เมื่อ กำหนดเวลานั่งกรรมฐาน ถ้ามีมดไต่ตามตัวคุณจะทำอย่างไร                    กลับหน้าแรก 
 
 
 
 เนื้อความ : 
ถ้าเราตั้งใจนั่งสมาธิกำหนดกรรมฐาน(วิปัสสนา หรือ สมถะก็ได้) เป็นเวลา 30 นาที แต่นั่งได้มา 10  
นาที มีมดดำตัวหนึ่งตัวเล็กๆ เดินเร็วๆ กำลังไต่ที่แขนด้านขวา คุณจะปัดมดดำออกไปหรือไม่  ถ้า  
คุณจะอดทน ปล่อยให้มันไต่ ไปตามเรื่องของมัน  
เมื่อมดดำไต่ไปถึงลำคอคุณจะปัดมดดำออกไปหรือไม่ ถ้าคุณยังอดทนอยู่ มดดำไต่ไปถึงติ่งหู  
คุณจะปัดมดดำออกหรือไม่ ถ้าคุณอดทนต่อ มดดำกำลังไต่เข้าในรูหู คุณจะปัดมดดำออกไปหรือไม่  
ถ้าคุณอดทนต่อ มดดำเข้าไปในรูหู มีเสียงดังแกรอแกรๆ จนขนลุกขนชัน  
คุณจะรีบปัดให้มดออกจะรูหูทันที่หรือไม่ ถ้าคุณอดทนต่อ แล้วมดเดินออกจากรูหู  
คุณจะรีบออกจากการนั่งกรรมฐานหรือไม่ หรือนั่งต่อไปจนครบ 30 นาที  
        หมายเหตุ คุณรู้อยู่แล้วว่ามดดำพวกนี้กินเฉพาะเศษอาหาร และไม่กัด ถึงกัดก็ไม่รู้สึกเจ็บ
 จากคุณ : Vicha [ 1 ก.ย. 2543 / 22:07:22 น. ]  
     [ IP Address : 203.151.36.3 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 1 : (เคยเป็น) 
มีประสบการณ์ที่มากกว่ามดจะเล่า แต่ก่อนเคยโดนมากกว่ามดครับ เป็นแมลงสาบเลยแหละ มาทีหลายตัว ขามันนี่นะมีแหลมๆ ด้วย ไต่ไปตามตัว เหมือนถูกกัดเลย แล้วตอนที่มันกัดกินเหงื่อเรานี่นะ ร้องจ้ากในใจเลยแหละ มันเล่นไต่ตั้งแต่ขา ไล่มาตามบางส่วนที่มีเหงื่อ เท่าที่เคยเจอตอนแรกก็ไม่รู้ว่าเป็นแมลงสาบกลัวแทบแย่ นั่งสมาธิก็ต้องกำหนดให้แน่ ลุกไปไหนก็ไม่ได้ 

ที่เขียนข้างบนน่ะเพียงเพื่อให้บางคนที่เคยถูกมดแมลงกัดขณะนั่งกรรมฐานได้ข้อคิดเท่านั้นนะครับไม่ได้คิดเป็นอย่างอื่น ว่าคุณจะทำความรู้จิตอย่างไรขณะนั้น

 จากคุณ : เคยเป็น [ 1 ก.ย. 2543 / 22:17:02 น. ]  
     [ IP Address : 203.145.30.226 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 2 : (คนหาแก่นธรรม) 
เคยลองไม่ปัด ก็ดีไปอีกแบบครับ จั๊กจี้ดีครับ ตอนยุงมากัดก็เจ็บๆคันๆไปถึงหัวใจดีครับ 

แต่ก็เคยลองกำหนดจิตนิ่งๆ ลืมตาขึ้นมาปัด แล้วก็สงบต่อ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เหมือนเป็นเพียงอีกกริยาหนึ่งของการกำหนดตามลมก็เท่านั้นเองครับ ไม่ได้รบกวนความต่อเนื่องของจิตแต่อย่างใด อย่างนี้ก็ทำได้ครับ 

ความถูกความผิดไม่มีครับ ต้องลองเองครับ ผมลองไปลองมา นั่งหลับตาบ้าง ลืมตาบ้างนั่งเก้าอี้บ้าง แม้กระทั่งทุกอิริยาบทในชีวิตประจำวันเอาให้ไม่แตกต่างกับตอนที่นั่งขัดสมาธิหลับตาก็ทำได้ครับ เลยได้ข้อสรุปว่า สมาธิมันเป็นเรื่องของจิตที่แจ่มใส ปราศจากการรบกวนของนิวรณ์ 5 ประการต่างหาก หาใช่เรื่องของร่างกายและท่าทางไม่ครับ และไม่จำกัดด้วยเวลาด้วยครับ

 จากคุณ : คนหาแก่นธรรม [ 1 ก.ย. 2543 / 22:59:56 น. ]  
     [ IP Address : 203.170.141.212 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 3 : (tchurit) 
ช่วงนั่งสมาธิแรกๆคันนึกว่ามดไต่ พอลืมตาดูก็ไม่มี 
ถ้าเป็นมดจริงๆไต่ผมนะ 
ผมเขี่ยออกตังแต่ตอนแรกเลยละครับ 
เราก็สบายตัว มีสมาธิดีขึ้นเวลานั่ง 
มดก็สบาย ได้ไปเดินเล่นในที่อันควร 
: )
 จากคุณ : tchurit [ 2 ก.ย. 2543 / 07:59:13 น. ]  
     [ IP Address : 203.157.42.217 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 4 : (รูปนามหนึ่ง) 
"ถ้าเราตั้งใจนั่งสมาธิกำหนดกรรมฐาน....." 

ถ้าเลิกก็ 
เท่ากับเสียสัจจะ 
เท่ากับไม่มีขันติธรรม 
เท่ากับไม่รู้เท่าทันกิเลสอีกรูปแบบหนึ่ง 
เท่ากับไปอยู่กับอารมณ์คือนิมิตภายนอก(วิปัสสนาภูมิ) 
(ถ้าเป็นสมถะคือไม่อยู่กับนิมิตอันเป็นอารมณ์หลัก) 
 

ดังนั้นควรอยู่กับการนั่งกำหนดกัมมฐานนั้นจนกว่าจะถึง 
กำหนดที่ตั้งไว้ คือให้ครบ ๓๐นาที ทุกขเวทนานี้ จะเป็น 
ของจริงหรือนิมิตก็ตามไม่สำคัญ สิ่งที่สำคัญคือการกำหนด 
รู้ตามเป็นจริง(ผมขอแสดงความเห็นกรณีการเจริญสติฯเท่านั้น) 
ให้ได้นั้นเป็นเป้าหมาย 

รู้อาการสัมผัส ก็กำหนดที่อาการสัมผัสถูกนั้น 

รู้สึก ว่าเป็นมดไต่ ก็กำหนดอาการคิด หรือกำหนดจิต 
ที่ไปรู้ว่าเป็นมดไต่  (มดไต่เป็นบัญญัติเป็นสิ่งที่จิตคิดขึ้น)  
ไม่ใช่ไปกำหนดที่เรื่องการไต่ของมด 

อยากจะปัดออก ก็กำหนดรู้ที่ความอยากที่ใจ 

รู้สึกคัน เป็นทุกขเวท ก็กำหนดรู้ที่อาการที่คัน 
(แล้วแต่ว่าเป็นทุกข์ทางกายหรือใจ) 

ที่ต้องกำหนดอย่างนี้เพราะสิ่งที่ถูกกำหนดรู้ดังที่กล่าวมาข้างต้น 
นั้นเป็นสภาพของจริง สภาพของจริงเท่านั้นที่แสดงอาการ 
ตามเป็นจริงของสภาพธรรมนั้นๆ คือเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา  

กำหนดรู้อยู่กับของจริงเนืองๆ สติ สมาธิ ปัญญา จึงแก่กล้าขึ้น 
จนปัญญาญาณเกิด ทำให้เห็นของจริงตามเป็นจริง 
หรือจะเรียกว่า การเห็น รูปนามโดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง 
อนัตตา  

ผมเห็นดังนี้ครับ 
 

 จากคุณ : รูปนามหนึ่ง [ 4 ก.ย. 2543 / 00:05:42 น. ]  
     [ IP Address : 203.170.143.193 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 5 : (fstku) 
สาธุกับคุณรูปนามหนึ่งครับ
 จากคุณ : fstku [ 4 ก.ย. 2543 / 00:16:19 น. ]  
     [ IP Address : 158.108.2.71 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 6 : (Vicha) 
   เมื่อก่อน อย่าว่าแต่มดไต่เลย ยุงกัดตั้งตัว ก็ไม่ย่อมเคลื่อนใหวเลย นั่งปวดจนตัวร้อน 
ไปหมด ก็ไม่ย่อมเคลือนไหว กำหนดจนมันดับหายไปต่อหน้า แล้วมันก็เจ็บขึ้นมาใหม่อีก 
   แต่ปัจจุบัน อาการใด ที่ทำให้พละ 5 เสียความสมดุลย์มาก ก็ปรับเปลียนให้สมดุลย์ 
แต่ถ้าขณะใดที่พละ 5 พอเหมาะ ไม่อาการนั้นจะเจ็บปวด ก็จะดำรงณ์อยู่ได้  
  หมายเหตุ การปัดหรือไม่ปัดมด ถ้าเรามีสติทุกเวลา ก็ไม่ได้หลุดจากการกำหนดกรรมฐาน
 จากคุณ : Vicha [ 4 ก.ย. 2543 / 19:50:55 น. ]  
     [ IP Address : 203.151.36.3 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 7 : (Vicha) 
ขอโทษพิมพ์ตก ไม่ว่าอาการนั้นจะเจ็บปวด ก็จะดำรงณ์อยู่ได้
 จากคุณ : Vicha [ 4 ก.ย. 2543 / 19:53:13 น. ]  
     [ IP Address : 203.151.36.3 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 8 : (ksuwanna) 
   ครั้งหนึ่งเคยนั่งปฏิบัติที่ใต้ต้นไม่ในสวนป่าที่วัดอัมพวัน แถวนั้นมดเยอะน่าดู 
มีมดตัวหนึ่งเขาเดินเข้าไปในหู เราก็นั่งไปเรื่อยๆ สักพักเขาก็เดินออกมาเอง 
สำหรับผมยุงหรือมดก็พอทนได้ แต่เวทนาประเภทปวดโน่นนี่มันทำให้อยากลุก 
มากกว่า บางทีจิตมันก็หลบเวทนา เป็นเพราะอยากหลบหรือขาดสติไปเอง 
แม้ยังนั่งต่อจนพอถึงเวลาก็ลุก จนบัดนี้คิดว่ายังไม่เคยเจอสิ่งที่ครูบาอาจารย์ 
เรียกว่าเวทนาใหญ่อย่างมีสติสักที
 จากคุณ : ksuwanna [ 5 ก.ย. 2543 / 11:29:40 น. ]  
     [ IP Address : 203.127.99.188 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 9 : (รูปนามหนึ่ง) 
สวัสดีคุณVicha ครับ 

เห็นด้วยอย่างยิ่งกับประโยคตอนท้ายที่ว่า 

"การปัดหรือไม่ปัดมด ถ้าเรามีสติทุกเวลา ก็ไม่ได้หลุดจากการกำหนดกรรมฐาน" 

จริงทีเดียวครับ ถ้าเราได้เพียรพยายามตามที่ได้ตั้งเจตนาไว้ตั้งแต่ต้น 
คือจะนั่งกำหนดกรรมฐานให้ได้ครบ ๓๐ นาที แล้วปรากฎว่าสิ่งที่เกิดขึ้น 
ทำให้เราขาดสติ คือแม้นจะเพียรกำหนดรู้อย่างไร สติก็มิได้อยู่กับอารมณ์ 
กรรมฐานเลย อย่างนี้ ก็สมควรจะปัดออกไปด้วยอาการที่มีสติสัมปชัญญะ 
เช่นว่า กำหนดรู้ว่า ใจอยากจะปัดมดออกไป  
กำหนดรู้อาการลืมตา  
กำหนดรู้อาการเห็นครั้งแรกของการลืมตา 
กำหนดรู้อาการที่เหลียวลงมองตัวมด 
กำหนดรู้อาการเห็นมด 
กำหนดรู้ถ้ามีความรู้สึกเกิดในใจ 
กำหนดรู้อาการที่มือไปปัด หรือปากที่เป่าตัวมดให้ออกไปจากตัว 
....... 
...... 
จนกระทั่งกลับมานั่งหลับตากำหนดอารมณ์กรรมฐานตามเดิม 
(ความละเอียดของการกำหนดก็ขึ้นอยู่กับความแก่กล้าของสติ 
สัมปชัญญะของแต่ละคน) 
ความต่อเนื่องของสติที่กำหนดรู้เป็นขณิกะๆนี้ สำคัญ เพราะ 
เป็นปัจจัยให้ทั้งสติเองและสมาธิมีกำลังแก่กล้ามากขึ้นเรื่อยๆ  

ที่ผมมีความเห็นว่าควรนั่งต่อให้ครบนั้น เพราะเห็นว่าน่าจะเป็น 
สิ่งรบกวนเล็กน้อย เป็นเวทนาที่น่าจะพอกำหนดรู้ต่อไปได้ไม่ยาก 
นัก  เพราะในการปฎิบัติตามความเห็นส่วนตัว ผู้ปฎิบัติยังต้อง 
พบเจออุปสรรคหนักๆอีกมากมายอยู่ข้างหน้า 

ส่วนที่คุณวิชากล่าวว่า 
>อาการใด ที่ทำให้พละ 5 เสียความสมดุลย์มาก ก็ปรับเปลียนให้สมดุลย์ 
>แต่ถ้าขณะใดที่พละ 5 พอเหมาะ ไม่ว่าอาการนั้นจะเจ็บปวด ก็จะดำรงณ์อยู่ได้ 

ผมอ่านแล้วรู้สึกว่าแต่ละประโยคเป็นทั้งเหตุทั้งผลของอีกประโยคหนึ่ง 

แต่ผมเห็นด้วยว่าถ้าเจริญอินทรีย์๕ จนแก่กล้าเป็นพละ๕(องค์ธรรมเดียว 
กันกับอินทรีย์๕)  ได้แล้ว ไม่ว่าอารมณ์ เช่นอาการเจ็บปวดจะมากเท่าใด 
สติยังกำหนดรู้อย่างต่อเนื่องเป็นกลางได้ เพราะพละ๕นี้มีกำลังมาก เป็น 
ธรรมที่เกื้อกูลต่อวิปัสสนา 

ส่วนความไม่สมดุลย์ของอินทรีย์๕ คือ สติ สมาธิ วิริยะ สัทธา และปัญญา 
เป็นข้อควรระวัง สมาธิกับวิริยะต้องสมดุลย์กัน สัทธากับปัญญาต้องสมดุลย์กัน 
ส่วนสติยิ่งมีมากเท่าไรยิ่งดี อินทรีย์๕ เป็นธรรมที่ควรเจริญให้มาก  
โดยปกติถ้าปฏิบัติใหม่ๆ(หรือแม้แต่มือเก่าๆอีกมากมาย)  อาจไม่สามารถ 
วิเคราะห์ด้วยตนเองได้ว่า อินทรีย์ใดของตนอ่อนหรือแก่ไป โดยมากจะเป็น 
หน้าที่ของวิปัสสนาจารย์ที่คอยดูแลเรา ท่านจะคอยปรับแก้ให้  อันนี้พูดถึง 
การปฎิบัติอย่างต่อเนื่อง 

ก็ขอสรุปอย่างเดียวกับคุณวิชาว่า "มีสติทุกเวลา" ซึ่งเท่ากับ 
"ความไม่ประมาท"นั่นเอง ที่จะยังสติปัฎฐาน๔ ให้สมบูรณ์ 

ยินดีที่ได้ร่วมสนทนาธรรมครับ

 จากคุณ : รูปนามหนึ่ง [ 5 ก.ย. 2543 / 23:32:14 น. ]  
     [ IP Address : 203.170.137.56 ] 
 

จบกระทู้บริบูรณ์

 กลับหน้าแรก