สั่งเครื่องให้ทำการพิมพ์
ลานธรรมเสวนา > ชีวิตกับธรรมะ
กระทู้ 35959 ดำรงสติเฉพาะหน้า รู้ลมหายใจ ไม่ใช่เรื่องยาก(ภาค 2) ( http://larndham.net/index.php?showtopic=35959 )


   อุปสมานุสสติกรรมฐาน????

     เนื่องจากผู้ปฏิบัติกรรมฐานส่วนมากในปัจจุบันปฏิบัติตามด้วยความศรัทธาในพุทธศาสนาเป็นหลักเป็นเบื้องต้น ดังนั้นเมื่อพระหรือคูรบาอาจารย์ให้ปฏิบัติอย่างไร ก็จะปฏิบัติตามอย่างนั้น เป็นธรรมดา.
     ซึ่งผมก็เป็นแบบนี้เหมือนคนทั่วๆ ไปเช่นเดียวกัน เพียงแต่ผมมีโอกาสดีคือได้ศึกษาและอ่านหนังสือธรรมมาอย่างมากพอควร ก่อนที่จะเข้าปฏิบัติกรรมฐานเป็นรูปแบบ

     เมื่อผมได้เข้าปฏิบัติธรรมเป็นรูปแบบ แนวยุบหนอ-พองหนอ ซึ่งกล่าวว่าเป็นสติปัฏฐาน 4 ก็ศรัทธาในครูบาอาจารย์มาตลอด ตัดทิ้งทิฏฐิความเห็นความสงสัยออกไปก่อนอย่างสิ้นเชิง ปฏิบัติให้ถึงที่สุดตามกำลังแห่งตนแม้จะใช้เวลาเป็น สิบๆ ปี ก็ตาม จนประสบการณ์การปฏิบัติแนวนั้นสมบูรณ์ในระดับที่ดี.

      หลังจากนั้นเมื่อได้ศึกษาพระไตรปิฎกอย่างจริงจังก็พบว่า  อานาปานสติกรรมฐาน กายคตาสติกรรมฐาน มรณานุสติ สามารถเจริญเป็นสติปัฏฐาน 4 ได้ด้วย
      เรียก อานาปานสติ ว่าเป็นสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน โดยมีพุทธพจน์รับรองไว้ในพระไตรปิฎกทำนองว่า "เมื่อปฏิบัติตาม อานาปานสติสูตรมากและสมบูรณ์  สติปัฏฐาน 4 ก็ย่อมสมบูรณ์ด้วย"

       เมื่อได้ทราบดังนี้ วิปัสสนาญาณที่เจริญขึ้นได้ก็หาได้จำกัดอยู่ที่ ต้องปฏิบัติโดยตรงกับสติปัฏฐาน 4 อย่างเดียว  ย่อมสามารถปฏิบัติเริ่ม จากอานาปานสติสูตร กายคตาสติ มรณานุสติ ได้ด้วยและสามารถเจริญขึ้นเป็นวิปัสสนา ซึ่งวิปัสสนาญาณสามารถเจริญได้ด้วยตัวของกรรมฐานเองได้โดยตรง.
       ต่างกับกรรมฐานอื่นที่เหลือที่เป็นสมถะ ต้องยกขึ้นสู่วิปัสสนา เพื่อให้วิปัสสนาญาณสามารถเจิรญขึ้นได้.

       (ข้อความส่วนตน) ผมได้กลับมาปฏิบัติอานาปาสนสติต่อยอดจากที่ได้เลิกปฏิบัติไปประมาณ 20 ปี (ตั้งแต่ประมาณปี 2526-27) เมื่อศรัทธาในพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกที่ได้ศึกษาเพิ่มขึ้นเรื่องอานาปานสติสูตร จากการสนทนาในลานธรรมนี้ เริ่มปฏิบัติจริงจังประมาณปี พ.ศ. 2548 มาจนถึงปัจจุบัน ก็ได้ผลสรูปของตนเองว่า ปฏิบัติอานาปานสติสูตร สามารถเจริญควบคู่ กับ วิปัสสนาญาณได้ตามลำดับ.

         และตลอดมามีความเข้าใจว่า ผู้ที่ทรงอารมณ์ที่เป็นนิพพานได้ ต้องเป็นพระอริยะเท่านั้น ปุถุชนนั้นไม่สามารถแม้จะได้อ่านเจอในวิสุทธิมรรคก็ไม่สนิทใจเพราะไม่เข้าใจใน อุปสมานุสติกรรมฐาน ที่ได้อ่านในช่วงเวลานั้น และก็หาได้พยายามค้นหาต่อเพื่อศึกษาในพระไตรปิฎกหรือพระอรรถกถาเพิ่มเติม.
     
         แต่ก็ได้ยินได้ฟังเรื่อง การทำจิตให้ว่าง หรือ จิตว่าง หรือ นิพพานชั่วคราว ของท่านพระพุทธทาสมาเป็นเวลานานแล้ว จนผู้คนส่วนหนึ่งเข้าใจว่า นิพพานคือ การทำจิตให้ว่าง หรือ จิตว่าง นั้นเอง
         ดังนั้นเมื่อผมมีทุกข์มาก ผมก็ต้องปฏิบัติเพื่อให้จิตว่าง หรือทำจิตให้ว่าง ปฏิบัติเมื่อประมาณปี 2532-33 อย่างนี้.

         ตั้งแต่นั้นข้าพเจ้า จึงเริ่มกำหนดกรรมฐานแต่ครั้งนี้จะกำหนด และการวางใจให้สวนทางกับที่ผ่านมา เพราะถ้ากำหนดแบบเก่า คือจะต้องภาวนาอย่างเข้มขนไม่ขาดระยะ และจับให้ได้ว่ามีการผะงักหรือดับขาดตอนของอารมณ์ ในช่วงไหนของคำภาวนา ซึ่งถ้าทำแบบนี้อารมณ์ก็เหมือนเดิม คือละกิเลสไม่ได้เพียงแต่ข่มไว้ได้ แต่ความทุกข์ที่เผาลนจิตใจก็ยังมีอยู่เหมือนเดิม
         ทำให้ข้าพเจ้าคิดได้ว่าถ้าเพียงแต่สักแต่รู้ตามหลักที่พระพุทธเจ้า ทรงกล่าวว่า  สักแต่รู้ สักแต่เห็น สักแต่ได้ยิน กับสิ่งที่มากระทบ ข้าพเจ้าจึงคิดว่าใช้คำภาวนาว่า

         "สักแต่รู้""สักแต่เห็น" "สักแต่ได้ยิน"

        เป็นตัวนำสติ และจะไม่ไปบังคับไม่ว่าจะง่วงนอน หรือจะเคลิ้มไปก็ไม่บังคับหรือฝืนให้มีสติ เพียงแต่ภาวนาว่า"สักแต่รู้" ถ้าภาวนาไม่ได้ก็เพียงแต่สักแต่รู้เท่าที่จะทำได้ จึงเริ่มทำกรรมฐาน

          วันแรกที่ทำกรรมฐานก็ยังติดอยู่กับอารมณ์เดิม  พยายามปรับลงมาเพื่อให้อ่อนตัวในการภาวนาพยายามปรับอยู่ 2-3วัน จึ่งอ่อนตัวลงได้  ไม่ควบคุมแม้แต่ท่าที่นั่งกรรมฐาน ปล่อยให้เป็นธรรมชาติเพียงแต่สักแต่รู้ ให้เป็นปัจจุบันไม่ใช่พยายามให้ทันปัจจุบัน เพราะที่ผ่านมาทำไว้มากแล้ว

           พอขึ้นวันที่ 3 เมื่อกำหนดกรรมฐาน ความง่วงนอนก็เกิดขึ้นแต่เพียงสักแต่รู้เท่านั้นก็หลับคู่ไปโดยที่ไม่ไปบังคับ เป็นอย่างนี้อยู่ 2-3 วัน หลังจากนั้นจะไม่เผลอหลับแบบขาดสติ
         หลังจากนั้นตื่นอยู่ก็สักแต่รู้ว่าสติดี พอลงภวังค์จะหลับก็จะรู้ว่าสติไม่ดีเพราะเริ่มมีความมืดเข้ามาครอบครองจิต เหมือนกับผู้ที่นั่งอยู่บนรถไฟ วิ่งลอดอุโมงค์ เป็นช่วงๆ มืดสว่างๆ แต่ไม่เผลอหลับ หลังจากนั้นมืดสว่างก็จะเกิดเร็วขึ้นๆ จนมีแต่ความสว่างอย่างเดียว คือสติดีจิตมีความสว่างกำหนดกรรมฐานได้นานแต่เพียงสักแต่รู้เท่านั้น

         เมื่อทำมากๆ หลายวันเข้าวิปัสสนาญาณต่างๆ ก็เกิดขึ้น จิตก็เพียงแต่สักแต่รู้จริงมากขึ้นจะรู้อยู่เพียง 2 อย่างขณะที่ทำกรรมฐาน คือสักแต่รู้ร่างกาย เมื่อรู้ร่างกายน้อยลงก็สักแต่รู้อารมณ์หรือจิต เป็นไปอย่างนี้กลับไปกลับมา คือจะมีแต่รูปละนามเท่านั้นที่เห็นอยู่
         เมื่อกำหนดกรรมฐานหลายวันเข้าก็เริ่มทิ้งทั้งหมด เป็นความว่างจากทุกอย่างในช่วงหนึ่ง(ว่างไม่มีอะไรเหลือ มีเพียงทุกข์นิดๆๆ ที่เสมือนไม่มี กับว่างเท่านั้น)  ในขณะที่ว่างเริ่มนับไปเองจาก 1 ถึง 4 ก็ออกมารับรู้ปกติ
         เมื่อกำหนดกรรมฐานใหม่สักระยะหนึ่ง ก็เข้าสู่ความว่างเหมือนเดิมแต่นับได้ถึง 6 ก็ออกมารับรู้ปกติ
         เมื่อเริ่มกำหนดใหม่ ก็เข้าสู่ความว่างอีกนับได้ถึง 8 หลังจากนั้นไม่สนใจที่จะเข้าอีก

         หลังจากนั้นอารมณ์ที่ยึดติดกับสิ่งที่มากระทบก็เบาลง มีความสุขสงบสบายติดต่อเป็นเวลาหลายวัน ทำให้เข้าใจฐานะของตนเอง และหันมาปฏิบัติตัวตามฐานะของตนเองมากขึ้น ให้เวลาลูกเมียมากขึ้น แทนที่คิดจะหนีไปบวชให้ภรรยาต้องทุกข์ และคลายความยึดถือเก่าๆ ลงมาก  เพราะอารมณ์เห็นความว่างมากขึ้น และภาวนาสักแต่รู้กับอารมณ์ที่มากระทบ หรือที่เกิดขึ้นจากภายในของอารมณ์เอง

 
         หลังจากนั้นเป็นเวลาหลายเดือน ผมก็เริ่มกำหนดภาวนาเล่น กำหนดไตรลักษณ์ตรงๆ คือใช่คำภาวนาว่า "ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตน" นั่งกำหนดรู้อยู่เบาๆ รู้สึกชัดส่วนร่างกายไม่ว่าจะตรงใหน(ผม ขน เล็บ ฟัน หรือ หนัง ตรงส่วนทีรู้สึกนะครับ) ก็ภาวนาว่า "ไม่เที่ยง เป็นทุกข์  ไม่ใช่ตน"
         เมื่อมารู้ที่ใจชัดก็กำหนดภาวนาว่า "ไม่เทียง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตน" แต่ไม่ได้เพิ่มสติให้ทันกันจะๆ เป็นการปล่อยวางแต่เป็นปัจจุบันมากกว่า
         สติสัมปชัญญะรู้ทันไปสักระยะหนึ่ง ก็เริ่มทิ้งความรู้สึกการรับรู้ภายนอกทั้งหมด เหลือแต่ความรู้สึกหรือใจล้วนๆ อย่างเดียว กำลังเคลื่อนอยู่ที่เดียวเสมือนเคลื่อนไหวในมูมสามเหลี่ยมเล็กของความรู้สึกนั้น (คือเป็นวิตก วิจารย์ ยกอารณ์นั้นขึ้นอยู่เนื่อง)
         คงอยู่อย่างนั้นเป็นเวลาพักใหญ่ แล้วถอนออกรับรู้ทั่วตัวเป็นปกติ.

    แต่หลังจากนั้นเมื่อทุกข์ หรือสับสนในใจ ก็น้อมใจ "สักแต่รู้" หรือ "เป็นเช่นนั้นเอง" เพียงไม่นาน ก็ว่างวางทิ้งความทุกข์และ ความสับสนนั้นไปได้แล้ว ไม่เป็นทุกข์ดังแต่ก่อนหน้านั้น.
         ก็รู้ว่าความว่างที่น้อมใจกำหนดภาวนา "สักแต่รู้" หรือ "เป็นเช่นนั้นเอง" แล้ววางทิ้งความทุกข์และความสับสนไปจากใจได้ ตามที่กล่าวกันได้รู้และสัมผัสแล้วแต่ไม่รู้ว่า เป็นอะไร? หรือกรรมฐานอะไร?

        แต่เมื่อวานนี้ เมื่อได้เกิดความคิดเสนอแนะ เรื่องกรรมฐานที่พอจำได้จากการอ่านมานานแล้วเรื่อง อุปสมานุสสติกรรมฐาน.
         เมื่อค้นเข้าจริงๆ ก็รู้ชัดแจ้งตามบัญญัติได้อย่างชัดเจนขึ้นดังที่ได้สนทนากันในกระทู้ของหลวงพี่ wit ดังนี้.

ข้อมูลจากน้องบูค้นหามา

ผลจากการค้นหาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือที่สุด

ค้นจาก google โดยใช้คำว่า  อุปสมานุสสติกรรมฐาน + 84000

จึงได้ http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=179

โดยเอาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับ อุปสมานุสสติกรรมฐานจะได้ดังนี้ครับ

...อนุสสติที่เกิดขึ้นเพราะปรารภความเข้าไปสงบระงับ ชื่อว่าอุปสมานุสสติ. คำว่า อุปสมานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติอันมีความเข้าไปสงบ ระงับทุกข์ทั้งปวงเป็นอารมณ์.
               อีกอย่างหนึ่ง ความเข้าไปสงบระงับมี ๒ อย่างคือ อัจจันตุปสมะ ความเข้าไปสงบระงับโดยสุดยอด และขยูปสมะ ความเข้าไปสงบระงับโดยความสิ้นกิเลส.
               ใน ๒ อย่างนั้น พระนิพพานชื่อว่าความสงบระงับโดยสุดยอด มรรคชื่อว่าความสงบระงับโดยความสิ้นกิเลส. ความหมายในอธิการนี้มีว่า สติอันเกิดขึ้นแก่ผู้ระลึกถึงความสงบ ระงับแม้ทั้งสองนี้ด้วยประการอย่างนี้ ชื่อว่าอุปสมานุสสติ.
               ในกรรมฐาน ๑๐ เหล่านี้ กรรมฐาน ๓ อย่างนี้ คือ อานาปานสติ มรณสติ กายคตาสติ ย่อมเป็นประโยชน์แก่วิปัสสนาอย่างเดียว กรรมฐานที่เหลือ ๗ อย่างเป็นประโยชน์แก่การทำจิตให้ร่าเริงด้วย เป็นประโยชน์แก่วิปัสสนาด้วย ด้วยประการฉะนี้.


ข้อมูลส่วนที่ผมค้นหาเพิ่ม

ผมได้ไปค้นในพระอรรถกถามาเพิ่ม ตัดมาจากที่ต่างๆ ได้ดังนี้

***********************
          อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภความสงบ ชื่อว่า อุปสมานุสสติ คำว่า
อุปสมานุสสตินี้ เป็นชื่อของสติที่มีพระนิพพานอันเป็นที่เข้าไปสงบทุกข์ทั้ง
ปวงเป็นอารมณ์.
************************

************************
            อุปสมานุสตินี้  เป็นชื่อของสติมีการสงบทุกข์ทั้งปวง  เป็นอารมณ์.
************************

************************
             ท่านกล่าวถึงกสิณ  ๑๐  ด้วยสามารถแห่งอัปปนาสมาธิอันมีกสิณเป็นอารมณ์.  ท่านกล่าวพุทธานุสติเป็นต้น มรณสติและอุปสมานุสติ  ด้วยสามารถแห่งอุปจารฌาน.  ท่านกล่าวอานาปานสติ  และกายคตาสติ  ด้วยสามารถแห่งอัปปนาสมาธิ.  ท่านกล่าวอสุภะ  ๑๐  ด้วยสามารถแห่งปฐมฌาน.
*************************

*************************
            ผู้เจริญอุปสมานุสสติ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งอุปจารฌาน.
*************************

     สรุปตรงส่วนนี้  เป็นว่าผู้เจริญาอุปสมานุสสติ  ทรงสามาธิได้สูงสุดที่ อุปจารสมาธิ หรืออุปจารฌาน และการปฏิบัตินั้นต้องมีสติในการเจริญ เป็นสำคัญ.

      ในเมื่อพระอรรถกากล่าวถึง ว่าเจริญได้สมาธิสูงสุดเพียง อุปจารฌาน ตามความเห็นของผม ปุถุชน ก็ย่อมเจริญได้หาได้เฉพาะพระอริยะ.


      กระทู้นี้เป็นกระตอนที่ 2 ของกระทู้

    http://larndham.net/index.php?showtopic=34753&st=0

      ดังนั้นผู้อ่านสามารถสนทนาต่อกันได้เลยในกระทู้นี้ครับ และเพิ่มกรอบกว้างขึ้น เรื่อง จิตว่าง หรือ นิพพานชั่วคราว หรือ อุปสมานุสสติกรรมฐานครับ.

       (กระทู้เก่ามีข้อมูลมาก ทำให้ช้าหรืออืดไปในการโหลดแต่ละครั้งครับ)
 

ตอบโดย: Vicha 25 ส.ค. 52 - 12:01


โอ้ มีภาคสองด้วย  รอฟังการสนทนาอยู่ครับ    

ตอบโดย: น้องบู 25 ส.ค. 52 - 14:00


ครับน้องบู ที่มีภาค 2 ก็เพราะ

   1.กระทู้เก่านั้นมีข้อมูลมากแล้ว และทำให้ค้นหาหรืออ่านประเด็นเรื่องเฉพาะๆ ได้ลำบาก

   2.เน้นเรื่อง นิพพานชั่วคราว หรือ จิตว่าง  และ อุปสมานุสสติกรรมฐาน ให้ชัดเจนขึ้น เพราะผมเองก็ไม่ได้สังเกตุ และยกขึ้นมาเทียบเคียงกับพระไตรปิฎกหรืออรรถกถามาก่อนเลย ทั้งที่ปรากฏกับตนเองมานานมากแล้ว
     เพราะช่วงเวลานั้นมีกิจในเรื่องการงานมาก งานก็เยอะ มีภาระทางครอบครัวสูง แต่ปฏิบัติธรรมโดยตลอดและประสบทุกข์ปรากฏอยู่เฉพาะหน้าอยู่เนื่องๆ ต้องเอาการปฏิบัติกำหนดกรรมฐานนั้นแหละตั้งรับกับความทุกข์ใหญ่ที่ปรากฏในแต่ละครั้งๆ ที่ปรากฏมาคนละรูปแบบกันคนละสภาวะนั้นๆ  ให้ผ่านพ้นไปได้ ไม่มีโอกาศและเวลาได้ค้นคว้าทางบัญญัติอย่างปัจจุบัน .

 

ตอบโดย: Vicha 25 ส.ค. 52 - 14:41


ขอแสดงความเห็นเรื่องจิตว่างก็แล้วกันครับ

ผมคิดว่า จิตว่าง ในความหมายทั่วไปน่าจะหมายถึง

จิตที่ ราคะ ไม่ปรากฏ  โทสะ ไม่ปรากฏ โมหะ ไม่ปรากฏ  นี่คือความหมายหนึ่ง(จะด้วยกำลัง สมถะ หรือ วิปัสสนา หรือทั้งสมถะและวิปัสสนา ก็ตาม)
จิตที่ สงบอยู่ในฌานใด ๆ  มีอาการสงบจากนิวรณ์นี่คืออีกความหมายหนึ่ง

จิตว่างแบบนี้ ไม่ได้หมายความว่าว่างจริง ๆ เพราะอาสวะกิเลสยังอยู่ รอการกำเริบ ในตอนที่สติเผลอไผล

ขาดสติ + อาสวะ   = ทำให้กิเลสกำเริบ  (นี่ล่ะมั้งที่เขาว่านิพพานชั่วคราว พอกิเลสกำเริบ ก็หลุดจากนิพพาน)

จิตว่าง ที่จะว่างได้จริง ๆ ผมเชื่อว่าต้องดับสิ้นอาสวะ  นั้นหมายความว่า ว่างจากกิเลสทั้งหลาย  ได้อย่างหมดจด ไม่กำเริบอีกเลย (นี่ล่ะนิพพานแท้ ไม่มีการหวนกลับอีก)

แท้จริงแล้วควรจะให้มีความหมายเดียวเสียด้วยซ้ำ  แต่คำว่านิพพานชั่วคราวที่เกิดขึ้นมาอาจจะมีจุดประสงค์เพื่อจะให้ผู้คนทั่วไปเข้าใจว่านิพพานเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติสามารถไปถึงได้จริง เป็นของง่าย เพื่อผู้ที่ศึกษาใหม่ ๆ จะได้มีกำลังใจ   มีอีกคำหนึ่งครับ เช่น  นิพพานชิมลาง นี่ก็น่าจะเหมือนนิพพานชั่วคราว

 
 

ตอบโดย: น้องบู 25 ส.ค. 52 - 15:01


ดีครับน้องบู ผมจะชวนสนทนาต่อนะครับ.

   ถ้ากล่าวในพระไตรปิฎกที่เป็นพุทธพจน์ คำว่า จิตว่าง คงหามีไม่  แต่จะมีคำว่า จิตเป็นอุเบกขา หรือ เอกคัตตาจิต หรือ จิตตั้งมั่น จิตสงบ จิตมีมลทิน จิตปราศจากมลทิน จิตปภัสสร จิตไม่มีกิเลส ฯลฯ
    เพราะโดยธรรมชาตินั้น จิตจะไม่เคยว่าง เมื่อจิตปรากฏ เจตสิกเกิดขึ้นพร้อมกันเสมอ เมื่อกล่าวตามพระอภิธรรม.

    ดังนั้นการนิยามว่า จิตว่าง ซึ่งเป็นศัพย์ใหม่ ต้องกำหนดให้ชัดเจนว่า เป็นแบบใหนมีขอบเขตอย่างไร? ปฏิบัติอย่างไรจิตจึงว่าง? เป็นวิปัสสนาตามลำดับญาณหรือสมถะตามลำดับสมาธิอย่างไร?
    ไม่เช่นนั้นจะทำให้ผู้ไม่ได้ศึกษาเพียงได้ยินได้ฟังมา หรือปฏิบัติได้เข้าถึงความสงบของจิต หรือปล่อยวางจนจิตสงบสว่างอยู่ จะไม่เข้าใจผิดไปอย่างมากได้.

      ทำจิตว่าง(ตามนิยามภาษาปัจจุบัน)ได้ย่อมดี แต่ตัองชัดเจนว่าเป็นอย่างไร เพื่อไม่เกิดความเข้าใจผิดคลาดเคลือนไป.

 

ตอบโดย: Vicha 25 ส.ค. 52 - 15:35


อาตมาขอร่วมวงสนทนาด้วย หากเอ่ยถึงความว่าง กับ นิโรธ แล้ว ก็มีข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้

จูฬสุญญตสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=4714&Z=4845

มหาสุญญตสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=4846&Z=5089


[๖๕] ปหานะ ๒ คือ สมุจเฉทปหานะ ๑ ปฏิปัสสัทธิปหานะ ๑
สมุจเฉทปหานะ อันเป็นโลกุตรมรรค และปฏิปัสสัทธิปหานะอันเป็นโลกุตรผล
ในขณะแห่งผล ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญมรรค เครื่องให้ถึงความสิ้นไป ฯ
             ปหานะ ๓ คือ เนกขัมมะ เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกาม ๑ อรูปญาณ
เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป ๑ นิโรธ  เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งสังขต
ธรรมที่เกิดขึ้นแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาศัยกันและกันเกิดขึ้น ๑ บุคคลผู้ได้
เนกขัมมะเป็นอันละและสละกามได้แล้ว บุคคลผู้ได้อรูปญาณเป็นอันละและสละ
รูปได้แล้ว บุคคลผู้ได้นิโรธเป็นอันละและสละสังขารได้แล้ว ฯ
             ปหานะ ๔ คือ บุคคลผู้แทงตลอดทุกขสัจ อันเป็นการแทงตลอดด้วย
การกำหนดรู้ ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ ๑ บุคคลผู้แทงตลอดสมุทัยสัจ อันเป็น
การแทงตลอดด้วยการละ ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ ๑ บุคคลผู้แทงตลอดนิโรธสัจ
อันเป็นการแทงตลอดด้วยการทำให้แจ้ง ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ ๑ บุคคลผู้
แทงตลอดมรรคสัจ อันเป็นการแทงตลอดด้วยการเจริญ ย่อมละกิเลสที่ควร
ละได้ ๑ ฯ
             ปหานะ ๕ คือ วิกขัมภนปหานะ ๑ ตทังคปหานะ ๑ สมุจเฉทปหานะ ๑
ปฏิปัสสัทธิปหานะ ๑ นิสสรณปหานะ ๑ การละนิวรณ์ด้วยการข่มไว้ ย่อมมีแก่
บุคคลผู้เจริญปฐมฌาน การละทิฐิด้วยองค์นั้นๆ ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญสมาธิอัน
เป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทปหานะ อันเป็นโลกุตรมรรค และ
ปฏิปัสสัทธิปหานะอันเป็นโลกุตรผล ในขณะแห่งผล ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญ
มรรคเครื่องให้ถึงความสิ้นไป และนิสสรณปหานะเป็นนิโรธ คือ นิพพาน ฯ

ที่มา:
http://www.84000.org/tipitaka/read/?31/65/39


[224] นิโรธ 5 (ความดับกิเลส, ภาวะไร้กิเลสและไม่มีทุกข์เกิดขึ้น — extinction; cessation of defilements)
       1. วิกขัมภนนิโรธ (ดับด้วยข่มไว้ คือ การดับกิเลสของท่านผู้บำเพ็ญฌาน ถึงปฐมฌาน ย่อมข่มนิวรณ์ไว้ได้ ตลอดเวลาที่อยู่ในฌานนั้น — extinction by suppression)
       2. ตทังคนิโรธ (ดับด้วยองค์นั้นๆ คือ ดับกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับหรือธรรมที่ตรงข้าม เช่น ดับสักกายทิฏฐิด้วยความรู้ที่กำหนดแยกนามรูปออกได้ เป็นการดับชั่วคราวในกรณีนั้นๆ — extinction by substitution of opposites)
       3. สมุจเฉทนิโรธ (ดับด้วยตัดขาด คือ ดับกิเลสเสร็จสิ้นเด็ดขาด ด้วยโลกุตตรมรรค ในขณะแห่งมรรคนั้น ชื่อสมุจเฉทนิโรธ — extinction by cutting off or destruction)
       4. ปฏิปัสสัทธินิโรธ (ดับด้วยสงบระงับ คือ อาศัยโลกุตตรมรรคดับกิเลสเด็ดขาดไปแล้ว บรรลุโลกุตตรผล กิเลสเป็นอันสงบระงับไปหมดแล้ว ไม่ต้องขวนขวายเพื่อดับอีก ในขณะแห่งผลนั้นชื่อ ปฏิปัสสัทธินิโรธ — extinction by tranquillization)
       5. นิสสรณนิโรธ (ดับด้วยสลัดออกได้ หรือดับด้วยปลอดโปร่งไป คือ ดับกิเลสเสร็จสิ้นแล้ว ดำรงอยู่ในภาวะที่กิเลสดับแล้วนั้นยั่งยืนตลอดไป ภาวะนั้นชื่อนิสสรณนิโรธ ได้แก่อมตธาตุ คือ นิพพาน — extinction by escape; extinction by getting freed)

       ปหาน 5 (การละกิเลส — abandonment), วิมุตติ 5 (ความหลุดพ้น — deliverance), วิเวก 5 (ความสงัด, ความปลีกออก — seclusion), วิราคะ 5 (ความคลายกำหนัด, ความสำรอกออกได้ — detachment; dispassionateness), โวสสัคคะ 5 (ความสละ, ความปล่อย — relinquishing) ก็อย่างเดียวกันนี้ทั้งหมด

ที่มา:
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=224

 

ตอบโดย: wit 25 ส.ค. 52 - 15:54


จากข้อความของน้องบู

อ้างอิง
จิตว่าง ที่จะว่างได้จริง ๆ ผมเชื่อว่าต้องดับสิ้นอาสวะ  นั้นหมายความว่า ว่างจากกิเลสทั้งหลาย  ได้อย่างหมดจด ไม่กำเริบอีกเลย (นี่ล่ะนิพพานแท้ ไม่มีการหวนกลับอีก)


นี้และคือปัญหา  ว่าว่างด้วยอย่างไร?

         1.จิตว่างด้วยผสสมาบัติของพระอริยะเบื้องต่ำ หรือว่างเพราะเป็นพระอรหันต์
         2.จิตว่างด้วย อุปสมานุสติ เป็นชื่อของสติอันมีความเข้าไปสงบ ระงับทุกข์ทั้งปวงเป็นอารมณ์  อยู่ในอุปจารฌาน.

      คำว่าจิตว่าง จึงไม่สามารถแยกแยะกันได้ว่าเป็นอย่างไร อย่างแท้จริง ซึ่งอาจจะทำให้คลาดเคลื่อนเข้าใจผิดกับสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นได้ จากสภาวะที่เป็นจริงตามบัญญัตินั้นๆ
      เพราะเพียงอุปจารฌาน ก็เสมือนว่างจากตัวตนเสียแล้ว
      ถ้าเป็นปฐมฌาน          ก็ยิ่งไม่มีเราไม่มีตัวตนของเราอยู่ในสภาวะธรรมนั้นเลย.

   สนทนากันไปตามผลและความเข้าใจในธรรมที่บัญญัตินะครับ ...

ตอบโดย: Vicha 25 ส.ค. 52 - 16:57


ผมขอเข้ามาลงชื่อ อ่านประดับความรู้ เขียนแบบสั้นๆ กระทู้จะได้ไม่อืด

   

ตอบโดย: sawaddee 25 ส.ค. 52 - 17:04


       

ตอบโดย: มุ่งเต็มใจ 25 ส.ค. 52 - 20:08


อ้างอิง (Vicha @ 25 สิ.ค. 52 - 16:57)
2.จิตว่างด้วย อุปสมานุสติ เป็นชื่อของสติอันมีความเข้าไปสงบ ระงับทุกข์ทั้งปวงเป็นอารมณ์  อยู่ในอุปจารฌาน.
เพราะเพียงอุปจารฌาน ก็เสมือนว่างจากตัวตนเสียแล้ว

ถ้าเป็นปฐมฌาน ก็ยิ่งไม่มีเราไม่มีตัวตนของเราอยู่ในสภาวะธรรมนั้นเลย.

   

ขออนุญาต ร่วมสนทนาจิตว่าง กับพี่วิชาด้วยคน ครับ

ถ้าจิตถอยออกมาจาก อุปสมานุสติ ,จากอุปจารฌาน ,จากปฐมฌาน แล้ว
จิตก็ยังคง เป็นจิตที่ยังหลงเข้าใจว่าอยู่เหมือนเดิมว่า
จิตที่เข้า อุปสมานุสติ ,อุปจารฌาน ,ปฐมฌาน
จิตทีออกมาจาก อุปสมานุสติ ,จากอุปจารฌาน ,จากปฐมฌาน นั้น
คือตัวเรา คือตัวตนของเรา อยู่เหมือนเดิม ใช่หรือเปล่า ครับ

ในขณะที่จิตอยู่ในสมาธิ อุปสมานุสติ ,อุปจารฌาน ,ปฐมฌาน
จิตว่างจากทุกข์ได้ก็จริง แต่ยังมีไม่ว่างอยู่อย่างหนึ่ง ก็คือยังมีความเข้าใจอยู่ว่า
มีเรา มีตัวตนของเรากำลังเข้าอุปสมานุสติ ,
กำลังเข้าอุปจารฌาน ,กำลังเข้าปฐมฌาน  อยู่หรือเปล่า ครับ

ว่างจากทุกข์ได้ แต่ยังว่างจากความหลงเข้าใจว่าจิตนี้คือตัวเรา คือตัวตนของเรา ยังไม่ได้

ผมเข้าใจว่า...
ปฐมฌาน นั้นมีอยู่
สิ่งที่รู้อยู่ สิ่งเห็นอยู่ในปฐมนั้น ก็มีอยู่ ไม่ใช่ไม่มี
แต่สิ่งที่รู้อยู่ ที่เห็นอยู่ในปฐมฌานนั้น ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา แต่อย่างใดครับ...


คำพูดที่พี่วิชากล่าวว่า
"ถ้าเป็นปฐมฌาน ก็ยิ่งไม่มีเราไม่มีตัวตน ของเราอยู่ในสภาวะธรรมนั้นเลย."
ดูเป็นการปฏเสธของสิ่งที่เข้าไปรู้ เข้าไปเห็น ในองค์ฌาน ว่าไม่มี อย่างไรก็ไม่รู้ครับ ?

เมื่อเข้าไปอยู่ในในปฐมฌาน แล้วตัวเราหายไป
แต่เมื่ออกมาจากปฐมฌานแล้ว ตัวเรากลับมี อย่างนั้นใช่หรือเปล่าครับ ?


ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วนั้น
ทั้งก่อนเข้าสมาธิ อุปสมานุสติ ,อุปจารฌาน ,ปฐมฌาน
ทั้งขณะที่กำลังเข้า สมาธิ อุปสมานุสติ ,อุปจารฌาน ,ปฐมฌาน
และทั้งที่ออกมาจาก สมาธิ อุปสมานุสติ ,อุปจารฌาน ,ปฐมฌาน นั้น
ไม่ใช่ตัวตนของเรา ของเรา แต่อย่างใดทั้งสิ้น
เป็นสักแต่ว่าเพียงธรรมชาติอย่างหนึ่งที่อาศัยเหตุปัจจัย ในการเกิดขึ้นมีขึ้นมาเท่านั้นเอง

ความรู้สึกว่ามีเราเข้า-ออก ,มีเราที่กำลังเข้า-ออก
ความรู้สึกว่าไม่มีเราเข้า-ออก,ไม่มีเราที่กำลังเข้า
เป็นเพียงสักแต่ว่าสังขารอย่างหนึ่ง
ไม่ใช่ตัวตน ไม่ตัวเราของเราแต่อย่างใด ครับ

แค่เพียงมีสติระลึกรู้ว่า
ขณะนี้สมาธิ อุปสมานุสติ ,อุปจารฌาน ,ปฐมฌาน กำลังปรากฏ
จิตผู้เข้าไปรู้สมาธิ อุปสมานุสติ ,อุปจารฌาน ,ปฐมฌาน ก็สักแต่ว่าจิต
ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน แต่อย่างใด

เพียงแค่นี้ก็ได้ชื่อว่า"ว่าง" จากอุปาทานแห่งจิต แล้วมิใช่หรือครับ...











 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 25 ส.ค. 52 - 20:38


สวัสดีครับ  คุณวิชาและเพื่อนๆ

เวลานั่งภาวนา  ผมจะผ่อนคลายทั้งกายและใจ  แต่จะตั้งมั่นที่ลมหายใจ

เมื่อความรู้สึกภายนอกดับไป และ ความรู้สึกว่า " กำลังหายใจ " ดับไปเป็นบางส่วน   ผมจะมีแต่ความเบาสบายใจและโล่งใจ    ในตอนนี้  ผมจะเห็นกายและใจทำงานได้ด้วยตัวเขาเอง (  เห็นภาพนิมิตรที่เกิดขึ้นมาเอง , รู้สึกได้ถึงความรู้สึกที่แผ่วเบาที่เกิดขึ้นเอง และ  ดับไปเอง )


เมื่อภาวนาต่อไปอีก  ความรู้สึกว่ากำลังหายใจ  ก็ดับลงไปมากขึ้น ( ไม่ใช่กลั้นหายใจ )  จึงทำให้ความสุขหายไป  ภาพนิมิตรหายไป  ความรู้สึกแผ่วเบาหายไป   เหลือแต่ อะไรบางอย่างตั้งมั่นอยู่


อะไรบางอย่างตั้งมั่นอยู่   เรียกว่า จิตว่างตามที่คุณวิชากล่าวถึง....ใช่หรือเปล่าครับ  แต่ความจริงก็มีความรู้ตัวตั้งมั่นอยู่  มันไม่ได้ว่างแต่ว่าไม่มีอะไรให้มันพิจารณา  จึงดูเหมือนกับว่า มันว่าง  ถ้าลมหายใจกลับคืนมา  ก็กลับมาเห็นอนัตตาได้อีก   ( ไม่ใช่ความว่างเปล่านะ )
                -------------------------------

หมายเหตุ    กุญแจสำคัญที่ผมเข้าถึงอะไรบางอย่างที่ตั้งมั่นอยู่ก็คือ  การเห็นกายและใจทำงานได้เอง  พวกเขาไม่ใช่ของๆเรา ( ถ้าไม่เห็นตรงนี้  ผมจะเข้าไม่ถึงครับ )

ตอบโดย: ระนาด 26 ส.ค. 52 - 08:29


สวัสดีครับทุกท่าน สวัสดีครับคุณปล่อยรู้.

   คุณปล่อยรู้ต้องทำความเข้าใจและแยกแยะลงไปตามลำดับดังนี้

      1.ความรู้สึกเป็นตัวตน คือมีความคิดประกอบที่เห็นว่าเป็นของตนอยู่

      2.ความรู้สึกตัว ทิ้งความคิด และการรับรู้ภายนอก มีแต่กำหนดภาวนาเท่านั้น
   
      3.วางความรู้สึกตัวหมดสิ้น วางความรู้สึกว่าเป็นเราไปแล้วและทิ้งการภาวนาทั้งหมด

      4. รู้ว่าง  (รู้ว่างคือ ไม่มีความรู้สึกตัวหลงเหลืออยู่เลย ไม่เป็นเราของเรา เป็นเพียงสภาวะนั้นปรากฏเท่านั้น)

      5. ข้อนี้แตกออกเป็น 2 อย่างใดอย่างหนึ่ง
          5.1 แน่นิ่งเงียบ ข้อที่ 4 ที่เหลืออยู่นั้นไม่ปรากฏแล้ว เสมือนไม่รับรู้ใดๆ แล้ว แม้แต่ในข้อที่ 4 จึงไม่ต้องกล่าวถึงว่าเป็นเรา อยู่ในสภาพนั้นเลย
          5.2  ดับหมดสิ้น(รูปและนาม) ขณะหนึ่ง จากข้อที่ 4. จึงไม่ต้องพูดถึงมีหรือไม่มีตัวเรา เพราะไม่ปรากฏอย่างสิ้นเชิงในสภาวะธรรมนั้น.

     ต่อไปจะตอบคำถามของคุณปล่อยรู้เป็นส่วนๆ ไป.

    - เมื่อจะเข้า ก็จะเข้าตามลำดับ จากข้อ 1 ถึง 5

    - เมื่อจะออก ก็จะถอน ถ้าจาก ข้อ 5.1. มาเป็นข้อ 4.(ซึ่งอาจจะคงเพียงแวบเดียว) แล้วมาที่ข้อ 2 (ข้ามข้อ 3)  และข้อ 1 ตามลำดับ
       ถ้าถอนจาก ข้อ 5.2 ก็จะมีสติปรากฏพรึบ ขึ้นเป็นข้อที่ 2 ทันทีเลยครับ

       ลองทำความเข้าใจดูตามลำดับ นะครับ ก็พอจะเข้าใจไปได้บ้าง

   และจากข้อความส่วนนี้ของคุณปล่อยรู้

  อ้างอิง
แค่เพียงมีสติระลึกรู้ว่า
ขณะนี้สมาธิ อุปสมานุสติ ,อุปจารฌาน ,ปฐมฌาน กำลังปรากฏ
จิตผู้เข้าไปรู้สมาธิ อุปสมานุสติ ,อุปจารฌาน ,ปฐมฌาน ก็สักแต่ว่าจิต
ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน แต่อย่างใด

เพียงแค่นี้ก็ได้ชื่อว่า"ว่าง" จากอุปาทานแห่งจิต แล้วมิใช่หรือครับ...

   
   ความคิดนั้นคิดได้ว่า

            ก็สักแต่ว่าจิต ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน แต่อย่างใด

         ย่อมคิดได้เป็นเพราะยังอยู่ในส่วนของความรู้สึกนึกคิดอยู่
         การวาง ก็เป็นการวางด้วยความเข้าใจของความรู้สึกนึกคิด ซึ่งอาจจะไม่ได้เกิดจาก ญาณ หรือปัญญาณที่เกิดขึ้นในการ ดับปฏิจสมุทปบาท ก็ได้ หรือปัญญาญาณที่ละกิเลสที่เป็นอนุสัยกิเลสอย่างเด็ดขาดก็ได้

         แต่การพิจารณาอย่างนั้นคิดอย่างนั้นก็เป็นสิ่งที่ดี เอื่อ(เน้นเอื่อ ไม่ใช่เป็นญาณ)ให้เกิดญาณหรือปัญญาญาณในการประหารกิเลสที่แท้จริงได้.



 

ตอบโดย: Vicha 26 ส.ค. 52 - 09:22


สวัสดีครับคุณระนาด.

 ดีแล้วครับที่เขียนได้ตรงกับสภาวะที่เกิดขึ้น

 จากข้อความ

อ้างอิง
   อะไรบางอย่างตั้งมั่นอยู่   เรียกว่า จิตว่างตามที่คุณวิชากล่าวถึง....ใช่หรือเปล่าครับ  แต่ความจริงก็มีความรู้ตัวตั้งมั่นอยู่


  ผมขอถามว่า  ความรู้ตัวตั่งมั่นอยู่  ยังมีความรู้บางส่วนที่ร่างกายเหลืออยู่หรือเปล่า?

   ถ้ามีความรู้สึกที่ร่างกายเหลืออยู่ จึงยังไม่ใช่ความว่างตามที่ผมกล่าว.

   และถ้า มีความรู้ตัวว่าเป็นเราตั่งมั่นอยู่  แม้จะไม่รับรู้ทางร่างกายหมดสิ้นแล้ว ก็ยังเป็นสมถะ มากกว่าวิปัสสนา ถ้ายังสำคัญมั่นหมายว่าเป็นตัวตนของเราตั้งอยู่

    ก็อาจจะหมายความว่า วิปัสสาญาณเบื้องสูง ทั้งแต่ อุทยัพพยญาณ (วิปัสสนาญาณที่ 4) ยังไม่ปรากฏด้วยปัญญาชัดแจ้ง จึงมีความสำคัญมั่นหมายว่าเป็นตัวของตนนั้นไปคงอยู่ ยังไม่เพิกออกไปด้วยวิปัสสนาญาณ.

     หมายเหตุ ที่กล่าวเช่นนี้ เพราะกำลังปฏิบัติอานาปานสติอยู่ ซึ่งเป็นทั้ง สมถะและวิปัสสนา
    
       และผมเข้าใจว่า ผู้ที่ปฏิบัติ อุปสมานุสสติ นั้นจะแตกต่างกัน เพราะอุปสมานุสสติ นั้น จะมีสติวางหรือปล่อยวาง ความทุกข์หรือความรู้สึกว่าเป็นตน ลงไปตามลำดับ จนถึงความว่าง จากความรู้สึกทั้งหลาย คือ ใจว่าง อยู่อย่างนั้น ใน อุปจารฌาน

        ในความเห็นต่อไปถ้ามีจังวะดีๆ ผมจะ อธิบาย อุปจารสมาธิ  กับ อุปจารฌาน แตกต่างกันอย่างไร? ในผลที่ได้ปรากฏกับผม.



   

ตอบโดย: Vicha 26 ส.ค. 52 - 09:47


กราบขอบคุณพี่วิชาที่กรุณาเมตตาอธิบายขยายความ ครับ

ขอถามเพิ่มต่ออีกหน่อย ครับ

เห็นด้วยกับพี่วิชา ที่พี่บอกว่า
ถ้าคิดเอาว่าไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ฯ คิดอย่างไรก็ย่อมคิดได้
แต่จะเห็นจริงได้ตามนั้นหรือไม่เป็นอีกกรณีหนึ่ง

ซึ่งผมเองก็มองว่า สมาธิใน อุปสมานุสติ ,อุปจารฌาน ,ปฐมฌาน นั้น
ก็น่าจะเหมือนกันกับความคิดนึกเอาเอง ด้วยหรือไม่?

เพราะเมื่อออกจากสมาธิมาแล้ว ความรู้สึกว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน
ก็ยังคงมีอยู่เหมือนเดิมเช่นกัน...


เช่นที่พี่กล่าวว่า...
     "4. รู้ว่าง  (รู้ว่างคือ ไม่มีความรู้สึกตัวหลงเหลืออยู่เลย ไม่เป็นเราของเรา เป็นเพียงสภาวะนั้นปรากฏเท่านั้น)"....

แต่เมื่อออกมาจากสมาธินี้แล้ว ความสึกว่ามีเรา เป็นเรา
ยังคงกลับมามีอยู่เหมือนเดิมใช่ไหมครับพี่ ?

      
หรือในข้อนี้ ก็เหมือนกันที่พี่กล่าวว่า
..."  5.1 แน่นิ่งเงียบ ข้อที่ 4 ที่เหลืออยู่นั้นไม่ปรากฏแล้ว เสมือนไม่รับรู้ใดๆ แล้ว แม้แต่ในข้อที่ 4 จึงไม่ต้องกล่าวถึงว่าเป็นเรา อยู่ในสภาพนั้นเลย
          5.2  ดับหมดสิ้น(รูปและนาม) ขณะหนึ่ง จากข้อที่ 4. จึงไม่ต้องพูดถึงมีหรือไม่มีตัวเรา เพราะไม่ปรากฏอย่างสิ้นเชิงในสภาวะธรรมนั้น."....


แต่เมื่อออกมาจากสมาธินี้แล้ว ความสึกว่ามีเรา เป็นเรา
ยังคงกลับมามีอยู่เหมือนเดิมใช่ไหมครับพี่ ?

     
   



 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 26 ส.ค. 52 - 10:14


เข้ามาดู ท่านผู้รู้ ถกกัน เพื่อประเทืองปัญญาครับ
     

ตอบโดย: Myway 26 ส.ค. 52 - 10:24


ตอบคุณปล่อยรู้ไปเป็นส่วนนะครับ

อ้างอิง
 ซึ่งผมเองก็มองว่า สมาธิใน อุปสมานุสติ ,อุปจารฌาน ,ปฐมฌาน นั้น
ก็น่าจะเหมือนกันกับความคิดนึกเอาเอง ด้วยหรือไม่?


ตอบ    อุปจารฌาน, ปฐมฌาน นั้น ไม่มีความนึกคิดเอาเองหรอกครับ ทิ้งความรู้สึกนึกคิดเอาเองหมดสิ้นไปแล้ว แม้แต่ความรู้สึกว่าเป็นตัวเรา ในสภาวะธรรมที่เกิดนั้น ของปฐมฌาน นั้นไม่มีเหลืออยู่ ในอุปจารณานนั้นเสมือนไม่มี  เป็นธรรมชาติอย่างนั้น เมื่อปฏิบัติไปถึง .

และจากข้อความของคุณปล่อยรู้

อ้างอิง
เพราะเมื่อออกจากสมาธิมาแล้ว ความรู้สึกว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน
ก็ยังคงมีอยู่เหมือนเดิมเช่นกัน...


 ตอบ คุณปล่อยรู้  คุณปล่อยรู้ต้องทำความเข้าใจใน  ความรู้สึกว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน ออกเป็นระดับ  ไม่เช่นนันเอาความหมายที่เข้าใจไปตีความหมายในระดับอื่นๆ คลาดเคลื่อน ตามความรู้สึกของตนที่ปรากฏว่า ต้องเป็นเช่นนั้นเสีย.

      1.ความรู้สึกแบบคนทั่วไป คือหาได้ไปกำหนดว่า มีความรู้สึกว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน หรอกครับ เพราะโมหะนั้นมากปิดปัง จนไม่สนใจหรือหาได้สนใจหรือไม่รู้ การะทำไปตามความอยาก หรือความรู้สึกคิดว่าได้หรือไม่ได้เท่านั้น เป็นส่วนใหญ่. หาได้รู้หรอกว่า สติ เป็นอย่างไร? แม้จะเป็นมนุษย์.

      2.ผู้ที่ศึกษาธรรม(ฟังธรรม) รักษาศีล มีสุตมยปัญญา หรือปฏิบัติสมถะที่ข่มให้เป็นหนึ่งอย่างเดียว หรือผู้ที่เริ่มรู้สึกว่าสิ่งใดดี(เป็นธรรม) หรือไม่ดี(ไม่เป็นธรรม) ก็จะมีความรู้ว่าเป็นตัว เป็นบุคคลของตนมากขึ้น ในการกระทำแต่ละอย่างๆ บางครั้งก็หลงลืมขาดสติไปเลยถึงความเป็นตัวเป็นตนของตน ด้วยอำนาจของกิเลสเบียดบังจนหมดสิ้น ลืมตัวลืมตนที่เป็นตัวตน ด้วยโทสะ หรือราคะอย่างรุ่นแรง กระทำลงไปอย่างขาดความยั่งคิด.

      3.ผู้ที่ปฏิบัติธรรมสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน มีสติที่เจริญขึ้น เห็นความรู้สึกที่ไปยึดมั่นในสิ่งที่เป็นตัวเป็นตนอยู่เนื่องๆ  จึงเป็นทุกข์ในสิ่งที่ไปยึดมั่นในสิ่งที่เป็นตัวเป็นตนนั้น จึงเจริญปัญญาขึ้น 2 ระดับ  คือ
          3.1.จินตมยปัญญา (พิจารณาด้วยความเข้าใจแล้วปล่อยวางความยึดมั่น ด้วยความรู้สึกนึกคิด)
          3.2.ภาวนามยปัญญาที่เป็นวิปัสสนา (กำหนดภาวนาจนปล่อยวางความยึดมั่น ด้วยปัญญาญาณ)  หรือเจริญปัญญาทั้งสองระดับนี้ผสมประสานกันไป.

       ดังนั้นความรู้สึกว่า "เป็นตัวเป็นตนอยู่" เมื่อรู้สึกตัว นั้นเป็นธรรมชาติ ด้วยเพราะจิตและเจตสิกที่ยังมีปัจจัยเกื่อหนุนเกิดอยู่ ไม่ใช่เป็นการเห็นผิดหรือเข้าใจผิด เพราะเป็นเช่นนั้นตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นมาแล้ว.
       แต่เมื่อมีกิเลสที่เป็นอนุสัย ฟุ้งขึ้นมาชัดเจน ก็จะมีความสำคัญมั่นหมายเองโดยไม่ต้องคิด ว่า เป็นเราของเรา หรือ ไม่เป็นเราของเรา แต่จะปรุงแต่งเป็นความคิดต่อไปเป็นเราของเราชัดเจนและหนาแน่นขึ้นตามลำดับของสิ่งที่มากระทบหรือผัสสะ

       ดังนั้น ความรู้สึกนึกคิดว่า ไม่เป็นเราของเรา ปล่อยวาง หรือมีสติปล่อยวาง ย่อมนำความสงบลงมาสู่จิตได้  แต่เมื่อยังไม่เกิดปัญญาญาณ ละ/วาง/ตัด/ดับ อนุสัยกิเลสอย่างเด็ดขาดไม่กำเริบขึ้นอีกบางส่วนหรือทั้งหมดแล้ว ความนึกคิดความจงใจให้เกิดปัญญาในการปล่อยวางและสงบลงนั้น ก็หาได้แน่นอนได้ตลอดไปได้.

  จากข้อความของคุณปล่อยรู้
       
อ้างอิง
เช่นที่พี่กล่าวว่า...
     "4. รู้ว่าง  (รู้ว่างคือ ไม่มีความรู้สึกตัวหลงเหลืออยู่เลย ไม่เป็นเราของเรา เป็นเพียงสภาวะนั้นปรากฏเท่านั้น)"....

แต่เมื่อออกมาจากสมาธินี้แล้ว ความสึกว่ามีเรา เป็นเรา
ยังคงกลับมามีอยู่เหมือนเดิมใช่ไหมครับพี่ ?

      
หรือในข้อนี้ ก็เหมือนกันที่พี่กล่าวว่า
..."  5.1 แน่นิ่งเงียบ ข้อที่ 4 ที่เหลืออยู่นั้นไม่ปรากฏแล้ว เสมือนไม่รับรู้ใดๆ แล้ว แม้แต่ในข้อที่ 4 จึงไม่ต้องกล่าวถึงว่าเป็นเรา อยู่ในสภาพนั้นเลย
          5.2  ดับหมดสิ้น(รูปและนาม) ขณะหนึ่ง จากข้อที่ 4. จึงไม่ต้องพูดถึงมีหรือไม่มีตัวเรา เพราะไม่ปรากฏอย่างสิ้นเชิงในสภาวะธรรมนั้น."....


แต่เมื่อออกมาจากสมาธินี้แล้ว ความสึกว่ามีเรา เป็นเรา
ยังคงกลับมามีอยู่เหมือนเดิมใช่ไหมครับพี่ ?


  ตอบ เมื่อออกจากสมาธินั้น ความรู้สึกตัวบังเกิดขึ้นก่อน ความรู้สึกว่าเป็นเรา เป็นของเรา ยังไม่ปรากฏก่อน
        และเมื่อรู้สึกตัวเต็มก็รู้ถึงความเป็นตัวเป็นตน ที่เบาที่ว่างที่สงบ และเมื่อยังมีอนุสัยกิเลสอยู่ ความรู้สึกว่าเป็นเราเป็นของเราก็ปรากฏขึ้น แต่หาได้แน่นหนาหรือยึดมั่นถือมั่น ด้วยกำลังของสภาวะธรรมที่ผ่านมา วางความทุกข์ที่สะสมมาออกไปได้ สามารถดำรงตนได้ปกติสุขในฐานะเดิม ความคิดเห็นกับปัญหาเดิมๆ ก็จะถูกต้องขึ้น ปรับความคิดการกระทำให้เหมาะขึ้น ไม่ก่อให้เกิดทุกข์สะสมแบบเดินกับสภาวะนั้นๆ อีกแล้ว แม้ฐานะนั้นยังปรากฏอยู่เช่นเดิม แต่พฤติกรรมความคิดและการปฏิบัติตนเปลี่ยนไปในทางที่ไม่ก่อทุกข์อีกแล้ว.

       (ในความคิดเห็นต่อไปผมจะเล่าผลการปฏิบัตให้ทราบอีกกรณี ที่เกิดขึ้นจริง กับความทุกข์ที่ประจันหน้าอยู่อย่างฉับพลัน ในหัวกระทู้นี้นั้นเป็นความทุกข์ที่เกิดสะสมมาทั้งแต่ปี 2530-2531 จนทุกข์มากไม่รู้จะทำอย่างไรกับมันแล้วจึงหาทางออก  และมะลายความเห็นและความทุกข์นั้นได้ด้วยการปฏิบัติจนเกิดผลการปฏิบัตินั้น)
 

ตอบโดย: Vicha 26 ส.ค. 52 - 11:44


ธรรมมะของพระองค์ไม่เนิ่นช้า

แต่ทำไมหลายคน จึงได้แค่นิพพานชั่วคราว  คือ ราคา โทสะ โมหะ ดับไปไม่ปรากฏให้เห็น เพราะมีกำลังสมถะบ้าง  เพราะกำลังวิปัสสนาบ้าง  หรือทั้งสองอย่างควบคู่กันไป  แต่เพราะอะไรล่ะ ที่อาสวะกิเลสจึงไม่หมดไม่สิ้น

ทำอย่างไรล่ะ เราถึงไปแก้ที่เหตุได้อย่างเด็ดขาด


ขาดสติ + อาสวะ = ราคะ โทสะ โมหะ กำเริบ
มีสติ + อาสวะ = ราคะ โทสะ โมหะ ระงับไป

ในเชิงตรงกันข้าม  จะเป็นไปได้หรือไม่ที่เหตุและผล จะอยู่ในรูปแบบนี้

ขาดสติ + สิ้นอาสวะ = พ้นจาก ราคะ โทสะ โมหะ ตลอกกาล สิ้นปัจจัยแห่งภพตลอดไป
มีสติ + สิ้นอาสวะ = พ้นจาก ราคะ โทสะ โมหะ ตลอกกาล สิ้นปัจจัยแห่งภพตลอดไป


ถ้าได้คำตอบตรงนี้แล้ว ก็จะไปเจออีกปัญหาหนึ่งคือ

สภาวะของบุคคลที่สิ้นอาสวะแล้ว  จะมีการขาดสติแม้เสี้ยววินาทีหรือไม่    หรือสตินั้นจะเป็นธรรมชาติดำรงอยู่กับผู้นั้นตลอดไปไม่ขาดสติเลยจนสิ้นขันธ์


(หวังว่ายังอยู่ในหัวข้อ นิพพานชั่วคราวนะครับ  เพราะผมกำลังจะสื่อถึง การทำให้นิพพานชั่วคราว เป็นนิพพานถาวร ได้อย่างไร หรือจะบอกว่า ผมกำลังจะสื่อถึง การทำให้จิตที่ได้แต่สงบระงับกิเลส เป็นการประหานกิเลส โดยสิ้นเชิงได้อย่างไร  ตรงนี้คงต้องอาศัยความรู้จากทุกท่านที่จะช่วยกันครับ )

พูดตามความนึกคิดครับ เพราะไม่เคยเรียนอธิธรรมเลย ดังนั้นขออภัยด้วยหากผิดหลักพระอภิธรรม

 

ตอบโดย: น้องบู 26 ส.ค. 52 - 12:42


อ้างอิง (Vicha @ 26 สิ.ค. 52 - 09:47)
ผมขอถามว่า  ความรู้ตัวตั่งมั่นอยู่  ยังมีความรู้บางส่วนที่ร่างกายเหลืออยู่หรือเปล่า?

   ถ้ามีความรู้สึกที่ร่างกายเหลืออยู่ จึงยังไม่ใช่ความว่างตามที่ผมกล่าว.

   และถ้า มีความรู้ตัวว่าเป็นเราตั่งมั่นอยู่  แม้จะไม่รับรู้ทางร่างกายหมดสิ้นแล้ว ก็ยังเป็นสมถะ มากกว่าวิปัสสนา ถ้ายังสำคัญมั่นหมายว่าเป็นตัวตนของเราตั้งอยู่
 


ตอนที่มีความรู้ตัวตั้งมั่นอยู่  ผมยังมีการรับรู้ความรู้สึก หลงเหลืออยู่ครับ

และ  ผมยังมีความรู้ตัวว่าเป็นเราตั้งมั่นอยู่ครับ
              -------------------------------

เมื่ออกจากสมาธิแล้ว  ผมเห็นความรู้สึกบางอย่างเป็นตัวเราของเรา  และ  ความรู้สึกบางอย่าง ไม่ใช่เป็นตัวเราไม่ใช่ของๆเราครับ   หมายความว่า.... ความรู้สึกที่รู้สึกได้ชัดเจนมากๆ จะเป็นตัวเราของเรา  แต่ ความรู้สึกที่แผ่วๆเบาๆที่เกิดขึ้นมาตอนผมกำลังเผลอๆ  ความรู้สึกแบบนี้ไม่ใช่เป็นตัวเรา  ไม่ใช่ของๆเรา
 

ตอบโดย: ระนาด 26 ส.ค. 52 - 13:17


สวัสดีครับคุณ ระนาด

         อ้างอิง
ตอนที่มีความรู้ตัวตั้งมั่นอยู่  ผมยังมีการรับรู้ความรู้สึก หลงเหลืออยู่ครับ


     ตอบ รับรู้ความรู้สึกหลงเหลืออยู่  ถูกต้องแล้วครับ
                ที่ถามคือ ยังแวบหรือรู้สึกส่วนใดของร่างกายหรือเปล่า?  หรือไม่รับรู้ทางกายแล้ว มีแต่รับรู้ความรู้สึกอย่างเดียว.

ส่วนตรงนี้
อ้างอิง
    และ  ผมยังมีความรู้ตัวว่าเป็นเราตั้งมั่นอยู่ครับ


   ยังเป็นสมถะอยู่มากเลยครับ ถ้าเป็นสมาธิที่เจริญกับวิปัสสนานั้น เมื่ออยู่ใน อุปจารสมาธิ หรือ อุปจารฌาน ย่อมเสมือนไม่เป็นตัวเราตั่งมั่นอยู่แล้ว สักแต่เป็นสภาวะนั้นเอง ไม่มีความสำคัญมั่นหมายเป็นตัวเป็นตนครับ.

   

ตอบโดย: Vicha 26 ส.ค. 52 - 13:30


อ้างอิง (Vicha @ 26 สิ.ค. 52 - 13:30)


     ตอบ รับรู้ความรู้สึกหลงเหลืออยู่  ถูกต้องแล้วครับ
                ที่ถามคือ ยังแวบหรือรู้สึกส่วนใดของร่างกายหรือเปล่า?  หรือไม่รับรู้ทางกายแล้ว มีแต่รับรู้ความรู้สึกอย่างเดียว.
(Vicha @ 26 สิ.ค. 52 - 13:30)


ไม่รับรู้ทางกายแล้ว  มีแต่รับรู้ความรู้สึกอย่างเดียวครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 26 ส.ค. 52 - 13:34


อ้างอิง (Vicha @ 26 สิ.ค. 52 - 13:30)


ส่วนตรงนี้
อ้างอิง
   และ  ผมยังมีความรู้ตัวว่าเป็นเราตั้งมั่นอยู่ครับ


   ยังเป็นสมถะอยู่มากเลยครับ ถ้าเป็นสมาธิที่เจริญกับวิปัสสนานั้น เมื่ออยู่ใน อุปจารสมาธิ หรือ อุปจารฌาน ย่อมเสมือนไม่เป็นตัวเราตั่งมั่นอยู่แล้ว สักแต่เป็นสภาวะนั้นเอง ไม่มีความสำคัญมั่นหมายเป็นตัวเป็นตนครับ.


ขั้นตอนก่อนหน้าที่จะเข้าถึงสภาวะนี้ ( ตอนที่ยังรับรู้ว่ามีลมหายใจและมีความสุขตั้งมั่นอยู่ )  ผมจะเห็นกายและใจไม่ใช่ตัวเรา  ไม่เป็นของๆเราครับ  เพราะว่า  ผมเห็นภาพนิมิตรต่างๆเกิดขึ้นมาเอง  เปลี่ยนแปลงไปเอง  และผมเห็นความรู้สึกที่แผ่วเบาเกิดขึ้นมาเองและเปลี่ยนแปลงไปเอง


แต่เมื่อความรู้สึกว่าร่างกายหายใจได้เบาบางลงจนความสุขไม่อาจจะดำรงอยู่ได้ ( ความสุขดำรงอยู่ได้เพราะว่ามีการรับรู้ว่าร่างกายกำลังหายใจ )   ตอนนี้ครับที่ผมมีความรู้ตัวว่าเป็นเราตั้งมั่นอยู่

ต่อมา  เมื่อผมยังคงนั่งภาวนาต่อ  ลมหายใจก็กลับคืนมา  ความสุขก็กลับคืนมา  ผมก็เห็นอนัตตาได้อีก

ผมเห็นสลับกันไป  สลับกันมา  แบบนี้เรื่อยๆครับ  เรียกว่าวิปัสสนาเกิดขึ้นสลับสมถะได้ไหมครับ

 

ตอบโดย: ระนาด 26 ส.ค. 52 - 13:46


สวัสดีครับคุณระนาด

       อึม....  เป็นสมาธิที่ยังเป็นสมถะล้วนๆ อยู่มากครับ เพราะมีตัวเรา(อัตตาเรา)ไปตั้งอยู่ .

      ก็ต้องลอง เริ่มจากการปฏิบัติในสภาวะปกติ มีสติสัมปชัญญะรู้ทันกับผัสสะแล้วปล่อยวางอยู่เนื่องๆ กับการที่เห็นว่าเป็นอนัตตานั้นแหละครับ ก็จะปล่อยวางความเห็นที่ว่าร่างกายนั้นเป็นอีกชีวิตหนึ่งเสีย
       เพราะความเห็นที่ว่าร่างกายเป็นอีกชีวิตหนึ่ง เป็นการเห็นที่ล่วงเลยไปจากที่เป็นจริงตามธรรม จึงมายึดที่ความรู้สึกล้วนๆ นั้นเป็นเราตัวตนของเราตั่งอยู่

     

ตอบโดย: Vicha 26 ส.ค. 52 - 13:49


สวัสดีครับคุณระนาด

จากข้อความ

อ้างอิง
แต่เมื่อความรู้สึกว่าร่างกายหายใจได้เบาบางลงจนความสุขไม่อาจจะดำรงอยู่ได้ ( ความสุขดำรงอยู่ได้เพราะว่ามีการรับรู้ว่าร่างกายกำลังหายใจ )   ตอนนี้ครับที่ผมมีความรู้ตัวว่าเป็นเราตั้งมั่นอยู่

ต่อมา  เมื่อผมยังคงนั่งภาวนาต่อ  ลมหายใจก็กลับคืนมา  ความสุขก็กลับคืนมา  ผมก็เห็นอนัตตาได้อีก

ผมเห็นสลับกันไป  สลับกันมา  แบบนี้เรื่อยๆครับ  เรียกว่าวิปัสสนาเกิดขึ้นสลับสมถะได้ไหมครับ


      ตอบ เป็นวิปัสสนาที่เป็นจินตมยปัญญาอยู่มากครับ  สำคัญมั่นหมายว่าเป็นเราของเราจึงไปแสดงให้เห็นอยู่ใน อุปจารสมาธิ หรือ ฌาน ครับ
                       เป็นธรรมดาครับ เมื่อมีวิปัสสนาญาณเจิรญสูงขึ้น เห็นการเกิดดับของรูปนามอย่างแท้จริงแล้ว ความเป็นเราตั้งอยู่ใน อุปจารสมาธิ ก็จะน้อยลงไปเองครับ

      แต่ถึงตอนนี้สามารถกล่าวได้ว่า คุณระนาด สมาธิ ดีมากครับ. เพียงเจริญสติปัญญาขึ้นมา ก็จะเป็นสัมมาสมาธิที่สมบูรณ์.
  

ตอบโดย: Vicha 26 ส.ค. 52 - 13:59


อ้างอิง (Vicha @ 26 สิ.ค. 52 - 13:59)

      ตอบ เป็นวิปัสสนาที่เป็นจินตมยปัญญาอยู่มากครับ  สำคัญมั่นหมายว่าเป็นเราของเราจึงไปแสดงให้เห็นอยู่ใน อุปจารสมาธิ หรือ ฌาน ครับ
                       เป็นธรรมดาครับ เมื่อมีวิปัสสนาญาณเจิรญสูงขึ้น เห็นการเกิดดับของรูปนามอย่างแท้จริงแล้ว ความเป็นเราตั้งอยู่ใน อุปจารสมาธิ ก็จะน้อยลงไปเองครับ
 
(Vicha @ 26 สิ.ค. 52 - 13:59)


ผมจะฝึกแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆนะครับ  ( ผมทำอย่างอื่นไม่เป็นครับ )

ตอบโดย: ระนาด 26 ส.ค. 52 - 14:15


สวัสดีครับน้องบู

      พระพุทธเจ้าทรงดำริหรือตรัสแล้วว่า ธรรมที่พระองค์ทรงเห็นแจ้งนั้น ระเอียดปรานีต ลุ่มลึก ไม่ได้หยาบ.

        (ปราณีตลุ่มลึก ไม่ได้หยาบ  ไม่ใช่ในเชิงความคิดหรือโวหารนะครับ แต่หมายถึงผลของการปฏิบัติที่ปรากฏเกิดปัญญาในการวางความทุกข์ปราณีตไปตามลำดับ และปัญญาญาณในการละกิเลสได้อย่างเด็ดขาดสิ้นเชิงครับ)

 

ตอบโดย: Vicha 26 ส.ค. 52 - 14:17


สวัสดีครับคุณระนาด

 จากข้อความของคุณระนาด

อ้างอิง
ผมจะฝึกแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆนะครับ  ( ผมทำอย่างอื่นไม่เป็นครับ )


   ตอบ ได้ครับคุณระนาด   ให้ค่อยๆ ละความเห็นคลาดเคลื่อนที่ว่า ร่างกายนั้นเป็นอีกชีวิตหนึ่งออกไปให้ได้ ก็อาจสามารถทำให้ อุปจารฌาน ไม่มีความเป็นตัวเราตั่งอยู่สักแต่เป็นสภาวะธรรมเท่านั้นได้ครับ.

   

ตอบโดย: Vicha 26 ส.ค. 52 - 14:23


สาธุครับ พี่ Vicha   เห็นด้วยครับกับความเห็นที่พี่บอก

แต่ถ้าไม่ใช้ความคิดในการสนทนากัน เป็นปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตน  ผมก็หมดเรื่องที่จะพูดคุยน่ะสิครับ  

แม้จะเป็นเพียงการอนุมานเป็นเพียงการคิด ไม่ใช่การรู้เชิงประจักษ์เฉพาะตน(ญาณ)  แต่เราก็พอสนทนาเทียบเคียงกันเพื่อความเข้าใจ   เพื่อการทำในใจ เพื่อพิจารณาให้แยบคาย หรือเอาไปประยุกต์ใช้ให้การปฏิบัติดีขึ้นได้ไม่ใช่หรือครับ

ไม่ว่าจะเรื่อง สมาธิ   ญาณ ฌาน  เป็นสิ่งที่รู้ได้เฉพาะตนทั้งนั้นเลยครับ   แต่เราก็ยังพอคุยกันได้แลกเปลี่ยนกันได้ ถ้าทั้ง 2 ฝ่ายเข้าใจตรงกัน ใช่ไหมครับ  เหมือนที่พี่ Vicha คุณกับพี่ระนาด ไงครับ


ขอแสดงความเห็นต่อเลยนะครับ

ในส่วนที่เกี่ยวกับ ธรรมมะของพระองค์ไม่เนิ่นช้า แต่ทำไมหลายคน จึงได้แค่นิพพานชั่วคราว ทำไมอาสวะไม่หมดเสียที..

มันทำให้ผมคิดไปว่า  "เอ.. บุคคลที่เป็นผู้สิ้นอาสวะกิเลสนั้น จิตท่านมี เจตสิกอะไรบ้างนะ  จิตที่สิ้นอาสวะ  ก็ไม่น่าจะต้องมาจัดการอะไรกับกิเลสแล้วนี่นา "  นี่ออกจะฟุ้งซ่านครับ แต่ก็ฟุ้งซ่านไปในทางที่ดี   ผมจึงไปค้นเกี่ยวกับเรื่องนี้

ย้อนไปดูส่วนของมรรค ซึ่งเป็นเหตุให้อาสวะกิเลสสิ้นไป
            ๑.  สัมมาทิฏฐิ           เห็นชอบ  คือ ปัญญาเจตสิก
            ๒.  สัมมาสังกัปปะ       ดำริชอบ      คือ วิตกเจตสิก
            ๓.  สัมมาวาจา           วาจาชอบ  คือ สัมมาวาจาเจตสิก
            ๔.  สัมมากัมมันตะ     การงานชอบ คือ สัมมากัมมันตเจตสิก
            ๕.  สัมมาอาชีวะ        อาชีวะชอบ คือ สัมมาอาชีวเจตสิก
            ๖.  สัมมาวายามะ       พยายามชอบ คือ วิริยเจตสิก
           ๗.  สัมมาสติ             สติชอบ  คือ สติเจตสิก
           ๘.  สัมมาสมาธิ          สมาธิชอบ  คือ  เอกัคคตาเจตสิก

ทำให้ผมคิดไปว่า หากผู้ใดดำเนินชีวิต โดยมีเจตสิกต่าง ๆ เหล่านี้เท่านั้นในการดำเนินชีวิต  ย่อมยากที่ กิเลสจะกำเริบอย่างหนึ่ง   และย่อมง่ายที่อาสวะจะสิ้นไป

เรียกว่า เจตสิกที่เกิดกับจิต ไม่มีเจตสิกอื่นใดนอกจาก เจตสิกทั้ง 8 นี้เลย แสดงว่าผู้นั้นใกล้ต่อการทำอาสวะให้สิ้นไป เป็นนิพพานแท้ได้


อาสวะนั้นอย่างไร  กล่าวคือเป็นสัญญาความจําชนิดหนึ่งที่มีกิเลสหรือสิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัวแอบแฝงอยู่ เราจะกล่าวว่าเป็นความจํา(สัญญา)อย่างหนึ่งก็ย่อมได้ แต่เจาะจงลงไปว่า เป็นความจําแฝงกิเลสที่แอบซ่อนอยู่ในจิตด้วย  ความทรงจําชนิดอาสวะกิเลสนี้มิได้ครอบคลุมแต่เฉพาะความทุกข์ที่เคยเกิดเคยเป็นเท่านั้นที่จะทําให้จิตขุ่นมัว,เศร้าหมอง  แต่ยังหมายรวมถึงความจําได้ที่เกิดจากความสุขในทางโลกๆอีกด้วย  เพราะความสุขที่เกิดแบบทางโลกๆนั้นจริงๆแล้วก็คือทุกข์อย่างหนึ่งนั่นเอง เพียงแต่ว่าเกิดขึ้นและเป็นไปอย่างละเอียดละเมียดละไม จนเกิดมายาของจิตว่าไม่ใช่ความทุกข์นั่นเอง


เชื่อว่าผู้ปฏิบัติหลาย ๆ ท่าน  เมื่อถูกการกระตุ้นใน โลภะ โทสะ โมหะ ในปริมาณที่มากพอ กิเลสย่อมฟุ้ง เพราะอาสวะยังมี    หลายท่านอาจจะต้องถูกกระตุ้นบ่อย ๆ ถี่ ๆ  กิเลสจึงกำเริบ  หลายท่านอาจจะต้องกระตุ้นให้ถูกจุด กิเลสก็กำเริบเช่นกัน  เพียงแต่นักปฏิบัติที่มีความชำนาญ ย่อมมีสติรู้ทันกิเลส   รู้กายรู้ใจ กิเลสก็ดับไปในทันที หรือไม่ก็ค่อย ๆ เจือจางไปตามลำดับ


โดยรวมแล้วสิ่งที่ผมมีความเห็นอยู่ตอนนี้คือ เหตุที่ผู้ปฏิบัติยังได้แค่นิพพานชั่วคราวนั้น เพราะ  เจริญในองค์มรรคไม่ต่อเนื่อง นั้นเอง   (รวมถึงไม่ครบด้วยนะ)

เพราะในมรรคมีองค์ 8 เป็นระบบที่ทั้งข่มกิเลส และปหานกิเลสในตัวเองอยู่แล้ว เพียงแต่ผู้ปฏิบัติขาดการต่อเนื่องเท่านั้น  อาสวะจึงไม่หมด   นิพพานจึงยังเป็นนิพพานชั่วคราวอยู่



เขียนไปเขียนมา ก็นะ  ฟุ้งซ่านนะเราเนี่ย  

ตอบโดย: น้องบู 26 ส.ค. 52 - 15:23


สวัสดีครับน้องบู

จากข้องความ
อ้างอิง
"เอ.. บุคคลที่เป็นผู้สิ้นอาสวะกิเลสนั้น จิตท่านมี เจตสิกอะไรบ้างนะ  จิตที่สิ้นอาสวะ  ก็ไม่น่าจะต้องมาจัดการอะไรกับกิเลสแล้วนี่นา "


ตอบ ผมก็เห็นด้วยอย่างนั้นครับ

และจากข้อความ

อ้างอิง
ย้อนไปดูส่วนของมรรค ซึ่งเป็นเหตุให้อาสวะกิเลสสิ้นไป
            ๑.  สัมมาทิฏฐิ           เห็นชอบ  คือ ปัญญาเจตสิก
            ๒.  สัมมาสังกัปปะ       ดำริชอบ      คือ วิตกเจตสิก
            ๓.  สัมมาวาจา           วาจาชอบ  คือ สัมมาวาจาเจตสิก
            ๔.  สัมมากัมมันตะ     การงานชอบ คือ สัมมากัมมันตเจตสิก
            ๕.  สัมมาอาชีวะ        อาชีวะชอบ คือ สัมมาอาชีวเจตสิก
            ๖.  สัมมาวายามะ       พยายามชอบ คือ วิริยเจตสิก
           ๗.  สัมมาสติ             สติชอบ  คือ สติเจตสิก
           ๘.  สัมมาสมาธิ          สมาธิชอบ  คือ  เอกัคคตาเจตสิก

ทำให้ผมคิดไปว่า หากผู้ใดดำเนินชีวิต โดยมีเจตสิกต่าง ๆ เหล่านี้เท่านั้นในการดำเนินชีวิต  ย่อมยากที่ กิเลสจะกำเริบอย่างหนึ่ง   และย่อมง่ายที่อาสวะจะสิ้นไป


  ตอบ ผมก็เห็นด้วยเช่นนั้น  แต่คงไม่ได้อย่างนั้นโดยตลอด เมื่อยังมีอาสวะกิเลสอยู่

  จากข้อความ

อ้างอิง
เรียกว่า เจตสิกที่เกิดกับจิต ไม่มีเจตสิกอื่นใดนอกจาก เจตสิกทั้ง 8 นี้เลย แสดงว่าผู้นั้นใกล้ต่อการทำอาสวะให้สิ้นไป เป็นนิพพานแท้ได้


   ตอบ ถ้ากล่าวตามธรรม จะมีธรรมรวมกันมากกว่า 8 ครับ คือมี โพธิปัฏขิยธรรม 37 ประการครับ.
        และในคราวที่โพธิปัฏขิยธรรมประชุมรวมกันในขณะจิตหนึ่ง ไม่ได้หมายความว่า จะทำให้สิ้นอาสวะหมดไปที่เดียวทั้งหมด  จะละหมดสิ้นไปบางส่วนไปตามลำดับๆ ไป (โสดาบันติมรรค -> สกิทาคามีมรรค -> อนาคามีมรรค -> อรหันตมรรค).
 

ตอบโดย: Vicha 26 ส.ค. 52 - 16:39


อ้างอิง (Vicha @ 26 สิ.ค. 52 - 11:44)

ตอบ     อุปจารฌาน, ปฐมฌาน นั้น ไม่มีความนึกคิดเอาเองหรอกครับ ทิ้งความรู้สึกนึกคิดเอาเองหมดสิ้นไปแล้ว แม้แต่ความรู้สึกว่าเป็นตัวเรา ในสภาวะธรรมที่เกิดนั้น ของปฐมฌาน นั้นไม่มีเหลืออยู่ ในอุปจารณานนั้นเสมือนไม่มี  เป็นธรรมชาติอย่างนั้น เมื่อปฏิบัติไปถึง .

เมื่อออกจากสมาธินั้น ความรู้สึกตัวบังเกิดขึ้นก่อน ความรู้สึกว่าเป็นเรา เป็นของเรา ยังไม่ปรากฏก่อน
       

สวัสดีครับพี่วิชา

กราบขอบคุณเป็นอย่างยิ่งครับ ในคำอธิบายเพิ่มเติม
ขออนุญาตสอบถามพี่เพิ่มเติม อีกหน่อยครับพี่

ในอุปจารฌาน ในความเข้าใจของพี่วิชานั้น
ขันธ์ทั้ง๕ ยังคงทำหน้าที่ อยู่ครบหรือเปล่าครับ
หรือว่าหยุดการทำหน้าที่ลงชั่วคราว ครับ

สมาธิในอุปจารฌาน ที่พี่วิชากล่าวนั้น
ยังคงมีความรู้สึกตัวอยู่หรือเปล่า ครับ

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 27 ส.ค. 52 - 06:19


อ้างอิง (Vicha @ 26 สิ.ค. 52 - 14:23)


 จากข้อความของคุณระนาด

อ้างอิง
ผมจะฝึกแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆนะครับ  ( ผมทำอย่างอื่นไม่เป็นครับ )


   ตอบ ได้ครับคุณระนาด   ให้ค่อยๆ ละความเห็นคลาดเคลื่อนที่ว่า ร่างกายนั้นเป็นอีกชีวิตหนึ่งออกไปให้ได้ ก็อาจสามารถทำให้ อุปจารฌาน ไม่มีความเป็นตัวเราตั่งอยู่สักแต่เป็นสภาวะธรรมเท่านั้นได้ครับ.
(Vicha @ 26 สิ.ค. 52 - 14:23)


ขอบคุณครับคุณวิชา
            
การปฏิบัติของผมนะ   เมื่อผมเข้าถึงสภาวะที่ยังไม่คุ้นเคย  ครั้งแรกๆผมจะต้องทำผิดขึ้นมาก่อน  แล้วค่อยมาแก้ไขทีหลัง  ผมเป็นแบบนี้ทุกครั้งเลย  ไม่รู้มันเป็นยังไง......... ไอ้แบบที่เข้าถึงครั้งแรกก็ทุกต้องเป๊ะๆเลย  ผมไม่เคยทำได้เลยสักที

คนอื่นๆเป็นแบบนี้มั่งไหมครับ  แบ่บว่า....เมื่อเข้าถึงทีแรกก็ถูกต้องเลย  ไม่ต้องตามแก้ไขทีหลัง
 

ตอบโดย: ระนาด 27 ส.ค. 52 - 07:32


สวัสดีครับคุณระนาด.

        ผมหนักกว่าคุณะนาดอีกนะครับ  หลงวิปัสสนาญาณ(หลงจริงๆ) อยู่เกือบ 2 เดือน เมื่อได้สติรู้ว่าหลง ก็เข็ดหลาบและรู้จักยับยั่งภาวตัณหาเมื่อเกิดสภาวะธรรมขึ้น และพิจารณาในสภาวะธรรมที่ปรากฏอยู่เนื่องๆ ไม่ให้ปรุงแต่งเป็นภาวตัณหาจนผิดเพี้ยนไปมากอีกเลย.
     
      เหมือนกับสภาวะธรรมที่ปรากฏแล้วตามหัวกระทู้นี้นั้น ตอนนั้นผมก็ไม่รู้ว่าคืออะไร แต่เมื่อเป็นแล้ว ทำให้คลายความทุกข์ คลายความเห็นที่ยึดมั่นถือมั่นที่ทำให้ทุกข์เพิ่มขึ้น วางใจและดำรงฐานะที่เป็นอยู่เดิมๆ ให้เป็นปกติสุขขึ้นก็ดีแล้ว เพียงแต่ตั้งข้อสังเกตว่า ว่าง อย่างนี้มีด้วยเมื่อปฏิบัติถึงที่สุดของการวางใจในการกำหนดกรรมฐานแบบนี้.

     พึ่งจะรู้ชัดตามบัญญัติ ไม่กี่วันนี้เองเกือบ 20 ปี เชียวครับ จึงรู้ว่าเป็นผลจากกรรมฐานใด.

     หมายเหตุ สภาวะธรรมที่เข้าถึงความ ว่าง แตกต่างจากเรื่องในหัวกระทู้นี้นั้นยังมีต่อนะครับ ค่อยๆ กล่าวกันไปตามลำดับนะครับ เพราะในเมื่อรู้ตามบัญญัติแล้วว่าเป็นผลจากกรรมฐานใด.

  

ตอบโดย: Vicha 27 ส.ค. 52 - 09:21


สวัสดีครับคุณปล่อยรู้

จากข้อความและคำถามของคุณปล่อยรู้

อ้างอิง
ในอุปจารฌาน ในความเข้าใจของพี่วิชานั้น
ขันธ์ทั้ง๕ ยังคงทำหน้าที่ อยู่ครบหรือเปล่าครับ
หรือว่าหยุดการทำหน้าที่ลงชั่วคราว ครับ


ตอบ ขันธ์น่าจะยังทำงานอยู่ครับเป็นสภาวะธรรมของเขาเอง คือ ว่างจากความรู้สึกที่มีอยู่  ผมควรแบ่งเป็น 3 แบบที่ปรากฏผลกับผมดีกว่า ไม่เช่นนั้นจะอธิบายไปแล้วจะ งง  ปะปนกัน ดังนี้
          แบบที่ 1. กำหนดจนคงอยู่แต่ความรู้สึก ไม่รับรู้ทางกายและภายนอกแล้วนะครับ
          แบบที่ 2. กำหนดปล่อยวาง จน ว่าง จากความรู้สึก
          แบบที่ 3. กำหนดจนวาง เป็นสภาวะ จะว่า ว่าง ก็ไม่เชิ่ง เป็นสภาวะที่ไม่สุขไม่ทุกข์  (แบบที่ 3.นี้จะเล่าเรื่องการปฏิบัติให้ทราบอีกที่เมื่อถึงลำดับเงื่อนเวลา ในการเล่าเรื่องไปตามลำดับปีนะครับ)

          หมายเหตุ  แบบที่ 2,3 สภาวะธรรมที่ปรากฏนั้นจะไม่มีความเป็นตัวตนของเราเหลืออยู่ครับ แต่แบบที่ 1 เสมือนไม่มีความเป็นตัวตนของเรา (เหลือความรู้สึกอยู่แต่หาได้สำคัญหมายว่าเป็นตัวเราของเรา)

  จากข้อความของคุณปล่อยรู้
อ้างอิง
สมาธิในอุปจารฌาน ที่พี่วิชากล่าวนั้น
ยังคงมีความรู้สึกตัวอยู่หรือเปล่า ครับ


   ตอบ เหลืออยู่แต่ความรู้สึกอย่างเดียว ไม่รับรู้ทางร่างกายและภายนอกแล้ว. แต่สำหรับผมในแบบที่ 1 ด้านบนนั้น เมื่อเกิดสภาวะนั้นความรู้สึกว่าเป็นเราตั่งอยู่นั้น เสมือนจะไม่ปรากฏแล้ว หลังจากนั้นก็ นิ่งเงียบ แบบไม่รับรู้ความรู้สึกไป.

ตอบโดย: Vicha 27 ส.ค. 52 - 09:56


สวัสดีครับทุกท่าน

   ต่อไปจะเป็นการเล่าเรื่องต่อนะครับ ส่วนท่านผู้ใดจะถามผมก็จะตอบ และแยกแยะให้ทราบตามลำดับ เพื่อให้ผู้ถามนั้นเทียบเคียงได้โดยการเทียบเคียงไปตามลำดับของความเข้าใจของผู้ถามได้  แต่ผู้ถามจะเข้าใจหรือมีทิฏฐิความเห็นอย่างในสภาวะนั้น เนื่องจากผู้ที่ผู้ถามไม่เคยสัมผัสสภาวะนั้นมาก่อนก็เป็นเรื่องเป็นทิฏฐิความเห็นของผู้ที่ถามเอง

   และผมก็ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ที่ที่แยกแยะผลการปฏิบัติให้ระเอียดตามความสามารถแล้ว เพื่อประโยชน์กับผู้ศึกษา กับผู้ที่จะเกิดสภาวะธรรมนั้นหรือได้สัมผัสกับสภาวะธรรมนั้นแล้วได้ชัดแจ้งขึ้นเข้าใจขึ้น.

   เนื่องจากผมปฏิบัติกำหนดกรรมฐาอยู่เนื่องๆ ใจนั้นไม่เคยทอดธุระไปจากการกำหนดกรรมฐาน ผลก็ย่อมปรากฏให้ได้รู้และดับทุกข์ที่เป็นอยู่ได้บ้างและเกิดปัญญาเข้าใจชัดไปตามลำดับ.
 
    หลังจากผลการปฏิบัติในหัวกระทู้นี้แล้ว ต่อมาประมาณหนึ่งปี  2533-2534

  ผมก็เกิดความสงสัยเรื่อง "อวิชชา"  ดังในความคิดเห็นในกระทู้เก่าภาคที่ 1
 
  (สามารถไปอ่านในกระทู้ภาค 1 ได้ตรงนี้)

    http://larndham.net/index.php?showtopic=34753&st=0

  ที่ผมได้เล่าไว้เป็นอย่างนี้...

****************************************
ความคิดเห็นที่ 581 : (Vicha) แจ้งลบ | อ้างอิง |

 สวัสดีครับทุกท่าน

     เป็นอันว่า การสนทนากันในช่วงนี้ ไปมุ่งเน้นเรื่อง การเพลิน ของจิตอยู่  ความจริงการปฏิบัติเพื่อไม่ให้จิตเพลิน นั้นมีอยู่ และธรรมอันเป็นคู่ปรับกับอวิชชา หรือความเพลิน นั้นมีอยู่

    เล่าประสบการณ์ปฏิบัติดีกว่าครับว่าผมแจ่มแจ้งในเรื่องนี้ได้อย่างไร?

      ประมาณปี พ.ศ. 2533  ซึ่งผมปฏิบัติกำหนดสติอยู่ตลอดเกือบทุกเวลาก็ว่าได้เมื่อมีความรู้สึกตัวอยู่ ไม่ว่าจะอยู่ในกิจกรรมใดก็ตาม.
      แล้วก็เกิดความสงสัยขึ้นมาว่าเมื่อยังมีกิเลสอยู่ อวิชชา นั้นจะปรากฏอยู่ในจิตที่ปรากฏอยู่โดยตลอด แม้ว่าเราจะกำหนดสติอยู่ในกรรมฐานเกือบทุกเวลา.

      ดังนั้นเรานั้นรู้จักตัวอวิชชาอยู่แล้ว เพราะปรากฏอยู่โดยตลอดที่รับรู้หรือรู้สึก เราควรมีสติทราบชัดว่านี้คืออวิชชา

      ผมจึงใช้คำบริกรรมภาวนาพร้อมกับมีสติทันเป็นปัจจุบันว่า "อวิชชา" หรือ "อวิชชาหนอ" กับรูปนามหรือผัสสะที่ปรากฏกับกายและใจ โดยตลอดต่อเนื่องเกือบทุกเวลา

       ปฏิบัติอย่างนี้เป็นเวลาประมาณ 2 เดือน วิปัสสนาญาณก็สามารถเจริญขึ้นเจริญลงทบทวนอยู่ได้เช่นเดียวกัน ก็เกิดคำถามในตนเองว่า

                "แล้วจะไม่มีอวิชชาได้อย่างไร?"

        และผมก็ปฏิบัติแบบเดิมไป จนถึงสภาวะที่ ทิ้งความรู้สึกการรับรู้ภายนอกและการรับรู้ทางร่างกายหมดสิ้น เหลือแต่จิตที่รู้อย่างมีสติมีคำบริกรรมภาวนาว่า "อวิชชา" พร้อมทั้งมีสติสัมปชัญญะว่าในขณะที่จิตปรากฏอยู่นั้นมีอวิชชาอยู่(ปัญญาเห็นแจ้งชัดอย่างนั้น)
        หลังจากนั้นจิตหรือตัวรู้และสิ่งที่รับรู้ก็เกิดสภาวะการ ตัดขาด แล้วปรากฏ นิ่งอยู่ชั่วขณะ แล้วเกิดญาณรู้ขึ้นมาว่า
        "ออ..เมื่อมีสติ อวิชชาก็จะไม่ปรากฏ หรือออ่นกำลังลงนี้เอง"

        ดังนั้นในความคิดเห็นช่วงที่ผ่านมาที่เราท่านทั้งหลายมีการเน้นเรื่องความเพลิน ก็จะได้ว่าธรรมที่เป็นคู่ปรับของ ความเพลิน หรือ อวิชชา  ก็คือ การมีสติสัมปชัญญะ นั้นเอง.

____________________________________

จากคุณ : Vicha [ ตอบ: 13 ส.ค. 52 10:45 ]

**************************************

ตอบโดย: Vicha 27 ส.ค. 52 - 11:03


สวัสดีครับทุกท่าน

    เอาแหละครับผมจะเล่าเรื่องผลการปฏิบัติไปตามลำดับ ต่อไป ในเรื่องการกำหนดกรรมฐาน ดับทุกข์วางทุกข์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง
         ออ..เสริมเรื่องสักนิดหนึ่ง ผมได้รู้จักกับคนบางคนไม่เอาการเอางานห้อยปะคำ เสมือนผู้ปฏิบัติสมาธิ เป็นพี่ชายหรือน้องชายของคนเลี้ยงลูกสาวผม เมื่อพี่สาวบอกเขาในการพบปะกันว่า ผมก็ปฏิบัติธรรม เขาก็พูดว่า
         "ผมดูพี่ก็เป็นธรรมดาๆ ไม่เหมือนคนปฏิบัติธรรมเลย"
          ผมก็เพียงแต่ ยิ้ม คิดว่าในใจ เขาต้องคิดเป็นรูปแบบคล้ายเขา (แต่ปัจจุบันคิดว่า ผมเป็นคนธรรดาจริงๆ )

    เข้าสู่เรื่องต่อนี้กว่าครับ

      ในปลายปี 2535 ความทุกข์ที่เฉียบพลันได้เกิดขึ้นกับผม เนื่องด้วยรายได้สองคนสามีภรรยาก็ไม่พอจ่ายในแต่ละเดือน ต้องหารายได้เพิ่มโดยสอนพิเศษ.
     ผมมีรายได้หลัก  5,500 บาท ภรรยามีรายได้หลัก 3,200 บาท

     รายจ่าย ค่าผ่อนดาวบ้าน 4,200 บาท ค่าเช้าห้องน้ำไฟ 2,500 บาท ค่าคนเลี้ยงลูก 3,000 บาท ค่านมลูกอีกก็เกินรายได้ประจำแล้ว เอาจากค่าสอนพิเศษถูกไถลากกันไป.

      แล้วอยู่ดีๆ เจ้าของบริษัทเรียกขึ้นไปพบ แล้วบอกว่า คุณต้องออกจากงานในสิ้นเดือนนี้
      หมายเหตุ น่าจะเป็นนโยบายของเจ้าของบริษัทที่ไม่มีใครรู้ เฉพาะตำแหน่งนี้ คือรับพนักงานคนใหม่ให้คนเก่าสอนงาน แล้วทะยอยปลดพนังงานเก่าที่ทำงานครบปีไปแล้วที่ละคนถึง 3 คนแล้วที่ผมทำงานมา และเมื่อผมทำงานเลยปีนิดๆ ผมก็โดนเป็นคนที่ 4  โดยไม่รู้และไม่ทันตั้งตัว(ไม่เฉลียวใจมาก่อน) และในตอนนั้นฐานะทางสังคมของผมนั้น แทบจะไม่มีโอกาสหางานได้ง่ายเลย.

ดังเรื่องที่พิมพ์เก็บไว้แล้วดังนี้

***************************
        เมื่อข้าพเจ้าได้ยินคำว่าให้ออกภายในสิ้นเดือนนี้ ทั้งที่ข้าพเจ้าเป็นคนกำหนดภาวนากรรมฐานอยู่โดยตลอด ใจของข้าพเจ้าหายวูบเมื่อคิดถึงลูกและแฟนและภาระหนี้ที่จะต้องจ่าย เงินเดือนแฟนคนเดียวต้องล้มละลายแน่นอน เพราะข้าพเจ้าคงหางานทำได้อยาก หน้าข้าพเจ้าจึงสีดเผือกทันทีใจวิว ถ้าอาการเป็นมากกว่านี้อีกสักนิดโดยไม่มีสติสมาธิอยู่ สามารถเป็นลมได้ทันที แล้วข้าพเจ้าก็ค่อยๆ เดินออกจากห้องของเจ้าของบริษัทอย่างช้าๆ ประคองตัวใจเหมือนหมดทุกอย่าง การกำหนดภาวนาหลุดหายไปหมดเอาไม่อยู่
       เมื่อลงมาด้านล่าง น้องใหม่ผู้ชายเห็นหน้าข้าพเจ้าคนแรก แล้วพูดว่า “พี่ทำไมหน้าพี่ซีดขาวเผือกอย่างนี้ เหมือนจะเป็นลม”  ข้าพเจ้าก็พูดกับน้องว่าไม่เป็นไร เพราะน้องๆ เหล่านั้นไฟแรงพยายามแสดงความเหนือกว่ากัน ความอื้ออาธรระหว่างกันมีน้อย ข้าพเจ้าจึงไม่ได้บอกเล่ห์กลเหล่านั้นให้ฟัง แล้วข้าพเจ้าไปนั่งที่โต๊ะข้าพเจ้า

       เมื่อจิตเป็นทุกข์อย่างนี้ สติปัญญาก็บังเกิดให้เริ่มหาคำภาวนาที่เหมาะสม ก็นึกถึงคำภาวนาวา “สัพเพสัตตา กัมมะสกา  อหัง กัมมะสะโก สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนเองมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์  ข้าพเจ้าก็มีกรรมเป็นของตนเองมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์”

        หลังจากนั้นข้าพเจ้าก็ดูใจที่ทุกข์และภาวนาตลอดไปเรื่อยๆ  จนเลิกงานข้าพเจ้าก็ขึ้นรถเมล์สาย 13 กลับที่พัก ซ.อุดมสุข ต้องขึ้นทางด่าน แต่ต้องใช้เวลาอีกประมาณ 1 ชั่วโมงกว่าจึงจะถึงที่พัก ข้าพเจ้าก็ดูใจตนเองและภาวนาไปตลอด แต่ความทุกข์ความน้อยใจความรู้สึกตกต่ำต่ำต้อยนั้นมีมาก กระตุ่นให้นึกถึงฐานะอันต่ำต้อยในสังคมแทรกมาเป็นระยะเป็นช่วงๆ
        เมื่อใกล้ที่จะลงทางด่วนจิตก็เริ่มเหมือนจะโดนบล็อกให้แคบลงแล้วกระจายออกความทุกข์ใจต่างๆ เหมือนกับบรรเทาลง แต่สักระยะหนึ่งความรู้สึกให้ต้องทุกข์เรื่องต่ำต้อยต่างๆ ก็เข้ามาทุกข์เหมือนเดิม
         ข้าพเจ้าก็ยังกำหนดภาวนาไปเรื่อยๆ  แต่คราวนี้จิตเริ่มแคบลงๆ ๆ แล้ววูบหายไปเลย รู้อีกที่อารมณ์เปลี่ยนไปหมดแล้ว  ความทุกข์ใจต่างๆ โดนขุดทิ้งหมดไปเกินครึ่งและคงอยู่เพียงนิดหน่อย จนถึงที่พัก

          ส่วนแฟนถึงที่พักก่อน เมื่อข้าพเจ้าเปิดประตูเข้าห้อง แฟนเห็นหน้าข้าพเจ้าที่ซีดอยู่ก็แปลกใจ แต่ไม่พูดอะไร  ข้าพเจ้านั่งลงแล้วข้าพเจ้าบอกแฟนว่า ข้าพเจ้าโดนให้ออกสิ้นเดือนนี้ แต่ใจข้าพเจ้าตอนนี้วางไม่ได้ทุกข์เหมือนตอนขณะถูกให้ออกได้แล้ว

          แฟนจึงไม่พูดอะไรต่อ รุ่งเช้าก็ไปทำงานตามปกติ และเจ้าของบริษัทไม่จ่ายงานให้ข้าพเจ้าทำเลยคือให้เตรียมตัวออกอย่างเดียว แต่ก็ใจไม่ฟุ้งซ้านให้ความเกิดความทุกข์พุ่งทับถมใจเหมือนเก่าแล้ว ตั้งสติแล้วคิดว่าควรจะทำอย่างไรต่อ.

**************************

      นับว่าเป็นประสบการณ์แรกที่ผมใช้การกำหนดภาวา อุเบกขากรรมฐาน กับความทุกข์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุ่นแรง จนเข้าอัปปนาสมาธิ สามารถวางความทุกข์อันรุนแรงนั้นได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง.

      แต่อัปปนาสมาธิในพรหมวิหาร 4 ได้เกิดขึ้นกับผมมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่เป็น เมตตากรรมฐาน เมื่อประมาณปี 2526 - 27 ดังนี้.

****************************
           ในช่วงหลังจากนั้นอาจารย์ให้ทำกรรมฐานเพิ่มเติมคือพรหมวิหาร 4 ภาวนาแผ่เมตตา "อะหัง สุขิโท โหมิ" (ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข) แผ่เมตตาให้กับตัวเองจนสงบจนสบายขึ้น แล้วแผ่ให้กับสรรพสัตว์คือ "สรรพเพ สัตว์ตา สุขิตา โหนตุ" (ขอให้สัตว์ทั้งหลายมีความสุข)  ก่อนที่จะภาวนากรรมฐานหลักประมาณ 10 ถึง 15 นาที หรือหลังกรรมฐานหลัก

             ซึ่งช่วงนี้ให้อะไรมาข้าพเจ้าก็รับ ปรากฏเหตุการณ์แปลกอยู่ตอนหนึ่งขณะที่ข้าพเจ้าภาวนาแผ่เมตตาอยู่ใจก็น้อมไปทุกทิศจริงๆ มีปีติขนลุกทั้งตัวสักระยะหนึ่งแต่ยังแผ่เมตตาต่อ แล้วค่อยลงภวังค์ ต่อมาจิตขึ้นรับอารมณ์ภาวนาต่อ แต่หนืดมากคล้ายกับคนที่ถีบจักรยานลงในหลุมโคลนแล้วความรู้สึกขาดทันทีทันใด ขึ้นมารับรู้อารมณ์ปกติแต่มีปีติสุขมาก

**************************

    ชี้ให้เห็นว่า กรรมฐานเหล่านี้ แม้จะเป็นพรหมวิหาร 4 ที่เป็นอุเบกขาฌาน ก็สามารถดับทุกข์ คลายความทุกข์ที่ปรากฏกับใจเหมือนโดนล้างออกไปได้จริงในปัจจุบันธรรมนั้นที่บังเกิดกับผม ไม่ใช่เป็นการข่มกิเลสไว้ หรือไปแอบพักเพียงเท่านั้น ดังที่เข้าใจกัน.

ตอบโดย: Vicha 27 ส.ค. 52 - 14:38


สาธุค่ะคุณวิชา ไม่ได้อ่านกระทู้ก่อนของคุณวิชาทุกข้อความเพราะเพิ่งเข้ามาเป็นสมาชิกไม่นานและเห็นข้อความโต้ตอบกันไปมามีมากจริงๆ แต่อ่านกระทู้ที่คุณวิชาตั้งใหม่นี้แล้วรู้สึกดีมากๆเลยกับตัวเอง ถึงแม้ว่าตัวเองเพิ่งหัดปฏิบัติและยังไม่ได้กำหนดรูปแบบอะไรเลย เพียงแต่พยายามระลึกรู้ในกายในใจอยู่เรื่อยๆหรือยังหลงอยู่เป็นส่วนมาก แต่พยายามอยู่ และอ่านหนังสือหรือฟัง CD ประกอบอยู่เนืองๆ
เข้ามาเพื่อขอทราบผู้ที่ปฏิบัติจริงจังแล้วมีผลอย่างไรค่ะ
 

ตอบโดย: Vicky 27 ส.ค. 52 - 16:46


จิตที่ฝึกไว้ดีแล้วย่อมนำสุขมาให้จริง ๆ นะครับ พี่ Vicha

ถ้าเป็นคนอื่น ที่ไม่ได้อบรมจิตมาเหมือนพี่ แล้วเขาเป็นพี่ ผมคิดว่าเขาต้องอยากฆ่าตัวตายแน่เลยครับ


ในความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่าเป็นความชำนาญของจิตมากกว่าครับ  สำหรับคนที่อบรมจิตมาเสมอ  เมื่อเจอทุกข์ในใจหนัก ๆ  พอมีสติ จิตจะคล่องในการหาทางออกของทุกข์ไว้ในแบบที่จิตเคยชินน่ะครับ   หรือในแบบที่จิตเคยเตรียมไว้


ผู้ที่อบรมจิตบ่อย ๆ ผมคิดว่าก็เหมือนนักเรียนที่หมั่นซ้อมทำแบบฝึดหัดครับ   นักเรียนคนไหนขยัน ทำแบบฝึกหัดเยอะและบ่อย ๆ จนชำนาญ เวลาถึงสถานการณ์ในการสอบย่อมไม่ประหม่า ไม่ตกใจ  อีกทั้งสามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ผ่านไปได้ไว  และผ่านไปได้เป็นอย่างดีด้วย


ผู้ที่อบรมจิตบ่อย  ๆ ก็เหมือนกัน เวลาเจอสถานการณ์บีบคั้น แบบพี่ Vicha  ก็จะมีความชำนาญ มีสติ ไม่ประหม่า ไม่ตกใจ  และสามารถจัดการทุกข์ที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว  ได้ไว และได้เป็นอย่างดีด้วย



เพิ่มเติมอีกนิดนะครับ   ผมคิดว่าการอบรมจิตนี้ไม่สูญเปล่า  เพราะมันจะเป็นคุณลักษณะประจำตัวของจิต  ซึ่งจะมีผลในการกำหนดภพหน้าด้วยครับ      ผู้ที่อบรมจิต เมื่อถึงคราวที่จะสิ้นลม ย่อมไม่ตกใจ มีสติ  และผ่องใส   จิตผ่องใสก็มีสุขคติเป็นที่หวังได้นะครับ



 

ตอบโดย: น้องบู 27 ส.ค. 52 - 19:10


 ในขณะที่ว่างเริ่มนับไปเองจาก 1 ถึง 4 ก็ออกมารับรู้ปกติเมื่อกำหนดกรรมฐานใหม่สักระยะหนึ่ง ก็เข้าสู่ความว่างเหมือนเดิมแต่นับได้ถึง 6 ก็ออกมารับรู้ปกติ  ===> หมายความว่าอย่างไรคะ


พอดีเคยฟังธรรมะของหลวงพ่อปราโมทย์ที่ให้ดูกายดูใจ (พึ่งจะเริ่มฟังได้ไม่นาน)  มีข้อสงสัยค่ะ  เรื่องดูกายเนี่ยะ เราจะต้องกำหนดไหมคะ  เช่น เมื่อเรากวาดบ้าน  เราต้องกำหนดในใจว่า กวาดบ้านหนอ (คำว่า กวาดบ้านหนอ อย่างนี้เรียกว่า ภาวนา หรือว่า บริกรรมคะ)  ไหมคะ  หรือว่าแค่รู้ว่ากวาดบ้านอยู่ แค่นั้น ทานเข้าต้องพูดว่า เคี้ยวหนอ ไหมคะ หรือว่า รู้ว่ากำลังทานอยู่เฉย ๆ (ไม่ต้องบริกรรม)  ในขณะเดียวกัน การดูใจก็เช่นกัน  หากเราเสียใจ ต้องกำหนดว่า เสียใจหนอ ๆ ไหมคะ  หรือว่าแค่รู้เฉย ๆ

รบกวนช่วยตอบด้วยนะคะ เพราะไม่ค่อยเข้าใจ  อยากจะปฏิบัติให้ถูกต้องค่ะ

ตอบโดย: ธรรมะสวัสดี 27 ส.ค. 52 - 19:38


สวัสดีครับ คุณ Vicky คุณน้องบู คุณธรรมะสวัสดี

 จากข้อความของ คุณธรรมะสวัสดี

ในขณะที่ว่างเริ่มนับไปเองจาก 1 ถึง 4 ก็ออกมารับรู้ปกติเมื่อกำหนดกรรมฐานใหม่สักระยะหนึ่ง ก็เข้าสู่ความว่างเหมือนเดิมแต่นับได้ถึง 6 ก็ออกมารับรู้ปกติ  ===> หมายความว่าอย่างไรคะ

  เมื่อเริ่มศึกษาและยังใหม่อยู่   ก็ให้คิดว่าเป็นสภาวะธรรมอย่างหนึ่ง ที่บังเกิดขึ้นได้ก็พอครับ แต่ถ้าประสงค์ความระเอียดผมก็ได้อธิบายตามคำถามในความคิดเห็นหลังๆ แล้วครับ ลองทำความเข้าใจดูนะครับ.

   และเมื่อประสงค์ปฏิบัติตามหลวงพี่ปราโมทย์ ก็ต้องปฏิบัติไปตามแนวของท่านนะครับ เกิดผลอย่างไรก็ค่อยๆ ศึกษาจากท่านไปตามลำดับนะครับ.

   แต่ถ้าประสงค์ปฏิบัติให้ตรงกับพุทธพจน์ ก็อานาปานสติทั้ง 16 จาตุกะ หรือ กายคตาสติ หรือการรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในอริยาใหญ่ ในอริยาบทย่อย และระเอียดลงจนเป็นปัจจุบันขณะกับผสสะ ที่ปรากฏครับ


 

ตอบโดย: Vicha 27 ส.ค. 52 - 20:49


สวัสดีครับน้องบู

    น้องบูครับ นั้นเป็นความทุกข์เฉพาะหน้าที่รุนแรงและฉับพลันสั้นคลอนฐานะเรื่องรายได้

    แต่มีทุกข์นั้นบาดลึกลงไปกว่านั้นเสียอีก ถ้าเปรียบเทียบอุปมาอุปมัยอย่างนี้.

     เป็นคนที่ถูกมัดมือมัดขาอย่างแน่นหนา แต่ก็กระเสือกกระสนพอยื่นขึ้นมาได้กระโดดกระดืบๆ ไปที่ละนิด แล้วมีผู้ผลักให้ล้มลงทั้งยืน ย่อมทุกข์ที่ฉับพลันรุ่นแรงบาดลึกยิ่งกว่า คนปกติ ที่ไม่ถูกมัดแขนมั่นขา และโดนผลักให้ล้มลง.

      ตอนนั้นผมอยู่ในสภาพของคุณที่ถูกมัดแขนมัดขาอย่างแน่นหนานั้น และพึ่งจะยื่นขึ้นมาได้กระดืบๆ ไปอย่างช้าๆ นั้น และต้องมีหน้าที่รับผิดชอบจูงคนตามหลังอีก 1 คน และ ลูกเล็กอีกหนึ่งคน.

   ตอนเป็นโสดแม้จะโดนมัดมื่อมัดเท้า(ด้วยกฏหมาย)ไม่มีภาระรับผิดชอบ โดนความทุกข์แบบฉับพลันถึง 3 ครั้ง อย่างหนักยิ่งกว่านี้ ก็ไม่ถึงกับหน้าซีดจะเป็นลมเลยแม้แต่ครั้งเดียว
       และทุกข์ทั้งหมดที่กล่าวมาด้านบนรวมกัน ไม่ทุกข์เท่ากับ การมีแฟนและกลัวฐานะตนเองไม่เป็นที่ย่อมรับของญาติแฟน บวกกับเมื่อแต่งงานแล้วฐานะทางครอบครัวของตนและแฟนล้มไม่เป็นท่า มีลูกอ่อนต้องแยกกันคนละทิศละทาง
    เหมือนโดยมัดมื่อมัดเท้าแล้วเกิดสภาวะเช่นนั้นอีก ลุกขึ้นไม่ได้เป็นปีรวมสะสมอยู่เป็นเวลา 1 ปีกว่า ความทุกข์ที่สะสมอยู่นั้นจะมากมายขนาดใหน?
      แทบไม่อยากอยู่ในสภาวะเช่นนั้นเลยอยากหนีอยากหลุด อยู่ได้เพราะกรรมฐานล่อเลี้ยงพออยู่ได้เท่านั้น เมื่อครอบครัวมาอยู่รวมกันได้ แต่รองรอยความทุกข์นั้นมากเสียเหลือเกินแทบจะไม่เอาแล้ว

      จึงปฏิบัติกรรมฐาน ดังหัวกระทู้ที่ได้เขียนเล่าไว้นั้นเอง.

ตอบโดย: Vicha 27 ส.ค. 52 - 21:42


อ้างอิง
เรื่องดูกายเนี่ยะ เราจะต้องกำหนดไหมคะ  เช่น เมื่อเรากวาดบ้าน  เราต้องกำหนดในใจว่า กวาดบ้านหนอ (คำว่า กวาดบ้านหนอ อย่างนี้เรียกว่า ภาวนา หรือว่า บริกรรมคะ)  ไหมคะ  หรือว่าแค่รู้ว่ากวาดบ้านอยู่ แค่นั้น ทานเข้าต้องพูดว่า เคี้ยวหนอ ไหมคะ หรือว่า รู้ว่ากำลังทานอยู่เฉย ๆ (ไม่ต้องบริกรรม)  ในขณะเดียวกัน การดูใจก็เช่นกัน  หากเราเสียใจ ต้องกำหนดว่า เสียใจหนอ ๆ ไหมคะ  หรือว่าแค่รู้เฉย ๆ
จากคุณ : ธรรมะสวัสดี [ ตอบ: 27 ส.ค. 52 19:38 ]

ไม่ต้องบริกรรมครับ แค่รู้ไปเฉยๆ
ถ้าใจบริกรรมขึ้นมาเอง ก็ไม่เป็นไรครับ ก็แค่รู้ไปเฉยๆเหมือนกัน

แรกๆ เอาแค่รู้แบบเปรียบเทียบก่อนก็ได้
กำลังกวาดบ้าน ก็รู้ว่า กำลังกวาดบ้าน
แล้วธรรมชาติของจิต เขาไม่ยอมอยู่ตรงนั้นหรอก
สักพักนึง เขาอาจไปฟังเพลง(สมมุติว่า เปิดเพลงไป กวาดบ้านไป)
หรือ อาจไปคิดถึงเรื่องโน้น เรื่องนี้
เราก็แค่รู้ว่า "อ้าว...หลุดจากการกวาดบ้านไปตอนไหน"
ก็กลับมาเริ่มใหม่ มารู้ว่ากำลังกวาดบ้าน แล้วปล่อยไป
หลุดไปอีก ก็กลับมาใหม่
หลุดไปอีก ก็กลับมาใหม่
ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆครับ

ทานข้าว เคี้ยวข้าว เดินไปตลาด ยืนรอรถเมล์ ฯลฯ ก็ใช้หลักนี้ได้หมดเลย

เกินคำถามไปหน่อยนึงถ้าเข้าใจตรงนี้แล้วก็ขออภัยด้วยครับ

เผื่อไว้สำหรับคนที่ยังไม่เข้าใจก็แล้วกันนะครับ

เจริญในธรรมครับ

 
 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 28 ส.ค. 52 - 09:29


พอมาฟังพี่ Vicha ขยายความแล้ว  ก็รู้สึกว่าตอนนั้นพี่คงจะทุกข์หนักมากจริง ๆครับ  อ่านแล้วรู้สึกเหมือนโดนมัดมือมัดเท้าไว้จริง ๆ  ต้องรับสภาพกดดันในหลาย ๆ ด้านครับ

ตอบโดย: น้องบู 28 ส.ค. 52 - 10:11


สวัสดีครับทุกท่าน

        ผมเขียนเรื่องความทุกข์ที่หนักมากไป พร้อมกับผลการปฏิบัติที่ปรากฏ ทำให้ผู้รวมสนทนา อาจจะชงักสนทนาสอบถามอะไรไม่ออกก็เป็นได้

      ปัจจุบันนี้ผมหลุดพ้นจากเศษของวิบากกรรมนั้นแล้ว นี้เป็นเพียงเศษๆ นะครับของจริงรับไปเต็มๆ ผ่านไปแล้ว ตามเหตุและปัจจัย แต่ปัจจุบันนี้เหมือนไม่รับรู้ถึงความทุกข์อย่างนั้น เพราะเฉมือนเป็นคนละคนกัน แต่บุคคลนั้นในอดีตก็เป็นเหตุเป็นปัจจัย เป็นผมในปัจจุบัน เปรียบเทียบอุปมาอุปไมยได้ดังนี้.

       ชีวิตผมตอนวันเด็ก ประมาณ 5-6 ขวบ ติดอยู่ใต้ท้องเรือในลำคลองลำปำ ผมยังจำไม่ได้เลยว่าช่วง ตอนติดใต้ท้องเรื่อติดอย่างไร อึดอัดทุกข์ทรมานเป็นเวลานานแค่ไหน จนหมดสติและหมดการรับรู้ไป
       แต่มารู้สึกอีกที่ เป็นช่วงๆ เมื่อได้รับความช่วยเหลือแล้ว ว่ามีความทุกข์มึนหัวกดดันในความรู้สึกอย่างไร.

       และปัจจุบันนี้จะกล่าวว่าผมยังเป็นเด็ก เมื่ออายุประมาณ 5-6 ขวบก็ไม่ เสมือนเป็นคนละคนกัน แต่จะกล่าวว่าไม่ใช่คนเดียวกันก็ไม่ได้ เพราะเด็กในอดีด 5-6 ขวบนั้น ได้เจริญมาตามเหตุปัจจัยมาเป็นผมในปัจจุบัน.

       ออ.    ผมมีอิสระมาเกือบ 15 ปี แล้ว ไม่ลำบากเรื่องฐานะแล้ว หน้าที่การงานก็อยู่ในขั้นที่ดีระดับผู้บริหารและผู้จัดการบริษัทเล็กๆ มาเป็นเวลา 10 กว่าปีแล้ว แม้ฐานเงินเดือนไม่ได้สูงนัก แต่ก็หาได้ทะเยอทะยานอยากอะไรเพิ่มขึ้นมากกว่านี้ เพราะได้กระทำในสิ่งที่ประสงค์กระทำแล้ว มาถึง 10 ปีแล้ว ดังที่ท่านได้เข้ามาอ่านได้ศึกษาและสนทนานี้แหละ ถึงแม้ผมไม่ได้ร่ำรวยแต่ก็หาได้ขัดสนครับ.  

      เอาแหละในความเห็นต่อไปก็จะได้สนทนาต่อ เรื่องความทุกข์จริงๆ กับผลการปฏิบัติจริงๆ ที่ปรากฏ ไม่ได้สว่างหรือ "ปิ้ง" แบบทางความคิดหรือจินตนาการ นะครับ.

       หมายเหตุ เรื่อง "ปิ้ง" ออกมาทางความคิดหรือจินตนาการ กับผมนั้นปรากฏเยอะที่เดียว  แต่หาได้สำคัญกว่าทุกข์ที่เกิดขึ้นจริง กับผลปฏิบัติที่ปรากฏจริงๆ ครับ.

ตอบโดย: Vicha 28 ส.ค. 52 - 10:32


อนุโมทนาค่ะ รออ่านเรื่อยๆค่ะ ปัจจุบันนี้ดิฉันจะไม่ได้นั่งสมาธิแต่จะคอยตามรู้กายตามรู้ใจอย่างเดียว ลืมบ้างไม่ลืมบ้าง จริงๆแล้วอยากนั่งสมาธิด้วยแต่ไม่เคยนั่งได้นานเลย เพราะเมื่อเป็นเหน็บขึ้นมาก็จะหยุดเลย ไม่ทราบคุณวิชามีอุบายอย่างไรที่จะทำให้นั่งสมาธิได้นานไหมค่ะ หรือการเดินจงกรมด้วยไม่สามารถเดินได้นานๆเหมือนกัน
 

ตอบโดย: Vicky 28 ส.ค. 52 - 10:46


สวัสดีครับ คุณVicky

       ตอบ คุณ Vicky   เป็นอุบายทั่วๆ ไปในการปฏิบัติ คือค่อยๆ เพิ่มเวลาขึ้นมาทีละนิด อาจจะเพิ่มวันละ 10 นาที่ก็ได้ครับ.

         และก็ควรกำหนดว่า เพิ่มสูงสุดแค่ใหน  บางท่าน ก็เพียง 1 ชั่ว หรือมากกว่านั้นก็ตามแต่เวลาที่อำนวยตามความเหมาะสมกับฐานะหรือสภาวะที่เป็นอยู่นั้นๆ ครับ

 

ตอบโดย: Vicha 28 ส.ค. 52 - 11:03


.....ตามอ่านจนทันแล้ว.....หอบแฮกเลย.....หะหะหะ.....

.....ยังจับต้นชนปลายไม่ค่อยถูกนัก.....ขอฟังไปเรื่อยๆก่อนนะครับ.....

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 28 ส.ค. 52 - 14:33


สวัสดีครับทุกท่าน

    มาเล่าเรื่องผลการปฏิบัติต่อนะครับ  ปี 2536  ได้งานที่ดีขึ้น ว่างงานแค่เพียง 15 วันเองครับ หลังโดนไล่ออก  ผมก็ทำงานและพัฒนาตนเองและกำหดนกรรมฐานอยู่เนืองๆ แต่ก็ผ่อนกรรมฐานลงมาบ้าง ในช่วงต้นปีก็บริการชับพอร์ตลูกค้าในบริเวณกรุงเทพฯ .

    เมื่อผ่านไปครึ่งปีก็เริ่มไปบริการชับพอร์ตลูกค้าต่างจังหวัด เพราะลูกค้าต่างจังหวัดนั้นเป็นลูกระดับใหญ่ เช่นห้างต่างๆ ตามต่างจังหวัด เช่น นครราชศรีมา(โคราช) นครศรีธรรมราช หาดใหญ่ กระบี่ ฯลฯ หลังจากนั้นก็บินเดี่ยว ต้องไปทุกเดือนอย่างน้อย 1 ครั้งต่อเดือน ครั้งหนึ่งก็ 4-5 วัน.

     ช่วงนั้นทิฏฐิที่ติดอยู่ในความรู้สึกนึกคิด เกิดสงสัยค้นหา จนทำให้ปรุงแต่งจนสับสน กลายเป็นความเศร้าหมองของใจ และมีความหวั่นไหวเพื่อการแสวงหาความจริง
     คือเราเป็นนิยตโพธิสัตว์หรือ? คือต้องหาข้อมูลสนับสนุนเพิ่มจากที่มีอยู่แล้วให้ได้ จากพระหรือชีที่มีอภิญญาเท่านั้น นี้เป็นทิฏฐิความคิดเห็นที่ต้องแสวงหาเพื่อพิสูจน์ จนเกิดเป็นความทุกข์ให้ต้องหวั่นไหวกับตัวเองอย่างหนึ่ง.

     สนทนากับพระตามวัดต่างๆ ที่ไปต่างจังหวัด แม้กระทั้ง แม่ชี ตามสำนักปฏิบัติต่างจังหวัด ก็หาได้มีคุณสมบัติอย่างนั้นเลย ทุกข์ดิ้นรนไปเปล่าๆ

    จึงเห็นว่าเราควรปฏิบัติธรรมยิ่งๆ ขึ้นเพื่อดับทุกข์นี้แหละดีที่สุด เมื่ออยู่โรงแรมคนเดียวสงบเงียบไม่มีสิ่งใดรบกวน จึงปฏิบัติกรรมฐานได้เต็มที่ละเอียดขึ้นประมาณ ต้นปี 2537 ดังประสบการณ์ต่างๆ ที่ทยอยต่อไปนี้ตามที่พิมพ์ไว้แล้ว ดังนี้.

   เมื่อกลับมากรุงเทพฯ ข้าพเจ้าก็ยังปฏิบัติธรรมอยู่ตลอดเวลา(เน้นตลอดเวลาจริง) เกิดความเบื่อหน่ายแห้งแล้งอยู่ 2 เดือน ไม่สนใจเรื่องบนเตียง จนแฟนประชดอยู่เนืองๆ หลายรูปแบบ แต่ข้าพเจ้าก็วางเฉย กลับถึงบ้านก็ปฏิบัติธรรมในห้องอยู่อย่างนั้น ไม่ว่าจะโดนประชดก่อให้เกิดความรำคราญอย่างหนักก็นั่งกำหนดกรรมฐานวางใจเฉยอยู่อย่างนั้น

       แล้วในคืนวันหนึ่งแฟนก็พยายามประชดสร้างความรำคราญกับข้าพเจ้าอีก แต่ข้าพเจ้าก็นั่งกำหนดกรรมฐานวางใจเฉยไม่ตอบโต้ แฟนกับลูกจึงออกจากห้องแล้วไปเปิดทีวี ข้าพเจ้าได้ยินเสียงละครในทีวีชัดเจนเพราะห้องไม่ได้บิดมิดทั้งหมดเพียงแต่กั้นห้องแต่ปิดไม่ถึงเพดาน

       จึงมารู้ที่ใจ แล้วกำหนดรู้ที่หู ภาวนาว่า “ได้ยินหนอ”ๆ ๆ จนเพียงแต่ได้ยินเสียงแต่หาได้กำหนดว่าเสียงนั้นเป็นเสียงอะไร และเห็นว่าเสียงนั้นเดี่ยวดังเดี่ยวเบา เดี่ยวเงียบเห็นความไม่เที่ยงของเสียงและการได้ยินของเสียง จึงไม่ยึดมั่นในความหมายของเสียงที่กระทบสักแต่ได้ยิน  แล้วจิตจะแคบเล็กลงๆ สักแต่รู้ว่าเป็นเสียงที่กระทบกับหูเท่านั้น
       แต่ข้าพเจ้าเกิดเผลอ ไปเพ่งภาวนาเพื่อจับๆ จับๆ ให้ทันๆ จนเกิดภาวะเครียดตึงแกร่งโดยไม่รู้ตัว เกิดภาวะลั่นเพลี้ยเหมือนฟ้าฝ่า

       ข้าพเจ้าก็ได้สติขึ้นว่าได้ภาวนาเพ่งจนเครียดตึงเกินไปแล้ว เพียงสักแต่ได้ยิน สักแต่รู้ สักแต่กำหนดภาวนา แล้วปล่อยวางก็พอ ข้าพเจ้าจึงภาวนา “ยินหนอ” ๆๆ แบบสักแต่ได้ยิน หลังจากนั้นทั้งจิตทั้งความรู้ว่ามีความรู้สึกก็ดับวูบหายไปพักหนึ่ง แล้วผุดขึ้นมารับรู้ขึ้น พร้อมกับคำนึงขึ้นว่า

        “แม้แต่เสียงที่กำหนดก็ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้” และเมื่อรู้สึกเต็มตัวก็คำนึงว่า
        “แม้แต่ใจความรู้สึกก็ยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวเป็นตนไม่ได้”

         ทั้งแต่นั้นมาความรำคาญใจความอุดอิดใจโดยไม่มีสาเหตุก็หายไปจากใจโดยสิ้นเชิง ความแห้งแล้งต่างๆ หายไปหมดสิ้น
         ความปรารถนาพุทธภูมิก็หายหมดไปจากจิตสำนึกคือไม่คำนึงถึงไม่ไปสนใจ วางความปรารถนานั้นได้โดยไม่หวั่นไหว แถมจะปฏิเสธเสียมากกว่า แล้วปฏิบัติตนตามฐานะปกติ และเกิดความแตกฉานทางธรรมแตกออกเป็นร้อยๆ นัย มีความสงบไม่สนใจพุทธภูมิ ไม่หวันไหวแม้จะมีใครมาบอกว่าเราคือนิยตโพธิสัตว์ กับคำหรือสิ่งเหล่านั้นอีกแล้ว

 
        การละทิฏฐิความเห็นที่ยึดมั่นถือมั่นจนปรากฏในจิตสำนึกในความนึกคิดที่ยึดติดแล้วนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย เพราะติดอยู่ในใจถึงฐานะว่าตัวเรา เป็นนิยตโพธิสัตว์ เป็นเวลาเกือบ 10 ปี พร้อมทั้งบุคคลแวดล้อมและสิ่งแวดล้อมทั้งนิมิตตนเอง ก็ทำให้ติดใจในสามัญสำนึกว่า เป็นเช่นนั้นจริงๆ.
        ด้วยกำลังของวิปัสสนาญาณและสมาธิที่ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและละเอียดมากขึ้น ก็สามารถล้างสิ่งเหล่านั้นออกจากจิตสำนึกได้อย่างหมดสิ้นจริงๆ เมื่อเกิดสภาวะธรรมนั้น.

ตอบโดย: Vicha 28 ส.ค. 52 - 16:10


สวัสดีครับคุณบุญรักษ์

อ้างอิง
ความคิดเห็นที่ 44 : (บุญรักษ์) แจ้งลบ | อ้างอิง |


.....ตามอ่านจนทันแล้ว.....หอบแฮกเลย.....หะหะหะ.....

.....ยังจับต้นชนปลายไม่ค่อยถูกนัก.....ขอฟังไปเรื่อยๆก่อนนะครับ.....


 
 กำลังอยู่ในเรื่อง   อุปสมานุสสติ เป็นกรรมฐานไม่ได้รับความสนใจ แต่มีการปฏิบัติกันอยู่มากมาย จนเข้าใจคลาดเคลื่อนไปครับ  และเรื่อง อุปจารฌาน ฌาน และวิปัสสนาญาณในการดับกิเลส วางทุกข์ที่เป็นอยู่โดยฉับพลัน ครับ

ตอบโดย: Vicha 28 ส.ค. 52 - 16:22


สวัสดีครับทุกท่าน
       และเรื่องราวต่างๆ กำลังใกล้เข้าสู่ประเด็ดที่ตั้งคำถาม ??? ตามหัวกระทู้มากขึ้นแล้วครับ.

  ต่อจากความความคิดเห็นที่แล้ว เมื่อสภาวะธรรมนั้นเกิดกับผมแล้ว  ประมาณอีกเดือนหนึ่งผมได้ปฏิบัติตามหลวงพ่อที่ได้สนทนากันดังเรื่องที่พิมพ์ไว้แล้วนี้
 
     แล้วข้าพเจ้าก็ขอตัวกลับ ท่านก็ย่ำว่าพิจารณาดูความตายนะ! เมื่อข้าพเจ้าถึงโรงแรม หลังจากทานอาหารอาบน้ำเสร็จก็เริ่มทำกรรมฐาน พิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ความตาย
      ความตายนี้ข้าพเจ้าพิจารณาได้ชัดเจนมาก สามารถมีมโนภาพได้ชัดเจน ก็เนื่องจากข้าพเจ้าเคยเห็นมาก่อนที่เป็นของจริง คือตอนที่พี่ชายคนทีสติไม่ดีตาย ข้าพเจ้าดูแลพี่ตั้งแต่พี่ป่วยพาไปหาหมอจนทานข้าวด้วยตนเองไม่ได้ และตอนกำลังตายหลังจากตาย ลักษณะร่างกายและสี่ผิวต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลง ได้อารมณ์กรรมฐานที่เรียกว่าดีมากพิจารณาอยู่เป็นเวลานาน
        พอถึงจุดหนึ่งลงภวังค์   อารมณ์ทุกอย่างวางเฉยสงบนิ่ง ไม่มีความรู้สึกที่ร่างกาย แล้วจิตก็กล่าวมาเองว่า "ไม่สุข ไม่ทุกข์" อารมณ์นั้นคงอยู่สักพักก็มารับเต็มร่างกาย

        ที่เล่าได้อย่างนี้ไม่ใช่ว่าไปสังเกตทุกอย่างตอนที่กำลังเป็น มันเป็นไปแล้วสงบไปแล้ว จึงมาใช้สัญญาใหม่ย้อนดูสิ่งที่ผ่านมา เพราะเวลาทำกรรมฐาน ควรปล่อยใจให้เป็นกลางมีสติให้รู้ทันกับอารมณ์ที่กำลังพิจารณาแล้วปล่อยวางไปเรื่อยๆ


        จากประสบการณ์นี้นั้น สามารถสรุปได้ชัดเจนเลยว่า เป็นมรณานุสสติ และกำลังของสมาธิสูงสุดของ มรณานุสสติ ตามพระไตรปิฎกและพระอรรถกถาคือ อุปจารฌาน สภาวธรรมนั้นจะว่า ว่างๆ ก็ไม่เชิง ทุกข์ก็ไม่ใช่ สุขก็ไม่ใช้

       หมายความว่า กรรมฐานใดที่มีกำลังสูงสุดแค่ไหนเมื่อปฏิบั้ติได้สูงสุดของกรรมฐานนั้นก็จะคงสมาธิแค่นั้น   คือจะทรงอยู่ในสภาวะธรรมของสมาธินั้นอย่างชัดเจนและระยะเวลาหนึ่ง หาได้ขึ้นหรือลงตามกำลังของการภาวนา คือทิ้งความรู้สึกทางกายและภายนอกหมดไปแล้ว ไม่มีความนึกคิดหรือรู้สึกว่าเป็นเรา  เมื่อทรงอยู่ที่อุปจารสมาธิ ก็เรียกว่า อุปจารฌาน

     หวังว่าท่านผู้อ่านหรือคุณบุณรักษ์ ที่ติดตามทำความเข้าใจจริงๆ  น่าจะพอเห็นภาพลางๆ ในใจของตนเองบ้างแล้วนะครับ. ว่า อุปาจารฌาน เป็นอย่างไร จะได้ไปเปรียบเทียบกับ อุปสมานุสสติ ในความคิดเห็นตามประสบการณ์ ในหัวกระทู้และ ความคิดเห็นต่อไป.

      หมายเหตุ ในช่วงนั้น และ 10 กว่าปีที่ผ่านมานั้น ผมไม่ได้สนใจแยกเป็นบัญญัติ จึงไม่ทราบว่า สภาวะนี้ และตามหัวกระทู้เป็นอะไรตามบัญญัติ เพียงแต่รู้ว่าสภาวะธรรม ว่างๆ นั้น และสภาวะธรรม ไม่สุขไม่ทุกข์ เราได้ปฏิบัติให้เกิดขึ้นแล้ว.
  

ตอบโดย: Vicha 29 ส.ค. 52 - 09:03


     
กำลังเข้มข้น ติดตามหนอๆๆๆๆ

ตอบโดย: ณวบุตร 29 ส.ค. 52 - 15:36


สวัสดีครับ คุณณวบุตร และทุกท่าน

   ครับเป็นอันว่าผมได้ขมวดเข้าสู่  อุปจารฌาน  ที่ทรงอยู่ตามกำลังของสมาธิ ในส่วนของ มรณานุสติกรรมฐานให้ทราบกันแล้วนะครับ

    ต่อไปผมจะเล่าผลการปฏิบัติต่อนะครับ เพราะผมไม่เคยทอดทิ้งหรือทอดธุระในการปฏิบัติธรรมเลยตลอดมา

     ประมาณปี 2540 - 41 ผมก็สนใจเรื่อง จิตว่าง ความว่าง  ตามที่ได้ยินมาจากท่านพุทธทาส จึงภาวนาเพื่อจิตว่าง โดยนึกถึงอนัตตา เป็นหลัก จึงได้คำภาวนาเพื่อเจริญสติว่า "ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ๆ", "ปล่อยวาง ๆ", "สักแต่รู้ ๆ",  "ว่าง ๆ หรือ ว่างหนอๆ" ตามสภาวะความรู้สึกกับใจที่ควรเหมาะกับคำภาวนา ตามคำบริกรรม ที่ปรากฏ ให้เหมาะสม

     (เป็นทริก เฉพาะตัวว่า เวทนาใด หรือความรู้ในขณะนั้นควรใช้บริกรรมใด อย่างมีสติและปล่อยวางลงได้) .

      ก็เข้าสู่การไม่สนใจหลับนอนกับภรรยาอีกแล้วครับ แต่ไม่หนักเหมื่อนครั้งในความเห็นก่อน เพียรปฏิบัติอยู่เนืองๆ  ก็เกิดสภาวะธรรมอย่างนี้ขึ้นมา

    กำหนดภาวนาไป  ปล่อยวางความรู้สึกไปเรื่อยๆ แต่มีสติในการภาวนาดีนะครับ ความรู้สึกก็น้อยลงๆ (หาได้สนใจรับรู้ทางร่างกายและภายนอกแล้ว)แล้วทิ้งการรับรู้ทั้งหมด

    เกิดเป็นสภาวะธรรม ที่ว่างแต่สว่างใส สงบ เป็นเองอยู่อย่างนั้นพักหนึ่ง

    แล้วค่อยถอยออกมารับความรู้สึก และรู้สึกตัวปกติ  ก็ยินดีว่าเราได้ปฏิบัติให้เกิดถึงคำว่า จิตว่าง  แล้ว

    เป็นเวลา ประมาณ 10 กว่าปีแล้ว ผมไม่ทราบว่า
     1. สภาวะธรรมว่าง ตามหัวกระทู้ ที่อธิบายไปแล้ว
     2. สภาวะธรรม ไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์ จากการกำหนดภาวนาความตาย
     3. สภาวะธรรม ว่างสว่างสดใสสงบ ดังในความคิดเห็นนี้.

     หมายเหตุ การกำหนดภาวนา ยินหนอๆ จนวูบดับไปแล้วขึ้นมาพร้อมทั้งมีปัญญาแจ้งชัดในอนัตตา นั้นทราบดี
     
     แต่เมื่อ เปรียบเทียบสภาวะธรรม ทั้ง 3 ด้านบนนั้น ตามความระเอียดหรือหยาบเมื่อเทียบกัน จะได้ว่า

       สภาวะธรรมข้อที่ 1 กับสภาวะธรรม ข้อที่ 2 มีความหยาบระเอียดใกล้เคียงกัน แต่มีความต่างกันตรงที่สภาวะข้อที่ 1 นั้นมี วิปัสสนาญาณประกอบด้วย

      ส่วนสภาวะข้อที่ 3 หรือในความคิดเห็นนี้ ระเอียดกว่ามาก จึงไม่น่าจะอยู่ในระดับเดียวกัน.

      ดังนั้นสภาวะธรรมข้อที่ 1 ควรจะเป็น อุปจารฌาน ที่ทรงความว่าง

   สนทนาแค่นี้ก่อนนะครับ (ต้องเปลี่ยนเครื่องครับ)
 

ตอบโดย: Vicha 29 ส.ค. 52 - 18:28


แสดงความคิดเห็นต่อนะครับ

      ดังนั้นสภาวะธรรมข้อที่ 1 ควรจะเป็น อุปจารฌาน ที่ทรงความว่าง นั้น แต่สมัยนั้นยังไม่ทราบว่าเป็นอะไรกันแน่ เป็นผลของวิปัสสนาแท้จริงหรือ ความว่างนั้นเรียกว่าอะไร การเกิดดับของรูปนาม ที่ปฏิบัติโดยตลอดก็หาได้ดับปรากฏชัด เพียงแต่มืดสว่างๆ ๆ เร็วขึ้นๆ จนสว่างอย่างเดียว   แต่ก็หาได้ไปสังสัยจนก่อให้เกิดความฟุ้งซ้าน เพราะผลนั้นสามารถคลายความทุกข์ที่สะสมมาได้ชงัก และมีสติคิดได้ในทางที่ไม่ก่อทุกข์เพิ่มขึ้น.

     แต่เมื่อได้มาศึกษาพบกับกรรมฐาน อุปสมานุสสติ ในปัจจุบันนี้ จึงเกิดความเข้าใจอย่างชัดแจ้งว่า.

        ความว่าง หรือนิพพานชั่วคราว หรือ จิตสงบว่าง ด้วยการกำหนดภาวนาปล่อยวาง โดยไม่ยึดมั่นด้วยหลักอนัตตา ในปัจจุบันอารมณ์ จนค่อยๆ วางจนว่าง จากอารมณ์และความรู้สึกนั้นเป็นเพียง สมาธิระดับหนึ่งเท่านั้น โดยวิปัสสนาญาณเบื้องสูงหาได้ปรากฏระเอียดชัด เป็นกรรมฐานหนึ่งที่มีอยู่ในพระไตรปิฏก..

        นั้นก็คือ อุปสมานุสสติกรรมฐานนั้นเอง

       ดังนั้นในการปฏิบัติกรรมฐาน เมื่อเกิดสภาวะธรรมที่เป็นความว่าง หรือ จิตว่าง หรือนิพพานชั่วคร่าว  หรือสูญญตาชั่วคราวเพราะความว่าง นั้น โดยไม่เกิดวิปัสสนาญาณที่ละเอียดและเจริญขึ้นตามลำดับ เห็นการเกิดดับของรูปนามอย่างแจ้งชัด

      การทำจิตปล่อยวาง การกำหนดภาวนาปล่อยวางอารมณ์ความรู้สึกจนว่าง โดยความไม่ยึดมั่นถือมั่น นั้นเป็นการปฏิบัตสมาธิ ที่เรียกว่า อุปสมานุสสติ ที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏกเท่านั้น อย่าเข้าใจผิดไปเสียก่อนว่าเป็นพระนิพพาน.

    เนื่องด้วยในสมัยนี้มีการเจริญกรรมฐานกันมากเพื่อ จิตว่าง เพื่อสูญญตา เพื่อปล่อยวาง เพื่อความไม่ยึดมั่นถือมั่น โดยไม่ปรากฏวิปัสสนาญาณเจริญขึ้นมาตามลำดับ  และสามารถปรากฏสภาวะธรรมนั้นจริงๆ ด้วย แต่กลับไปไม่ทราบและไม่เข้าใจว่า อย่างนี้เป็นกรรมฐานอะไร? ในพระไตรปิฎก และผลสูงสุดคืออะไร?

   การปฏิบัตินี้คือ อุปสมานุสสติ  ที่มีในพระไตรปิฎก มีการปล่อยวางความทุกข์ที่เป็นปัจจุบันธรรม มีสมาธิถึงระดับ อุปจารฌาน.

ตอบโดย: Vicha 29 ส.ค. 52 - 19:24


สวัสดีครับทุกท่าน

     เมื่อผมได้อธิบายถึงความคิดเห็นข้างบนนั้น ก็ทำให้หลายท่านเข้าใจแต่ยังฉงนในสภาวะธรรมนั้น ดังนั้นผมจะปรับความคิดเห็นให้เป็นเบื้องต้นเสีย.

    การปฏิบัติอานาปานสติ นั้นย่อมเข้าสู่ความสงบเป็นเบื้องต้น ย่อมตัดความวิตกกังวลไปได้

    เมื่อสงบแล้วแต่ไม่ดำเนินไปตาม จาตุกะทั้ง 16 ขั้นนั้น. เพียงเมื่อระงับกายสังขารให้สงบได้แล้ว ไม่ดำเนินไปตามลำดับต่อไป เพื่อการเจริญสติพละ หรือสติสัมปชัญญะให้เจริญขึ้น
      น้อมใจเพื่อคลายเวทนาต่างๆ หรือคลายความทุกข์ ในการปล่อยวาง ไม่ยึดมั่น เพื่อความสงบ เพื่อความว่าง อานาปานสตินั้นก็จะไม่สมบูรณ์ทั้ง 16 บท แต่จะกลายเป็นการปฏิบัตินั้นไปเข้าสู่กรรมฐานอีกอย่างหนึ่งคือ อุปสมานุสสติ ตามพระไตรปิฎกและอรรถกถาดังนี้.

อุปสมานุสสติกรรมฐาน เป็นดังนี้

     ...อนุสสติที่เกิดขึ้นเพราะปรารภความเข้าไปสงบระงับ ชื่อว่า อุปสมานุสสติ.
       คำว่า อุปสมานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติอันมีความเข้าไปสงบ ระงับทุกข์ทั้งปวงเป็นอารมณ์.

 *************************
            ผู้เจริญ อุปสมานุสสติ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งอุปจารฌาน.
*************************

       ซึ่ง อุปสมานุสสติ เมื่อเจริญเป็นอุปจารฌาน  จะเป็นการปล่อยวางจนที่สุดเป็นอารมณ์ที่ว่างระงับจากทุกข์  ก็จะทำให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจผิดว่าเป็ณ สูญญตา ได้ หรือ จิตว่าง ได้.

         นี้ก็กลายเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ เพราะความไม่รู้ หรือไม่สนใจ หรือไม่ทราบ ใน อุปสมานุสสติกรรมฐาน นี้เองว่าเป็นอย่างไรปฏิบัติอย่างไป สภาวะธรรมสูงสุดแค่ใหน? เป็นสมถะล้วนๆ หรือ เป็นสมถะและวิปัสสนา หรือเป็น วิปัสสนาล้วนๆ

     และเมื่อในพระอรรถกถากล่าวว่า อุปสมานุสสติ เจริญได้สูงสุดเพียง อุปจารฌาน จึงอยู่ในส่วนของสมถะเสียมากกว่า ครับ.

     ดังนั้นผู้ปฏิบัติทั้งหลายที่ปฏิบัติไปจนกายสงบแล้วไปวางกรรมฐานหลักเสีย มากำหนดการปล่อยวางอารมณ์ โดยไม่ยึดมั่น จนคลายความรู้สึกต่างๆ จนแผ่วเบาจนถึงที่สุดเป็นอารมณ์ความว่างจากความรู้สึกต่างๆ เสมือนเป็น สูญญตา หรือจิตว่าง

      ให้ทำความเข้าใจเพื่อไม่ให้หลงไป ให้รู้ว่านั้นเป็นผลของ อุปสมานุสสติกรรมฐาน หาใช่อานาปานสติที่สมบูรณ์ หรือ สติปัฏิฐาน 4 ที่เป็นวิปัสสนาญาณที่เจริญขึ้นอย่างแท้จริง.
        เพราะเมื่อภายหลังยังมีกิเลสขึ้นๆ ลงๆ อย่างมากได้อยู่ หรือหลงหรือทุกข์ร้อนรนติดแน่นจนมากมายปะทุออกมาเป็นความโกรธอย่างผิดเพี้ยนหรือทำผิดศีลด้วยความหลงออกมาทางกายหรือวาจา ในการดำรงชีวิตได้อยู่

     

ตอบโดย: Vicha 31 ส.ค. 52 - 10:44


   สวัสดีครับ ผมมาต่อกระทู้อีกนิดหนึ่ง คงไม่มีผู้ร่วมสนทนามากแล้ว..

    ความจริงแล้วผลของ อุปสมานุสสติกรรมฐาน ได้เกิดขึ้นมาอย่างกว้างขว้างแล้วในช่วงหนึ่ง ในสมัยของท่านพุทธทาส จนถึงปัจจุบัน ก็คือเรื่อง..

    จิตว่าง,นิพพานชั่วคราว,นิพพานที่นี้และเดียวนี้  โดยทำจิตให้ว่าง อยู่ทุกเวลาแม้ในขณะทำการงานต่างๆ ที่ท่านพุทธทาสเน้นย้ำ

      เมื่อการปฏิบัตินั้นไม่มีสติเป็นปัจจุบันกับผัสสะ หรือรูปนามที่ปรากฏ ย่อมไม่สามารถเจริญขึ้นเป็นวิปัสสนาญาณเบื้องสูงเป็นมรรคญาณผลญาณได้  แนวทางการปฏิบัตินั้นก็จะเป็น  อุปสมานุสสติ กรรมฐาน

       เพราะน้อมไปสู่การปล่อยวาง มีสติระงับเวทนา เพื่อสงบ จนว่าง  ก็คือการปฏิบัติ อุปสมานุสสติกรรมฐานโดยตรงนั้นเอง ซึ่งเป็นสมถะโดยการข่มไว้ ดังมีในพระไตรปิฏก เล่มที่ 29 หน้า 6 ข้อ 2 ดังนี้

       แม้ผู้เจริญพุทธานุสสติ ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ แม้ผู้เจริญธัมมานุสสติ ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ แม้ผู้เจริญสังฆานุสสติ ...  แม้ผู้เจริญสีลานุสสติ ...แม้ผู้เจริญจาคานุสสติ ... แม้ผู้เจริญเทวตานุสสติ ... แม้ผู้เจริญอานาปานัสสติ ... แม้ผู้เจริญมรณานุสสติ ... แม้ผู้เจริญกายคตาสติ ... แม้ผู้เจริญอุปสมานุสสติ ... แม้ผู้เจริญปฐมฌาน ... แม้ผู้เจริญทุติยฌาน ...  แม้ผู้เจริญตติยฌาน ... แม้ผู้เจริญจตุตถฌาน ... แม้ผู้เจริญอากาสานัญจายตนสมาบัติ ... แม้ผู้เจริญวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ... แม้ผู้เจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติ ... แม้ผู้เจริญเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้. ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้อย่างนี้.

          ย่อมเว้นขาดกามโดยการตัดขาดอย่างไร? แม้บุคคลผู้เจริญโสดาปัตติมรรค ย่อมเว้นขาดกามอันให้ไปสู่อบายโดยการตัดขาด แม้บุคคลผู้เจริญสกทาคามิมรรค ย่อมเว้นขาดกามส่วนหยาบโดยการตัดขาด แม้บุคคลผู้เจริญอนาคามิมรรค  ย่อมเว้นขาดกามอันเป็นส่วนละเอียดโดยการตัดขาด แม้บุคคลผู้เจริญอรหัตมรรค ย่อมเว้นขาดกามโดยอาการทั้งปวง โดยประการทั้งปวงหมดสิ้น มิได้มีส่วนเหลือ โดยการตัดขาด. ย่อมเว้นขาดกามโดยการตัดขาดอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ใดย่อม เว้นขาดกามทั้งหลาย.

 
     ดังนั้น อุปสมานุสสติ เว้นขาดจากกามโดยการข่มไว้เท่านั้น   แต่เมื่อจะตัดขาดก็ต้องเจริญวิปัสสนาให้ครบสมบูรณ์.....

      การที่ จิตว่าง  หรือ จิตเห็นความเป็นสูญญตา เพราะอุปสมานุสสติ ก็จงพึงระวังอย่าไปยึดมั่นว่าเป็นที่สุดไปเสียก่อน  ซึ่งเป็นการเว้นขาดกามด้วยการข่มไว้.

 

ตอบโดย: Vicha 01 ก.ย. 52 - 12:08


อ้างอิง (Vicha @ 26 สิ.ค. 52 - 09:47)
ผมขอถามว่า  ความรู้ตัวตั่งมั่นอยู่  ยังมีความรู้บางส่วนที่ร่างกายเหลืออยู่หรือเปล่า?


         จากการปฏิบัติ
        เวลานั่งภาวนา  จะผ่อนคลายทั้งกายและใจ
เมื่อความรู้สึกภายนอกดับไป และ ความรู้สึกว่า " กำลังหายใจ " ดับไปเป็นบางส่วน  จะมีแต่ความเบาสบายใจและโล่งใจ    เห็นกายและใจทำงานยู่
         อะไรที่ตั้งอยู่ เมื่อภาวนาต่อไปอีก  ความรู้สึกว่ากำลังหายใจ  ก็ดับลงไป( ไม่ใช่กลั้นหายใจ ) ไม่มีความสุข ไม่มีความทุกข์   ตั้งมั่นอยู่อย่างนั้นอย่างรู้ตัว เบา ว่าง

         ปฏิบัติตามมรรคมีองค์ 8  เอาสติเป็นที่ตั้ง แล้วตามด้วยอีก 7
 

ตอบโดย: ทองพร พันธุ์สุขวัฒนพันธ์ 01 ก.ย. 52 - 13:18


สวัสดีครับ คุณทองพร พันธุ์สุขวัฒนพันธ์

      ผมขอถามว่า เห็นรูปนามเกิดดับอย่างไร?

  หมายเหตุ ไม่เป็นไรครับ สนทนากันไป ตามสภาวะธรรม เป็นอย่างไรก็ว่ากันไปตามหลักฐานที่อ้างอิงได้ และผลที่ปรากฏนะครับ.
 

ตอบโดย: Vicha 01 ก.ย. 52 - 13:29


  อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา
รูปเกิดดับตามสภาวะธรรมของมัน  นามดับไปเมื่อตามดู และรู้ทันอารมณ์  และ จิตกุศล จิตอกุศลก็รู้ จะเกิดๆดับๆ ไปตามธรรม ตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
  จะถูกหรือผิดดิฉันตอบตามสิ่งท่ได้จากการปฏิบัติคะ

ตอบโดย: ทองพร พันธุ์สุขวัฒนพันธ์ 01 ก.ย. 52 - 13:43


ขออนุโมทนากับคุณทองพร พันธุ์สุขวัฒนพันธ์ ด้วยนะครับ
และขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปนะครับ

ตอบโดย: ณวบุตร 01 ก.ย. 52 - 13:55


  ขอบคุณค่ะ คุณณวบุตร
ดิฉันมีความรู้น้อย ถ้าจะศึกษารู้ลึก รู้แจ้ง เห็นจริง ควรปรึกษาใครคะ

ตอบโดย: ทองพร พันธุ์สุขวัฒนพันธ์ 01 ก.ย. 52 - 14:05


ผมแนะนำดังนี้ครับ
1. กาย และ ใจ ที่อยู่ในร่างกายที่หายใจเข้า-ออกอยู่นั่นละครับ
2. ก็คุณVicha และกัลยาณธรรมในลานธรรมนี้แหละครับ  
3. หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช และพระสุปฏิปันโนอีกหลายรูปครับ    ยังไงก็ลองอธิษฐานดูนะครับ เพื่อจะได้เจอกับครูบาอาจารย์ที่ตรงกับจริตของเราครับ

 

ตอบโดย: ณวบุตร 01 ก.ย. 52 - 14:18


  ขอบคุณค่ะ ที่ชี้แนะ
                รู้สึกว่างเบาซาบซ่าน ทั่วสรรพางค์ เมื่อสนาธรรม / ศึกษาธรรมะ
                               เจริญภาวนาเห็นอะไรตั้งอยู่ ส่งจิตออกนอกได้ป่าวค่ะ

ตอบโดย: ทองพร พันธุ์สุขวัฒนพันธ์ 01 ก.ย. 52 - 14:27


สวัสดีครับคุณ ณวบุตร และคุณ ทองพร พันธุ์สุขวัฒนพันธ์

       คุณ ทองพร พันธุ์สุขวัฒนพันธ์ ครับผมจะถามต่อนะครับ.

     ในการปฏิบัติที่ผ่านมานั้นเคยเกิดสภาวะอย่างนี้บ้างหรือไม่

      เมื่อกำลังปฏิบัติอยู่ที่ผ่านมา เกิดขัดเคื่องไม่ว่าด้วยเหตุ หรือเกิดคิดปรุงแต่งไม่ว่าเหตุใด หรือเกิดความรู้สึกนั้นๆ ชัดเจนขึ้น แล้ววูบไปในทันที่ทันใด หรือ ดับหายไปทันที่ทันใด ในขณะที่ยังมีสติชัดเจนอยู่ บ้างหรือเปล่า?

       หมายเหตุ  ถ้าวูบหายไปทันที่ทันใด ก็บอกว่าวูบหายไปทันที่ทันใดนะครับ
                               ถ้าดับหายไปทันที่ทันใด ก็บอกว่า ดับหายไปทันที่ทันใดนะครับ.
                               แต่ไม่ใช่ค่อยจางหาย หรือหายไปเพราะเปลี่ยนอารมณ์ไปอย่างอื่นนะครับ เพราะผู้ไม่ต้องปฏิบัติมาก เขาก็รู้และเห็นอารมณ์สภาวะแบบนี้กันได้อยู่แล้วครับ คือเห็นอารมณ์ ที่มันเปลี่ยนไป เพราะมันเป็นสามัญลักษณะของไตรลักษณ์อยู่แล้วครับ.

 
 

ตอบโดย: Vicha 01 ก.ย. 52 - 15:36


        

ตอบโดย: ยิ้มแฉ่ง 01 ก.ย. 52 - 17:04


ความคิดเห็นที่ 59 : (ทองพร พันธุ์สุขวัฒนพันธ์)

  เจริญภาวนาเห็นอะไรตั้งอยู่ ส่งจิตออกนอกได้ป่าวค่ะ


แหมทันเหตุการณ์นะครับ

     

เรียนถามคุณ Vicha ครับ กรรมฐานที่ ๑๐ นี้ เรายังไม่รู้นิพพานแล้วเราจะเข้ากรรมฐานนี้ได้เหรอครับ จะระลึกตามข้อเขียนได้อย่างไรในเมื่อเราไม่เคยรู้นิพพานนะครับ

นิพพานชั่วคราวนี้ เหมือนนิพพานในญาณ๑๖หรือเปล่าครับ เห็นคุณวิชากล่าวว่า นิพพานของกรรมฐานที่๑๐นี้ไม่ผ่านญาณ๑๖

แล้วนิพพานชั่วคราว หรือ ดับชั่วคราว อะไรดับครับ ขอรายละเอียดด้วยครับ

     

ตอบโดย: damrong121 01 ก.ย. 52 - 20:29


สวัสดีครับ คุณยิ้มแฉ่ง และคุณ damrong121

  และจากคำถามของคุณ damrong121

อ้างอิง
   เรียนถามคุณ Vicha ครับ กรรมฐานที่ ๑๐ นี้ เรายังไม่รู้นิพพานแล้วเราจะเข้ากรรมฐานนี้ได้เหรอครับ จะระลึกตามข้อเขียนได้อย่างไรในเมื่อเราไม่เคยรู้นิพพานนะครับ


   ตอบ ได้ครับ คือมีสติเพื่อปล่อยวางความทุกข์ ระลึกถึงการปล่อยวางอารมณ์ คลายอารมณ์ คลายการยึดถือหรือการเพ่ง หรือคลายการขหมวดกักอารมณ์นั้นๆ   หรือวางความทุกข์ความนึกคิดและอารมณ์ต่างๆ มีสติพอประมาณไม่ยึดมั่นถือมั่น ก็จะบรรลุถึงความว่างจากอารมณ์   เป็นการมีสติวางทุกข์ทั้งหลาย จนว่างจากอารมณ์ เหมือนไม่มีอะไร ว่างอยู่อย่างนั้น.

       แม้ยังไม่ถึงมรรคผลนิพพาน แต่เข้าใจว่า นิพพาน นั้นดับทุกข์ หรือปล่อยวางความทุกข์ได้ คลายความยึดมั่นถือมั่น เมื่อมีสติ เป็น อุปสมานุสสติกรรมฐาน คือการปล่อยวาง การคลาย การไม่ยึดมั่นถือมั่นอารมณ์นั้นๆ ที่ปรากฏ ก็จะปรากฏสภาวะธรรมที่ ว่างจากอารมณ์เกิดขึ้นได้ครับ.

และจากคำถามของคุณ damrong121

อ้างอิง
  นิพพานชั่วคราวนี้ เหมือนนิพพานในญาณ๑๖หรือเปล่าครับ เห็นคุณวิชากล่าวว่า นิพพานของกรรมฐานที่๑๐นี้ไม่ผ่านญาณ๑๖

 
   ตอบ นิพพานชั่วคราว ไม่น่าจะเหมือนนิพพานในญาณ 16 ครับ  ถ้าเป็นนิพพานชั่วคราวแบบ อุปสมานุสสติกรรมฐาน ดังที่กล่าว ไม่จำเป็นต้องได้วิปัสสนาญาณเลยก็ได้ครับ เพราะสามารถเป็นอารมณ์ของสมถะล้วนๆ ได้ครับ และสมาธิสูงสุดที่ อุปจารฌาน คือ ว่าง หรือ วาง อารมณ์แทบทั้งหมด เป็นการระงับทุกข์แบบหนึ่งครับ.

และจากคำถามของคุณ damrong121

อ้างอิง
แล้วนิพพานชั่วคราว หรือ ดับชั่วคราว อะไรดับครับ ขอรายละเอียดด้วยครับ


   ตอบ  ถ้าเป็นนิพพานชั่วคราว แบบ อุปสมานุสสติกรรมฐาน ไม่มีคำว่าอะไรเกิดอะไรดับอย่างชัดเจนครับ  มีแต่การปล่อยวางจนว่างจากอารมณ์แทบทั้งหมดครับ หรือกล่าวได้ว่า จิตว่าง หรือ อารมณ์นั้นสูญญตาแทบทั้งหมดไปที่เดียว.

  

ตอบโดย: Vicha 02 ก.ย. 52 - 09:29


จิตว่าง (ความคิดเห็นส่วนตัว)
ลักษณะที่เราทำจิตว่างได้ในขณะปฏิบัติธรรม ในวิญญาณไม่มีอะไรปรากฏทั้งรูปทั้งนาม ไม่มีอารมณ์ปรากกฏ ความรู้สีกนึกคิดไม่ปรากฎ จิตก็ไม่มีอะไรเข้ามารบกวนจิต มีสติรู้สึกทรงตัวนิ่ง ว่าง ไม่หวั่นไหว แต่เมื่อออกจากปฏิบัติธรรม อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดในโลกก็เริ่มเข้ามาแทรก จึงต้องเพียรรักษาจิตให้ว่างมิให้อารมณ์ของโลกมาครองจิตมิให้จิตเป็นทาสของอารมณ์ปรุงแต่งจิต ให้จิตอยู่กับปัจจุบัน ไม่น้อมจิตไปหาอดีตอนาคตให้เป็นอารมณ์ปรุงแต่งจิต ให้จิตมีสติว่างจากอารมณ์ สติระวังสิ่งที่ไหลเข้ามาในวิญญาณ อ่านรูปนามที่ปรากฏเข้าทางวิญญาณ ในลักษณะแยกโลก แยกธรรม แยกกรรม แยกอารมณ์ แยกจิต   แต่ผู้ที่ยังปฏิบัติทำได้ไม่ถึง จุดที่ว่าก็สามารถทำจิตให้อยู่กับปัจจุบันด้วยสติของตน ทำไปในลักษณะลด ละอารมณ์ ดูจิตดูอารมณ์ เพื่อเข้าใจทุกข์ที่อารมณ์ส่งให้ เพื่อมีสติควบคุมการกระทำทางกายวาจาใจมิให้เกิดเป็นกรรมเป็นทุกข์ให้แก่จิตของตน
 

ตอบโดย: pakorn.p 02 ก.ย. 52 - 10:40


ขออภัยค่ะ เมื่อวานจนถึงตอนนี้ดิฉันถูกจำกัดการตอบกระทู้ ตอบได้ 5 กระทู้/วัน

   ตอบท่านvicha

[QUOTE]เมื่อกำลัง ปฏิบัติอยู่ที่ผ่านมา เกิดขัดเคื่องไม่ว่าด้วยเหตุ หรือเกิดคิดปรุงแต่งไม่ว่าเหตุใด หรือเกิดความรู้สึกนั้นๆ ชัดเจนขึ้น แล้ววูบไปในทันที่ทันใด หรือ ดับหายไปทันที่ทันใด ในขณะที่ยังมีสติชัดเจนอยู่ บ้างหรือเปล่า?

   การปฏิบัติดิฉันฝักและหัดมาประมาณ 2 ปีด้วยความศัทธา เพราะมีความทุกข์
        เริ่มจากการตัดนิวร ตั้งมั่นสู่ความสงบ สะอาด และสว่าง จนเกิดคติธรรม   ขันติ เมตตา เสียสละ ให้อภัยและปล่อยวาง (เป็นพื้นฐานของการปฏิบัติทั้งหมดทั้งปวง)
และน้อมใจเข้าสู่ ปัจจุบัน  ให้อตีดเป็นสายน้ำไหลผ่านไป อนาคตเป็นจินตนาการ(ความฝัน) ปัจจุบันเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

        ศึกษาและรู้จักความทุกข์

         ศึกษาและรู้จักวิธีพ้นทุกข์

          ศึกษาวิธีรู้แจ้ง

           มารู้จักธรรมะ   คือธรรมชาติ ของ สรรพสัตว์

             ถือศิล พยายามให้ครบ 5 ข้อ

              ถือศิล 8 อุทิศแก่เจ้ากรรมนายเวร 7วัน


  รู้ตามอารมณ์จากฟังเทปธรรมะของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช และหนังสือธรรมะทางสายเอก  รู้แจ้ง ฯลฯ   ตามรู้ ตามดู และรู้ตามอารมณ์ในที่สุด

  มองเห็นก้อนธาตุ ตั้งอยู่ จนไม่มีลมหายใจ (แต่ยังหายใจอยู่ รู้ตัวดูจากลมปลายจมูกเคลื่อไหวลงไปในท้อง )ในก้อนธาตุ ว่าง ก้อธาตุกลวง พบสิ่งเครื่อไหวอยู่ภายใน

การตามรูอารมณ์ดิฉันไม่สนใจสังเกตุว่าดับไป หรือวูปไป รู้เพียงว่านี่อารมณ์โกรธ นี่หลง นี่ราคะ  นี่กุศล นี่อกุศล เป็นเหตุให้เกิดทุกข์(ทุกต้องตามมาแน่ๆ) จึงมุ่งเพราะพ้นทุกข์ค่ะ   แล้วอารมณ์ต่างๆก็ไม่ค่อยเกิดขึ้น ก่อนเกิดอารมณ์รู้ตามอารมณ์ที่เป็นเหตุแห่งทุกข์

เดินทางถูกหรือป่าวคะ
 หากเอาจิตออกจากกายได้ใหมคะ


      ขอบคุณคะที่ให้เข้าร่วมเสวนาธรรม

ตอบโดย: ทองพร พันธุ์สุขวัฒนพันธ์ 02 ก.ย. 52 - 13:58


สวัสดีครับทุกท่าน ยังไม่มีอะไรมารายงานเพิ่มเติมครับ แต่มีเวบธรรมะน่าสนใจมาให้ลองเข้าไปอ่านดูครับ เป็นเวบปฏิจจสมุปบาท http://www.nkgen.com ที่อธิบายได้ดีเยี่ยมเลยครับ

ขอทุกท่านเจริญในธรรม

ตอบโดย: ณวบุตร 02 ก.ย. 52 - 14:08


สวัสดีครับ คุณทองพร พันธุ์สุขวัฒนพันธ์

        ที่เล่ามาโดยพื้นฐานะถือว่าดีแล้วครับ  มีความศรัทธาที่ดี มีสมาธิพอประมาณที่ระงับทุกข์ได้
        และผลของการปฏิบัตินั้นก็นำความสุขและการปล่อยวางให้กับชีวิตได้บ้าง ควรรักษาไว้เพื่อเป็นกุศลแห่งตน

        แต่ถ้ากล่าวว่า ละกิเลสที่เป็นอนุสัยได้แล้วอย่างเด็ดขาดบางส่วน น่าจะยังนะครับ คือน่าจะยังไม่บรรลุนิพพานจริงๆ นะครับ.

  และจากคำถาม
อ้างอิง
          หากเอาจิตออกจากกายได้ใหมคะ


    ตอบ ทำไมต้องเอาจิตออกจากกายแหละครับ  การปฏิบัติต้องมีสติกำหนดรู้ตามธรรมชาติที่ปรากฏไม่ใช่หรือครับ จะออกหรือไม่ออกก็เป็นเรื่องของสภาวะธรรมที่ปรากฏนะครับ.
 

ตอบโดย: Vicha 02 ก.ย. 52 - 14:25


ขอบคุณค่ะ คุณ Vicha ที่ชี้แนะ  

เจอความว่าง แล้ว จะอยู่ในความว่างตลอดไป หรือคะ  หรือภาวนาเจิญจิตต่อไปด้วยความเพียร  (ติดความว่างมานานแล้วคะ)
        
      ปัจจุบัน โทสะ โมหะ โลภะ และราคะ เกิดขึ้นน้อยมาก  และไม่มีความคิดไขว่คว้าหาความสุข เฉยๆ ไม่ฟู้งซ่าน
 
      เอาจิตออกนอกกาย เพราะกายว่างเปล่า จิตว่างเปล่า

ตอบโดย: ทองพร พันธุ์สุขวัฒนพันธ์ 02 ก.ย. 52 - 14:43


ขออนุญาตคุณวิชาครับ  

อ้างอิง
เจอความว่าง แล้ว จะอยู่ในความว่างตลอดไป หรือคะ  หรือภาวนาเจิญจิตต่อไปด้วยความเพียร  (ติดความว่างมานานแล้วคะ)
จากคุณ : ทองพร พันธุ์สุขวัฒนพันธ์ [ ตอบ: 02 ก.ย. 52 14:43 ]

ความว่างก็เป็นแค่สิ่งที่ถูกรู้ถูกดู เกิดขึ้นบ้าง ดับไปบ้าง เป็นของชั่วคราว

ความว่างไม่ใช่จิต

เห็นได้แบบนั้นไหมครับ

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 02 ก.ย. 52 - 15:05


สวัสดีครับ คุณทองพร พันธุ์สุขวัฒนพันธ์

    เป็นเรื่องธรรมดาครับ ผมก็เช่นเดียวกันเมื่อสภาวะธรรมปรากฏระเอียดกว่านี้มาก กิเลสเสมือนเบาบางไป 3 ปี ก็มี  5 ปี ก็มี มารู้เมื่อศีล 5 เราด่างพล้อยแล้ว เพราะยังมีใจอยากและก้าวลวง  และมีอนุสัยอื่นปรากฏขึ้นให้เห็นชัดเจน.

  คุณทองพร พันธุ์สุขวัฒนพันธ์  ก็มีแต่การเจริญสติ ทำให้ปัญญาเจริญขึ้น ด้วยความเพียรและศรัทธา ครับ
   เพราะสภาวะธรรมที่เล่ามายังเป็นพื้นฐานเบื้องต้นอยู่ครับ ปัญญาญาณในการตัดกิเลสจริงๆ น่าจะไม่ปรากฏครับ.

   และการจะ เอาจิตออกนอกกาย เพราะกายว่างเปล่า จิตว่างเปล่า เพื่อรับรู้ผัสสะภายนอก (ไม่ใช่เป็นการถอดจิตนะครับ ถึงแม้อยากจะถอดก็ถอดไม่ได้หรอกครับ) ที่มากระทบ ก็ได้ครับ แต่ต้องมีสตินะครับ และมีปัญญาระงับในกาลที่ควรระงับครับ  ไม่ควรปล่อยให้กิเลสเติบโตออกทางกายวาจา เกินไปจนผิดศีล 5 บ่อยๆ นะครับ.
 

ตอบโดย: Vicha 02 ก.ย. 52 - 15:07


น้อมรับคำ คุณVicha  คูณบุญรักษ์  

อ้างอิงุ
          ความว่างก็เป็นแค่สิ่งที่ถูกรู้ถูกดู เกิดขึ้นบ้าง ดับไปบ้าง เป็นของชั่วคราว

           มารู้เมื่อศีล 5 เราด่างพล้อยแล้ว เพราะยังมีใจอยากและก้าวลวง  และมีอนุสัยอื่นปรากฏขึ้นให้เห็นชัดเจน.
  
 แต่ความทะยานอยากก็ลดลง  

    ค่ะมีอนุนิสัยอื่นปรากฏชัดเจน ดับๆเกิดๆถูกรู้ถูกดู เกิดบ้างดับบ้าง
เกิดไปเรื่อยๆ
     ศิล 5 ควรบริสุทธิถูกต้องใหมคะ

ตอบโดย: ทองพร พันธุ์สุขวัฒนพันธ์ 02 ก.ย. 52 - 15:22


สวัสดีครับคุณ  ทองพร พันธุ์สุขวัฒนพันธ์

     ผู้เริ่มเข้าใจธรรมและเริ่มปรากฏสมาธิส่วนมาก ความทะยานอยากลดลง แล้วครับเป็นธรรมดาครับ

   จากคำถาม
อ้างอิง
   เมื่ออนุสัยปรากฏชัดถูกดูถูกรู้  ดับๆเกิดๆ เกิดบ้างดับบ้าง
เกิดไปเรื่อยๆ ศิล 5 ควรบริสุทธิถูกต้องใหมคะ


     ตอบ ครับ ศีล 5 ยังบริสุทธิ์  แต่ไม่ใช่เป็นการบ่งบอกว่าศีล 5 จะ บริสุทธิ์ตลอดไปนะครับ. เพราะอนุสัยยังฟุ่งขึ้นปรากฏให้เห็นชัดอยู่


 

ตอบโดย: Vicha 02 ก.ย. 52 - 15:36


ศีลห้า บริสุทธิ์ในภูมิของพระโสดาบัน
สำหรับภูมิของปุถุชน เผลอเมื่อไหร่ ก็ยังล่วงศีลได้อีก
ทำได้แค่ ตั้งใจรักษาศีล แล้วคอยระวังรักษาไว้

ถ้ายังเห็นได้ว่า "ความว่าง" ก็ เกิด/ดับ เป็นของชั่วคราว
โดยความเห็นส่วนตัว ผมถือว่ายังไม่ติดใน "ความว่าง"

สังเกตุนิดนึงนะครับ ความทะยานอยากที่ลดลง
เพราะ ความทะยานอยากเกิดขึ้น แล้วรู้ทันได้ไว
หรือเพราะ ดักคอยจ้องไว้ จนไม่เกิดความทะยานอยากขึ้นเลย
ถ้าเป็นแบบหลัง ก็เป็นเพ่ง เป็นประคอง ยังไม่ใช่รู้ตามจริง

ถ้ารู้ได้ตามจริง จะเห็นขนาดของ "ความทะยานอยาก" เล็กลงกว่าเดิม แต่มีความถี่ในการเห็น มากขึ้น

ถ้าเพ่งประคองไว้ จะเห็น "ความทะยานอยาก" ได้น้อยลง หรือ ไม่เห็นเลย

"ความทะยานอยาก"นี่ มันเต็มอยู่ทุกอณูของหัวจิตหัวใจเลยนะ

ผมก็เดาๆนะครับ ที่ปรุงว่างขึ้นมาให้เห็นบ่อยๆ อาจเพราะดักจ้อง ประคองไว้

เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์นะครับ

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 02 ก.ย. 52 - 15:54


  คุณวิชาครับ ผมอ่านตามมาเรื่อยๆ แต่ยังไม่เข้าใจอุปมานุสสติพอที่จะคุยด้วยได้

ขอคำอธิบายอีกครั้งได้ไหมครับ

(โดยส่วนตัว ตอนนี้ นึกถึงจิตที่ทรงสังขารุเบกขาญาณ อะไรผ่านมา ก็ผ่านไป สักว่ารู้สักว่าดู ครับ)

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 02 ก.ย. 52 - 16:00


คุณVicha    คูณบุญรักษ์
 
 ขออนุโมทนากับทุกคำตอบ   ok จะพยายามแยกดักประคองไว้ หัดรู้ได้ตามจริง
ดิฉันจะพยายามต่อไป
พยายามงดการเพ่ง  และะพยายามตามรู้ตามดูต่อไป
       
ที่ขาดไม่ได้

คงขออนุเคราะห์รบกวนคำชี้แนะจากท่านต่อไปด้วยค่ะ
[email protected]

ตอบโดย: ทองพร พันธุ์สุขวัฒนพันธ์ 02 ก.ย. 52 - 16:15


.....แหะๆๆ.....ผมชอบตอบในนี้.....เผื่อผมตอบผิด.....จะได้มีคนช่วยผม.....

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 02 ก.ย. 52 - 16:21


สวัสดีครับคุณบุญรักษ์

  จากพระอรรถกถา

***********************
          อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภความสงบ ชื่อว่า อุปสมานุสสติ คำว่า
อุปสมานุสสตินี้ เป็นชื่อของสติที่มีพระนิพพานอันเป็นที่เข้าไปสงบทุกข์ทั้ง
ปวงเป็นอารมณ์.
************************

************************
            อุปสมานุสตินี้  เป็นชื่อของสติมีการสงบทุกข์ทั้งปวง  เป็นอารมณ์.
************************

************************
             ท่านกล่าวถึงกสิณ  ๑๐  ด้วยสามารถแห่งอัปปนาสมาธิอันมีกสิณเป็นอารมณ์.  ท่านกล่าวพุทธานุสติเป็นต้น มรณสติและอุปสมานุสติ  ด้วยสามารถแห่งอุปจารฌาน.  ท่านกล่าวอานาปานสติ  และกายคตาสติ  ด้วยสามารถแห่งอัปปนาสมาธิ.  ท่านกล่าวอสุภะ  ๑๐  ด้วยสามารถแห่งปฐมฌาน.
*************************

*************************
            ผู้เจริญอุปสมานุสสติ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งอุปจารฌาน.
*************************


      จากพระอรรถกถานั้น อุปสมานุสสติ สุดที่ อุปจารฌาน ย่อมเป็นอารมณ์สมถะมากว่าเป็นวิปัสสนา

       ดังนั้นใน สังขารุเบกขาญาณ นั้นเป็นวิปัสสนาญาณ  จะจัดว่าเป็น อุปสมานุสติกรรมฐานก็ไม่ได้ครับ.

     และจากพระอรรถกถานั้น

        อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภความสงบ ชื่อว่า อุปสมานุสสติ

        ก็คือเป็นกรรมฐานที่มีสติระลึกถึงความสงบ การปล่อยวาง คลายความทุกข์ คลายความเพ่งการกดดันทั้งภายนอก หรือภายในอารมณ์หรือจิตเป็นสำคัญ ครับ
         เมื่อสมาธิบริบูรณ์ก็จะเข้าสู่อุปจารฌาน คือสงบจากทุกข์ หรือว่างจากทุกข์ หรือว่างจากอารมณ์เพื่อสงบจากทุกข์นั้นเอง.

           ดังนั้นปุถุชนก็ปฏิบัติจิตอย่างนั้นดำเนินไปได้

           ถ้าเป็นพระอริย ก็จะเป็นการเข้าผลสมาบัติ  คือทวนวิปัสสนาญาณอย่างอ่อนๆ จนถึงสังขารุเปกขาญาณอย่างอ่อน(เพราะผ่านมาแล้ว)แล้วเข้าสู่ผลสมาบัติ

ตอบโดย: Vicha 02 ก.ย. 52 - 16:21


  ท่านvicha  คะ
 
  การเกิด คาวมว่าง เราเจริญสมาธิ   อะไรๆก็ว่าง  ให้เราเพ่งศพได้ใหมคะ
    

ตอบโดย: ทองพร พันธุ์สุขวัฒนพันธ์ 02 ก.ย. 52 - 16:34


ไปเจอใน พระอภิธัมมัตถสังคหะ

http://www.abhidhamonline.org/aphi/p9/020.htm

๗. อุปสมานุสสติ

การระลึกถึงคุณของพระนิพพาน ที่มีสภาพเป็นสันติสุข สงบจากกิเลสทั้งหลาย และหมดสิ้นจากความทุกข์ทั้งปวง เป็นธรรมที่คลายความกำหนัด กำจัดความมัวเมา ดับความกระหาย คลายความอาลัย สิ้นตัณหา ตัดวัฏฏะ พ้นจากเครื่องร้อยรัด ดับสนิท พ้นจากการปรุงแต่ง

เมื่อระลึกถึงคุณของพระนิพพานอยู่เนือง ๆ จิตใจก็สงบ ไม่กระสับกระส่าย อย่างแน่นอน


ผมเข้าใจว่า เป็นการระลึกถึงคุณ ของ พระนิพพาน
ไม่ใช่การเอา พระนิพพาน เป็นอารมณ์สำหรับระลึกถึง

.....อืม.....ไม่รู้ว่าผมเข้าใจถูกไหม.....

 

ตอบโดย: บุญรักษ์ 02 ก.ย. 52 - 16:45


 สวัสดีครับคุณ ทองพร พันธุ์สุขวัฒนพันธ์

      อืม...   ก็ได้ครับ   เพราะอสุภะกรรมฐาน สามารถ ทำให้สมาธิเจริญขึ้น เป็น ปฐมฌานได้เต็มบริบูรณ์

      แต่ที่คุณ ทองพร พันธุ์สุขวัฒนพันธ์ ปฏิบัติอยู่เป็นอานาปานสติ ไม่ใช่หรือครับ. ถ้าจะให้เป็นอานาปานสติ ก็ควรจะกลับไป ตั้งสติรู้ลมหายใจ แล้วพัฒนาให้สมบูรณ์ทั้ง 16 จาตุกะ

       แต่ถ้าจะทดลองดูก็ไม่น่าจะมีปัญหาครับ

        กายคตาสติ มรณานุสสติ กับอานาปานสติ ใช้ผสมประสานกันได้ครับ แต่ถ้าเป็นมรณานุสสติ กำลังสมาธิน่าจะไม่เจริญสูงกว่านี้.

       อสุภะ ก็ อสุภะ ลองดู เผื่อสมาธิเจริญสูงกว่านี้ครับ แล้วก็ค่อยกลับมาเจริญ กายคตาสติ กับ อานาปานสติ ต่อได้อีก เพราะไม่เป็นกรรมฐานที่ขัดอารมณ์กัน.
 

ตอบโดย: Vicha 02 ก.ย. 52 - 16:47


สวัสดีครับคุณบุญรักษ์

อ้างอิง
ผมเข้าใจว่า เป็นการระลึกถึงคุณ ของ พระนิพพาน
ไม่ใช่การเอา พระนิพพาน เป็นอารมณ์สำหรับระลึกถึง

.....อืม.....ไม่รู้ว่าผมเข้าใจถูกไหม.....


  ผมว่าคุณบุญรักษ์ เข้าใจถูกต้องแล้วครับ.

 

ตอบโดย: Vicha 02 ก.ย. 52 - 16:49


ขออนุญาตขอโอกาสนะครับ

คุณทองพรครับ ขออนุญาตแนะนำให้คุณลองไปขอคำแนะนำจากหลวงพ่อปราโมทย์ครับ (ท่านเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ จนทำให้คนกลุ่มหนึ่งสร้างเวปลานธรรมนี้ เพื่อเชิญท่านมาตอบปัญหาธรรม ในตอนนั้นที่ท่านยังไม่ได้บวชครับ แต่ตอนนี้ท่านบวชแล้ว)

การติดว่างของคุณทองพรเท่าที่ผมเข้าใจจากการอ่าน น่าจะแก้ไขได้ไม่ยาก แต่หากไม่แก้ไข ปล่อยให้ติดไปอีกสิบปียี่สิบปี ถึงเวลานั้นอาจจะแก้ไขไม่ได้เสียแล้ว

ผมเองเคยฟังคำแนะนำเรื่องวิธีแก้การติดว่างติดเฉยจากหลวงพ่อท่านมาแล้วหลายครั้ง พอจะเล่าให้ฟังได้ แต่คิดว่าที่ดีที่สุดคุณทองพรน่าจะไปให้ท่านแนะนำโดยตรงเลยจะดีกว่า

ลองดูกำหนดการเทศน์ ณ ที่ต่างๆ ของท่านจากเวปนี้ครับ http://wimutti.net โดยที่ใกล้ที่สุดที่ผมทราบ คือวันที่ 6 กันยายนนี้ ที่เสถียรธรรมสถาน หรือจะลองดูจากปฏิทินก็ได้ครับ http://wimutti.net/calendar.php

ขอให้เจริญในธรรมนะครับ _/\_

ตอบโดย: จุ๊ 02 ก.ย. 52 - 23:05


อ้างอิง (ณวบุตร @ 02 ก.ย. 52 - 14:08)
สวัสดีครับทุกท่าน ยังไม่มีอะไรมารายงานเพิ่มเติมครับ แต่มีเวบธรรมะน่าสนใจมาให้ลองเข้าไปอ่านดูครับ เป็นเวบปฏิจจสมุปบาท http://www.nkgen.com ที่อธิบายได้ดีเยี่ยมเลยครับ

ขอทุกท่านเจริญในธรรม
(ณวบุตร @ 02 ก.ย. 52 - 14:08)

คุณ ณวบุตร เวปนี้ผมอ่านประจำเลยครับ ช่วยผมได้มากเลยทีเดียว แก้ข้อสงสัยผมได้เยอะสุด ๆ เลยครับ  

ตอบโดย: น้องบู 03 ก.ย. 52 - 09:36


เห็นด้วยครับ เว็บ http://www.nkgen.com/ ดีจริงๆ  

ตอบโดย: วสวัตตี 03 ก.ย. 52 - 09:40


ดิฉันไม่มีความรู้เรื่องศัพท์ยากๆในทางธรรมมากมาย แต่รู้ว่าเมื่อได้พยายามปฏิบัติศีล ๕ ไม่ให้บกพร่องหรือพร่องน้อยที่สุดแล้ว ความอยากหรือกิเลส มันลดน้อยลงได้เอง โดยที่ยังไม่ต้องนั่งสมาธิเลย หรือแม้กระทั่งยังไม่ค่อยมีสติรู้กายรู้ใจด้วยซ้ำ
รออ่านต่อเรื่องคุณวิชาค่ะ  
 

ตอบโดย: Vicky 03 ก.ย. 52 - 10:43


สวัสดีครับคุณ Vicky

อ้างอิง
ความคิดเห็นที่ 85 : (Vicky) แจ้งลบ | อ้างอิง |


ดิฉันไม่มีความรู้เรื่องศัพท์ยากๆในทางธรรมมากมาย แต่รู้ว่าเมื่อได้พยายามปฏิบัติศีล ๕ ไม่ให้บกพร่องหรือพร่องน้อยที่สุดแล้ว ความอยากหรือกิเลส มันลดน้อยลงได้เอง โดยที่ยังไม่ต้องนั่งสมาธิเลย หรือแม้กระทั่งยังไม่ค่อยมีสติรู้กายรู้ใจด้วยซ้ำ
รออ่านต่อเรื่องคุณวิชาค่ะ 


   นั้นแหละครับเป็นสมาธิโดยเป็นธรรมชาติที่ดี  เพราะได้เจริญ สีลานุสสติ

    การรักษาระวังในศีล การไม่ให้ก้าวล่วงไปจากศีล การระลึกถึงศีลแห่งตน หรือการระลึกคุณของศีล  เมื่อมีสติหรือดำริอยู่ในศีล ก็เป็นการเจริญ สีลานุสสติ ครับ

    อนิสงค์ก็ย่อมปรากฏเมื่ออยู่ในศีลอย่างดีขึ้น  คือกิเลสหรือความอยากที่ล่วงเลยผิดไปจากศีลก็จะลดลง.

     ผมเพียงถือศีล 8 ในวันพระ คุณประโยชน์อย่างหนึ่ง ปรากฏขึ้นคือ จากที่เคยมี คลอเล็ตเตอรอน สูงถึง สามร้อยกว่า จนต้องทานยาเป็นประจำประมาณ 2 ปี
     (ตอนเป็นใหม่ๆ พอสั้นหัวแรง โลกนี้หมุนเลย พอจะล้มตัวลงนอนก่อนหัวถึงหมอนโลกนี้หมุนเลยครับ เมื่อตื่นขึ้นมา พอยกหัวขึ้นจากหมอนโลกนี้หมุนเลยครับ ต้องมีสติควบคุมการเคลื่อนไหวของหัวตนเอง ในขณะที่ล้มตัวลงนอน ในขณะที่ตืนขึ้นยกหัวขึ้นจากหมอน ก็มีผู้บอกแล้วว่าถือศีล 8 ชี ก็จะหาย ผมก็ไม่สนใจ เพียงรักษาสติไม่ให้หัวเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว อยู่หลายวัน แล้วจึงไปหาหมอ คอลเล็ตเตอรอนประมาณ 360-380 จึงคุมอาการด้วยการกินยาติดต่อมาตลอด)

     แต่เมื่อมีเหตุให้ถือศีล 8 ในวันพระ คลอเร็ตเตอรอน ลดลงประมาณ 200 ไม่ต้องกินยาตัวนี้แล้ว เป็นเวลาน่าจะเป็นปีแล้วครับ ตรวจเลือดล้าสุดหลังจากวันที่ออกจากศีล 8 เมื่อสองอาทิตย์ที่ผ่านมา แค่ 180 เองครับ  ไม่ต้องกินยาลดคลอเร็ตเตอรอน อีกเลยครับ.
   

ตอบโดย: Vicha 03 ก.ย. 52 - 14:07


  สวัสดีวันใหม่คะทุกท่าน  อนุโมทนาในทุกคำชี่แนะ ดีมากๆค่ะ

              ขอบคุณคะท่านจุ๊     ที่กรุณาแผนที่เมื่อวาน
    
                ดิฉันคงไปไม่ได้ต้องทำงานประจำ  แต่มีความคิดว่า อยากสนทนาปัญหากับหลาวงพ่อจัง เพื่อไขข้อข้องใจ  และการเจริญในธรรมยี่งๆขึ้น

               กะว่า ช่วงปลายเดือน กันยายน อาจจะไปกราบนมัสการท่าน ที่ ศีราชา

               ท่านใดพอจะมี โทร.ติดต่อจองเข้าพัก ถือศิล  8  และนมัสการหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช กรุณาบอกบุญด้วยค่ะ

ตอบโดย: ทองพร พันธุ์สุขวัฒนพันธ์ 03 ก.ย. 52 - 16:00


อ้างอิง (Vicha @ 03 ก.ย. 52 - 14:07)
แต่เมื่อมีเหตุให้ถือศีล 8 ในวันพระ คลอเร็ตเตอรอน ลดลงประมาณ 200 ไม่ต้องกินยาตัวนี้แล้ว เป็นเวลาน่าจะเป็นปีแล้วครับ ตรวจเลือดล้าสุดหลังจากวันที่ออกจากศีล 8 เมื่อสองอาทิตย์ที่ผ่านมา แค่ 180 เองครับ  ไม่ต้องกินยาลดคลอเร็ตเตอรอน อีกเลยครับ.
(Vicha @ 03 ก.ย. 52 - 14:07)

มหัศจรรย์จริงๆ จะจำไปเผื่อต้องใช้ในอนาคตค่ะ ตอนนี้อาจจะยังไม่ค่อยสะดวกเรื่องการถือศีล ๘ ก็ขอถือศีล ๕ ให้ได้จริงจังก่อนค่ะ

ยังรออ่านตอนต่อไปจากคุณวิชาอยู่ค่ะ
 

ตอบโดย: Vicky 04 ก.ย. 52 - 10:59


สวัสดีครับทุกท่าน
 
 เป็นอันว่า

    "ตอน นิพพานชั่วคราว หรือทำจิตให้ว่างไม่ใช่เรื่องยาก แต่เป็นกรรมฐานอะไร?"

  ที่ผมได้ตั้งไว้ ผมก็ได้คำตอบแล้วว่า  เป็น อุปสมานุสสติกรรมฐาน นั้นเอง

  ความจริงแล้วผมคิดหยุดกระทู้ไว้ และอาจจะจบเพียงแค่นี้ แล้วไปสนทนาในพันทิพ เรื่องกรรม วิบากแห่งกรรม ที่ยังไม่ชัดแจ้งกันอยู่ ตามหัวกระทู้นี้ในพันทิพ เรียงไปตามลำดับ.


         http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y8267153/Y8267153.html

         http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y8272380/Y8272380.html

         http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y8279737/Y8279737.html


    จนเห็นว่าสมควรแล้วในระดับหนึ่ง จึงกลับมาดูกระทู้นี้อีกครั้งหนึ่ง ว่าจะควรยุติกระทู้นี้เพียงแค่นี้หรือจะสานต่อ เพราะถ้ากล่าวต่อไปก็จะกลายเป็นเกินไปจากทั่วๆ ไป.

    จากข้อความที่ผมได้แสดงไปแล้วดังนี้

อ้างอิง
ความคิดเห็นที่ 49 : (Vicha) แจ้งลบ | อ้างอิง |


สวัสดีครับ คุณณวบุตร และทุกท่าน

   ครับเป็นอันว่าผมได้ขมวดเข้าสู่  อุปจารฌาน  ที่ทรงอยู่ตามกำลังของสมาธิ ในส่วนของ มรณานุสติกรรมฐานให้ทราบกันแล้วนะครับ

    ต่อไปผมจะเล่าผลการปฏิบัติต่อนะครับ เพราะผมไม่เคยทอดทิ้งหรือทอดธุระในการปฏิบัติธรรมเลยตลอดมา

     ประมาณปี 2540 - 41 ผมก็สนใจเรื่อง จิตว่าง ความว่าง  ตามที่ได้ยินมาจากท่านพุทธทาส จึงภาวนาเพื่อจิตว่าง โดยนึกถึงอนัตตา เป็นหลัก จึงได้คำภาวนาเพื่อเจริญสติว่า "ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ๆ", "ปล่อยวาง ๆ", "สักแต่รู้ ๆ",  "ว่าง ๆ หรือ ว่างหนอๆ" ตามสภาวะความรู้สึกกับใจที่ควรเหมาะกับคำภาวนา ตามคำบริกรรม ที่ปรากฏ ให้เหมาะสม

     (เป็นทริก เฉพาะตัวว่า เวทนาใด หรือความรู้ในขณะนั้นควรใช้บริกรรมใด อย่างมีสติและปล่อยวางลงได้) .

      ก็เข้าสู่การไม่สนใจหลับนอนกับภรรยาอีกแล้วครับ แต่ไม่หนักเหมื่อนครั้งในความเห็นก่อน เพียรปฏิบัติอยู่เนืองๆ  ก็เกิดสภาวะธรรมอย่างนี้ขึ้นมา

    กำหนดภาวนาไป  ปล่อยวางความรู้สึกไปเรื่อยๆ แต่มีสติในการภาวนาดีนะครับ ความรู้สึกก็น้อยลงๆ (หาได้สนใจรับรู้ทางร่างกายและภายนอกแล้ว)แล้วทิ้งการรับรู้ทั้งหมด

    เกิดเป็นสภาวะธรรม ที่ว่างแต่สว่างใส สงบ เป็นเองอยู่อย่างนั้นพักหนึ่ง

    แล้วค่อยถอยออกมารับความรู้สึก และรู้สึกตัวปกติ  ก็ยินดีว่าเราได้ปฏิบัติให้เกิดถึงคำว่า จิตว่าง  แล้ว

    เป็นเวลา ประมาณ 10 กว่าปีแล้ว ผมไม่ทราบว่า
     1. สภาวะธรรมว่าง ตามหัวกระทู้ ที่อธิบายไปแล้ว
     2. สภาวะธรรม ไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์ จากการกำหนดภาวนาความตาย
     3. สภาวะธรรม ว่างสว่างสดใสสงบ ดังในความคิดเห็นนี้.

     หมายเหตุ การกำหนดภาวนา ยินหนอๆ จนวูบดับไปแล้วขึ้นมาพร้อมทั้งมีปัญญาแจ้งชัดในอนัตตา นั้นทราบดี


      ซึ่งใน สภาวะธรรม ข้อที่ 1 และข้อที่ 2. ผมได้เขียนอธิบาย ไปหมดแล้วในความคิดเห็นด้านบนที่ผ่านมานั้น.

      ส่วนใน สภาวะธรรม ข้อที่ 3. ผมยังไม่ได้บอกว่าเป็นอะไร และผลเป็นอย่างไร

      ถ้าเล่าไปก็จะเป็นเรื่องที่เกินไปจากเรื่องทั่วๆ ไป.

      แต่ถ้าไม่เล่าก็เสมือนขาดไป ไม่เชื่อมต่อกับเรื่องที่ผมได้เขียนไปแล้วในส่วนต่างๆ ในอดีต เช่น เรื่อง "ทิพย์จักขุอุปาทายนัง" หรือ "ญาณรู้"  ที่พระอาจารย์ได้สอนไว้ เพียงแค่เกิดจากสมาธิระดับไม่สูงนักเช่น อุปจารสมาธิ หรือ ปฐมฌาน ก็สามารถฝึกหรือพัฒนนาให้เกิดได้ แต่หาได้ปรากฏชัดเจน ต้องฉลาดในนิมิตและญาณที่ปรากฏ เพื่อตีความอยู่

      ซึ่งต่างจากผลของสภาวะธรรมข้อที่ 3 นั้นอยู่มาก ที่เดียว.
       

ตอบโดย: Vicha 07 ก.ย. 52 - 12:00


     

ตอบโดย: ณวบุตร 07 ก.ย. 52 - 14:12


สวัสดีครับทุกท่าน...

      ก็จะเขียนต่อไปอีกหน่อย เพื่อชี้ให้เห็นถึงการพัฒณาการ ตามลำดับเมื่อ มีใจปฏิบัติธรรมโดยไม่หยุดยั่ง มีจิตใจอยู่กับธรรมการปฏิบัติแล้วปฏิบัติอยู่เนืองๆ

    เมื่อผมปฏิบัติตามที่กล่าวแล้วถึงดังนี้

   ประมาณปี 2540 - 41 ผมก็สนใจเรื่อง จิตว่าง ความว่าง  ตามที่ได้ยินมาจากท่านพุทธทาส จึงภาวนาเพื่อจิตว่าง โดยนึกถึงอนัตตา เป็นหลัก จึงได้คำภาวนาเพื่อเจริญสติว่า "ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ๆ", "ปล่อยวาง ๆ", "สักแต่รู้ ๆ",  "ว่าง ๆ หรือ ว่างหนอๆ" ตามสภาวะความรู้สึกกับใจที่ควรเหมาะกับคำภาวนา ตามคำบริกรรม ที่ปรากฏ ให้เหมาะสม

     (เป็นทริก เฉพาะตัวว่า เวทนาใด หรือความรู้ในขณะนั้นควรใช้บริกรรมใด อย่างมีสติและปล่อยวางลงได้) .

      ก็เข้าสู่การไม่สนใจหลับนอนกับภรรยาอีกแล้วครับ แต่ไม่หนักเหมื่อนครั้งในความเห็นก่อน เพียรปฏิบัติอยู่เนืองๆ  ก็เกิดสภาวะธรรมอย่างนี้ขึ้นมา

    กำหนดภาวนาไป  ปล่อยวางความรู้สึกไปเรื่อยๆ แต่มีสติในการภาวนาดีนะครับ ความรู้สึกก็น้อยลงๆ (หาได้สนใจรับรู้ทางร่างกายและภายนอกแล้ว)แล้วทิ้งการรับรู้ทั้งหมด

    เกิดเป็นสภาวะธรรม ที่ว่างแต่สว่างใส สงบ เป็นเองอยู่อย่างนั้นพักหนึ่ง

    แล้วค่อยถอยออกมารับความรู้สึก และรู้สึกตัวปกติ  ก็ยินดีว่าเราได้ปฏิบัติให้เกิดถึงคำว่า จิตว่าง  แล้ว


    ก็มีความยินดีสภาวะธรรมนี้อยู่พักหนึ่ง เพราะสงบ ว่าง คลายความยึดมั่นและถือมั่น  หลังจากผมก็ไม่ได้สนใจ สนใจเพียงแต่กำหนดภาวนาอยู่เนืองๆ

    ก็สามารถวางใจให้สงบว่างๆ ลงได้ง่าย เมื่อนั่งกำหนดกรรมฐานก็สามารถกำหนดภาวนาจนปล่อยวาง ว่างๆ นิ่งๆ อยู่ได้ แล้วค่อยถอนออกมาจากสภาวะ ว่างๆ มารู้สึกนึกคิดได้อย่างมีสติปกติสมบูรณ์ (ยังไม่ได้ถอนมารับรู้ร่างกาย) ไม่ใช่การหลับแล้วฝัน. แล้วถอนออกมารับรู้ร่างกายในภายหลัง เป็นอย่างนี้อยู่บ่อยๆ

     หลังจากนั้นจะเรียกว่า ญาณทัสนะ หรือ ญาณอะไรก็ได้ บังเกิดขึ้น โดยที่ไม่ได้มีเจตนาไปดูไปรู้ทั้งแต่ต้นเหมือนกับ การใช้ ทิพย์จักขุอุปทายนัง คือรู้ขึ้นมาเองเมื่ออยู่ในสภาวะนั้น บอกให้ทราบโดยที่ไม่ต้องแปรหรือฉลาดในนิมิตมากนัก.

     ผมก็ยกตัวอย่างมา 2 เรื่องนะครับ(มีเยอะเรื่อง) เปรียบเทียบระหว่าง "ทิพย์จักขุอุปทายนัง" กับ "ญาณทัสสนะ" ที่เกิดขึ้น ถึงความแตกต่างกัน

     เรื่องที่ 1.การใช้ทิพย์จักขุอุปาทยนัง
          เพื่อนคนหนึ่งอยากบวชมากๆ  คุยเคลียร์กับทั้งพ่อแม่และญาติเรียบร้อยแล้ว หาวัดได้แล้ว กะว่าจะบวชในอีก 1 เดือนข้างหน้า แล้วโทรมหาผม
      ผมก็อืมน่าจะบวชจริงๆ เพราะเกือบพร้อมแล้ว  จึงได้บอกภรรยา แต่ภรรยาบอกว่าไม่น่าจะได้นะ
       จึงตัดสินใจใช้ ทิพย์จักขุอุปทายนัง ผมกับภรรยาต่างคนต่างดู แล้วมาสรุป ออกมาดูสิว่าตรงกันหรือเปล่า?

        เมื่อผมดูแล้วสรุปว่า ไม่ได้บวช  และภรรยาดูแล้วก็สรุปว่าไม่ได้บวช เช่นกัน หลังจากนั้นผมก็โทร.ไปหาเพื่อนว่า ผมและภรรยาได้ใช้ทิพย์จักขุอุปทายนัง ดูให้แล้วนะเรื่องบวช  สรุปออกมาตรงกัน แต่ยังไม่บอกว่าเป็นอย่างไร แต่จะบอกหลังจากถึงเวลาบวชนั้นไปแล้ว.
        เพื่อนก็คะยันคะยอผมก็ไม่บอก....
        จนวันเวลาครบใกล้จะบวช แต่ไม่มีวีแววจากเพื่อนผมก็รู้ว่าคงไม่ได้บวช เพราะถ้าบวชเพื่อนคงโทรมาให้เตรียมตัวแล้ว จนวันหนึ่งเขาได้โทร.มาหาแล้วถามผมแบบคยันคะยอว่า "ถามจริงๆ เถอะ ที่ดูนั้นผลออกมาอย่างไร?"
       ผมก็บอกว่า "ให้ถึงวันบวชก่อน จะบอก"
       เพื่อนพูดว่า "บอกมาเถอะน่า"
       ผมก็บอกว่า "เราทั้งสอง ดูแล้วตรงกันคือ นายไม่ได้บวช"
       เพื่อนก็พูดว่า "อือ. ยังไม่พร้อมที่จะบวช ตอนนี้"

      และปัจจุบันตอนนี้เพื่อนคนนี้ก็ยังไม่ได้บวช.

     เรื่องที่ 2. ญาณที่ปรากฏให้ทราบเองเมื่อปริวิตกขึ้นมาเองในระดับสมาธิ ดังข้างบน โดยไม่ต้องมีเจตนาต้องการดูมาก่อน.
         เพื่อนคนหนึ่งได้บวชไปแล้ว 1 ครั้ง ตามประเภนีนิยม หลังจากนั้น 3 ปี ค้าขายเก็บเงินได้หลายแสนแล้วแต่ยังไม่มีครอบครัว เพื่อนคนนี้ก็อยากบวชอีก แต่ผมไม่สามารถไปงานบวชเพื่อนได้เพราะอยู่ไกลกันมากและลูกก็ยังเล็ก.
         ผมก็นั่งกำหนดกรรมฐานทุกคืนตามปกติ คืนหนึ่งขณะที่อยู่ในความว่างเสมือนไม่รู้สึกอะไรแล้วในสภาวะธรรมนั้น แล้วถอนออกมารู้สึกนึกคิดคำนึงไปเองว่า "เพื่อนเราบวชได้นานไหม?" (ขณะนั้นไม่รู้สึกทางร่างกาย หรือสิ่งกระทบภายนอก)
         แล้งก็ทิ้งความนึกคิดนั้นไปอยู่ในสภาวะกึ่งไม่รู้สึกอะไรเหมือนโดนบล็อกไม่มีความนึกคิดขึ้นได้เลย แล้วปรากฏเป็นนิมิตขึ้นเหมือนมโนภาพเห็นจีวรพระสงค์ที่ยืนอยู่ พร้อมกับญาณหรืออะไรก็กล่าวไม่ได้ แต่ไม่ได้เกิดจากเจตนาความนึกคิดของตนเอง กล่าวขึ้นมาว่า

         " (ชื่อเพื่อน) เขาถือพรหมจรรย์มาตลอด และถือพรหมจรรย์ได้ต่อไป"

         หลังจากนั้นคลายจากสภาวะนั้น ก็เป็นที่รู้ว่า เพื่อนคนนี้คงบวชไปตลอดชีวิตได้แน่
 
         ปัจจุบันนี้ก็ 10 ปีกว่าแล้ว เพื่อนก็ยังบวชเป็นพระอยู่ เป็นสภาวะที่ยังยืนยัน ญาณทัสนะนั้นอยู่จนถึงปัจจุบัน.

         และสภาวะญาณอย่างนั้นก็เกิดกับผมอีกหลายครั้ง ที่เกิดขึ้นเองในการเกิดปริวิตกในสมาธิลึกๆ ขึ้นมาโดยไม่จงใจตั้งแต่ต้น
          ต่างกับ ทิพย์จักขุอุปทายนัง ที่ต้องมีเจตนาดูสิ่งเหล่านั้นอธิษฐานตั้งแต่เริ่ม จนเกิดนิมิตหรือญาณรู้ขึ้นมา ในระดับที่ไม่ได้ทิ้งไปจากความรู้สึกนึกคิดอย่างหมดสิ้นก็ได้.

          สรุป เป็นการเอาบุคคลคือตัวผมเองยืนยันว่า ญาณเหล่านั้นปรากฏเป็นจริงได้ แต่ไม่ควรยึดมั่นและถือมั่นจนมากไป เพราะเกิดขึ้นจากการพัฒนาสติสมาธิและปัญญาเจริญขึ้นตามลำดับเท่านั้น และไม่ก่อประโยชน์อะไรมากกับชีวิตของการดำเนินชีวิตไปตามปกติตามสภาพแห่งความเป็นจริงของวิชาการในโลกปัจจุบันนี้.

      แต่เรื่องที่ปรากฏในสังคมที่สร้างรายได้กันนั้นผมไม่ไปยุ่งเกี่ยวนะครับ เพราะ อุปาทานก็ได้ หลงก็ได้ ฯลฯ นะครับ ผมจึงไม่ไปยุ่งเกี่ยวหรือส่งเสริม แค่ผมคิดว่าจะทำเพื่อสร้างหรือหารายได้ก็กระดากใจเสียแล้วครับสำหรับผม
      แต่บุคคลเหล่านั้นอาจจะมีสภาวะหรือความจำเป็นที่ต้องทำแบบนั้นก็ได้ตามกรรมและวิบากกรรมในชีวิตของตน.
 

ตอบโดย: Vicha 08 ก.ย. 52 - 16:19


อ้างอิง
จึงตัดสินใจใช้ ทิพย์จักขุอุปทายนัง ผมกับภรรยาต่างคนต่างดู แล้วมาสรุป ออกมาดูสิว่าตรงกันหรือเปล่า?


พี่พออธิบาย ขั้นตอนของการใช้ ตามลำดับ โดยละเอียดได้ไหมครับ



อ้างอิง
แล้งก็ทิ้งความนึกคิดนั้นไปอยู่ในสภาวะกึ่งไม่รู้สึกอะไรเหมือนโดนบล็อกไม่มีความนึกคิดขึ้นได้เลย


จากความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่าตรงนี้ คือ ตอนที่จิตรวมกำลังครับ  จะรู้สึกเหมือนถูกตรึงไว้กับฐานจิตที่คุ้นเคย แต่ไม่อึดอัด และมีสภาพแจ่มชัดอย่างยิ่ง


อ้างอิง
และสภาวะญาณอย่างนั้นก็เกิดกับผมอีกหลายครั้ง ที่เกิดขึ้นเองในการเกิดปริวิตกในสมาธิลึกๆ ขึ้นมาโดยไม่จงใจตั้งแต่ต้น


เรียนถามพี่ Vicha อาการรู้อย่างนี้ จะเหมือนกับ อยู่ ๆ ก็รู้ขึ้นมาโดยฉับพลัน เสมือมระลึกได้  อาจจะเป็นนิมิตที่ปรากฏขึ้นขณะลืมตาเพียงชั่วขณะ หรือ จะเป็นเพียงเสียงเตือนหรือคำพูดที่ระลึกออกมาแบบฉับพลัน   ใช่หรือไม่ครับ

อ้างอิง
จึงได้คำภาวนาเพื่อเจริญสติว่า "ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ๆ", "ปล่อยวาง ๆ", "สักแต่รู้ ๆ",  "ว่าง ๆ หรือ ว่างหนอๆ" ตามสภาวะความรู้สึกกับใจที่ควรเหมาะกับคำภาวนา ตามคำบริกรรม ที่ปรากฏ ให้เหมาะสม


วิธีการนี้ ในเชิงจิตวิทยาถือว่าเป็นการสะกดจิตตัวเองอย่างหนึ่ง  ซึ่งผมเคยนำมาใช้ประยุกต์ในการนั่งสมาธิ ตอนสมัยยังเด็กด้วยครับ   ได้ผลรวดเร็วดี  แต่ถ้าจิตขาดความเข้าใจในคำนั้น ๆ  โดยแยบคาย   ก็อาจจะทำให้เกิดความหลงผิด หรือ ยึดถือในคำที่ตนภาวนาได้ครับ



พี่ Vicha บันทึก การปฏิบัติไว้ด้วย  มีประโยชน์มากทีเดียว เวลาย้อนมาดูครับ  สาธุครับ


 

ตอบโดย: น้องบู 08 ก.ย. 52 - 17:10


  น่าสนใจ....การทดลอง...ผลปฏิบัติ.....ตาม อ่านครับ ............  

ตอบโดย: Empty 09 ก.ย. 52 - 10:34


สวัสดีครับน้องบู.

     ดีครับที่ได้สนทนาสอบถาม...  ผมก็จะได้ตอบในสิ่งที่ละเอียดขึ้นได้ครับ.

  "ขอแก้" คำภาวนาที่ออกมาอย่างชัดเจน เป็นดังนี้  "ทิพพะจังขุงอุปะทายะนัง" นะครับ

 จากคำถามข้อความนี้
อ้างอิง
อ้างอิง
จึงตัดสินใจใช้ ทิพพะจักขุงอุปทายนัง ผมกับภรรยาต่างคนต่างดู แล้วมาสรุป ออกมาดูสิว่าตรงกันหรือเปล่า?


พี่พออธิบาย ขั้นตอนของการใช้ ตามลำดับ โดยละเอียดได้ไหมครับ


  ตอบ ตรงส่วนนี้ผมได้ เขียนพิมพ์ไว้แล้วครับ ผมจะสรุป ย่อนะครับ.
         1.ตามประสบการณ์เราทั้ง 3 คน (เพื่อนอีกหนึ่งคน) ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจนวิปัสสนาญาณเบื้องสูงวนเวียนอยู่รอบแล้วรอบเล่า.
         2.เมื่อพระอาจารย์ รู้อยู่เห็นอยู่ และด้วยเหตุที่มีผู้บอกว่าเห็นวิญญญาณ(ผี) แล้ววาดรูปให้พระอาจารย์ดู ท่านจึงเอาเรื่องนี้เป็นเหตุ เอาภาพนั้นให้พวกเราดู แล้วถามว่าคิดเป็นอย่างไรกับภาพนั้น. พวกเราก็บอกไปตามความคิดที่เห็นภาพนั้น หลังจากนั้นพระอาจารย์ก็พูดทำนองว่า
      "เอาแหละ อาจาย์เห็นพวกเธอทำกรรมฐานกันมานานแล้ว วิปัสสนาญาณวนเวียนอยู่ เกือบแหล่มิเกือบแหล่ มานานหลายครั้งแล้ว และวิปัสสนาล้วนๆ นั้นก็แห้งแล้งเกินไป อาจารย์จะสอนให้พวกเธอ ใช้ "ทิพพะจักขุงอุปาทายนัง"   เพราะพื้นฐานสมาธิของพวกเธอพอใช้ได้แล้ว"
       หลังจากนั้นพระอาจารย์ก็สอนพวกผม 3 คน แล้วมาเปรียบเทียบวิเคราะห์กัน.

      จากข้อ 1 และ ข้อ 2  ดังนั้นสรุปตรงส่วนนี้ พื้นฐาน เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ของการใช้ "ทิพย์จักขุงอุปาทายนัง"
    
       ส่วนวิธีดูนั้น ไม่ใช่เรื่องยากเลย เป็นเรื่องพื้นๆ  คือ เมื่อประสงค์จะดูสิ่งใดวางใจให้สงบ ก็อธิษฐานจิตเพื่อต้องการรู้ แล้ว ภาวนาคำว่า "ทิพพจักขุงอุปาทายนัง" ๆ ๆ จนสมาธิดำเนินไปเอง จนเกิดนิมิตหรือญาณรู้ขึ้นมา แต่หาได้ชัดแจ่วหรือชัดเจนมากจะมีความเรือนลางอยู่.

        เมื่อนิมิตบังเกิดหรือญาณรู้ปรากฏ ก็ต้องฉลาดหรือมีปัญญาในนิมิตและญาณรู้นั้น จึงจะแม่นย้ำ เพราะนิมิตที่เกิดกับ 3 คน นั้นหาได้เหมือนกัน แต่สรุปแล้วได้คำตอบอย่างเดียวหรือใกล้เคียงกัน.

       สรุป หลักนั้นไม่ยาก แต่พื้นฐานของสมาธินั้นสำคัญเป็นอย่างมาก และต้องบวกกับฉลาดหรือมีปัญญาในนิมิตนั้นอีกชั้นหนึ่ง จึงกลายเป็นเรื่องเฉพาะสำหรับบุคคลไปเสีย.

จากข้อความนี้ของน้องบู

อ้างอิง
อ้างอิง
แล้งก็ทิ้งความนึกคิดนั้นไปอยู่ในสภาวะกึ่งไม่รู้สึกอะไรเหมือนโดนบล็อกไม่มีความนึกคิดขึ้นได้เลย


จากความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่าตรงนี้ คือ ตอนที่จิตรวมกำลังครับ  จะรู้สึกเหมือนถูกตรึงไว้กับฐานจิตที่คุ้นเคย แต่ไม่อึดอัด และมีสภาพแจ่มชัดอย่างยิ่ง


 ตอบ ก็คงคล้ายกับที่น้องบูเข้าใจ  ถ้าให้ผมอธิบายเป็นลำดับอย่างนี้
        1.เมื่อเข้าไปอยู่ในสมาธิเต็มกำลัง  ว่างเสมือนไม่มีอะไร.
        2.เคลือนออกมาจากสภาวะธรรมนั้น รู้สึกนึกคิดได้ ยังอยู่ในสมาธิลึก ที่ไม่รับรู้ร่างกายและภายนอก.
        3.เกิดนึกถึงเรื่องที่วิตกประสงค์จะทราบ
        4.สมาธิก็จะดำเนินไปเองอีกระดับหนึ่ง แต่ไม่ใช่เหมือนดังข้อที่ 1.เป็นสภาวะที่ปราศจากความนึกคิด หรือรู้สึกนึกคิดได้ แล้วนิมิตและญาณนั้นปรากฏ อย่างชัดเจน จนไม่ต้องตีความอย่างใด ตรงไปตรงมา.
 
       หมายเหตุ ในที่สุดเกิดตามนั้นจริง  แต่ในระหว่างผลสุดท้ายนั้นยังไม่ปรากฏ ก็จะมีปัญหาเอาไปวิตก เอาไปวิจารย์ กันให้เกิดทุกข์เกิดสงสัยรังเลจนสับสนกันได้. ดังนั้นจึงไม่ควรยึดมั่นและถือมั่น เป็นการดำรงตนอยู่อย่างสงบและเป็นปกติสุข เป็นดีที่สุด.

    ส่วนคำถามต่อไปเป็นเรื่องที่ ละเอียด ยกเป็นความคิดเห็นต่อไป.

ตอบโดย: Vicha 09 ก.ย. 52 - 10:39


สวัสดีครับคุณ Empty  ที่ติดตาม

    ก็เพราะผมเรียนมาทางวิทยาศาสตร์ และเลี้ยงชีพก็ด้วยวิชาทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นสภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้น ผมจึงเห็นไปในเชิงเป็นข้อมูลพื้นฐาน ที่ศึกษาวิเคราะห์ได้ โดยไม่ไปติดอยู่ที่ความมหัศจรรย์ หรือวิเศษวิโสไปเสียก่อนครับ.

 และจากข้อความของน้องบู ในความคิดเห็นที่ 92

อ้างอิง
อ้างอิง
และสภาวะญาณอย่างนั้นก็เกิดกับผมอีกหลายครั้ง ที่เกิดขึ้นเองในการเกิดปริวิตกในสมาธิลึกๆ ขึ้นมาโดยไม่จงใจตั้งแต่ต้น


เรียนถามพี่ Vicha อาการรู้อย่างนี้ จะเหมือนกับ อยู่ ๆ ก็รู้ขึ้นมาโดยฉับพลัน เสมือมระลึกได้  อาจจะเป็นนิมิตที่ปรากฏขึ้นขณะลืมตาเพียงชั่วขณะ หรือ จะเป็นเพียงเสียงเตือนหรือคำพูดที่ระลึกออกมาแบบฉับพลัน   ใช่หรือไม่ครับ


  ตอบ น้องบู  ถ้ากล่าวตามความเป็นจริงสิ่งที่รู้หรือปรากฏนั้นต้องมีเหตุก่อนเสมอนะครับ ดังนั้นจึงต้องตอบอธิบายไปตามระดับนะครับ.

          1.เมื่อกำหนดภาวนาอยู่เนืองๆ ก็คือหล่อเลี้ยงในสมาธิเนืองนั้นเอง  เมื่อเกิดเรื่องให้วิตกในเรื่องนั้นๆ ก็จะได้คำตอบมาสองแบบ

           1.1 รู้ผลจากเหตุที่ข้อมูลมีอยู่  ตัวอย่าง.(เรื่องนี้รายละเอียดขอข้าม)  ผมทราบแล้วว่าพระสังฆาราชท่านจะทำคุณประโยชน์กับพุทธศาสนาแม้ช่วงสุดท้ายของชีวิต มานานหลายปีแล้ว ประมาณปี 2542 แต่ไม่รู้ว่าท่านจะทำอย่างไร?
          ขณะเมื่อเกิดกรณีปัญหาพระสังฆราชขึ้น จิตก็ปริวิตกเรื่องนี้ ก็เกิดสภาวะรู้ขึ้นมาทันที่ ออ... พระองค์ท่านรักษาชีวิตสังขารของท่านให้ยาวนานเป็นที่สุดนั้นเอง.

           1.2 เมื่อมีผู้มาถามถึงความต้องการที่เป็นบุญกุศล  ตัวอย่าง.น้องที่ทำงาน สงสารนกเขาที่เพื่อนข้างห้องที่เป็นอิสลามขังไว้ อยากจะปล่อยมันมาก จึงมาปรึกษาผมว่าจะทำอย่างไร? ซึ่งขณะนั้นผมกำลังเครียดกับการเขียนโปรแกรมอยู่ ยังชาๆ หัวอยู่เลย เปลี่ยนมาใช้ความคิดอย่างสงบว่าจะทำอย่างไร?
           ก็เกิดมโนภาพแวบขึ้นมาเห็นนกนั้นบินออกไปอย่างเสรี จึงบอกน้องที่ทำงานไปว่า ก็ไปพูดตรงๆ กับเขา ว่าสงสาร อยากจะปล่อยนกนั้นมาก ดูสิว่าเขาจะปล่อยหรือว่าอย่างไร? น้องเขาไปข้อร้องครั้งที่ 1 ก็ไม่ได้ ครั้งที่ 2 ไปขอซื้อก็ไม่ได้  ทิ้งเวลามาเป็นเดือนสองเดือน จนน้องเขาท้อ
            แต่ในวันเกิดของน้อง มีการเลี้ยงกันที่ห้อง เพื่อนข้างห้องนั้นก็มาบอกกับน้องว่า เขาปล่อยนกเขาทั้ง 3 ตัวนั้นเป็นของขวัญวันเกิดให้น้อง...

           2.การใช้ "ทิพพะจักขุงอุปะทายะนัง" นิมิตหรือญาณรู้นั้นก็เกิด 2 ระดับ
              2.1. ยังไม่ทันเข้าสมาธิลึกเลย นิมิตก็ปรากฏขึ้นแล้วให้รู้.
              2.2  เข้าสมาธิลึกแล้วนิมิตหรือญาณรู้ปรากฏ

          3. ญาณที่เกิดในสมาธิลึกๆ นั้น ตามที่อธิบายแล้วตามความคิดเห็นด้านบน.

      คำถามที่เหลือจะตอบในความคิดเห็นต่อไป...

ตอบโดย: Vicha 09 ก.ย. 52 - 11:43


ก็มาถึงข้อความสุดท้ายของน้องบู ในความคิดเห็นที่ 92 แล้ว.
  
อ้างอิง
อ้างอิง
จึงได้คำภาวนาเพื่อเจริญสติว่า "ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ๆ", "ปล่อยวาง ๆ", "สักแต่รู้ ๆ",  "ว่าง ๆ หรือ ว่างหนอๆ" ตามสภาวะความรู้สึกกับใจที่ควรเหมาะกับคำภาวนา ตามคำบริกรรม ที่ปรากฏ ให้เหมาะสม


วิธีการนี้ ในเชิงจิตวิทยาถือว่าเป็นการสะกดจิตตัวเองอย่างหนึ่ง  ซึ่งผมเคยนำมาใช้ประยุกต์ในการนั่งสมาธิ ตอนสมัยยังเด็กด้วยครับ   ได้ผลรวดเร็วดี  แต่ถ้าจิตขาดความเข้าใจในคำนั้น ๆ  โดยแยบคาย   ก็อาจจะทำให้เกิดความหลงผิด หรือ ยึดถือในคำที่ตนภาวนาได้ครับ


    ตอบ  ก็อาจจะคล้ายที่น้องบูกล่าว แต่ก็มีส่วนที่ต่างๆ กันอยู่  ผมจึงได้ประโยคนี้ขึ้นมาลอยๆ จะกล่าวว่าเป็นญาณก็ได้ เพราะเราสนทนาเรื่องนี้อยู่ เป็นส่วนมาก.

               "บัญญัติเหมือนกัน แต่การทำไว้ในใจนั้นต่างกัน"

    ซึ่งผมได้เขียนไว้แล้วในความคิดเห็นนั้นแล้วว่า มี "ทริก" ในการภาวนา เพื่อไม่ให้ไปเข้าใจไปเสียก่อนว่า เป็นการสะกดจิตตนเอง ดีครับที่น้องบูถาม จึงเป็นเหตุให้ผมสามารถตอบได้อย่างระเอียด

      ขยายความให้ละเอียดดังนี้
             การกำหนดสติ ก็กำหนดแบบ สติปัฏฐาน 4 เริ่มทั้งแต่ตอนพอจะนั่งกรรมฐาน ก็มี สติ รู้ร่างกายที่กำลังเคลื่อนและจัดท่านั่ง
             พอนั่งได้ที่เหมาะสม ก็น้อมสติรู้ แล้วแต่ละฐานที่ชำนาณของแต่ละบุคคล บางคนรู้ที่จมูกรู้ลมหายใจ บางคนมามีสติจับที่ท้องพองยุบ  บางคนมามีสติน้อมที่ความรู้สึกบริเวณใบหน้า บางคนมีสติน้อมความรู้สึกบริเวณทรวงอก(บางอยู่ข้างนอกกาย บางอยู่ภายในร่างกาย) ฯลฯ  ตามแต่ฐานกรรมฐานที่เป็นหลักปฏิบัติ.
            สำหรับผมนั้น เมื่อมีสติน้อมมารู้ความรู้สึก ที่บริเวณโปรงจมูกช่วงบนลำคอหรือช่วงโปรงจมูกด้านในนั้นเอง เป็นจุดที่ชัดเจนหรือศูนย์กลาง เมื่อนั่งกรรมฐานสงบ ต่อไปสติก็จะไปเท่าทันกับความรู้สึกส่วนอื่นของรางกายถ้าปรากฏชัดขึ้น บางครั้งไปรู้ชัดที่ลมหายใจออกและเข้า
            เมื่อจุดบริเวณนั้นเป็นฐานที่เคยชิน ความรู้สึกนึกคิดก็จะเกิดกับบริเวณนั้น ดังนั้นเมื่อพัฒนาสติมามากแล้ว เมื่อพอตั้งอยู่ที่ฐานได้ดี สติก็ไปเท่าทันกับฐานทั้ง 4 ที่ปรากฏเด่นชัดแต่ละขณะหรือช่วงที่ผ่านมานั้น เช่น.
             1.ไปเท่าทันกายส่วนต่างๆ ที่ปรากฏชัด แล้วมาอยู่ที่เดิม ถ้าไปเท่าทันลมหายใจ ก็จะอยู่ที่ลมหายใจนาน จนกว่าจะไปเพ่งลมจนมากไปเกิดอึดอัด สติก็จะเท่าทันเวทนาแล้วถอยกลับมาอยู่ที่เดิม
             2. เมื่อถอยมาอยู่ที่เดิม ก็รู้ในความรู้สึกที่เป็นอยู่ ก็คือมีสติรู้เวทนาที่เป็นอยู่นั้น
             3. เมื่อตั้งมั่นอยู่ที่นั้น ก็มีสติรู้จิต ที่ประกองอารมณ์ให้คงอยู่ ว่าพอดีหรือเพ่งพุ่งเข้าไปรู้แรงไป
             4. เมื่อเกิดความนึกคิดก็เกิดอนาบริเวณนั้น สติก็รู้ทันถึงธรรมมารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้น.
             เมื่อได้อย่างนั้นแล้วต่อไป ก็ใช้คำภาวนา นั้นๆ ตามที่เป็นธรรมมารมณ์เกิดเป็นตัวสติประกองรู้สภาวะที่ปรากฏนั้นๆ

             เมื่อ เพ่งพุ่งแรงไป ก็ภาวนาว่า "ยึดมั่นหนอๆ ๆ ๆ" หรือ "ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนๆ ๆ" จนคลาย
             เมื่อ มีสติรู้เป็นปกติ ก็ภาวนาว่า "รู้หนอๆ ๆ ๆ"
             เมื่อ ถ้ายังไม่สมดุลย์ ก็จะภาวนาว่า "เป็นเช่นนั้นเอง ๆ ๆ ๆ ๆ" ปรับให้สมดุลย์
             เมื่อ สมดุลย์แล้ว แต่ไม่ชัดเจนจองเพ่งเกินไปก็จะภาวนาว่า "ปล่อยวางๆ ๆ" หรือ "ว่างหนอๆ ๆ" หรือ "ว่างๆ ๆ ๆ" หรือ

           หมายเหตุ บางครั้งภาวนา "เป็นเช่นนั้นเอง" แล้วต่อด้วย "ไม่ใช่เรา ไม่เป็นตัวเป็นตนของเรา" ต้องมีสติและปัญญาเข้าถึงสภาวะนั้นจริงๆ ดังคำภาวนา
  
             ดังนั้น สภาวะที่เป็นอยู่นั้น มีสติเท่าทันแยกแยะกับสภาวะนั้นอย่างชัดเจน คือ
                    1.เท่าทันกับคำภาวนาที่เกิดเป็นธรรมมารมณ์ขึ้น
                    2.เท่าทันกับความรู้สึกกับสภาวะที่เป็นเวทนาเวทนานั้น
                    3.เท่าทันกับกับจิตที่ตั้งมั่นหรือไหวหรือคลายหรือกดหรือเพ่งต่อสภาวะนั้น.
             สรุป คือเห็นความเปลี่ยนแปลงไม่เที่ยงที่หมุนไป 3 ประการด้านบน และในแต่ละประการในตัวมันเองก็ไม่เที่ยง(อนิจจัง) เห็นความตั้งอยู่ไม่ได้(ทุกขัง)ของสภาวะที่กำหนดภาวนานั้น เห็นความยึดมั่นถือมั่นให้เป็นดังใจไม่ได้ มีหน้าทีเพียงประกองมีสติและปรับรักษาไว้ อยากไห้นิ่งสงบดังตั้งใจไม่ได้ จะดำเนินไปตามสภาวะหรือลำดับของเขาเอง เมื่อดำรงรักษาหรือเจริญพละ 5 อย่างถูกต้อง ไม่ย่อนหรือมากไปของพละใดพละหนึ่ง.

           หมายเหตุ 1 สำหรับผม ถ้าพละ 5 ย่อนลงไปหาได้ตั้งใจมั่นตลอดสาย ก็จะทิ้งอารมณ์แล้วหลับไปเสียก่อนเป็นประจำ เป็นเพราะให้เวลาในการปฏิบัติน้อย สติจึงไม่เจริญขึ้นไปกว่านั้น.
          
             หมายเหตุ 2 สำหรับผม ถ้าเกิดไปจับอยู่ที่ลมหายใจ สติก็จะไปอยู่ที่ลมหายใจอยู่อย่างนั้นจนคลายไป บังครั้งก็มีการสลับลมหายใจกับสภาวะด้านบน  แต่ส่วนมากสุดท้ายจะกลับไปอยู่กับสภาวะด้านบนเสียมากกว่า.

            ออ... ลืมบอกไป สภาวะ  วิตก วิจารย์ ปีติ สูข และเป็นหนึ่งเกิดขึ้น แต่ไม่ขอกล่าวลงไปนะครับ เพราะมันจะมากไปครับทำให้ผู้อ่านสับสน และทำความเข้าใจอยาก กับขั้นตอนที่อธิบาย.
  

ตอบโดย: Vicha 09 ก.ย. 52 - 15:05


สวัสดีครับ พี่ Vicha  ผมขอถามคำถามที่ไม่ต่อเนื่องกับเรื่องที่กำลังสนทนากันนะครับ  แต่จะถามเกี่ยวกับอานาปานสติ ซึ่งยังถือว่าอยู่ในหัวข้อกระทู้

ตอนนี้  จิตมันเจริญอานาปานสติ อยู่เนือง ๆ ทั้งวันเลยครับ   สติแจ่มชัดขึ้น  ไม่ได้คิดจะเจริญมันก็เจริญเนือง ๆ ของมันเอง

นี่คือผลข้างเคียงจากการเจริญให้มากในสติปัฏฐาน 4 หรือไม่ครับ


นับวันอานาปานสติ จะชัดขึ้น ๆ  ว่างเป็นไม่ได้ จิตจับที่ลมหายใจตลอดเลย (แต่ไม่อึดอัดนะครับ กลับแจ่มชัด มีสติดีแท้ครับ)

ปกติผมมีพื้นฐานการฝึกสมาธิมาบ้างครับ แต่ฐานจิตที่ผมใช้ ผมไม่ได้กำหนดที่ลมหายใจครับ

แต่ตอนนี้เสมือนว่า ฐานจิต จะย้ายไปอยุ่ตรงอานาปานสติ โดยอัตโนมัติ ในการดำเนินชีวิตประจำวันเลยครับ


พี่ Vicha เป็นเหมือนผมไหมครับ พอมีประสบการณ์ตรงนี้ไหมครับ  แล้วพี่พอรู้ไหมครับ ว่าคนอื่น เขาเป็นแบบผมกันไหมครับ

เจตนาที่ถามเพื่อเทียบเคียง ว่าตนเองเดินทางมาถูกหรือไม่ครับ   เดินทางไปด้วยถามทางไปด้วย จะได้ไม่หลงทาง

ขอบคุณครับ พี่ Vicha

 

ตอบโดย: น้องบู 09 ก.ย. 52 - 16:32


สวัสดีครับน้องบู.

     ดีแล้วแหละครับน้องบู ปฏิบัติจนเกิดความเคยชิน เมื่อสงบ หรือวางจากภาระอื่น สติจะกลับมารู้ที่อานาปานสติตลอด. ดีครับๆ

     ผมได้ฝึกภาวนาพุทธ-โธ พร้อมกันลมหายใจ มาตั้งแต่อายุ 15 ปีแล้ว และเมื่ออายุ 20 กว่า สติก็จะติดที่จมูกเป็นนิสัย ไปรู้ลมหายใจตลอดๆ เลยครับ.

     แม้เมื่อได้ปฏิบัติแบบ ยุบหนอ-พองหนอ  ก็กำหนดท้องไม่ได้เลยครับ อยู่ที่จมูกตลอด ผมจึงกำหนดอานาปานสติ และกำหนดภาวนาตามแบบแนว ยุบหนอ-พองหนอ ยกเว้นการดูท้องพองยุบอย่างเดียว วิปัสสนาญาณและฌานก็เกิดขึ้นได้พร้อมควบคู่กันไปเลยครับ จนฌานถึง ตติยฌานของอานาปานสติ และ วิปัสสนาญาณเจริญถึง นิพพิทาญาณ.

     แต่เมื่อผมต้องการปฏิบัติให้ครบถ้วนตามแนว ยุบหนอ-พองหนอ จึงทิ้งอานาปานสติอย่างเด็ดขาด กำหนดภาวนาฐานอย่างอื่นแทนคือการได้ยิน หรือ ได้ยินหนอ เป็นฐานหลักของกรรมฐาน กรรมฐานก็พัฒนาไปมากมาย  เป็นเวลาถึง 10 กว่าปี
      แต่การกำหนด ได้ยินหนอ นั้นไม่สามารถเป็นหลักได้ตลอดเวลาในปกติทั่วไป ก็ไปเน้นไปกำหนดเวลาปกติ ไปรู้กายและใจ เป็นหลัก แต่พอได้ที่ก็ไปรู้ที่ลมหายใจอีก ก็ค่อยเปลี่ยนมามีสติรู้กายและใจ ที่ปรากฏหรือเคลื่อนไหว หรือกระทบ ตามปกติ

      เป็นอันว่าสติจะไปอยู่กับลมนั้นเป็นนิสัยมาเป็นเวลายาวนานมาแล้ว และเมื่อมาศึกษาเรื่องอานาปานสติในพระไตรปิฏก ที่พระพุทธพจน์ยืนยันว่าเป็นทั้ง สมถะและวิปัสสนา จึงได้หันมาปฏิบัติเต็มๆ ก็กลายเป็นการต่อยอดที่ปฏิบัติไว้เมื่อก่อนนั้น ด้วยเพราะสตินั้นไปอยู่ที่ลมหายใจนั้นด้วยความเคยชินอยู่แล้วจึงปฏิบัติไม่ลำบาก แต่ก็ทุกข์มากและติดอยู่สภาวะทุกข์นั้นอยู่นานแทบจะล้มเลิก ก็เพียรจนผ่านไปได้.

     และเมื่อไม่กี่เดือนมานี้เองได้ปฏิบัติ อานาปานสติ เต็มที่ ที่วัด หลังจากนั้นก็ปฏิบัติต่อที่บ้าน แต่ก็แปลกที่ความเคยชินที่ต้องไปรู้ที่ลมหายใจเป็นนิสัย นั้นได้คลายออกไปน้อยลงไปเสียแล้ว

     จะเกิดเพียงเล็กน้อยในระยะเริ่มต้นในการพยุงให้ พละ 5 เข้าที่เข้าทางขึ้นเท่านั้นครับ ในช่วงเริ่มนั่งกรรมฐาน.

     และในเวลาปกติ ก็ไปรู้ลมหายใจเองเพื่อดึงให้มีสติขึ้น แต่ไม่ใช่ติดเป็นนิสัยเหมือนก่อนแล้วครับ.

ตอบโดย: Vicha 09 ก.ย. 52 - 17:19


อนุโมทนาสาธุ ครับพี่วิชา คุณน้องบู

เห็นด้วยกับคุณน้องบู ที่ว่า จิตหรือตัวผู้รู้ จะไปรู้อยู่กับลมหายใจโดยอัตโนมัติ

เป็นเพราะจิตหรือตัวผู้รู้ หมดเหตุปัจจัยที่จะรู้อยู่กับสิ่งอื่นที่ไม่ใช่ลมหายใจ
เป็นเพราะจิตหรือตัวผู้รู้ เกิดความเห็นการรู้อยู่กับลมหายใจนั้น ประเสริฐกว่าการรู้อยู่กับสิ่งอื่นใด

ไม่ใช่เป็นการบีบบังคับจิตหรือตัวผู้รู้ ให้รู้อยู่กับลมหายใจแต่ประการใดๆ
แต่เป็นการสมัครใจ รู้อยู่กับลมหายใจด้วยความเต็มใจเป็นอย่างยิ่ง.




การที่จะบ่งบอกหรือพิสูจน์ว่า การรู้อยู่กับลมหายใจเป็นไปโดยอัตโนมัติ หรือไม่นั้น
บุคคลอื่นไม่สามารถยืนยันหรือรับรองการันตีให้แก่บุคคลอื่นใดได้ทั้งนั้น
แต่ผลที่บังเกิด จะเป็นเครื่องยืนยันถึงความเป็นอัตโนมัติหรือไม่อัตโนมัติ
ก็เหมือนกับเกียร์ของรถยนต์ นั้นแหละครับ
ผู้ขับรถจะรู้ได้ด้วยตัวของตัวเอง...


แต่ก่อนที่จะเป็นการรู้อยู่ แบบอัตโนมัติได้นั้น
ก็คงต้องผ่านการรู้อยู่ แบบบีบบังคับจับฝืนมาก่อน...



และเมื่อการรู้อยู่กับลมหายใจ เป็นการรู้อบู่แบบอัตโนมัติ แบบธรรมชาติ แบบธรรมดา
ทำให้นึกถึงคำที่พระพุทธเจ้าทรงบอกว่า
ท่านทรงอยู่ด้วยอาปานสติเป็นวิหารธรรมอยู่ตลอดเวลา
และถ้าจำไม่ผิด ดูเหมือนฌานที่๔ เหมาะสมที่จะเป็นการรู้อยู่กับลมหายใจแบบธรรมชาติ
มากกว่า สมาธิในระดับขั้นใดๆ
(ผิด-ถูก อย่างไร กราบขออภัยด้วย นะครับ)


เห็นวิตก เห็นวิจาร เห็นปิติ เห็นสุข
เห็นแล้ว ก็ไม่ยินดี
เห็นแล้ว ก็ไม่ยินร้าย...
เห็นแล้ว ไม่เพลิน...

เห็นแล้ว...อยู่รู้ กับลมหายใจดีกว่า.







 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 09 ก.ย. 52 - 18:57


ของคุณครับ พี่Vicha พี่ปล่อยรู้


แสดงว่าหลาย ๆ คนที่ปฏิบัติมาเรื่อย ๆ ก็จะมาถึงจุดนี้เหมือน ๆ กัน


ส่วนคำอธิบายว่าทำไม ถึงต้องเป็นอย่างนั้น ขออ้างอิงความเป็นของพี่ปล่อยรู้นะครับ

อ้างอิง
เห็นวิตก เห็นวิจาร เห็นปิติ เห็นสุข
เห็นแล้ว ก็ไม่ยินดี
เห็นแล้ว ก็ไม่ยินร้าย...
เห็นแล้ว ไม่เพลิน...
เห็นแล้ว...อยู่รู้ กับลมหายใจดีกว่า


ผมก็เข้าใจว่าเป็นอย่างที่พี่ปล่อยรุ้บอก  เพราะก่อนหน้านี้เมื่อหลายสัปดาห์ก่อน ผมมาสังเกตุเห็นตัวความเพลิน   ในกิจกรรมการดำเนินชีวิตทั่วไป (ซึ่งเคยนำไปเล่าในกระทู้"ดำรงสติ....ไม่ใช่เรื่องยาก ภาค 1)

ตั้งแต่เห็นความเพลิน  เห็นโทษความเพลิน (ในสิ่งที่ไม่คิดว่ามีความเพลินอยู่)  จิตก็ละความเพลินไปเมื่อเห็นไปในตัว   ก็มีหลุดบ้าง เห็นบ้าง  เมื่อเห็นก็ละไป(จิตเขาละเมื่อเห็นทันทีและเป็นไปเองนะครับ)


พอไม่มีอะไรจะเพลิน จิตก็เลยไม่ไหลไปสู่อะไรที่เพลิน เมื่อว่างจากกิจกรรม จิตก็เลยมาอยู่ที่ลมหายใจ   เหมือนประโยคที่พี่ปล่อยรู้บอกว่า "  เห็นแล้ว...อยู่รู้ กับลมหายใจดีกว่า"  สงสัยจะเป็นอย่างนั้นจริง ๆ ครับ

 

ตอบโดย: น้องบู 10 ก.ย. 52 - 09:50


อ้างอิง (น้องบู @ 10 ก.ย. 52 - 09:50)

ตั้งแต่เห็นความเพลิน  เห็นโทษความเพลิน (ในสิ่งที่ไม่คิดว่ามีความเพลินอยู่)  จิตก็ละความเพลินไปเมื่อเห็นไปในตัว   ก็มีหลุดบ้าง เห็นบ้าง  เมื่อเห็นก็ละไป(จิตเขาละเมื่อเห็นทันทีและเป็นไปเองนะครับ)




กราบขออนุญาตพี่วิชา สนทนาแลกเปลี่ยนกับคุณน้องบู หน่อยนะครับ

ตัวความทุกข์
จะเป็นตัววัดสอบความเพลินได้เป็นอย่างดีครับ คุณน้องบู

พอมันสะดุดกับความทุกข์เมื่อใด
ลองไล่ย้อนขึ้นไปดูเถิดครับ จะเจอกับตัวเวทนา เจอตัวความเพลิน ทุกครั้งไป
อย่างปฏิเสธไม่ได้เลย ครับ

เมื่อจิตหรือตัวผู้รู้ มันมีสิ่งให้เปรียบเทียบ
ระหว่างรู้อยู่กับลมหายใจ(แบบธรรมชาติ) กับรู้อยู่กับความเพลิน(เวทนา)
อย่างไรจะสงบเย็น มากน้อยกว่ากัน



การรู้อยู่กับลมหายใจแบบธรรมชาติ นั้น
สำหรับผมเองนั้น ผมมีความเข้าใจ มีความเห็นโดยส่วนตัวว่า

สิ่งที่รู้อยู่กับลมหายใจนั้น มิใช่ตัวตนของผมแต่อย่างใดทั้งสิ้น
แต่มันเป็นธรรมชาติรู้ ที่เกิดขึ้นจากการผ่านกระบวนการไตร่ตรองพิจารณาใคร่ครวญ
ทดสอบแล้วทดสอบอีก อย่างหนักหนาสาหัส อย่างละเอียดรอบครอบ
อย่างหมดสิ้นความสงสัยใดๆอีกต่อไป


สิ่งที่รู้อยู่กับลมหายใจตามธรรมชาติ นั้น
ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ตัวตนแต่อย่างใดทั้งสิ้น
เป็นธรรมชาติที่ปราศจากการเกิด การดับแต่อย่างใดทั้งสิ้น
เป็นธรรมชาติที่มีอยู่เองแล้ว หาได้มีผู้ใด บุคคลใด มาเป็นผู้กำหนด ให้เกิดขึ้น ให้มีขึ้นมา



มันสามารถที่จะเปรียบเทียบกับธรรมชาติต่างๆ กับสิ่งต่างๆได้
อย่างไม่มีข้อกังขาใดๆ
ธรรมที่มีการเกิดดับ กับ ธรรมที่ไม่มีการเกิดดับ
มันย่อมมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

การรู้อยู่ กับลมหายใจ ด้วยความเต็มใจด้วยความสมัครใจ
กับ
การรู้อยู่ กับลมหายใจ ด้วยการบังคับจับฝืน

ผลมันย่อมแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทีเดียวเลย ครับ



ความหลุด ความเผลอ ย่อมมีบ้างเป็นเรื่องปกติธรรมดาอยู่แล้ว ครับ
แต่มันจะเริ่มรู้สึกตัวไวขึ้น เร็วขึ้น ทันขึ้น

และเมื่อใดที่มันรู้ได้ทันท่วงที
ตัวเราของเรา มันจะหายวับไปในทันที
จะคงเหลืออยู่แต่ธรรมชาติที่รู้อยู่กับลมหายใจ อย่างไม่บังคับจับฝืนแต่อย่างใดทั้งสิ้นครับ
เพราะว่า ลมหายใจนั้น มันมีอยู่แล้วตลอดเวลานั้นเอง ครับ


เมื่อตัวรู้ หรือสิ่งที่เข้าไปรู้ในสิ่งต่างๆ
มันได้ความบริสุทธิ์จริงๆกลับคืนมา
นั้นก็คือมันไม่ได้ถูกสิ่งใดๆมาขี้ตู่แสดงความเป็นเจ้าของมันแต่อย่างใด
เหมือนดังแต่ก่อนได้แล้ว
ความมั่นใจ ความร่าเริง ความไม่หวาดสะดุ้ง
ก็ย่อมบังเกิดมีขึ้นตามเหตุตามปัจจัย ของมันนั่นเองครับ




 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 10 ก.ย. 52 - 15:33


ใช่ครับ ตามลำดับแบบที่พี่ปล่อยรู้กล่าวมาเลยทีเดียว เป็นไปอย่างนั้นจริง  ๆครับ

จะขออ้างอิงถึง หลัก ๆ ที่ย้ำถึงความสอดคล้องกับสภาวะที่เป็นอยู่นะครับ

[/quote]  [/quote]

อ้างอิง
เมื่อจิตหรือตัวผู้รู้ มันมีสิ่งให้เปรียบเทียบ
ระหว่างรู้อยู่กับลมหายใจ(แบบธรรมชาติ) กับรู้อยู่กับความเพลิน(เวทนา)
อย่างไรจะสงบเย็น มากน้อยกว่ากัน


อืม..จริงครับ   ตอนนี้ความเพลินในกิจกรรมที่ตอบสนองในกามคุณ 5 มีน้อยลงไปพอสมควรครับ   คือ  เมื่อก่อนถ้าไม่ได้เสพในกิจกรรมนั้น ๆ จะรู้สึกร้อนรน ร้อนรุ่ม  บางครั้งก็ตอบสนองโดยการเสพทันทีครับ   แต่ปัจจุบัน จะเสพก็ได้ไม่เสพก็ไม่เดือดร้อน(ค่อนข้างจะไปในทางไม่เสพ)   เมื่อจิตว่างจากกิจกรรม ก็ยิ่งทำให้จิตหันมารู้กายรู้ใจมากขึ้นกว่าเดิม    ลมหายใจก็ชัดกว่าเดิม โดยธรรมชาติ  ไม่ได้บังคับเลย  (ไม่เหมือนตอนเด็ก ๆ ที่ฝึกอานาปานสติ ต่างกันมาก  ๆ )    อานาปานสติเป็นไปเอง  ไม่ต้องบอกจิต บังคับจิต สอนจิต อะไรเลย เป็นธรรมชาติมาก ๆ


อ้างอิง
สิ่งที่รู้อยู่กับลมหายใจตามธรรมชาติ นั้น
ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ตัวตนแต่อย่างใดทั้งสิ้น
เป็นธรรมชาติที่ปราศจากการเกิด การดับแต่อย่างใดทั้งสิ้น
เป็นธรรมชาติที่มีอยู่เองแล้ว หาได้มีผู้ใด บุคคลใด มาเป็นผู้กำหนด ให้เกิดขึ้น ให้มีขึ้นมา


ในส่วนความเป็นอนัตตานั้น ตรงนี้จิตเห็นบ่อยแล้วจึง ไม่เดือนร้อนแต่อย่างใด  ยิ่งพอจิตมีสติมากขึ้น ไม่ติดเพลิน  อนัตตา ก็ยิ่งเห็นชัดขึ้น และสอดคล้องในการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ขัดแย้งหรือเป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิตเลย  และเป็นไปเอง ไม่ได้มีผม ตัวผม จิตผม ไปบังคับให้เป็นแต่อย่างใด

อ้างอิง
และเมื่อใดที่มันรู้ได้ทันท่วงที
ตัวเราของเรา มันจะหายวับไปในทันที
จะคงเหลืออยู่แต่ธรรมชาติที่รู้อยู่กับลมหายใจ อย่างไม่บังคับจับฝืนแต่อย่างใดทั้งสิ้นครับ
เพราะว่า ลมหายใจนั้น มันมีอยู่แล้วตลอดเวลานั้นเอง ครับ


ตรงนี้เห็นด้วยครับ

อ้างอิง
ความมั่นใจ ความร่าเริง ความไม่หวาดสะดุ้ง
ก็ย่อมบังเกิดมีขึ้นตามเหตุตามปัจจัย ของมันนั่นเองครับ


ตรงนี้ก็เหมือนกันครับ  จิตวางเฉยในเวทนาทั้งหมด  พบสุขก็ไม่หวั่นไหว พบทุกข์ก็ไม่หวั่นไหว  แม้ อุเบกขาก็ไม่หวั่นไหว ไม่เพลิน เพราะเห็นโทษแห่งการเพลิน   มีเพียงความเป็นธรรมดา  รู้สึกวางเฉย  สิ่งทั้งหลายเสมอกันหมด เป็นธรรมดาหมดเลยครับ   หน้าที่ก็ไปเป็นตามหน้าที่  ปัจจัยก็เป็นไปตามปัจจัย  ไม่ใช่อัตตาหรือผู้ใดมากำหนดขึ้นทั้งสิ้น

 

ตอบโดย: น้องบู 10 ก.ย. 52 - 16:25


อนุโมทนาสาธุ ครับ คุณน้องบู

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 10 ก.ย. 52 - 16:40


สวัสดีครับ คุณปล่อยรู้ และน้องบู

   ตอนแรกก็กะว่าจะไม่ไปแทรกแซง การสนทนาของคุณปล่อยรู้ กับ น้องบู แต่ก็ทำใจไม่ได้เมื่อเห็นข้อความที่น่าคลาดเคลื่อนอยู่มากที่เดียว ก็ต้อง สนทนา กันนะครับ เพื่อทำให้แจ้ง.

  ตรงข้อความส่วนนี้ของคุณปล่อยรู้.

อ้างอิง
สิ่งที่รู้อยู่กับลมหายใจตามธรรมชาติ นั้น
ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ตัวตนแต่อย่างใดทั้งสิ้น
เป็นธรรมชาติที่ปราศจากการเกิด การดับแต่อย่างใดทั้งสิ้น
เป็นธรรมชาติที่มีอยู่เองแล้ว หาได้มีผู้ใด บุคคลใด มาเป็นผู้กำหนด ให้เกิดขึ้น ให้มีขึ้นมา



มันสามารถที่จะเปรียบเทียบกับธรรมชาติต่างๆ กับสิ่งต่างๆได้
อย่างไม่มีข้อกังขาใดๆ
ธรรมที่มีการเกิดดับ กับ ธรรมที่ไม่มีการเกิดดับ
มันย่อมมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง


  ตรงที่ผมทำตัวหนาไว้ในข้อความอ้างอิง. เป็นการเข้าใจธรรมชาติสิ่งที่รู้ลมหายใจที่คลาดเคลื่อน นะครับ.

    ในเมื่อกล่าวว่าไม่มีสิ่งใดเกินไปจาก ขันธ์ 5  สิ่งที่รู้ลมย่อมเป็นขันธ์ ในขันธ์ 5 จะกล่าวว่าปราศจากการเกิดดับ ย่อมไม่ถูกต้องนะครับ คลาดเคลื่อนนะครับ.

    นำไปพิจารณาด้วยนะครับ.

   ถ้ากล่าวว่า การรู้ลมหายใจที่บริสุทธิ์ด้วยปัญญายิ่ง(ความไม่ยึดมั่นถือมั่น) อุปทานขันธ์ ย่อมไม่เกิดไม่ดับ เป็นธรรมชาติอยู่อย่างนั้น คือธรรมชาติของขันธ์ เกิดดับเปลี่ยนแปลงอยู่เป็นธรรมดา เป็นการกล่าวที่ ถูกนะครับถ้าเป็นพระอรหันต์

     อือ... นะ   ลองไปพิจารณานะครับ. ไม่เช่นนั้นกลายเป็นเห็นว่า สิ่งที่ไปรู้ลมหายใจไม่เกิดไม่ดับไปเสียนะครับ. จะเป็น อัตตาในอนัตตา ไปเสีย.

     ผมชี้ให้ไปศึกษา เรื่อง วิญญาณ และ ปัญญา ดูนะครับ รู้สึกว่าจะอยู่ในส่วนธรรม ที่พระสารีบุตรได้แสดงไว้นะครับ.

ตอบโดย: Vicha 10 ก.ย. 52 - 17:06


มีประเด็น ข้อสังเกตุ เกี่ยวกับอานาปานสติ

มานำเสนอ ต่อผู้ร่วมเสวนา ครับ


จาก มหาสัจจกสูตร

http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=7552&Z=7914


พระสูตรนี้ เป็นการตรัสเล่าถึง การแสวงหาโมกขธรรมของพระพุทธองค์
เริ่มตั้งแต่ต้น จนตรัสรู้....

มีที่น่าสนใจ คือ

พระองค์เองเคยไปฝึกบำเพ็ญอรูปสมาบัติ
คือ อากิญจัญญายตน กับ ท่านอาฬารดาบส
และ เนวสัญญานาสัญญายตน กับ อุทกดาบส
จนบรรลุเทียบเท่ากับท่านดาบสทั้งสอง มาแล้ว

แต่พระพุทธองค์ทรงเห็นว่า ไม่ใช่ทางตรัสรู้ จึงหลีกออกมา
ดังที่ตรัสว่า

"เราจึงมีความแน่ใจว่า

ธรรม (สมาบัติ ๘) นี้ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพพาน

เพียงแต่เป็นไปเพื่อความเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพเท่านั้น.

เราไม่พอใจธรรมนั้น ระอาธรรมนั้น จึงได้หลีกไป."



และต่อมา ท่านไปบำเพ็ญทุกรกิริยา จนเกือบสิ้นพระชนม์.... แต่ ก็ไม่บรรลุพระโพธิญาณ



สมัยต่อมา จึงทรงหวลระลึก ถึง รูปฌานที่๑จากการเจริญอานาปานสติ ที่พระพุทธองค์เคยบำเพ็ญได้ตอนยังเป็นเจ้าชายสิตทัตถะ

ดังที่ตรัสว่า

"เราจึงมีความดำริว่า

เราจำได้อยู่ เมื่อคราวงานของท้าวสักกาธิบดีซึ่งเป็นพระบิดา เรานั่งอยู่ใต้ร่มต้นหว้าอันเย็น ได้สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่

ทางนั้นพึงเป็นทางแห่งความตรัสรู้กระมัง.
เรามีวิญญาณตามระลึกด้วยสติว่า ทางนั้นเป็นทางแห่งความตรัสรู้.

เราจึงมีความดำริว่า เรากลัวความสุขที่เว้นจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายหรือ
แล้วเรา
ก็ดำริต่อไปว่า เราไม่กลัวสุขเช่นนั้นเลย...."



เกี่ยวกับ ที่ว่า ในคราวสมัยนั้น เจ้าชายสิตทัตถะ(ที่ยังทรงพระเยาว์)เจริญอานาปานสติใต้เงาต้นหว้า ยังให้จิตบรรลุปฐมฌานนั้น มีรายละเอียดเพิ่มในอรรถกถา

http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=405

พระโพธิสัตว์ทรงแลดูข้างโน้นข้างนี้ ไม่เห็นใครๆ จึงรีบลุกขึ้นนั่งขัดสมาธิ กำหนดลมหายใจเข้าออก ยังปฐมฌานให้เกิด.



มีจุดที่น่าสนใจ คือ


###


ทำไม เจ้าชายสิตทัตถะที่บรรลุอรูปสมาบัติแบบเดียวกับ อุทกดาบส(เนวสัญญานาสัญญายตน )จึง กล่าวว่า

"เราจึงมีความแน่ใจว่า ธรรม (สมาบัติ ๘) นี้ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพพาน เพียงแต่เป็นไปเพื่อความเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพ
เท่านั้น.

เราไม่พอใจธรรมนั้น ระอาธรรมนั้น จึงได้หลีกไป."




แล้วทำไม เจ้าชายสิตทัตถะทรงตรัสถึง อานาปานสติ(พิจารณากายในกาย) ซึ่งท่านเคยบรรลุเพียงปฐมฌาน ว่า

"ทางนั้นพึงเป็นทางแห่งความตรัสรู้กระมัง.

เรามีวิญญาณตามระลึกด้วยสติว่า ทางนั้นเป็นทางแห่งความตรัสรู้."






###


คห ส่วนตัวน่ะครับ

ผมเห็นว่า จากพระสูตรนี้ สื่อถึงว่า

อรูปสมาบัติ ที่เจ้าชายสิตทัตถะเคยบรรลุกับอดีตอาจารย์ดาบสทั้งสอง ไม่ได้เกิดจากแนวทางการพิจารณากายในกาย(อานาปานสติ) และ ไม่ใช่หนทางแห่งการตัสรู้

แต่ ปฐมฌานที่บังเกิดจากการพิจารณากายในกาย(อานาปานสติ) เป็นหนทางแห่งการตรัสรู้



 

ตอบโดย: ตรงประเด็น 11 ก.ย. 52 - 07:38


อ้างอิง (Vicha @ 10 ก.ย. 52 - 17:06)

   ถ้ากล่าวว่า การรู้ลมหายใจที่บริสุทธิ์ด้วยปัญญายิ่ง(ความไม่ยึดมั่นถือมั่น) อุปทานขันธ์ ย่อมไม่เกิดไม่ดับ เป็นธรรมชาติอยู่อย่างนั้น
คือธรรมชาติของขันธ์ เกิดดับเปลี่ยนแปลงอยู่เป็นธรรมดา
เป็นการกล่าวที่   ถูกนะครับถ้าเป็นพระอรหันต์

   
อือ... นะ   ลองไปพิจารณานะครับ.
ไม่เช่นนั้นกลายเป็นเห็นว่า สิ่งที่ไปรู้ลมหายใจไม่เกิดไม่ดับไปเสียนะครับ.
จะเป็น อัตตาในอนัตตา ไปเสีย.

   
 

อนุโมทนาสาธุ ครับพี่วิชา


กราบขอบคุณ ที่พี่วิชาชี้แนะนำตักเตือนมา ครับ




รู้สึกยินดี ชุ่มชื่นใจลึกๆ อยู่บ้างเหมือนกันครับ
ที่พี่วิชาบอกว่า สิ่งที่ผมนำเสนอนั้น
เป็นภูมิรู้ในระดับชั้นของพระอรหันต์.

แต่ผมนั้นรู้สึกตัวดีครับว่า ผมนั้นไม่มีวันที่จะบรรลุเป็นพระอริยะใดๆกับใครเขาได้
และไม่มีวันที่จะสำเร็จธรรม เข้าถึงธรรม บรรลุธรรม ในชั้นไหนๆได้
แต่อย่างใดทั้งสิ้น ครับ

เมื่อก่อนนั้นเคยคิดอยากที่จะบรรลุกับเขาอยู่บ้างเหมือนกัน
แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีแม้นเศษเสี้ยวใดๆของความคิดเลย ครับ



เพราะรู้เห็นแล้วว่า จิตนี้มันไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ตัวตนของเรา
เพราะรู้เห็นแล้วว่า ขันธ์ทั้ง๕นี้นั้น มันไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

แล้วจะเอาขันธ์อะไรที่ไหนไปสำเร็จกับเขา
ก็เห็นๆกันอยู่ว่า ขันธ์ทั้งห้านี้นั้น มันไม่เที่ยง
และสิ่งที่อยู่นอกเหนือไปจากขันธ์ทั้งนี้นั้น มันก็ไม่เห็นมีอะไรที่จะเป็นตัวตนของผมเลย
ที่จะให้สำเร็จธรรม ที่จะให้บรรลุธรรม แต่อย่างใดกัน
(อย่าหาว่าเล่นสำนวน เล่นคำ แต่อย่างใดเลยนะครับ)

ผมเข้าใจว่า พี่วิชากำลังที่จะเตือนผม
กลัวว่าผมจะหลงเข้าใจผิดว่าตนเองได้บรรลุคุณธรรมชั้นอรหันต์บุคคลแล้ว
(ผิด-ถูก กราบขออภัยพี่ด้วยครับ)



ส่วนความเข้าใจของผม ที่จะเข้าใจว่าอะไรคือเครื่องวัดสอบความเป็นพระอริยบุคคลนั้น
ผมเองมิได้ให้ความสำคัญมั่นหมายกับธรรมใดๆที่นำเสนอ หรือธรรมใดๆที่ผมเข้าไปรับรู้สัมผัส
หรือธรรมใดๆที่กำลังปรากฏ
เพราะผมเห็นว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นล้วนเป็นอนัตตาทั้งสิ้น
แต่เครื่องวัดสอบที่ผมหากจะให้ความสำคัญนั้นก็คือ
ตัวธรรมสัญโญชน์ทั้ง10นั่นเองครับ

สภาพสภาวธรรมใดๆที่อาศัยเหตุปัจจัยในการปรากฏเกิดขึ้นนั้น ล้วนไม่เที่ยง
เป็นสิ่งที่ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นแต่อย่างใดทั้งสิ้น
สัญญาวิปลาส มีความละเอียดมากมายยิ่งนัก
สมาธิในระดับสุดท้าย ที่พระองค์ทรงค้นพบและทรงแนะนำนั้น
จึงเป็นการหลุดพ้นซึ่งสัญญา-เวทนา ใดๆทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง
และเป็นการดึงสติกลับมาอยู่กับธรรมชาติตามปกติ
ที่ท่านทรงใช้คำว่า ”มีสติอันบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่” ,“เธอย่อมมีสติ”

ผมเข้าใจว่า โอกาสที่จะทำให้เกิดสัญญาวิปลาส กับบุคคลใดบุคลหนึ่งได้นั้น
ย่อมเป็นไปได้โดยยาก หากตัวสติอันเป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์ยังคงบังเกิดมีอยู่
กับบุคลผู้นั้น.



ผมเองก็เลยถือเอาความไม่เป็นทุกข์ใจ เป็นตัวตั้ง
อะไรมันจะเกิด อะไรมันจะดับ ก็เป็นเรื่องของสิ่งๆนั้น
แต่ความทุกข์ใจใดๆต้องไม่เกิด

เพราะรู้ดีแล้วว่า เมื่อมีการเกิดขึ้นของสิ่งใดๆก็ตาม
สิ่งนั้นย่อมไหลไปสู่ความดับหมดทั้งสิ้น และก็เป็นที่มาแห่งความทุกข์
สิ่งใดไม่เที่ยง(มีการเกิด-ดับ) สิ่งนั้นย่อมเป็นทุกข์

ผมจึงถือเอาว่า
ถ้าทุกข์ไม่เกิด  ก็ไม่มีทุกข์ ที่จะต้องดับ
เท่านี้เองจริงๆ ครับพี่

ผมเข้าใจครับว่า
ธรรมที่ยึดถือเอาตัวผู้รู้ลมหายใจ ว่าเป็นเรา ว่าเป็นตัวตนของเรานั้น
เป็นธรรมที่ยังมีการเกิด-ดับ อยู่

และผมก็เข้าใจถัดขึ้นไปอีกว่า
เมื่อตัวธรรมนี้ไม่มีการเกิดขึ้นมา
การที่จะกล่าวถึงคำว่า ดับ สำหรับตัวธรรมตัวนี้
ก็เป็นสิ่งที่ไม่สมเหตุผลแต่อย่างใด ครับ

เมื่อการจับถือ การยึดมั่น การบังคับจับฝืน
ไม่มี ไม่ปรากฏ  ไม่อุบัติ ไม่จุติ ไม่เกิดขึ้น

ความดับ ความหายไป ความเสื่อม ความสลาย
ของการจับถือ ของการยึดมั่น ของการบังคับจับฝืน
ก็ย่อมไม่มี ย่อมไม่ปรากฏ ย่อมไม่อุบัติ ไม่จุติ ไม่เกิดขึ้น เป็นธรรมดาอยู่นั้นเอง




เมื่อการเกิด การดับใดๆ ไม่ปรากฎ
ความทุกข์ใดๆ ก็ย่อมไม่ปรากฏ เช่นกัน




มีคำของพระพุทธเจ้าที่ทรงกล่าวเอาไว้อย่างนี้ว่า

"เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว จิตจึงดำรงคอยู่"

เป็นธรรมที่น่าคิด ไตร่ตรองเป็นอย่างยิ่งครับ
ความหมายของคำว่า"จิตจึงดำรงคอยู่"
ตรงนี้ หมายถึงความไม่เกิด ไม่ดับ หรือไม่ อย่างไรนั้น น่าศึกษานะครับ

จากจิตที่มีการเกิดดับ กลายเป็นจิตที่ดำรงคอยู่
เพราะเหตุใดจึงทำให้จากจิตที่มีการเกิดดับ เปลี่ยนมาเป็นจิตที่ดำรงคอยู่

คำว่าจิตหลุดพ้น
หลุดพ้นในที่นี้หลุดพ้นจากอะไร
เมื่อหลุดพ้นแล้วจึงดำรงคอยู่

หลุดพ้นจากความเห็น จากความเข้าใจ ว่าจิตนี้เป็นตัวตน เป็นตัวเราของเรา
หลุดพ้นจากการยึดมั่นถือมั่น ว่าจิตนี้คือตัวเราของเรา จิตนี้เป็นตัวตนของตน….ใช่หรือไม่?
(ผมเข้าใจว่าใช่ ครับ)

เมื่อจิตสลัดพ้นจากความเห็น จากความเข้า จากความยึดมั่นถือมั่น
ที่เคยมาปิดบังจิต ที่เคยมาครอบคลุมจิตเอาไว้
ตัวจิตที่แท้จริงจึงปรากฏ  ตัวจิตที่แท้จริงนั้นไม่มีการเกิด ไม่มีการดับ
แต่สิ่งที่มีการเกิดการดับนั้น คือตัวที่มาปิดบังจิต คือตัวที่มาครอบคลุมจิต นั้นต่างหาก
ดังนั้นจิตที่แท้จริงนั้นเมื่อหลุดพ้นจากสิ่งที่มาปิดบังครอบคุลมได้แล้ว
ตัวจิตที่แท้จริงจึงดำรงคอยู่ จึงยินดีร่าเริง จึงไม่หวาดสะดุ้ง อีกต่อไป
ตัวจิตที่แท้จริงนั้น เป็นของมีอยู่เดิมแล้ว ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน
อยู่เหนือสภาพสภาวะแห่งการเกิดดับใดๆทั้งสิ้น
อยู่พ้นจากการปรุงแต่งใดๆทั้งสิ้น.




กราบขออภัยและขอโทษ พี่วิชา เป็นอย่างยิ่ง ครับ
หากการนำเสนอความคิดเห็นแลกเปลี่ยนใดๆของผมนั้น
จะทำให้พี่วิชาหรือท่านอื่นๆเกิดความเข้าใจว่า
ผมนั้นได้หลงตนเองว่าได้สำเร็จ บรรลุคุณธรรมในระดับขั้นใดขั้นหนึ่งขึ้นมาแล้ว.


ผมมั่นใจว่า ความเข้าใจว่าตนเองได้เป็นอริยะบุคคล
คงไม่มีวันที่จะเกิดขึ้นกับตัวผมอย่างแน่นอนครับ
ไม่ว่าจะตอนไหนๆ ไม่ว่าจะเวลาใดๆ
ไม่ว่าจะเป็นชาติไหนๆ ในโลกไหนๆ แต่อย่างใดทั้งสิ้นครับ

เพราะผมจะพยายามระลึกอยู่เสมอครับพี่
ว่า สังขาร ทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง
ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ตัวเราของเราแต่อย่างใด. ครับ
ผมเชื่อว่า ตราบใดที่ผมยังมีความระลึกรู้อยู่เช่นนี้เกิดขึ้น
ตราบนั้น ผมไม่มีวันที่จะเห็นว่า ผมได้สำเร็จเป็นพระอริยะบุคคลใดๆ
ได้สำเร็จบรรลุคุณธรรมในชั้นใดๆ แต่อย่างใดทั้งสิ้นเลยครับ


บางครั้งการสอบถามกับพี่นั้น ก็เพื่อทบทวนถึงธรรมที่ตัวเองได้ผ่านมาหู ผ่านตา ผ่านใจมาบ้าง
โดยธรรมไหนไม่ตรง(เห็นต่างมุม)กับธรรมที่พี่วิชานำเสนอ  ก็ได้ไตร่ถามถึงที่มาที่ไป
กันไปตามกาลอันสมควร เพราะเข้าใจว่า พาวิชานั้น เต็มเปรี่ยมล้นไปด้วยเมตตาธรรมอันยิ่งแล้วนั้นเอง


รับทราบถึงความเมตตาของพี่วิชาเป็นอย่างดียิ่งครับ
ที่ได้กล่าวตักเตือนแนะนำมา  และขอน้อมรับพิจารณาด้วยความเต็มใจเลยครับพี่


ขอธรรมอันงดงามยิ่ง จงบังเกิดปรากฏมีขึ้น แด่พี่วิชายิ่งๆขึ้นไปด้วย ครับ.

 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 11 ก.ย. 52 - 09:02


อ้างอิง (ตรงประเด็น @ 11 ก.ย. 52 - 07:38)
อรูปสมาบัติ ที่เจ้าชายสิตทัตถะเคยบรรลุกับอดีตอาจารย์ดาบสทั้งสอง ไม่ได้เกิดจากแนวทางการพิจารณากายในกาย(อานาปานสติ) และ ไม่ใช่หนทางแห่งการตัสรู้

แต่ ปฐมฌานที่บังเกิดจากการพิจารณากายในกาย(อานาปานสติ) เป็นหนทางแห่งการตรัสรู้





อนุโมทนาสาธุ ครับพี่หมอ

เป็นข้อสังเกตุที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ครับ


ผมมีข้อสังเหตุดังนี้ครับ

เพราะปฐมฌาน ตามหลักของอาจารย์ดาบสทั้งสองนั้น
ท่านไม่ได้พิจารณา ถึงตัวองค์ประกอบขององค์ฌาน ลงสู่ความเป็นไตรลักษ์
ความหลุดพ้นจากอาสวะ จึงไม่อาจบังเกิดมีขึ้นได้
ในปฐมฌานตามแบบฉบับของดาบสทั้งสอง ครับ

แต่หากเป็นปฐมฌาน ตามแบบฉบับพระพุทธเจ้า
สามารถที่จะหลุดพ้นจากอาสวะได้ ครับ
เพราะ ท่านทรงแนะนำให้พิจารณาถึงองค์ประกอบของปฐมฌานที่มีอยู่นั้น
ลงสู่ความเป็นไตรลักษณ์ เลย ครับ

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 11 ก.ย. 52 - 09:16


อ้างอิง (ปล่อยรู้ @ 11 ก.ย. 52 - 09:16)


เพราะปฐมฌาน ตามหลักของอาจารย์ดาบสทั้งสองนั้น
ท่านไม่ได้พิจารณา ถึงตัวองค์ประกอบขององค์ฌาน ลงสู่ความเป็นไตรลักษ์
ความหลุดพ้นจากอาสวะ จึงไม่อาจบังเกิดมีขึ้นได้
ในปฐมฌานตามแบบฉบับของดาบสทั้งสอง ครับ

แต่หากเป็นปฐมฌาน ตามแบบฉบับพระพุทธเจ้า
สามารถที่จะหลุดพ้นจากอาสวะได้ ครับ
เพราะ ท่านทรงแนะนำให้พิจารณาถึงองค์ประกอบของปฐมฌานที่มีอยู่นั้น
ลงสู่ความเป็นไตรลักษณ์ เลย ครับ




เห็นด้วยครับ คุณปล่อยรู้


ตรงจุดนี้ เคยมีผู้เสวนากัน


ว่า ทำไม ก็ในเมื่อเจ้าชายสิตทัตถะท่านทรงเคยบรรุถึงอรูปสมาบัติขั้นสูงในคราวไปศึกษากับดาบสทั้งสอง. ซึ่ง ถ้าว่ากันตามหลักแล้ว ในการเจริญอรูปสมาบัติพระองค์ก็ต้องเคยผ่านปฐมฌานมาก่อน อยู่แล้ว...
ทำไม พระองค์ไม่ใส่ใจ ไม่สนใจ ในปฐมฌานที่ท่านน่าจะผ่านมาแล้วในคราวนั้นเลย


แต่ พระองค์กลับทรงระลึกถึง ปฐมฌานที่บังเกิดจากอานาปานสติ(พิจารณาเห็นกายในกาย) ในคราวที่พระองค์ทรงพระเยาว์ ว่าเป็นหนทางแห่งการตรัสรู้


ผมจึงเห็นด้วยกับ ความเห็นที่ว่า สมาบัติทั้งแปดที่พระองค์เคยศึกษาสำเร็จเมื่อคราวอยู่กับท่านดาบสทั้งสอง ไม่ได้อยู่ในแนวทางอริยมรรค คือ สมาบัติทั้งแปดนั้นๆ ยังไม่ใช่เป็นสมาธิที่สืบเนื่องจาก การพิจารณาเห็นกายใยกาย(เวทนา จิต ธรรม ในลักษณะเดียวกัน) จึงไม่นับว่าเป็นอริยะ(สัมมา)สมาธิ และ ไม่นำไปสู่การตรัสรู้ชอบเห็นแจ้งในไตรลักษณ์

ต่างกับ รูปฌาน๑-๔ ที่บังเกิดสืบเนื่องจากการพิจารณาเห็นกายใยกาย(เวทนา จิต ธรรม ในลักษณะเดียวกัน) ที่เรียกว่า อริยะ(สัมมา)สมาธิ ที่เป็นบาทแห่งการตรัสรู้ชอบเห็นแจ้งในไตรลักษณ์



ดังนั้น

ผมจึงไม่เห็นด้วยกับแนวคิดที่ว่า
 
สมถะที่เป็นวิชชาภาคิยะ(ธรรมอันมีส่วนภาคแห่งวิชชา) ก็เป็น"สมถะที่เหมือนกัน"กับของพระฤาษีนอกพระศาสนา


เพราะ ถ้าพิจารณาจากหลักฐานระดับพระสูตรต่างๆแล้ว

สมถะที่พระพุทธองค์ทรงใช้ในคืนวันตรัสรู้ พระองค์ไม่ได้ไปนำสมถะของพระฤาษีที่ไหนมาใช้หรอก

แต่เป็น สมถะที่พระองค์ทรงค้นพบในคราวทรงพระเยาว์ และ นำมาต่อยอดใช้ในคืนวันตรัสรู้


 

ตอบโดย: ตรงประเด็น 11 ก.ย. 52 - 10:15


สวัสดีครับคุณตรงประเด็น และคุณปล่อยรู้

จากข้อความของ คุณปล่อยรู้

อ้างอิง
เมื่อจิตสลัดพ้นจากความเห็น จากความเข้า จากความยึดมั่นถือมั่น
ที่เคยมาปิดบังจิต ที่เคยมาครอบคลุมจิตเอาไว้
ตัวจิตที่แท้จริงจึงปรากฏ  ตัวจิตที่แท้จริงนั้นไม่มีการเกิด ไม่มีการดับ
แต่สิ่งที่มีการเกิดการดับนั้น คือตัวที่มาปิดบังจิต คือตัวที่มาครอบคลุมจิต นั้นต่างหาก
ดังนั้นจิตที่แท้จริงนั้นเมื่อหลุดพ้นจากสิ่งที่มาปิดบังครอบคุลมได้แล้ว
ตัวจิตที่แท้จริงจึงดำรงคอยู่ จึงยินดีร่าเริง จึงไม่หวาดสะดุ้ง อีกต่อไป
ตัวจิตที่แท้จริงนั้น เป็นของมีอยู่เดิมแล้ว ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน
อยู่เหนือสภาพสภาวะแห่งการเกิดดับใดๆทั้งสิ้น
อยู่พ้นจากการปรุงแต่งใดๆทั้งสิ้น.


   เป็นการกล่าวหรือความเข้าใจนั้นถูกต้องแล้วหรือ? ต้องพิจารณานะครับ

   พิจารณาข้อมูล จากการสนทนาของพระโสดาบัน(นางวิสาขา) กับพระอรหันต์(ธรรมทินนาภิกษุณี) ในพระไตรปิกฏเล่มที่ 12.


                         เรื่องสมาธิและสังขาร
           วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ธรรมอย่างไร เป็นสมาธิ ธรรมเหล่าใด เป็นนิมิตของสมาธิ
ธรรมเหล่าใด เป็นเครื่องอุดหนุนสมาธิ การทำให้สมาธิเจริญ เป็นอย่างไร?
           ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นอย่างเดียว เป็นสมาธิ สติปัฏฐาน ๔
เป็นนิมิตของสมาธิ สัมมัปปธาน ๔ เป็นเครื่องอุดหนุนสมาธิความเสพคุ้น ความเจริญ ความ
ทำให้มากซึ่งธรรมเหล่านั้นแหละ เป็นการทำให้สมาธิเจริญ.
          [๕๐๙] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็สังขาร มีเท่าไร?
           ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ สังขารเหล่านี้ มี ๓ ประการคือ กายสังขาร วจีสังขาร
จิตตสังขาร.
           วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็กายสังขาร เป็นอย่างไร วจีสังขารเป็นอย่างไร จิตตสังขารเป็น
อย่างไร?
           ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า เป็นกายสังขาร วิตกและวิจาร
เป็นวจีสังขาร สัญญาและเวทนา เป็นจิตตสังขาร.
           วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็เหตุไร ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า จึงเป็นกายสังขาร
วิตกและวิจาร จึงเป็นวจีสังขาร สัญญาและเวทนา จึงเป็นจิตตสังขาร?
           ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ลมหายใจออกและลมหายใจเข้าเหล่านี้ เป็นธรรมมีในกาย
เนื่องด้วยกาย ฉะนั้น ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า จึงเป็นกายสังขาร บุคคลย่อมตรึก
ย่อมตรองก่อนแล้ว จึงเปล่งวาจา ฉะนั้น วิตกและวิจาร จึงเป็นวจีสังขาร สัญญาและเวทนา
เป็นธรรมมีในจิต เนื่องด้วยจิต ฉะนั้นสัญญาและเวทนา จึงเป็นจิตตสังขาร.


     และจากพระไตรปิฏกเล่ม 12 ซึ่งเป็นเล่มเดียวกัน การสนทนาระหว่าง พระมหาโกฏฐิกะกับพระสารีบุตร

                         เรื่องปัญญากับวิญญาณ
          [๔๙๔] ท่านพระมหาโกฏฐิกะครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงถามท่านพระสารีบุตรว่าดูกร
ท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลมีปัญญาทรามๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอ จึง
ตรัสว่า บุคคลมีปัญญาทราม?
           ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ท่านผู้มีอายุ บุคคลไม่รู้ชัดๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสว่า เป็นบุคคลมีปัญญาทราม ไม่รู้ชัดอะไร ไม่รู้ชัดว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลไม่รู้ชัดๆ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า บุคคลมีปัญญาทราม.
           ท่านพระมหาโกฏฐิกะ ยินดี อนุโมทนาภาษิต ของท่านพระสารีบุตรว่า ถูกละ ท่านผู้มี
อายุ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหาต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลมีปัญญาๆ
ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอ จึงตรัสว่าบุคคลมีปัญญา?
           สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ บุคคลรู้ชัดๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เป็นบุคคล
มีปัญญา รู้ชัดอะไร รู้ชัดว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เพราะ
ฉะนั้น จึงตรัสว่า บุคคลมีปัญญา.
           ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า วิญญาณๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอ
จึงตรัสว่า วิญญาณ?
           สา. ธรรมชาติที่รู้แจ้งๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่าวิญญาณ รู้แจ้งอะไร
รู้แจ้งว่า นี้สุข นี้ทุกข์ นี้มิใช่ทุกข์ มิใช่สุข ธรรมชาติย่อมรู้แจ้งๆ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า
วิญญาณ.
           ก. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน หรือแยกจากกันท่านผู้มีอายุ
อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้หรือไม่?
           สา. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน ผมไม่อาจแยก
ออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้ เพราะปัญญารู้ชัดสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น วิญญาณ
รู้แจ้งสิ่งใด ปัญญาก็รู้ชัดสิ่งนั้น ฉะนั้น ธรรม ๒ ประการนี้ จึงปะปนกัน ไม่แยกจากกัน ผมไม่
อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้.
           ก. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน แต่มีกิจที่จะพึง
ทำต่างกันบ้างหรือไม่?
          สา. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน แต่ปัญญาควร
เจริญ วิญญาณควรกำหนดรู้ นี่เป็นกิจที่จะพึงทำต่างกันแห่งธรรม ๒ ประการนี้.


                       เรื่องเวทนาสัญญาและวิญญาณ
          [๔๙๕] ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เวทนาๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไร
หนอ จึงตรัสว่า เวทนา?
           สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ ธรรมชาติที่รู้ๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เวทนา
รู้อะไร รู้สุขบ้าง รู้ทุกข์บ้าง รู้สิ่งที่มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง ธรรมชาติย่อมรู้ๆ ฉะนั้น จึงตรัสว่า
เวทนา.
           ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สัญญาๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอ
จึงตรัสว่า สัญญา?
           สา. ธรรมชาติที่จำๆ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า สัญญา จำอะไร จำสีเขียว
บ้าง จำสีเหลืองบ้าง จำสีแดงบ้าง จำสีขาวบ้าง ธรรมชาติย่อมจำๆ ฉะนั้น จึงตรัสว่า สัญญา
           ก. เวทนา สัญญา และวิญญาณ ธรรม ๓ ประการนี้ ปะปนกัน หรือแยกจากกัน
ท่านผู้มีอายุ อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้หรือไม่?
           สา. เวทนา สัญญา และวิญญาณ ธรรม ๓ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน
ผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้ เพราะเวทนารู้สิ่งใด สัญญาก็จำสิ่งนั้น
สัญญาจำสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น ฉะนั้น ธรรม ๓ ประการนี้ จึงปะปนกัน ไม่แยกจากกันผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้.


จากคำกล่าวของพระธรรมทินนาภิกษุณี

    ในขณะที่ปฏิบัติอานาปาสนสติ

   ฉะนั้นสัญญาและเวทนา จึงเป็นจิตตสังขาร

    ดังนั้นจิตที่คุณปล่อยรู้กล่าวยิ่งกว่านี้อีกหรือ?   โปรดพิจารณา

    ถ้ายังคิดว่ายิ่งกว่า ก็พิจารณาคำสนทนาของพระสารีบุตร สองตอนนี้.

   ตอนที่ 1.
          สา. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน แต่ปัญญาควร
เจริญ วิญญาณควรกำหนดรู้ นี่เป็นกิจที่จะพึงทำต่างกันแห่งธรรม ๒ ประการนี้.


   ตอนที่ 2.
           สา. เวทนา สัญญา และวิญญาณ ธรรม ๓ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน
ผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้ เพราะเวทนารู้สิ่งใด สัญญาก็จำสิ่งนั้น
สัญญาจำสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น ฉะนั้น ธรรม ๓ ประการนี้ จึงปะปนกัน ไม่แยกจากกันผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้.


        ดังนั้นจิต ที่คุณปล่อยรู้ แสดงความคิดเห็นนั้น ถูกต้องหรือ? ไม่คลาดเคลื่อนหรือ?

        โปรดพิจารณานะครับ..

ตอบโดย: Vicha 11 ก.ย. 52 - 10:29


ขออนุโมทนากับทุกท่านครับ
โดยเฉพาะคุณตรงประเด็น (คห. 105 และ 108) และคุณVicha (คห. 109)

ช่วงนี้ผมเป็นอะไรก็ไม่รู้ ไม่รู้สึกว่าสงสัยในอะไรเลย อ่านแล้วก็รู้สึกเฉยๆ เสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ไม่ใช่ไม่มีความเห็นนะครับ อ่านจบปุ๊บก็มีความเห็นเกิดขึ้นอยู่ครับ แต่กลับไม่รู้สึกอยากตอบหรือออกความเห็นเหมือนเมื่อเดือนสองเดือนก่อนเลย จะว่าเบื่อก็ไม่ใช่ จะว่าไม่เบื่อก็ไม่เชิงครับ แต่ที่รู้ๆ คือ สงบและสบายดีครับ แม้ว่าบางวันจะนั่งสมาธิไม่ได้เลย ก็หงุดหงิดอยู่เหมือนกัน แต่ไม่ได้มากมายอะไร นั่งไม่ได้ก็นอนเสีย นอนแล้วหายเมื่อยก็นั่งต่อ ถ้าหลับก็หลับไปเลย เห็นสภาวะอะไรเกิดขึ้น ก็เห็น ตอนที่เห็นนั้นก็อยากจะถามอยู่หรอกครับ ว่าคืออะไร แต่พอมาอยู่หน้าคอมพ์แล้ว ก็เออ ไม่รู้จะถามไปทำไม ความรู้สึกมันบอกอย่างนั้นครับ ก็เลยได้แต่อ่านและแสดงความคิดเห็นบ้างเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น

ตามที่จริงก็คิดจะตอบไปเพียงสองบรรทัดบนสุดเท่านั้น แต่ก็เออ เราไม่ได้รายงานอะไรเพิ่มเติมบ้างเลยนานแล้วนะ ก็รายงานเสียหน่อยแล้วกัน อ้อ แล้วก็อีกอย่างหนึ่งครับ คือผมถือเอาวันที่ 09 เดือน 09 ปี 52 (09) เป็นวันสิริมงคล ด้วยการปวารณาตนถือศีลแปดเสียเลย ก็คงจะถือไปเรื่อยๆ ละครับ ถือไปจนกว่าจะไม่ถือโน่นละครับ แต่ไม่รู้ว่าจะกลายเป็นแปดเปื้อนเสียก่อนหรือเปล่าก็ไม่รู้    

ตอบโดย: ณวบุตร 11 ก.ย. 52 - 11:19


สวัสดีครับคุณ ณวบุตร

จากข้อความ

อ้างอิง
ช่วงนี้ผมเป็นอะไรก็ไม่รู้ ไม่รู้สึกว่าสงสัยในอะไรเลย อ่านแล้วก็รู้สึกเฉยๆ เสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ไม่ใช่ไม่มีความเห็นนะครับ อ่านจบปุ๊บก็มีความเห็นเกิดขึ้นอยู่ครับ แต่กลับไม่รู้สึกอยากตอบหรือออกความเห็นเหมือนเมื่อเดือนสองเดือนก่อนเลย จะว่าเบื่อก็ไม่ใช่ จะว่าไม่เบื่อก็ไม่เชิงครับ แต่ที่รู้ๆ คือ สงบและสบายดีครับ


    สมัยก่อนโน้น(2526-27) ผมก็เป็นมาก่อนครับ น่าจะวางเฉย หนักกว่าของคุณ ณวบุตร  คือสงบเฉยอุเบกขา ไม่สนใจอะไร เวลาส่งอารมณ์กรรมฐานก็นั่งเฉยไม่ส่งอารมณ์กรรมฐาน ไม่บอกและไม่มีอะไรจะถาม .
    จนขณะที่ผมกำลังเดินจงกรมอยู่ พระอาจารย์มาสกิดข้างหลังแล้วบอกว่า "เซียม ไปเป็นเพื่อนกับอาจารย์หน่อย"
     ผมก็แปลกใจเพราะผมกับพระอาจารย์ตอนนั้นยังไม่สนิดกันเลย แต่ก็เดินตามไป แล้วพระอาจารย์บอกว่า "อาจารย์ จะไปเยี่ยมผู้ป่วย ที่โรงพยาบาลพระมงกุฏ เพราะสนิดกัน"
 
     พระอาจารย์เรียกรถแทกชีไปกัน ส่วนผมก็ไปแบบนั่งซื่อเบื้ออยู่อย่างนั้น วันนี้พระอาจารย์มาแปลก เพราะปกติพระอาจารย์จะปิดกุฏิของท่านไม่คอยรับแขก แต่กลับชวนคนขับรถแท็กชีคุยมากที่เดียว ผมก็ฟังไปเรื่อยไม่พูดอะไร  แล้วพระอาจารย์ได้บอกกับแท็กชีว่า
     "ดูชี นักปฏิบัติธรรมบางคนนี้สมาธิดีมาก ตบะดีไม่เปลี่ยนอารมณ์เลย"  แล้วมองมาที่ผม ผมก็คิดว่าพระอาจารย์ชมผมเสียอีกแนะ.

      เมื่อสัมผัสกระทบอารมณ์ภายนอกที่คนปลุกพล่าน และรถราเยอะแยะ เสียงจอแจอารมณ์ก็ค่อยๆ เปลี่ยน พระอาจารย์ปรับแต่งอารมณ์ผมโดยที่ไม่ต้องพูดบอกตรงๆ เลย(เพราะถ้าบอกก็คงไม่เข้าใจได้ ติดอยู่อย่างนั้น) เมื่อกลับมาวัดปฏิบัติต่ออารมณ์เฉย อุเบกขา นั้นก็คลายไป.

      ตอนนั้นผมก็ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร?

      และมีอยู่ตอนหนึ่งที่ผมหลงวิปัสสนูกิเลส แล้วนำมาสนทนากับพระอาจารย์  พระอาจารย์ พูดว่า "อืม..ถ้าไม่มีอาจารย์คอยช่วย คงหลงเป็นมากกว่านี้"
        
        ตอนนั้นก็ งง.. อยู่เหมือนกัน เพราะไม่รู้จริงๆ ว่าท่านช่วยอย่างไร? ตอนใหน?

        แต่ปัจจุบันก็เข้าใจในคุณของพระอาจารย์ ดีขึ้น เมื่อย้อนกับไปพิจารณากับสิ่งที่ผ่านมา.
    

ตอบโดย: Vicha 11 ก.ย. 52 - 12:13


กราบขอบพระคุณครับ คุณVicha  

       

ตอบโดย: ณวบุตร 11 ก.ย. 52 - 12:22


ระหว่างนี้ผมกำลังฟังการสนทนาของพี่ Vicha กับพี่ปล่อยรู้อยู่นะครับ   จึงของดการสนทนาของผมชั่วคราว เพื่อฟังการสนทนาของพี่ Vicha กับ พี่ปล่อยรุ้ให้เสร็จสิ้นเสียก่อนครับ  

(เพื่อประโยชน์กับตัวผมเอง )

ตอบโดย: น้องบู 11 ก.ย. 52 - 14:15




บท ปุจฉา-วิสัชชนา ระหว่าง นางวิสาขามหาอุบาสิกา กับ พระธรรมทินนาภิกษุณี

ที่คุณ vicha นำมาลง มีสาระน่าสนใจมากครับ




พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์



http://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=12&item=508&items=1&preline=0&pagebreak=0

เรื่องมรรค ๘ กับขันธ์ ๓

             [๕๐๘] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อริยมรรคมีองค์ ๘ ไฉน?
             ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑วาจาชอบ ๑ ทำการงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ ความเพียรชอบ ๑ ความระลึกชอบ ๑ ความตั้งจิตไว้ชอบ ๑.

             วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นสังขตะหรือเป็นอสังขตะ?
             ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นสังขตะ.

             วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ขันธ์ ๓ (กองศีล กองสมาธิ กองปัญญา) พระผู้มีพระภาค
ทรงสงเคราะห์ด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ หรือว่าอริยมีองค์ ๘ พระผู้มีพระภาคทรงสงเคราะห์ด้วย ขันธ์ ๓.
             ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ขันธ์ ๓ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงสงเคราะห์ด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘
             ส่วนอริยมรรคมีองค์ ๘ พระผู้มีพระภาคทรงสงเคราะห์ด้วยขันธ์ ๓ คือ

วาจาชอบ ๑ ทำการงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ ทรงสงเคราะห์ด้วยศีลขันธ์

ความเพียรชอบ ๑ ความระลึกชอบ ๑ความตั้งจิตไว้ชอบ ๑ ทรงสงเคราะห์ด้วยสมาธิขันธ์

ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ทรงสงเคราะห์ด้วยปัญญาขันธ์.



เสนอ พิจารณา

1.อริยะมรรคที่มีองค์แปด เป็นสังขตะธรรม คือ เป็นธรรมที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง.

แม้นแต่ สัมมาสติความระลึกชอบ(ที่เป็นอนัตตา) ก็มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง.
ในทางปฏิบัติ เราท่าน หาใช่ไปบังคับให้สัมมาสติเกิด... แต่ เราท่าน เพียรประกอบเหตุปัจจัยที่จะยังให้สัมมาสติเกิด(ดังพระสูตรแสดงเส้นทางสู่วิมุติ)

2.สมาธิขันธ์(กองสมาธิ) ประกอบด้วย สัมมาวายมะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

พึงสังเกตุว่า สัมมาสติ ไม่ได้จัดอยู่ใน ปัญญาขันธ์(กองปัญญา) .




เรื่องสมาธิและสังขาร

             วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ธรรมอย่างไร เป็นสมาธิ ธรรมเหล่าใด เป็นนิมิตของสมาธิ
ธรรมเหล่าใด เป็นเครื่องอุดหนุนสมาธิ การทำให้สมาธิเจริญ เป็นอย่างไร?

             ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ

ความที่จิตมีอารมณ์เป็นอย่างเดียว เป็นสมาธิ

สติปัฏฐาน ๔เป็นนิมิตของสมาธิ

สัมมัปปธาน ๔ เป็นเครื่องอุดหนุนสมาธิ

ความเสพคุ้น ความเจริญ ความทำให้มากซึ่งธรรมเหล่านั้นแหละ เป็นการทำให้สมาธิเจริญ.



สมาธิ ในที่นี้ ย่อมหมายเอา สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค

พึงสังเกตุประโยค " สติปัฏฐาน ๔เป็นนิมิตของสมาธิ"

เสนอ ย้อนกลับไปอ่าน กระทู้เก่า เกี่ยวกับที่แสดง รูปฌาน๑-๔ ที่บังเกิดขึ้นจากการเจริญสติปัฏฐาน (ทันตภูมิสูตร)



ประเด็นเรื่องที่ว่า

ทำไม จึงแสดงสัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรคด้วยรูปฌาน๑-๔เท่านั้น(ไม่แสดงไปถึงอรูปฌานด้วย)

เคยมีท่านผู้รู้ชี้ให้ผมดูตรง นิมิตแห่งสัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค คือ กาย เวทนา จิต ธรรม(สติปัฏฐานสี่) .... คือ มีทั้ง รูป และ นาม เป็นอารมณ์ ....  หาใช่มีเพียง อรูปแต่อย่างเดียว .

แต่ ท่านผู้ที่เชี่ยวชาญในสมาธิวิธี ก็ย่อมที่จะสามารถต่อยอดไปยังอรูปฌานได้ด้วยเช่นกัน.



ส่วนที่มีพระสูตร ทรงแสดงถึงการพิจารณา ทั้งรูปฌาน และ อรูปฌาน ทั้งหลาย ลงสู่ไตรลักษณ์ เช่น ในฌานสูตรนั้น .....คือ ในกรณีนี้ เป็นผู้ที่ได้โลกียฌานมาก่อน แล้ว ใช้โลกียฌานนั้นๆ เป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาโดยตรงเลย


 

ตอบโดย: ตรงประเด็น 11 ก.ย. 52 - 15:23


   ตามอ่านครับ.......      

ตอบโดย: Empty 12 ก.ย. 52 - 11:09


เมื่อเข้าไปอยู่ในอรูปฌาน รูปไม่ปรากฏ สัญญาไม่ปรากฏ จิตเจ้าไปนิ่งอยู่เฉยๆ เหมือนสมาธิปฏิเสธโลกของความเป็นจริง หลบโลกของความเป็นจริง กลายเป็นความยึดถือในอรูปฌานเหมือนหลบเข้าไปอยู่ในถ้ำไม่รับรู้เรื่องภายนอก   เหมือนติดอยู่ในสมมุติมิได้นำไปสู่วิมุต ไม่ได้เป็นการสละปล่อยวาง เหตุ ละเหตุ ที่ทำให้จิตเวียนว่าย ไม่ได้เป็นแนวทางปฏิบัติทำให้จิตบริสุทธิ์ขึ้นมาลุล่วงจากกรรม ลุล่วงจากอารมณ์กรรมทั้งหลาย

ตอบโดย: pakorn.p 12 ก.ย. 52 - 11:35



เรื่องที่ว่า อรูปฌาน คือ สิ่งที่ปิดกั้นมรรคผล ของอาฬารดาบส-อุทกดาบส

ตรงจุดนี้น่าจะเป็นการเข้าใจ... จากการที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ท่านทั้งสองฉิบหายจากมรรคผลหลังทรงทราบด้วยพระญาณว่า ท่านทั้งสองทำกาละก่อนจะได้สดับอริยมรรค.



ตรงจุดนี้ บางท่านอาจจะเข้าใจว่า ท่านทั้งสองฉิบหายจากมรรคผลเพราะท่านทั้งสองบรรลุอรูปฌาน และ อรูปฌานปิดกั้นมรรคผล???



แต่ ก็มีท่านอื่นเห็นว่า ที่ท่านทั้งสองฉิบจากมรรคผลนั้น เพราะ ท่านทั้งสองตาย(ทำกาละ)เสียก่อนที่จะได้สดับอริยมรรค ต่างหาก. หาใช่ว่า อรูปฌาน ปิดกั้น มรรคผล แต่อย่างใด





มีพระสูตรที่ตรัสแสดงเรื่องที่ว่า ในโลกียฌานใดๆบ้างที่สามารถใช้เป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาไว้

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาตหน้าที่  ๓๙๐ - ๓๙๑.

ฌานสูตร  หัวข้อ240


และ จาก พุทธธรรม

เนวสัญญานาสัญญายตนะ ใช้ทำวิปัสสนา ไม่ได้


เนวสัญญานาสัญญายตนะ และสัญญาเวทยิตนิโรธ จัดได้ว่าเป็น สมาบัติจำพวกเสวยผล มิใช่ประเภทสำหรับใช้ทำกิจ

สมาบัติที่ต่ำ กว่านั้น คือ ตั้งแต่อากิญจัญญายตนะลงไป จึงจะใช้ได้ทั้งสำหรับเสวยผลและสำหรับทำกิจ ทั้งนี้เพราะยังมีสัญญาและธรรมอื่นๆ ที่ ประกอบร่วมอยู่ชัดเจนพอ

ดังที่ท่านเรียกอากิญจัญญายตนะว่า เป็น ยอดแห่งสัญญาสมาบัติ- (ขุ.จู.30/260/134 ฯลฯ) คือ เป็นสมาบัติชั้นสูงสุดที่ยังมีสัญญา หรือบางทีเรียกว่าสัญญัคคะ แปลว่า ยอดแห่งสัญญา หรือสัญญาอย่างยอด เพราะเป็นสมาบัติ โลกีย์ชั้นสูงสุดที่ใช้ทำกิจ

ได้ (ที.อ.1/424)



พอจะสรุปได้ว่า

เว้น เนวสัญญานาสัญญายตนะ และ สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้ว.... ทั้งรูปฌาน และ อรูปฌาน ที่เหลือทั้งหมด สามารถใช้เป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาได้



ปล.. ที่กล่าวข้างต้นนี้ คือ การใช้ฌานเป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาโดยตรง

เป็นคนล่ะประเด็น กับ รูปฌาน๑-๔ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการเจริญสติปัฏฐาน ที่เรียกว่า สัมมาสมาธิในองค์อริยมรรค  ซึ่งตรงจุดนี้ เป็น โลกุตระฌาน แล้วแน่นอน





  
 

ตอบโดย: ตรงประเด็น 12 ก.ย. 52 - 16:49


ขอยกพระสูตรที่สนับสนุนความเห็นของโยมตรงประเด็น ดังนี้

อนุปทสูตร (๑๑๑) (การเข้าฌานไปตามลำดับขั้นของพระสารีบุตร)
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=2324&Z=2444

๒. อัฏฐกนาครสูตร (พระอานนท์แสดงธรรมโปรดทสมคฤหบดี ชาวเมืองอัฏฐกะ) ว่าด้วยเรื่องขุมทรัพย์ 11 ขุม
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=13&A=303&Z=479

ตอบโดย: wit 12 ก.ย. 52 - 16:57


อ้างอิง
ปล.. ที่กล่าวข้างต้นนี้ คือ การใช้ฌานเป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาโดยตรง

เป็นคนล่ะประเด็น กับ รูปฌาน๑-๔ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการเจริญสติปัฏฐาน ที่เรียกว่า สัมมาสมาธิในองค์อริยมรรค  ซึ่งตรงจุดนี้ เป็น โลกุตระฌาน แล้วแน่นอน


อภิธรรมภาชนีย์

             [๔๕๘] สติปัฏฐาน ๔ คือ
                          ๑. ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่
                          ๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่
                          ๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่
                          ๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่

[เห็นกายในกาย]
             [๔๕๙] ก็ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร
             ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้
เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วย วิตก วิจาร มีปีติและสุข
อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ
อยู่ ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความ
ทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ
สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้
เรียกว่าสติปัฏฐาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน

[เห็นเวทนาในเวทนา]
             ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร
             ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก
ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข
อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ
อยู่ ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อัน
เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่าสติปัฏฐาน
ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน

[เห็นจิตในจิต]
             ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร
             ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก
ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก-
อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข
อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่
ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์
แห่งมรรค นับเนืองในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่าสติปัฏฐาน ธรรม
ทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน

[เห็นธรรมในธรรม]
             ก็ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร
             ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก
ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข
อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ
อยู่ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน
ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน
             ในธรรมเหล่านั้น สติปัฏฐาน เป็นไฉน
             ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก
ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข
อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ
อยู่ ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อัน
เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่าสติปัฏฐาน
ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน

ที่มา:
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=35&A=6260&Z=6310


ตอบโดย: wit 12 ก.ย. 52 - 17:07


อ้างอิง (Vicha @ 11 ก.ย. 52 - 10:29)

   ฉะนั้นสัญญาและเวทนา จึงเป็นจิตตสังขาร

    ดังนั้นจิตที่คุณปล่อยรู้กล่าวยิ่งกว่านี้อีกหรือ?     


สา. เวทนา สัญญา และวิญญาณ ธรรม ๓ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน
ผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้ เพราะเวทนารู้สิ่งใด สัญญาก็จำสิ่งนั้น


สวัสดีครับพี่วิชา และกัลยาณธรรม ทุกๆท่านครับ

ผมเห็นด้วยกับธรรมที่พี่วิชา นำมาให้พิจารณาครับ
และผมไม่มีความคิดเห็นขัดแย้งแต่อย่างใดทั้งสิ้น ครับ


กายสังขาร...ลมหายใจ
วจีสังขาร...วิตกวิจาร
จิตสังขาร...สัญญา เวทนา

สังขารทั้ง๓นี้ มีการเกิด-ดับ เป็นธรรมดา
มิใช่สตว์ มิใช่บุคคล มิใช่ตัวตน แต่อย่างใด ทั้งสิ้น

เวทนา สัญญา วิญญาณ ปัญญา
ธรรมทั้งหลายนี้ ก็มีการเกิด-ดับ เป็นธรรมดาอีกเช่นกัน
มิใช่สัตว์ มิใช่บุคคล มิใช่ตัวตน แต่อย่างใด ทั้งสิ้น


ผมเข้าใจว่า พี่วิชา กำลังเกิดความเข้าใจกับผมว่า
ปล่อยรู้ กำลังเข้าใจผิดว่า"มีจิตที่ไม่มีการเกิด-ดับ"  อยู่ใช่ไหมครับ
จิตสังขาร อันหมายถึง สัญญา,เวทนา ที่พี่ยกมาให้ดูก็ดี
หรือจะเป็นจิตอันหมายถึง เวทนา สัญญา วิญญาณ หรือปัญญา
ตามที่ท่านพระสารีบุตรแสดงก็ดี


ผมก็เห็นตามนั้นครับว่า จิตทั้งหลาย ตามความหมายที่แสดงในธรรม
ที่พี่ยกมาให้ผมพิจารณานั้น มีความเกิด-ดับเป็นธรรมดา
ยังไม่มีธรรมใดที่บงชี้บอกให้เห็นว่า "มีจิตอื่นใดที่เกิดแล้วไม่ดับ"



ผมเองนั้น ก็ยังมิได้แสดงหรือมีความเห็นใดๆเลยครับ
ที่จะมองเห็นว่า, ที่จะบอกว่า..."จิตมีการเกิด แล้วไม่มีการดับ"...


แต่ผมมีความเห็นว่า มีความเชื่อว่า
เมื่อมีการเกิดขึ้น ย่อมมีการดับ เป็นธรรมดา
ไม่มีสิ่งใดๆที่เกิดขึ้นมาแล้ว ไม่มีการดับ.
แต่เมื่อมี การเกิด -การดับ เป็นธรรมดา
ก็ย่อมที่จะมี การไม่เกิด ไม่ดับ อยู่เป็นธรรมดา อีกเช่นกัน ครับ


หรือพี่วิชา จะไม่เห็นด้วยที่ว่า "การไม่เกิด ไม่ดับ" นั้นไม่มี ?
หรือพี่วิชา จะปฏิเสธ "สิ่งที่ไม่เกิด ไม่ดับ" ว่าไม่มี หรือเปล่า ครับ


หลักคำสอนของพระพุทธศาสนา
หัวใจคือการหลุดพ้นจาก ความเกิด-ดับ มิใช่หรือ ครับ.

พระพุทธศาสนา บอกว่า "สิ่งที่เกิด แล้วไม่ดับ" นั้นไม่มี
เมื่อมีการเกิดขึ้น ย่อมมีการดับ.
และถ้ายังไม่มีการเกิดขึ้น จะกล่าวว่า มีการดับ ก็คงไม่ถูกต้อง
เพราะเมื่อยังไม่มีการเกิด แล้วจะเอาอะไรที่ไหนมาดับกัน (ผมมีความเข้าใจอย่างนี้ ครับ)


ทุกข์ยังไม่เกิด ก็ยังไม่มีทุกข์ดับ
ราคะยังไม่เกิด ก็ยังไม่มีราคะดับ
โทสะยังไม่เกิด ก็ยังไม่มีโทสะดับ
โมหะยังไม่เกิด ก็ยังไม่มีโมหะดับ
ตัวตนยังไม่เกิด ก็ยังไม่มีตัวตนดับ

ความรู้สึกว่าเป็นตัวเราของเรา ยังไม่เกิด
ก็ยังไม่มีความรู้สึกว่าเป็นตัวเราของเรา ที่ไหนดับ ครับ



ผมกำลังจะชี้ว่า ถ้ายังไม่มีการเกิด ก็ยังไม่มีอะไรที่ดับ ครับ


ตัวผู้รู้ลมหายใจ หรือจิตผู้รู้ลมหายใจ หรือสิ่งที่เข้าไปรู้ลมหายใจ
เมื่อมีการเกิดขึ้น ก็ย่อมมีการดับไปเป็นธรรมดา

แต่เมื่อตัวรู้ลมหายใจ หรือจิตผู้รู้ลมหายใจ หรือสิ่งที่เข้าไปรู้ลมหายใจ
ยังไม่มีการเกิดขึ้น การดับของตัวรู้ลมหายใจ ก็จะยังไม่มี


ดังนั้น ผมจึงมีความเห็นว่า
สิ่งใดๆที่ยังไม่มีการเกิด
การที่จะพูดถึงความดับของสิ่งใดๆนั้น จึงไม่เป็นไปด้วยเหตุผล ครับ



การไม่ปรากฏเกิดขึ้นแห่ง
กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร  เป็นสิ่งไปได้ใช่ไหม ครับ

อะไรคือเหตุปัจจัยทำให้
กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร ไม่ปรากฏเกิดขึ้น ครับ


ร่างกายนี้ ชีวิตนี้ ยังคงดำรงคอยู่
กายสังขาร(ลมหายใจ) วจีสังขาร(วิตกวิจาร) จิตสังขาร(สัญญา เวทนา) มีโอกาสที่จะไม่ปรากฏเกิดขึ้นได้ไหมครับ ?
*อะไรคือเหตุปัจจัยทำให้
กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร ไม่ปรากฏเกิดขึ้น ครับ*

เตสังวู ปสโมสุโข
ความเข้าไปสงบระงับซึ่งสังขารเสียได้ คือความสุข.

เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง
เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง...




* ความปล่อยวางลงเสียได้ซึ่งกายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร ทั้งปวง
เป็นความสุขอันงดงามอย่างยอดยิ่ง.

*การไม่ปรากฏเกิดขึ้นของ กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร ทั้งปวง
เป็นความสงบระงับ เป็นความสุขอันเป็นอมตะ.

*แก้วน้ำที่มีน้ำ ย่อมแตกต่างจากแก้วน้ำที่ไม่มีน้ำ
ทั้งที่เป็นแก้ว ชนิดเดียวกัน

*จิตที่ถูกปกคลุมหุ้มห่อด้วยราคะ โทสะ โมหะ
ย่อมแตกต่างจากจิตที่ปลอดจากราคะ โทสะ โมหะ
ทั้งที่เป็นจิตเหมือนกัน

*การบีบบังคับจับฝืน
กับการปล่อยวาง สลัดทิ้งคืน ย่อมเป็นธรรมชาติที่แตกต่างกัน

*การรู้อยู่กับลมหายใจโดยการบังคับจับฝืน
กับการรู้อยู่กับลมหายใจโดยปกติ โดยธรรมดา
ย่อมให้ผลที่แตกต่างกัน

*ลมหายใจมีอยู่ตามปกติธรรมดาของมันเองอยู่แล้ว
ขอเพียงแค่ปล่อยวาง ตัวผู้รู้ตัวผู้ดูลมหายใจ สลัดคืนทิ้งลงไปเท่านั้น
ลมหายใจก็จะเป็นลมหายใจที่บริสุทธิ์ กลับคืนสู่ความเป็นปกติ
ตามธรรมชาติ ตามธรรมดาของมันเอง.


*สิ่งที่รับรู้ การมีอยู่ของลมหายใจ
โดยที่สิ่งๆนั้น อยู่เหนือพ้นการเกิด-ดับ นั้นมีอยู่หรือไม่ ?


















 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 12 ก.ย. 52 - 20:18



สาธุ พระคุณเจ้า คห 118 119 น่ะครับ



 

ตอบโดย: ตรงประเด็น 12 ก.ย. 52 - 20:42


เกี่ยวกับ การที่ผมนำเสนอ สาระจาก พระสูตร

ในประเด็นที่ว่า จากพระสูตร มีการแสดง รูปฌาน๑-๔ ที่บังเกิดสืบเนื่องจากการเจริญสติปัฏฐาน(สัมมาสมาธิในองค์อริยมรรค) อยู่จริง นั้น




ผมอยากเรียนให้ ผู้ร่วมเสวนา และ เพื่อนสมาชิกทราบว่า

ผมไม่ได้มีเจตนา ที่จะไปเสนอว่า ทุกคนที่เจริญสติปัฏฐานสี่แล้ว จะต้องบังเกิดรูปฌาน๑-๔ให้เห็นกัน .....ถ้าไม่บังเกิดรูปฌาน๑-๔ให้เห็นกันถือว่าผิด.....
รวมทั้ง ไม่ได้สนับสนุนให้มุ่งเจริญสติปัฏฐานเพื่อให้เกิดฌาน ....แต่อย่างใด น่ะครับ

เพราะ แม้นแต่ รูปฌาน๑-๔ฌานที่บังเกิดขึ้นจากการเจริญสติปัฏฐานจะจัดว่าเป็นโลกุตระฌานแล้ว แต่ ก็ยังถือว่า ไม่ใช่ที่สุดของการพ้นทุกข์....

ที่สุดของการพ้นทุกข์ ย่อมต้องเป็น เจโตวิมุตติที่ไม่กลับกำเริบ และ ปัญญาวิมุตติ นั่นเอง



อีกทั้ง ท่านผู้รู้เคยกล่าวไว้ว่า การเจริญภาวนาเพื่อมุ่งหมายฌาน ก็จะเป็นเหตุให้จิตเครียดเกร็ง ไม่เป็นธรรมชาติที่นุ่มนวลควรแก่การงาน

เข้าลักษณะ ยิ่งอยากให้จิตเป็นฌาน มันยิ่งไม่เป็นฌาน!!!




ที่ ผมนำเสนอนี้ เหตุผลหลัก ก็คือ

เพื่อให้สมาชิกได้รับทราบว่า คำว่า ฌาน นั้นเป็นคำเรียกรวมๆ เป็นได้ทั้ง โลกียะ และ โลกุตระ....

และ โลกุตระฌานที่ฤาษีนอกพระศาสนา(อริยมรรค)นี้ ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน  ก็ เป็นผลสืบเนื่องจากการเจริญสติปัฏฐานสี่ นั้นเอง





บางท่าน อาจจะสงสัยว่า

ทำไม เจริญสติปัฏฐานสี่แล้ว ไม่เห็นฌานปรากฏเลย?


ผมขอเรียนว่า ท่านที่เจริญสติปัฏฐานสี่แล้ว ไม่เห็นฌานปรากฏเลยนั้น...ไม่ต้องกังวลครับ

คือ ถึงแม้นว่า  ในแนวทางทั้ง๔สู่อรหัตตผล (จาก ยุคนัทธวรรค ยุคนัทกถา) จะแสดงว่า ทุกแนวทางล้วนต้องบริบูรณ์ทั้งสมถะ (เอกัคคตาจิต) และ วิปัสสนา ก็จริง

แต่ เอกัคคตาจิต หรือ ฌานจิต นี้ ในแต่ละกลุ่ม(ที่มีจริตนิสัย และ ปัจจัยพื้นฐานแตกต่างกัน) ก็จะบังเกิดเอกัคคตตาจิตขึ้น ในเวลาที่ไม่เท่ากัน


ในกลุ่มที่มีนิสัยทางสมาธิ และ มีความสามารถแห่งเนกขัมมะดำริ ...สมถะจะเด่น และ ปรากฏตั้งแต่ต้น

ในกลุ่มที่มีนิสัยทางปัญญา ....สมถะจะไม่เด่น และปรากฏในตอนท้ายๆ

ในกลุ่มที่อยู่ระหว่างสองกลุ่มนี้... สมถะ และ วิปัสสนา ก็จะปรากฏเคียงคู่กันไป



ดังนั้น

ไม่ว่า เอกัคคตาจิต จะปรากฏขึ้นหรือไม่ในการภาวนา ฌ ขณะนี้ ก็ไม่จำเป็นต้องไปกังวลแต่อย่างใดครับ

ขอเพียงมีสติสืบเนื่องกับการเจริญอริยมรรค และ ทุกข์น้อยลงเรื่อยๆ ...ก็ ถูกทาง ทั้งนั้น







 

ตอบโดย: ตรงประเด็น 12 ก.ย. 52 - 21:16


เกี่ยวกับ ประเด็น เนกขัมมะดำริ(ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ) กับ การที่มีแนวโน้มสมถะ(เอกัคคตาจิต) จะเจริญ นั้น



ขอเสนอพระสูตร

พระไตรปิฎกเล่มที่ 31 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 23
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา

ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา


[๕๓๕] ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ

ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ

วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

ด้วยประการดังนี้สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ



ปล... เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น  เป็นความหมายเดียวกับ เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า

พระสูตรนี้ กล่าวถึง

ความสามารถแห่งเนกขัมมะ เป็นเหตุให้สมถะ(เอกัคคตาจิต)เจริญก่อนวิปัสสนา




ขออนุญาต

เสนอให้ย้อนกลับไป ทบทวน เปรียบเทียบกันกับ ทันตภูมิสูตร ที่๕ อีกครั้ง

http://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=14&item=388&items=1&preline=0&pagebreak=0


พระสูตรนี้เริ่มจากการสนทนาระหว่างท่านสมณุทเทสอจิรวตะ(อัคคิเวสนะ) กับ พระราชกุมารชยเสนะ ในประเด็นที่ว่า

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ พึง สำเร็จเอกัคคตาแห่งจิต ได้ ฯ

และ ในสุดท้าย พระราชกุมารชยเสนะ ก็สรุปด้วยภาวะมุมมองแห่งตนเอง(ที่ยังคงจมกามอยู่) ว่า ประเด็นนี้ เป็นไปไม่ได้...

คือ ไม่มีทางที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จะสำเร็จเอกัคคตาแห่งจิต ได้...



ท่านสมณุทเทสอจิรวตะ จึงมากราบทูลให้พระพุทธองคฺทรงทราบ และ พระพุทธองค์ก็ทรงแสดงธรรม ชี้เหตุผลกับท่าน

ใน พระพุทธเทศนานั้น บรรยายตั้งแต่ เหตุที่พระราชกุมารไม่อาจจะคาดหยั่งถึงการสำเร็จเอกัคคตาแห่งจิตได้ เพราะ ยังคงจมอยู่ในกามอยู่ ว่า

ดูกรอัคคิเวสสนะ

พระราชกุมารจะพึงได้ความข้อนั้นในภาษิตของเธอนี้แต่ที่ไหน

ข้อที่ ความข้อนั้น เขารู้ เขาเห็น เขาบรรลุ เขาทำให้แจ้งกันได้ด้วยเนกขัมมะ
 
แต่พระราชกุมารชยเสนะยังอยู่ท่ามกลางกาม ยังบริโภคกาม ถูกกามวิตกกิน ถูกความเร่าร้อนเพราะกามเผา ยังขวนขวายในการ แสวงหากาม จักทรงรู้ หรือจักทรงเห็น หรือจักทรงทำให้แจ้งความข้อนั้นได้

นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ฯ




จากพระสูตรต่างๆ เหล่านี้

บ่งชี้ว่า เอกัคคตาจิต(ฌานจิต) นั้น จะมีส่วนอาศัย เนกขัมมะดำริ เป็นพื้นฐาน


อนึ่ง

เนกขัมมะดำริ นี้ อาจจะไม่ใช่เพียง การถือศีลเนกขัมมะ(เช่น ศีล๘)เท่านั้น....

แต่ อาจจะครอบคลุม ถึง การที่ปกติเป็นผู้ไม่ฟุ้งเฟ้อ ใช้ชีวิตเรียบง่าย ไม่ชอบแต่งตัว ไม่ชอบงานมหรสพรื่นเริง เป็นผู้ปกติมีอินทรีย์สังวร ในชีวิตประจำวัน

ดังเช่น เวลาที่ มีผู้เจริญอานาปานสติ แล้วจิตไม่สงบ ไปถามวิธีแก้ไข ครูบาอาจารย์ ท่านมักจะ แนะนำให้

พยายามใช้ชีวิตให้เรียบง่าย
รักษาศีลให้ดี
ระมัดระวังอารมณ์ (สำรวมอินทรีย์)
ๆลๆ

เช่น จาก

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=25447



ปล...

ท่านใดที่ภาวนาไปแล้ว ไม่เคยปรากฏเอกัคคตาจิตเลย นั้น

นอกเหนือ จากเหตุผลด้านจริตนิสัย ที่ ตนเองอาจจะเป็นผู้ที่เป็นปัญญาจริตแล้ว(มองโลกในแง่ดี )

ก็ อาจต้องทบทวนเรื่อง เนกขัมมะดำริ ศีล อินทรีย์สังวร ด้วย น่ะครับ...ว่า อาจจะยัง ไม่เพียงพอ ที่จะสนับสนุนการเกิดขึ้นแห่ง เอกัคคตาจิต









 

ตอบโดย: ตรงประเด็น 12 ก.ย. 52 - 21:56


สวัสดีครับ คุณณวบุตร น้องบู คุณตรงประเด็น หลวงวิท  คุณ Empty คุณ pakorn.p คุณปล่อยรู้

จากข้อความของคุณปล่อยรู้

อ้างอิง
ตัวผู้รู้ลมหายใจ หรือจิตผู้รู้ลมหายใจ หรือสิ่งที่เข้าไปรู้ลมหายใจ
เมื่อมีการเกิดขึ้น ก็ย่อมมีการดับไปเป็นธรรมดา

แต่เมื่อตัวรู้ลมหายใจ หรือจิตผู้รู้ลมหายใจ หรือสิ่งที่เข้าไปรู้ลมหายใจ
ยังไม่มีการเกิดขึ้น การดับของตัวรู้ลมหายใจ ก็จะยังไม่มี


ดังนั้น ผมจึงมีความเห็นว่า
สิ่งใดๆที่ยังไม่มีการเกิด
การที่จะพูดถึงความดับของสิ่งใดๆนั้น จึงไม่เป็นไปด้วยเหตุผล ครับ


ผมถามว่า ขณะนั้นรู้ลมหายใจหรือเปล่า?

  ถ้าตอบว่า รู้ลมหมายใจ  ผมต้องขอโทษนะครับที่กล่าวตรงๆ  เป็นอันว่าข้อความในอ้างอิงที่คุณปล่อยรู้แสดงนั้น เป็นจินตนาการเอาเองว่า ไม่เกิดไม่ดับ เพราะไปเข้าใจว่าความสำคัญมั่นหมายเป็นตัวเป็นตนยังไม่แสดงหรือยังไม่เกิดขึ้นเลย

   เพราะผู้ปฏิบัติถึงอุปจารสมาธิ เกิดสภาวะนี้ได้อย่างชัดเจน ครับ โดยที่เกิดสภาวะ มีสติรู้เอง ตามลำดับของสมาธิ.
    หรือแม้แต่ผู้ที่ปฏิบัติจนมีขณิกะสมาธิ อย่างแก่ๆ ก็บังเกิดสภาวะนี้ได้ คือกรรมฐานมีสติรู้ไปเองดำเนินไปได้สะดวก เสมือนไม่จงใจ หรือเสมือนไม่มีตัวตนไปกำหนด มันเป็นปัจจุบันเอง.

   สภาวะเช่นนี้ มีสติรู้เอง หรือเสมือนไม่จงใจ หรือเสมือนไม่มีตัวตนของเราไปกำหนด ผู้ที่ปฏิบัติจนเกิดขณิกะสมาธิอย่างแก่ หรือ อุปจารสมาธิ  ที่ผ่านถึงจุดนี้มาบ้างแล้ว หรือเกิดบ่อยๆ ย่อมทราบดีแล้วครับ.


  (ส่งข้อมูลนี้ให้พิจารณาก่อนนะครับ)

ตอบโดย: Vicha 12 ก.ย. 52 - 23:00


จากข้อความของคุณปล่อยรู้

อ้างอิง
การไม่ปรากฏเกิดขึ้นแห่ง
กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร  เป็นสิ่งไปได้ใช่ไหม ครับ



ตอบ  เมื่อยังมีชีวิต หรือ ชีพ ดำเนินไปได้อยู่ แม้ว่า กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร ดับไป แล้ว การที่จะไม่ปรากฏเกิดขึ้นอีก ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ครับ.


อ้างอิง
อะไรคือเหตุปัจจัยทำให้
กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร ไม่ปรากฏเกิดขึ้น ครับ


ตอบ ถ้าไม่เกิดขึ้นอีกเลย ตาย  ครับ เพราะดับขันธ์ จากร่างกายไปแล้ว

อ้างอิง

ร่างกายนี้ ชีวิตนี้ ยังคงดำรงคอยู่
กายสังขาร(ลมหายใจ) วจีสังขาร(วิตกวิจาร) จิตสังขาร(สัญญา เวทนา) มีโอกาสที่จะไม่ปรากฏเกิดขึ้นได้ไหมครับ ?
*อะไรคือเหตุปัจจัยทำให้
กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร ไม่ปรากฏเกิดขึ้น ครับ*


ตอบเมื่อยังมีชีวิตดำรงอยู่ หรือยังมี อายุและไออุ่น  ก็ต้องดับทั้ง 3 นั้นก่อน แล้วไม่ปรากฏเกิดขึ้นดำเนินไปช่วงเวลาหนึ่ง ก็มีแต่พระอนาคามี และพระอรหันต์ ที่เข้านิโรธสมาบัติครับ.

(ส่งแค่นี้ก่อนนะครับ)

ตอบโดย: Vicha 12 ก.ย. 52 - 23:23


จากคำถามของคุณปล่อยรู้

อ้างอิง
*สิ่งที่รับรู้ การมีอยู่ของลมหายใจ
โดยที่สิ่งๆนั้น อยู่เหนือพ้นการเกิด-ดับ นั้นมีอยู่หรือไม่ ?


          ผมจะตอบเป็นเงื่อนไข ตามเหตุและผลให้ทราบนะครับ.

         สิ่งที่รับรู้ การมีอยู่ของลมหายใจ  นอกจากจิตแล้วจะมีอย่างอื่นอีกหรือ?

         ตอบ ไม่มี

          สิ่งที่รับรู้ มีปัญญาหลุดพ้น จากกิเลส คืออะไร?
 
         ตอบ จิต

          จิตมีปัญญาหลุดพ้น จากกิเลส เพราะอะไร?

         ตอบ เพราะบรรลุนิพพานอย่างสมบูรณ์

     
         ดังนั้นถ้าถามว่า พระนิพพาน รับรู้การมีอยู่ของลมหายใจหรือไม่?

         ตอบ.ทำไมต้องไปรับรู้เหล่า เพราะนิพพานนั้นไม่มีการมาการไป เป็นสภาพธรรมที่เป็นอยู่อย่างนั้น พ้นจากสังขตธรรมทั้งหลาย.

         สรุป การถามตอบเป็นเงื่อนไข นั้น สิ่งที่รับรู้การมีอยู่ของลมหายใจ นั้นก็คือจิตนั้นเอง  ก็มีจิตสองประเภท คือ จิตที่ยังมีกิเลสอยู่ กับจิตที่หมดสิ้นกิเลสแล้ว อะไรจะนอกเหนือไปจากนี้อีกเหล่า.
 

ตอบโดย: Vicha 12 ก.ย. 52 - 23:49


อ้างอิง (ตรงประเด็น @ 12 ก.ย. 52 - 21:56)
ปล...

ท่านใดที่ภาวนาไปแล้ว ไม่เคยปรากฏเอกัคคตาจิตเลย นั้น

นอกเหนือ จากเหตุผลด้านจริตนิสัย ที่ ตนเองอาจจะเป็นผู้ที่เป็นปัญญาจริตแล้ว(มองโลกในแง่ดี )

ก็ อาจต้องทบทวนเรื่อง เนกขัมมะดำริ ศีล อินทรีย์สังวร ด้วย น่ะครับ...ว่า อาจจะยัง ไม่เพียงพอ ที่จะสนับสนุนการเกิดขึ้นแห่ง เอกัคคตาจิต
(ตรงประเด็น @ 12 ก.ย. 52 - 21:56)

เห็นด้วยครับ  

ตอบโดย: น้องบู 13 ก.ย. 52 - 00:50


ในแนวทางทั้ง๔สู่อรหัตตผล (จาก ยุคนัทธวรรค ยุคนัทกถา) ในสมัยพุทธกาล

จะแสดงว่า ทุกแนวทางล้วนต้องบริบูรณ์ทั้งสมถะ (เอกัคคตาจิต) และ วิปัสสนา

ต่างกันแต่ว่า สมถะ หรือ วิปัสสนา จะปรากฏก่อนกัน
หรือ ปรากฏคู่เคียงกันไป




ในสมัยพุทธกาล

กรณีของพระสาวกที่เคยเป็น อดีตฤาษี หรือ อดีตชฎิล ที่ท่านฝึกสมาบัติต่างๆจนสำเร็จโลกียฌานมาก่อน
ท่านเหล่านั้น จิตห่างจากกามแล้ว การใช้โลกียฌานเป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาโดยตรงจึงยังให้จิตหลุดพ้นไปได้เลย ดังเช่น ปรากฏในฌานสูตร

ซึ่งน่าจะตรงกับ การเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า




ย้อนกลับมายัง การเจริญอานาปานสติ ตามในอานาปานสติสูตร

ท่านผู้รู้เคยกล่าวไว้ว่า การเจริญอานาปานสติ ตามในอานาปานสติสูตรนั้น มีทั้ง สมถะ และ วิปัสสนา ปะปนกันไป

ในขั้นกายานุปัสสนา สมถะจะเด่น
ในขั้น เวทนานุปัสสนา และ จิตตานุปัสสนา สมถะและวิปัสสนาจะปรากฏทั้งคู่
ในขั้น จิตตานุปัสสนา วิปัสสนาจะเด่น

ซึ่งน่าจะตรงกับ การเจริญสมถะ และ วิปัสสนาคู่เคียง กันเป็นไป




แต่ เป็นเพราะในสมัยหลังพุทธกาล
มีการผนวก การเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า เข้ากับ การเจริญสมถะคู่เคียงกับวิปัสสนา ให้อยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน แล้วเรียกเสียใหม่ว่า สมถะยานิก

ในยุคปัจจุบัน บางท่าน เวลานึกถึงอานาปานสติ เลยไปนึกถึงว่า เป็นแบบเดียวกันกับ การเจริญสมาธิแบบของพระฤาษีนอกพระศาสนา






 

ตอบโดย: ตรงประเด็น 13 ก.ย. 52 - 08:37


สวัสดีครับ น้องบู คุณตรงประเด็น และทุกท่าน.

  พอดีวันนี้อยู่นอกบ้าน แถวสถานีบีทีเอสอารี จึงแวบใช้อินเตอรเน็ตคาเฟ่.

  เป็นอันว่าในความเห็นก่อนๆ ผมก็ได้ตอบ ความเห็นกับคุณปล่อยรู้พอประมาณไปแล้ว.

  จนก้าวมาถึงการกล่าวเรื่อง นิพพาน.

    ดังนันผมจงของกล่าวต่อนะครับ คือจะเปรียบเทียบที่ผมได้ศึกษาและเรียนรู้มาเพื่อไม่เกิดการเคลือบแครงในความเห็นที่แสดง.

    ผมได้กล่าวตามเงื่อนไขแล้วว่า

อ้างอิง
      ผมจะตอบเป็นเงื่อนไข ตามเหตุและผลให้ทราบนะครับ.

         สิ่งที่รับรู้ การมีอยู่ของลมหายใจ  นอกจากจิตแล้วจะมีอย่างอื่นอีกหรือ?

         ตอบ ไม่มี

          สิ่งที่รับรู้ มีปัญญาหลุดพ้น จากกิเลส คืออะไร?
 
         ตอบ จิต

          จิตมีปัญญาหลุดพ้น จากกิเลส เพราะอะไร?

         ตอบ เพราะบรรลุนิพพานอย่างสมบูรณ์

    
         ดังนั้นถ้าถามว่า พระนิพพาน รับรู้การมีอยู่ของลมหายใจหรือไม่?

         ตอบ.ทำไมต้องไปรับรู้เหล่า เพราะนิพพานนั้นไม่มีการมาการไป เป็นสภาพธรรมที่เป็นอยู่อย่างนั้น พ้นจากสังขตธรรมทั้งหลาย.

         สรุป การถามตอบเป็นเงื่อนไข นั้น สิ่งที่รับรู้การมีอยู่ของลมหายใจ นั้นก็คือจิตนั้นเอง  ก็มีจิตสองประเภท คือ จิตที่ยังมีกิเลสอยู่ กับจิตที่หมดสิ้นกิเลสแล้ว อะไรจะนอกเหนือไปจากนี้อีกเหล่า.


     เพราะที่ผ่านมานั้นเป็นการกล่าวเรื่อง จิตสังขาร  จึงกล่าวเรื่องจิตเป็นจุดสำคัญ.

     ต่อไปเมื่อกล่าวถึง นิพพาน  ก็ต้องเอาความเห็น ตั้งอยู่ในความหมายของ นิพพาน เป็นสำคัญ.

      ผมได้กล่าวแล้วว่า นิพพาน นั้นไม่เป็น สังขตธรรม  แต่เป็น อสังขตธรรม หมายความอยู่กันคนละฟากคนละฝั่ง ไม่เกี่ยวของกันเลย กับสังขตธรรม หรือ รูปนามเลย.

      จากข้อความคำถาม

         ดังนั้นถ้าถามว่า พระนิพพาน รับรู้การมีอยู่ของลมหายใจหรือไม่?

         ตอบ.ทำไมต้องไปรับรู้เหล่า เพราะนิพพานนั้นไม่มีการมาการไป เป็นสภาพธรรมที่เป็นอยู่อย่างนั้น พ้นจากสังขตธรรมทั้งหลาย.

      ย่อมเป็นคำถามตอบที่มีเหตุและมีผลอยู่.

     ผมเคยเขียนบทความไว้นานแล้วว่า  นิพพานไม่ใช่ศีล  นิพพานไม่ใช่สมาธิ นิพพานไม่ใช่จิต แต่ปัญญานั้นใกล้นิพพานเป็นที่สุด.

      นิยามของ นิพพาน ที่ได้ทราบมา เป็นดังนี้  1.ดับอย่างสิ้นเชิง
                                                             2.ไม่ยึดมั่นถือมั่นอย่างสิ้นเชิง
                                                             3. เป็นสูญญตาเป็นอย่างยิ่ง.
                                                             ฯลฯ
 
      ซึ่งอยู่กันคนละฝั่งกับรูปนาม หรือสังขตธรรม ที่เราทั้งหลายเป็นอยู่ กล่าวมาเป็นภาษาหรือความเหมือนโดยสิ้นเชิงคงเป็นเรื่องยาก จึงเป็นการกล่าวในเชิงเปรียบเทียบตามบัญญัตได้.

      แม้แต่ในอภิธรรมและพระอรรถกถายังกล่ววว่า มรรคมีองค์แปด นั้นก็ยังเป็น สังขตธรรม หรือกล่าวได้ว่า โพฐิปัฏขิยธรรม 37 ประการ ก็ยังเป็นสังขตธรรม หาใช่ พระนิพพาน เพราะยังอยู่ในส่วนของ สังขตธรรม

      แต่เมื่อปัญญาบรรลุแจ้งนิพพานอย่างสมบูรณ์แล้ว จิตนั้นก็ไม่ยึดมั่นถือมั่น สงบ ไม่หวาดกลัว ไม่สะดุ่งหวาดหวั่น มีความสงบอย่างยิ่ง  เพราะคุณของพระนิพพานที่ไม่มีการไปการมา เป็นอสังขตธรรมอยู่อย่างนั้น แต่ตัวจิตนั้นหาใช้พระนิพพาน

     เพียงแต่กล่าวว่า จิตนั้นสงบเย็นหมดสิ้นกิเลส หรือกล่าวว่านิพพานแต่มีชีวิตสังขารอยู่ แต่จิตนั้นหาใช่พระนิพพาน เพราะจิตนั้นยังเป็นสังขตธรรมอยู่

      เมื่อดับขันธ์แล้วจิตนั้นก็ดับไปเพราะหมดเหตุปัจจัยของจิตแล้ว  นิพพาน ก็คงเป็นนิพพานอยู่อย่างนั้นเป็นอสังขตธรรมแท้อยู่อย่างนั้น.

   ท่านทั้งหลายลองทำความเข้าใจดูนะครับ.  ก็จะไม่ไปคิดติดอยู่กับ อัตตา ใดๆ.
 

ตอบโดย: Vicha 13 ก.ย. 52 - 10:39


     

ตอบโดย: ณวบุตร 13 ก.ย. 52 - 16:45


จิตรู้นิพพานได้ แต่จิตไม่ใช่นิพพาน อย่างนี้ใช่ไหมครับ

มรรค8เป็นสังขตธรรม ปฏิบัติไปเพื่อให้รู้นิพพาน  แต่สุดท้ายจะเอาขันธ์ใด ๆ ไปตั้งอยู่ในนิพพานไม่ได้อยู่ดีใช่ไหมครับ

นิพพานก็เป็นธรรมชนิดหนึ่ง ถือเป็นอนัตตา  (เอามาเป็นเจ้าของไม่ได้) อย่างนั้นใช่ไหมครับ

 

ตอบโดย: น้องบู 14 ก.ย. 52 - 10:07



มี ปุจฉา-วิสัชชนา

เกี่ยวกับ อรูปฌานที่ยังคงเป็นโลกียะฌาน
(แต่ อรูปฌานที่เป็นโลกุตระฌาน เช่น ที่พระสารีบุตรท่านเข้าอรูปฌานก็มีอยู่)

และ ธรรมที่เป็นโลกุตระ มาลงเพิ่มครับ


 
พระธรรมเจดีย์

ท่านที่บรรลุฌานถึงอรูปสมาบัติแล้ว ก็ยังเป็นโลกีย์อยู่ ถ้าเช่นนั้นเราจะปฏิบัติให้เป็นโลกุตตรก็เห็นจะเหลือวิสัย?

พระอาจารย์มั่น

ไม่เหลือวิสัย พระพุทธเจ้าท่านจึงทรงแสดงธรรมสั่งสอน
ถ้าเหลือวิสัย พระองค์ก็คงไม่ทรงแสดง




 

ตอบโดย: ตรงประเด็น 14 ก.ย. 52 - 10:11



มีพระสูตรที่น่าสนใจ

เกี่ยวกับ จิตแท้(จิตดั้งเดิม) จากระดับพระสูตร มาเสนอครับ



พระไตรปิฎก เล่มที่ 18

สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?start_book=18&start_byte=484427

กามภูสูตรที่ ๒

      [๕๖๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระกามภูอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราวป่ามัจฉิกาสณฑ์
ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาท่านพระกามภูถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระกามภูว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สังขารมี
เท่าไรหนอแล ท่านพระกามภูตอบว่า ดูกรคฤหบดี สังขารมี ๓ คือ กายสังขาร
วจีสังขาร จิตตสังขาร

      [๕๖๑] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ชื่นชม
อนุโมทนาภาษิตของท่านพระกามภู แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่าน
ผู้เจริญ ก็กายสังขารเป็นไฉน วจีสังขารเป็นไฉน จิตตสังขารเป็นไฉน ฯ

      กา. ดูกรคฤหบดี

ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกแลชื่อว่ากายสังขาร

วิตกวิจารชื่อว่าวจีสังขาร

สัญญาและเวทนาชื่อว่าจิตตสังขาร ฯ


      [๕๖๒] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา
ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็เพราะเหตุไร ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก
จึงชื่อว่ากายสังขาร วิตกวิจารจึงชื่อว่าวจีสังขาร สัญญาและเวทนาจึงชื่อว่าจิตต-
สังขาร ฯ

      กา. ดูกรคฤหบดี

ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเป็นของเกิดที่กาย
ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย ฉะนั้น ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกจึงชื่อว่ากาย
สังขาร

บุคคลย่อมตรึกตรองก่อนแล้ว จึงเปล่งวาจาภายหลัง ฉะนั้น วิตกวิจาร จึงชื่อว่าวจีสังขาร

สัญญาและเวทนาเป็นของเกิดที่จิต ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิตฉะนั้น สัญญาและเวทนาจึงชื่อว่าจิตตสังขาร ฯ


      [๕๖๓] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา
ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เกิดมีได้อย่างไร ฯ

กา. ดูกรคฤหบดี ภิกษุเมื่อจะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ไม่ได้คิด
อย่างนี้ว่า


เราจักเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง
เรากำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง
เราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วบ้าง

โดยที่ถูกก่อนแต่จะเข้า ท่านได้อบรมจิตที่จะน้อมไปเพื่อความเป็นจิตแท้ (จิตดั้งเดิม)

      [๕๖๔] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา
ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ธรรม
เหล่าไหนดับก่อน คือ กายสังขาร วจีสังขาร หรือจิตตสังขารดับก่อน ฯ

      กา. ดูกรคฤหบดี เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ วจีสังขารดับก่อน
ต่อจากนั้นกายสังขารดับ ต่อจากนั้นจิตตสังขารจึงดับ ฯ

      [๕๖๕] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา
ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คนที่ตายแล้ว ทำกาละแล้ว กับภิกษุผู้เข้า
สัญญาเวทยิตนิโรธ ทั้งสองนี้มีความต่างกันอย่างไร ฯ

      กา. ดูกรคฤหบดี

คนที่ตายแล้ว ทำกาละแล้ว มีกายสังขารดับสงบมีวจีสังขารดับสงบ มีจิตตสังขารดับสงบ มีอายุสิ้นไป ไออุ่นสงบ อินทรีย์แตกกระจาย

ส่วนภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ กายสังขารดับสงบ วจีสังขารดับสงบ จิตตสังขารดับสงบ (แต่) ยังไม่สิ้นอายุ ไออุ่นยังไม่สงบ อินทรีย์ผ่องใส

ดูกรคฤหบดี คนตายแล้ว ทำกาละแล้ว กับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มีความต่างกันอย่างนี้ ฯ

      [๕๖๖] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้วได้ ถามปัญหา
ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็การออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ย่อมมี
อย่างไร ฯ

      กา. ดูกรคฤหบดี ภิกษุเมื่อจะออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ไม่ได้
คิดอย่างนี้ว่า


เราจักออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติบ้าง
เรากำลังออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติบ้าง
เราออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้วบ้าง

โดยที่แท้ ก่อนแต่จะออก ท่านได้อบรมจิตที่น้อมเข้าไปเพื่อความเป็นจิตแท้ ฯ

      [๕๖๗] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา
ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
ธรรมเหล่าไหนเกิดก่อน คือกายสังขาร วจีสังขาร หรือจิตตสังขารเกิดก่อน ฯ

      กา. ดูกรคฤหบดี เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ จิตตสังขาร
เกิดก่อน ต่อจากนั้นกายสังขารจึงเกิด ต่อจากนั้นวจีสังขารจึงเกิด ฯ

      [๕๖๘] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา
ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ผัสสะเท่าไร ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกจากสัญญา
เวทยิตนิโรธสมาบัติ ฯ

      กา. ดูกรคฤหบดี ผัสสะ ๓ อย่าง คือ ๑ สุญญผัสสะ อนิมิตตผัสสะ
อัปปณิหิตผัสสะ ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ฯ

      [๕๖๙] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถาม
ปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็จิตของภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธ
สมาบัติ ย่อมเป็นธรรมชาติน้อมไปสู่อะไร โน้มไปสู่อะไร เงื้อมไปสู่อะไร ฯ

      กา. ดูกรคฤหบดี จิตของภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
ย่อมเป็นธรรมชาติน้อมไปสู่วิเวก โน้มไปสู่วิเวก เงื้อมไปสู่วิเวก ฯ

     [๕๗๐] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ชื่นชม
อนุโมทนาภาษิตของท่านพระกามภูแล้ว ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่าน
ผู้เจริญ ก็ธรรมเท่าไร ย่อมมีอุปการะมากแก่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ฯ

      กา. ดูกรคฤหบดี ท่านถามปัญหาที่ควรจะถามก่อนล่าช้าไปหน่อย แต่ว่า
อาตมาจักพยากรณ์ปัญหาแก่ท่าน ดูกรคฤหบดี ธรรม ๒ อย่าง คือ สมถะ ๑
วิปัสสนา ๑ ย่อมมีอุปการะมากแก่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ฯ






อยากเสนอคำว่า "สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ" และ คำว่า "จิตแท้(จิตดั้งเดิม)" มาพิจารณากันครับ





เพ่งเล็ง ตรง หัวข้อ ๕๖๓

[๕๖๓] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา
ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เกิดมีได้อย่างไร ฯ

กา. ดูกรคฤหบดี ภิกษุเมื่อจะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ไม่ได้คิด
อย่างนี้ว่า


เราจักเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง
เรากำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง
เราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วบ้าง

โดยที่ถูกก่อนแต่จะเข้า ท่านได้อบรมจิตที่จะน้อมไปเพื่อความเป็นจิตแท้ (จิตดั้งเดิม)




พระบาลีมีดังนี้ครับ

http://budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=18&item=563&Roman=0



คำว่า ตถา
ในรูปประโยค อถขฺวสฺส  ปุพฺเพ  ว ตถา จิตฺตํ ภาวิตํ โหติ ยนฺตํ ตถตฺตาย อุปเนตีติ ฯ



จาก

อ้างอิง
ในพระไตรปิฎกมีอยู่ทั้ง 3 คำ :

ทั้งตถา ทั้งตถตา ทั้งตถาตา

ฉะนั้นใครถึงตถา คนนั้นคือตถาคต  ตถา + คตะ,

ตถา แปลว่า เช่นนั้นเอง,
คตะแปลว่า ถึง

ผู้ใดถึง ตถา ผู้นั้นชื่อว่า ตถาคต

คือว่า ถึงความสูงสุดของสิ่งที่มนุษย์ควรจะได้จะถึง คือ ถึงเช่นนั้นเอง และ "เช่นนั้นเอง" ตัวใหญ่ที่สุด คือ พระนิพพาน"




ลองพิจารณากันดูเอาเองก่อนน่ะครับ ผิด-ถูก ประการใด....โปรด เว้นไว้ก่อน
ผมเองไม่ค่อยรู้รากภาษาบาลีสักเท่าใด

ท่านผู้ใดเชี่ยวชาญบาลี โปรดช่วย อธิบายคำแปลที่ว่า "จิตแท้(จิตดั้งเดิม)" เป็นวิทยาทาน ด้วยน่ะครับ



 

ตอบโดย: ตรงประเด็น 14 ก.ย. 52 - 10:24



จาก อริยสัจจากพระโอษฐ์

เพราะมีสิ่งที่ไม่ตาย สิ่งที่ตายจึงมีทางออก



          ภิกษุ ท.!   สิ่งซึ่งมิได้เกิด (อชาตํ)   มิได้เป็น (อภูตํ)   มิได้ถูกอะไรทำ (อกตํ)   มิได้ถูกอะไรปรุง (อสงฺขตํ)   นั้นมีอยู่.


          ภิกษุ ท.!  ถ้าหากว่า สิ่งที่มิได้เกิด  มิได้เป็น มิได้ถูกอะไรทำ มิได้ถูกอะไรปรุง  จักไม่มีอยู่แล้วไซร้  การรอดออกไปได้สำหรับสิ่งที่เกิด  ที่เป็นที่ถูกอะไรทำ  ที่ถูกอะไรปรุง ก็จักไม่ปรากฏ.


          ภิกษุ ท.!   เพราะเหตุที่มีสิ่ง  ซึ่งมิได้เกิด มิได้เป็น  มิได้ถูกอะไรทำ มิได้ถูกอะไรปรุง  นั่นเอง  การรอดออกไปได้สำหรับสิ่งที่เกิด  ที่เป็น  ที่ถูกอะไรทำ  ที่ถูกอะไรปรุง  จึงได้ปรากฏอยู่.  (ต่อไปนี้เป็นคำอธิบายที่ตรัสไว้เป็นคาถา :-)


          ใคร ๆ  ไม่ควรเพลิดเพลิน  ต่อสิ่งซึ่งเกิดแล้ว  เป็นแล้ว  เกิดขึ้นพร้อมแล้ว  อันปัจจัยกระทำแล้ว   อันปัจจัยปรุงแต่งแล้วไม่ยั่งยืน  ปรุงแต่งเพื่อชราและมรณะ  เป็นรังโรค  เป็นของผุพัง  มีอาหารและเนตติ (ตัณหา)  เป็นแดนเกิด.


          ส่วนการออกไปเสียได้จากสิ่ง (ซึ่งเกิดแล้วเป็นต้น)  นั้นเป็นธรรมชาติอันสงบ  ไม่เป็นวิสัยแห่งความตรึก  เป็นของยั่งยืนไม่เกิด  ไม่เกิดขึ้นพร้อม  ไม่มีโศก  ปราศจากธุลี  เป็นที่ควรไปถึง  เป็นที่ดับแห่งสิ่งที่มีความทุกข์เป็นธรรมดา  เป็นความเข้าไปสงบรำงับแห่งสังขารเป็นสุข,  ดังนี้.




 

 

ตอบโดย: ตรงประเด็น 14 ก.ย. 52 - 10:31



โอวาทธรรม หลวงปู่ ชา สุภัทโท



พระศาสดาเห็นอาการจิตของท่านเป็นอย่างนี้ นี่แหละท่านว่าภพยังอยู่ ชาติยังอยู่ พรหมจรรย์ยังไม่จบ

ท่านจึงยกสังขารขึ้นพิจารณาตามธรรมชาติ
เพราะมีปัจจัยอยู่นี่ จึงเกิดอยู่นี่ ตายอยู่นี่ มีอาการที่เคลื่อนไหวไปมาอยู่นี่ ท่านจึงยกสิ่งนี้พิจารณาไป ให้รู้เท่าตามความเป็นจริงของขันธ์ห้า ทั้งรูปทั้งนามสิ่งทั้งหลายที่จิตไปคิด ทุกสิ่งทุกอย่างเหล่านี้ล้วนเป็นสังขารทั้งหมด เมื่อรู้แล้วท่านให้วาง เมื่อรู้แล้วท่านให้ละ ให้รู้สิ่งเหล่านี้ตามเป็นจริง ถ้าไม่รู้ตามความเป็นจริงก็ทุกข์ ก็ไม่วางสิ่งเหล่านี้ได้ เมื่อรู้ตามความเป็นจริงแล้ว สิ่งเหล่านี้ก็เป็นของหลอกลวง

สมกับที่พระศาสดาตรัสว่า จิตนี้ไม่มีอะไร ไม่เกิดตามใคร ไม่ตายตามใคร จิตเป็นเสรี รุ่งโรจน์โชติการ ไม่มีเรื่องราวต่างๆเข้าไปอยู่ในที่นั้น ที่จะมีเรื่องราวก็เพราะมันหลงสังขารนี่เอง หลงอัตตานี่เอง

พระศาสดาจึงให้มองดูจิตของเรา เบื้องแรกมันมีอะไร ไม่มีอะไรจริงๆ สิ่งเหล่านี้มิได้เกิดด้วย มิได้ตายด้วย ถูกอารมณ์ดีมากระทบก็มิได้ดีด้วย ถูกอารมณ์ร้ายมากระทบก็มิได้ร้ายด้วย เพราะรู้ตัวของตัวอย่างชัดเจนแล้ว รู้ว่าสภาวะเหล่านี้ไม่เป็นแก่นสาร ท่านเห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ท่านให้รอบรู้ของท่านอยู่อย่างนี้

ตัวผู้รู้นี้รู้ตามความเป็นจริง ผู้รู้มิได้ดีใจไปด้วย มิได้เสียใจไปด้วย อาการที่ดีใจไปด้วยนั่นแหละเกิด อาการที่เสียใจไปด้วยนั่นแหละตาย ถ้ามันตายก็เกิด ถ้ามันเกิดก็ตาย ตัวที่เกิดที่ตายนั่นแหละเป็นวัฏฏะ เวียนว่ายตายเกิดอยู่ไม่หยุด

เมื่อจิตผู้ปฏิบัติเป็นอยู่อย่างนั้น ไม่ต้องสงสัย ภพมีไหม ชาติมีไหม ไม่ต้องถามใคร พระศาสดาพิจารณาอาการสังขารเหล่านี้แล้วจึงได้ปล่อยวางสังขาร วางขันธ์ห้าเหล่านี้ เป็นเพียงผู้รับทราบไว้เฉยๆ มันจะดีขึ้นมา ท่านก็ไม่ดีกับมัน เป็นคนดูอยู่เฉยๆ ถ้ามันร้ายขึ้นมา ท่านก็ไม่ร้ายกับมัน ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น เพราะมันขาดจากปัจจัยแล้ว รู้ตามความเป็นจริง ปัจจัยที่จะส่งเสริมให้เกิดไม่มี

ตัวนี้ก็เป็นผู้รู้ยืนตัว ตัวนี้แหละเป็นตัวสงบ ตัวนี้เป็นตัวไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย
ตัวนี้มิใช่เหตุ มิใช่ผล ไม่อาศัยเหตุ ไม่อาศัยผล ไม่อาศัยปัจจัย หมดปัจจัย สิ้นปัจจัย
นอกเหนือเกิดตาย
นอกสุขเหนือทุกข์
นอกดีเหนือชั่ว
หมดเรื่องจะพูด ไม่มีปัจจัยส่งเสริมแล้ว


เรื่องที่เราจะพูดว่าจะติดในสิ่งเหล่านี้ เป็นเรื่องจิตหรือเจตสิก


 

ตอบโดย: ตรงประเด็น 14 ก.ย. 52 - 10:37


ผู้ที่ได้อากิญจัญญายตนฌานแล้วพิจารณาธรรมทั้งหลายตามหลักพระไตรลักษณ์
(กาย เวทนา จิต ธรรม,องค์ฌาน) จะบรรลุมรรคผลได้ไวกว่าผู้ที่อาศัยรูปฌานเป็นบาทไหมครับพี่หมอ

ขอถามอีกข้อหนึ่ง เห็นพี่หมอตอบหรือตั้งกระทู้ที่ใด ก็มักจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับสมาธิ และฌาน พี่หมอมีแรงบันดาลใจจากอะไรหรือครับ หรือว่าพี่หมอเป็นฌานลาภี?

ที่ถามดังนี้เพราะพี่หมอบอกว่า พี่หมอเป็นกลางไม่อิงฝ่ายใด ทั้งฝ่ายที่สนับสนุนฌาน และไม่เอาฌาน

ขอถามอีกข้อหนึ่ง เห็นทุกๆท่านมีภูมิและปัญญาลุ่มลึกกว้างไกล น่าที่จะเพียงพอต่อการบรรลุมรรคผลกันแล้ว เพราะเหตุใดจึงยังเป็นปุถุชนกันครับ เป็นเพราะหน้าที่การงานและภาระทางครอบครัวรัดตัวหรือเปล่า?

อย่างผมนี่ ตอบได้แบบอายหน่อยๆ ว่าเป็นเพราะยังห่วงสังโยชน์และภพน้อยใหญ่ ใจยังรักกิเลสอยู่

ตอบโดย: วสวัตตี 14 ก.ย. 52 - 10:39


สวัสดีครับ คุณณวบุตร น้องบู (คุณตรงประเด็น และคุณ วสวัสติ ที่เพิ่มขึ้นภายหลัง)

    ก่อนที่ผมจะตอบคำถามของ น้องบู ผมจะกล่าวเชื่อมโยง ความเห็นความเข้าใจที่พัฒนาขึ้นจากการปฏิบัติและการเรียนรู้พระไตรปีฏกมาตามลำดับนะครับ.

    เมื่อปี 2537 ที่ผมกำหนดภาวนายินหนอ จนทิ้งหายหมดไปแบ๊บหนึ่ง เมื่อจิตไหวตัวขึ้นพร้อมกับอุทานที่จิตพุ่งจากสภาวะนั้นขึ้นมาว่า "แม้แต่เสียงที่กำหนดก็ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้" เมื่อสติรู้ชัดทั้งตัว ก็คำนึงขึ้น "แม้แต่จิตเองก็ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้"

    หลังจากนั้นปัญญาทางธรรมเกิดขึ้นเป็นร้อยนัยพันนัย  และในปลายปี่ 2537-38 ผมก็ได้เขียนบทความของตนเองขึ้นมา เรื่อง โลกว่างเมื่อวางเป็น โลกสงบเย็นเมื่อหยุดจริง.

   ซึ่งผมได้แจ้งชัดจากการปฏิบัตินั้นว่านิพพานนั้น ไม่ใช่ศีล นิพพานนั้นไม่ใช่สมาธิ นิพพานนั้นไม่ใช่จิต  แต่ปัญญานั้นใกล้นิพพานเป็นอย่างยิ่ง

     ซึ่งในสมัยนั้นผมยังไม่รู้ว่า มรรคมีองค์แปด หรือโพธิปักขิยธรรม 37 ประการเป็นส่วนใหนของ สังขตธรรม และ อสังขตธรรม เพราะตอนสมัยนั้นยังไม่ได้ศึกษาพระไตรปิฏกและพระอรรถกถาหรืออภิธรรมอย่างละเอียด.

     แต่ปัจจุบันถึงปี 2552 นี้ เมื่อได้ศึกษาพระอภิธรรมบ้าง ได้ทราบว่า จิตพระอรหันต์เมื่อท่านดับขันธ์ ย่อมดับแล้วไม่ปรากฏขึ้นอีกเลย และได้อ่านพระไตรปิฏกและอรรถกถาละเอียดขึ้น ก็ทราบว่า แม้แต่มรรคมีองค์แปด หรือ โพธิปักขิยธรรม 37 ก็ยังเป็น สังขตธรรมอยู่ เพียงแต่ นิโรจธ์ ข้อหนึ่งในอริยะสัจ 4 นั้นคือ นิพพาน เป็นอสังขตธรรมเพียงอย่างเดียวครับ.

     จึงมีความมั่นใจว่าความเห็นที่เกิดขึ้น ปรากฏขึ้นเมื่อปี 2537-38 นั้นตรงแล้วหาได้คลาดเคลื่อน.

     ต่อไปก็จะตอบคำถามของน้องบูนะครับ.

    อ้างอิง
จิตรู้นิพพานได้ แต่จิตไม่ใช่นิพพาน อย่างนี้ใช่ไหมครับ


    ตอบ ถูกต้องครับ   รู้ได้เฉพาะตน(ปัจจะตัง)

อ้างอิง
  มรรค8เป็นสังขตธรรม ปฏิบัติไปเพื่อให้รู้นิพพาน  แต่สุดท้ายจะเอาขันธ์ใด ๆ ไปตั้งอยู่ในนิพพานไม่ได้อยู่ดีใช่ไหมครับ


     ตอบ  ใช่ครับ

  อ้างอิง
นิพพานก็เป็นธรรมชนิดหนึ่ง ถือเป็นอนัตตา  (เอามาเป็นเจ้าของไม่ได้) อย่างนั้นใช่ไหมครับ


      ตอบ  ถูกต้องครับ เป็นสภาวะธรรมที่เป็นอสังขตธรรม อยู่อย่างนั้น
                จะปรากฏอย่างสมบูรณ์ให้จิตรู้พร้อมทั้งละกิเลสอย่างสิ้นเชิงได้ เมื่อมีปัญญาชัดแจ้งเป็นปัญญาวิมุตจิตก็จะหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง(อนัตตา) หรือจิตถึงธรรมที่เป็นอนัตตาเป็นที่สุดนั้นเอง จึงไม่หวั่นไหว ไม่สะดุ้งกลัว ไม่สัดส่าย อีกต่อไปจนดับขันธ์อย่างสิ้นเชิงเมื่อหมดเหตุปัจจัย.
 

ตอบโดย: Vicha 14 ก.ย. 52 - 10:54


ออ.. ผมได้แต่งกลอนนี้ขึ้นเมื่อปี 2538 ตามความเข้าใจธรรมช่วงนั้น.

            จิตเดิมมีอัตตามาแต่เริ่ม     มีสิ่งแต่งเติมได้ถึงแม้บริสุทธิ์

         เพราะจิตนั้นเป็นสิ่งที่สมมุติ    ถึงบริสุทธิ์ก็เพียงสมมุติสัจจะ

 

ตอบโดย: Vicha 14 ก.ย. 52 - 11:21


ออ ยังมีพุทธพจน์ที่ตรัสทำนองว่า.

           แม้แต่นิพพาน ก็ไม่ควรไปยึดมั่นถือมั่น.

           ดังนั้น สรุป ตามความเข้าใจส่วนตัวนะครับ

           จึงไม่ควรถือเอาว่า จิต หรือ จิตเดิม เที่ยง.

 

ตอบโดย: Vicha 14 ก.ย. 52 - 12:05


ในส่วนจิตแท้ดั้งเดิมนั้นเกิดขึ้นก็ต้องอาศัยเหตุปัจจัยเช่นกัน

ถ้าเหตุปัจจัยมีการเปลี่ยนแปลงไป จิตแท้ดั้งเดิมจะยังเป็นจิตแท้ดั้งเดิมได้อีกหรือ ?

เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจัยทั้งหลายอาศัยกันและกันและตกอยู่ในความไม่เที่ยง จิตเกิดขึ้นก็ด้วยปัจจัยทั้งหลาย  ดังนั้นการจะไปค้นหาจิตแท้ดั้งเดิม จะไม่เป็นการค้นหาอัตตาหรอกหรือ ?


โดยส่วนตัวพอได้ยินคำว่าจิตแท้ดั้งเดิมทีไร ก็มักจะไปคิดว่าเป็นจิตที่ล่องลอย หาภพ โดยมีกิเลสนานาชนิดสลับสับเปลี่ยนกันมาปรุงแต่งจิตแท้ดั้งเดิมให้เศร้าหมองไป   คนส่วนใหญ่ก็เลยคิดไปว่า  ถ้าดับกิเลสได้ปุ๊ป ก็จะกลับไปเป็นจิตดั้งเดิมแท้ ล่องลอยอยู่ในนิพพาน  โดยไม่ต้องล่องลอยไปหาภพใด ๆ อีกต่อไป    (แบบนี้ไม่ใช่ความเห็นว่าเป็นอัตตาหรอกหรือครับ)

ตกลงจิตแท้ดั้งเดิม เที่ยงหรือไม่เที่ยงครับ
ตกลงจิตแท้ดั้งเดิม ทุกข์หรือไม่ทุกข์ครับ
ตกลงจิตแท้ดั้งเดิม เป็นอนัตตาหรือไม่ครับ
ตกลงจิตแท้ดั้งเดิม  อยู่ในสังขตธรรมหรืออสังขตธรรมครับ

ลองมาสนทนากันครับ

ตอบโดย: น้องบู 14 ก.ย. 52 - 12:20



เรื่อง จิตแท้(จิตดั้งเดิม) ใน พระไตรปิฎกเถรวาท มีกล่าวไว้ไม่มาก... แต่ หาใช่ว่า ไม่มีกล่าว. ดัง ที่ใน กามภูสูตร



ในเรื่องนี้ ถ้าเป็นนิกายเซน ปรมาจารย์เซนยุคต้นๆ(ท่านก็คล้ายๆกัยพระป่ากรรมฐานของไทยเหมือนกัน) จะกล่าวไว้บ่อยกว่ามาก



ขออนุญาตนำข้อมูลมาวางเพิ่มเติมน่ะครับ

http://suvinai-dragon.com/buddhabucha13.html



13. เว่ยหล่าง

"พุทธะ อยู่หลังม่านแห่ง ความโง่ ของตัวเราเองเสมอ"

พุทธทาสภิกขุ

เว่ยหล่าง (ฮุ่ยเหนิง) เป็นผู้ที่ไม่รู้หนังสือเลย เขาเป็นคนบ้านป่าอยู่ถึงทางใต้ของจีนแถบกวางตุ้ง ขณะที่เขาอายุเพียงยี่สิบสี่ปี ขณะที่กำลังหาบฟืนไปขายที่ตลาด บังเอิญได้ยินชายคนหนึ่งกำลังบริกรรม "วัชรเฉทิกปรัชญาปารมิตาสูตร" (คัมภีร์เพชรที่ตัดทำลายมายา) อยู่ พอได้ยินข้อความบางตอนจากสูตรนี้เท่านั้น ใจของเขาก็ลุกโพลงสว่างไสวในพุทธธรรมในทันที ข้อความตอนนั้นเป็นดังนี้

"ถ้าโพธิสัตว์หรือผู้แสวงธรรม ยังมีจิตยึดมั่นผูกพันอยู่กับ ตัวตน บุคคลแล้วไซร้ เขาก็ยังหาใช่พระโพธิสัตว์แท้จริงไม่...พุทธะ คือ ผู้ที่เป็นอิสระแล้วจากความคิดทั้งปวง แม้แต่การบรรลุธรรมนี้ แท้จริงแล้วมิได้มีการบรรลุเลย จึงเรียกว่า บรรลุธรรม"

เว่ยหล่างซักถามชายผู้นั้นว่ามาจากที่ใด พอได้คำตอบว่า มาจากวัดตุงซั่น เมืองคีเจา มีท่านอาจารย์หวางยั่น (ฮุงเจ็น) ซึ่งเป็นพระสังฆปริณายกแห่งนิกายเซนรุ่นที่ห้าของจีน ซึ่งมักสอนพวกลูกศิษย์ทั้งที่เป็นคฤหัสถ์ และบรรพชิตอยู่เสมอให้บริกรรมสูตรๆ นี้ เผื่อว่าจะสามารถเห็น จิตเดิมแท้ ของตนเองและ เข้าถึงความเป็นพุทธะได้โดยตรง


 

ตอบโดย: ตรงประเด็น 14 ก.ย. 52 - 14:13


ขอบคุณสำหรับคำตอบครับ พี่ Vicha  

ทำให้เกิดความมั่นใจขึ้นมากทีเดียวครับ

ตอบโดย: น้องบู 14 ก.ย. 52 - 14:45


อ้างอิง (วสวัตตี @ 14 ก.ย. 52 - 10:39)
ผู้ที่ได้อากิญจัญญายตนฌานแล้วพิจารณาธรรมทั้งหลายตามหลักพระไตรลักษณ์
(กาย เวทนา จิต ธรรม,องค์ฌาน) จะบรรลุมรรคผลได้ไวกว่าผู้ที่อาศัยรูปฌานเป็นบาทไหมครับพี่หมอ

ขอถามอีกข้อหนึ่ง เห็นพี่หมอตอบหรือตั้งกระทู้ที่ใด ก็มักจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับสมาธิ และฌาน พี่หมอมีแรงบันดาลใจจากอะไรหรือครับ หรือว่าพี่หมอเป็นฌานลาภี?






ขอแยกเป็นคำถามๆ น่ะครับ


อ้างอิง
ผู้ที่ได้อากิญจัญญายตนฌานแล้วพิจารณาธรรมทั้งหลายตามหลักพระไตรลักษณ์
(กาย เวทนา จิต ธรรม,องค์ฌาน) จะบรรลุมรรคผลได้ไวกว่าผู้ที่อาศัยรูปฌานเป็นบาทไหมครับพี่หมอ



ผมไม่เคยเห็น พระสูตรไหน กล่าว ตรงจุดนี้ (อาจจะมีก็ได้น่ะครับ แต่ผมไม่ผ่านตา)


เห็นแต่ พระสูตรที่ตรัสถึง อาฬารดาบส-อุทกดาบส ว่าเป็นผู้มีปัญญามาก

และ เห็นที่พระสูตรแสดงไว้ว่า พระพุทธองค์มุ่งไปโปรดท่านดาบสทั้งสองก่อนใครๆ

อีกทั้ง เคยเห็นพระสูตร(โพธิราชกุมารสูตร)แสดงผู้ที่ห่างจากกามย่อมบรรลุธรรมง่ายกว่าผู้ที่จมอยู่ในกาม

ผมจึงอนุมานเอาว่า ท่านดาบสทั้งสอง ถ้าท่านไม่ทำกาละเสียก่อน ท่านทั้งสอง ไม่ท่านใดท่านหนึ่ง จะต้องเป็นพระสาวกอรหันต์องค์แรก



แต่ อย่างไรก็ตาม

การบรรลุอรูปฌานขั้นสูงนั้น ไม่ใช่สาธารณะ คือ หาใช่ว่าทุกๆคนจะทำได้เช่นนั้น...

และ เวลาที่จะใช้เพื่อบรรลุอรูปฌานขั้นสูงนั้น จะใช้เวลานานขนาดไหนก็ไม่ทราบ อีกเช่นกัน

ดังนั้น ผมจึงเสนอตาม คห ด้านบนว่า ไม่มีความจำเป็นใดๆที่จะไปเพียรเพื่อบรรลุอรูปฌาน(คห ส่วนตัว).

อีกทั้ง การเจริญภาวนาตามหลักสติปัฏฐานสี่ เป็นทางตรงที่สุดอยู่แล้ว และ ก็จะปรากฏรูปฌาน๑-๔ (สัมมาสมาธิในองค์อริยมรรค) ตามมาเองอยู่แล้ว



อนึ่ง ผมเองก็ไม่ประมาทในท่านผู้ที่ได้ฌานอันเป็ยโลกียะน่ะครับ...

ท่านใด มีจริตนิสัยเช่นนั้น ก็อนุโมทนากับท่านด้วย.
เพราะ อย่างน้อยสุด จิตที่เป็นโลกียฌาน ที่ไม่ใช่มิจฉาสมาธิ ก็เป็นมหากุศลจิต ยังให้เวียนว่ายตายเกิดไปในทางที่ดี.... เพียง แต่ ยังเอาแน่นอนไม่ได้ ....

ในพระสูตร มีพระพุทธพจน์ตรัสแสดงถึง พระพรหม(ที่ไม่ใช่ชั้นสุทธาวาส) ที่จุติจากพรหมโลกลงอบายไปเลยก็มี

ถ้าจะปิดอบายแน่นอน ก็ต้อง ละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งสามขาด....จึงจะถือว่า แน่นอน



อ้างอิง
ขอถามอีกข้อหนึ่ง เห็นพี่หมอตอบหรือตั้งกระทู้ที่ใด ก็มักจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับสมาธิ และฌาน พี่หมอมีแรงบันดาลใจจากอะไรหรือครับ หรือว่าพี่หมอเป็นฌานลาภี?



ผมไม่ได้ใกล้เคียง แม้น สักกระพี้เดียว กับ ความหมายของ ฌานลาภีบุคคล หรอกครับ

ฌานลาภีบุคคล เป็นภาษาในคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล
น่าจะตรงกับ "บุคคลประเภทที่ได้เจโตสมถะที่เป็นไปด้วยดีในภายใน แต่ ไม่ได้อธิธัมมวิปัสสนาปัญญา" และ "บุคคลประเภทที่ได้เจโตสมถะที่เป็นไปด้วยดีในภายใน และ ได้อธิธัมมวิปัสสนาปัญญา"ในระดับพระสูตร

ซึ่งย่อม สื่อถึง ผู้ที่ สำเร็จ และ เชี่ยวชาญ ในการเข้าฌานอย่างยิ่ง ....



ที่ผมมักนำเสนอ ในประเด็น รูปฌาน๑-๔ที่เป็นผลสืบเนื่องจากการเจริญสติปัฏฐาน นั้น
เหตุผล คือ

ช่วงหลัง จะได้ยิน ประเด็นการเสวนาเรื่องการเจริญสติปัฏฐานว่า เวลาเจริญสติปัฏฐานต้องระวังไม่ให้จิตเป็นฌาน (เพราะ ปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะเชื่อกันว่า ฌานทุกชนิดปิดกั้นปัญญาหมด และ เชื่อกันว่าฌานเป็นเรื่องเฉพาะของฤาษีนอกพระศาสนา)

จึง นำข้อมูลจากพระไตรปิฎก และ ท่านผู้รู้ มาวาง ให้ดูในเรื่องนี้





 

ตอบโดย: ตรงประเด็น 14 ก.ย. 52 - 14:50


มีบทธรรม ของพระสุปฏิปันโน เรื่อง ปัญญาอบรมสมาธิ มาเสนอสมาชิกครับ


ปัญญาอบรมสมาธิ (ภาคสมาธิ)

โดยพระอาจารย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน  


ความจริงการภาวนาเพื่อให้ใจสงบ ถ้าสงบด้วยวิธีปลอบโยนโดยทางบริกรรมไม่ได้ ต้องภาวนาด้วยวิธีปราบปรามขู่เข็ญ คือค้นคิดหาเหตุผลในสิ่งที่จิตติดข้องด้วยปัญญา แล้วแต่ความแยบคายของปัญญา จะหาอุบายทรมานจิตดวงพยศ จนปรากฏใจยอมจำนนตามปัญญาว่า เป็นความจริงอย่างนั้นแล้ว ใจจะฟุ้งซ่านไปไหนไม่ได้ ต้องหยั่งเข้าสู่ความสงบ เช่นเดียวกับสัตว์พาหนะตัวคะนอง ต้องฝึกฝนทรมานอย่างหนักจึงจะยอมจำนนต่อเจ้าของ

ฉะนั้น ในเรื่องนี้ จะขอยกอุปมาเป็นหลักเทียบเคียง เช่น ต้นไม้บางประเภท ตั้งอยู่โดดเดี่ยวไม่มีสิ่งเกี่ยวข้อง ผู้ต้องการต้นไม้นั้นก็ต้องตัดด้วยมีดหรือขวาน เมื่อขาดแล้ว ไม้ต้นนั้นก็ล้มลงสู่จุดที่หมาย แล้วนำไปได้ตามต้องการ ไม่มีความยากเย็นอะไรนัก แต่ไม้อีกบางประเภท ไม่ตั้งอยู่โดดเดี่ยว ยังเกี่ยวข้องอยู่กับกิ่งแขนงของต้นอื่นๆ อีกมาก ยากที่จะตัดให้ลงสู่ที่หมายได้ ต้องใช้ปัญญาหรือสายตาตรวจดูสิ่งเกี่ยวข้องของต้นไม้นั้นโดยถี่ถ้วน แล้วจึงตัดต้นไม้นั้นให้ขาด พร้อมทั้งตัดสิ่งเกี่ยวข้องจนหมดสิ้นไป ไม้ย่อมตกหรือล้มลงสู่ที่หมายและนำไปได้ตามความต้องการฉันใด จริตนิสัยของคนเราก็ฉันนั้น

คนบางประเภทไม่ค่อยมีสิ่งแวดล้อมเป็นภาระกดถ่วงใจมาก เพียงใช้คำบริกรรมภาวนา พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ เป็นต้น บทใดบทหนึ่งเข้าเท่านั้น ใจก็ได้รับความสงบเยือกเย็นเป็นสมาธิลงได้ กลายเป็นต้นทุนหนุนปัญญา ให้ก้าวหน้าต่อไปได้อย่างสบาย ที่เรียกว่า สมาธิอบรมปัญญา

แต่คนบางประเภทมีสิ่งแวดล้อมเป็นภาระกดถ่วงใจมาก และเป็นนิสัยชอบคิดอะไรมากอย่างนี้ จะอบรมด้วยคำบริกรรมอย่างที่กล่าวมาแล้วนั้น ไม่สามารถที่จะยังจิตให้หยั่งลงสู่ความสงบเป็นสมาธิได้ ต้องใช้ปัญญาไตร่ตรองเหตุผล ตัดต้นเหตุของความฟุ้งซ่านด้วยปัญญา เมื่อปัญญาได้หว่านล้อมในสิ่งที่จิตติดข้องนั้นไว้อย่างหนาแน่นแล้ว จิตจะมีความรู้เหนือปัญญาไปไม่ได้ และจะหยั่งลงสู่ความสงบเป็นสมาธิได้ ฉะนั้นคนประเภทนี้ จะต้องฝึกฝนจิตให้เป็นสมาธิได้ด้วยปัญญา ที่เรียกว่า ปัญญาอบรมสมาธิ ตามชื่อหัวเรื่องที่ให้ไว้แล้วในเบื้องต้นนั้น . เมื่อสมาธิเกิดมีขึ้นด้วยอำนาจปัญญา อันดับต่อไปสมาธิก็กลายเป็นต้นทุนหนุนปัญญาให้มีกำลังก้าวหน้า สุดท้ายก็ลงรอยเดียวกันกับหลักเดิมที่ว่า สมาธิอบรมปัญญา

ผู้ต้องการอบรมใจให้เป็นไปเพื่อความฉลาด รู้เท่าทันกลมายาของกิเลส
อย่ายึดปริยัติจนเกิดกิเลส แต่ก็อย่าปล่อยวางปริยัติจนเลยศาสดา ผิดพระประสงค์ของพระพุทธเจ้า ทั้งสองนัย


คือ ในขณะที่ทำสมาธิภาวนา อย่าส่งใจไปยึดปริยัติจนกลายเป็นอดีตอนาคตไป ให้ตั้งจิตลงสู่ปัจจุบัน คือ เฉพาะหน้า มีธรรมที่ตนเกี่ยวข้องเป็นอารมณ์เท่านั้น เมื่อมีข้อข้องใจ ตัดสินใจลงไม่ได้ว่าถูกหรือผิด เวลาออกจากที่ภาวนาแล้ว จึงตรวจสอบกับปริยัติ แต่จะตรวจสอบทุกขณะไปก็ผิด เพราะจะกลายเป็นความรู้ในแบบ ไม่ใช่ความรู้เกิดจากภาวนา ใช้ไม่ได้

สรุปความ ถ้าจิตสงบได้ด้วยอารมณ์สมถะ คือ คำบริกรรมด้วยธรรมบทใด ก็บริกรรมบทนั้น ถ้าจะสงบได้ด้วยปัญญาสกัดกั้นโดยอุบายต่างๆ ก็ต้องใช้ปัญญาเป็นพี่เลี้ยงเพื่อความสงบเสมอไป ผลรายได้จากการอบรมทั้งสองวิธีนี้ คือ ความสงบ และ ปัญญาอันจะมีรัศมีแฝงขึ้นจากความสงบนั้นๆ



...............................


นำมาเสนอ เผื่อใครยังไม่เคยอ่าน
 

ตอบโดย: ตรงประเด็น 14 ก.ย. 52 - 15:56


สวัสดีครับ คุณตรงประเด็น และน้องบู

    ถ้ากล่าวตามการเปรียบเทียบ อุปมา   ผู้ซึ่งบรรลุถึง พระนิพพานอย่างสมบูรณ์พร้อม เป็นท่านแรก ในยุคแห่งนี้ก็คือ พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า นั้นเอง
    หรือเรียกว่า ท่านบรรลุถึง สัมมาสัมโพธิญาณ หรือ สัพพรรณญูตาญาณ
  
     ถ้ากล่าวถึงจิต คือเป็นจิตของพระอรหันต์ แต่ตามมหายานกล่าวว่า  จิตพุทธะ นั้นเอง

    ซึ่งน่าจะหมายถึง จิตของพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระอรหันต์ ที่ยังมีพระชนชีพหรือมีชีวิตอยู่นั้นเอง ที่เรียกว่า  จิตพุทธะ แต่ความหมายของมหายาน กว้างจนมากไปด้วยบัญญัติแปลกๆ จนสรุปลงไปแน่นอนตามบัญญัติไม่ได้ว่าอย่างไรกันแน่ (มีพระโพธิสัตว์มาเกียวขัอง).

*************************************

     และยังมีอยู่ในพระไตรปิฏกที่หรืออรรถกถาที่พอจำได้ ว่า พระอนาคามีหรือพระอรหันต์ที่เข้านิโรธสมาบัติ นั้น จะกล่าวว่าเป็นสภาวะการเข้านิโรธสมาบัตินั้นเป็น นิพพานจริงๆ ที่เดียวก็ไม่ใช่ เพราะจะเป็นการกล่าวเอา สังขตธรรม อันเป็นขันธ์เข้าไปด้วย .

      ดังนั้นการเข้านิโรธสมาบัติถ้ากล่าวว่าเป็นการไปสู่ จิตเดิมแท้  นั้น ก็หาใช้สภาวะพระนิพพานจริงๆ ที่เดียวไม่  เพียงแต่เป็นการเสวยวิมุติสุข ในช่วงที่ยังมีสังขารดำรงอยู่ เท่านั้น จะกล่าวว่าเป็นนิพพานจริงๆ ก็ไม่ได้ถูกต้อง.

       แต่ไม่ใช่ไปเข้าใจว่า พระอรหันต์ ที่ยังไม่ดับขันธ์ ท่านยังไม่ถึงนิพพานสมบูรณ์ หรือยังไม่มีนิพพานแท้จริง  เพราะนิพพานนั้นพร้อมสมบูรณ์แล้วตั้งแต่ท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์ เนื่องจากพระนิพพานนั้นไม่มีการมาการไปอีก

     ดังนั้นการมีขันธ์หรือดับขันธหมดสิ้นเป็นเพียงแต่กล่าวแยกโดยบัญญัติเท่านั้นว่า

           นิพพานที่ยังมีชีวิตอยู่ กับ นิพพานที่ดับขันธ์ทั้งหลายแล้ว.

      แต่นิพพานนั้นก็ยังเป็น พระนิพพาน หนึ่งเดียวเท่านั้น ที่กล่าวแยกกันก็เพราะตามสภาวะองค์ประกอบที่ร่วมด้วยเท่านั้น คือการมีขันธ์ หรือการดับขันธ์หมดสิ้น.
    

ตอบโดย: Vicha 14 ก.ย. 52 - 17:01


     
ตามที่จริงก็อยากจะร่วมเสวนาเรื่องนิพพานด้วยเหมือนกัน แต่ติดอยู่ตรงที่ว่าผมไม่รู้ว่าจะอธิบายอย่างไรครับ ก็เพิ่งจะเริ่มปฏิบัติเริ่มศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ จึงยังเป็นผู้รู้น้อยอยู่มาก ยังต้องอาศัยคำแนะนำจากกัลยาณธรรมในที่นี้อยู่ ส่วนความเห็นของผม "พระนิพพาน" นั้นจะว่าสุขก็ไม่ใช่ ครั้นจะบอกว่าไม่ใช่สุขก็ไม่ใช่อีก เพราะกิเลสหรือคความทุกข์ใดๆ ก็ไม่อาจเข้ามาแปดเปื้อนได้อีก มันก็เหมือนกับเรากลายเป็นดวงดาวดวงหนึ่งที่ล่องลอยอยู่ในห้วงอวกาศแห่งจักรวาลอันเวิ้งว้างอันหาที่สุดมิได้ ที่บังเอิญมี "รู้" อยู่ภายในนั่นเอง คือเห็นอยู่รู้อยู่ถึงสิ่งต่างๆ รอบๆ แต่มิได้เป็นทุกข์เป็นร้อนกับการมีอยู่หรือไม่มีอยู่ของตน หรือการมีอยู่หรือไม่มีอยู่ของจักรวาลหรือสิ่งต่างๆ รอบๆ แต่ประการใดไม่ แต่ยังคงล่องลอยอยู่ หมุนวนอยู่ตามเหตุตามปัจจัย ไม่ได้ต้องการหรือไม่ต้องการ

ถูกผิดอย่างไรก็ขอความอนุเคราะห์ด้วยนะครับ

ตอบโดย: ณวบุตร 14 ก.ย. 52 - 17:38


มี บทธรรมของพระสุปฏิปันโน

เกี่ยว กับ การดำรงสติเฉพาะหน้า สืบเนื่องจากหัวข้อกระทู้ มาเสนอ


สติปัฏฐาน ๔_พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน


การบำเพ็ญเพียรที่เป็นไปตามพระประสงค์ของพระพุทธเจ้าและพระสัทธรรม คือ ความจงใจใคร่ต่อการประพฤติดีจริง ๆ ธุระหน้าที่ที่ตนจะพึงทำทุกอย่าง ควรทำด้วยความจงใจ การประกอบการงานทุกประเภทถ้าขาดความจงใจแล้ว แม้จะเป็นงานเล็กน้อย ย่อมไม่สำเร็จลงได้ด้วยความเรียบร้อยและน่าดูเลย เพราะ ความจงใจเป็นเรื่องของสติและหลักใจ ที่จะยังงานนั้น ๆ ให้สำเร็จ ได้ขาดไปจากตัวและวงงาน ผู้มีสติและหลักใจประจำตัวและงานจึงชื่อว่าผู้มีความเพียรไปในตัว

ทั้งกิจนอกการในถ้าขาดความจงใจเป็นเครื่องจดจ่อต่องานแล้ว แม้ผู้เป็นนายช่างทำสิ่งต่าง ๆ ซึ่งมีความฉลาดอยู่บ้าง ทำอะไรมีความสวยงามและแน่นหนามั่นคง แต่ถ้าขาดความจงใจใคร่ต่องานแล้ว แม้งานนั้นจะสำเร็จก็ย่อมลดคุณภาพและความสวยงาม

ฉะนั้น ความตั้งใจ จึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยผู้มุ่งต่อผลของงานอันสมบูรณ์จึงไม่ควรมองข้ามไป

เราเป็นนักบวชและนักปฏิบัติ ควรเห็นความตั้งใจจดจ่อต่อธุระหน้าที่ที่ตนจะพึงทำทุกประเภท โดยมีความรู้สึกอยู่กับงานนั้น ๆ

แม้ที่สุดปัดกวาดลานวัด เช็ดถูกุฎีและศาลา ปูอาสนะ ตั้งน้ำใช้น้ำฉัน ตลอดการเคลื่อนไหวไปมา เหลือบซ้ายแลขวา ควรมีสติประจำอยู่ทุก ๆ ขณะ ชื่อว่าผู้มีความเพียรประจำตน

การฝึกหัดนิสัยเพื่อเป็นคนมีสติอันเคยชิน จำต้องอาศัยการงานเป็นเครื่องฝึกหัด

การประกอบการงานภายนอกแต่ละประเภทเป็นธุระชิ้นหนึ่ง ๆ

การเดินจงกรมและนั่งสมาธิภาวนาเป็นธุระชิ้นหนึ่ง ๆ


ทั้งนี้ถ้ามีสติจดจ่อกับงานที่ทำ ชื่อว่ามีความเพียรไม่ขาดวรรคขาดตอน

การฝึกหัดนิสัยของผู้ใคร่ต่อธรรมชั้นสูง จึงควรเริ่มและรีบเร่งฝึกหัดสติไปกับงานทุกประเภทแต่ต้นมือเพื่อความแน่นอนและมั่นคงในอนาคตของเรา

โปรดฝึกหัดนิสัยตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกลายเป็นคนมีสติประจำตนทั้งขณะที่ทำและขณะอยู่เฉย ๆ

ถึงเวลาจะทำความสงบภายในใจ สติจะกลายเป็นธรรมติดแนบอยู่กับใจ และตั้งขึ้นพร้อมกับความเพียรได้อย่างใจหมาย ทั้งมีกำลังพอจะบังคับจิตใจให้หยั่งลงสู่ความสงบได้ตามต้องการ

ส่วนมากที่พยายามให้จิตเข้าสู่ความสงบไม่ได้ตามใจหวังนั้น เนื่องจากสติที่เป็นแม่แรงไม่มีกำลังพอ จิตจึงมีโอกาสเล็ดลอดออกไปสู่อารมณ์ได้อย่างง่ายดาย เหมือนเด็กซนซึ่งปราศจากพี่เลี้ยงผู้ตามดูแล เด็กอาจได้รับอันตรายในเวลาใดก็ได้  จิตที่มีความเพลินประจำตนโดยปราศจากสติตามรักษา จึงมีสิ่งรบกวนตลอดเวลาจนหาความสงบสุขไม่ได้

พี่เลี้ยงของจิตคือสติกับปัญญา คอยให้ความปลอดภัยแก่จิตตลอดสาย ที่จิตคิดไปตามอารมณ์ต่าง ๆ คอยพยายามปลดเปลื้องอารมณ์ที่มาเกี่ยวข้องกับใจ และพยายามแสดงเหตุผลให้จิตรับทราบเสมอ

ใจที่ได้รับเหตุผลจากปัญญาพร่ำสอนอยู่เป็นนิจ จะฝืนคิดและติดอารมณ์ที่เคยเป็นข้าศึกต่อไปอีกไม่ได้

การฝึกหัดสติและปัญญา เพื่อให้มีกำลังคืบหน้าไม่ล่าถอยเสื่อมโทรม โปรดฝึกหัดตามวิธีที่กล่าวมา



 

ตอบโดย: ตรงประเด็น 15 ก.ย. 52 - 10:36


สวัสดีครับ ทุกท่าน และคุณ ณวบุตร (คุณตรงประเด็น ความคิดเห็นเพิ่มก่อนแต่ไม่เห็น)

   ความคิดเห็นนี้เป็นความคิดเป็นเพื่อปรับแต่งทิฏฐิ เรื่อง พระนิพพาน ให้ตรงกับธรรมในพระไตรปิฏกให้ตรงกับการที่จะตรวจสอบได้กับผู้ปฏิบัติ .

    เมื่อเรายืนอยู่ในความคิดเห็นโดยตั้งจุดสำคัญตรงฝากฝั่ง นิพพาน จินตนาการความคิดก็จะแปะปะ ห่างไกลไปมากมาย เพราะนิพพาน เป็นอสังขตธรรม นั้นคนละเรื่องกับ รูปนาม ที่อยู่ฝั่ง สังขตธรรม.

    เพราะถ้าตั้งจุดสำคัญไว้ที่ พระนิพพาน แล้วให้จินตนาการ ความคิดเห็นต่างๆ จะคลาดเคลื่อนเปะปะ เอากลองทึบ แล้วเจาะรู้ ให้พอมือเด็กอนุบาล 1 เข้าไปคลำได้ แล้วให้เด็กอนุบาล 1 บอกว่าสิ่งของนั้นเป็นอย่างไร? และคืออะไร?
    เด็กอนุบาล 1 ย่อมแสดงความคิดเห็นไปต่างๆ น่าๆ ได้ จนกระทั้งเลยไปจากความเป็นจริงของสิ่งที่สัมผัสได้นั้น.

     ดังนั้นถ้าเราประสงค์จะทำความเข้าใจ โดยตั้งจุดสำคัญไว้ที่ พระนิพพาน นั้นจึงไม่ควรจินตนาการหรือคิดไปเอง  ต้องศรัทธาในพุทธปัญญา ตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ ถึงนิยามความหมายที่เป็นไวพจน์ของ นิพพาน
      พระองค์ได้เปรียบไว้มากพอประมาณ ซึ่งมีการรวบรวมไว้ในตำราต่างมากมาย เช่น ดับสิ้น, เป็นอนัตตา,  เป็นสูญญตาอย่างยิ่ง, เป็นอสังขตธรรม(หลุดพ้นจากสังขารธรรม) ฯลฯ   .

      นั้นเป็นการตั้งจุดสำคัญไว้ที่ พระนิพพาน ซึ่งควรน้อมไปตามพุทธพจน์  ดังนั้นในความคิดเห็นต่างเรื่องนิพพานด้านบนนั้นผมจะเทียบยึดหลักในพระไตรปิฏก และอภิธรรมเป็นหลักความเห็นจะไม่หลุดไปจากกรอบในพระไตรปิฏกและอภิธรรม แล้วอธิบายตามความเข้าใจของตนตาม.

      ทั้งหมดตามความคิดเห็นด้านบนนั้นเป็นเรื่องของการแสดงความคิดเห็นของสภาวะนิพพาน ซึ่งพ้นไปจากสังขารทั้งหลายหรือรูปนาม จึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและลุ่มลึกเกินไปที่บัญญัติให้ชัดเจนแจ่มแจ้งได้.

       แต่พระพุทธเจ้านั้นมีพระปัญญาเป็นอย่างยิ่ง ทรงชี้ให้เห็นได้ง่าย แม้ว่าจะตั้งจุดสำคัญอยู่ไว้ฝั่ง สังขตธรรม หรือ ฝั่งของสังขารหรือรูปนาม ที่เราท่านทั้งหลายมีชีวิตดำรงอยู่นี้ พออนุมานทราบและเทียบเคียงได้ ดังนี้.

         พระพุทธเจ้าทรงตรัสพุทธพจน์ในชัมพุขาทกสูตรนี้ว่า
  
    ดูก่อนท่านสารีบุตรที่เรียกว่า  นิพพาน  นิพพาน  ดังนี้
   อาวุโส  นิพพานเป็นไฉน  ดังนี้
   อาวุโส ความสิ้นราคะ  ความสิ้นโทสะ  ความสิ้นโมหะอันใด  นี้เรียกว่า นิพพาน ดังนี้


        ดังความหมายนั้นก็จะได้ว่า

               ความสิ้นราคะ  ความสิ้นโทสะ  ความสิ้นโมหะ  นี้เรียกว่า นิพพาน

       ดังนั้นผู้ใดหรือภิกษุใด สิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ แล้ว จึงเรียกได้ว่า เป็นพระอรหันต์ บรรลุถึงฝั่งพระนิพพาน
        ส่วนผู้ใดหรือภิกษุใด ยังมีกิเลสหรือ ราคะ โทสะ โมหะ ปรากฏอยู่ในจิตใจ หรือแสดงออกจากใจจิตปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน จึงหาใช่เป็นพระอรหันต์.

        เราท่านทั้งหลายผู้ยังมีกิเลสอยู่ จึงควรตรวจสอบกิเลสตนเองตามพุทธพจน์นี้ เพื่อไม่ให้ล่วงเลยหรือผิดเพี้ยนไป ด้วยความหลงในจินตนาการ หรือสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นจนเข้าใจผิดว่าเป็นปัญญาหลุดพ้นถึงพระนิพพาน แล้ววิปลาสไป เพราะมองข้ามความสำคัญหรือไม่สนใจของกิเลสที่ปรากฏขึ้นในใจตน
        หรือกรณีไปหลงผิดไปตามผู้ที่ประกาศความเป็นพระอรหันต์ โดยมองข้ามราคะ โทสะ โมหะ ที่แสดงออกจากใจ ออกทางกายวาจา ของผู้ประกาศความเป็นอรหันต์นั้นไปเสีย
  
        ดังนั้นการตรวจสอบ พระนิพพาน หรือความเป็นพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าก็ตรงแสดงให้เห็นแล้ว ก็ให้พิจารณาที่ ความมี ราคะ โทสะ หรือโมหะ ที่ปรากฏในจิตใจ หรือแสดงออกมาทางจิตใจ ปรากฏออกมาทางกายและวาจาให้ทราบนั้นเอง.

**********************

       ลืม... บอกไปในความคิดเห็นที่ 129 ตรงกับวันอาทิตย์ และผมได้ขับรถไปส่งลูกที่ตึก ไอ.บี.เอ็ม ตั้งแต่เช้า (7.40) และต้องรอลูก จนถึง 11.00
       เมื่อไม่มีอะไรทำ ผมก็เดินชม ไปทั่วแถวบริเวณนั้น ทั้งสถานีรถไฟฟ้าอารีย์ และในซอยอารีย์ เดินอยู่เป็นเวลาชั่วโมงกว่า  จึงถามหาร้านอินเตอร์เน็ต  ก็ได้ใช้อินเตอร์เน็ตในร้านนั้นรอลูก

       เมื่อใช้ไปชั่วโมงนิดๆ ถึงประมาณเวลาประมาณ 10.35 ก็คิดว่า บ้านอารี น่าจะอยู่แถวนี้ จึงถามเจ้าของร้านอินเตอร์ เขาก็บอกทางให้
      โอ่... อยู่ใกล้นี้เอง  จึงลองเดินสอบถามแล้วเข้าไปดู ก็ได้เห็นบ้านนานา มีร้านอาหาร กาแฟ มีของกินสมบูรณ์ดีสามารถหาซื้อกินที่นั้นได้เลยไม่ต้องไปหาซื้อกินที่อื่น แล้วเข้าบ้านอารีย์ ห้องสมุดบ้านอารี และได้ยินเสียงผู้หญิงกำลังแนะนำสอนเด็ก ทางไมค์ แล้วก็เดินวนรอบออกมา.

      เป็นอันว่า ผมรู้จักและขับรถไปบ้านอารีย์ถูกแล้วครับ  แต่คงหาที่จอดรถยากน่าดูแม้จะเป็นวันอาทิตย์ (สำหรับผมนั้นไม่สะดวก เพราะไกลจากบ้านน่าดูทีเดียว)

ตอบโดย: Vicha 15 ก.ย. 52 - 10:37


ขอบพระคุณพี่หมอตรงประเด็น ท่านวิชา ท่านบู และทุกๆท่านดังรายนามสีน้ำเงินด้านบนนะครับ

เห็นด้วยกับพี่หมอเพราะมีพุทธพจน์กล่าวถึงเช่นนั้นจริงๆว่าผุ้ที่จุติจากพรหมโลกไปอบายเลยนั้นมีจริงๆ

ชอบใจกับลายเซนต์ใหม่ของคุณน้องบู

และแปลกใจที่พี่วิชาเพิ่งได้ไปบ้านอารีย์ ผมเองว่างๆคงต้องลองแวะไปดูบ้างแล้ว

อ่านกระทู้นี้แล้วทำให้ละอุปาทานในตัวตนได้มากๆเลยครับทุกท่าน

 

ตอบโดย: วสวัตตี 15 ก.ย. 52 - 10:52


สวัสดีครับ คุณ วสวัตตี  พี่ Vicha  พี่หมอ  และทุก ๆ ท่านครับ

พอดีช่วงนี้ผมมักจะไปคลุกอยู่กับ ปริยัติธรรม(ปิดปรับปรุง) ครับ  พอดีไปเจอความเห็นของคุณกระดิ่งน้อยเข้า

อ่านแล้ว อุทานในใจ "เอ้อ ก็จริงแฮะ !! "  

ขอหยิบยกมาให้ได้อ่านกันนะครับ
-------------------------------------------------------

ถ้านิพพานแล้ว...
ยังมีการไปมาหาสู่ กลับมาเยี่ยมเยือน นิมิตกายลงมาโปรดสัตว์โลกต่อได้อีกละก็...

พระพุทธองค์ท่านคงตรัสกับพระอานนท์ว่าก่อนท่านจะปรินิพพานว่า...

"ดูก่อน อานนท์... เธออย่าได้โศกเศร้าร่ำไรรำพันไปเลย
ตถาคตขอเวลาปรินิพพานแป๊บเดียว แล้วเดี๋ยวจะลงมาใหม่
(...หรือบอกให้เธอจงกำหนดใจอย่างนี้ๆ แล้วเธอจะเข้าไปเยี่ยมไปอุปถาก ตถาคตที่นิพพานได้ทุกวันๆ)"

กระดิ่งน้อย [ ตอบ: 02 มี.ค. 47 11:35 ] ยังไม่แนะนำตัว | ผู้ดูแลลานธรรม

http://larndham.net/index.php?showtopic=11489&st=10

-------------------------------------------------------------


อ่านแล้วมีรอยยิ้มเกิดขึ้นเล็ก ๆ ครับ  

ตอบโดย: น้องบู 15 ก.ย. 52 - 15:13


กราบขออนุญาต สะดุดนิดหนึ่งนะ ครับ


"นิพพานเป็นอนัตตา"
เป็นคำพูดของพระพุทธเจ้า ตรงๆเลยหรือเปล่า ครับ

หรือเปรียบเทียบเอากับ คำที่ว่า "สัพเพธัมมา อนัตตา" ครับ





 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 15 ก.ย. 52 - 16:14


สวัสดีครับ คุณวสวัตตี น้องบู และคุณปล่อยรู้.

  จากข้อความของคุณปล่อยรู้

อ้างอิง
  "นิพพานเป็นอนัตตา"
เป็นคำพูดของพระพุทธเจ้า ตรงๆเลยหรือเปล่า ครับ

หรือเปรียบเทียบเอากับ คำที่ว่า "สัพเพธัมมา อนัตตา" ครับ


     ผมจะยกข้อความเพื่อให้กระชับขึ้นนะครับ ถ้ากล่าวว่า "เป็น" เสียที่เดียวก็จะเกิดปัญญาได้ จึงกล่าวว่า "นิพพาน อนัตตา"  เพื่อให้เหมือนกับ สัพเพธัมมา อนัตตา.
      เพราะ นิพพานเป็นธรรมอย่างยิ่ง

จากพระไตรปิฏกเล่มที่ 10

[๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธ
เจ้าพระนามว่าวิปัสสี ทรงสวดพระปาติโมกข์ในที่ประชุม   พระภิกษุสงฆ์ดังนี้
ขันติคือความทนทานเป็นตบะอย่างยิ่ง  พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า
พระนิพพานเป็นธรรมอย่างยิ่ง


จากพระไตรปิฏกส่วนนี้

พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่าพระนิพพานเป็นธรรมอย่างยิ่ง

และจากพุทธพจน์  สัพเพธัมมา อนัตตา

  สรุป ก็คงไม่มีข้อแม้เป็นอย่างอื่นไปได้ครับ.


ต่อไปก็ดูคำว่า นิพพานเป็น....  ในความหมายอื่นในพระไตรปิฏกดู

จากพระไตรปิฏกเล่มที่ 15

     พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ท่านผู้มีอายุ เรารู้จักมรรคเป็นทางหลีกพ้นผลเป็นความ
หลุดพ้น นิพพานเป็นที่สงัด ของสัตว์ทั้งหลายโดยแท้จริง ฯ


จากพระไตรปิฏกเล่มที่ 19

         [๙๖๙] อุ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งใจเล่า?
          พ. ดูกรพราหมณ์ สติเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งใจ.
          [๙๗๐] อุ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งสติเล่า?
          พ. ดูกรพราหมณ์ วิมุติเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งสติ.
          [๙๗๑] อุ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งวิมุติเล่า?
          พ. ดูกรพราหมณ์ นิพพานเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งวิมุติ.
          อุ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งนิพพาน.
          พ. ดูกรพราหมณ์ ท่านล่วงเลยปัญหาไปเสียแล้ว ไม่อาจถือเอาที่สุด แห่งปัญหาได้
ด้วยว่าพรหมจรรย์ที่บุคคลอยู่จบแล้ว มีนิพพานเป็นที่หยั่งลง มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า มีนิพพาน
เป็นที่สุด.
          [๙๗๒] ครั้งนั้น อุณณาภพราหมณ์ชื่นชมอนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุก
จากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป.


จากพระไตรปิฏกเล่มที่ 24

                            โอริมสูตร
          [๑๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงฝั่งนี้และฝั่งโน้นแก่เธอทั้งหลายเธอทั้งหลาย
จงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับแด่พระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มี
พระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฝั่งนี้เป็นไฉน และฝั่งโน้นเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ปาณาติบาตเป็นฝั่งนี้ เจตนาเครื่องเว้นจากปาณาติบาต เป็นฝั่งโน้น ... มิจฉาทิฐิเป็นฝั่งนี้
สัมมาทิฐิเป็นฝั่งโน้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นฝั่งนี้ นี้แลเป็นฝั่งโน้น ฯ
            ในหมู่มนุษย์   เหล่าชนที่ไปถึงฝั่งโน้น    มีประมาณน้อย
            ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้เลาะไปตามฝั่งทั้งนั้น   ส่วนชนเหล่าใด
            ประพฤติตามธรรม      ในธรรมอันพระตถาคตตรัสแล้ว
            โดยชอบ  ชนเหล่านั้นจักข้ามพ้นวัฏฏะ   อันเป็นบ่วงมาร
            ที่ข้ามพ้นได้แสนยาก   แล้วจักถึงฝั่งโน้น   คือ  นิพพาน
            บัณฑิตละธรรมดำเสียแล้ว พึงยังธรรมขาวให้เจริญ บัณฑิต
            ละกามทั้งหลายแล้ว เป็นผู้ไม่มีกังวล ออกจากความอาลัย
            อาศัยธรรมไม่มีความอาลัย พึงปรารถนาความยินดียิ่งใน
            วิเวกที่ยินดีได้แสนยาก  บัณฑิตพึงชำระตนให้ผ่องแผ้วจาก
            เครื่องเศร้าหมองจิตทั้งหลาย บัณฑิตเหล่าใดอบรมจิตแล้ว
            โดยชอบ ในองค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ทั้งหลาย ไม่ถือมั่น
            แล้ว ยินดีในนิพพานเป็นที่สละความถือมั่น  บัณฑิต
            เหล่านั้นสิ้นอาสวะ มีความรุ่งเรือง ดับสนิทแล้วในโลก ฯ
                             จบสูตรที่ ๔


จากพระไตรปิฏกเล่มที่ 25


         ชราสูตรที่ ๖
          [๔๑๓] ชีวิตนี้น้อยนัก สัตว์ย่อมตายแม้ภายใน ๑๐๐ ปี ถ้าแม้สัตว์เป็นอยู่เกิน
          (๑๐๐ ปี) ไปไซร้ สัตว์นั้นก็ย่อมตายแม้เพราะชราโดยแท้แล ชน
          ทั้งหลายย่อมเศร้าโศก เพราะสิ่งที่ตนยึดถือว่าเป็นของเรา สิ่งที่เคย
          หวงแหนเป็นของเที่ยงไม่มีเลยบุคคลเห็นว่า สิ่งนี้มีความเป็นไปต่างๆ
          มีอยู่ ดังนี้แล้วไม่พึงอยู่ครองเรือน บุรุษย่อมสำคัญสิ่งใดว่า สิ่งนี้เป็น
          ของเราจำต้องละสิ่งนั้นไปแม้เพราะความตาย บัณฑิตผู้นับถือพระ
          พุทธเจ้าว่าเป็นของเรา ทราบข้อนี้แล้ว ไม่พึงน้อมไปในความเป็น
          ผู้ถือว่าสิ่งนั้นๆ เป็นของเรา บุคคลผู้ตื่นขึ้นแล้วย่อมไม่เห็นอารมณ์อัน
          ประจวบด้วยความฝัน แม้ฉันใด บุคคลย่อมไม่เห็นบุคคลผู้ที่ตนรักทำ
          กาละล่วงไปแล้ว แม้ฉันนั้นบุคคลย่อมกล่าวขวัญกันถึงชื่อนี้
          ของคนทั้งหลายผู้อันตนได้เห็นแล้วบ้าง ได้ฟังแล้วบ้าง ชื่อเท่านั้นที่ควร
          กล่าวขวัญถึงของบุคคลผู้ล่วงไปแล้ว จักยังคงเหลืออยู่ ชนทั้งหลายผู้
          ยินดีแล้วในสิ่งที่ตนถือว่าเป็นของเรา ย่อมละความโศกความร่ำไรและ
          ความตระหนี่ไม่ได้ เพราะเหตุนั้น มุนีทั้งหลายผู้เห็นนิพพานเป็น
          แดนเกษม
ละอารมณ์ที่เคยหวงแหนได้เที่ยวไปแล้ว บัณฑิตทั้งหลาย
          กล่าวการไม่แสดงตนในภพ อันต่างด้วยนรกเป็นต้น ของภิกษุผู้ประพฤติ
          หลีกเร้น ผู้เสพที่นั่งอันสงัด ว่าเป็นการสมควร มุนีไม่อาศัยแล้วใน
          อายตนะทั้งปวง ย่อมไม่กระทำสัตว์หรือสังขารให้เป็นที่รักทั้งไม่กระทำ
          สัตว์หรือสังขารให้เป็นที่เกลียดชัง ย่อมไม่ติดความร่ำไรและความตระหนี่
          ในสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รักและเป็นที่เกลียดชังนั้น เปรียบเหมือน
          น้ำไม่ติดอยู่บนใบไม้ ฉะนั้น หยาดน้ำย่อมไม่ติดอยู่บนใบบัว น้ำย่อม
          ไม่ติดอยู่ที่ใบปทุม ฉันใดมุนีย่อมไม่ติดในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง
          หรืออารมณ์ที่ได้ทราบ ฉันนั้น ผู้มีปัญญาย่อมไม่สำคัญด้วยรูปที่ได้เห็น
          เสียงที่ได้ฟัง หรืออารมณ์ที่ได้ทราบ ย่อมไม่ปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วย
          (มรรคอย่างอื่น) ทางอื่น ผู้มีปัญญานั้น ย่อมไม่ยินดี ย่อมไม่ยินร้าย
          ฉะนี้แล ฯ
          จบชราสูตรที่ ๖

 

ตอบโดย: Vicha 15 ก.ย. 52 - 17:15


สรุปแล้วจริงๆ  เรายังไม่เคยเห็นคำที่พระพุทธเจ้าตรัสตรงๆว่า
"นิพพาน อนัตตา" ใช่ไหม ครับ


เหตุใด ถึงทำให้ผมเอะใจ หรือสะดุดใจ หรือคิดมาก
กับคำที่ใครจะกล่าวสรุปว่า "นิพานเป็นอนัตตา".

ถ้าเราจะเอาคำว่า"สัพเพธัมมา อนัตตา" หมายถึงนิพพาน
ถ้ายังนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ไม่เป็นนิพพานไปทั้งหมดอย่างนั้นหรือ ครับ

ก็ในเมื่อทุกสิ่งทุกอย่าง(ธรรม)คือ อนัตตา
ดังนั้นอะไรๆก็ควรเป็นนิพพานทั้งหมดด้วย



เพราะในความเป็นจริง ไม่มีอะไรที่เป็นอัตตา
ความเป็นอัตตา คือความเข้าใจผิด,เป็นความเห็นผิด(อวิชชา) เท่านั้น
แต่ในความเป็นจริง ความเป็นอัตตาจริงๆนั้น ไม่มี




*นิพพาน...คือการไม่ปรากฏ(ไม่เกิด)ไม่สูญสลาย(ดับ)

*แต่ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ล้วนมีการปรากฏ(เกิด) ล้วนมีการสูญสลาย(ดับ)


ถ้าจะเหมารวมเอา"นิพพาน"ไปอยู่รวมความหมายกับธรรมใดๆทั้งหลายด้วย
"นิพพาน" จะไม่เป็นธรรมอันยิ่ง กว่าธรรมใดๆเลย ครับ

 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 15 ก.ย. 52 - 18:46


อ้างอิง (Vicha @ 15 ก.ย. 52 - 17:15)
นิพพานเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งวิมุติ.

[b]ยินดีในนิพพานเป็นที่สละความถือมั่น 

มุนีทั้งหลายผู้เห็นนิพพานเป็นแดนเกษม
ละอารมณ์ที่เคยหวงแหนได้เที่ยวไป
          



เป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งวิมุต...
ถ้าวิมุติ หมายถึงหลุดพ้น ก็น่าจะหมายถึง
หลุดพ้นจาก"ธรรมใดๆ" ทั้งหลายทั้งปวง.

 
เป็นที่สลัดคืน...
สลัดคืนจากอะไร? ก็น่าสลัดคืนจาก"ธรรมใดๆ" ทั้งหลายทั้งปวง.



ละอารมณ์ที่เคยหวงแหน...
อารมณ์ที่เคยหวงแหน ก็น่าจะหมายถึง"ธรรมารมณ์ใด" ทั้งหลายทั้งปวง.
 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 15 ก.ย. 52 - 19:01


จากข้อมูลของคุณปล่อยรู้

อ้างอิง
ถ้าเราจะเอาคำว่า"สัพเพธัมมา อนัตตา" หมายถึงนิพพาน
ถ้ายังนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ไม่เป็นนิพพานไปทั้งหมดอย่างนั้นหรือ ครับ

ก็ในเมื่อทุกสิ่งทุกอย่าง(ธรรม)คือ อนัตตา
ดังนั้นอะไรๆก็ควรเป็นนิพพานทั้งหมดด้วย


เป็นความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันเองในข้อมูล ที่ยังไม่เข้าใจหรือรู้ครับ.

  คำว่าธรรม หรือธรรมชาติ นั้นพระพุทธเจ้าทรงตรัสแบ่งเป็น 2 อย่าง. คือ.

   ธรรม ที่มีการเปลี่ยนแปลง มีการหมุนเวียน ไม่คงที่  เรียกว่า สังขตธรรม

   ธรรม ที่สงบนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่หมุ่นเวียน คงที่ ดำรงอยู่อย่างนั้น  เรียกว่า อสังขตธรรม

    ดังนั้น ทั้งสังขตธรรมและอสังขตธรรม เรียกว่า ธรรมทั้งหลาย หรือ สัพเพธัมมา นั้นเอง

        ส่วน อสังขตธรรม นั้นก็คือ นิพพาน นั้นเอง.

     ดังนั้นเมื่อพระพุทธเจ้า ตรัสว่า  "สัพเพธัมมา  อนัตตา"  ซึ่งก็คือรวมอสังขตธรรม หรือ นิพพานเข้าไปด้วย.

      ดังนั้นคำตรัสของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่พระพุทธเจ้าปัจจุบันได้ตรัสไว้

     พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่าพระนิพพานเป็นธรรมอย่างยิ่ง

     หาได้ขัดแย้งกับพุทธพจน์ที่ว่า  "สัพเพธัมมา อนัตตา"

ตอบโดย: Vicha 15 ก.ย. 52 - 20:52


และจากข้อมูลของคุณปล่อยรู๋

อ้างอิง
อ้างอิง (Vicha @ 15 ก.ย. 52 - 17:15)
นิพพานเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งวิมุติ.

[b]ยินดีในนิพพานเป็นที่สละความถือมั่น

มุนีทั้งหลายผู้เห็นนิพพานเป็นแดนเกษม
ละอารมณ์ที่เคยหวงแหนได้เที่ยวไป
         



เป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งวิมุต...
ถ้าวิมุติ หมายถึงหลุดพ้น ก็น่าจะหมายถึง
หลุดพ้นจาก"ธรรมใดๆ" ทั้งหลายทั้งปวง.

 
เป็นที่สลัดคืน...
สลัดคืนจากอะไร? ก็น่าสลัดคืนจาก"ธรรมใดๆ" ทั้งหลายทั้งปวง.


ผิดไปใหญ่ เลยครับ ถ้าไปฝั่งตามความคิดเห็นนี้ก็อาจจะเห็นกลายเป็น สูญสิ้นไปได้ เพราะธรรมทั้งปวงหรือ สัพเพธัมมา นั้นรวม "อสงขตธรรม หรือ นิพพาน" เข้าไปด้วย

    ดังนั้นจะมีอะไรอีกแหละ  ที่เกินไปจากคำว่า "ธรรมทั้งปวง หรือ สัพเพธัมมา" ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้   นอกจากเป็นความคิดบัญญัติที่เป็นไปตามความนึกคิดที่ทึกทักเอาเองเท่านั้น แต่หาใช่สภาวะธรรมที่เป็นจริง.
   

ตอบโดย: Vicha 15 ก.ย. 52 - 21:06


เห็นด้วยกับพี่ Vicha ครับ  ผมก็เห็นอย่างนั้น  ถ้าผมจะอธิบายผมก็คงจะอธิบายแบบนั้นเหมือนกัน

ตอบโดย: น้องบู 16 ก.ย. 52 - 10:05


สวัสดีครับ คุณปล่อยรู้

      วันนี้ก็สนทนาต่อนะครับ เพราะเมื่อคืนผมเกิดมีอาการอาหารเป็นพิษอย่างปัจจุบันทันด่วน ผืนตอบคำถามทั้งที่เกิดอาการมึนหัวแล้ว เป็นเพราะผมซื้อกลอยต้มตั้งแต่เช้าแต่ไม่ได้แช่ตู้เย็นเพราะเอาไปที่ทำงานด้วย และจะกินตอนเที่ยง แต่ตอนเที่ยงไม่ได้กิน จึงได้เอามากินตอนค่ำหลังอาหารเย็น ดมกลิ่นแล้วไม่ได้บูด
       แต่กินไปได้ชั่วโมงกว่า ก็เกิดอาการมึนหัว ลมตีขึ้นตีลง ผืนตัวเองเข้าห้องน้ำแต่ก็กลัวจะเป็นลม แล้วเกิดสภาวะทั้งถ่ายท้องทั้งอ้วก ดีที่สำรอกออกมาเป็นส่วนมาก แล้วตั้งสติผืนอาบน้ำสระผมก็ระวังตนเองอยู่กลัวว่าจะเป็นลมล้มลงได้เพราะยามหลับตาล้างหน้าหรือทาสบู จะมีอาการมืดมากกว่าปกติ แถมลมยังตีเบื้องล่าง และกระเพาะเครียดแกร็ง มีอาการมึนหัว แต่ก็สระผมอาบน้ำจนเสร็จ
 
    บอกแฟนว่าไม่ไหวแล้ว ล้มตัวลงนอนบนเตียง ร่างกายและเลือดลมก็ยังไม่เข้าที่เข้าทาง มีอาการเครียดของกระเพาะและกระสับการส่ายภายในมีอาการมึนหัว จึงค่อยๆ ประกองสติกำหนดกรรมฐานให้ชัดเจนขึ้น อารมณ์เป็นหนึ่งขึ้น แต่อาการกระสับการส่ายภายในก็ไม่หาย จึงบอกให้แฟนหาน้ำมาให้ดื่ม.
     แฟนก็ไปหาน้ำแต่หายไปนาน ด้วยมีอาการกระสับกระส่ายฝ่ายใน(แต่นอนกำหนดนิ่งอยู่) จึงรู้สึกเหมือนแฟนหายไปนานมาก เพียงเอาน้ำมาแค่นี้.
     แฟนหวังดี ไปหาน้ำเกลือแร่มาให้ ก็จิบได้เพียงครึ่งหนึ่ง แล้วบอกแฟนว่าขอน้ำครับแล้วจิบน้ำไปอีกครึ่งหนึ่ง แล้วนอนนิ่งกำหนดกรรมฐานดังเดิม
     แฟนถามว่า ไหวไม?  ก็ตอบว่า พอไหวไม่เป็นไร?  แฟนจึงปิดทีวี แล้วย้ายไปนอนห้องลูกชาย เพราะรู้อยู่แล้วว่าเมื่อถึงสภาวะนี้ ต้องเงียบปล่อยผมไว้ ผมจึงกำหนดกรรมฐานจนงีบหลับไป ตื่นมาเทียงคืน อาการกระสับกระสายภายในก็บรรเทาลง แต่ยังมึนหัวนิดๆ หน่อยๆ จึงหลับตากำหนดกรรมฐานต่อแบบผ่อนคลายก็หลับไปตืนมาตนที 3 ทุกอย่างก็ดีขึ้น ก็เข้าห้องน้ำถ่ายปัสสาวะ
       ออกจากห้องน้ำได้สักพัก เอ้า.. ปวดท้องถ่ายอีกแล้ว ก็เป็นอันว่าได้ระบายอาหารเป็นพิษจนหมด. เช่าก็กลับมานั่งทำงานได้ปกติ แต่อาการมึนๆ ยังมีอยู่บ้าง
       
     สนทนาในความคิดเห็นต่อไป.
 

ตอบโดย: Vicha 16 ก.ย. 52 - 10:23


จากข้อความในความคิดเห็นที่ 153 ของคุณปล่อยรู้ (และสวัสดีน้องบูด้วย)

อ้างอิง
เพราะในความเป็นจริง ไม่มีอะไรที่เป็นอัตตา
ความเป็นอัตตา คือความเข้าใจผิด,เป็นความเห็นผิด(อวิชชา) เท่านั้น
แต่ในความเป็นจริง ความเป็นอัตตาจริงๆนั้น ไม่มี




*นิพพาน...คือการไม่ปรากฏ(ไม่เกิด)ไม่สูญสลาย(ดับ)

*แต่ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ล้วนมีการปรากฏ(เกิด) ล้วนมีการสูญสลาย(ดับ)


ถ้าจะเหมารวมเอา"นิพพาน"ไปอยู่รวมความหมายกับธรรมใดๆทั้งหลายด้วย
"นิพพาน" จะไม่เป็นธรรมอันยิ่ง กว่าธรรมใดๆเลย ครับ


ตอบ.. คุณปล่อยรู้ต้องทำความเข้าใจคำว่า  "อัตตา" ให้ดีนะครับ

      เพราะถ้าไปเข้าใจว่า ขันธ์ หรือ "รูปนาม" เป็น "อัตตา" ก็จะล่วงเลยไปจากความเป็นจริงที่เป็นจริง เพราะไปเข้าใจว่า ขันธ์ หรือ รูปนาม ไม่ได้ปรากฏจริง หรือไม่มีอยู่จริง ไปเสีย

       "อัตตา" ที่กล่าวอยู่นั้นความจริงก็คือ อุปทานขันธ์ นั้นเอง ก็คือความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ แต่ไม่ใช่ตัวขันธ์ที่ปรากฏอยู่ตามเหตุปัจจัยตามธรรมชาติ.

        มีผู้ศึกษาธรรมมากเลยที่เดียว ที่เห็นผิดจนลวงเลยไปว่า ขันธ์ ไม่มีจริง หรือปฏิเสธ ขันธ์ ที่ดำเนินอยู่เป็นปัจจุบันตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่ กลายเป็นปฏิเสธว่า รูป จิต เจตสิก ไม่มีจริงไปเสีย ทั้งที่ปรากฏเป็นปัจจุบันให้แจ้งอยู่.

        สิ่งที่ควรทำให้แจ้งให้ดับไม่ให้ปรากฏกับขันธ์ก็คือ อุปทานขันธ์ นั้นเอง แล้วเมื่อหมดเหตุปัจจัยที่ให้ขันธ์ดำรงต่อไปด้วยกรรมเก่า (อุปทานขันธ์ ดับไม่เกิดก่อนนั้นแล้ว) ขันธ์ก็ดับหมดสิ้นไป

    และตามที่ท่านพุทธทาสกล่าวนั้นคือ "ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง"

    ไม่ใช่ว่า " *แต่ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ล้วนมีการปรากฏ(เกิด) ล้วนมีการสูญสลาย(ดับ)"

     คุณปล่อยรู้ลองไปทำความเข้าใจเสียใหม่นะครับ ก่อนที่จะเข้าใจอะไรคลาดเคลื่อนไปมากกว่านี้นะครับ.

 

ตอบโดย: Vicha 16 ก.ย. 52 - 10:54


เข้ามาอ่านอยู่เรื่อยๆ ได้ความรู้มากมายจากคุณวิชา คงเป็นเพียงผู้อ่านเท่านั้นเพราะไม่มีความรู้มากมายทางธรรมคุยได้

ตอบโดย: Vicky 16 ก.ย. 52 - 11:23


ธรรมทั้งปวงที่เป็นสังขตธรรมยังมีเหตุให้ปรุงแต่ง ย่อมเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ธรรมที่เป็นอสังขตธรรม ปราศจากเหตุปรุงแต่ง อย่าง นิพพาน ก็เป็นอนัตตา แต่ไม่เป็น อนิจจัง ไม่เป็นทุกขัง

ถ้ากล่าวแบบนี้ ผิดไปจากความเป็นจริงของนิพพานไหมครับ?

ตอบโดย: วสวัตตี 16 ก.ย. 52 - 20:19


สวัสดีครับ คุณ Vicky และคุณวสวัตตี

   จากคำถามของคุณวสวัตตี

อ้างอิง
ธรรมทั้งปวงที่เป็นสังขตธรรมยังมีเหตุให้ปรุงแต่ง ย่อมเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ธรรมที่เป็นอสังขตธรรม ปราศจากเหตุปรุงแต่ง อย่าง นิพพาน ก็เป็นอนัตตา แต่ไม่เป็น อนิจจัง ไม่เป็นทุกขัง

ถ้ากล่าวแบบนี้ ผิดไปจากความเป็นจริงของนิพพานไหมครับ?


   ตอบ ไม่ผิดไปตามบัญญัติที่เทียบเคียงไปจากความเป็นจริงครับ.


    เพราะจากที่พอจำได้ พระพุทธเจ้าทรงตรัสทำนองว่า  แม้แต่นิพพานก็ไม่ควรยึดมั่นและถือมั่น.

     ก็คือ    นิพพาน ก็ อนัตตานั้นเอง

      หรือ   สัพเพธัมมา อนัตตา  ไม่ขัดแย้งกันแม้แต่น้อยนิดนั้นเอง.
 

ตอบโดย: Vicha 17 ก.ย. 52 - 11:41


อ้างอิง (Vicha @ 17 ก.ย. 52 - 11:41)


    เพราะจากที่พอจำได้ พระพุทธเจ้าทรงตรัสทำนองว่า  แม้แต่นิพพานก็ไม่ควรยึดมั่นและถือมั่น.

     

ไม่ทรงติดแม้ในนิพพาน

          ภิกษุ ท.! แม้ตถาคต ผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง ก็รู้ชัดซึ่งนิพพานตามความเป็นนิพพาน.   ครั้นรู้นิพพานตามความเป็นนิพพานชัดแจงแล้ว ก็ไม่ทำความมั่นหมายซึ่งนิพพาน ไม่ทำความมั่นหมายในนิพพาน ไม่ทำความมั่นหมายโดยความเป็นนิพพาน ไม่ทำความมั่นหมายว่า "นิพพานเป็นของเรา", ไม่เพลิดเพลินลุ่มหลงในนิพพาน.   ข้อนี้เพราะเหตุไรเล่า?  เพราะเหตุว่า นิพพานนั้นเป็นสิ่งที่ตถาคตกำหนดรู้ทั่วถึงแล้ว.

          ภิกษุ ท.! แม้ตถาคต ผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง ก็รู้ชัดซึ่งนิพพานตามความเป็นนิพพาน.   ครั้นรู้นิพพานตามความเป็นนิพพานชัดแจ้งแล้ว ก็ไม่ทำความมั่นหมายซึ่งนิพพาน ไม่ทำความมั่นหมายในนิพพานไม่ทำความมั่นหมายโดยความเป็นนิพพาน ไม่ทำความมั่นหมายว่า "นิพพานเป็นของเรา", ไม่เพลิดเพลินลุ่มหลงในนิพพาน.    ข้อนี้เพราะเหตุไรเล่า?  เรากล่าวว่า เพราะรู้ว่าความเพลิดเพลิน(นันทิ)เป็นมูลแห่งทุกข์  และเพราะมีภพจึงมีชาติ,  เมื่อเกิดเป็นสัตว์แล้วต้องมีแก่และตาย.  เพราะเหตุนั้นตถาคตจึงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะตัณหาทั้งหลายสิ้นไป ปราศไป ดับไป สละไป ไถ่ถอนไป โดยประการทั้งปวงดังนี้.


http://www.nkgen.com/22.htm


นี่คือหลักฐานชิ้นสำคัญที่บอกว่า  นิพพานเป็นอนัตตานะครับ   เพราะถ้านิพพานเป็นอัตตาแล้วไซร้  พระองค์คงจะตรัสตรงกันข้ามไปแล้วครับ


 

ตอบโดย: น้องบู 17 ก.ย. 52 - 11:57


ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ตัวเราก็ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่เป็นตัว ไม่เป็นตน เป็นแต่เพียงรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

ตัวผมในวันนี้ก็ไม่ใช่ตัวผมในวันก่อนๆ วันเก่าๆ หากวันก่อนๆ วันเก่าๆ เคยได้ล่วงเกินท่านใดๆไป ขออโหสิกรรมต่อทุกๆท่านด้วยครับ ขอให้เป็นอภัยทาน

คิดว่าตั้งแต่วันนี้ไปคงจะปฏิบัติให้มากขึ้นและพูดหรือพิมพ์ให้น้อยลง

ว่าแต่คุณระนาดหายไปไหนนะ สงสัยคงเร่งทำความเพียรอยู่แน่ๆเลย

 

ตอบโดย: วสวัตตี 17 ก.ย. 52 - 17:01


สวัสดีครับ  ผมไม่ได้เข้ามาหลายวัน  พอดีผมไปส่งการบ้านเมื่อวันที่ 11 กย.ที่ผ่านมาครับ

ผมใช้หมายเลข 185 ส่งการบ้านเป็นคนที่ 2  ถ้าเพื่อนๆสนใจก็เข้าไปฟังในซีดีได้ครับ
 

ตอบโดย: ระนาด 18 ก.ย. 52 - 09:11


  สวัสดีครับ ทุกท่าน และ น้องบู คุณวสวัตติ คุณระนาด

   ดีครับน้องบู ที่เอาข้อมูลจากพระไตรปิฎกมาแสดงให้เห็นเต็มๆ

    สำหรับ คุณระนาด คงสร่างจากความทุกข์และความสับสนแล้วนะครับ แต่ถ้าเป็นวิปัสสนาญาณที่เป็นการให้เห็นสภาวะความทุกข์หรือทุกขัง ก็เหมือนโดนล้อมกรอบด้วยความทุกข์และความสับสนจนได้เรียนรู้และพัฒนาการปฏิบัติธรรมจนผ่านพ้นไปให้ได้ การเห็นทุกข์นั้นก็จะบรรเทา ไม่ก่อให้เกิดสภาวะนั้นนาน และเป็นสภาวะธรรมที่หาได้รุนแรงแล้วเมื่อ รู้จักการวางใจในการดำเนินการปฏิบัติปรับพละทั้ง 5 ได้สมดุลย์

     แต่ถ้าไม่ไหว ก็ปรับลดการปฏิบัติกรรมฐานลงมาให้มีอารมณ์เป็นปกติทั่วไป ความทุกข์ความสับสนนั้นก็จะหายไป เหมือนกับวางออกไปจากอารมณ์ปกตินั้น
  
      แต่เมื่อปฏิบัติขึ้นเป็นวิปัสสนาและปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและเนื่องๆ แล้วในแต่ละขั้นเสมือนไปอยู่ในห้องมืด เหมือนไม่รู้ทิศทางและสับสน และเห็นทุกข์โทษเป็นส่วนมาก เมื่อยืนอยู่ใน แต่ขั้นๆ ของวิปัสสนา จึงต้องปฏิบัติเรียนรู้ในการกำหนดปรับพละ 5 ในการวางอารมณ์กรรมฐาน.

      เมื่อผ่านพ้นไปได้แต่ละขั้นของวิปัสสนาจนชำนาณ เมื่อถอยลงไปในขั้นที่ผ่านมา หรือเข้าไปอยู่ในขั้นที่ผ่านมา ก็ยังเป็นทุกข์เห็นทุกข์คล้ายเดิม แต่ไม่สับสนร้อนรนในความทุกข์ที่เห็นตามสภาวะธรรมของแต่ละขั้นของวิปัสสนานั้นๆ ยกเว้นจะเกิดกิเลสตัณหา หรือตัณหาอย่างอื่นมาประกอบเข้ากับวิปัสสนาญาณนั้นความทุกข์ ก็จะสับสนและเร้าร้อนขึ้นมากกว่าปกติเพราะการเห็นอย่างชัดแจง และจิตก็ปักแต่ไปเห็นทุกข์และกิเลสนั้น จึงสับสนจนทุกข์ร้อนขึ้น  ซึ่งต้องข่ม มีขันติ ต้องค่อยๆ เรียนรู้ในการปฏิบัติวางสภาวะอารมณ์นั้นได้ ด้วยสติปัญญาที่เจริญขึ้น

      ดังนั้นในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น  ในแต่ละขั้นมีความหมายในการเรียนรู้ในการพัฒนาเพื่อผ้านพ้นไปตามลำดับ.

     วิปัสสนาญาณที่เป็นมีการกล่าวไว้แต่โบราณกาล ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่ บังเกิดขึ้นก็เพื่อให้เรียนรู้เพื่อการพัฒนาพละทั้ง 5 (สติ สมาธิ ปัญญา ศรัทธา ความเพียร) จนผ่านพ้นไปได้ด้วยพละทั้ง 5 นั้นเอง ไม่ใช่การพยายามไม่ให้เกิดขึ้น.

   

ตอบโดย: Vicha 18 ก.ย. 52 - 10:34


 สนทนาต่อนะครับ.

      ด้วยเหตุอะไรก็ตามแต่ ก็ประจวบเหมาะพอดี ที่เกิดปรากฏการณ์ของการแสดงความเห็นที่เข้าใจ และ ข้อมูลสภาวะอารมณ์ของการปฏิบัติที่ปรากฏขึ้น
  
    จากข้อความของคุณ วสวัตตี ในความคิดเห็นที่ 164

อ้างอิง
      ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ตัวเราก็ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่เป็นตัว ไม่เป็นตน เป็นแต่เพียงรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ


    เป็นการแสดงความเห็นตรงตามที่เข้าใจได้
           แต่สภาวะธรรมที่เห็นแจ้งว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา จริงๆ นั้นต้องประกอบด้วยการปฏิบัติเห็นทุกข์โทษของขันธ์ และอุปาทานขันธ์ อันเป็น รูปนาม นั้น จนเบื่อหน่ายคลายกำหนัด แล้วสลัดทิ้ง ตามลำดับตามขั้นของวิปัสสนาญาณ.

      ดังนั้นธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้นละเอียดลุมลึก ตรวจสอบเฉพาะตนได้ดังนี้.

      ถึงจะมีความเห็นที่เป็น สมมาทิฏฐิ  ว่า สัพเพธัมมา อนัตตา ตามบัญญัติชัดแจ้งด้วยจินตมยปัญญา ก็หาได้ชี้ชัดว่าได้บรรลุพระนิพพานอย่างใดแล้ว

      ธรรมที่ตรวจสอบพระนิพพานอย่างสมบูรณ์ ตามพุทธพจน์กับบุคคลก็คือ

      นิพพานคือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นั้นเอง

         

ตอบโดย: Vicha 18 ก.ย. 52 - 11:10


บุคคลจะรู้ได้อย่างไร ว่า ราคะ โทสะ โมหะ สิ้นแล้ว อาสวะสิ้นไปแล้ว ไม่กำเริบกลับมาเป็นอีก

เข้าใจนะครับว่ารู้ได้เฉพาะตน

แต่การรู้ได้เฉพาะตนอาจจะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้  อาสวะที่นอนเนือง อาจจะรอการปรากฏขึ้นอีกครั้ง (แม้จิตแจ้งเชิงประจักษ์ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเชื่อถือนี่ครับ)


 


มีบ้างไหมครับ ที่พระอรหันต์สิ้นอาวสะแล้ว จะไม่รู้ตัวว่าตนเองเป็นอรหันต์แล้วสิ้นอาสวะแล้ว



ขออภัยพี่ Vicha ด้วยครับ ถ้าคำถามเป็นที่กวนใจมากไปนะครับ  

(ถ้าไม่ถามก็กลัวจะลืม  เมื่อระลึกในภายหลังอาจจะไม่มีโอกาศได้ถาม จึงขอถามเมื่อสงสัยในทันทีนะครับ )

ตอบโดย: น้องบู 18 ก.ย. 52 - 14:32


สวัสดีครับน้องบู

   ไม่ได้เป็นคำถามที่กวนใจหรอกครับ เพราะกำลังสนทนาอยู่ในประเด็นนี้พอดีครับ จึงเป็นคำถามที่สานต่อกันอย่างดีครับ.

    ตอบ สำหรับพระอรหันต์ที่แท้จริง ท่านต้องรู้ชัดและถูกต้องด้วยเฉพาะของท่าน ทุกท่านครับ
         แต่สำหรับผู้หลงญาณ หลงฌาน เกิดสภาวะธรรมเข้าใจผิดย่อมปรากฏได้ แล้วเกิดอารมณ์น้อมไปเองอุทานไปเองว่า ชาติสิ้นแล้ว หรือกิเลสสิ้นแล้ว แล้วเข้าใจผิดไปมีได้

         มาดูตัวอย่างของพระภิกษุบรรลุเป็นพระอรหันต์ในพระไตรปิฎก ซึ่งมีความชัดเจนดี

    พระไตรปิฎกเล่มที่ 15
                     ว่าด้วยพระพรหมสรรเสริญพระพรหมเทวะ
              [๕๖๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามแห่ท่านอนาถบิณฑิก
เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ
    ก็สมัยนั้นแล บุตรแห่งนางพราหมณีคนหนึ่ง ชื่อพรหมเทวะ ออกบวชในสำนักของพระ
ผู้มีพระภาค ครั้งนั้นแล ท่านพระพรหมเทวะเป็นผู้เดียว หลีกออกแล้ว ไม่ประมาท มีความ
เพียร มีตนอันส่งไปแล้ว อยู่ไม่นานเท่าไร ก็ได้กระทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษอันยอดเยี่ยมเป็นที่
สุดแห่งพรหมจรรย์  ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องประสงค์
เพราะรู้แจ้งชัด เองในปัจจุบันนี้แหละเข้าถึงอยู่ ท่านได้ทราบว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่
จบแล้ว กิจที่จะต้องทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกมิได้มี
ก็  แหละท่าน
พรหมเทวะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์แล้ว ฯ


 ต่อไปมาดูสภาวะของอีกท่านหนึ่ง ในพระไตรปิฎกเล่มเดียวกัน

   พราหมณ์ภารทวาชโคตรได้บรรพชาได้อุปสมบทแล้วในสำนักของพระผู้มีพระภาค ก็ท่าน
พระภารทวาชอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกไปอยู่ผู้เดียวไม่ประมาทมีความเพียร มีตนส่งไปอยู่
ไม่นานเท่าไรนัก ก็กระทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษอันยอดเยี่ยม เป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ซึ่งกุลบุตร
ทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ มีความต้องการ ด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ยิ่งเอง
ในปัจจุบันนี้เข้าถึงอยู่ ได้ทราบว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่จะต้องทำได้ทำเสร็จ
แล้วกิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
ก็แหละท่านพระภารทวาชได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง
ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล ฯ



     ดังนั้นสำหรับพระอรหันต์จริงๆ นั้นท่านย่อมรู้ชัดรู้ยิ่งเอง  ไม่มีกิเลสกำเริบขึ้นอีกแล้ว เป็นธรรมดา
     ยกเว้นผู้ที่หลงญาณ หลงฌาน เกิดสภาวะธรรมขึ้น แล้วอุทานเข้าใจผิดไปเองว่า ชาติสิ้นแล้ว เสร็จกิจแล้ว สงบอยู่  แต่ภายหลังมีกิเลส ปรากฏขึ้นมาให้เห็นภายใจจิต และแสดงออกจากใจได้อีก จึงหาใช่เป็นพระอรหันต์ เป็นเพียงเข้าใจผิดไปเท่านั้น  เมื่อมีสติรู้ตัวก็เพียงละทิฏฐิความเห็นนั้นทิ้งเสีย
     ถ้าได้กล่าวให้ผู้อื่นทราบ ด้วยความเข้าใจผิดหลงในญาณหรือฌานนั้น เมื่อเป็นพระภิกษุอยู่ก็ยังหาได้ต้องศีลปาราชิก เมื่อทราบว่าเข้าใจผิด ก็เพียงละทิฏฐิความเห็นผิดนั้นและปรงอาบัติเสีย ก็ไม่ได้ขาดจากความเป็นพระภิกษุ.
      แต่ถ้ามีสติรู้ตัวแล้ว เพราะกิเลสได้ปรากฏขึ้นกับใจตนอย่างชัดเจน แต่เกิดตัณหาหลงผิด ว่าถ้าเราปลงอาบัติ ก็จะเกิดความระอายปล่อยให้เข้าใจผิดไปอย่างนั้นก็ดีแล้ว หรือด้วยเห็นว่าการที่มีการกล่าวสรรเสริญว่าเราเป็นอรหันต์ ด้วยเหตุที่เราบอกไว้ เป็นการดี เราควรปกปิดไว้ต่อไป ก็เป็นการผิดศีลปาราชิก ขาดจากความเป็นพระภิกษุทันที

     แต่ก็มีเหตุสำหรับพระอริยะเบื้องต้นอย่างเช่นพระโสดาบัน มีความสงสัยว่าคุณธรรมแห่งตนนั้นได้เสื่อมหรือไม่หนอ? ย่อมเกิดได้ เพราะยังมีกิเลสอยู่ ส่วนสำหรับพระอรหันต์ย่อมหามีไม่ เพราะกิเลสตัณหานั้นหมดสิ้นแล้ว.

     ตัวอย่างพระโสดาบัน ได้มีความสังสัยว่าคุณธรรมแห่งตนนั้นได้เสื่อมหรือไม่หนอ? คือ พระมหานามะ (ผมจะเล่าตามที่พอจำได้นะครับ)
      เมื่อพระมหานามะ ท่านได้บรรลุเป็นพระโสดาบันแล้ว จิตใจก็จะระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม อยู่เนืองๆ โดยไม่ขาด  แต่เนื่องจากท่านเป็นกษัตริย์ ภายหลังมีกิจราชการมีมากและยุ่ง ใจที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม ย่อมขาดหายไปย่อมบกพร่องไปหาได้แนบแน่นเหมือนเก่า
       เมื่อได้มีโอกาศถามพระพุทธเจ้าว่า คุณธรรมแห่งตนนั้นได้เสื่อมหรือไม่หนอ? เพราะสมัยก่อนนั้นจิตนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้า และพระธรรม ด้วยศรัทธาแก้กล้าอยู่เนื่องๆ  แต่ปัจจุบันนี้ จิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าและพระธรรม น้อยลง ไม่เป็นไปโดยตลอด.

        พระพุทธเจ้าตรัสทำนองว่า ธรรมที่พระมหานามะบรรลุแล้วนั้นหาได้เสื่อม เพียงแต่กิจในราชการชองพระมหานามะมีมากนั้นเอง.

ตอบโดย: Vicha 18 ก.ย. 52 - 15:35


เมื่อวานก็บังเอิญได้เจอเรื่องที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้พอดีเลยครับ บังเอิญจริงๆ

๔. เรื่องพระอธิมานิกภิกษุ [๑๒๑]
             
               ข้อความเบื้องต้น
               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพวกภิกษุผู้มีความสำคัญว่าตนได้บรรลุพระอรหัตผลหลายรูป ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ยานิมานิ" เป็นต้น.

               พวกภิกษุสำคัญผิด
        
               ดังได้สดับมา ภิกษุ ๕๐๐ รูปเรียนกรรมฐานในสำนักพระศาสดาแล้ว เข้าไปสู่ป่า พากเพียรพยายามอยู่ ยังฌานให้เกิดขึ้นแล้ว สำคัญว่า "กิจบรรพชิตของพวกเราสำเร็จแล้ว" เพราะกิเลสทั้งหลายไม่ฟุ้งขึ้น จึง (กลับ) มาด้วยหวังว่า "จักกราบทูลคุณที่ตนได้แล้วแด่พระศาสดา."

               พระศาสดาจึงแก้ความสำคัญผิดนั้น
            
               ในเวลาที่พวกเธอถึงซุ้มประตูชั้นนอกเท่านั้น พระศาสดาตรัสกะพระอานนท์เถระว่า "อานนท์ การงาน (เกี่ยว) ด้วยเราผู้อันภิกษุเหล่านี้เข้ามาเฝ้า ยังไม่มี, ภิกษุเหล่านี้จงไปป่าช้าผีดิบ (เสียก่อน) กลับมาจากที่นั้นแล้ว จึงค่อยเฝ้าเรา."

               พระเถระไปแจ้งความนั้นแก่พวกเธอแล้ว.

               พวกเธอไม่พูดเลยว่า "พวกเราจะได้ประโยชน์อะไรด้วยป่าช้าผีดิบ" คิดเสียว่า "พระพุทธเจ้าทรงเห็นการณ์ไกล จักทรงเห็น (เหตุ) การณ์ ดังนี้แล้ว ไปสู่ป่าช้าผีดิบแล้ว เมื่อเห็นศพในที่นั้น กลับได้ความเกลียดชังในซากศพที่เขาทิ้งไว้ ๑ วัน ๒ วัน ยังความกำหนัดให้เกิดในสรีระอันสดซึ่งเขาทิ้งไว้ในขณะนั้น. ในขณะนั้น ก็รู้ว่าตนยังมีกิเลส.

               พระศาสดาประทับนั่งในพระคันธกุฎีนั่นเอง ทรงฉายพระรัศมีไป ดุจตรัสอยู่เฉพาะหน้าของภิกษุเหล่านั้น. ตรัสว่า

               "ภิกษุทั้งหลาย การที่เธอทั้งหลายเห็นร่างกระดูกเช่นนั้น ยังความยินดีด้วยอำนาจราคะให้เกิดขึ้น ควรละหรือ?"

               ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า

                         ๔.  ยานิมานิ อปตฺถานิ     อลาปูเนว๑- สารเท
                          กาโปตกานิ อฏฺฐีนิ     ตานิ ทิสฺวาน กา รติ.
                          กระดูกเหล่านี้ใด อันเขาทิ้งเกลื่อนกลาด
                          ดุจน้ำเต้าในสารทกาล มีสีเหมือนนกพิราบ
                          ความยินดีอะไรเล่า? (จักมี) เพราะเห็น
                          กระดูกเหล่านั้น.
____________________________
๑- อรรถกถาว่า อลาพูเนว.

              แก้อรรถ
     
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปตฺถานิ ได้แก่ อันเขาทิ้งแล้ว.

               บทว่า สารเท ความว่า เหมือนน้ำเต้าที่ถูกลมและแดดกระทบ หล่นเกลื่อนกลาดในที่นั้นๆ ในสารทกาล.

               บทว่า กาโปตกานิ แปลว่า มีสีเหมือนสีนกพิราบ.

               สองบทว่า ตานิ ทิสฺวาน ความว่า ความยินดีอะไรเล่าของพวกเธอ (จักมี) เพราะเห็นกระดูกเหล่านั้น คือเห็นปานนั้น การทำความยินดีในกามแม้เพียงนิดหน่อย ย่อมไม่ควรเลย มิใช่หรือ?

               ในเวลาจบเทศนา ภิกษุเหล่านั้นได้บรรลุอรหัตผลแล้ว ตามที่ยืนอยู่เทียว ชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้า มาถวายบังคมแล้ว ดังนี้แล.

               เรื่องพระอธิมานิกภิกษุ จบ.
               ---------------------------------
.. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ชราวรรคที่ ๑๑

http://d71233.u23.bangkokserver.net/tipitaka/attha/attha.php?b=25.0&i=21&p=4

ตอบโดย: วสวัตตี 19 ก.ย. 52 - 13:19


ขอบคุณสำหรับคำตอบครับ พี่ Vicha และคุณวสวัตตีที่นำข้อมูลมาให้นะครับ


จำได้ว่า พี่ Vicha เคยเล่าเรื่องเกี่ยวกับการพูดคุยกับโอปปาติกะ   ซึ่งผมก็จำไม่ได้ว่าตอนนั้นพี่ Vicha อาศัยสมาธิในการเข้าไปพบ  หรือในขณะนั้นหลับอยู่แล้วโอปปาติกะมาหา  เลยอยากถามว่า พี่ Vicha เคยเห็นโอปปาติกะ ด้วยตาเนื้อหรือไม่ครับ เคยมีประสบการณ์แบบนี้บ้างหรือไม่ครับ

ในขณะที่เห็นนั้นรู้ทันที หรือมาระลึกรู้ได้ในภายหลังครับ

(ช่วงนี้ผมมีโอกาสถามเต็มที่ล่ะ)

 

ตอบโดย: น้องบู 22 ก.ย. 52 - 12:04


สวัสดีครับน้องบู

อ้างอิง
จำได้ว่า พี่ Vicha เคยเล่าเรื่องเกี่ยวกับการพูดคุยกับโอปปาติกะ   ซึ่งผมก็จำไม่ได้ว่าตอนนั้นพี่ Vicha อาศัยสมาธิในการเข้าไปพบ  หรือในขณะนั้นหลับอยู่แล้วโอปปาติกะมาหา  เลยอยากถามว่า พี่ Vicha เคยเห็นโอปปาติกะ ด้วยตาเนื้อหรือไม่ครับ เคยมีประสบการณ์แบบนี้บ้างหรือไม่ครับ


ตอบ  ผมไม่เคยเห็น โอปปาติกะ ด้วยตาเนื้อ ครับ.

        เคยแต่อยู่เข้าในสมาธิ เป็นนิมิต เกิดสัญญาปรากฏรู้สึกว่าเป็นอย่างนั้นๆ มี แต่ก็กระทำอย่างนี้ไม่นานนัก ก็กระดากใจเพราะไม่มีสิ่งใดเป็นกำหนดหมายพิสูจน์ได้ เกรงว่าอาจจะเป็นอุปทานของตนเองโดยที่ไม่เป็นจริงเลย จึงต้องยุติไป.
 
อ้างอิง
ในขณะที่เห็นนั้นรู้ทันที หรือมาระลึกรู้ได้ในภายหลังครับ


   ตอบ  การสนทนากับโอปปาติกะด้วยการสื่อสัมผัสทางจิตนั้นเป็น real time  สนทนาตอบโต้กันอย่างปกติครับ. แต่ผมและแฟนไม่นิยมกระทำแบบถามเองตอบเองเพียงคนเดียว เพราะแยกแยะใจตนเองที่ถาม กับสิ่งที่ตอบออกมานั้นได้ลำบาก และมีความใกล้เคียงกับอุปทานของตนเองที่ปรุงแต่งก็ได้
       จึงใช้วิธี ให้ผู้หนึ่งสัมผัสจิตกับโอปปาติกะ(แฟน) และผมเป็นคนถาม จึงทำให้ผู้ที่สัมผัสจิตกับโอปปาติกะ แยกจิตจากการตอบคำถามออกอย่างเด็ดขาดอย่างชัดเจนได้ดี มีความมั่นใจว่าไม่ใช่อุปาทานของตนเองเกิดขึ้น การตอบคำถามนั้นเป็นไปเอง โดยไม่มีเจตนาของผู้สื่อสัมผัสเลย
  
        จากข้อสังเกตุโดยรวม ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้อย่างแน่นอนว่าข้อมูลที่ได้มาจากสนทนานั้นต้องเป็นจริงถูกต้องเสมอทุกเรื่อง และจากการสังเกตุเมื่อผู้ที่สื่อสัมผัสจิตกับโอปปาติกะนั้นหลับตา แล้วให้หยิบของ ก็ยังต้องคล่ำเพื่อไปหยิบของ หรือหยิบของไม่ถูกก็มี
        และบางครั้งข้อมูลที่ได้มาจากการสนทนาก็ตรงกันข้ามกับความจริงไปเลยก็มี ซึ่งมีประมาณ 5-15 % ในช่วงเวลา 20 กว่าปีมานี้.

        ถ้าใน 5-15 % นั้นที่ตรงกันข้ามกันกับเหตุการณ์ที่ปรากฏจริงในภายหลัง เมื่อเกิดกับเหตุการณ์ใหญ่ ๆ ก็แทบทำให้เกิดความไม่เชื่อถือ และไม่อยากสื่อสัมผัสไปเลยก็มี
        เพราะแฟนเองเมื่อเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ก็ต้องทบทวนตนเอง แทบไม่อยากสื่อสัมผัสอีกเลยไปเป็นเวลานาน ด้วยความผิดพลาดนั้น เพียงแต่มีความมั่นใจว่า จิตเขาเองแยกไปต่างหาก ไม่มีเจตนาที่จะตอบหรือสนทนา และยังไม่รู้เลยว่าจะตอบอย่างไร จึงเสมือนจิตแยกไปต่างหากเพื่อฟังเพียงอย่างเดียวเท่านั้น.

       สรุป สิ่งเหล่านี้ก็ยังเชื่อแน่ไม่ได้ว่า ข้อมูลที่ได้จากการสนทนานั้นถูกต้องแท้จริงแน่นอน  ผมจึงใช้เป็นเพียงข้อมูลเสริมประกอบเท่านั้น เพื่อร่วมกับข้อมูลด้านอื่นๆ ที่เป็นองค์ประกอบตามเหตุตามผลที่ควรเป็นไปได้เท่านั้น.
 

ตอบโดย: Vicha 22 ก.ย. 52 - 15:42


อ้างอิง (ระนาด @ 18 ก.ย. 52 - 09:11)
สวัสดีครับ  ผมไม่ได้เข้ามาหลายวัน  พอดีผมไปส่งการบ้านเมื่อวันที่ 11 กย.ที่ผ่านมาครับ

ผมใช้หมายเลข 185 ส่งการบ้านเป็นคนที่ 2  ถ้าเพื่อนๆสนใจก็เข้าไปฟังในซีดีได้ครับ

หมายเลข 185 ส่งการบ้านเป็นคนที่ 3 นี่นา  

ตอบโดย: พฤษภา 22 ก.ย. 52 - 20:54


http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ดับขันธปรินิพพาน&detail=on  การเสด็จดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า, การตายของพระพุทธเจ้า

เรียนคุณVichaครับ ดับขันธ์ ต่างกับ ดับขันธปรินิพพาน อย่างไรครับ

นิพพาน ตามความเข้าใจของผมคือ แปลว่า ดับ  ในพระศาสนานี้ ผมเข้าใจว่า มีการดับอยู่ ๔ ครั้งเท่านั้น คือ ดับ..ครั้งแรกเป็นพระโสดาบัน ดับ..ครั้งที่สองเป็นพระสกิทาคามี ดับ..ครั้งที่สามเป็นพระอนาคามี ดับ..ครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์

นิพพาน การดับกิเลสและกองทุกข์ เป็นโลกุตตรธรรม และเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา;
       ดู นิพพานธาตุ

นิพพานธาตุ ภาวะแห่งนิพพาน;
       นิพพาน หรือ นิพพานธาตุ ๒ คือ
           ๑. สอุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสมีเบญจขันธ์เหลือ
           ๒. อนุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ

http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=นิพพาน&detail=on

และผมไม่เข้าใจว่า "อสังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ได้แก่ นิพพาน" ในเมื่อคุณVicha บอกว่าต้องมีพละ๕ ผมจึงเข้าใจว่าใช้พละ๕เป็นปัจจัยปรุงแต่งให้ดับราคะ โทสะ โมหะ ใช่ไหมครับ

ตอบโดย: damrong121 22 ก.ย. 52 - 21:29


 สวัสดีครับ คุณพฤษภา และคุณ damrong121

จากคำถามของคุณ  damrong121

อ้างอิง
พุทธปรินิพพาน  การเสด็จดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า, การตายของพระพุทธเจ้า

เรียนคุณVichaครับ ดับขันธ์ ต่างกับ ดับขันธปรินิพพาน อย่างไรครับ


ตอบ   ดับขันธ์  หรือ ดับขันธปรินิพพาน  เป็นภาษาบัญญัติเพื่อสื่อความหมายให้จัดเจน

         ดับขันธ์ หรือ ตาย  หมายถึงเป็นการตายของผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่ (รวมทั้งพระอริยะเบื้องต่ำ) คือตายจากขันธ์ร่างกาย แต่ยังไม่เกิดที่ใหม่อยู่
         ดับขันธ์นิพพาน หรือ ดับขันธ์ปรินิพพาน หมายถึงเป็นการตายของผู้ที่หมดกิเลสแล้ว พระอรหันต์ทั่วไปใช้ คำว่า ดับขันธ์นิพพาน ส่วนพระพุทธเจ้าใช้คำว่า ดับขันธ์ปรินิพพาน คือตายจากขันธ์ร่างกายแล้ว ไม่เกิดในที่ใหนๆ คือไม่เกิดไม่ตายอีกแล้วนั้นเอง.

และจากข้อความ
อ้างอิง
และผมไม่เข้าใจว่า "อสังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ได้แก่ นิพพาน" ในเมื่อคุณVicha บอกว่าต้องมีพละ๕ ผมจึงเข้าใจว่าใช้พละ๕เป็นปัจจัยปรุงแต่งให้ดับราคะ โทสะ โมหะ ใช่ไหมครับ


ตอบ ควรจะกล่าวอย่างนี้ครับ  พละ 5 เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ดับ ราคะ โทสะ โมหะ ได้บางส่วนหรือทั้งหมดโดยเด็ดขาดไม่กำเริบขึ้นมาอีก ตัดคำว่าปรุงแต่งออกเสียครับ.

    แต่ถ้ากล่าวโดยสมบูรณ์แล้ว โพธิปักขิยธรรม 37 ประการที่ประชุมรวมกัน เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ดับ ราคะ โทสะ โมหะ ได้บางส่วนหรือทั้งหมดโดยเด็ดขาดไม่กำเริบขึ้นมาอีก
 
      ซึ่งพละ 5 และมรรคมีองค์ 8 ก็อยู่เป็นส่วนหนึ่งของ โพธิปักขิยธรรม 37 ประการนั้นเอง

      และ โพธิปักขิยธรรม 37 นี้ในพระอรรถกถากล่าวว่า เป็น สังขตธรรม

      ดังนั้นในการประชุมรวมกันของ โพธิปักขิยธรรม 37 ในช่วงขณะจิตเดียวเพราะวิปัสสนาญาณต่างๆ พัฒนาขึ้นอย่างสมบูรณ์พร้อม ก็จะมีแต่ผู้ที่กำลังจะบรรลุ และเมื่อถึงสภาวะอย่างนี้ต้องบรรลุธรรมเท่านั้น สำหรับบุคคลทั่วๆ ไป.

      ต่อไปเป็นส่วนเพิ่มเติมนะครับ
 
      (ข้อความส่วนนี้หาตำราอ้างอิงได้ยากหรือไม่มี) มีข้อยกเว้นสำหรับพระนิยตโพธิสัตว์ที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแต่ยังไม่ถึงเวลายังไม่ใช่สมัยตามวาสนาบารมีที่สร้างสมไว้ ถึงแม้เจริญวิปัสสนาญาณอย่างสมบูรณ์ โพธิปักขิยธรรม 37 รวมกันในช่วงขณะจิตเดียวเป็น โคตรภูญาณ แล้ว ก็จะไม่ผ่านไปสู่ มรรคผลนิพพาน โดยเด็ดขาด

      ต่อไปก็อ้างตามตำราที่พอมีที่จำได้
        สามารถเทียบเคียงได้ตามพระไตรปิฏก ที่กล่าวถึงพระโพธิสัตว์อดีตชาติของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ที่ได้ศึกษาปฏิบัติธรรมกับพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ นั้น ได้กล่าวว่าท่านปฏิบัติธรรมถึง โคตรภูญาณ

       และจากพระอรรถกถาหรือตำราภายหลังกลาวว่า สำหรับผู้ที่ ปฏิบัติวิปัสสนาบังเกิด โคตรภูญาณ ขึ้นหลังจากนั้น 1 ขณะจิต ก็จะเกิด มรรคญาณ ขึ้นทันที่โดยไม่อะไรกั่นไว้ได้  หมายความว่าบุคคลทั่วไป เมื่อปฏิบัติวิปัสสนาถึง โคตรภูญาณ ก็จะบรรลุถึงมรรคญาณโดยทันทีนั้นเอง เป็นพระอริยทันที.

      แต่สำหรับผู้ทีปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าแต่ยังไม่ได้รับพุทธพยากรณ์มาก่อนเลย หรือเป็นอนิยตโพธิสัตว์  ตามตำราอรรถกถา หรือตำราภายหลังกล่าวไว้ว่า พระอนิยตโพธิสัตว์ เมื่อปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานวิปัสสนาญาณเจริญขึ้น ก็จะถึงที่สุดที่ สังขารุเบกขาญาณ อย่างระเอียดเท่านั้น. ไม่สามารถก้าวไปสู่ โคตรภูมิญาณ ไปได้.
 

ตอบโดย: Vicha 23 ก.ย. 52 - 10:12


ขอบคุณครับ พี่ Vicha สำหรับข้อมูล


พี่ Vicha อาจจะสงสัยว่าทำไมผมจึงถามพี่แบบนี้  เพราะโดยส่วนตัว ประสบการณ์ที่เห็นโอปปาติกะในสมาธินั้นผมไม่มีเลยครับ

จะมีก็เพียง ปรากฏการณ์ที่ผมเคยตั้งกระทู้ใน ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เท่านั้นครับ (หลังจากนั้นก็ไม่ได้ฝึกอีกเลย เพราะตอนนั้นจิตยังรับความจริงไม่ค่อยได้ ว่าสิ่งเหล่านี้มีอยู่จริง ๆ  )

แต่ไม่ได้หมายความว่าผมจะเชื่อว่ามันเป็นสิ่งที่จริงไปทั้งหมดนะครับ นั้นเพราะว่าสิ่งที่ผมเห็นอาจจะเป็นนิมิตเสมือนจริง (ที่เหมือนมากจนแนบเนียนก็เป็นได้)


สำหรับในส่วนของโอปปาติกะนั้น ผมเคยมีประสบการณ์ที่เห็นด้วยตาเนื้อ โดยมี 1 เหตุการณ์ที่มีประจักษ์พยานเป็นบุคคล    (ซึ่งตาเนื้อนี้ผมเชื่อถือกว่า สิ่งที่จิตเห็นในสมาธิเสียอีก)


จึงคิดว่าพี่ Vicha อาจจะมีประสบการณ์แบบนี้มาบ้าง  ผมจึงอยากฟังประสบการณ์จากพี่ครับ


แต่ในเมื่อพี่ Vicha ไม่มีประสบการณ์ตรงนี้ ผมจึงขอข้ามสำหรับการสนทนาตรงนี้ไปครับ

ตอบโดย: น้องบู 23 ก.ย. 52 - 13:16


     

ตอบโดย: ณวบุตร 23 ก.ย. 52 - 13:26


สวัสดีครับ น้องบู คุณณวบุตร.

   สำหรับ น้องบู  ถ้ากล่าวว่า เห็นด้วยตาเนื้อแบบจะๆ คงไม่มี แต่จะมีแบบที่เสมือนตาเห็นจริงๆ ที่พอนึกได้มีสองเหตุการณ์

    เหตุการณ์ที่ 1. เกิดกับตัวเอง  ปี 2526 เมื่อเข้ากรรมฐานใหม่ๆ และกลับไปที่หอหน้ามหาลัยรามคำแหง ข้ามคลองแสนแสบ ตรงกันข้ามกับวัดเทพลีลาแต่ลึกเข้าไปอีก ก็กำหนดกรรมฐานอยู่เรื่อยๆ   แล้วนอนเล่นอยู่ในห้อง คล้ายจะเผลอหลับหรือไม่ก็กล่าวไม่ได้ แต่สายตาที่มองไปที่หลังคานั้น มันไม่มีหลังคา เห็นไปยังท้องฟ้า เห็นเมฆ แต่ก็เห็นวิมานสีทอง มีเจดีย์สีทอง เห็นอานาบริเวณของวิมานนั้น แต่เสมือนมองเห็นจากที่ไกลๆ

   เหตุการณ์ที่ 2. เกิดกับตัวเอง และแฟน ประมาณปี 2529 ที่แฟลตคลองจั่น ขณะนั้นเวลาประมาณสักตี 3-4 ผมกับแฟน นอนอยู่ในห้อง ก็มีแสงไฟสลั่วๆ จากข้างนอก ถ้าปรับสายตาในความมืดก็จะมองเห็นได้
    ผมรู้ตัวขึ้นแต่เสมือนตนเองนั้นอึดอัดมาก จะทำให้รู้สึกตื่นทั้งตัวก็ไม่ได้ ต่อมาก็เหมือนมีอะไรมาเขย่าขาตรงหัวเข่า จึงตื่นขึ้นมาได้
     แล้วแฟนก็เล่าว่า เขานอนตะแคงเอียงไปทางผม รู้สึกตัวตื่นขึ้นมาแล้วลืมตาขึ้น ซึ่งตรงไปทางผมพอดี เขาเห็นควันสีขาวจางๆ รวมกลุ่มกันเท่ารูปร่างของคนหันหน้าคว้ำลงอยู่เหนือร่างของผมที่นอนหงายอยู่ประมาณ 1 ศอก ทาบไปกับร่างกายของผม
     เกิดความฉงนเล็กน้อย จึงขยี่ตาและเพ่งเพื่อให้เห็นชัด ก็ไม่เห็นภาพนั้นแล้วแต่เห็นผมนอนมีท่าทางอาการอึดอัดอยู่ จึงรีบเขย่าขาผมเพื่อให้ตื่นขึ้น.

      แล้วเล่าเหตุการณ์ต่างๆ ให้ผมฟัง.

     ส่วนการเห็นรัศมีจากผู้ที่ปฏิบัติธรรมตามกำลังสมาธิและสติ ที่เป็นผลจากการปฏิบัติธรรมของผู้นั้นๆ และจากพระพุทธรูป  ด้วยตาเปล่าจริงๆ และเห็นอยู่เป็นเวลายาวนานเกือบเดือน เมื่อปี 2526 หลังจากเข้ากรรมฐานครั้งที่ 2 นั้น เป็นเรื่องที่น่าพิศดารมากตอนนั้นสำหรับตนเอง และไม่ใช่เห็นเพียงคนเดียวเพื่อนอีกคนที่ปฏิบัติด้วยกันก็เห็นด้วยเหมือนกัน.  แต่สภาวะเหล่านี้เกิดขึ้นในช่วง วิปัสสนูกิเลส นั้นเอง ผลมาจากมีกำลังสมาธิมากจากปกติทั่วไปนั้นเอง.
  

ตอบโดย: Vicha 23 ก.ย. 52 - 14:19


สวัสดีครับทุกท่าน
เรื่องวิปัสสนูปกิเลสนี่ร้ายกาจจริงๆ นะครับ
ใครไม่เจอเข้ากับตัวเองเป็นไม่เชื่อ เผลอๆ อาจจะว่าเราเพี้ยนไปเสียด้วยซ้ำ
แต่ละคนก็เจอกันไปคนละแบบ
 

ตอบโดย: ณวบุตร 23 ก.ย. 52 - 14:36


ตุ๊กแก !!
มาเกาะกระทู้แอบอ่านอยู่ค่ะ
แล้วก็แอบบ่นในใจ
"ไหมตอนเภตราตั้งกระทู้วิปัสนูกิเลส ไม่เห็นไปเล่าให้ฟังกันมั่งเลยนิ"
แอบบ่นเฉยๆ ค่า    

ตอบโดย: เภตรา 23 ก.ย. 52 - 22:33


เรื่องเห็นด้วยตาเนื้อนี่ ทำให้นึกถึงเหตุการณ์เมื่อต้นปี ที่หน้าหอสมุดแห่งชาติจะมีต้นไทรใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง ผมเลยนึกถึงคำพูดของหลวงปู่ท่านหนึ่ง จำไม่ได้ว่าเป็นหลวงปู่บุดดา
ถาวโร หรือว่าหลวงปู่ชอบ ฐานะสโม ที่ท่านบอกว่าพวกเรานั้น ตาหมากขามขี้

คือมองไม่เห็นวิมานเทวดาหรือว่าเทวดาตามต้นไม้ใหญ่ ก็เลยนึกว่าถ้าได้เห็นก็คงจะดี

ทีนี้ตอนเที่ยงผมก็เลยนั่งพักตรงม้านั่ง สักพักผมก็เห็นเด็กผู้หญิงเล็กๆแต่งชุดไทยนุ่งโจงกระเบน ใส่เสื้อคอกระเช้ามีขอบลายลูกไม้ ไว้ผมมวยจุก 3 คน กางแขนเกาะมือตีวงเป็นวงกลม เห็นอยู่สักครู่หนึ่งแล้วก็หายไป ผมยังนึกว่าตาฝาดไป แต่แดดจ้าออกอย่างนั้นไม่น่าจะตาฝาด ก็เลยนึกขึ้นได้ว่า หรือว่า เด็กสาวสามคนนี้คือรุกขเทวดาที่สถิตย์อยู่ที่ต้นไทรใหญ่นี้ นึกว่าจะเป็นเทวดาผู้ชายไว้หนวดเสียอีก

ผมอาจจะเห็นจริง แต่สิ่งที่ผมเห็นนั้นอาจไม่จริงก็ได้ เล่าเสริมเพลินๆน่ะครับ  


 

ตอบโดย: วสวัตตี 24 ก.ย. 52 - 03:37


เนื่องจากการเห็นโอปปาติกะในสมาธิก็ตาม
เนื่องจากการ ระลึกชาติ ในสมาธิก็ตาม

โดยส่วนตัวเป็นเรื่องรู้ได้เฉพาะตน คนอื่นจะมาร่วมรู้กับเราไม่ได้ (อาจจะได้ ถ้าคนนั้นมีญาณหยั่งรู้จิตใจ)


ซึ่งในเรื่องของสมาธินั้น เราจะต้องมีความระมัดระวังการคลาดเคลื่อน ซึ่งแม้จะปรากฏชัดแค่ไหน   มีเหตุการณ์เทียบเคียงได้แค่ไหน ก็ยังไม่ควรปักใจเชื่อเสียเต็มร้อย เพราะสามัญสำนึกอาจจะหลอกเราได้เสมอ  การระลึกไว้เช่นนี้ สามารถที่จะป้องกันความหลงผิดในวิปัสนูปกิเลสได้


หลังจากเหตุการณ์ระลึกชาติในครั้งนั้น และผมละเลิกการทำสมาธิในเรื่องนี้มานานพอสมควร (แต่ยังทำอยุ่เนือง ๆ แต่ไม่เคยโน้มจิตไปใช้ในด้านนั้นอีกเลย)


ทีนี้ ระหว่างที่ผมกำลังพิจารณาอยู่นั้น ผมก็ระลึกได้ว่า ผมเคยมีประสบการณ์การเห็นโอปปาติกะ ในขณะที่เป็นตาเนื้ออยู่เหมือนกัน ตั้งแต่เด็ก  แต่เป็นเหตุการณ์เล็ก ๆ บ้าง  ซึ่งผมก็ไม่เชื่อถือ สามัญสำนึกตนเองสักเท่าใด (เพราะจิตอาจจะหลอกเราได้)  แต่มีเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งมีบุคคลเป็นพยาน  ว่าผมไม่ได้สัมผัสแต่เพียงคนเดียว

ซึ่งถือเป็นการยืนยันที่มีน้ำหนักว่าโอปปาติกะมีจริง


ทำให้ผมมีความคิดว่า ณ.ตอนนี้ผมควรหันกลับมาฝึกสมาธิ เพื่อเจริญใน ญาณ ต่าง ๆ เหมือนเมื่อครั้งก่อนอีกครั้ง


สำหรับญาณระลึกชาติในครั้งนั้นไม่สามารถหาหลักฐาน หรือ บุคคลพยานได้เลย  แต่ถ้าผมสามารถฝึกตนเองในเรื่องของ ตาทิพย์  กายทิพย์  ตรงนี้ย่อมสามารถหาหลักฐานมาเทียบเคียงได้ว่าเป็นของจริง (ถ้าทำสำเร็จ)


ถึงกระนั้นแล้วก่อนที่ผมจะลงมือฝึกอีกครั้ง  ผมจำเป็นจะต้องหาข้อมูลจากบุคคลที่ผมเชื่อถือ ว่าท่านเหล่านั้นมีประสบการณ์ด้านนี้บ้างหรือไม่ ในการเห็นโอปปาติกะด้วยตาเนื้อ เผื่อว่าท่านเหล่านั้นจะได้แนะนำ ให้ข้อมูล และลู่ทางที่ถูกต้อง

ดังนั้นผมจึงได้มาถามพี่ Vicha เป็นคนแรก

โดยเหตุที่ผมจะกลับมาฝึกนั้น ไม่ได้เป็นเพราะความอยากรู้อยากเห็นแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะ  สมาธิเป็น 1 ในอริยมรรค ที่ควรจะทำให้มาก เพื่อนำมาทำวิปัสสนาญาณ  แต่อานิสงฆ์ของสมาธิมันมีมากกว่านั้นตามพระสูตรในพระไตรปิฏก   ในขณะที่ผมยังมีขันธ์ในการดำรงชีวิตนี้ ผมคิดว่า การศึกษาในส่วนของอานิสงฆ์ของสมาธิให้ครบถ้วนได้น่าจะเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์กับตัวผมเอง (ไม่แน่ใจว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อื่นได้มากแค่ไหน)


จึงขอชี้แจงเหตุผลที่ผมต้องมาถามอย่างนี้ครับ

ตอบโดย: น้องบู 24 ก.ย. 52 - 11:13


จะขอเล่าเหตุการณ์ในการเห็นโอปปาติกะด้วยตาเนื้อนะครับ

ย้อนไปเมื่อตอนผมเรียนอยู่ ประมาณ ม.3

ณ.ตอนนั้นผมนอนห้องเดียวกับพี่ชายครับ  พี่ชายผมมีเพื่อนสนิทคนหนึ่งชื่อ "พี่เอก"

เรื่องราวมีอยู่ว่า พี่เอกนั้นได้ขับรถมอเตอร์ไซค์ ผ่าไฟแดง และถูกรถชน จนต้องเข้าโรงพยาบาล   อาการนั้นเข้าขั้นโคม่า   พี่ชายผมก็ร้อนใจรีบรุดหน้าไปโรงพยาบาลทันที   หลังจากนั้นกลับมาตอนเย็น จึงมาเล่าเรื่องให้ผมฟัง  ว่าตอนนี้พี่เอก ต้องนอนอยู่ห้อง ICU ด้วยอาการร่อแร่

ในขณะนั้นผมก็ยังเด็ก  ก็ได้แต่รับฟัง สิ่งที่รับรู้ได้คือ สีหน้าของพี่ชายผมดูเป็นทุกข์อย่างยิ่ง  ในขณะที่ผมนั้นด้วยความเป็นเด็ก ก็คิดว่าไม่มีอะไรมากประเดี๋ยวพี่ เอก ก็ออกจากโรงพยาบาลเองล่ะ

ผ่านไป 3 วัน  พี่ผมกลับมาบ้าน พร้อมกับบอกผมว่า "พี่เอกตายแล้วนะ "  ผมก็รู้สึกหดหู่และรู้สึกอาลัย  ในขณะนั้น ผมเห็นพี่ชายผมหน้าอมทุกข์ทั้งวัน ทำให้บรรยากาศบ้านดูหดหู่ไปถนัดตา (ปกติผมจะอยู่กับพี่ชาย แค่ 2 ในขณะนั้นเป็นช่วงปิดเทอม)


ผ่านไปอีก 3 วัน คืนหนึ่ง ในขณะที่ผมดูทีวีกับพี่ชาย จนดึก ประมาณ 5 ทุ่มได้  ผมกับพี่ชายก็ปิดไฟ ปิด TV เข้านอนกัน (ขณะนั้นพ่อก็หลับอยู่ในห้องด้วย)

ในห้องมืดสนิท  ผมก็เคลิ้ม ๆ จะหลับอยู่แล้ว ก็มีเสียงหมาหอนโหยหวน (ปกติทุกวันมันไม่หอน )  เสียงหอนซัดมาเป็นทอด ๆ (แถวบ้านผมมีคนเลี้ยงหมาหลายบ้าน)  จนท้ายที่สุด เป็นหมาบ้านผมเองที่หอน (ปกติมันมีแต่เห่า มาหอนก็วันนี้ล่ะ)


แล้วก็มีเสียงคนเรียก

"ฮ้ง " (ชื่อพี่ชายผม)

ผมก็สะกิดพี่ผม "เฮียฮ้งมีคนเรียกอ่ะ เสียงอยู่หน้าบ้าน"

พี่ผมก็บอก "เอ็งลองไปดูซิว่าใครมา "  "ไม่เอา ขี้เกียจลุก เฮียก็ไปเองดิ  "(ช่วงนี้ผมค่อนข้างจะเป็นเด็กดื้อ)

สักพักก็เรียกอีก "ฮ้ง"

ผมก็เลยลุกแล้วแง้มผ้าม่านดู ก็เห็นคน ๆ หนึ่ง (เป็นเงาคน ) ดูลักษณะก็รู้ว่าเป็นผู้ชาย  (คืนนั้นแสงจันทร์สว่างดี แต่ก็ไม่สว่างถึงขนาดผมเห็นหน้าชัดนัก)

ผมก็เลยลงมานอนบอกกับพี่ชายว่า "ใครก็ไม่รู้อ่ะ หัวโล้น ๆ  มองไม่ชัดอ่ะ เป็นเงาดำ ๆ "

"ฮ้ง" เขาเรียกอีก


ในตอนนี้พี่ผมนอนนิ่งเลยครับ ไม่ตอบอะไรผมเลย

สักพักเสียงก็เงียบไป ผมก็ลุกไปดูอีกครั้ง (แง้มผ้าม่านดู) ก็พบว่าเขาหายไปแล้ว

ผมก็เลยบอกว่า "เฮียฮ้งเขาไปแล้วอ่ะ " พี่ชายผมไม่ตอบอะไร ผ่านเวลาไปนานเหมือนกัน พี่ผมจึงลุกออกจากห้องไปเปิดไฟหน้าบ้านดู ก็ไม่เห็นใคร แล้วจึงกลับมาเข้านอนกัน (พี่ผมไม่พูดอะไรเลย)

2-3 วันต่อมา พี่ผมก็มาถามผมว่า "เมื่อคืนก่อน คนที่มาเรียกเฮีย ลักษณะเป็นยังไง "

ผมก็ตอบ" ก็หัวโล้น ๆ ตัวสูง ๆ  ไม่ใส่เสื้อ ใส่แต่กางเกงยีนส์   เป็นเงาดำ ๆ อ่ะ มองไม่ค่อยชัด แต่ประมาณเนี้ย "

พี่ผมก็บอกว่า " สงสัยจะเป็นพี่เอกแล้วล่ะ"

"เป็นไปไม่ได้หรอกเฮีย  พี่เอกแกตายไปแล้ว อีกอย่างนะพี่เอกแกผมยาวเหมือนผู้หญิง  แต่คนที่เรียกนั้นหัวโล้นนะเฮีย"

พี่ผมก็พูดต่อ " มันก็ใช่ที่พี่เอกผมยาว แต่ตอนที่เข้าโรงพยาบาลน่ะ เขาโกนหัวเพื่อจะผ่าตัว  แล้วภาพที่เห็นว่าใส่กางเกงยีนส์ตัวเดียวน่ะ ก็เป็นสภาพเดียวกับที่เขาโดนรถชนนั้นแร่ะ"

แปลกตรงที่ว่าผมไม่รุ้สึกกลัวเลยแม้แต่น้อย  อาจจะเป็นเพราะตอนเป็นเด็กผมเข้าใจว่าผีต้องเหมือนในละครล่ะมั้งครับ

เหตุการณ์หลังจากนั้น แม่ของพี่เอก ก็มาเล่าให้ฟังว่า พี่เอกเขามาเข้าฝัน บอกว่าหนาวขอให้ส่งเสื้อไปให้เขาหน่อย  แม่ของพี่เอกก็ทำบุญไปให้  เรื่องราวก็ประมาณนี้ล่ะครับ

(ที่มีบุคคลเป็นพยาน)

จนถึงวันนี้ผมมาทบทวนดูแล้ว ก็ไม่น่าจะเป็นใครอื่นไปได้เลยครับ

ตอบโดย: น้องบู 24 ก.ย. 52 - 11:57


สวัสดีครับน้องบู

         การที่จะทำให้เกิดญาณที่เป็นโลกียะที่เกินจากมนุษย์ทั่วไป ขึ้นได้นั้น ต้องประกอบด้วย
            1.ความตั้งมั่น ใจที่มั่นคง
            2.มีสมาธิที่สูง
            3.มีความศรัทธาเพื่อให้บังเกิดญาณนั้น.

       ถ้าเป็นดังนี้หมายความว่า ไม่สามารถนำมาปฏิบัติเพื่อเป็นวิปัสสนาญาณได้เลย.  จึงเหมาะกับผู้ที่มีเวลามาก และปฏิบัติอยู่เนืองๆ  ปรับเป็นได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา

        และสำหรับผู้เริ่มการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ที่ผมจำได้มี กฏอยู่ ข้อ 1. คือ ให้วางฤทธิ์ทั้งหลายที่มีอยู่ ซึ่งจะมีกล่าวอยู่ในหนังสือ วิสุทธิมรรค.

        ส่วนท่านที่เชียวชาญแล้วทั้ง สมถะและวิปัสสนา เจริญวิปัสสนาญาณทั้งอนุโลมและปฏิโลมอย่างชำนาณแล้วเป็นอีกเรื่องหนึ่งว่าท่านมีความสนใจในเรื่องฤทธิ์หรือไม่. ถ้าสนใจและมีเวลาจริงและปฏิบัติอยู่เนืองๆ  ก็น้อมไปตาม 3 ข้อด้านบน พัฒนาจนชำนาญในญาณหรือฤทธิ์ แต่ละส่วนๆ ไปตามความสามารถหรือวาสนา.
  
       สำหรับยุคนี้ ฆราวาส ยุ่งกับกิจการส่วนตัว การงานอาชีพ ผ่อนคลายด้วยความบันเทิงต่างๆ จากสิ่งแวดล้อม เวลาที่จะพัฒนาอย่างจริงๆ จังๆ เพื่อให้บังเกิดญาณหรือฤทธิ์นั้น ก็คงยากแล้วครับ จะมีได้ก็เพียงเกิดขึ้นแบบไม่แน่นอน ไม่มั่นคง ขาดๆ หายๆ ไม่ชัดเจน เสียมากกว่า.

        แต่ถ้าจะลองก็ลองดูได้นะครับ เพราะเป็นการรักษาสมาธิอยู่ได้ แม้อยู่ในโลกแวดล้อมของยุคนี้ ถ้ามีวาสนาก็อาจจะเกิดญาณอย่างใดอย่างหนึ่งชัดเจนขึ้นได้ แต่ต้องเตือนตนเองด้วยความมีสติและปัญญา เพราะอาจจะก่อความเข้าใจผิดหลงไปเป็นระยะๆ เพราะถือมั่นในญาณนั้นได้เหมือนกัน.
 

ตอบโดย: Vicha 24 ก.ย. 52 - 12:08


ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ พี่ Vicha


มีอีกเรื่องครับ  เรื่องนี้ผมเคยตั้งกระทู้ถามไปแล้วทีหนึ่ง  แต่ผมจำไม่ได้ว่าพี่ให้ความเห็นว่าอย่างไร   เพราะกระทู้นี้โดนลบเมื่อครั้งที่ sever เสียหายครับ


พี่ Vicha คิดว่า พระอรหันต์นั้น  ในขณะหลับจะยังมีฝันอยุ่ไหมครับ  ถ้ายังมี จะมีได้อย่างไรครับ  และถ้าไม่มี จะไม่มีได้อย่างไรครับ


ขอบคุณครับ  

ตอบโดย: น้องบู 24 ก.ย. 52 - 13:35


น้องบู  ถามเป็นคำถามที่ดี แต่ไม่มีในตำรา กล่าวอย่างชัดเจน

  ผมก็จะตอบตามความเข้าใจที่เทียบเคียงได้นะครับ.

   1. ปุถุชน  นั้นในบางช่วงนั้นนอนหลับในหลายคืน ไม่มีการฝันใดๆ เลยก็มี
   2. พระอรหันต์ท่าน ไม่มีอุปาทาน แล้ว หรือดับกิเลสไม่เกิดขึ้นในใจอีกแล้ว

   ดังนั้นตามความเข้าใจของผมในขณะ พระอรหันต์ พักผ่อนนอนหลับจริงๆ ก็คงไม่มีการปรุงแต่งของจิตที่เกิดเป็นอุปาทานแล้ว จึงไม่น่าจะเกิดการฝันขึ้น

    แต่การเกิดนิมิตของญาณรู้ หรือเทพบันดาล ก็เป็นในช่วงที่ท่านตื่นจากหลับ นั้นๆ แล้ว ไม่น่าจะเป็นกรณีที่ หลับๆ ตื่นๆ แล้วเกิดนิมิต หรือเทพบันดาล หรืออุปทานปรุงแต่ง แบบที่มีความสะลึมสะลือ แบบง่วงหาวหาวนอนอยู่
  

ตอบโดย: Vicha 24 ก.ย. 52 - 15:00


ขอถามให้ลึกขึ้นไปอีกนะครับ  

กิเลสนั้นทำให้เกิดฝันได้อย่างไรครับ

สิ้นกิเลสแล้วทำให้ความฝันไม่เกิดขึ้นอีกได้อย่างไรครับ



 

ตอบโดย: น้องบู 24 ก.ย. 52 - 15:08


ตอบ น้องบู

     ไม่น่าเป็นเรื่องที่เข้าใจยากนะครับ  (แต่ก็อาจมีที่ไม่เข้าใจ)

     เพราะอวิชชา      เป็นปัจจัย    จึงเกิดสังขาร
     เพราะสังขาร       เป็นปัจจัย   จึงเกิดนามรูป
     เพราะนามรูป       เป็นปัจจัย   จึงเกิดสฬายตนะ
     เพราะสฬายตนะ   เป็นปัจจัย   จึงเกิดผัสสะ (ผัสสะนี้ คือมโนผัสสะ)
     เพราะผัสสะ         เป็นปัจจัย   จึงเกิดเวทนา
     .....                                      เกิดตัณหา
     .....                                      เกิดอุปทาน

    
    สำหรับพระอรหันต์นั้น  อวิชชาดับสิ้นแล้ว ดังนั้นตัณหา อุปาทาน จะมีอะไรอีกที่ให้ท่านต้องฝัน เมื่อหลับพักผ่อนก็คือหลับ จะมีกิเลสสิ่งใดมาปรุงแต่งได้อีก  ยกเว้นท่านตื่นแล้วเท่านั้น จึงอาจจะเกิดจากญาณ หรือเทพบันดาล ให้ทราบได้ หรือ มีกรณีที่ ญาณนั้นเกิดอย่างฉับพลันด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง หรือเทพบันดาล หรือการกระทบจากภายนอก เข่น เสียง ความร้อน ความหนาว น้ำ อากาศ ฯลฯ ทำให้ท่านไหวตัวตื่นขึ้นได้ จากการหลับพักผ่อนของร่างกาย.

 

ตอบโดย: Vicha 24 ก.ย. 52 - 17:11


    เจริญในธรรมค่ะ

 [/QUOTE]ไม่น่าเป็นเรื่องที่เข้าใจยากนะครับ  (แต่ก็อาจมีที่ไม่เข้าใจ) ...(ผัสสะนี้ คือมโนผัสสะ)
     
              

                 

ตอบโดย: ทองพร พันธุ์สุขวัฒนพันธ์ 24 ก.ย. 52 - 19:43


คุณวิชาคะ มีหรือคะที่ปุถุชนจะมีหลายๆคืนที่ไม่เคยฝัน ส่วนตัวเป็นคนหลับง่ายมากหัวถึงหมอนก็หลับเลยก็มี และทราบว่าตัวเองก็ฝันแต่ว่าจะจำความฝันไม่ได้เลยก็มีและบ่อยๆด้วยที่ตื่นมาแล้วจำไม่ได้ว่าฝันอะไร สำหรับพระอรหันต์มีผู้รู้ท่านอื่นเคยบอกว่า พระอรหันต์ท่านจะไม่ฝันเลย

ตอบโดย: Vicky 25 ก.ย. 52 - 11:01


สวัสดีครับ พี่ Vicha

ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

โดยส่วนตัวผมก็มีความเห็นเช่นพี่ Vicha ครับ ที่ว่า พระอรหันต์นั้นไม่ฝันอีกแล้ว เพราะสิ้นอวิชชา อาสวะกิเลส



แต่กระนั้น ในเรื่องนี้หากเราถามว่าเห็นจากคนอื่น ย่อมแยกประเด็นออกเป็น 2 ทางคือ

พระอรหันต์ยังฝันอยู่ กับอีกฝั่งคือ   พระอรหันต์ไม่ฝันแล้ว
------------------------------------------------------------
ด้านที่บอกว่าพระอรหันต์ยังฝันอยู่นั้น ให้เหตุผลหลัก ๆ ว่า

เพราะขันธ์5 ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา  เราไม่ใช่ขันธ์5 ขันธ์5ไม่ใช่เรา  แม้ในยามตื่น ขันธ์ย่อมมีความคิด มีสังขาร  นั้นคือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร ครบถ้วน

ฉะนั้น แม้ในยามหลับ ขันธ์ย่อมไม่ใช่ของเราเป็นธรรมดา การที่จิตจะฝัน หรือไม่ฝัน ย่อมไม่ใช่หลักเกณฑ์ใด ๆ ที่จะบ่งชี้อะไรได้เลย เพราะความฝันก็คือการคิดอย่างหนึ่ง  แต่เนื่องจากเวลาหลับไหล จิตขาดสติ ความคิดจึงสะเปะสะปะ   ซึ่งก็เป็นธรรมชาติของขันธ์เท่านั้นเอง

เมื่อผมฟัง ผมยังไม่เชื่อเสียทีเดียว แต่ถือว่าเหตุผลนั้นมีน้ำหนักเป็นอย่างยิ่ง
-----------------------------------------------------------

ในทางฝั่งของผู้ที่เชื่อว่า พระอรหันต์ไม่ฝัน (ซึ่งผมก็เชื่อ)

ก็ให้ความเห็นว่า บุคคลสิ้นแล้วซึ่งอาสวะกิเลสจะฝันได้อย่างไร  เมื่อจิตเว้นขาดจากความวิปลาสแล้ว  จะไปสร้าง อัตตา จะไปสร้าง เหตุการณ์ สถานการณ์ สร้างรูป สร้างนาม ในฝันอีกได้อย่างไร

ถ้ายังมีฝันอยู่  นั้นเป็นสิ่งที่สะท้อนได้ว่า อาสวะยังอยู่  เมื่อตายไป จิตย่อมทำงานเหมือนตอนที่ฝัน คือ ย่อมสร้างอัตตา ย่อมสร้างนาม สร้างรูป  สร้างภพ ต่าง ๆ (คล้าย ๆ กับสภาพในฝันอย่างแน่นอน)

เพราะถ้าจิตสิ้นวิปลาสแล้ว ย่อมเป็นแจ้งโดยความเป็นอนัตตา  ย่อมไม่มีนิมิตใด ๆ ในฝันให้ปรากฏว่าเป็นอัตตาอีกเป็นแน่แท้

(โดยส่วนตัวผมก็เห็นอย่างนั้น)

-------------------------------------------------

ทุกวันนี้ผมยังให้น้ำหนักว่า พระอรหันต์จะต้องไม่ฝัน มากกว่า  พระอรหันต์ยังฝันอยู่    แต่ถึงกระนั้นผมก็ยังไม่ปักใจนัก   ว่าอันไหนถูกอันไหนผิด


จึงอยากเก็บข้อมูลจากพี่ Vicha เพื่อจะดูว่าพี่ Vicha เชื่ออย่างไร  เหตุใดจึงเชื่ออย่างนั้น

 
ซึ่งพี่ Vicha ก็อธิบายในเชิงของ ปฏิจสมุทปบาท (ปกติแล้วผมไม่เคยพิจารณาในเชิงนี้เลย)

เมื่อพี่ Vicha บอกมาดังนี้

ผมจึงลองมาพิจารณาดู  ณ.เวลาปัจจุบันที่พิมพ์อยู่นี้เลยนะครับ


อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร  (พระอรหันต์สิ้นอวิชชาแล้ว สังขารย่อมดับไป อันประกอบด้วย กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร อย่างนั้นหรือครับ โดยในขณะตื่นอยู่สังขารทั้ง 3 นี้ย่อมทำงานได้ตามปกติ  แต่เมื่อใด หลับไหล ขาดสติไป  สังขารทั้ง 3 นี้จะไม่ทำงานอย่างนั้นหรือครับ ซึ่งก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะกายสังขารย่อมต้องทำงานอยู่ คือต้องหายใจอยู่น่ะครับ ไม่งั้นก็ตายแน่ ๆ )


พิจารณาแล้วก็ตันเลยครับ  คงต้องรบกวนให้พี่ Vicha ขยายความให้หน่อยล่ะครับ ว่าสิ้นกิเลสทำให้ไม่เกิดฝันอย่างไร  โดยพิศดารน่ะครับ


พิจารณาแล้วตันครับ ไปไม่ถูก ผมคงจะพิจารณาผิดตรงไหนสักที่เป็นแน่ครับ

ตอบโดย: น้องบู 25 ก.ย. 52 - 11:03


สวัสดีครับ คุณทองพร พันธุ์สุขวัฒนพันธ์ คุณ Vicky น้องบู

  ผมขอตอบทั้ง คุณVicky  และน้องบู พร้อมกันเลยนะครับ.

   จากคำถามของคุณ Vicky
อ้างอิง
    คุณวิชาคะ มีหรือคะที่ปุถุชนจะมีหลายๆคืนที่ไม่เคยฝัน


   ตอบ มีครับถ้าจะยกผู้อื่นก็คงจะลำบาก  คือผมเองครับ เมื่อปี 2526 หลังจากสึกจากพระ ก็เข้าปฏิบัติกรรมฐานต่อที่คณะ 5 วัดมหาธาตุท่าพระจันทร์ ติดต่อกันเลยครับ
      ปฏิบัติกรรมฐานมาติดต่อเป็นเวลาประมาณ 20 วันแล้ว เมื่อการดับที่เกิดจากลักขณูฌาน ปรากฏชัดเจนแล้วเป็นครั้งแรก และกำหนดสติอยู่ทุกขณะ ๆ กลายเป็นว่าเมื่อมีความรู้สึกอยู่ก็จะกำหนดภาวนาอยู่ทุกเวลา

       กลายเป็นความเคยชิน เมื่อจิตไหวขึ้นมารับรู้หรือรู้สึกก็จะกำหนดภาวนาทันที แม้แต่การนอน ก็กำหนดภาวนาอยู่ตลอด จนทิ้งหลับไปเอง
       เมื่อจิตไหวตัวตื่นขึ้นสติก็จับกำหนดภาวนาในทันที ทั้งที่ยังไม่รู้สึกร่างกายเลย มีสติกำหนดไปจนตื่นรู้สึกชัดทั้งร่างกาย ดังนั้นในเวลา 24 ชั่วโมง จิตจะหลับไปเองเพียง 4-5 ชั่วโมง ก่อนนอนนอนอยู่ท่าไหน ตื่นนอนขึ้นมาก็อยู่ในท่านั้น ติดต่อกันเป็นเวลา 4-5 คืน.
        จนเกิดลักขณูฌาน ที่จิตเกิดสภาวะการเกิดดับอย่างชัดเจนละเอียดลุ่มลึกกว่าเก่ามากๆ  ในเช้ามืดวันต่อมา
 
          น้องบูครับ หลับแบบไม่ฝันเลยของปุถุชนที่ปฏิบัติธรรมมีสติอยู่ตลอดเวลาไม่ขาด เป็นเวลาถึงหลายวัน

            ดังนั้นพระอรหันต์เป็นผู้ที่มี สติสมาธิสมบูรณ์ยิ่ง ผู้ซึ่งดับตัณหาและอุปาทานได้แล้วไม่กำเริบขึ้นอีกเลย ดังนั้นเวลาท่านหลับแบบพักผ่อนร่างกาย ท่านคงไม่ฝันอีกแล้วนะครับ ยกเว้นเมื่อท่านตื่นแล้ว จะมีญาณ หรือเทพบันดาล ให้ทราบเท่านั้น หรือดังเหตุผลที่ผมได้ตอบไปแล้วครับ.

ตอบโดย: Vicha 25 ก.ย. 52 - 13:50


อืมม ... ผมพอเข้าใจสิ่งที่พี่ Vicha จะบอกแล้วครับ (แต่ไม่รุ้ว่าจะตรงกันไหม)


เพราะความบริบูรณ์ของสติ และสมาธิ    ผู้นั้นจะมีสติมีการภาวนาเป็นปกติ   แม้ขณะที่ร่างกายอ่อนเพลีย การพักผ่อนก็เป็นไปด้วยสติ  แม้ขณะที่สติขาดไป อาสวะไม่มี  ฝันก็เลยไม่มี   อีกทั้งไม่เพลินในการนอน ไม่เสพในการนอน ผู้ปฏิบัติถึงขนาดนี้ จะพักผ่อนน้อยกว่าคนทั่วไป  เมื่อตื่น จิตก็เจริญภาวนาทันที ไม่ทิ้งช่วง ไม่ขาด


พอเข้าใจในมุมมองพี่ Vicha แล้วครับ


เก็บไว้เป็นข้อมูลสำหรับอีกมุมหนึ่ง    มุมนี้ผมก็เคยมองไว้ครับ แต่ปฏิบัติไม่ถึง เลยต้องทดไว้ก่อนครับ  ไว้ถึงเมื่อไรคงจะได้ทราบและตรวจสอบอีกครั้ง

ตอบโดย: น้องบู 25 ก.ย. 52 - 14:01


    สวัสดีค่ะ ท่านสมาชิกลานธรรมถาวร
              
          ดิฉันน้องใหม่ ร้ายบริสุทธิ! ล้อเล่นค่ะ  เป็นจริงดัง  ท่าน Vicha บอก  เห็นด้วย  จากการปฏิบัติค่ะ

 อ้างอิง
กลายเป็นความเคยชิน เมื่อจิตไหวขึ้นมารับรู้หรือรู้สึกก็จะกำหนดภาวนาทันที แม้แต่การนอน ก็กำหนดภาวนาอยู่ตลอด จนทิ้งหลับไปเอง
       เมื่อจิตไหวตัวตื่นขึ้นสติก็จับกำหนดภาวนาในทันที ทั้งที่ยังไม่รู้สึกร่างกายเลย มีสติกำหนดไปจนตื่นรู้สึกชัดทั้งร่างกาย ดังนั้นในเวลา 24 ชั่วโมง จิตจะหลับไปเองเพียง 4-5 ชั่วโมง ก่อนนอนนอนอยู่ท่าไหน ตื่นนอนขึ้นมาก็อยู่ในท่านั้น ติดต่อกันเป็นเวลา 4-5 คืน.
        จนเกิดลักขณูฌาน ที่จิตเกิดสภาวะการเกิดดับอย่างชัดเจนละเอียดลุ่มลึกกว่าเก่ามากๆ  ในเช้ามืดวันต่อมา



ผู้ปฏิบัติถึงขนาดนี้ จะพักผ่อนน้อยกว่าคนทั่วไป  เมื่อตื่น จิตก็เจริญภาวนาทันที ไม่ทิ้งช่วง ไม่ขาด  

                               ถึงแล้ว อาจติดสุข

อิสระ  หนักแน่น  กระฉับกระเฉง  มีความเป็นกลางเสมอๆๆ
ดับได้ซึ่งตัณหาและอุปาทานต่างๆๆ ทุกสถานการณ์ รอบล้อมตัว   แบบไม่ต้องประคอง

                                   

   

ตอบโดย: ทองพร พันธุ์สุขวัฒนพันธ์ 25 ก.ย. 52 - 18:43


อ้างอิง (Vicha @ 25 ก.ย. 52 - 13:50)
ท่านคงไม่ฝันอีกแล้วนะครับ ยกเว้นเมื่อท่านตื่นแล้ว
จะมีญาณ หรือเทพบันดาล ให้ทราบเท่านั้น

สวัสดีครับพี่วิชา

ขออนุญาตเรียนถามพี่หน่อยครับ

เทพอะไร? หรือเทพแบบไหนกันครับ  ที่มาบันดาล
แล้วมีเหตุผลอะไรครับ ที่มาบันดาลพระอรหันต์ครับ? บันดาลทำไมหรือครับ?

เทพที่ว่านี้เป็นตัวเป็นตน แบบไหนกัน ครับ

มีหลักฐานอะไรบ้างครับ
ที่แสดงให้เห็นว่า มีเทพอะไรๆ มาบันดาลอะไรๆให้พระอรหันต์
พระอรหันต์ท่านนั้นชื่อว่าอะไร
เทพอะไรที่ว่านั้นมีชื่อว่าอะไร

ระดับพระอรหันต์นั้น ยังต้องพึงพาอาศัยเทพให้มาบันดาลอะไรๆให้อยู่อีกหรือครับ?





เมื่อก่อนผมเคยอยากเห็นโอปาติกะ อยากเห็นผี อยากเห็นเทวดา
ด้วยตาเปล่า ด้วยตาเนื้อ
ลงทุนไปนั่งดูเขาเผาศพบนเชิงตะกอนแบบจะๆ รอจนผู้คนกลับไปกันหมด
รอศพไหม้จนเหลือแต่ขี้เถ้า อยากเห็นโอปาติกะ อยากเห็นผีคนที่ตายที่ถูกเผา
แต่ก็ไม่เคยได้พบจวบจนกระทั่งบัดนี้

ไปอยู่ถ้ำ นอนในถ้ำคนเดียว
เข้าไปในป่าคนเดียว ก็ไม่เคยสัมผัสกับโอปาติกะ กับเทวดา
กับผีสางนางไม้แต่อย่างใดทั้งสิ้น

เรื่องผีอำ ก็ถูกอำจนรู้ว่า มันเกิดขึ้นได้เพราะอะไร

เรื่องอาบน้ำมนต์ไล่ผี ก็ไล่เสียจนไม่มีผีมากล้าให้ไล่(โดนขันโขกหัวโนหัวปูดไปเป็นแถว)


พุทธศาสนาเหนือกว่า
สูงกว่าเทวดา ผีสางนางไม้ เทพ มาร พรหม ใดๆทั้งหลายทั้งสิ้น

ที่สุดแล้ว มันเป็นเพียงแค่สักว่าธาตุ สักว่าขันธ์ เท่านั้นเอง ครับ
สังขารทั้งนั้นเกิดแล้วดับ  ด้วยกันหมดทั้งนั้น...


พระอรหันต์ ท่านวางขันธ์ห้า จนหมดสิ้นแล้ว
แล้วจะไปรู้สึกรู้สม กับเทพอะไรๆที่มาเงาะแงะ มาสะกิดสะเกาอะไรท่านอีกทำไมกันครับ
ตรงนี้ผมไม่เข้าใจ ที่พี่วิชากล่าวถึงเลยจริงๆ ครับ



 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 25 ก.ย. 52 - 20:55


สวัสดีครับทุกท่าน

    และจากความเห็นของคุณปล่อยรู้  พิมพ์แสดงทำให้ทราบอารมณ์หมดเลยครับ..

  ผมคงไม่ตอบด้วยข้อความที่มากไปนะครับ ยกข้อมูลจากพระไตรปิฎกให้อ่านศึกษานะครับ.

               พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
                                 สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
 
 

ปฐมยามสิ้นไปแล้ว มีวรรณงามยิ่งนัก ยังวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้ามาหา
เราถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ก็อภิวาทเราแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
เทวบุตรนั้น ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนัก
เราว่า
                          ก็พระเชตวันนี้นั้น อันหมู่แห่งท่านผู้แสวงคุณพำนักอยู่
                          พระธรรมราชาก็ประทับอยู่แล้ว เป็นที่ให้เกิดปีติแก่ข้า
                          พระองค์ ฯ
                          สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยส่วน ๕ นี้ คือ กรรม วิชชา
                          ธรรม ศีล และชีวิตอันอุดม หาใช่บริสุทธิ์ด้วยโคตรหรือ
                          ทรัพย์ไม่ ฯ
                          เพราะเหตุนั้นแหละ บุรุษผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็งเห็นประโยชน์
                          ของตน พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคายอย่างนี้ จึงจะบริสุทธิ์
                          ในธรรมนั้น พระสารีบุตรรูปเดียวเท่านั้น เป็นผู้ประเสริฐ
                          ด้วยปัญญา ศีล และธรรมเครื่องสงบระงับ ภิกษุใดเป็นผู้
                          ถึงซึ่งฝั่ง ภิกษุนั้นก็มีท่านพระสารีบุตรนั้นเป็นอย่างเยี่ยม ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวบุตรนั้นครั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว ก็อภิวาทเรา ทำ
ประทักษิณแล้ว อันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ
             [๒๗๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบ-
*ทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เทวบุตรนั้นเห็นจะเป็นอนาถบิณฑิก
เทวบุตรแน่ อนาถบิณฑิกคฤหบดีได้เลื่อมใสยิ่งนักในท่านพระสารีบุตร ฯ
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ถูกละๆ ดูกรอานนท์ ข้อที่จะพึง
ถึงด้วยการนึกคิดมีประมาณเพียงใดนั้น เธอถึงแล้ว ดูกรอานนท์ ก็เทวบุตรนั้น
คือ อนาถบิณฑิกเทวบุตร

                                 จบ อนาถบิณฑิกวรรคที่ ๒
                      -----------------------------------------------------

   มาจาก

   http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=15&A=1759&w=เข้ามาหา

    นี้เป็นคุณสัมบัติหนึ่งของพระอานนท์ ซึ่งเป็นพระโสดาบันในช่วงนั้น.
****************
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ถูกละๆ ดูกรอานนท์ ข้อที่จะพึง
ถึงด้วยการนึกคิดมีประมาณเพียงใดนั้น เธอถึงแล้ว ดูกรอานนท์ ก็เทวบุตรนั้น
คือ อนาถบิณฑิกเทวบุตร

****************

และคุณปล่อยรู้  ผมจะเปรียบเทียบสิ่งที่คุณปล่อยรู้ พยายามแล้วแต่ไม่เหมาะสมจึงไม่ได้คำตอบที่ต้องการดังนี้   แม้แต่วิชาการทางโลกจะเอา วิชาสังคม ไปตอบไปแก้ใจทย์ วิชาคณิตศาสตร์แคลคูลัส ทำอย่างไรๆ ก็ไม่มีวันตอบถูก หรือหาคำตอบไม่ได้.


 

ตอบโดย: Vicha 26 ก.ย. 52 - 11:24


สวัสดีครับพี่วิชา

กราบขอบคุณครับที่พี่ช่วยอธิบาย
ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ ที่พี่ทราบอารมณ์"ปล่อยรู้"หมดเลย ครับ

คงจะง่ายขึ้นในการที่พี่วิชาจะไม่ถือสากับความเห็นปล่อยรู้นะครับ
การแลกเปลี่ยนความเข้าใจในพุทธธรรม
การเมตตาช่วยอธิบายพุทธธรรมสำหรับพี่ที่จะมีให้กับปล่อยรู้ ก็ดูจะเป็นการง่ายขึ้น
เพราะพี่ทราบอารมณ์ของปล่อยรู้จนหมดเกลี้ยง

สิ่งหนึ่งที่ทำให้ผมเกิดความโล่งใจ
ก็คือการที่ทำให้พี่สามารถทราบอารมณ์ของปล่อยรู้จนหมดแล้วนั่นเอง ครับ


พี่วิชาคงไม่ถืออารมณ์ปล่อยรู้ที่พี่วิชาได้ทราบจนหมดนั้น
ว่าเป็นตัวตน เป็นตน เป็นบุคคล เป็นโอปาติกะ เป็นเปรตอสูรกาย เป็นเทพ เป็นเทวดา
แต่อย่างใดใช่ไหมครับ?


หรืออาจจะมียกเว้นเป็นบางส่วน ว่านี้คืออารมณ์ นี้ไม่ใช่อารมณ์
นี้คือตัวตน นี้คือบุคคล  ที่ชื่อปล่อยรู้ อย่างหนึ่ง
นี้คือสังขาร คือเวทนา นี้คืออารมณ์ นี้สักแต่ว่าธรรมหนึ่งๆ ที่มิใช่สัตว์ มิใช่บุคคลตัวตน
มีการยกเว้นแบ่งแยกอย่างนี้หรือไม่ครับ?


เพราะผมเข้าใจว่า
สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่อัตตาตัวตน
สิ่งทั้งหลายทั้งปวง คืออนัตตา
ไม่มีการยกเว้นให้กับสิ่งใดๆ ที่มีการปรากฏเกิดขึ้นแล้วว่าไม่ใช่อนัตตา


เมื่อพี่วิชา บอกว่ามี"เทพ"มาบันดาล
จึงเป็นเหตุให้เกิดอารมณ์(สังขาร)ปล่อยรู้ ขึ้นมาว่า
ธรรมชาติที่เรียกว่าเทพนั้น คือธรรมชาติอย่างใดกัน
เป็นธรรมชาติ ทีมีองค์ประกอบนอกเหนือไปจากขันธ์ทั้ง๕ อย่างใดหรือไม่ ครับ

แต่ถ้ายังมีส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งในขันธ์ทั้งห้า
ผมก็ปรารถนา ที่จะทราบอีกว่า องค์ประกอบอันใดบ้างที่แสดงความเป็นอัตตาตัวตน
ทำให้สามารถรู้ได้ถึงการมีอยู่ของสิ่งที่เรียกว่าเทพ

รูป หรือว่าเวทนา หรือว่าสัญญา หรือว่าสังขาร หรือว่าวิญญาณ ครับ

แล้วธรรมใดกันที่เข้าไปรู้ถึงการมีอยู่ของเทพ
รูป หรือเวทนา หรือสัญญา หรือสังขาร หรือวิญญาณ


เราจะได้อะไรจากการเข้าใจว่า
มีเทพที่เป็นอัตตาตัวตน
มีผีที่เป็นอัตตาตัวตน
มีวิญญาณที่เป็นอัตตาตัวตน

ทุกข์ลดน้อยลง หรือว่าทุกข์กลับเพิ่มหนักมากขึ้นไปอีก
ความปรารถนาจะเป็นผู้วิเศษ
เป็นผู้มีคุณสมบัติพิเศษ เป็นผู้อยู่เหนือบุคคลอื่น
หนักขึ้นไปกว่าเดิม หรือว่า เบาบางลดน้อยลง


เมื่อเดินทางมาได้ไกลแล้ว จะวกกลับไปเริ่มต้นใหม่อีกทำไม ครับ
เราปรารถนาที่จะพ้นไปจากสังสารวัฏ มิใช่หรือครับ
เราถึงมาศรัทธาในพุทธศาสนา

พุทธศาสนา สอนให้เราเห็น ชี้ให้เราตาสว่างขึ้น
บอกสิ่งที่ศาสนาอื่นๆไม่เคยบอก

ความเข้าว่า มีเทพที่เป็นตัวตน
มีเทวดาที่เป็นตัวตน มีผีมีวิญญาณที่เป็นตัวตน
ล้วนแล้วแต่เป็นเพราะอุปปาทานทั้งสิ้น ไม่ใช่หรือครับ

เพราะภพ ย่อมเกิดขึ้นมาจากอุปาทาน
ถ้าไม่มีอุปปาทาน ภพก็ย่อมไม่มี


เหมือนดังที่พี่วิชาจะเข้าใจว่า
อารมณ์ปล่อยรู้นั้นเป็นอัตตาตัวตน หรือไม่ได้เป็นอัตตาตัวตน

ถ้าพี่วิชาวางอุปาทานไม่ได้
พี่วิขาก็ย่อมที่จะเข้าใจว่าอารมณ์ปล่อยรู้ที่พี่รู้ทั้งหมดนั้น คือตัวตน เป็นบุคคล
มีความเป็นตัวตน

แต่ถ้าพี่วิชาวางอุปาทานได้ไวได้เร็ว
พี่วิขาก็ย่อมที่จะเข้าใจว่าอารมณ์ปล่อยรู้ที่พี่รู้ทั้งหมดนั้น
เป็นเพียงสักแค่ว่าอารมณ์ เป็นเพียงสักแค่ว่าสังขาร หนึ่งๆเท่านั้นเอง
ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่บุคคล ที่ไหนแต่อย่างใด ทั้งสิ้น
ความยินดี ความยินร้าย ใดๆ ก็จะไม่ปรากฏเกิดขึ้นแต่อย่างใด
เพราะเหตุที่อุปาทานไม่บังเกิดมีขึ้นมานั่นเอง ใช่ไหมครับ


ผมเองก็เช่นกันครับ
ถ้ายึดถือเอาสิ่งที่พี่วิชาแสดงมานั้น ว่าเป็นตัวตน ว่าเป็นบุคคล
ความยินดี ความยินร้าย ก็ย่อมที่จะเกิดมีขึ้นอย่างไม่มีข้อแม้นใดๆ อย่างไม่มีข้อยกเว้นใดๆ
เช่นกันทั้งสิ้นครับ

เพราะเมื่อความเข้าใจว่ามีความเป็นบุคคล เป็นตัวตน เกิดขึ้นเมื่อใด
เมื่อนั้น ย่อมชี้ให้เห็นแล้วว่า เวทนา ตัณหา อุปาทาน ได้ปรากฏเกิดขึ้นแล้วทั้งหมด.
ภพได้บังเกิดมีขึ้นมาแล้ว...


เมื่อมีการเอ่ยถึงสิ่งที่พี่เรียกว่าเทพมาบันดาล นั้น
จึงย่อมเป็นเหตปัจจัยทำให้เกิดคำถามว่า เทพที่มาบันดาลนั้น
เป็นอัตตาตัวตนหรือไม่ได้เป็นอัตตาตัวตน อย่างใดกัน ครับ ?








 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 26 ก.ย. 52 - 21:15



อือ.... นี้และคือปัญหาของคุณปล่อยรู้

          แล้วปัญหานี้จะจบอย่างไรครับ?


           ที่คุณปล่อยรู้เป็นอยู่ดำรงปรากฏอยู่ กับ ความเห็นไม่มีตัวตนไม่เป็นตัวตน เสมือนแย้งกันเอง.

          ลองพิจารณา  ขันธ์ กับ อุปทานขันธ์  เป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่?
          ลองพิจารณา   สังขาร วิญญาณ เวทนา ในปฏิจจสมุปบาท เป็นสิ่งเดียวกับ ขันธ์ 5 ที่เป็น สังขาร วิญญาน เวทนา  หรือไม่.?

ดังนั้นคำถามที่ถามนั้น

อ้างอิง
เทพที่มาบันดาลนั้นเป็นอัตตาตัวตนหรือไม่ได้เป็นอัตตาตัวตน อย่างใดกัน ครับ ?


เป็นคำถามที่ไม่พึงตอบไปอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะผู้ถามตั้งไว้ไม่สมควร

 
 

ตอบโดย: Vicha 26 ก.ย. 52 - 21:51


สวัสดีครับ คุณVicha คุณปล่อยรู้ และทุกท่านครับ

ผมขออนุญาตนิดนึงนะครับ คือเท่าที่ผมตามอ่านการถามตอบกันระหว่างคุณปล่อยรู้ กับ คุณVicha นั้น ผมรู้สึกว่าคุณปล่อยรู้กำลังสับสนและเข้าใจอะไรผิดไปบางอย่างอยู่ครับ ลองใจเย็นๆ แล้วพิจารณาใหม่อีกทีนะครับ

ตามที่ผมเข้าใจนั้น เทพ มนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสูรกาย นั้น ล้วนแต่ประกอบไปด้วยขันธ์ ๕ นะครับ ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก (ผมหมายถึงว่าต่างก็มีขันธ์ ๕ ด้วยเหมือนกัน คือต่างก็มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวัญญาณ) สำหรับเทพ เปรต และอสูรกายนั้นจะมีใครเห็นหรือไม่นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะบางคนอาจจะเห็น บางคนก็ไม่เห็น

อัตตาตัวตนนั้นอยู่ที่ไหน
ใครเป็นผู้รู้ในอัตตาตัวตนนั้น
อัตตาตัวตนนั้นสลายหายไปเมื่อใด ใครเป็นผุ้ทำลาย
การที่เราเห็นคนอื่นยืนอยู่ข้างๆ เรานั้น หมายถึงเรามองเห็นอัตตาตัวตนของเขาใช่ไหม ถ้าเขาไม่มีอัตตาตัวตนแล้วเราจะมองไม่เห็นเขาใช่ไหม
อุปาทาน, ขันธ์ และอุปาทานขันธ์ คืออันเดียวกัน หรือคนละอันกัน หรือเกี่ยวข้องกัน หรือไม่เกี่ยวข้องกัน

อ้างอิง
เพราะเมื่อมีความเข้าใจว่ามีความเป็นบุคคล เป็นตัวตน เกิดขึ้นเมื่อใด
เมื่อนั้น ย่อมชี้ให้เห็นแล้วว่า เวทนา ตัณหา อุปาทาน ได้ปรากฏเกิดขึ้นแล้วทั้งหมด.
ภพได้บังเกิดมีขึ้นมาแล้ว...


จะเป็นไปอย่างนั้นจริงหรือครับ การที่เรามองเห็นใครสักคนหนึ่งเดินผ่านเราไป เราเพียงมองเห็นว่าเขาเดินผ่านเราไป โดยที่เราไม่สนใจ เราไม่รู้จัก ผ่านแล้วผ่านเลย อย่างนี้เวทนา ตัณหา อุปาทาน ได้ปรากฏเกิดขึ้นแล้วทั้งหมดเช่นนั้นหรือ ภพได้บังเกิดมีขึ้นนมาแล้วเช่นนั้นหรือ

ลองทบทวนดูอีกครั้งนะครับ ทบทวนแบบใจเย็นๆ เหมือนเรากินไอติมไปด้วยคิดไปด้วยไงครับ  


 

ตอบโดย: ณวบุตร 26 ก.ย. 52 - 22:43


อ้างอิง (Vicha @ 26 ก.ย. 52 - 21:51)

ที่คุณปล่อยรู้เป็นอยู่ดำรงปรากฏอยู่ กับ ความเห็นไม่มีตัวตนไม่เป็นตัวตน เสมือนแย้งกันเอง.

ลองพิจารณา  ขันธ์ กับ อุปทานขันธ์  เป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่?

ลองพิจารณา   สังขาร วิญญาณ เวทนา ในปฏิจจสมุปบาท
เป็นสิ่งเดียวกับ ขันธ์ 5 ที่เป็น สังขาร วิญญาน เวทนา  หรือไม่.?



สวัสดีครับพี่วิชา

ความปรากฏขึ้นแห่งกาย รูปกายก้อนเนื้อนี้นั้นมีอยู่ หาได้ไม่มีอยู่ไม่ ครับพี่
และความเข้าใจ,ความรู้สึก ว่าก้อนรูปกายเนื้อนี้เป็นตัวตนของเรานั้น
ก็มีอยู่ หาได้ไม่มีอยู่แต่อย่างใดไม่.
รวมทั้งความเข้าใจ,ความรู้สึกความรู้สึกนึกคิดทั้งหลาย(ใจ)
ก็มีอยู่ หาได้ไม่มีอยู่แต่อย่างใดไม่.

ผมมิได้ปฏิเสธ การเกิดขึ้นแห่งกายเนื้อ การเกิดขึ้นแห่งความรู้สึก(ใจ)ใดๆทั้งหลาย
ว่าไม่มี ว่าไม่ปรากฏแต่อย่างใดเลย ครับ


จะไปปฏิเสธว่ามันไม่มี ได้อย่างใดกัน
ในเมื่อมันเห็นอยู่ มันรู้สึกอยู่ ว่ามันมีอยู่เต็มลูกตา อย่างเต็มจิตเต็มใจ อยู่อย่างนั้น


แต่ความเข้าใจของผมนั้น ผมเข้าใจว่า สิ่งที่รู้อยู่ สิ่งที่เห็นอยู่นั้น
มันไม่ใช่อัตตาตัวตน  ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา
มันเป็นเพียงสักแต่ว่าธาตุ
มันเป็นเพียงสักแต่ว่าขันธ์ เท่านั้น
มันมีการเปลี่ยนแปลง มีการแปรปรวน อยู่ตลอดเวลา ครับ

ความเข้าใจว่า ความรู้สึกว่า มันเป็นตัวตน มันเป็นตัวเราของเรา นั้น
ก็เป็นเพียงสักแต่ว่าความรู้สึก เท่านั้น เกิดขึ้น มีขึ้นมาได้ เพราะอาศัยเหตุและปัจจัย
ที่เรียกว่า สังขาร วิญญาณ นามรูป ผัสสะ เวทนา ตัณหา นั้นเอง

ถ้าปราศจาก สังขาร วิญญาณ นามรูป ผัสสะ เวทนา ตัณหา
ความรู้สึกว่า ความเข้าใจว่า ความเห็นว่า กายนี้ จิตใจนี้ คือตัวเรา คือตัวตนของเรา
ก็ไม่มีฐานะที่จะอุบัติหรือปรากฏขึ้นมาได้ มิใช่หรือครับ

ความว่าไม่ใช่ กับ ความว่าไม่มี
ความหมายมันแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงเลยไม่ใช่หรือ ครับ

รูปกายนั้นมีอยู่ แต่นั้นไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา
ความรู้สึกว่าเป็นเรา,ว่าเป็นตัวตนของเรา นั้นมีอยู่ แต่ความรู้สึกที่ว่านั้นไม่ใช่เรา
ไม่ใช่ตัวตนของเรา
ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคลล ไม่ใช่อัตตาตัวตนแต่อย่างใดทั้งสิ้น มิใช่หรือครับ...



พี่วิชากำลังจะบอกว่า
สังขาร วิญญาณ เวทนา ที่อธิบายในปฏิจสมุปบาทนั้น
แต่ธรรมแตกต่างกันกับ สังขาร วิญญาณ เวทนา ที่อธิบายไว้ในขันธ์ทั้ง๕
อย่างนั้นหรือเปล่า ครับ?

ถ้าเป็นเช่นนั้น ขอความเมตตาพี่วิชาช่วยอนุเคราะห์ธรรม
อธิบายขยายความแตกต่างตรงนี้ให้ด้วย ครับ


เพระผมเอง หาได้มีความเห็นดังนั้นแต่อย่างใดเลยครับ
ซึ่งตรงนี้อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ความเห็นในพุทธธรรมระหว่างปล่อยรู้กับพี่วิชา
เห็นคนละมุมคนละด้านกันก็ได้ ครับ
ปล่อยรู้ ยินดีน้อมรับคำชี้แนะจากพี่วิชาด้วยความเคารพอยู่เสมอครับพี่.




 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 27 ก.ย. 52 - 13:26


   ความจริงผมก็เสนอไปแล้ว แต่คุณปล่อยรู้ไม่ทำในใจไว้อย่างดี กลับไปติดในความเห็นบางสิ่งบางอย่าง ดั่งเดิม.
 
   จากพระไตรปิฏกเล่ม 12 ซึ่งเป็นเล่มเดียวกัน การสนทนาระหว่าง พระมหาโกฏฐิกะกับพระสารีบุตร

                        เรื่องปัญญากับวิญญาณ
          [๔๙๔] ท่านพระมหาโกฏฐิกะครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงถามท่านพระสารีบุตรว่าดูกร
ท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลมีปัญญาทรามๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอ จึง
ตรัสว่า บุคคลมีปัญญาทราม?
           ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ท่านผู้มีอายุ บุคคลไม่รู้ชัดๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสว่า เป็นบุคคลมีปัญญาทราม ไม่รู้ชัดอะไร ไม่รู้ชัดว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลไม่รู้ชัดๆ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า บุคคลมีปัญญาทราม.
           ท่านพระมหาโกฏฐิกะ ยินดี อนุโมทนาภาษิต ของท่านพระสารีบุตรว่า ถูกละ ท่านผู้มี
อายุ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหาต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลมีปัญญาๆ
ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอ จึงตรัสว่าบุคคลมีปัญญา?
           สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ บุคคลรู้ชัดๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เป็นบุคคล
มีปัญญา รู้ชัดอะไร รู้ชัดว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เพราะ
ฉะนั้น จึงตรัสว่า บุคคลมีปัญญา.
           ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า วิญญาณๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอ
จึงตรัสว่า วิญญาณ?
           สา. ธรรมชาติที่รู้แจ้งๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่าวิญญาณ รู้แจ้งอะไร
รู้แจ้งว่า นี้สุข นี้ทุกข์ นี้มิใช่ทุกข์ มิใช่สุข ธรรมชาติย่อมรู้แจ้งๆ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า
วิญญาณ.
           ก. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน หรือแยกจากกันท่านผู้มีอายุ
อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้หรือไม่?
          สา. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน ผมไม่อาจแยก
ออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้ เพราะปัญญารู้ชัดสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น วิญญาณ
รู้แจ้งสิ่งใด ปัญญาก็รู้ชัดสิ่งนั้น ฉะนั้น ธรรม ๒ ประการนี้ จึงปะปนกัน ไม่แยกจากกัน ผมไม่
อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้.

           ก. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน แต่มีกิจที่จะพึง
ทำต่างกันบ้างหรือไม่?
          สา. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน แต่ปัญญาควร
เจริญ วิญญาณควรกำหนดรู้ นี่เป็นกิจที่จะพึงทำต่างกันแห่งธรรม ๒ ประการนี้.

                       เรื่องเวทนาสัญญาและวิญญาณ
          [๔๙๕] ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เวทนาๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไร
หนอ จึงตรัสว่า เวทนา?
           สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ ธรรมชาติที่รู้ๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เวทนา
รู้อะไร รู้สุขบ้าง รู้ทุกข์บ้าง รู้สิ่งที่มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง ธรรมชาติย่อมรู้ๆ ฉะนั้น จึงตรัสว่า
เวทนา.
           ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สัญญาๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอ
จึงตรัสว่า สัญญา?
           สา. ธรรมชาติที่จำๆ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า สัญญา จำอะไร จำสีเขียว
บ้าง จำสีเหลืองบ้าง จำสีแดงบ้าง จำสีขาวบ้าง ธรรมชาติย่อมจำๆ ฉะนั้น จึงตรัสว่า สัญญา
           ก. เวทนา สัญญา และวิญญาณ ธรรม ๓ ประการนี้ ปะปนกัน หรือแยกจากกัน
ท่านผู้มีอายุ อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้หรือไม่?
          สา. เวทนา สัญญา และวิญญาณ ธรรม ๓ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน
ผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้ เพราะเวทนารู้สิ่งใด สัญญาก็จำสิ่งนั้น
สัญญาจำสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น ฉะนั้น ธรรม ๓ ประการนี้ จึงปะปนกัน ไม่แยกจากกันผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้.


   จากพระไตรปิฏกที่ผมยกมานั้น  พระสารีบุตรท่านเป็นพระอรหันต์นะครับ อุปทานขันธ์ของท่านไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว ปฏิจจสมุปบาท ของท่านดับสิ้นแล้ว แต่ท่านกล่าวถึงขันธ์ดังนี้.

ดังนั้นให้พิจารณาคำพูดของท่านตรงนี้ ก็จะเข้าใจ.

ส่วนที่หนึ่ง

          สา. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน ผมไม่อาจแยก
ออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้ เพราะปัญญารู้ชัดสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น วิญญาณ
รู้แจ้งสิ่งใด ปัญญาก็รู้ชัดสิ่งนั้น ฉะนั้น ธรรม ๒ ประการนี้ จึงปะปนกัน ไม่แยกจากกัน ผมไม่
อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้.


ส่วนที่สอง

          สา. เวทนา สัญญา และวิญญาณ ธรรม ๓ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน
ผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้ เพราะเวทนารู้สิ่งใด สัญญาก็จำสิ่งนั้น
สัญญาจำสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น ฉะนั้น ธรรม ๓ ประการนี้ จึงปะปนกัน ไม่แยกจากกันผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้.



ผมคงไม่อธิบายนะครับ ให้คุณปล่อยรู้ พิจารณาเองนะครับ.
 

ตอบโดย: Vicha 27 ก.ย. 52 - 20:20


สวัสดีครับคุณณวบุตร

ยินดีที่จะใจเย็น ตามคำแนะนำของคุณณวบุตร ด้วยความเต็มใจอย่างยิ่งเลย ครับ

และพร้อมยินดีที่จะแลกเปลี่ยนสังขารธรรม กับคุณณวบุตร ครับ
และผมขออนุญาต ที่จะออกตัวก่อนว่า สังขารธรรมที่ผมจะนำเสนอนั้น
ไม่กำหนดความถูก ความผิด แต่อย่างใดทั้งสิ้น นะครับ


เพราะผมเห็นว่า สิ่งที่กำลังนำเสนอแลกเปลี่ยนกันนี้นั้น
ต่างก็คือสังขารธรรมด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
ไม่ใช่ตัวตน ปล่อยรู้ หรือตัวตนคุณณวบุตร หรือตัวตนพี่วิชา  แต่อย่างใดทั้งสิ้น นะครับ
เป็นเพียงสภาพสภาวธรรมที่ปรากฏขึ้นตามเหตุตามปัจจัย(ผัสสะ)
ซึ่งแต่ก่อนมันก็ยังไม่เคยปรากฏเกิดขึ้นอย่างนี้ในที่ใดมาก่อน
มันพึงจะมาปรากฏเกิดขึ้นมาตอนนี้ ก็เพราะผัสสะเป็นเหตุนั้นเอง ถูกต้องไหมครับ

ถ้าผัสสะยังไม่เกิด
สังขารธรรมปล่อยรู้ที่กำลังปรากฏอยู่นี้
สังขารธรรมณวบุตรที่กำลังสื่อสารกับปล่อยรู้อยู่นี้
สังขารธรรมพี่วิชาที่กำลังแลกเปลี่ยนกันอยู่นี้
ก็จะยังไม่ปรากฏเกิดขึ้น...ใช่ไหมครับ


เพราะผัสสะ เป็นเหตุปัจจัยนั่นเอง เวทนาจึงปรากฏ  นามรูป จึงปรากฏ
ถ้าผัสสะไม่เกิด เวทนาจะเกิดมีขึ้นมาได้อย่างใด...ใช่ไหมครับ

.................................................................................................

ฯลฯ

อยู่ที่ว่า  เราเข้าใจสิ่งที่เดินผ่านหน้าเราไปนั้น ว่าอย่างใด ครับ
เข้าใจว่า เป็นสัตว์ เป็นคน เป็นเทพ เป็นเทวดา เป็นเปรต เป็นอสูรกาย  หรือเปล่า
หรือเข้าใจว่า เป็นเพียงสักแต่ว่าธาตุ สักแต่ว่าขันธ์ หรือเปล่า

และเราเข้าใจถึง สิ่งที่เข้าไปรับรู้สิ่งที่เดินผ่านหน้าเราไปนั้นว่า อย่างไร
คือตัวตนของเรา ที่กำลังเข้าไปรับรู้ถึงสิ่งที่กำลังเดินผ่านหน้าเราไปหรือเปล่า
หรือเข้าใจว่า สิ่งที่เข้าไปรับรู้สิ่งที่เดินผ่านหน้าเราไปนั้นว่า
ก็เป็นเพียงสักแต่ว่าธาตุ สักแต่ว่าขันธ์ เท่านั้นเอง หรือเปล่า



ภพคือแดนเกิด
ถ้าไม่มีภพ จะมีการเกิดขึ้นได้อย่างใด
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี

"การเห็น" เกิดขึ้นแล้วใช่ไหมครับ
ส่วนจะสนใจสิ่งที่เห็นหรือไม่สนใจนั้น ไม่ใช่หัวใจสำคัญ

เพราะมีภพ   "การเห็น" จึงเกิดขึ้น
ถ้าไม่มีภพ  "การเห็น"  จะเกิดขึ้นไม่ได้

เห็น...ให้สักแต่ว่าเห็น
สิ่งที่เกิดขึ้นนั้น สิ่งที่เห็นนั้น ไม่ใช่ตัวเราของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

ห้ามไม่ให้เห็น ห้ามไม่ได้
แต่ปล่อยวางความเห็น ปล่อยวางสิ่งที่เห็น สามารถที่จะกระทำได้ ใช่ไหมครับ

เมื่อปล่อยวางความเห็น ปล่อยวางสิ่งที่ถูกเห็น
โดยไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นความเห็น สิ่งที่ถูกเห็นนั้น ว่าเป็นเรา ว่าเป็นตัวตนของเรา
ความเข้าใจว่าเป็นเรา
ความรู้สึกว่าเป็นตัวเราของเรา ที่กำลังเห็น ที่เข้าไปเห็น
ก็จะไม่บังเกิดมีขึ้น

ภพที่จะเป็นเหตุปัจจัยทำให้เกิดขึ้นแห่งความรู้สึกว่าเป็นตัวตนของเรา
ที่กำลังเห็น ที่เข้าไปเห็น นั้น ก็ย่อมที่จะไม่บังเกิดขึ้น...


การกินไอติม เกิดขึ้นได้เพราะอะไร ?
เพราะมีความต้องการ(ตัณหา)ที่จะกินไอติม

เพราะมีความพอใจ(เวทนา)ที่จะกินไอติม ความต้องการที่จะกินไอติมจึงบังเกิดมีขึ้น

ก่อนที่ความต้องการกินไอติมจะเกิด อะไรเกิดก่อน
เวทนาคือความพอใจเกิดก่อนใช่ไหมครับ

ก่อนที่ความพอใจ(เวทนา)เกิด อะไรเกิดก่อน
ผัสสะย่อมเกิดก่อนใช่ไหมครับ
เพราะมีผัสสะ   ความพอใจที่จะกินไอติมจึงเกิดมีขึ้นมา

ถ้าไม่มีผัสสะ ไม่มีเวทนา ไม่มีตัณหา ไม่มีการยึดถือ
การเกิดสภาพสภาวะการกินไอติมไม่อาจที่จะบังเกิดมีขึ้นมาได้เลย ครับ


การกินไอติม  เป็นทุกข์เพราะไม่อาจคงลักษณะรักษาสภาพสภาวะแห่งการกินไอติมเอาไว้ได้ตลอด
การกินไอติม  จะเป็นทุกข์หนักเพิ่มขึ้นไปอีก
เมื่อปรารถนาที่จะให้การกินไอติมเป็นไปตามที่ปรารถนา

ผมมิได้ปฏิเสธ การเกิดขึ้นแห่งการกินไอติม
แต่ผมเข้าใจว่า อาการที่กำลังกินไอติมอยู่นั้น ความต้องการที่จะกินไอติม
ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนใดๆที่กำลังกินไอติม
และความรู้สึก ความเข้าใจ ความเห็น ที่ว่า มีตัวเราของเรา เป็นผู้กำลังกินไอติมอยู่นั้น
ก็เป็นเพียงสักแต่ว่าความรู้สึก เท่านั้นเอง
แต่หาได้มีตัวตนผู้ที่กำลังกินไอติมอย่างที่เข้าใจ จริงๆไม่ ครับ




ธรรมที่กำลังปรากฏอยู่นี้ คืออะไรบ้าง
รูป สัญญา เวทนา สังขาร วิญญาณ...ใช่ไหมครับ

หรือคุณณวบุตร เข้าใจมันว่าอย่างใดกัน ครับ
มันมีส่วนใดที่นอกเหนือไปจาก ขันธ์ทั้งห้านี้อีกหรือไม่อย่างใด ครับ


ความทุกข์ คือความไม่เที่ยง มีอยู่แล้วในตัวขันธ์
ไม่อาจหลีกเลี่ยง บังคับจับฝืนใดๆได้

ความทุกข์ คือความเข้าไปยึดถือ จับถือ หมายมั่นในตัวขันธ์
สามารถที่จะขจัด ดับทำลายให้หายไปได้

ผมเข้าใจว่า มรรคคือองค์แปด อันประเสริฐ
คือหนทางเข้าถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์อันเกิดจากการจับถือยึดมั่นในขันธ์ทั้ง๕ ครับ

คนนั้นมีอยู่ แต่คนนั้นไม่ใช่อัตตาตัวตน
เทวดานั้นมีอยุ่ แต่เทวดานั้นไม่ใช่อัตตาตัวตน
เทพนั้นมีอยู่ แต่เทพนั้นไม่ใช่อัตตาตัวตน
พระอรหันต์นั้นมีอยู่ แต่พระอรหันต์นั้นไม่ใช่อัตตาตัวตน
พระพุทธเจ้านั้นมีอยู่ แต่พระพุทธเจ้านั้นไม่ใช่อัตตาตัวตน

บุญบาปนั้นมีอยู่ แต่บุญบาปนั้นไม่ใช่อัตตาตัวตน
นรกสวรรค์นั้นมีอยุ่ แต่นรกสวรรค์นั้นไม่ใช่อัตตาตัวตน...



 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 28 ก.ย. 52 - 10:13


สวัสดีครับพี่วิชา และพี่ๆน้องๆ ทุกๆท่าน


"ดำรงสติเฉพาะหน้า รู้ลมหายใจ ไม่ใช่เรื่องยาก"

คงใกล้ที่จะได้รู้เห็นกันจริงๆ
คงใกล้ที่จะได้ใช้ประโยชน์กันจริงๆ  กันตรงนี้แหล่ะนะ ครับ


เมื่อได้อ่านสิ่งที่พี่วิชานำมาให้อ่านนั้น
ก็ยังไม่อาจทำให้ผมเกิดความเข้าใจในความหมายที่พี่วิชาบอกว่า
"เทพมาบันดาลพระอรหันต์ฯ"
อาจจะเป็นด้วยเพราะสติปัญญาของผมยังไม่เจริญก้าวหน้าพอที่จะเข้าถึงสิ่งที่พี่วิชา
นำมาให้พิจารณานั้นก็ได้ ครับ


แต่เมื่อได้อ่านแล้ว ทำให้ผมเกิความเข้าใจว่า
วิญญาณ เป็นอย่างไร
เวทนา เป็นอย่างไร
สัญญา เป็นอย่างไร
ปัญญา เป็นอย่างไร

แต่ยังไม่เห็นสิ่งที่จะบอกว่า เทพเป็นอย่างไร ครับ


วิญญาณ เวทนา สัญญา ไม่อาจแยกจากกัน ผมเห็นด้วย ครับ

พี่วิชาครับ
แล้วพี่ว่า อะไรคือเหตุที่ทำให้วิญญาณ เวทนา สัญญา เกิดมีขึ้นมา ครับ
แล้ว วิญญาณ เวทนา สัญญานั้น เป็นตัวตน หรือมิใชตัวตน ครับ





 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 28 ก.ย. 52 - 10:38


สวัสดีครับทุกท่าน  และคุณปล่อยรู้.

   คุณปล่อยรู้ ครับ  คำว่า เทพบันดาล  ในที่นี้.

   ผมหมายถึง ปรากฏ บอกให้รู้ บอกให้ทราบ  ดังในความคิดเห็นที่ 196 : (Vicha)

   หรือคุณปล่อยรู้เข้าใจว่าเป็นการ ดลบันดาล  ให้พระอรหันต์เป็นอะไร หรือเป็นไปต่างๆ นาๆ หรือ?


 ตอบแค่นี้ให้อ่านก่อนนะครับ

ตอบโดย: Vicha 28 ก.ย. 52 - 11:13


ต่อไปเป็นคำถามของคุณปล่อยรู้

อ้างอิง
แล้วพี่ว่า อะไรคือเหตุที่ทำให้วิญญาณ เวทนา สัญญา เกิดมีขึ้นมา


   ตอบ ต้องเริ่มที่ วิญญาณ เวทนา สัญญา ดำรงอยู่ได้ เพราะ 1.อายุ 2.อาหาร 3.ไออุ่น
 
             เหตุเริ่มต้นจุดเริ่ม ที่ทำให้เกิด วิญญาณ เวทนา สัญญา ที่เป็นขันธ์ 5 ก็คือ อวิชชา นั้นเอง

             เมื่อขันธ์บังเกิดขึ้นแล้ว การดำรงอยู่ก็จะเป็นตามเหตุปัจจัยที่มี ก็คือ อายุ อาหาร และไออุ่น ซึ่งอวิชชาจะดำเนินอยู่หรือไม่ดำเนินอยู่ก็ได้

             แต่ถ้าอวิชชาดับหมดสิ้นแล้ว ขันธ์ 5 นั้น จะดำรงอยู่ตามเหตุปัจจัยที่เหลือเท่านั้น คือ อายุ อาหาร ไออุ่น เมื่อหมดเหตุปัจจัยของ อายุ อาหาร ไออุ่น ขันธ์นั้นก็หมดสิ้นไปเพียงแค่นั้น.

จากคำถามของคุณปล่อยรู้ที่เหลือ

อ้างอิง
             แล้ว วิญญาณ เวทนา สัญญานั้น เป็นตัวตน หรือมิใชตัวตน ครับ


    ตอบ  คำตอบในข้างบนนั้นก็ชัดอยู่แล้ว ถ้าจะตอบตามสภาวะธรรม ก็มีความเป็นไตรลักษณ์นั้นเอง หรือโดยย่อคือ  เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้ว ดับไป เป็นธรรมดา
 
           ถ้าวิชชาเกิดขึ้นแล้วอวิชชาดับสิ้นถึงฝั่งพระนิพพาน แล้วเมื่อเหตุปัจจัยยังมีอยู่คือ 1.อายุ 2.อาหาร 3. ไออุ่น ก็ยังเป็นตามไตรลักษณ์ หรือโดยย่อคือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้ว ดับไป เป็นธรรมดา และเมื่อหมดเหตุปัจจัยของ อายุ อาหาร ไออุ่น ขันธ์ก็ดับหมดสิ้นกันไป.

ตอบโดย: Vicha 28 ก.ย. 52 - 11:32


สวัสดีครับ คุณปล่อยรู้ คุณVicha และทุกท่าน

อ้างอิง
ธรรมที่กำลังปรากฏอยู่นี้ คืออะไรบ้าง
รูป สัญญา เวทนา สังขาร วิญญาณ...ใช่ไหมครับ

หรือคุณณวบุตร เข้าใจมันว่าอย่างใดกัน ครับ
มันมีส่วนใดที่นอกเหนือไปจาก ขันธ์ทั้งห้านี้อีกหรือไม่อย่างใด ครับ


ใช่แล้วครับ ขันธ์ ๕ คือธรรมทั้งหมด แต่ยังมีธรรมอยู่อีกหนึ่งอย่างนะครับที่ไม่อยู่ในขันธ์ ๕ นั่นคือ ความพ้นไปจากขันธ์ ๕

อ้างอิง
ความทุกข์ คือความไม่เที่ยง มีอยู่แล้วในตัวขันธ์
ไม่อาจหลีกเลี่ยง บังคับจับฝืนใดๆได้

ความทุกข์ คือความเข้าไปยึดถือ จับถือ หมายมั่นในตัวขันธ์
สามารถที่จะขจัด ดับทำลายให้หายไปได้

ผมเข้าใจว่า มรรคคือองค์แปด อันประเสริฐ
คือหนทางเข้าถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์อันเกิดจากการจับถือยึดมั่นในขันธ์ทั้ง๕ ครับ


ในส่วนนี้ผมเห็นเช่นเดียวกันกับคุณปล่อยรู้ครับ เพราะหากใครต้องการจะพ้นทุกข์หรือต้องการดับทุกข์จริงๆ แล้วละก็ ไม่มีธรรมใดที่จะยิ่งไปกว่าธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีทางใดที่จะยิ่งไปกว่าทางอันประเสริฐมีองค์แปด

     

ตอบโดย: ณวบุตร 28 ก.ย. 52 - 11:48


อ้างอิง (Vicha @ 28 ก.ย. 52 - 11:32)
ถ้าวิชชาเกิดขึ้นแล้วอวิชชาดับสิ้นถึงฝั่งพระนิพพาน
แล้วเมื่อเหตุปัจจัยยังมีอยู่คือ 1.อายุ 2.อาหาร 3. ไออุ่น ก็ยังเป็นตามไตรลักษณ์ หรือโดยย่อคือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้ว ดับไป เป็นธรรมดา และเมื่อหมดเหตุปัจจัยของ อายุ อาหาร ไออุ่น ขันธ์ก็ดับหมดสิ้นกันไป.

สวัสดีครับพี่วิชา

ขออนุญาต สนทนาแลกเปลี่ยนพุทธธรรมกับพี่ต่อ ครับ

พี่ครับ ผมมีความเห็นว่า
ขันธ์ทั้ง๕นั้น มีการเกิดแล้วก็ดับอยู่ตลอดเวลา
แม้ในขณะที่กายนี้ยังมีลมหายใจอยู่

เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีการเกิดแล้วก็ดับอยู่ ตลอดเวลา
แม้กระทั่งรูปกายที่มีวิญญาณอาศัยครองอยู่นี้ ก็มีการเกิดแล้วก็ดับอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน

เพราะความไม่รู้(อวิชชา) จึงทำให้มองเห็นว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้เที่ยง
จะดับก็ต่อเมื่อหมดลมหายใจแล้ว
แล้วก็จะเที่ยวตะเวณไปหารูปกายอื่นอาศัยต่ออยู่ใหม่...


และผมเข้าใจว่า ความเป็นพระอรหันต์นั้น
คือความปล่อยวางลงซึ่งขันธ์๕ อย่างหมดสิ้นไม่มีอะไรเหลือหรอ
แม้นสักนิดเดียว แม้นกายอินทรีย์นี้ยังคงดำรงค์อยู่ก็ตาม

ถึงแม้ความเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้ง๕นั้น จะมีเหตุปัจจัยอะไรให้ปรากฏ
แต่ด้วยองค์ธรรมแห่งความเป็นอรหันต์นั้น หาได้สนใจ หาได้ใส่ใจ
ในขันธ์ทั้ง๕แต่อย่างใดไม่

เวทนาทางใจนั้น คงกุดด้วนไม่มีวันโผล่ขึ้นมาให้เห็นได้อีกต่อไป
เวทนาทางกายนั้น คงหลีกเลี่ยงหนีไม่พ้น


ความเป็นเทพใดๆทั้งหลายนั้น ผมเข้าใจว่า
ก็คงจะยังหนีไม่พ้นไปจากความติดข้องในขันธ์ แต่อย่างใด

เมื่อจะมาติดต่อผัสสะสื่อสารใดๆกับพระอรหันต์เจ้านั้น
จะเอาอะไรมาสื่อสารติดต่อ ก็คงต้องอาศัยขันธ์ในการสื่อสารสัมผัส

แต่ด้วยความที่พระอรหันต์ท่านนั้น หาได้ใส่ใจในขันธ์
หาได้สนใจในขันธ์ใดๆแล้วแต่อย่างใด
การที่เทพจะเอาขันธ์ใดขันธ์หนึ่งมาบันดาลอะไรกับพระอรหันต์นั้น
ผมจึงดูเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผลแต่อย่างใดเลย ครับ
จะด้วยเรื่องดลจิตดลใจให้เกิดอะไรๆขึ้นกับพระอรหันต์นั้น ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้

แต่ถ้าจะเป็นเรื่องของการสนทนาพูดคุยกัน ก็ว่ากันอีกเรื่องหนึ่ง
ก็คงต้องหาเหตุไปอีกว่า อาศัยธาตุขันธ์อะไรสนทนาพูดคุยกัน ?


และผมก็เข้าใจว่า การเป็นอยู่ของพระอรหันต์เจ้านั้น
ท่านเป็นอยู่ด้วยมหาสติอันบริสุทธิ์อยู่ตลอดเวลา
โอกาสที่ท่านจะไปจับยึดถือเอาขันธ์ใดๆขึ้นมาถือนั้น
คงเป็นเรื่องผิดปกติจากความเป็นพระอรหต์เป็นแน่

สติย่อมรู้อยู่กับลมหายใจเข้าออกตลอดเวลา
อะไรผ่านเข้ามาก็รู้ อะไรผ่านออกไปก็รู้

"เธอย่อมเป็นผู้มีสติอันไม่ลืมหลง"


อวิชชา ถูกพระอรหันต์ทำลายลงแล้ว
สังขาร วิญญาณ สัญญา เวทนา รูป  ที่ปรากฏ
พระอรหันต์ ท่านมิได้ยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวตนของท่านแล้ว
เพราะท่านเห็นว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณทั้งหลายนั้น
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา


ความว่าอวิชชาดับนั้น ผมก็เข้าใจว่า
ไม่ใช่เป็นการดับสิ้นของร่างกายอันมีวิญญารครองนี้

แต่เป็นการดับสิ้น แห่งการยึดถือว่า
ร่างกายอันมีวิญญาณครองนี้ว่าเป็นตัวตนของตน

ผมเข้าใจว่า
ขันธ์ย่อมมีการเกิดดับอยู่ตลอดเวลา
หาใช่ไปเกิดไปดับ ตอนที่หมดลมหายใจ ครับ






 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 30 ก.ย. 52 - 14:22


อ้างอิง (ณวบุตร @ 28 ก.ย. 52 - 11:48)


ใช่แล้วครับ ขันธ์ ๕ คือธรรมทั้งหมด แต่ยังมีธรรมอยู่อีกหนึ่งอย่างนะครับที่ไม่อยู่ในขันธ์ ๕ นั่นคือ ความพ้นไปจากขันธ์ ๕



สวัสดีครับ คุณณวบตร

ทุกข์ กับ ดับทุกข์

เมื่อเราให้ความสำคัญกับคำสองคำนี้
ก็ไม่มีสิ่งอื่นใดที่จะทำให้เขวออกไปจากเส้นทางอริยมรรคได้ ครับ

ขันธ์๕เป็นทุกข์
ปล่อยวางขันธ์๕ลงได้ ทุกข์ก็ดับสิ้นลง

เพราะเหตุแห่งการเข้าไปจับยึดถือสิ่งที่เป็นทุกข์(ความไม่เที่ยง)
จึงทำให้เป็นทุกข์ไปด้วย

ภพ ชาติ เป็นทุกข์(ความไม่เที่ยง)
เพราะการปรารถนาที่จะเกิดยังไม่สิ้นสุด ยังพอใจในภพในชาติ
ความทุกข์จึงไม่อาจดับสิ้นลงไปได้อย่างสนิท


มนุษย์ เทวดา เทพ มาร เปรต อสรูกาย
ล้วนอาศัยขันธ์ เป็นอยู่ด้วยขันธ์ กันทั้งนั้น
มีเกิด มีแก่ มีเจ็บ มีตาย เหมือนกันหมด
มีทุกข์ มีความโศก มีความพรัดพราก เหมือนกันหมด...

การปลดวางลงได้ซึ่งขันธ์ทั้งมวล
คือสิ่งอันประเสริฐสูงสุด คือหนทางแห่งการดับสิ้นแห่งทุกข์ทั้งปวง นั่นเอง ครับ




 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 30 ก.ย. 52 - 14:37


สวัสดีครับ คุณปล่อยรู้และทุกท่าน.

   คุณปล่อยรู้  เราก็ได้สนทนากัน ลงในส่วนที่ลุมลึกมากขึ้นไปตามลำดับ ก็เป็นสิ่งที่ดีเมื่อมีปัญญาพิจารณาตามไปถึง.

  จากความเข้าใจของคุณปล่อยรู้

อ้างอิง
และผมเข้าใจว่า ความเป็นพระอรหันต์นั้น
คือความปล่อยวางลงซึ่งขันธ์๕ อย่างหมดสิ้นไม่มีอะไรเหลือหรอ
แม้นสักนิดเดียว แม้นกายอินทรีย์นี้ยังคงดำรงค์อยู่ก็ตาม


  แต่จากคำกล่าวของพระสารีบุตร

ส่วนที่หนึ่ง

          สา. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน ผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้ เพราะปัญญารู้ชัดสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น วิญญาณรู้แจ้งสิ่งใด ปัญญาก็รู้ชัดสิ่งนั้น ฉะนั้น ธรรม ๒ ประการนี้ จึงปะปนกัน ไม่แยกจากกัน ผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้.

ส่วนที่สอง

          สา. เวทนา สัญญา และวิญญาณ ธรรม ๓ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกันผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้ เพราะเวทนารู้สิ่งใด สัญญาก็จำสิ่งนั้นสัญญาจำสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น ฉะนั้น ธรรม ๓ ประการนี้ จึงปะปนกัน ไม่แยกจากกันผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้.

     ให้คุณปล่อยรู้พิจารณาดูครับว่า การเข้าใจของคุณปล่อยรู้นั้น คลาดเคลื่อนหรือไม่ครับ?

 ส่งแค่นี้ให้พิจารณาก่อนนะครับ.
 
 

ตอบโดย: Vicha 30 ก.ย. 52 - 14:56


      ที่แท้ก็เป็นความคลาดเคลื่อนในเรื่องของพยัญชนะเท่านั้นเอง

อ้างอิง
ผมเข้าใจว่า ความเป็นพระอรหันต์นั้น
คือความปล่อยวางลงซึ่งขันธ์๕ อย่างหมดสิ้นไม่มีอะไรเหลือหรอ
แม้นสักนิดเดียว แม้นกายอินทรีย์นี้ยังคงดำรงค์อยู่ก็ตาม

เวทนาทางใจนั้น คงกุดด้วนไม่มีวันโผล่ขึ้นมาให้เห็นได้อีกต่อไป
เวทนาทางกายนั้น คงหลีกเลี่ยงหนีไม่พ้น


ใช่แล้วครับ คุณปล่อยรู้ เพราะพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า พระอรหันต์นั้นเป็นตาลยอดด้วน ตัณหาอุปาทานไม่อาจครอบงำได้อีก

---------------------

อ้างอิง
ผมหมายถึง ปรากฏ บอกให้รู้ บอกให้ทราบ
อันนี้คุณVicha
ส่วนอันนี้ อ้างอิง
เรื่องดลจิตดลใจให้เกิดอะไรๆขึ้นกับพระอรหันต์นั้น ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้  แต่ถ้าจะเป็นเรื่องของการสนทนาพูดคุยกัน ก็ว่ากันอีกเรื่องหนึ่ง
ของคุณปล่อยรู้

สรุปก็คือแลกเปลี่ยนกันในเรื่องเดียวกันแบบสนุกสนานที่เสียงอาจจะดังไปสักหน่อย
ก็เป็นอันว่าเข้าใจตรงกัน เพียงแต่ใช้คำกันคนละคำเท่านั้นเอง แต่บังเอิญว่าคุณ Vicha ใช้คำผิดความหมายไปนิดนึงครับ เพราะตามพจนานุกรมฯ 2542 อ้างอิง
บันดาล ก. ให้เกิดมีขึ้นเป็นขึ้นด้วยแรงอํานาจของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น บุญบันดาล บันดาลโทสะ.
เลยทำให้เข้าใจไม่ตรงกัน

สรุปว่าผมเข้าใจดีแล้วครับ
พระอรหันต์นั้นท่านพ้นไปแล้วจากขันธ์ ๕ จึงไม่มีใครจะมาบันดาลอะไรท่านได้อีก แต่ใครๆ ก็สามารถเข้าไปสนทนาธรรมกับท่านได้ (ในกรณีที่ท่านยังคงมีขันธ์ ๕ อยู่) ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ เทพ พรหม เปรต หรืออสูรกาย

 

ตอบโดย: ณวบุตร 30 ก.ย. 52 - 15:18


สวัสดีค่ะ ท่านVicha   ขออนุญาตนอกเรื่องนะคะ
                     ขอโอกาสเรียนสอบถาม เรื่องการจับยึดสิ่งที่เป็นทุกข์

[QUOTE]ทุกข์ กับ ดับทุกข์

                       ดิฉันไม่ค่อยมีความรู้ ส่วน  ลุ่มลึก ค่ะ  แต่อยากทราบว่า เมื่อ ทุกข์ดับทุกข์แล้ว พอทุกข์เกิดขึ้นอีก ก็มีความรู้สึกว่าไม่ใช่ทุกข์  เป็นความว่างๆๆ เหมือนซึม เหมือนเศร้า หรือท้อแท้ แต่สักครู่ก็ไม่ซึมเศร้า ไม่ท้อแท้ มันหายไป แต่ใจไม่ค่อยสู้ อาจยังมีทุกข์ประคองไว้ เราจะแก้ไขอย่างไร

ตอบโดย: ทองพร พันธุ์สุขวัฒนพันธ์ 30 ก.ย. 52 - 15:25


    ซึ่งความจริงคุณปล่อยรู้ก็ยังสนทนาในเรื่องเดิมอยู่ ในข้อความที่เหลือจากนั้น  ตามที่คุณปล่อยรู้เข้าใจและปักไว้มั่นแล้วนั้นเอง  จึงมองข้ามในสิ่งที่ผมเสนอให้ทำไว้ในใจพิจารณาอย่างรอบคอบ.

    ตามในพระไตรปิฏกนั้น  เพราะอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ก็ยังทรงขันธ์ แต่เรียกว่า วิสุทธิขันธ์
 
     ซึ่งมี วิญญาณ สังขาร สัญญา เวทนา และ รูป เป็นปกติ แต่หมดสิ้นซึ่งราคะ โทสะ โมหะ(กิเลส ทั้งหลาย)  มีสติปัญญาหลุดพ้นที่เป็นปกติ ทุกข์จึงไม่เกิดอีกเลย แม้จะเกิดทุกขเวทนา หรือสุขเวทนา หรือไม่สุขไม่ทุกขเวทนาที่เกี่ยวที่เนื่องกับกายหรือสังขาร หมายความว่า เวทนา เกิดขึ้นได้แต่ไม่ได้มีปัจจัยมาจากอวิชชา รับรู้ได้แต่ไม่ทุกข์แล้ว เพราะมีสติปัญญาหลุดพ้นเป็นปกติ และหมดสิ้นซึ่งกิเลส จึงเรียกขันธ์ ของพระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่ว่า วิสุทธิขันธ์.

    ถ้าคุณปล่อยรู้จำได้ในหมวดสุดท้ายของ สติปัฏฐาน 4 ของทุกหมวด จะลงท้ายด้วย

    มี กาย(เวทนา,จิต,ธรรม) สักแต่รู้สักแต่ระลึกสักแต่อาศัย ไม่ยึดมั่นใดๆ ในโลก ไม่มีตัณหาและทิฏฐิ ....

     ไม่ใช่หมดซึ่งขันธ์แล้วนะครับ เพราะยักต้องสักแต่รู้สักแต่ระลึกสักแต่อาศัย ที่ไม่มีแล้วคือ ตัณหาและทิฏฐิ

   เพราะคุณปล่อยรู้ไปพิจารณา แต่เฉพาะ ปฏิจสมุปบาท เพียงอย่างเดียว จึงมีความเห็นไปว่า พระอรหันต์ ต้องไม่มี สังขาร วิญญาณ เวทนา เพราะดับหมดแล้ว ตามปฏิจสมุทปบาทฝ่ายดับ.

     ก็เป็นความจริงตามที่เข้าใจนั้น สังขาร วิญญาณา เวทนา ที่มีอวิชชาเป็นปัจจัย นั้นดับไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว ไม่ทุกข์อีกแล้ว.


     แต่ขันธ์อันเป็น วิสุทธิขันธ์  ที่ดำรงอยู่ได้ด้วย อายุ อาหาร ไออุ่น ถึงแม้ไม่มีอวิชชาแล้ว ก็ยังดำรงอยู่ได้เพราะเหตุปัจจัยนั้นยังรักษาอยู่ มีความบริสุทธ์ ซึ่งปราศจากกิเลสทั้งมวล ในจิตหรือวิสุทธิขันธ์นั้น


       พระอรหันต์ไม่ใช่พอบรรลุแล้วมีชีวิตดำรงอยู่ ท่านจะไม่รับรู้อะไรทั้งหมด ปฏิเสธทุกอย่างที่เป็นรูปนามไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอก แล้วไม่เอาอะไรอีกเลย นะครับ.
        แต่ถ้าเป็นอรหันต์ประเภทที่บรรลุปับหมดสิ้นอายุเลยทันที่ รูปนามที่เป็นวิสุทธิขันธ์ก็หมดกันไป หามีสิ่งใดจะไปคุยจะไปสนทนากันได้อีก คงไม่มีเทพเทวดาองค์ใดบันดาลที่จะไปปรากฏให้เห็นให้รับรู้กับท่านได้อีกแล้ว.

      คุณปล่อยรู้ควรจะพิจารณาทำความเข้าใจนะครับ.
         

ตอบโดย: Vicha 30 ก.ย. 52 - 15:47


มากันหลายสำนักหลายอาจารย์ ธรรมะเลยตีกันน่าดู

เห็นแล้วเหนื่อยแทน  

ตอบโดย: 555 30 ก.ย. 52 - 15:48


สวัสดีครับคุณ ทองพร พันธุ์สุขวัฒนพันธ์

   ทุกข์ กับ ดับทุกข์

     ทุกข์ที่ดับได้นั้น  ต้องดับที่ เหตุแห่งทุกข์ ครับ.

     อย่างที่ ดับทุกข์ ที่คุณ ทองพร เสนอนั้น น่าจะเป็นการ ข่มทุกข์หรือเพ่งด้วยสมาธิให้ทุกข์นั้นดับ ไว้เท่านั้นครับ

ตอบโดย: Vicha 30 ก.ย. 52 - 15:58


อ้างอิง (Vicha @ 30 ก.ย. 52 - 14:56)
          สา. เวทนา สัญญา และวิญญาณ ธรรม ๓ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกันผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้ เพราะเวทนารู้สิ่งใด สัญญาก็จำสิ่งนั้นสัญญาจำสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น ฉะนั้น ธรรม ๓ ประการนี้ จึงปะปนกัน ไม่แยกจากกันผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้.

     

สวัสดีครับพี่วิชา

กราบขอบคุณพี่วิชา ถึงสิ่งที่นำมาเสนอให้ผมพิจารณานั้น ครับ

ผมก็เห็นด้วยตามนั้นครับ
และผมมีความเข้าใจว่า

ท่านสารีบุตรนั้น
ท่านคงไม่ยึดมั่นถือมั่น ในปัญญา ในวิญญาณ ในเวทนา ในสัญญา
อย่างใดอย่างหนึ่งว่าเป็นตัวตนของท่านแต่อย่างใดทั้งสิ้นหรอกนะ ครับ

แต่ท่านก็คงได้ใช้อาศัย องค์ธรรมเหล่านั้น
ไปตามเหตุตามปัจจัย นั้นๆ ด้วยความมีสติคอยกำกับต่อเนื่องไปด้วยตลอด

ความทุกข์ที่จะเกิดขึ้นจาก ปัญญา วิญญาณ สัญญา เวทนา
สำหรับท่านนั้น คงไม่มีอีกต่อไปแล้ว

ปัญญา  วิญญาณ สัญญา เวทนา ยังคงเกิดแล้วก็ดับไปตามเหตุตามปัจจัยของมัน
แต่ไม่มีผลอันใดต่อท่านสารีบุตรอีกต่อไปแล้ว


 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 30 ก.ย. 52 - 16:04


สวัสดีครับ คุณ 555.

   ธรรมของพระพุทธเจ้า เมื่อสืบส่วนด้วยใจเป็นธรรม พิจารณาไม่ยึดมั่นถือมั่นในทิฏฐิของตนจนเกินไป ก็จะไปในทิศทางเดียวกันได้ครับ.

    ยกเว้นไม่พิจารณาธรรมที่มีอยู่ในรูปพุทธพจน์ ในพระไตรปิฏก เอาทิฏฐิเป็นที่ตั้ง ก็ย่อมไม่เป็นไปตามธรรม ขัดแย้งกันเป็นที่สุด.
  

ตอบโดย: Vicha 30 ก.ย. 52 - 16:05


  [QUOTE]ทุกข์ที่ดับได้นั้น  ต้องดับที่ เหตุแห่งทุกข์ ครับ.

   ดังกล่าว  ดิฉันต้อง เริ่ม ตรงไหนดี  ตามดูทุกข์ ทุกข์ก็หายไป  ตามดูสุขๆก็หายไป
กลายเป็นความว่างๆ ตามดูว่าอะไรจะเกิดอีก ...แต่ก็มีความอยาก ปลีกวิเวก ในที่ๆสงบๆ
 อาจเป็นเพราะเริ่มมีความเบื่อหน่ายหรือปล่าว  แต่ถ้าหากได้สนทนาธรรม  ฟังเทปธรรม มีความรู้สึก  สุขใจ  เบา  ซาบซ่า แม้จะอยู่คนเดียวหรืออยูในสังคม

ตอบโดย: ทองพร พันธุ์สุขวัฒนพันธ์ 30 ก.ย. 52 - 16:11


สวัสดีครับ คุณ ทองพร พันธุ์สุขวัฒนพันธ์ อีกครั้งนะครับ.

     จากคำถาม อ้างอิง
เราจะแก้ไขอย่างไร


       เท่าที่ผมพิจารณาได้ตอนนี้   การที่จะดับเหตุแห่งทุกข์จริงๆ นั้น ต้องใช้ พละ 5 ครับ ในการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 เป็นวิปัสสนากรรมฐานครับ.

      พละ 5 ได้ แก่ สติ สมาธิ ปัญญา ศรัทธา และความเพียร.

      ที่คุณ ทองพร พันธุ์สุขวัฒนพันธ์ ปรากฏหลังจากที่บอกว่า เพ่งดับทุกข์ไปแล้วนั้น แต่มีการซึ่ม ไม่สดใส  ก็คือการขาด สติกับปัญญา กำกับหรือเจริญมาหลังจากนั้นครับ

     รองไปศึกษา คำว่า  สติ ต้องพัฒณา  ปัญญา ต้องเจริญ นะครับ ถ้าเข้าใจและปฏิบัติได้ก็จะเป็นการดีกับการปฏิบัติต่อไปๆ ครับ
 

ตอบโดย: Vicha 30 ก.ย. 52 - 16:20


พละ 5 ได้ แก่ สติ สมาธิ ปัญญา ศรัทธา และความเพียร.
                    สติ ต้องพัฒณา  ปัญญา ต้องเจริญ

            
                   " เจริญ มาตามพละ 5 ค่ะ ศัทธา ก็เจริญ แต่ยังมีอาการเนือยๆ
               
                    เข้าใจแล้วค่ะ  ดิฉันต้องเพิ่มความเพียร
             
                ขออนุโมนาบุญและขอบพระคุณเป็นอย่างสูงคะ

ตอบโดย: ทองพร พันธุ์สุขวัฒนพันธ์ 30 ก.ย. 52 - 16:28


   ดีครับ ถ้าเข้าใจพละ 5 และสามารถปรับ หรือรู้จัก กำลังแห่งตน การปฏิบัติกรรมฐานก็อยู่ใน 5 อย่างนี้และครับ ลองปฏิบัติด้วย  ความเพียร ดูนะครับ.
    
    แต่ถ้า เบลอหรือเฉยไปหมด และเคร่งเครียด เกินไปเมื่อไหร ก็ให้รู้ว่า ความตั้งใจเพียร  มากเกินไปนะครับ คอยๆ ปรับกันไปนะครับ
 

ตอบโดย: Vicha 30 ก.ย. 52 - 16:38


อนุโมทนากับคุณทองพรด้วยนะครับ
ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปครับ

ตอบโดย: ณวบุตร 30 ก.ย. 52 - 16:48


กราบขอบคุณครับพี่วิชา ที่ชี้แนะเพิ่มเติมขยายอธิบายธรรมเพิ่ม

ผมเองก็เข้าใจเหมือนพี่วิชา เช่นเดียวกันครับ
ว่า เมื่ออวิชชาถูกทำลาย
สังขาร วิญญาณ นามรูป เวทนา สัญญา
ย่อมไม่เป็นที่ยึดมั่นถือมั่นอีกต่อไป
ความทุกข์อันมีสาเหตุมาจากการยึดมั่นถื่อมั่นในขันธ์๕ ก็เป็นอันสิ้นสุดลง
เมื่อได้รู้ความจริงในขันธ์ จนหมดสิ้นความสงสัยใดๆในขันธ์อีกต่อไป


ความเป็นอยู่แห่งร่างกายอันมีวิญญาณครองนี้ ก็เป็นไปตามปกติ
ตามเหตุตามปัจจัย
ความทุกข์ทางกาย ก็มีอยู่ตามปกติ แต่ไม่อาจนำไปสู่ความทุกข์ทางใจใดๆได้แล้ว

ตรงนี้ผมว่า พี่วิชากับผม เข้าใจตรงกัน นะครับ


ส่วนความเห็นที่ผมยังไม่อาจเข้าใจถึงสิ่งที่พี่วิชากำลังอธิบายนั้น
ก็ตรงส่วนที่ ผมยังไม่เข้าใจว่า
การสื่อสารกับสิ่งที่เรียกว่าเทพนั้น ใช้ธรรมอะไรสื่อสาร ?
แล้ว เทพที่มาสื่อสารนั้น ใช้อะไรสื่อสาร ?

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า สิ่งนั้นคือเทพ สิ่งนั้นคือเทวดา  คือเปรตอสูรกาย

รูป    เราใช้จักษุวิญญาณในการรับรู้ การมีอยู่ของรูป
เสียง เราใช้โสตวิญญาณในการรับรู้ การมีอยู่ของเสียง
กลิ่น  เราใช้ฆานะวิญญาณในการรับรู้ การมีอยู่ของกลิ่น
รส    เราใช้ชิวหาวิญญาณในการรับรู้ การมีอยู่ของรส
โผฏฐัพพะ  เราใช้กายวิญญาณในการรับรู้ การมีอยู่ของโผฏฐัพพะ
ธรรมารมณ์ เราใช้มโนวิญญาณในการรับรู้ การมีอยู่ของธรรมมารณ์

ส่วนสิ่งที่เรียกว่าเทพนั้น เราใช่อะไรในการรับรู้ในการมีอยู่ของสิ่งที่เรียกว่าเทพ ครับ



สิ่งที่ผมกำลังเข้าใจอยู่ก็คือว่า
การสื่อสาร การรับรู้ ถึงสิ่งต่างๆที่มิได้ถูกรับรู้โดย จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ
ชิวหาวิญญาณ ฆานะวิญญาณ กายะวิญญาณ
สิ่งนั้นน่าจะหมายถึงธรรมารมณ์ คือความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่ง นั่นเองครับ

สิ่งที่พี่วิชากำลังอธิบายให้เข้าใจว่าเป็นเทพอะไรนั้น
ผมมองว่า มันเป็นเพียงธรรมารมณ์ อย่างหนึ่งเท่านั้นเอง
หาใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนแต่อย่างไรเลย ครับ
หาความแน่นอนอะไรไม่ได้เลย ครับ
หาได้มีความสลักสำคัญอะไรเลย ครับ

ถ้าจะเป็นขันธ์ ก็เป็นเพียงสักแต่ว่าขันธ์
ถ้าจะเป็นธาตุ ก็เป็นเพียงสักแต่ว่าธาตุ
ไม่มีอะไรเป็นที่น่าพิศวงแต่อย่างใดเลย ครับ
และก็ไม่มีอะไรๆที่จะมาบันดาล บันดล อะไรๆให้กับผู้ที่สละคืน ปล่อยวาง แล้วซึ่ง
รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมมารมณ์ใดๆทั้งหลายทั้งปวง


ตรงนี้หรอกกระมังครับ ที่ผมและพี่วิชา ยังมองกันต่างมุมอยู่
ผมเข้าใจว่า เป็นสักแต่ว่า สังขาร เป็นสักแต่ว่าธรรมารมณ์
แต่พี่วิชาเข้าใจว่า เป็นเทพเป็นเทว อยู่

แต่ผมเข้าว่า ในที่สุดแล้ว
ทั้งในความเข้าใจว่าเป็นเทพ
ทั้งในความเข้าใจว่า เป็นสังขารอย่างหนึ่ง
ต่างก็เป็นสิ่งที่ไม่สมควรยึดมั่นถือมั่นแต่ประการใดๆทั้งสิ้น

เมื่อไม่ยึดมั่นถือมั่น ทุกข์ก็ไม่อาจบังเกิดมีขึ้นได้
ทุกอย่างก็กลับคือสู่ความเป็นปกติ โดยความไม่ยึดมั่นถือมั่น

ยึดมั่นถือมั่นว่า ต้องเป็นสังขารเป็นเพียงธรรมารมณ์จริงแท้แน่นอน ก็ไม่สมควร
ยึดมั่นถือมั่นว่า ต้องเป็นเทพจริงแท้แน่นอน ก็ไม่สมควร...











 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 30 ก.ย. 52 - 19:42


สวัสดีครับทุกท่าน

   ผมมาขอแก้ ที่ผมพิมพ์ไว้ผิดพลาดในความคิดเห็นที่ 218 ก่อนนะครับ จากข้อความที่ว่า

//////////////////////////////
     รองไปศึกษา คำว่า  สติ ต้องพัฒณา  ปัญญา ต้องเจริญ นะครับ ถ้าเข้าใจและปฏิบัติได้ก็จะเป็นการดีกับการปฏิบัติต่อไปๆ ครับ
//////////////////////////////

   ตรงที่ระบายสีนั้น ผมได้พิมพ์สือความหมายคลาดเคลื่อนกลับกันครับ. ควรแก้เป็นดังนี้.

     สติ ต้องเจริญ

     ปัญญา ต้องพัฒนา

    เหตุใด สติ ต้องเจริญ เพราะ ต้องกำหนดปฏิบัติอยู่เนืองๆ ให้สติเจริญ สืบต่อเนื่องเป็นปัจจุบันขณะอยู่เนืองๆ

    เหตุใด  ปัญญา ต้องพัฒนา เพราะปัญญานั้นต้องพัฒนาไปตามลำดับ  เช่น พัฒนาจาก สุตมยปัญญา ไปสู่จินตมยปัญญา แล้วพัฒนาไปสู่ภวนามยปัญญา  แม้แต่ในวิปัสสนากรรมฐาน ปัญญาก็จะพัฒนาไปตามลำดับญาณแต่ละญาณ จนถึงสูงสุด.

   

ตอบโดย: Vicha 01 ต.ค. 52 - 09:21


สวัสดีครับคุณปล่อยรู้

    การติดต่อหรือการเห็นหรือการสัมผัสทางจิต กับเทพเทวดา ถ้าผมสนทนาโดยไม่มีหลักฐาน ก็จะเสมือนเป็นเรื่องที่เกินไป และเพ้อเจ้อได้ ดังนั้นจึงต้องมีข้อมูลจากพระไตรปิฏก ที่เป็นพุทธพจน์ของพระพุทธเจ้า
    ซึ่ง คัดลอกมาจาก กระทู้ 13225 สมาธิเฉพาะส่วน เพื่อสัมผัสกับความเป็นทิพย์ ที่ผมได้ตั้งกระทู้ไว้ เมื่อปี 2547 (แต่ข้อมูลส่วนนี้นั้นได้หายไป) ผมจึงยกส่วนที่สำคัญกับคำถามหรือแก้ข้อสงสัยของคุณปล่อยรู้ดังนี้

////////////////////////////////////////////////
    จากพระสูตร

         [๒๔๓] ฝ่ายเจ้าโอฏฐัทธลิจฉวีพร้อมด้วยบริษัทลิจฉวีหมู่ใหญ่ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้ว
จึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันก่อนๆ สุนักขัตตลิจฉวีบุตรเข้าไปหา
ข้าพระองค์แล้วบอกว่า มหาลี ตลอดเวลาที่ข้าพเจ้าอาศัยพระผู้มีพระภาคอยู่ไม่ทันถึง ๓ ปี
ข้าพเจ้าก็ได้เห็นรูปทิพย์อันน่ารักประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด แต่มิได้ยินเสียง
ทิพย์ อันไพเราะประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เสียงทิพย์
อันไพเราะประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ที่สุนักขัตตลิจฉวีบุตรไม่ได้ยินนั้น
มีอยู่หรือไม่. พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า มี มหาลี มิใช่ไม่มี. เจ้าโอฏฐัทธลิจฉวีทูลถามว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเล่าเป็นเหตุ เป็นปัจจัยที่มิให้สุนักขัตตลิจฉวีบุตรได้ยินเสียงทิพย์
อันไพเราะ ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ที่มีอยู่ มิใช่ว่าไม่มีนั้น.
                                   สมาธิที่บำเพ็ญเฉพาะส่วน
          [๒๔๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสมาธิเฉพาะส่วน
เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันออก
แต่มิได้เจริญเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
เพราะเธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่ง
ความกำหนัด ในทิศตะวันออก แต่มิได้เจริญเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เธอจึงเห็นแต่รูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่ง
ความกำหนัด ในทิศตะวันออก มิได้ฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่ง
ความกำหนัด ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูกรมหาลี ทั้งนี้ เพราะภิกษุนั้นเจริญสมาธิเฉพาะส่วน
เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันออก
แต่มิได้เจริญเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.
          [๒๔๕] ดูกรมหาลี ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์
อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศใต้ แต่มิได้เจริญเพื่อฟังเสียงทิพย์
อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะเธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วน
เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศใต้ แต่มิได้เจริญ
เพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เธอจึงเห็นแต่รูปทิพย์
อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศใต้ มิได้ฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูกรมหาลี ข้อนั้นเป็นเพราะ
เธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ
กำหนัด ในทิศใต้ แต่มิได้เจริญเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่ง
ความกำหนัด.
          ภิกษุเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่ง
ความกำหนัด ในทิศตะวันตก แต่มิได้เจริญเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะเธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบ
ด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันตก แต่มิได้เจริญเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เธอจึงเห็นแต่รูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันตก มิได้ฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ดูกรมหาลี ข้อนั้นเป็นเพราะเธอเจริญสมาธิ
เฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ในทิศตะวันตก แต่มิได้เจริญเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ
กำหนัด.
          ภิกษุเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้ง
แห่งความกำหนัด ในทิศเหนือ แต่มิได้เจริญเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะเธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบ
ด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเหนือ แต่มิได้เจริญเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เธอจึงเห็นแต่รูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเหนือ มิได้ฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ดูกรมหาลี ข้อนั้นเป็นเพราะเธอเจริญสมาธิ
เฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเหนือ
แต่มิได้เจริญเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.
          ภิกษุผู้เจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้ง
แห่งความกำหนัดในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และทิศเบื้องขวาง แต่มิได้เจริญเพื่อฟังเสียงทิพย์
อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะเธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วน
เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเบื้องบน
ทิศเบื้องต่ำ และทิศเบื้องขวาง แต่มิได้เจริญเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เธอจึงเห็นแต่รูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่ง
ความกำหนัด ในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และทิศเบื้องขวาง มิได้ฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุไร ดูกรมหาลี ข้อนั้น
เป็นเพราะเธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้ง
แห่งความกำหนัด ในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และทิศเบื้องขวาง แต่มิได้เจริญเพื่อฟังเสียงทิพย์
อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.
          [๒๔๖] ดูกรมหาลี ภิกษุเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันออก แต่มิได้เจริญเพื่อเห็นรูปทิพย์
อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะเธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วน
เพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันออก
แต่มิได้เจริญเพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เธอจึง
ฟังแต่เสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันออก
มิได้เห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร
ดูกรมหาลี ข้อนั้นเป็นเพราะเธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบ
ด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันออก มิได้เจริญเพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.
          [๒๔๗] ดูกรมหาลี ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อฟังเสียงทิพย์
อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศใต้ แต่มิได้เจริญเพื่อเห็น
รูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะเธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วน
เพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศใต้ แต่มิได้
เจริญเพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เธอจึงฟังแต่
เสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศใต้ มิได้เห็นรูปทิพย์
อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ดูกรมหาลี
ข้อนั้นเป็นเพราะเธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศใต้ มิได้เจริญเพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.
          ภิกษุเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อฟังเสียงอันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้ง
แห่งความกำหนัด ในทิศตะวันตก แต่มิได้เจริญเพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะเธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันตก มิได้เจริญเพื่อเห็นรูปทิพย์
อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เธอจึงฟังแต่เสียงทิพย์อันไพเราะ
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันตก มิได้เห็นรูปทิพย์อันน่ารัก
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ดูกรมหาลี ข้อนั้น
เป็นเพราะเธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วนเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้ง
แห่งความกำหนัด ในทิศตะวันตก มิได้เจริญเพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.
          ภิกษุเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้ง
แห่งความกำหนัด ในทิศเหนือ แต่มิได้เจริญเพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะเธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเหนือ มิได้เจริญเพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เธอจึงฟังแต่เสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเหนือ มิได้เห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้ง
แห่งความกำหนัด ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ดูกรมหาลี ข้อนั้นเป็นเพราะเธอเจริญสมาธิเฉพาะ
ส่วน เพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเหนือ
มิได้เจริญเพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.
          ภิกษุเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้ง
แห่งความกำหนัด ในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และทิศเบื้องขวาง แต่มิได้เจริญเพื่อเห็นรูปทิพย์
อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะเธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วน
เพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเบื้องบน
ทิศเบื้องต่ำ และทิศเบื้องขวาง แต่มิได้เจริญเพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เธอจึงฟังแต่เสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่ง
ความกำหนัด ในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และทิศเบื้องขวาง มิได้เห็นรูปทิพย์อันน่ารัก
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ดูกรมหาลี ข้อนั้น
เป็นเพราะเธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้ง
แห่งความกำหนัด ในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และทิศเบื้องขวาง มิได้เจริญเพื่อเห็นรูปทิพย์
อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.
                                การเห็นรูปทิพย์ การฟังเสียงทิพย์
          [๒๔๘] ดูกรมหาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสมาธิโดยส่วนสองเพื่อเห็นรูปทิพย์
อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ในทิศตะวันออก เพราะเธอเจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และเพื่อ
ฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันออก
เธอจึงเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ
กำหนัด ในทิศตะวันออก ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ดูกรมหาลี ข้อนั้นเป็นเพราะเธอเจริญสมาธิ
โดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันออก.
          [๒๔๙] ดูกรมหาลี ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์
อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ในทิศใต้ เพราะเธอเจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์
อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศใต้ เธอจึงเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก
และฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศใต้ ข้อนั้น
เป็นเพราะเหตุไร ดูกรมหาลี ข้อนั้นเป็นเพราะเธอเจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์
อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ในทิศใต้.
          ภิกษุเจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันตก เพราะเธอเจริญสมาธิโดยส่วนสอง
เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่ง
ความกำหนัด ในทิศตะวันตก เธอจึงเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันตก ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร
ดูกรมหาลี ข้อนั้นเป็นเพราะเธอเจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และเพื่อ
ฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันตก.
          ภิกษุเจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเหนือ เพราะเธอเจริญสมาธิโดยส่วนสอง
เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่ง
ความกำหนัด ในทิศเหนือ เธอจึงเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบ
ด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเหนือ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ดูกรมหาลี ข้อนั้น
เป็นเพราะเธอเจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์
อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเหนือ.
          ภิกษุเจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และทิศเบื้องขวาง
เพราะเธอเจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และทิศเบื้องขวาง
เธอจึงเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ
กำหนัด ในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และทิศเบื้องขวาง ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูกรมหาลี
ข้อนั้นเป็นเพราะเธอเจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และฟังเสียงทิพย์
อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และ
ทิศเบื้องขวาง ดูกรมหาลี เหตุปัจจัยนี้แหละ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย สุนักขัตตลิจฉวีบุตรจึง
มิได้ยินเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดที่มีอยู่ มิใช่ไม่มี.


**** สรุปตามความเข้าใจของ ผม ดังนี้
           การฝึกสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อให้ได้ยินเสียงเป็นทิพย์ อย่างเดียวก็มีอยู่ ดังนั้นบางท่านที่ฝึกสมาธิแล้วเกิดได้ยินเสียงทิพย์อย่างเดียวก็ย่อมมี
           การฝึกสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อได้เห็นรูปอันเป็นทิพย์ อย่างเดียวก็มีอยู่ ดังนั้นบางท่านที่ฝึกสมาธิแล้วเกิดได้เห็นรูปทีพย์อย่งเดียวก็ย่อมมี
           การฝึกสมาธิเฉพาะสองส่วน เพื่อได้ยินเสียงทิพย์และเห็นรูปอันเป็นทิพย์ ก็มีอยู่ ดังนั้นบางท่านที่ฝึกสมาธิแล้วเกิดได้ยินเสียงทิพย์และเห็นรูปอันเป็นทิพย์ก็ย่อมมี

          แต่การเห็นรูปทิพย์ และได้ยินเสียงทิพย์นั้น แต่ละท่านก็มีคุณภาพต่างๆ ตามฐานะบารมีและความชำนาญ  ผมจะยกข้อความบางส่วนเท่าที่จำได้จากพระไตรปิฎกชี้แจงให้เห็นดังนี้
          ในคราวที่พระพุทธเจ้า และ พระอรหันต์ 500 รูป อยู่ในป่ามหาวัน เหล่าเทวดาทั้ง 10 โลกธาตุมีความประสงค์จะทัศนา ดูพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้ง 500 รูป  พระพุทธเจ้าจึงตรัสบอกกับพระอรหันต์ทั้ง 500 รูป ว่าเทวดา 10 โลกธาตุกำลังจะมาดู  ให้พระอรหันต์ ดำรงจิตเพื่อจะเห็นเทวดาเหล่านั้น พระอรหันต์บางรูป เห็นเทวดาเพียงไม่กี่องค์ บางรูปเห็นเป็นร้อยองค์ บางรูปเห็นเป็นพันเป็นหมื่น บางรูปเห็นโดยตลอด แต่ก็มีพระอรหันต์หลายรูปที่ไม่เห็นเทวดาเลย
 
    เมื่อกล่าวถึงปุถุชน ผู้ได้สมาธิเฉพาะส่วนแล้ว(อุปจารสมาธิ หรือ ฌาน)  บางท่านได้ยินเสียงทิพย์ บางท่านได้เห็นรูปทิพย์ ไม่ใช่ว่าจะเป็นผู้ที่หนักแน่นในธรรม หรือมีคุณธรรมที่ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะ สุนักขัตตลิจฉวีบุตร แม้ได้สมาธิเฉพาะส่วนได้เห็นรูปทิพย์ ก็กลับเป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิได้ ในภายหลัง เพราะมีใจประสงค์ที่จะให้พระพุทธเจ้าแสดงฤทธิ์ให้ตนเองเห็นต่อหน้า ทั้งที่พระพุทธเจ้าแสดงฤทธิ์ให้ปรากฏแล้ว หลายครั้ง ก็ยังไม่จุใจยังคลางแครงใจ ในฤทธิ์ของพระพุทธเจ้า แถมยังคลางแครงใจในการเป็นพระอรหันต์ ที่มีเฉพาะในพุทธศาสนาเท่านั้น จึงโดนพระพุทธเจ้าตรัสตำหนิในภายหลัง  สุนักขัตตลิจฉวีบุตร ก็เกิดอาการไม่พอใจ และเพ่งโทษกับพระพุทธเจ้า ในภายหลังก็สึกออกไป แล้วไปปฏิบัติพรตแบบสุนัขในลัทธินอกพุทธศาสนา
     อย่าว่าเพียงแค่ผู้ที่ได้สมาธิเฉพาะส่วนเลย แม้แต่ผู้ที่ได้อภิญญา 5 อย่างพระเทวทัต ก็ยังหลงผิดได้เลย

       เอาละครับคงเข้าใจในการรู้หรือเห็นความเป็นทิพย์ที่ต่างๆ กัน ตามบารมีที่สร้างสมกันแล้ว
      ต่อไปผมจะเอาข้อมูลที่เทียบเคียงข้างบนนี้มาอธิบายถึงความเป็นทิพย์อย่างหนึ่งคือ การรู้ใจผู้อื่นด้วยใจตนเอง ซึ่งก็เป็นการฝึกสมาธิเฉพาะส่วน อีกอย่างหนึ่ง  ดังนั้น บางท่านที่ฝึกสมาธิแล้วเกิดไปรู้ใจผู้อื่น หรือติดต่อกับผู้ที่เป็นทิพย์ทางใจได้ก็ย่อมมี

/////////////////////////////////////////////////

     ข้อความที่ระบายเป็นสีม่วง นั้นเป็นการอธิบายเพิ่มเติมของผมในกระทู้นี้ ปี 2547

      คุณปล่อยรู้ อ่านและพิจารณาดูนะครับ และเป็นข้อมูลที่มาในพระไตรปิฏก ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เสียด้วย.  ยังมีเรื่องอภิญญา 5 แต่คงไม่ต้องยกมา เพราะจะมากเกินไป.
  

ตอบโดย: Vicha 01 ต.ค. 52 - 09:49


สวัสดีครับพี่ Vicha ขอสนทนาถามต่อนะครับ   ยังอยู่ในเรื่องหลับ ๆ ตื่น ๆ ฝัน ๆ เช่นเคยครับ

-------------------------------------------------------
นอนหลับลืมสติ มีโทษ ๕ ประการ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่นอนหลับ ลืมสติ ไม่รู้สึกตัว มีโทษ ๕ ประการ นี้คือ หลับเป็นทุกข์ ๑ ตื่นเป็นทุกข์ ๑ เห็นความฝันอันลามก ๑ เทพดาไม่รักษา ๑ อสุจิเคลื่อน ๑ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่นอนหลับ ลืมสติ ไม่รู้สึกตัว มีโทษ ๕ ประการนี้แล.

นอนหลับคุมสติ มีคุณ ๕ ประการ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่นอนหลับ มีสติตั้งมั่น รู้สึกตัวอยู่ มีคุณ ๕ ประการนี้ คือหลับเป็นสุข ๑ ตื่นเป็นสุข ๑ ไม่เห็นความฝันอันลามก ๑ เทพดารักษา ๑ อสุจิไม่เคลื่อน ๑ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่นอนหลับ มีสติตั้งมั่น รู้สึกตัว มีคุณ ๕ ประการ นี้แล.

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=5&A=4134&w=ฝัน
---------------------------------------------------------

ผมงงตรงที่ทำตัวทึบไว้น่ะครับ   เมื่อเราหลับยังไง สติก็ต้องขาดไป  เมื่อสติคือการรู้กายรู้ใจ  ในขณะหลับ เราคงไม่มีการรู้กายรู้ใจหรอกครับ  ผมจึงงงว่า เมื่อหลับแล้วสติจะตั้งมั่นได้อย่างไร


ผมอยากหลับอย่างมีสติตั้งมั่น รู้สึกตัวอยู่บ้างจังเลยครับ


คำถามย่อย ๆ อีก 1 คำถามครับ

ในตัวหนานั้น มีคำว่าตั้งมั่นอยู่ด้วย  ตรงนี้มีสมาธิเข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่ครับ  เพราะสติเป็นส่วนหนึ่งของสมาธิ  เป็นไปได้หรือไม่ที่มีสมาธิมาเกี่ยวข้องครับ  (แต่ในตอนหลับคงเป็นไปไม่ได้ที่จิตจะมีเอกคัตตา เอ.. หรือเป็นไปได้ครับ งง ๆ มึน ๆ ครับ )


ขอบคุณพี่ Vicha ล่วงหน้าครับ




 

ตอบโดย: น้องบู 02 ต.ค. 52 - 11:20


สวัสดีครับ น้องบู.

         ผมก็มีความเครือบแครงสงสัยตรงนี้อยู่เหมือนกับครับ.  เพราะสภาวะนั้นไม่เคยเป็นตามตัวหนังสือครับ

          เป็นแต่มีสติเป็นปัจจุบันตลอด เมื่อหลับพักผ่อนก็จะทิ้งไปเอง(ไม่ฝัน) พอรู้สึกขึ้นสติก็ทันเป็นปัจจุบันพร้อมที่รู้สึกตัว จนรู้ทั่วร่างที่ตื่นเต็มที่แล้ว.

           มีเมื่อสมัยเด็กในวันใกล้สอบ ในคืนก่อนสอบทั้งที่อ่านมาพร้อมแล้วไม่ต้องแตะอีกเลย แต่นอนไม่หลับมันตื่นต้นตื่นตัว พลิกแล้วพลิกอีกทุกข์น่าดูเลยครับ กว่าจะได้หลับเพราะร่างกายไม่ใหวแล้วก็ตี 3 โน้น
           
            จึงไม่เคยเป็นมีที่มีสติรู้ตัวอยู่อย่างสงบตลอดทั้งคืน

            มีที่เคยเป็นแบบกำหนดกรรมฐานมากๆ ไม่ปล่อยให้เผลอทิ้งอารมณ์ยกสติและความรู้สึกขึ้นมาไปเรื่อยๆ  แต่มีการอาการเบลอบ้างๆ เป็นช่วง เช้าขึ้นมาเหมือนไม่ได้นอน ร่างกายก็ไม่สดชื่น ในช่วงกล่างวันกำหนดกรรมฐานก็แทบไม่ไหว ความง่วงหาวหาวนอนปรากฏมากเกินไป.

          แต่สำหรับการหลับแบบกำหนดจนทิ้งไป แล้วรู้สึกขึ้นมาทันที เสมือนสติหายไปเพียงช่วงวูบเดียวเท่านั้น เหมือนรู้สึกตัวตลอด ดังนี้.

อ้างอิง
         เป็นแต่มีสติเป็นปัจจุบันตลอด เมื่อหลับผักผ่อนก็จะทิ้งไปเอง(ไม่ฝัน) พอรู้สึกขึ้นสติก็ทันเป็นปัจจุบันพร้อมที่รู้สึกตัว จนรู้ทั่วร่างที่ตื่นเต็มที่แล้ว.


           ซึ่งช่วงที่ทิ้งไปและรู้สึกขึ้นนั้น เป็นช่วงสั้นรู้สึกเหมือนเพียงนิดเดียวเท่านั้น แต่เวลานั้นหายไปทั้ง 4 ชั่วโมงเชียว ตื่นขึ้นมาก็สดชื่นดี.

            ถ้าเป็นอย่างที่อ้างอิง หมายถึง นอนหลับ มีสติตั้งมั่น รู้สึกตัวอยู่ ก็จะใช่เพราะเหมือนกับสติทิ้งไปเพียงวูบเดียวเองแล้วมีสติรู้สึกตัวต่อเลย (แต่วูบเดียวนั้นหายไป 4 ชัวโมงเชียว)

ตอบโดย: Vicha 02 ต.ค. 52 - 12:19


อ้างอิง (Vicha @ 02 ต.ค. 52 - 12:19)
ก็จะใช่เพราะเหมือนกับสติทิ้งไปเพียงวูบเดียวเองแล้วมีสติรู้สึกตัวต่อเลย (แต่วูบเดียวนั้นหายไป 4 ชัวโมงเชียว)

พี่ Vicha ครับ อาการแบบนี้ ผมก็เคยเป็นครับ และเป็นต่อเนื่องอยู่ในบางช่วงของชีวิตครับ


ช่วงหนึ่งคือ ในวัยเด็ก อายุ 18 ทำงานเป็นการด์สวนน้ำ ทำงานตั้งแต่ 7 โมงเช้า ถึง 5 โมงเย็น  ว่ายน้ำต่อเนื่องอีก 1 ชม.  นั่งรถเมล์ 2 ต่อ กว่าจะกลับบ้านก็ 4 ทุ่ม   ทำไม่มีวันหยุด(จริง ๆแล้ววันหยุดมี แต่อยากได้เงินพิเศษ)

ในช่วงที่ทำอยู่ที่นั้นเป็นระยะเวลา 3 เดือนโดยประมาณ  ช่วงนั้นลืมไปเลยครับ ว่าการนอนหลับนั้นมีฝันด้วย    เมื่อหัวถึงหมอน ลืมตาก็เช้าเลย  ไม่มีงัวเงียครับ ตื่นตัวแจ่มใส ลุกขึ้นจากเตียงโดยฉับพลัน  ไปทำงานอย่างเช่นทุกวัน

การทำงานก็หนักมากครับ (แต่ผมมีความสุขดี) จากที่เป็นคนผอม ๆ ขี้ก้าง กลายเป็นมีกล้ามล่ำสันขึ้นมาเลยครับ


อีกช่วงหนึ่งของชีวิต คือ เมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว ผมทำงาน 2 ที่ครับ

ตอนกลางวันทำงานออฟฟิต ธรรมดา จ- ศ หยุด ส อา    8 โมงเช้า ถึง 5 โมงเย็น   ในวันธรรมดานั้น หลังจากเลิกงาน 5 โมงเย็น ผมก็ต้องขับมอเตอร์ไซค์  ไปเข้าอีกงานในตอน 6 โมงเย็น  จากนั้นก็ทำงานตั้งแต่ 6 โมงไปจนถึง ตี 2   บางวันก็ตี 3  กว่าจะขับมอไซค์ถึงบ้านก็ ตี 4 ครับ  (ระยะทางจากเยาวราช ถึงบางนาตราด)  เมื่อถึงบ้านจึงอาบน้ำแล้วนอนครับ   เมื่อถึง 7 โมงเช้าผมต้องตื่น(นอนไป 3 ชม.) เพื่อไปทำงานตอนตอน 8 โมงเช้าอีก

มีเพียงวันเสาร์เท่านั้นครับ ที่ผมจะนอนกลางวันและทำงานแต่ตอนกลางคืน  ส่วนวันอาทิตย์ หลับเป็นตายทั้งวันครับ



ทั้ง 2 ช่วงของชีวิตนี้  สิ่งที่สังเกตุได้คือ  การนอนนั้นไม่ปรากฏฝัน หรือมีบ้างแต่น้อยมากครับ


ซึ่งผมเดาเอาว่า เป็นเพราะร่างกายทำงานหนัก และร่างกายต้องการ ๆ นอนจริง ๆ  การหลับจึงสนิท ไม่ฝันอะไรเลย  ในช่วงนั้น สิ่งที่ทำให้ผมได้ข้อคิดในชีวิตก็คือ  ความสุขของคนที่ทำงานอย่างหนัก อย่างเหน็ดเหนื่อย  ไม่มีความสุขใดมากเท่าการพักผ่อนครับ

ในตอนนั้นเตียงนอนที่บ้านคือ สวรรค์ของผมเลยครับ


    

ตอบโดย: น้องบู 02 ต.ค. 52 - 12:53


สวัสดีค่ะ  คุณ Vicha  ดิฉันก็มีความสงสัยเรื่องฝันเหมือนกัน
 
[QUOTE]ถ้าเป็นอย่างที่อ้างอิง หมายถึง นอนหลับ มีสติตั้งมั่น รู้สึกตัวอยู่ ก็จะใช่เพราะเหมือนกับสติทิ้งไปเพียงวูบเดียวเองแล้วมีสติรู้สึกตัวต่อเลย (แต่วูบเดียวนั้นหายไป 4 ชัวโมงเชียว)

       
        ตอนนอนกำหนดลมหายใจ  หายไป(หลับ)โดยไม่รู้สึกตัว เพียงวูบเดียวก็สว่าง และบางครั้งมีความรู้สึกว่าไม่ได้นอนเลย  แต่ตื่นมาสดชื่นบ่อยๆ เป็น  นอนหลับ มีสติตั้งมั่น รู้สึกตัวอยู่ ใช่ใหมคะ
 
        แต่บางครั้งสติรู้ หลับๆ  ตื่นๆ ตั้งอยู่ในฝัน รู้ว่ากำลังมีโมหะ ตะโกนเสียงดังในฝัน เราก็ตื่นจากฝันทันที ลักษณะนี้เป็นโมหะครอบงำจิต เป็นกิเลส เป็นอกุศลใช่ใหมคะ  แต่ในความจริงจิตจะรู้ทันอารมณ์ ได้ค่อนข้างดี  และสภาวะแสดงออกจะเย็น

    ขออนุญาตที่ถาม....ไม่ค่อยมีความรู้เรื่องสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นเท่าไหร่

ตอบโดย: ทองพร พันธุ์สุขวัฒนพันธ์ 02 ต.ค. 52 - 13:16


สวัสดีครับ น้องบู และคุณทองพร พันธุ์สุขวัฒนพันธ์

     เป็นอันว่าผมยังไม่สามารถชี้ชัดได้ตามตัวหนังสือว่า  นอนหลับ มีสติตั้งมั่น รู้สึกตัวอยู่ ว่าควรเป็นอย่างไร.

     เพราะผมก็ได้ กำหนดกรรมฐาน ทั้ง 3 แบบมาแล้วคือ

    1.แบบมีสตินอนกำหนดกรรมฐานจนทิ้งหายไปแล้วรู้สึกตัวมีสติทันที เสมือนหายไปเพียงนิดเดียว มีความชดชื้น แต่สว่างแล้ว หายไป ถึง 4 ชั่วโมง ติดต่อกันหลายคืน
    2.แบบมีสติกำหนดกรรมฐานพยายามยกสติและความรู้สึกขึ้นไม่ให้หลับไม่ให้ทิ้งตลอดทั้งคืน เสมือนไม่ได้นอน เช้าก็ไม่ชดชื้น กลางวันก็ง่วงหาวหาวนอนตลอด
    3.แบบนั่งกรรมฐานมีสติกำหนดไปเรือยๆ จนนิ่งเงิยบไป บางครั้งความรู้สึกวูบไป พอคลายออกมา ดูนาฬีกา เอ้า.. ทำไม่เวลามันผ่านไปเร็วจัง หายไป 10 นาที่บ้าง ครึ่งชัวโมงบ้าง.
  
     ดังนั้น คำว่า  นอนหลับ มีสติตั้งมั่น รู้สึกตัวอยู่  เราจะเปรียบเทียบจากอะไรเป็นหลัก
      ถ้าเปรียบเทียบจากผู้กำหนดนอน เสมือนมีสติรู้สึกตัวตลอด อาจจะวูบหรือทิ้งไปเพียงนิดหน่อย  ก็เสมือนหลับเต็มที่แล้ว แต่เวลาก็ผ่านไปหลายชัวโมงแล้ว  ก็จะใช่ตามตัวหนังสือนั้น
      ถ้าเปรียบเทียบจากเวลาคือต้องมีสติรู้สึกตัวสงบอยู่และตื่นรู้อยู่ทุกเวลาเสมอตลอดทั้งคืน สภาวะนี้ไม่เคยเป็นครับ  มีแต่เคยฝืนพยายามแล้วหลายๆ ครั้งให้มีสติตลอดทั้งคืนแต่หาได้ชดชื่น แถมยังง่วงหาวนอนตลอดทั้งวัน .

 

ตอบโดย: Vicha 02 ต.ค. 52 - 13:59


ขอบคุณครับ พี่ Vicha

ผมยังเคยตีความว่า ใช้สมาธิแทนการนอนหลับ เสียด้วยซ้ำครับ

เคยลองทำเอง แม้ใช้อิริยาบทในท่านอน พยายามรักษาสติไว้ เมื่อตื่นนอนมาก็ไม่สดชื่นจริง ๆ ครับ

แต่มีผลลัพธ์อีกอย่างที่น่าสนใจคือ

ยิ่งรักษาสติก่อนนอนไว้ได้มากเท่าไร   ในขณะฝัน ภาพที่ปรากฏในฝันจะแจ่มชัด  ไม่มัว เป็นเรื่องราวต่อเนื่อง   เมื่อตื่นจะรู้สึกว่าฝันนั้นเหมือนของจริง  จำเรื่องราวและรายละเอียดต่าง ๆ ได้

ทั้ง รูปในฝัน  ความรู้สึกในเหตุการณ์ต่าง ๆ ในฝัน    แม้โลภะ โทสะ โมหะ ในฝัน ก็จะรู้ชัดครับ


เคยมีความฝันอยู่อันหนึ่ง เหตุการณ์นั้นทำให้ผมโกรธมาก  ในขณะที่ฝัน ผมก็รุ้ว่าผมมีโทสะ(ในฝัน)   เกิดขึ้น   รวมถึงผมตามรุ้โทสะนั้นจนดับไป


ตื่นเช้ามา   ผมก็ขำกับตัวเองว่า

"เออเนอะ เจริญสติในฝันก็ยังได้ รู้ชัดทั้งโทสะในใจด้วย  แต่แบบนี้จะเรียกว่าสติรึเปล่านะ เพราะไปมีสติในความฝัน  แทนนี้จะรู้ที่กายที่ใจในตอนตื่นนี้ กลับไปรู้กายและใจในฝันซะงั้น   เก็บไว้ไปถามพี่ Vicha ในลานธรรมดีกว่า "


แล้วก็ได้ถามจริง ๆ ด้วยครับ  

ตอบโดย: น้องบู 02 ต.ค. 52 - 15:20


อ้างอิง (Vicha @ 02 ต.ค. 52 - 12:19)
สวัสดีครับ น้องบู.

         ผมก็มีความเครือบแครงสงสัยตรงนี้อยู่เหมือนกับครับ.  เพราะสภาวะนั้นไม่เคยเป็นตามตัวหนังสือครับ

         

สวัสดีครับพี่วิชา คุณน้องบู

เมื่อเห็นพี่กล่าวว่า  ...เพราะสภาวะนั้นไม่เคยเป็นไปตามตัวหนังสือ...
ก็ทำให้ผมโล่งใจ ว่าพี่วิชา ยังไม่ถึงกลับติดยึดมั่นในตัวหนังสือแต่อย่างใด
ตราบใดที่ยังพิสูจน์ให้ตรงกับตัวหนังสือนั้นไม่ได้


มันมีอยู่สองมุม
1/ มันเป็นจริงตามตัวหนังสือ แต่ทว่าเรายังปฏิบัติไปไม่ถึง
2/มันไม่เป็นจริงตามตัวหนังสือ จะด้วยตัวหนังสือผิดพลาดคลาดเคลื่อน หรือผู้สืบทอดบอกเล่าจดจำมาผิดๆ...

เรื่องเทวดา เรื่องเทพ การสนทนากับพี่วิชาทำให้ผมได้ทราบความเห็น ความเข้าใจ
ของพี่วิชาแล้ว ครับ
ก็คงไม่มีอะไรสงสัย อีกต่อไปแล้ว ครับ

เพราะผมเองนั้น ไม่ได้สังสัยในความมีหรือไม่มี ของเทพเทวาแต่อย่างใดทั้งสิ้น ครับ
เพียงแต่ปรารถนาจะหาเหตุและผลแห่งความมีและความไม่มี ของสิ่งที่เรียกว่าเทพเทวานั้นว่า เพราะเหตุใดจึงมีเทพ เพราะเหตุใดจึงไม่มีเทพ
เหมือนกับที่เราทราบว่า
เพราะเหตุใดจึงทำให้เกิดความเข้าใจว่าเป็นอัตตาตัวตน
เพราะเหตุใดจึงทำให้ความเข้าใจว่าเป็นอัตตาตัวตนดับไป

ผมเข้าใจว่า
การจะมีอยู่ หรือไม่มีอยู่ ของสรรพสิ่งใดๆทั้งหลายนั้น
ไม่มีอะไรที่น่ามหัศจรรย์แต่อย่างใดทั้งสิ้น
เพราะสรรพสิ่งทั้งหลายนั้น ล้วนอาศัยเหตุและปัจจัยในการมี ในการไม่มี ทั้งสิ้น ครับ


เกี่ยวกับเรื่องการหลับ เรื่องฝันนั้น
ขออนุญาตแลกเปลี่ยนประสพการณ์ ร่วมด้วยคน ครับ

เมื่อมีสติ จะทำให้รู้สึกว่าเหมือนกับไม่ได้หลับแต่อย่างใด
สติจะระลึกรู้ถึงธรรมารมณ์อยู่ตลอดเวลา
จากการสังเกตุเฝ้าลองปฏิบัติดูแล้วนั้น
เวลาเพียงแค่2-3ชม. ก็เต็มอิ่มแล้ว ครับ
ร่างกายสามารถที่จะฟื้นกลับมาเป็นปกติได้อย่างน่าอัศจรรย์
สติจะกลับมาอยู่กลับลมหายใจเข้าออกอย่างปกติเป็นส่วนใหญ่

เมื่อเราเข้าใจว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นไม่ใช่เรา
อย่างแน่วแน่มั่นคงไม่คลอนแคลนแล้ว
โอกาสที่สติจะอ่อนกำลังย่อมเป็นไปได้น้อย
โอกาสที่จะเกิดความเพลินหลงไปกับอารมณ์
หลงไปกับสังขาร เวทนา สัญญา ในขณะที่ร่างกายกำลังพักผ่อน(หลับ)นั้น
ย่อมเป็นไปได้ยาก เป็นไปได้น้อย เลย ครับ

...ก่อนนอนเจริญสติ ขณะนอนเจริญสติ ขณะตื่นเจริญสติ...

สติจะเป็นเสมือนตัวเบรคเกอร์
ที่จะคอยตัดกระแสแห่งอุปาทานอยู่ตลอดเวลา
เพลินเมื่อใดตัดทันที ทุกข์เมื่อใดตัดทันที...

การหลับจะเป็นเหมือนหลับๆตื่นๆ
และถ้าการหลับๆตื่นๆนั้น มีสาเหตุมาจากการเจริญสติ มีปิติ มีสุข มีเอกัคคตา
ความอ่อนล้า ความเมื่อยล้า ความหลับนอนไม่เพียงพอจะไม่ปรากฎเกิดขึ้นแต่อย่างใดครับ

ยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆก็ได้ ครับ อย่างเช่น
ใครเคยเป็นมั่งครับ  เมื่อรู้ตัวว่ามีเรื่องนัดหมายในวันรุ่งขึ้น
เป็นเรื่องที่น่าชื่นชมยินดี เป็นปลื้ม คืนนั้นทั้งคืนเราแทบจะนอนไม่หลับ
เพราะจิตจะวนเวียนคิดถึงแต่เรื่องที่จะเกิดในวันรุ่งขึ้น
เมื่อตื่นขึ้นมาในตอนเช้า แทนที่จะเพลีย กลับสดชื่นยิ่งขึ้นไปอีก

ก่อนถึงวัน รับปริญญาเอย วันแต่งงานเอย วันบวชนาคเอย
วันที่จะไปเที่ยวในที่ที่อยากจะไปมานานแล้ว
สารพัดที่จะทำให้นอนหลับๆตื่นๆ แต่เมื่อตื่นขึ้นมาแล้วกลับไม่เพลียอ่อนล้าแต่อย่างใด

เนื่องด้วยปิติ ด้วยความสุข ด้วยเอกกัคตา ที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยไม่รู้สึกตัว
เป็นเรื่องที่เป็นไปตามธรรมชาติ ตามปกติ
ของสรีระร่างกายของจิตวิญญาณ เช่นนั้นเอง ครับ







 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 02 ต.ค. 52 - 15:43


สวัสดีครับ คุณVicha คุณน้องบู คุณปล่อยรู้ คุณทองพร และทุกท่านครับ

ผมเองก็เกิดสภาวะเช่นเดียวกับคุณน้องบู (ความคิดเห็นที่ 230) อยู่บ่อยๆ เหมือกันครับ ยังนึกอยู่เลยว่า น่าจะเอามาเขียนเป็นนิยายขาย เพราะว่ามันชัดเจนมาก มากเสียจนเหมือนกับเราประสบอยู่กับเหตุการณ์นั้นจริงๆ เหมือนตื่นอยู่ยังไงยังงั้น

แต่ยังมีอีกสภาวะหนึ่งที่เพิ่งจะเกิดกับผมเมื่อประมาณต้นเดืนกันยายนที่ผ่านมาครับ นั่นคือ ผมนั่งอ่านหนังสือธรรมะอยู่ในห้องนอนครับ (เป็นเวลากลางคืนประมาณสี่หรือห้าทุ่ม) พออ่านๆ ไปก็รู้สึกเมื่อยและปวดตา ก็เลยล้มตัวลงนอนและกำหนดรู้ลมหายใจไปครับ กะว่าจะนอนทำสมาธิพักผ่อนสักครึ่งชั่วโมงแล้วจะลุกขึ้นมาอ่านต่อ แต่พอกำหนดไปได้สักครู่ก็รู้สึกว่าวูบไป แต่ก็เพียงชั่วขณะ แล้วก็มารู้สึกอีกครั้งหนึ่ง แต่ไม่ใช่ตื่นลืมตานะครับ แต่เป็นการตื่นมาเฉพาะสติ รู้เห็นสภาพร่างกายตั้งแต่หัวจรดเท้า รู้ว่านอนอยู่ท่าไหนอย่างไร จนกระทั่งได้ยินเสียงกรนของตัวเอง พอได้ยินเสียงกรนก็รู้สึกตัวตื่น มีสติครบถ้วน รับรู้ถึงสิ่งที่เพิ่งผ่านไป ความง่วงความเพลียความเมื่อยความปวดตาหายไปเป็นปลิดทิ้ง สามารถลุกมาอ่านหนังสือธรรมะต่อได้อีก แต่ผมไม่ได้สงสัยหรือข้องใจใคร่รู้อะไร เพียงแต่รู้ว่ามันเป็นอย่างนั้นก็เท่านั้น จนกระทั่งได้มาอ่านเจอนี่ละครับ เลยเข้ามาเล่าให้ฟัง ก็เลยขอโอกาสถามคุณVicha เสียเลยว่านี่เป็นสภาวะอะไรครับ

ตอบโดย: ณวบุตร 02 ต.ค. 52 - 16:09


สวัสดีครับ น้องบู และคุณปล่อยรู้.

     น้องบูครับ  การเกิดความโกรธ หรือความกลัว ในความฝัน น่าจะทุกคนเคยเป็นมาแล้วครับ. ผมเองก็เคยเป็น

     แต่การที่ผู้ที่ปฏิบัติธรรมฝึกสติสมาธิดี  หลับแล้วฝัน มีความชัดเจน และรู้ว่าขณะนี้ตัวเองกำลังฝันอยู่ และกำหนดภาวนาในความฝัน  ก็จะมีแต่ผู้ที่ปฏิบัติธรรมมาได้ระยะหนึ่งแล้ว  สภาวะฝันอย่างนี้ผมก็เคยเป็น แฟนผมก็เคยเป็น เพื่อนผมที่ปฏิบัติธรรมก็เคยเป็นครับ.
      และผมก็เคยฝันในเชิงที่มี ฤทธิ์  เช่นเหาะได้ กระโดนที่เดียวลอยไปเหมือนเหาะ หรือเพ่งพลังออกไปได้ เห็นเทพเทวดาในความฝัน
      และเคยฝันเมื่อปี 2528-9 มีผู้ที่มีบารมีมาก มาขอวัดบารมี ผมก็เห็นว่าไม่ควรเสมือนกล่าวว่าอย่าเลย แต่ผู้นั้นต้องการวัดโดยกล่าวว่า ใครจะไปไวและไกลกว่ากันแล้วออกวิ่งจากจุดนั้นทันที
      ในความฝันนั้นผมคิด.. เอาก็ลองดูแบบปล่อยให้วิ่งไปก่อนสักพัก แล้วผมจึงกระโดดเพียงครั้งเดียวเหมือนเหาะลอยไปลิบไปไกลที่เดียวขณะที่ลอยอยู่กลางอากาศ ก็อยากรู้ว่าผู้มีบารมีนั้นอยู่ตรงใหนแล้ว จึงมองลงดูที่พื้นด้านล่างแต่ไม่เห็นจึงต้องหันไปดูด้านล่างด้านหลัง เห็นผู้มีบารมีนั้นอยู่หลังเราไกลลิบ กำลังปั่นวิ่งอย่างสุดกำลังด้วยความพยายามอย่างเต็มพิกัด ติดไปกับพื้นเท่านั้น.
        ผู้นั้นวิ่งเป็นร้อยเป็นพันก้าว แต่เราเพียงแค่กระโดดยังไม่ถึงก้าว เพียงกึ่งก้าวเท่านั้น ก็ไกลกว่ามากแล้ว และยังสามารถลอยไปได้อีกไกล.

        ดูสิ ความฝัน ทำ/เป็น ไปได้.
 

ตอบโดย: Vicha 02 ต.ค. 52 - 16:40


สวัสดีครับ คุณ ณวบุตร

     ตอบ สั้นๆ นะครับเกิด รวมเป็นสมาธิในขณะนั้นครับ แต่ไม่ได้แนบแน่นมากนักครับ.

        การเกิดรวมเป็นสมาธิ นั้นมี 3 ระดับคือ.
                1.ระดับอ่อน 2.ระดับกลาง 3.ระดับแก่กล้า



  

ตอบโดย: Vicha 02 ต.ค. 52 - 16:47


ขอบพระคุณครับ คุณVicha

ตอบโดย: ณวบุตร 02 ต.ค. 52 - 17:15


สวัสดีค่ะทุกๆท่าน  ถามทิ้งใว้กำลังกลับมาอ่าน

[QUOTE]การเกิดรวมเป็นสมาธิ นั้นมี 3 ระดับคือ.
                1.ระดับอ่อน 2.ระดับกลาง 3.ระดับแก่กล้า


    ถ้าเป็นลักษณะ เหมือนเดินบนน้ำได้  เหมือนลอยได้ เดินบนอากาศได้ เป็นจริง แต่ไม่ได้ฝันนะ  อยู่ในระดับไหนคะ คุณวิชา

ตอบโดย: ทองพร พันธุ์สุขวัฒนพันธ์ 02 ต.ค. 52 - 19:38


อ้างอิง
ถ้าเป็นลักษณะ เหมือนเดินบนน้ำได้  เหมือนลอยได้ เดินบนอากาศได้ เป็นจริง แต่ไม่ได้ฝันนะ  อยู่ในระดับไหนคะ คุณวิชา

จากคุณ : ทองพร พันธุ์สุขวัฒนพันธ์


ตอบ เป็นอาการของปีติครับ ซึ่งมีอยู่ 5 อย่าง (จำชื่อแต่ละอย่างไม่ได้ครับ แต่ขอให้รู้ว่าเป็นอาการของปีติแบบหนึ่งครับ)

   บอกที่พอจำอาการได้นะครับแต่อาจจะไม่ตรงกันทั้งหมดในตำราทุกข้อ

    1.ปีติกระทบกายใจแบบที่เป็นระลอกคลืน
    2.ปีติแบบขนลุกขนพอง
    3.ปีติแบบเหมือนร่างกายขยายใหญ่ หรือยืดขึ้นหรือยืดถ่วงลง
    4.ปีติแบบตัวเบาเหมือนลอยได้ (ดังที่คุณ ทองพร พันธุ์สุขวัฒนพันธ์ กล่าว)
    5. ปีติแบบความรู้สึกที่เป็นปีติรวมลงที่จุดเดียวกลางลำตัว ปีติจนน้ำตาไหล

   ทั้งหมดนั้นผมเป็นมาหมดแล้วครับ.

ตอบโดย: Vicha 02 ต.ค. 52 - 21:03

ลานธรรมเสวนา http://larndham.net