มี
แต่ในบรรดาสิ่งที่โลกบอกว่ามี ว่าไม่มีนั้น
เราหาได้ยึดถือโดยความมีเรา เป็นเรา อยู่ในนั้นแต่อย่างไร...

ดำรงสติเฉพาะหน้า รู้ลมหายใจ ไม่ใช่เรื่องยาก
แต่การที่จะสละ ละ วาง ความยึดมั่นถือมั่นในสติ ในลมหายใจเข้าออก
โดยความมีเรา เป็นเรา ที่ดำรงสติ ที่รู้ลมหายใจเข้าออก เป็นเรื่องที่ยากถึงยากที่สุด...

เมื่อเข้าใจได้ว่า ที่สุดแล้วมีแต่ทุกข์เท่านั้น
ก็จะต้องเข้าใจต่อเลยไปอีกสักนิดว่า เพราะตัณหานั้นแหละตัวดี
คือบอสตัวใหญ่ที่สุด ที่เป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง

อะไรเป็นลมหายใจของบอส(ตัณหา)
อะไรคือชีวิตของบอส
อะไรคือผู้ให้กำเหนิด(แม่)บอส...

*ความเพลิดเพลินยินดีพอใจ(นันทะ)*

...ปุณณะ ! เรากล่าวว่า เพราะความเพลินเป็นสมุทัย(เครื่องก่อขึ้น)
จึงเกิดมีทุกขสมุทัย(ความก่อขึ้นแห่งทุกข์) ดังนี้แล...


เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ ย่อมมีความสิ้นราคะ
เพราะความสิ้นราคะ ย่อมมีความสิ้นนันทิ
เพราะความสิ้นนันทิ และราคะ ก็กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้น แล้วด้วยดี...

ภิกษุทั้งหลาย เวทนา๓อย่างเหล่านี้ เกิดมาจากผัสสะ
มีผัสสะเป็นมูล
มีผัสสะเป็นเหตุ
มีผัสสะเป็นปัจจัย

ภิกษุทั้งหลาย
เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สุขเวทนาย่อมเกิดขึ้น
เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ทุกขเวทนาย่อมเกิดขึ้น
เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุขมสุขเวทนา อทุขมสุขเวทนาย่อมเกิดขึ้น

เพราะความดับแห่งผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา
สุขเวทนาอันเกิดขึ้นเป็นเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา
ย่อมดับไป ย่อมระงับไป.

เพราะความดับแห่งผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา
ทุกขเวทนาอันเกิดขึ้นเป็นเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา
ย่อมดับไป ย่อมระงับไป.

เพราะความดับแห่งผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา
อทุขมสุขเวทนาอันเกิดขึ้นเป็นเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขสุขเวทนา
ย่อมดับไป ย่อมระงับไป...


ผมความเห็นว่า ความสุขทั้งหลายที่เกิดจากเหตุปัจจัยทั้งหลายนั้น
ไม่ใช่สิ่งที่เสียหาย แต่เป็นสิ่งที่มีคุณตามลำดับขั้น ตามลำดับชั้นของแต่ละสุข

สุขอันเกิดจากกาม ก็สุขแบบหนึ่ง
สุขอันเกิดจากสมาธิ (รูปฌาน,อรูปฌาน) ก็สุขอย่างหนึ่ง
สุขอันเหนือขึ้นไปจากสุขอันเกิดจากสมาธิ ก็สุขอีกอย่างหนึ่ง

ถ้าหากว่าเราไม่สามารถที่จะรู้ถึงธรรมชาติ
ของความสุขต่างๆทั้งหลายได้นั้น
ไม่สามารถรู้ว่าอะไรคือสุข สขนี้คืออย่างไร อะไรคือเหตุให้สุขอย่างนี้ๆเกิดมีขึ้น
สุขอย่างนี้ๆดับลงได้ด้วยอะไร อะไรคือเหตุทำให้สุขนี้ๆดับไป

การที่จะปล่อยละวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสุขต่างๆทั้งหลายนั้น
ย่อมเป็นสิ่งที่จะกระทำได้โดยยาก ครับ

เปรียบเสมือนเด็กที่เล่นก่อประสาททราย
ตราบใดที่เธอเหล่านั้นยังไม่เบื่อ ยังไม่หน่าย
ในประสาททรายที่พวกเธอกำลังก่อเล่นกันอยู่นั้น
เธอก็ย่อมที่จะไม่เกลี่ย ไม่ทำลาย ไม่ยุบ ไม่พังประสาททราย
ที่พวกเธอกำลังก่อเล่นกันอยู่ อย่างสนุกสนานนั้น...

แต่ถ้าเมื่อใด ที่เด็กๆที่กำลังก่อประสาททรายเล่นกันอยู่นั้น
เกิดความเบื่อหน่าย คลายความยินดีพอใจ คลายความเพลิดเพลิน
ในประสาททรายที่พวกเธอกำลังก่อเล่นกันอยู่นั้น
พวกเธอย่อมยุบ ย่อมทำลาย ย่อมเกลี่ยปัดประสาททรายที่พวกเธอก่อเล่นนั้น
แล้วลุกขึ้นทิ้งเดินจากไป...
















 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 12 ส.ค. 52 - 10:18


สวัสดีครับคุณ ระนาด

จากข้อความของคุณระนาด

อ้างอิง
  ขอรบกวนเรียนถามว่า  การดูไตรลักษณ์  เราสามารถดูความเป็นไตรลักษณ์ของกายและใจไปเรื่อยๆ  จนถึงวิปัสสนาญานขั้นสูงๆเลยได้ไหมครับ  หรือว่าใช้ได้ในระดับต้นๆเท่านั้น


  ควรกล่าวอย่างนี้ครับ การมีสติเท่าทันเป็นปัจจุบันกับรูปนาม(สภาวะที่เกิดกับกายและใจ) มีปัญญาแจ่มแจ้งในไตรลักษณ์ที่ปรากฏกับรูปนามนั้นๆ  พัฒนาพละ 5 ให้เจริญขึ้นสมบูรณ์ขึ้น วิปัสสนาญาณก็จะเจริญขึ้นไปตามลำดับครับ.
   
 

ตอบโดย: Vicha 12 ส.ค. 52 - 10:21


กราบขอบพระคุณคุณVicha และคุณอัญญาสิ เป็นอย่างยิ่งครับ ผมขอน้อมรับไปปฏิบัติครับ

และวันนี้ผมจะปลีกวิเวกไปอยู่ป่าที่สวนโมกข์สัก 3 วัน (13 - 15 ส.ค.) ครับ เพื่อเพิ่มพลังให้กับสติและสมาธินิดนึงครับ เพราะการได้ไปอยู่ในสถานที่ที่เอื้ออำนวยนั้นจะช่วยให้ผมสามารถปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวันครับ ใจจริงนั้นอยากไปอยู่สักเดือนนึงด้วยซ้ำไปครับ หรือถ้าเป็นไปได้ตลอดไปเลยยิ่งดี แต่ก็ยังติดปัญหาเรื่องภาระส่วนตัวอยู่พอสมควรเลยจะหลีกไปเสียไม่ได้ในตอนนี้ครับ

แต่ผมได้ตั้งใจอย่างแน่วแน่เอาไว้แล้วครับ ว่าเมื่อภาระส่วนตัวหมดลง ผมจะหลีกไปทันทีโดยไม่ลังเลเลยครับ เพราะการเกิดอีกนั้นเป็นทุกข์อย่างย่งสำหรับผมครับ

ขอทุกท่านเจริญในธรรมและปัญญา

ตอบโดย: ณวบุตร 12 ส.ค. 52 - 10:31


  
      สาธุครับ คุณปล่อยรู้ ที่นำธรรมที่จำและเข้าใจในพุทธพจน์ มาแจกแจงให้ทราบให้ได้อ่านทบทวนครับ
 

ตอบโดย: Vicha 12 ส.ค. 52 - 10:31


.....คุณน้องบูล้อผมเล่นมั้ง.....

.....ถ้าคุณน้องบูไม่ตั้งใจจะออกจากสังสารวัฏ.....คงไม่ง่ายหรอกที่จะเห็นนันทิ.....

.....แล้วถ้าใจเขาเห็นนันทิได้แล้ว.....หะหะหะ.....ยากแล้วหล่ะ.....ที่จะกลับทางเก่า.....

.....ใครจะยอมลงเขาเพื่อเดินกลับขึ้นมาใหม่.....

.....ผมไม่หลงกลหรอก....555.....

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 12 ส.ค. 52 - 10:44


สวัสดีครับคุณ ณวบุตร

อ้างอิง
และวันนี้ผมจะปลีกวิเวกไปอยู่ป่าที่สวนโมกข์สัก 3 วัน (13 - 15 ส.ค.) ครับ เพื่อเพิ่มพลังให้กับสติและสมาธินิดนึงครับ เพราะการได้ไปอยู่ในสถานที่ที่เอื้ออำนวยนั้นจะช่วยให้ผมสามารถปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวันครับ ใจจริงนั้นอยากไปอยู่สักเดือนนึงด้วยซ้ำไปครับ หรือถ้าเป็นไปได้ตลอดไปเลยยิ่งดี แต่ก็ยังติดปัญหาเรื่องภาระส่วนตัวอยู่พอสมควรเลยจะหลีกไปเสียไม่ได้ในตอนนี้ครับ

แต่ผมได้ตั้งใจอย่างแน่วแน่เอาไว้แล้วครับ ว่าเมื่อภาระส่วนตัวหมดลง ผมจะหลีกไปทันทีโดยไม่ลังเลเลยครับ เพราะการเกิดอีกนั้นเป็นทุกข์อย่างย่งสำหรับผมครับ


     อนุโมทนาสาธุ กับการที่จะได้ไปปฏิบัติธรรมครับ

   ความตั้งใจนั้นดีแล้วครับ  เมื่อเหมาะสมและสมควรและไม่มีวิบากกรรมอื่นใดมาขวางกั่น  ดังนั้นจึงอย่าประมาทไปกระทำกรรมใดมาขวางกั่นตนเองนะครับ.

   และให้ทำความเข้าใจไว้ว่า ศรัทธา นั้นมีขึ้นและมีลง   ต้องอาศัย สติปัญญารู้จักฐานะและกาล มีปัญญาในการปล่อยวางเพื่อดำรงฐานะแห่งตนอยู่ในศีลและธรรมอย่างเป็นปกติสุข  จึงจะไม่เกิดประมาทหรือเป็นโทษกับตนเองในภายหลัง

ตอบโดย: Vicha 12 ส.ค. 52 - 10:49



จากคุณ Vicha
ธรรมสั้นๆ ที่ตรงไม่อ้อมค้อม คือ  ทุกสิ่งเกิดจากเหตุ สิ่งที่เกิดทั้งหมดย่อมดับไปเป็นธรรมดา เมื่อสติปัญญาแจ่มแจ้งในธรรมนี้ ก็จะปล่อยวางและไม่ยึดมั่นถือมั่น หรือธรรมสั้นๆ คือ  ความไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง

จากน้องบู
รู้การเกิดขึ้นของโทสะตั้งแต่ยังไม่เกิด  จนค่อย ๆ เกิด จนชัด  จนมันค่อย ๆ เบาลง  จนมันดับไป

แต่ ก็มาพิจารณาดูว่า  ความขัดใจ โทสะ  มีเหตุมาจากอาวสะกิเลส    เพราะอาสวะยังมี ความขัดใจจึงมี  เพราะมารบกวนกิจกรรมต่าง ๆ ของชีวิตในขณะที่ดำเนินไปอย่างราบเรียบ   ผมมาฉุกคิดว่า   "ถ้าอย่างนั้นแสดงว่าผมมีตัณหา มีความพอใจ มีความเพลิดเพลินเป็นปัจจัย  โทสะ ความขัดใจ จึงเกิดขึ้นได้ "

เพราะผมกำลังขับรถอย่างราบรื่น ตามปกติ  เมื่อมีคนมาปาดหน้าหลาย ๆ ครั้ง โทสะจึงเกิดขึ้น  นั้นเพราะผมมีความพึงพอใจหรือเพลิดเพลินโดยเสพความเพลิดเพลินอยู่ในการขับ อย่างราบเรียบอยู่ พอมีคนมาปาดหน้าหลายครั้ง โทสะจึงเกิดได้      ในทางตรงกันข้าม ถ้าผมขับรถโดยมีสติโดยไม่เผลอ โดยไม่เพลิดเพลิน  ก็ย่อมไม่มีปัจจัยให้โทสะเกิดขึ้นได้

คุณVicha ครับ  "ทุกสิ่งเกิดจากเหตุ สิ่งที่เกิดทั้งหมดย่อมดับไปเป็นธรรมดา"   น่าจะเปลี่ยนเป็น

           "ทุกสิ่งเกิดแต่เหตุ  เมื่อเหตุนั้นดับ  ผลจากเหตุนั้นย่อมดับตามไปเป็นธรรมดา"

หรือ     "ทุกสิ่งเกิดจากเหตุ เมื่อเหตุนั้นดับสิ่งที่เกิดทั้งหมดย่อมดับตามไปเป็นธรรมดา"

            ดูน่าจะเป็นเหตุเป็นผลสัมพันธ์กันไปนะครับ

สำหรับน้องบู
             ต้องเพิ่มความสังเกตเข้าไปอีกสักนิดว่า  เมื่อสติขาด พลั้งเผลอ จะด้วยความเพลิดเพลินหรืออะไรก็ตาม โทสะก็จะเกิดขึ้น แสดงว่ายังมีเหตุที่แท้จริงซ่อนตัวอยู่ ดูจากคำพูดของน้องบู
                 ผมมีตัณหา มีความพอใจ มีความเพลิดเพลินเป็นปัจจัย
                 ผมกำลังขับรถอย่างราบรื่น ตามปกติ
                 ผมมีความพึงพอใจหรือเพลิดเพลิน
                 ถ้าผมขับรถโดยมีสติโดยไม่เผลอ โดยไม่เพลิดเพลิน
              ต้นเหตุของโทสะทั้งหมด ไม่ใช่เพราะขาดสติ  ไม่ใช่เพราะเพลิดเพลิน  ฯลฯ
แต่มันเพราะมี "ผม" อยู่ ทุกหนทุกแห่ง  เอาผมออกได้ ก็ไม่มีอะไร จะเกิดขึ้นกับอะไร  ถึงจะมี อะไร (ปัจจัย) ทั้งหลายเกิดอยู่ตลอดเวลา  แต่ไม่มีผู้รับรู้ (เหตุ) อะไรนั้นเสียแล้ว  มันจะมีอะไร เกิดขึ้นได้ละครับ
               เอาผม ออกให้ได้ แล้วทุกสิ่งทุกอย่างจะกลับสู่ธรรมชาติเดิมแท้ ครับ
                เอวัง


                 
              
 

ตอบโดย: อโศกะ 12 ส.ค. 52 - 15:30


อ้างอิง
อาการแบบนี้จะเกิดขึ้นกับผมได้ครั้งละไม่นานครับ แต่ก็เกิดขึ้นบ่อยๆ อยู่ แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วผมก็มักจะเพลินไปกับสภาวะนั้นครับ ตอนนี้แหละครับที่ผมเรียกได้เต็มปากเต็มคำว่า สุข ครับ


สวัสดีครับ คุณ ณวบุตร และทุก ๆ ท่าน   จากที่ผมอ้างอิงข้อความของคุณ เพื่อจะได้จับประเด็นพูดคุยกับคุณนะครับ

หลาย ๆ ครั้ง ความเพลิดเพลินนี้ล่ะครับ เราไม่ได้ตระหนัก เราไม่ได้สังเกตุ เราไม่ได้ไปรู้มัน เราไม่ได้เห็นมัน   ในกิจกรรมทั่ว ๆ ไป ที่เราก็ไม่นึกเลยว่าจิตจะไปเกิดอุปาทานแบบไม่รู้ตัว  ทั้ง ๆ ที่มันเป็นสภาวะปกติ ไม่ปรากฏชัดเจน ว่าเป็นสุข หรือ ทุกข์   เป็นลักษณะที่ไม่สุขและไม่ทุกข์   แต่เมื่อมีอวิชชาเข้าไปแฝงอยู่  จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ ที่ตัณหาและอุปาทานจะไม่แฝงไปด้วย  ดังนั้นเมื่อเกิดความแปรปรวนจากสภาวะทั่วไป  อาการทางกิเลสที่ปรากฏให้เห็นได้ชัดจึงปรากฏทางจิตครับ ซึ่งแท้ที่จริงมันอยู่ในจิตตลอดเพียงแต่ว่ามันละเอียดเกินกว่าที่จะเห็นครับ  กว่าจะเห็นก็ต่อเมื่อมันได้ถูกกระตุ้นอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาซ้ำ ๆ กัน และเป็นเรื่องที่จิตประมาทไม่เคยกำหนดรู้ ไม่เคยสังวร ระมัดระวัง   ผลที่เกิดขึ้นคืออาการกำเริบของ  โลภะ โทสะ โมหะ มาปรากฏให้เห็นในจิต  ซึ่งแท้ที่จริงหากจิตเห็นเหตุอันเกิดจากอาสวะแล้วเข้าไปจัดการตรงอาสวะเสียก่อน ตรงนี้ก็จะเป็นขั้นตอนที่สำคัญกว่า และดีกว่าการที่ต้องมาแก้เมื่อ โลภะ โทสะ โมหะเกิดขึ้นแล้ว แบบนี้เรียกว่าแก้ที่ปลายเหตุโดยแท้ครับ   ซึ่งน่าจะผิดทางแน่นอน ผมจึงมาพิจารณาเพิ่มไปอีกว่าจะทำอย่างไรดีหนอ จึงจะจัดการที่ต้นเหตุได้อย่างเด็ดขาด

จึงได้ตรวจทาน ในเรื่องอริยมรรคมีองค์ 8  ก็เห็นได้ชัดเลยครับ ว่าตนเองมีช่องโหว่เยอะไปหมด เอาแค่ตัวเดียว คือ สัมมาสติ   ยังขาดกำลังที่จะเห็นกิเลสขั้นละเอียดที่จะกำหนดรู้ได้  เพราะถ้าผมเห็นโดยละเอียดมาก่อน ปรากฏการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยครับ เพราะมันจะต้องถูกกำจัดไปตั้งแต่ก่อนจะมากำเริบให้เราเห็นในจิตแล้วด้วยซ้ำครับ  ดังนั้นประสบการณ์ที่จิตเข้าไปเห็นในครั้งนี้ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผมเลยทีเดียว เพราะมันทำให้ผมได้เห็นนันทิที่ชัดเจนที่สุด และก็เห็นโทษของมันอย่างเด่นชัดด้วยการประจักษ์แจ้งด้วยจิต   อาการเห็นโทษโดยจิตเข้าไปประจักษ์แจ้งนี้ล่ะ ผมเชื่อว่าจะเป็นบันไดขั้นสำคัญในการเพิกถอนมันได้ครับ

โดยอาศัยหลักเกณฑ์จากประสบการณ์ที่ผ่านมา การที่เราจะเพิกถอนในสิ่งใด คลายในสิ่งใดได้  จะต้องเกิดการที่จิตเข้าเห็นแจ้งโดยประจักษ์ในมัน และเห็นโทษในตัวมันไปพร้อม ๆ กัน  จิตจึงวางไปเอง โดยที่ไม่เราไม่ต้องบังคับเลย


ทีนี้จะขอกล่าวเหตุและผลให้ได้ทราบครับว่าเหตุใด ผมจึงมีอาการลังเลที่จะก้าวข้ามไป


เพราะเมื่อเห็นนันทิ และเห็นโทษนันทิ แล้ว จิตจึงอนุมานหรือคิดไปว่า ถ้าอย่างนั้นหากจิตยังดำเนินไปอย่างนี้ ด้วยอาการอย่างนี้ อาการเพิกถอนนันทิจะต้องปรากฏขึ้นแน่นอน (ผมก็ไม่ได้ไปแทรงแซงอะไรจิตนะครับ เพราะอย่างไรจิตก็เป็นอนัตตา ญาณตรงนี้ยังเกิดขึ้นเสมอ เพียงแต่ตามดู และรับทราบอาการที่เกิดขึ้นและทราบในเหตุผลและปัจจัยในการเกิดขึ้นและดับไปของมัน ยังไงมันก็ไม่ใช่เรา ไม่มีเราอยู่ดี)

พอจิตคิดเช่นนี้ปุ๊ป  กิเลสก็ต้านมาทันทีว่า "ถ้าอย่างนั้น อย่าพึ่งเลย อย่าพึ่งก้าวไป ถ้าท่านก้าวไปแล้ว ท่านจะกลับมาไม่ได้อีก ท่านจะไม่เห็นเราอีก   ท่านไม่รักเราแล้วหรือไร จึงจะตัดเราไปง่าย ๆ แบบนี้"   จิตเกิดอาลัยในกิเลสขึ้นมา  กิเลสก็ว่าต่อไปว่า "เอาน่าท่านอยู่กับเราต่อเถิด เราอยู่กันแบบนี้ก็เป็นสุขดีนี่นา มีหลายสิ่งหลายอย่าง ที่เราจะให้ท่านเพลิดเพลินอีกเยอะนะ "  ในฐานะสติ "..........................................." ไม่มีคำพูดใด ๆ ตอบกลับกิเลสเลยครับ  ได้แต่วางเฉยและรับรู้อาการทางกิเลสที่บอกผ่านมาจิตด้วยความคิด

จากนั้น ผ่านไปไม่นาน สติก็กล่าวว่า " จิตที่ดำเนินไปแล้ว แม้จะปราถนาให้หยุดอย่างไร ก็ไม่สามารถอยู่ในอำนาจแล้ว จิตไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา สิ่งทั้งหลายเป็นเพียงอนัตตา  ท่านก่อเหตุมาอย่างไร ผลท่านย่อมได้รับอย่างนั้น ท่านไม่สามารถแทรงแซงได้ เพราะท่านได้ทำเหตุทำปัจจัย ท่านเจริญสติไว้  ผลที่ท่านจะได้รับจากการเจริญสติ คือการเพิกถอนกิเลสนั้น ท่านจะไม่รับไม่ได้ เพราะเป็นผลจากที่ท่านได้ทำเหตุไว้นั้นเอง   อย่างไรก็ตาม ท่านจงดูเถิด ท่านจงมีสติตามดูเถิด ปรากฏการณ์ทั้งหลายในการเพิกถอน และดับไปของกิเลสจะเกิดขึ้นกับท่านโดยลำดับ ท่านไม่จำเป็นต้องแทรงแซงอาการใด ๆ ของจิต เพราะจิตเป็นเพียงอนัตตา ท่านเพียงตามดูอาการเหล่านี้เนือง ๆ ด้วยสติเท่านั้น"


ตอนนี้ผมก็เลยไม่ได้เร่งอะไร ไม่ได้ทำอะไร ให้จิตเขาดำเนินไปตามทาง เพราะอย่างไรก็แล้วแต่จิตก็ไม่ใช่ผม  อย่างที่สติเขาบอก  เมื่อทำเหตุของสติไว้ จะไม่รับผลจากการเจริญสติได้อย่างไร   ถามว่าผมจะกลับไปจะถอยกลับไหม ต้องตอบว่า ถอยไม่ได้หรอก เพราะจิตสั่งสมปัจจัยมาพอควรแล้ว  แม้ไม่ต้องหันหลังกลับไปดู ก็ทราบได้ว่ามันมีแต่ทุกข์ จึงไม่มีการก้าวถอยแน่นอน แม้ผมจะสั่งให้จิตถอย จิตก็ไม่ถอยแล้วครับ เพราะเหตุปัจจัยมันเยอะเกินที่จะถอย   แต่กระนั้นการก้าวไปเพื่อดับอาสวะให้สิ้นหนทางยังอีกไกล ทั้งผมและสติ ก็ยังต้องเคียงคู่กันจนถึงปลายทาง


ปล. สำหรับในส่วนการสนทนาที่ผมยกกล่าวมาข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นคำกล่าวของกิเลสก็ตาม คำกล่าวของสติก็ตาม   แท้จริงเป็นเพียงแค่การพิจารณาโดยแยบคายอันเกิดแต่จิตเท่านั้นครับ  ไม่ใช่ตัวตนไม่ใช่บุคคลจริง ๆ

เพราะเมื่อความคิดใด  ๆ  เกิดแต่สติ ผมจึงกล่าวว่าสติพูด
เพราะเมื่อความคิดใด ๆ เกิดแต่กิเลส ผมจึงกล่าวว่ากิเลสพูด

ตอบโดย: น้องบู 12 ส.ค. 52 - 16:08


อ้างอิง (ปล่อยรู้ @ 12 สิ.ค. 52 - 10:18)



แต่ถ้าเมื่อใด ที่เด็กๆที่กำลังก่อประสาททรายเล่นกันอยู่นั้น
เกิดความเบื่อหน่าย คลายความยินดีพอใจ คลายความเพลิดเพลิน
ในประสาททรายที่พวกเธอกำลังก่อเล่นกันอยู่นั้น
พวกเธอย่อมยุบ ย่อมทำลาย ย่อมเกลี่ยปัดประสาททรายที่พวกเธอก่อเล่นนั้น
แล้วลุกขึ้นทิ้งเดินจากไป...
(ปล่อยรู้ @ 12 สิ.ค. 52 - 10:18)

ใช่ครับ พี่ปล่อยรู้  เป็นเช่นนั้นแร่ะครับ

สำหรับความเห็นผม ณ.ตอนนี้

อาการเพลิดเพลินบางอย่างที่จิต ไม่รู้อยู่ว่าเพลินเพลิด ตรงนี้จะเป็นภัยอย่างยิ่งครับ


แหม นั่งอยู่เฉย ๆ ใครจะรู้ได้ ว่านันทิมันทำงานอยู่  ต้องเท่าทันครับ ต้องเท่าทันจริง ๆ

 

ตอบโดย: น้องบู 12 ส.ค. 52 - 16:21


อ้างอิง (อโศกะ @ 12 สิ.ค. 52 - 15:30)

แต่มันเพราะมี "ผม" อยู่ ทุกหนทุกแห่ง  เอาผมออกได้ ก็ไม่มีอะไร จะเกิดขึ้นกับอะไร  ถึงจะมี อะไร (ปัจจัย) ทั้งหลายเกิดอยู่ตลอดเวลา  แต่ไม่มีผู้รับรู้ (เหตุ) อะไรนั้นเสียแล้ว  มันจะมีอะไร เกิดขึ้นได้ละครับ
               เอาผม ออกให้ได้ แล้วทุกสิ่งทุกอย่างจะกลับสู่ธรรมชาติเดิมแท้ ครับ
                เอวัง

สวัสดีครับ พี่อโศกะ

จะบอกว่า เพราะมีเหตุ โทสะจึงเกิดขึ้น  ใช่ไหมครับ

เพราะสิ้นเหตุ โทสะจึงดับไป ใช่ไหมครับ


พี่จะบอกว่า ถ้าผมเอา ของผมออก  "แม้เหตุทุกข์ยังมีอยู่ แต่ไม่มีผู้เสวยทุกข์" อย่างนั้นใช่หรือไม่ครับ

คล้าย ๆ กับ คำว่า " โกรธยังมี แต่ไม่เอา" ใช่หรือไม่ครับ

ตรงจุดนี้ก็เป็นจุดที่ผมมีความฉงนอยู่ไม่น้อย ครับ

แน่นอนครับ ในขณะที่ก่อนที่โทสะผมจะกำเริบ ก็ทราบชัดถึงความเป็นอนัตตา  อนัตตานั้นปรากฏอยู่ครับ  แต่อาการของโทสะก็เกิดขึ้น  ผมก็ทราบชัดนะครับ ว่าปรากฏการณ์ทั้งหลายมันไม่ใช่ผมไม่ใช่ของผม  แม้แต่โทสะก็ตาม แม้แต่จิตก็ตาม


ในเชิงของกายนั้น เมื่อมีมดมากัด เราก็ห้ามให้ไม่เจ็บก็ไม่ได้ มดมากัดก็ต้องเจ็บเป็นธรรมดา เพราะมีปัจจัยคือ มดกัด มีจิตไปรู้ มีกายให้มดกัด  ดังนั้นจึงเจ็บ

ในเชิงของจิต  เมื่อมี อวิชชา จึงมีตัณหา  เมื่อมีตัณหาจึงมีอุปทาน   โทสะจัดเป็นตัณหาชนิดหนึ่ง   ก็เมื่อใดมีตัณหา  จึงอนุมานย้อนไปได้ว่า มีอวิชชาแน่นอน   เมื่อมีอวิชชา ย่อมอนุมานได้อีกว่า อาสวะยังมี


ดังนั้น ในเชิงของการปฏิบัติ ในการละสักกายทิฐิเป็นเรื่องสำคัญเพราะเป็นหนึ่งในสังโยชน์ 10  แต่  อวิชชา ก็เป็นหนึ่งในนั้น  ผมจึงเทียบเคียงได้ว่า


เมื่อโทสะเกิด แสดงว่า ตัณหายังมี  เมื่อตัณหายังมี แสดงว่า อวิชชายังมี   เมื่ออวิชชายังมี แสดงว่า อาสวะยังมี

ในทางตรงกันข้าม

เมื่อโทสะสิ้นไป แสดงว่า ตัณหาสิ้นไป เมื่อตัณหาสิ้นไป แสดงว่า อวิชชาสิ้นไป เมื่ออวิชชาสิ้นไป แสดงว่า อาสวะสิ้นไป

**หมายเหตุ  สิ้นไปในความหมายของผมคือไม่กลับมาเป็นอีกนะครับ  ไม่ใช่การดับไปตามแบบไม่สิ้นเหตุ


อาสวะเป็นเรื่องใหญ่ครับ  ตราบใด อาการพอใจใน กามฉันทะยังมี  ความขัดเคืองใจยังมี(แม้จะเล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม)   ตราบนั้นถือว่าอาสวะยังมี กิจย่อมไม่จบเป็นแน่ครับ

ดังนั้นแค่ละสักกายทิฐิจึงไม่พอครับ  ทุกข์เบาลงไปจริงครับ เมื่อละสักกายทิฐิได้ แต่ทุกข์ไม่ดับไปอย่างสิ้นเชิงเป็นแน่ครับ

เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ รอคำแนะนำต่อ ๆ  ไปอยู่ครับ มีประโยชน์ต่อผมมากเลยทีเดียวครับ

ตอบโดย: น้องบู 12 ส.ค. 52 - 16:40


สวัสดีครับคุณบูและเพื่อนๆ

  เทคนิกการภาวนาเพื่อเอา " ผม " ออกจากความรู้สึก    ตอนนี้ผมใช้เทคนิกของคุณอัญญาสิอยู่ครับ ( ความเห็นที่ 299 )


   ........... เมื่อรู้ความเคลื่อนไหวของร่างกายแล้ว  ก็เห็นความรู้สึกในใจผุดขึ้นมาเอง  และ  ดับลงไปเอง  เหมือนเราลืมกุญแจ  แล้วนึกไม่ออกว่าลืมไว้ตรงไหน  เมื่อเราปล่อยใจเพลินๆ  เราจะนึกขึ้นมาได้เองว่าลืมกุญแจอยู่ตรงไหน


ความรู้สึกที่เกิดเองและดับเองนี้  จะชัดหรือไม่ชัด  จะหยาบหรือละเอียด  ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ  แต่จุดสำคัญคือ  ต้องปล่อยให้ความรู้สึกในใจผุดขึ้นมาเองและดับไปเอง   ถ้าเราแกล้งทำให้ความรู้สึกในใจเกิดขึ้นมา หรือ กดข่มให้มันดับ  แบบนี้จะมีความเป็นตัวเราของเราแทรกอยู่ในความรู้สึก( มีอัตตา )


ผมใช้เทคนิกนี้แล้วได้ผลดีครับ  ถ้าเพื่อนๆมีเทคนิกแบบอื่นๆ  ก็เอามาเล่าเป็นวิทยาทานแก่คนอื่นๆบ้างก็ดีนะครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 12 ส.ค. 52 - 17:39


ขอนุญาต แสดงความเห็นเกี่ยวกับคุณน้องบู ครับ

ผมเคยเกิดอาการกลัว กลัวว่า ความรู้สึกว่าตัวเราของเราจะหายไปจริงๆ
ถ้าเมื่อเราก้าวข้ามปากประตูนั้นไป

มันเลยเกิดอาการชะลอเอาไว้ก่อน อย่าพึงเข้าไปดีกว่า
รู้แล้วว่า หนทางสุดท้ายนั้น จะต้องมาทางนี้อย่างแน่นอน
ตอนนี้อย่าพึงรีบร้อนเข้าไป ปล่อยให้เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยก่อนดีกว่า...
ก็ไม่มีอะไรเสียหายครับ แต่มัจุราชไม่เคยรอใคร
เราไม่อาจรู้ได้ว่าพญามัจจุราชจะมาเยี่ยมเราเมื่อใด

แท้ที่จริงในชีวิตประจำวัน การภาวนามีอยู่ตลอดเวลาตั้งแต่ตื่นลืมตา
ไม่ต้องตั้งใจว่าจะทำ ตอนนั้นตอนนี้
เพียงแค่สติระลึกรู้ลงปัจจุบันขณะได้ในช่วงขณะเวลาใด เวลานั้นคือการภาวนาแล้ว

มรรคทั้งแปด จะต้องดำเนินสืบต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา
ตั้งแต่ตื่นลืมตา จนกระทั่งนอนหลับไป

ไม่ต้องตั้งใจปฏิบัติ แต่มันเป็นหน้าที่ที่จะต้องทำด้วยความเต็มใจ
ด้วยจิตใจที่ร่าเริงอยู่เสมอ

เมื่อใดที่จิตใจเกิดความขุ่นมัว เกิดความอึดอัดขัดเคือง ขึ้นมา
ก็จะรู้ได้ทันทีว่า พลาดแล้วหลุดไปแล้ว

แม้ในขณะที่อ่านข้อความคิดเห็นของเพื่อนๆ พี่ๆน้องๆ นี้กันอยู่นั้น
มรรคทั้งแปดก็ยังจะต้องดำเนินอยู่ตลอด
เพราะผัสสะเกิดมีขึ้นอยู่ตลอดเวลา

ลมหายใจเกิดสะดุดติดขัด อึดอัด ขัดข้อง ไม่ราบรื่น ไม่โล่งโปร่งเบา
นั้นแสดงว่าขณะนั้นจิตหลุดไปอยู่ติดอยู่กับเวทนาตัวใดตัวหนึ่งชั่วขณะหนึ่งไปแล้ว

ผมมีความเห็นว่า ลมหายใจเข้าออก เครื่องตรวจเช็ค"ผัสสะ" ได้ดีอย่างหนึ่ง
ถ้าไม่สามารถดึงจิตกลับมาอยู่กับวิหารธรรมคือลมหายใจเข้าออกได้ไวได้เร็ว
นั้นย่อมแสดงว่า จิตได้ไปติดอยู่กับเวทนาตัวใดตัวหนึ่งเข้าให้แล้ว ครับ

นันทิ คือความเพลินยินดีพอใจอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
แม้นกระทั่ง"นิพพาน" ท่านก็ยังไม่ให้ไปหลงเพลินยินดีพอใจ

เพราะความหลงเพลินยินดีพอใจ คือเหตุปัจจัยทำให้เกิดตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ

ทุกคนปฏิบัติภาวนาก็เพื่อปรารถนาพบเจอกับนิพพาน
แต่เมื่อเจอแล้ว ท่านกับบอกไม่ให้หลงเพลินพอใจยินดี
นี้มันอะไรกัน แล้วจะปฏิบัติไปเพื่ออะไรกัน พบเจอแล้วไม่ให้พอใจไม่ให้ยินดี...
เป็นเรื่องน่าหัวเราะ เป็นที่สุด...

ทุกข์ กับ ทุกข์ดับ เรื่องมันก็มีอยู่เพียงแค่นี้
ทุกข์เกิดขึ้นแล้ว ทุกข์จะดับลงไปได้อย่างไร...

เมื่อค้นหาแล้ว ก็จะไปพบเจอกับความพอใจยินดีในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่
เมื่อความพอใจยินดีในสิ่งใดสิ่งหนึ่งดับลงไป ทุกข์อันเกิดจากความพอใจยินดีนั้นๆ
ก็จะดับลงไปเช่นกัน...

เมื่อเราเห็นเหตุแห่งการเกิดขึ้นของทุกข์
มันก็ย่อมทำให้เราเข้าใจถึงสิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านได้ทรงบอกไว้ว่า
อย่าพอใจยินดีเพลิดเพลินในสิ่งใดๆทั้งหลายทั้งปวง







 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 12 ส.ค. 52 - 19:33


สวัสดีครับทุกท่าน

    ผมขอให้ขอมูลกับคุณอโศกะนะครับ จากพระไตรปิฏกนะครับ โดยตัดส่วนที่สนทนากันอยู่นะครับ.

*******************************************

ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน
 ได้เกิดขึ้นแล้วแก่พราหมณ์โปกขรสาติว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับไปเป็นธรรมดา ณ ที่นั่งนั้นแล เหมือนผ้าที่สะอาด ปราศจากมลทินควรรับน้ำย้อมด้วยดี ฉะนั้น.

***************************

เห็นธรรมอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ณ ที่นั่งนั้นเอง ลำดับนั้น พราหมณ์กูฏทันตะ เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้ธรรมแล้ว หยั่งทราบถึงธรรมทั่วถึงแล้ว ข้ามพ้นความสงสัยปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในสัตถุศาสนา

**************************
ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลี  ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้ว
 แก่หมู่มหาชน ๘๔,๐๐๐ คน นั้นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่ง นั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดา ณ ที่นั่งนั้นแล

***************************


 

ตอบโดย: Vicha 12 ส.ค. 52 - 20:10


สวัสดีครับ กำลังเข้มข้นเลยแต่ละความเห็น

ผมก็เหมือนคุณน้องบูและคุณปล่อยรู้เลยครับ อ่านความเห็นที่ 566 แล้วราวกับอ่านประสบการณ์ของตนเอง ทุกวันนี้วิปัสสนาที่ผมปฏิบัติเลยยังไม่ก้าวหน้าไปไหน

ตอนนี้ผมเลยใช้วิธีทางกายภาพไปพลางๆก่อน โดยทยอยทิ้งสิ่งของเครื่องใช้ที่ทำให้จิตอาลัยอาวรณ์ไปเรื่อยๆ ตอนนี้ในห้องนอนของผมมีถุงขยะดำถุงใหญ่ที่รอทิ้งอยู่ 2 ใบครับ

 

 

ตอบโดย: วสวัตตี 13 ส.ค. 52 - 02:27


อ้างอิง (ปล่อยรู้ @ 12 สิ.ค. 52 - 19:33)
ผมเคยเกิดอาการกลัว กลัวว่า ความรู้สึกว่าตัวเราของเราจะหายไปจริงๆ
ถ้าเมื่อเราก้าวข้ามปากประตูนั้นไป
มันเลยเกิดอาการชะลอเอาไว้ก่อน อย่าพึงเข้าไปดีกว่า

 ของดีเลยตายไปนิดเดียวค่ะ    

ตอบโดย: อัญญาสิ 13 ส.ค. 52 - 07:08


ทำไมเพื่อนๆจึงกล้วว่าตัวเราจะหายไปครับ
         ---------------------------------

หลายวันมานี้  ผมใช้เทคนิกการภาวนาตามความเห็นของคุณอัญญาสิ ( คห. 299 ) ตอนนี้ผมเห็นกายและใจเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่อีกชนิดหนึ่ง  เพิ่มเติมขึ้นมาจากตัวผมเอง

หมายความว่า  เวลาผมทำงานที่ใช้ความตั้งใจเช่นทำบัญชี  สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ ( กายและใจ )  กับตัวผม  จะเป็นสิ่งเดียวกัน

แต่เวลาที่ผมเดินเล่น ( ก็คือเดินจงกรม )  หรือนั่งพักผ่อน ดูนก ดูต้นไม้ ( ก็คือนั่งภาวนา )  ผมจะเห็นกายและใจเป็นสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง  และ  ตัวผม (ที่เข้าไปรู้ เข้าไปเห็น ) เป็นอีกอย่างหนึ่ง

           ---------------------------------------

แต่เดิม  ผมมองไม่เห็นว่ากายและใจเป็นสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งซ้อนอยู่ในตัวผม  ก็เพราะว่า  ผมเข้าไปแทรกแซงความรู้สึกต่างๆ  เมื่อผมปล่อยให้ความรู้สึกต่างๆเกิดขึ้นมาเอง  ดับลงไปเอง  ผมจึงเห็นว่า  ความจริงแล้วยังมีกายและใจเป็นสิ่งมีชีวิต  อยู่ข้างในตัวผมอีกชีวิตหนึ่ง   ไม่ใช่มีแค่ตัวผมเพียงชีวิตเดียวเหมือนแต่ก่อน

( กายและใจ  เป็นสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งที่อยู่ซ้อนตัวผมข้างในอีกชั้นหนึ่ง  แต่เมื่อก่อนผมดูความรู้สึกไม่เป็น  ผมจึงมองไม่ออก  ผมจึงนึกว่ามีตัวเราเพียงชีวิตเดียวครับ ...... ไม่ใช่ผมจินตนาการสร้างขึ้นมา )

อยากทราบว่าเพื่อนๆใช้วิธีการภาวนาอย่างไร  จึงกลัวว่าตัวเราจะหายไปครับ

ตอบโดย: ระนาด 13 ส.ค. 52 - 07:49


คุณระนาดไม่ต้องกังวลไปค่ะ ภาวนาไปเรื่อยๆ เดี๋ยวเจอก็รู้เองค่ะ
รู้ไปก่อน จะงงไปเปล่าๆ    

ตอบโดย: อัญญาสิ 13 ส.ค. 52 - 07:57


ก่อนที่จะเห็นตัวเราหายไป  ก็ต้องผ่านขั้นตอนของการเห็นกายและใจเป็นสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง   ซ้อนอยู่ในตัวเราขึ้นมาก่อน......ไม่ใช่หรือครับ

 ทำไมจึงไม่มีใครกล่าวถึงขั้นตอนนี้เลย  ทั้งๆที่เป็นขั้นตอนที่สำคัญ
                     --------------------------------

อีกอย่างหนึ่ง  วิธีการที่ใช้ในการภาวนาก็เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ  ถ้าดูความรู้สึกไม่ถูกต้อง  ก็จะมองสภาวะนี้ไม่เห็น  มองไม่ออกครับ

ผมจึงอยากทราบวิธีการภาวนาของเพื่อนๆว่า  ทำไมจึงข้ามขั้นตอนนี้ไปได้  พอจะเล่าให้ทราบได้ไหมครับ ( เป็นวิทยาทานครับ )
                ----------------------------
ชอบลายเซ็นของคุณอัญญาสิครับ  ตรงใจพอดีเลย
 

ตอบโดย: ระนาด 13 ส.ค. 52 - 08:06


อ้างอิง (น้องบู)
แม้ผมจะสั่งให้จิตถอย จิตก็ไม่ถอยแล้วครับ เพราะเหตุปัจจัยมันเยอะเกินที่จะถอย

.....ผมเหมาๆเอาว่าผมเดาถูก.....แหะๆๆ.....

.....อ้อ.....ที่ผมบอกว่าผมไม่หลงกล.....

.....ผมไม่ได้หมายความว่าคุณน้องบูมาหลอกผมหรอกนะ....

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 13 ส.ค. 52 - 08:26


สิ่งที่ถูกรู้ ก็ธรรมธรรมหนึ่ง
สิ่งที่เข้าไปรู้สิ่งที่ถูกรู้ ก็ธรรมธรรมหนึ่ง
สิ่งที่ระลึกรู้ ทั้งสิ่งที่ถูกรู้และสิ่งที่เข้าไปรู้ก็ธรรมธรรมหนึ่ง.

สิ่งที่รู้ความว่าง ไม่ใช่ตัวความว่าง
อาการที่ไม่จับถือความว่าง ไม่ใช่ตัวความว่างและไม่ใช่ตัวที่เข้าไปรู้ความว่าง.

 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 13 ส.ค. 52 - 08:57


อ้างอิง (ปล่อยรู้ @ 13 สิ.ค. 52 - 08:57)


สิ่งที่รู้ความว่าง ไม่ใช่ตัวความว่าง
อาการที่ไม่จับถือความว่าง ไม่ใช่ตัวความว่างและไม่ใช่ตัวที่เข้าไปรู้ความว่าง.


ถ้าเป็นสภาวะนี้  ตัวเราจะหายไปหรือไม่หายไป  ก็ไม่เห็นต้องกลัวอะไรอีกแล้วนี่ครับ ( ผ่านพ้นสภาวะความมีตัวเราของเราไปแล้ว )
 

ตอบโดย: ระนาด 13 ส.ค. 52 - 09:14


ยังไงสุดท้ายมันก็อนัตตาอยู่ดีครับ  ไม่มากไปกว่านี้ไม่น้อยไปกว่านี้

เพียงแต่การที่จิตเข้าไปเห็นตรงความเพลิดเพลินในสิ่งที่จิตไม่เคยเห็นมาก่อนเลยว่ามีความเพลิดเพลินอยู่ด้วย  จึงเป็นประสบการณ์ทางจิตที่สำคัญสำหรับผมในการที่จะพัฒนาต่อไปครับ

อย่างน้อยจิตมันเห็นทุกข์มันมีเหตุจากการเพลิดเพลิน  อาการละวางความเพลิดเพลินก็น่าจะเกิดขึ้น    อาการไม่ประมาทในการที่จะหลงในเรื่องที่ไม่คิดว่าจะมีการเพลิดเพลินก็น่าจะเกิดขึ้น   อาการรู้ตรงนี้ก็คงจะช่วยให้จิตดับกิเลสได้ง่ายขึ้น

แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ไม่ควรลืมก็คือ ปรากฏการณ์ทั้งหลาย ยังไงก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา  เป็นอนัตตา เราไม่มีในปรากฏการณ์ ปรากฏการณ์ไม่มีในเรานะครับ


ขอบคุณกับทุกความเห็นนะครับ  เชิญสนทนากันต่อได้เลยนะครับ สำหรับผม  ผมคงได้ข้อสรุปแล้ว  ส่วนข้อสงสัยบางอย่างก็ยังต้องทดไว้ในใจครับ  รอให้มีปัญญามากกว่านี้คำตอบคงจะปรากฏครับ

ตอบโดย: น้องบู 13 ส.ค. 52 - 09:39


สวัสดีครับทุกท่าน

     เป็นอันว่า การสนทนากันในช่วงนี้ ไปมุ่งเน้นเรื่อง การเพลิน ของจิตอยู่  ความจริงการปฏิบัติเพื่อไม่ให้จิตเพลิน นั้นมีอยู่ และธรรมอันเป็นคู่ปรับกับอวิชชา หรือความเพลิน นั้นมีอยู่

    เล่าประสบการณ์ปฏิบัติดีกว่าครับว่าผมแจ่มแจ้งในเรื่องนี้ได้อย่างไร?

      ประมาณปี พ.ศ. 2533  ซึ่งผมปฏิบัติกำหนดสติอยู่ตลอดเกือบทุกเวลาก็ว่าได้เมื่อมีความรู้สสึกตัวอยู่ ไม่ว่าจะอยู่ในกิจกรรมใดก็ตาม.
      แล้วก็เกิดความสงสัยขึ้นมาว่าเมื่อยังมีกิเลสอยู่ อวิชชา นั้นจะปรากฏอยู่ในจิตที่ปรากฏอยู่โดยตลอด แม้ว่าเราจะกำหนดสติอยู่ในกรรมฐานเกือบทุกเวลา.

      ดังนั้นเรานั้นรู้จักตัวอวิชชาอยู่แล้ว เพราะปรากฏอยู่โดยตลอดที่รับรู้หรือรู้สึก เราควรมีสติทราบชัดว่านี้คืออวิชชา

      ผมจึงใช้คำบริกรรมภาวนาพร้อมกับมีสติทันเป็นปัจจุบันว่า "อวิชชา" หรือ "อวิชชาหนอ" กับรูปนามหรือผัสสะที่ปรากฏกับกายและใจ โดยตลอดต่อเนื่องเกือบทุกเวลา

       ปฏิบัติอย่างนี้เป็นเวลาประมาณ 2 เดือน วิปัสสนาญาณก็สามารถเจริญขึ้นเจริญลงทบทวนอยู่ได้เช่นเดียวกัน ก็เกิดคำถามในตนเองว่า

                "แล้วจะไม่มีอวิชชาได้อย่างไร?"

        และผมก็ปฏิบัติแบบเดิมไป จนถึงสภาวะที่ ทิ้งความรู้สึกการรับรู้ภายนอกและการรับรู้ทางร่างกายหมดสิ้น เหลือแต่จิตที่รู้อย่างมีสติมีคำบริกรรมภาวนาว่า "อวิชชา" พร้อมทั้งมีสติสัมปชัญญะว่าในขณะที่จิตปรากฏอยู่นั้นมีอวิชชาอยู่(ปัญญาเห็นแจ้งชัดอย่างนั้น)
        หลังจากนั้นจิตหรือตัวรู้และสิ่งที่รับรู้ก็เกิดสภาวะการ ตัดขาด แล้วปรากฏ นิ่งอยู่ชั่วขณะ แล้วเกิดญาณรู้ขึ้นมาว่า
        "ออ..เมื่อมีสติ อวิชชาก็จะไม่ปรากฏ หรือออ่นกำลังลงนี้เอง"

        ดังนั้นในความคิดเห็นช่วงที่ผ่านมาที่เราท่านทั้งหลายมีการเน้นเรื่องความเพลิน ก็จะได้ว่าธรรมที่เป็นคู่ปรับของ ความเพลิน หรือ อวิชชา  ก็คือ การมีสติสัมปชัญญะ นั้นเอง.

ตอบโดย: Vicha 13 ส.ค. 52 - 10:45


ภิกษุทั้งหลาย !
ธรรม๒อย่างเหล่านี้ เป็นส่วนแห่งวิชามีอยู่
๒อย่าง อะไรเล่า สองอย่างคือ สมถะ และ วิปัสสนา

ภิกษุทั้งหลาย สมถะ เมื่ออบรมแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร?
อบรมแล้ว จิตจะเจริญ

จิตเจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร?
จิตเจริญแล้ว จะละราคะได้...


ภิกษุทั้งหลาย วิปัสสนาเล่า เมื่อเจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร?
เจริญแล้ว ปัญญาจะเจริญ

ปัญญาเจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร
เจริญแล้ว จะละอวิชชาได้แล...

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 13 ส.ค. 52 - 20:40


สวัสดีทุกท่าน และสวัสดีคุณระนาดครับ

ขอเข้ามาคุยกับคุณระนาดเพราะถูกถามหา และขอบอกเหตุผลว่าทำไมผมไม่ค่อยแสดงความเห็น

นั่นเป็นเพราะภูมิธรรมของผมยังไม่ถึงครับ แหะ แหะ

ผมเป็นคนมีปัญญาทางโลกพอใช้ได้ แต่ปัญญาทางธรรมต่ำ ข้อความที่ทุกท่านเขียน สภาวะที่ทุกท่านเอ่ย ผมอ่านแล้วเข้าใจหมด ไม่มีข้อสงสัยใดๆ

แต่ผมยังไม่เคยเห็นสภาวะเหล่านั้นด้วยตนเองเลยครับ

ผมจึงเจียมตัวว่ายังไม่มีคุณธรรมแท้จริงใดๆ จะแลกเปลี่ยน แต่ที่อดมาออกความเห็นไม่ได้ก็ตอนที่คุณระนาดบอกว่า จะฝึกให้คล่องสักหลายเดือนแล้วค่อยไปส่งการบ้านหลวงพ่อใหม่

เรื่องนี้ผมมีความเห็นว่าเป็นการเสียโอกาสของคุณระนาด และเสียโอกาสของคนที่จะได้ฟังธรรมจากคุณระนาด หากคุณมัวตั้งท่าฝึกไปเรื่อยๆ ทั้งที่ยังไม่แน่ใจว่าเป็นทางที่ถูก ทั้งที่มีผู้ชี้แนะทางที่ถูกให้คุณระนาดได้

และที่ผมแสดงความไม่เห็นด้วยว่าคุณระนาดอย่าใช้ตรรกะว่าสมาธิฝึกง่าย เพราะฝึกแล้วสบาย เพราะคุณธรรมของคุณระนาดเริ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ แล้ว หากคุณระนาดเผยแผ่ความเชื่อนี้ออกไป จะบั่นทอนกำลังใจผู้ฝึกสมาธิไม่สำเร็จได้

จึงขออนุญาตขอโอกาสออกความเห็นทื่อๆ เหล่านี้ออกมา หวังว่าจะไม่ทำให้คุณระนาดรำคาญใจ ผมก็พอใจแล้วครับ

ขออนุโมทนาในกุศลธรรมของทุกท่านนะครับ _/\_

ตอบโดย: จุ๊ 14 ส.ค. 52 - 00:21


การดูลมหายใจ ดูด้วยสติกำกับให้รู้ในทุกอริยาบท ไม่ว่า ยืน เดิน นั่ง การกระทำทุกอย่างในชีวิตประจำวัน ถ้าเผลอก็ตั้งใหม่ ทำบ่อยๆ ก็จะมีสติในขณะปัจจุบันไม่เผลอ

ตอบโดย: คุณากร สุทธิประภา (อาภากโร) 14 ส.ค. 52 - 07:00


อ้างอิง (จุ๊ @ 14 สิ.ค. 52 - 00:21)


นั่นเป็นเพราะภูมิธรรมของผมยังไม่ถึงครับ แหะ แหะ

และที่ผมแสดงความไม่เห็นด้วยว่าคุณระนาดอย่าใช้ตรรกะว่าสมาธิฝึกง่าย เพราะฝึกแล้วสบาย เพราะคุณธรรมของคุณระนาดเริ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ แล้ว หากคุณระนาดเผยแผ่ความเชื่อนี้ออกไป จะบั่นทอนกำลังใจผู้ฝึกสมาธิไม่สำเร็จได้

 หวังว่าจะไม่ทำให้คุณระนาดรำคาญใจ ผมก็พอใจแล้วครับ


แหม..........คุณจุ๊ถล่มตัวซ้า...  ผมอ่านความเห็นในวันก่อนๆของคุณ  ผมก็พอจะมองออกว่า  คุณก็มีอะไรดีๆไม่ใช่น้อยเลยครับ.......นักปฏิบัติด้วยกันเวลาฟังผลการปฏิบัติแล้วย่อมจะรู้ว่าใครอยู่ตรงไหน...ฮิ..ฮิ..ฮิ    
             -------------------------------

ตอนนั้นผมคิดว่าจะฝึกฝนให้ชำนาญหลายๆเดือนแล้วไปส่งการบ้านเพราะว่า   ถ้าไปส่งการบ้านบ่อยๆก็เกรงว่าจะไปรบกวนหลวงพ่อ  ( เคยฟังในซีดี หลวงพ่อบอกว่าบางคนยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงก็มาส่งการบ้านแล้ว )

แต่เมื่อมีเพื่อนๆหลายคนทักว่า  ผมควรไปส่งการบ้านบ่อยๆ  ผมจึงคิดว่า  ราวๆปลายเดือนนี้ผมจะไปส่งการบ้านครับ   ได้ผลอย่างไรจะมาเล่าให้ฟังครับ
             --------------------------------

ต้องขออภัยด้วยครับที่ผมเคยบอกว่า  การเข้าสมาธิเป็นของง่าย  เข้าแล้วสบาย  เพราะว่าผมใช้การเข้าสมาธิเป็นเครื่องพักผ่อนตอนบ่ายๆ  ผมจึงนึกว่าคนอื่นก็คงจะเหมือนๆกับตัวผมเอง

   หมายเหตุ........ คนที่คิดว่าสมาธิทำยาก  เป็นเพราะว่าทำสมาธิผิดทางหรือเปล่าครับ...( ถ้าทำถูกมันง่ายนะ )
                   ------------------------------------

ผมไม่รำคาญคุณจุ๊เลยครับ   เวลาผมได้ฟังวิธีการปฏิบัติที่ดีๆของเพื่อนๆ  ผมก็เก็บเอามาใช้กับตัวเองครับ  ยินดีที่ได้คุยกันครับ    

ตอบโดย: ระนาด 14 ส.ค. 52 - 07:35


สวัสดีครับคุณปล่อยรู้.

   พระพุทธเจ้าทรงตรัสถึง ธรรม 2 อย่างเป็นส่วนของวิขชาคือ สมถะ และ วิปัสสนา

    จึงมีคำถามขึ้นว่า สมถะ และ วิปัสสนา จะพัฒนาจะฝึกได้อย่างไร.

     ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสสั่งสอนไว้ทั้งหมดแล้วโดยสรุปคือ

         สมถะ สามารถพัฒนาหรือปฏิบัติได้จาก     กรรมฐาน 40 อย่าง
         วิปัสสนา สามารถพัฒนาหรือปฏิบัติได้จาก  สติปัฏฐาน 4.
         สมถะและวิปัสสนา สามารรถพัฒนาหรือปฏิบัติได้จาก อานาปานสติทั้ง 16 จาตุกะ

      ดังนั้น สมถะและวิปัสนา มีอะไรเป็นเบื้องต้น ก็คือ สติสัมปชัญญะ นั้นเอง. ดังพุทธพจน์จากการเริ่มต้นอานาปานสติมีดังนี้

    ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า

     
     

ตอบโดย: Vicha 14 ส.ค. 52 - 10:13


   สวัสดีครับคุณจุ๊ คุณระนาด และ คุณคุณากร สุทธิประภา (อาภากโร) (ไม่ทราบว่าเป็นพระภิกษุหรือเปล่า?)

    ขอสนทนากับคุณระนาดนะครับว่า

      การเข้าสมาธินั้นง่าย สำหรับผู้ที่ได้ฌานมาแล้ว.
      ส่วนผู้ที่ยังไม่ได้ฌานนั้น   การเข้าสมาธินั้นเป็นเรื่องที่ยาก และเสมือนว่าเป็นสิ่งที่เกินเอื้อมไป.

      เปรียบเทียบคล้ายกับที่พระอานนท์กล่าวว่า  ปฏิจสมุทปบาท นั้นง่าย  แต่พระพุทธเจ้าทรงตรัสกับพระอานนท์ว่า "อย่างกล่าวเช่นนั้นเลย ๆ"
      เพราะปฏิจสมุทปบาทสำหรับปุถุชนนั้นยาก เหมือนกับปมกลุ่มด้ายที่พันกันยุ่งไปหมด.
   
 

ตอบโดย: Vicha 14 ส.ค. 52 - 10:27


อนุโมทนาพี่วิชาครับ _/\_

ขอแสดงความเห็นเรื่อง "คนที่คิดว่าสมาธิทำยาก  เป็นเพราะว่าทำสมาธิผิดทางหรือเปล่าครับ...( ถ้าทำถูกมันง่ายนะ )" นะครับ

เรื่องนี้ผมเคยลองซักถามจากพี่ท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติชอบจนหลวงพ่อปราโมทย์รับรองให้ตอบคำถามการปฏิบัติได้ โดยพี่ท่านนี้ยืนยันว่าท่านทำสมาธิไม่ได้จริงๆ ได้แต่ขณิกะสมาธิล้วนๆ

ผมก็สงสัยเคยซักถามว่าพี่ลองวิธีต่างๆ หรือยัง เคยดูนิวรณ์อย่างที่พระพุทธเจ้าสอนมั้ย เคยแบบนั้นแบบนี้ไหม พี่เขาก็ตอบว่าลองแล้วก็ไม่ได้สมาธิจริงๆ

จนทุกวันนี้ (เท่าที่ผมทราบ) หลวงพ่อก็ยังไม่ได้สอนให้พี่ท่านนั้นทำสมาธิได้เลย ทั้งที่พี่ท่านนั้นก็อยากทำสมาธิได้ไว้เป็นเครื่องพักเหมือนกัน แต่เมื่อไม่ได้ก็ไม่ได้ ก็จบเพียงเท่านั้น

ผมก็เลยต้องเชื่อข้อสรุปของหลวงพ่อว่า การเจริญสตินั้นง่าย (เพราะไม่ต้องทำอะไรเลย แค่รู้อย่างเดียว) ส่วนการทำสมถะให้เกิดสมาธินั้นยาก (เพราะต้องทำอะไรหลายอย่าง)

จึงขอให้ข้อมูลคุณระนาดไว้พิจารณานะครับ

ตอบโดย: จุ๊ 14 ส.ค. 52 - 10:46


สวัสดีครับพี่วิชา

กราบขอบพระคุณพี่เป็นอย่างยิ่ง ที่เมตตาเอื้อเฟื้อสนทนาธรรมด้วย ครับ

มีเรื่องให้แตกประเด็น จอดแวะข้างทางตรงนี้หน่อยนะ ครับ
เมื่อเห็นพี่วิชากล่าวถึง กรรมฐาน40อย่างขึ้นมา

เมื่อก่อนนั้น ผมเองก็ไม่ได้ใส่ใจเท่าใดนัก
ก็พอได้อ่าน ได้ฟัง มาบ้าง แต่ไม่ถึงกับศึกษาอย่างละเอียดเท่าใดนัก
และเคยพอได้ยินได้ฟังมาบ้างว่า กรรมฐานทั้ง40นั้น
มิใช่เป็นคำกล่าวสอนของพระพุทธเจ้าโดยตรง
แต่เป็นคำกล่าวอรรถกาจารย์ในชั้นหลัง ไม่ทราบว่าจริงหรือเท็จอย่างไรในข้อนี้ ครับ



ขอวกกลับเข้ามาหา ดำรงสติเฉพาะหน้า รู้ลมหายใจ ไม่ใช่เรื่องยาก
อีกหน่อยครับ


ที่ผมกล่าวว่า
สิ่งที่ถูกรู้ ก็ธรรมธรรมหนึ่ง
สิ่งที่เข้าไปรู้สิ่งที่ถูกรู้ ก็ธรรมธรรมหนึ่ง
สิ่งที่ระลึกรู้ ทั้งสิ่งที่ถูกรู้และสิ่งที่เข้าไปรู้ก็ธรรมธรรมหนึ่ง.

สิ่งที่รู้ความว่าง ไม่ใช่ตัวความว่าง
อาการที่ไม่จับถือความว่าง ไม่ใช่ตัวความว่างและไม่ใช่ตัวที่เข้าไปรู้ความว่าง.

ผมขออนุญาตนำมาเปรียบเทียบกับอานาปาดังนี้ ครับ

สิ่งที่ถูกรู้...คือลมหายใจเข้าและออก
สิ่งที่เข้าไปรู้สิ่งที่ถูกรู้...คือกายวิญญาณ
สิ่งที่ระลึกรู้ ทั้งสิ่งที่ถูกรู้และสิ่งที่เข้าไปรู้...คือสติ
ทั้ง๓ธรรมชาตินี้ จะมีการเกิดดับอยู่ตลอดเวลา
ทั้ง๓ธรรมชาตินี้ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ตัวตน แต่อย่างใด


ความว่าง...คือสิ่งที่ถูกรู้
สิ่งที่รู้ความว่าง....คือมโนวิญญาณ
สิ่งที่ระลึกรู้ทั้งความว่าง และสิ่งที่เข้าไปรู้ความว่าง...สติ
ทั้ง๓ธรรมชาตินี้ จะมีการเกิดดับอยู่ตลอดเวลา
ทั้ง๓ธรรมชาตินี้ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ตัวตน แต่อย่างใด

อาการที่ไม่จับถือ"ความว่าง"
ไม่จับถือ"สิ่งที่เข้ารู้ความว่าง"...คือสิ่งที่ควรเจริญ คือสิ่งที่ควรทำให้ยิ่ง

การที่จะไม่เข้าไปจับถือ สิ่งที่ถูกรู้ และสิ่งที่เข้าไปรู้ได้นั้น
ผมมีความเห็นความเข้าใจว่า
คือการไม่หลงเพลิดเพลินยินดีพอใจในสิ่งที่ถูกรู้ และสิ่งที่เข้าไปรู้
และการที่จะทำให้ไม่เกิดความเพลิดเพลินยินดีในสิ้งที่ถูกรู้ และสิ่งที่เข้าไปรู้ได้นั้น
ก็คือการมองเห็นความไม่เที่ยง
ของสิ่งที่ถูกรู้,สิ่งที่เข้าไปรู้ และผลอันเกิดขึ้นจากการที่ได้เข้าไปรู้

สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นย่อมเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเรา ว่านั้นของเรา ว่าเป็นตัวตนเราของเรา

สติที่ดำรงอยู่เฉพาะหน้า,
ลมหายใจที่กำลังถูกรู้
ล้วนไม่เที่ยง มีการเกิดดับเป็นธรรมดา
ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่านั้นคือลมหายใจของเรา นั้นคือสติของเรา...แต่อย่างใดเลย

ความเห็นเช่นว่านี้ ตามประสาปล่อยรู้
พี่วิชาหรือกัลยาณมิตรท่านอื่นๆ จะเห็นเป็นอย่างใด
โปรดเมตตาเอื้อเฟื้อชี้แนะนำตามเห็นสมควร ครับ






 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 14 ส.ค. 52 - 11:17


สวัสดีครับุณ จุ๊

    ต่อไปผมจะสนทนาธรรมในเชิงบัญญัตและเปรียบเทียบนะครับ.

   การเจริญสตินั้นง่าย   แต่การเจริญสติให้สมบูรณ์เป็น สมมาสตินั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย.
   และการเจริญสติพร้อมทั้งปรับให้พละที่เหลือทั้ง 4 (สมาธิ ปัญญา ศรัทธา ความเพียร) เจริญขึ้นด้วย และมีความเสมอพร้อมสมบูรณ์ นั้นเป็นเรื่องยากขึ้นไปอีก.

   เมื่อกล่าวถึงการเริ่มต้นปฏิบัติ การเจริญสตินั้นย่อมง่ายและสะดวกกว่า การทำใจให้ตั้งมั่นในกรรมฐานเพื่อเจริญสมาธิให้ได้ระดับฌานครับ

    แต่การที่จะพัฒนา พละทั้ง 5 โดยมีสตินำเพื่อให้ประชมร่วมกันเป็นมรรคผลนิพพาน ย่อมมีโอกาสยากกว่าการได้ฌาน  เพราะแฟกเตอร์หรือองค์ประกอบต่างๆ ที่ให้สมบูรณ์รวมกันได้นั้นมีมากกว่า การได้ฌานซึ่งมีองค์ประกอบน้อยกว่ามากเป็นไหนๆ

    เพราะการบรรลุมรรคผลนิพพานนั้นต้องสมบูรณ์พร้อมทั้ง โพธิปักขิยะธรรม 37 ประการ.
     
 

ตอบโดย: Vicha 14 ส.ค. 52 - 11:36


สวัสดีครับทุกท่าน ขออภัยที่ต้องโพล่งขึ้นมา

แต่ก่อนผมก็มีความคิดเช่นเดียวกันครับว่า

คนที่คิดว่าสมาธิทำยาก  เป็นเพราะว่าทำสมาธิผิดทางหรือเปล่าครับ...
( ถ้าทำถูกมันง่ายนะ )


คือผมรู้สึกว่า หากเราจดจำลักษณะและแยกแยะได้ว่า สิ่งใดเป็นสมาธิ และสิ่งใดเป็นสติ
การทำฌานให้เกิดก็ไม่ยาก

แต่เดี๋ยวนี้ชักไม่แน่เสียแล้ว เพราะวิธีปฏิบัติก็วิธีเดิม วิธีการเข้าก็วิธีเดิม อารมณ์เก่าๆที่จดจำไว้และระลึกได้ก็อารมณ์เดิม แต่ผลที่ได้ไม่เหมือนเดิม?

อาจเป็นด้วยกิเลสมันเริ่มเท่าทันแล้วก็ได้ ผมเดาเอานะ เดาจริงๆ

คิดว่าเหมือนเรานั่งเล่นหมากรุกหรือหมากฮอตด้วยตัวคนเดียวแต่สมมติตนเองเป็น 2 ฝั่ง ผลัดกันเดิน

ถามว่าเมื่อเราวางแผนกินหมากของอีกฝ่าย แล้วอีกฝ่ายจะไม่ล่วงรู้เลยหรือว่าตาต่อไปเราจะเดินอะไร จะมากินหมากเขาแบบไหน

เพราะมันก็คือจิตใจและความคิดของเราเพียงแต่ผลัดกันเปลี่ยนข้างไปเรื่อยๆ คล้ายกับจิตเราที่บางทีก็คิดในเรื่องของกุศล และบางทีก็ผลัดไปคิดในเรื่องของอกุศลและทำตามที่กิเลสสั่งบังคับบัญชา

ในเมื่อ กิเลสมันก็ควบคุมจิตใจของเราอยู่ กิเลสมารย่อมจะต้องติดตามดูและพัฒนาตนเองให้สามารถครอบงำจิตใจเอาไว้ได้ตลอดไป

หลังๆ ผมเลยหันมาเปลี่ยนทำวิปัสสนาบ้างอย่างที่คุณอัญญาสิกล่าวไว้ว่า ทำๆไปเลย ไม่ต้องกลัว ตายหนเดียว แลกกับกิเลสมันไปเลย จะได้ไม่ต้องไปตายคาปากประตูนิพพาน

และผมก็ละอายใจที่ไม่มีการบ้านประสบการณ์เหมือนอย่างท่านอื่นๆเลยในช่วงหลัง

แต่เมื่อวานมีการบ้านเกิดแล้วครับ

คือเมื่อวานตอนหัวค่ำพิจารณาธัมมานุปัสสนา ตอนเดินไปขึ้นรถที่อนุสาวรีย์ชัยฯ

คิดเรื่องธรรมที่จะทำให้บรรลุมรรคผล พิจารณาไปเรื่อยๆ ก็เกิดความรู้สึกว่าเท้าซ้ายที่เหยียบลงไปบนอิฐตัวหนอนเกิดยุบตัวลงไปคล้ายเหยียบลงบนดินน้ำมัน ยุบลงไปรู้สึกว่าสักประมาณ 1 ฟุต ครึ่ง ตอนนั้นคิดว่าเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในเมืองไทย

ความรู้สึกนั้นมันเกิดแค่วูบเดียว แล้วทุกอย่างก็เป็นปกติ ไม่มีอะไรยังยืนตัวตรงดำรงกายอยู่มิได้โอนเอน หรือล้ม แผ่นดินก็ยังปกติดีอยู่

มาคิดพิจารณาดูแล้วน่าจะเป็นวิปัสสนาญาณบังเกิด อาจเป็นอนิจจลักษณะ หลังจากที่ฆนสัญญา ความรู้สึกว่าเป็นแท่ง เป็นตัวเป็นตนมันหายไป พระไตรลักษณ์แสดงความเป็นจริงให้เห็นว่าโลกนี้ แผ่นดินนี้แท้จริงก็เป็นอนัตตาไม่มีตัวตน เดาเอานะครับ อาจจะผิดก็ได้

ตอบโดย: วสวัตตี 14 ส.ค. 52 - 11:44


สวัสดีครับ คุณปล่อยรู้

จากข้อความของคุณปล่อยรู้

อ้างอิง
เมื่อเห็นพี่วิชากล่าวถึง กรรมฐาน40อย่างขึ้นมา

เมื่อก่อนนั้น ผมเองก็ไม่ได้ใส่ใจเท่าใดนัก
ก็พอได้อ่าน ได้ฟัง มาบ้าง แต่ไม่ถึงกับศึกษาอย่างละเอียดเท่าใดนัก
และเคยพอได้ยินได้ฟังมาบ้างว่า กรรมฐานทั้ง40นั้น
มิใช่เป็นคำกล่าวสอนของพระพุทธเจ้าโดยตรง
แต่เป็นคำกล่าวอรรถกาจารย์ในชั้นหลัง ไม่ทราบว่าจริงหรือเท็จอย่างไรในข้อนี้ ครับ


   กรรมฐานทั้ง 40 อย่างนั้น ล้วนมีในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งสิ้นอยู่ในพระไตรปิฎกอย่างกระจัดกระจายครับ ผมได้อ่านเจอเยอะเลยครับ.
   แต่ด้วยพระคุณของท่านอรรถกาจารย์ ท่านได้รวบรวมไว้ เพื่อให้เป็นหมวดหมู่ง่ายในการเรียนรู้ ได้ถึง 40 อย่าง .

   พระอรรถกถา ไม่ได้เพิ่มกรรมฐานใหม่ขึ้นมาเองเลยแม้แต่กรรมฐานเดียว

   มีแต่ในยุคสมัยหลังหรือสมัยนี้เท่านั้นที่ปฏิรูป ดัดแปลงกันอย่างมากมาย เพื่อเป็นสำนักตน แสดงความเป็นจุดเด่นของสำนัก หรือกลุ่มสำนักปฏิบัติธรรมขึ้น.

   (สนทนาส่วนนี้ก่อน)


 

ตอบโดย: Vicha 14 ส.ค. 52 - 11:47


สวัสดีครับคุณ วสวัตตี

       ตกลงอิฐที่เป็นตัวหนอนนั้นยุบลงไปจริงหรือเปล่าถึง ฟุตครึ่ง?

       หรือไม่ได้ยุบลงไปจริงครับ?

    

ตอบโดย: Vicha 14 ส.ค. 52 - 11:56


สวัสดีครับ คุณปล่อยรู้
 
  จากข้อความ

อ้างอิง
ที่ผมกล่าวว่า
สิ่งที่ถูกรู้ ก็ธรรมธรรมหนึ่ง
สิ่งที่เข้าไปรู้สิ่งที่ถูกรู้ ก็ธรรมธรรมหนึ่ง
สิ่งที่ระลึกรู้ ทั้งสิ่งที่ถูกรู้และสิ่งที่เข้าไปรู้ก็ธรรมธรรมหนึ่ง.

สิ่งที่รู้ความว่าง ไม่ใช่ตัวความว่าง
อาการที่ไม่จับถือความว่าง ไม่ใช่ตัวความว่างและไม่ใช่ตัวที่เข้าไปรู้ความว่าง.

ผมขออนุญาตนำมาเปรียบเทียบกับอานาปาดังนี้ ครับ

สิ่งที่ถูกรู้...คือลมหายใจเข้าและออก
สิ่งที่เข้าไปรู้สิ่งที่ถูกรู้...คือกายวิญญาณ
สิ่งที่ระลึกรู้ ทั้งสิ่งที่ถูกรู้และสิ่งที่เข้าไปรู้...คือสติ
ทั้ง๓ธรรมชาตินี้ จะมีการเกิดดับอยู่ตลอดเวลา
ทั้ง๓ธรรมชาตินี้ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ตัวตน แต่อย่างใด


ความว่าง...คือสิ่งที่ถูกรู้
สิ่งที่รู้ความว่าง....คือมโนวิญญาณ
สิ่งที่ระลึกรู้ทั้งความว่าง และสิ่งที่เข้าไปรู้ความว่าง...สติ
ทั้ง๓ธรรมชาตินี้ จะมีการเกิดดับอยู่ตลอดเวลา
ทั้ง๓ธรรมชาตินี้ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ตัวตน แต่อย่างใด

อาการที่ไม่จับถือ"ความว่าง"
ไม่จับถือ"สิ่งที่เข้ารู้ความว่าง"...คือสิ่งที่ควรเจริญ คือสิ่งที่ควรทำให้ยิ่ง

การที่จะไม่เข้าไปจับถือ สิ่งที่ถูกรู้ และสิ่งที่เข้าไปรู้ได้นั้น
ผมมีความเห็นความเข้าใจว่า
คือการไม่หลงเพลิดเพลินยินดีพอใจในสิ่งที่ถูกรู้ และสิ่งที่เข้าไปรู้
และการที่จะทำให้ไม่เกิดความเพลิดเพลินยินดีในสิ้งที่ถูกรู้ และสิ่งที่เข้าไปรู้ได้นั้น
ก็คือการมองเห็นความไม่เที่ยง
ของสิ่งที่ถูกรู้,สิ่งที่เข้าไปรู้ และผลอันเกิดขึ้นจากการที่ได้เข้าไปรู้

สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นย่อมเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเรา ว่านั้นของเรา ว่าเป็นตัวตนเราของเรา

สติที่ดำรงอยู่เฉพาะหน้า,
ลมหายใจที่กำลังถูกรู้
ล้วนไม่เที่ยง มีการเกิดดับเป็นธรรมดา
ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่านั้นคือลมหายใจของเรา นั้นคือสติของเรา...แต่อย่างใดเลย

ความเห็นเช่นว่านี้ ตามประสาปล่อยรู้
พี่วิชาหรือกัลยาณมิตรท่านอื่นๆ จะเห็นเป็นอย่างใด
โปรดเมตตาเอื้อเฟื้อชี้แนะนำตามเห็นสมควร ครับ


   การเข้าใจและรู้สึกว่าเป็นธรรมอย่างนั้น มีด้วยแค่ปัญญา 2 ก็พอคือ 1.สุตมยปัญญา และ 2.จินตมยปัญญา.

   ส่วนการเห็นธรรมปรากฏขึ้นแจ่มแจ้งในธรรมที่เป็นปัจจุบันเนื่องๆ  มีด้วยภาวนามยปัญญา   จนเกิดญาณหรือปัญญาญาณขึ้น.

     เมื่อปฏิบัติธรรมแล้วรู้สึกว่าธรรมเป็นอย่างนั้นๆ หรือเข้าใจว่าธรรมเป็นอย่างนั้นๆ อยู่ โดยกิเลสยังหนาแน่นอยู่เหมือนเดิมเมื่อโดนกระทบยามขาดสติ หรือไม่ได้ระวังรักษา หรือช่วงที่หลงอยู่  การรู้เข้าใจและรู้สึกถึงธรรมนั้นจากการปฏิบัตินั้นก็ยังอยู่ในเขตของ จินตมยปัญญา ครับ.

    (พักเที่ยง ก่อนนะครับ)

 

ตอบโดย: Vicha 14 ส.ค. 52 - 12:17


สวัสดีครับคุณจุ๊และคุณวสวัตตี

พอดีผมมีทริกในการเข้าสมาธินิดหน่อย  คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ครับ

คือว่า  ก่อนจะนั่งสมาธิ  ให้ลืมตาก่อน  และ  ผ่อนคลายความตึงภายในร่างกาย

เมื่อร่างกายผ่อนคลายจะทำให้จิตใจผ่อนคลายได้เอง  โดยเราไม่ต้องบังคับ  เราไม่ต้องทำอะไร  เมื่อร่างกายผ่อนคลาย และ ใจผ่อนคลาย  เราจึงค่อยๆหลับตาลงช้าๆ

ในขณะที่เรากำลังดูลมหายใจเข้า - ออก  ในใจของเราตอนนั้นมีความคิด  หรือมีอารมณ์   หรือมีความง่วง  หรือมีความรู้สึกอะไรเกิดขึ้นก็ตาม  เราอย่าบังคับให้สิ่งต่างๆเหล่านี้ดับไป  แต่ให้รู้รวมๆกันไปเลยครับ  รู้แบบรู้คร่าวๆก็พอ  เราสนใจแต่อาการที่ลมเข้าลมออกเพียงอย่างเดียวเท่านั้น  สิ่งอื่นๆที่เพิ่มขึ้นมา  เดี๋ยวก็เกิด  เดี๋ยวก็ดับ  แม้แต่ความง่วงเราก็ไม่ต้องบังคับให้หายไป  เพราะเดี๋ยวก็หายได้เองอยู่แล้ว ( ถ้าจะหลับก็ช่างมัน  พอตื่นขึ้นมาก็ทำต่อ  บ่อยๆก็หายง่วงไปเอง )

ผมปฏิบัติแบบนี้แล้วรู้สึกว่าง่ายดีมากๆ  ผลพลอยได้คือ  เห็นไตรลักษณ์ในชีวิตประจำวันได้ด้วยครับ  ( เทคนิกนี้คล้ายๆความเห็นที่ 299 ของคุณอัญญาสิครับ ...... แค่ดัดแปลงนิดหน่อย )
            ------------------------------

แต่ถ้าไม่ตรงจริตของเพื่อนๆผมขออภัยด้วยนะครับ      

 ปล.  เรื่องที่คุณจุ๊เล่าให้อ่าน  เป็นความรู้ใหม่สำหรับผมเลยครับ  แต่เดิมผมคิดว่าคนภาวนาเก่งๆจะต้องทำสมาธิได้ดีทุกๆคน

ตอบโดย: ระนาด 14 ส.ค. 52 - 12:26


สวัสดีครับ คุณปล่อยรู้

      มาสนทนาต่อหลังพักเที่ยงแล้วนั่งหลับไปหนึ่งงีบ

      คุณปล่อยรู้ครับ ถ้า การคิดนำ การเข้าใจว่า การรู้สึกว่า เป็นไตรลักษณ์ แล้วไม่มีสติจับหรือ ปล่อยว่างๆ ไม่สนใจหรือละสติไปเสียก่อน ในขณะที่ปฏิบัติธรรมอยู่ โดยรูปนามหรือสภาวะนั้นยังไม่ปรากฏไตรลักษณ์ให้แจ้งชัดพร้อมกับปัญญาได้บังเกิดขึ้น.
    การคิดนำ การเข้าใจว่า การรู้สึกว่า เป็นไตรลักษณ์ แล้วไม่มีสติไปจับ ปล่อยว่างๆ ไม่สนใจหรือละสติไปเสียก่อนที่สภาวะการเกิดไตรลักษณ์จริงๆ กับรูปนาม สภาวะนั้นยังอยู่ในเขตของ จินตมยปัญญา มากกว่า ปัญญามยปัญญา ครับ.




          

ตอบโดย: Vicha 14 ส.ค. 52 - 13:31


อ้างอิง


ก่อนจะมาภาวนา  เวลามีสุขมีทุกข์  เราจะรู้สึกว่า "เรา" มีสุขบ้าง มีทุกข์บ้าง
เวลากายสุข/ทุกข์ ก็รู้สึกว่า กาย "เรา" สุข/ทุกข์  ใจก็เช่นเีดียวกัน

พอเิริ่มภาวนา  ก็ยังเห็นว่ามีสุขบ้าง มีทุกข์บ้าง  แต่จะเิริ่มเห็นว่ากาย, ใจ, สุข, ทุกข์ นั้น
แยกเป็นส่วนๆ  ความสุข ความทุกข์เลยจะเหมือนห่างๆ ออกไป  เริ่มเห็นกาย ใจ และ
ความรู้สึกต่างๆ  แสดงความแปรปรวน บังคับไม่ได้ ตั้งอยู่ไม่ได้ (ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์)

พอภาวนาไปเรื่อยๆ  จะเห็นว่า ที่จริงแล้วนั้น รูปนามมันมีแต่ทุกข์ล้วนๆ  เพราะอะไรก็ตาม
ที่ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์  จะไม่มีสุขได้เลย  จะเห็นแต่ความทุกข์ เห็นแต่ความเป็นโทษภัย
ของรูปนาม  ในช่วงนี้  ถ้ากำลังใจดี อินทรีย์ห้าพอเหมาะ  ก็จะตั้งใจรู้ตั้งใจดูตั้งใจเจริญสติ
ไม่ให้ย่อหย่อน (แต่ไม่ได้จงใจดู)  เพราะได้เห็นความจริงแล้วว่า รูปนามนี้ไม่ใช่ของดี
ของวิเศษอะไร  มีแต่ทุกข์ล้วนๆ  จิตจะต้องการให้พ้นไปจากรูปนามนี้  จึงกำหนด(มีสติ)
ได้ดี  ไม่ยอมท้อถอย  ประกอบกับจิตใจจะประจักษ์แล้วว่า  สติปัฏฐานสี่นั้นเป็น
เส้นทางเีดียวจริงๆ  จิตใจจึงไม่ยอมถอย  เรียกว่าสู้ตายก็ว่าได้  แต่ถ้าิอินทรีย์อ่อน
คาดว่าอาจจะถอยได้ เพราะแค่เห็นความจริง  บางทีก็ทนรับความจริงไม่ไหวแล้ว

เมื่อผ่านช่วงนี้ไปได้  จิตจะค่อยๆ เป็นกลางกับรูปนามมากขึ้น  คือเห็นอยู่ว่า เป็นทุกข์
เป็นโทษ  แต่เป็นกลางได้ดีขึ้น  ก็จะยังกำหนดรู้รูปนามได้ดีต่อเนื่อง  จากตรงนี้ถ้าเจริญ
ภาวนาต่อไป  จนใจเป็นกลางอย่างแท้จริง  จะเข้าสู่วิปัสสนาญาณท้ายๆ และเกิดการ
ตัดสินความรู้ได้เลย  แต่ถ้าจิตใจยังกำลังไม่พอ ก็อาจจะถอยกลับลงไปได้
ในครั้งแรก  สิ่งที่จะถูกทำลายคือ ความเห็นผิดว่ากายนี้ใจนี้คือตัวเรา  ที่ำทำลายได้
เพราะเห็นความจริงมากพอ  จนยอมรับความจริงเกิดการเห็นถูกขึ้นมาแทน

การเห็นรูปนามเป็นไตรลักษณ์ก็ดี  เป็นทุกข์เป็นโทษก็ดี  ในวิปัสสนาญาณขั้นสูงๆ
ไม่ได้เกิดจาการคิดซ้ำ  หรือเอามานั่งพิจารณาว่าไอ้ที่เราเห็นน่ะมันอะไร
มีแต่ว่า รู้ไปดูไป รู้ไม่มีคำพูด รู้ไม่มีความคิด ไม่ไ้ด้มีคำบอกว่านี่อะไรๆ
แต่ในใจมันเห็นมันรู้อยู่ของมันเอง  มันเห็นความเป็นจริง  เห็นอยู่อย่างนั้น
จนเกิดความเบื่อหน่าย  ต้องการไปให้พ้น  ซึ่งก็เกิดขึ้นมาเอง

การภาวนาแรกๆ เราต้องหัดให้มีสติขึ้นมาก่อน  พอมีสติแล้วตามรู้ตามดูบ่อยๆ
จนเริ่มเ็ห็นความจริง  เห็นทีแรก ใจมันไม่ยอมรับหรอกว่า กายใจไม่เที่ยง ไม่น่าเอา
เห็นบ่อยๆ ใจมันจะหน่ายมันจะคลาย ของมันเอง  ถ้ายังไม่คลายก็ตามรู้ตามดูไป
คลายเมื่อไหร่  ก็เมื่อนั้น  เราทำได้แค่เหตุ ผลนั้นเร่งรัดไม่ได้

ขอยกคำหลวงพ่อปราโมทย์มานะคะ ท่านว่า "เราภาวนาไม่ได้เอาสุข เอาสบาย
เราภาวนาเอาความจริง  ความจริงคือกายนี้ใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ...."
แต่เิริ่มแรกยังเป็นสุขอยู่ก็ทำไปก่อน  สภาวะธรรมที่จะประสบจากการภาวนานั้น
ไม่คงที่หรอก  จะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับๆ ตามกำลังของสติปัญญาที่ค่อยๆ เจริญขึ้น

เวลาภาวนานั้นไม่ต้องไปสนใจหรอกค่ะว่า นี่คือตรงไหน ญาณไหน  บางทีมันทำให้เขวได้
แล้วอาการของแต่ละช่วง  มันก็อาจจะเป็นจากญาณ หรือ จากปัจจัยอื่นๆ ก็ได้
การรู้การฟังไว้ก่อน  ขอให้เป็นการฟังประดับความรู้ ทำนองรู้ไว้ใช่ว่า  แต่เวลาภาวนาอย่า
ไปนึกถึงเลย  เพราะจิตนั้นพิสดารนัก  พอเรานึกคิดถึงวิปัสสนาญาณ เป็นต้น
ก็อาจเกิดการปรุงแต่งสภาวะขึ้นมาได้
 
จากคุณ : อัญญาสิ




ขออนุโมทนานะครับ....คุณอัญญาสิ   ( ขออนุญาตก๊อปปี้ข้อความของคุณ นะครับ... )


คุณอัญญาสิได้เขียนแบบเรียนฉบับย่อที่แนะแนวทางการปฏิบัติ แบบง่ายๆ

ตลอดจนชี้ให้เห็นผลที่จะได้รับอย่างชัดเจน หากใครต้องการแบบง่ายๆ ไม่วุ่นวาย

ให้ทำในแบบของคุณอัญญาสิ   ก็เกินพอแล้วครับ











  

ตอบโดย: เปา 14 ส.ค. 52 - 14:20


จิตตื่นตัวมาตอบจนได้

เหยียบพื้นแล้วมันยุบไป ขอรายละเอียดหน่อยนะครับ...  สภาวะก่อนหน้า และหลังจากนั้น

เอาตำราออกไปก่อน แล้วจะได้ให้เพื่อนๆช่วยกัน ผมรออ่านด้วย

แล้วรอให้พี่วิชามาตอบ อิอิ


นับถือพี่วิชามากครับ

ขอให้เพื่อนๆพยายามอ่านทำความเข้าใจ ที่พี่วิชาตอบให้ดีๆครับ ตรง หนักแน่น และของจริง ครบทุกด้าน ตอบเพื่อช่วยเหลือ เมตตา  เคารพ อบอุ่น

ถ้าเดินผ่านมาด้วยตัวเองแล้วจะเข้าใจได้ง่ายมากๆ ถ้ายังไม่เคยผ่านต้องคิดๆ(อ่านๆตำรา)เอามันเลยไม่เข้าไปที่ ใจ

จิตมันเห็นรูป นาม มันก็เห็นเอง มันเข้าใจเอง มันสรุปความรู้เอง

ก็ค่อยๆเรียนรู้ สะสม จนจิตมันแจ้งขึ้นมาเอง





อ่านแล้วจิตเบิกบาน ให้รู้สึก

อ่านแล้วจิตไม่เบิกบานให้ข้ามไป มันเป็นอดีตไปแล้ว

ตอบโดย: อิธ 14 ส.ค. 52 - 17:36


สวัสดีครับคุณอัญญาสิ  คุณวิชา  และเพื่อนๆ

หลายวันมานี้  ผมใช้เทคนิกในการดูความรู้สึกตามที่คุณอัญญาสิแนะนำมาในความเห็นที่ 299

เมื่อคืนนี้ผมนั่งสมาธิภาวนาโดย .... เมื่อร่างกายผ่อนคลาย  จิตใจก็เบาสบาย  เมื่อร่างกายผ่อนคลายมากขึ้น  จิตใจก็เบาสบายมากขึ้นเรื่อยๆ  จนกระทั่งร่างกายภายนอกมันหลับไป  แต่ว่ามีความตื่นรู้อยู่ภายใน

เมื่อมีความตื่นรู้อยู่ภายใน  ผมจึงเห็นความรู้สึกภายในต่างๆมีความเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงได้ด้วยตัวเขาเอง ( เห็นภาพนิมิตร เห็นอารมณ์ในใจ เห็นลมหายใจ ...ฯลฯ ) คล้ายๆกับว่า  กายและใจเป็นสิ่งมีชีวิตเพิ่มขึ้นมาอีกชีวิตหนึ่ง  อยู่ในตัวผม
                    ------------------------------

อาการหลับภายนอกแต่ตื่นรู้อยู่ภายในนี้  มีจุดที่แตกต่างจากการหลับทั่วๆไปคือ...

1 ) ผมจะรับรู้สิ่งรอบตัวได้ตามปกติ   และเมื่อมีคนมาเรียก  ผมก็ลุกขึ้นมาได้ ผมไม่มีความง่วงนอน

2 ) สภาวะนี้ผมเข้าถึงได้ไม่ยากนัก  แต่เมื่อก่อนผมเข้าถึงไม่ได้เพราะว่า  ผมขาดเทคนิกการรู้ความรู้สึกที่ถูกต้อง    เมื่อผมปฏิบัติตามเทคนิกที่คุณอัญญาสิเข้ามาบอกแล้ว  ตอนนี้ผมจึงเข้าสภาวะนี้ได้ครับ ( โดยผมมีพื้นฐานมาจากการเข้าสมาธิพักผ่อนตอนบ่ายๆ )

3 ) เมื่อผมออกจากสภาวะนี้  ผมจะยังคงเห็นกายและใจเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ต่อเนื่องไปได้อีกแป็บหนึ่ง  แล้วก็หายไป

4 ) เมื่อผมออกจากสภาวะนี้  ผมจะมีความสดชื่น  แจ่มใส  เหมือนคนที่ได้นอนหลับพักผ่อน  ผมไม่มีความสะลืมสะลือ   เหมือนคนตื่นนอนเลยครับ

5 ) การที่เห็นกายและใจเป็นสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งที่เพิ่มขึ้นมาภายในตัวผมนี้ .... ไม่ใช่ความรู้สึกแปลกๆ  แต่เป็นความรู้สึกปกติธรรมดาๆ  คล้ายๆกับว่า  ผมคุ้นเคยกับมันมาก่อน  แต่ว่าผมได้ลืมมันไปครับ ( แต่ความจริงมันเพิ่งจะเกิดกับผมได้แค่ไม่กี่วันนี้เองนะครับ )
              -------------------------------------

อยากทราบว่า  เมื่อตอนที่คุณอัญญาสิเข้าถึงสภาวะนี้ได้แล้ว  คุณปฏิบัติอย่างไรต่อไปครับ  ( หัดเข้า - ออก สภาวะนี้บ่อยๆ...ใช่ไหมครับ )

ขอบคุณครับ
              ------------------------------

หมายเหตุ   สภาวะนี้เป็นคนละอย่างกับการเข้าฌานครับ ( เข้าฌานคือ เห็นความซาบซ่านดับไป ....  เห็นลมหายใจจางลงไปแล้วมีแต่ความสุขตั้งมั่นอยู่ ) แต่ว่าอาจจะอาศัยพื้นฐานมาจากการเข้าฌานเมื่อหลายวันก่อนก็ได้  ........อันนี้ผมไม่แน่ใจนะ
 

ตอบโดย: ระนาด 15 ส.ค. 52 - 05:55


อ้างอิง (Vicha @ 14 สิ.ค. 52 - 11:56)

 สวัสดีครับคุณ วสวัตตี

       ตกลงอิฐที่เป็นตัวหนอนนั้นยุบลงไปจริงหรือเปล่าถึง ฟุตครึ่ง?

       หรือไม่ได้ยุบลงไปจริงครับ?


อิฐตัวหนอนดังกล่าวไม่ได้ยุบลงไปเลยแม้แต่นิดเดียวครับ สติสัมปชัญญะก็ยังปกติดีอยู่ สภาพร่างกายก็ยังปกติดีอยู่ ไม่ได้อ่อนเพลีย เพราะกำลังใช้สติพิจารณาธรรมอยู่ครับ กำลังพิจารณา พละ 5

ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ครับท่านวิชา

คือรู้สึกว่าอิฐตัวหนอนที่เหยียบนั้นนุ่มเหมือนดังดินน้ำมันและพอเหยียบลงไปก็ยวบลงไปราว 1 ฟุต ครึ่ง ยังนึกว่าเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ทำให้พื้นดินทรุดตัว คือมันไม่เหมือนการเดินตกท่อ ตกหลุมหรือว่าขาพลิกครับ เพราะถ้าเป็นแบบนั้นจะรู้สึกอีกแบบ เพิ่งเคยรู้สึกแบบนี้ก็ครั้งแรกในชีวิตครับ และเกิดแค่วูบเดียว

ตอบโดย: วสวัตตี 15 ส.ค. 52 - 13:51


อ้างอิง (อิธ @ 14 สิ.ค. 52 - 17:36)


จิตตื่นตัวมาตอบจนได้

เหยียบพื้นแล้วมันยุบไป ขอรายละเอียดหน่อยนะครับ...  สภาวะก่อนหน้า และหลังจากนั้น

เอาตำราออกไปก่อน แล้วจะได้ให้เพื่อนๆช่วยกัน ผมรออ่านด้วย

แล้วรอให้พี่วิชามาตอบ อิอิ


นับถือพี่วิชามากครับ

 


สภาวะก่อนหน้า ก็คือ เพิ่งเดินลงจากรถเมล์ปรับอากาศที่อนุสาวรีย์ชัยครับ และก็
เจริญธัมมานุปัสสนา โดยพิจารณาธรรม หัวข้อพละ 5 โดยพิจารณาตั้งแต่ก่อนลงจากรถ และเดินลงรถ

เดินไปเรื่อยวางความรู้สึกสัมผัสทางกายไว้ที่เท้าเหมือนเดินจงกรม
ส่วนอารมณ์ทางใจก็พิจารณาธรรมไปเรื่อย

ความคิดตอนนั้นคิดแบบนี้ครับ

วิปัสสนา คือการ ใช้ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา พิจารณาสิ่งที่ยังมีเหตุปรุงแต่งทั้งหลายตามความเป็นจริงโดยไม่อาศัยความยึดมั่นถือมั่น (อุปาทาน)

จำเป็นต้องมีอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา แต่พวกเราที่อินทรีย์ยังอ่อน  ศีล จิต และปัญญาก็เลยยังไม่ถึงขั้นอธิ

การทำให้ศีล จิต และปัญญา พัฒนาไปสู่ความเป็นอธิ ก็ต้องอาศัยเนกขัมมะ การออกจากกามทั้งหลาย คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส

ถ้าอธิศีลแบบชาวโลกก็อาศัยศีล 8 แต่ถ้าเป็นแบบนักบวชก็อาศัยศีล 227 ข้อ อันนี้เป็นอธิศีล

ถ้าอธิจิต ก็ต้องทำจิตให้เป็นรูปาวจรกุศลจิต หรืออรูปาวจรกุศลจิต

ส่วนอธิปัญญา ก็ต้องเป็นปัญญาที่เห็นพระไตรลักษณ์บังเกิดในวิปัสสนาญาณ



คิดเรื่องธรรมที่จะทำให้บรรลุมรรคผล พิจารณาไปเรื่อยๆ ก็เกิดความรู้สึกว่าเท้าซ้ายที่เหยียบลงไปบนอิฐตัวหนอนเกิดยุบตัวลงไปคล้ายเหยียบลงบนดินน้ำมันอันอ่อนนุ่ม

รู้สึกว่ามันนุ่มจนเท้าซ้ายที่เหยียบยุบลงไป  รู้สึกว่าสักประมาณ 1 ฟุต ครึ่ง ตอนนั้นคิดว่าเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในเมืองไทย แต่เท้าขวายังรู้สึกเป็นปกติดีอยู่นะครับ ยังรู้สึกว่ายืนบนอิฐตัวหนอนที่เรียบ

ความรู้สึกนั้นมันเกิดแค่วูบเดียว แล้วทุกอย่างก็เป็นปกติ ไม่มีอะไรยังยืนตัวตรงดำรงกายอยู่มิได้โอนเอน หรือล้ม แผ่นดินก็ยังปกติดีอยู่

มาคิดพิจารณาดูแล้วน่าจะเป็นวิปัสสนาญาณบังเกิด อาจเป็นอนิจจลักษณะ หลังจากที่ฆนสัญญา ความรู้สึกว่าเป็นแท่ง เป็นตัวเป็นตนมันหายไป พระไตรลักษณ์แสดงความเป็นจริงให้เห็นว่าโลกนี้ แผ่นดินนี้แท้จริงก็เป็นอนัตตาไม่มีตัวตน เดาเอานะครับ อาจจะผิดก็ได้

พอเกิดเหตุดังกล่าว ก็ถามจิตตนเองว่าเกิดอะไรขึ้น จิตเป็นฌานหรือ ก็ไม่ใช่

เป็นอริยบุคคลแล้วหรือก็ไม่ใช่ เพราะกิเลสทุกอย่างยังอยู่ครบเหมือนเดิม ก็เลยเดาเอาว่าน่าจะเป็นวิปัสสนาญาณอย่างใดอย่างหนึ่งน่ะครับ  เดาจริงๆ

สำหรับพื้นฐาน ความสามารถและประสบการณ์แต่หนหลังของผม คล้ายคุณระนาด
น่ะครับ

ตอบโดย: วสวัตตี 15 ส.ค. 52 - 15:58


สวัสดีครับคุณวสวัตตี

อ้างอิง
     ความคิดเห็นที่ 600 : (วสวัตตี) แจ้งลบ | อ้างอิง |


อ้างอิง (Vicha @ 14 สิ.ค. 52 - 11:56)

 สวัสดีครับคุณ วสวัตตี

       ตกลงอิฐที่เป็นตัวหนอนนั้นยุบลงไปจริงหรือเปล่าถึง ฟุตครึ่ง?

       หรือไม่ได้ยุบลงไปจริงครับ?


อิฐตัวหนอนดังกล่าวไม่ได้ยุบลงไปเลยแม้แต่นิดเดียวครับ สติสัมปชัญญะก็ยังปกติดีอยู่ สภาพร่างกายก็ยังปกติดีอยู่ ไม่ได้อ่อนเพลีย เพราะกำลังใช้สติพิจารณาธรรมอยู่ครับ กำลังพิจารณา พละ 5

ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ครับท่านวิชา

คือรู้สึกว่าอิฐตัวหนอนที่เหยียบนั้นนุ่มเหมือนดังดินน้ำมันและพอเหยียบลงไปก็ยวบลงไปราว 1 ฟุต ครึ่ง ยังนึกว่าเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ทำให้พื้นดินทรุดตัว คือมันไม่เหมือนการเดินตกท่อ ตกหลุมหรือว่าขาพลิกครับ เพราะถ้าเป็นแบบนั้นจะรู้สึกอีกแบบ เพิ่งเคยรู้สึกแบบนี้ก็ครั้งแรกในชีวิตครับ และเกิดแค่วูบเดียว


  อึม.....   เป็นวิปัสสนาญาณที่มีสมาธิมากครับ.  ความเป็นไตรลักษณ์ปรากฏ ออกมาอย่างชัดเจนและรุนแรงในขณะนั้น.

   ความจริงอาการอย่างนี้ตามภาษาของผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่มีสมาธิสูงมาก  เรียกว่า อาการตกจากที่สูงแบบทันที่ทันใด หรือ วูบลงแบบทันที่ทันใด.(แต่สภาวะร่างกายภายนอกยังปกติอยู่ หรือไหวไปนิดหน่อย)  หาได้เป็นกันบ่อยๆ หรอกครับในชีวิตหนึ่ง.

    แต่สภาวะเมื่อกำหนดภาวนาถูกส่วนแล้ววูบ แล้ววูบในความรู้สึก สามารถปรากฏได้บ่อยๆ ครับ.

 

ตอบโดย: Vicha 15 ส.ค. 52 - 16:22


อ้างอิง (Vicha @ 15 สิ.ค. 52 - 16:22)


อึม.....   เป็นวิปัสสนาญาณที่มีสมาธิมากครับ.  ความเป็นไตรลักษณ์ปรากฏ ออกมาอย่างชัดเจนและรุนแรงในขณะนั้น.

   ความจริงอาการอย่างนี้ตามภาษาของผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่มีสมาธิสูงมาก  เรียกว่า อาการตกจากที่สูงแบบทันที่ทันใด หรือ วูบลงแบบทันที่ทันใด.(แต่สภาวะร่างกายภายนอกยังปกติอยู่ หรือไหวไปนิดหน่อย)  หาได้เป็นกันบ่อยๆ หรอกครับในชีวิตหนึ่ง.

    แต่สภาวะเมื่อกำหนดภาวนาถูกส่วนแล้ววูบ แล้ววูบในความรู้สึก สามารถปรากฏได้บ่อยๆ ครับ.


ขอบพระคุณ ท่านพี่วิชชา มากๆ ครับ จริงดังที่ท่าน อิธ ให้คำนิยมไว้จริงๆ

อ้างอิง (อิธ)


นับถือพี่วิชามากครับ

ขอให้เพื่อนๆพยายามอ่านทำความเข้าใจ ที่พี่วิชาตอบให้ดีๆครับ ตรง หนักแน่น และของจริง ครบทุกด้าน ตอบเพื่อช่วยเหลือ เมตตา  เคารพ อบอุ่น

ถ้าเดินผ่านมาด้วยตัวเองแล้วจะเข้าใจได้ง่ายมากๆ ถ้ายังไม่เคยผ่านต้องคิดๆ(อ่านๆตำรา)เอามันเลยไม่เข้าไปที่ ใจ



คือผมเคยมีประสบการณ์อ่านหนังสือธรรมของท่าน ป. ปยุตโต ในร้านนายอินทร์ แล้วเกิดปฐมฌานในขณะนั่งลืมตาอ่านหนังสืออยู่ ถึงจะวูบ ก็ไม่ใช่แบบนี้

หรือแม้แต่ตอนได้ปฐมฌานครั้งแรกตอนนั่งหลับตาทำสมถกรรมฐานในชั่วโมงเรียนของวิชากรรมฐานที่ภาควิชาปรัชญาและศาสนา ม.ธรรมศาสตร์ ก็ไม่ใช่แบบนี้

หรือแม้ตอนที่นั่งหลับตาเข้าปัญจมฌาน มันก็ไม่ใช่แบบนี้

ที่กล่าวถึงเรื่องฌาน ไม่ได้มีเจตนาถือโอกาสอวดอ้างอะไรนะครับ เพียงแต่ทำตามคำแนะนำที่ว่าถ้ามีข้อมูลอะไรก็ให้บอกพี่วิชาให้หมด พี่เขาจะได้มีข้อมูลสำหรับใช้วินิจฉัยมากขึ้น

        

ตอบโดย: วสวัตตี 15 ส.ค. 52 - 16:38


ขอขอบคุณท่านระนาดสำหรับความคิดเห็นที่ 595 เรื่องทริกในการเข้าสมาธิด้วยนะครับ

 

 

ตอบโดย: วสวัตตี 15 ส.ค. 52 - 16:50


สวัสดีครับคุณระนาด

    ไม่ได้คุยกับคุณระนาด หลายความคิดเห็นแล้วครับ.

    ดีครับที่รู้จักวิธีพักของตนเอง.

     สำหรับผมตอนนี้ ด้วยฝึกอานาปานสติมากที่ผ่านมา กลายเป็นสมาธินำสติไปมากกว่า และด้วยยังไม่เกิดความเพียรในการพัฒนาสติ ให้เจริญขึ้นจนนำสมาธิ และชอบพักในตอนเที่ยงในวันทำงานหลังทานข้าวเที่ยงเป็นประจำ  ผมจึงนั่งพักแบบงีบทิ้งไปเลย.

    ดังนั้นเวลานั่งกำหนดกรรมฐานที่บ้านโดยยังไม่เพียรให้สติเจริญขึ้นมากว่าสมาธิ ก็เกิดสภาวะปรากฏได้สองสามรูปแบบ ดังนี้.

     1.นั่งกรรมฐาน สติรู้ลม รู้ใจ สติรู้ความรู้สึกภายในกายในสภาวะที่เคยชิน ก็จะมีสติรู้กับฐานทั้ง 4 (กาย เวทนา จิต และ ธรรม) ที่ปรากฏอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ  แต่ไม่เจริญสติขึ้น และมีความเป็นอารมณ์เดียวมากกว่า คือความรู้สึกภายในกายในสภาวะที่เคยชินนั้น

      ความรู้สึกภายในกายในสภาวะที่เคยชิน เป็นดังนี้ คือมีสติอ่อนๆ มีความเป็นหนึ่งที่ใจที่รู้สึกกายโดยรวม เห็นความเปลี่ยนแปลงที่ใจและความรู้สึกโดยรวมๆ ของกายนั้น (คือความเป็นไตรลักษณ์นั้นเอง) แต่ไม่ไปพัฒนาสติกับสภาวะนั้น กลับโน้มเป็นธรรมมารมณ์ คือ ธรรมในธรรม คือการปล่อยวาง โดยบริกรรมในใจหรือจิตแทน เห็นการเปลี่ยนแปลงเห็นความเป็นไตรลักษณ์ที่เป็นที่เกิดขึ้นของกายกับใจนั้นว่า "เป็นเช่นนั้นเอง" ๆ ๆ ๆ "เป็นอย่างนั้น" ๆ ๆ ๆ  บางครั้งก็ "เกิด ขึ้น ตั้งอยู่ ดับ ไปเป็นธรรม".

     2. หลังจากนั้นสมาธิเป็นหนึ่งขึ้น ปลดการได้ยินเสียงภายนอก ไม่ไปรับรู้ความรู้สึกการสัมผัสภายนอกของร่างกาย สติเด่นชัดขึ้นในความรู้สึกภายในที่บริกรรมพร้อมทั้งเข้าใจแจ้งในสภาวะของใจและความรู้สึกที่เปลี่ยนแปลงเป็นไตรลักษณ์โดยไม่ไปสำคัญหมายนั้น แต่ไม่เพียรยกสติให้พัฒนาขึ้น (ถึงสภาวะนี้ถ้าเกิดมีใครมาเรียกดังๆ หรือสะกิด จิตและสติก็จะขึ้นมารับรู้ได้)

    3. เมื่อสมาธิเป็นหนึ่งและสติเด่นชัดในคำภาวนาพร้อมทั้งแจ้งในไตรลักษณ์ที่ปรากฏกับใจและความรู้สึกโดยไม่ไปสำคัญมั่นหมายไปสักพักหนึ่ง ก็จะเลื่อนหายไปเสมือนไม่รับรู้อะไรแล้ว เสมือนไม่เป็นเราไม่มีเรา ไม่เป็นตัวตนของเราแล้ว

    4. ที่สังเกตุ จะปรากฏน่าจะ 3 แบบ ดังนี้.
              4.1 นิ่งแล้วงีบหลับไป ตื่นขึ้นมาปกติ อาจจะมีง่วงนอนติดมานิดๆ
              4.2 เข้าสู่สภาวะไม่เป็นตัวตนของเราไม่รับรู้ แล้วค่อยถอนมารับรู้ความรู้สึกเป็นตัวตนของเราแล้วมารู้สึกรับรู้ภายนอกชัดเจน
              4.3  มีสติรู้อยู่แล้วเคลื่อนวิบหายไปไม่มีความรู้สึกเป็นตัวตนของเราเหลืออยู่ หลังจากนั้นเคลื่อนวิบมารับรู้สึกเป็นตัวตนของเรา.

          คิดว่าในขณะที่ นิ่งแล้วงีบไป หรืออยู่ในสภาวะที่ไม่รับรู้เป็นตัวตนของเราแล้ว เมื่อมีคนมาเรียกเสียงดังๆ หรือทำเสียงอะไรดังมากๆ ก็คงไม่ได้ยินแล้วครับ.

           ออ... ในที่ทำงาน ผมอยู่ในคอกส่วนตัว เป็นฉากบังมีทางเดินเข้ามาเท่านั้นแต่หาได้ปิดถึงเพดานด้านบน ดังนั้นตอนพักเที่ยงหลังทานข้าว พนักงานมานั่งล้อมวงเมาส์ภายนอกสวนเสเออ่ากันอย่างสนุก ก็จะได้ยินอย่างชัดเจน แต่ได้ยินแค่ช่วงก่อนนั่งงีบเท่านั้น หลังจากนั้นไม่รับรู้อะไร และไม่ได้ยินอะไรเลย ตื่นมาก็ประมาณบ่ายโมงขาดเกินบางนิดหน่อยพอดี.

           จึงไม่เคยรับรู้ว่าเขาพูดอะไรกันในตอนนั้นเป็นเวลาหลายปีแล้ว. (หลับจนชินๆ ไปแล้ว)

ตอบโดย: Vicha 15 ส.ค. 52 - 18:39


ออ... วิธีดังความคิดเห็นที่ 605

      อย่าเข้าใจผิดว่าเป็นวิธีพัฒนาสติหรือพละ 5 ให้เจริญขึ้นนะครับ  เป็นการพักและงีบไปเองเท่านั้นครับ ในยามที่เหนื่อยจากงาน หรืออดนอน หรือสภาวะปกติธรรมดาทั่วไป.
 

ตอบโดย: Vicha 15 ส.ค. 52 - 19:00


สวัสดีครับคุณวิชา

อยากทราบว่า  คุณวิชาเคยทำกรรมฐานโดยการรู้ที่ลมหายใจแล้วปล่อยให้ร่างกายพักผ่อนคลายความตึงเครียดลงไปเรื่อยๆ  ( ตามทริกในความเห็นที่ 595 ) จนความรู้สึกภายนอกเบาบางลงไป  เเล้วเห็นด้วยความรู้สึกภายในคล้ายๆกับว่า  กายและใจเป็นสิ่งมีชีวิตที่ทำงานได้ด้วยตนเองอย่างเป็นอิสระ   พวกเขาไม่ใช่เป็นตัวเราของเรา

ถ้าคุณเคยทำแบบนี้  อยากทราบว่ามีข้อดีข้อเสียหรือไม่ครับ

สำหรับผม  ตอนนี้รู้สึกว่าเมื่อทำแบบนี้แล้ว  ในชีวิตประจำวันผมเห็นความไม่มีเจ้าของ  ของกายและใจได้ดีขึ้นกว่าเดิม ( ดีกว่าการเห็นกายและใจแบบ รู้พร้อมๆกันและแยกกันเป็นส่วนๆในเวลาเดียวกัน )

ผมนั่งกรรมฐานในตอนกลางคืน  และพักผ่อนตอนบ่ายๆด้วยวิธีเดียวกันครับ ( ถ้าผมจะหลับ  ผมก็ทิ้งลมหายใจแล้วหลับไปเลย )

ตอบโดย: ระนาด 15 ส.ค. 52 - 19:19


สวัสดีครับคุณระนาด

          ไม่เคยครับในปัจจุบัน  แต่เคยทำตอนวัยรุ่นแบบนี้ครับ.

         กำหนดภาวนา พุทธ-โธ กับลมหายใจ ในตอนนอน แล้วปล่อยให้อิสระสบายเบา จนหลับไปเองครับ จึงกลายเป็นคนหลับง่ายครับ.

         แต่ผมเข้าใจที่คุณระนาดปฏิบัตินะครับ... (กำหนดมาคนละทางกัน แต่ก็เข้าไปพักคล้ายแบบเดียวกันเลยครับ)

         ที่ผมปฏิบัติลึกคือ  เมื่อสติคงความรู้สึกอยู่ ไม่สนใจรับรู้ภายนอกแล้ว ก็จะน้อมให้เกิดสติสัมปชัญญะและภาวนาหรือพิจารณาว่า  "นี้ไม่ใช่เรา นี้ไม่ใช่ตัวตนของเรา" ๆ ๆ  ตามพุทธพจน์ตรงๆ เลยครับ (กับรูปนามที่ปรากฏ ที่มีสติรู้สึกอยู่นั้นแหละ).

     

ตอบโดย: Vicha 15 ส.ค. 52 - 21:38


อ้างอิง (Vicha @ 14 สิ.ค. 52 - 13:31)
สวัสดีครับ คุณปล่อยรู้

มาสนทนาต่อหลังพักเที่ยงแล้วนั่งหลับไปหนึ่งงีบ

การคิดนำ การเข้าใจว่า การรู้สึกว่า เป็นไตรลักษณ์ แล้วไม่มีสติไปจับ ปล่อยว่างๆ ไม่สนใจหรือละสติไปเสียก่อนที่สภาวะการเกิดไตรลักษณ์จริงๆ กับรูปนาม สภาวะนั้นยังอยู่ในเขตของ จินตมยปัญญา มากกว่า ปัญญามยปัญญา ครับ.

ขอบพระคุณ ที่พี่วิชาชี้แนะนำเพิ่มเติมให้ ครับ

ตามความเห็นที่ผมเสนอนั้น พี่วิชาสรุปให้ว่า
ถ้าไม่ใช่จินตมยปัญญา ก็เป็นภาวนามยปัญญา

เมื่อพี่วิชาชี้แนะนำมาอย่างนี้
ทำให้ผมมีความเห็นต่อไปอีกว่าการที่จะพิสูจน์ให้รู้ว่า เป็นปัญญาแบบไหนกันนั้น
คือเป็นจินตมยฯหรือเป็นภาวนามยฯกันแน่

เวทนาต่างๆทั้งหลาย อันเกิดขึ้นจากผัสสะทั้งหลายอันได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ต่างๆทั้งหลายนั้น คือเครื่องตรวจวัดพิสูจน์ปัญญาทั้ง๒ได้ชัดเจนกว่าเครื่องวัดพิสูจน์ใดๆ เลยใช่ไหม ครับพี่

เพราะผมมีความเห็นว่า ถ้าเป็นภาวนามยปัญญาแล้ว
มันจะไม่เกิดความหวั่นไหววิตก หวาดกลัวต่อผัสสะใดๆ
ต่อเวทนาใดๆอันเกิดมาจากผัสสะทั้งหลายทั้งปวง
มันไม่จำเป็นที่จะต้องเคลื่อนย้ายจิตหนีไปหลบในที่ไหนๆทั้งสิ้น
จิตมันจะต้องกล้าหาญที่จะเผชิญต่อผัสสะในทุกรูปแบบอยู่ตลอดเวลาเลยใช่ไหม ครับ
ไม่จำเป็นที่จะต้องนำพาจิตไปหลบซ่อนในภพภูมิใดๆอีกต่อไปแล้ว

แต่ถ้าเป็นจินตนามยปัญญาแล้ว
จะต้องคอยนำจิตไปอยู่ตามสถานที่ต่างๆ ตามที่ตนเองวิตกวิจารคิดนึกว่าปลอดภัยที่สุด
สามารถที่จะหลบพ้นผัสสะทั้งหลาย หลบพ้นจากเวทนาทั้งหลายได้ชั่วคราว
และเมื่อถึงเวลา แล้วค่อยกลับมาเผชิญกับผัสสะ กับเวทนา กันใหม่
ยามเมื่อผัสสะหรือเวทนานั้นไปดับลงไปแล้วตามกฏอนิจจัง
แต่ถ้าเวทนาอันเกิดจากผัสสะนั้นๆยังไม่ดับไปเอง ก็จะยังไม่ออกมาจากที่หลบซ่อน

ระหว่างปัญญาทั้ง๒อย่างนี้
ผมขออนุญาตสรุปตามความเข้าใจของผมอย่างนี้ว่า
ถ้าเป็นภาวนามยปัญญา มันจะเผชิญกับผัสสะและเวทนา
ด้วยการปล่อยทิ้ง วางลง ซึ่งๆหน้า
ส่วนถ้าเป็นจินตนามยปัญญา  มันจะต้องหาตัวช่วยมาช่วยเสริม ซึ่งก็สุดแท้แต่ว่ามันจะคิดนึกเอาอะไรๆมาเป็นตัวช่วย...


เห็นด้วยกับพี่วิชาครับ ที่พี่กล่าวว่า
การคิดนำ,การรู้สึกว่า...  ไม่อาจที่จะทำให้มองเห็นไตรลักษณ์ได้เลย

ซึ่งจะผิดกับความเห็นความที่เข้าใจจนเป็นที่ประจักษ์แจ้ง จนหมดความสงสัย ว่า
ทั้งการคิดนำ และการรู้สึกว่า...นั้น
ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องสังขารธรรมทั้งสิ้น ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน แต่อย่างใดทั้งนั้น
ไม่ใช่บุคคลตัวตนที่คิดนำ
ไม่ใช่บุคคลตัวตนที่รู้สึกว่า...
ทั้งการคิดนำและการรู้สึกว่า...ล้วนแล้วแต่ไตรลักษณ์ทั้งสิ้น

การเห็นไตรลักษณ์ ผมเข้าใจว่า
มันต้องเห็นอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่เดี๋ยวก็เห็น เดี๋ยวก็ไม่เห็น
หรือเลือกสถานที่ที่จะเห็นว่า ตรงนี้,ชั่วขณะนี้ มีไตรลักษณ์
ตรงนั้น,ชั่วขณะนั้น ไม่มีไตรลักษณ์...ถูกต้องไหมครับพี่

ขอพี่วิชาเจริญในธรรมอันยิ่ง เจริญในธรรมอันงดงาม ยิ่งๆขึ้นไป ครับ






 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 15 ส.ค. 52 - 23:08


อ้างอิง (Vicha @ 15 สิ.ค. 52 - 21:38)


         ที่ผมปฏิบัติลึกคือ  เมื่อสติคงความรู้สึกอยู่ ไม่สนใจรับรู้ภายนอกแล้ว ก็จะน้อมให้เกิดสติสัมปชัญญะและภาวนาหรือพิจารณาว่า  "นี้ไม่ใช่เรา นี้ไม่ใช่ตัวตนของเรา" ๆ ๆ  ตามพุทธพจน์ตรงๆ เลยครับ (กับรูปนามที่ปรากฏ ที่มีสติรู้สึกอยู่นั้นแหละ).


ปฏิบัติคล้ายกันครับ

 เมื่อไม่สนใจรับรู้ภายนอกแล้ว  สติคงความรู้สึกที่ลมหายใจ แล้วเห็นความรู้สึกอื่นๆเคลื่อนไหวไปๆมาๆ

เมื่อเห็นความรู้สึกอื่นเคลื่อนไหวไปๆมาๆ  ผลของมันคือ เห็นว่ากายและใจเป็นสิ่งมีชีวิตที่ทำงานได้ด้วยตนเอง  เขาไม่ใช่ของๆเรา
                  ----------------------------

สำหรับผมนะ   ถ้าสติไม่คงความรู้สึกที่ลมหายใจ  ก็จะกลายเป็นเหม่อลอย  หรือ  เผลอไม่มีสติไปเลยครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 16 ส.ค. 52 - 07:00


อ้างอิง (ระนาด @ 16 สิ.ค. 52 - 07:00)
สติคงความรู้สึกที่ลมหายใจ แล้วเห็นความรู้สึกอื่นๆเคลื่อนไหวไปๆมาๆ

เมื่อเห็นความรู้สึกอื่นเคลื่อนไหวไปๆมาๆ  ผลของมันคือ เห็นว่ากายและใจเป็นสิ่งมีชีวิตที่ทำงานได้ด้วยตนเอง  เขาไม่ใช่ของๆเรา
 



คุณวิชาเคยบอกว่าอานาปานสติเป็นได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา  หมายความว่า...........


ตรงที่  เห็นความรู้สึกอื่นๆเคลื่อนไหวไปๆมาๆ แล้วก็เห็นว่ากายและใจไม่ใช่ตัวเราของเรา  ในส่วนนี้เรียกว่า  .... อานาปานสติส่วนที่เป็นวิปัสสนา  ใช่ไหมครับ


แล้วตรงที่  มีสติคงความรู้สึกที่ลมหายใจ .....ในส่วนนี้คือ  อานาปานสติในส่วนที่เป็นสมถะ....ใช่ไหมครับ

ตอบโดย: ระนาด 16 ส.ค. 52 - 07:11


อ้างอิง (ปล่อยรู้ @ 15 สิ.ค. 52 - 23:08)

เมื่อพี่วิชาชี้แนะนำมาอย่างนี้
ทำให้ผมมีความเห็นต่อไปอีกว่าการที่จะพิสูจน์ให้รู้ว่า เป็นจินตมยฯหรือเป็นภาวนามยฯกันแน่

ผมขออนุญาตสรุปตามความเข้าใจของผมอย่างนี้ว่า

ถ้าเป็นภาวนามยปัญญา มันจะเผชิญกับผัสสะและเวทนา
ด้วยการปล่อยทิ้ง วางลง ซึ่งๆหน้า

ส่วนถ้าเป็นจินตนามยปัญญา  มันจะต้องหาตัวช่วยมาช่วยเสริม ซึ่งก็สุดแท้แต่ว่ามันจะคิดนึกเอาอะไรๆมาเป็นตัวช่วย...



ขออนุญาตนะครับคุณปล่อยรู้

การเห็นไตรลักษณ์  ที่เป็นภาวนามยปัญญาจริงๆ  มันต้องเห็นอยู่ตลอดเวลา  ไม่ใช่เดี๋ยวก็เห็น  เดี๋ยวก็ไม่เห็น ( แม้ว่ามันดับไป  ก็ยังเป็นไตรลักษณ์ )

หรือ  เลือกสถานที่ที่จะเห็นว่า  ตรงนี้ , ชั่วขณะนี้  มีไตรลักษณ์  ตรงนั้น,ชั่วขณะนั้น  ไม่มีไตรลักษณ์

นั่นก็หมายความว่า.........

  ภาวนามยปัญญา  มันจะเผชิญผัสสะและเวทนาอย่างตรงไปตรงมา.......
 
            ไม่ใช่ด้วยการปล่อยทิ้ง  วางลง  ซึ่งๆหน้า


            --------------------------------

เพราะฉะนั้น   คุณวิชาจึงได้บอกกับคุณในความเห็นก่อนหน้านี้ว่า  ...

....การคิดนำ - การเข้าใจว่า - การรู้สึกว่าเป็นไตรลักษณ์  แล้วไม่มีสติ  ปล่อยว่างๆไม่สนใจ  หรือ  ละสติไปก่อนการเกิดไตรลักษณ์จริงๆกับรูปนาม  แบบนี้ยังเป็นจิตนามยปัญญา  ยังไม่ใช่ภาวนามยปัญญาครับ
                   ------------------------------

สรุป  ถ้าเห็นไตรลักษณ์ที่เป็นภาวนามยปัญญา  เราไม่ต้องปล่อยทิ้งหรือวางลงครับ (ถ้าปล่อยทิ้งหรือวางลง  ก็เท่ากับว่าเราทิ้งการเห็นไตรลักษณ์นั่นเอง )
 

ตอบโดย: ระนาด 16 ส.ค. 52 - 07:44


สวัสดีครับคุณระนาด

    สภาวะที่ ที่สุดท้ายคล้ายคุณระนาดเป็นอย่างนี้

      แม้มาคนละแนวทาง ที่ผมเคยปฏิบัติผ่านมาจะกำหนดสติเป็นปัจจุบันขึ้นมาก่อนกับรูปนามที่ปรากฏ กับฐาน ทั้ง 4 (กาย เวทนา จิต และธรรม) ที่ปรากฏชัดเป็นปัจจุบัน จนพัฒนาขึ้นถึงจุดหนึ่งยังเท่าทันกับรูปนามที่ปรากฏมีสติสัมปชัญญะชัดเจน แต่วางการรับรู้ภายนอกไปแล้ว(ทั้งการได้ยินและการสัมผัสทางกาย ของคุณระนาด วางการรับรู้ภายนอก ยังไม่หมดสิ้น)
     ทรงสภาวะนั้นอยู่ ทั้งสติทั้งชัดเจนในรูปนามความรู้สึกกับใจที่เปลี่ยนแปลงอยู่อย่างเคยชินนั้น ทั้งนิมิตที่ปรากฏแล้วเปลี่ยนไปโดยไม่สนใจ ทั้งใจและความรู้สึกที่ไม่คงที่แบบต้องนิ่งอย่างเดียวเท่านั้น แต่ก็ยังอยู่ในกรอบที่สติและการบริกรรมเท่าทันเป็นปัจจุบันอยู่ เข้าใจในความเป็นไตรลักษณ์เป็นอยู่อย่างนั้น
       หลังจากนั้นก็จะเข้าสู่สภาวะที่ สักแต่รู้ แล้วก็ค่อยเลือนๆ ไปเรื่อยๆ ๆ ๆ. บางครั้งก็เงียบหายไป บางครั้งก็ตกภวังค์ตัดหรือปรับกึกๆ ไหวนิดหน่อยลึกลงไปอีก บางครั้งสัปปะงกเพราะง่วงนอนไปก็มี  เพราะการสักแต่รู้ แบบมีสติพอหล่อเลี่ยงอยู่ไปเรื่อยๆ กับไม่มีสติหล่อเลี่ยงแบบเผลอหลับนั้นอยู่ใกล้กันมากๆ เลยครับ

   เป็นการพักผ่อนที่ดีพอใช่ครับ  แต่ถ้าอดนอนมากๆ เอาแต่ทำอย่างนี้ก็ไม่ดีครับ เพราะความง่วงนอนจะติดอยู่ในช่วงนั้นได้ครับ และความง่วงนอนติดตามมาเมื่อปรับมารับรู้ปกติ.

 

ตอบโดย: Vicha 16 ส.ค. 52 - 10:21


อ้างอิง (Vicha @ 16 สิ.ค. 52 - 10:21)

     ทรงสภาวะนั้นอยู่ ทั้งสติทั้งชัดเจนในรูปนามความรู้สึกกับใจที่เปลี่ยนแปลงอยู่อย่างเคยชินนั้น ทั้งนิมิตที่ปรากฏแล้วเปลี่ยนไปโดยไม่สนใจ ทั้งใจและความรู้สึกที่ไม่คงที่แบบต้องนิ่งอย่างเดียวเท่านั้น แต่ก็ยังอยู่ในกรอบที่สติและการบริกรรมเท่าทันเป็นปัจจุบันอยู่ เข้าใจในความเป็นไตรลักษณ์เป็นอยู่อย่างนั้น


ตอนที่อยู่ในสภาวะนี้  คุณวิชายังคงความรับรู้ที่ลมหายใจอยู่หรือเปล่าครับ
                  --------------------------

สำหรับผม   ผมต้องมีสติคงความรับรู้อยู่ที่ลมหายใจ  ( ความรู้สึกภายนอกถูดตัดไปบางส่วน  ไม่ใช่ทั้งหมด )  จึงจะอยู่ในสภาวะนี้ไปเรื่อยๆ

สภาวะนี้ก็เบาๆสบายๆ  พอที่จะใช้เป็นที่พักผ่อน  และเจริญปัญญาเห็นไตรลักษณ์ได้พร้อมกัน........  ถ้าเรียกสภาวะนี้ว่าคือเข้าฌานสมาธิ  จะได้หรือเปล่าครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 16 ส.ค. 52 - 11:04


อ้างอิง (Vicha @ 16 สิ.ค. 52 - 10:21)

       หลังจากนั้นก็จะเข้าสู่สภาวะที่ สักแต่รู้ แล้วก็ค่อยเลือนๆ ไปเรื่อยๆ ๆ ๆ. บางครั้งก็เงียบหายไป บางครั้งก็ตกภวังค์ตัดหรือปรับกึกๆ ไหวนิดหน่อยลึกลงไปอีก บางครั้งสัปปะงกเพราะง่วงนอนไปก็มี  เพราะการสักแต่รู้ แบบมีสติพอหล่อเลี่ยงอยู่ไปเรื่อยๆ กับไม่มีสติหล่อเลี่ยงแบบเผลอหลับนั้นอยู่ใกล้กันมากๆ เลยครับ

   เป็นการพักผ่อนที่ดีพอใช่ครับ  แต่ถ้าอดนอนมากๆ เอาแต่ทำอย่างนี้ก็ไม่ดีครับ



ถ้าผมทิ้งลมหายใจ  ผมก็จะเข้าสู่สภาวะนี้  ซึ่งก็จะมีสติหล่อเลี้ยงบ้างไม่มีสติหล่อเลี้ยงบ้าง ( ความรู้สึกภายนอกถูดตัดขาดไปหมด )  และถ้าเมื่อคืนนอนไม่พอ  ผมก็หลับไปเลยครับ
                    -------------------------

ตรงนี้จึงไม่ใช่อานาปานสติแล้ว   ใช่ไหมครับ  ( เอาไว้เป็นที่พักผ่อนเพียงอย่างเดียว )

ตอบโดย: ระนาด 16 ส.ค. 52 - 11:05


สวัสดีครับคุณปล่อยรู้.

อ้างอิง
     ระหว่างปัญญาทั้ง๒อย่างนี้
ผมขออนุญาตสรุปตามความเข้าใจของผมอย่างนี้ว่า
ถ้าเป็นภาวนามยปัญญา มันจะเผชิญกับผัสสะและเวทนา
ด้วยการปล่อยทิ้ง วางลง ซึ่งๆหน้า
ส่วนถ้าเป็นจินตนามยปัญญา  มันจะต้องหาตัวช่วยมาช่วยเสริม ซึ่งก็สุดแท้แต่ว่ามันจะคิดนึกเอาอะไรๆมาเป็นตัวช่วย...


   ภาวนามยปัญญา นั้นต้องมีสติเป็นปัจจุบันขณะเท่าทันกับผัสสะหรือเวทนาที่ปรากฏ ครับ หน้าที่การปล่อยวาง การตัดทิ้ง เป็นเรื่องของปัญญาญาณที่เจริญขึ้นโดยตรงครับด้วยการอบรมบ่มนิสัยในการปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นอยู่เนื่องๆ เราจะไปคิดปรุงแต่งเสียก่อนก็ไม่ได้ครับเพราะจะเป็นจินตมยปัญญาไปเสียครับ.

     คุณปล่อยลองทำความเข้าใจ กับพุทธพจน์ตรงนี้นะครับ   "สัญญาเกิดก่อนปัญญาเกิดที่หลัง"

     ซึ่งสัญญานี้ ก็คือการปฏิบัติกำหนดภาวนาอยู่เนื่องๆ นั้นเอง  จนปรากฏขึ้นแล้วเกิดปัญญาญาณขึ้น ปล่อยวางไปตามลำดับญาณ(ตามลำดับวิปัสสนาญาณ) จนถึงมรรคญาณและผลญาณ.

     ไม่ใช่การคิดปรุงแต่งจนละสติไปจากผัสสะหรือเวทนา เพราะเข้าใจว่ามันก็เป็นไตรลักษณ์แล้วมารู้เฉยๆ วางเสียไม่สนใจเสีย เพราะสงบดีสบายดี.
 
      ยกเว้นใช้ความคิดน้อมเป็นโยนิโสมนสิการพิจารณาอย่างรอบคอบจนใจน้อมคลายลงสู่การปฏิบัติที่มีสติเป็นปัจจุบันกับผัสสะหรือเวทนาแจ้งชัดในไตรลักษณ์ที่ปรากฏผัสสะหรือเวทนานั้น ก็ย่อมทำให้เกิดปัญญาญาณ ในการปล่อยวางเจริญขึ้นได้ครับ

   ต่อไปผมลองพิจารณาเรื่องการปล่อยวาง ผัสสะหรือเวทนา ของบุคคล  2 ประเภทดังนี้คือ
      1.ปุถุชนผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
      2.พระอริยะเบื้องต้น(พระโสดาบัน พระสกิทาคามี)

     ปุถุชนนั้น ยังต้องเพียรปฏิบัติ(ไม่ใช่คิดปรุงแต่ง) อยู่เนื่องๆ จนเกิดสัญญา ที่เกิดจาก สติสัมปชัญญะแจ้งชัดกับผัสสะหรือเวทนาที่ปรากฏ แล้วแจ้งชัดในไตรลักษณ์ ดำรงรักษาอยู่ จนเกิดปัญญาญาณ ปล่อยวาง ตามลำดับสภาวะธรรมแห่งตน ที่มีเจริญและเสือมถอยได้

      พระอริยะเบื้องต้น  ด้วยละสักกายทิฏฐิ  วิจิกิจฉาในพระพุทธพระธรรมและพระสงฆ์ว่ามีคุณจริงหรือไม่มีคุณอะไรเลย และสีลปรามาส หมดสิ้นแล้ว ปัญญาญาณ(ไม่มีสักกายทิฏฐิ) นั้นเกิดขึ้นโดยตลอดตามฐานะของท่านครับ ไม่ว่าจะไปคิดหรือไม่คิดก็ตาม เป็นปกติของท่าน.

      แต่ก็มีขอบเขตนะครับ. เพราะ
          1.นางวิสาขาแม้จะเป็นโสดาบันเมื่อ หลานได้ตายไป ก็ร้องให้เสียใจอยู่พักใหญ่เหมือนกัน
          2.พระเจ้ามหานามะ เมื่อมีกิจในการงานบ้านเมื่องมาก ทำให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้าและพระธรรมน้อยลง ก็สงสัยในคุณธรรมแห่งตนนั้นจะเสื่อมถอยไปเสียแล้ว จนเมื่อได้เจอกับพระพุทธเจ้า จึงได้ถามปัญหานี้ จนพระพุทธเจ้าตรัสบอกทำนองว่า คุณธรรมในการเป็นพระโสดาบันหาได้เสื่อมไปไม่.

       ดังนั้นจึงให้ตรวจสอบเรื่องใจดังนี้
           1.ใจที่ไปละเมิดผิดศีล 5  และได้กระทำผิดศีล 5 ด้วยวาจาและกายได้ก็คือปุถุชนนี้เอง.
           2.ความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่อง จนร้อนรนสับสน ย้อมติดอยู่อย่างนั้น หรือเหมือนดังเป็นแผลสด หรือแผลเน่า ที่พอมีอะไรมาสกิดทุกครั้ง ก็ทุกข์ร้อนรนมากมายมาเมื่อนั้น.
          หรือพิจารณากิเสล ไม่ว่าจะเป็นโทสะ หรือราคะ หรือโมหะ เมื่อปะทุขึ้นมาอย่างรุนแรงเกิดวิปลาสกระทำไปทางกายหรือวาจาอย่างหยาบๆ เมื่อไม่ได้ดังใจเกิดระเบิดออกมาแปลงเป็นโทสะ ทางกายหรือวาจาไปชั่วขณะก็คือปุถุชนนี้เอง.

     หมายเหตุ ปัจจุบันข้อที่ 2 ผมยังปรากฏอยู่ครับ ในบางครั้ง ก็คือยังเป็นปุถุชนอยู่ครับ แต่เป็นเฉพาะภายในครอบครัวกับภรรยาครับ ที่ทำให้อารมณ์เช่นนี้เกิดได้ แต่ไม่บ่อยนานๆๆ สักที่หนึ่ง น่าสัก 2 หรือ 3 ครั้ง ในชีวิตที่อยู่กันมา
          ออ.. ไม่เคยทำร้ายหรือตีกันเลยครับ และไม่เคยด่ากันด้วยคำหยาบ มีแต่งอนจนเกินกำลังไปไม่ผ่อนลงมาเลยแล้วล็อกห้อง ผมวนเวียนเกาะประตูเรียกแล้วหลายครั้งไม่สนใจเพื่อจะไปง้อ ย่อมทำให้อารมณ์โกรธฟุ่งตวาดดังๆ แตะประตูสักที่สองที่เพราะยับยังไม่อยู่ จนเปิดประตู แล้วผมก็งอนขับรถออกจากบ้านไปเลย จนภรรยาโทรไปง้อ ปล่อยเวลาให้ใจเย็นสักพักหนึ่งก็กลับบ้าน
          ส่วนทะเราะแล้วงอนหรือขัดใจกันเล็กๆ น้อยๆ มีเป็นธรรมดาแต่หาได้มากนักตามประสาอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยา.

       สรุป ภรรยาช่วยผมได้เยอะ ในการทำให้ผมรู้ว่า ผมยังเป็นปุถุชนอยู่
 

ตอบโดย: Vicha 16 ส.ค. 52 - 12:30


ตอบคุณระนาด

  จากคำถามของคุณระนาด

    ตอนที่อยู่ในสภาวะนี้  คุณวิชายังคงความรับรู้ที่ลมหายใจอยู่หรือเปล่าครับ

   ตอบ   ตัดสภาวะการรับรู้ภายนอก หรือสัมผัสทางกายภายนอกไปแล้วครับ แต่มีสติสัมปชัญญะชัดในใจและความรู้สึกนั้น(รูปนามนั้น).

 

ตอบโดย: Vicha 16 ส.ค. 52 - 12:39


อ้างอิง (Vicha @ 16 สิ.ค. 52 - 12:39)


    ตอนที่อยู่ในสภาวะนี้  คุณวิชายังคงความรับรู้ที่ลมหายใจอยู่หรือเปล่าครับ

   ตอบ   ตัดสภาวะการรับรู้ภายนอก หรือสัมผัสทางกายภายนอกไปแล้วครับ แต่มีสติสัมปชัญญะชัดในใจและความรู้สึกนั้น(รูปนามนั้น).


ถ้าผมหมั่นฝึกฝนตามที่ผมได้เล่ามาต่อไปเรื่อยๆ     สติ สัมปชัญญะ สมาธิ ปัญญา จะพัฒนาจนเข้าสู่สภาวะเดียวกันกับคุณวิชาได้ไหมครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 16 ส.ค. 52 - 15:02


ตอนนี้ชักจะเริ่มไม่กลัวตัวจริงของรูปนามตามที่คุณอัญญาสิแนะนำแล้ว

สู้ครับ สู้ ขอดูมันนานๆ ชัดๆ ให้เข้าใจและปฏิบัติต่อมันอย่างถูกต้องเสียหน่อย

 

ตอบโดย: วสวัตตี 16 ส.ค. 52 - 15:11


อ้างอิง (ระนาด @ 16 สิ.ค. 52 - 07:44)
สรุป  ถ้าเห็นไตรลักษณ์ที่เป็นภาวนามยปัญญา 
เราไม่ต้องปล่อยทิ้งหรือวางลงครับ
(ถ้าปล่อยทิ้งหรือวางลง  ก็เท่ากับว่าเราทิ้งการเห็นไตรลักษณ์นั่นเอง )

สวัสดีครับพี่ระนาด

ขอบพระคุณในคำช่วยชี้แจงอธิบายขยายความที่เสนอแนะมา ครับ
แต่ผมก็ยังไม่เข้าใจในสิ่งที่พี่ระนาดอธิบาย ครับ

เมื่อตาเห็นรูป และเห็นเวทนาอันเกิดขึ้นจากการที่ตาได้เห็นรูป
ถ้าไม่ปล่อย สละละวางลงซึ่งรูปที่เห็น ซึ่งเวทนาที่กำลังปรากฏเกิดขึ้นนั้น
ตัณหา อุปาทาน ภพ จะไม่เกิดตามมาเป็นลำดับหรอกหรือ ครับ

เมื่อพี่ระนาดได้ผัสสะ กับความเห็นของปล่อยรู้
สังขารธรรมที่เกิดขึ้นหลังจากจักขุวิญญาณของพี่ระนาดได้ผัสสะกับความเห็นของปล่อยรู้
ธรรมปรุงแต่งความรู้สึกให้เข้าใจว่า ความเห็นของปล่อยรู้นั้นคือจินตนามยปัญญา

และเมื่อวางความรู้สึกนี้ลงไม่ได้ ดับลงไม่ได้
และเข้าไปจับถือความรู้สึกที่ว่านั้นเอาไว้ต่อไป
มันก็เลยเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความคิดลำดับถัดไปว่า
ต้องแสดงความเห็นเข้ามาแนะนำปล่อยรู้ซักหน่อย
และก็เฝ้ารอว่า เมื่อปล่อยรู้ได้เข้ามาอ่านแล้ว
ปล่อยรู้จะแสดงความเห็นอย่างไรออกมา...

แต่ถ้าพี่ระนาดวางความเห็นของปล่อยรู้แล้ว
สภาพสภาวะก่อนหน้าที่จะผัสสะกับความเห็นของปล่อยรู้เป็นเช่นใด
ก็ยังคงเป็นอยู่เช่นนั้น
(สติกำลังจดจ่อระลึกรู้อยู่กับองค์ภาวนาใด องค์ภาวนาหนึ่งอยู่
ก็ย่อมกำหนดระลึกรู้อยู่ อย่างสม่ำเสมอซึ่งองค์ภาวนานั้น)

เมื่อผัสสะแล้ว ไม่เกิดความรู้สึกอะไรๆ
หรือเมื่อผัสสะแล้ว อาจจะเกิดความรู้สึกแว็บไปบ้าง แต่ไม่จับถือ ไม่สนใจในความรู้สึกที่แว็บเกิดขึ้นมานั้น และก็รีบดึงกลับมาระลึกรู้อยู่กับฐานที่สติกำลังเจริญอยู่ก่อนหน้าที่จะเกิดผัสสะนั้น และเมื่อพี่ระนาดกระทำได้เช่นว่านี้
พี่ระนาด ก็คงไม่แสดงความคิดเห็นใดๆเข้ามาแนะนำปล่อยรู้แต่อย่างใดๆเลย ใช่ไหมครับ

ความเห็นไตรลักษณ์ ผมเข้าใจว่า
คือการเห็นจิตต่างๆทั้งหลาย
เห็นเหตุที่ทำให้จิตต่างๆทั้งหลายปรากฏ
เห็นความดับลงไปของจิตต่างๆทั้งหลาย

คือการเห็นการปรากฏเกิดขึ้นของธรรมทั้งหลาย
เห็นเหตุอันทำให้ธรรมทั้งหลายปรากฏ
เห็นความดับลงของธรรมทั้งหลาย

คือการเห็นการปรากฏเกิดขึ้นของรูปทั้งหลาย
เห็นเหตุอันทำให้รูปทั้งหลายปรากฏ
เห็นความดับลงของรูปทั้งหลาย

คือการเห็นการปรากฏเกิดขึ้นของเวทนาทั้งหลาย
เห็นเหตุอันทำให้เวทนาทั้งหลายปรากฏ
เห็นความดับลงของเวทนาทั้งหลาย

คือการเห็นการปรากฏเกิดขึ้นของสัญญาทั้งหลาย
เห็นเหตุอันทำให้สัญญาทั้งหลายปรากฏ
เห็นความดับลงของสัญญาทั้งหลาย

คือการเห็นการปรากฏเกิดขึ้นของสังขารทั้งหลาย
เห็นเหตุอันทำให้สังขารทั้งหลายปรากฏ
เห็นความดับลงของสังขารทั้งหลาย

คือการเห็นการปรากฏเกิดขึ้นแห่ง
กระทู้ "ดำรงคค์สติเฉพาะหน้า รู้ลมหายใจ ไม่ใช่เรื่องยากเกิดขึ้น"
เห็นเหตุที่ทำให้เกิดขึ้นของกระทู้ฯนี้
เห็นความดับของกระทู้ฯนี้ ว่าจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในเบื้องหน้า

คือการเห็น การปรากฏเกิดขึ้นของความคิดเห็นต่างๆทั้งหลายที่แสดงเข้ามา
เห็นเหตุที่ทำให้เกิดความคิดเห็นต่างๆที่แสดงเข้ามา
เห็นความดับของความคิดเห็นต่างๆทั้งหลาย

เมื่อผมเห็นไตรลักษณ์ ดังที่ผมกล่าวมานี้นั้น จึงเป็นเหตุทำให้ผมเข้าใจว่า
ธรรมปล่อยทิ้ง สละละวาง ย่อมปรากฏเกิดขึ้น
และพร้อมอยู่เสมอที่จะปล่อยทิ้ง สละละวาง อยู่ตลอดเวลา
เพราะเหตุที่เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง จนหมดสิ้นความสงสัย แล้วนั้นเอง...

แต่ถ้าตราบใดที่ยังไม่แทงทะลุ ซึ่งไตรลักษณ์ในธรรมทั้งหลายทั้งปวง
การจับถือในผัสสะบางสิ่งบางอย่าง
การไม่ปล่อยวางในธรรมบางสิ่งบางอย่าง
การเลือกถือ การแบ่งแยกความคิดเห็นว่า
ความคิดเห็นนี้ว่าถูก ว่าใช่ ว่าจริง
ความคิดเห็นนี้ว่าไม่ถูก ไม่ใช่ ไม่จริง
ก็จะยังคงปรากฏขึ้นในจิตอยู่ ไม่อาจที่จะสละละทิ้งลงไปได้

เพราะผมเข้าใจว่า ถ้าแทงทะลุไตรลักษณ์ได้อย่างจริงแท้แล้ว
การปล่อยวาง จะไม่เลือกในธรรมบางสิ่งบางอย่าง
การเลือกถือ การแบ่งแยกความคิดเห็นว่า
ความคิดเห็นนี้ว่าถูก ว่าใช่ ว่าจริง
ความคิดเห็นนี้ว่าไม่ถูก ไม่ใช่ ไม่จริง
ก็จะไม่ปรากฏขึ้นในจิตแต่อย่างใด
เพราะความที่จิตได้เห็นธรรมทุกสิ่งทุกอย่างทั้งหลายนั้น
ล้วนแล้วแต่มีคุณลักษณ์ที่เป็นไตรลักษ์ เหมือนกันทั้งหมดทั้งสิ้นนั้นเอง...

ต้องขอโทษพี่วิชาด้วยนะ ครับ
ที่ปล่อยรู้เข้ามาขั้นจังหวะ ในการสนทนา

ขอพี่ระนาดจเริญในธรรมอันยิ่ง เจริญในธรรมอันงดงาม ยิ่งๆขึ้นไปครับ

















 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 16 ส.ค. 52 - 20:02


อ้างอิง
คุณปล่อยรู้
ไม่จับถือ"สิ่งที่เข้ารู้ความว่าง"...คือสิ่งที่ควรเจริญ คือสิ่งที่ควรทำให้ยิ่ง
การที่จะไม่เข้าไปจับถือ สิ่งที่ถูกรู้ และสิ่งที่เข้าไปรู้ได้นั้น
ผมมีความเห็นความเข้าใจว่า
คือการไม่หลงเพลิดเพลินยินดีพอใจในสิ่งที่ถูกรู้ และสิ่งที่เข้าไปรู้
และการที่จะทำให้ไม่เกิดความเพลิดเพลินยินดีในสิ้งที่ถูกรู้ และสิ่งที่เข้าไปรู้ได้นั้น
ก็คือการมองเห็นความไม่เที่ยง
ของสิ่งที่ถูกรู้,สิ่งที่เข้าไปรู้ และผลอันเกิดขึ้นจากการที่ได้เข้าไปรู้

การไม่ยึด "รู้" เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นค่ะ  ไม่ว่าวันใดก็วันหนึ่งไม่ช้าก็เร็ว
แต่ก่อนจะปล่อย "รู้" ได้  จะต้องเห็นเสียก่อนว่ายึดอยู่ หรือจะต้องเห็นเสียก่อนว่า
รู้นี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับไม่ได้  จึงวางลง  แต่ถ้ายังไม่เห็นว่ายึด หรือ ยังไม่เห็นว่า
"รู้" นี้เป็นไตรลักษณ์  การวางจะเกิดขึ้นไม่ได้  ถ้าจะคิดเอาว่า สิ่งนี้ควรวางแล้ว
พิจารณาหรือทำอะไรก็ตามเพื่อจะวาง  ก็คล้ายๆ ไปชิงสุกก่อนห่ามน่ะค่ะ

การเห็นว่า "รู้" เป็นไตรลักษณ์นั้น  เกิดเพราะเราตามรู้ไปเรื่อยๆ  เราจะเห็นว่า
บางทีก็มีสติรู้  บางทีก็ไม่รู้  สลับกันไป เห็นไปบ่อยๆ จิตก็วางรู้ไปเอง
แต่ระหว่างที่เห็นอยู่อาจจะไม่ได้เกิดความรู้สึกว่า อ๋อนี่ไตรลักษณ์ก็ได้

อย่างที่เคยเห็นมาเอง คือเห็นว่าจิตรู้สภาวะ  แต่นอกจากสภาวะแล้ว
มันมีอะไรบางอย่างแฝงอยู่ในรู้  แต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร  รู้สึกแค่ว่ามันมีอะไรบางอย่าง
ไม่เคยมีคำพูดหรืออะไรที่จะบ่งบอกว่า  อะไรบางอย่างนั้นคืออะไร
จนอยู่ดีๆ วันหนึ่งพอรู้แล้ว มันวางเจ้าอะไรบางอย่างลงไป  เหลือแต่การรู้แบบโล่งๆ
เหลือแค่ สักแต่ "รู้"  จึงถึงบางอ้อว่า เจ้าอะไรบางอย่าง คือ การยึดรู้  แต่ที่ผ่านมา
มันไม่มีคำอธิบายไม่มีคำพูด  แต่พอวางลงไปได้ถึงได้รู้ว่า สักแต่รู้ กับยึดรู้มันต่างกัน

ถ้ายังไม่เห็นก็ไม่ต้องรีบไปเห็น  อะไรเกิดขึ้นก็รู้อันนั้น  ปัจจุบันธรรมสำคัญที่สุด
เมื่อสติ สมาธิ ปัญญา พร้อมที่จะรู้ได้  มันก็รู้ได้เองวางได้เองค่ะ    

ตอบโดย: อัญญาสิ 17 ส.ค. 52 - 04:49


ขอสนทนาเรื่องการเห็นไตรลักษณ์ค่ะ

ในขณะที่เราภาวนารู้กายรู้ใจนั้น  ก็ได้ชื่อว่าดูไตรลักษณ์อยู่   เพราะว่า กายใจ
หรือ รูปธรรม นามธรรม ทุกอย่างนั้นตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์อยู่แล้ว  เมื่อเรามา
ตามดูจึงเรียกว่า ดูไตรลักษณ์อยู่  แต่ว่าการที่จิตจะยอมรับและเข้าใจ
จะเป็นอีก step   อย่า่งเช่นเวลาเราดู เห็นใจมันสงบบ้าง ไม่สงบบ้าง
โกรธบ้าง ไม่โกรธบ้าง  ขณะีที่เราเห็นใจเราเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาเช่นนี้
คือเรากำลังเห็นไตรลักษณ์  แต่มันจะไม่ได้แบบว่า อ๋อนี่ไตรลักษณ์ทุกครั้งที่เห็น
และมันก็จะไม่ใช่การไปคิดสำทับลงไปว่า นี่ไตรลักษณ์   แต่เมื่อเราเห็นบ่อยๆ
การเห็นบ่อยๆ คือ เห็นว่าสภาวะของกายใจ มันเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา จนวันนึง
ใจมันจะยอมรับในความจริงอันนี้  อันนี้จึงจะเรียกว่าเห็นไตรลักษณ์จริงๆ

งงมั้ยคะ ง่ายๆ คือ เวลาเราเฝ้าสังเกตการเปลี่ยนแปลงของกายใจอยู่
นั่นแหละคือเราดูไตรลักษณ์  แต่การที่จิตจะยอมรับและเข้าใจจริงๆ
จะเกิดขึ้นหลังจากเห็นมากพอ  จนจิตยอมรับเอง  การที่เราคิดเอานั้น
ยังไม่เีรียกว่า เห็นไตรลักษณ์จริงๆ

เมื่อจิตเห็นความจริงในครั้งแรกนั้น  สำหรับบางคนที่อิินทรีย์แก่กล้าแล้ว คือได้
สะสมมามากพอแล้วแต่กาลก่อน  ก็อาจจะนำไปสู่การถอดถอนความเห็นผิดได้
ในเวลาไม่เินิ่นช้า  แต่ผู้ที่ิยังสะสมมาไม่มากพอ  ก็ต้องอาศัยการเห็นแล้วเห็นอีก
เห็นซ้ำๆ บ่อยๆ  การเ็ห็นซ้ำๆ บ่อยๆ ก็ไม่ใช่การคิด  แต่ก็คือการตามรู้ตามดู
ไปเรื่อยๆ นั่นแหละ  จนวันหนึ่งใจมันเห็นพอมันก็วางได้เองค่ะ

ดังนั้นตลอดสายของการภาวนา ก็คือการตามดูกายดูใจไป  จนใจมันยอมรับ
ความเป็นจริง  โดยที่ระหว่างทางมิใช่ต้องมีการคิดหรือจะกำกับลงไปว่า
นี่คือไตรลักษณ์  เพียงแค่รู้อาการของกายของใจที่ปรากฏต่อหน้าก็พอแล้ว
เมื่อจิตมันเข้าใจ ก็จะเข้าใจเองว่า ไตรลักษณ์ก็คือการที่กายใจมันเปลี่ยนไปมานี่เอง
 

ตอบโดย: อัญญาสิ 17 ส.ค. 52 - 05:15


อ้างอิง (วสวัตตี @ 16 สิ.ค. 52 - 15:11)
สู้ครับ สู้ ขอดูมันนานๆ ชัดๆ ให้เข้าใจและปฏิบัติต่อมันอย่างถูกต้องเสียหน่อย

เรียนคุณวสวัตตี

ถ้าจิตมีกำลังมากพอแล้ว  บทจะสู้มันก็สู้ได้เองค่ะ  ถ้ายังไม่พอมันก็จะถอยออกมา
สะสมกำลังต่อเป็นธรรมดาค่ะ  จึงไม่ควรไปกังวลหรือว่าไปกดดันจิตนะคะ
เพราะกดดันไปแต่มันไปไม่ไหว  มันก็ไม่ขาดหรอกค่ะ  แต่ถ้าเหตุปัจจัยพร้อมแล้ว
จิตจะไม่ถอย จะสู้แบบยอมตาย  ทุกอย่างจะเป็นไปเองค่ะ

การปฏิบัติอย่างถูกต้องก็มีแค่ การรู้สภาวะอย่างที่มันเป็นนั่นแหละค่ะ  ไม่ได้มาก
หรือน้อยไปกว่า่นั้น  ส่วนการปรับอินทรีย์หรือพละห้าก็ต้องทำควบคู่กันไปอยู่แล้ว

อนุโมทนาค่ะ    

ตอบโดย: อัญญาสิ 17 ส.ค. 52 - 05:30


ขอร่วมสนทนาแบบคนมือใหม่หัดภาวนา เรื่องการรู้เห็นไตรลักษณ์

ความไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้  ไม่ใช่ตัวตน มันมีมันเป็นของมันอยู๋แล้ว
แต่เรา ไม่รู้ไม่เห็นเอง  เมื่อเราหมั่นเจริญสติจน รู้เห็นความจริงได้บ้างแล้ว
ก็จะพอเข้าใจ ว่าทุกอย่างล้วนอยู่ภายใต้ กฎเหล็กนี้ทั้งนั้น

 แต่ทั้งนี้ความหลงก็ยังครอบงำจิตใจของเราได้อยู่ดี เพราะความหลงเป็นรากเหง้า
ของอวิชาเป็นรากเหง้าของความไม่รู้ทั้งปวง  ตามความเข้าใจของตนเองตนนี้
ที่มีที่เป็นและรู้เห็นตามจริงคือ  เมื่อใดที่หลง ก็จะไม่รู้ เมื่อ ใดที่รู้ก็จะไม่หลง
รู๋หลงสลับกันเกิด ถี่บ้าง ห่างบ้างก็แล้วแต่สติ ที่ใจนี้จะหมั่นเพียรรู้ได้มากน้อย
แค่ไหนอย่างไร  การเห็นไตรลักษณ์จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมี
สติ คือ รู้ตัว เห็นตามความจริงว่าใน อนิจังก็มีทุกขัง อนัตตา
ในทุกขังก็มี อนิจัง อนัตตา ในอนัตตาก็มีอนิจัง ทุกขัง
พอใจรู้แล้วเห็นแล้ว อาการวางจึงเกิดเอง ไม่ใช่เราวาง ไม่มีผู้วาง
เพราะในความจริงแล้วมันไม่มีตัวตน ให้ยึดมันจึงไม่มีตัวตนให้วาง

ตาเห็นรูป ก็รู้ หูได้ยินเสียงก็รู้ จมูกรับสัมผัสก็รู้ ลิ้นรับรสก็รู็ กายสัมผัสก็รู็ ใจกระทบก็รู็

รู้แล้วปรุงต่อ ชอบไม่ชอบก็รู้  รู้แล้วจบที่รู้ ก็รู้

สรุปคือเมื่อใดรู้ เมื่อนั้นเห็นสภาวะที่แท้จริง เมื่อใดหลงเมื่อนั้นไม่เห็นสภาวะที่แท้จริง

ถูกผิดประการใดก็รบกวนช่วยชี้แแนะด้วยค่ะ  

ตอบโดย: สายศีล 17 ส.ค. 52 - 06:04


อ้างอิง (ปล่อยรู้ @ 16 สิ.ค. 52 - 20:02)

เมื่อได้ผัสสะ กับความเห็นของปล่อยรู้
สังขารธรรมธรรมปรุงแต่งความรู้สึกให้เข้าใจว่า ความเห็นของปล่อยรู้นั้นคือจินตนามยปัญญา


เมื่อวางความรู้สึกนี้ลงไม่ได้ ดับลงไม่ได้
และเข้าไปจับถือความรู้สึกที่ว่านั้นเอาไว้

มันก็เลยเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความคิดลำดับถัดไปว่า
ต้องแสดงความเห็นเข้ามาแนะนำปล่อยรู้ซักหน่อย
และก็เฝ้ารอว่า เมื่อปล่อยรู้ได้เข้ามาอ่านแล้ว
ปล่อยรู้จะแสดงความเห็นอย่างไรออกมา...


สวัสดีครับท่านสารวัตร  

เมื่อผมอ่านความเห็นของคุณปล่อยรู้ ... ผมมีความคิดเกิดขึ้นในใจ  แล้วผมก็มีความอารมณ์ที่เกิดตามหลังความคิด ...และ ....มีความรู้สึกแผ่วๆ เบาๆ เคลื่อนไหวอยู่ลึกๆภายในใจ

               -------------------------------------

ความรู้สึกที่เห็นได้อย่างเด่นชัด  ( คือ ความคิดและอารมณ์ที่เกิดมาจากการอ่านข้อความของคุณปล่อยรู้ )  ความรู้สึกที่เด่นชัดเหล่านี้มีความเป็นอัตตาสูง และ มีความเป็นอนัตตาน้อย


ความรู้สึกที่แผ่วๆเบาๆที่เกิดขึ้นมาโดยไม่มีความตั้งใจ  ที่เกิดขึ้นลึกๆภายในใจ  เป็นความรู้สึกที่มีอัตตาน้อย  แต่ มีความเป็นอนัตตาสูง


 เพราะฉะนั้น  ผมจึงได้บอกกับคุณปล่อยรู้ไปว่า  เมื่อกระทบผัสสะแล้ว   เราไม่ต้องปล่อยวางอะไร  และ ไม่ต้องยึดมั่นอะไร ( แต่มีสติคงความรู้สึกที่ลมหายใจ )  เพราะว่าถ้าปล่อยวาง  ก็คือ  การปล่อยวางการเห็นไตรลักษณ์   หรือถ้ายึดมั่น ( คือดูความรู้สึกด้วยความจงใจ ) ก็จะไม่เห็นอนัตตาของความรู้สึก
               ------------------------------

หมายเหตุ...

 .....ความรู้สึกที่มีอัตตาสูง  มีความเป็นอนัตตาน้อย หมายถึง...ความรู้สึก และ ความคิด ที่เราจงใจทำให้มันเกิดขึ้นมา โดยที่เราจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ได้ เช่น  ความรู้สึกและความคิดที่เกิดตามหลังจากการอ่านตำรา  ..หรือ.. ความรู้สึกและความคิดที่เกิดมาจากการเห็นภาพต่างๆ  ...หรือ .. ความรู้สึกและความคิดที่เกิดจากการได้ยินเสียง.......ฯลฯ..... ความรู้สึกและความคิดเหล่านี้ เกิดมาจากความจงใจของเราแต่.... เราไม่รู้ว่าเราจงใจทำให้มันเกิดขึ้นมา .... จินตนมยปัญญาอยู่ในกลุ่มนี้
               ---------------------------------

ความรู้สึกที่มีความเป็นอัตตาน้อย  มีความเป็นอนัตตาสูง  หมายถึง....ความรู้สึกที่แผ่วๆ เบาๆ ที่เกิดขึ้นมาโดยที่เรามีความปลอดโปร่งโล่งสบายใจ   เกิดขึ้นมาตอนที่เราคล้ายๆกับจะเผลอแต่ว่าไม่ใช่เผลอเพราะว่าเรายังมีสติคงความรู้สึกที่ลมหายใจ ( สภาวะนี้ต้องฝึกฝนครับ ) .......  ภาวนามยปัญญาอยู่ในกลุ่มนี้

ตอบโดย: ระนาด 17 ส.ค. 52 - 07:47


อ้างอิง (ปล่อยรู้ @ 16 สิ.ค. 52 - 20:02)


เมื่อพี่ระนาดได้ผัสสะ กับความเห็นของปล่อยรู้
 
มันก็เลยเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความคิดลำดับถัดไปว่า
ต้องแสดงความเห็นเข้ามาแนะนำปล่อยรู้ซักหน่อย

และก็เฝ้ารอว่า เมื่อปล่อยรู้ได้เข้ามาอ่านแล้ว
ปล่อยรู้จะแสดงความเห็นอย่างไรออกมา...

ท่านปล่อยรู้เข้าใจผมผิดแล้วนะ

เมื่อผมแสดงคำแนะนำแก่ท่านไปแล้ว  ผมไม่ได้เฝ้ารอว่าท่านจะแสดงความเห็นอะไรออกมา  แต่ผมคาดว่า....ท่านจะเข้าใจในคำแนะนำของผม  โดยไม่มีข้อสงสัยอะไรครับ


เมื่อผมมาเห็นการแสดงความเห็นของท่านปล่อยรู้ ( คห. 620 )  ผมจึงแปลกใจว่า  เมื่อผมอธิบายอย่างชัดเจนแบบนี้แล้ว   แต่ทำไมท่านยังดูแนวทางการเจริญสติภาวนาไม่ออกครับ


เพราะฉะนั้น  จุดที่ท่านควรให้ความสนใจจึงอยู่ที่...วิธีการเจริญสติปัฏฐานของตัวท่านเองครับ......ท่านพอจะเล่าให้คุณวิชาและเพื่อนๆทราบแนวทางที่ท่านปฏิบัติอยู่ได้ไหมครับว่าท่านปฏิบัติอย่างไร    ทำไมท่านจึงดูความเป็นไตรลักษณ์ตามแบบที่ท่านเล่ามาครับ
               -------------------------------------

ตอนนี้ท่านใช้ความคิดเข้ามาสอดแทรกการภาวนามากเกินไปจนมองไม่เห็นความรู้สึกแผ่วๆเบาๆที่เกิดขึ้นแบบไม่มีความตั้งใจครับ  ( กราบขออภัยท่านด้วยครับ   )

ตอบโดย: ระนาด 17 ส.ค. 52 - 08:11


วิธีการดูไตรลักษณ์หรือดูความเป็นอนัตตาของความรู้สึกต่างๆ   ที่ผมใช้ในการปฏิบัติอยู่คือ......

ผมเริ่มมาจากการผ่อนคลายความตึงเครียดภายในร่างกาย  แล้วจิตใจก็ผ่อนคลาย  เบาสบายตามไปด้วย...  โดยที่จิตใจเขาผ่อนคลายลงไปเอง

เมื่อร่างกายผ่อนคลายลงไปเรื่อยๆ  จิตใจก็เบาสบายไปเรื่อยๆ  ขณะเดียวกัน  สติยังคงรู้ความรู้สึกที่ลมหายใจเนืองๆ ( รู้แบบสบายๆไม่ใช่การเพ่ง )

เมื่อมีความผ่อนคลายและเบาสบายจยถึงระดับหนึ่ง ( ไม่ใช่เพ่ง  ไม่ใช่เผลอ  ไม่ใช่กึ่งหลับกึ่งตื่น ) ผมก็จะรับรู้ได้ถึงความรู้สึกแผ่วๆเบาๆ  ที่ผุดขึ้นมาเอง  ภายในใจครับ


การเห็นไตรลักษณ์ในองค์ภาวนา  ผมเห็นแบบง่ายๆ   เห็นแบบธรรมดาๆแบบนี้ครับ  ไม่มีความซับซ้อนอะไรเลย


   แล้วความรู้สึกและความคิดชนิดไหน  ที่เรียกว่า มีอัตตามากและมีอนัตตาน้อย  ผมก็ไปเทียบเคียงกับตำราอีกทีหนึ่งครับ ( เพราะว่าตอนเห็นในองค์ภาวนา  มันไม่มีป้ายบอก )
                ----------------------------

การเห็นอนัตตาของความรู้สึก...เปรียบเทียบแล้วมันก็คล้ายๆกับว่า ... กายและใจเป็นสิ่งมีชีวิต  อีกชีวิตหนึ่งที่เพิ่มขึ้นมาจากเมื่อก่อนมีผมเพียงชีวิตเดียว

( ความจริงแล้ว  พวกเขามีชีวิตของเขาเองอยู่แล้ว  แต่เมื่อก่อนผมรู้ความรู้สึกไม่ถูกต้อง   ผมจึงมองพวกเขาไม่เห็น  ผมจึงเข้าใจว่ามีแต่ตัวผมของผมเพียงอย่างเดียว ..... ตอนนี้ผมเห็น  ตัวผมของผมส่วนหนึ่ง และ พวกเขาของเขาอีกส่วนหนึ่ง  แต่ว่าเราอยู่ด้วยกันในที่เดียวกัน )
 

ตอบโดย: ระนาด 17 ส.ค. 52 - 08:36


อ้างอิง (ปล่อยรู้ @ 16 สิ.ค. 52 - 20:02)
เมื่อผัสสะแล้ว อาจจะเกิดความรู้สึกแว็บไปบ้าง แต่ไม่จับถือ ไม่สนใจในความรู้สึกที่แว็บเกิดขึ้นมานั้น และก็รีบดึงกลับมาระลึกรู้อยู่กับฐานที่สติกำลังเจริญอยู่ก่อนหน้าที่จะเกิดผัสสะนั้น

 และเมื่อพี่ระนาดกระทำได้เช่นว่านี้
พี่ระนาด ก็คงไม่แสดงความคิดเห็นใดๆเข้ามาแนะนำปล่อยรู้แต่อย่างใดๆเลย ใช่ไหมครับ
(ปล่อยรู้ @ 16 สิ.ค. 52 - 20:02)


การเจริญสติแบบนี้เป็นการเจริญสติของฤาษี

ผมไม่ได้เจริญสติแบบนี้ครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 17 ส.ค. 52 - 10:45


สวัสดีครับคุณระนาด

จากคำถามของคูณระนาด

อ้างอิง
ความคิดเห็นที่ 618 : (ระนาด) แจ้งลบ | อ้างอิง |


อ้างอิง (Vicha @ 16 สิ.ค. 52 - 12:39)


    ตอนที่อยู่ในสภาวะนี้  คุณวิชายังคงความรับรู้ที่ลมหายใจอยู่หรือเปล่าครับ

   ตอบ   ตัดสภาวะการรับรู้ภายนอก หรือสัมผัสทางกายภายนอกไปแล้วครับ แต่มีสติสัมปชัญญะชัดในใจและความรู้สึกนั้น(รูปนามนั้น).


ถ้าผมหมั่นฝึกฝนตามที่ผมได้เล่ามาต่อไปเรื่อยๆ     สติ สัมปชัญญะ สมาธิ ปัญญา จะพัฒนาจนเข้าสู่สภาวะเดียวกันกับคุณวิชาได้ไหมครับ

 

      ได้สิครับคุณระนาด   เมื่อสติสมาธิพัฒนาไปถึง  แต่ไม่ใช่ว่าจะทำได้ทุกครั้งดังใจนะครับ
        หมายเหตุ เมื่อคืนผมก็พยายามจะกำหนดภาวนาให้เกิดเป็นชั่วโมงกว่า  แต่กลับไปไม่เข้าไปสู่สภาวะนั้น อาจจะเป็นเพราะมีความจงใจเกินไปก็ได้ครับ แต่ที่ผ่านๆ มาหาได้มีเจตนากำหนดให้เกิดอย่างนั้น กลับเกิดขึ้นได้ง่าย และบ่อยครั้ง.


และจากคกำถามอีกส่วนหนึ่ง

อ้างอิง
ถ้าผมทิ้งลมหายใจ  ผมก็จะเข้าสู่สภาวะนี้  ซึ่งก็จะมีสติหล่อเลี้ยงบ้างไม่มีสติหล่อเลี้ยงบ้าง ( ความรู้สึกภายนอกถูดตัดขาดไปหมด )  และถ้าเมื่อคืนนอนไม่พอ  ผมก็หลับไปเลยครับ
                    -------------------------

ตรงนี้จึงไม่ใช่อานาปานสติแล้ว   ใช่ไหมครับ  ( เอาไว้เป็นที่พักผ่อนเพียงอย่างเดียว )


      ตอบ จะว่าไม่ใช่อานาปานสติก็ไม่ใช่ครับ  แต่เป็นผลของอานาปานสติครับ.
              และตรงช่วงนี้ถ้าพัฒนาสติและสมาธิให้เจริญขึ้นมาอย่างพอควรหรืออย่างดี ความรู้สึกภายนอกจะถูกตัดไปหมด แต่หาได้สะลืมสะลือแบบมีสติเล็กน้อยบ้างไม่มีสติบ้าง แต่จะมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ในสภาวะของใจและความรู้สึกที่เป็นนั้น สามารถมีสติกำหนดรู้หรือภาวนาต่อไปได้อีกครับ. จนกว่าจะเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น เช่นทิ้งใจไปเสียแล้วมีสติเพียงสักแต่รู้ เข้าสู่สงบเงียบ หรือหลับไป หรือกลับขึ้นมามีสติรู้สึกทั่วตัวเสีย

 

ตอบโดย: Vicha 17 ส.ค. 52 - 10:56


สวัสดีครับคุณปล่อยรู้

ผมขอสนทนาในข้อความนี้นะครับ

อ้างอิง
อ้างอิง (ปล่อยรู้ @ 16 สิ.ค. 52 - 20:02)
เมื่อผัสสะแล้ว อาจจะเกิดความรู้สึกแว็บไปบ้าง แต่ไม่จับถือ ไม่สนใจในความรู้สึกที่แว็บเกิดขึ้นมานั้น และก็รีบดึงกลับมาระลึกรู้อยู่กับฐานที่สติกำลังเจริญอยู่ก่อนหน้าที่จะเกิดผัสสะนั้น


    เมื่อมีสติรู้เป็นปัจจุบันกับผัสสะนั้นๆ แล้ว เมื่อเกิดความรู้สึกแว็บไปบ้าง ก็ต้องมีสติรู้เท่าทันเป็นปัจจุบันกับความรู้สึกที่แว็บไป ถ้าความรู้สึกนั้นชัดเจนกว่าผัสสะที่มีสติกำหนดรู้ก่อนนั้น
    แต่เมื่อความรู้สึกนั้นไม่ชัดเจนแล้ว หรือเกิดช่วงแวบนิดเดียวหายไป(ความเป็นไตรลักษณ์เกิดขึ้น) ก็มามีสติที่เกิดกับผัสสะนั้นๆ ต่อไป.

    ยกเว้นถ้าความรู้แวบขึ้นมานั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรแล้วทำให้ใจปรุงแต่งมากมาย ฟุ่งซ้าน จนสติสัมปชัญญะไม่เท่าทันและเป็นปัจจุบัน กำหนดสติตามก็ไม่วาง คือไม่มีกำลังพอที่จะวางได้ เพราะขาดสมาธิ หรือสมาธิไม่พัฒนาขึ้นมาพอ ก็ต้อง ดึงสติกลับไปที่เกิดผัสสะนั้นๆ (เช่น ลมหายใจ  พอง - ยุบ หรือ ธรรมารมณ์ที่รู้สึกจากการบริกรรมภาวนา).
     เมื่อสามารถปฏิบัติได้และสมาธิเจริญขึ้นมาควบคู่กับสติสัปชัญญะแล้ว ในกาลต่อไปเมื่อเกิดความรู้สึกแวบแล้วปรุงแต่งแบบเดิม สติก็จะเท่าทัน สมาธิก็จะบล็อกให้เป็นหนึ่ง ไม่ปรุงแต่งไปต่อ แล้วปัญญาก็จะมีหน้าที่ตัดอารมณ์ เห็นไตรลักษณ์ของอารมณ์นั้นอย่างชัดเจน ด้วยสติ สมาธิ และปัญญา ที่เจริญขึ้น.

      เหมือนดังในพระไตรปิฏกและอรรถกถาที่ว่า
              ผู้ปฏิบัติธรรม(โยคีวจร) เปรียบเสมือนเสือเหลือง ที่ซุ่มอยู่ เพื่อดักจับเนื้อ ที่ผ่านเข้ามา เป็นอาหาร.

ตอบโดย: Vicha 17 ส.ค. 52 - 11:21


คุณปล่อยรู้ภาวนาแบบนี้รึเปล่าครับ  กระทบ-ปล่อยทิ้ง-ใจนิ่งว่าง.... กระทบ-ปล่อยทิ้ง-ใจนิ่งว่าง...  กระทบ-ปล่อยทิ้ง-ใจนิ่งว่าง....  การกระทบเกิดดับหมุนเวียนตามอายตนะทั้งห้า ส่วนใจนิ่งว่าง ไม่กระเพื่อม

ส่วนในแบบคุณอัญญาสิ  ที่ผมเข้าใจอย่างนี้คือ  กระทบ-ใจกระเทือน..... กระทบ-ใจกระเทือน.....กระทบ-ใจกระเทือน.....  จนเห็นว่าใจกระเทือนก็ชั่วคราว บังคับไม่ได้ เป็นตามเหตุ ตามกิเลส สังโยชน์ อนุสัย ที่ยังมีอยู่  เห็นซ้ำๆจนใจยอมรับจนเข้าสู่ความเป็นอุเบกขา (สังขารุเบกขาญาน)
 

ตอบโดย: CH 17 ส.ค. 52 - 16:37


สวัสดีครับ  คุณวิชาและเพื่อนๆ

ในชีวิตประจำวัน  เวลาที่ผมเห็นภาพ หรือ เวลาที่ได้ยินเสียง ผมจะเกิดความคิดและอารมณ์ขึ้นมาในใจ  และ  ต่อมาก็จะเกิดความรู้สึกแผ่วๆเบาๆตามหลังมาโดยที่ผมไม่ได้ตั้งใจ

เวลามีความคิดและอารมณ์ ( ที่เกิดจากความคิด )...  ผมจะรู้สึกว่าเป็นตัวเราของเรา

เวลามีความรู้สึกที่แผ่วๆเบาๆที่เกิดขึ้นมาโดยไม่ตั้งใจ ... ผมจะรู้สึกว่าไม่ใช่ตัวเราไม่ใช่ของเรา

เมื่อผมเห็นความรู้สึกแผ่วๆเบาๆที่เกิดขึ้นมาโดยไม่ได้ตั้งใจบ่อยๆ  ผมจึงเห็นว่ากายและใจเป็นสิ่งมีชีวิตเพิ่มขึ้นมาอีกชนิดหนึ่ง  ซึ่งเดิมมีตัวผมเพียงชีวิตเดียว


แต่ในตำราท่านบอกว่า  เมื่อเห็นอนัตตาหรือไตรลักษณ์ได้แล้ว  นักภาวนาจะปล่อยวางความยึดมั่นว่ามีตัวเราของเรา

ผมจึงขอปรึกษาคุณวิชาและเพื่อนๆว่า  ผมปฏิบัติผิดทาง  หรือ  ผมอ่านตำราแล้วตีความหมายผิด  เพราะว่าแทนที่ผมจะปล่อยวางตัวเราของเรา  แต่ผมกลับเห็นกายและใจเป็นพวกเขาของเขาเพิ่มขึ้นมาอีกอย่างหนึ่ง

คุณวิชาเห็นกายและใจเป็นสิ่งมีชีวิตเพิ่มขึ้นมาอีกชีวิตหนึ่งแบบที่ผมเล่ามานี้ไหมครับ
                  
                         ------------------------------

ถ้าผมฝึกฝนแบบนี้ไปเรื่อยๆ  ต่อไปความเป็นตัวเราของเราจะลดลงแล้วความเป็นพวกเขาของเขา ( คือกายและใจ ) จะเพิ่มขึ้นมา.......อย่างนี้หรือเปล่าครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 18 ส.ค. 52 - 08:24


เรียนคุณ CH

การภาวนาจริงๆ ไม่มีแบบไหนๆ นะคะ  มีแค่ "อะไรเกิดขึ้นก็รู้ไปตามความเป็นจริง"

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ

กระทบ-ใจกระเทือน-ก็รู้ไป
กระทบ-ใจไม่กระเทือน-ก็รู้ไป (การที่กระทบแล้วใจไม่กระเืทือนนั้นก็มีอยู่ค่ะ)
กระทบ-ไม่รู้ (หลง)-ก็รู้ไป
กระทบ-รู้-ไม่ยึด-ก็รู้ไป
กระทบ-รู้-ยึด-ก็รู้ไป
กระทบ-รู้-ทิ้ง-ว่าง-ก็รู้ไป
กระทบ-รู้-ไม่ทิ้ง-ก็รู้ไป
กระทบ-รู้ชัด-ก็รู้ไป
กระทบ-รู้ไม่ชัด-ก็รู้ไป
กระทบ-รู้-อยากรู้อีก-ก็รู้ไป
กระทบ-ไม่รู้-อยากรู้-ก็รู้ไป  ฯลฯ

การภาวนาไม่ใช่การมีรูปแบบตายตัวว่า ต้องรู้แล้วทิ้ง หรือ รู้แล้วกระเทือนแล้วจึงทิ้ง
หน้าที่ที่เราต้องทำคือ รู้ปัจจุบันเท่านั้น  จะรู้แล้วยึด หรือรู้แล้วปล่อย เราก็แค่รู้ไป
"ไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นให้รู้"  เมื่อทำไปเรื่อยๆ  จะทิ้งรู้หรือจะไม่ทิ้งรู้  ก็เป็นหน้าที่ของ
จิตของสติปัญญาที่มันจะเป็นไปเอง  สภาวะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอะไร  ก็เป็นสภาวะ
ให้จิตไปรู้้เข้าเท่านั้นเอง  เมื่อเห็นบ่อยๆ จะเข้าใจได้เองว่า สภาวะใดๆ ก็เสมอกัน

การที่กล่าวว่าสภาวะใดๆ ก็เสมอกันนั้น  เสมอกันในสองแง่ คือ หนึ่ง สภาวะใดๆ ก็ตาม
ก็เป็นเพียงสิ่งที่จิตไปรู้เข้า   สอง สภาวะใดๆ ก็ตามล้วนตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์
เมื่อจิตเห็นมากพอ จิตจึงเข้าใจว่า สิ่งใดๆ ไม่ควรยึดเพราะมันเสมอกันด้วยเหตุที่กล่าวมาแล้ว

สภาวะที่พบเห็นในการภาวนามีหลากหลาย  ผู้ภาวนาไม่ควรไปยึดติดว่าต้องอย่างนั้น
ต้องอย่างนี้  ไม่ควรไปคาดการณ์อะไรล่วงหน้า  ไม่ควรมีความคิดความเห็นว่าต้องเช่นนี้ๆ
เนื่องจากสภาวะมันหลากหลายมากจริงๆ ค่ะ  นึกเอาคาดเดาเอา  ก็นึกไ้ด้ไม่หมดหรอก
ให้ภาวนาดูไปซื่อๆ นั่นแหละดีที่สุด  ที่จริงภาวนานี่ง่ายนิดเดียวนะคะ  คือ รู้ไปตรงๆ
อะไรเกิดขึ้นก็รู้ไป  สภาวะอะไรก็ได้ที่เกิดในปัจจุบันขณะ  เราก็รู้ไปเท่านี้เองค่ะ
 

ตอบโดย: อัญญาสิ 18 ส.ค. 52 - 08:38


อ้างอิง (สายศีล @ 17 สิ.ค. 52 - 06:04)
การเห็นไตรลักษณ์จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมี  สติ คือ รู้ตัว เห็นตามความจริงว่าใน อนิจจังก็มีทุกขัง อนัตตา ในทุกขังก็มี อนิจจัง อนัตตา ในอนัตตาก็มีอนิจจัง ทุกขัง  พอใจรู้แล้วเห็นแล้ว อาการวางจึงเกิดเอง ไม่ใช่เราวาง ไม่มีผู้วาง เพราะในความจริงแล้วมันไม่มีตัวตน ให้ยึดมันจึงไม่มีตัวตนให้วาง

การตามรู้ตามเห็นกายใจเนืองๆ  จะทำให้เราเห็นความเปลี่ยนแปลงของกายใจ
ได้ชื่อว่าดูไตรลักษณ์อยู่แล้ว  แต่ระหว่างที่ดูมันจะไม่ได้มีป้ายบอกทุกครั้งว่า
นี้คือไตรลักษณ์  จนเืมื่อเราเห็นการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ บ่อยๆ  วันนึงมันจะ
แจ้งขึ้นมาเองว่า นี่คือไตรลักษณ์  โดยแง่มุมที่จะเข้าใจแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน

บางคนเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นทุกข์  เพราะมีสภาพอันตั้งอยู่ไม่ได้
บางคนเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นอนัตตา เพราะมันเปลี่ยนเอง บังคับไม่ได้
บางคนเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นอนิจจัง เพราะมันไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงได้เอง
หรืออาจจะเห็นการเกิดดับแล้ว  เกิดความเข้าใจในลักษณะทั้งสามเลยก็ได้

ดังนั้นการมีสติเห็นสภาวะเป็นขั้นหนึ่ง  การเห็นสภาวะจนจิตเข้าใจไตรลักษณ์ก็อีกขั้นหนึ่ง
เหมือนคนหัดขับรถ  หัดขับก็อย่างหนึ่ง  ขับคล่องแล้วก็อีกอย่างหนึ่ง  แต่ก็เกี่ยวเนื่องกันมา

อ้างอิง
ตาเห็นรูป ก็รู้ หูได้ยินเสียงก็รู้ จมูกรับสัมผัสก็รู้ ลิ้นรับรสก็รู็ กายสัมผัสก็รู็ ใจกระทบก็รู็ รู้แล้วปรุงต่อ ชอบไม่ชอบก็รู้  รู้แล้วจบที่รู้ ก็รู้

เข้าใจถูกแล้วค่ะ  รู้แล้วไม่จบแค่รู้ ก็รู้

อ้างอิง
สรุปคือเมื่อใดรู้ เมื่อนั้นเห็นสภาวะที่แท้จริง เมื่อใดหลงเมื่อนั้นไม่เห็นสภาวะที่แท้จริง

เมื่อหลงก็คือไม่รู้สภาวะก่อนหน้านี้  แต่ถ้าหลงแล้วไม่รู้ อันนี้หลงสองเด้งค่ะ
ดังนั้น รู้ก็รู้ว่ารู้  หลงก็รู้ว่าหลง  อะไรเกิดขึ้นรู้ไปตรงๆ เลยค่ะ
 

ตอบโดย: อัญญาสิ 18 ส.ค. 52 - 08:58


อ้างอิง (สายศีล @ 17 สิ.ค. 52 - 06:04)
การเห็นไตรลักษณ์จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมี  สติ คือ รู้ตัว เห็นตามความจริงว่าใน อนิจจังก็มีทุกขัง อนัตตา ในทุกขังก็มี อนิจจัง อนัตตา ในอนัตตาก็มีอนิจจัง ทุกขัง  พอใจรู้แล้วเห็นแล้ว อาการวางจึงเกิดเอง ไม่ใช่เราวาง ไม่มีผู้วาง เพราะในความจริงแล้วมันไม่มีตัวตน ให้ยึดมันจึงไม่มีตัวตนให้วาง

การตามรู้ตามเห็นกายใจเนืองๆ  จะทำให้เราเห็นความเปลี่ยนแปลงของกายใจ
ได้ชื่อว่าดูไตรลักษณ์อยู่แล้ว  แต่ระหว่างที่ดูมันจะไม่ได้มีป้ายบอกทุกครั้งว่า
นี้คือไตรลักษณ์  จนเืมื่อเราเห็นการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ บ่อยๆ  วันนึงมันจะ
แจ้งขึ้นมาเองว่า นี่คือไตรลักษณ์  โดยแง่มุมที่จะเข้าใจแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน

บางคนเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นทุกข์  เพราะมีสภาพอันตั้งอยู่ไม่ได้
บางคนเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นอนัตตา เพราะมันเปลี่ยนเอง บังคับไม่ได้
บางคนเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นอนิจจัง เพราะมันไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงได้เอง
หรืออาจจะเห็นการเกิดดับแล้ว  เกิดความเข้าใจในลักษณะทั้งสามเลยก็ได้

ดังนั้นการมีสติเห็นสภาวะเป็นขั้นหนึ่ง  การเห็นสภาวะจนจิตเข้าใจไตรลักษณ์ก็อีกขั้นหนึ่ง
เหมือนคนหัดขับรถ  หัดขับก็อย่างหนึ่ง  ขับคล่องแล้วก็อีกอย่างหนึ่ง  แต่ก็เกี่ยวเนื่องกันมา

อ้างอิง
ตาเห็นรูป ก็รู้ หูได้ยินเสียงก็รู้ จมูกรับสัมผัสก็รู้ ลิ้นรับรสก็รู็ กายสัมผัสก็รู็ ใจกระทบก็รู็ รู้แล้วปรุงต่อ ชอบไม่ชอบก็รู้  รู้แล้วจบที่รู้ ก็รู้

เข้าใจถูกแล้วค่ะ  รู้แล้วไม่จบแค่รู้ ก็รู้

อ้างอิง
สรุปคือเมื่อใดรู้ เมื่อนั้นเห็นสภาวะที่แท้จริง เมื่อใดหลงเมื่อนั้นไม่เห็นสภาวะที่แท้จริง

เมื่อหลงก็คือไม่รู้สภาวะก่อนหน้านี้  แต่ถ้าหลงแล้วไม่รู้ อันนี้หลงสองเด้งค่ะ
ดังนั้น รู้ก็รู้ว่ารู้  หลงก็รู้ว่าหลง  อะไรเกิดขึ้นรู้ไปตรงๆ เลยค่ะ
 

ตอบโดย: อัญญาสิ 18 ส.ค. 52 - 08:59


อ้างอิง (ระนาด @ 18 สิ.ค. 52 - 08:24)
ผมจึงเห็นว่ากายและใจเป็นสิ่งมีชีวิตเพิ่มขึ้นมาอีกชนิดหนึ่ง  ซึ่งเดิมมีตัวผมเพียงชีวิตเดียว

แต่ในตำราท่านบอกว่า  เมื่อเห็นอนัตตาหรือไตรลักษณ์ได้แล้ว  นักภาวนาจะปล่อยวางความยึดมั่นว่ามีตัวเราของเรา

ผมจึงขอปรึกษาคุณวิชาและเพื่อนๆว่า  ผมปฏิบัติผิดทาง  หรือ  ผมอ่านตำราแล้วตีความหมายผิด

ช่วงนี้คุณระนาดเริ่มเห็นว่า กาย ใจ และ เรา (ที่เราคิดว่ามีอยู่) แยกออกเป็นส่วนๆ

ส่วนการจะปล่อยวางนั้น จะต้องเห็นซ้ำๆ จนใจมันพอเสียก่อนจึงจะปล่อยวางได้ค่ะ
ไม่ใช่ว่าเห็นปุ๊บจะปล่อยได้เลย  แต่บางท่านที่ปล่อยได้เลยเพราะได้สะสมมาแล้ว
เราก็ไม่รู้ว่าเราสะสมมามากน้อยแค่ไหน  ตอนนี้ก็แค่ตามดูไปเรื่อยๆ ค่ะ
เมื่อไหร่ใจพอเมื่อนั้นมันวางเองค่ะ  เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้นนะคะ

ตอบโดย: อัญญาสิ 18 ส.ค. 52 - 09:15


สวัสดีครับคุณระนาด

   จากข้อความของคุณระนาด

อ้างอิง
แต่ในตำราท่านบอกว่า  เมื่อเห็นอนัตตาหรือไตรลักษณ์ได้แล้ว  นักภาวนาจะปล่อยวางความยึดมั่นว่ามีตัวเราของเรา

ผมจึงขอปรึกษาคุณวิชาและเพื่อนๆว่า  ผมปฏิบัติผิดทาง  หรือ  ผมอ่านตำราแล้วตีความหมายผิด  เพราะว่าแทนที่ผมจะปล่อยวางตัวเราของเรา  แต่ผมกลับเห็นกายและใจเป็นพวกเขาของเขาเพิ่มขึ้นมาอีกอย่างหนึ่ง

คุณวิชาเห็นกายและใจเป็นสิ่งมีชีวิตเพิ่มขึ้นมาอีกชีวิตหนึ่งแบบที่ผมเล่ามานี้ไหมครับ
                 
                         ------------------------------

ถ้าผมฝึกฝนแบบนี้ไปเรื่อยๆ  ต่อไปความเป็นตัวเราของเราจะลดลงแล้วความเป็นพวกเขาของเขา ( คือกายและใจ ) จะเพิ่มขึ้นมา.......อย่างนี้หรือเปล่าครับ


   ดีแล้วครับที่คุณระนาดเริ่มสงสัยและสังเกตุเข้าสู่ปะเด็น (โดยส่วนมากในการสนทนาในเว็บบอร์ดเรื่องการปฏิบัติเมื่อผู้สงสัยถามผมตรงๆ ผมจะตอบให้ชัดเจนครับ แต่ถ้าสนทนากันไปตามรูปแบบด้วยความมั่นใจของผลของผู้นั้นอยู่ และผมเห็นว่ายังอยู่ในกรอบไม่ได้ผิดจนเกินไป ผมคงไม่ไปทักท้วงครับ เพราะอาจจะมีผลตามมาที่ไม่ดีได้) .

   คุณระนาดปฏิบัติไม่ผิดทางหลอกครับ แต่ผลความเข้าใจออกมานั้นไม่ถูกส่วนครับ คือเกิดสภาวะการล้ำเกินไปกลายเป็นปฏิเสธไปครับ.

และจากคำถาม

อ้างอิง
คุณวิชาเห็นกายและใจเป็นสิ่งมีชีวิตเพิ่มขึ้นมาอีกชีวิตหนึ่งแบบที่ผมเล่ามานี้ไหมครับ


ตอบ ไม่เลยครับ    เห็นเพียงว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นตัวตนของเรา.  แต่ไม่ใช่เป็นอีกชีวิตหนึ่งครับ.

และจากคำถาม

อ้างอิง
  ถ้าผมฝึกฝนแบบนี้ไปเรื่อยๆ  ต่อไปความเป็นตัวเราของเราจะลดลงแล้วความเป็นพวกเขาของเขา ( คือกายและใจ ) จะเพิ่มขึ้นมา.......อย่างนี้หรือเปล่าครับ


ตอบ  ไม่ถูกต้องที่ว่า ความเป็นพวกเขาของเขา(คือกายและใจ)จะเพิ่มขึ้นมา ครับ จะเป็นอย่างนี้มากกว่าครับ ความติดในอารมณ์ ความเพลิน จะน้อยลงครับ ความสงบนิ่งในใจก็จะเพิ่มขึ้น ไม่ยึดมั่นถือมั่นกายและใจเป็นว่าของตน คือละสักกายทิฏฐิจนหมดสิ้นครับ.
  

ตอบโดย: Vicha 18 ส.ค. 52 - 10:06


สวัสดีครับ คุณระนาดครับ ผมเคยฟังมาแบบนี้
(จำไม่ได้แบบคำต่อคำ เป็นคำที่ผมประมวลขึ้นใหม่นะครับ)

ผู้ภาวนาที่มีสมถะนำ จะสร้างจิตผู้รู้เด่นดวงขึ้นมา
แล้วเห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร เป็นสิ่งที่ถูกรู้
เมื่อเห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร เป็นสิ่งที่ถูกรู้
ก็จะเข้าใจได้ในที่สุด ว่า สิ่งที่ถูกรู้ต่างๆ ไม่ใช่เรา
เพราะจะเห็นได้ว่า ไม่มีตัวเรา ในสิ่งที่ถูกรู้นั้นๆ
แต่ยังเหลือ ความเห็นที่ว่า จิตผู้รู้ ยังเป็นเราอยู่

ก็ปฏิบัติไปแบบเดิมนั่นแหล่ะ รู้สิ่งที่ถูกรู้ไปเรื่อยๆ
ในที่สุด จะค่อยๆเห็นว่า
จิตผู้รู้เอง ก็เกิด/ดับ เป็นคราวๆ บังคับอะไรก็ไม่ได้
ก็จะมีปัญญาเห็นว่า จิตผู้รู้ ก็ไม่ใช่เรา

เมื่อปัญญาสะสมมากพอ ใจก็จะสรุป ว่าตัวเราไม่ได้มีอยู่จริงๆ

ก็จะก้าวพ้นภูมิของปุถุชน


โดยส่วนตัว ผมคิดว่าตอนนี้ จิตคุณระนาด กำลังสะสมปัญญา
อยู่ตรงที่ว่า "สิ่งที่ถูกรู้ ไม่ใช่ตัวตน เราเขา"
เมื่อใจสะสมปัญญาในสิ่งที่ถูกรู้มากพอ
เขาจะเข้าไปค้นคว้าไตรลักษณ์ ของจิตผู้รู้เอง
คงต้องใช้เวลาหน่อยนึงครับ

เจริญในธรรมครับ

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 18 ส.ค. 52 - 10:17


ขอบคุณครับคุณอัญญาสิ

ของผม มักเป็นแบบนี้ กระทบ-รู้-กระทือน-เข้าไปเกาะไว้-แทรกแซงให้เกิดอุเบกขา-ไม่รู้-ไม่รู้-ไม่รู้......ครับ คงอีกนานครับ

ตอบโดย: CH 18 ส.ค. 52 - 10:20


สวัสดีครับคุณ CH ไม่ได้สนทนากันนานแล้วนะครับ.

อ้างอิง
ความคิดเห็นที่ 631 : (CH) แจ้งลบ | อ้างอิง |


คุณปล่อยรู้ภาวนาแบบนี้รึเปล่าครับ  กระทบ-ปล่อยทิ้ง-ใจนิ่งว่าง.... กระทบ-ปล่อยทิ้ง-ใจนิ่งว่าง...  กระทบ-ปล่อยทิ้ง-ใจนิ่งว่าง....  การกระทบเกิดดับหมุนเวียนตามอายตนะทั้งห้า ส่วนใจนิ่งว่าง ไม่กระเพื่อม

ส่วนในแบบคุณอัญญาสิ  ที่ผมเข้าใจอย่างนี้คือ  กระทบ-ใจกระเทือน..... กระทบ-ใจกระเทือน.....กระทบ-ใจกระเทือน.....  จนเห็นว่าใจกระเทือนก็ชั่วคราว บังคับไม่ได้ เป็นตามเหตุ ตามกิเลส สังโยชน์ อนุสัย ที่ยังมีอยู่  เห็นซ้ำๆจนใจยอมรับจนเข้าสู่ความเป็นอุเบกขา (สังขารุเบกขาญาน)
 
จากคุณ : CH


    การปฏิบัติธรรมนั้น รูปแบบเฉพาะตนนั้นมีอยู่แล้วครับสำหรับแต่ละท่าน  ปัญหานั้นไม่ใช่อยู่ที่รูปแบบเฉพาะตนอย่างเดียว อยู่ที่การพัฒนาพละทั้ง  5 (สติ สมาธิ ปัญญา ศรัทธา ความเพียร) ให้เจริญสมบูรณ์และเพรียบพร้อมเพียงกันได้อย่างไรมากกว่าครับ โดยไม่เกิดตึงเครียดหรือเพ่งจนเกินควร เพื่อให้วิปัสสนาญาณเจริญขึ้นครับ.

     ก็คือการรู้จักหรือสังเกตุ(มีปัญญาในการกำหนดภาวนา)สติและสมาธิเฉพาะตน แต่อยู่ในกรอบของแนวการปฏิบัตินั้นๆ

     บางคนเพ่งจนเครียดจนเจ็บและทุกข์ แต่พละ 5 เจริญสมบูรณ์และพร้อมเพียง และสามารถผ่านไปได้ก็มี
     บางคนกำหนดภาวนาแบบไม่ลำบาก และพละ 5 เจริญสมบูรณ์และพร้อมเพียงสามารถผ่านไปได้ก็มี.

     การปฏิบัติจึงมี 4 แนวทางใหญ่ๆ ตามในพระไตรปิฏกที่กล่าวไว้แล้วครับ.

   ปัญหาคือการยึดติดรูปแบบตามอาจารย์ตนตามกลุ่มตน ตามความถูกใจของตน ตามที่ตนเห็นว่าต้องเป็นอย่างนี้เท่านั้น โดยยึดมั่นถือมั่นไว้จนเกินไปนั้นแหละจึงจะมีปัญหาเกิดขึ้นได้ง่าย.

  

ตอบโดย: Vicha 18 ส.ค. 52 - 10:29


เพิ่มเติมนิดนึงครับ

การภาวนาแบบมีจิตผู้รู้ที่มีกำลังหนุนจากสมถะ
มีข้อระวังคือ ต้องไม่ดูจิตผู้รู้ตรงๆ (ใช้จิตผู้รู้ดูจิตผู้รู้)
และ ในระหว่างที่ตามรู้ตามดู ต้องไม่ประคองจิตผู้รู้ไว้

ทำสมถะจนจิตผู้รู้มีกำลังเด่นดวงขึ้นมา
แล้วปล่อย ไม่ต้องประคองรักษาอะไร
ให้กำลังของจิตผู้รู้ ที่ยังคงมีอยู่ หลังจากออกจากสมาธิแล้ว
ตามรู้ตามดูสิ่งที่เกิดขึ้นไปเรื่อยๆ
จนจิตผู้รู้หมดกำลังลง (สังเกตุได้ตรงที่ ใจไม่ตั้งมั่น เริ่มเข้าไปคลุกกับสิ่งที่ถูกรู้)
ก็ทำสมถะ สะสมกำลัง ให้จิตผู้รู้ตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมาใหม่
แล้วก็ตามรู้ตามดูต่อไปอีก
ทำไปเรื่อยๆแบบนี้

คงเป็นประโยชน์นะครับ

 

การเจริญ อานาปานสติ ก็เป็นการภาวนาที่สร้างจิตผู้รู้ขึ้นมาเหมือนกัน
อันหลังนี่ เป็นความเห็นส่วนตัวครับ

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 18 ส.ค. 52 - 10:30


อ้างอิง (ระนาด @ 18 สิ.ค. 52 - 08:24)
ถ้าผมฝึกฝนแบบนี้ไปเรื่อยๆ  ต่อไปความเป็นตัวเราของเราจะลดลงแล้วความเป็นพวกเขาของเขา ( คือกายและใจ ) จะเพิ่มขึ้นมา.......อย่างนี้หรือเปล่าครับ

ผมเคยเห็นเหมือนกันครับ ว่ามันไม่ใช่ของผม
เหมือนเป็นของใครก็ไม่รู้ แล้วผมไปรู้เข้าอีกที
ผมก็แค่รู้ไปแบบนั้น

รอฟังจากท่านอื่นๆครับ เคยเห็นแบบนี้ไหม

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 18 ส.ค. 52 - 10:37


อ้างอิง (อัญญาสิ @ 18 สิ.ค. 52 - 09:15)

ช่วงนี้คุณระนาดเริ่มเห็นว่า กาย ใจ และ เรา (ที่เราคิดว่ามีอยู่) แยกออกเป็นส่วนๆ

ส่วนการจะปล่อยวางนั้น จะต้องเห็นซ้ำๆ จนใจมันพอเสียก่อนจึงจะปล่อยวางได้ค่ะ
ไม่ใช่ว่าเห็นปุ๊บจะปล่อยได้เลย  แต่บางท่านที่ปล่อยได้เลยเพราะได้สะสมมาแล้ว
เราก็ไม่รู้ว่าเราสะสมมามากน้อยแค่ไหน  ตอนนี้ก็แค่ตามดูไปเรื่อยๆ ค่ะ
เมื่อไหร่ใจพอเมื่อนั้นมันวางเองค่ะ  เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้นนะคะ
(อัญญาสิ @ 18 สิ.ค. 52 - 09:15)


ผมก็คิดแบบเดียวกับคุณอัญญาสิว่า  การจะปล่อยวางได้นั้น  เราต้องเห็นซ้ำๆจนเคยชิน  แล้วปัญญาญานจึงเป็นผู้ลงมือปล่อยวาง  ไม่ใช่เห็นปุ๊บก็ปล่อยวางได้เลย

แต่ผมเกรงว่าผมจะคิดเข้าข้างตัวเอง  ผมจึงเข้ามาปรึกษาคุณวิชาและเพื่อนๆครับ

ขอบคุณครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 18 ส.ค. 52 - 10:53


อ้างอิง (บุญรักษ์ @ 18 สิ.ค. 52 - 10:17)


โดยส่วนตัว ผมคิดว่าตอนนี้ จิตคุณระนาด กำลังสะสมปัญญา
อยู่ตรงที่ว่า "สิ่งที่ถูกรู้ ไม่ใช่ตัวตน เราเขา"
เมื่อใจสะสมปัญญาในสิ่งที่ถูกรู้มากพอ
เขาจะเข้าไปค้นคว้าไตรลักษณ์ ของจิตผู้รู้เอง
คงต้องใช้เวลาหน่อยนึงครับ

เจริญในธรรมครับ

 
(บุญรักษ์ @ 18 สิ.ค. 52 - 10:17)


ตำราที่คุณบุญรักษ์ยกขึ้นมาตรงใจผมเป๊ะเลยครับ

ผมก็เชื่อว่า  ผมต้องมีการสะสมปัญญาในขั้นตอนนี้ และ  ผมต้องอาศัยเวลาในขั้นตอนนี้  แบบที่คุณบุญรักษ์กล่าวมาครับ

ตอบโดย: ระนาด 18 ส.ค. 52 - 10:59


อ้างอิง (บุญรักษ์ @ 18 สิ.ค. 52 - 10:30)

ทำสมถะจนจิตผู้รู้มีกำลังเด่นดวงขึ้นมา
แล้วปล่อย ไม่ต้องประคองรักษาอะไร
ให้กำลังของจิตผู้รู้ ที่ยังคงมีอยู่ หลังจากออกจากสมาธิแล้ว
ตามรู้ตามดูสิ่งที่เกิดขึ้นไปเรื่อยๆ
จนจิตผู้รู้หมดกำลังลง (สังเกตุได้ตรงที่ ใจไม่ตั้งมั่น เริ่มเข้าไปคลุกกับสิ่งที่ถูกรู้)
ก็ทำสมถะ สะสมกำลัง ให้จิตผู้รู้ตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมาใหม่
แล้วก็ตามรู้ตามดูต่อไปอีก


คุณบุญรักษ์กล่าวมา  ตรงสภาวะในใจของผมทั้งหมดเลยครับ

การเจริญอานาปานสติเป็นการสร้างจิตผู้รู้ขึ้นมาจริงๆครับ  ในซีดีของหลวงพ่อ  ท่านก็เคยกล่าวแบบนี้ครับ  และท่านยังบอกอีกว่า  จิตผู้รู้นี้จะยังคงอยู่จนถึงระดับอนาคามี  จึงจะมีการทำลายจิตผู้รู้แล้วก้าวไปสู่ภูมิของพระอรหันต์ ( หลวงพ่อพุธบอกว่า  เหมือนลูกไก่เจาะทะลุเปลือกไข่ออกมาเอง )
 

ตอบโดย: ระนาด 18 ส.ค. 52 - 11:04


อ้างอิง (บุญรักษ์ @ 18 สิ.ค. 52 - 10:37)
อ้างอิง (ระนาด @ 18 สิ.ค. 52 - 08:24)
ถ้าผมฝึกฝนแบบนี้ไปเรื่อยๆ  ต่อไปความเป็นตัวเราของเราจะลดลงแล้วความเป็นพวกเขาของเขา ( คือกายและใจ ) จะเพิ่มขึ้นมา.......อย่างนี้หรือเปล่าครับ



ผมเคยเห็นเหมือนกันครับ ว่ามันไม่ใช่ของผม
เหมือนเป็นของใครก็ไม่รู้ แล้วผมไปรู้เข้าอีกที
ผมก็แค่รู้ไปแบบนั้น
(บุญรักษ์ @ 18 สิ.ค. 52 - 10:37)

ใช่แล้วล่ะครับ  อาการแบบนี้เเหละ

คือมันเหมือนกับเป็นของใครก็ไม่รู้   แล้วผมไปรู้เข้าอีกที  ผมจึงเรียกว่า  เห็นกายและใจเป็นสิ่งมีชีวิตที่เพิ่มขึ้นมาอีกชีวิตหนึ่ง ( เพราะว่ามันมีความรู้สึกของมันเอง  โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจทำให้มันมีขึ้นมา )

บางทีการใช้ถ้อยคำมาอธิบายสภาวะในใจ  มันก็ยากอยู่สักหน่อย  แต่ถ้าคนที่เคยมีสภาวะเดียวกันมาก่อน  อ่านแล้วจะเข้าใจครับ
             
                --------------------------

คุณบุญรักษ์สังเกตุไหมว่า   สภาวะนี้คุณจะเห็นมันได้  ก็ต่อเมื่อคุณมีความปลอดโปร่งโล่งสบายใจ  แต่ตอนที่คุณภาวนาแบบเอาจริงเอาจัง  หรือ  ตอนที่เคร่งเครียด  คุณจะมองไม่เห็น

หรือ  ถ้าคุณมีความพยายามจะเห็นสภาวะนี้  คุณก็จะไม่เห็น  คุณต้องมีความเบาสบายใจปลอดโปร่งโล่งใจเท่านั้น   คุณจึงจะมองเห็น..........ใช่ไหมครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 18 ส.ค. 52 - 11:14


อ้างอิง (Vicha @ 18 สิ.ค. 52 - 10:06)
อ้างอิง
 ถ้าผมฝึกฝนแบบนี้ไปเรื่อยๆ  ต่อไปความเป็นตัวเราของเราจะลดลงแล้วความเป็นพวกเขาของเขา  จะเพิ่มขึ้นมา.......อย่างนี้หรือเปล่าครับ



ตอบ  ไม่ถูกต้องที่ว่า ความเป็นพวกเขาของเขา(คือกายและใจ)จะเพิ่มขึ้นมา ครับ จะเป็นอย่างนี้มากกว่าครับ ความติดในอารมณ์ ความเพลิน จะน้อยลงครับ ความสงบนิ่งในใจก็จะเพิ่มขึ้น ไม่ยึดมั่นถือมั่นกายและใจเป็นว่าของตน คือละสักกายทิฏฐิจนหมดสิ้นครับ.
 


ตรงนี้ผมอาจจะใช้คำอธิบายที่เข้าใจยาก  คือว่า  ผมจะเห็นความเป็นตัวเราของเราลดลง   แล้วความไม่ใช่ตัวเรา  ไม่ใช่ของเราจะเพิ่มขึ้นมา ( ซึ่งก็คือ เห็นความเป็นพวกเขาของเขาเพิ่มขึ้นมา )
             
แต่ก็ไม่เป็นไรครับ   ผมจะฝึกดูสภาวะนี้ให้ชำนาญให้ดีๆมากกว่านี้  แล้วจะไปส่งการบ้านเพื่อความมั่นใจ  อีกทีหนึ่งครับ

ขอบคุณ  คุณวิชามากๆครับ
                 ---------------------------

หลายวันมานี้ผมกะว่าจะฝึกฝนให้ชำนาญแล้วจึงจะไปส่งการบ้าน  แต่พอเริ่มชำนาญขึ้น  ผมก็เห็นสภาวะที่ไม่เคยเห็นเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ   เมื่อผมย้อนกลับไปอ่านผลการภาวนาของตัวเองเมื่อเดือนที่แล้ว  ผมเเปลกใจว่า  เมื่อเดือนแล้วการภาวนาของผมทำไมมันล้าสมัยมากๆเลยครับ   ( ภาษาชาวบ้านเรียกว่า  ภาวนาได้ห่วยแตกมากๆ  หุ หุ หุ )


ก่อนที่ผมจะไปส่งการบ้าน ( วันที่ 17 กค.)  ผมยังเห็นกายและใจพร้อมๆกันอยู่เลย  การเห็นกายและใจพร้อมกันและแยกกันเป็นส่วนๆแบบนั้นมันแข็งมากๆ  แต่ตอนนั้นผมกลับเห็นว่ามันเบาสบายดี    การภาวนาตอนนี้เบาสบายมากกว่าตอนนั้นอีกเยอะแยะเลยครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 18 ส.ค. 52 - 11:42


อ้างอิง (ระนาด @ 18 สิ.ค. 52 - 11:14)
คุณบุญรักษ์สังเกตุไหมว่า   สภาวะนี้คุณจะเห็นมันได้  ก็ต่อเมื่อคุณมีความปลอดโปร่งโล่งสบายใจ  แต่ตอนที่คุณภาวนาแบบเอาจริงเอาจัง  หรือ  ตอนที่เคร่งเครียด  คุณจะมองไม่เห็น 

หรือ  ถ้าคุณมีความพยายามจะเห็นสภาวะนี้  คุณก็จะไม่เห็น  คุณต้องมีความเบาสบายใจปลอดโปร่งโล่งใจเท่านั้น   คุณจึงจะมองเห็น..........ใช่ไหมครับ

ครับ เห็นแบบนั้นเหมือนกันครับ

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 18 ส.ค. 52 - 11:48


    สวัสดีครับคุณระนาด.

       ผมเป็นหนักกว่าคุณเสียอีกครับ .....  เป็นตอนที่หลงอยู่ในวิปัสสนูกิเลส (หลงคือหลงจริงๆ) เมื่อก่อนบวชพระปี 2526.

       ผมเคยบอกแล้วว่าปฏิบัติถึง สัมมสนญาณ พร้อมทั้งมีกำลังสมาธิเท่ากับปฐมฌาน วิปัสสนูกิเลสก็จะปรากฏชัดมาก เวลาหลงจึงหลงแรง  มีอยู่ครั้งหนึ่ง ในช่วงที่ปฏิบัติธรรมที่วัด และกำลังทานข้าวตอนเที่ยง.
       ผมกำหนดกรรมฐาณอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้วครับ จึงกำหดนการตักข้าวการทานข้าวทุกอริยาบทอย่างละเอียด. แล้วจิตก็ถอนมาอยู่ที่รู้ในทรวงอก มีสติดูอริยาบทต่างๆ แล้วเห็นว่า มันไม่เที่ยงมันเคลื่อนด้วยตัวมันเอง โดยที่เราไม่ต้องสั่งก็ได้ มารู้นิ่งกลางทรวงอกอย่างเดี่ยว

      ก็คิดว่าดูสิ มันจะเป็นอย่างไรต่อ โดยที่ไม่แทรงแทรกและบังคับ หลังจากนั้นมือก็เคลื่อนไปเอง  ร่างกายก็เคลื่อนไปเอง ก็เพียงแต่ดูอย่างเดียว จนร่างกายคู่และแกร็งของมันเอง ก็ไม่ไปแทรกแทรงหรือบังคับ ดูด้วยใจเป็นหนึ่งและสบาย ว่ามันจะเป็นอย่างไรต่อ

       จนเด็กวัดคิดว่าเป็นลมบ้าหมู จึงช่วยกันมาจับและแบกขึ้น ช่วงนั้นจิตก็รวมกันเกิดเป็นแสงสว่างสีเหลืองทองแบบมีประกายเลื่อมอยู่กลางทรวงอก มีปีติสงบสุขอย่างยิ่ง แล้วเด็กวัดก็แบกไปห้องพัก พร้อมกับผมได้คลายที่จะนิ่งเพื่อดูอย่างเดียว มารับรู้ร่างกายเป็นปกติทั่วไป.

        เป็นอย่างนี้เอง วิปัสสนูกิเลส  ของผู้ที่มีกำลังฌาน.

                                   (ไม่ยากกล่าวตรงๆ แต่ก็ต้องกล่าวจนได้)
 
 

ตอบโดย: Vicha 18 ส.ค. 52 - 12:00


.....55555.....     .....

.....ผมอ่านจบแล้วขำ.....แล้วมานึกอีกที....ผมขำอะไร.....

.....ไม่รู้เหมือนกันครับ.....รู้ว่าอ่านแล้วเบิกบาน.....แหะๆๆ.....  

.....ผมเคยเป็นครั้งนึงครับ.....ชั่วโมงกว่าๆ.....ดีนะที่ไม่เป็นลมบ้าหมูอย่างคุณVicha.....

.....ตอนนั้นมันแค่รู้สึกแปลกๆ.....เหมือนดูหุ่นยนต์ทำงาน.....เดินเอง.....นั่งเอง.....เหลียวมองไปมาเอง.....ทำเองหมดเลย.....สนุกดี.....ปล่อยไปเรื่อยๆ.....

.....แล้วมันเอะใจขึ้นมา.....กิเลสมันหายไปไหนหมด.....ผิดแล้ว.....ผิดแล้ว.....ผิดแล้ว.....

.....คงรอดมาได้เพราะ "ผิดแล้ว" นี่แหล่ะครับ.....

.....สงสัยผมดีใจ ที่ไม่พลาดไปเป็นลมบ้าหมู.....แหะๆๆ.....เลยฟูซะเรา.....

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 18 ส.ค. 52 - 12:28


อ้างอิง (Vicha @ 18 สิ.ค. 52 - 12:00)
มีสติดูอริยาบทต่างๆ แล้วเห็นว่า มันไม่เที่ยงมันเคลื่อนด้วยตัวมันเอง โดยที่เราไม่ต้องสั่งก็ได้ มารู้นิ่งกลางทรวงอกอย่างเดี่ยว 

      โดยที่ไม่แทรงแทรก หลังจากนั้นมือก็เคลื่อนไปเอง  ร่างกายก็เคลื่อนไปเอง ก็เพียงแต่ดูอย่างเดียว จนร่างกายคู่และแกร็งของมันเอง ก็ไม่ไปแทรกแทรงหรือบังคับ ดูด้วยใจเป็นหนึ่งและสบาย ว่ามันจะเป็นอย่างไรต่อ

       จนเด็กวัดคิดว่าเป็นลมบ้าหมู


อ่านประสบการณ์ของคุณวิชาแล้ว  แลดูน่ากลัว

ผมเคยดูการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยไม่แทรกแซงอยู่บ่อยๆ   แล้วผมจะชักเกร็งแบบคุณวิชาไหมครับ

ถ้าผมบรรลุธรรมตอนเป็นลมบ้าหมูก็ไม่เป็นไร ( มันก็คุ้ม ) แต่ผมกลัวว่า  ผมจะเป็นลมบ้าหมูโดยไม่บรรลุธรรมนี่สิ  ( อยู่ดีไม่ว่าดี ภาวนาจนเป็นลมบ้าหมู )

  ฮ่า  ฮ่า  ฮ่า      
 

ตอบโดย: ระนาด 18 ส.ค. 52 - 12:32


อ่านแล้วรู้สึกเป็นสุขก็รู้

ขอขอบพระคุณทุกท่านครับ

ตอบโดย: จุ๊ 18 ส.ค. 52 - 14:20


สวัสดีครับและขอบคุณครับคุณวิชา
ผมส่วนใหญ่ตามอ่านเฉยๆครับ ก็ตามอ่านมาตลอดครับ

ขอถามคุณวิชาว่า ถ้าลงไปงัดต่อสู้กับอารมณ์ด้วยความเคร่งเครียด ควรจะปรับอินทรีย์อย่างไรครับ มีพี่คนหนึ่งถามอาจารย์ท่านหนึ่งว่าผมปฏิบัติเป็นอย่างไร ท่านก็ตอบว่าผมชอบเข้าไปอยู่กับอารมณ์ภายในไม่เป็นปัจจุบัน ซึ่งก็ตรงตามนั้น

ตอบโดย: CH 18 ส.ค. 52 - 15:37


อ้างอิง (จุ๊ @ 18 สิ.ค. 52 - 14:20)
อ่านแล้วรู้สึกเป็นสุขก็รู้

ขอขอบพระคุณทุกท่านครับ
(จุ๊ @ 18 สิ.ค. 52 - 14:20)

ขอทุกท่านเจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปครับ

ตอบโดย: ณวบุตร 18 ส.ค. 52 - 16:28


สวัสดีครับคุณ CH และทุกท่าน

  ผมได้ตอบไว้แล้วแต่ ที่ทำงานไฟดับข้อมูลหายหมด เพราะเส้าไฟฟ้าล้มปิดซอย ผมขับรถกลับบ้านไม่ถูกเลยเพราะกลับทางเก่าไม่ได้

จากข้อความของคุณ CH

อ้างอิง
ความคิดเห็นที่ 653 : (CH) แจ้งลบ | อ้างอิง |


สวัสดีครับและขอบคุณครับคุณวิชา
ผมส่วนใหญ่ตามอ่านเฉยๆครับ ก็ตามอ่านมาตลอดครับ

ขอถามคุณวิชาว่า ถ้าลงไปงัดต่อสู้กับอารมณ์ด้วยความเคร่งเครียด ควรจะปรับอินทรีย์อย่างไรครับ มีพี่คนหนึ่งถามอาจารย์ท่านหนึ่งว่าผมปฏิบัติเป็นอย่างไร ท่านก็ตอบว่าผมชอบเข้าไปอยู่กับอารมณ์ภายในไม่เป็นปัจจุบัน ซึ่งก็ตรงตามนั้น
 


และจากข้อมูลของคุณ CH

อ้างอิง
ความคิดเห็นที่ 639 : (CH) แจ้งลบ | อ้างอิง |


ขอบคุณครับคุณอัญญาสิ

ของผม มักเป็นแบบนี้ กระทบ-รู้-กระทือน-เข้าไปเกาะไว้-แทรกแซงให้เกิดอุเบกขา-ไม่รู้-ไม่รู้-ไม่รู้......ครับ คงอีกนานครับ


ในเมื่อแทรกแซงให้เกิดอุเบกขาได้   ก็ย่อมแทรกแซงให้เกิดการเจริญสติได้ครับ.

และจากข้อความ

อ้างอิง
ท่านก็ตอบว่าผมชอบเข้าไปอยู่กับอารมณ์ภายในไม่เป็นปัจจุบัน


เมื่อเข้าไปอยู่กับอารมณ์ภายในเป็น ก็ย่อมรู้จักการเจริญสติให้เจริญขึ้นในอารมณ์ภายในเป็นอยู่แล้วครับ.

และจากคำถาม

 อ้างอิง
ขอถามคุณวิชาว่า ถ้าลงไปงัดต่อสู้กับอารมณ์ด้วยความเคร่งเครียด ควรจะปรับอินทรีย์อย่างไรครับ


  หมายความคุณ CH ทราบอยู่ก่อนแล้วว่าถ้าจะต่อสู่ ต้องเคร่งเครียดแน่ ดังนั้น อินทรีย์แรกที่ต้องปรับ คือการเจริญสติให้เจริญเพิ่มขึ้น ก็ต้องเพิ่มความเพียรในการกำหนดภาวนาอย่างเนื่องๆ มากขึ้น ก็จะทำให้เกิดการเพ่ง ทำให้สมาธิก็จะเจริญขึ้นมาด้วย แต่ต้องเคร่งเครียด
    ในเมื่อคุณ CH แทรกแชงให้เป็นอุเบกขาได้ นี้ก็คือปัญญานั้นเอง ก็จะสามารถปรับระดับได้อยู่แล้วครับ อยู่ที่คุณ CH มีความศรัธทาในการปฏิบัติให้ยิ่งขึ้นหรือไม่

 

ตอบโดย: Vicha 18 ส.ค. 52 - 20:19


อ้างอิง (อัญญาสิ @ 17 สิ.ค. 52 - 04:49)
ถ้ายังไม่เห็นก็ไม่ต้องรีบไปเห็น  อะไรเกิดขึ้นก็รู้อันนั้น 
ปัจจุบันธรรมสำคัญที่สุด
เมื่อสติ สมาธิ ปัญญา พร้อมที่จะรู้ได้  มันก็รู้ได้เองวางได้เองค่ะ   

สวัสดีครับคุณอัญญาสิ

สิ่งที่ตามรู้,ตามดูจิต ไปเรื่อยๆนี้
ก็คือจิตเหมือนกัน ใช่ไหมครับ

และสิ่งที่ตามรู้,ตามดูจิต ไปเรื่อยๆนี้
ก็ไม่เที่ยงเหมือนกันกับจิต ใช่ไหมครับ

และสิ่งที่ตามรู้,ตามดูจิต ไปเรื่อยๆนี้
ก็มีความแปรปรวน มีความเสื่อมไปสิ้นไป มีความดับไปสิ้นไป
เหมือนกันกับจิต ใช่ไหมครับ

การรู้แบบโล่งๆ เบาๆ ว่างๆ ...ก็คืออาการอย่างหนึ่งของจิต ใช่ไหม ครับ
ไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา ใช่ไหมครับ


สรุปแล้ว
ไม่ว่าจิต จะมีอาการเป็นเช่นใด
ไม่ว่าสิ่งที่ตามรู้ ตามดูจิต จะมีลักษณะอาการเป็นเช่นใด
ไม่ว่าผลอันเกิดขึ้นจากการตามรู้ ตามดูจิต จะมีสภาวะเป็นเช่นใด
สติสัมปชัญญะ ยังคงต้องรู้พร้อมอยู่กับลมหายใจเข้าออก ต่อเนื่องไปตลอดเวลา
ถูกต้องไหมครับ

เพราะถ้าสติสัมปชัญญะไม่รู้พร้อมอยู่กับลมหายใจเข้าออก
จะเรียกว่าเป็นการเจริญอานาปานสติ คงไม่ได้ ถูกต้องไหม ครับ



 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 19 ส.ค. 52 - 05:43


อ้างอิง (ระนาด @ 17 สิ.ค. 52 - 07:47)

ความรู้สึกที่มีความเป็นอัตตาน้อย  มีความเป็นอนัตตาสูง  หมายถึง....ความรู้สึกที่แผ่วๆ เบาๆ ที่เกิดขึ้นมาโดยที่เรามีความปลอดโปร่งโล่งสบายใจ   เกิดขึ้นมาตอนที่เราคล้ายๆกับจะเผลอแต่ว่าไม่ใช่เผลอเพราะว่าเรายังมีสติคงความรู้สึกที่ลมหายใจ ( สภาวะนี้ต้องฝึกฝนครับ ) .......  ภาวนามยปัญญาอยู่ในกลุ่มนี้


สวัสดีครับพี่ระนาด

ความรู้สึกแผ่วๆ เบาๆ โดยที่เรามีความปลอดดปร่งโล่งสบายใจ

ผมเข้าใจว่า ความรู้สึกที่พี่ระนาดกล่าวถึงนั้น
สักแค่ว่าเป็นอาการอย่างหนึ่งของจิต หรือเป็นสภาวะหนึ่งของเวทนา
เป็นสภาพธรรมธรรมหนึ่ง เช่นนั้นเอง ครับ
มีความปรากฎเกิดขึ้น มีความตั้งอยู่ชั่วขณะ มีความเสื่อมไป มีความดับสลายไปในที่สุด

ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ตัวตน แต่อย่างไร ครับ

ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่า เป็นเรา ว่าเป็นตัวตนของเรา ครับ

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 19 ส.ค. 52 - 05:52


อ้างอิง (CH @ 17 สิ.ค. 52 - 16:37)
คุณปล่อยรู้ภาวนาแบบนี้รึเปล่าครับ  กระทบ-ปล่อยทิ้ง-ใจนิ่งว่าง.... กระทบ-ปล่อยทิ้ง-ใจนิ่งว่าง...  กระทบ-ปล่อยทิ้ง-ใจนิ่งว่าง....  การกระทบเกิดดับหมุนเวียนตามอายตนะทั้งห้า ส่วนใจนิ่งว่าง ไม่กระเพื่อม



สวัสดีครับ คุณCH

อนุโมทนาสาธุ กับธรรมที่ชี้แนะนำ ครับ

อานาปานสติ คืออมตธรรม
คือเครื่องอยู่อาศัย คือวิหารธรรม ชั้นเลิศ

ภิกษุนั้น ย่อมรู้ยิ่งซึ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพาน
ครั้นรู้ยิ่ง ซึ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพาน

ย่อมไม่สำคัญมั่นหมาย ซึ่งนิพพาน
ย่อมไม่สำคัญมั่นหมาย ในนิพพาน
ย่อมไม่สำคัญมั่นหมาย ความเป็นนิพพาน
ย่อมไม่สำคัญมั่นหมาย นิพพานของเรา
ย่อมไม่เพลินอย่างยิ่ง ซึ่งนิพพาน...


ลมหายใจเข้าออก สามารถที่จะรู้ควบคู่ไปได้กับสิ่งที่จิตเข้าไปรู้กระทบสัมผัสกับอะไรๆได้ตลอดเวลา ครับ
 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 19 ส.ค. 52 - 06:01


ขอบคุณครับคุณวิชา

คุณปล่อยรู้ครับ ผมเพียงแค่ถามดูว่าคุณภาวนาแบบไหนเท่านั้นเองครับ ผมคงแนะนำอะไรไม่ได้หรอกครับ ยังเอาตัวเองไม่รอดเลยครับ ผมก็ตามอ่านความเห็นของหลายๆท่านเพื่อเอาไปปรับใช้ดูครับ

ตอบโดย: CH 19 ส.ค. 52 - 09:34


สวัสดีครับคุณ CH

เช่นเดียวกับครับ คุณCH
ผมเองนั้น ก็ยังภาวนาไม่ไปถึงไหนเลย ครับ
ยังคงรู้อยู่กับลมหายใจเข้าออก นี้แหละ ครับ

ก็พยายามเชื่อฟังพระพุทธเจ้าเอาไว้ตลอด
และก็อาศัยการสนทนาแลกเปลี่ยนธรรมกับกัลยาณมิตรในลานธรรมนี้แหละ ครับ

ใหม่ๆนั้น ก็เหนื่อยกับการบังคับจิต ให้ดูรู้อยู่กับลมหายใจเข้าออก
อยู่บ้างตามประสาคนที่ยังไม่มีประสพการณ์
อาจจะเป็นเพราะประสพการณ์ที่ผ่านๆมานั้น
ทำให้เดี๋ยวนี้ ไม่ต้องคอยที่จะต้องพยายามบังคับจิตให้ดูรู้อยู่กับลมหายใจเข้าออก มากเท่าเหมือนกับแต่ก่อนเท่าใด แต่จิตเขาพร้อมที่จะดูรู้อยู่ ของเขาเอง
โดยไม่ต้องไปบังคับจิตเขา เหมือนแต่ตอนที่เริ่มต้นฝึกบังคับใหม่ๆนั้น

อาจจะเป็นด้วยเหตุที่ว่า จิตเขาเบื่อที่จะไปดูรู้อยู่กับอะไรๆแล้วนั้นเอง
เพราะดูรู้อยู่กับอะไรๆ จิตมันก็เห็นแต่ความไม่เที่ยง เห็นแต่ความเสื่อมไป
เห็นแต่ความดับไป ทั้งหมดทั้งสิ้น

จิตเขาก็เลยไม่รู้ว่าจะไปดูรู้อยู่กับอะไรๆ ดีเท่ากับการดูรู้อยู่กับลมหายใจเข้าออก
เพราะจิตเขาคงได้เปรียบเทียดูแล้วว่า
ระหว่างการพักจิตดูรู้อยู่กับลมหายใจเข้าออก
กับดูรู้อยู่กับ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์ นั้น
การพักจิตดูรู้อยู่กับลมหายใจเข้าออก ย่อมดีกว่า ย่อมเหนือกว่า

ยิ่งได้ฟังคำของพระพุทธเจ้า ก็ยิ่งทำให้เกิดความไม่ลังเลสังสัยใดๆ
ในสังขตธรรมทั้งหลายทั้งปวง

มันได้เห็นตามที่พระพุทธเจ้ากล่าวเอาไว้อย่างจริงแท้แน่นอน
ว่าไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์
ไม่มีอะไรดับ นอกจากทุกข์...

ถ้ากัลยาณมิตรท่านใด จะบอกว่าปล่อยรู้คิดเอาเอง นึกคิดเอาเอง ปล่อยรู้ชิงสุกก่อนหาม
ก็ยินดีน้อมรับฟังคำชี้แนะนำจากกัลยาณมิตรทุกท่าน ครับ
และน้อมยอมรับในชี้แนะนำนั้นๆของทุกท่าน ครับ
คงไม่มีข้อปฏิเสธหรือคัดค้านหรือโต้แย้งอันใด ครับ

ด้วยรู้อยู่ ด้วยเห็นอยู่ แจ้งประจักษ์อยู่
ตามสิ่งที่จิตปล่อยรู้เข้าไปดูรู้อยู่กับธรรมที่กำลังปรากฏอยู่ณ.ในขณะปัจจุบันนี้อย่างไร
ก็นำมาเสนอแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันดู เท่านั้นเอง ครับ


 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 19 ส.ค. 52 - 11:15


เริ่มจากไม่รู้ไม่อะไร
หลงคิดจนปวดใจไม่เว้นว่าง
ก่อทุกข์ก่อตัณหามาตลอดทาง
โศกเศร้าครวญครางไม่เว้นวาย
ครั้นมาได้สติระลึกรู้
มีธัมมะของพระสัพพัญญูเป็นที่หมาย
เพียรเจริญสติ สมาธิ รู้ใจกาย
เริ่มมองเห็นธาตุทั้งหลายมิใช่ตัวตน
อานาปานสติ และสติปัฏฐานสี่
นี่คือหนทางแห่งการฝึกฝน
มรรคมีองค์แปดคือกรอบแห่งกัลยาณชน
กัลยาณธรรมทุกคนคือผู้ร่วมทางฯ

ขอทุกท่านจงเจริญในธรรมจนถึงที่สุด และได้รู้ถูกถ้วนในธรรมทั้งปวง

ตอบโดย: ณวบุตร 19 ส.ค. 52 - 14:28


ซื่อตรงกับจิตใจ ยอมรับมัน

ถ้าเคยเห็นปรมัตรแล้ว จะเข้าใจการปฏิบัติ มันเริ่มต้นก้าวแรกตรงที่เห็นปรมัตร

ถ้าบัญญัติ มันมากมายท่วมอยู่ ก็ไม่ว่ามัน ให้รู้ตรงๆเข้าไปว่า ยังไม่เห็นปรมัตร


การปฏิบัตินั้นไม่ยาก มันยากตอนขึ้นต้น

ยอมรับมัน ดูที่ใจ ดูของจริงๆ ไม่ต้องเก่ง ไม่ต้องดี ไม่ต้องมีความรู้

สติเกิดเมื่อไหร่ เมื่อนั้นเข้าสู่การปฏิบัติ สติตัวแท้ๆเกิดขึ้นมาเมื่อไหร่ จะเข้าถึงใจจริงๆ

อยากบอกตรงๆ แต่มันยากเหลือเกินที่จะยอมรับ

ตัวเราเองก็กิเลสท่วมหัวท่วมใจอยู่ ไม่ได้มีคุณธรรมอะไร พอจะสะกิดใจท่านได้

ตอบโดย: อิธ 19 ส.ค. 52 - 22:25


สวัสดีครับทุกๆท่าน วันนี้มีการบ้านมาส่งครับ

เรื่องมันเกิดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (17 ส.ค. 52) ที่ส่งการบ้านช้าเพราะต้องตรวจทานอารมณ์กัมมัฎฐานด้วยตนเองชั้นหนึ่งก่อนและเรียบเรียงเหตุการณ์ เผื่อว่าเป็นการเข้าใจผิด

เมื่อหัวค่ำวันจันทร์ที่ผ่านมา คาดว่าวิปัสสนาญาณจะเกิดขึ้นอีกครั้งเหมือนดังครั้งก่อน ซึ่งคราวนี้ก็มีลักษณะอาการเหมือนดังครั้งก่อนครับ แต่ว่าไม่ได้เกิดวูบเดียวเหมือนครั้งก่อน

เที่ยวนี้เกิดต่อเนื่องกันนานหลายนาทีทีเดียว เรื่องราวก็คล้ายกับครั้งก่อน เหมือนครั้งที่แล้วที่รู้สึกว่าแผ่นดินมันนุ่มและยุบตัวลงไป แต่เที่ยวนี้ไม่ว่าจะสาวเท้าก้าวย่างไปครั้งใด แผ่นดินก็นุ่มและยุบตัวลงตามทุกครั้งไป ทำให้ผมต้องก้มลงมองดูว่าพื้นมันไม่เรียบหรือเปล่า แต่จากสายตาที่มองแผ่นหินก็ค่อนข้างปกติ

เพื่อพิสูจน์ดูบริเวณนั้น ผมจึงได้เดินตีวงเป็นวงกลมวนรอบบริเวณนั้น เลยกลายเป็นเดินจงกรมไปในตัว

เที่ยวนี้นอกจากอนิจจลักษณะ แล้วยังมีทุกขลักษณะ เกิดด้วยครับ เดินไปนี่รู้สึกว่าพื้นหินอ่อนยวบๆ ยวบๆ และเคลื่อนไหวร่างกายครั้งใดก็ให้รู้สึกเจ็บปวดไปทั้งตัว หนัก บีบเค้น อึดอัด เป็นทุกข์ไปเสียหมด  สภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นได้ไม่กี่นาทีก็หายไปเองครับ

จำได้ว่ามันคล้ายกับประสบการณ์ที่ผมเคยประสบมาเมื่อปี 2540 ตอนที่ออกจากปฐมฌานแล้วเจริญกายานุปัสสนากัมมัฏฐาน แล้ววิปัสสนาญาณเกิด ทุกขเวทนาที่เกิดมันคล้ายกัน

สำหรับนักภาวนาทั้งหลายคงจะพอเข้าใจกันใช่ไหมครับว่าความเจ็บปวด ความหนัก ความบีบเค้น ความอึดอัด ความทรมานที่เกิดขึ้นนั้นมันต่างจากการปวดเมื่อย การเป็นตระคริว หรืออาการอ่อนล้า ที่คนทั่วไปเป็นกัน

มันเหมือนประจักษ์ชัดว่าขันธ์ 5 นี้มันเป็นทุกข์จริง  โดยมันแสดงสภาพที่แท้จริงของมันให้เราได้รู้
 

ตอบโดย: วสวัตตี 20 ส.ค. 52 - 02:11


สวัสดีครับคุณ วสวัตตี .

      อาการครั้งหลังๆ คงไม่รุ่นแรงและรวดเร็วเหมือนกับครั้งแรกหรอกครับ.

      ชีวิตให้กับการปฏิบัติธรรมมากกว่าอย่างอื่น(พอดีก็ศึกษาทางนี้ด้วย) ก็จะทำให้วิปัสสนาญาณเจริญขึ้นได้ง่าย รักษาวิปัสสนาญาณไว้ได้ดี และปรากฏเห็นไตรลักษณ์(เป็นปรมัติ)ได้ชัดเจนละเอียดขึ้นเป็นธรรมดาครับ.


 

ตอบโดย: Vicha 20 ส.ค. 52 - 09:18


สวัสดีครับคุณปล่อยรู้

 จากข้อความ

อ้างอิง
ถ้ากัลยาณมิตรท่านใด จะบอกว่าปล่อยรู้คิดเอาเอง นึกคิดเอาเอง ปล่อยรู้ชิงสุกก่อนหาม
ก็ยินดีน้อมรับฟังคำชี้แนะนำจากกัลยาณมิตรทุกท่าน ครับ
และน้อมยอมรับในชี้แนะนำนั้นๆของทุกท่าน ครับ
คงไม่มีข้อปฏิเสธหรือคัดค้านหรือโต้แย้งอันใด ครับ

ด้วยรู้อยู่ ด้วยเห็นอยู่ แจ้งประจักษ์อยู่
ตามสิ่งที่จิตปล่อยรู้เข้าไปดูรู้อยู่กับธรรมที่กำลังปรากฏอยู่ณ.ในขณะปัจจุบันนี้อย่างไร
ก็นำมาเสนอแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันดู เท่านั้นเอง ครับ


   ผมไม่เคยไปคิดว่า "ปล่อยรู้คิดเอาเอง นึกคิดเอาเอง"  ผมเข้าใจว่าคุณปล่อยกำหนดภาวนาได้เป็นจริงๆ เป็นอย่างนั้น.

   ส่วนความคิดเห็นที่ว่า "ปล่อยรู้ชิงสุกก่อนหาม" นั้นพอมีอยู่บ้างครับ แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณปล่อยผิดนะครับ และผมต้องเตือนตัวเองอยู่บ่อยๆ ว่า "คุณปล่อยรู้อาจจะถูก"
    เพียงแต่สภาวะธรรมของ คุณปล่อยรู้ ไม่ปรากฏผลเป็นแนวทางมาตามลำดับ ที่ทำให้ชัดเจนได้  แม้แต่การเห็นการเกิดดับของรูปนาม ที่เป็นอุทยัพพยญาณ (วิปัสสนาญาณที่ 4).
     หรือในอานาปานสติ ส่วนนี้

    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจเข้า

   และไม่ใช่ไปทำความเข้าใจว่า สิ่งใหม่เกิด สิ่งเก่าค่อยหายไป  นะครับ
    แต่หมายความว่าสิ่งเก่าดับหมดสิ้นจริงๆ เมื่อเกิดก็เกิดสิ่งใหม่ ครับ.

    
    จึงจะเข้ากันได้กับอุทยัพพยญาณ (วิปัสสนาญาณที่ 4)  ก็เป็นการชี้ชัดอย่างชัดเจนว่า

        อานาปานสตินั้น เป็นทั้งสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน.


     ผมจะเล่าการปฏิบัติของผมเป็นการเทียบเคียงนะครับ หลายเดือนมาแล้ว ช่วงที่ผมตั้งหน้าตั้งตาดูลมหายใจตามอานาปานสติ เพื่อสนทนาธรรมนี้และครับ. แต่ก็เครียดกับเรื่องภายในครอบครัวบ้างเป็นธรรมดา แต่ก็พยายามภาวนาอยู่ตลอด.

     มีอยู่บ่ายๆ วันหนึ่ง ผมจะเอนตัวลงนอน กำลังเคลื่อนที่จะเอาหัวถึงหมอน ก็เกิดการดับขาดสิ้นไปเลย แล้วเมื่อเกิดก็เกิดขึ้นทันที อยู่ช่วงที่หัวกำลังจะถึงหมอน

      เมื่อหัวเคลื่อนตัวถึงหมอน ก็ เอะ .. เมื่อกี้เราได้ตายไปแล้วนี้! เกิดขึ้นมาเอง.
และความเครียดที่ค้างติดอยู่ในอารมณ์ นั้นได้หายไปพร้อมกับการเกิดสภาวะนั้น
     ก็คิดไปต่อว่า "อือ.. เหมือนตายไปจริง"  แต่ก็หาได้สนใจเพราะสภาวะการดับหมดสิ้นอย่างนี้ก็เกิดกับผม มาหลายๆ ครั้งแล้ว ตั้งแต่ปี 2526-27 มาโน้น จึงหาได้ไปสนใจเท่าไหร่. ก็นอนผักผ่อนไปตามปกติ.

      และเมื่อสอง-สาม วันที่ผ่านมา ขณะกึ่งนั่งกรรมฐานและพักผ่อนในตอนพักเที่ยง กำลังค่อยๆ ทิ้งอารมณ์ ก็เกิดสภาวะ กรึบ ขาด ตัด คล้ายดับแต่ไม่ชัดเจน ไหวไปนิดหนึ่ง แล้วค่อยทิ้งสู่การผักผ่อน.

ตอบโดย: Vicha 20 ส.ค. 52 - 10:10


อ้างอิง (Vicha @ 20 สิ.ค. 52 - 09:18)


สวัสดีครับคุณ วสวัตตี .

      อาการครั้งหลังๆ คงไม่รุ่นแรงและรวดเร็วเหมือนกับครั้งแรกหรอกครับ.

      ชีวิตให้กับการปฏิบัติธรรมมากกว่าอย่างอื่น(พอดีก็ศึกษาทางนี้ด้วย) ก็จะทำให้วิปัสสนาญาณเจริญขึ้นได้ง่าย รักษาวิปัสสนาญาณไว้ได้ดี และปรากฏเห็นไตรลักษณ์(เป็นปรมัติ)ได้ชัดเจนละเอียดขึ้นเป็นธรรมดาครับ.


ท่าน Vicha กล่าวได้ถูกต้องเหมือนตาเห็นเลยครับ

ใช่ครับพี่ อาการครั้งหลังนี้ไม่รุนแรงและรวดเร็วเหมือนกับครั้งแรกเมื่อตอนปี 2540 จริงๆด้วยครับ

ว่าแต่พี่ Vicha รู้ได้ไงฮะ? แสดงว่าพี่วิชาก็คงเคยผ่านประสบการณ์ทั้งหลายเหล่านี้มาก่อนใช่ไหมครับ

ตอบโดย: วสวัตตี 20 ส.ค. 52 - 10:13


อ้างอิง (ปล่อยรู้ @ 19 สิ.ค. 52 - 05:43)
สิ่งที่ตามรู้,ตามดูจิต ไปเรื่อยๆนี้
ก็คือจิตเหมือนกัน ใช่ไหมครับ

และสิ่งที่ตามรู้,ตามดูจิต ไปเรื่อยๆนี้
ก็ไม่เที่ยงเหมือนกันกับจิต ใช่ไหมครับ

และสิ่งที่ตามรู้,ตามดูจิต ไปเรื่อยๆนี้
ก็มีความแปรปรวน มีความเสื่อมไปสิ้นไป มีความดับไปสิ้นไป
เหมือนกันกับจิต ใช่ไหมครับ

สวัสดีค่ะ

สิ่งที่ตามรู้ตามดู คือ จิต ค่ะ เข้าใจถูกแล้วค่ะ
จิตที่ไปตามรู้นี้  บางทีก็รู้ บางทีก็หลง
มีการเกิดดับ ไม่เที่ยง แปรปรวนเหมือนกับจิตดวงอื่นๆ ค่ะ

ที่เคยใช้คำว่า ชิงสุกก่อนห่าม ถ้าทำให้ขัดเคืองต้องขออภัยด้วยค่ะ
ตอนนั้นนึกคำไม่ออกค่ะ  

คือ เท่าที่อ่านการภาวนาของคุณปล่อยรู้ในกระทู้  รู้สึกว่าคุณจะกังวลกับ
การยึดตัวจิตผู้รู้ หรือ ยึดการรู้  จึงพยายามจะรู้แล้วทิ้ง
แต่จากการอ่าน  ยังไม่เห็นว่า คุณปล่อยรู้ ได้ยึดรู้อยู่  อีกทั้งมีความรู้สึกว่า
ไม่แน่ใจว่า คุณมีตัวจิตผู้รู้หรือไม่  (อาจจะมีก็ได้น่ะค่ะ  แต่เท่าที่อ่านมา
ทำให้เข้าใจแบบนี้  แต่ถ้าเข้าใจผิดก็ขออภัยอีกรอบค่ะ)

ที่ต้องการจะสื่อคือ  ถ้าปัญหายังไม่ปรากฏ ก็ยังไม่น่าจะต้ัองไปกังวลน่ะค่ะ
เหมือนกับเราไม่ติดเพ่งน่ะ  จะไปมองหาว่าอาการเพ่งมันเป็นยังไง  มันก็หาไม่เจอหรอก
ก็ปัญหานี้ยังไม่เกิดกับเรา  เราก็มองหาไม่เห็นน่ะสิ

เหมือนกับตอนนี้ถ้าจิตคุณปล่อยรู้ยังไม่ได้ตั้งมั่น  ถึงขั้นเป็นผู้รู้ผู้ดู
อาการยึดรู้ย่อมไม่ปรากฎ  หรือ ถ้ารู้โดยไม่ได้มีจิตผู้รู้  พอรู้แล้วยังยึดการรู้อยู่
แต่กำลังสติปัญญาในขณะนี้ยังมองไม่เห็น  การปล่อยรู้ก็จะยังเกิดขึ้นไม่ได้

คล้ายๆ ทางโลก  ถ้าเราจะแก้ปัญหา  ก็ต้องใ้ห้มีปัญหาขึ้นมาเสียก่อน
การระวังไว้ก่อนว่าจะไปติดรู้  ก็ดีไม่ใช่ไม่ดี  แต่ถ้าระวังมากไปก็จะกลายเป็น
การปรุงแต่งสภาวะขึ้นมาได้  โดยอาจไปปรุงว่า เมื่อรู้แล้วต้องทิ้ง เป็นต้น
เมื่อปรุงแต่งขึ้นมาแล้ว  ไม่เห็นการปรุงแต่ง  ก็จะกลายเป็นการตกจากปัจจุบันไปอีก

อีกประการหนึ่ง รู้แล้วทิ้งหรือรู้แล้วไม่ิ้ทิ้ง  จิตเค้าทำเอง  เราำแค่ตามดูไป
ระหว่างทางที่ดำเนิน  จะิรู้แล้วทิ้งบ้าง ไม่ิทิ้งบ้าง  การจะเหลือแต่ "รู้" จริง
รู้ด้วยใจอุเบกขาจริงๆ  ก็ต้องเดินไปเกือบจะสุดทางเสียก่อน  ระหว่างทาง
มีแต่รู้ สลับไม่รู้  ทิ้งบ้าง ยึดบ้าง ปล่อยได้เป็นทีๆ  ทั้งนั้นแหละค่ะ
จึงได้กล่าวไปว่า  ไม่ควรไปกังวลในตอนนี้  เพราะยังไม่ถึงเวลาค่ะ

ถ้าที่กล่าวมาไม่ตรงกับสภาวะภายในอย่างไร  ก็ขออภัยด้วยค่ะ
เนื่องจากการตอบก็อาศัยการอนุมานเอาจากสิ่งที่เขียน  จึงอาจคลาดเคลื่อนได้ค่ะ

ส่วนการมีสติอยู่กับลม  ถ้าถูกกับจริตนิสัยก็ทำไปค่ะ  แต่ให้สังเกตว่า
เวลารู้ลมอยู่  กับเวลาไปรู้อย่างอื่น (รู้กายรู้ใจอื่นๆ ที่ไม่ใช่ลม)  มันไม่ใช่ขณะเดียวกัน
เพราะจิตรับรู้ทีละหนึ่ง  ถ้ารู้ลมก็รู้ลม  ถ้าไปรู้อย่างอื่นก็รู้ลมไม่ได้  แต่การที่เรารู้สึกว่า
รู้ได้พร้อมๆ กัน  อาจเป็นได้ว่าสติยังไม่ละเอืียดพอ จึงยังแยกกันไม่ออก  แต่เมื่อกล่าว
เช่นนี้  ก็ไม่ต้องไปพยายามแยกนะคะ   แค่ดูไปเรื่อยๆ เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น  อีกอย่างการเข้าไป
เห็นได้ว่าจิตรับรู้ทีละหนึ่งนั้น  บางทีก็เกิดแค่แว่บสั้นๆ เท่านั้นค่ะ  ไม่ได้เกิดให้เห็นตลอดเวลา
     

ตอบโดย: อัญญาสิ 20 ส.ค. 52 - 11:21


  สาธุกับทุกท่านครับ

ขอเข้ามาเพิ่มเติมครับ จากคคห 649 และ 650
http://larndham.net/index.php?showtopic=34753&st=649

หลังจากทบทวนดู ผมคิดว่าที่เกิดกับคุณVicha ใน คคห 649 กับที่เกิดกับผมใน คคห 650 น่าจะเป็นคนละแบบกัน

ของคุณวิชา น่าจะมาจากการประคองจิตผู้รู้ไว้แบบไม่ยอมปล่อย(เดาๆเอานะครับ)

ของผมน่าจะเป็นการปล่อยไปตามกิเลส จนไม่ยอมมองว่า เบื้องหลังของการที่ใจมองกายทำงานไปเรื่อยๆแบบนั้น มันมีกิเลสบงการอยู่

ตอนที่ผมเห็นร่างกายทำงานไปเองเรื่อยๆ ผมอยู่ที่สนามบิน รอรับเพื่อนมาจากต่างประเทศ
ระหว่างที่นั่งรอ ใจคงแยกออกมา แล้วดูกายทำงานไปเรื่อยๆ
ดูมันมองไปทางโน้นที มองไปทางนี้ที เหลียวไปเหลียวมาได้เอง
หลักๆก็แอบมองสาวๆนั่นแหล่ะ แห แะหะ แหะ
จนเพื่อนเช็กเอาท์ออกมา ก็เลิกสนใจ มัวแต่ไปจัดการเรื่องเพื่อน

หลายวันต่อมา พอนึกย้อนกลับไป ก็รู้สึกแปลกๆ
คือ กายใจมันนิ่งผิดปกติ
ก็เฉลียวใจขึ้นมา ว่า "ราคะ" หายไปไหน ทำไมเรามองไม่เห็น
ทำไมเรามองไม่เห็นสิ่งที่บังคับกายเราให้แอบมองสาว

หลังจากนั้นอีกหลายวัน ฟังเทศน์พระอาจารย์ท่านนึง มีคำคำนึงของท่าน พุ่งเข้ามาในใจ

"ให้รู้ใจที่สั่งกาย"

หลังจากนั้นอีกหลายวัน พอเกิดอาการแบบนั้นอีก(กายมันแอบมองสาว อีกแล้ว )
ใจมันนึกถึง "ให้รู้ใจที่สั่งกาย" แล้วมันค่อยสังเกตุเห็นว่า
มีแวบนึง ที่เผลออยู่

ตอนนั้นยังไม่เห็นนะครับ ว่ามีอะไรอย่างนึง บงการกายอยู่เบื้องหลัง
มันแค่รู้ว่า มีอะไรบางอย่าง ที่ผมรู้ได้ไม่ทัน
คือ สติมันยังไม่ไวพอ
แล้วก็ใจมันแนบไปกับการดูกาย ไม่ยอมมองดูอย่างอื่น
เพราะนึกว่าตรงนั้นมันถูกต้องแล้ว

เห็นได้แบบนั้นได้บ่อยเข้าๆ
เห็นว่ามีช่องว่าง ที่เผลออยู่แวบนึง
ใจก็ค่อยๆคลายออก
แล้วก็หลุดจากตรงนั้นมาได้ในที่สุด

คือ เมื่อเล่าแล้ว ก็เลยคิดว่าคงต้องเล่าจนครบ
เผื่อว่าใครไปติดสภาวะแบบนี้
คงจะเป็นประโยชน์ได้บ้าง

ทั้งหมดนี่ เล่าตามที่เกิดขึ้นจริงๆ
ส่วนอะไรเป็นเหตุเป็นผลของอะไร
คงต้องยกทิ้งไปแล้วกัน

เจริญในธรรมครับ

 

มาถึงตรงนี้ เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ
ผมไม่เห็นชัด ว่าใครติดอะไร อย่างไร
เห็นแค่ว่าเป็นทางผ่านที่ต้องค่อยๆสะสมกันไป
และการคุยกันตามกาลก็เป็นมงคลยิ่ง

สาธุอนุโมทนากับทุกท่านครับ

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 20 ส.ค. 52 - 11:57


อ้างอิง (ณวบุตร @ 19 สิ.ค. 52 - 14:28)
เริ่มจากไม่รู้ไม่อะไร
หลงคิดจนปวดใจไม่เว้นว่าง
ก่อทุกข์ก่อตัณหามาตลอดทาง
โศกเศร้าครวญครางไม่เว้นวาย

ครั้นมาได้สติระลึกรู้
มีธัมมะของพระสัพพัญญูเป็นที่หมาย
เพียรเจริญสติ สมาธิ รู้ใจกาย
เริ่มมองเห็นธาตุทั้งหลายมิใช่ตัวตน

อานาปานสติ และสติปัฏฐานสี่
นี่คือหนทางแห่งการฝึกฝน
มรรคมีองค์แปดคือกรอบแห่งกัลยาณชน
กัลยาณธรรมทุกคนคือผู้ร่วมทางฯ

 
(ณวบุตร @ 19 สิ.ค. 52 - 14:28)

อนุโมทนาสาธุ

เป็นกลอนธรรม ที่ไพเราะ ลึกซึ้ง ได้ความหมายมากๆ เลยครับ
 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 20 ส.ค. 52 - 14:19


อ้างอิง (Vicha @ 20 สิ.ค. 52 - 10:10)
  ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจเข้า[/color]

มีอยู่บ่ายๆ วันหนึ่ง ผมจะเอนตัวลงนอน กำลังเคลื่อนที่จะเอาหัวถึงหมอน ก็เกิดการดับขาดสิ้นไปเลย แล้วเมื่อเกิดก็เกิดขึ้นทันที อยู่ช่วงที่หัวกำลังจะถึงหมอน



"เห็นดับ" ของพี่วิชาที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้นั้น เห็นอะไรดับเหรอ ครับ ?
แล้วอะไรคือสิ่ง ที่เข้าไปเห็นดับ ?ครับ

ในระหว่างที่เห็นดับนั้น สติหลงลืมลมหายใจไปหรือไม่อย่างไร ครับ


เราย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับ หายใจเข้า
เราย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจาณาเห็นโดยความดับ หายใจออก.

ผมเข้าใจพระสูตรนี้ว่า ลมหายใจเข้าและออกนั้น จะถูกระลึกรู้ควบคู่ไปตลอด
ไม่ว่าจะพิจารณาธรรมใดๆก็ตาม ครับ



 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 20 ส.ค. 52 - 14:36


สวัสดีครับ คุณอัญญาสิ

ผมเองก็เข้าใจว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใดๆก็ตามนั้น
ที่ในบางครั้งที่ยังคงหลงยึดถือว่าเป็นตัวตนปล่อยรู้
ว่าเป็นตัวตนอัญญาสิ ในบางครา นั้น สักแต่ว่าเช่นนั้นเอง ครับ

"ความขัดเคือง" จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ
สติเผลอ ปล่อยให้วิญญาณ สร้างรูปนาม ขึ้นมาได้

แต่ถ้าเมื่อใด สติ ไม่เผลอปล่อยให้วิญญาณ สร้างรูปนาม ขึ้นมาได้
"ความขัดเคืองใดๆ ก็จะยังคงไม่ปรากฏเกิดขึ้น ครับ

ความกังวล ,ความกลัว จะเกิดขึ้น ก็ต่อเมื่อเรายังไม่รู้ เรายังไม่เข้าใจ
ยังปล่อยวางลงไม่ได้ ยังสละทิ้งลงไม่ได้ ยังถือเอาไว้ ยังไม่แน่ใจ ยังไม่มั่นใจ

"ตัวจิตผู้รู้" คือจิตอะไรหรือครับ ?
คือจิตที่เข้ารู้จิต คือตัวผู้รู้ตัวรู้จิต นั้นอีกทีใช่หรือไม่ครับ?

สำหรับผมเองนั้น ไม่มีตัวอะไรๆ ทั้งสิ้นเลย ครับ
ผมเข้าใจจิตอยู่อย่างเดียวคือ ธรรมชาติที่รู้รูป รู้เวทนา รู้สัญญา รู้สังขาร นั้นแหละ
คือสิ่งที่เรียกว่าจิตหรือวิญญาณ หรือตัวผู้รู้(วิชานาติ)หรือมโน
สี่ความหมายนี้เท่านั้น ที่ผมเข้าใจว่ามันคือจิต

และผมก้เข้าใจอีกว่า สิ่งที่เรียกว่าจิตนี้ มีความไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเสื่อม
มีความดับเป็นธรรมดา ไม่สมควรยึดมั่นถือมั่นว่าเป้นเรา ว่าของเรา ว่าตัวว่าตนของเราแต่อย่างใดเลย ครับ

ทำไมถึงต้องพยายาม ที่จะต้องมีจิตผู้รู้ จิตผู้ดู ด้วยครับ ?
ทำไมถึงจะต้องเพียรรักษา หรือเข้าหา จิตผู้รู้ จิตผู้ดู ด้วยครับ?

ก็ในเมื่อจิตผู้รู้ จิตผู้ดู นั้นก็ไม่เที่ยงเหมือนกันกับ
สิ่งที่ถูกจิตผู้รู้เข้าไปรู้
เหมือนกับสิ่งที่ถูกผู้ดูเข้าไปดู นั้นเองมิใช่หรือ ครับ

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 20 ส.ค. 52 - 15:12


สวัสดีครับคุณปล่อยรู้

จากคำถาม
  
"เห็นดับ" ของพี่วิชาที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้นั้น เห็นอะไรดับเหรอ ครับ ?

ตอบ. ไม่ได้ "เห็นดับ"  เพราะในขณะที่ "ดับ" คงไม่มีอะไรไปเห็น เพราะ "นาม" นั้นดับ ไปพร้อมกัน
       หรือกล่าวได้ว่า ความรู้สึกที่รู้อยู่ทั้งหมดนั้น "ดับ" ไปอย่างสิ้นเชิง ขณะที่สติสัมปชัญญะกำลังดำเนินมาอย่างชัดเจนสมบูรณ์อยู่แล้ว ดับ ไป เหมือนหมดสิ้นไปในทันที่ทันใดชั่วขณะหนึ่ง  แล้วมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์เกิดต่อจากนั้นในทันทีทันใด.

   อ้อ... สภาวะนี้ไม่ใช่เพิ่งเกิดนะครับ เกิดมานานแล้วทั้งแต่ในอดีด  2526-27  หลังจากหายหลงวิปัสสนูกิเลสไปแล้ว  แต่ไม่ใช่เกิดขึ้นได้ง่ายๆ นะครับ และไม่ใช่ว่าเป็นถี่ๆ หรือเยอะๆ เหมือนการมีสติเท่าทันเป็นปัจจุบันแล้ววูบ หรือสติเท่าทันกับกิเลสที่ปรากฏอยู่ แล้วแฟบลงวูบลง หายไปทันที่ทันใด มีสติสัมปชัญญะเข้าสู่ความสงบเบาขึ้นนะครับ.

    อ้อ... ในสมัยปี 2526-27  เมื่อนั่งกำหนดภาวนาสติเป็นปัจจุบันค่อยละเอียดขึ้นๆ แล้วสงบเหลือสติกับรูปนามที่แผ่วเบา(ความรู้สึกที่บางเบากับสติสัมปชัญญะที่มีอยู่) แล้วก็ดับไป หมดสิ้นไปไม่สืบต่อไปทันทีทันใด เมื่อปรากฏก็ปรากฏเกิดมีสติชัดเจนทันที เป็นอย่างนี้อยู่น่าจะ 2-3 ครั้ง (จำไม่ชัดเพราะเริ่มจะไม่สนใจ เพราะพระอาจารย์บอกว่า น่าจะเป็นผลของสมาธิ)  เป็นสภาวะการดับ ที่หลังจากที่เพียรพยายามโดยเอาชีวิตเข้าแลกในการปฏิบัติ จนเกิดสภาวะการ "ดับ" ถึงสองครั้งก่อนหน้านั้น พร้อมทั้งมีสมาธิระดับฌาน ในปี 2526-27  จึงคิดว่าน่าจะเป็นผลของสมาธิ ตามที่พระอาจารย์บอก.

    หลังจากนั้นสภาวะการดับอย่างนั้นก็ไม่ปรากฏชึ้นอีก แต่เมื่อกำหนดภาวนามีสติเป็นปัจจุบันค่อยละเอียดขึ้นจนแผ่วเบาสงบ เหลือสติกับรูปนามที่แผ่วเบา ปรากฏได้บ่อย และ  การมีสติเท่าทันเป็นปัจจุบันแล้ววูบ หรือเป็นปัจจุบันทันกับกิเลสที่ปรากฏอยู่แล้ว แฟบลงวูบลง หายไปทันที่ทันใด มีสติสัมปชัญญะเข้าสู่ความสงบเบาขึ้น ก็เป็นได้บ่อย.

   อือ... ประสบการณ์สภาวะธรรมที่เกิดจากการกำหนดภาวนาที่เพียรปฏิบัติอย่างเนื่องๆ  อย่างไม่ทอดธุระ ยังมีอีกหลายอย่างหลังจากนั้น ถ้ายิ่งเขียนก็ยิ่งเยอะ น่าจะพอเพียงสังเขปแค่นี้ก่อนนะครับ ตามประเด็นที่สนทนากัน.
 

ตอบโดย: Vicha 20 ส.ค. 52 - 16:17


เรียนคุณปล่อยรู้

การมีจิตผู้รู้  ไม่ได้มีกันทุกๆ คน  บางท่านก็มี บางท่านก็ไม่มี  คิดว่าใครทำสมาธิมาก
น่าจะมีโอกาสมีได้สูงกว่า  แต่จะมีหรือไม่มี ก็ภาวนาตามรู้ตามดูได้เหมืือนกัน
จะต่างตรงความรู้สึกนิดหน่อย  คนที่มีจิตผู้รู้จะรู้สึกว่า มีผู้้รู้ ผู้ดู แยกออกมา
แต่จิตผู้รู้นี้ก็เหมือนจิตทั่วๆ ไป  มีเกิดดับ  บางทีก็เป็นผู้รู้ บางทีก็เป็นผู้หลง
จิตผู้รู้ก็ไม่ใช่ของที่เราจะไปยึดเอาได้  สุดท้ายเราก็ต้องปล่อยมันไปค่ะ

ส่วนผู้ที่ไม่มีจิตผู้รู้ก็จะรู้สึกว่า ดูกายดูใจไปตรงๆ แต่ไม่มีผู้รู้แยกต่างหาก
ก็คงเป็นแบบอย่างเฉพาะแต่ละคนไปค่ะ  ไม่ได้หมายความว่า ต้องมีทุกคน
หรือถ้าไม่มีต้องไปทำให้มี   ก็ไม่มีก็ดูไปเรื่อยๆ  ก็ไม่เป็นปัญหาอะไร

การพยายามมีจิตผู้รู้  อืม อันนี้ไม่รู้ต้องพยายามหรือเปล่า คือ ของตัวเอง
ตอนสติตัวจริงเกิด ก็มีจิตผู้รู้แยกออกมาเองเลยค่ะ  ไม่ได้ไปทำมันขึ้นมา
มันเกิดขึ้นมาเอง  ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า ของท่านอื่นๆ เป็นอย่างไร

การมีจิตผู้รู้  ข้อดีก็คือ การตามรู้อาจจะง่ายกว่า  เพราะมีกำลังสมาธิหนุนอยู่
แต่ก็ต้องปรับกำลังของสมาธิ  ด้วยการทำสมถะเป็นระยะๆ  เพราะว่า
กำลังสมาธิของจิตผู้รู้ก็ย่อมถดถอยเป็นธรรมดา  แต่การมีจิตผู้้รู้นั้น สุดท้ายก็
ต้องปล่อยวางผู้รู้อยู่ดี   ส่วนผู้ที่ไม่มี  ระหว่างทางก็อาจจะเหนื่อยหน่อย
เพราะเป็นการตามดูล้วนๆ  ไม่มีกำลังสมาธิมาหนุน  แต่ก็ไม่ต้องมาปล่อยวางผู้รู้อีกที
ทั้งสองแนวทางก็ถูกทั้งคู่  ขึ้นกับว่าทำมาอย่างไร สะสมมาอย่างไรมากกว่าค่ะ
 

ตอบโดย: อัญญาสิ 21 ส.ค. 52 - 07:52


จิตผู้รู้คืออะไรหรือครับ? เป็นนิยามของสิ่งใดครับ

ปัญญา ? เวทนา ? สติ? ญาณ? เจตสิก?

หรือว่า ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ (ความสอดส่องใคร่ครวญในธรรม)

แบบว่าปฏิบัติแบบมีสมาธินำและเป็นบาทแต่ยังไม่เคยรู้สึกว่ามีจิตอันอื่นนอกจากจิตปัจจุบันน่ะครับ ก็เลยสงสัย  

 

ตอบโดย: วสวัตตี 21 ส.ค. 52 - 09:37


อนุโมทนาสาธุครับ พี่วิชา

ประสบการณ์สภาวะธรรมที่เกิดจากการกำหนดภาวนาที่เพียรปฏิบัติอย่างเนื่องๆ
อย่างไม่ทอดธุระ ถ้ายิ่งเขียนก็ยิ่งเยอะ.

ยิ่งเยอะในส่วนที่เป็นผลอันเกิดขึ้นจากการภาวนาปฏิบัติ
ผมกลับมองว่า ยิ่งเยอะยิ่งเป็นสิ่งที่ดี ครับ

เพราะย่อมทำให้ผู้ที่เข้ามาสดับรับฟัง
เกิดการได้ฟังในสิ่งที่ยังไม่เคยได้ฟัง
ย่อมทำให้เกิดการโยนิโส เกิดการใคร่ครวญไตร่ตรอง
ทำให้ได้รู้ถึงสิ่งที่ยังไม่เคยรู้มาก่อน
ทำให้สิ่งที่เคยได้รู้มาก่อนแล้ว เกิดความมั่นใจยิ่งขึ้นไป

อวิชาชาดับได้ด้วยวิชา
วิชาย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยการสดับตรับฟังลงมือปฏิบัติ


ผมเข้าใจว่า...
สิ่งใดสิ่งหนึ่งเมื่อมีการเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมมีการดับไปเป็นธรรมดา
ดังที่พระพุทธเจ้าได้ทรงกล่าวไว้ในหลายๆที่

ที่พี่วิชาอธิบายว่า "ไม่ได้เห็นดับ"
เพราะในขณะที่ดับไม่มีอะไรไปเห็น
เพราะ"นาม"นั้นดับไปพร้อมกัน
เพราะความรู้สึกที่รู้อยู่ทั้งหมดนั้น "ดับ"ไปอย่างสิ้นเชิง
ในขณะที่สิตสัมปัชัญญะกำลังดำเนินมาอย่างชัดเจนสมบูรณ์อยู่แล้ว ดับไป
หมดสิ้นไปในทันทีทันใด ในชั่วขณะหนึ่ง
และก็จะมีสิตสัมปชัญญะ(ตัวใหม่)สมบูรณ์เกิดต่อจากนั้นทันทีทันใด.

ผมเข้าใจว่า พี่กำลังอธิบายว่า
สติสัมปชัญญะที่เข้าไปกำหนดรู้รูปนามในขณะใดขณะหนึ่งนั้น
ปรากฏอาการดับลงไปพร้อมกัน ทั้งรูปนามที่ถูกกำหนดและตัวสติสัมปชัญญะที่เข้าไปกำหนดรูปนามนั้น...ผมเข้าใจอย่างนี้ถูกต้องใช่ไหม ครับ

ถ้าใช่ ผมจึงใคร่ถามพี่ว่า แล้วอาการทั้งหมดที่ปรากฏเกิดขึ้นนั้น
พี่ทราบได้อย่างไร สิ่งใดเป็นสิ่งที่ทราบอาการทั้งหมดที่ปรากฏเกิดนั้น ครับ
(หรือว่าดับไปก่อนแล้ว จึงค่อยมารู้ทีหลัง)

และที่พี่วิชาบอกว่า
... "ไม่ใช่เกิดขึ้นได้ง่ายๆ นะครับ และไม่ใช่ว่าเป็นถี่ๆ หรือเยอะๆ
เหมือนการมีสติเท่าทันเป็นปัจจุบันแล้ววูบ
หรือสติเท่าทันกับกิเลสที่ปรากฏอยู่ แล้วแฟบลงวูบลง หายไปทันที่ทันใด
มีสติสัมปชัญญะเข้าสู่ความสงบเบาขึ้นนะครับ"....

ตรงนี้น่าสนใจ เป็นอย่างยิ่งครับ
เพราะผมกำลังเข้าใจว่า พี่วิชากำลังจะบอกว่า

1/มีการที่สติเกิด แล้วกิเลสดับวูบหายไป และคงเหลือสติสัมปชัญญะอยู่เพียวๆ
กับ
2/มีการที่ทั้งตัวสติสัมปชัญญะและตัวกิเลส ดับวูบหายไปพร้อมที่เดียวกัน

โดยอาการอย่างที่2.นี้นั้น ไม่ได้ปรากฎเกิดขึ้นง่ายๆ

ผมจึงใคร่ปรารถนารบกวนให้พี่วิชาช่วยอธิบายอาการอย่างที่2.นี้
เพิมเติมอีกสักหน่อย น่ะ ครับ

เพราะผมกำลังหาเหตุผลว่า
อะไรคือสิ่งที่รับรู้ถึงอาการที่รูปนามและสติสัมปชัญญะดับวูบลงไปพร้อมกัน
และพี่วิชารู้ถึงอาการดับวูบลงพร้อมกันของสติและรูปนามนั้น ได้ด้วยธรรมชาติใดกัน ครับ








 


 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 21 ส.ค. 52 - 10:16


ในเรื่องของจิตผู้รู้นั้นสำหรับผมแล้ว มีเกิดขึ้นเป็นส่วนน้อยครับ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการตามรู้ไปเฉยๆ ครับ ผมเลยเพลียไม่ค่อยมีกำลังของสมาธิเท่าที่ควร ก็พยายามอยู่ครับ แต่รู้สึกว่าจะล้มเหลวเป็นท่านอนเสียอยู่เรื่อยเลย 5555

จิตผู้รู้นั้น ผมจะอธิบายยังไงดี เรียกว่าเป็นจิตอีกจิตหนึ่งคงได้มั้งครับ คือเป็นจิตที่สามารถรู้ได้ว่าขณะนี้มีอะไรเกิดขึ้น เช่น รู้ว่ากายเคลื่อนไหวไป ตาก็เห็นรูปไป หูก็ได้ยินเสียงไป กายก็รับสัมผัสไป ใจคิดอะไรขึ้นมาก็รู้ เปรียบเสมือนว่าเป็นอีกคนหนึ่งที่เฝ้าดูอยู่เงียบๆ ที่รู้ความเป็นไปของเราทุกอย่าง แม้แต่ความคิดในหัวของเรา ถูกผิดอย่างไรก็รบกวนด้วยนะครับ

ตอนนี้ เมื่อจิตผู้รู้เกิดขึ้นผมจะพิจารณาอะไรได้ดี จะดูจะรู้อะไรก็ชัดเจน แต่จะเหนื่อยเป็นพิเศษ คือจะรู้สึกเพลียอยากพักผ่อน อยากไปหาที่สงบๆ แต่ช่วงไหนที่ไม่เกิดจิตผู้รู้ ผมก็จะรู้สึกว่ามันโปร่งโล่ง เหมือนร่างกายมันกลวงๆ ยังไงไม่รู้ แต่มันก็รู้สึกดีครับ ไม่คอยมีกิเลสเข้ามารบกวนสักเท่าไหร่ ผมเลยไม่ค่อยสนใจในเรืองของจิตผู้รู้สักเท่าไร สนใจอยู่แต่การรู้กายรู้ใจว่าแต่ละขณะเป็นอย่างไรบ้าง โทษะ โลภะ นี่เห็นง่าย แต่โมหะนี่สำหรับยังค่อนข้างเห็นยากอยู่ครับ คือจะเห็นตามหลังโทษะ โลภะ ครับ แต่ตามที่รู้มาตัวโมหะนี่น่าจะเกิดก่อนกิเลสตัวอื่นๆ เรียกว่าถ้ารู้ได้เร็วขึ้นกว่านี้อีก ก็คงจะรู้ทันโมหะ และเมื่อรู้ทันโมหะได้ กิเลสตัณหาที่เหลือก็น่าจะไม่เท่าไหร่แล้ว (อิอิอิอิ เขาเรียกว่าให้กำลังใจตัวเองครับ)

ไว้มีอะไรเพิ่มเติมจะเข้ามารายงานอีกครับ ช่วงนี้รู้สึกว่าไม่ค่อยมีความอยากรู้เรื่องอะไรเป็นพิเศษสักเท่าไหร่ แม้แต่อ่านหนังสือธรรมะก็ไม่ค่อยอยากอ่าน ไม่เหมือนเมื่อก่อน แต่ซีดีหลวงพ่อปราโมทย์นี่ รู้สึกว่าจะฟังได้นะครับ ไม่เบื่อ (จริงๆ แล้วเพิ่งจะโหลดมาฟังเมื่อสามสี่วันมานี่เอง)

อ้อ แล้วก็กราบขอบพระคุณ คุณVicha (ถ้าจำไม่ผิด) ที่แนะนำผมให้ไปศึกษาเรื่องปรมัตถธรรมครับ ผมเพิ่งจะได้อ่านหนังสือ ปรมัตถสภาวธรรม ของท่านอาจารย์พุทธทาสตอนที่ได้ไปสวนโมกข์เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ผมเข้าใจอะไรได้แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น เบาสบายมากขึ้น แม้จะยังอ่านไม่จบทั้งเล่มในตอนนี้ก็ตาม (ผมซื้อมาอ่านที่บ้านด้วย 1เล่ม) และนั่นเองคือที่มาของลายเซ็นที่เห็นอยู่ในปจจุบัน

ด้วยความสัจจ์ที่ข้าพเจ้าได้ศึกษาได้เข้าใจในปรมัตถสภาวธรรมแม้บางส่วนนั้น ขอทุกท่านจงมีความสุข และได้เข้าถึงซึ่งความสิ้นไปแห่งทุกข์ทั้งปวงเทอญ

ตอบโดย: ณวบุตร 21 ส.ค. 52 - 10:19


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=1571&Z=1734

[๑๐๐] เธอครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง
ทำปัญญาให้ถอยกำลังนี้ได้แล้ว จึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้า
ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เข้าทุติยฌาน มีความ
ผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น
เพราะสงบวิตกและวิจาร
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ
มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌานที่พระอริยะเรียกเธอ
ได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่ เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์
เพราะอุเบกขาอยู่ ดูกรพราหมณ์ ในพวกภิกษุที่ยังเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุ
พระอรหัตมรรค ยังปรารถนาธรรมที่เกษมจากโยคะอย่างหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
อยู่นั้น เรามีคำพร่ำสอนเห็นปานฉะนี้ ส่วนสำหรับภิกษุพวกที่เป็นอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุ
ประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะผู้ชอบ
นั้น ธรรมเหล่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่สบาย ในปัจจุบันและเพื่อสติ
สัมปชัญญะ ฯ


จิตที่มาถึงตรงที่ ธรรมเอกผุดขึ้น ครูบาอาจารย์วัดป่าเรียกว่า จิตผู้รู้

ใจจะเป็นผู้รู้ผู้ดูเด่นดวงขึ้นมา
เห็นสิ่งต่างๆที่ผ่านมา ไหลผ่านมาผ่านไป
ใจเป็นผู้รู้ผู้ดูตั้งมั่นคงตัวอยู่
ก็อาศัยตรงนั้น ตามรู้กาย/ใจ ไปเรื่อยๆ
จนหมดกำลังจากฌาน อาการธรรมเอกที่ผุดตั้งขึ้นมาก็สลายไป
ก็ทำสมาธิให้ได้ระดับฌาน ให้จิตผู้รู้มีกำลังขึ้นมาใหม่
แล้วก็ตามรู้ตามดู กาย/ใจ
วนไปเรื่อยๆแบบนี้

สำหรับผู้ที่ทำฌานไม่ได้ การเจริญวิปัสสนา ก็ต้องอาศัยจิตผู้รู้เหมือนกัน
อาศัยจิตจำสภาวะได้ เกิดสติขึ้นมาแวบนึง
ใจที่มีสติและประกอบด้วยสัมมาสมาธิแวบนั้น
ก็เป็นจิตผู้รู้ แต่มันแวบเดียว
แต่แวบนั้นก็เพียงพอที่จะทำให้เกิดปัญญาได้เหมือนกัน

เคยฟังมาประมาณนี้ครับ

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 21 ส.ค. 52 - 10:24


อ้างอิง
ตอนนี้ เมื่อจิตผู้รู้เกิดขึ้นผมจะพิจารณาอะไรได้ดี จะดูจะรู้อะไรก็ชัดเจน แต่จะเหนื่อยเป็นพิเศษ คือจะรู้สึกเพลียอยากพักผ่อน อยากไปหาที่สงบๆ แต่ช่วงไหนที่ไม่เกิดจิตผู้รู้ ผมก็จะรู้สึกว่ามันโปร่งโล่ง เหมือนร่างกายมันกลวงๆ ยังไงไม่รู้ แต่มันก็รู้สึกดีครับ ไม่คอยมีกิเลสเข้ามารบกวนสักเท่าไหร่
จากคุณ : ณวบุตร [ ตอบ: 21 ส.ค. 52 10:19 ]

ถ้าว่ากันตามนิยามที่ผมยกมาคราวก่อน

อ้างอิง
ผมก็จะรู้สึกว่ามันโปร่งโล่ง เหมือนร่างกายมันกลวงๆ ยังไงไม่รู้ แต่มันก็รู้สึกดีครับ ไม่คอยมีกิเลสเข้ามารบกวนสักเท่าไหร่

ตรงนี้น่าจะเป็นจิตผู้รู้ครับ จะเห็นทันทีเลย ว่ากายไม่ใช่เรา กิเลสจะระงับไปชั่วคราว เพราะนิวรณ์เข้ามาแทรกไม่ได้

อ้างอิง
เมื่อจิตผู้รู้เกิดขึ้นผมจะพิจารณาอะไรได้ดี จะดูจะรู้อะไรก็ชัดเจน แต่จะเหนื่อยเป็นพิเศษ คือจะรู้สึกเพลียอยากพักผ่อน อยากไปหาที่สงบๆ

ตรงนี้จิตผู้รู้ที่ตั้งมั่นเด่นดวงน่าจะสลายตัวไปแล้ว  เหลือแต่จิตผู้รู้ที่เกิดเป็นขณะๆ ตามที่สติระลึกขึ้นมาเองได้

แล้วพอเจริญสติ มากเข้าๆ ใจก็เริ่มเหนื่อย หมดกำลัง

ถึงตรงที่เหนื่อยๆ ให้ลองทำตามรูปแบบครับ
การฝืนเจริญสติในขณะที่จิตไม่มีกำลัง ปัญญาจะเกิดได้ยาก

เจริญในธรรมครับ

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 21 ส.ค. 52 - 10:39


สวัสดีครับ คุณอัญญาสิ

อนุโมทนาสาธุครับ ที่คุณอัญญาสิกล่าวว่า

"จิตผู้รู้ก็ไม่ใช่ของที่เราจะไปยึดเอาได้  สุดท้ายเราก็ต้องปล่อยมันไปค่ะ"


และผมเข้าว่าใจ สิ่งที่เรีกว่า"จิตผู้รู้"นี้นั้น
ไม่อาจเกิดขึ้นมาลอยๆได้ ครับ
คงต้องอาศัยเหตุและปัจจัยในการเกิดขึ้นมีขึ้นมา ครับ

มิเช่นนั้นจะไปการคัดค้านปฏิเสธกฏแห่งการเกิดดับของธรรมชาติ อย่างรุนแรงเลย ครับ

สังขตธรรมใดๆทั้งหลาย
ย่อมอาศัยเหตุปัจจัย ในการเกิดปรากฏอุบัติมีขึ้นมา

"จิตผู้รู้" นี้นั้น ผมเข้าใจว่า ก็หลีกหนีไม่พ้นกฏข้อนี้ไปได้ ครับ

เพราะคุณอัญญาสิเอง
ก็อธิบายว่า แม้จิตผู้รู้นี้นั้น ก็ยังมีการเกิดดับ
เมื่อมีการเกิดดับ ก็ย่อมอาศัยเหตุและปัจจัย ในการเกิดดับอยู่นั้นเอง ครับ

และถ้าเราจะมองให้ลึก มองให้เลยขั้นของจิตผู้รู้นี้ขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งเล่า ครับ
เราจะพบเจอกับอะไร

เราก็จะพบเจอกับสังขาร นั่นเอง มิใช่หรือครับ
เพราะสังขารสร้าง"ตัวจิตผู้รู้"นี้ขึ้นมา
สังขารไม่เที่ยง สังขารมีความเสื่อม,มีความไม่คงที่ มีความดับไปเป็นธรรมดา

ปล่อยวางจิตผู้รู้ ไม่สนใจจิตผุ้รู้ ไม่หมายมั่นจิตผู้รู้
ไม่สำคัญมั่นหมายจิตผู้รู้.... จะมีได้อย่างไร

เห็นว่าจิตผู้รู้นี้ ก็เป็นสักว่าสังขารอย่างนี้
มีความเกิด ดับ เป็นธรรมดา มีความเสื่อมเป็นธรรมดา
มีความแปรปรวนไปเป็นธรรม
ไม่ควรสำคัญมั่นหมายว่าจิตผู้รู้นี้คือเรา คือตัวตนของเรา

เมื่อไม่สำคัญมั่นหมายในจิตผู้รู้ ไม่จับถือในจิตผู้รู้
จิตผู้รู้นี้ ก็ไม่มีฐานที่ตั้ง ไม่มีฐานที่เกาะ ไม่มีฐานให้เกิด ไม่มีฐานให้อุบัติให้ปรากฏ

นามและรูป อันใด อันอาศัยจิตผู้รู้เป็นแดนเกิด
เมื่อจิตผู้รู้ไม่บังเกิด ไม่ปรากฏ นามและรูปอันนั้น
ก็ย่อมไม่มีฐานะที่จะบังเกิดและอุบัติขึ้นมาได้...นั่นเองครับ







 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 21 ส.ค. 52 - 10:52


เคยฟังมาว่า

"อย่าพึ่งรีบทำลายจิตผู้รู้ ไว้ไปทำลายตอนได้อนาคามีแล้ว"

ความเห็นส่วนตัว เราต้องอาศัยจิตผู้รู้ไปก่อน
แม้การเจริญสติที่เดินปัญญานำหน้าสมาธิ
ในที่สุดก็จะค่อยๆสร้างจิตผู้รู้ขึ้นมาเหมือนกัน

การมองให้เลยจิตผู้รู้ เป็นหน้าที่ของจิตเอง
เราแค่มีความเข้าใจไว้ก่อน
เพื่อว่าจะได้ไม่ยึดมั่นในจิตผู้รู้จนเกินไป

ความเห็นส่วนตัวนะครับ

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 21 ส.ค. 52 - 11:12


ความเห็นของผม......


จิตผู้รู้....

สำหรับผู้ปฏิบัติผู้มีกำลังทางสมถะหนุน......สามารถทำณานได้ดี

ทำณานได้สงบระงับไปถึงจุดหนึ่ง  จิตจะทิ้งร่างกายเข้าไปรวมเป็นดวงๆหนึ่ง

ภายในกาย   หรือเรียกว่าจิตผู้รู้ ตอนนั้นผู้ปฏิบัติจะเห็นหรือรู้สึกว่า....จิตนี้เป็นเรา

อยู่ส่วนหนึ่งต่างหาก  และมีบางอย่างเคลื่อนไปมาภายนอกจิต  แต่ไม่รู้ว่าคืออะไร


บางพวก....ทำณานได้บ้าง  แต่ไม่มากเหมือนพวกแรก  ทำณานได้ไม่ลึกพอที่จะเห็นจิตผู้รู้

เพียรทำเท่าไร  ณานก็ไม่มากไปกว่่านี้  บางคนจึงหยุดเหมือนพบทางตัน  แต่บางคนอาจจะ

เอากำลังณานมาพิจารณาร่างกาย  จะปล่อยวางการยึดร่างกาย  จนเข้าไปถึงจิตในที่สุด

พวกนี้อาจจะเห็นหรือรู้สึกว่า....จิตผู้รู้เป็นดวงๆเป็นคราวๆ  แต่ไม่เด่นชัดเหมือนพวกแรก

แต่พวกนี้...ก็ยังรู้ว่าตัวจิตผู้รู้นี้มีจริงและจับเอาได้


พวกหนึ่ง....ทำสมถะไม่ได้เหมือนสองพวกแรก  อาศัยกำลังสมาธิน้อยๆ

ปฏิบัติไป( เหมือนกับสายดูจิืต )   ดำเนินการปฏิบัติไประยะหนึ่ง

จนสมดุลของการปฏิบัติเป็นครั้งคราว  จิตจะรวมตัวเป็นคราวๆ

การรวมตัวนั้น จะเป็นการละจากกาย เข้าไปรวมเป็นจิต

จะเห็นและรู้สึกเป็นแว๊บๆ  พวกนี้จะรู้สึกว่ามีสภาวะบางอย่างเกิดขึ้น

แต่อาจจะไม่รู้สึกถึงตัวจิตผู้รู้



เมื่อเทียบกัน...ระหว่างสามแนว

แนวแรก....จะเข้าไปยึดจิตผู้รู้ เพื่อหลบทุกข์  จะอยู่กับผู้รู้ที่ให้ความสุข สงบ ระงับ

ไม่ออกมายึดหรือปรุงสภาวะภายนอกผู้รู้ที่ทำให้เกิดทุกข์


แนวที่สอง...รู้ว่ามีจิตผู้รู้ที่ทำให้เกิดความสุข แต่จะทำได้บ้างไม่ได้บ้าง

บางครั้งเมื่อจับกับผู้รู้ได้  จะรู้สึกว่าเราคือผู้รู้  แต่ถ้าจับไม่ได้ จะรู้สึกว่าเราคือการเปลี่ยนแปลง,เคลื่อนไหว

แนวที่สาม...รู้เพียงว่า เราคือผู้เปลี่ยนแปลงและเคลื่อนไหว


ดังนั้นความเห็นของผม......................

การทำสมถะ...มีความจำเป็นสำหรับการปฏิบัติ

ผู้ปฏิบัติควรทำบ้าง   เพื่อพักหาความสุขให้กับจิต

และเพื่อ  ให้เห็นสภาวะของการปฏิบัติให้เด่นชัดมากขึ้น

ขั้นตอนนี้....ผ่านการกำหนดต่างๆไปแล้ว

เรามีหน้าที่ทำเพียง...ทำทุกอย่างดังเดิม  ซึ่งตอนนั้นสิ่งใดไม่สมดุล

จิตเขาจะทำเอง  เช่นเข้าไปรวมหรือพักเป็นคราวๆเอง โดยไม่ได้กำหนดหรือทำ


เรื่องของจิตผู้รู้.....เป็นปรากฏการณ์เป็นชั้นๆ

ชั้นแรกจะรู้ว่าจิตผู้รู้ไม่เที่ยง  แต่จิตผู้รู้ยังอยู่  ยังต้องอาศัยจิตอยู่

ชั้นที่สองก็เช่นกัน  แต่จะละเอียดมากขึ้น

ชั้นที่สา่ม...ชั้นนี้ละเอียดมากแล้ว  จิตจะไม่ออกไปภายนอกผู้รู้

จะอยู่กับผู้รู้  จนทำลายผู้รู้จนหมดสิ้นไป





 

ตอบโดย: เปา 21 ส.ค. 52 - 11:53


   ขอบคุณครับ

ความคิดเห็นของผมทั้งหมด อาจไม่ถูกต้อง
เป็นแค่ฟังๆ จำๆมา แล้วเข้าใจไปแบบนั้น
ขออภัยครับ และโปรดใช้วิจารณญาณด้วย

ขอบคุณครับ ขอบคุณจริงๆนะ

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 21 ส.ค. 52 - 12:02


สวัสดีครับ คุณปล่อยรู้และทุกท่าน

  เมื่อคุณปล่อยรู้ถามในสิ่งที่เห็นว่า สามารถตอบให้ชัดเจนได้จึงเห็นควรตอบครับ

จากข้อความของคุณปล่อยรู้ส่วนนี้

อ้างอิง
อวิชาชาดับได้ด้วยวิชา
วิชาย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยการสดับตรับฟังลงมือปฏิบัติ


ผมเข้าใจว่า...
สิ่งใดสิ่งหนึ่งเมื่อมีการเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมมีการดับไปเป็นธรรมดา
ดังที่พระพุทธเจ้าได้ทรงกล่าวไว้ในหลายๆที่


 ข้อความข้างบนนั้นผมเข้าใจและรู้มาตอนที่ยังเรียนระดับมหาลัยแล้วครับ เพราะผมได้อ่านหนังสือธรรมในหอสมุดนั้นมากพอควร  แม้แต่หนังสืออานาปานสติ ของพระพุทธทาสที่แต่งไว้ ผมก็ได้อ่าน และแม้แต่หนังสือสมาธิแบบของโพธิรักษ์ ผมก็ได้อ่านพอสังเขป.

และจากคำถามของคุณปล่อยรู้ส่วนนี้

อ้างอิง
ที่พี่วิชาอธิบายว่า "ไม่ได้เห็นดับ"
เพราะในขณะที่ดับไม่มีอะไรไปเห็น
เพราะ"นาม"นั้นดับไปพร้อมกัน
เพราะความรู้สึกที่รู้อยู่ทั้งหมดนั้น "ดับ"ไปอย่างสิ้นเชิง
ในขณะที่สิตสัมปัชัญญะกำลังดำเนินมาอย่างชัดเจนสมบูรณ์อยู่แล้ว ดับไป
หมดสิ้นไปในทันทีทันใด ในชั่วขณะหนึ่ง
และก็จะมีสิตสัมปชัญญะ(ตัวใหม่)สมบูรณ์เกิดต่อจากนั้นทันทีทันใด.

ผมเข้าใจว่า พี่กำลังอธิบายว่า
สติสัมปชัญญะที่เข้าไปกำหนดรู้รูปนามในขณะใดขณะหนึ่งนั้น
ปรากฏอาการดับลงไปพร้อมกัน ทั้งรูปนามที่ถูกกำหนดและตัวสติสัมปชัญญะที่เข้าไปกำหนดรูปนามนั้น...ผมเข้าใจอย่างนี้ถูกต้องใช่ไหม ครับ


ตอบ ถูกครับ

จากข้อความตรงส่วนนี้ของคุณปล่อยรู้

อ้างอิง
ถ้าใช่ ผมจึงใคร่ถามพี่ว่า แล้วอาการทั้งหมดที่ปรากฏเกิดขึ้นนั้น
พี่ทราบได้อย่างไร สิ่งใดเป็นสิ่งที่ทราบอาการทั้งหมดที่ปรากฏเกิดนั้น ครับ
(หรือว่าดับไปก่อนแล้ว จึงค่อยมารู้ทีหลัง)


ตอบ
      ก่อนที่จะดับ จิต หรือสติสัมปชัญญะกับความรู้ที่แผ่วเบานั้นจะไหวนิดหนึ่งก่อน แล้วตัดสติสัมปชัญญะและความรู้สึกหมดสิ้นมืดไปขณะหนึ่งคล้ายหมดสติไปทันที่ทันใด
       ถ้าจะเปรียบเทียบก็คงคล้ายกับคนที่อยู่ดี แล้วมีอะไรทำให้หมดสติไปทันที่ เป็นการเปรียบเทียบนะครับไม่ใช่เป็นเช่นเดียวกันนะครับ.

       หลังจากนั้นจะผ่านไปหลายขณะหรือขณะเดียวไม่สามารถรับรู้ได้ แต่เมื่อรู้ขึ้นมาจิตก็จะไหวขึ้นพร้อมทั้งมีสติสัมปชัญญะชัดเจนเต็มบริบูณณ์อย่างทันที่ทันใด.
       แต่การเงียบไปไม่รับรู้ขณะเดียวหรือหลายขณะไม่สามารถรู้แต่ แต่รู้สึกได้เมื่อจิตไหวขึ้นพร้อมมีสติสัมปชัญญะเต็มบริบูรณ์แล้ว
       ถ้าเปรียบเทียบคล้ายกับคนที่ได้นอนหลับพักผ่อนเมื่อตื่นขึ้นมาก็พอรู้ได้ว่า ได้นอนเต็มอิ่มหรือไม่เต็มอิ่ม. เป็นการเปรียบเทียบนะครับ เพราะต่างกันที่สภาวะนั้นเมื่อจิตไหวพรึบสติสัมปชัญญะจัดแจ้งเต็มบริบูรณ์ในทันที.
  
      คำตอบข้างบนนั้นเป็นผล หลังจากเอาชีวิตหรือความพิการเข้าเสียงในการกำหนดภาวนา เกิดสภาวะการดับพร้อมทั้งระดับสมาธิที่สูงขึ้น ในสองครั้งแรกก่อนหน้านั้น.


จากข้อความของคุณปล่อยรู้
    
อ้างอิง
 และที่พี่วิชาบอกว่า
... "ไม่ใช่เกิดขึ้นได้ง่ายๆ นะครับ และไม่ใช่ว่าเป็นถี่ๆ หรือเยอะๆ
เหมือนการมีสติเท่าทันเป็นปัจจุบันแล้ววูบ
หรือสติเท่าทันกับกิเลสที่ปรากฏอยู่ แล้วแฟบลงวูบลง หายไปทันที่ทันใด
มีสติสัมปชัญญะเข้าสู่ความสงบเบาขึ้นนะครับ"....

ตรงนี้น่าสนใจ เป็นอย่างยิ่งครับ
เพราะผมกำลังเข้าใจว่า พี่วิชากำลังจะบอกว่า

1/มีการที่สติเกิด แล้วกิเลสดับวูบหายไป และคงเหลือสติสัมปชัญญะอยู่เพียวๆ
กับ
2/มีการที่ทั้งตัวสติสัมปชัญญะและตัวกิเลส ดับวูบหายไปพร้อมที่เดียวกัน

โดยอาการอย่างที่2.นี้นั้น ไม่ได้ปรากฎเกิดขึ้นง่ายๆ

ผมจึงใคร่ปรารถนารบกวนให้พี่วิชาช่วยอธิบายอาการอย่างที่2.นี้
เพิมเติมอีกสักหน่อย น่ะ ครับ


  ตอบ อธิบายให้ทราบนะครับ
         สภาวะนั้นต้องดำเนินไปตามลำดับครับ เรียงลำดับดังนี้.

          1. แยกรูปแยกนาม หรือ แยกผัสสะกับใจที่รู้ผัสสะ นั้น (อธิบายเฉพาะผัสสะ เพราะเห็นคุณปล่อยรู้ รับรู้เรื่องผัสสะดี)

          2. เห็นเหตุปัจจัยของรูปนาม  บางครั้ง รูป เกิดก่อน นาม เกิดที่หลัง บางครั้งนามเกิดก่อนรูป เกิดที่หลัง บางครั้ง นาม อย่างหนึ่งเกิดก่อน แล้วอีก นาม หนึ่งเกิดภายหลัง
         อธิบายเรื่องผัสสะเพื่อให้เข้าใจเหตุปัจจัยดังนี้  บางครั้งเมื่อมีการกระทบเกิดผัสสะ(รูป) แล้วใจก็รู้ผัสสะนั้น(นาม)  บางครั้งมีการกระทบเป็นผัสสะนานแล้วแต่ไม่สนใจหรือรับรู้ ภายหลังเกิดรู้สึกขึ้นก่อน(นาม) จึงไปรู้ผัสสะที่เกิดขึ้น(รูป)
         หมายเหตุ ปัญญาทั้ง 2 ข้อด้านบนนั้น ต้องเจริญด้วยสติเท่าทันเป็นปัจจุบัน และมีปัญญาเห็นชัดของรูปนาม ที่ปรากฏตามธรรมชาตินั้นๆ โดยไม่ไปปรุงแต่ง

          3. เริ่มมีปัญญาแบบจินตมปัญญามากขึ้นเห็นความเป็นไตรลักณ์ของรูปนาม ที่ปรากฏเป็นไตรโดยธรรมชาติอยู่เนื่องอยู่แล้ว เกิดความปัญญาความเข้าใจในความไม่เที่ยงเพราะความเปลี่ยนแปลงของรูปนาม หรือความตั้งอยู่ไม่ได้เป็นความทุกขังของรูปนาม หรือความถือมั่นอยู่ไม่ได้เพราะเป็นไปตามปัจจัยของมัน

           ซึ่งช่วงนี้วิปัสสนูกิเลส 10 ประการโดยสังเขปก็จะปรากฏขึ้น เป็นช่วงที่ต้องเตือนตนเองอยู่เนืองๆ เพราะจะหลงยึดมั่นถือมั่นในวิปัสสนูกิเลสได้ง่าย เพราะอาจจะเกิดญาณต่างๆ เกิดสงบเบาเหมือนไม่มีกิเลส หรือมีน้อยเพราะความสงบนั้น ฯลฯ เพราะรักษาสภาวะอย่างนั้นไว้ได้ หรือเกิดปัญญาญาณธรรมผุดขึ้นมามากมาย ฯลฯ
        โดยมองข้ามความยึดมั่นถือมั่นหรือกิเลสที่ปรากฏแห่งตน ทำให้หลงผิดไปได้ เช่นหลงว่าตนละกิเลสได้แล้วรู้แจ้งธรรมแล้ว หลงว่าตนเป็นผู้วิเศษ หลงว่าตนเป็นผู้มีบารมี ฯลฯ
         ซึ่งช่วงนี้เมื่อกำหนดภาวนาถูกส่วนก็จะเกิดอาการวูบแล้ว ว่างหรือสงบหรือเกิดปิติหรือสุขหรือเบาในอารมณ์หรือจิต ปรากฏอยู่เนื่องๆ  ถ้าไม่เตือนตนให้ดีหลงไปได้ วิปลาสไปได้.
         แต่ถ้าผ่านไปได้มีสติไม่หลงผิดไปยึดถือ ถือแม้รังเลอยู่แต่ก็วางใจไปได้ และปฏิบัติกรรมฐานอย่างดี ก็จะไม่หลงแล้วผ่านไปได้ตามวาสนา.

         4.เมื่อกำหนดภาวนาถูกส่วน(พละ 5 เจริญขึ้นสมดุลขึ้น) รูปนามที่กำหนดภาวนานั้น ก็จะเกิดสภาวะการตัดหรือการสดุด หรือ เห็นสันตติขาด อย่างชัดเจน เป็นห่างๆ นานครั้งก่อน เมื่อการปฏิบัติเจิรญขึ้น ก็จะถี่ขึ้นเห็นการเกิดดับของรูปนามที่ปรากฏ เป็นขณะๆ ไปเป็นช่วงๆ ไป แต่ใจที่รู้หาได้ดับพร้อมไปด้วยไม่.
          เมื่อถึงจุดนี้ผมจะอธิบายรวบรัดขั้นตอนไปเลยนะครับ.เมื่อเห็นรูปนามเกิดดับเกิดขึ้น เป็นอันว่าพละทั้ง 5 นั้นมีความเกือบสมบูรณ์และสมดุลขึ้น สติปัญญาเป็นปัจจุบันและเฉียบคมขึ้น

           ดังนั้นเมื่อมีกิเลสหยาบขึ้นในจิต และมีสติเท่าทันเป็นปัจจุบันกับรูปนามที่เป็นกิเลสนั้น ก็เกิดสภาวะตัดหรือดับกิเลสนั้นปรากฏชัดอย่างชัดเจน.
           ตัวอย่างที่ 1. เกิดความขุ่นเคืองขึ้น แล้วมีสติกำหนดภาวนาเท่าทันเป็นปัจจุบันความขุ่นเคืองนั้นจะวูบดับหรือตัดขาดหายไป แล้วมีสติสงบนิ่งเบาอยู่  ด้งนั้นเมื่อรักษากรรมฐานไว้ได้ เมื่อมีเหตุการณ์เช่นนี้ก็สามารถดับและวางได้โดยง่าย
           ตัวอย่างที่ 2 เกิดเผลอฟุ้งไป แล้วมีสติกำหนดภาวนาเท่าทันเป็นปัจจุบันกับความเผลอฟุ้งนั้น ก็จะวูบดับหรือตัดขาดไป แล้วมีสติสงบนิ่งเบาอยู่
           ตัวอย่างที่ 2 เกิดความงวงหาวนอน แล้วมีสติกำหนดภาวนาเท่าทันเป็นปัจจุบันกับความงวงหาวนอนนั้น ก็จะวูบดับหรือตัดขาดไป แล้วมีสติสงบนิ่งเบาอยู่

      สรุป ด้านบนนั้นเป็นอันว่าในหัวข้อที่ 1/ ที่คุณปล่อยรู้ต้องการทราบผมอธิบายให้ทราบแล้วนะครับ.

      ผมจะข้ามมาอธิบายหัวข้อที่ 2/ ตามที่คุณปล่อยรู้ตั้งประเด็นไว้  ดังนี้.

      ต้องปฏิบัติเกิดสมาธิ จิตเป็นหนึ่งเดียวกับการกำหนดภาวนา จนตัดการรับรู้ภายนอกและการสัมผัสจนหมดสิ้น จนเข้าสู่การดับอย่างหมดสิ้นทั้งสติสัมปชัญญะหรือตัวที่รู้ เป็นสมาธิระดับอัปปนาสมาธิ ที่มีกำลังสติเฉียบคมและสมาธิสูงขึ้นระดับตติยฌาน.
      และต้องปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จนวิปัสสนาญาณเจริญขึ้นไปตามลำดับ จนสูงสุดของโลกียญาณที่ 11 ที่เป็นสังขารุเบกญาณที่ละเอียดที่แผ่วเบา มีสติสัมปชัญญะอยู่กับรูปนามหรือจิตหรือความรู้สึกที่ที่ละเอียดที่แผวเบานั้นเป็นอุเบกขาอยู่ต่อจากนั้นสภาวะการดับนั้นก็จะเกิดขึ้น  ด้วยจากผลของสมาธิและวิปัสสนาญาณที่เจริญขึ้นนั้น.

ตอบโดย: Vicha 21 ส.ค. 52 - 12:15


กราบขอบพระคุณพี่วิชาเป้นอย่างยิ่ง
ที่เมตตากรุณา อธิบายธรรมเพิ่มเติม ครับ

ดับตามข้อ1. ไม่สงสัย ครับ

แต่ดับตามข้อที่2. ยังไม่กระจ่าง ครับ
กราบขออนุญาตพี่ ถามต่อนะครับ

ที่พี่กล่าวว่า...

"ต้องปฏิบัติเกิดสมาธิ จิตเป็นหนึ่งเดียวกับการกำหนดภาวนา
จนตัดการรับรู้ภายนอกและการสัมผัสจนหมดสิ้น
จนเข้าสู่การดับอย่างหมดสิ้น ทั้งสติสัมปชัญญะหรือตัวที่รู้

เป็นสมาธิระดับอัปปนาสมาธิ
ที่มีกำลังสติเฉียบคมและสมาธิสูงขึ้นระดับตติยฌาน.

และต้องปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จนวิปัสสนาญาณเจริญขึ้นไปตามลำดับ
จนสูงสุดของโลกียญาณที่ 11 ที่เป็นสังขารุเบกญาณที่ละเอียดที่แผ่วเบา
มีสติสัมปชัญญะอยู่กับรูปนามหรือจิตหรือความรู้สึกที่ที่ละเอียด ที่แผวเบานั้น
เป็นอุเบกขาอยู่

ต่อจากนั้นสภาวะการดับนั้นก็จะเกิดขึ้น
ด้วยจากผลของสมาธิและวิปัสสนาญาณที่เจริญขึ้นนั้น"


ผมยังไม่เข้าใจครับว่า
ผลที่ได้จากการ"ดับ"ตามอย่างที่พี่ว่ามานี้  คืออะไร
การดับ เช่นที่พี่ว่านี้ จะได้รับผลอะไร ได้รับประโยชน์อย่างไร ครับ

การดับอย่างข้อที่1.นั้น
ผมยังพอที่จะมองเห็นผล เห็นประโยชน์จาการดับ เช่นนั้นอยู่บ้าง
เมื่อราคะเกิด โทสะเกิด
ความยินดีเกด ความยินร้ายเกิด ความพอใจเกิด ความไม่พอใจเกิด
เมื่อสติสัปชัญญะเกิด
ราคะ โทสะ ความยินดี ยินร้าย ความพอใจ ความไม่พอใจ ก็ดับไป
ประโยชน์ที่จะพึงได้รับจากการที่สติสัมปชัญญะเกิด ก็พอที่จะมองเห็นได้สัมผัสได้

แต่การดับในรูปแบบที่2.นั้น
ผมมองไม่เห็นประโยชน์จาการดับแบบที่2.นี้เลยจริงๆ ครับ
ก็ในเมื่อมันดับไปจนหมดสิ้น ทั้งตัวสติสัมปชัญญะ และตัวกิเลส


เมื่อได้รับฟังคำอธิบายจากพี่แล้ว
มันอดที่จะทำให้ผมเกิดความคิดเห็น เกิดความเข้าใจขึ้นมา ไม่ได้ว่า
ความดับดังที่พี่ว่ามานั้น
มันเป็นการดับเพียงชั่วคราวของของสังขาร หรือของวิญญาณ
หรือเป็นเพียงการตกหลุมอากาศ แค่ชั่วขณะหนึ่งเท่านั่นเอง ครับ
ไม่มีความสำคัญอะไรๆเลย

เพราะปรากฏการณ์"ดับ" เช่นว่านี้นั้น
ก็เป็นเพียงการเกิดขึ้นของการ"ดับ" ดับหนึ่งเท่านั้นเอง

เพราะ"ความดับ" ที่ว่านี้นั้น
ยังคงหนีไม่พ้นกฏของไตรลักษณ์ไปได้อยู่ดีใช่ไหม ครับ

เพราะมีการปรากฏมาให้พี่วิชาได้รับรู้
แล้วก็มีการดับหายไป

เพราะพี่วิชาก็บอกเองแล้วว่า
ไม่ใช่เรื่องที่จะทำให้ปรากฏเกิดมีขึ้นได้ง่ายๆ มิใช่หรือ ครับ

ขอธรรมอันรู้ยิ่ง ธรรมอันงดงาม
ธรรมอันเป็นไปเพื่อความหลุดพ้นอย่างแท้จริง
จงเจริญแด่พี่วิชา ยิ่งๆขึ้นไป ครับ


 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 21 ส.ค. 52 - 13:15


สวัสดีครับ คุณปล่อยรู้ ถามได้ดีครับ ผมจึงสามารถตอบเป็นลำดับๆ ไป.

จากคำถามของคุณปล่อยรู้

อ้างอิง
ผมยังไม่เข้าใจครับว่า
ผลที่ได้จากการ"ดับ"ตามอย่างที่พี่ว่ามานี้  คืออะไร
การดับ เช่นที่พี่ว่านี้ จะได้รับผลอะไร ได้รับประโยชน์อย่างไร ครับ


มีประโยชน์มากเป็นอย่างยิ่ง  ดังนี้.
   1.คลายความยึดมั่นถือมันในเรื่องจิตว่าเป็นตัวเป็นตนไปหมดสิ้น และจะไม่ขาดสติหลงกำเริบขึ้นอีกตลอดไปทั้งชีวิต ถ้าละกิเลสบางส่วนหรือทั้งหมดอย่างสมุทเฉท(เด็ดขาดหมดสิ้น)
   2.เมื่อเจริญสติเท่าทันกับกิเลสเกิดปัญญา สามารถดับกิเลสที่ปรากฏนั้นได้อย่างง่ายดาย คือมีมีสติเท่าทันเป็นปัจจุบันกับกิเลสที่ปรากฏ กิเลสนั้นก็จะวูบดับ หรือตัดดับไปจากใจทันที จิตสงบเบาอยู่.
   3.ดำรงณ์ตนอยู่ด้วยความสงบอย่างเป็นปกติสุข ในสถานะการนั้นได้อย่างทุกข์นัอย (เมื่อไม่มีเหตุการณ์หรือสถานะการณ์ ที่รุกเร้าให้เกิดกิเลสร้ายแรงกว่านั้นๆ ดังที่เป็นอยู่ผ่านมา).
   4.มีปัญญาในการดำรงอยู่ในฐานะที่เป็นอยู่ โดยไม่ปรุงแต่งให้ต้องทุกข์เพิ่ม กับสถานะการณ์ที่เป็นอยู่
   5. เมื่อมีปัญหาให้เคร่งเครียดอย่างมากสะสมในชีวิตประจำวันจากหน้าที่การงาน หรือสงสัยเรื่องใดเรื่องหนึ่งจนสับสน เพียงได้นั่งกำหนดภาวนา เงีบบหายไปทุกอย่างก็วางหมดสิ้น ความเครียดสับสนนั้นหมดไป สงบทำกิจวัตรประจำวันได้ปกติ

   ช่วงนั้นแม้ปัญหาที่ผมจะไม่ได้รับการอนุมัติเรียนจบและรับปริญญา เพราะไม่มีรายชื่อผม ก็หาทำให้ผมต้องทุกข์เร้าร้อนเลย แล้วปัญหาก็แก้ด้วยตัวของมันเอง น้ำท่วมใหญ่ ปี 2526 ต้องหยุดทำการถึงเกือบ 2 เดือน ผมรู้ก่อนหน้านั้นเพราะได้ไปดูรายชื่อแล้วไม่มีชื้อผม และผมก็ไม่รู้จะเอาอะไรไปแสดงเป็นหลักฐานได้ แต่ใจก็สงบปฏิบัติอยู่ที่วัดได้เป็นปกติถึง 40 วัน
      เมื่อน้ำแห้งมหาลัยเปิดทำการ ผมก็ทิ้งช่วงไป 1 อาทิตย์กว่า จะไปดูรายชื่ออีกครั้งหนึ่งถ้าครั้งนี้ยังไม่มี ก็จะขึ้นไปเจรจากับทางมหาลัย  แต่อาจจะเป็นด้วยบุญ หรืออาจารย์ในสภามหาลัยท่านเห็นใจและมีความเป็นธรรม ท่านจึงอนุมัตชื่อผมให้เป็นผู้จบหลักสูตรในระดับอุดมศึกษา สามารถรับปริญญาได้เหมือนดังผู้อื่น.

      หลังจากนั้นผมเป็นคนที่สงบเสมือนใจเย็นๆ สงบๆ (เหมือนไม่มีไฟ) ไม่เป็นพิษเป็นภัยกับใคร กำหนดภาวนาอยู่เนื่องๆ  ใจสงบสุขมีกิเลสรบกวนน้อย ติดต่อถึง 2 ปี ถึงแม้จะมีรายได้น้อย เพราะไม่มีภาระอะไร (ตาก็ใสใจก็ใสเจียว).

     แต่ชีวิตมนุษย์นั้น ต้องก็หมุนเวียนไปตามธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ เป็นกรรมและวิบากกรรมพร้อมทั้งบารมีแห่งตน จะให้คงที่อย่างนั้นโดยตลอดก็หาได้ไม่ เมื่อยังอยู่ในป่าสังคมแบบมนุษย์โลกอยู่.

ตอบโดย: Vicha 21 ส.ค. 52 - 14:26


จากความสงสัยของคุณปล่อยรู้

อ้างอิง
ความดับดังที่พี่ว่ามานั้น
มันเป็นการดับเพียงชั่วคราวของของสังขาร หรือของวิญญาณ
หรือเป็นเพียงการตกหลุมอากาศ แค่ชั่วขณะหนึ่งเท่านั่นเอง ครับ
ไม่มีความสำคัญอะไรๆเลย


  ตอบ  คงไม่ใช่การตกหลุดอากาศหรือ สับผงก หรือ งีบหลับ หรอกคับ เพราะสภาวะต่างกันอย่างสิ้นเชิ่ง เนื่องด้วยชัดเจนด้วยสติสัมปชัญญะที่ดับขาดไปทันที่ทันใด และเมื่อปรากฏขึ้นสติสัมปชัญญะสมบูรณ์เต็มอย่างทันทีทันใด.

 

ตอบโดย: Vicha 21 ส.ค. 52 - 14:51


กราบขอบคุณพี่วิชา ครับ

"มีประโยชน์มากเป็นอย่างยิ่ง  ดังนี้.
   1.คลายความยึดมั่นถือมันในเรื่องจิตว่าเป็นตัวเป็นตนไปหมดสิ้น และจะไม่ขาดสติหลงกำเริบขึ้นอีกตลอดไปทั้งชีวิต ถ้าละกิเลสบางส่วนหรือทั้งหมดอย่างสมุทเฉท(เด็ดขาดหมดสิ้น)"

ดูเหมือนพี่กำลังจะบอกว่า "ดับ"ในขั้นนี้นั้น
คือดับในขั้นชั้นของพระอรหันต์ อย่างนั้นเลยใช่ไหม ครับ
เพราะพี่บอกว่า "จะไม่ขาดสติหลงกำเริบขึ้นอีกตลอดไปทั้งชีวิต..."

แต่พี่ก็ดูเหมือนพี่จะยังไม่มั่นใจ พี่จึงมีข้อแม้นว่า

"ถ้าละกิเลสบางส่วนหรือทั้งหมดอย่างสมุทเฉท(เด็ดขาดหมดสิ้น)"

นั้นก็แสดงว่า "ดับ" ในที่นี้นั้น
ก็ยังไม่เบ็ดเสร็จเด็ดขาดแต่อย่างใด ใช่ไหม ครับ
เพียงแต่ต้องพยายามเข้าถึงให้ได้บ่อยๆ
จนกว่า"สติ"จะไม่ลืมหลงไปตลอดชีวิต "ดับ"ที่ว่านี้จึงจะไม่ต้องมีการเข้าอีกต่อไป

 
"3.ดำรงค์ตนอยู่ด้วยความสงบอย่างเป็นปกติสุข
ในสถานะการนั้นได้อย่างทุกข์น้อย (เมื่อไม่มีเหตุการณ์หรือสถานะการณ์ ที่รุกเร้าให้เกิดกิเลสร้ายแรงกว่านั้นๆ ดังที่เป็นอยู่ผ่านมา).

พี่อธิบายตรงนี้ ยิ่งทำให้ผมยิ่งไม่มั่นใจใน"ดับ" นั้นมากยิ่งขึ้นไปอีก ครับ
ในเมื่อ"ดับ"ที่กำลังกล่าวถึงกันอยู่นี้นั้น มันยังไม่สุดยอดอีกหรือ ครับ
ทำไมมันถึงยังต้องเลือกกิเลสอยู่อีกด้วยเล่า ครับ

ก็ในเมื่อมันเข้าถึงความดับหมดไม่มีส่วนเหลือใดๆอีกแล้ว
(ทั้งตัวกิเลสและตัวสติสัมปัชัญญะ)
ทำไมมันยังถึงมีข้อแม้นที่ว่า
"เมื่อไม่มีเหตุการณ์หรือสถานะการณ์
ที่รุกเร้าให้เกิดกิเลสร้ายแรงกว่านั้นๆ ดังที่เป็นอยู่ผ่านมา".
อยู่อีกครับ


5. เมื่อมีปัญหาให้เคร่งเครียดอย่างมากสะสมในชีวิตประจำวันจากหน้าที่การงาน หรือสงสัยเรื่องใดเรื่องหนึ่งจนสับสน
เพียงได้นั่งกำหนดภาวนา เงีบบหายไป
ทุกอย่างก็วางหมดสิ้น ความเครียดสับสนนั้นหมดไป สงบทำกิจวัตรประจำวันได้ปกติ


ตรงนี้นั้น จะเป็นการพาจิตหนีจากปัญหา หนีจากเวทนา เพียงชั่วขณะหนึ่งก่อน...
เมื่อจิตได้พักแล้ว ก็ค่อยกลับมาเผชิญกับปัญหากันใหม่...ใช่ไหมครับ

ผมเข้าใจว่า เมื่อพี่วิชาเข้าถึง"ความดับ"ตามที่พี่กล่าวถึงนั้น ได้แล้ว
ปัญหาให้เคร่งเครียดอย่างมากสะสมในชีวิตประจำวัน
จากหน้าที่การงาน หรือสงสัยเรื่องใดเรื่องหนึ่งจนสับสน...ก็ไม่น่าที่จะเกิดขึ้นได้แล้วนะครับ

เหตุผลที่ทำให้ผมเกิดความเข้าใจอย่างนั้น ก็เพราะว่า
การที่บุคคลหนึ่งบุคคลใด จะปล่อยวางสังขตธรรม(สติ,สัมปชัญญะ,รูปนาม)ทั้งหมายทั้งมวล
เพื่อเข้าสู่ความดับไม่เหลือแล้วนั้น
บุคคลผู้นั้น ย่อมที่จะเห็นแจ้งประจักษ์ชัดจนหมดสิ้นความสงสัยในสังขตธรรมทั้งหลายทั้งปวงได้แล้วอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด จนไม่มีข้อสงสัยใดๆหลงเหลืออยู่ในเพียงเศษเสี้ยวธุลี

รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ต่างๆทั้งหลายมันน่าจะเบาบาง
มันน่าที่จะไม่มีอิทธิพลใดๆ ต่อบุคคลผู้ที่เข้าสู่ความดับไม่เหลือนั้นได้แล้ว มิใช่หรือ ครับ

สถานการณ์ใดๆภายนอก
ย่อมไม่อาจสร้างสถานการณ์ใจ ใดๆได้เลยมิใช่หรือ ครับ

เพราะรู้แล้ว เพราะเห็นแล้วว่า
รูปนามใดๆทั้งหลายไม่เที่ยง  ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ตัวเราของเรา
เมื่อผัสสะรูปนามใดๆ ในกาลไหน ก็ย่อมที่จะสลัดทิ้งลงได้เดี๋ยวนั้นเลยทันที
ไม่ใช่หรือครับ


และผมกำลังเข้าใจว่า
"ความดับ"ที่พี่วิชากล่าวถึงนั้น
พี่กำลังจะบอกว่า มันคือดับ ในชั้นของ"สัญญาเวทยิตนิโรธ"  หรือเปล่าครับ ?







 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 21 ส.ค. 52 - 16:17


สวัสดีครับ คุณปล่อยรู้และทุกท่าน

จากข้อความของคุณปล่อยรู้

อ้างอิง
ดูเหมือนพี่กำลังจะบอกว่า "ดับ"ในขั้นนี้นั้น
คือดับในขั้นชั้นของพระอรหันต์ อย่างนั้นเลยใช่ไหม ครับ
เพราะพี่บอกว่า "จะไม่ขาดสติหลงกำเริบขึ้นอีกตลอดไปทั้งชีวิต..."

แต่พี่ก็ดูเหมือนพี่จะยังไม่มั่นใจ พี่จึงมีข้อแม้นว่า

"ถ้าละกิเลสบางส่วนหรือทั้งหมดอย่างสมุทเฉท(เด็ดขาดหมดสิ้น)"

นั้นก็แสดงว่า "ดับ" ในที่นี้นั้น
ก็ยังไม่เบ็ดเสร็จเด็ดขาดแต่อย่างใด ใช่ไหม ครับ
เพียงแต่ต้องพยายามเข้าถึงให้ได้บ่อยๆ
จนกว่า"สติ"จะไม่ลืมหลงไปตลอดชีวิต "ดับ"ที่ว่านี้จึงจะไม่ต้องมีการเข้าอีกต่อ


ตอบ...
       ต้องตีความหมายรวมกันอย่างนี้ครับ "จะไม่ขาดสติหลงกำเริบขึ้นอีกตลอดไปทั้งชีวิต ถ้าละกิเลสบางส่วนหรือทั้งหมดอย่างสมุทเฉท(เด็ดขาดหมดสิ้น)"

       ดังนั้นดับในที่นี้ไม่ใช่ต้องเป็นชั้นพระอรหันต์ และไม่ใช่ดับเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

    และผมก็เคยยกผลนั้นสนทนากับพระอาจารย์ในภายหลังจากนั้นอีก 2 ปี ท่านก็บอกทำนองว่า "อือๆ เป็นเพราะผลของสมาธิ นั้นเอง"

     ผมก็พูดแบบยั่งเชิงกับพระอาจารย์ว่า "ไม่แน่อาจจเป็นมรรคผลนิพพานก็ได้ครับอาจารย์"

     อาจารย์ก็ตอบแบบเน้นๆ ว่า "เซียม สิ่งที่ส่งอารมณ์กรรมฐานมานั้น ถ้าเป็นมรรคผลนิพพาน อาจารย์ก็ต้องบอกว่าเป็นมรรคผลนิพพาน แต่ถ้าไม่ใช่จะให้อาจารย์บอกว่าใช่ก็ไม่ได้  เช่นเดียวกันถ้าเธอหยิบก้อนหินมาให้อาจารย์ดู อาจารย์ก็ต้องบอกว่าก้อนหิน จะให้อาจารย์บอกว่าเป็นเพชรคงไม่ได้ เธออย่าสงสัยอะไรอีกเลยเซียมถ้า ....................... ................. ................"


และจากข้อคามส่วนนี้ของคุณปล่อยรู้

อ้างอิง
"3.ดำรงค์ตนอยู่ด้วยความสงบอย่างเป็นปกติสุข
ในสถานะการนั้นได้อย่างทุกข์น้อย (เมื่อไม่มีเหตุการณ์หรือสถานะการณ์ ที่รุกเร้าให้เกิดกิเลสร้ายแรงกว่านั้นๆ ดังที่เป็นอยู่ผ่านมา).

พี่อธิบายตรงนี้ ยิ่งทำให้ผมยิ่งไม่มั่นใจใน"ดับ" นั้นมากยิ่งขึ้นไปอีก ครับ
ในเมื่อ"ดับ"ที่กำลังกล่าวถึงกันอยู่นี้นั้น มันยังไม่สุดยอดอีกหรือ ครับ
ทำไมมันถึงยังต้องเลือกกิเลสอยู่อีกด้วยเล่า ครับ

ก็ในเมื่อมันเข้าถึงความดับหมดไม่มีส่วนเหลือใดๆอีกแล้ว
(ทั้งตัวกิเลสและตัวสติสัมปัชัญญะ)
ทำไมมันยังถึงมีข้อแม้นที่ว่า
"เมื่อไม่มีเหตุการณ์หรือสถานะการณ์
ที่รุกเร้าให้เกิดกิเลสร้ายแรงกว่านั้นๆ ดังที่เป็นอยู่ผ่านมา".
อยู่อีกครับ


ตอบ... จากปรโยคนี้ "เมื่อไม่มีเหตุการณ์หรือสถานะการณ์ ที่รุกเร้าให้เกิดกิเลสร้ายแรงกว่านั้นๆ ดังที่เป็นอยู่ผ่านมา"
           หมายความว่า ระดับเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความทุกข์เหมือนดังทั้งแต่เกิดมาจนถึงตอนนั้น ไม่เกิดกับเราอีกแล้ว รับได้อย่างสงบและวางใจเป็นสุขอยู่ได้
     

จากข้อความของคุณปล่อยรู้

อ้างอิง
5. เมื่อมีปัญหาให้เคร่งเครียดอย่างมากสะสมในชีวิตประจำวันจากหน้าที่การงาน หรือสงสัยเรื่องใดเรื่องหนึ่งจนสับสน
เพียงได้นั่งกำหนดภาวนา เงีบบหายไป
ทุกอย่างก็วางหมดสิ้น ความเครียดสับสนนั้นหมดไป สงบทำกิจวัตรประจำวันได้ปกติ


ตรงนี้นั้น จะเป็นการพาจิตหนีจากปัญหา หนีจากเวทนา เพียงชั่วขณะหนึ่งก่อน...
เมื่อจิตได้พักแล้ว ก็ค่อยกลับมาเผชิญกับปัญหากันใหม่...ใช่ไหมครับ


 ตอบ คุณปล่อยรู้ต้องทำความเข้าใจเรื่องจิตและกิเลสใหม่แล้วนะครับ จิตนั้นเกิดดับเกิดดับไปตามธรรมชาติ ส่วนกิเลสนั้นพัฒนาเปลี่ยนแปลงเกิดดับไปตามจิตนั้น แล้วส่งต่อกันเป็นอนุสัยมีเหตุให้ปะทุมากขึ้นหรือลดลงตามเหตุปัจจัย.
       การกำหนดสติที่เป็นสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน ก็เป็นการข่มแล้วละ(กวาด)กิเลสที่ปรากฏชัดทั้งหมด ที่ทำให้จิตเศร้าหมอง โดนกวาดทิ้งไป ทำให้อนุสัยที่มีนั้นอ่อนกำลังเป็นอย่างมาก ไม่ใช่เกิดจากการข่มด้วยสมาธิอย่างเดียวที่อนุสัยโดนกดทับไว้เท่านั้น.

จากข้อความของคุณปล่อยรู้

อ้างอิง
การที่บุคคลหนึ่งบุคคลใด จะปล่อยวางสังขตธรรม(สติ,สัมปชัญญะ,รูปนาม)ทั้งหมายทั้งมวล
เพื่อเข้าสู่ความดับไม่เหลือแล้วนั้น
บุคคลผู้นั้น ย่อมที่จะเห็นแจ้งประจักษ์ชัดจนหมดสิ้นความสงสัยในสังขตธรรมทั้งหลายทั้งปวงได้แล้วอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด จนไม่มีข้อสงสัยใดๆหลงเหลืออยู่ในเพียงเศษเสี้ยวธุลี

รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ต่างๆทั้งหลายมันน่าจะเบาบาง
มันน่าที่จะไม่มีอิทธิพลใดๆ ต่อบุคคลผู้ที่เข้าสู่ความดับไม่เหลือนั้นได้แล้ว มิใช่หรือ ครับ


    ตอบ ใช่ครับ เพราะอนุสัยกิเลสบางส่วนละหมดสิ้นเด็ดขาด และอนุสัยที่เหลือนั้นเบาบางลงมากแล้ว

   จากข้อความของคุณปล่อยรู้

อ้างอิง
สถานการณ์ใดๆภายนอก
ย่อมไม่อาจสร้างสถานการณ์ใจ ใดๆได้เลยมิใช่หรือ ครับ

เพราะรู้แล้ว เพราะเห็นแล้วว่า
รูปนามใดๆทั้งหลายไม่เที่ยง  ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ตัวเราของเรา
เมื่อผัสสะรูปนามใดๆ ในกาลไหน ก็ย่อมที่จะสลัดทิ้งลงได้เดี๋ยวนั้นเลยทันที
ไม่ใช่หรือครับ


  ตอบ  ตามความเข้าใจของผมต้องกล่าวอย่างนี้  ไม่ต้องพยามสลัดทิ้ง เพราะเมื่อไม่มีอนุสัยอยู่ ถึงเกิดกระทบ ก็ไม่เกิดอยู่แล้วครับ.
       แต่เรื่องจิตพ่องใสมากหรือน้อยนั้นเป็นเหตุอีกกรณ์นึ่ง ว่าทำไม่ต้องกำหนดอานาปานสติอยู่เท่านั้น.

    จากข้อความของคุณปล่อยรู้

อ้างอิง
และผมกำลังเข้าใจว่า
"ความดับ"ที่พี่วิชากล่าวถึงนั้น
พี่กำลังจะบอกว่า มันคือดับ ในชั้นของ"สัญญาเวทยิตนิโรธ"  หรือเปล่าครับ ?


   ตอบ  ไม่ใช่ครับ

ตอบโดย: Vicha 21 ส.ค. 52 - 17:33


กราบขอบพระคุณพี่วิชาเป็นอย่างยิ่ง ครับ
ที่เสียสละเวลา อธิบาย"ความดับ" ให้กระจ่างชัดยิ่งขึ้น

สรุปแล้ว ความดับที่ว่านั้น
ก็เป็นผลมาจากสมาธิธรรมดา นั้นเอง
อันเป็นที่พักจิตชั่วคราว หาได้เป็นความดับ ที่ยืนยันความเป็นอะไรๆ
จะว่าฌานก็ไม่ใช่ จะว่าญาณก็ไม่ใช่
เพราะมันดับหมด ทั้งตัวกิเลสและตัวสติสัมปชัญญะ ดับหมดทั้งนามและรูป

ถ้าเป็นฌาน มันก็น่าที่จะระบุได้ว่าเป็นฌานในระดับขั้นไหน
ถ้าเป็นญาณ มันก็ระบุไม่ได้อีก เพราะว่าสติสัมปชัญญะ นามรูปใดๆ มันดับหมด
ไม่มีสภาวะรู้ใดๆปรากฏ...

ก็คงเป็นดั่งที่พระอาจารย์ของพี่ที่บอกว่า มันเป็นเพียงแค่ผลของสมาธิเท่านั้น
ไม่ใช่มรรคผลแต่อย่างใด ไม่ควรไปสนใจมัน

ที่แรกผมก็หลงเข้าใจว่า พี่กำลังจะพาไปหาสมาธิ ไปหาสมาบัติในชั้นสูง
นั้นก็คือ สัญญาเวทยิตนิโรธ เสียอีก

เพราะเห็นพี่บอกว่า มันดับหมด ไม่มีอะไรหลงเหลืออยู่เลย
ทั้งตัวกิเลสทั้งตัวสติสัมปชัญญะ...



การเจริญอานาปานสติ มันสามารถที่จะดำเนินไปถึงสมาธิระดับขั้นสูงๆ
จนถึงในชั้นของสัญญาเวทยิตนิโรธ เลยไม่ใช่หรือ ครับ

เมื่อเราเจริญสมาธิไปตามลำดับขั้นของมันอย่างถูกต้อง
ตามหลักของการเจริญฌานอย่างถูกวิธี ตามธรรมชาติของจิต
สมาธิมันก็จะขยับสูงเคลื่อนขึ้นไปเรื่อยๆ ใช่ไหมครับ
จากปฐมฌาน ไล่ขึ้นไปจนไปสิ้นสุดลง ที่สัญญาเวทยิตนิโรธ ใช่ไหมครับ

จากการที่ผมเคยได้ยินได้ฟังมาว่า
สมาธิในระดับขั้น สัญญาเวทยิตนิโรธนั้น
สังขารทั้ง๓ดับสนิทลงชั่วคราว อย่างสิ้นเชิง
นั้นก็คือ กายสังขาร (ลมหายใจเข้าออก)
วจีสังขาร(วิตก วิจาร)
จิตสังขาร(สัญญา,เวทนา)

การเจริญ อานาปานสติ นั้น
เมื่อเจริญอย่างถูกวิธี ก็ย่อมสามารถที่จะนำพาจิตไปสู่ สมาธิในระดับสัญญาเวทยิตนิโรธได้เหมือนกันใช่ไหม ครับ

เมื่อจิตไม่หลงเพลิดเพลินติดจมอยู่กับผลของสมาธิในระดับขั้นใดๆ
จิตก็จะขยับไปสู่สมาธิในขั้นลำดับต่อๆไป
จนไปถึงที่ ไม่มีที่ให้ขยับไปไหนได้อีกต่อไป...ใช่ไหมครับ


 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 21 ส.ค. 52 - 21:18


อ่านพระสูตรเรื่องทางไปเมืองราชคฤห์ ที่คุณบุญรักษ์ยกมา(ความคิดเห็นที่ 677)

แล้วขอแทรก แสดงมุทิตาจิตแด่คุณ Vicha ความคิดเห็นที่ 683 : )

สภาวะนั้นต้องดำเนินไปตามลำดับครับ เรียงลำดับดังนี้.

.....................................

                     

เรียนถามคุณ Vicha ครับ ช่วยอธิบายเรื่องอนุโลมญาณด้วยครับ
ถามตรงๆเลยครับยกตัวอย่างคุณ Vicha ทำไมไม่ทวนญาณ หลงทางตรงไหนครับ
กราบขออภัยที่ถามครับ

http://larndham.net/index.php?showtopic=34177&st=22  

     

ตอบโดย: damrong121 21 ส.ค. 52 - 22:05



สวัสดี สมาชิกทุกท่านครับ



ตามอ่านกระทู้นี้มาเงียบๆระยะหนึ่งแล้ว

รู้สึกอนุโมทนา และ ยินดียิ่ง ที่ยังคงมีผู้สนใจ อานาปานสติ สติปปัฏฐาน ฌานที่เป็นสัมมาสมาธิ กันอยู่

ครั้น ผมจะกล่าวแสดงประสบการณ์ใดๆจากการปฏิบัติ(ที่ผมเองก็ปฏิบัติได้น้อยมากๆ) เหมือนท่านอื่นๆบ้าง ก็คงจะเป็นเสมือน แสงหิ่งห้อยตัวหนึ่งท่านกลางตะวันฉาย... คงไม่มีประโยชน์ใดๆ ทั้งต่อตนเอง และ ผู้อื่น .แต่ น่าจะเป็นลักษณะ นำมะพร้าวห้าวไปขายสวน เสียมากกว่า




ผมจึงขออนุญาตนำพระพุทธพจน์ เกี่ยวกับ อานาปานสติ สติปปัฏฐาน ฌานที่เป็นสัมมาสมาธิ มาลงประดับกระทู้

น่าจะเหมาะสมกว่า



...............................


สติปัฏฐาน นำสู่ "รูปฌาน๑-๔" สัมมาสมาธิในอริยมรรค(พุทธพจน์)


สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค(อริยะสัมมาสมาธิ) เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะในพระศาสนานี้เท่านั้น

ย่อมเป็นผลมาจากการเจริญภาวนาตามหลักแห่งสติปัฏฐาน



เสนอ อ่านพระสูตร

ทันตภูมิสูตร ที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

http://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=14&item=388&items=1&preline=0&pagebreak=0

ทรงแสดงแก่ท่าน สมณุทเทสอจิรวตะ(พระพุทธองค์ทรงเรียกท่านว่า อัคคิเวสสนะ)


พระสูตรนี้ค่อนข้างยาว เริ่มจากการสนทนาระหว่างท่านสมณุทเทสอจิรวตะ กับ พระราชกุมารชยเสนะ ในประเด็นที่ว่า

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ พึงสำเร็จ เอกัคคตาแห่งจิต ได้ ฯ


ในสุดท้าย พระราชกุมารชยเสนะ ก็สรุปด้วยภาวะมุมมองแห่งตนเอง(ที่ยังคงข้องกับกามอยู่) ว่า ประเด็นนี้ เป็นไปไม่ได้...
คือ ไม่มีทางที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จะสำเร็จเอกัคคตาแห่งจิต ได้...

ข้าแต่ท่านอัคคิเวสสนะผู้เจริญ ข้อที่ภิกษุไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่พึงสำเร็จเอกัคคตาแห่งจิต นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ต่อนั้น พระราชกุมารชยเสนะ ทรงประกาศความไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส แก่สมณุทเทสอจิรวตะแล้ว ทรงลุกขึ้นจากอาสนะเสด็จหลีกไป ฯ


ท่านสมณุทเทสอจิรวตะ จึงมาทูลให้พระพุทธองคฺทรงทราบ และ พระพุทธองค์ก็ทรงแสดงธรรม ชี้เหตุผลกับท่าน

ใน พระพุทธเทศนานั้น บรรยายตั้งแต่ เหตุที่พระราชกุมารไม่อาจจะคาดหยั่งถึงการสำเร็จเอกัคคตาแห่งจิตได้ เพราะยังคงเสพกามอยู่

ดูกรอัคคิเวสสนะ พระราชกุมารจะพึงได้ความ
ข้อนั้นในภาษิตของเธอนี้แต่ที่ไหน ข้อที่ความข้อนั้นเขารู้ เขาเห็น เขาบรรลุ
เขาทำให้แจ้งกันได้ด้วยเนกขัมมะ แต่พระราชกุมารชยเสนะยังอยู่ท่ามกลางกาม
ยังบริโภคกาม ถูกกามวิตกกิน ถูกความเร่าร้อนเพราะกามเผา ยังขวนขวายในการ
แสวงหากาม จักทรงรู้ หรือจักทรงเห็น หรือจักทรงทำให้แจ้งความข้อนั้นได้
นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ฯ



และ ต่อจากนั้น ทรงแสดงถึงธรรมขั้นสูงๆต่อไป คือ เนกขัมมะ คือ การออกจากกาม(ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต)

ต่อด้วย การเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร

ต่อด้วย การเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นเหตุให้ละนิวรณ์๕ได้

เมื่อละนิวรณ์๕ได้แล้ว ก็ต่อด้วย การพิจารณากายในกาย (ตลอดจน เวทนา จิต ธรรม)มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ (ตรงนี้ ไม่ได้แสดงชัดเจนว่า นี่เป็นสมาธิระดับใด แต่ ผมเข้าใจว่าน่าจะหมายถึง บรรลุรูปฌานที่๑แล้ว เพราะถัดจากท่อนนี้ไปก็ทรงบรรยายถึงทุติยฌานแล้ว)

http://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=14&item=396&items=1&preline=0&pagebreak=0


ต่อมาทรงแสดง สติปัฏฐานสี่ ว่าคือ หลักผูกใจของอริยสาวก เปรียบด้วยเสาตะลุงใหญ่เอาไว้ล่ามคอช้างป่า



# พระสูตรในตอนต่อจากนี้ น่าสนใจนมากครับ

http://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=14&item=398&items=1&preline=0&pagebreak=0


"พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับกาย" (ตลอดจน เวทนา จิต ธรรม)


จึงยังให้เกิด

"เธอย่อมเข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่".


การพิจารณาเห็นกายในกาย แต่ไม่ตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับกาย(ตลอดจน เวทนา จิต ธรรม) ซึ่งบรรยายว่า วิตก-วิจาร สงบไป จึงบรรลุถึงทุติยฌาน



ต่อจากนั้นทรงแสดงถึง

"ย่อมเป็นผู้ วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน"

ซึ่งนี่ คือ การละวางปีติอย่างมีสติ จึงบรรลุตติยฌาน



ต่อจากนั้นทรงแสดงถึง

" ย่อมเข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะ ละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่



ซึ่งนี่คือ การละวางสุขที่เกิดขึ้น จิตจึงลุถึงจตุตฌานที่มีสติบริสุทธิ์

หลังจากนั้นจึงทรง แสดงถึง วิชชาสามประการ ๆลๆ



# # พระสูตรนี้น่าสนใจมาก

เพราะ ทรงตรัสแสดงถึง ความสัมพันธ์ของสติปัฏฐาน กับ รูปฌาน๑-๔ โดยตรง (ตรงกับ คำว่า"เอกัคคตาแห่งจิต" ที่ เป็นประเด็นสนทนาระหว่าง ท่านสมณุทเทสอจิรวตะกับพระราชกุมารชยเสนะ ในตอนต้นพระสูตร)....

ซึ่ง นี่คือ สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค อันเป็นผลจากการเจริญสติปัฏฐาน


 

ตอบโดย: ตรงประเด็น 22 ส.ค. 52 - 07:46



พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
สูตรที่ ๘ วิภังคสูตรที่ ๑

ความหมายของอินทรีย์ ๕



ทรงแสดง สตินทรีย์ด้วย สติปัฏฐานสี่

ทรงแสดง สมาธินทรีย์ด้วย รูปฌานทั้งสี่


จาก


ภิกษุทั้งหลาย
อิทรีย์ ๕ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ ฯลฯ คือ
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ และปัญญินทรีย์

ภิกษุทั้งหลาย สัทธินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ใดเล่า
สัทธินทรีย์ เห็นได้ใน โสดาปัตตยังคะสี่

ภิกษุทั้งหลาย วิริยินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ใดเล่า
วิริยินทรีย์ เห็นได้ใน สัมมัปปธานสี่

ภิกษุทั้งหลาย สตินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ใดเล่า
สตินทรีย์ เห็นได้ใน สติปัฏฐานสี่

ภิกษุทั้งหลาย สมาธินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ใดเล่า
สมาธินทรีย์ เห็นได้ใน ฌานสี่

ภิกษุทั้งหลาย ปัญญินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ใดเล่า
ปัญญินทรีย์เห็นได้ใน อริยสัจสี่

ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล อินทรีย์ ๕

มหาวาร สํ ๑๙ ๒๕๙/๘๕๒-๘๕๗



ซึ่ง นี่จะไปสอดคล้องกับ ใน มหาจัตตารีสกสูตร และ ทันตภูมิสูตรที่๕ เช่นกัน

คือ รูปฌาน๑-๔ นี้ เป็นผลสืบเนื่องจากการเจริญสติปัฏฐาน นั่นเอง


 

ตอบโดย: ตรงประเด็น 22 ส.ค. 52 - 07:53




โอวาทธรรม หลวงปู่ ชา สุภัทโท


คนภาวนาเป็น มีอารมณ์เป็นอันเดียว

อารมณ์อันเดียวคืออะไร?

ไม่เอาเรื่องกับใคร เรียกว่าอารมณ์อันเดียว

มันเปลี่ยนจากอารมณ์อันเดียวของสมถกรรมฐาน สมถกรรมฐานเอาเรามาเรียนภาวนาพุทโธ ๆ ๆ ๆ อันเดียว มันน้อยไป ถ้ามันพลาดจากพุทโธแล้วมันไปที่ไหนก็ได้ .....

อารมณ์อันเดียวคืออารมณ์วิปัสสนานั่นแหละ ....ไม่มีชั่ว ไม่มีดี ....มีดี มีชั่ว แต่จิตของเราอยู่เหนือชั่วเหนือดีทั้งนั้น ฉะนั้นเป็นอารมณ์อันเดียวอย่างนี้

ปล่อยมันทิ้งไป เรื่องอนิจจังทุกขังอนัตตาหมดทั้งสิ้นอย่างนี้

นี้การปล่อยวางทั้งหมด นั้นเรียกว่าการภาวนาที่ถูกต้อง



.................................


มี พระพุทธพจน์


ที่ตรัสแสดงถึง เอกัคคตาจิตซึ่งบังเกิดจากการปล่อยวาง(มีการปล่อยวางเป็นอารมณ์) ไว้ดังนี้


" กตมญฺจ ภิกฺขเว สมาธินฺทฺริยํ ฯ

อิธ ภิกฺขเว อริยสาวโก โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา ลภติ สมาธึ ลภติ จิตฺตสฺส เอกคฺคตํ ฯ อิทํ วุจฺจติ ภิกฺขเว สมาธินฺทฺริยํ ฯ


“..อินทรีย์คือสมาธิ (สมาธินทรีย์) เป็นไฉน ?

(คือ) อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กำหนดเอาภาวะปล่อยวางเป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาแห่งจิต นี้เรียกว่า อินทรีย์คือสมาธิ”






เอกัคคตาจิต นี้คือ สมาธินทรีย์...ซึ่ง เป็นเหตุนำไปสู่ปัญญิณทรีย์

จิตที่มีอารมณ์เดียวซึ่งเกิดจากการปล่อยวางนี้ จึงสามารถทำให้เกิดปัญญาได้


 

ตอบโดย: ตรงประเด็น 22 ส.ค. 52 - 07:59



ฌาน ก็คือ ฌาน

ถ้ามีองค์ประกอบฝ่ายเหตุ2อย่าง คือ วิตก วิจาร และ มีองค์ประกอบฝ่ายผลอีก3อย่างคือ ปิติ สุข เอกัคคตารมณ์.... ก็เรียกว่า ฌาน ทั้งนั้น



ต่างกันตรงที่ว่า
เหตุปัจจัยนำของฌานนั้นเป็นสิ่งใด และ ฌานนั้นนำไปสู่ผลเช่นใด



เสนอ ย้อนกลับไปอ่าน ใน ทันตภูมิสูตรที่๕ อีกครั้ง

ในพระสูตรนั้น การเจริญสติปัฏฐาน โดยมี นิวรณ์๕ที่เบาบางลง(อันเป็นผลจาก เนกขัมมะ+ศีล+อินทรีย์สังวร).... ก็ ปรากฏผลเป็นฌาน เช่นกัน

ในพระสูตรนั้น (หัวข้อ ๓๙๖)
ไม่ได้ตรัสแสดงชัดเจน ว่า สิ่งใด เป็น วิตก วิจาร ในการเจริญสติปัฏฐาน ..และ ไม่ได้ตรัสระบุชัดเจนว่า ปฐมฌาน ในการเจริญสติปัฏฐานนั้น เริ่มนับว่าเป็นปฐมฌานตรงไหน

แต่ ก็เป็นที่แน่นอนว่า ปฐมฌาน ต้องปรากฏในขั้นนี้(หัวข้อ ๓๙๖) ....ด้วยว่า ในส่วนต่อไป(หัวข้อ ๓๙๘) ทรงแสดงถึง "การพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับกาย (เวทนา จิต ธรรม)" เป็นเหตุให้ บรรลุทุติยฌาน แล้ว

และ ต่อมาก็ทรงแสดง เหตุที่ยังให้บรรลุตติยฌาน จตุตฌาน ตามลำดับ ๆลๆ



คือว่า

ในพระสูตรนี้ ก็ทรงแสดงฌาน ด้วยองค์แห่งฌาน ในลักษณะเดียวกับ ฌานของฤาษี...

แตกต่างกันตรงเหตุนำแห่งฌานนั้น(ในพระสูตรนี้ คือ เนกขัมมะ+ศีล+อินทรีย์สังวร+การเจริญสติปัฏฐาน) และ ผลของฌานนั้น(ในพระสูตรนี้ คือ วิชชาสามประการ)



แต่ ฌานของพระฤาษีไม่ว่าจะองค์ไหนๆ ก็ไม่เคยมีสติปัฏฐานเป็นเหตุนำ และ ไม่มีการตรัสรู้ชอบเป็นผลเลย


 

ตอบโดย: ตรงประเด็น 22 ส.ค. 52 - 08:04



ขอเสนอมา เป็นเบื้องต้น เท่านี้ก่อนน่ะครับ


ถ้ามีสิ่งใดที่อาจจะไม่เหมาะสม
ก็ ขออภัยสมาชิกล่วงหน้าด้วยน่ะครับ

ตอบโดย: ตรงประเด็น 22 ส.ค. 52 - 08:06


สวัสดีครับ คุณปล่อยรู้ คุณ damrong121 คุณตรงประเด็น

จากข้อความของคุณปล่อยรู้

อ้างอิง
สรุปแล้ว ความดับที่ว่านั้น
ก็เป็นผลมาจากสมาธิธรรมดา นั้นเอง
อันเป็นที่พักจิตชั่วคราว หาได้เป็นความดับ ที่ยืนยันความเป็นอะไรๆ
จะว่าฌานก็ไม่ใช่ จะว่าญาณก็ไม่ใช่
เพราะมันดับหมด ทั้งตัวกิเลสและตัวสติสัมปชัญญะ ดับหมดทั้งนามและรูป


ตอบ จะว่าฌานก็ใม่ใช่ นั้นกล่าวถูกต้องแล้วครับ. แต่จะว่าเป็นผลมาจากสมาธิธรรดาก็ไม่ใช่ครับ ถ้ากล่าวว่าเป็นผลของสมาธินั้นใช่ครับ จะเป็นอย่างไรนั้นต้องแจกแจงกันอีกที่ครับ.

        และ "แต่จะว่าญาณก็ไม่ใช่" นั้นไม่ถูกต้องครับ เพราะวิปัสสนาญาณดำเนินมาตามลำดับทั้งแต่เบื้องแรกจนถึงเบื้องสูง และเป็นสิ่งที่ดีที่คุณ damrong121 ได้ถามนำดังนี้

จากคำถามของคุณ damrong121

อ้างอิง
เรียนถามคุณ Vicha ครับ ช่วยอธิบายเรื่องอนุโลมญาณด้วยครับ
ถามตรงๆเลยครับยกตัวอย่างคุณ Vicha ทำไมไม่ทวนญาณ หลงทางตรงไหนครับ
กราบขออภัยที่ถามครับ


    ตอบ ไม่ได้หลงทางตรงใหนครับ คุณ damrong121 เพราะย้อนปรากฏให้แจ่มแจ้งถึง 2-3 ครั้งได้เชียวครับ  เพียงแต่ในสมัยนั้นไม่รู้ว่าอะไร แต่กิเลสทั้งหมดที่ปรากฏให้เห็นมันเบาบางอ่อนกำลังไปมากเลยครับ ก็ไม่กล้าตัดสินใจว่าเป็นอะไร เพราะยังขยาดที่ตนเองวิปลาสไปสดๆ ร้อนๆ ก่อนหน้านั้น  ต่อไปอธิบายขั้นตอนให้ทราบนะครับ.

    การบังเกิดได้ถึง 2-3 ครั้งซึ่งน่าจะมากกว่านั้น (เพราะนานแล้วไม่สนใจเท่าไหรจึงจำไม่ได้ทั้งหมด) ซึ่งต่างวาระ ต่างวันเวลากัน ในช่วงนั้น จึงต้องมีการทวนญาณแล้วเป็นธรรมดานะครับ คุณ damrong121 จะอธิบายให้ทราบดังนี้

      การกำหนดภาวนาไต่วิปัสสนาญาณจากญาณที่ 1 หรือญาณที่ 4 จนเจริญถึง ญาณที่ 11 เรียกว่าเป็นการ อนุโลม ตามลำดับญาณ ยังแตกต่างกับ อนุโลมญาณ ที่เป็นวิปัสสนาที่ 12 อยู่นะครับ  และการถอยลงตามลำดับญาณ จากญาณที่ 11 ลงมาตามลำดับจนถึงญาณที่ 4 หรือ หรือวิปัสสนาญาณที่ 1 เรียกกว่าปฏิโลม ตามลำดับญาณ แต่ผู้ปฏิบัติไม่ต้องให้ความสนใจมากนะครับ สนใจแต่การปฏิบัติกำหนดภาวนาก็พอครับ คื่อ
      เมื่อกำหนดภาวนาพัฒนาพละ 5 เจริญขึ้นวิปัสสนาญาณก็จะไต่ไปตามลำดับเอง ถ้าเคยปฏิบัติได้ถึงวิปัสสนาญาณที่ 11 แล้ว เมื่อลดการกำหนดภาวนาหรือพละ 5 ลง วิปัสสนาก็จะไต่ลงไปตามลำดับเองครับ.
  
       แต่อนุโลมญาณที่เป็นวิปัสสนาญาณ จริงอยู่ตรงนี้ครับ  เมื่อเจริญวิปัสสนามาถึง สังขารุเบกขาญาณ (วิปัสสนาญาณที่ 11) แล้วเป็นดังนี้
      มีสติละเอียดอ่อนชัดเจนบางเบาอยู่กับรูปนาม หรือใจ หรือความรู้สึกที่แผ่วเบาเป็นอุเบกขาอยู่นั้น เมื่อเจริญสมบูรณ์เต็มที่แล้วดังแป้งละเอียดเหลืออยู่จากการร่อนอย่าแผ่วเบาอยู่ แล้ววางหายไป(ยังไม่วางรูปนามอย่างหมดสิ้น) นี้และเป็นสังขารุเบกขาญาณที่ สมบูรณ์ที่สุด
      ถ้ายังไม่ผ่านไปได้ก็จะกลับมามีสติรับรู้รูปนามที่แผ่วเบาและมีสติละเอียดอ่อนดังเดิม (หรือบางที่วิปัสสนาญาณถอยล่วงไปหลายญาณหรือแทบทั้งหมด เริ่มเจริญขึ้นมาใหม่)

      ถ้ายังมีสิ่งที่ข้วางกั่นอยู่ ก็จะพัฒนาได้สูงสุดเพียงแค่นั้นครับ แต่สังขารุเบกขาญาณ เป็นยอดของโลกีญาณแล้ว พอมีกำลังคลายความทุกข์ และอนุสัยกิเลสแทบทั้งหมดออ่นกำลังลงมากแล้ว ถ้ารักษาไว้ได้ย่อมมีปฏิทาที่น่าเลื่อมใส่มาก.

      แต่ตามพระอรรถกถานั้นกล่าวว่าเป็นสิ่งอยากมากที่จะรักษาสังขารุเบกขาญาณให้คงอยู่ตลอดเป็นเวลายาวนาน เป็นวัน เป็นเดือน หรือเป็นปี  เปรียบดังเอาถาดมาเทน้ำมันจนเกือบเสมอขอบ แล้วยกทูลหัวไว้ แม้ว่าจะทำกิจกรรมสิ่งใดไม่ให้น้ำมันนั้นหกแม้แต่หยุดเดียว

       ส่วนมากวิปัสสนาญาณ ก็จะเกิดอนุโลมหรือปฏิโลม ตามความเจริญและสมบูรณ์ของผู้ปฏิบัติเสียมากกว่าครับ.

        ผมเขียนมายาวเลยครับ ดังนั้นอนุโลมญาณ ตามวิถีจิตคือสภาวะการปล่อยหรือละจากรูปนามแล้วครับ.
        จากนั้นโคตรภูญาณ ก็เกิดติดต่อไปเลยครับทิ้งรูปนามไปแล้ว ดับสิ้นความรับรูไปแล้ว
        จากนั้นมรรคญาณ หรือนิพพาน ก็จะเกิดต่อไปเลยครับ เป็นสภาวะที่พ้นจากรูปนามอย่างสิ้นเชิ่งครับ หรือดับจากรูปนามหรือขันธ์ 5 อย่างหมดสิ้น 1 ขณะจิต.

        แต่สภาวะของผมนั้นไม่ได้เป็นไปโดยตลอดไปอย่างนั้นคงอยู่แค่ โคตรภูญาณ เท่านั้น


ทีนี้ญาณที่ ๑๓ โคตรภูญาณ จะว่าโลกียะก็ไม่ใช่ โลกุตระ ก็ไม่เชิง อยู่ที่ระหว่างโลกียะ กับโลกุตระ ต่อกัน ญาณนี้เรียกว่า โคตรภูญาณ โคตร แปลว่า ครอบงำ ญาณ ปัญญา ครอบงำ โคตรของปุถุชนเข้าสู่เขตพระอริยะ อยู่ระหว่างกึ่งกลางจะเป็นโลกียะก็ไม่ใช่ โลกุตตระก็ไม่เชิง เหมือนกับเราอยู่ในประตุ เข้าประตูบ้าน เข้าประตูโบถส์ ขาหนึ่งอยู่ข้างในขาหนึ่งอยู่ข้างนอก จะบอกว่าอยู่ในโบถส์ก็ไม่ใช่ จะอยู่นอกโบถส์ก็ไม่เชิง เพราะขาข้างหนึ่งอยู่ในขาข้างหนึ่งอยู่นอก ตรงนี้เรียกโคตรภูมิญาณหน่วงนิพพานเป็นอารมณ์
          หนึ่งขณะจิตรูปนามดับแล้ว ขันธ์ห้าดับแล้ว


   สำหรับผม โคตรภูมิญาณนั้นละทิ้งหรือดับจากความรับรู้ไปแล้วชั่วขณะหนึ่ง แต่จะข้ามไปได้หรือไม่ได้นั้นไม่สามารถทราบได้ รู้เพียงว่ากิเลสทั้งหลายออ่นกำลังไปหมดแล้ว และผลนั้นก็ดำเนินไปอย่างยาวนานด้วย  แต่ความสงสัยในฐานะนั้นยังมีอยู่อย่างอ่อนๆ แต่ไม่สับสนวางได้ เพราะมีปัญญาที่ว่าจะใช่หรือไม่ใช่ก็ต้องปฏิบัติต่อไป และไม่ต้องไปยึดมั่นถือมั่นให้ต้องวิปลาสอีกเหมือนที่ผ่านมาที่หลงวิปัสสนูกิเลส.

 

ตอบโดย: Vicha 22 ส.ค. 52 - 09:53


  สวัสดีครับทุกๆท่าน  สวัสดีครับคุณเปา

จาก คคห 681

ผมไม่เห็นว่าจิตเป็นดวงอย่างชัดเจนครับ ถ้าฟังคร่าวๆตามที่คุณเปาเล่ามา ผมนึกภาพออกมาว่าเป็น "ปฏิภาคนิมิต" อย่างไรก็ดี ถึงตรงนี้ ผมไม่มีความรู้ความเข้าใจมากพอ ว่าตรงที่คุณเปาเล่ามา เป็นอะไรกันแน่

แต่ถ้าตามความรู้ความเข้าใจของผมในตอนนี้ ลักษณะที่เป็นดวงๆ น่าจะเป็นอาการกริยาของจิต เป็นสิ่งที่ถูกรู้ถูกดูอย่างนึง แล้วมีจิตผู้รู้ไปรู้เข้าอีกที

เพราะลักษณะของจิตผู้รู้ ตามที่ผมรู้ตามที่ผมเข้าใจ ไม่สามารถมองเห็นได้ตรงๆ ต้องอาศัยการรู้สิ่งที่ถูกรู้ แล้วสังเกตุผ่านอาการกริยาของจิต จึงจะค่อยๆเข้าใจจิตผู้รู้ขึ้นมาเป็นลำดับๆ

เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ  รอความเห็นจากท่านอื่นๆด้วยครับ

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 22 ส.ค. 52 - 09:54


และสวัสดีครับคุณปล่อย

จากคำถามเชิงสงสัยดังนี้

อ้างอิง
การเจริญอานาปานสติ มันสามารถที่จะดำเนินไปถึงสมาธิระดับขั้นสูงๆ
จนถึงในชั้นของสัญญาเวทยิตนิโรธ เลยไม่ใช่หรือ ครับ

เมื่อเราเจริญสมาธิไปตามลำดับขั้นของมันอย่างถูกต้อง
ตามหลักของการเจริญฌานอย่างถูกวิธี ตามธรรมชาติของจิต
สมาธิมันก็จะขยับสูงเคลื่อนขึ้นไปเรื่อยๆ ใช่ไหมครับ
จากปฐมฌาน ไล่ขึ้นไปจนไปสิ้นสุดลง ที่สัญญาเวทยิตนิโรธ ใช่ไหมครับ

จากการที่ผมเคยได้ยินได้ฟังมาว่า
สมาธิในระดับขั้น สัญญาเวทยิตนิโรธนั้น
สังขารทั้ง๓ดับสนิทลงชั่วคราว อย่างสิ้นเชิง
นั้นก็คือ กายสังขาร (ลมหายใจเข้าออก)
วจีสังขาร(วิตก วิจาร)
จิตสังขาร(สัญญา,เวทนา)

การเจริญ อานาปานสติ นั้น
เมื่อเจริญอย่างถูกวิธี ก็ย่อมสามารถที่จะนำพาจิตไปสู่ สมาธิในระดับสัญญาเวทยิตนิโรธได้เหมือนกันใช่ไหม ครับ

เมื่อจิตไม่หลงเพลิดเพลินติดจมอยู่กับผลของสมาธิในระดับขั้นใดๆ
จิตก็จะขยับไปสู่สมาธิในขั้นลำดับต่อๆไป
จนไปถึงที่ ไม่มีที่ให้ขยับไปไหนได้อีกต่อไป...ใช่ไหมครับ


  ตอบ  ถ้าอย่างนั้นผมก็จะตอบอธิบายเล่าแบบข้ามจาก ปี 2526-27 ข้ามมายังปี 2551 เลยครับ เพราะปี 2551 นั้นผมได้ปรับปฏิบัติอานาปานสติเป็นหลัก โดยจะเจาะเอาตรงที่ผลปรากฏเลยนะครับ เพราะได้สนทนากันมากแล้วในเรื่องอานาปานสติในกระทู้.

      ผมหลังสุดผมได้ทำงานทดสอบอานาปานสติ 2 แบบ ในการปฏิบัติของผม ด้งนี้.

     1.กำหนดสติที่ลมสัมผัสปลายจมูกเพื่อให้สติชัดจริง มีคำภาวนาหล่อเลี่ยงในบางช่วง.
     2.กำหนดสติที่ลมสัมผัสบางที่ความรู้สึกที่เวทนาว่าหายใจบ้าง

    ซึ่งได้ผลสุดท้ายต่างกันดังนี้ (กว่าจะสุดท้ายอย่างนี้มีสภาวะธรรมอื่นๆ มาเยอะแล้วนะครับ ไม่ใช่ปรึกบับเป็นอย่างนี้เลยนะครับ)

     ถ้าเป็นแบบที่ 1 ตั้งสติให้ปรากฏชัดที่สัมผัส(มีการบริกรรมภาวนาหล่อเลียงบางครั้ง แล้วแผ่วเบา) หลังจากนั้นก็จะตัดการรับรู้จากภายนอกไม่รู้สึกที่ร่างกาย อยู่ที่ลมสัมผัส แล้วคลายวางไป เกิดคลายเป็นจุดหรือบริเวณความรู้สึก หรือนิมิตความรู้สึกนั้น แคบลงๆ เมื่อถึงจุดหนึ่งก็โดนบล็อกให้นิ่ง หลังจากนั้น นิมิตความรู้สึกนั้นก็ ดับ (ดับความรู้ทั้งหมด และใจที่รู้) ไปทันที เมื่อไหวเกิดปรึบสติชัดเจนในทันที่

     ถ้าเป็นแบบที่ 2  ทิศทางก็เป็นแบบที่ 1 แต่ชัดเจนของสติสัมปชัญญะน้อยกว่า หลังจากนั้นก็จะตัดการรับรู้จากภายนอกไม่รู้สึกที่ร่างกาย  เหลื่อแต่ความรู้สึก หรือนิมิตของความรู้สึก หลังจากนั้นก็แคบลงๆ เมื่อถึงจุดหนึ่งก็โดนบล็อกให้นิ่ง และแน่นนิ่งอยู่อย่างนั้น แล้วคล้ายสดุดไหวขึ้นมามีสติรู้ตัวเหมือนปกติ.

    และแบบที่ 1 นั้นการดับนั้นก็ไม่น่าจะใช่ สัญญาเวทยิตนิโรธ ครับ และผมก็ไม่เคยพัฒนาไปทางอรูปฌานมาก่อนเลยครับ..

      สมาธิที่ผมพัฒนาได้แบบที่เหลือรู้เบาบางมากๆ เท่านั้น และทิ้งความรู้สึกทางกายและอย่างอื่นที่เหลือหมดสิ้น เหลือสภาพรู้เบาบางหรือว่างๆ คือ
          แบบที่ 1. รู้ ว่างๆ ไม่มีอะไรเลย (สามารถ วนกลับไปทบทวนได้ถึ่ง 3 ครั้ง)
          แบบที่ 2  รู้ อุเบกขา อย่างเดียว แล้วมีญาณบอกให้ทราบว่า "ไม่สูขไม่ทุกข์"

   ในเมื่อกำหนดภาวนาอยู่เนืองๆ โดยไม่ทอดธุระเป็นเวลาถึงหลายปี สภาวะธรรมย่อมปรากฏชัดแจ้งขึ้นไปตามลำดับตามฐานะเป็นธรรมดา.

  
         

ตอบโดย: Vicha 22 ส.ค. 52 - 10:49


สวัสดครับคุณบุญรักษ์

   ผมก็แสดงความคิดเห็นว่าผมเข้าใจเช่นเดียวกับคุณบุญรักษ์ "ว่าเห็นจิตเป็นดวงใสสว่างจ้านั้นอยู่ใน ช่วง ปฏิภาคนิมิตครับ"
     และผลนั้นบังเกิดนิมิตเป็นดวงสว่างนั้นก็สามารถอยู่ในช่วงองค์ฌานหลังจากบรรลุฌานนั้นไปแล้วครับ.

  

ตอบโดย: Vicha 22 ส.ค. 52 - 10:56


 

จิตผู้รู้....กับปฏิภาคนิมิต  จะต่างกันนิดหนึ่งครับ

*****************************************************
ปฏิภาคนิมิต....จะอยู่ภายนอกจิต  เป็นสิ่งที่เรามองเห็น  เหมือนของนอกกาย

คนทำสมาธิทั่วไปก็สามารถเห็นได้

*****************************************************

จิตผู้รู้นี้...หลังจากปฏิบัติมาระยะหนึ่ง  ซึ่งต้องเข้าใจแล้วว่าร่างกายไม่เที่ยง

พิจารณาร่างกายตนเองทีไร  ก็ผ่านทะลุโดยง่าย  ผ่านจะเข้ามาเห็นบางสิ่งบางอย่าง

ที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนไปมาในร่างกายตนเอง ซึ่งเรียกอีกนัยหนึ่งว่า" การเกิดดับ "

หากมีกำลังสมถะหนุนพอ  จะเห็นสิ่งที่เคลื่อนไหวนั้น เคลื่อนไหวปกคลุมบางอย่างที่นิ่งๆ

มีลักษณะเป็นดวงๆ  ก้อนๆ ใสๆ บริเวณกลางอกของผู้ปฏิบัติ  และรู้สึกว่าสิ่งนั้นเป็นเรา

เมื่อมีผัสสะผ่านมา  จะมีบางอย่างไหวตัวออกจากเราไปจับกับผัสสะ

และปรุงต่อมาจนเกิดเป็นอารมณ์  เมื่อเกิดเป็นอารมณ์ จากความผ่องใสของจิต

จะแปรเปลี่ยนเป็นทึบ  ทำให้รู้ได้

***********************************************************




และความเห็นของผม.....ขอให้ใคร่ครวญอีกครั้งนะครับ  

ขอเรียกว่าการถกกันในธรรมก็แล้วกัน   ผมขอโทษนะครับ

หากอาจจะกล่าวความเห็นแย้งไปบ้าง

 ผมเห็นว่า การเห็นการวูบดับหายไปนั้น  เป็นเพราะสติชัดจากการเพ่ง

จึงสามารถเห็นสันตติขาดได้  แต่เป็นการเพ่งมองสิ่งที่อยู่นอกจิตครับ...

..น่าจะเป็นการรู้ในลักษณะว่า  มีบางอย่างเปลี่ยนแปลง

ในจิต  โดยไม่ได้รู้ลงไปชัดว่าเปลี่ยนแปลงอย่างไร

คือรู้ว่า X.X.X.X.X.X.X.X.X.X.X.X.X.X.X.X.X.X.X.X.X.X. ก็พอ ( x เท่ากับ สิ่งไม่รู้ )

แต่โดยรวม....จะรู้ว่า  จิตมีการเปลี่ยนแปลงก็พอ


ส่วนโคตรภูญาณนั้น  ผมเห็นว่า....ต้องเข้าไปสัมผัสกับสภาวะนิพพาน

ที่รู้ว่า ตัวจิตผู้รู้เองไม่เที่ยงด้วยครับ  แต่ทำได้เพียงแค่รู้ แล้วก็กลับถอยมาอยู่ฝ่ายปถุชน

เหมือนกับที่ว่า  ....เหมือนคนเท้าเหยียบลำน้ำสองฟาก

เกิดในขณะจิตเดียว....หากจิตพร้อมที่จะเป็นพระอริยะ  จิตก็จะเดินต่อไป

( ตามคำครูอาจารย์....จะเกิดสภาวะต่อเนื่องอีกสองสามสภาะวะ )

แต่หากจิตยังไม่พร้อม หรือมีเหตุอย่างอื่น.....สภาวะต่อเนื่องนั้นจะไม่เกิด

แต่การทบทวน...ความรู้ที่รู้ว่า  " ตัวจิตเองไม่เที่ยง "  นั้น  จะเหมือนกัน

นี่เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ









 

ตอบโดย: เปา 22 ส.ค. 52 - 13:30


อ้างอิง (เปา @ 22 สิ.ค. 52 - 13:30)


จิตผู้รู้....กับปฏิภาคนิมิต  จะต่างกันนิดหนึ่งครับ

 
(เปา @ 22 สิ.ค. 52 - 13:30)



ขออนุญาตสนทนาด้วยน่ะครับ



คุยกันในฐานะผู้ร่วมแสวงหาทางพ้นทุกข์น่ะครับ
ผมเอง ศึกษาปริยัติมาก็น้อย ปฏิบัติยิ่งไม่เอาถ่านเลย

คุญแลกเปลี่ยนทัศนะเฉยๆ
ถูกผิด เว้นไว้ก่อน



เรื่อง จิตผู้รู้ กับ ปฏิภาคนิมิต นั้น ...ไม่ใช่ความหมายเดียวกัน

แต่ อาจจะมีความสัมพันธ์กันในก็ได้ครับ




ผมขออนุญาต เสนอประเด็นนี้ โดยอิงกับ ภาที่ใช้แสดงพระพุทธพจน์ในระดับพระสูตรน่ะครับ




เรื่อง จิตผู้รู้ นี้... เท่าที่ฟังมาจากครูบาอาจารย์

ท่านจะพูดถึง เอกจิต เอกธรรม (หลวงปู่ หล้า เขมปัตโต)

คำว่า เอกจิต(จิตหนึ่ง) นี้ น่าจะตรงกับ คำในพระไตรปิฎกแปลไทยว่า เอกัคคตาจิต หรือ จิตที่มีอารมณ์เดียว(จะเป็น อารมณ์เดียวแบบที่เป็นของฤาษีนอกพระศาสนา หรือ อารมณ์เดียวแบบเหนือสุขเหนือทุกข์ ก็ว่ากันไปอีกประเด็นหนึ่ง)



ส่วนคำว่า เอกธรรม(ธรรมหนึ่ง) นี้ น่าจะตรงกับ เอโกธิภาวะ ที่พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญว่า เป็นสมาธิที่มีคุณอันไม่มีประมาณ ซึ่งเป็นโดยปราศจากการข่มด้วยสสังขารธรรม...

นี่เป็นลักษณะ สมาธิจิตที่ปราศจากวิตกวิจาร คือ ไม่จำเป็นต้องมีวิตกวิจารมาคอยเป็นตัวข่ม กามวิตก พยาบาทวิตก อวิหิงสาวิตก อีกแล้ว... คือ สมาธิที่ทรงตัวได้stableกว่า ปฐมฌาน.
ซึ่ง ก็ตรงกับ ทุติยฌานที่เป็นสัมมาสมาธิ ขึ้นไป




มีพระสูตร ที่ตรัสถึง สมาธิที่มีปัญญาและสติประกอบ

อันเป็นเหตุนำไปสู่ "สมาธินี้ละเอียด ประณีต ได้ด้วยความสงบระงับ บรรลุได้ด้วยความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น และ มิใช่บรรลุได้ด้วยการข่มธรรมที่เป็นข้าศึก ห้ามกิเลสด้วยจิตอันเป็นสสังขาร "


[๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลาย จงมีปัญญารักษาตน มีสติ เจริญสมาธิหาประมาณมิได้เถิด

เมื่อเธอมีปัญญารักษาตน มีสติ เจริญสมาธิหาประมาณมิได้อยู่ ญาณ ๕ อย่าง ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตน ญาณ ๕ อย่างเป็นไฉน คือ

ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า

สมาธินี้มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป ๑

สมาธินี้เป็น อริยะ ปราศจากอามิส ๑

สมาธินี้อันคนเลวเสพไม่ได้ ๑

สมาธินี้ละเอียด ประณีต ได้ด้วยความสงบระงับ บรรลุได้ด้วยความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น และมิใช่บรรลุได้ด้วยการข่มธรรมที่เป็นข้าศึก ห้ามกิเลสด้วยจิตอันเป็นสสังขาร ๑

ก็เราย่อมมีสติเข้าสมาธินี้ได้ มีสติออกจากสมาธินี้ได้ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจงมีปัญญารักษาตน มีสติ เจริญสมาธิอันหาประมาณมิได้เถิด

เมื่อเธอทั้งหลายมีปัญญารักษาตน มีสติ เจริญสมาธิอันหาประมาณมิได้อยู่ ญาณ ๕ อย่างนี้แล ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตน ฯ

จบสูตรที่ ๗
๘. อังคิกสูตร


[๒๗] สมาธึ ภิกฺขเว ภาเวถ อปฺปมาณํ นิปกา ปติสฺสตา

สมาธึ ภิกฺขเว ภาวยตํ อปฺปมาณํ นิปกานํ ปติสฺสตานํ ปญฺจ ญาณานิ
ปจฺจตฺตญฺเญว อุปฺปชฺชนฺติ กตมานิ ปญฺจ

อยํ สมาธิ ปจฺจุปฺปนฺนสุโข จว อายตึ จ สุขวิปาโกติ ปจฺจตฺตญฺเญว ญาณํ อุปฺปชฺชติ

อยํ สมาธิ อริโย นิรามิโสติ ปจฺจตฺตญฺเญว ญาณํ อุปฺปชฺชติ

อยํ สมาธิ อกาปุริสเสวิโตติ ปจฺจตฺตญฺเญว ญาณํ อุปฺปชฺชติ

อยํ สมาธิ สนฺโต ปณีโต ปฏิปฺปสฺสทฺธิลทฺโธ เอโกทิภาวาธิคโต น จ
สสงฺขารนิคฺคยฺหวาริตปฺปตฺโตติ ปจฺจตฺตญฺเญว ญาณํ อุปฺปชฺชติ

โส โข ปนาหํ อิมํ สมาธึ สโตว สมาปชฺชามิ สโต วุฏฺฐหามีติปจฺจตฺตญฺเญว ญาณํ อุปฺปชฺชติ ฯ

สมาธึ ภิกฺขเว ภาเวถ อปฺปมาณํ นิปกา ปติสฺสตา สมาธึ ภิกฺขเว ภาวยตํ อปฺปมาณํ นิปกานํ ปติสฺสตานํ อิมานิ ปญฺจ ญาณานิ ปจฺจตฺตญฺเญว อุปฺปชฺชนฺตีติ ฯ






หรือ จะลองพิจารณาดูในอานาปานสติ

ในขั้นกายานุปัสสนานั้น เมื่อเจริญจนครบถ้วน จะสู่ขั้นการระงับกายสังขาร(จตุตกะที่4).
 
ใน ทันตภูมิสูตร
กล่าวตรงนี้ว่า "พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับกาย" ...
ซึ่ง ก็คือ การ ละวาง วิตก วิจาร ในลมหายใจเข้าออก(แต่ ความรู้สึกแห่งลมหายใจยังคงมีอยู่... ความรู้สึกแห่งลมหายใจจะดับสนิทเมื่อถึงจตุตฌาน) อย่างมีสติสัมปชัญญะ จิตจึงลุถึงทุติยฌาน

อนึ่ง ทุติยฌานนี้ มักจะบรรยายด้วย ภาษาที่ว่า

"....เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบ วิตกและวิจาร
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่..."


ดังนั้น ถ้ากล่าวถึง ธรรมเอก ...ผมจึงเห็นว่า น่าจะหมายถึง รูปฌาน๒ ๓ ๔ ที่เป็นสัมมาสมาธิ ครับ




ส่วน ปฏิภาคนิมิต นั้น เป็นภาษาที่ใช้ในคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาลครับ

จึงยากที่จะระบุย้อนกลับไปยัง พระพุทธพจน์ดั้งเดิมว่า เป็นองค์ธรรมใดกันแน่ๆ (คห ส่วนตัวน่ะครับ)





 

ตอบโดย: ตรงประเด็น 22 ส.ค. 52 - 14:31


 ครับ

ผมไม่เห็นเป็นดวง ผมไม่เห็นเป็นก้อน ผมเห็นแค่ว่ามันไหวๆ

ไหวๆยิบยับไปหมด

ที่อกก็มี บางทีไหวที่มือ บางทีไหวทางโน้นบ้าง ทางนี้บ้าง ในกาย

เวลามีผัสสะ ถึงค่อยเห็นมันยกตัวไปรับกับผัสสะ เห็นบ้าง ไม่เห็นบ้าง

บางทีก็เห็น บางทีก็ไม่เห็น ไม่ทุกครั้งที่เกิดผัสสะ ไม่มากครั้ง ไม่บ่อย

บางทีก็เห็นมันยกไปรับผัสสะ แต่มีตัวรู้ดูอยู่ต่างหากอีกที

ผมไม่รู้เหมือนกัน ว่ามันคืออะไร ผมเดาๆเอา ว่าคือ กายในกาย

เพราะผมเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะอย่างไร มันก็ไม่ใช่จิต มันเป็นสิ่งที่ถูกรู้ มีตัวรู้เฝ้าดูอยู่ต่างหาก

มันไม่ทึบ ไม่รู้เหมือนกันครับว่าทึบไหม แต่ผมว่ามันไม่ทึบนะ

แต่ก็ไม่โปร่งตลอดกาย ไม่รู้เหมือนกัน(ไม่รู้อีกแล้ว 555   ) ผมว่าแล้วแต่จังหวะของกำลัง

แต่ถ้าใจออกไปรู้นอกๆ มันจะไม่เห็นไหวๆ

บางจังหวะ ผมไม่เห็นไหวๆนี่เลย เห็นแต่เกิดดับทางโน้นที ทางนี้ที

ส่วนตัวรู้ตั้งมั่นเฝ้าดูอยู่เฉยๆ

ผมไม่เห็นว่า ไหวๆ เป็น เรา

เล่าสู่กันฟังครับ

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 22 ส.ค. 52 - 14:44



มีประเด็นหนึ่ง ที่มีผู้เสวนากันมาก คือ



การเจริญ อานาปานสติ-กายานุปัสสนาใน3ข้อแรก เป็นการกดข่มจิตกิเลส หรือไม่?


ท่านผู้รู้ ท่านเคยกล่าวไว้ว่า ในตอนแรกของอานาปานสตินั้น สมถะเด่น

คือ ใช้วิตก-วิจาร ของกายในกาย(ลมหายใจเข้าออก) ข่ม กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ไว้...ยังให้ เนกขัมมะวิตก อพยาบาทวิตก อวิหิงสาวิตก เจริญขึ้น

ซึ่ง นี่อาจจะถูกมองว่า นี่เป็นการกดข่มจิตกิเลสได้....จริง



แต่ ต้องไม่ลืมอย่างหนึ่งว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้ห้ามข่มจิตในทุกกรณี...

ถ้าเป็น พระพุทธพจน์ดั้งเดิม ท่านสอนให้"ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม"(จาก สีติสูตร)


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
สีติวรรคที่ ๔

๑. สีติสูตร

[๓๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมไม่ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม ๑
ไม่ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง ๑
ไม่ยังจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง ๑
ไม่วางเฉยจิตในสมัยที่ควรวางเฉย ๑
เป็นผู้น้อมไปในธรรมเลว ๑
และเป็นผู้ยินดียิ่งในสักกายะ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แลย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม ๑
ย่อมประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง ๑
ย่อมยังจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง ๑
ย่อมวางเฉยจิตในสมัยที่ควรวางเฉย ๑

เป็นผู้น้อมไปในธรรมประณีต ๑
และเป็นผู้ยินดียิ่งในนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรกระทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง ฯ




อานาปานสติ-กายานุปัสสนาใน3ข้อแรก เมื่อเจริญสมบูรณ์ จิตจะลุถึงปฐมฌาน คือ สงัดจากกาม(มีเนกขัมมะวิตก) สงัดจากอกุศล(มี อพยาบาทวิตก อวิหิงสาวิตก ) บังเกิดแต่วิเวก. ซึ่งนี้ก็คือ ละมิจฉาสังกัปปะ เจริญสัมมาสังกัปปะ...



แต่ ในปฐมฌานนี้ ยังไม่จัดว่าเป็น"สมาธิมีคุณอันไม่มีประมาณ"... คือ ยังคงมีการใช้ สสังขารธรรม(วิตก วิจาร แห่งกายในกาย) มากดข่มอกุศลธรรมอยู่



ในขั้นที่4แห่งกายานุปัสสนา คือ ระงับกายสังขาร (ละวิตก วิจาร) ซึ่งยังให้จิตลุถึงทุติยฌาน จึงปรากฏ เอโกธิภาวะ (ธรรมเอก)ขึ้น....

สมาธิ ณ จุดนี้ เป็นสมาธิที่ปราศจากวิตก-วิจาร แล้ว จึงเป็นสมาธิที่ปราณีตขึ้น ไม่ต้องอาศัยการกดข่มด้วยสสังขารธรรม (บรรยาย ทุติยฌานด้วยคำว่า "เป็นธรรมเอก ผุดขึ้น ตั้งมั่น)



สรุป

ในตอนแรกเริ่มแห่งกายานุปัสสนา ยังคงมีการใช้ สสังขารธรรม(วิตก วิจาร แห่งกายในกาย ) ข่ม กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ไว้. ยังให้จิตสงัดจากกาม จากอกุศลธรรม.

แต่ ในลำดับต่อมา ก็ ละวาง วิตก วิจาร แห่งกายในกาย เสีย



กายานุปัสสนาแห่งอานาปานสติ นี้ จึง เป็นลักษณะการกดข่มจิตกิเลสในช่วงต้นเท่านั้น

ต่อเมื่อ เจริญถึงซึ่ง ธรรมเอก แล้ว... การกดข่มจิตกิเลสก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป





ปล...เสนอให้สังเกตุ

ใน การเจริญอานาปานสตินี้ มีครบทั้ง4ลักษณะแห่งการปฏิบัติต่อจิต ตามสีติสูตรเลย


ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม ในช่วงแรกแห่งกายานุปัสสนา

ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง ในจตุตตกะที่4แห่งกายานุปัสสนา

ยังจิตให้ร่าเริง ในตอนแรกแห่งจิตตานุปัสสนา

วางเฉยต่อจิต ในขั้นตอนเปลื้องจิต(ปล่อยจิต)ในขั้นจิตตานุปัสสนา




 

ตอบโดย: ตรงประเด็น 22 ส.ค. 52 - 14:51



ประเด็น เรื่อง การติดสุขที่บังเกิดขึ้นจากฌาน

เรื่องนี้ เป็นไปได้จริง



แม้นแต่ ครูบาอาจารย์พระกรรมฐานท่านก็เตือนไว้
(ท่านเตือนไม่ให้ติดสุขจากสมาธิ แต่ ท่านไม่ได้ห้ามเจริญสมาธิภาวนาน่ะครับ อย่าเข้าใจผิด)


ในรูปฌานนั้น
เมื่อ จิตลุถึงทุติยฌาน จะมีองค์คือ ปิติ สุข เอกัคคตารมณ์
เมื่อ จิตลุถึงตติยฌาน จะมีองค์แห่งฌาน คือ สุข เอกัคคตารมณ์
เมื่อ จิตลุถึงจตุตฌาน จะมีองค์แห่งฌาน คือ อุเบกขา(ละสุข และ ทุกข์) เอกัคคตารมณ์

คือ ยิ่งภาวนาจิตละเอียดเท่าใด ก็จะมีองค์แห่งฌานน้อยลงไป



พึงสังเกตุว่า

ถ้าหากจิตไม่ละวาง ปิติ (หน่ายปิติ เพราะมีสติสัมปชัญญะ) ก็จะไม่ก้าวเข้าสู่ตติยฌาน

ถ้าหากจิตไม่ละวางสุข(ทุกข์ดับไปตั้งแต่บรรลุรูปฌานที่๑แล้ว) ก็จะไม่ก้าวเข้าสู่อุเบกขาจิต แห่งจตุตฌาน ซึ่งบรรยายรูปฌานที่๔นี้ ด้วย อุเบกขา และ การมีสติบริสุทธิ์

ใน รูปฌานที่๔ ที่เป็นสัมมาสมาธิ นั้น บังเกิดได้เพราะ ละวาง ปิติ และ สุข



การติดสุขในสมาธิ จึงเป็นเหตุให้จิตไม่พัฒนาไปสู่ฌานขั้นต่อๆไปนั่นเอง



แต่ ใน เวทนานุปัสสนาแห่งอานาปานสติ นั้น
ท่านทรงแสดงถึง การระงับจิตตสังขาร ซึ่งจิตตสังขารในขณะจิตนั้นๆ คือ ปิติ และ สุข... แล้วจึง ก้าวไปสู่ขั้นจิตตานุปัสสนา

ดังนั้น ถ้าเจริญอานาปานสติให้ถูกต้องตามพระพุทธพจน์จริงๆ ก็จะไม่มีปัญหาเรื่องการติดสุขจากสมาธิเข้า


 

ตอบโดย: ตรงประเด็น 22 ส.ค. 52 - 15:00


เกี่ยวกับ อานาปานสติ เสนอ

http://smartdhamma.googlepages.com/home_anapanasati_buddhadhasa



สิ่งหนึ่ง ที่คนทั่วไปมักจะเข้าใจ ว่า อานาปานสติ คือ การใช้สติตามดูลมหายใจอย่างเดียวไปเรื่อยๆ...ไม่ต้องสุตตะ ในรายละเอียดใดๆเลยก็ได้

(สุตตะนี้ ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการศึกษาจากพระสูตรน่ะครับ... แม้น การฟังท่านผู้รู้ที่ท่านเป็นอุชุปฏิปันโนแนะนำ ก็ จัดเป็นสุตตะด้วย)

ซึ่ง จะว่าไป ในตอนต้นก็ไม่ผิดเสียทีเดียว แต่ เป็นเพียง3ขั้น ใน16ขั้นแห่งอานาปานสติ เท่านั้น...

ที่เหลือ อีก13ขั้น ถ้าไม่สุตตะจากพระพุทธพจน์ ก็อาจจะไม่เข้าใจว่า จะเน้อมจิตไปเช่นใด




มีพระพุทธพจน์ที่ทรงตรัสแสดง ถึงความจำเป็นของสุตตะในอานาปานสติไว้ดังนี้


๖. สุตสูตร

[๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เสพ-
*อานาปานสติกัมมัฏฐานอยู่ ย่อมแทงตลอดธรรมที่ไม่กำเริบต่อกาลไม่นานนัก
ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีธุระน้อย มีกิจน้อย เลี้ยงง่าย ยินดียิ่งในบริขารแห่งชีวิต ๑

ย่อมเป็นผู้มีอาหารน้อย ประกอบความเป็นผู้ไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง ๑

ย่อมเป็นผู้มีความง่วงนอนน้อย ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ ๑

ย่อมเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์
พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑


ย่อมพิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เสพอานาปานสติกัมมัฏฐานอยู่ย่อมแทงตลอดธรรมที่ไม่กำเริบ ต่อกาลไม่นานนัก ฯ

จบสูตรที่ ๖



อานาปานสติเป็นกรรมฐานที่ละเอียด ปราณีต ต้องศึกษาจากท่านผู้รู้ประกอบด้วย จึงจะไปได้ด้วยดี

อนุโมทนากับ ท่าน จขกท และ ทุกๆท่าน ด้วยครับ

ผู้รู้ท่านจะกล่าวบ่อยๆว่า อานาปานสตินี้ ถ้าเจริญได้ดี จะสนับสนุนการเจริญสติในชีวิตประจำวันอย่างดีเยี่ยมด้วย

ตอบโดย: ตรงประเด็น 22 ส.ค. 52 - 15:07


สวัสดีครับ คุณ เปา.

จากความคิดเห็นของคุณเปา.

อ้างอิง
และความเห็นของผม.....ขอให้ใคร่ครวญอีกครั้งนะครับ 

ขอเรียกว่าการถกกันในธรรมก็แล้วกัน   ผมขอโทษนะครับ

หากอาจจะกล่าวความเห็นแย้งไปบ้าง

 ผมเห็นว่า การเห็นการวูบดับหายไปนั้น  เป็นเพราะสติชัดจากการเพ่ง

จึงสามารถเห็นสันตติขาดได้  แต่เป็นการเพ่งมองสิ่งที่อยู่นอกจิตครับ...

..น่าจะเป็นการรู้ในลักษณะว่า  มีบางอย่างเปลี่ยนแปลง

ในจิต  โดยไม่ได้รู้ลงไปชัดว่าเปลี่ยนแปลงอย่างไร

คือรู้ว่า X.X.X.X.X.X.X.X.X.X.X.X.X.X.X.X.X.X.X.X.X.X. ก็พอ ( x เท่ากับ สิ่งไม่รู้ )

แต่โดยรวม....จะรู้ว่า  จิตมีการเปลี่ยนแปลงก็พอ


ส่วนโคตรภูญาณนั้น  ผมเห็นว่า....ต้องเข้าไปสัมผัสกับสภาวะนิพพาน

ที่รู้ว่า ตัวจิตผู้รู้เองไม่เที่ยงด้วยครับ  แต่ทำได้เพียงแค่รู้ แล้วก็กลับถอยมาอยู่ฝ่ายปถุชน

เหมือนกับที่ว่า  ....เหมือนคนเท้าเหยียบลำน้ำสองฟาก

เกิดในขณะจิตเดียว....หากจิตพร้อมที่จะเป็นพระอริยะ  จิตก็จะเดินต่อไป


  ตอบ ก็ไม่เป็นไรครับ แสดงความคิดเห็นกันได้ ตรงใหนที่ผมแก้ต่างได้ผมจะแก้ต่างและอธิบายบอกให้ทราบ นะครับ

จากข้อความของคุณ เปา

อ้างอิง
ผมเห็นว่า การเห็นการวูบดับหายไปนั้น  เป็นเพราะสติชัดจากการเพ่ง

จึงสามารถเห็นสันตติขาดได้  แต่เป็นการเพ่งมองสิ่งที่อยู่นอกจิตครับ...

..น่าจะเป็นการรู้ในลักษณะว่า  มีบางอย่างเปลี่ยนแปลง

ในจิต  โดยไม่ได้รู้ลงไปชัดว่าเปลี่ยนแปลงอย่างไร

คือรู้ว่า X.X.X.X.X.X.X.X.X.X.X.X.X.X.X.X.X.X.X.X.X.X. ก็พอ ( x เท่ากับ สิ่งไม่รู้ )

แต่โดยรวม....จะรู้ว่า  จิตมีการเปลี่ยนแปลงก็พอ


  ตอบ เป็นการเข้าใจผิดจากสภาวะที่เกิดกับผมแทบทั้งหมดเลยครับ น่าจะไปอ่านทบทวนที่ผมอธิบายคุณปล่อยรู้ก่อนนะครับ ทำความเข้าใจที่ละลำดับไม่เช่นนั้นจะเห็นและเข้าใจไปอีกแบบหนึ่งเลยครับ ดังที่แสดงอยู่ครับ

   สันตติขาด กับ ดับ(ที่เกิดกับผม) นั้นเป็นคนละสภาวะธรรมกันเลยครับ  สภาวะที่สติเท่าทันเป็นปัจจุบัน เกิดสภาวะสันตติขาด นั้นเกิดกับการปฏิบัติธรรมที่ผ่านมากับผมนั้น นับจำนวนได้ไม่ถ้วนเลยครับ

และข้อความจากส่วนนี้ของคุณเปา.

อ้างอิง
ส่วนโคตรภูญาณนั้น  ผมเห็นว่า....ต้องเข้าไปสัมผัสกับสภาวะนิพพาน

ที่รู้ว่า ตัวจิตผู้รู้เองไม่เที่ยงด้วยครับ  แต่ทำได้เพียงแค่รู้ แล้วก็กลับถอยมาอยู่ฝ่ายปถุชน

เหมือนกับที่ว่า  ....เหมือนคนเท้าเหยียบลำน้ำสองฟาก

เกิดในขณะจิตเดียว....หากจิตพร้อมที่จะเป็นพระอริยะ  จิตก็จะเดินต่อไป


ตอบ ต้องไปดูในอรรถกถา เรื่องวิปัสสนาญาณ และอภิธรรมเรื่องวิถีจิต และในพระอรรถกถาหรือในเรื่องวิปัสสนาญาณนั้น เมื่อโยคีวจรผู้เป็นปุถุชน ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเจริญถึงซึ่งโคตรภูญาณแล้ว จะไม่ถอยหลังกลับแล้วครับ. ย่อมบรรลุมรรคญาณในขณะจิตต่อไปในทันที่ ละกิเลสอย่างเด็ดขาดในบางส่วน

     ส่วนวิปัสสนาญาณที่ วิ่งไปสู่พระนิพพาน แต่ไม่สามารถบังเกิดได้ต้องย้อนกลับมาที่เดิม คือสติกลับมาชัดแจ้งในรูปนามที่กำหนดภาวนาเหมือนเดิม นั้นก็คือ สังขารุเบกขาญาณ แล้วเฉียดสู่อนุโลมญาณ เพียงเท่านั้น (ทิ้งอารมณ์รูปนามที่มีสติกำหนดภาวนาเป็นอยู่อย่างละเอียดและแผ่วเบาที่ทรงอุเบกขาอยู่นั้น แต่ยังไม่ทันรูปนามดับ ต้องถอนหรือวกกลับมาจับที่รูปนามที่ชัดเจนด้วยมีสติระเอียดอ่อนแผ่วเบาที่ทรงอุเบกขานั้นอีก)

      แต่ทุกอย่างนั้นต้องมีวิปัสสนาญาณเจริญขึ้นตามลำดับจากเบื้องต้นมานะครับ หรือกำลังอยู่ช่วงปฏิบัติที่วิปัสสนาญาณเจริญเป็นอนโลม หรือปฏิโลมแล้วเจริญขึ้นเป็นอนโลม นะครับ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งความเป็นไตรลักษณ์ชัดแจ้งมาเป็นลำดับ จนเกิดสภาวะ 3 ประการนี้.
          อนัจจังนุปัสสนา กับรูปนามที่กำหนดภาวนา
          ทุกขังนุปัสสนา  กับรูปนามที่กำหนดภาวนา
          อนัตตานุปัสสนา กับรูปนามที่กำหนดภาวนา.
    อย่างใดอย่างหนึ่งชัดแจ้งในการกำหนดภาวนาอยู่นะครับ จึงจะเป็นวิปัสสนาอย่างแท้จริง.

        ออ. ลืม อธิบายให้ละเอียดไปนิดหนึ่ง ในการเกิดสภาวะการดับ 2-3 ครั้งเมื่อพ.ศ 2526-27  เป็นอย่างนี้ กำหนดภาวนาไปๆ เป็นอุเบกขาแผ่วเบาๆ ๆ จนแทบไม่มีอะไรเหลือจึง ดับ ไป

       ต่างกับที่ผมลองฝึกอานาปานสติทั้งแต่เริ่มเมื่อประมานปี 2548 ถึง 2551 สภาวะเกิดอย่างนี้ เมื่อกำหนดดูลมที่เกิดจากผัสสะไป จนทิ้งจากผัสสะที่ลมไป(ทิ้งการรับรู้ภายนอกทั้งหมด) แต่ทรงอยู่ด้วยความอึดอัดเป็นทุกข์ปรากฏกฏอยู่กับรูปนามหรือความรู้สึกที่เหลืออยู่ แต่วางอยู่เป็นอุเบกขา สติชัดอยู่ในความรู้สึกอึดอัด และค่อยแบบลง ทรงอยู่เหลืออยู่นั้นพอสติมีกำลังสติชัด ความรู้สึกน้อยๆ ที่อึดอัดแคบนั้น(ที่ผมบอกว่าเป็นนิมิตของอารมณ์นั้น)ก็ ดับ.

   สรุป ที่เหลือก็ต้องศึกษาพิจารณาดูนะครับ.
    

ตอบโดย: Vicha 22 ส.ค. 52 - 16:14


สวัสดีครับคุณบุญรักษ์

จากข้อความ

อ้างอิง
ผมไม่เห็นเป็นดวง ผมไม่เห็นเป็นก้อน ผมเห็นแค่ว่ามันไหวๆ

ไหวๆยิบยับไปหมด

ที่อกก็มี บางทีไหวที่มือ บางทีไหวทางโน้นบ้าง ทางนี้บ้าง ในกาย

เวลามีผัสสะ ถึงค่อยเห็นมันยกตัวไปรับกับผัสสะ เห็นบ้าง ไม่เห็นบ้าง

บางทีก็เห็น บางทีก็ไม่เห็น ไม่ทุกครั้งที่เกิดผัสสะ ไม่มากครั้ง ไม่บ่อย

บางทีก็เห็นมันยกไปรับผัสสะ แต่มีตัวรู้ดูอยู่ต่างหากอีกที

ผมไม่รู้เหมือนกัน ว่ามันคืออะไร


ตอบ ไม่ใช่เป็นดวงปฏิภาคนิมิต ของสมาธิ ระดับเกือบ ฌาน หรอกครับ  เป็นสภาวะของการเจริญสติ ในกายคตา ที่เป็นวิปัสสนามากกว่าครับ และถือว่ามีสมาธิที่ดี กว่าวิปัสสนาล้วนๆ  จัดเป็นวิปัสสนูกิเลส อย่างหนึ่งครับ แล้วอาการนี้จะหายไปเอง เป็นการบ่งบอกว่า สติและสมาธิอยู่ในขั้นที่ดีครับ.
  
 

ตอบโดย: Vicha 22 ส.ค. 52 - 16:22



เรื่อง การสงัดจากกาม จากอกุศล... ที่ทรงตรัสแสดงบ่อยๆในปฐมฌาน นั้น

ย่อมเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ต่อการเห็นธรรมที่สงบปราณีต




ผมขอเสนอดังนี้

ในอานาปานสติภาวนา

การสงัดจากกาม(เนกขัมมะดำริ) สงัดจากอกุศล(อวิหิงสาดำริ อพยาบาทดำริ) เป็นผลจาก  กามดำริ วิหิงสาดำริ พยาบาทดำริ ถูกทอนกำลัง อ่อนกำลังลง

การที่ กามดำริ วิหิงสาดำริ พยาบาทดำริ ถูกทอนกำลัง อ่อนกำลังลง
เป็นเพราะ วิตก วิจาร แห่งกายในกาย(สติปัฏฐาน) ภายใต้ เนกขัมมะดำริ+ศีล(เนกขัมมะ)+อินทรีย์สังวร มีความบริบูรณ์

ไม่ว่าจะเจตนาจงใจให้ กามดำริ วิหิงสาดำริ พยาบาทดำริ ถูกทอนกำลัง อ่อนกำลังลง หรือไม่ก็ตาม...
ถ้า ประกอบด้วย วิตก วิจาร แห่งกายในกาย(สติปัฏฐาน) ภายใต้ เนกขัมมะดำริ+ศีล(เนกขัมมะ)+อินทรีย์สังวร มีความบริบูรณ์ คือ ประกอบเหตุให้สมบูรณ์ ....ผลที่สมบูรณ์ย่อมตามมาเอง ไม่ว่าจะจงใจ หรือ ไม่จงใจ ก็ตาม

ดังนั้น ไม่ว่าจะมอง กายานุปัสสนา3ขั้นแรกว่า เป็นการกดข่มกามราคะหรือไม่ก็ตาม... ถ้า ประกอบเหตุให้สมบูรณ์ ผลที่สมบูรณ์ คือ การสงัดจากกาม(เนกขัมมะดำริ) สงัดจากอกุศล(อวิหิงสาดำริ อพยาบาทดำริ) ย่อมตามมาเอง ทั้งสิ้น






เกี่ยวกับ การที่สมถะยังให้กามราคะสงบลง(แม้นอาจจะไม่ถาวรในเบื้องต้น) มีปรากฏในระดับพระสูตร ดังนี้

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ เป็น ธรรมมีส่วนแหงวิชชา

ธรรม ๒ อย่าง คืออะไร คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สมถะที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์อะไร ? ย่อมอบรมจิต
จิตที่อบรมแล้วก่อให้เกิดประโยชน์อะไร ? ย่อมละราคะได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิปัสสนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร ? ย่อมอบรมปัญญา
ปัญญาที่อบรมแล้ว ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร ? ย่อมละอวิชชาได้

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะย่อมไม่หลุดพ้น หรือ ปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชาย่อมไม่เจริญ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แล ความสิ้นราคะ ชื่อเจโตวิมุติ ความสิ้นอวิชชา จึงชื่อว่าปัญญาวิมุติ.....”

ป. ทุก. อํ. (๒๗๕-๒๗๖)
ตบ. ๒๐ : ๗๗-๗๘ ตท. ๒๐ : ๖๙-๗๐
ตอ. G.S. ๑ : ๕๕-๕๖




นอกจากนี้ ในพระสูตรที่ทรงตรัสแสดงแก่โพธิราชกุมาร

ทรงแสดง เปรียบเทียบ บุคคล ที่ออกจากกาม ทั้งทางกาย และ ใจ ว่าเป็นผู้ที่คู่ควรที่จะตรัสรู้ชอบ

http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=7663&Z=8236

ดูกรราชกุมาร ข้อนี้ฉันใด

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งก็ฉันนั้นแล มีกาย
หลีกออกจากกามแล้ว ไม่มีความพอใจในกาม ไม่เสน่หาในกาม ไม่หลงอยู่ในกาม ไม่ระหายในกาม ไม่เร่าร้อนเพราะกาม ละได้ด้วยดี ให้สงบระงับด้วยดีในภายใน
ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถึงแม้จะได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะความเพียรก็ดี ถึงจะไม่ได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะความเพียรก็ดี ก็ควรเพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็น เพื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ อันไม่มีกรรมอื่นยิ่งกว่าได้








 

ตอบโดย: ตรงประเด็น 22 ส.ค. 52 - 16:40


สวัสดีครับ

อ้างอิง (Vicha @ 22 สิ.ค. 52 - 16:22)
ตอบ ไม่ใช่เป็นดวงปฏิภาคนิมิต ของสมาธิ ระดับเกือบ ฌาน หรอกครับ  เป็นสภาวะของการเจริญสติ ในกายคตา ที่เป็นวิปัสสนามากกว่าครับ และถือว่ามีสมาธิที่ดี กว่าวิปัสสนาล้วนๆ  จัดเป็นวิปัสสนูกิเลส อย่างหนึ่งครับ แล้วอาการนี้จะหายไปเอง เป็นการบ่งบอกว่า สติและสมาธิอยู่ในขั้นที่ดีครับ.

ผมเข้าใจครับ ว่าที่ผมเห็นไม่ใช่ปฏิภาคนิมิต

ผมเคยครั้งนึง เป็นความสว่างเต็มทุกอนูของกาย
รู้สึกได้ถึงกายที่สว่างโพลงด้วยใจที่มีกำลังเต็มเปี่ยม
ผมก็เดาๆเอาว่า สงสัยนี่แหล่ะมั้ง คือปฏิภาคนิมิตในระดับฌานสี่

ผมแค่ไม่แน่ใจว่า ในความหมายของ จิตผู้รู้ เท่านั้นครับ

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 22 ส.ค. 52 - 16:40


อ้อ...แต่มันไม่เป็นดวงครับ มันเต็มกายทั้งกายเลย

ผมไม่เคยเห็นเป็นดวงครับ จึงอธิบายไปอย่างที่เล่าไปแล้ว

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 22 ส.ค. 52 - 16:44



พระสุปฏิปันโน ที่ท่าน ใช้อานาปานสติเป็นวิหารธรรม ที่ ท่านสอนเรื่องนี้ไว้มาก คือ

ท่านพุทธทาสภิกขุ
หลวงปู่ ชา สุภัทโท
หลวงปู่ หล้า เขมปัตโต
พระ อ.มิตซูโอะ คเวสโก
ๆลๆ


ผมเสนอแนะนำให้ ศึกษาจาก หนังสือ(ถอดจากพระสูตร) และ ธรรมบรรยาย ของท่านพุทธทาสเป็นหลัก เพราะ ท่านจัดระเบียบหมวดหมู่เอาไว้อย่างดีเลิศ...
มีทั้งบรรยายสืบเนื่องจากพระสูตร และ อธิบายด้วยภาษาที่คนรุ่นปัจจุบัน ศึกษาตามได้ไม่ยากนัก

พระสุปฏิปันโนองค์อื่นๆ ท่านจะกล่าวในภาษาภาคปฏิบัติเป็นหลัก ซึ่ง ก็น่าศึกษาเช่นกัน ครับ



เรื่อง อานาปานสตินี้ เป็นกรรมฐานที่สัมพันธ์กับองค์ฌาน อย่างแยกออกจากกันไม่ได้เลย

คือ เร็วๆนี้ ได้ฟังความเห็น
มีบางท่านที่กลัวจิตจะเป็นฌาน(เข้าใจว่า ฌานในการเจริญอานาปานสติหรือสติปัฏฐาน เป็นแบบเดียวกับของฤาษีนอกพระศาสนา)ในเวลาเจริญอานาปานสติ แต่ ก็อยากจะเจริญอานาปานสติด้วย....

ซึ่ง ผมมองว่า เราย่อมไม่สามารถไปบังคับให้จิตไม่เป็นฌาน.... ถ้าเจริญถูกหลัก.


ลอง อ่าน ที่ท่านพุทธทาสกล่าวว่า
"ถ้ากฎธรรมชาติแห่งจิตได้ทำให้เกิดผลตามที่ควร" ด้านล่างดู

คือ ถ้าจิตมีเครื่องระลึกรู้(กายในกาย)อย่างมีสติ เป็น วิตก วิจาร... ผลคือ ปิติ สุข เอกัคคตา ย่อมเป็นของที่ตามมาเอง ตามกฏธรรมชาติของจิต.

ดังนั้น อานาปานสติหาใช่ว่า จะต้องไปแทกแซงบังคับจิตให้สงบอะไรกันมากมายนัก... เพียง แต่ มีสติสืบเนื่องใน กายในกาย(ลมหายใจ) จิตก็จะสงบลงเองตามกฏธรรมชาติของจิตเช่นนั้น

และ เพราะ อานาปานสติสัมพันธ์กับองค์แห่งฌานนั้นเอง จึงมีพระพุทธดำรัสตรัสเอาไว้ว่า อานาปานสติทำให้กายลหุตา จิตลหุตา ซึ่งมันก็คือ คุณสมบัติของจิตที่เป็นสมถะนั้นเอง




เสนออ่าน


องค์แห่งฌาน ใน อานาปานสติ

โอวาท ท่านพุทธทาสภิกขุ


สำหรับการฝึกที่ใช้ลมหายใจเป็นหลัก หรือ อารมณ์ ในที่นี้มีแนวย่อๆ คือ

ขั้นแรกที่สุด การที่สติกำหนดลงตรงลมหายใจ ดุจว่าบุคคลจดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าที่สิ่งอื่นอีกสิ่งหนึ่ง เราเรียกว่า”วิตก” ภาวะที่เรียกว่า วิตก ในที่นี้ มิได้หมายถึงความตริตรึก หรือ คิดแส่อย่างหนึ่งอย่างใด แต่ หมายถึง อาการที่สติกำหนดแน่วแน่เฉยๆ อยู่ในอารมณ์ที่ไม่มีความหมาย (หรือ ไม่ทำความหมายในการพิจารณาหาเหตุผล) อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งเท่านั้น

ส่วน การที่ จิตต้องเคล้าเคลียอยู่กับอารมณ์กล่าวคือ ลมหายใจ ด้วยอำนาจสัมปชัญญะอยู่ไปมานั้น เรียกว่า “วิจาร” ภาวะที่เรียกว่า วิจารณ์ ในที่นี้ มิได้หมายถึงการพิจารณาหาเหตุผล หรือ หมายถึงการใช้ปัญญาพิจารณาแต่อย่างใด หมายเพียง ลักษณะที่จิตเคล้าอยู่กับอารมณ์อย่างทั่วถึงไม่ออกห่าง . เมื่อเปรียบกับการผูกลิงแล้ว วิตกได้แก่การที่มันถูกผูกติดอยู่กับหลักโดยเฉพาะ .ส่วน วิจาร หมายถึง การที่มันเต้นอยู่รอบๆหลัก จะ ไปๆ มาๆ ขึ้นๆ ลงๆ อย่างไร ก็เคล้ากันอยู่กับหลักนั่นเอง. ในขณะที่ยังเป็นเพียงวิตก วิจาร ล้วนๆนี้ เราเรียกว่าขณะแห่งบริกรรม หรือ การบริกรรม. .

เมื่อการบริกรรมเป็นไปด้วยดี และ ถ้า กฎธรรมชาติแห่งจิตได้ทำให้เกิดผลตามที่ควรอย่างไรสืบไปแล้ว ก็จะเกิดความรู้สึกว่าจิตยอมอยู่ในอำนาจ และ เกิด ความซาบซ่านหรืออิ่มใจชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ปิติ” เป็นความอิ่มใจที่เกิดซาบซ่าน .ในขณะที่เริ่มรู้สึกว่า ร่างกายได้เบาสบายไปทั่วตัว ไม่รู้สึกติดขัด หรือ อึดอัด ความร้อนในร่างกายได้สงบลง จนรู้สึกราวกับว่า มันไม่มีอยู่เลย ลมหายใจค่อยๆละเอียดยิ่งขึ้น จนคล้ายกับไม่มีการหายใจ ความตื่นเต้นของประสาทไม่มีแม้แต่น้อย คงอยู่แต่ความเบาสบาย อันเรียกว่า ปิติ ซึ่งในภาษาแห่งธรรมย่อมหมายถึง ความเย็นใจ อันซาบซ่านอยู่ภายในเท่านั้น ไม่หมายถึงความฟุ้งซ่าน หรือเต้นแร้งเต้นกา.

และ พร้อมๆกันกับปิตินี้ ก็มีความรู้สึกที่เป็นสุข หรือ ความปลอดโปร่งใจ รวมอยู่อย่างแนบแน่นด้วย โดยไม่ต้องมีเจตนา และ เรียกความรู้สึกอันนี้ว่า “สุข”.

ต่อจากนี้ ก็มีหน้าที่ ที่จะควบคุมความรู้สึกอันนี้ให้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอด้วยดี เพราะเหตุว่า ลิงได้หยุดเต้นแล้ว เชือกหรือสติไม่ถูกกระชากอีกต่อไปแล้ว.เพียงแต่รักษาภาวะอันนี้ให้คงที่อยู่ในลักษณะเดียวกันนี้ ซึ่งแท้ที่จริงก็ได้เริ่มมีความกลมเกลียวกันมาตั้งแต่แรกแล้ว ให้เป็นลักษณะที่เด่นชัดยิ่งขึ้น จนปรากฏว่าจิตได้อยู่ในอารมณ์เดียว เสมอต้นเสมอปลายแล้วจริงๆ ยิ่งขึ้นกว่าตอนต้นๆ .ก็เป็นอันว่า สมาธินั้นได้ลุถึงผลสำเร็จของมันแล้วอย่างเต็มเปี่ยมชั้นหนึ่ง และ เรียกความมั่นคงเป็นอันเดียวนี้ว่า “เอกัคคตา” และ พึงทราบว่า ในขณะนี้ วิตก วิจาร ปิติ สุข และ เอกัคคตา ได้กลมกลืนเป็นอันเดียวกัน พร้อมกันอยู่ตลอดเวลาที่มั่นในสมาธิ ไม่มีสิ่งอื่นแทรกแซง จนกระทั่งถึงเวลาที่ผู้นั้นออกจากสมาธิ .

การฝึกขั้นต่อไป ก็มีการฝึกให้เข้าสมาธิได้เร็ว อยู่ได้นานตลอดเวลาที่ต้องการ ตื่นหรืออกจากสมาธิได้ตรงตามเวลาที่ต้องการ คือ มีความชำนาญคล่องแคล่ว จนกลายเป็นของชินหรือเคยตัว จนกระทั่งเวลาธรรมดาทั่วไป ก็รู้สึกว่าจิตยังได้อาบรดอยู่ ด้วยปิติและสุขในภายในอยู่เสมอ ทุกๆอิริยาบถ ไม่ว่าจะไป หรือ อยู่ในสถานที่ไหน เหมือนกับคนที่มีลาภใหญ่หลวง มีความดีอกดีใจซาบซ่านอยู่ในที่ทุกแห่ง ไม่ว่ากำลังทำอะไรอยู่ ฉันใดก็ฉันนั้น. เมื่อลุถึงขั้นนี้ สิ่งที่เรียกว่า การฝึกจิต ก็กล่าวได้ว่า ลุถึงผลอันสมบูรณ์ขั้นหนึ่งแล้ว และเรียกว่า ขั้นปฐมฌาน ความเพ่งจิตอันเป็นบทเรียนขั้นต้นได้ลุถึงแล้ว .




ขั้นปฐมฌานนี้ จะตรงกับ เมื่อจบขั้นที่3ใน4ขั้น ของกายานุปัสสนา

ส่วนขั้นระงับกายสังขาร หรือ ละ วิตก ละวิจาร ซึ่งจะนำไปสู่ทุติยฌาน(เอโกธิภาวะ) และ เริ่มเข้าสู่ ขั้นเวทนานุปัสสนา ต่อไป ...ซึ่งนี่บังเกิดจากจิตที่ละเอียด จึงละวางอาการที่หยาบกว่า(วิตก วิจาร) อย่างมีสติสัมปชัญญะ.
ตรงนี้ ถ้าสติอ่อนจิตอาจจะตกภวังค์ และ ไม่ดำเนินไปตามที่ควร ได้เช่นกัน


 

ตอบโดย: ตรงประเด็น 22 ส.ค. 52 - 16:49



เรื่อง การหาจิตผู้รู้ การฆ่าจิตผู้รู้ ในการเจริญสติปัฏฐาน



เรื่อง การหาจิตผู้รู้

ผมเสนอว่า

ถ้าประกอบเหตุอันสมควรบริบูรณ์ แล้ว ...ถึงไม่เสาะแสวงหาผู้รู้ ผู้รู้ก็ย่อมปรากฏเอง

แต่ ถ้าประกอบเหตุไม่สมควรบริบูรณ์  ...ถึงเสาะแสวงหาผู้รู้  ก็หาไมพบ




เรื่อง การฆ่าจิตผู้รู้

ในจิตตานุปัสสนาแห่งอานาปานสติ

“ภิกษุนั้น
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ จักหายใจเข้าดังนี้ ;
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ จักหายใจออก ดังนี้”

(วิโมจยํ จิตฺตํ อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ; วิโมจยํ จิตฺตํ ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ.)


บางสำนวนแปล ใช้คำว่า "เปลื้องจิต"


ท่าน พุทธทาส ท่านกล่าวไว้ดังนี้ครับ


"......เมื่อทำอยู่ดังนี้

วิญญาณจิตหรือจิตที่เป็นความรู้ก็มีอยู่
ญาณก็มีอยู่
สติกำหนดจิตหรือญาณนั้นว่าปลดเปลื้องแล้วจากอกุศลธรรมมีประการต่าง ๆ นั้นได้อย่างไรก็มีอยู่

สติอันกลายเป็นอนุปัสสนาญาณตามความจริงว่า อกุศลธรรมที่หุ้มห่อจิตนั้นก็ดี จิตที่ถูกหุ้มห่อก็ดี จิตที่ปลดเปลื้องแล้วก็ดี ล้วนแต่เป็นสังขารธรรม ที่มีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ด้วยกันทั้งนั้น ย่อมนำมาซึ่งความเบื่อหน่ายคลายกำ หนัด ความไม่ก่อกิเลสและ ความสละคืนซึ่งสังขารธรรมเหล่านั้นอยู่ตามลำดับ. เมื่อทำอยู่อย่างนี้ย่อมชื่อว่าเป็นการเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานภาวนา อันเป็นอานาปานสติข้อสุดท้ายของจตุกกะที่สามแห่งอานาปานสติทั้งหมด...."


http://smartdhamma.googlepages.com/part ... buddhadhas




และ

เอกะจิต-เอกะธรรม


ธาตุรู้ก็ดี ผู้รู้ก็ดี จะจัดเป็นสังขารฝ่ายนามอันละเอียดก็ได้ เพราะเกิดดับเป็นอย่างละเอียด

ถ้ามีผู้เข้าไปสอดแทรกยึดถือเอาเป็นเจ้าของแล้ว ก็เป็นเหตุ เป็นกรรม เป็นพืช เป็นภพ เป็นอุปาทาน เป็นชาติอันละเอียด ได้ทั้งนั้น

สติสัมปชัญญะปัญญา ไม่สมดุลย์กัน ละเอียดคมคายในขณะเดียวกันแล้ว ก็ยากจะรู้ชัดได้

ต้องอาศรัยอานาปานะสติอันละเอียด ทรงปัญญา ควบคุมให้สมดุลย์กัน ทันเวลาในขณะเดียวแห่งปัจจุบัน

พร้อมทั้งผู้รู้ตามเป็นจริง สัมปยุตอีกด้วยฯ


หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต



และ


ถ้ามีจุดหรือต่อมแห่งผู้รู้อยู่ที่ไหน นั้นแล คือตัวภพ

หลวงตา มหาบัว ญาณสัมปันโน






อานาปานสติ จึงเป็นเรื่อง แห่งการละวาง

หาใช่ เป็นเรื่อง ของการยึดมั่นถือมั่น


ละวาง วิตก วิจาร ...ระงับกายสังขาร ในขั้นกายานุปัสสนา

ละวาง ปิติ สุข ...ระงับจิตตสังขาร ในขั้นเวทนานุปัสสนา

ละวาง จิตผู้รู้(ฆ่า)... ขั้น ปล่อยจิต เปลื้องจิต ในขั้นจิตตานุปัสสนา

พิจารณารูปนามขันธ์๕ทั้งหลายในขณะจิตนั้นๆ เห็นเป็นของไม่เที่ยง ...อนิจจานุปัสสี ในขั้นธัมมานุปัสสนา

เบื่อหน่ายคลายกำหนัดรูปนามขันธ์๕ทั้งหลาย...วิราคานุปัสสี ในขั้นธัมมานุปัสสนา

จิตจึงน้อมไปสู่ความดับไม่เหลือ....นิโรธานุปัสสี ในขั้นธัมมานุปัสสนา

สลัดคืนอุปาทานขันธ์๕ ทุกลมหายใจเข้าออก... ปฏินิสสัคคานุปัสสี ในขั้นธัมมานุปัสสนา



อานาปานสติจึงยังให้ สติปัฏฐานสี่บริบูรณ์ โพชฌงค์เจ็ดบริบูรณ์ วิชชา และ วิมุติ บริบูรณ์... ด้วยเหตุนี้


 

ตอบโดย: ตรงประเด็น 22 ส.ค. 52 - 17:05


สวัสดีครับคุณบุณรักษ์

อ้างอิง
ผมเคยครั้งนึง เป็นความสว่างเต็มทุกอนูของกาย
รู้สึกได้ถึงกายที่สว่างโพลงด้วยใจที่มีกำลังเต็มเปี่ยม
ผมก็เดาๆเอา ว่าสงสัยนี่แหล่ะมั้ง คือปฏิภาคนิมิตในระดับฌานสี่


อึม... สมาธิที่ปรากฏกับคุณบุญรักษ์นี้นี้มากจริงๆ
        
        ส่วนจะเป็นฌานสี หรือเปล่า ต้องลงในรายละเอียดของ จิตและองค์ฌาน ก็อีกที่ครับ.

   จากข้อความของคุณบุญลักษณ์

   อ้างอิง
"ผมแค่ไม่แน่ใจว่า ในความหมายของ จิตผู้รู้ เท่านั้นครับ"


   ถ้ากล่าวถึงระดับสมาธิแบบสมถะ เมื่อเกิดอุคหนิมิต เป็นภาพที่ชัดเจนในใจ.
    อุคหนิมิต ที่ปรากฏในใจนั้นเป็นสิ่งที่ถูกรู้
    ใจที่รู้ประกอง อุคหนิมิต ก็จะเป็น จิตผู้รู้
 
    เมื่อเป็นปฏิภาคนิมิตที่กำลังเข้าสู่ฌาน จิตที่รู้กับปฏิภาคนิมิตนั้นเสมือนเข้าสู่ตรงกลางของปฏิภาคนิมิต หรือรวมแนบแน่นเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วบรรลุฌาน (เป็นไปตามการกำหนดภาวนาที่จิตน้อมเป็นหนึ่งมากๆ ขึ้น นะครับ ไม่ใช่ไปบังคับให้เป็นนะครับ)

    หลังจากนั้นนิมิตที่ชัดนั้นเป็นสิ่งที่ถูกรู้  และจิตที่ประกองนิมิตนั้นเป็น จิตผู้รู้. สามารถเล่นกับนิมิตได้มากมาย ถ้าเป็นการฝึกกสิน
     แต่อานาปานสติกรรมฐานนั้น มีข้อห้าม คือไม่ต้องไปสนใจนิมิต หรือย่อขยายนิมิตครับ (มีกล่าวอยู่ในพระอรรถกถา หรือ วิสุทธิมรรค ครับ)

       ถ้าเป็นวิปัสสนา สติเท่าทันเป็นปัจจุบันกับรูปนาม   รูปเป็นสิ่งที่ถูกรู้ นาม เป็น จิตที่รู้  เป็นขณะๆ ปัจจุบันของสภาวะรูปนามที่ปรากฏชัด เป็นสภาวะธรรมไป.
    ดังนั้นต้องพัฒนาสติสัมปชัญญะจนระเอียดอ่อนพอควร จึงจะแยกรูปนามได้ในขณะกำหนดภาวนานั้นๆ ได้ เป็น นามรูปปริเฉทญาณ.

  

ตอบโดย: Vicha 22 ส.ค. 52 - 17:06




สวัสดีครับ คุณปล่อยรู้



ผมอ่านพระสูตรนี้ แล้ว ระลึกถึงคุณปล่อยรู้ เป็นคนแรก

วันนี้ จึงนำมาฝาก


พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค - สารีปุตตสังยุตต์ - ๑. วิเวกสูตร

[พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน]

๗. สารีปุตตสังยุต

๑. วิเวกสูตร
ว่าด้วยปฐมฌาน

[๕๐๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น เป็นเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตร และจีวร เข้าไปสู่พระนครสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีแล้ว กลับจากบิณฑบาตภายหลังภัต เข้าไปยังป่าอันธวัน เพื่อพักกลางวัน ถึงป่าอันธวันแล้ว นั่ง พักกลางวัน ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง. ครั้งนั้นเป็นเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่พักผ่อนแล้ว เข้าไปยังพระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี.

ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระสารีบุตรว่า
อาวุโสสารีบุตร อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก สีหน้าของท่านหมดจด ผ่องใส วันนี้ ท่านพระสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร?

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า อาวุโส ดังเราจะบอก เราสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่. อาวุโส เรานั้นไม่ได้คิดอย่างนี้ว่า เราเข้าปฐมฌานอยู่ หรือว่าเข้าปฐมฌานแล้ว หรือว่าออกจากปฐมฌานแล้ว.

แท้จริง ท่านพระสารีบุตรถอนทิฏฐิคืออหังการ ตัณหาคือมมังการ และอนุสัยคือมานะออกได้นานแล้ว ฉะนั้น ท่านพระสารีบุตรจึงไม่คิดอย่างนี้ว่า เราเข้าปฐมฌานอยู่ หรือว่าเข้าปฐมฌานแล้ว หรือว่าออกจากปฐมฌานแล้ว.

จบ สูตรที่ ๑.



การเจริญฌาน เพื่อบรรลุอัตตาอันติมะใดๆ เช่น ที่ทรงแสดงไว้ใน ทิฏฐิ62ประการ ย่อมมิได้อยู่ในแนวทางแห่งอริยมรรค

นอกจากนี้
ถึงแม้นไม่ได้เจริญสมาธิภาวนาเพื่อบรรลุอัตตาใดๆ
หาก แต่ในการเจริญสมาธิภาวนานั้นๆเป็นการมีความสำคัญว่า เรา หรือ อัตตาในชื่ออื่นใดก็ตามเป็นผู้บรรลุฌาน....
ก็ยังนับว่า ไม่ตรงกับแนวทางแห่งอริยมรรคเสียทีเดียวนัก

ดังปรากฏในพระสูตรนี้

ถ้ายังมี "เรา" หรือ อัตตาใดๆ เป็นผู้เข้าฌานอยู่
ก็ ยังมีภพมีชาติ .... คือ มี่เรา เป็นผู้ไปเข้าฌาน
ทุกข์จาก ชาติ ชรา มรณะ ย่อมครอบงำได้อยู่

ซึ่ง พระสารีบุตรท่านแสดงเตือนเอาไว้ว่า.... ไม่มี"เรา"ที่ไหนไปเข้าฌาน



 

ตอบโดย: ตรงประเด็น 22 ส.ค. 52 - 17:23


สวัสดีครับ  คุณวิชาและเพื่อนๆ

เมื่อหลายคืนก่อน  ผมนั่งภาวนา ตามความเห็นที่ 595  เมื่อความรู้สึกภายนอกดับไปแล้ว  คงเหลืออยู่แต่ลมหายใจและความสุขตั้งมั่นอยู่  ในขั้นตอนนี้ผมเห็นความรู้สึกภายในแผ่วๆเบาๆเกิดและดับไปเบาๆโดยที่ผมไม่ได้ตั้งใจจะทำให้มันเกิดขึ้น  แต่มันเกิดขึ้นเอง  ผมจึงเห็นว่ากายและใจไม่ใช่ตัวเราของเรา ( เห็นอนัตตาของกายและใจ ) ขั้นตอนนี้คุณวิชาเคยบอกผมว่าคือ อุปจารสมาธิ


เมื่อผมภาวนาต่อไปอีก  ลมหายใจก็เบาบางลงไปเกือบหมด  จึงทำให้ความสุขดับหายไป  เหลืออยู่แต่ความเป็นตัวเราของเราตั้งมั่นอยู่ ( อัตตา )


เมื่อภาวนาต่อไปอีก  ความรู้สึกที่ลมหายใจก็กลับคืนมา  ความสุขก็กลับคืนมา  ผมก็เห็นอนัตตาได้อีก


เมื่อภาวนาต่อไปอีก  ความรู้สึกที่ลมหายดับไป  ความสุขจึงดับตามไป  เหลือแต่ตัวเราของเราตั้งมั่นอยู่ ( อัตตา )

ผมนั่งภาวนาดูอนัตตาสลับกับอัตตาแบบนี้ไปเรื่อยๆ ( เดินหน้า - ถอยหลัง ) ผมจึงอยากเรียนถามคุณวิชาว่า  ตอนที่คุณวิชาเห็นลมหายใจดับไป  คุณวิชามีแต่ความเป็นตัวเราของเราตั้งมั่นอยู่แบบที่ผมเล่ามานี้ไหมครับ

               ---------------------------

ความเห็นของผมที่ 446  ... ตอนนั้นผมบอกเพื่อนๆว่า  ผมจะย้ายไปตั้งมั่นที่อุเบกขาแล้วจะดูว่าความสุขดับหายไปหรือไม่  แต่ความจริงแล้ว  ผมไม่ต้องย้ายจุดตั้งมั่น  เพียงแต่ผมภาวนาไปเรื่อยๆ  จนลมหายใจดับไป  ความสุขก็ดับไปเอง  แล้วจะมีความตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมาเองครับ ( อุเบกขา )

บางทีการคาดคะเนกับสภาวะที่เกิดขึ้นจริงในองค์ภาวนา  มันกลับไม่เหมือนกันก็ได้ครับ

ผมแปลกใจว่าทำไมอัปปนาสมาธิ  จึงมีแต่อัตตา  ผมมองไม่เห็นความเป็นอนัตตาเลยครับ  เพราะเหตุนี้หรือเปล่า  ตำราจึงบอกว่าอัปปนาสมาธิใช้เป็นที่พักผ่อน  ใช้เจริญปัญญาไม่ได้  เพราะว่าไม่มีอะไรให้เจริญปัญญา  มีแต่อุเบกขาตั้งมั่นอยู่

                   -------------------------------

หมายเหตุ..... จากการภาวนาครั้งนี้  ผมจึงรู้ว่าความสุขในองค์ภาวนานั้นเกิดมาจากลมหายใจครับ  เมื่อความรู้สึกที่ลมหายใจดับไป ( คือว่า....ยังหายใจอยู่แต่ความรู้สึกมันดับไป...แต่ไม่ใช่กลั้นหายใจ และ ไม่ใช่สติดับจนไม่รู้ว่ากำลังหายใจ )  ความสุขจะดับไปด้วย  เหลือแต่อุเบกขาตั้งมั่นอยู่อย่างเดียว ( มีแต่อัตตา )

 

ตอบโดย: ระนาด 22 ส.ค. 52 - 17:25


อ้างอิง
หลังจากนั้นนิมิตที่ชัดนั้นเป็นสิ่งที่ถูกรู้  และจิตที่ประกองนิมิตนั้นเป็น จิตผู้รู้. สามารถเล่นกับนิมิตได้มากมาย ถ้าเป็นการฝึกกสิน
     แต่อานาปานสติกรรมฐานนั้น มีข้อห้าม คือไม่ต้องไปสนใจนิมิต หรือย่อขยายนิมิตครับ (มีกล่าวอยู่ในพระอรรถกถา หรือ วิสุทธิมรรค ครับ)
จากคุณ : Vicha [ ตอบ: 22 ส.ค. 52 17:06 ]

ครับ ผมแค่รู้แค่ดูไปเรื่อยๆ ไม่ได้สนใจจะย่อขยายนิมิตอะไร

ที่ผมเดาว่าเป็นฌานสี่ เพราะขณะนั้น ไม่มี ปีติ หรือ สุข มีแต่รู้อยู่แบบนั้นครับ

และความเข้าใจในเรื่อง "จิตผู้รู้" ของผม ก็เป็นแบบนั้น
คือ นิมิตเป็นสิ่งที่ถูกรู้ เพราะเห็นได้ว่า มีตัวรู้เฝ้าดูอยู่ต่างหาก

พอคุณเปายกเรื่อง "จิตผู้รู้" ขึ้นมาคุยกัน(จริงๆผมยกขึ้นก่อนมั้ง แหะๆๆ )

ผมก็เริ่มไม่แน่ใจว่า เอ...ผมเข้าใจคำนิยามของ "จิตผู้รู้" ถูกไหม

ผมเห็นว่า การเข้าใจนิยามในคำว่า "จิตผู้รู้" นี้ สำคัญมาก
เพราะครูบาอาจารย์ ท่านทิ้งคำเทศน์คำสอนไว้หลายแห่ง ที่มีคำว่า "จิตผู้รู้"
หากเรามีความเข้าใจนิยามของคำๆนี้คลาดเคลื่อน
อาจส่งผลให้เราสืบสาวร่องรอยจากคำของครูบาอาจารย์ ออกนอกร่องรอยไปได้

จึงอยากให้ช่วยกันทำความกระจ่างในประเด็นนี้ครับ

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 22 ส.ค. 52 - 17:34


อ้างอิง (บุญรักษ์ @ 21 สิ.ค. 52 - 11:12)
เคยฟังมาว่า

"อย่าพึ่งรีบทำลายจิตผู้รู้ ไว้ไปทำลายตอนได้อนาคามีแล้ว"

ความเห็นส่วนตัว เราต้องอาศัยจิตผู้รู้ไปก่อน
แม้การเจริญสติที่เดินปัญญานำหน้าสมาธิ
ในที่สุดก็จะค่อยๆสร้างจิตผู้รู้ขึ้นมาเหมือนกัน

การมองให้เลยจิตผู้รู้ เป็นหน้าที่ของจิตเอง
เราแค่มีความเข้าใจไว้ก่อน
เพื่อว่าจะได้ไม่ยึดมั่นในจิตผู้รู้จนเกินไป

ความเห็นส่วนตัวนะครับ

 


ผมเห็นด้วยครับ

จิตผู้รู้ก็คล้ายๆเป็นเรือที่เราใช้โดยสาร  ถ้ายังไม่ถึงฝั่งแล้วเรารีบสละเรือ  เราก็จมน้ำตายกลางทะเล
                    ------------------------

ในซีดี  หลวงพ่อพุธบอกกับหลวงพ่อปราโมทย์ว่า  เมื่อถึงจุดๆหนึ่งจิตผู้รู้จะถูกเจาะทะลุออกมาเองเหมือนลูกไก่เจาะทะลุเปลือกไข่
 

ตอบโดย: ระนาด 22 ส.ค. 52 - 17:45


สวัสดีครับคุณระนาด

    แหม... พัฒนาได้ไวดีครับ  จะตอบคำถามก่อนนะครับ.

   จากคำถาม

 " ตอนที่คุณวิชาเห็นลมหายใจดับไป  คุณวิชามีแต่ความเป็นตัวเราของเราตั้งมั่นอยู่แบบที่ผมเล่ามานี้ไหมครับ"

  ตอบ ไม่เป็นครับ ไม่ไปสนใจว่าตัวตนของเราครับ เป็นเพียงรูปนามกับสติที่กำหนดภาวนาครับ เป็นไปตามธรรมชาติอย่างนั้น ไม่สำคัญมั่นหมายว่าเป็นตัวเราครับ หรือเป็นอัตตาครับ (แต่บางสำคัญอยู่บางแต่ไม่ตลอด สุดท้ายก็ทิ้งหมดสิ้นครับครับ).

 และจากข้อความของคุณระนาด

อ้างอิง
 เมื่อภาวนาต่อไปอีก  ความรู้สึกที่ลมหายดับไป  ความสุขจึงดับตามไป  เหลือแต่ตัวเราของเราตั้งมั่นอยู่ ( อัตตา )


  ตอบ ความจริงเป็นสภาวะใจเป็นหนึ่งมากขึ้นครับ(เอกกัคตา หรือ อุเบกขา) เป็นสภาวของการเจริญสมาธิ แต่พอดียังมีความสำคัญมั่นหมายว่า เป็นตนของตนอยู่ ครับ นี้แหละเป็นการเห็น อัตตา อย่างชัดเจน

  ต่อไปก็ต้องเพิกอัตตานั้น คือ กำหนดภาวนาเห็นว่าสักแต่เป็นเพียงสภาวะธรรมเท่านั้น ก็จะน่าจะเพิกความเห็นว่า อัตตา ของตนนั้นไปได้ครับ.

  จากข้อความของคุณระนาด

อ้างอิง
 ผมแปลกใจว่าทำไมอัปปนาสมาธิ  จึงมีแต่อัตตา  


   ตอบ  อัปปนาสมาธิ ไม่มีความสำคัญมั่นหมายว่า เป็น อัตตา ตัวตนอยู่แล้วครับ  น่าจะเข้าใจอะไรผิดแล้วนะครับ.  ไม่เป็นไร ปฏิบัติไป ก็จะทราบชัดที่เป็นสภาวะจริงยิ่งขึ้นครับ.

ตอบโดย: Vicha 22 ส.ค. 52 - 17:54


อ้างอิง (เปา @ 21 สิ.ค. 52 - 11:53)
ความเห็นของผม......


จิตผู้รู้....

สำหรับผู้ปฏิบัติผู้มีกำลังทางสมถะหนุน......สามารถทำณานได้ดี

ทำณานได้สงบระงับไปถึงจุดหนึ่ง  จิตจะทิ้งร่างกายเข้าไปรวมเป็นดวงๆหนึ่ง

ภายในกาย   หรือเรียกว่าจิตผู้รู้ ตอนนั้นผู้ปฏิบัติจะเห็นหรือรู้สึกว่า....จิตนี้เป็นเรา
(เปา @ 21 สิ.ค. 52 - 11:53)


ใช่ครับ    เริ่มต้นที่ความรู้สึกภายนอกดับไปก่อน  ต่อมาลมหายใจดับไป  และความสุขก็จะดับตามลมหายใจไปด้วย   แล้วจะเหลืออยู่แต่จิตผู้รู้ตังมั่นอยู่    ตอนนี้ผมจะเห็นแต่ความเป็นตัวเราของเราครับ


เมื่อภาวนาต่อไปอีก   ลมหายใจก็จะกลับมา  และ  ความสุขก็จะกลับมา  ในตอนนี้  ผมก็จะเห็นกายและใจไม่ใช่ตัวเราไม่ใช่ของของเราครับ

 

ตอบโดย: ระนาด 22 ส.ค. 52 - 17:58


สวัสดีครับคุณระนาด.

      สิ่งที่ทำให้คลาดเคลื่อนและเห็นผิดไป  ก็ตรง กำหนดสมถะกรรมฐานหรือทั้งสมถะและวิปัสสนากรรมฐานแล้ว เหลือ แต่ "อัตตา" นี้และครับ.  

 

ตอบโดย: Vicha 22 ส.ค. 52 - 18:05


อ้างอิง (Vicha @ 22 สิ.ค. 52 - 17:54)


  จากข้อความของคุณระนาด

อ้างอิง
 ผมแปลกใจว่าทำไมอัปปนาสมาธิ  จึงมีแต่อัตตา  


   ตอบ  อัปปนาสมาธิ ไม่มีความสำคัญมั่นหมายว่า เป็น อัตตา ตัวตนอยู่แล้วครับ  น่าจะเข้าใจอะไรผิดแล้วนะครับ.  ไม่เป็นไร ปฏิบัติไป ก็จะทราบชัดที่เป็นสภาวะจริงยิ่งขึ้นครับ.


ผมอาจจะยังไม่มีความชำนาญในอัปปนาสมาธิก็ได้ครับ  เพราะว่าผมเพิ่งจะเข้าถึงได้ใหม่ๆ

ตอนที่ผมอยู่ในอุปจารสมาธิ ( ความรู้สึกภายนอกดับไปแล้ว  มีแต่ลมหายใจและมีความสุขตั้งมั่นอยู่ ) ผมเห็นความรู้สึกแผ่วๆเกิดขึ้นในใจ  และ มีภาพนิมิตรต่างเกิดขึ้นมาเองโดยที่ผมไม่ได้ตั้งใจ   ตรงนี้เองทำให้ผมรู้ด้วยความรู้สึกของตัวผมเองว่า  กายและใจเขามีชีวิตของเขาเอง  เขาไม่ใช่ตัวเรา


แต่เมื่อผมเข้าถึงอัปปนา  ลมหายใจดับไป  ความสุขดับไป  ความรู้สึกแผ่วๆเบาๆก็ดับไป  ภาพนิมิตรก็ดับไป  อนัตตาจึงดับไป   เหลืออยู่แต่ความตั้งมั่น  ผมจึงรู้สึกเหมือนกับว่าตรงนี้เป็นตัวเราของเรา   เพราะว่ามันไม่มีอะไรให้พิจารณาครับ  เอาไว้ให้ผมฝึกฝนให้ชำนาญมากกว่านี้  ผมอาจจะเห็นอะไรได้มากกว่านี้ก็ได้ครับ
               --------------

ความรู้สึกต่างๆในชีวิตประจำวัน  ผมเห็นว่า  จะมีทั้งความเป็นอนัตตาและอัตตาเจือปนอยู่

ความรู้สึกที่แผ่วๆเบาๆ  จะเป็นความรู้สึกที่มีอนัตตามาก  มีความเป็นอัตตาน้อย  แต่  ความรู้สึกที่ชัดๆ  จะเป็นความรู้สึกที่มีอัตตามาก  มีความเป็นอนัตตาน้อย

ด้วยเหตุนี้  ผมจึงหมั่นสังเกตุดูความเป็นอนัตตาจากการดูความรู้สึกที่แผ่วๆเบาๆ  โดยผมดูแบบดูบ่อยๆ  แต่ไม่ใช่ดูแบบพยายามให้เห็นชัดๆ.......... คุณวิชาดูความรู้สึกในชีวิตประจำวันแบบเดียวกับที่ผมดูไหมครับ

บางทีความรู้สึกที่เป็นตัวเราของเรา  เช่นความไม่พอใจ หรือความเคืองใจต่างๆ เพิ่งดับลงใหม่ๆ  ผมจะเห็นความเป็นอนัตตาไล่ตามหลังไปแว้บ  แว้บ  ( เมื่อก่อนผมไม่เห็นแบบนี้นะ )

ผมสังเกตุเห็นว่า  ความง่วงเป็นส่วนหนึ่งของความรู้สึกภายนอก  ฉะนั้นในอัปปนาสมาธิ  จึงไม่มีความง่วง  เพราะว่าดับไปพร้อมกับความรู้สึกภายนอก  ตั้งแต่แรกแล้ว  คุณวิชาเห็นตรงนี้เหมือนกับที่ผมเห็นไหมครับ ( ผมเกรงว่าผมจะภาวนาผิด  ไม่ใช่ผมจะทดสอบคุณวิชานะครับ )
 

ตอบโดย: ระนาด 22 ส.ค. 52 - 18:12



ครับคุณระนาด  ต้องทำความเห็นให้ตรงก่อน แล้วค่อยๆ พัฒนาไปนะครับ.

   การมีปัญญาแจ่มชัดแท้จริงในไตรลักษณ์ ยังไม่เกิดสมบูรณ์นะครับ แต่ก็ต้องพัฒนาไปเรื่อยๆ อยู่เนื่องๆ ครับ ด้วยการทำความเห็นให้ตรงครับ.

 

ตอบโดย: Vicha 22 ส.ค. 52 - 18:19


ดีใจด้วยครับ คุณระนาด จะภาวนาต่อไปแบบนี้ก็ได้ครับ ผมว่าดีนะเห็นอย่างไรก็อย่างนั้น


เข้าสมาธิก็เพื่อให้จิตได้พักจากการเดินปัญญา พอออกมาแล้วก็ดูความจริง ต่างๆที่ปรากฎต่อไป


เข้าๆ ออกๆ ก็ชำนาญ ชำนาญมากๆเข้า จิตเค้าก็เดินปัญญาในฌานได้เอง


อิจฉาสุดๆเลย... เอ๊ะยังไง ตอนแรกดีใจด้วย ตอนหลังกลับมาอิจฉาเฉยเลย

ตอบโดย: อิธ 22 ส.ค. 52 - 18:29


ขอบคุณครับคุณวิชาและคุณอิธ

ผมจะหมั่นฝึกให้ชำนาญ  ถ้ามีอะไรคืบหน้า  ผมจะเข้ามาขอคำแนะนำใหม่ครับ

ตอบโดย: ระนาด 22 ส.ค. 52 - 18:49


อ้างอิง (ตรงประเด็น @ 22 สิ.ค. 52 - 15:00)


ถ้าหากจิตไม่ละวางสุข(ทุกข์ดับไปตั้งแต่บรรลุรูปฌานที่๑แล้ว) ก็จะไม่ก้าวเข้าสู่อุเบกขาจิต แห่งจตุตฌาน ซึ่งบรรยายรูปฌานที่๔นี้ ด้วย อุเบกขา และ การมีสติบริสุทธิ์

ใน รูปฌานที่๔ ที่เป็นสัมมาสมาธิ นั้น บังเกิดได้เพราะ ละวาง ปิติ และ สุข



การติดสุขในสมาธิ จึงเป็นเหตุให้จิตไม่พัฒนาไปสู่ฌานขั้นต่อๆไปนั่นเอง




ขออนุญาตเพิ่มเติมตรงนี้นิดนึง  เพื่อให้ปฏิบัติได้ง่ายขึ้นนะครับ

ในการปฏิบัติจริง  เมื่อความรู้สึกภายนอกดับไปแล้ว ( วิตกวิจารณ์ปีติดับไป )  คงเหลืออยู่ลมหายใจ  ลมหายใจนี้จะทำให้มีความสุขตั้งมั่นอยู่

เมื่อฝึกฝนการภาวนาต่อไปเรื่อยๆ   จะมีความชำนาญมากขึ้น  เวลาภาวนาจะมีความผ่อนคลายมากขึ้นจนลมหายใจดับไป  เมื่อลมหายใจไม่มี  ความสุขจะดับไปเอง ( ไม่ใช่กลั้นหายใจนะ...คือว่ายังหายใจอยู่แต่ไม่มีความรู้สึกว่าหายใจ ...ไม่ใช่นั่งหลับด้วยนะ )
                       ----------------------


สรุป....ในการปฏิบัติจริง  เราไม่ต้องละวางความสุข  เรารู้สึกเพียงแต่ผ่อนคลายลงไปเรื่อยๆจนกระทั่งลมหายใจดับไป  แล้วความสุขก็จะดับตามไป เหลือแต่อุเบกขาครับ
                      ----------------------------

นักภาวนาที่เข้าถึงความสุขในสมาธิได้ใหม่ๆ  จะชื่นชอบในความสุขนี้ทุกๆคน ( รวมตัวผมด้วย )  ถ้านักภาวนารู้ว่าความสุขนี้ไม่ใช่เป็นการบรรลุธรรม    ก็จะผ่านขั้นตอนนี้ไปได้เอง  แต่ถ้านักภาวนาท่านนั้นนึกว่าความสุขนี้คือการบรรลุธรรม  แบบนี้จะติดอยู่ในความสุข  ไม่พัฒนาต่อไปครับ

ตอบโดย: ระนาด 22 ส.ค. 52 - 19:34


อ้างอิง
ครับ

ผมไม่เห็นเป็นดวง ผมไม่เห็นเป็นก้อน ผมเห็นแค่ว่ามันไหวๆ

ไหวๆยิบยับไปหมด

ที่อกก็มี บางทีไหวที่มือ บางทีไหวทางโน้นบ้าง ทางนี้บ้าง ในกาย

เวลามีผัสสะ ถึงค่อยเห็นมันยกตัวไปรับกับผัสสะ เห็นบ้าง ไม่เห็นบ้าง

คุณบุญรักษ์




นี่แหละครับ....เรียกว่า สติปัฐานสี่  เห็นกายในกาย

เห็นเวทนาในเวทนา,เห็นจิตในจิต และเห็นธรรมในธรรม

คุณบุญรักษ์...จะเห็นว่าจิตไปเอง บางทีมันไปจับที่กาย

เห็นว่ากายไหว  บางทีจิตไปจับที่จิตเห็นการสั่นไหว

บางทีจิตเกิดข้อธรรมขึ้นมาเอง   หรือบางทีจิตไปเห็นเวทนา

แต่ที่กล่าวมานั้น  คุณรู้แล้วว่า  สิ่งที่ถูกรู้เช่นกาย,เวทนา,จิต,ธรรม ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

จิตของคุณจะหดกลับเองเมื่อมีการยึดกับสิ่งเหล่านี้

หดกลับมาอยู่กับจิต....( ผู้รู้ )

อย่างไรก็ดี  อย่างลืมราวเกาะของสติเช่นการภาวนา

เมื่อคุณหมดกำลังดูแล้วนะครับ

 

ตอบโดย: เปา 22 ส.ค. 52 - 20:06


ขอบคุณครับ ถือโอกาสส่งการบ้านซะเลยนะครับ  

มันมีบางครั้ง มันมุดกลับมาแอบอยู่ข้างใน ไม่ยอมออกไปรับผัสสะทางกาย ผมก็รู้ก็ดูไปเฉยๆ

คิดว่าตรงนั้น ยังไม่ใช่ตรงที่ว่า หดกลับมาอยู่กับจิต น่าจะเป็นแค่ ไม่อยากออกไปรับอารมณ์

แต่มีบางครั้ง มันไม่เกาะกับอะไรเลย เหมือนตั้งอยู่ต่างหาก ผมก็ไม่รู้ว่าคืออะไรเหมือนกัน
(ทุกอย่างมันอยู่นอกๆไปหมด)

เคยเห็น วิญญาณ เกาะไปกับอารมณ์ และดับไปกับอารมณ์ได้สองสามครั้ง

เรื่องหมดกำลังภาวนา ผมหมดกำลังเกือบตลอดเวลา มีมากมีน้อย ก็ใช้เกลี้ยงถังทุกทีไป

แต่ผมดีหน่อย ที่ใจไม่ค่อยติดในการเจริญปัญญา (แต่เผลอๆก็เอาเหมือนกันนะ   )

เขามักจะพักเอง กลับมาพักกับลม แล้วก็ออกมาลุยต่อได้เอง
 
ยิ่งตอนไหนที่มันแบบ ...กำลังจะ...กำลังจะ...กำลังจะ... หะหะหะ เหนื่อยเหมือนกันครับ

ขอบคุณมากครับ หมดพุงแล้ว

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 22 ส.ค. 52 - 20:37



เสนออ่าน ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ ๕ ในทิฏฐิ62ประการ

http://www.84000.org/tipitaka/read/byit ... agebreak=1


พระสูตรนี้ แสดงถึง การเจริญสมาธิภาวนาแบบปราศจากอนาสวะสัมมาทิฏฐิ เป็นต้นทาง


เพราะ เป็นการเจริญสมาธิภาวนาเพื่ออัตตานั้นๆ ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง

ซึ่งนี่ ก็เป็นไปเพื่อภพอันประณีต

๕๙. (๒) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น อย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้
ใช่จะบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หามิได้. ข้อนั้นเพราะเหตุ
อะไร เพราะเหตุว่า กามทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะ
กามทั้งหลายแปรปรวนเป็นอย่างอื่น จึงเกิดความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ โทมนัส และ
ความคับใจ ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานี้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ฉะนั้น จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบัน อันเป็น
ธรรมอย่างยิ่ง พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่
อย่างนี้.




ซึ่ง ถ้าไปเจริญสมาธิภาวนาเพื่ออัตตาใดๆ เสียตั้งแต่ต้นแล้ว ย่อมไม่มีทางบรรุถึงพระนิพพานได้เลย

เสนอเปรียบเทียบ กับ พระสูตรที่พระสารีบุตร ท่านกล่าวไว้ ว่า "ไม่มีเรา ที่ไหน ไปเข้าฌาน"
 

ตอบโดย: ตรงประเด็น 22 ส.ค. 52 - 21:27




มี พระสูตรที่ตรัสถึงว่า พระพุทธองค์ไม่ทรงสรรเสริญในฌานทั้งปวง ไว้ดังนี้


http://budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Bud ... 16&Roman=0


[๑๑๖] ว. ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ ความจริง พระวิหารเวฬุวันจะเป็นที่รื่นรมย์ เงียบเสียง และไม่อึกทึกครึกโครม มีลมพัดเย็นสบาย เป็นที่พักผ่อนของมนุษย์ สมควรแก่การหลีกออกเร้นอยู่ ก็ด้วยมีพระคุณเจ้าทั้งหลายเพ่งฌานและมีฌานเป็นปรกติต่างหาก พระคุณเจ้าทั้งหลายทั้งเพ่งฌานและมีฌาน
เป็นปรกติทีเดียว

ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ กระผมขอเล่าถวาย
สมัยหนึ่งพระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลี ครั้งนั้นแล กระผมเข้าไปเฝ้าพระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้นยังที่ประทับ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ณ ที่นั้นแล พระองค์ได้ตรัสฌานกถาโดยอเนกปริยาย พระองค์ทั้งเป็นผู้เพ่งฌานและเป็นผู้มีฌานเป็นปรกติ แต่ก็ทรงสรรเสริญฌานทั้งปวง ฯ


[๑๑๗] อา. ดูกรพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงสรรเสริญ ฌานทั้งปวงก็มิใช่ ไม่ทรงสรรเสริญฌานทั้งปวงก็มิใช่



พระองค์ไม่ทรงสรรเสริญฌานเช่นไร ดูกรพราหมณ์ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มีใจรัญจวนด้วยกามราคะ
ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และไม่รู้จักสลัดกามราคะอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็น
จริง เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะกามราคะ ทำกามราคะไว้
ในภายใน มีใจปั่นป่วนด้วยพยาบาท ถูกพยาบาทครอบงำอยู่ และไม่รู้จักสลัด
พยาบาทอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ
มุ่งหมายเฉพาะพยาบาท ทำพยาบาทไว้ในภายใน มีใจกลัดกลุ้มด้วยถีนมิทธะ
ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่ และไม่รู้จักสลัดถีนมิทธะอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็น
จริง เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะถีนมิทธะ ทำถีนมิทธะไว้
ในภายใน มีใจกลัดกลุ้มด้วยอุทธัจจกุกกุจจะ ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดอุทธัจจกุกกุจจะอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง เธอย่อมเพ่งเล็ง
จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะอุทธัจจกุกกุจจะ ทำอุทธัจจกุกกุจจะไว้ในภายใน
มีใจกลัดกลุ้มด้วยวิจิกิจฉา ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และไม่รู้จักสลัดวิจิกิจฉาอันเกิด
ขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะ
วิจิกิจฉา ทำวิจิกิจฉาไว้ในภายใน ดูกรพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ไม่ทรงสรรเสริญฌานเช่นนี้แล




ดูกรพราหมณ์ ก็พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงสรรเสริญฌานเช่นไรเล่า

ภิกษุในธรรมวินัยนี้
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบ วิตกและวิจาร
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌานที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติอยู่เป็นสุขอยู่
เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะ อุเบกขาอยู่

ดูกรพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงสรรเสริญฌานเช่นนี้แล ฯ




ปล...

1.วิธีเปลี่ยนหัวข้อพระสูตร ให้เปลี่ยนเลข ตรงitem

2.การที่จิตปักลงในอกุศลอย่างหนักแน่น ก็ ทรงตรัสว่าเป็นฌานที่เป็นมิจฉาสมาธิ ...
คห.ส่วนตัว ผมเห็นว่า ตัวอย่างเช่น หมอไสยศาสตร์ที่มีพลังจิต

3.ฌานที่ทรงทรงสรรเสริญนี้ เป็น ฌานของภิกษุในธรรมวินัยนี้(ฌานในแนวทางแห่งอริยมรรค)


 

ตอบโดย: ตรงประเด็น 22 ส.ค. 52 - 21:30



ในทันตภูมิสูตรที่๕ (คห ข้างบน)


จากรูปฌานที่๔ ทรงแสดงต่อถึง การบรรลุวิชชาสามประการ (ใน วิชชาสามประการ ย่อมมีการเจริญวิปัสสนาอยู่ในส่วนแห่งการที่จะบรรลุอาสวักขยญาณ)




ดู รายละเอียด ใน ทันตภูมิสูตรที่๕

http://84000.org/tipitaka/read/byitem.p ... agebreak=0

๔๐๑] เธอ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน
ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงานตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว
อย่างนี้แล้ว

ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ที่ดับทุกข์ นี้ปฏิปทาให้ถึงที่ดับทุกข์
รู้ชัดตามเป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ที่ดับอาสวะ นี้ปฏิปทาให้ถึงที่ดับอาสวะ

เมื่อเธอรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ

เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ชัดว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ




พระพุทธพจน์โดยตรง ไม่ได้ตรัสว่า ในการเจริญเพื่อบรรลุอาสวักขยญาณนี้ ต้องออกจากฌาน หรือ ไม่ออกจากฌาน .....

ท่านใช้คำว่า "น้อมจิตไปเพื่อ"



ลองย้อนกลับไปอ่าน ที่ท่านเจ้าคุณๆ ท่านประมวลเกี่ยวกับองค์ธรรมต่างๆ ที่มีในฌาน (จาก กระทู้เก่าๆ)
ในหนังสือพุทธธรรม ไว้ว่า

เช่น ม.อุ. 14/158/118 กล่าวถึงฌานตั้งแต่ปฐมฌานถึงอากิญจัญญายตนะทุกชั้น ล้วนมี องค์ธรรม เช่น ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นต้น


หรือ จากพระสูตรดั้งเดิม

http://budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Bud ... 58&Roman=0




ข้อสังเกตุ ...ใน องค์แห่งรูปฌานที่๔ ที่เป็นสัมมาสมาธิ มีทั้งสติ วิริยะ มนสิการ ๆลๆ


คำแปล ของคำว่า มนสิการ
จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์

http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=มนสิการ&detail=on

มนสิการ การทำในใจ, ใส่ใจ, พิจารณา



ในระดับพระสูตรดั้งเดิม....มีสติ วิริยะ และ มนสิการ(พิจารณา) ตลอดจน ๆลๆ อยู่ในรูปฌานที่๔ ที่เป็นสัมมาสมาธิ  ...หาได้มีเฉพาะอุเบกขา อยู่นิ่งๆ อย่างที่มีการเข้าใจกัน



 

ตอบโดย: ตรงประเด็น 22 ส.ค. 52 - 21:42


ขอบพระคุณ ท่านตรงประเด็นมากๆเลยครับ ขอบพระคุณอย่างมากๆๆๆ อย่างสูงๆๆๆ อย่างยิ่งๆๆๆๆๆๆๆๆ

ถ้าเป็นไปได้อยากอาราธนาให้ท่านตรงประเด็นรวบรวมบทความของท่านตรงประเด็นเพื่อประกอบในกระทู้สัมมาสมาธิในห้องสมุดธรรมะให้ครบถ้วนสมบูรณ์เลยครับ

ตอนนี้ผมเข้าใจแล้วครับ ว่า "จิตผู้รู้" ที่หลายๆท่านกล่าวถึงนั้น เป็นนิยามของอะไร

ผมอ่านข้อความของท่านตรงประเด็นแล้วซาบซึ้งเลยครับ อยากบอกว่าท่านตรงประเด็นต้องการสื่อถึงสิ่งใด ผมก็เข้าใจตามนั้น ขอบอกสั้นๆแต่เพียงเท่านี้นะครับ

ผมเข้าใจแล้วครับว่าเวลาเจริญอานาปานสติหรือกสิณแล้วอยู่ในฌาน ควรจะเจริญสติปัฏฐานเช่นไร ควรจะน้อมจิตอย่างไร

ต่อไปนี้ผมคงจะหมดปัญหาเรื่องฌานแล้ว คุณตรงประเด็นรู้เรื่องฌานแจ่มแจ้งราวกับคุ้นเคย ผมคงไม่ต้องถามอะไรคุณตรงประเด็นอีกแล้ว

ภาษิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและท่านตรงประเด็นแจ่มแจ้งยิ่งนัก ท่านทั้งสองประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ฉะนั้น

สาธุครับ สาธุ สาธุ สาธุ

ตอบโดย: วสวัตตี 22 ส.ค. 52 - 22:14


 อ้างอิง


มันมีบางครั้ง มันมุดกลับมาแอบอยู่ข้างใน ไม่ยอมออกไปรับผัสสะทางกาย ผมก็รู้ก็ดูไปเฉยๆ

คิดว่าตรงนั้น ยังไม่ใช่ตรงที่ว่า หดกลับมาอยู่กับจิต น่าจะเป็นแค่ ไม่อยากออกไปรับอารมณ์

แต่มีบางครั้ง มันไม่เกาะกับอะไรเลย เหมือนตั้งอยู่ต่างหาก ผมก็ไม่รู้ว่าคืออะไรเหมือนกัน
(ทุกอย่างมันอยู่นอกๆไปหมด)

เคยเห็น วิญญาณ เกาะไปกับอารมณ์ และดับไปกับอารมณ์ได้สองสามครั้ง

เรื่องหมดกำลังภาวนา ผมหมดกำลังเกือบตลอดเวลา มีมากมีน้อย ก็ใช้เกลี้ยงถังทุกทีไป

แต่ผมดีหน่อย ที่ใจไม่ค่อยติดในการเจริญปัญญา (แต่เผลอๆก็เอาเหมือนกันนะ   )

เขามักจะพักเอง กลับมาพักกับลม แล้วก็ออกมาลุยต่อได้เอง
 



ขอโทษนะครับ...ความเห็นของผมเกี่ยวกับส่วนนี้นะครับ...

ตอนนี้จิตมันเป็นไปเอง...เรามีหน้าที่เพียงรู้อย่างเดียวว่า  มันกำลังเป็นอย่างไร

ไม่ต้องไปบังคับ  หรือควบคุม  หรือคิดพิจารณาตาม

จิตเขาจะทำไปตามกำลังของสมถะทีมีในขณะนั้น

เมื่อหมดกำลัง....เขาจะกลับมาพัก( โดยการเกาะกับลมหายใจหรือการเพ่งการเคลือนไหวของกาย )

ที่เป็นการสร้างกำลัง   แต่หากสติยังไม่ไวพอ  จิตอาจจะกลัีบมาเองไม่ได้ในตอนนั้นไม่ได้

เมื่อหลงเพลินขาดสติไปสักครู่หนึ่ง....เมื่อขาดสติ  จิตที่รู้สภาวะของการมีสติ

รู้การรู้สึกตัว  จะพลันหวนกลับมาระลึกความมีสติได้  ซึ่งอาจจะใช้เวลานานสักหน่อย


ทางที่ดีแล้ว....ควรมองเห็นเป็นแบบถี่ยิบ  จะดีมากครับ






 

ตอบโดย: เปา 22 ส.ค. 52 - 22:16


สาธุ... สาธุ... สาธุ

สวัสดี ครับพี่หมอ
ยินดีครับ ที่ได้ทักทายพี่หมออีกครั้ง ครับ
อนุโมทนาสาธุ กับธรรมที่พี่หมอนำมาฝาก ครับ

พี่หมอมา ไข้ผมเลยหายเลย
ให้ยาซะแรงเลยนะครับ ชนิดที่ทานแล้วไม่ต้องกลับมาหาหมออีกเลย...


สอบซักถามอาการของโรคกับพี่วิชา พี่วิชาท่านก็เล่าบรรยายอาการของโรค
ให้ฟังด้วยความเมตตา แต่ก็ยังไม่ตรงกับโรคที่ผมเคยเป็น ซะทีเดียว
ได้แต่เฉียวไปเฉียวมา ผมเห็นพี่วิชาท่านเต็มเปรี่ยมไปด้วยเมตตา
ผมก็เลยซักเอา ซักเอา เพราะรู้ว่ายังไงพี่วิชาท่านไม่รำคราญผมแน่
หวุดหวิดจะได้รู้วิชา วางยาสลบแล้ว...พี่หมอเข้ามาพอดี

เลยทักทายสวัสดีพี่หมอ ก่อนครับ


 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 22 ส.ค. 52 - 22:23


อ้างอิง (ปล่อยรู้ @ 22 สิ.ค. 52 - 22:23)
สาธุ... สาธุ... สาธุ

สวัสดี ครับพี่หมอ
ยินดีครับ ที่ได้ทักทายพี่หมออีกครั้ง ครับ
อนุโมทนาสาธุ กับธรรมที่พี่หมอนำมาฝาก ครับ

พี่หมอมา ไข้ผมเลยหายเลย
ให้ยาซะแรงเลยนะครับ ชนิดที่ทานแล้วไม่ต้องกลับมาหาหมออีกเลย...


 
(ปล่อยรู้ @ 22 สิ.ค. 52 - 22:23)


 

 

ตอบโดย: ตรงประเด็น 22 ส.ค. 52 - 23:18


เพราะผมเห็นว่า พี่วิชากำลังกล่าวถึงเรื่องอานาปานสติ อยู่
และพี่วิชาได้แสดงความเห็นโดยส่วนตัว น่าสนใจดี
ซึ่งบางความเห็น การใช่ภาษา ดูจะไม่ค่อยตรงกับสิ่งที่พระพุทธเจ้า(พุทธวัจน์)
กล่าวซะทั้งหมด (ผมอาจจะเข้าใจผิดไปเอง)

และด้วยความรู้สึก ด้วยความเห็นโดยส่วนตัวของผมนั้น
ผมรู้สึกเข้าใจว่า พี่วิชาดูจะอิงแนบ ให้น้ำหนัก โอนเอียงไป
กับคำอธิบายของอรรถกถาจารย์ มากไปเท่านั้น ครับ(ผมอาจจะเข้าใจผิดไปเอง)

แต่ไม่ใช่ว่าผมจะสรุปกล่าวหาว่า
สิ่งที่พี่วิชาอธิบายแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนมานั้น
จะไม่ใช่ ไม่ถูกต้อง ไม่ตรงกับอานาปานสติตามความหมายของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง
นะครับ

เพราะเมื่อผมตรวจเช็คการปฏิบัติโดยส่วนตน
อันผ่านประสพการณ์มาน้อยนิด ซึ่งไม่อาจหาญกล้าที่จะยกขึ้นมาเทียบเปรียบตีเสมอกับท่านอื่นใดได้เลย ครับ

คงได้แต่เพียงไล่เลาะเล็ม เทียบๆเคียงๆเอากับพระสูตร ต่างๆโดยตรง
ซึ่งเมื่อได้เทียบเคียงดูแล้ว ก็เห็นจริงตามที่พระสูตรได้กล่าวเอาไว้
อย่างไม่มีข้อโต้แย้งใดๆเลย ไม่มีข้อสงสัยใดๆเลย

ลำดับขั้นสมาธิ ที่มีกล่าวเอาไว้ในอานาปานสูตร ไม่มีอะไรผิดเพี้ยนเลยซักนิด
แม้นจะเป็นการกล่าว การเล่าบันทึกจดจำกันมา เป็นระยะเวลาสองพันห้าร้อยกว่าปีก็ตาม

การเล่าบรรยายธรรมชาติของจิต ที่กำลังเจริญอยู่ในอานาปานสติ
เป็นอย่างไรเมื่อสองพันกว่าปี ปัจจุบันเดี๋ยวนี้ก็ยังเป็นเช่นนั้น ถ้าปฏิบัติตามอย่างถูกขั้นวิธี


สัมมาสติ ก็เกี่ยวข้องกับอานาปานสติ
สัมมาสมาธิ ก็เกี่ยวข้องกับอานาปานสติ
ธรรมชาติของจิต สภาพสภาวะของจิต ในสัมมาสติ,ในสัมมาสมาธิ เป็นอย่างไร
ท่านกล่าวอธิบายเอาไว้อย่างละเอียด
เมื่อผู้ใดปฏิบัติตามอย่างถูกต้องวิธี ย่อมไม่อะไรที่ผิดแผกไปจากคำอธิบายที่ท่านได้กล่าวเอาไว้ ทุกความเป็นไปของสภาพสภาวะแห่งจิต ไม่มีอะไรที่ผิดเพี้ยนออกนอกเส้นทางแต่อย่างใดเลย ครับ


และเมื่อมีสาวกท่านใด อธิบายกล่าวเล่าบรรยายสภาพสภาวะ
ที่ผิดแผกแตกต่างไปจาก คำอธิบายที่เป็นคำกล่าวโดยตรงจากพระพุทธเจ้า
ก็ย่อมเป็นที่สังสัยเป็นธรรมดาอยู่เอง ครับ

ไม่ใช่เป็นการสงสัยในการปฏิบัติของตนเองที่เห็นตรงกับคำของพระพุทธเจ้า
แต่เป็นการสงสัยในคำกล่าว ในคำอธิบาย ที่ใช้สำนวนภาษาสื่อความหมาย
แปลความจากคำของพระพุทธเจ้า นั้นอีกที

ซึ่งพี่วิชา ก็แสดงความเมตตา ช่วยอธิบาย ขยายความตามประสพการณ์จริงของท่าน
ที่ผ่านมาอย่างโชกโชนยาวนาน
ย่อมยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นมากมาย กับนักล่าความจริง ทั้งหลาย...


พี่หมอได้กล่าว สรุปไล่เรียงลำดับขั้น อานาปานสติได้อย่างงดงามยิ่ง ครับ
นำคำกล่าวของพ่อแม่ครูบาอาจารย์มากล่าวบ้าง ยกคำของพระพุทธเจ้าขึ้นมาให้เห็นบ้าง
สิ่งที่พี่หมอแสดงมานั้น สอดคล้องรองรับลงตัว อย่างที่สุดครับ
ย่อมยังจิตของนักล่าความจริง ให้เกิดความปิติยินดีปราโมทย์ ร่าเริง เป็นอย่างยิ่ง ครับ

เมื่อนำประสการณ์จริงๆของพี่วิชา
หลาวลับ กับสิ่งที่พี่หมอนำมากล่าว
สาระประโยชน์ สิ่งที่พึงถึง ธรรมที่พึงแสวงหา อยู่ไม่ไกลเลย ครับ



 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 22 ส.ค. 52 - 23:32


อ้างอิง (วสวัตตี @ 22 สิ.ค. 52 - 22:14)


ภาษิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและท่านตรงประเด็นแจ่มแจ้งยิ่งนัก ท่านทั้งสองประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ฉะนั้น

 
(วสวัตตี @ 22 สิ.ค. 52 - 22:14)


เรียน คุณวสวัตตี


เท่าที่ผมเคยอ่านผ่านตา เกี่ยวกับแนวทางที่คุณวสวัตตีศึกษาและโพสแสดง เช่น

http://larndham.net/index.php?showtopic=35827&st=48


อยากเรียนว่า

ผมเองก็เข้าใจในประเด็นของท่านอาฬารดาบส และ อุทกดาบสคล้ายๆกับคุณ คือ ผมไม่เคยเห็นว่าท่านโง่...

แต่ เห็นว่าที่ท่านไม่สามารถบรรลุมรรคผล เพราะ ท่านไม่ได้สดับอริยมรรคจากพระพุทธองค์ และ ท่านเองก็ไม่มีปัญญาบารมีเพียงพอที่จะตรัสรู้อริยมรรคด้วยตัวท่านเองในขณะนั้น และ ท่านถึงแก่กาละคือตายเสียก่อน ท่านจึงไม่บรรลุมรรคผล หาใช่ว่าเป็นเพราะอรูปฌานเป็นตัวปิดกั้นมรรคผลนิพพาน...
ผมก็เห็นคล้ายๆคุณในกรณีนี้.


แต่ เราก็ต้องยอมรับว่า

ถ้าโดยลำพังของสมาบัติทั้งแปดแบบเพียวๆ คือ โลกียะสมาบัติที่ไม่ได้อยู่ในแนวทางอริยมรรคนั้น ย่อมไม่สามารถที่จะตัดสังโยชน์เบื้องต่ำทั้ง3ขาดได้ อย่างเด็ดขาด

... นี่คือ FACT ที่ปรากฏ



อนึ่ง การที่คุณจะให้ความสำคัญกับคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล ในเรื่องเหล่านี้

เช่น ผมเคยอ่านผ่านตา เรื่อง นี้ใน

http://larndham.net/index.php?showtopic=35827&st=41

ผมก็ไม่ได้ไปคัดค้าน หรือ ไปกล่าวเสียดสีเหน็บแนมอะไร

ผมก็ถือว่าเป็นสิทธิ์ของคุณ ผมเคารพในสิทธิ์นั้นๆ
ถึงแม้นผมจะถือตามพระพุทธพจน์ดั้งเดิมในระดับพระสูตรก็ตาม

คุณจะไปมองว่า การถือตามพระพุทธพจน์ดั้งเดิมในระดับพระสูตร เป็นการวางตนเสมอพระพุทธองค์ก็คงไม่ถูก... คุณ กล่าวโทษผู้อื่นเกินเหตุผลอันควรไปครับ



เรื่องฌาน ในสังคมชาวพุทธ

อย่างที่ผมเคยกล่าวไว้ว่า มีความเห็น แตกต่างกัน เป็นสองกลุ่ม คือ

1.ANTIฌานทุกกรณี

กับ

2.RESPECTฌานทุกกรณี


#กลุ่ม ANTIฌานทุกกรณี.... กลุ่มนี้ จะเข้าใจความหมายของคำว่า ฌาน ในพระสูตรต่างๆ เป็น"อย่างเดียวกัน" หรือ "เท่ากันทุกประการ" กับ ฌานของฤาษีนอกพระศาสนา. เมื่อเขามีความรู้สึกที่เป็นลบต่อฌานของฤาษีนอกพระศาสนา เขาก็เลยพากัน ปฏิเสธฌานในส่วนที่เป็นสัมมาสมาธิในพระศาสนานี้ ไปด้วย.

กลุ่มนี้ เลยพากันปฏิเสธสมถะทั้งหมดไปเลย

เวลาเสวนา ก็ จะได้ยินบ่อยๆว่า "ระวังอย่าให้จิตเป็นสมถะ น่ะ"...
เพราะ เขาเข้าใจคำว่า ฌาน(สมถะ) ที่ปรากฏในพระสูตรต่างๆ ว่า เหมือนกันทุกประการ กับ ฌานของฤาษีนอกพระศาสนา ที่ไม่สนับสนุนการเกิดปัญญา เท่านั้น



#กลุ่ม RESPECTฌานทุกกรณี....กลุ่มนี้ จะยกย่องฌานของฤาษีนอกพระศาสนา ว่าเป็น "อย่างเดียวกัน" หรือ "เท่ากันทุกประการ"กับ สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค .
(และ ก็จะเห็นตรงข้ามกับกลุ่มแรก)

โดยลืมนึกถึงความจริงที่ว่า เอกัคคตาจิตนั้นๆ(ฌานของฤาษีนอกพระศาสนา) ไม่มีองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ดประการห้อมล้อมแต่อย่างใด



เวลาเสวนากัน

กลุ่มแรก ที่ANTIฌานทุกกรณี ก็จะมองว่า ผมสนับสนุนให้ผู้เจริญภาวนาเป็นแบบท่านฤาษีทั้งสอง

กลุ่มสอง ที่RESPECTฌานทุกกรณี ก็จะไม่เห็นด้วย ที่ผมกล่าวว่า สมาธิของท่านฤาษีทั้งสอง ยังไม่นับว่าเป็น สัมมาสมาธิในองค์อริยมรรค(ดัง ในมหาจัตตารีสกสูตร).

 

ตอบโดย: ตรงประเด็น 23 ส.ค. 52 - 06:39



สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค ไม่ใช่องค์ธรรมโดดๆ

ในองค์ธรรมนี้ ย่อมมี องค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ดประการห้อมล้อมอยู่



ในมหาจัตตารีสกสูตร

ก็แสดงถึง การริเริ่ม(สัมมาทิฏฐิเป็นประธาน) ร้อยเรียง และ รองรับผ่านองค์แห่งอริยมรรคอื่นๆตามลำดับ... จึงมารวมลง ที่สัมมาสมาธิ.

ก่อนจะบังเกิดผลเป็นสัมมาญาณะ และ สัมมาวิมุติ



ถ้า เรา-ท่าน ในยุคปัจจุบัน

จะให้ความสำคัญกับการเจริญสติปัฏฐานเพียงอย่างเดียว
โดยอาจลืม หรือ ละเลยการประกอบอริยมรรคองค์อื่นๆให้บริบูรณ์...ก็ อาจจะไม่เพียงพอที่จะสามารถเหนี่ยวนำให้ สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค ปรากฏขึ้น

โดยเฉพาะ การดำริออกจากกาม



.................................



เสนอ ย้อนกลับไปอ่าน ทันตภูมิสูตร

http://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=14&item=396&items=1&preline=0&pagebreak=0



ในพระสูตรนี้ มีอรรถสื่อถึง อรรถแห่งสัมมัตตะสิบที่บริบูรณ์ เช่นกัน


เริ่มตั้งแต่ มี สัมมาทิฏฐิความเห็นชอบ และ มีศรัทธาในพระรัตนตรัย

ต่อมาจึงมีเนกขัมมะดำริ(เนกขัมมะสัมมาสังกัปปะ) พยายามออกจากกาม

ถือศีล (สัมมาวาจา สัมมาอาชีวะ สัมมากัมมันตะ) และ เจตนางดเว้นจากการพยาบาท เบียดเบียน (อพยาบาทสังกัปปะ อวิหิงสาสังกัปปะ)

มีอินทรีย์สังวร และ การมีความเพียรพยามในการเจริญสติปัฏฐาน(สัมมาวายามะ)

มี สติรู้ชัดใน กาย เวทนา จิต ธรรม (สัมมาสติ)

บรรลุ รูปฌานที่๑-๔ อันอยู่ในแนวทางแห่งอริยมรรค(สัมมาสมาธิ)

บรรลุอาสวักขยญาณ (สัมมาญาณะ)

จึง หลุดพ้นชอบ(สัมมาวิมุติ)







 

ตอบโดย: ตรงประเด็น 23 ส.ค. 52 - 07:03


อ้างอิง (ระนาด @ 04 สิ.ค. 52 - 08:06)
ผมฟังซีดีของหลวงพ่อ   ท่านกล่าวว่า  สมาธิที่ลึกๆจะเห็นว่ากายดับหายไป  เมื่อเข้าสมาธิที่ลึกเข้าไปอีกจะเห็นลมหายใจดับหายไปเหลือแต่ความสุข

ก่อนนอนผมจึงนั่งสมาธิ   ผมเอาสติตั้งมั่นที่ความสุขที่เกิดจากลมหายใจ    ผลปรากฏว่า  ความรู้สึกทางกายค่อยๆดับลง   แล้วต่อมา  ความรู้สึกที่ร่างกายหายใจเข้า - ออก ก็ค่อยๆดับลงเหลือแต่ความสุขตั้งมั่นเด่นอยู่
(ระนาด @ 04 สิ.ค. 52 - 08:06)

จากความเห็นของผมที่ 443  ผมขอแก้ไขเล็กน้อยครับ


ตรงที่ผมบอกว่าลมหายใจเข้าและออกดับลงเหลือเเต่ความสุขตั้งมั่นอยู่  ความจริงลมหายใจดับไปบางส่วน  ความสุขจึงตั้งมั่นอยู่

ต่อมาผมดูอนัตตาไปเรื่อยๆ  ผมก็ผ่อนคลายไปเรื่อยๆจนกระทั่งลมหายใจดับลงไปมากขึ้นอีก  ตอนนี้ความสุขจึงดับไปเหลือแต่อะไรบางอย่างตั้งมั่นอยู่ ( เรียกชื่อไม่ถูกครับ )

                   ------------------------------

เวลาเข้าสมาธิในระดับลึกๆ  เราไม่ต้องพยายามละวางอะไร  แต่ว่าให้เราดูอนัตตาหรือดูความเป็นไตรลักษณ์ของกายและใจ  แล้วจะเข้าสู่สมาธิที่ลึกๆได้เอง  เราไม่ต้องละวางอะไรครับ

ตำรากล่าวว่า  ละวางวิตกวิจารณ์  ละวางปีติ  ละวางความสุข  แล้วก็เข้าถึงอุเบกขา  เมื่อก่อนนี้ผมอ่านตำราแล้วตีความหมายผิด  ก็พยายามละวางตามตำรา  ปรากฏว่า 10 กว่าปีผ่านไป  ผมก็ยังเข้าไม่ถึงอัปปนาสมาธิเลยครับ

เมื่อผมเเก้ไขการภาวนาโดย  เห็นอย่างไรผมก็ภาวนาไปตามที่เห็น  ปรากกฏว่าผมเข้าอัปปนาได้เอง  เข้าได้แบบง่ายๆ   ธรรมดาๆเลยครับ  ผมไม่รู้สึกว่าเป็นของแปลกประหลาดอะไรเลย

ผมจึงเอาประสบการณ์ของผมมาเล่าให้เพื่อนๆอ่าน  บางทีอาจจะมีประโยชน์ต่อเพื่อนๆครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 23 ส.ค. 52 - 07:38


อ้างอิง (ตรงประเด็น @ 22 สิ.ค. 52 - 21:27)


ซึ่ง ถ้าไปเจริญสมาธิภาวนาเพื่ออัตตาใดๆ เสียตั้งแต่ต้นแล้ว ย่อมไม่มีทางบรรุถึงพระนิพพานได้เลย

เสนอเปรียบเทียบ กับ พระสูตรที่พระสารีบุตร ท่านกล่าวไว้ ว่า "ไม่มีเรา ที่ไหน ไปเข้าฌาน"



 เช้านี้ผมกำลังบอกเพื่อนๆว่า  เวลาทำสมาธิ  เราเพียงแค่ดูความเป็นอนัตตาของความรู้สึก  หรือดูไตรลักษณ์ แล้วเราจะเข้าสมาธิที่ลึกๆได้เอง  โดยที่เราไม่ต้องละวางอะไร  เราไม่ต้องทำอะไร


พอผมมาย้อนอ่านเจอความเห็นของคุณหมอตรงประเด็น  ก็โดนใจผมพอดีเลยครับ แหม......ทำไมจึงพอดิบพอดีขนาดนี้  หุ หุ หุ

สาธุครับ  
                    ----------------------------

หมายเหตุ.....ความสุขในสมาธิเกิดมาจาก  การเห็นอนัตตาของความรู้สึกต่างๆครับ ( ความรู้สึกต่างๆก็คือ .....ความรู้สึกที่ลมหายใจ....ความรู้สึกที่แผ่วๆเบาๆที่ผุดขึ้นมาเอง.....ภาพนิมิตรที่เกิดขึ้นมาเอง...........ฯลฯ )


ถ้าหากว่าภาวนายังไม่เห็นความเป็นอนัตตา   ความสุขในสมาธิจะเป็นความสุขที่เกิดจากความสงบ  ซึ่งความสุขตัวนี้เป็นความสุขในเบื้องต้น   ถ้าหมั่นฝึกฝนไปเรื่อยๆก็จะเป็นพื้นฐานที่จะช่วยให้เห็นอนัตตาต่อไปครับ  ... ไม่ต้องกลัวว่าจะติดสุขในสมาธินะครับ  ถ้าเราดูอนัตตาของความรู้สึกต่างๆ  เราไม่มีวันที่จะหลงติดอยู่กับความสุขในสมาธิเลยครับ ( เราจะเห็นอนัตตาของความสุขในสมาธิได้ด้วยครับ )


ถ้าภาวนาโดยจับหลักที่....ดูอนัตตาของความรู้สึกต่างๆ ......  การภาวนาจะง่ายครับ


แต่ว่าตอนที่หัดภาวนาพุทโธใหม่ๆ  ช่วงนั้นเป็นการภาวนาที่ไม่มีความสุขเข้ามาหล่อเลี้ยง และยังไม่เห็นไตรลักษณ์  การภาวนาในตอนนั้นมันยากจริงๆนะครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 23 ส.ค. 52 - 07:55


ความจริงน่าจะเป็นเรื่องของการตีความด้วยภาษานะ อย่างในมหาสติปัฏฐานสูตรเอง หากเราพิจารณาดูให้ดี ในหมวดของธรรมในธรรม ก็จะมีส่วนของอริยมรรคอยู่ด้วย

อาตมาคิดว่าพระสูตรในแต่ละพระสูตรนั้นคงจะมีที่มา และขึ้นอยู่กับว่าพระพุทธองค์ท่านทรงแสดงธรรมโปรดผู้ใด มีอินทรีย์แก่กล้าแค่ไหน ในบางตอนจะเห็นได้ว่าท่านไม่ได้เอ่ยถึงเรื่องศีลเลย มีเพียงแค่การแสดงธรรมในเรื่องการเจริญสติล้วนๆ ทั้งนี้ก็อาจเป็นได้ที่ว่าพระองค์ทรงทราบดีอยู่แล้วว่า บุคคลที่พระองค์กำลังแสดงธรรมให้ฟังอยู่นั้น เป็นผู้ที่มีสัมมาทิฏฐิ เป็นผู้ที่มีความดำริชอบอยู่แล้ว เรียกได้ว่ามีพื้นฐานดีอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องแสดงธรรมในส่วนที่เป็นพื้นฐานแก่ผู้นั้นแต่อย่างใด

แต่ในบางพระสูตรพระองค์ก็ทรงตรัสแสดงธรรมเอาไว้อย่างละเอียดครบถ้วนทีเดียว อย่างเรื่องของฌานเองก็เช่นเดียวกัน บางพระสูตรพระองค์ก็สอนเพียงแค่ รูปฌาน แต่ในบางพระสูตรก็มีเรื่องของอรูปฌานอยู่ด้วย แต่ก็จะมีบทสรุปในทำนองที่ว่าแม้ รูปฌาน หรือ อรูปฌาน ก็เป็นเพียงทางผ่าน ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นแต่ประการใด ซึ่งบางครั้งผู้ที่ศึกษาพระไตรปิฎกที่พึงหวังความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ก็ต้องเอาเนื้อหาเรื่องราวในพระสูตรหลายๆพระสูตรมารวมกัน จึงจะสามารถทำความเข้าใจได้ถูกต้อง ขอเจริญพร.

มหาสติปัฏฐานสูตร(แบบเต็ม มีครบทั้ง ศีล สมาธิ ปัญญา)
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=10&A=6257&Z=6764

จูฬสุญญตสูตร(มีการกล่าวถึงความว่างในความหมายของพระพุทธองค์ และ อรูปฌานที่ใช้เป็นทางผ่าน พระสูตรนี้เน้นถึงการเจริญสติเพื่อก้าวเข้าสู่ความว่างตามความเป็นจริง)
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=4714&Z=4845

 

ตอบโดย: wit 23 ส.ค. 52 - 08:17


สาธุครับพี่หมอ...

ขออนุญาตพี่วิชา สนทนาแลกเปลี่ยนมุมมองตัววิญญาณขันธ์หรือตัวผู้รู้
หรือตัวธรรมชาติที่รับรู้องค์ฌาน หรือรับรู้ถึงธรรมชาติต่างๆ
กับพี่หมอ หน่อยนะ ครับ


ปล่อยรู้ มีมุมมองดังนี้ ครับ

การเข้าใจสภาพสภาวะธรรมชาติของตัววิญญาณขันธ์
ระหว่างอริยะบุคคลกับปุถุชน นั้นย่อมที่จะมีมุมมองที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ครับ

สภาพสภาวะ คุณลักษณะ ขององค์ฌาน ในระดับขั้นชั้นต่างๆ
เป็นอย่างไร ก็ย่อมเป็นอยู่อย่างนั้น

แต่การรับรู้ การเข้าใจ การเห็น
ของปุถุชน กับอริยบุคคล ย่อมแตกต่างกัน ครับ

เห็นรูปอย่างเดียวกัน       แต่การเข้าใจ การรับรู้ ไม่เหมือนกัน
ได้ฟังเสียงอย่างเดียวกัน  แต่การเข้าใจ การรับรู้ ไม่เหมือนกัน
ได้ดมกลิ่นอย่างเดียวกัน  แต่การเข้าใจ การรับรู้ ไม่เหมือนกัน
ฯลฯ

เห็นเวทนา,สัญญา,สังขาร,วิญญาณ อย่างเดียวกัน  แต่การเข้าใจ การรับรู้ ไม่เหมือนกัน


เมื่อบุคคลใด ได้ไต่ลำดับขั้นของสมาธิไปจนถึงขั้นสุดท้ายได้แล้ว
ความเข้าใจเกี่ยวกับวิญญาณขันธ์หรือมโนหรือตัวผู้รู้ ของบุคลนั้นย่อมเปลี่ยนไป

สภาพสภาวะธรรมชาติของ"จิตวิมุตติ"
ย่อมแตกต่างกับ สภาพสภาวะธรรมชาติของ"จิตสมมุติ" อย่างสิ้นเชิง

จิตของโยคี ฤาษีนั้น ยังไม่เคยสัมผัสรับรู้ถึงสภาพสภาวะธรรมชาติของจิตวิมุตติ
(วิมุตติญาณทัศสนะ)

ดังพระสูตรที่พี่นำมาฝากผมนั้นแหละครับ
องค์ฌานใดๆนั้นมีอยู่ แต่ตัวตนผู้เข้าไปเสพ เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในองค์ฌานนั้นหามีอยู่ไม่


เมื่อวิญญาขันธ์หรือตัวผู้รู้ หรือตัวมโน
หรือตัวธรรมชาติหรือสิ่งที่เข้าไปรับรู้ รูป,เวทนา,สัญญา,สังขาร นั้น
สละ ละวาง ปล่อยวางทิ้ง ไม่ยึดมั่นถือมั่นในรูป เวทนา สัญญา สังขาร
โดยความเห้นว่า นั้นไม่ใช่ตัวตน นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
หรือแม้นกระทั้งตัววิญญาณขันธ์,ตัวผู้รู้,ตัวมโนหรือตัวสิ่งที่เข้าไปรู้
รูป,เวทนทา,สัญญาสังขารเอง ก็ตาม
ก็สละ ละวาง ปล่อยวางทิ้งเหมือนกัน

จากวิญญาณขันธ์ หรือตัวผู้รู้ ที่ไม่เคยได้รู้ ไม่เคยยอมรับ
ความเป็นอนัตตาของขันธ์ทั้ง๕มาก่อน
แต่เมื่อเกิดการยอมรับได้แล้ว วิญญาณขันธ์หรือตัวจิตหรือตัวผู้รู้นี้
ย่อมมีทัศสนะมุมมองเกี่ยวกับขันธ์ทั้งห้านี้เปลี่ยนไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง

แต่การทำหน้าที่ของวิญญาณขันธ์นั้น ก็ยังคงทำหน้าที่เหมือนเดิมตามปกติ
แต่ความเข้าใจ ความเห็น ไม่เหมือนวิญญาณ์ขันธ์ตัวเดิมอีกต่อไปแล้ว...

ชื่อจิตวิมุตติก็ดี วิมุตติญาณทัศสนะก็ดี
ล้วนใช้แทนเรียกชื่อ วิญญาณขันธ์หรือตัวมโนหรือตัวผู้รู้
ที่เข้าใจแล้ว ที่เห็นแล้ว ที่ยอมรับแล้ว ถึงความเป็นอนัตตาของขันธ์ทัง๕ อย่างสิ้นเชิง...


ความเข้าใจองค์ฌาน ของตัวผู้รู้ที่ยังติดสมมุตติ
กับ
ความเข้าใจองค์ฌาน ของตัวผู้รู้ที่แจ้งแล้วในสิ่งสมมุตติทั้งหลายทั้งปวง
ย่อมที่จะไม่เหมือนกัน ย่อมที่จะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ครับ

การติดข้องหลงเพลินในองค์ฌานใดๆย่อมเป็นไปได้
ในผู้ที่ยังมีความยินดีพอใจอยู่ และยังไม่เห็นสุขอันเหนือยิ่งขึ้นไปกว่าสุขอันเขากำลังได้เสวยอยู่นั้น

การติดข้องหลงเพลินในองค์ฌานใดๆย่อมเป็นไปไม่ได้
ในผู้ที่เห็นโทษแห่งความพอใจยินดี นั้นๆ และเขาได้เห็นสุขอันเหนือยิ่งขึ้นไปกว่าสุขอันที่เขากำลังได้เสวยอยู่ในขณะนั้นๆ...
 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 23 ส.ค. 52 - 08:18


กรรม คือ การกระทำ

ฐาน คือ หลัก พื้นฐาน เบื้องต้น อันดับแรก ที่มา

กรรมฐาน คือ หลักพื้นฐานของการกระทำ

ผู้ที่สามารถฝึกฝนกรรมฐานจนสติอยู่กับเนื้อกับตัวได้ ย่อมได้พื้นฐานในการที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างสันติสุข เป็นระเบียบ

การฝึกฝนอานาปานสติสมาธิ เป็นอุบายที่ง่ายต่อการเข้า และออก ยามเมื่อคุณต้องการพักผ่อน เพียงคุณนำเอาสติมากำหนดรู้อยู่ที่ลมหายใจ ความวุ่นวายที่กำลังเป็นไปกับชีวิต หน้าที่การงานของคุณก็จะหยุดได้ชั่วขณะหนึ่ง เป็นการได้พักผ่อน หายใจเข้าก็รู้หายใจออกก็รู้ ยิ่งถ้าคุณสามารถฝึกสติให้อยู่กับลมหายใจได้นานเท่าใด คุณก็จะได้พักผ่อนนานเท่านั้น ความหนาแน่นมั่นคงจะมากขึ้นเป็นลำดับธรรมดา คุณจะสามารถเสพสมอารมณ์หมายกับความสงบที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและยาวนาน

แหละหากคุณต้องการที่จะเจริญปัญญาให้เพิ่มพูนขึ้น เพียงแต่คุณนึกคิด ทำความเห็นขึ้น วงจรการทำงานของจิตก็จะทำงานก่อเกิดเป็นวิปัสสนา เกิดการวิตก วิจารณ์ไปเป็นลำดับธรรมดา

ความเห็นชอบก่อเกิดสู่สติชอบ        มั่นเก็บออมวิริยะไม่หน่ายแหนง

จะก่อเกิดปัญญางามมิคลางแคลง    ทั้งแจกแจงแยกแยะได้ตามกาล

ลมหายใจมีอยู่โปรดจงรู้                 มั่นเฝ้าดูเป็นผลให้ติดตาม

ทั้งสอดส่องเฝ้าระวังกิเลสมาร          ไม่ครั่นคร้ามหยุดส่งเสริมไกลบาปเอย

ตอบโดย: ช.ชุตินธโร 23 ส.ค. 52 - 08:27


เวลาผมอ่านตำรา  ผมจะตีความหมายของตำราไปตามสภาวะของผมในตอนนั้นๆครับ

เช่น  ตอนที่ผมหัดภาวนาพุทโธใหม่ๆ  ผมอ่านตำราแล้วตีความหมายไปแบบคนที่ยังไม่เห็นไตรลัษณ์

แต่ตอนนี้  เมื่อผมกลับไปอ่านตำราเล่มเดิม  ผมตีความหมายไปอีกแบบหนึ่งครับ

การเห็นความเป็นอนัตตาของผมในเวลานี้  กับการเห็นอนัตตาของผมเมื่อปีที่แล้ว  ผมก็เห็นได้ต่างกัน  แม้ว่าจะใช้คำอธิบายคำเดียวกันก็ตามครับ

                   -------------------------

สรุปว่า.........คนเราแต่ละคน  เวลาอ่านตำราจะตีความหมายไม่เหมือนกัน ความเข้าใจก็ต่างกัน  แม้ว่าจะอ่านตำราเล่มเดียวกันก็ตาม

และในคนๆเดียวกัน   เมื่อปฏิบัติไปสักระยะหนึ่ง  เมื่อกลับมาอ่านตำราเล่มเดิม  ก็ตีความหมายต่างไปจากเดิมครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 23 ส.ค. 52 - 08:36


สวัสดีครับ ทุกท่าน

  พอดีมีเวลาน้อย กลับจากไปโรงเรียนลูกชายมา  และลูกชายก็ผ่านจากคำว่า เด็กโง่ได้ อย่างดีแล้ว พึ่งกลับมาก็ได้อ่านความเห็นทั้งหมดทั้ง รวมทั้งของ คุณตรงประเด็น นะครับ

ในเวลาที่น้อยนิดก็เสนอข้อมูลให้คุณปล่อยรู้ก่อนนะครับ จากข้อความ

อ้างอิง
หวุดหวิดจะได้รู้วิชา วางยาสลบแล้ว...พี่หมอเข้ามาพอดี


ในพระสูตร(พระไตรปิฏก) เมื่อพระพุทธเจ้าอยู่ในผลของสมาธิ  ต่อให้ฟ้าผ่าฟ้าร้องตรงหน้า ก็หาได้รับรู้ได้ยินไม่

 เช่น เดียวกันที่พระอรหันต์บางรูป(จำชื่อท่านไม่ได้) เข้านิโรจสมาบัติ (พิมพ์ไม่ถูก) ก็จะนิ่งและทรงสังขารในท่านั้น จนใจรหรือคนมาเห็นนึกว่าท่านได้ตายไปแล้ว แล้วเอาท่านไปเผา แต่ด้วยกำลังของผลสมาบัตินั้น ก็ไม่สามารถทำรายชีวิตของท่านให้ต้องมรณภาพ หรือได้รับบาดเจ็บแม้แต่เพียงเส้นผม.

   แค่นี้ก่อนนะครับต้องไปทำธุระต่อนะครับ (เมื่อมีเวลาก็จะสนทนาอย่างเต็มที่นะครับ)

ตอบโดย: Vicha 23 ส.ค. 52 - 11:10


เอ่อ งงครับ ผมเสียดสีเหน็บแนมอะไรหรือครับพี่หมอตรงประเด็น?

บทความอันนั้นผมนำความเห็นที่เกี่ยวกับอรูปฌานของคุณ zen จากเว็บอื่นมาลงประกอบกระทู้เรื่องอรูปฌานของท่าน wit น่ะครับ อยากให้มีความเห็นทุกอย่างเกี่ยวกับอรูปฌานมาลงไว้ในที่เดียวกัน

สำหรับเรื่องฌาน ผมเองแม้ว่าบางทีจะเอนเอียงไปทางสมถะ ก็เป็นเพราะผมมาแนวสมถะนำวิปัสสนา แต่ผมก็สนใจแนวสมถะคู่กันไปกับวิปัสสนาเหมือนดังกระทู้นี้ และแนววิปัสสนานำสมถะเหมือนดังกระแสหลักของเว็บนี้จึงยังวนเวียนอยู่ที่ลานธรรมนี้ คอยเก็บไอ้โน่น เก็บไอ้นี่ที่มีประโยชน์ อันไหนไม่ใช่ก็ไม่เก็บไว้ อันไหนยังพิสูจน์ไม่ได้ ยังไปไม่ถึงก็ไม่ได้คัดค้านอะไร

ผมเรียนกฎหมายมาครับ ซึ่งธรรมเนียมปฏิบัติของคนที่เรียนกฎหมายเขาสอนกันมาว่าเวลาแสดงทัศนะอะไร ให้ยกฎีกาคำตัดสินมาประกอบ ห้ามอ้างความคิดของตัวเองโดดๆ

แม้ความเห็นจะดีหรือถูกแต่ก็ไม่ได้คะแนน ถ้าไม่มีกฎมาอ้างอิงประกอบ

ผมต้องขอโทษไว้ก่อนนะครับ ถ้าผิดพลาดพลั้งเผลออะไรไป

ขอพิจารณาตัวเองครับ..

ตอบโดย: วสวัตตี 23 ส.ค. 52 - 12:19


อ้างอิง
ผมเรียนกฎหมายมาครับ ซึ่งธรรมเนียมปฏิบัติของคนที่เรียนกฎหมายเขาสอนกันมาว่าเวลาแสดงทัศนะอะไร ให้ยกฎีกาคำตัดสินมาประกอบ ห้ามอ้างความคิดของตัวเองโดดๆ

แม้ความเห็นจะดีหรือถูกแต่ก็ไม่ได้คะแนน ถ้าไม่มีกฎมาอ้างอิงประกอบ

ผมต้องขอโทษไว้ก่อนนะครับ ถ้าผิดพลาดพลั้งเผลออะไรไป

ขอพิจารณาตัวเองครับ..
จากคุณ : วสวัตตี


ขอเสริมนะครับ  ในทางธรรม ในเรื่อง การปฏิบัติ และ ผล การปฏิบัติ ก็ควรอ้างอิงจาก พระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา ประกอบด้วย

ไม่ควรเลือกมา อธิบาย ชี้ประเด็น ตรงที่เข้ากับแนวการปฏิบัติของตนเท่านั้น

ดังเช่น พระคุณเจ้า หลวงพี่วิทย์

การกำหนด "รู้" เป็นการเจริญอรูปฌานหรือไม่
http://larndham.net/index.php?showtopic=35827&st=24

หรือ คุณตรงประเด็น

สมถะ ที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้
http://larndham.net/index.php?showtopic=32368&st=18

วิหาร...ที่มัจจุราชตามไม่ทัน
http://larndham.net/index.php?showtopic=30074&st=15

สมถะ ที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้
http://larndham.net/index.php?showtopic=32368&per=1&st=3&#entry532070

อ้างอิง
พระพุทธวจนะ

“นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส
นตฺถิ ปญฺญา อฌายิโน
ยมฺหิ ฌานญฺจ ปญฺญาจ นิพฺพานสฺ เสว สนฺติเก

ฌานย่อมไม่มีในผู้ที่ไม่มีปัญญา
ปัญญาย่อมไม่มีในผู้ที่ไม่มีฌาน
ผู้ที่มีทั้งฌานและปัญญา จึงจะอยู่ใกล้พระนิพพาน.”


ทั้งพระคุณเจ้า และคุณตรงประเด็น ต่างตีความหมายว่า ฌานในที่นี้ คือ รูปฌาน อรูปฌาน

และการจะเจริญวิปัสสนา ได้ ต้องผ่าน ระดับ  รูปฌาน อรูปฌาน  เท่านั้น
 

ตอบโดย: เฉลิมศักดิ์ 23 ส.ค. 52 - 13:43


สวัสดีครับทุกท่าน

  สวัสดีครับคุณบุญรักษ์ และจากข้อความของคุณบุญรักษ์

อ้างอิง
(บุญรักษ์) แจ้งลบ | อ้างอิง |


ขอบคุณครับ ถือโอกาสส่งการบ้านซะเลยนะครับ 

มันมีบางครั้ง มันมุดกลับมาแอบอยู่ข้างใน ไม่ยอมออกไปรับผัสสะทางกาย ผมก็รู้ก็ดูไปเฉยๆ

คิดว่าตรงนั้น ยังไม่ใช่ตรงที่ว่า หดกลับมาอยู่กับจิต น่าจะเป็นแค่ ไม่อยากออกไปรับอารมณ์

แต่มีบางครั้ง มันไม่เกาะกับอะไรเลย เหมือนตั้งอยู่ต่างหาก ผมก็ไม่รู้ว่าคืออะไรเหมือนกัน
(ทุกอย่างมันอยู่นอกๆไปหมด)

เคยเห็น วิญญาณ เกาะไปกับอารมณ์ และดับไปกับอารมณ์ได้สองสามครั้ง

เรื่องหมดกำลังภาวนา ผมหมดกำลังเกือบตลอดเวลา มีมากมีน้อย ก็ใช้เกลี้ยงถังทุกทีไป

แต่ผมดีหน่อย ที่ใจไม่ค่อยติดในการเจริญปัญญา (แต่เผลอๆก็เอาเหมือนกันนะ   )

เขามักจะพักเอง กลับมาพักกับลม แล้วก็ออกมาลุยต่อได้เอง
 
ยิ่งตอนไหนที่มันแบบ ...กำลังจะ...กำลังจะ...กำลังจะ... หะหะหะ เหนื่อยเหมือนกันครับ

ขอบคุณมากครับ หมดพุงแล้ว


ซึ่งคุณ เปา ได้เสนอแนะนั้น ก็อยู่ในกรอบที่ดีแล้ว

แต่ผมจะแจกแจงเป็นประเด็นดังนี้ครับ.

จากข้อความ

อ้างอิง
มันมีบางครั้ง มันมุดกลับมาแอบอยู่ข้างใน ไม่ยอมออกไปรับผัสสะทางกาย ผมก็รู้ก็ดูไปเฉยๆ

คิดว่าตรงนั้น ยังไม่ใช่ตรงที่ว่า หดกลับมาอยู่กับจิต น่าจะเป็นแค่ ไม่อยากออกไปรับอารมณ์



อธิบาย... น่าจะเป็นการตั้งจิตหรือความรู้สึกอยู่ภายในกายช่วงทรวงอกหรือลำตัว แล้วสมาธิเจริญเป็นหนึ่งขึ้น ทรงอยู่ในสมาธินั้น.

อ้างอิง

แต่มีบางครั้ง มันไม่เกาะกับอะไรเลย เหมือนตั้งอยู่ต่างหาก ผมก็ไม่รู้ว่าคืออะไรเหมือนกัน
(ทุกอย่างมันอยู่นอกๆไปหมด)


อธิบาย ... น่าจะเป็นการต้งจิตหรือความรู้สึกภายนอกกาย หรือไม่อิ่งกับกาย เป็นจิตหรือความรู้สึกล้วนๆ ที่เด่นอยู่

จากข้อความ

อ้างอิง
เคยเห็น วิญญาณ เกาะไปกับอารมณ์ และดับไปกับอารมณ์ได้สองสามครั้ง


อธิบาย .... น่าจะเป็นการที่มีสติไปทันเป็นปัจจุบันกับอารมณ์ ครับ
                และการที่ดับไปกับอารมณ์ได้สองสามครั้ง เป็นสภาวะการเกิดับของรูปนามปราฏให้ทราบครับ  สามารถกล่าวได้ว่า วิปัสสนาญาณ พัฒนาถึง อุทยัพยญาณ (วิปัสสนาญาณที่ 4) หรือมากกว่านั้นไปแล้วก็ได้ครับ.

จากข้อความ

อ้างอิง
เรื่องหมดกำลังภาวนา ผมหมดกำลังเกือบตลอดเวลา มีมากมีน้อย ก็ใช้เกลี้ยงถังทุกทีไป

แต่ผมดีหน่อย ที่ใจไม่ค่อยติดในการเจริญปัญญา (แต่เผลอๆก็เอาเหมือนกันนะ   )

เขามักจะพักเอง กลับมาพักกับลม แล้วก็ออกมาลุยต่อได้เอง
 
ยิ่งตอนไหนที่มันแบบ ...กำลังจะ...กำลังจะ...กำลังจะ... หะหะหะ เหนื่อยเหมือนกันครับ
 


อธิบาย.... ดีนี้ครับ เมื่อพัฒนาสติและปัญญา(พละทั้ง 2) เจริญขึ้น ก็จะไม่เหนื่อยหรอกครับ  แต่จะเหนือย ในการที่มีความเพียร ในการพัฒนาพละ ทั้ง 5 ให้เจริญสมบูรณ์ขึ้นครับ.

    หมายเหตุ แต่ยังไม่มีข้อความที่คุณบุญรักษ์ กล่าวถึงไตรลักษณ์ที่ปรากฏชัดเจน  แต่กล่าวชัดเจนเรื่อง การเกิดดับ ที่ปรากฏเท่านั้นนะครับ

 

ตอบโดย: Vicha 23 ส.ค. 52 - 17:23


สวัสดีครับคุณระนาด.

     ความเห็นของคุณระนาดนั้นตรงขึ้น ทั้งการพัฒนาการสังเกตุได้ดีขึ้น คือมีความเข้าใจในองค์ประกอบต่างๆ ได้มากขึ้น ตามการปฏิบัติและผลของการปฏิบัติที่ปรากฏ

     เมื่อพัฒนา สติสัมปชัญญะให้เจริญขึ้น พร้อมทั้งพละส่วนที่เหลือพัฒนาสมบูรณ์เหมาะสม ก็จะพัฒนาสภาวะธรรมให้ปรากฏยิ่งขึ้นไปอีกครับ.
  

ตอบโดย: Vicha 23 ส.ค. 52 - 17:33


และผมมีข้อเสนอแนะ ที่เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ

    เมื่อได้ยินได้ฟังธรรม แล้วพิจารณาคิดตาม มีปัญญาเห็นเข้าใจตามธรรมนั้น มีความชื่นชมมีปีติ เห็นว่าถูกแล้วๆ  ถือว่าเป็น จินตมยปัญญา นะครับ

     แต่ในกรณีของคุณระนาดที่เป็นอยู่นั้น ปฏิบัติจริง(สะสมมานานแล้วเป็น สิบๆ ปีมาแล้ว) เมื่อถูกส่วนเข้าที่เข้าทางในปัจจุบันนี้ จนเกิดผลเป็นสภาวะธรรมปรากฏชัดกับตนจริง นี้ก็เป็น ภาวนามยปัญญา ที่เป็นผลจากสภาวะธรรมที่ปรากฏจริง (รายเอียดปลีกย่อยของแต่ละท่านย่อมไม่ได้เหมือนทั้งทั้งหมดไม่ แต่ระดับตามลำดับธรรมตามพุทธพจน์และอรรถกถาที่จัดธรรมจากพุทธพจน์ให้เป็นหมวดหมู่ย่อมตรงกันและเข้ากันได้)

     ดังนั้น เพียงแต่มี จินตมยปัญญา เท่านั้นย่อมไม่สามารถที่จะมีปัญญาเข้าใจหรือชัดแจ้งสภาวะธรรมที่เป็น ภาวนามยปัญญา ได้ เพียงแต่เทียบเคียงเท่านั้นว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นน่าจะเป็นอย่างนี้ตามความเห็นเพียงส่วนเดียวเป็นธรรมดา.

     และแม้แต่มีสภาวะธรรมที่เป็นภาวนามยปัญญาต่างระดับกัน ผู้ที่มีประการณ์ตรงกับภาวนามยปัญญาเบื้องต่ำกว่า ก็ย่อมเข้าใจในประการณ์ตรงของภาวนามยปัญญาของผู้ที่สูง กว่าด้วย เพียงการเที่ยบเคียงกับตนแล้วคิดไปว่าน่าจะเป็นเช่นนี้น่าจะเป็นเช่นนั้นได้เท่านั้นเป็นธรรมดา.

 

ตอบโดย: Vicha 23 ส.ค. 52 - 18:05


อ้างอิง
ทั้งพระคุณเจ้า และคุณตรงประเด็น ต่างตีความหมายว่า ฌานในที่นี้ คือ รูปฌาน อรูปฌาน

และการจะเจริญวิปัสสนา ได้ ต้องผ่าน ระดับ  รูปฌาน อรูปฌาน  เท่านั้น


ต้องขออนุญาต โยม Vicha เจ้าของกระทู้ด้วยนะ พอดีไปค้นๆ อ่านดูในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ของท่าน พระพรหมคุณาภรณ์ ดู แล้วลองนำเอาหัวข้อธรรมต่างๆที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องฌาน หากนำมาเชื่อมโยงกันอาจจะทำให้ได้มุมมองหรือเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มากขึ้นก็ได้ ขอเจริญพร.


[7] ฌาน 2 (การเพ่ง, การเพ่งพินิจด้วยจิตที่เป็นสมาธิแน่วแน่ - meditation; scrutiny; examination)
       1. อารัมมณูปนิชฌาน (การเพ่งอารมณ์ ได้แก่ สมาบัติ 8 คือ รูปฌาน 4 และ อรูปฌาน 4 - object-scrutinizing Jhana)
       2. ลักขณูปนิชฌาน (การเพ่งลักษณะ ได้แก่ วิปัสสนา มรรค และผล - characteristic-examining Jhana)

       วิปัสสนา ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะพินิจสังขารโดยไตรลักษณ์
       มรรค ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะยังกิจแห่งวิปัสสนานั้นให้สำเร็จ
       ผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเพ่งนิพพานอันมีลักษณะเป็นสุญญตะ อนิมิตตะ และอัปปณิหิตะ อย่างหนึ่ง และเพราะเห็นลักษณะอันเป็นสัจจภาวะของนิพพาน อย่างหนึ่ง
       ฌานที่แบ่งเป็น 2 อย่างนี้ มีมาในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา.

 
ที่มา:
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=7



[47] สมาธิ 3๒ (ความตั้งมั่นแห่งจิต หมายถึงสมาธิในวิปัสสนา หรือตัววิปัสสนานั่นเอง แยกประเภทตามลักษณะการกำหนดพิจารณาไตรลักษณ์ ข้อที่ให้สำเร็จความหลุดพ้น — concentration)
       1. สุญญตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาเห็นความว่าง ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนัตตลักษณะ — concentration on the void)
       2. อนิมิตตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนิจจลักษณะ — concentration on the signless)
       3. อัปปณิหิตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีความตั้งปรารถนา ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดทุกขลักษณะ : concentration on the desireless or non-hankering)

ที่มา:
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=47


[107] วิโมกข์ 3 (ความหลุดพ้น, ประเภทของความหลุดพ้น จัดตามลักษณะการเห็นไตรลักษณ์ ข้อที่ให้ถึงความหลุดพ้น — liberation; aspects of liberation)
       1. สุญญตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยเห็นความว่างหมดความยึดมั่น ได้แก่ ความหลุดพ้น ที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นอนัตตา คือ หลุดพ้นด้วยเห็นอนัตตา แล้วถอนความยึดมั่นเสียได้ — liberation through voidness; void liberation) = อาศัยอนัตตานุปัสสนา ถอนอัตตาภินิเวส.
       2. อนิมิตตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยไม่ถือนิมิต ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นอนิจจัง คือ หลุดพ้นด้วยเห็นอนิจจตา แล้วถอนนิมิตเสียได้ — liberation through signlessness; signless liberation) = อาศัยอนิจจานุปัสสนา ถอนวิปัลลาสนิมิต.
       3. อัปปณิหิตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยไม่ทำความปรารถนา ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นทุกข์ คือ หลุดพ้นด้วยเห็นทุกขตาแล้วถอนความปรารถนาเสียได้ — liberation through dispostionlessness; desireless liberation) = อาศัยทุกขานุปัสสนา ถอนตัณหาปณิธิ.

ที่มา:
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=107


[8] ฌาน 2 ประเภท (ภาวะจิตที่เพ่งอารมณ์จนแน่วแน่ - absorption)
       1. รูปฌาน 4 (ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์, ฌานที่เป็นรูปาวจร - Jhanas of the Fine-Material Sphere)
       2. อรูปฌาน 4 (ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์, ฌานที่เป็นอรูปาวจร - Jhanas of the Immaterial Sphere)

       คำว่า รูปฌาน ก็ดี อรูปฌาน ก็ดี เป็นคำสมัยหลัง เดิมเรียกเพียงว่า ฌาน และ อารุปป์.

ที่มา:
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=8


[9] ฌาน 4 = รูปฌาน 4 (the Four Jhanas)
       1. ปฐมฌาน (ฌานที่ 1 - the First Absorption) มีองค์ 5 คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
       2. ทุติยฌาน (ฌานที่ 2 - the Second Absorption) มีองค์ 3 คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
       3. ตติยฌาน (ฌานที่ 3 - the Third Absorption) มีองค์ 2 คือ สุข เอกัคคตา
       4. จตุตถฌาน (ฌานที่ 4 - the Fourth Absorption) มีองค์ 2 คือ อุเบกขา เอกัคคตา

       คัมภีร์ฝ่ายอภิธรรม นิยมแบ่งรูปฌานนี้เป็น 5 ขั้น เรียกว่า ฌานปัญจกนัย หรือ ปัญจกัชฌาน โดยแทรก ทุติยฌาน (ฌานที่ 2) ที่มีองค์ 4 คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เพิ่มเข้ามา แล้วเลื่อนทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตฌาน ในฌาน 4 ข้างต้นนี้ออกไปเป็น ตติยฌาน จตุตถฌาน และปัญจมฌาน ตามลำดับ (โดยสาระก็คือ การจำแนกขั้นตอนให้ละเอียดมากขึ้นนั่นเอง)

ที่มา:
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=9


 

ตอบโดย: wit 23 ส.ค. 52 - 18:39


อ้างอิง (Vicha @ 23 สิ.ค. 52 - 11:10)
ในพระสูตร(พระไตรปิฏก) เมื่อพระพุทธเจ้าอยู่ในผลของสมาธิ  ต่อให้ฟ้าผ่าฟ้าร้องตรงหน้า ก็หาได้รับรู้ได้ยินไม่

 เช่น เดียวกันที่พระอรหันต์บางรูป(จำชื่อท่านไม่ได้)
เข้านิโรธสมาบัติ ก็จะนิ่งและทรงสังขารในท่านั้น
จนโจรหรือคนมาเห็นนึกว่าท่านได้ตายไปแล้ว แล้วเอาท่านไปเผา

แต่ด้วยกำลังของผลสมาบัตินั้น ก็ไม่สามารถทำรายชีวิตของท่านให้ต้องมรณภาพ หรือได้รับบาดเจ็บแม้แต่เพียงเส้นผม.


สวัสดีครับพี่วิชา

ผมเห็นพี่ปฏิเสธทีแรกว่า
สมาธิที่พี่เคยประสพมานั้น ที่ว่าดับหมด ทั้งสติและสัมปชัญญะ
นั้นไม่ใช่ ตัวสัญญาเวทยิตนิโรธ

แต่เมื่อพี่นำพระสูตร ที่กล่าวถึงพระพุทธเจ้าอยู่ในผลของสมาธิ
ต่อให้ฟ้าผ่า ฟ้าร้องตรงหน้า ก็หาได้รับรู้ ได้ยินไม่

พี่วิชากำลังจะนำพระสูตรนี้ มาเทียบกับสิ่งที่พี่วิชาได้สัมผัสรับรู้นั้น
หรือเปล่าครับ?

ผลในพระสูตรที่พี่วิชานำมากล่าว คือสิ่งเดียวกับที่วิชาปฏิบัติได้ถึงแล้ว
อย่างนั้นหรือเปล่าครับ?



 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 24 ส.ค. 52 - 05:48


อ้างอิง (Vicha @ 23 สิ.ค. 52 - 18:05)

    เมื่อได้ยินได้ฟังธรรม แล้วพิจารณาคิดตาม มีปัญญาเห็นเข้าใจตามธรรมนั้น มีความชื่นชมมีปีติ เห็นว่าถูกแล้วๆ  ถือว่าเป็น จินตมยปัญญา นะครับ

   
      เพียงแต่มี จินตมยปัญญา เท่านั้นย่อมไม่สามารถที่จะมีปัญญาเข้าใจหรือชัดแจ้งสภาวะธรรมที่เป็น ภาวนามยปัญญา ได้ เพียงแต่เทียบเคียงเท่านั้นว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นน่าจะเป็นอย่างนี้ตามความเห็นเพียงส่วนเดียวเป็นธรรมดา.


ผมเห็นด้วยครับ  คุณวิชา

ตอนที่ผมเริ่มต้นฝึกฝนใหม่ๆ  ผมอ่านตำรา  ผมก็มีความเข้าใจไปตามประสาของคนฝึกหัดใหม่ๆ   ตอนนั้นผมเข้าใจว่าการเข้าฌานในระดับสูงๆคือการละวางวิตก  วิจารณ์ ปีติ สุข ไปตามลำดับ  การเข้าฌานขั้นสูงๆก็มีความซับซ้อนขึ้นไปเรื่อยๆ


แต่เมื่อมาปฏิบัติ  สิ่งที่เกิดขึ้นจริงกลับไม่ต้องละวาง  เพียงแค่ผมเห็นความเป็นอนัตตาของความรู้สึกต่างๆ  ฌานก็เลื่อนระดับชั้นขึ้นไปได้  ด้วยตัวของฌานเอง  สิ่งที่ผมควรให้ความสนใจกลับกลายมาเป็น  การฝึกฝนเพื่อดูไตรลักษณ์ให้มีความชำนิชำนาญ แล้วฌานก็เจริญขึ้นมาเอง  ไม่ใช่มาสนในว่าการละวางวิตก  ควรละวางอย่างไร   การละวางวิจารณ์  ควรละวางอย่างไร  แบบที่ผมเคยเข้าใจอย่างผิดๆ
                 ---------------------------------

ด้วยเหตุนี้  ผมเห็นว่าถ้าผมภาวนาโดยอาศัยการคิดด้วยเหตุและผล  แล้วพยายามปฏิบัติให้ได้ตามที่อ่านจากตำรา   การภาวนาจะยากลำบากอย่างแสนสาหัสเลยครับ   ที่ผ่านๆมาการภาวนาของผมไม่ก้าวหน้ามาเป็นสิบปี  ก็เพราะผมพยายามภาวนาให้ตรงตามที่ตำราสอน ( ตำราสอนดีแล้ว  แต่ผมอ่านไม่รู้เรื่องเอง )


 ฉะนั้นปัจจุบันนี้  ผมจึงไม่สนใจว่าฌานขั้นนั้น  จะมีอาการอย่างนั้น  ฌานขั้นนี้จะมีอาการอย่างนี้  เพราะว่าเมื่อปฏิบัติจนเข้าถึงได้ด้วยตนเองแล้ว  สิ่งที่ผมคาดคะเน มันไม่ได้ใกล้เคียงความจริงเลยครับ

 และ  ฌานขั้นสูงๆ  เวลาผมเข้าถึงแล้ว  มันก็เป็นความรู้สึกธรรมดาๆ   ถ้าถึงเวลาที่มันจะเข้าได้  ผมก็เข้าได้ง่ายๆ  เหมือนผมปลดภาระในใจออกไป แต่ถ้ามันจะเข้าไม่ได้  ผมก็เข้าไม่ได้  ดังนั้น   " ฌาน " จึงไม่ได้มีความซับซ้อนยากลำบากตามที่ผมเคยเข้าใจผิดๆมาตั้งแต่ต้น

ขอขอบคุณ  คำชี้แนะของคุณวิชามากๆครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 24 ส.ค. 52 - 08:10


สวัสดีครับคุณปล่อยรู้

จากข้อความของคุณปล่อยรู้

อ้างอิง
สวัสดีครับพี่วิชา

ผมเห็นพี่ปฏิเสธทีแรกว่า
สมาธิที่พี่เคยประสพมานั้น ที่ว่าดับหมด ทั้งสติและสัมปชัญญะ
นั้นไม่ใช่ ตัวสัญญาเวทยิตนิโรธ

แต่เมื่อพี่นำพระสูตร ที่กล่าวถึงพระพุทธเจ้าอยู่ในผลของสมาธิ
ต่อให้ฟ้าผ่า ฟ้าร้องตรงหน้า ก็หาได้รับรู้ ได้ยินไม่

พี่วิชากำลังจะนำพระสูตรนี้ มาเทียบกับสิ่งที่พี่วิชาได้สัมผัสรับรู้นั้น
หรือเปล่าครับ?




 ตอบ ครับ  คุณปล่อยรู้

และจากข้อความ

อ้างอิง
ผลในพระสูตรที่พี่วิชานำมากล่าว คือสิ่งเดียวกับที่วิชาปฏิบัติได้ถึงแล้ว
อย่างนั้นหรือเปล่าครับ?


  ตอบ ไม่ใช่ครับ คุณปล่อยรู้

   หมายเหตุ วิปัสสนาญาณในฝั่งของโลกียชน(ปุถุชน) กับ สัมมาสติและ/หรือสัมมาสมาธิที่เจริญมากๆ หรือมีมากนั้น ยังมีรายละเอียดให้เรียนรู้อีกมากครับ.

 

ตอบโดย: Vicha 24 ส.ค. 52 - 09:45


สวัสดีครับคุณระนาด

จากข้อความ

อ้างอิง
แต่เมื่อมาปฏิบัติ  สิ่งที่เกิดขึ้นจริงกลับไม่ต้องละวาง  เพียงแค่ผมเห็นความเป็นอนัตตาของความรู้สึกต่างๆ  ฌานก็เลื่อนระดับชั้นขึ้นไปได้  ด้วยตัวของฌานเอง  สิ่งที่ผมควรให้ความสนใจกลับกลายมาเป็น  การฝึกฝนเพื่อดูไตรลักษณ์ให้มีความชำนิชำนาญ แล้วฌานก็เจริญขึ้นมาเอง  ไม่ใช่มาสนในว่าการละวางวิตก  ควรละวางอย่างไร   การละวางวิจารณ์  ควรละวางอย่างไร  แบบที่ผมเคยเข้าใจอย่างผิดๆ


อธิบาย....  อาจจะเป็นแนวทางเฉพาะของคุณระนาดก็ได้ครับ ในช่วงขณะนี้
               แต่โดยหลักของ สัมมาสมาธิ  ย่อมเจริญจากสัมมาสติ ด้วยมีปัญญารู้/เข้าใจแจ้งในไตรลักษณ์
               แต่ของคุณระนาดอาจจะเป็นในการปล่อยวางที่ปรากฏเป็นอนัตตาก็ได้ครับ ที่เหมาะกับจริตของคุณระนาดนะครับ.

               พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสทำนองว่า "คถาคต เป็นเพียงผู้ชี้บอกทาง"

    ดังนั้นในการเดินทางหรือการปฏิบัติของแต่ละท่านที่ดำเนินไปทางนั้น ย่อมมีรายละเอียดหรือองค์ประกอบที่ต่างกัน ทั้งแต่เรื่องตะเตรียมสมภาระที่แตกต่างกันบ้าง แล้วเดินไปในทางก็อาจจะเจอสถานะการณ์หรือสภาวะที่แตกต่างกันได้ในรายละเอียดที่เป็นจุดสังเกตุ ฯลฯ
      ตัวอย่าง ง่ายๆ  เดินทางไปอยุธยา  ก็มีการบ่งบอกชี้ทางไปอยู่แล้ว เช่น ขึ้นรถตู้ที่อนุเสาวรี หรือ ขึ้นรถบัสโดยสาร หรือขึ้นรถไฟ หรือไปรถส่วนตัว ซึ่งมีป้ายบอกทางเป็นระยะอยู่แล้วว่าถึงตรงใหนแล้ว และให้ทุกท่านที่ไปอยุธยา นั้นเขียนทริป การเดินทางของตนเองไปอยุธยา การบรรยายย่อมแตกต่างกันในรายละเอียดแทบทุกคน เช่นบางคนสนใจดูไร่นาที่ผ่านไป บางคนสนใจดูวัดที่ผ่านไป บางคนสนใจหมู่บ้านที่ผ่านไป ฯลฯ

        และที่เหมือนกันคือ ต้องผ่านจุด ซึ่งมีป้ายบอกทางเป็นระยะๆ อยู่แล้วว่าถึงตรงใหนแล้ว

ตอบโดย: Vicha 24 ส.ค. 52 - 10:10


กราบขอบพระคุณ คุณตรงประเด็นเป็นอย่างยิ่งครับ ที่ทำให้ผมแจ่มแจ้งในคำว่า วิตก และ วิจาร
และขออนุโมทนาในทุกคำถามทุกคำตอบในกระทู้นี้ที่ทำให้ผมได้เข้าใจแจ่มแจ้งชัดเจนขึ้นเป็นลำดับ ร่วมถึงผู้อ่านท่านอื่นๆ ด้วย

กราบขอบพระคุณครับ

ตอบโดย: ณวบุตร 24 ส.ค. 52 - 10:20


อ้างอิง
ขอโทษนะครับ...ความเห็นของผมเกี่ยวกับส่วนนี้นะครับ...

ตอนนี้จิตมันเป็นไปเอง...เรามีหน้าที่เพียงรู้อย่างเดียวว่า  มันกำลังเป็นอย่างไร

ไม่ต้องไปบังคับ  หรือควบคุม  หรือคิดพิจารณาตาม

จิตเขาจะทำไปตามกำลังของสมถะทีมีในขณะนั้น

เมื่อหมดกำลัง....เขาจะกลับมาพัก( โดยการเกาะกับลมหายใจหรือการเพ่งการเคลือนไหวของกาย )

ที่เป็นการสร้างกำลัง   แต่หากสติยังไม่ไวพอ  จิตอาจจะกลัีบมาเองไม่ได้ในตอนนั้นไม่ได้

เมื่อหลงเพลินขาดสติไปสักครู่หนึ่ง....เมื่อขาดสติ  จิตที่รู้สภาวะของการมีสติ

รู้การรู้สึกตัว  จะพลันหวนกลับมาระลึกความมีสติได้  ซึ่งอาจจะใช้เวลานานสักหน่อย


ทางที่ดีแล้ว....ควรมองเห็นเป็นแบบถี่ยิบ  จะดีมากครับ

จากคุณ : เปา [ ตอบ: 22 ส.ค. 52 22:16 ]


ครับ  

ขอบคุณครับ  

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 24 ส.ค. 52 - 11:15


อ้างอิง (Vicha @ 24 สิ.ค. 52 - 10:10)

อธิบาย....  อาจจะเป็นแนวทางเฉพาะของคุณระนาดก็ได้ครับ ในช่วงขณะนี้
               แต่โดยหลักของ สัมมาสมาธิ  ย่อมเจริญจากสัมมาสติ ด้วยมีปัญญารู้/เข้าใจแจ้งในไตรลักษณ์
               แต่ของคุณระนาดอาจจะเป็นในการปล่อยวางที่ปรากฏเป็นอนัตตาก็ได้ครับ ที่เหมาะกับจริตของคุณระนาดนะครับ.


เมื่อผมทบทวนความเห็นของคุณวิชาตรงนี้แล้ว  ผมจึงเห็นว่า  การเห็นอนัตตาของความรู้สึกต่างๆ  ถ้ามองอีกนัยยะหนึ่ง  มันก็คือการปล่อยวางดีๆนี่เอง


ถ้าผมเห็นความเป็นไปต่างๆของความรู้สึกแล้วไม่ปล่อยวาง  ผมจะเห็นความเป็นอนัตตาได้อย่างไร .....  ใช่ไหมครับคุณวิชา
                     -----------------------------------

การเห็นอนัตตาของความรู้สึก  ผมเริ่มต้นมาจากการฝึกฝนตามความเห็นที่ 299 ของคุณอัญญาสิ  ตอนแรกๆผมเห็นความรู้สึกแผ่วๆเบาๆที่เกิดขึ้นมาเองตอนที่ผมไม่ได้ตั้งใจจะดู หรือ ตอนที่ผมกำลังเผลอๆแล้วมันแว้บขึ้นมา


เมื่อเห็นบ่อยๆ  ผมก็เริ่มเห็นความแตกต่างของ  ... ความรู้สึกที่ชัดๆที่เกิดขึ้นตอนที่ผมคิดนึกเรื่องต่างๆ เช่น ความพอใจ , ความไม่พอใจ ...  กับ.....ความรู้สึกแผ่วๆเบาๆที่เกิดขึ้นตอนที่ผมไม่ตั้งใจ


ตอนนี้  เวลาที่ความพอใจ , ไม่พอใจดับลงไปใหม่ๆ   ผมเห็นว่า  มันจะมีความเป็นอนัตตา ( คือ ไม่ใช่ของๆเรา ) ไล่ตามหลังไปติดๆ ( เมื่อก่อนผมไม่เห็นนะ )
                  --------------------------

        ก่อนที่ผมจะไปส่งการบ้าน ( 17 กค. ) ผมเข้าใจการดูไตรลักษณ์ผิดไปอย่างหนึ่ง คือว่า.....ตอนนั้นผมหัดดูความรู้สึกที่เห็นได้ชัดๆ เช่นความพอใจ , ไม่พอใจ  การดูอนัตตาในลักษณะนี้ มันดูยาก เพราะว่าความพอใจ , ความไม่พอใจ  ความรู้สึกพวกนี้มีอัตตามาก และ มีความเป็นอนัตตาน้อย   แต่ถ้าดูความรู้สึกที่แผ่วเบาๆที่เกิดขึ้นมาตอนที่ผมกำลังเผลอๆ  แบบนี้จะเห็นอนัตตาได้ง่าย  เพราะว่า  ความรู้สึกแบบนี้มีความเป็นอนัตตามาก ( คือเกิดขึ้นเองโดยไม่ตั้งใจ )  และมีความเป็นอัตตาน้อย
                         -----------------------------

ตอนนี้ผมจึงดูอนัตตาจากความรู้สึกแผ่วๆเบาๆที่เกิดขึ้นมาเองตอนที่ผมไม่ตั้งใจ    แล้วการเห็นอนัตตาของความรู้สึกที่ดูยากๆ เช่นความพอใจ . ความไม่พอใจ , ความอยากมี  อยากเป็นต่างๆ.......ฯลฯ  มันก็จะค่อยๆเห็นอนัตตาได้เอง  ... ค่อยๆเป็นไปเอง ........ผมเข้าใจแบบนี้ถูกไหมครับ คุณวิชาครับ

ตอบโดย: ระนาด 24 ส.ค. 52 - 12:00


สวัสดีครับคุณระนาด
 
จากข้อความ

อ้างอิง
เมื่อผมทบทวนความเห็นของคุณวิชาตรงนี้แล้ว  ผมจึงเห็นว่า  การเห็นอนัตตาของความรู้สึกต่างๆ  ถ้ามองอีกนัยยะหนึ่ง  มันก็คือการปล่อยวางดีๆนี่เอง


ตอบ ใช่ครับ คุณระนาด

และจากข้อความ

อ้างอิง
ถ้าผมเห็นความเป็นไปต่างๆของความรู้สึกแล้วไม่ปล่อยวาง  ผมจะเห็นความเป็นอนัตตาได้อย่างไร .....  ใช่ไหมครับคุณวิชา


ตอบ ใช่ครับ คุณระนาด

และจากข้อความ

อ้างอิง
ตอนนี้ผมจึงดูอนัตตาจากความรู้สึกแผ่วๆเบาๆที่เกิดขึ้นมาเองตอนที่ผมไม่ตั้งใจ    แล้วการเห็นอนัตตาของความรู้สึกที่ดูยากๆ เช่นความพอใจ . ความไม่พอใจ , ความอยากมี  อยากเป็นต่างๆ.......ฯลฯ  มันก็จะค่อยๆเห็นอนัตตาได้เอง  ... ค่อยๆเป็นไปเอง ........ผมเข้าใจแบบนี้ถูกไหมครับ คุณวิชาครับ


ตอบ  ก็ใช่ได้เหมือนกันครับ  (เน้น)ถ้าสภาวะนั้นเจริญขึ้นจนสามารถทำให้ ความพอใจ หรือไม่พอใจ , ความอยากมี อยากเป็นต่างๆ ลดน้อยถอยลงในสภาวะปกติ หรือเมื่อเกิดรุนแรงก็สามารถเท่าทันแล้ววางหรือดับได้โดยง่าย แล้วไม่ยึดติดค้างอยู่ในจิตใจ.

ตอบโดย: Vicha 24 ส.ค. 52 - 13:28


อ้างอิง
จากคุณ : Vicha [ ตอบ: 23 ส.ค. 52 17:23 ]

ครับ    

คือ ผมไม่ค่อยได้สนใจว่า อะไรเป็นอะไร
นิสัยผมคล้ายกับชอบต่อจิกซอว์ไปทีละนิดทีละหน่อย
ดูรูปบนฝากล่องบ้าง แยกสีคัดสีบ้าง
แล้วพอเริ่มต่อเห็นได้เป็นรูปเป็นร่าง
ก็ลุยต่อใหญ่เลยทีนี้
แล้วก็เห็นภาพได้เองในที่สุด

อ้างอิง
    หมายเหตุ แต่ยังไม่มีข้อความที่คุณบุญรักษ์ กล่าวถึงไตรลักษณ์ที่ปรากฏชัดเจน  แต่กล่าวชัดเจนเรื่อง การเกิดดับ ที่ปรากฏเท่านั้นนะครับ


.....ไตรลักษณ์ที่เห็นชัดเจน.....เอ.....ผมจะกล่าวไงดีหล่ะ.....
.....เยอะแยะไปหมดนี่นา.....ก็ไตรลักษณ์ทั้งนั้นเลย.....
.....เห็นอะไรดับลงไปเองได้.....ก็ไตรลักษณ์ทั้งนั้น.....
.....ไม่มีอะไรที่สำคัญกว่าอะไรเลย.....

 

.....คุณระนาดครับ.....น่าจะได้เวลาไปส่งการบ้านแล้ว.....

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 24 ส.ค. 52 - 14:05


  รวมทั้งคุณบุญรักษ์ด้วย

ตอบโดย: ชัชวาล เพ่งวรรธนะ 24 ส.ค. 52 - 15:26


อ้างอิง (ชัชวาล เพ่งวรรธนะ @ 24 สิ.ค. 52 - 15:26)
รวมทั้งคุณบุญรักษ์ด้วย

 

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 24 ส.ค. 52 - 15:35


อ้างอิง (Vicha @ 24 สิ.ค. 52 - 13:28)

อ้างอิง
ตอนนี้ผมจึงดูอนัตตาจากความรู้สึกแผ่วๆเบาๆ    แล้วการเห็นอนัตตาของความรู้สึกที่ดูยากๆ   มันก็จะค่อยๆเห็นอนัตตาได้เอง



ตอบ  ก็ใช่ได้เหมือนกันครับ  (เน้น)ถ้าสภาวะนั้นเจริญขึ้นจนสามารถทำให้ ความพอใจ หรือไม่พอใจ , ความอยากมี อยากเป็นต่างๆ ลดน้อยถอยลงในสภาวะปกติ หรือเมื่อเกิดรุนแรงก็สามารถเท่าทันแล้ววางหรือดับได้โดยง่าย แล้วไม่ยึดติดค้างอยู่ในจิตใจ.
 


อ๋อ........เข้าใจล่ะครับ

การเห็นอนัตตาในความหมายของผม  ก็มีความหมายเดียวกันกับข้อความที่คุณวิชายกมาครับ  ( ตอนนี้ผมเห็นความเป็นอนัตตาไล่ตามหลังความรู้สึกที่ดูยากๆไปแวบๆ  และ ไม่รู้สึกหนักหน่วงถ่วงใจเหมือนเมื่อก่อนแล้ว )

ขอบคุณ  คุณวิชามากๆเลยครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 24 ส.ค. 52 - 16:17


อ้างอิง (บุญรักษ์ @ 24 สิ.ค. 52 - 14:05)


 

.....คุณระนาดครับ.....น่าจะได้เวลาไปส่งการบ้านแล้ว.....

 
(บุญรักษ์ @ 24 สิ.ค. 52 - 14:05)


ถ้าไม่มีธุระอะไรติดขัด  ผมน่าจะไปส่งการบ้านราวๆต้นเดือนกันยา  ผลออกมา จะหมู่หรือจ่า  เดี๋ยวคงได้รู้กัน ( เวลาที่เหลือในช่วงนี้ ผมจะภาวนาให้มันชัวร์  ชัวร์  มากกว่านี้อีกหน่อยนึง )

แล้วจะมาเล่าให้ฟังครับ



 

ตอบโดย: ระนาด 24 ส.ค. 52 - 16:34


  ขอเป็นนายพันเลยดีกว่าคุณระนาด
หมู่ จ่า น้อยไปแล้ว
จากอ้อง นายสิบแหะๆ
อนุโมทนาคุณระนาดด้วยครับ

ตอบโดย: ชัชวาล เพ่งวรรธนะ 24 ส.ค. 52 - 16:51


.....ว่าจะเข้ามาตั้งให้เป็นนายร้อย.....โดนแซงหน้าติดยศนายพันให้ซะแล้ว.....555.....

.....แล้วนายสิบประเภทไหน.....อะไรอะไรก็รู้เรื่องไปซะหมด.....

.....เดี๋ยวก็ติดยศนายพลให้ซะเลย......โทษฐานทำให้ผมหมั่นไส้.....ฮึ.....

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 25 ส.ค. 52 - 10:09


  แหะๆ ชนะ10ทิศแต่แพ้ให้ภรรยาทิศนึงล่ะกันอ้องสู้นางเหาภรรยาไม่ได้
ส่วนคุณบุญรักษ์นี่ชอบหนีไปหาหลวงพ่อไม่ยอมบอก
คราวหลังถ้าไปถวายอาหารหลวงพ่ออย่าลืมติดของดีที่บ้านสระบุรีประเภทหินกองหินลมมาด้วยนะ ท่านนายก

ตอบโดย: ชัชวาล เพ่งวรรธนะ 25 ส.ค. 52 - 11:24


.....ไม่เอา.....ไม่เอา.....ผมไม่เล่นการเมือง.....หะหะหะ.....

ตอบโดย: บุญรักษ์ 25 ส.ค. 52 - 11:57



คุยอะไรกันอยู่  

เขาย้ายไปภาค 2 แล้วนะ

ตามไปเร็ว

ตอบโดย: ระนาด 25 ส.ค. 52 - 12:26


.....55555.....คร้าบบบบ.....

ตอบโดย: บุญรักษ์ 25 ส.ค. 52 - 13:39


     ครับผมได้ตั้งกระทู้ภาค 2 แล้วครับ เพิ่มเรื่อง นิพพานชั่วคราว จิตว่าง  หรืออุปสมานุสสติครับ

       http://larndham.net/index.php?showtopic=35959&st=0

 

ตอบโดย: Vicha 25 ส.ค. 52 - 13:40

ลานธรรมเสวนา http://larndham.net