อะไรทำให้สรรพสัตว์(มนุษย์)มีปัญญาต่างกัน ?                                                             กลับหน้าแรก 
 
 
 
 เนื้อความ : 
เป็นคำถามที่ผมไม่ได้คิดขึ้นมาเอง สมมุติว่าเทวดาชั้นดุสิตเป็นผู้ถาม ท่านต้องการ 
คำตอบที่สั้นและถูกต้อง 
1.อะไรทำให้สรรพสัตว(มนุษย์)มีปัญญาต่างกัน ? 
2.ความเพียรกับบำเพญเพียรต่างกันอย่างไร? 
ขอให้ท่านผู้มีความรู้ช่วยตอบด้วย 
 จากคุณ : Vicha [ 22 พ.ค. 2543 / 08:46:52 น. ]  
     [ IP Address : 203.151.36.18 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 1 : (นายสงบ) 
คุณ วิชามีอะไรกับเทวดาชั้นดุสิตหรือครับ หรือว่ามีเทวดามาฟังธรรมจากคุณวิชา หรือว่า 
คุณวิชาเป็นเทวดามาขอฟังธรรมใน Webนี้ หรือว่า????/... 
เอาเป็นว่าข้อ 1. ตอบกรรม 
               2. บำเพ็ญเพียรน่าจะให้ความหมายในทางปฎิบัติคือปฎิบัติด้วยความมุ่งมั่นไม่ย่อท้อ 
                  หรือด้วยความเพียร(งงมั๊ย) 
                  แต่ความเพียรให้ความหมายรวมทั่วๆไปรวมแม้กระทั่งการปฎิบัติด้วยครับ
 จากคุณ : นายสงบ [ 22 พ.ค. 2543 / 10:07:56 น. ]  
     [ IP Address : 203.146.18.42 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 2 : (นายสงบ) 
เพิ่มเติมครับ การปฎิบัติในที่นี้ผมหมายถึงการปฎิบัติธรรมนะครับ
 จากคุณ : นายสงบ [ 22 พ.ค. 2543 / 10:24:11 น. ]  
     [ IP Address : 203.146.18.42 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 3 : (Vicha) 
ผมยังไม่ได้เฉลยคำถาม แต่จะตอบที่ นายสงบ สงสัย เกียวกับผม 
คือ คำถามนี้ผมไม่ได้คิดขึ้นมาเองจริงๆ ผู้ที่ถามผมผมก็ไม่รู้จัก 
ผมจึงสมมุว่าเป็นเทวดาชั้นดุสิต ความจริงคำถามที่ถามผมครั้งแรกๆ  
ผมก็ตอบไม่คอยถูกหรอก เป็นเวลานาน จนได้คำตอบที่หนาจะถูก ผมเห็นว่าคำถามนี้มีประโยชน์ 
จึงนำมาถามในอินเตอรเนต ไม่ใช่เพื่ออวดภูมิความรู้ เพราะผมเองที่ตอบไปแล้วว่าถูกต้อง 
แท้จริงหรือเปล่า จึงต้องการหาคำตอบจากหลายด้าน
 จากคุณ : Vicha [ 22 พ.ค. 2543 / 11:38:41 น. ]  
     [ IP Address : 203.151.36.18 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 4 : (Listener) 
ขอโอกาสครับ 
1. กรรม กล่าวโดยเจาะจงคือ โยนิโสมนัสิการ และการคบกัลยาณมิตร 
2.  ความเพียร โดยกว้างรวมทั้งมิจฉาวิริยะ และ สัมมาวิริยะ โดยแคบแม้ที่เป็นสัมมา ก็หมายถึงองค์มรรค ข้อหนึ่ง ใน 8 หรือบารมีข้อหนึ่ง ใน 10  ส่วนความบำเพ็ญเพียร หมายถึง การกระทำด้วยความเพียรในทางที่ถูก เพื่อถึงที่สุดแห่งทุกข์ ซึ่งเป็นการมุ่งกระทำมรรคมีองค์ 8 และบารมีทั้งสิบให้พร้อมบริบูรณ์
 จากคุณ : Listener [ 22 พ.ค. 2543 / 20:03:01 น. ]  
     [ IP Address : 210.176.95.70 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 5 : (โต) 
เหตุที่ทำให้มีปัญญาที่ต่างกันคือ การบำเพ็ญตนของแต่ละบุคคลไม่เท่ากัน 
ความเพียรกับบำเพ็ญเพียรต่างกันเช่นไร?  ความเพียรเป็นวิริยะอุตสาหะ ส่วนการบำเพ็ญเพียร คือการปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจไว้  
ร่วมคิดด้วยคน
 จากคุณ : โต [ 22 พ.ค. 2543 / 23:29:00 น. ]  
     [ IP Address : 203.148.255.68 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 6 : (เพื่อนเก่าแวะมาเยี่ยม) 
1.บุคคลผู้หมั่นฟังธรรมจากบัณฑิต อยู่เนืองนิตน์ย่อมเป็นผู้มีปัญญาดี 
2.ความเพียรเป็นคำนาม ส่วนบำเพ็ญเพียรเป็นกริยาอาการ ทั้งสองเป็นสำนวนตามพระไตรปิฎกครับ
 จากคุณ : เพื่อนเก่าแวะมาเยี่ยม [ 23 พ.ค. 2543 / 13:46:35 น. ]  
     [ IP Address : 144.92.44.76 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 7 : (tchurit) 
๑.ปัจจัย คือปัจจัยภายนอก(กัลยาณมิตร) และปัจจัยภายใน(โยนิโสมนสิการ) เหมือนคุณ Listener 
๒.คำนาม กับ คำกริยา เหมือนคุณเพื่อนเก่า 
เป็นคุณสมบัติหนึ่งของ อินทรีย์ ๕ และ พละ ๕ ครับ
 จากคุณ : tchurit [ 23 พ.ค. 2543 / 17:27:10 น. ]  
     [ IP Address : 203.157.0.183 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 8 : (Vicha) 
คำตอบของทุกท่าน มีส่วนคล้ายกันมา คือเป็นไปในเดียวกัน แม้จะต่าง 
สำนวน ส่วนคำตอบของผมเป็นดังนี้ 
1.เพราะบุญต่างกัน (ปัญญา เป็นสิ่งที่เป็นกุศล จึงเรียกว่าบุญ ตามที่ผมเข้าใจ) 
2.ความเพียร คือวิริยะม่งมั่นให้ถึงจุดหมาย บำเพ็ญเพียร คือรักษาจุดมุงหมายนั้น 
ด้วยความอดทนเพื่อให้เจริญขึ้นไม่เสือมถ่อยลง (ผมเข้าใจและตอบ เขาอย่างนี้)
 จากคุณ : Vicha [ 23 พ.ค. 2543 / 21:38:34 น. ]  
     [ IP Address : 203.151.36.17 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 9 : (เพื่อนเก่าแวะมาเยี่ยม) 
ไม่เห็นมีใครมาโพสต์เพิ่ม ก้เลยแวะเอาอะไรมาฝากหนะครับ  

[๕๙๔] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม 
ย่อมไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไร 
เป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไร 
เมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่า อะไรเมื่อทำ 
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน เขาตายไป จะเข้าถึง 
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้ 
อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ 
ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีปัญญาทราม ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อ 
มีปัญญาทรามนี้ คือ ไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไร 
เป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไร 
ไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่า 
อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ฯ 
      [๕๙๕] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม 
ย่อมเป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็น 
อกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ 
ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่าอะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไป 
เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติ 
โลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป 
ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็น 
คนมีปัญญามาก ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญามากนี้ คือ เป็นผู้เข้าไปหา 
สมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ 
อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่ 
เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่าอะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ 
เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ฯ 
 

ไปแล้วครับ ว่างๆจะแวะมาใหม่

 จากคุณ : เพื่อนเก่าแวะมาเยี่ยม [ 26 พ.ค. 2543 / 14:03:39 น. ]  
     [ IP Address : 144.92.44.76 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 10 : (ชาลี) 
เหตุที่ทำให้สรรพสัตว์มีปัญญาต่างกันคือ การสั่งสมมาของบารมีไม่เหมือนกัน บุคคลผู้สั่งสมสมาธิ ภาวนาบารมีมามากในอดีตชาติ ย่อมเกิดเป็นผู้ที่มากด้วยปัญญา  ยกตัวอย่างให้เห็นชัด ๆ ก็คือ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญเพียร บารมีต่าง ๆ มานานจนนับชาติไม่ถ้วน เมื่อได้บำเพ็ญเพียรมาแล้วในอดีตชาตินับชาติไม่ถ้วน ถึงกระนั้นก็ยังต้องทรงทำความเพียรอีก ถึง 6 ปี ในชาติสุดท้าย จนกระทั่งเหตุและปัจจัยพร้อม ก็ได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเนื้อความนี้ยังอธิบายลักษณะความแตกต่างกันของ การบำเพ็ญเพียร กับความเพียรไว้ในตัว
 จากคุณ : ชาลี [ 30 พ.ค. 2543 / 13:47:39 น. ]  
     [ IP Address : 203.107.202.228 ] 
 

จบกระทู้บริบูรณ์

 กลับหน้าแรก