ผมพอจะเข้าใจ feel ของคุณ vicha แล้วล่ะครับ
ว่าคุณกำลังคิดอะไรอยู่
ผมคงต้องเสนออย่างรวมๆว่า ไม่ว่าใครจะเป็นอะไร เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระโพธิสัตว์เป็นพระอรหันต์ ถ้าเรานับถือท่านเหล่านั้นด้วยความประเสิรฐที่ท่านมีอย่างแท้จริง(และด้วยความเข้าถึง)ความประเสริฐของท่านเหล่านั้นอย่างแท้จริง
ผมว่าผมจะนับถือท่านเหล่านั้นโดยไม่แบ่ง(ระดับ)
ผมเคยแต่งนิทานเรื่องนึงและเล่าให้คนกลุ่มหนึ่งฟัง
...เรื่องมีอยู่ว่า สมัยหนึ่งมีชายผู้หนึ่งได้ยินว่ามีเจ้าสำนักท่านนึงบรรลุธรรมสำเร็จเป็นพระโสดาบัน
ชายผู้นั้นจึงขอไปเป็นศิษย์อยู่รับใช้นานพอสมควร
จนตนเองสำเร็จธรรมเป็นพระโสดาบัน จึงลาอาจารย์ไป
ด้วยเห็นว่าอาจารย์ของตนก็โสดาบัน ตนก็โสดาบัน
อาจารย์คงสอนอะไรเราไม่ได้ไปกว่านี้แล้ว จึงเดินทางไปยังสำนักที่มีผู้เล่าว่า
เจ้าสำนักสำเร็จเป็นพระสกทาคามี
...ชายผู้นั้นจึงขอไปเป็นศิษย์อยู่รับใช้นานพอสมควร
จนตนเองสำเร็จธรรมเป็นพระสกทาคามี จึงลาอาจารย์ไป
ด้วยเห็นว่าอาจารย์ของตนก็สกทาคามี ตนก็สกทาคามี
อาจารย์คงสอนอะไรเราไม่ได้ไปกว่านี้แล้ว จึงเดินทางไปยังสำนักที่มีผู้เล่าว่า
เจ้าสำนักสำเร็จเป็นพระอนาคามี
...ชายผู้นั้นจึงขอไปเป็นศิษย์อยู่รับใช้นานพอสมควร
จนตนเองสำเร็จธรรมเป็นพระอนาคามี จึงลาอาจารย์ไป
ด้วยเห็นว่าอาจารย์ของตนก็อนาคามี ตนก็อนาคามี
อาจารย์คงสอนอะไรเราไม่ได้ไปกว่านี้แล้ว จึงเดินทางไปยังสำนักที่มีผู้เล่าว่า
เจ้าสำนักสำเร็จเป็นอรหันต์
...ชายผู้นั้นจึงขอไปเป็นศิษย์อยู่รับใช้นานพอสมควร
จนตนเองสำเร็จธรรมเป็นพระอรหันต์ ต่อมาได้ยินว่าเจ้าทั้งหลายที่ตนไป
ฝากตัวเป็นศิษย์มิได้สำเร็จธรรมใดๆเลย...ชายผู้นั้นได้ยินก็ตกใจว่าทำไมจึงเป็นเช่นนี้...จึงรีบกลับไปถามอาจารย์ของตนทั้งหลายว่า
เป็นเช่นที่ใครบอกมาหรือไม่ อาจารย์ทั้งหลายของชายผู้นั้นต่างก็บอกเหมือนกันหมดว่า
เรายังมิได้บอกเสียหน่อยว่าเราสำเร็จธรรมอย่างนั้นอย่างนี้
เธอมาอยู่กับเราเอง...เราเพียงแต่เห็นว่าเป็นการดีที่ได้มีคนมาฝึกฝนจิตใจเพื่อพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ดี
และเป็นผู้ประเสริฐในที่สุด
ท่านทำของท่านเองท่านก็ย่อมได้ของท่านเองเราเป็นเพียงผู้ชี้แนะได้บ้างเท่านั้น...
นิทานเรื่องนี้สอนว่า...
อย่าคิดว่าคนนี้ระดับนี้สูงกว่าระดับนั้น ต้องเคารพ
ระดับนั้นมากกว่าระดับนี้ซิครับ(อ่านแล้วงงไหมเนี้ย)
ผมเคยคิดเล่นๆว่าถ้าามีคนที่สำเร็จอรหันต์แต่แต่งตัวเหมือนคนปกติใส่สูทผูกไท
กับมี(ภิกษุ)อลัชชีที่ทำทางสำรวมดูจากภายนอกแล้วน่าเคารพเลื่อมใสเดินมาในกลุ่มชนพร้อมกัน
กลุ่มชนกลุ่มนั้นจะแสดงความเคารพแก่ใคร...
นับถือใครก็สมควรจะนับถือกันที่ใจ นับถือในการกระทำที่ดีงามของท่านเหล่านั้น...อย่าเอาอะไรมาทำให้ความเป็นหนึ่งเดียวกันของใจทั้งหลายต้องแบ่งแยกซิครับ...
อย่างนั้นถ้าวันนึงคุณ สำเร็จเป็นพระโพธิสัตว์ขึ้นมา
คุณจะกล้ากราบครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นเพียงคนธรรมดาแต่ชี้แนะให้คุณจนได้ดีได้หรือครับ
เรื่องแบบนี้มันเกี่ยวกับบุญบารมีเดิมด้วย...แต่ว่าขนาดพระพุทธเจ้า
ตอนท่านสำเร็จ ท่านก็ยังตามหาอาจารย์ของตน เพื่อที่จะบอกในสิ่งที่ท่านรู้เลย...
หลวงปู่วัดอ้อน้อยซึ่งผมนับถือท่านเป็นคุรุ ท่านบอกว่า"รวงข้าวยิ่งสุกก็ยิ่งโน้มลงดินที่มันอาศัยเกิด"
...และก็ต้องถามว่าคำจำกัดความว่า"พระโพธิสัตว์"นั้น
แค่ไหนที่จะเรียกได้ว่าพระโพธิสัตว์
ช่วยคนอื่นมากๆแต่ตนก็หวัง"อะไร"จากการกระทำนั้นๆจากมหาชนเหล่านั้น
กระนั้นหรือ....
ทำประโยชน์ให้กับชนทั้งหลายเพื่อที่จะเทียบชั้นว่า...ตนก็เก่งได้เหมือนมหาบุรุษทั้งหลาย
กระนั้นหรือ
เราต้องแยกให้ออกระหว่างคนที่อยากดีกับผู้ที่ดีแล้ว...
คำถามที่ว่า"การที่ผู้ปารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ ทำตนเสมอพระพุทธเจ้า
ลูปคลำพระธรรมด้ยธิติตนเอง เพื่อให้สัจจธรรม
เป็นดังที่ตนเองเห็นและเข้าใจ เป็นการทำถูกหรือไม่
เราควรจะนับถือพระโพธิสัตว์ อย่างนี้ได้เหรือไม่"
คำถามนี้มันสะกิดใจผมยังไงชอบกลอยู่ คนที่ได้ชื่อว่าพระโพธิสัตว์นั้น
ไม่ใช่คน...มนุษย์มาเรียกกันเองง่ายๆ
ว่าพอเห็นคนนี้เขาทำดีหน่อยช่วยชาวบ้านบ้างก็เรียกเขาว่าโพธิสัตว์...
***คำพูดและความคิดของมนุษย์นั้นหยาบด้อยเกินกว่าจะตัดสินได้ว่าคนนั้นคนนี้เป็นโพธิสัตว์***
ผู้ที่เป็นโพธิสัตว์อย่างแท้จริงนั้น...เทพพรหม
เทวดา (ทุกชั้นฟ้า) ย่อมรับรู้ แม้แต่พระโพธิสัตว์และพระพุทธเจ้าก็ทรงรู้
และ แซ่ซ้อง สรรเสริญ ในการทุ่มเทเพื่อให้ใจทั้งหลายเป็นสุข(โดยไม่คิดว่าตนจะได้อะไรบ้างจากการกระทำนั้น)
ที่มีปัญหาข้อนี้ถามก็เพราะว่ายุคหลังๆนี้คนเราไปยึดถือตามตำราว่าทำอย่างนี้ๆก็จะเป็นอย่างนั้นๆ
(โดยเอากิเลสเป็นที่ตั้ง)
เรียกว่าทำสิ่งใดเพราะต้องการสิ่งตอบแทน...ไม่ได้กระทำเพราะเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่มีคุณค่าน่าจะกระทำเพื่อที่จะพัฒนาตนเองสู่ความประเสริฐ
ผมมักจะพูดกับคนใกล้ชิดเสมอๆว่า"ที่รู้มาน่ะถูกแต่ที่คุณเข้าใจและกระทำน่ะผิด"
คนอยากดีจึงมีให้เห็นในปัจจุบันมากมายเหลือเกิน
แม้ว่าความอยากดี(อาจจะเป็นเบื้องต้นของการไปสู่ความเป็นผู้ที่ดีแล้วก็ตาม)
แต่ความอยากแบบผิดๆจึงทำให้...คิดผิด...ทำผิด...พูดผิด
และในขณะเดียวกัน คนที่(ดูเหมือนจะเกือบดี)ก็กับอิจฉา
ริษยากันเอง เอาดาบ(แห่งความริษยา อิจฉาและอัตตาตัวตน )มาทิ่มแทงกันเอง
ด้วยความ(คิดน้อย...หรือไม่คิดเลย)ว่าใครที่ดูเก่งดูมีคนศรัทธาเลื่อมใสนั้น.....
เขาเป็นมาอย่างนั้นเลย ก็เลยอิจฉาเขาแบบไม่มีเหตุผล
เป็นคนที่ดื้อรั้น...
ก็อยากจะทิ้งไว้ให้คิดครับ...ระหว่างคนที่อยากดีกับคนที่ดีจนกระทั่งเป็นผู้ประเสริฐ
วีรบุรุษกับมหาบุรุษนั้นต่างกัน…
วีรบุรุษทำประโยชน์ใดแก่สังคมอาจเพราะลาภยศ ชื่อเสียง
เมื่อไม่มีผู้ใดสนับสนุนให้ความนิยมชมชอบก็อาจหมดกำลังใจ เลิกทำในสิ่งที่เป็นอุดมการณ์
วีรบุรุษทำประโยชน์ใดแก่สังคมอาจเพราะเห็นว่าตนเองเหนือกว่าผู้อื่น
จึงคิดที่จะคุ้มครองปกป้องชนเหล่านั้นๆด้วยหวังให้ชนเหล่านั้นสนองอัตตาตัวตนโดยการยกย่องเชิดชูตนเองเป็นนายเหนือหัว
เมื่อไม่มีใครมอบอัตตาตัวตนให้ก็ล้มเลิกความตั้งใจ เพราะเห็นว่าเหนื่อยเปล่ามิได้ประโยชน์อันใดแก่ตน
…วีรบุรุษจึงอาจเป็นแค่คนที่อยากดีเท่านั้น
มหาบุรุษทำประโยชน์อันใดแก่มหาชนเพราะเห็นว่าความทุกข์ยากของมหาชนเป็นเรื่องที่ต้องแบ่งเบา
แม้ไม่มีใครสนับสนุน ยกย่อง เชิดชู ให้ลาภยศถาบรรดาศักดิ์
ท่านก็ถูลู่ถูกังทำจนสำเร็จจนได้แม้จะเสียอะไรไป… กระทั่งชีวิตท่านก็ยอม
ถ้ามันจะทำให้มหาชนอยู่อย่างเป็นสุขและมีสติ… เมื่อชนผู้มีปัญญาเห็นความทุ่มเทพากเพียรของท่านดังนั้นก็จะพากันช่วยเหลือกิจการงานที่ท่านทำและยกย่องท่านเป็นผู้ปกครองโดยที่ท่านมิได้ต้องการและเรียกร้องแต่อย่างใด
มหาบุรุษทำประโยชน์อันใดแก่มหาชน มิใช่เพราะเห็นว่าตนมีอะไรเหนือผู้อื่น
แม้ในความเป็นจริงที่จริงแท้จะเหนือกว่าก็ตาม… แต่ที่ดูมีอะไรมากกว่าผู้อื่นนั้น
ผู้มีปัญญาย่อมรู้ดีว่าเกิดจากการทุ่มเท ขัดเกลา เคี่ยวกรำ ทุบตีตนเองอย่างแสนสาหัสมานับภพชาติไม่ถ้วน…เพียงเพื่อที่จะได้เอื้อประโยชน์แก่มหาชนอันท่านเห็นเป็นพี่น้องร่วมความมีอยู่เป็นอยู่
…โดยรู้ทั้งรู้ว่าโลกนี้มีทั้งผู้มีปัญญาและผู้โง่เขลา
ชนผู้โง่เขลาก็จะเกิดใจอิจฉาริษยา คิดอย่างผู้มืดบอดว่าคนๆนี้เป็นใครมาทำเป็นใจดี
ชี้แนะคนอื่นแถมยังอวดดีมีวิชชา ชนผู้โง่เขลานั้นหารู้ไม่ว่ากว่าใครจะทุ่มเทจนสามารถสำเร็จในสิ่งใดๆได้นั้น
คนผู้นั้นเพียรพยายามมาขนาดไหน… แล้วตนเองทำไมไม่คิดจะพัฒนาตนให้เป็นอย่างคนผู้นั้นบ้างล่ะ
เอาแต่อิจฉาริษยาไปชาติแล้วชาติเล่า ด้วยกรรมอันหนักที่ขัดขวางความเจริญของมหาชนจึงดักดานอยู่ในความโง่ของตนเองไปนานแสนนานจนกว่าจะได้สติผิดกับชนผู้มีปัญญาเมื่อเห็นมหาบุรุษผู้นั้นกระทำการใดอย่างทุ่มเทเพื่อประโยชน์ของมหาชน…ชนผู้มีปํญญาเหล่านั้นก็จะมอบตัวเป็นศิษย์ติดตามรับใช้โดยที่ท่านผู้นั้นมิได้ร้องขอ
เมื่อทดสอบกำลังใจสักระยะจนเห็นความเพียรพยายามและความมุ่งมั่นตั้งใจ
ท่านก็จะถ่ายทอดสรรพวิชาอันเป็นการขยายหน่อพันธุ์แห่งพุทธะมหาบุรุษ…เพื่อยังประโยชน์แก่มหาชนและสืบทอดปณิธานอันเป็นความงามนิรันดรนี้จนกว่าจะสิ้นภพจบจักรวาล
อาจจะดูเหมือนตอบไม่ตรงประเด็นเท่าไหร่นะครับแต่ตั้งใจให้เป็นเช่นที่ว่านี้ครับ
ผู้ประเสริฐแล้วย่อมมีความอ่อนน้อมและอ่อนโยนอยู่ในจิตและวิญญาณเสมอ
…บุญใดอันบังเกิดมีจากการเข้าถึงใจแห่งโพธิสัตว์
ขอถวายเป็นพุทธบูชา
แด่มหาโพธิสัตว์เจ้าบรมครูและคุรุธรรมในทุกภพชาติแห่งข้าทั้งหลาย…