ขณะทำกรรมฐานเผลอบ่อยจะทำอย่างไร                                                                           กลับหน้าแรก 
 
 
 
 เนื้อความ : 
ขณะทำกรรมฐานเผลอบ่อยจะทำอย่างไร? 
          ขณะที่กำหนดกรรมฐานอยู่ อาจจะเดินจงกรม หรือนั่งอยู่ อาจจะกำหนด อานาปานสติ หรือ แบบยุบหนอพองหนอ ถ้าเกิดเผลอบ่อย  
ชอบคิดโน้นคิดนี้ไม่เป็นเรื่องเป็นราว  จะทำอย่างไร หรือมีอุบายอย่างไร  ให้เผลอคิดนั้นหายไป และมาอยู่กับการกำหนดกรรมฐานเสียมากกว่า  
(ขอที่ทำมาแล้วและได้ผลไม่ได้คิดเอา)
 จากคุณ : Vicha [ 5 ก.ย. 2543 / 21:19:13 น. ]  
     [ IP Address : 203.151.36.3 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 1 : (พีทีคุง) 
เพราะจิตได้หมายรู้อยู่บ้างแล้วว่ามีอาการเผลอปรากฎอยู่มาก 
อันเป็นลักษณะที่จิตถูกนิวรณ์ปกคลุมอยู่ ไม่สว่างจากภายใน 
ก็ใช้ "ตัวเผลอ" นี้เป็นเครื่องระลึกรู้ของจิตไป 
เวลาจิตเผลอ(ขาดสติลง) ก็จับจิตมาตั้ง สติ รู้ใหม่ 
ทำไปจนกว่าจิตจะเริ่มแยกออก 
เห็นไตรลักษณ์แห่งตัวเผลอด้วยจิตของเขาเอง 
จิตก็จะเห็นความเผลอ เป็นต่างหากจากจิตเอง 
ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ผู้ดูอยู่ต่างหาก 
เห็นความเผลอสักแต่รู้ จิตก็ไม่ทะยานไปตามสิ่งเศร้าหมอง 
คือ ความเผลอ นั้นๆอีก 

เมื่อแยกจิตออกจากนิวรณ์ต่างๆได้แล้ว 
จิตจะมีลักษณะรวมรู้เป็นหนึ่ง ตื่น รู้ ว่องไว เป็นกลาง 
ก็จับจิตชนิดนี้สอนตัวจิตให้เห็นความยึดในขันธ์ต่อไป

 จากคุณ : พีทีคุง [ 6 ก.ย. 2543 / 01:49:45 น. ]  
     [ IP Address : 202.183.214.204 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 2 : (พีทีคุง) 
สรุปรวมความสั้นๆว่า 
ขณะที่จิตเห็นอะไรเด่นชัด ก็ใช้สิ่งนั้นเป็นเครื่องระลึกรู้ไป 
จนจิตเห็นจากภายในของจิตเอง สักแต่รู้ ในสิ่งระลึกรู้นั้นๆ 

อย่างไรก็ตามแรกๆหากยังไม่ชำนาญ จะเหมือนเราใช้กำลังจิตค่อนข้างมาก 
เพราะเสียไปกับการทะยานไปตามกิเลส 
ที่พอเผลอทีจิตก็ทะยานออกไปตามความเศร้าหมองนั้นๆที 
ก็ต้องมีตั้งใจจะศึกษาตรงนี้ มีความเพียรตรงนี้กันเสียหน่อยครับ 
โดยไม่ไปเร่ง เพ่ง บังคับจะแยกให้ได้ 
เพราะไม่อย่างนั้นจิตจะสิ้นเปลืองกำลังโดยใช่เหตุอีก 
ให้เมื่อจิตที่หมั่นรู้ศึกษาอยู่เนืองๆ จิตจะเริ่มเท่าทันจิตที่ทะยานนั้นๆได้เรื่อยๆเอง 
ด้วยสติ สัมปชัญญะ ด้วยความเป็นกลางของจิต(เท่าที่มีขณะนั้น) 
เป็นเครื่องรักษาจิตครับ

 จากคุณ : พีทีคุง [ 6 ก.ย. 2543 / 01:56:00 น. ]  
     [ IP Address : 202.183.214.204 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 3 : (tchurit) 
เผลอคิดเรื่องอื่นก็ให้รู้ว่าคิดเรื่องอื่น 
พอคิดเรื่องอื่นเสร็จแล้ว 
จิตก็กลับมานิ่งเพราะหมดไม่มีเรื่องให้คิดอีกแล้ว
 จากคุณ : tchurit [ 6 ก.ย. 2543 / 08:49:39 น. ]  
     [ IP Address : 203.157.42.217 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 4 : (ประสงค์ มีนบุรี) 
เผลอแล้วก็ปล่อยไป 
เมื่อมีสติระลึกได้ก็พยายามใหม่ 
พยายามระลึกบ่อย ๆ ก็เผลอน้อยลง
 จากคุณ : ประสงค์ มีนบุรี [ 6 ก.ย. 2543 / 09:36:43 น. ]  
     [ IP Address : 203.147.6.37 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 5 : (ขาโจ๋) 
เผลอบ่อย  ก็ตั้งต้นบ่อย ๆ   ซิ    บุคคลที่ไม่เผลอเลยก็คือพระอรหันต์เท่านั้น  
พระอนาคามีท่านยังเผลอเลย     เราปุถุชนคนเดินดินย่อมเป็นของธรรมดาจริง ๆผมดูคำถามของคุณมันแปลก ๆ  ดี     แล้วเวลาที่คุณเดินจงกรมหรือนั่ง   คุณไม่ได้กำหนด  อานาปานุสติหรอกเหรอ 
ถ้าคุณทิ้งอานาปานุสติ   คุณก็ขาดสติ    คุณอาจบอกว่าก็รู้อาการเคลื่อนไหวของกาย 
ก็จริงอยู่   แต่หยาบเกินไป   มันจึงเผลอได้ง่าย     ต้องมีสติอยู่กับลมหายใจเป็นพื้นฐาน 
แล้วรับรู้ออกไปจากสติที่เรากำหนดอยู่รับรู้ถึงการเคลื่อนไหวของกาย 
ตรงที่เรากำหนดสติอยู่ตรงไหนก็ตรงนั้นที่เราเรียกว่าจิต  ก็คือตัวรู้ 
ไม่อย่างนั้น  ในมหาสติปํฏฐาน  4    ไม่ขึ้นต้นด้วย  อานาปานุสติ 
นักปฏิบัติส่วนใหญ่ที่เข้าไม่ถึงอารมณ์ของการปฏิบัติจริง ๆ ก็เพราะทิ้งอานาปานุสติ   คือทิ้งตัวรู้   วิปัสนาก็เลยกลายวิปัสนึกไป 
การปฏิบัติในแนวทางของมหาสติปัฏฐาน  4  ยากมากสำหรับผู้ที่มีเจ้ากรรมนายเวรมาก    เพราะเมื่อตั้งสติกับลมหายใจ   ก็จะถูกรบกวนให้คิดนอกลู่นอกทาง 
จะง่ายก็สำหรับผู้ที่มีบารมีสั่งสมอบรมมาดีแล้วในอดีต 
ผู้ที่ปฏิบัติใหม่ก็ต้องใช้แนวทางปฏิบัติในกรรมฐาน  40  กองมาช่วย  
ต้องเพ่งอารมณ์ใจให้อยู่กับลมหายใจบ้าง   หาวัตถุมาเพ่งบ้าง   เพื่อให้จิตมีกำลัง 
ที่จะขจัดกิเลสมารที่มารบกวนจิตใจ 
ลองพิจจารณาดูอันไหนพอทำได้ก็ลองทำ  ค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไป 
ถ้าอารมณ์ของอานาปานุสติมันทรงตัวเสียแล้ว   อย่างอื่นก็เป็นของง่าย  มันยากอยู่ตัวต้นนั้นแหละ 
 

แล้วคุณไม่สนใจในอิทธิฤทธิ์บ้างเหรอ.......  
 

 

 จากคุณ : ขาโจ๋ [ 6 ก.ย. 2543 / 12:56:45 น. ]  
     [ IP Address : 202.183.179.241 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 6 : (หนู) 
รู้ตัวว่าเผลอบ่อยๆ นี่ดีกว่าไม่รู้ว่าเผลอเลยนะคะ อิอิ
 จากคุณ : หนู [ 6 ก.ย. 2543 / 13:35:54 น. ]  
     [ IP Address : 144.9.158.88 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 7 : (รูปนามหนึ่ง) 
ผมคิดว่าคุณวิชาคงผ่านอาการพวกนี้มาอย่างโชกโชน 
และคงมีวิธีแก้ไขโดยส่วนตัวแล้วกระมัง  
ที่ตั้งกระทู้นี้คงเป็นการเสวนาเพื่อให้เกิดความรู้โดย 
กว้างขวางมากกว่า 

อยากตั้งข้อสังเกตว่า อาการเผลอในรูปแบบต่างๆ ยกเว้นการเผลอสติจาก 
การกำหนดรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า การเผลอนั้นๆเป็นอารมณ์กรรมฐาน 
หรือเป็นที่ให้สติกำหนดรู้ได้ทั้งสิ้น เช่น อาการคิด อาการฟุ้ง 

ดังนั้นการเผลอสติหรือขาดการกำหนดรู้นี้เองที่น่าจะหมายถึง การพลาดจาก 
อารมณ์กรรมฐาน ตามคำถามของคุณวิชา ซึ่งถ้าเป็นอย่างนี้ก็ควรต้องปรับปรุง 
เพื่อความก้าวหน้าของการปฎิบัติ ผมเองมีประสพการณ์ไม่มากนัก แต่ก็เคย 
ทำมาหลายวิธีเช่น 

๑. ใช้คำกำกับการกำหนดรู้(ไม่อยากใช้คำว่าบริกรรมเพราะไม่ตรงความหมาย) 
     อันนี้เป็นเทคนิคของครูบาอาจารย์ เช่นขณะเดิน กำหนด อาการก้าว 
     เริ่มจากขวาย่าง ซ้ายย่าง เป็นจังหวะเดียว หรือยก เหยียบ, ยก เหยียบ,ฯลฯ 
    จะหนอหรือไม่แล้วแต่ความถนัด  ส่วนเวลานั่งกำหนด ก็ใช้คำกำกับ ว่า 
     พองหนอ ยุบหนอ หรือ เข้า ออก เข้า ออก แล้วแต่ถนัด โดยเน้นความสำคัญ 
    ว่า ให้คำที่กำกับการกำหนด กับอาการที่กำหนดทันเวลากันพอดี และต้องไม่ 
     เอาใจจดจ่ออยู่ที่คำกำกับ แต่ให้จดจ่อ อยู่ที่อาการที่กำหนดรู้  
     เทคนิคนี้เป็นอุบายทำให้จิตไม่มีเวลาเหลือให้กวัดแกว่งไปหาอารมณ์ที่เป็น 
     เหตุแห่งการทำให้ขาดสติ 

๒. อีกวิธีที่เคยใช้นอกจากพองยุบ ที่ใช้ตอนปฏิบัติขั้นตอเนื่อง คือใช้กับชีวิต 
    ประจำวันคือ การกำหนดลมหายใจเข้าออกที่กระทบปลายจมูก โดยใช้การ 
    นับเลขในใจเป็นชุดๆ ดังนี้ 

รอบที่หนึ่ง 
หายใจเข้านับ   หายใจออกนับ 
เข้า ๑             ออก ๑ 
เข้า ๒             ออก ๒ 
. 
 
เข้า ๕             ออก ๕ 

รอบที่สอง 
หายใจเข้านับ   หายใจออกนับ 
เข้า ๑             ออก ๑ 
เข้า ๒             ออก ๒ 
. 
 
เข้า ๕             ออก ๕ 
เข้า ๖              ออก ๖ 

รอบที่สาม 
หายใจเข้านับ   หายใจออกนับ 
เข้า ๑             ออก ๑ 
เข้า ๒             ออก ๒ 
. 
 
เข้า ๕             ออก ๕ 
เข้า ๖              ออก ๖ 
เข้า ๗              ออก ๗ 

รอบที่สี่ 
หายใจเข้านับ   หายใจออกนับ 
เข้า ๑             ออก ๑ 
เข้า ๒             ออก ๒ 
. 
 
เข้า ๕             ออก ๕ 
เข้า ๖              ออก ๖ 
เข้า ๗              ออก ๗ 
เข้า ๘              ออก ๘ 

รอบที่ห้า 
หายใจเข้านับ   หายใจออกนับ 
เข้า ๑             ออก ๑ 
เข้า ๒             ออก ๒ 
. 
 
เข้า ๕             ออก ๕ 
เข้า ๖              ออก ๖ 
เข้า ๗              ออก ๗ 
เข้า ๘              ออก ๘ 
เข้า ๙              ออก ๙ 

รอบที่หก 
หายใจเข้านับ   หายใจออกนับ 
เข้า ๑             ออก ๑ 
เข้า ๒             ออก ๒ 
. 
 
เข้า ๕             ออก ๕ 
เข้า ๖              ออก ๖ 
เข้า ๗              ออก ๗ 
เข้า ๘              ออก ๘ 
เข้า ๙              ออก ๙ 
เข้า ๑๐            ออก ๑๐ 

พอครบรอบที่หก ก็กลับไปรอบที่หนึ่งใหม่ไปเรื่อยๆ  
ตามประสพการณ์ส่วนตัว วิธีการนี้ให้ สติและสมาธิดีมาก 
และอีกอย่างคือมีข้อดีอย่างมากในการตรวจสอบอาการเผลอ 
เพราะถ้าเผลอสติจะนับผิดทันที ท่านก็จะให้ตั้งต้นใหม่ตั้ง 
แต่รอบที่หนึ่ง  

ปฏิบัติแรกๆจะต้องเริ่มนับใหม่หลายรอบทีเดียวกว่าจะนับ 
ได้ครบหกรอบจริงๆ 

วิธีการนี้มีกล่าวอยู่ทั้งใน วิสุทธิมรรค และ พุทธธรรม 

พอดีช่วงนี้เวลาน้อย ขอแสดงความเห็นเท่านี้ก่อน 
มีเวลาแล้วจะเข้ามาคุยใหม่ 

เจริญในธรรมทุกๆท่านครับ 
 

 จากคุณ : รูปนามหนึ่ง [ 6 ก.ย. 2543 / 16:17:19 น. ]  
     [ IP Address : 202.183.248.235 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 8 : (Vicha) 
ผมจะกล่าวตามที่ผมทำผ่านมา จะไม่ขอกล่าวว่า การกำหนดนั้นเป็นอานาปานะสติ  
หรือยุบหนอพองหนอ หรือกรรมฐาน ใน 40 อย่าง ผมจะเริ่มอย่างนี้ 
     1.เมื่อเริ่มกำหนดกรรมฐาน ต้องตั้งใจ ให้มีสติตลอด 
     2.เมื่อเผลอ หมายถึงการเผลอลืมตัวกำหนดคือสติไม่เหลืออยู่เลย  
ไม่รู้ว่าจินตนาการไปถึงไหนแล้ว สำหรับผู้ปฏิบัติใหม่ๆ หรือยังไม่ชำนาญ ต้องประสบทุกคน  
เมื่อพอรู้สึกตัว ต้องรีบตั้งสติใหม่ทันที่ ทุกครั้งที่เผลอ ต้องตั้งสติทุกครั้ง ไม่ปล่อยให้สะบายๆ 
      3.เมื่ออยู่กริยาบทปกติ ต้องมีสติระลึกกาย หรือส่วนที่ชัดเจน หรืออารมณ์ที่ชัดเจน  
เป็นประจำ  
    ผมทำอย่างนี้เป็นประจำ จึงทำให้ไม่เผลอ กำหนดกรรมฐานติดต่อกันเป็นชั่วโมงๆ
 จากคุณ : Vicha [ 6 ก.ย. 2543 / 21:07:33 น. ]  
     [ IP Address : 203.151.36.3 ] 
 

จบกระทู้บริบูรณ์

 กลับหน้าแรก