สั่งเครื่องให้ทำการพิมพ์
ลานธรรมเสวนา > สติปัฏฐาน ๔
กระทู้ 18258 คุยเรื่องอานาปานสติตามที่รู้และเรียนรู้มา ( http://larndham.net/index.php?showtopic=18258 )


คุยเรื่องอานาปานสติตามที่รู้และเรียนรู้มา

    บทความทั้งหมดเป็นการเทียบเคียง และวิเคราะห์  ดังนั้นผู้อ่านต้องโยนิโสมนสิการในการอ่าน
     ส่วนการร่วมวงคุยหรือสนทนาก็เชิญเลยนะครับ

      ความจริงอานาปานสตินั้นผมได้รู้จักและปฏิบัติตามประสาเด็กมานานมากแล้ว ทั้งแต่ อายุประมาณ 15 หรือ 16 ปี (ประมาณ พ.ศ 2517)  ก็เพราะอิทธิพลชื่อเสียงของหลวงปู่มั่น จึงมีหนังสือเกี่ยวกับท่านมากมาย ที่มีทริกหรือเทคนิคอยู่ว่า ว่าหายใจเข้า ภาวนาว่า พุทธ  หายใจออก ภาวนาว่า โธ  ตามลมหายใจ ด้วยความเป็นเด็กอยู่ จึงเห็นว่าง่าย และน่าจะดีกว่า ที่ผมนั่งสมาธิด้วยตัวเองที่นั่งแล้วรู้ตัวเองเฉยๆ ธรรมดา ไม่มีอุบายอะไรเลยตามประสาเด็กที่ไม่รู้อะไร เพียงแต่เรียนแบบการนั่งของพระพุทธรูป
       ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ 2517 ผมก็ปฏิบัติแบบ หายใจเข้า ภาวนาว่า พุทธ  หายใจออกภาวนาว่า โธ หลังจากสวดมนตร์ไหว้พระก่อนนอนเป็นประจำ ยาวมาเรื่อยจนถึงปี พ.ศ 2523 ผมก็ได้อ่านศึกษาอานาปานสติจากท่านพุทธทาสในมาหาวิทยาลัย ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้คำภาวนาก็ได้ แต่ผมได้ใช้คำภาวนาว่า พุทธ - โธ จนติดเป็นนิสัยเสียแล้ว เพราะฝึกมานานเป็นเวลา 6 ปีแล้ว ผมจึงปรับใช้สองแบบ คือบางช่วงที่ไม่มีภาวะเหมาะสมในการภาวนา พุทธ-โธ  ผมก็จะตั้งความรู้สึกที่จมูก แล้วดูลมเข้าและออก และผมต้องปฏิบัติอย่างเข้มข้นขึ้นอีก เพื่อรักษาใจตนเองต่อภาวะความกดดันต่างๆ จนถึงปี พ.ศ 2526  โดยตั้งจิตไว้ว่าเมื่อระลึกได้เมื่อใด ต้องมีสติดูลมหายใจเข้าออกทุกครั้งทุกเวลา
      รวมเวลาที่ผมฝึกดูลมหายใจเข้าออกตามประสาเด็กคนหนึ่งที่ปฏิบัติด้วยตัวเองจนถึงสิ้นปี 2526 เป็นเวลาถึง 10 ปี
 
     ที่นี้เรามาดูกันว่า อานาปานสติในพระสูตร มีอย่างไรบ้าง

                   เอกธรรมสูตร
                 ว่าด้วยอานาปานสติ
   [๑๓๐๕] พระนครสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม
อันหนึ่ง อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก ธรรมอันหนึ่งเป็นไฉน? คือ
อานาปานสติ.
   [๑๓๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
อย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้ง
กายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
   เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
   เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
   เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น
   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจเข้า
   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก เป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า
   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งปีติหายใจเข้า
   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งสุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งสุขหายใจเข้า
   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจเข้า
   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจเข้า
   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจ เข้า
   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้บันเทิงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักทำจิตใจให้บันเทิงหายใจเข้า
   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่นหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า
   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจเข้า
     ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจเข้า
     ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความสละ
คืนหายใจเข้า
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก.

                                                 จบ สูตรที่ ๑

     คราวนี้ลองเปรียบเทียบดูว่า ตลอดเวลาฝึก 10 ปี ถึงปลายปี พ.ศ 2526 ผมฝึกอานาปานสติถึงขั้นไหน?  (เป็นการเทียบเคียง และวิเคราะห์ ก็อย่าให้บางท่านคิดเลยเถิดไปนะครับ)
     เบื้องต้น “(1) เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า”  ขั้นนี้ย่อมปฏิบัติได้อยู่แล้วไม่มีปัญหา  แม้แต่ผู้อ่านเมื่อมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า ก็ย่อมทำเป็นอยู่แล้ว แต่จะดูได้นานหรือไม่ได้นานเท่านั้น
     ขั้นต่อไป
(2) เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
 (3) เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น
 (4) ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจเข้า
 (5) ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก เป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า
    ก็เป็นอันว่าตลอดเวลา 10 ปี ที่ฝึกตามประสาเด็ก   ผมนั้นได้ผ่านตามขั้นตอนข้างบนทั้งหมด จึงพอระงับความกดดันทางสังคมและชีวิตอยู่ได้ตามควรให้ดำรงอยู่ได้ในการต่อสู่ทางการศึกษาทางโลก โดยที่สถานการณ์ไม่ได้อำนวยเลย
      และตลอดเวลา 10 ปีนั้นผมไม่เคยรู้จักคำว่า ปิติ ที่ชัดเจนในสมาธิเลย ก็เป็นเพียงแต่ยินดีเล็กๆ น้อยๆ  ระงับกาย สงบใจ และสามารถระงับการเป็นหวัดน้ำมูกไหล ระยะต้นๆ ได้ เพียงแค่นี้ก็ช่วยให้ฟันฝ่าอุปสรรคอย่างหนักหน่วงไปได้ระยะหนึ่ง

      และเมื่อปลายปี พ.ศ 2526 ผมได้เข้ากรรมฐานแบบยุบหนอ-พองหนอ ตามแนวคณะ 5 วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ โดยมีพระธรรมธีรราชมุนี(โชดก) เป็นอาจารย์สอนกรรมฐาน ที่ 1 และพระครูปลัดธีรวัตร(พนม) เป็นอาจารย์สอนกรรมฐานที่ 2  ใน 8 วันของครั้งแรกที่เข้าปฏิบัติกรรมฐาน ผมมีปัญหาอย่างมากเรื่องเอาสติไปไว้ที่ท้อง กำหนด ยุบหนอ-พองหนอ ไม่ได้ สติจะมาอยู่ที่จมูกดูลมเข้าและออกตลอดเวลา แต่ผมสามารถกำหนดกรรมฐานอย่างอื่น เช่น เดินจงกรมระยะต่างๆ กำหนด นั่งหนอ ถูกหนอ เจ็บหนอ รู้หนอ ง่วงหนอ ฟุ้งหนอ ฯลฯ  ตามสิ่งที่ปรากฏได้ถูกต้องตามการปฏิบัติของสำนัก

     เมื่อผมได้เข้าปฏิบัติธรรมครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรก 1 เดือนภายในปีเดียวกัน ในวันสองวันแรกผมมีความกังวลมากเรื่อง กำหนดท้อง ยุบหนอ-พองหนอไม่ได้ เพราะสติอยู่ที่จมูกอย่างเดียว ในวันที่ 3 ผมปรงใจ ดูลมหายใจเป็นปกติ แต่ปฏิบัติอย่างอื่นตามสำนักทุกอย่าง ความอิ่มเอิบ ความเบาความโปร่งของร่างกายก็บังเกิดขึ้น เป็นความสุขและปีติเล็กๆน้อยๆ หล่อเลี้ยงในการปฏิบัติอยู่ตลอด ซึ่งผมได้เห็นแล้วได้เป็นแล้วในขั้นที่สูงขึ้นของอานาปานสติ คือ
   “(6) ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งปีติหายใจเข้า” แต่ผมก็หาได้รู้และเข้าใจว่าคืออะไร?  รู้แต่เพียงว่า ขณะลมหายใจออกหรือเข้าเป็นรูป รู้ว่ามีลมหายใจหรือออกเป็นนาม รู้ว่ากายที่นั่งรูป รู้ว่านั่งเป็นนาม คือรู้จักว่านี้เป็นรูป นี้เป็นนาม ในขณะปฏิบัติตามคำแนะนำของหลวงพ่อและอาจารย์เท่านั้น นี้ก็เป็น “นามรูปปริเฉทญาณ” โดยการปฏิบัติ
      ในวันถัดมาเมื่อผมนั่งสมาธิอยู่ ดูลมหายใจออกและเข้าอยู่ กายก็มีความโปร่งเบา ความรู้สึกต่างๆ ก็แคบเข้า จนทิ้งความรู้สึกทางกายและลมหายใจจนหมดสิ้น เสียงด้านนอกไม่รบกวนเพราะแผ่วเบามาก ใจสว่างเหมือนปุยเมฆมีปีติสุขและความเป็นหนึ่ง ปีติสุขนั้นไม่เคยมีมาก่อนในชีวิต และคงหาไม่ได้จากโลกวัตถุทั้งหลาย อารมณ์นั้นทรงอยู่เป็นเวลาพักหนึ่ง แล้วมีเสียงกระซิบหรือใจกระซิบตัวเองว่า “ให้พยายามทำต่อไป อย่าได้หยุด” หลังจากนั้นก็มารับรู้ร่างกายและลมหายใจเป็นปกติ ปฏิบัติธรรมไปตามปกติ ในวันต่อมา ก็คิดปรุงแต่งต่อไปว่า “การปฏิบัติที่นี้เขาให้กำหนดภาวนาทุกสิ่งที่ปรากฏ” ดังนั้นเมื่อมีลมหายใจออกหรือเข้าก็ต้องมีคำภาวนาตามไปด้วย

     จึงได้คิดคำภาวนาขึ้นเองเพราะไม่กล้าบอกอาจารย์ตอบสอบอารมณ์กรรมฐาน ว่า เมื่อหายใจเข้าภาวนาว่า “ไม่เที่ยงและเป็นทุกข์” เมื่อหายใจออกภาวนาว่า “ไม่ใช่ตัวตนยึดมั่นไม่ได้”  จึงตัดสินใจปฏิบัติไปตามนั้น  ซึ่งช่วงนี้ก็จะเห็นเพิ่มขึ้นคือ บางครั้งรู้รูปก่อน จึงรู้นามทีหลังในขณะที่กำหนดภาวนา เช่นเห็นว่ามีลมหายใจก่อน จึงรู้ลมหายใจ หรือรู้ว่ามีลมหายใจก่อนจึงเห็นลมหายใจ หรือกรณีอื่น เช่นรู้ว่านั่งก่อนจึงเห็นรูปนั่ง หรือเห็นรูปนั่งก่อนจึงรู้ว่านั่ง จะเห็นว่ารูปและนามต่างก็มีปัจจัยซึ่งกันและกันเกิดขึ้น  นี้ก็เป็น “ปัจจัยปริคคหาญาณ”
โดยการปฏิบัติ

       แต่เมื่อผมกำหนดภาวนาหายใจเข้าว่า “ไม่เที่ยงและเป็นทุกข์” หายใจออกว่า “ไม่ใช่ตัวตนยึดมั่นไม่ได้”  ทำให้เกิดความรู้ขึ้นว่า รูปและนาม ทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป เปลี่ยนไป ทุกขณะ ๆ เป็น ภาวะขาดตอนกัน(สันสติขาดตอน)ของรูปและนามที่กำหนดอยู่เรื่อยๆ  ปรากฏแจ้งชัดอยู่ทุกเวลา นี้ก็เป็น “สัมมสนญาณ” แต่เป็นสัมมสนญาณ อย่างอ่อน

      เป็นอันว่าวิปัสสนาญาณนั้นปรากฏอย่างเรียงลำดับอย่างถูกต้องในเบื้องต้น  แต่อานาปานาสติกำลังข้ามขั้นตอนอย่างมากมาย มีการลัดขั้นตอนประสมประสาน ทั้งแต่ขั้นที่ 7 แต่ข้ามถึงขั้นที่ 13   ดังนี้
(7) ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งสุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งสุขหายใจเข้า
(8) ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจเข้า
(9) ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจเข้า
(10) ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจ เข้า
(11) ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้บันเทิงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักทำจิตใจให้บันเทิงหายใจเข้า
(12) ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่นหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า
(13) ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า


    คือยังไม่เป็นรู้ผู้ รู้แจ้งสุข  รู้แจ้งจิตสังขาร ผู้ระงับจิตสังขาร รู้จักตั้งจิตมั่น และเปลื้องจิตเป็น   ฐานข้อที่ 7 ถึง 12 ยังไม่แน่นยังไม่มั่นคง แต่ข้ามไปข้อ 13 เลย  แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ขอให้ติดตามตอนต่อไป วันนี้เวลาหมดเสียก่อน
 

ตอบโดย: Vicha 05 ม.ค. 49 - 16:59


ผมมาขอต่อจากที่พิมพ์ไว้แล้วเมื่อวาน

    จากข้อมูลเมื่อวานหลายท่านอาจสงสัยว่าทำไม? ผมจึงสามารถจัดเรียงลำดับ วิปัสสนาญาณได้ละ  ผมขอตอบ ซึ่งความจริงแล้วในช่วงนั้นในเวลานั้นผมไม่สามารถจัดเรียงวิปัสสนาญาณหรือรู้จักชื่อวิปัสสนาญาณได้หรอกครับ  แต่ผมเห็นภาวะหรือมีภาวะอย่างนั้นขณะปฏิบัติซึ่งยังจำได้อยู่  จึงสามารถเรียบเรียงได้ในภายหลังครับ

     เมื่อผมได้มามีสติที่จมูกและกำหนดภาวนาตามที่กล่าว  ต่อไปอีก 2 วัน ขณะช่วงเวลาพักผมก็ขึ้นไปบนห้อง ก็ยังกำหนดกรรมฐานต่อ รอใช้ห้องน้ำ แล้วเอนตัวลงนอนอย่างช้าๆ พร้อมทั้งยังกำหนดกรรมฐานอยู่ทุกขณะ เมื่อหัวถึงหมอนร่างกายก็ผ่อนคลาย สติก็จะเด่นชัดที่จมูก ก็กำหนดภาวนาตามลมหายใจไปเรื่อยๆ  แล้วจิตหรือความรู้สึกก็ค่อยๆ วางความรู้สึกทางกายไปจนเข้าสู่ภวังค์เสมือนจะหลับ แล้วบังเกิดนิมิตขึ้นมา เห็นพรอายุประมาณ 60 ปี กำลังเดินขึ้นกุฏิ ใจก็น้อมเข้ามาเองว่า “เป็นพระนี้ดีหนอ ถ้าไม่มีราคะ โทสะ และโมหะ จะมีความสงบสุขอย่างยิ่ง” พอสิ้นสิ่งที่ใจน้อมนึก ทั้งใจและความรู้สึกทั้งหมดก็รวมตัวกันแล้วดิ่งจมลงลึกลงไปอีกเงียบหายไปเสมือนหลับลึก แล้วก็พุ่งดิ่งขึ้นมารับความรู้สึกนิดหนึ่งแต่มีสติสมบูรณ์ แล้วก็ดิ่งจมลึกลงไปอีก ปรากฏอาการอย่างนี้ถึง 3 ครั้ง ครั้งสุดท้ายเมื่อพุ่งดิ่งขึ้นมาก็รับรู้ทั้งตัวสติสมบูรณ์เต็มทั้งตัว ก็เกิดการสะบัดทุกส่วนของร่างกาย หลังจากนั้นจิตก็วางเฉยแบบสงบนิ่งไม่สนใจอะไร ไม่มีความง่วงอยู่แม้แต่นิดเดียว จึงลุกขึ้นเพื่ออาบน้ำก็กำหนดกรรมฐานต่อไปอีก ขณะตักน้ำขันแรกลาดตัวก็เกิดนึกขึ้นว่า “เอ่ะ อาการที่ผ่านมาเมื่อกี้คืออะไร?”  ก็เกิดนึกเข้าข้างต้นเองว่า “น่าจะเป็นมรรคผลนิพพาน”

      พอคิดอย่างนั้นความยินดีบังเกิด ความรู้สึกร้อนอุ่นๆ ก็เริ่มกระจายจากทรวงอกจนทั่วตัว และเมื่อมาพูดบอกกับเพื่อนว่า “น่าเป็นมรรคผลนิพพาน” ปีติอันมหาศาลก็ถาโถมเข้ามาเป็นละลอกคลื่นๆ ไม่สิ้นสุด ไม่ต้องนอนทั้งคืนไม่อ่อนเพียรไม่ง่วงนอน ยามเช้าร่างกายกระชับแน่น จึงลงไปดักรอหลวงพ่อ กราบหลวงพ่อ แล้วบอกหลวงพ่อว่า “ขอหลวงพ่อบวช เพราะได้เกิดอาการอย่างนี้(เล่าให้ฟัง)”  แล้วกล่าวสรุปเองแบบขาดสติว่า “เป็นมรรคผลนิพพาน ถ้าเป็นอรหันต์ไม่ได้บวชก็จะต้องตาย”
      หลวงพ่อส่ายหน้าแบบสงสาร แล้วกล่าวว่า “นี้มันเป็นอาการ ของญาณ 3 (สัมมสนญาณ) อย่างแก่ ที่มีกำลังสมาธิแรงระดับฌาน กำลังหลงอยู่ ระวังกรรมฐานแตก” แล้วหลวงพ่อรีบออกไปเพราะมีกิจนิมนตร์ เพราะอย่างไรก็มีพระอาจารย์อีกคนหนึ่งดูแลอยู่

       ผมไม่เชื่อในสิ่งที่หลังพ่อพูด เพราะหูอื่อตาลายด้วยความหลงเข้าใจผิด สาเหตุหนึ่งก็มาจากความกดดันทั้งหมดทั้งปวงในชีวิตอันมหาศาลสำหรับผมที่ไม่มีทางออก จึงออกมาทางยึดมั่นถือมั่นในมรรคผลนิพพานและการปฏิบัติ บวกกับสิ่งมหัศจรรย์ต่างๆ ทยอยปรากฏขึ้นกับผม คือตาเริ่มเห็นรัศมีระดับสติและสมาธิของผู้อื่นด้วยตาเนื้อธรรมดานี้  แล้วอุปกิเลสทั้ง 10 ก็ทยอยเกิดขึ้นกับผม พาให้หลงไปใหญ่  หลงไปตามความคิดคงไม่เท่าไหร?  แต่เมื่อมีสิ่งแปลกเข้าร่วมชวนให้หลง จึงอยู่ในภาวะที่ไม่หลงคงยากเสียแล้ว ทั้งที่พยายามเตือนตัวเองอย่างว่าอาจไม่ใช่นะ เพราะยังทุกข์อยู่ แต่กำลังความหลงนั้นมากกว่าเพราะหาสิ่งยึด เพราะในสังคมไม่มีสิ่งใดเลยที่ไม่กดดันเรา

        จึงตกลงกับเพื่อนว่าจะไปบวชที่บ้านตนเอง เมื่อออกจากกรรมฐาน ผมก็ไปขอบวชที่บ้านเกิด เกิดภาวะการไม่ได้บวชเกิดขึ้นขณะที่ทุกอย่างเตรียมไว้พร้อมและโกนหัวนุ่งขาวแล้วเพราะฐานะในสังคม โอ้ความทุกข์ความผิดหวังได้เกิดขึ้นกับตนเองและครอบครัวมากมาย  ทำให้รู้ว่า ผมเองกำลังหลงอยู่ เพราะความทุกข์นั้น ถ้าเป็นพระอริยะคงไม่ทุกข์อย่างนี้
          ถึงแม้จะรู้ว่าตนเองหลงแล้ว แต่การจะขจัดให้หมดไปเหมือนเทน้ำทิ้งในทันทีคงไม่ได้ ค่อยๆ ปรับจิตใจตนเอง จนมีโอกาสจะได้บวชในวัดอีกฝ่ายหนึ่งคือธรรมยุต อีกประมาณ 20 วัน
       ขอส่งข้อมูลเพียงแค่นี้ก่อนนะครับ ติดเที่ยง
 

ตอบโดย: Vicha 06 ม.ค. 49 - 11:56


แวะ เข้ามาอ่านครับ

ตอบโดย: Beckham 06 ม.ค. 49 - 12:03


ขอส่งข้อมูลคุยต่อนะครับ

     เป็นอันว่าเมื่อผมได้ไปหาพระอุปชา และพระคู่สวดท่านก็ยินดีที่จะบวชให้ แต่ต้องรอไปอีก 15 วัน บวชพร้อมกับนาคคนอื่นอีก 6 นาค และให้ผมพักอยู่ที่วัดเลย

    ช่วงนั้นผมรู้แล้วว่าผมหลงแล้ว  แต่ผมก็ยังทำกรรมฐานต่อ เพราะสะถานที่เงียบสงบถือศีล 8 เหมาะกับการทำกรรมฐานทุกอย่าง   โดยดำเนินสติกำหนดภาวนาตามลมหายใจเป็นหลักอยู่  ติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน ก็เกิดภาวะอย่างหนึ่งขึ้น (เน้นเรื่องสมาธิก่อน) ขณะที่กำหนดภาวนาตามลมหายใจอยู่ ซึ่งมีความสงบเย็น  ไม่ขอเรียกว่าเป็นปีติ เพราะปีติหยาบทั้งหลายนั้นสลายลงไปมากแล้วเมื่อรู้ตัวว่าหลงอยู่ จึงกำหนดภาวนาไปเรื่อยๆ แล้วแผ่วเบาลงๆ  จนทิ้งความรู้สึกทางกายทุกอย่างหายไป เหลือแต่ความรู้สึกทางใจล้วน สว่างใส เป็นหนึ่งมีสุขเด่นขึ้นอย่างชัดเจน ทรงอยู่อย่างนั้นสักพักหนึ่ง แล้วถอนออกมารับรู้ลมหายใจและทั่วกาย  จิตใจหายได้ไปตื่นเต้นยินดีไม่ จึงกำหนดภาวนาแบบเดิมอีก ก็เข้าไปอยู่ในภาวะอย่างเดิมอีก แต่คราวนี้จิตสว่างสดใสกว่า สุขก็เด่นชัดกว่าทรงอยู่นานกว่าครั้งแรก   เมื่อถอยออกมารู้ลมหายใจทั่วกาย ก็พยายามทำต่อ เพียงแต่ทรงอารมณ์กรรมฐานไปเรื่อยๆ มีความสุขเย็นชัดขึ้นทั่วกาย ในขณะทำกรรมฐาน เป็นอันว่า ขั้นที่ 7

  (7) ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งสุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งสุขหายใจเข้า

 ผมได้ทราบชัดแล้วจากการปฏิบัติเป็นอย่างไร

        มากล่าวถึง รูป-นาม ที่เห็นที่แจ้งชัดในขณะปฏิบัติธรรม ก็คือ รู้แต่เพียงว่า “ขณะลมหายใจออกหรือเข้าเป็นรูป รู้ว่ามีลมหายใจหรือออกเป็นนาม รู้ว่ากายที่นั่งรูป รู้ว่านั่งเป็นนาม คือรู้จักว่านี้เป็นรูป นี้เป็นนาม ในขณะปฏิบัติ” ซึ่งเป็นการไปรู้พร้อมกับการปฏิบัติที่กำหนดภาวนา รู้โดยที่ไม่ต้องไปนั่งคิดแยกแยะ รู้โดยที่ไม่ต้องคิดว่านี้คือรูป นี้คือนาม ใจละเอียดเอง  การเกิดภาวะการขาดตอนหรือเห็นสันสติ เมื่อกำหนดกรรมฐานก็ปรากฏอยู่เรื่อยๆ

        ดังนั้นการเกิดภาวะ การเกิดดับอย่างรวดเร็ว ซึ่งไม่ใช่การขาดตอน แต่เป็นการตัดขาดจากกันของรูปหรือนามที่กำหนดภาวนาได้บังเกิดขึ้น ซึ่ง “อุทัพยญาณ” ได้ปรากฏให้ทราบแล้วจากการปฏิบัติ หลังจากนั้นก็ได้บวชพระสมดังตั้งใจ
        
        เมื่อได้บวชพระก็ยังปฏิบัติกรรมฐานต่อ ก็เกิดภาวะกำหนดภาวนาอะไรก็หายไป เลือนไปเสียหมด เหมือนกับไม่มีสติอะไรชัดเด่น โดยที่ไม่ได้ฟุ้ง แต่เลือนหายไปเอง เป็นเวลาอยู่หลายวัน เหมือนตนเองปฏิบัติได้ไม่ดี  ความจริงแล้ว “ภังคญาณ” ได้ปรากฏให้เห็นในการปฏิบัติ
       
        หลังจากนั้นก็เกิดภาวะการกลัว หน่ายกลัวในจิต ในสิ่งที่ปรากฏ เห็นเป็นสิ่งที่น่ากลัวไปเสียหมด ยังจำได้ถึงความกลัวในจิตไม่ได้แสดงออกและไม่ได้กลัวผีนะครับ ไปเห็นหนังสือพิมพ์ ตั้งอยู่ เกิดความกลัวไม่อยากไปจับไปเปิดอ่าน กลัวความทุกข์ทั้งหลายของคนทั้งหลายในข่าวที่ไม่ดี  ยังจำได้ไม่ลืมเลย  ความจริงแล้ว “ภัยญาณ” ได้ปรากฏให้เห็นในการปฏิบัติ

     อุปสรรคการบวชของผมก็บังเกิดขึ้น หลังจากบวชได้ 15 วัน รองเจ้าอาวาสกลับมาจากกรุงเทพฯ  เมื่อทราบชื่อผม ก็ตำหนิผมทันทีว่า “ชื่อผมนั้นดูถูกคนไทย”  ผมนี้เป็นงง เลยครับ แล้วพูดต่ออีกว่า “ถ้าผมอยู่ในวันที่คุณจะบวชผมจะไม่ให้บวช”
        กรรมของผมจริงๆ หน้าตาเราก็ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ดีหรือไม่ดีเราก็ไม่เคยได้กระทำกันมาก่อนในชีวิตนี้  ทำไมท่านจึงมีอคติกับผมอย่างนี้   ไม่ใช่มีเพียงแค่นี้ตลอดทั้งพรรษา ท่านใช่ทุกวิถีทาง เพื่อโน้มน้าวพระต่างๆ ภายในวัด และวัดที่อยู่สายเดียวกัน  พูดเหตุการณ์ต่างและบ้านเมือง สรุปลงสุดท้ายว่า ไม่ควรให้ผมบวชต่อถ้าบวชไม่สึก จนเพื่อนพระมาบอกผม และเจ้าอาวาสอีกวัดหนึ่งบอกเพื่อนพระว่า ทำไม่ท่านรองเป็นอย่างนี้ พระที่ตั้งใจบวชอยู่นานก็มีน้อยอยู่แล้ว ถ้ามาบวชอยู่กับท่านก็น่าจะดี  แต่ถ้าอยู่ไม่ได้วัดนั้นให้มาอยู่กับท่านก็ได้
        
        ด้วยปัญหาเล่านั้นเป็นอันว่าสถานที่ไม่เป็นอัปปายะเสียแล้ว ทำให้การปฏิบัติวิปัสสนาวนเวียนอยู่ เห็นความทุกข์โทษของสังขาร ทั้งรูปนามที่กำหนดทั้งสภาวะแวดล้อม เป็น “อาทีนวญาณ “ ในการปฏิบัติกรรมฐานและโลกภายนอก อย่างชัดเจน มีความอึดอัดคับแคบเสียเหลือเกิน แต่ก็ยังดำเนินกรรมฐานต่อไป
      
         เมื่อดำเนินกรรมฐานอยู่ตลอด ความเบื่อหน่ายเห็นทุกข์ในทุกสิ่ง ปรากฏอยู่ทุกขณะจิตไม่ได้คิดไปเบื่อหน่าย มันเบื่อหน่ายเองเป็นเอง เพราะเห็นทุกข์เห็นโทษของรูปนามและสังขารทั้งหลายอยู่ตลอด มันชั่งแห้งแล้งเบื่อหน่ายเสียจริงๆ   เป็น “นิพพิทานญาณ” ปรากฏให้เห็นในการปฏิบัติ  จึงประสงค์นิพพานเป็นอย่างยิ่ง   แต่วิปัสสนาญาณได้วนเวียนอยู่อย่างนั้น   จนใกล้ออกพรรษา

        ตอนใกล้ออกพรรษา ท่านรองเจ้าอาวาส ใช้ไม้เด็ด นิมนตร์และขอร้องให้ผมสึกตรงๆ  ผมจึงย่อมสึกให้ท่าน ทั้งที่อาไรอาวอนในผ้าเหลืองอย่างสุดกำลัง แต่เพื่อให้กรรมต่างๆ ได้อโหสิกรรม จึงต้องตัดสินใจสึกให้ท่าน

       จะเห็นว่า ตั้งแต่ต้นผมก็ยังใช้กำหนดภาวนาลมหายใจเป็นหลักอยู่  เมื่อผมสึกออกมา ก็กลับเข้าไปทำกรรมฐานที่คณะ 5 วัดมหาธาตุต่อทันที  ผมจึงก็ตกลงปลงใจแล้วว่า จะไม่ใช้กำหนดภาวนาลมหายใจเป็นหลักอีกต่อไป ขณะที่ผมตกลงปลงใจ พระอาจารย์ก็ได้พูดขึ้นมาว่า “ผู้มีปัญญา เมื่อมาอยู่ในสำนักไหน ก็ต้องปฏิบัติตามสำนักนั้นให้ได้”  ผมจึงหยุดบทบาทอานาปานสติตั้งแต่ ใกล้สิ้นปี พ.ศ 2526 อย่างเด็ดขาด

   ยังมีให้อ่านต่อนะครับ(คงเป็นวันจันทร์)
 

ตอบโดย: Vicha 06 ม.ค. 49 - 16:47


อนุโมทนาครับ คุณวิชา  ที่ได้นำประสบการณ์อันมีค่ามาให้พวกเราได้อ่านกัน  มีคุณค่าจริงๆครับ   คุณวิชาครับ มีบางอย่างที่อ่านแล้วยังสงสัยอยู่  ถือว่ามาคุยแลกเปลี่ยนความรู้กันนะครับ

อ้างอิง
ผมได้ทราบชัดแล้วจากการปฏิบัติเป็นอย่างไร

        มากล่าวถึง รูป-นาม ที่เห็นที่แจ้งชัดในขณะปฏิบัติธรรม ก็คือ รู้แต่เพียงว่า “ขณะลมหายใจออกหรือเข้าเป็นรูป รู้ว่ามีลมหายใจหรือออกเป็นนาม รู้ว่ากายที่นั่งรูป รู้ว่านั่งเป็นนาม คือรู้จักว่านี้เป็นรูป นี้เป็นนาม ในขณะปฏิบัติ” ซึ่งเป็นการไปรู้พร้อมกับการปฏิบัติที่กำหนดภาวนา รู้โดยที่ไม่ต้องไปนั่งคิดแยกแยะ รู้โดยที่ไม่ต้องคิดว่านี้คือรูป นี้คือนาม ใจละเอียดเอง  การเกิดภาวะการขาดตอนหรือเห็นสันสติ เมื่อกำหนดกรรมฐานก็ปรากฏอยู่เรื่อยๆ

   ความรู้เรื่องรูป และนาม  ที่เป็นปัญญาญาณหรือที่เป็นวิปัสสนาญาณต่างๆขึ้นมาเรื่อยๆ  น่าจะต้องตั้งอยู่บนฐานของ รูปปรมัติ และนามปรมัติ    รูปปรมัติ ได้แก่ความเย็น ร้อน  อ่อน แข็ง ตึง และไหว ที่มากระทบตอนที่เราดูลาหายใจ  ที่ริมฝีปากหรือโพรงจมูก    หรือที่ท้องตอนฝึกพอง-ยุบ  ส่วนนามปรมัติ  อันได้แก่ความรู้สึก(ร้อน)    ความรู้สึก (ไหว  )....ขณะที่เราดูลาหายใจ หรือ มีอาการพอง  หรืออาการยุบ   สภาวะเหล่านี้ตอนผมฝึกพองยุบ  เรียกว่า ปรมัติสัจจะ
  คุณวิชาครับ  หากเราดูรูปนาม  ในรูปของสมมุติ  เช่น   รูปนั่ง รูปยืน ..หรือนามที่ไปรู้สมมุติ  เช่นนาม  ที่รู้รูปนั่ง   ตรงนี้ยังมีสมมุติจือปนอยู่    ปัญญาญาณที่ได้จากตามรู้ตามดูรูปนามสมมุติ  แล้วเห็นสภาวะเกิดขึ้น จึงไม่ใช่วิปัสสนญาณที่ถูกต้อง
   ปัญญาญาณ  ที่ถูกต้องน่าจะมาจากการตามดูตามรู้  รูปนามปรมัติ   ก็คือรูปปรมัติ และจิตเท่านั้น
   ไม่ได้มาเบรคคุณวิชานะครับ  เพียงความคิดเห็นเท่านั้น   ยังคอยตามอ่านตอนต่อไปครับ

 

ตอบโดย: chai999 06 ม.ค. 49 - 18:14


ตอบคุณ  chai999 โดยผมจะขอตอบด้วยภาษาที่เข้าใจกัน โดยไม่ขอข้องแวะศัพย์บัญยัติตามตำรานะครับ ที่คุณ  chai999 ถามผมเข้าใจครับ ผมต้องย้อนไปดูสิ่งนั้นอีกครั้งหนึ่ง เพื่อบรรยายตามความเห็นนะครับ พยายามไม่ยกคำบัญญัตินะครับ ดังนี้

     เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว

     เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว  รู้จากอะไร? รู้อย่างไร?

     รู้จากอะไร? ตอบ รู้จากลมที่กระทบกับโพรงปลายจมูก (ผมรู้ชัดที่ตรงนั้น) ลมออกที่เกิดการกระทบกับโพร่งปลายจมูกนั้นแหละเป็นรูป
     รู้อย่างไร?   ตอบ ใจที่รู้วาเกิดการกระทบแบบไหลออกนั้นแหละเป็นนาม

     เมื่อลมกระทบโพรงจมูกนาน รูปปรากฏนาน ใจ(นาม)ก็รู้ว่ากระทบแบบไหลออกนาน

   ผมบอกเพียงเคสนี้เคสเดียวคุณ chai999 คงเข้าใจนะครับ คงไม่ต้องแยกแยะในกรณีอื่นนะครับ

     ที่นี้มาถึงคำว่า อาการที่นั่ง ลักษณะมือขาวกระทบทับมือซ้าย ลักษณะเท้าขวากระทบกดทับเท้าซ้าย ส่วนขาทั่งสองและส่วนก้นกระทบกดทับกับพื้น นี้คือลักษณะของการนั่ง หรือกล่าวได้ว่าอาการที่กระทบหรือกดทับเป็นท่านั่งนั้นคือ รูป ซึ่งหลวงพ่อจะพูดกล่าวโดยรวมเพื่อความเข้าใจว่า เป็น รูปนั่ง เพื่อให้ง่ายในการกล่าวถึง คุณ chai999 คงเข้าใจนะครับ
    ดังนั้นใจที่รู้การกระทบกดทับทั้งหลายในขณะนั้งนั้นแหละคือ นาม

    คุณchai999 คงเข้าใจนะครับในเล่าเรื่อง เพื่อเป็นเรื่องลักษณะทั่วไป ถ้าไปเจาะในรายละเอียดว่าขณะวินาทีนั้นเป็นอย่างไร? แยกแยะอย่างไร? จะทำให้เรื่องนั้นเยินเย่อทำความเข้าใจได้ยากในเรื่อง  แต่เมื่อคุณ chai999 ถามขึ้นมา ก็เป็นสิ่งที่สามารถเจาะลงในรายละเอียดได้ครับ
       ผมเล่าอย่างนี้แค่ยกพระสูตรขึ้นมา ผู้อ่านบางส่วนก็เบื่อเสียแล้ว ถ้าเจาะลงในลายละเอียดนั้นไปอีก กลายเป็นเรื่องที่เล่าแล้วนะจะไม่รู้เรื่องกันครับ

      นามรูปปริเฉทญาณ จะเห็นได้ด้วยการปฏิบัติ เมื่อมีสติสัมปัญญะและสมาธิเจริญขึ้น ปัญญาก็จะแยกแยะได้เองครับไม่ต้องไปนั่งนึกคิดแยกแยะเลยครับ เรียกว่า จิตละเอียดขึ้นเองครับ ส่วนการอ่านโดยบัญญัตนั้นอาจเข้าใจได้แต่จะเห็นหรือเปล่านั้นวัดไม่ได้ครับ(ไม่ใช่ดูกูกบัญญัตครับ แต่ความจริงเป็นอย่างนี้จริงๆ ครับ)

ผมคงตอบยาวและชะแลบไปหน่อยนะครับ ไม่ว่ากันนะครับ

ตอบโดย: Vicha 06 ม.ค. 49 - 22:55


  ขอบคุณ  และอนุโมทนาครับ  ไม่สงสัยแล้ว  ให้คุณวิชาเล่าต่อเถิดครับ  ที่ถามก็เผื่อคนอื่นจะได้เข้าใจเรื่องสมมุติสัจจะ  และปรมัติสัจจะ ที่อาจารย์ทางพองยุบเรา ฝึกสอนแก่ พวกเราบ่อยๆ(ตอนที่ฝึกพอง-ยุบอยู่) ท่านบอกอยู่บ่อยๆว่า  ถ้าเข้าไปเห็นสภาวะโดยสมมุติยังเป็นส่วนของโลกียะอยู่ (โลกียะคือยังอยู่ในเรื่องของสมาธิและณาณอยู่)  หากเข้าไปเห็นสภาวะที่เป็นปรมัติสัจจะจึงเป็นเรื่องโลกุตตร  (โลกุตตร-คือเรื่องของวิปัสสนาญาณ)     จุดนี้จึงเป็นจุดเช็คว่าตัวปัญญาที่เราเห็นมาเป็นปัญญาญาณหรือเกิดจากตัวสัญญา  (และสังขาร)    คือ   คนทั่วๆไปเมื่อจิตกระทบอารมณ์  ก็จะเกิดจารหลงเข้าไป เกิดการปรุงแต่งขึ้น(สังขาร)    ตัวสังขารจะไปดึงเอาตัวสัญญาออกมา     ความรู้ที่ได้จึงเป็นสัญญาเก่าๆของเราที่เก็บอยู่    บางตรั้งมันมาเป็นชุดๆเลย   เหมือนในตำราทำไมรู้มากรู้มายอย่างนี้
  คุณวิชชาครับ  ไม่รบกวนแล้วครับ  ขอโทษด้วยที่ขัดจังหวะ  เชิญเล่าต่อครับ

ตอบโดย: chai999 07 ม.ค. 49 - 09:34


   ความจริงแล้วผมต้องขอบคุณ คุณchai999 ที่ถามนะครับ  จึงขอกล่าวคำว่า ขอบคุณนะครับ

   เมื่อผมตอบคลายข้อสงสัยของคุณ chai999 ไปแล้วแต่ คนอื่นที่อ่านบางท่านก็สงสัยต่อและบางท่านก็เกิดข้อขังขาในการปฏิบัติ  ดังนั้นผมก็จะตั้งข้อที่จะเกิดการกังขาขึ้นมาได้ และเฉลยให้ทราบเสียก่อน เพราะบางท่านกังขาแล้วไม่รู้ว่าจะถามอย่างไร   ผมแยกออกเป็นข้อดังนี้
   
     ข้อกังขา 1. การกำหนดภาวนาเห็นรูปนามทุกครั้ง ต้องเห็นรูปนามแบบเดิมหรือที่เดิมหรือไม่?  เช่นเมื่อกำหนดลมหายใจออกทุกครั้งจะต้องเห็นหรือควบคุมให้เป็นแบบเดิมหรือที่เท่าเดิมไหม?

    เฉลยเอง..    ในการกำหนดภาวนาเห็นรูปนามแต่ละครั้งไม่จำเป็นว่าต้องเป็นแบบเดิมหรือเหมือนเดิม ไม่ต้องบังคับให้เหมือนเดิม เช่นในการหายใจออกครั้งแรก ลมกระทบโพรงจมูกฝังขาวมากกว่าฝังซ้าย ก็ต้องรู้ตามสภาพตามความเป็นจริงนั้น
     เมื่อลมหายใจออกในครั้งต่อมา(ขอกล่าวแจกแจงเฉพาะลมหายใจออกเป็นตัวอย่างนะครับ) ลมหายใจกระทบกับโพรงจมูกได้พอๆ กัน ก็ต้องรู้ตามสภาพความเป็นจริงนั้น
     เมื่อลมหายใจออกในครั้งต่อมาอีก ลมหายใจกระทบกับโพรงจมูกทั้งสองข้าง และไปรู้สึกตรงส่วนอื่นของร่างกายด้วย ก็ต้องรู้ตามสภาพความเป็นจริงนั้น

      สรุป ในข้อที่ 1 คือ กำหนดฐานใดฐานหนึ่งเป็นหลัก เช่น ลมหายใจเข้าออก หรือพองยุบ หรืออย่างอื่นก็ตาม   แต่ไม่ใช่ไปปฏิเสธอาการอย่างอื่นที่เกิดขึ้นและรับรู้ไปเสียทั้งหมด ถ้าไปบังคับอย่างนั้นความเครียด ความกดดันทางร่างกายก็จะเกิดขึ้นได้ถึงขั้นมากมาย เพราะสติยังเจริญไม่ได้ละเอียดสมาธิยังเจริญได้ไม่สมบูรณ์

       ข้อกังขา 2. ในการกำหนดภาวนาต้องกำหนดให้เห็นเป็นปรมัติทุกครั้งหรือ?

        เฉลยเอง...   ข้อกังขาข้อนี้แหละเป็นที่น่าสนใจ สำหรับผู้ปฏิบัติ  ผู้ปฏิบัติใหม่จะไม่รู้หลอกว่า อะไรเป็นปรมัติ อะไรเป็นสมมุติ หลอกครับ ต่อให้ผู้ที่ศึกษาตำรามามากแล้วก็อาจจะยังไม่รู้ว่าอะไรเป็นปรมัติ อะไรเป็นสมมุติ ในอาการที่ปรากฏในขณะปฏิบัติ
    อย่างนั้นจะทำอย่างไรแหละจึงจะเห็นเป็นปรมัติได้ ก็ต้องปฏิบัติไปตามหลักก่อน เมื่อปฏิบัติไปถูกต้องตามหลัก ไม่จำเป็นว่าต้องแยกแยะจนละเอียดยิบ 100 เปอรเชนตร์ เดียวจะกลายเป็นเรื่องฟุ้งไปก่อน เมื่อปฏิบัติไปเรื่อยๆ สติก็จะเจริญขึ้น สมาธิก็จะสมบูรณ์ขึ้น ปัญญาก็จะค่อยเจริญเห็นความเป็นปรมัตเพิ่มขึ้น

      สรุป ในข้อที่ 2  ในการปฏิบัติหรือกำหนดภาวนาไม่ใช่ว่าต้องบังคับให้เห็นเป็นปรมัติทุกครั่งที่กำหนด ซึ่งมั่นเป็นไม่ได้สำหรับผู้เริ่มปฏิบัติหรือปฏิบัติมานานแล้ว เพราะบางครังก็เห็นโดยสมมุติ บางครั้งก็เห็นโดยปรมัติ ผสมประสานกันไปมากบ้างน้อยบ้างตามกำลังของ สติ สมาธิ และปัญญา

      ดังนั้นจึงเกิดข้อสังเกต สำหรับข้อที่ 2  เพื่อไม่ให้ไปปรามาสผู้ปฏิบัติตามหลักที่ถูกต้องแล้ว แต่เมื่อโดนถามจากผู้ที่เก่งทางตำราอาจจะด้วยสาเหตุใดก็ตามแต่ แต่ผู้ปฏิบัตินั้นกลับตอบไม่ได้หรือแยกแยะไม่ออก ว่าขณะเห็นเป็นปรมัติเป็นอย่างไร? เราจะไปตำหนิว่าผู้นั้นไม่เคยปฏิบัติเห็นเป็นปรมัติหรือปฏิบัติผิดยังไม่ได้ เพราะอาจจะปฏิบัติถูกต้องเห็นเป็นปรมัติแล้ว แต่น้อยครั้งไม่มากครั้งในการกำหนดภาวนา จึงไม่สามารถแยกแยะให้ทราบได้ ดังนั้นผู้ที่มีความรู้ทางตำราอย่างเดียวต้องพึงระวังตรงนี้ไว้ด้วยก่อนที่จะตำหนิผู้ปฏิบัตินั้นด้วยวาจา
 

ตอบโดย: Vicha 07 ม.ค. 49 - 14:46


มาคุยเรื่องอานาปานสติต่อ

    ผมขอสรุปอีกที่หนึ่ง สิ่งที่ปรากฏให้ทราบ จนถึงสิ้นปี พ.ศ 2526 ดังนี้

 (1) เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
 (2) เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
 (3) เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น
 (4) ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจเข้า
 (5) ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก เป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า
 (6) ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งปีติหายใจเข้า
 (7) ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งสุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งสุขหายใจเข้า
 (8) ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจเข้า

       สำหรับ 1 ถึง 8 ผมได้ทราบชัดแล้ว  แต่สิ่งที่หลวงพ่อเตือนไว้ว่า “มีกำลังระดับฌาน ระวังกรรมฐานแตก”  กรรมฐานผมได้แตกไปแล้วครับ  หลังจากวันที่หลวงพ่อเตือนไว้ เพราะผมไม่เชื่อว่าเป็น ญาณ 3 (สมนสนญาณ)อย่างแก่กล้าตามที่หลวงพ่อได้บอกไว้  ผมไปหลงว่าอาจเป็นมรรคผลนิพพาน หรือเกินไปจากญาณ 3 ไปมากมายแล้ว  แต่ดีที่ว่าผมเป็นคนที่ตรวจสอบกิเลสตน ถ้าตรวจสอบกิเลสไม่ออก ก็ตรวจสอบความทุกข์หรือแรงผลักดันให้รุ่มร้อนที่ปรากฏ
       ดังนั้นถึงกรรมฐานจะแตก และหลงอยู่ก็จะยังมิสติยับยั้งพฤติกรรมตนเองได้อยู่ไม่ให้ไหลไปตามอำนาจของใจที่หลงอย่างเดียว เพราะพอยังมีสติและปัญญาเล็กน้อยทำการตรวจสอบอยู่บ้าง
       
       กรรมฐานแตก ไม่ใช่เป็นเรื่องสนุกหรือมีความสุขเลย มันเต็มไปด้วยความหลงตนว่ายิ่งใหญ่จนล้น  ใจมั่นพุ่งพล่านทั้งมีความขัดเคือง ร้อนใจร้อนกาย เมื่อมีสิ่งใดมาขัดใจแม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ จะแสดงออกมาทางกายและวาจาชัดเจน  ใจติดข้องอยู่ในเรื่องอิทธิอภินิหาร หลงแสดงอาการออกมา  ความเหมาะสมถูกละเลย จะโพรงพฤติกรรมบางอย่างออกมาตามใจเพราะไปยึดมั่นถือมั่น

     สำหรับผมนั้น พอยังมีสติพิจารณาตัวเองอยู่บาง จึงปรากฏให้เห็นภายนอกไม่มากนัก แต่ภายในใจสิ หลงไปมากแล้วแต่ก็ยังโดนควบคุมอยู่ด้วยการพิจารณาได้บ้างว่าเราน่าจะผิดปกติไม่น่าถูก   และภาวะทางสังคมก็ไม่เอื้ออำนวยให้ลงตนเองได้มากนัก

     เมื่อผมจะได้บวชครั้งแรกแต่ไม่ได้บวชทั้งที่โกนหัวนุ่งขาวเตรียมพร้อมแล้ว แต่ไม่ได้บวชพระคู่สวดไม่ย่อมมาเพราะมีอคติต่อฐานะโดยที่ไม่รู้จักหน้าค่าตามาก่อน ทำให้ผมรู้ตัวว่าที่ผ่านมานั้นผมหลงอยู่  เมื่อรู้ว่าหลงภาวะความหลงของใจก็ลดน้อยลงเหมือนเป็นปกติ

        แต่เมื่อคร่าใดใจโดนกระตุ้นในทิศทางเดียวกับที่เคยหลงเช่นพูดถึงสิ่งเหล่านั้นที่เคยหลง  หรือเล่าเรื่องที่เคยเกิดขึ้นให้ผู้ใดฟัง  แล้วเกิดไปพึงพอใจยินดีเพิ่มความยึดมั่นถือมั่น ภาวะต่างๆ ก็จะกดตัวเองทันที่โดยอัตโนมัติ แล้วแตกสร้านออกมาแบบสะบัดร้อนสะบัดหนาว ควบคุมไม่ให้เกิดความแตกตื่นทางกายไม่ค่อยได้ ถ้ามากๆ เข้าทำให้ การกล่าววาจาติดๆ ขัดๆ  ไปหมด  เพราะใจไปหลงยินดีทำให้ควบคุมกายและใจลำบาก  นี้คือผลของกรรมฐานแตกในภายหลัง แม้ว่ากรรมฐานที่แตกนั้นได้หายไปแล้วความหลงเพี้ยนก็คลายหายไปแล้ว   อาการนี้ยังติดตามผมอยู่เป็นเวลาหลายปี  รู้สึกว่าเป็นเวลา 10 ปีมั่ง คืออาการค่อยๆ ลดน้อยลงๆ
             
      ดังนั้นในขณะที่ผมบวชอยู่ในตอนนั้น ขั้นที่เหลือคือ 9 ถึง 15 คือ
 (9) ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจเข้า
 (10) ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจ เข้า
 (11) ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้บันเทิงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักทำจิตใจให้บันเทิงหายใจเข้า
 (12) ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่นหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า
 (13) ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า
 (14) ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจเข้า
  (15) ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจเข้า

       ผมทำได้บ้างไม่ได้บ้าง บางข้อ ก็เพราะอาการผลพ่วงจากกรรมฐานแตก ในครั้งนั้น  สำหรับในข้อ (13) และ (15)  ผมทำได้ครบ ส่วนในข้อที่ 16 ผมไม่รู้จักเลยครับในช่วงนั้น

ข้อ(16)คือ  ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า

        ต่อมาตั้งแต่ในปี พ. ศ 2527 ผมก็ไม่ใช้อานาปานสติอีกเลย โดยหันไปกำหนดกรรมฐาน ได้ยินหนอ เป็นฐานหลักในการปฏิบัติกรรมฐาน (ประสบการณ์ช่วงนี้ผมขอข้ามไปนะครับ)  จนถึงปี พ. ศ 2537  เป็นเวลาถึง 10 ปี  ในปี พ. ศ 2537 ก็เริ่มใช้อานาปานสติบ้างเล็กน้อยเท่านั้นเพื่อปรับสมดูลย์

        ในปี พ. ศ 2538 – 39 ก็ลองใช้อานาปานสติดู บางครั้งบางคราว แต่เมื่อดูลมหายใจแล้ว ในที่สุดจะไม่รู้ว่ามีลมหายใจเข้าหรือออก ทั้งที่ใจยังรู้สึกตัว และมีผลให้ทั้งวันเกิดภาวะความอึดอัด ขุ่นมั่ว อารมณ์เสียง่าย ไม่สดใส่เหมือนกับการกำหนดภาวนาแล้วดูจิตที่ภาวนาอยู่แล้วคอยปล่อยวาง  จึงทำให้หาได้สนใจหรือพยายามฝึกอานาปานสติมากนัก เรื่อยมา
 

ตอบโดย: Vicha 09 ม.ค. 49 - 15:07


เมื่อมาได้สนทนาธรรมในอินเตอรเนต  ได้ศึกษาพระไตรปิฎก ได้อ่านพระสูตรเกี่ยวกับอานาปานสติเต็มทั้งพระสูตร  ก็เห็นว่าความจริงแล้วอานาปานสติสามารถปฏิบัติเข้าสู่สติปัฏฐาน 4  ทั้งแต่ขั้นที่ (13) แล้ว คือ  “ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า”

         ผมจึงเริ่มสนใจอานาปานสติขึ้นมาอีก จึงลองฝึกอีก แต่ก็ยังติดอยู่ที่ภาวะเดิมที่กล่าว เลยกล้าๆ กลัวๆ ในลองฝึกอานาปานสติมาตลอด จึงหยุดไปพักหนึ่ง  ส่วนสาเหตุในการหันมาทดลองฝึกอานาปานสติก็เพราะ ผมต้องการหาฐานหลักที่เป็นเครืองอยู่ ของสติและสมาธิ  เนื่องจากฐานหลัก คือการได้ยินหรือภาวนาได้ยินหนอ นั้น มีไม่เสมอกันบางครั้งเสียงเบา บางครั้งเสียงดัง ไม่สม่ำเสมอกันคือมีความแตกต่างกันช่วงกว้างมาก  ใจก็ต้องไปดักฟังเสียง เมื่อมีธุระเรื่องอื่นยุ่ง ก็ลืมเรื่องเสียงไปยาวนาน จะกำหนดได้บ่อยและทุกขณะก็ในขณะทำกรรมฐานเป็นกิจวัตรเสียมากกว่า
         และเมื่อเดือน ธันวาคม พ. ศ  2548 นี้เอง ผมได้อ่านเจอพระสูตร เรื่องอานาปานสติเต็มๆ  นั้นคืออานาปานสติสังยุต ใช่ร่วมกันกับสติปัฏฐาน 4 ได้อย่างกลมกลืน และเป็นกรรมฐานอันยอดเยี่ยมที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่าเป็นยอด  ผมขอยกพระสูตรที่ต่อจากพระสูตรที่ยกมาแล้วให้ดู
            เรื่องอานาปานสติสัมปยุตร่วมกับสติปัฏฐาน 4

                         กิมิลสูตร
              การเจริญอานาปานสติสมาธิ
    [๑๓๕๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน ใกล้เมืองกิมิลา ณ ที่นั้นแล
พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระกิมิละว่า ดูกรกิมิละ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อัน
ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก? เมื่อพระผู้มี
พระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระกิมิละนิ่งอยู่.
    [๑๓๕๖] แม้ครั้งที่สอง แม้ครั้งที่สาม พระผู้มีพระภาคก็ตรัสถามท่านกิมิละว่า ดูกร
กิมิละ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก? ท่านพระกิมิละก็นิ่งอยู่.
    [๑๓๕๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เป็นกาลสมควรที่พระองค์จะพึงตรัสสมาธิอันสัมปยุตด้วย
อานาปานสติ ข้าแต่พระสุคต เป็นกาลสมควรที่พระองค์จะพึงตรัสสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปาน
สติ ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์
ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ดูกรอานนท์ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว
อย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่
ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า ฯลฯ ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละ
คืนหายใจออก เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า ดูกรอานนท์ สมาธิอันสัมปยุต
ด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์
มาก.
    [๑๓๕๘] ดูกรอานนท์ สมัยใด ภิกษุเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว
หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม
หายใจทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร
หายใจเข้า สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเรากล่าวกายอันหนึ่ง
ในบรรดากายทั้งหลาย ซึ่งได้แก่ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า เพราะฉะนั้นแหละอานนท์
สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
    [๑๓๕๙] ดูกรอานนท์ สมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ
หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็น
ผู้กำหนดรู้สุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุขหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า
เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร
หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับ
จิตสังขารหายใจเข้า สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเรา
กล่าวเวทนาอันหนึ่งในบรรดาเวทนาทั้งหลาย ซึ่งได้แก่การกระทำไว้ในใจให้ดีซึ่งลมหายใจออก
และลมหายใจเข้า เพราะฉะนั้นแหละอานนท์ สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
    [๑๓๖๐] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักกำหนดรู้จิตหายใจ
ออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้บันเทิง
หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิต
มั่นหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่นหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเปลื้องจิต
หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเปลื้องจิตหายใจเข้า สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิต
ในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อ
นั้นเพราะเหตุไร? เพราะเราไม่กล่าวซึ่งการเจริญสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ สำหรับผู้มี
สติหลง ไม่มีสัมปชัญญะ เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตใน
จิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
    [๑๓๖๑] ดูกรอานนท์ สมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความ
เป็นของไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง
หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก ย่อมสำเหนียก
ว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดย
ความดับหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจเข้า ย่อมสำเหนียก
ว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดย
ความสละคืนหายใจเข้า สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัส
นั้นด้วยปัญญา จึงวางเฉยเสียได้ เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นแหละอานนท์ สมัยนั้น ภิกษุย่อม
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกเสียได้.
   [๑๓๖๒] ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนมีกองดินใหญ่อยู่ที่หนทางใหญ่ ๔ แพร่ง ถ้า
เกวียนหรือรถผ่านมาในทิศบูรพา ก็ย่อมกระทบกองดินนั้น ถ้าผ่านมาในทิศปัจฉิม ทิศอุดร ทิศ
ทักษิณ ก็ย่อมกระทบกองดินนั้นเหมือนกัน ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อพิจารณาเห็น
กายในกายอยู่ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ พิจารณาเห็นธรรมใน
ธรรมอยู่ ย่อมจะกำจัดอกุศลธรรมอันลามกนั้นเสียได้.

     ในกิมิลสูตร พระพุทธเจ้าทรงตรัสยื่นยันแล้วว่า อานาปานสติที่ปฏิบัติอย่างถูกต้อง เมื่อถึงที่สุดแล้วย่อมเป็นสติปัฏฐาน 4
     
       และในช่วง ปีใหม่ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 และ  1 – 2 มกราคม 2549 ลูกสาวผมขออนุญาตไปปฏิบัติกรรมฐานอยู่ที่วัด โดยชวนเพื่อนไปอีก 2 คน ไปกับน้าสาว
       ผมเห็นว่าเป็นเวลาเหมาะและเป็นวันหยุด ที่จะลองกับอานาปานสติดูใหม่ เพราะพระพุทธเจ้าตรงตรัสรับรองอย่างแน่นอนแล้ว ผมจึงควบคุมอารมณ์ มีสติรู้ลมหายใจ ไม่ได้ใส่คำภาวนา แต่บางครั้งก็กำหนดภาวนาเพื่อประคองจิต (เพราะฝึกภาวนามากแล้ว)  ก็ถึงจุดเดิมคือ ไม่รู้ว่ามีลมเข้าและออก แต่ใจยังรู้สึกตัวอยู่  มีความอึดอัด ใจขุ่นๆ ในอารมณ์เป็นวัน แต่ก็มีขันติดูจิต แล้วปล่อยวางสะลัดคืน เงียบไปแล้วกลับมารู้ลมหายใจ ต่อมาก็ไม่รู้ว่ามีลมเข้าและออก อึดอัดในจิต ขุ่นในจิต ดูจิตแล้วปล่อยวางเงียบไป  สงบเข้าและถอยออกภวังค์ไปเรื่อย  เมื่อถอยออกมาในภาวะปกติ(พอแล้ว ไม่พยายามต่อ) ความอึดอัดในจิต ความขุ่นในจิต ก็ไม่เหลือที่จะทำให้เศร้าหมองทั้งวันเหมือนที่ผ่านมา   เป็นอันว่า ผมจึงรู้จักใช้ อานาปานสติขั้น (16) ได้เป็น แล้วคือ
   “ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า”
      ต่อไปก็เป็นตอนจบในการคุยเรื่องอานาปานสติตามที่ผมรู้และเรียนรู้มา  ผมก็จะยกอานิสงค์ของอานาปานสติ ตามพระสูตรมาให้ดู อีกทีเพื่อเป็นการยื่นยันว่าอานาปานสติที่ปฏิบัติได้ถูกต้องตาม 16 ขั้นนั้น เป็นยอดของกรรมฐานที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญยิ่งนัก

                            ผลสูตรที่ ๑
         ผลานิสงส์เจริญอานาปานสติ ๒ ประการ
    [๑๓๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
    [๑๓๑๒] ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผล
มาก มีอานิสงส์มาก? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า (พึง
ขยายเนื้อความให้พิสดารตลอดถึง ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหาย
ใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า) ดูกรภิกษุทั้ง
หลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์
มาก.
   [๑๓๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
อย่างนี้ พึงหวังได้ผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คืออรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความ
ถือมั่นอยู่ เป็นพระอนาคามี.

                     จบ สูตรที่ ๔
                     ผลสูตรที่ ๒
          ผลานิสงส์การเจริญอานาปานสติ ๗ ประการ
    [๑๓๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
    [๑๓๑๕] ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผล
มาก มีอานิสงส์มาก? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้ง
กายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า (พึงขยายเนื้อความให้
พิสดารตลอดถึง ย่อมศึกษาว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อม
สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า) ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปาน
สติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
    [๑๓๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้วอย่างนี้ พึงหวังได้ผลานิสงส์ ๗ ประการ ผลานิสงส์ ๗ ประการเป็นไฉน? คือ จะได้ชม
อรหัตผลในปัจจุบันก่อน ๑ ถ้าไม่ได้ชมอรหัตผลในปัจจุบันก่อน จะได้ชมในเวลาใกล้ตาย ๑
ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้ชม ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้ชมไซร้ เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕
สิ้นไป จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑ ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑ ผู้อสังขารปรินิพพายี ๑
ผู้สสังขารปรินิพพายี ๑ ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติ
อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล พึงหวังได้ผลานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้.

ตอบโดย: Vicha 09 ม.ค. 49 - 15:22


ดูก่อนอริฏฐะ อานาปานสติเช่นนั้นก็มีอยู่เหมือนกัน เรามิได้กล่าวว่าอานาปานสติเช่นนั้นไม่มี
ดูก่อนอริฏฐะ แต่ว่า อานาปานสติที่สมบูรณ์โดยพิสดาร ย่อมมีอยู่อย่างไร
เธอจงฟังซึ่งอานาปานสตินั้น เธอจงทำในใจให้ดี เราจักกล่าวบัดนี้

(อานาปานสังยุตต์ ๑๙/๓๙๘/ ๑๓๑๗ / ดูในอานาปานสติภาวนา โดยพุทธทาสภิกขุ หน้า ๕๒๕)

ท่านใดที่เจริญอานาปานสติ ไม่ว่าแบบไหน
กรุณาอย่าลือมที่ตรัสว่า ....อานาปานสติที่สมบูรณ์โดยพิสดาร ย่อมมีอยู่อย่างไร
เธอจงฟังซึ่งอานาปานสตินั้น เธอจงทำในใจให้ดี เราจักกล่าวบัดนี้
 

ตอบโดย: นิรนาม41 10 ม.ค. 49 - 07:41


สาธุครับ ผมจะนำกลับไปศึกษาแล้วปฏิบัติดูครับ

สอบถามเพิ่มเติมนะครับ ช่วยขยายความประโยค

 "เราจักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจเข้า"

ขอละเอียดๆนะครับ

ตอบโดย: ปริชญา 10 ม.ค. 49 - 14:25


ผมจตอบคุณ ปริชญา ตามที่ผมเข้าใจและปฏิบัตินะครับ

รู้แจ้งจิตสังขาร  คือรู้ความรู้สึกรู้อารมณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนั้น

  เช่น รู้สีกสะบายอารมณ์ปลอดโปร่ง หายใจเข้าก็ให้รู้  หายใจออกก็ให้รู้
  หรือ รู้สึกอึดอัดอารมณ์ไม่ดี  หายใจเข้าก็ให้รู้ หายใจออกก็ให้รู้

  แล้ว รู้จักทำจิตให้บังเทิง หายใจออกและหายใจเข้า
   
   แต่ถ้าเกิดรู้สึกอึดอัดอารมณ์ไม่ดี หรือจิตเป็นอกุศลต่างๆ ก็ต้องรู้จักการตั้งมั่นของจิตหายใจออก และการเปลื่องจิตหายใจเข้า

    และสุดท้ายรู้จักการสลัดคืน หายใจออกและหายใจเข้า

  ค่อยๆ ฝึกสิ่งเหล่านี้ก็จะพัฒนาขึ้นตามลำดับครับ

  สุดท้าย พระอาจารย์เคยบอกผม อานาปานสติ ถ้าฝึกดี ๆ ก็จะพัฒนาขึ้นเองตามลำดับ ฌาน ไม่เหมือนกรรมฐานอย่างอื่น
 

ตอบโดย: Vicha 10 ม.ค. 49 - 17:02


ขอบคุณมากครับ คุณ vicha

ตอบโดย: ปริชญา 11 ม.ค. 49 - 13:39


ใช้เวลาถึง 10 กว่าปีเชียวหรือครับ...
ผมเพิ่งเริ่มไม่กี่ปีก็ท้อเสียแล้ว...  

ตอบโดย: สุวัฒน์ 11 ม.ค. 49 - 16:27


อย่าท้อเลยครับคุณ สุวัฒน์

    ผมใช้เวลาประมาณ 10 ปี โดยปฏิบัติด้วยตนเองตามประสาเด็กอย่างไม่ถูกต้องตามหลัก ตั้งแต่ พ.ศ 2517 ถึง พ.ศ 2526 แต่เมื่อได้รับการสอนในการปฏิบัติ ในการกำหนดในการภาวนาที่ถูกต้องเป็นระบบระเบียบ ถึงแม้จะไม่ใช่การฝึกอานาปานสติโดยตรง ก็ใช้เวลา 3 - 5 เดือนเองครับ ก็พัฒนาอานาปานสติไปได้ไกลเลยครับ แต่หลังจากนั้นผมก็หยุดการใช้อานาปานสติถึงสิบกว่าปีเลยที่เดียวครับ

    ดังนั้นถ้าคุณสุวัฒน์ฝึกอานาปานสติอย่างถูกต้องตาม 16 ขั้น(จตุกะ) คงไม่ต้องใช้เวลานานเหมือนผมหรอกครับ

ตอบโดย: Vicha 11 ม.ค. 49 - 16:50


ประเด็น ...เราจักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจเข้า

อะไร คือ จิตตสังขาร (สิ่งปรุงแต่งจิต) ในขั้นตอนอานาปานสติ ๑๖ แบบพิสดาร

เช่น ตัวรู้สึก หรือสภาวะที่รู้สึก ในขั้นตอนอานาปานสติ ๑๖ แบบพิสดาร คือจิตตสังขาร ใช่หรือไม่

กล่าวคือ รู้สึกอย่างนี้ แล้ว จิตรำงับ ฯ ........... ขั้น กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน (มี ๔ ข้อ)
กล่าวคือ รู้สึกอย่างนี้ แล้ว จิตถูกปรุงแต่ง ฯ......ขั้น เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน (มี ๔ ข้อ)
กล่าวคือ รู้สึกอย่างนี้ แล้ว คือจิตตสังขาร. ฯ.....ขั้น จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน (มี ๔ ข้อ)
กล่าวคือ รู้สึกอย่างนี้ แล้ว จิตว่าง เพราะฯ ........ขั้น ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน (มี ๔ ข้อ)


สรุปสั้นๆ อานาปานสติ ๑๖ เกี่ยวข้องกับ จิต ทั้งสิ้น
กายลม ก็ปรุงแต่งจิต = จิตตสังขาร แบบนั้น
นามกายคือ เวทนา ก็ปรุงแต่งจิต = จิตตสังขาร แบบนั้น

เมื่อ - รู้ - เห็น -ทำเป็น - จึงมี .........คือ มีประสบการณ์ กายลม และ กายนามคือเวทนา เพราะทำตามที่ตรัสไว้ ได้ผลตามนั้น แล้วกลับไปสอบทานกับพระพุทธภาษิต ฯลฯ = เราจักรู้แจ้งจิตสังขาร ด้วยอาการที่สติไม่เลยไปอื่นเพราะอำนาจสมาธิ แล้วแลอยู่ (คือ รู้แจ้ง รู้ชัด) จึง = หายใจออก (ตอนนี้ ไม่เกี่ยวกับ กายลมปรุงแต่งจิต) + ...ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งจิตตสังขาร ........หายใจเข้า (ตอนนี้ ไม่เกี่ยวกับ กายลมปรุงแต่งจิต)

ลองทำดู โดยไม่ต้องเชื่อใคร ตามหลักกาลามสูตร ....แต่อย่าอวดดีกับพระพุทธวจนะ ฯลฯ

 

ตอบโดย: นิรนาม41 12 ม.ค. 49 - 10:28


คุณ สุวัฒน์ ผมว่าสภาวะแบบนั้นมันก็ต้องผ่านกันทุกคนครับ พระบางองค์ท่านก็ติดอยู่นานหลายปี คือต้องผ่านอุปสรรค์เป็นขั้นๆครับ ผมเองก็หยุดมาหลายปี ตอนนี้พอรู้ว่าจะเดินต่อไปยังไง เพราะได้อ่านจากคุณ vicha แต่ก็รู้ด้วยสัญญา บางที่ก็เข้าใจไม่หมด แต่ก็รอให้ถึงสถาวะเดิมก่อนแล้วค่อยสอบถามคุณ vichaอีกที(คงไม่รบกวนเกินไปนะครับ)ก็ต้องพยายามต่อไป นี่ก็ต้องพยายามไม่กินข้าวเย็น ยังทำไม่ค่อยจะได้เหมือนเดิม แต่อย่างไรแล้วเราก็ต้องทำต่อไป เกิดมาแล้วนี่ครับ ไม่อยากเกิดอีกก็ต้องทำล่ะงานนี้ ผมเองก็ยังล้มลุกคลุกคลานอยู่แต่ก็อาศัยกำลังใจจากผู้ที่ปฏิบัติด้วยกันนี่แหละครับ ผมเอาใจช่วยครับ

ตอบโดย: ปริชญา 12 ม.ค. 49 - 17:01


อนุโมทนาสาธุการแด่ท่านผู้ปฏิบัติธรรม...ครับ

ตอบโดย: paramath 12 ม.ค. 49 - 18:21


เป็นกระทู้ที่มีประโยชน์มากครับ สำหรับคนที่กำลังปฏิบัติรวมถึงคนทั่วไปที่กำลังสนใจและกำลังศึกษาหาแนวทางการปฏิบ้ติ

สำหรับตัวของกระผมเอง ก็ใช้แนวปฏิบัติแบบอานาปานสติ ซึ่งเมื่อถึงกาลอันสมควรก็คงต้องผ่านไปเพราะคงไม่ยึดอะไรแล้ว เหมือนกับการเลื่อนชั้นของนักเรียนนักศึกษา เพียงแต่ผมยังอยู่ในขั้นเตรียมรากฐานให้แน่นและทำความเข้าใจกับสภาวะต่างๆให้ถ่องแท้ตามพระไตรปิฏกและจากประสบการณ์ของผู้รู้ทั้งหลาย

เวลามีอยู่น้อยแต่ก็มากพอที่จะทำให้จิตใจสงบ และสงัดจากกิเลส หากไม่หมดก็คงเบาบางลงไปเยอะครับ

สุขสงบใดที่มีในธรรม จงมีแด่ทุกท่านครับ
 

ตอบโดย: ธารธรรม 13 ม.ค. 49 - 11:10


ผมจำเป็นต้องสนทนาต่อ แล้วแหละทุกๆ ท่าน  เพราะท่านที่ตั้งข้อสงสัย ให้ผมคลายความสงสัยสำหรับท่านผู้อ่านทั้งหลาย นั้นไม่ได้มีแต่คุณ chai999 คนเดียวเท่านั้น สิ่งที่ไม่ใช่คนที่เรียกว่าเทพเทวดาที่บอกว่าท่านเป็นพระอริยะ มาท้วงทิ้งผม ว่าผู้ที่อ่านเรื่องที่ผมเล่าอานาปานสติ มีส่วนหนึ่งที่เชื่อและศรัทธาที่ผมเล่า อาจะจะเข้าใจผิดคือไม่ตรงกัน จะทำให้คนบางส่วนไปปฏิบัติผิดๆ ยึดสมมุติไปอย่างเดียว

      เอาแหละผมจะเล่าเหตุการณ์ที่ผู้ที่กล่าวว่าท่านเป็นพระอริยะมาเตือนและตั้งข้อสังเกต ให้ผมแยกแยะให้ละเอียด  เรื่องเป็นอย่างนี้ ความจริงเมื่อคืนผมและภรรยาก็ไม่ได้คิดที่นั่งสมาธิหรือสื่อกับอะไร? เพราะภรรยาก็พึ่งกลับมาจากต่างจังหวัดซึ่งไปหลายวัน  ก็ดูหนังดูทีวี พูดคุยไปเรือยกว่าจะได้นอนก็ประมาณ 24.30  แต่ก่อนจะนอนภรรยาก็นั่งสมาธิ ท่านที่กล่าวว่าท่านเป็นพระอริยะก็ได้มาสัมผัส ก็สอบตามกันธรรมเนียมว่าเป็นใครอย่างไร?   แล้วท่านก็พูดถึงอานาปานสติที่ผมเล่าในกระทู้ทันที ทำนองว่าต้องแจกแจงให้ละเอียดในการปฏิบัตินะ  เดียวจะกลายเป็นผู้ที่กำลังจะปฏิบัติอานาปานสติเข้าใจผิดเอาไปปฏิบัติผิดๆ
(   ต่อไปผมตอบและถามตอบระหว่างกันอีกมาก กินเวลายาวนานเป็นเวลาถึง หนึ่งชั่วโมงครึ่ง จนถึงที 2.00 จึงจะได้นอน ดังนั้นผมก็จะสรุปในการสนทนากันในทำนองนี้นะครับ คือไม่ตรงแปะๆ ทุกคำทุกประโยค แต่จะจับประเด็นการถามตอบมาเรียบเรียงให้ทราบถึงจุดประเด็นของท่านนะครับ)

      ผมก็ตอบว่า “ก็เป็นเรื่องเล่าธรรมดาไม่เจาะไปในรายละเอียด และมีคนสงสัยถามผมแล้ว ผมก็แจกแจงให้ทราบแล้ว”

     ท่านก็บอกว่า “ให้กลับไปอ่านใหม่มีบางจุดที่ทำให้บางคนบางท่านเข้าใจผิดได้  คือ  1. บางท่านที่ปฏิบัติยังไม่ถูกต้อง ก็คิดหลงว่าตนเองปฏิบัติดูลมหายใจถูกต้องแล้วเพราะยึดว่าอานาปานสติเป็นกรรมฐานที่ยอดที่สุด  2.มีบางท่านเข้าใจผิด เมื่อจะปฏิบัติก็จะจ้องที่จะเห็นลมอย่างเดียว แม้สะภาวะธรรมให้เห็นลมยังไม่เกิด ก็สร้างสมมุติอยู่ตรงจมูกอย่างเดียว ไม่สนใจสะภาวะธรรมอย่างอื่นที่ปรากฏ ก็จะกลายเป็นสมถะแบบสมมุติไปเรื่อย”

    ผมก็ตอบว่า “ก็ผมยกพระสูตร และแจกแจงพระสูตรให้ดูแล้วนี้ครับ”

    ท่านก็บอกว่า “ในพระสูตร ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสนั้น ผู้ที่มีปัญญาหรือผู้ที่สร้างสมอุปนิสัยบารมีมาทางนี้มากพอแล้ว เขาก็ปฏิบัติได้ถูกจิตเขาจะละเอียด แยกแยะได้ แต่ผู้ที่ไม่มีปัญญาพอหรือผู้สร้างสมอุปนิสัยบารมีมาทางนี้น้อย เขาจะแยกแยะอะไรไม่ได้ เขาก็จะหวังจะตั้งเพื่อจะดูลมอย่างเดียว ไม่เห็นก็จะดูอยู่อย่างนั้นตรงปลายจมูก เป็นสมมุติไปอย่างเดียว เป็นจินตนาการและเพ่งขึ้นมา โดยที่สะภาวะธรรมไม่เกิดจริง”

     ผมก็ตอบว่า “ทำไมเขาไปเข้าใจอย่างนี้แหละ เพราะเมื่อผมปฏิบัติผมไม่ได้ไปดูว่าเป็นตัวลม แต่ผมดูที่มันกระทบ กับปลายโพรงจมูก หรือในโพรงจมูก หรือเหนือริมฝีปากที่ลมกระทบ ตรงที่ชัดเจน ก็รู้ว่าภาวะธรรมที่กระทบหรือเกิดผัสสะนั้นแหละเป็นรูป ใจที่รู้ว่าเกิดกระทบ ยาวหรือสั้นนั้นเป็น นาม”

    ท่านก็บอกว่า “อาตมา รู้แล้วเข้าใจว่า (…กระดากใจไม่ขอพิมพ์สรรพนามนี้ขอใช้ว่า โยม ดีกว่า) โยมทำได้ถูกเพราะโยมมีปัญญาตรงนี้แล้ว ได้สร้างสมมามากแล้ว แต่ผู้อื่นจะเห็นละเอียดจะเข้าใจเหมือนโยมหรือ?”

     ท่านก็พูดต่อแบบถามว่า “แล้วโยมจะเห็นลม (ลมกระทบ) ทุกเวลาทุกขณะหรือ?”

      ผมก็ตอบว่า “ไม่เห็นทุกขณะเวลาครับ เพราะบางครั้งไม่รู้ชัดถึงลมกระทบโพรงจมูก หรือปลายโพรงจมูก หรือเหนือริมฝีปาก”

     ท่านก็พูดแบบถามว่า “แล้วโยมจะกำหนดรู้อะไรแหละ เมื่อไม่รู้ชัดตรงที่เคยกำหนดรู้”

      ผมก็ตอบว่า “ในเมื่อไม่รู้ชัดตรงที่เกิดลมกระทบที่เคยกำหนดรู้ ก็ให้รู้อาการของร่างกายที่หายใจเข้า หายใจออก สิครับ ก็น่าจะเข้าใจกันอยู่แล้วนี้ครับ”

      ท่านก็พูดว่า  “อาตมา ก็รู้ว่า (…) โยมเข้าใจ  (….)โยมมีปัญญาสร้างสมมาแล้ว  แต่ผู้อื่นแหละจะละเอียดจะรู้เหมือน(…)โยม  หรือเปล่า กำหนดรู้ได้อย่าง (….)โยม หรือ?”
      แล้วท่านก็ถามต่อ “ถ้าเกิดภาวะธรรมอื่นปรากฏชัด ที่ไม่ใช่ลมกระทบ ที่ไม่ใช่รู้อาการลมออกลมเข้า และ(…)โยม จะทำอย่างไรแหละ?”

     ผมตอบว่า “ก็ต้องไปกำหนดรู้ภาวะธรรมที่ปรากฏชัดสิครับ  เช่น เกิดภาวะฟุ้ง ก็ให้รู้ภาวะที่ฟุ้งนั้น เกิดความนึกคิดชัดเจนก็ให้รู้ภาวะที่นึกคิดนั้น  เกิดภาวะเสียใจก็ให้กำหนดรู้ภาวะนั้น  เกิดภาวะธรรมการเจ็บปวดตรงไหนของร่างกาย ก็กำหนดรู้ตรงภาวะธรรมตรงนั้น มันก็ต้องปฏิบัติอย่างนี้อยู่แล้วนี้ครับ จึงจะเป็นสติปัฏฐาน 4 ได้”

     ท่านตอบ “อาตมา ก็รู้อยู่แล้วว่า (…)โยม รู้อยู่แล้ว  ไม่ใช่ว่า (…)โยมไม่รู้  อย่างนั้นอาตมาถามต่อว่า เมื่อ รู้ภาวะธรรมอย่างอื่นชัดขณะนั้น แล้วต้องรู้ภาวะธรรมของลมหายใจอยู่หรือเปล่า?”

     ผมตอบว่า “เมื่อรู้สะภาวะธรรมอย่างอื่นชัด ภาวะธรรมการรู้ลมก็จะโดนตัดทิ้งไป ถึงแม้ในขณะนั้นจะมีลมหายใจเข้าหรือออกตามธรรมชาติก็ตาม  แต่เมื่อสะภาวะธรรมอย่างอื่นเบาบางลง ก็จะกลับไปรู้สะภาวะธรรมที่ลมออกลมเข้าที่ชัดเจนขึ้น เพราะฐานหลักอยู่ที่การกำหนดรู้ลมออกลมเข้า
       แต่บางกรณี สะภาวะธรรมอย่างอื่นเกิดปรากฏชัดกำกึ่งกัน กับสะภาวะธรรมรู้ลมออกและเข้า จึงมีบางครั้งกำหนดรู้สะภาวะธรรมของลมออกและเข้า แล้วทิ้งลมไปกำหนดรู้สะภาวะธรรมอย่างอื่นที่ปรากฏกำกึ่งกัน ถึงแม้ในขณะนั้นจะมีลมออกเข้าตามธรรมชาติของร่างกายให้พอรู้อยู่แต่ไม่ไปกำหนดรู้   แล้วทิ้งการกำหนดรู้ภาวะธรรมอย่างอื่นนั้น มากำหนดรู้ลมเข้าและออก อีก
       ซึ่งในพระสูตรก็มี กล่าวไว้แล้วว่า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจเข้า
   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก เป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า  

   ดังนั้นถ้าผู้ปฏิบัติระเอียดขึ้นก็จะแยกแยะได้ครับ  ดังนั้นที่ผมพิมพ์ให้ผู้อ่านในเน็ตถ้าปฏิบัติก็น่าจะพอเข้าใจนะครับ “

   ท่านตอบ “(…) โยม ปัญญาของแต่ละคนไม่เท่ากัน บารมีที่สร้างสมก็ไม่เหมือนกัน โยมอย่าไปเข้าใจอย่างนั้น เพราะถ้าเขาปฏิบัติไม่ถูก เขาก็จะไม่ถูกอยู่อย่างนั้น จึงต้องอธิบายให้ละเอียดต้องแสดงความเห็นให้ละเอียด เพราะเพียงแต่ยกพระสูตรมาอย่างเดียวบางท่านเห็นไม่ละเอียด เราต้องแสดงแยกแยะให้เห็นโดยแสดงหมายเหตุไว้ ว่านี้เป็นข้อคิดเห็นหรือการแยกแยะของเขาเราให้ชัดเจน ก็จะไม่ทำให้พระสูตรนั้นเสียหายไป”
    แล้วท่านก็พูดต่อไปว่า “โยมลองไปอ่านทบทวนที่โยมเสนอไปแล้วสิ จะเห็นข้อบกพร่องที่ทำให้ผู้อื่นบางคนเข้าใจผิดว่า ต้องกำหนดรู้ที่ปลายจมูกอย่างเดียว  ให้โยมแสดงความคิดเห็นหรือข้อคิดเห็นเพิ่มเติม ตามปัญญาที่มีของโยม เพราะอาตมารู้ว่าโยมทำได้ โดยที่อาตมาไม่ต้องกำหนดว่าจะอธิบายอย่างไร? ก็เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นทั้งหลาย”

   หลังจากนั้นก็เลิกการสื่อสัมผัส วันนี้ผมก็มานั่งตรองดูว่า แล้วจะเสนออย่างไรดี ก็ได้ไอเดียขึ้นมา ก็เสนอแบบที่ถามตอบการนี้และ แต่สรุปให้มันกระชับชัดเจนขึ้น
   ความจริงมีรายละเอียดในการปฏิบัติอีกมาก แต่เมื่อเหตุไม่บังเกิดจึงไม่มีแรงกระตุ้นให้ยิบยกมาอธิบายให้ชัดเจน

ตอบโดย: Vicha 13 ม.ค. 49 - 12:20


เรียนคุณ Vicha

      ผมอยากรู้ว่าทำไมหลังจากที่คุณปฏิบัติแนวอานาปานสติไปซักพัก แล้วปฏิบัติแนวอื่นนะ ทำไมถึงกลับมาปฏิบัติแนวอานาปานสติอีกครับ ส่วนผมก็ยังงงตัวเองอยู่มากที่ปกติก็ไม่ค่อยได้ศึกษาแนวอานาปานสตินะ ตอนไปสถานที่ปฏิบัติธรรมก็เป็นแนวอื่นนะ แต่ครั้งสุดท้ายปฏิบัติธรรมแนวอื่นได้ 6 วัน ก็เกิดปัญหากับตัวเองจนนั่งสมาธิแทบจะไม่ได้เลยนะ แล้วอยู่ดีก็เหมือนมีอะไรมาบอกในหัวว่า แนวนี้อาจไม่เหมาะกับเรา แล้วก็มีพุทธพจน์ที่ว่า การปฏิบัติธรรมเหมือนการทดลองนะ ต้องมีการลองผิดลองถูกนะ ก็เลยลองกลับมาปฏิบัติแนวอานาปานสติ ก็กลับมานั่งสมาธิได้ตามปกตินะ ทั้งยังเกิดสภาวะธรรมที่ก้าวหน้าขึ้นอีก ก็ยังงงตัวเองเลยว่ามาเดินทางนี้ได้ยังไง ตอนนี้เลยต้องพยามหาข้อมูลแนวทางการปฏิบัติแนวอานาปานสติเพิ่มเติมอยู่นะทั้งที่เราปฏิบัติแนวนี้มาตลอดตอนอยู่ที่บ้านนะ ก็ได้แต่หาอ่านจากหนังสือ และคุยกับเพื่อนในลานธรรม ยังไม่มีโอกาสหรือมีบุญพอที่จะได้อาจารย์ดูแลและแนะนำนะครับ
            ตอนนี้ผมเชื่อจริงแล้วว่าคนเรามีการเวียนว่ายตายเกิดจริง มีการสะสมบุญบารมีจริงจริงนะ ทำให้ผมได้มาปฏิบัติแนวนี้อีก เหมือนกับชาติก่อนที่เคยทำมา จะไปแนวอื่นมันก็ไม่ก้าวหน้า และมีทุกข์มากมายมากวนนะ ขอให้เจริญในรรมนะครับ

ตอบโดย: คนไม่มีอะไร 13 ม.ค. 49 - 14:27


ตอบคุณ ไม่มีอะไร
     ไม่ใช่กลับมาแนวอานาปานสติเหมือนเดิมครั้งเก่าครับ แต่เป็นการต่อยอดที่ค้างไว้หยุดไว้เมื่อตอนบวชพระเมื่อปี 2526 ให้สมบูรณ์ครับ

     และก็หาฐานหลักที่มั่นคงในการดำรงณ์สติและสมาธิได้โดยง่ายและตลอด เพราะการกำหนดได้ยินหนอเป็นฐานนั้น เสียงที่ปรากฏนั้นไม่แน่นอน จึงเป็นฐานที่อยู่ของสติและสมาธิไม่ชัดเจนเหมือนลมที่กระทบจากการหายใจ หรือมีสติรู้เมื่อหายใจออกและหายใจเข้า แต่ทุกอย่างก็ยังกำหนดรู้หรือกำหนดภาวนาที่เป็นสติปัฏฐาน 4 ตามแนวยุบหนอ-พองหนอ เช่น รู้หนอ คิดหนอ ฟุ้งหนอ หรือกับสภาวะธรรมอย่างอื่นที่ไม่ใช่ลมหายใจที่กระทบ

     แต่ความจริงแล้วอานาปานสติ เมื่อปฏิบัติได้ครบทั้ง 16 ขั้น (จตุกะ) โดยแยกแยะ รูป - นาม หรือ สภาวะธรรมที่ปรากฏ(กองลมที่กระทบ,กายสังขาร,จิตสังขาร,ความไม่เทียงของกองลมที่กระทบ กายสังขาร จิตสังขาร,การคลายกำหนัด,การสะลัดคืน)  กับ รู้ (ความรู้ ,ตัวรู้)
      ก็เป็นสติปัฏฐาน 4 ดีๆ นี้เอง เป็นวิปัสสนานี้เอง

  

ตอบโดย: Vicha 13 ม.ค. 49 - 15:13


 คุณวิชา ครับ  อ่านแล้วขนลุกไปทั้งตัวเลย   ท่านคงสื่อให้คุณวิชารู้  แบบที่ใจผมคิดทีเดียวครับ  ในส่วนลึกแล้วคุณวิชาคงเข้าใจสภาวะที่เป็นสมมุติ  และปรมัติ  เพราะถ้าคุณวิชาไม่เข้าใจปรมัติสัจจะ  คงจะเห็นสภาวะที่ละเอียดลงไปได้  แต่ในสภาพตามความเป็นจริงในชีวิตของเรานั้น มีทั้งสมมุติและปรมัติคู่กัน  เปรียบเหมือนกระจกเงา  มองข้างหนึ่งก็ห็นอย่างหนึ่ง  มองอีข้างก็เห็นอีกอย่างหนึ่ง  ข้างหนึ่งเราเห็นสภาวะของรูปและนาม  อีกข้างหนึ่งก็เห็นเป็นสมมุติบัญญัติ   เราปุถุชนต้องอาศัยทั้งสองอย่าง  คือเมื่อมองเห็นรูปนาม  ก็ต้องเข้าใจว่าสิ่งนั้นคือสภาวะปรมัติรรมรูปนาม   เมื่อเห็นเป็นสมมุติก็ต้องเข้าใจว่าสิ่งที่เราเข้าใจดูว่าเป็นของสมมุติบัญญัติ (สภาวะบัญญัติคือเห็นของปลอม  --- สภาวะปรมัติรูปนามคือของจริงๆ)  แต่อย่างไรก็ตามสภาวะที่ละเอียดลงจะต้องจะต้องมีเหตุปัจจัยจากที่เราตามดูตามรู้รูปนามปรมัติเท่านั้น
   ผมคิดว่าคุณวิชาอาจจะไม่สามารถอธิบาบสภาวะธรรมที่เป็นปรมัติออกมาได้   เพราะเราต่างคนสะสมมาไม่เท่ากัน  บางคนมีความสามารถในการสอนคนอื่นได้  แต่บางคนรู้แล้วก็บอกไม่เป็น    ผมจึงไม่แย้งไปมากกว่านั้น    ซึ่งผมเองว่าก็คิดอยู่นานว่าจะแย้งดีหรือไม่   ถ้าไม่พูดคนอื่นก็หลงสมมุติอยู่ตรงนั้น  จะเป็นบาปแคนชี้ทาง  ถ้าพูดมากคนชี้ทางจะโกรธเอา  หรือจะวางเฉยดี
   ก็อนุโมทนากับคุณวิชาด้วยครับ

ตอบโดย: chai999 13 ม.ค. 49 - 15:50


อ้างอิง (Vicha @ 13 ม.ค. 49 - 15:13)
     ...ความจริงแล้วอานาปานสติ เมื่อปฏิบัติได้ครบทั้ง 16 ขั้น (จตุกะ) โดยแยกแยะ รูป - นาม หรือ สภาวะธรรมที่ปรากฏ(กองลมที่กระทบ,กายสังขาร,จิตสังขาร,ความไม่เทียงของกองลมที่กระทบ กายสังขาร จิตสังขาร,การคลายกำหนัด,การสะลัดคืน)  กับ รู้ (ความรู้ ,ตัวรู้) 
      ก็เป็นสติปัฏฐาน 4 ดีๆ นี้เอง เป็นวิปัสสนานี้เอง

สาธุ....สาธุ....สาธุ...อนุโมทนามิ

ผมตามมาตลอดกระดานนี้ และคอยว่าเมื่อไร คุณจะสรุปลงตามนี้เสียที่ บัดนี้คุณสรุปแล้วเป็นการสรุปที่กระชับ ชัดเจน สมควรแก่บารมีที่คุณได้สร้างสมมา เและที่ผ่านมานี้ ผมไม่มีความสงสัยในตัวคุณเลยครับ ว่าญาณต่าง ๆ ที่คุณผ่านมาโดยลำดับของ โสฬสญาณ นั้น เกิดขึ้นโดยปัญญาที่เรียกว่า ญาณทัสสนะ Insight and Knowledge (ญาณ = รู้จริง ทัสสนะ = เห็นจริง) ของคุณเอง ได้ใช้ โยนิโสมนสิการ และเพียรปฏิบัติ วิเคราะห์ วิจัย ปรึกษา ครูบาอารย์และท่านผู้รู้และกางแผนที่คือ ปริยัติ อย่างต่อเนื่องมากว่า 10 ปี จึงไม่หลงทาง เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้ที่ยังงุนงงสงสัยในเรื่อง ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ ว่าเป็นอย่างไร

สำหรับตัวผมเอง ตลอดเวลาที่ผ่านมา...นับแต่รับกรรมฐานจากพระเดชพระคุณพระเทพสิทธิ
มุณี เจ้าคณะ ๕ เมื่อปี ๒๕๑๐จนกระทั่งผมแก่ป่านนี้ (อายุ ๖๕) ผมเกิดความเศร้าใจทุกครั้งที่มีผู้บรรลุเป็น พระเสขะ เกิดขึ้นมากมายหลังจากที่ท่านเหล่านั้นได้ฟังเทศน์ลำดับญาณ ช่างง่ายดายและรวดเร็วอะไรปานนั้น อุจจาระสุกรอุจาระสุนัข (ขี้หมูขี้หมา) ก็บรรลุเป็น พระโสดาบัน กันเป็นแถว ๆ เท่านั้นยังไม่พอ ยังพยายามคุยโวโอ้อวดยกตนข่มท่าน (แม้จะเป็นนัย ๆ ) เพื่อให้ผู้อื่นเห็นจนรู้ได้เจ๋ง ๆ ว่า ท่านได้บรรลุญาณขั้นสูงแล้ว

แท้ที่จริงแล้ว ปัญญาที่จะเห็นธรรมของท่านเหล่านั้น ยังไม่เกิดแก่ท่านเหล่านั้นแม้แต่กะจิ๊ดเดียว....แค่ฟังเทศน์ลำดับญาณแล้วก็ลองเทียบเคียงกับสิ่งที่ตัวเองประสบมาจากการปฏิบัติเล็ก ๆ น้อย ๆ  ก็สำคัญอาว่าตนได้ญาณชั้นโน้นชั้นนี้แล้ว

เท่าที่เคยประสพ เบื้องต้น "พระเสขะ" เหล่านั้นต่างพยายามโออวดว่า.....
 
๐นิพพิทาญาณ ความเบื่อหน่ายในนามรูปนั้นเกิดขึ้นกับตนแล้ว
๐มุญจิตุกัมยตาญาณ ความปรารถนาที่จะไปให้พ้นเสียจากนามรูปนั้นเกิดขึ้นกับตนแล้ว
๐สังขารุเปกขาญาณ ความรู้แจ้งที่สามารถวางเฉยในนามรูปได้เกิดแก่ตนแล้ว
๐อนุโลมญาณ ความรู้แจ้งอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่ความหยั่งรู้อริยสัจ น้อมตรงเข้าสู่
  นิพพานได้เกิดขึ้นกับตนแล้ว

แถมบางท่านได้พยายามบอกเป็นนัยว่า ตัวท่านนั้น ได้ก้าวล่วงเข้าถึง...

๐โคตรภูญาณ ตัดโคตรปถุชนเข้าสู่โคตรของพระอริยบุคคลแล้ว !!!

ที่ผมว่าน่าเศร้าใจ...ก็เพราะท่านเหล่านั้นไปเข้าคอร์ส อบรมกรรมฐานกันมาท่านละไม่กี่คอร์ส ๆ ละไม่กี่วัน ก็บรรลุธรรมระดับสูงกันได้โดยถ้วนหน้า อย่างนี้ไม่ให้น่าเศร้าแล้วให้น่าอะไร

และที่ผมเข้าใจถึงการบรรลุของท่านทั้งหลายเหล่านั้นได้ก็เพราะ....เมื่อผมลองเอาตัวเองวางลงใน ช่องแห่งธรรมะ หลังจากตัวเองที่ได้ปฏิบัติธรรมมาพอสมควร แล้วพิจารณาดูก็ พาล จะบอกตัวเองได้ว่า เรานี้... นิพพิทาญาณ ความเบื่อหน่ายในนามรูป ดูเราก็เบื่อหน่ายแล้ว มุญจิตุกัมยตาญาณ ความปรารถนาที่จะไปให้พ้นเสียจากนามรูป นึก ๆ ดูก็ปรารถนามานานแล้ว สังขารุเปกขาญาณ ความรู้แจ้งที่วางเฉยในนามรูป ก็ว่าเรารู้สึกวางเฉยมาตั้งนานแล้วเช่นกัน จะอยู่จะตายไม่สนใจแล้ว อนุโลมญาณ ความรู้อันเป็นไปโดยอนุโลมแก่อริยสัจ น้อมตรงเข้าสู่ นิพพาน...โอ้ย...น้อมจิตเข้าไปนานแล้ว

.....เอ ....โคตรภูญาณ....เราก็น่าจะถึงแล้วนะเนี่ย

ก็เมื่อเราเองยัง ตู่ตัวเอง ได้ขนาดนี้...อือ....ไม่แปลกหรอกที่คนอื่นจะตู่ตัวเองได้บ้าง...เหมือนเรา....ไม่ได้เหมาเอาโดยรวมนะ .....แต่เหมาฉพาะพวกตู่ในธรรมเท่านั้น

จึงได้รู้แจ้งในอันตรายแห่ง วิปัสสนึก...วิปัสสนาที่ปราศจากปัญญาโดยสิ้นเชิง .....ว่าเป็นอันตรายแก่ตนใหญ่หลวงนัก
 

ตอบโดย: โยมเล็ก 13 ม.ค. 49 - 19:30


ขออนุโมทนาคุณโยมเล็กครับ  

ขอให้เจริญในธรรมครับ

ตอบโดย: zen 14 ม.ค. 49 - 14:17


คือ ถ้าเราทำอานาปานสติ แล้ว เราหลับตาด้วยนี่ ถือ ว่าทำผิดคำสอนตั้งแต่ต้นแล้วใช่หรือป่าวครับ เพราะ ว่าพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้บอกไว้ว่า ให้หลับตาด้วย แบบนี้ ต้องเริ่มใหม่เลยใช่หรือป่าวครับ

 

ตอบโดย: jukapun 14 ม.ค. 49 - 18:16


จริงๆมันจะหลับตาหรือลืมตาก้ได้ครับ แต่หลับตามันตั้งสมาธิได้ง่ายกว่า

ถ้าคุณลืมตาเห็นภาพ จิตยังไม่นิ่งพอมันก็เป็นสมาธิยากครับ  

ตอบโดย: หนุ่มน้อย 14 ม.ค. 49 - 18:19


ขอบคุณ โยมเล็กครับ ที่ติดตามกระทู้นี้

    ก็จริงอย่างโยนเล็กกล่าว ที่ในปัจจุบันนี้ผู้ที่ฝึกสติปัฏฐานแนว ยุบหนอ-พองหนอ  ปฏิบัติเกิดอะไรนิดอะไรหน่อยก็ เป็น อุทยัพพยญาณ(ญาณที่ 4)แล้ว  หรือไม่ก็ นิพพิทาญาณ(ญาณที่ 8)แล้ว หรือไม่ก็ สังขารรุเบกขาญาณ(ญาณที่ 11)แล้ว  บางที่ก็โน้น มรรคผลนิพพานไปแล้ว

   แต่ผมก็เคยเป็นครับและหลงมาแล้วดังที่ผมเล่ามา เป็นสิ่งที่น่าระอายครับ  แต่ก็มันเป็นธรรมชาติของกิเลสครับ  เมื่อไหรไปยึดถือขั้นยึดถือลำดับด้วยความลำพอง หรือยกตน หรือด้วยความหลงยึดว่ารู้สึกดีเพราะถ้าไม่มีที่ยึดจะสิ้นหวังหรือเหมือนลดค่าตัวตนลงมา  เมื่อกิเลสมี สิ่งนี้ก็ยังมีอยู่และปรุงแต่งอยู่ในจิตในใจเป็นธรรมดาครับ
    อยู่ที่ว่าผู้นั้นจะพอมีสติปัญญา เห็นถึงกิเลสตน เห็นถึงความผิดปกติที่เกิดจากการยึดมั่นนั้นหรือไม่ ถ้าพอมีปัญญาอยู่ ก็จะไม่กล่าววาจาล่วงเลยไปถึงมรรคผลนิพพานที่ไม่ได้เป็นจริงในตน แต่กล่าวเรื่องญาณต่างๆ ตั้งแต่ญาณ 11 ลงมานั้น เป็นเรื่องธรรมดาของปุถุชนโดยเฉพาะที่เป็นฆารวาส
 
   สุดท้ายผมขอ อนุโมทนาสาธุ     กับคุณโยมเล็ก ที่ได้เข้าปฏิบัติกรรมฐานกับพระเทพสิทธิมุนีตั้งแต่ปี พ.ศ 2510 และได้ปฏิบัติธรรมเรื่อยมาครับ
 

ตอบโดย: Vicha 16 ม.ค. 49 - 09:34


 ก็เป็นสติปัฏฐาน 4 ดีๆ นี้เอง เป็นวิปัสสนานี้เอง ...คำคำนี้ จริงตรงตามพระพุทธวจนะหรือไม่
พิจารณาตรงคำว่า สติปัฏฐาน 4 ดีๆ นี้เอง เป็นวิปัสสนานี้เอง
โดยเทียบกับที่ตรัสว่า
โพชฌงค์ทั้ง ๗ ย่อมบริบูรณ์ เมื่อ สติปัฏฐานทั้ง ๔ บริบูรณ์
และที่ตรัสว่า
สติปัฏฐานทั้ง ๔ บริบูรณ์ เมื่ออานาปานสติ (พิสดาร ๑๖) บริบูรณ์

และที่ตรัสว่า
ฯลฯ
...เมื่อเขาทำอริยอัฏฐังคิกมรรค ให้เจริญอยู่ด้วยอาการอย่างนี้
สติปัฏฐานแม้ทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ
สัมมัปปธานแม้ทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ
อิทธิบาทแม้ทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ
อินทรีย์แม้ทั้ง ๕ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ
พละแม้ทั้ง ๕ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ
โพชฌงค์แม้ทั้ง ๗ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ

ธรรมทั้งสองคือสมถะ และ วิปัสสนา ของเขานั้น ย่อมเป็นธรรมที่เคียงคู่กันไป

บุคคลนั้นย่อมกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง (คืออุปาทานขันธ์ทั้ง ๕) ... ฯลฯ
ย่อมละ (อวิชชา ภวตัณหา) ด้วยปัญญาอันยิ่ง ...ฯลฯ

ธรรมอันบุคคลพึงทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่งคือ สมถะด้วย วิปัสสนาด้วย

ธรรมอันบุคคลพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง คือ วิชชา และวิมุตติด้วย

(สำนวนแปลเต็มๆ พระสูตรนี้-อุปริ ม. เล่มที่ ๑๔ หน้า ๕๒๓-๕๒๖ ข้อที่ ๘๒๘ -๘๓๑ โปรดดูเอาเองฯ)

ลองพิจารณาดูว่า ตรงกับคำคำว่า ก็เป็นสติปัฏฐาน 4 ดีๆ นี้เอง เป็นวิปัสสนานี้เอง ....หรือไม่ ..เมื่อตรัสว่า ...ธรรมทั้งสองคือสมถะ และ วิปัสสนา ของเขานั้น ย่อมเป็นธรรมที่เคียงคู่กันไป


สรุป
ถ้ากล่าวใหม่ว่า ..สติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้เอง (โดยระบบอานาปานสติสมาธิ หรืออานาปานสติ ๑๖) นี้เอง ที่คือสมถะด้วย วิปัสสนาด้วย ...น่าจะตรงตามพระพุทธวจนะมากกว่า คำคำว่า ...ก็เป็นสติปัฏฐาน 4 ดีๆ นี้เอง เป็นวิปัสสนานี้เอง .(ขาด สมถะ ไป)

ลองพิจารณาดู

 

ตอบโดย: นิรนาม41 16 ม.ค. 49 - 10:11


ผมขอพิมพ์อะไร นิดๆ หน่อยนะครับคุณ นิรนาม 41 ไม่ว่าอะไรกันนะครับ

        ถ้าฟุ้ง แล้วเห็นเท่าทันฟุ้ง ก็คงไม่มีอะไรหรอกครับ   อ่านไปศึกษาไปปฏิบัติไปก็จะเจริญขึ้น

       และขอรับทราบที่กรุณา ชี้แจงนะครับ
 

ตอบโดย: Vicha 16 ม.ค. 49 - 13:12


ถามคุณ นิรนาม และ คุณวิชาครับ //ผมเป็นใครหรือครับ ทำไมจิตพิเศษไม่เหมือนคนอื่นดูเหมือนการเปลี่ยนแปลงทางจิตของมนุษย์เมื่อปี45 เกี่ยวข้องกับผมโดยตรง คือทำไมต้องสื่อความคิด(จิต)ของผมไปด้วยทั้งๆที่ไม่บรรลุอะไรกับเขาสักที แล้วสมมุติการรู้ว่าตนเป็นพระโพธิสัตว์1ในสองทีบารมีเต็มแล้วแล้วควรเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติตัวหรือไม่ครับ แล้วอีกคนคือใตรตรับ

ตอบโดย: วชิระ45 16 ม.ค. 49 - 19:59


ถามคุณวิชาด้านข้อมูลเอกสาร(เผื่อรู้บ้าง) แต่ถามคุณนิรนามขอเจโต เพราะรู้สึกว่า ไม่ค่อย จะมีพระอเสขะใดๆอยากให้ปกปิดไว้ก่อนเท่าไหร่เลยครับ

ตอบโดย: วชิระ45 16 ม.ค. 49 - 20:11


ผมเป็นใครหรือครับ ทำไมจิตพิเศษไม่เหมือนคนอื่นดูเหมือนการเปลี่ยนแปลงทางจิตของมนุษย์เมื่อปี45 เกี่ยวข้องกับผมโดยตรง คือทำไมต้องสื่อความคิด(จิต)ของผมไปด้วยทั้งๆที่ไม่บรรลุอะไรกับเขาสักที แล้วสมมุติการรู้ว่าตนเป็นพระโพธิสัตว์1ในสองทีบารมีเต็มแล้วแล้วควรเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติตัวหรือไม่ครับ แล้วอีกคนคือใตรตรับ


เมื่อถามผม ผมก็อาศัยพุทธวจนะที่เกิดมาจากจิตที่สิ้นอวิชชา ราคะ โทสะ โมหะแล้วอย่างถาวร ตอบคำถามที่ถามนั่น
(ไม่ทราบว่าตามมติของคุณวชิระ45 พระพุทธองค์จะทรงมีจิตพิเศษยอดยิ่งยวดกว่า ใครๆ รวมทั้ง ผู้นั้น ที่คือ "ผมเป็นใครหรือครับ ทำไมจิตพิเศษไม่เหมือนคนอื่น" ด้วย)

ดังนี้
(๑) คำว่า ...ผมเป็นใคร ...ก็คือ สิ่งปรุงแต่งชนิดหนึ่ง ไงครับ
...ผมเป็นใคร ตรงกับที่พระพุทธองค์ ได้ตรัสว่า บุรุษนี้ประกอบอยู่ด้วยธาตุ ทั้งหลาย ๖ ประการ ไงครับ ...ตกลง จะพิเศาแค่ไหน ก็แค่ ธรรมดาคือธรรมชาติที่ประกอบอยู่ด้วยธาตุ ทั้งหลาย ๖ ประการ


ทีนี้
(๒) คำว่า ...ทำไมจิตพิเศษไม่เหมือนคนอื่น

ก็เพราะ สิ่งปรุงแต่งนั้นหรือธาตุ ๖ อย่านั้น ...สำคัญมั่นหมายแล้วว่า ฉันมี........"จิตที่พิเศษ ไม่เหมือนคนอื่น"
...ถ้าพิเศษจริง ก็จะไม่สำคัญมั่นหมายว่า ฉันเป็นใคร หรือผมเป็นใคร ที่ มีจิตพิเศษ ไม่เหมือนใครๆ ฯลฯ

ทีนี้
รู้ได้อย่างไรว่า ตนเองมีจิตพิเศษไม่เหมือนคนอื่นนั้น จิตนั้นเป็นจิตที่พิเศษจริงๆ

ถ้า ใครนั้นตอบกลับว่า
...ก็เพราะ "ฉันรู้อยู่ไง" .........จึงพิมพ์ว่าทำไมจิตพิเศษไม่เหมือนคนอื่น ให้รู้
แล้วก็
..."คุณ(นิรนาม41) นะไม่รู้ตามที่ผมรู้หรอก (เพราะว่า ...เป็นใบลานเปล่า หรือว่า ไม่ได้เป็นนักปฏิบัติ หรือว่า ฯลฯ...)


ประเด็น
......ถ้าฟุ้ง แล้วเห็นเท่าทันฟุ้ง ....แบบนี้ จิตไม่พิเศษอะไรเลย นะครับคุณวชิระ45

เพราะจิตพิเศษ มีหลายจิตครับ
จิตพิเศษชนิดหนึ่ง ได้แก่ ...จิตที่สามารถ ทำตามที่ตรัสว่า สติกั้นกระแส (ก่อนที่จะฟุ้ง) เหล่านั้น (สิเตสัง นิวารณัง)

.........แค่นี้นะครับ
 

ตอบโดย: นิรนาม41 16 ม.ค. 49 - 20:28


ผมก็ตอบคุณ วชิระ45 นะครับ ผมขอตอบแบบเข้าใจง่ายๆ นะครับ

จากคำถาม ผม(คุณวชิระ45)เป็นใครหรือครับ

ตอบ ก็คุณวชิระ45 เป็นคนคนหนึ่งครับ  และผม(Vicha)ก็เป็นคนธรรมดาคนหนึ่งครับ

และจากคำถามที่ว่า ทำไมจิตพิเศษไม่เหมือนคนอื่นดูเหมือนการเปลี่ยนแปลงทางจิตของมนุษย์เมื่อปี45 เกี่ยวข้องกับผมโดยตรง คือทำไมต้องสื่อความคิด(จิต)ของผมไปด้วยทั้งๆที่ไม่บรรลุอะไรกับเขาสักที
    ตอบ เพราะคุณวชิระ45 ได้ปฏิบัติธรรม จึงทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงทางจิตและอารมณ์ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาเองของผู้ปฏิบัติธรรมถึงจุดหนึ่ง  ปรุงแต่งมากก็อาจฟุ้งจนวิปลาสได้ชั่วคร่าว ปรุ่งแต่งน้อยก็ให้เกิดปัญญารู้ว่าธรรมชาตินี้มีอยู่ เมื่อสติสมาธิถึงจุดหนึ่ง

และจากคำถามที่ว่า แล้วสมมุติการรู้ว่าตนเป็นพระโพธิสัตว์1ในสองทีบารมีเต็มแล้วแล้วควรเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติตัวหรือไม่ครับ แล้วอีกคนคือใตรตรับ
    ตอบ การจะรู้ว่าตนเองเป็นโพธิสัตว์นั้น แบ่งข้อใหญ่ๆ ดังนี้
        1.ได้รู้ได้เห็นแค่คุณ จากข้อมูล แล้วศรัทธา ประสงค์จะเป็นอย่างมากมหาศาล เกิดปีติที่มากมาย
        2. ได้ปฏิบัติธรรมจนถึง สังขารุเปกขาญาณ จึงได้ทราบถึงความประสงค์เก่าก่อน

    เมื่อทราบแล้วปัญญาเท่าที่มีนั้นแหละจะเป็นตัวนำในการปฏิบัติตัวและการดำรงณ์ตน ไม่ใช่ความอยากจนหลงแล้ววิปลาสไป

      ปัญหาเรื่องฐานะของพระโพธิสัตว์อันเป็นสัจจะธรรมที่ถูกต้องแน่นอน เป็นปัญหาละเอียดอ่อนรู้ได้เฉพาะตัวถ้ามีปัญญา เช่น

       รู้ตัวว่าเป็นโพธิสัตว์ เมื่อจิตศรัทธาปรารถนาแรงกล้า  แล้วดำรงณ์จิตดำรงณ์ตนตามที่ปรารถนาไม่ได้ปรุงแต่งอะไรก็คงไม่วิปลาส
       แต่ถ้ารู้ว่าเป็นโพธิสัตว์ ปรุงแต่งไปว่าตนได้รับพุทธพยากรณ์แล้ว เกิดเป็น 2. กรณี
           1. ถ้าเป็นสัจจธรรมจริงก็ไม่มีปัญหาอะไร? ถึงจะมีการปรุงแต่งอยู่บ้างในระยะต้น เพื่อยืนยันในสัจจะธรรมนั้น แล้วสุดท้ายปัญญานั้นก็จะเป็นตัวนำให้ดำรงณ์ตนอยู่ได้อย่างปกติ โดยไม่วิปลาสไป
           2. ถ้าไม่เป็นจริง แต่เกิดไปปรุงแต่งยึดมั่วว่าได้รับพุทธพยากรณ์แล้ว ก็จะมีการปรุงแต่งมากมายหาที่สุดที่จบของใจที่ดิ้นรนไม่ได้ เมื่อยังไม่วางใจ เกิดอาการวิปลาสให้เห็นบ่อยและถี่ จนวางใจได้ว่า ไม่น่าจะจริง หรือไม่จริง ก็จะปรับตัวเข้าสู่ปกติ

       สำหรับคำถามของคุณ วชิระ45 นั้นลึกเข้าไปอีกคือ สำคัญว่าเป็นโพธิสัตว์ 1 ใน 2 ที่บารมีเต็มแล้ว ถ้าเป็นผู้ที่ยังไม่ได้รับพุทธพยากรณ์อมาก่อนเลย เมื่อยึดมั่นถือมั่นอยู่ก็จะวิปลาส(ไม่ใช่บ้า แต่พฤติกรรมการกระทำความคิดผิดเพียนไป)  เมื่อเป็นมากๆ ก็มีโอกาศบ้าได้
      ถ้าได้รับพุทธพยากรณ์แล้ว แต่เข้าใจผิด ก็จะปรุงแต่งจนเกือบวิปลาส แล้วปัญญาก็จะบังเกิดให้รู้ว่าตนเองควรอยู่ที่ตรงใหน? เพราะถ้ายึดมั่นตรงที่ไม่จริงแล้วจะผิดเพียนเป็นประจำ

      ดังนั้นพฤติกรรมของตนเองนั้นแหละเป็นตัวบอกเป็นตัวเตือนถ้ายังพอมีสติและปัญญาอยู่ ไม่มีใครบอกได้ มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้น แม้แต่พระอริยที่ทรงอภิญญาจะบอกได้ก็เพียงแค่ว่าได้รับพุทธยากรณ์แล้วหรือยังเมื่อญาณของท่านไปถึงได้ หรือจะตรัสรู้เมือไหรเมื่อญาณของท่านไปถึงเท่านั้น
       แต่ถ้ากาลเวลานั้นล่วงเลยไปจากญาณอภิญญาของพระอริยทรงอภิญญา ก็ไม่สามารถบอกสิ่งใดได้

   จากคำถามที่ว่า แล้วสมมุติการรู้ว่าตนเป็นพระโพธิสัตว์1ในสองทีบารมีเต็มแล้ว ดังนั้นอีกคนคือใคร
    ตอบ พระโพธิสัตว์ที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป ก็มีแต่ พระโพธิสัตว์ศรีอริยเมตตรัย ดังนั้นอีกคนก็พระโพธิสัตว์ศรีอริยเมตตรัย
    ดังนั้นผู้ที่ ยึดมั่นว่าตนเองเป็นโพธิสัตว์ 1 ใน 2 ที่บารมีเต็มแล้ว จิตก็จะต้องพิสุจน์ตนเองอีกมากมาย ถ้าเกิดมีสติปัญญาขึ้น มีความตั้งมั่นมากขึ้น มีความเป็นปกติสุขในฐานะนั้น และดำรงณ์จิตได้อย่างถูกต้อง ก็ถือว่าเป็นสิ่งดี
     แต่ถ้าเกิดภาวะที่วิปลาส ทั้งทางการกระทำและความคิด มีความผิดเพียนขึ้น ถ้ามีสติปัญญาพอรู้ตัวก็จะปล่อยวางไม่ไปหวังในฐานะอันไม่เป็นจริงนี้ แต่ถ้าไม่รู้ตัวก็จะวิปลาสไปเรือยๆ จนที่สุดจนรู้ฐานะตนเองหรืออาจจะบ้าได้

     ผมตอบคุณ วชิระ45 เสียละเอียดเลยครับ
              

ตอบโดย: Vicha 17 ม.ค. 49 - 09:50


ขอโทษนะครับ "การเปลี่ยนแปลงทางจิตของมนุษย์เมื่อปี45 " คืออะไรครับ ไม่เห็นรู้เรื่องเลยครับ ช่วยอธิบายหน่อยครับว่า ปี45มีอะไร

ตอบโดย: ปริชญา 17 ม.ค. 49 - 12:43


ยินดีในความคิดเห็นนะครับ จะนำมาปฏิบัติ แต่ผมไม่ได้รู้เองหรอกครับ ฟังท่านอื่นๆมานะครับ บางทีก็ฟุ้งบ้างเป็นธรรมดา // ปี45 ก็คือปีที่มีการเปลี่ยนแปลงทางจิตให้เริ่มมีการรู้สึกตัวโดย ธรรมชาติไงครับ รึผมเข้าใจผิดก็ไม่รู้วานอธิบายด้วยก็ได้นะครับ จะขอบคุณมาก

ตอบโดย: วชิระ45 17 ม.ค. 49 - 19:26


ตอบคุณ วชิระ45
       ตามธรรมดา การปารถนาพุทธภูมิ นั้นต้องเริ่มจากการรู้ตนเองก่อนด้วยพฤติกรรมของตนเอง จนเป็นความปรารถนาของตนเองครับ จึงมีความศรัทธาตั้งมั่นที่ดีครับ
       ยกเว้นนิกายมหายานนะครับ กระทุ้นให้ผู้คนปรารถนา โดยที่ไม่ได้เริ่มที่พฤติกรรมของตนเองที่เป็นความปรารถนาภายใน  และมีเว็บบางเว็บที่เป็นเถรวาท ได้กระทำคล้ายๆ กับมหายาน ทักทายไปทั่วแล้วกระทุ้นให้เกิดการปรารถนาพุทธภูมิ

       ผู้ที่ปรารถนาพุทธภูมิจริงๆ  จะมีอย่างหนึ่งที่มากกว่าคนทั่วไปที่เห็นได้ชัดคือ ความศรัทธาที่มาก และความศัรทธานั้นจะหล่อเลี้ยงอยู่ตลอด เป็นสิ่งที่ดีทำให้ผู้นั้นสร้างสมบารมีไปเรื่อยๆ ได้ตลอด แต่เมื่อเข้าใจผิดหลงผิดคือขาดปัญญา ด้วยความศัทธาที่มากก็จะทำให้ผู้นั้นกระทำหรือคิดและจินตนาการที่บิดเบียวผิดพลาดวิปลาสโดยไม่ยั่งคิดไปได้ ก็มีตัวอย่างให้เห็นมากมายครับ

      แต่สำหรับผู้ที่ปรารถนาน้อยๆ ศรัทธน้อยๆ อยู่ ก็คงไม่มีอะไรเกิดรุ่นแรงครับ แต่ก็จะพลอยศรัทธาตามไปกับผู้ปรารถนามากๆ ครับ   ถ้าผู้ที่ปรารถนามากๆ หลง ก็จะทำให้ผู้ปรารถนาน้อยที่ศรัทธาหลงตามไปด้วยครับ ซึ่งเป็นธรรมดาของคำว่ากลุ่มหรือความสัมพันธ์ของกลุ่มครับ
 
  
  

ตอบโดย: Vicha 18 ม.ค. 49 - 09:47


ประเด็น ....การเปลี่ยนแปลงทางจิตของมนุษย์เมื่อปี45 เกี่ยวข้องกับผมโดยตรง คือทำไมต้องสื่อความคิด(จิต)ของผมไปด้วยทั้งๆที่ไม่บรรลุอะไรกับเขาสักที


พยัญนะข้างบนนั้น ...บอกว่า .........คุณวชิระได้รู้สึก (แบบไหนก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง)ว่า ได้เกิดมีจิตอีกประเภทหนึ่งขึ้น ....ที่คือ "การเปลี่ยนแปลงทางจิต" (เมื่อ พ.ศ. 2545) เกิดขึ้นใหม่ "แทนจิตเดิม - ก่อน พ.ศ. 2545" ........ทั้งๆ ที่ รู้สึกว่า (ตามพยัญชนะที่เสนอว่า) .."ไม่บรรลุอะไรกับเขาสักที" ........แล้วก็ ถามว่า "ทำไมต้องสื่อความคิด(จิต)ของผมไปด้วย"


พิจารณาคำถาม
(๑) "ทำไมต้องสื่อความคิด(จิต)ของผมไปด้วย"
คำถามนี้ ........."ทำไม" คุณวชิระ45 ไม่อาศัย "การเปลี่ยนแปลงทางจิตของมนุษย์ (ที่ชื่อวชิระ 44) เมื่อปี45 เกี่ยวข้องกับผมโดยตรง " ตอบคำถามนี้ ........ให้ผมได้รู้ละครับ

หรือว่า ที่ถามแบบนี้นั้น จริงๆ แล้ว ก็คือ การบอกให้รู้ว่า ....ฉันเป็นผู้มีจิตพิเศษคนหนึ่งนะ ด้วยอำนาจของอวิชชา ตามที่ตรัสว่า เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย ฯลฯ ....ฯลฯ เพราะเวทนา(รู้สึกซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางจิตนั่นแหละ) เป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ฯลฯ ....ฯลฯ

..........คุณวชืระ 45 ลองพิจารณาดูไหม.........พิจารณาด้วย จิตอื่นที่ไม่ใช่ ...การเปลี่ยนแปลงทางจิตของมนุษย์เมื่อปี45 เกี่ยวข้องกับผมโดยตรง เช่น .........จิต ที่ ประกอบด้วย สัมมาสมาธิในองค์มรรค ที่แวดล้อมด้วยมรรคอีก ๗ องค์ ตามที่ตรสใน มหาจัตตารีสักกสูตร .............ก็จะเป็นทางมาของคำตอบ ที่แตกต่าง ฯลฯ


(๒) .."ไม่บรรลุอะไรกับเขาสักที"
พยัญชนะนี้ ...มีนัยยะ
กล่าวคือ เพราะอำนาจของ การเปลี่ยนแปลงทางจิตของมนุษย์เมื่อปี45 เกี่ยวข้องกับผมโดยตรง นั้น ......เป็นปัจจัย .....ทำให้ รู้อยู่แก่จิตเช่นนั้นว่า ...ไม่บรรลุ ถึงความสิ้นไปแห่งราคะ โทสะ โมหะ ตามที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ ฯ


ส่วนเรื่อง.......แล้วสมมุติการรู้ว่าตนเป็นพระโพธิสัตว์1ในสองทีบารมีเต็มแล้ว ฯลฯ นั่น
ระวังนะครับ จะสับสน หรือผิดฝาผิดตัว ระหว่าง เถรวาท กับ มติมหายานเขา ....เรื่อพระโพธิสัตว์ ฯ

เพราะ
โพธิสัตว์ตามพุทธปัญญานั้น ไม่ว่ากำหนดแบบ มหายานนิยม หรือกำหนดแบบ สรวาสติวาทิน (ที่นิยมพระอภิธรรม และ วิสุทธิมัคค์) หรือโพธิสัตว์แบบไหนๆ ...ในที่สุดแล้ว ต้องได้แก่ สัตว์ที่กำลังอะไรๆ กับ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ เสมอ ...แหละนั่นคือ ความหมายของคำว่า โพธิสัตว์ ........แน่นอน ความหมายของโพธิสัตว์ข้างบนนั้น ........เป็นคำที่ผมเสนอเอง ...ไม่มีพระพุทธวจนะตรัสไว้ในพระสูตรไหน

ลองพิจารณาดู

สรุป
โพธิสัตว์ ไม่ว่า จะกำหนดแบบไหน ในที่สุดแล้ว ก็คือ สัตว์ที่กำลัง เนื่องกับ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ เสมอ ........แล้วก็ อนัตตาด้วย

การเปลี่ยนแปลงทางจิตเมื่อ 45 ...จึงไม่เนื่องกับ โพธิสัตว์ (สัตว์ที่กำลัง เนื่องกับ โพธิปักขิยธรรม ๓๗) ...เพราะดูจาก พยัญชนะที่เสนอเองว่า ....แต่ผมไม่ได้รู้เองหรอกครับ ฟังท่านอื่นๆมานะครับ บางทีก็ฟุ้งบ้างเป็นธรรมดา // ปี45 ก็คือปีที่มีการเปลี่ยนแปลงทางจิตให้เริ่มมีการรู้สึกตัวโดย ธรรมชาติไงครับ รึผมเข้าใจผิดก็ไม่รู้วานอธิบายด้วยก็ได้นะครับ จะขอบคุณมาก

หมายเหตุ
ไม่เห็นโทษของ จิตฟุ้ง หรือครับ / ไม่เห็นอุบายออกจาก ฟุ้ง หรือครับ

แล้ว จะ เป็นธรรมดาคือฟุ้งบ้าง ไปถึงไหน?
แล้วที่ไม่ฟุ้งนะ ...ไม่ฟุ้งแน่หรือ?

 

ตอบโดย: นิรนาม41 18 ม.ค. 49 - 10:15


ผมก็มีเพื่อนคนนึง เดี๋ยวนี้วุ่นวายแต่เรื่องวิ่งแก้ดวงเมืองดวงประเทศ เที่ยวหาหมอดูบ้างฤาษีบ้าง ว่าอยากให้เทพ พรหม ช่วยเหลือตัวเค้าและ บ้านเมือง การงานก็ไม่ค่อยจะได้ทำ ทำเดี๋ยวก็ต้องออก เค้าบอกว่าเทพ พรหม แกล้งเค้าให้ออกจากงาน เพราะต้องการสื่อเค้าให้ช่วยประเทศอะไรทำนองเนี๊ยะครับ แรกๆเค้าก็ว่าเค้าเป็นโพธิสัตว์อะไรไม่รู้จำไม่ได้ หลังๆเค้าก็ว่าเค้าเป็นลูกพระศรีอารยเมตไตร เดี๋ยวนี้เค้าบอกเค้าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าอีกองค์ในการข้างหน้า แถมด่าพระพุทธเจ้าว่าทำไมมาแกล้งเค้าอย่างนี้ ด่าหยาบๆคายๆ ผมก็ไม่รู้จะทำไง  ทำไมบอกว่าจะให้เค้าเจอเนื้อคู่แล้วก็ให้คลาดเคลือนไปได้เป็นสิบๆคนอะไรทำนองนี้ครับ บางทีก็เอาพระอริยะมาเปรียบเทียบเหมือนเป็นสิ่งของ องค์นี้กระจอกสู้องค์นี้ไม่ได้ องค์นี้อย่างนั้น องค์นั้นอย่างนี้ ขับรถอยู่มีรถแซงมาอยู่ข้างหน้าทะเบียนมีเลข 11 ก็บอกเลขพระพุทธเจ้า ต้องมี สัญญาณอะไรสักอย่างจากท่านอะไรทำนองนี้ ฝนตกลงลงมาโดน1เม็ดก็กลายเป็นเรื่องใหญ่โตได้ทั้งที่มันเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ แต่ผมบอกเค้าไม่ได้เค้าแรงมากครับ เค้าเชื่อสุดโต่งเลยว่าต้องเป็ฯอย่างนี้จริงๆ มีทีนึงเค้าถามผมหลังจากที่เค้าบ่นๆว่า เค้าก็ไม่อยากเป็นแบบนี้หรอกแต่เบื้องบนจัดฉาก เค้าถามว่าถ้าเป็นผมๆจะทำอย่างไร ผมก็ตอบเค้าไปว่า ถ้าเป็นผมๆจะไม่เชื่อเรื่องที่เค้าเชื่อ แต่จะสนใจปฏิบัติตามพระพุทธเจ้าสอนมากกว่านี้ อีกอย่างผมคิดว่าจะเป็นทุกข์มากกว่าถ้าเค้ายังเป็นอย่างนี้อยู่ครับ
แต่ก็ไม่รู้จะบอกอย่างไร เค้าแรงมากๆ ทุกวันนี้ก็ไม่ค่อยมีใครคบเค้าเท่าไหร่ ก็เหลือผมนี่แหละที่เค้าจะโทรมาระบาย ผมก็ได้แต่"อือๆๆ"เท่านั้น คิดว่าสักวันเค้าเปิดรับขึ้นมาก็จะอาศัยหาจังหวะสอดแทรกไปทีละนิด เพราะว่าบอกไปตอนนี้เค้าคงเลิกคบผมแน่ๆ เพราะมีคนพูดกับเค้าหลายคนแล้ว โดนทุกคน!!!

ตามความคิดผมๆคิดว่า ปฏิบัติตามคำสอนให้ละกิเลสให้หมดหรือไม่หมดก็ให้เบาบางดีกว่าครับ เพราะถ้าพลาดไปแบบเพื่อนผมก็คงต้องเสียเวลาชีวิตไปอีกนาน

ตอบโดย: ปริชญา 18 ม.ค. 49 - 13:43


เข้ามายิ้ม    ให้กับข้อมูลของคุณปริชาครับ ผมได้ข่าวอย่างนี้มาก็จากหลายท่านแล้วครับ

   ผมเองก็เป็นครับแต่เป็นในระยะแรก ในแง่ของความนึกคิคและอารมณ์ที่อยู่ภายใน ไม่โพร่งออกมาทางวาจาหรือการกระทำจนผิดปกติไปมากมาย เพราะจิตเองนั้นแหละต้องการหาต้องการพิสูจน์ข้อมูลต่างๆ จึงปรุ่งแต่งไปต่างๆ นานา อยู่หลายปีจนได้ข้อมูลประสบการณ์ทางอารมณ์ต่างๆ มากมาย แต่เพราะด้วยปฏิบัติธรรมวิปัสสนาควบคู่กันไป สิ่งต่างๆ ก็เฉลยออกทีละเปาะๆ  แล้วเมื่อปล่อยวางถึงที่สุดก็สงบและเป็นปกติเข้าใจในธรรมชาตินั้น นั้นเองครับ

   ปัญหาของผู้มีศรัทธามาก แล้วความคิดและจินตนาการบิดเบียวเพื้ยนๆ ไป ก็เกิดจากการไม่รู้จักระงับใจ ระงับวาจา ระงับกาย ปล่อยให้ไหลตามกระแสของความปรารถนาความประสงค์การจินตนาการในสิ่งที่ศรัทธาจนสุดๆ ไม่เฉลียวใจพิจารณา เมื่อเป็นอย่างนี้ก็คือความหลงดีๆ นี้เอง ครับ

    จึงเกิดธรรมที่กล่าวว่าต้องคู่กันคือ

         ศรัทธา ตัองคู่กับ ปัญญา     จึงไม่หลงไปไกล ระงับกาย วาจา ใจ ให้เป็นปกติได้
         สมาธิ   ต้องคู่กับ สติ     จึงกำหนดภาวนาเท่าทันเป็นปัจจุบันได้ ไม่เช่นนั้นจะเข้าสู่ความง่วงหนาวนอน หรือจะเข้าความนิ่งอยู่อย่างเดียว

 

ตอบโดย: Vicha 18 ม.ค. 49 - 15:43


เรียนคุณปริชญา
   
       ผมเห็นด้วยกับเพื่อนคุณในแง่ของทุกอย่างมันเกิดจากเหตุและปัจจัยครับ คุณต้องเคยทำกรรมอะไรบ้างอย่างมาก่อนหน้านี้ ทำให้คุณได้รับผลกรรมในปัจจุบัน แต่คุณก็สามารถเลือกที่จะทำกรรมขาว หรือ กรรมดำในปัจจุบันได้ครับ มันก็จะส่งผลให้คุณในอนาคตนะ ตามความเชื่อของศาสนาพุทธ เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงกรรม หรือหลีกหนีกรรมได้ครับ แต่ทำให้กรรมนั้นไม่ส่งผลมาหรือลดความรุนแรงได้ครับ โดยทำความดีนะ  และอีกอย่างหนึ่งวิธีของเพื่อนคุณที่ไปบนตามที่ต่างๆ นั้นมันไม่ได้ช่วยให้ทุกข์น้อยลงเลย เพียงแต่เรายอมรับความจริงตามสิ่งที่มันเกิดขึ้นได้ ก็ทุกข์น้อยลงแล้วครับ
 

ตอบโดย: คนไม่มีอะไร 18 ม.ค. 49 - 15:45


ขอต่ออีกนิดหนึ่งนะครับ

      ปัญญา ต้องคู่กับ สมาธิ   ไม่เช่นนั้นจะฟุ่งซ้านไปตามอารมณ์ความคิดหาจุดจบได้ยาก
 

ตอบโดย: Vicha 18 ม.ค. 49 - 15:49


ขอรบกวนถามครับท่าน

ผมจับคู่ตามทฤษฎีที่รู้มา---ไม่ใช่ที่เห็นจริง...ไปว่า

สัทธา------------วิริยะ------------สติ----------สมาธิ-------------ปัญญา
                          |.......................|.....................|
   |..............................................|.............................................|

คือ ถ้าสมาธิมากจะขี้เกียจต้องเพิ่มวิริยะความเพียร

......เมื่อผมพยายามตามดูลม...ฟุ้งซ่าน ไปเรื่อยๆ...พยายามรู้สึกตัวว่าเผลอ...แล้วยังไม่ทันสงบปวดชาขาก่อนแล้ว...มาดูความปวดแทน....ไม่ไหวแล้วเลิก...ทุกทีเลยท้อแท้...

ไม่มีทั้งสมาธิและความเพียร...ขอกำลังใจและคำแนะนำครับท่าน
 

ตอบโดย: ธนัส 18 ม.ค. 49 - 17:16


"การเปลี่ยนแปลงทางจิตของมนุษย์ (ที่ชื่อวชิระ 44) เมื่อปี45 เกี่ยวข้องกับผมโดยตรง " ตอบคำถามนี้ ........ให้ผมได้รู้ละครับ//นิรนาม/*ก็ตอบตามสมมุตินะครับ ถ้าพูดแต่ปรมัต คงสื่อออกมากันไม่ได้ หรือจะเรียกตามคุณ นิรนามก็คือการปรุงแต่งของจิตผมเอง(จนเป็นอุปาทาน) แต่ผมคิดว่าสิ่งแวดล้อมปรุงแต่งผมมาก100 ผมเอาแค่50-60 %เท่านั้นนะครับ และกำลังทอนมันลงเรื่อยๆ แต่มันน่าจะคนละเรื่องกับ(คำถาม)จิตพิเศษเพราะคุณก็ทราบดีแม้นัยของปรมัตก็ปฏิเสธไม่ได้ แต่ไม่ค่อยยึดมั่นมาก รู้ไว้เพื่ออาจมีประโยชน์ครับ
 /วิชา/ การวิปลาส ก็คงไม่น่าเกิดขึ้นกับผมนะ ถึงมีสิ่งบอกเหตูที่เป็นรูปธรรมจริงๆ หรือเป็นอะไรก็ตามนั้นขึ้นมาจริงๆ ผมก็รู้ตัวอยู่ไม่ปรุงแต่งมากไปกว่านี้แล้ว(เพราะตอนนี้ก็สุดๆ แล้ว)

ตอบโดย: วชิระ45 18 ม.ค. 49 - 19:34


อ้างอิง (ธนัส @ 18 ม.ค. 49 - 17:16)
ขอรบกวนถามครับท่าน

ผมจับคู่ตามทฤษฎีที่รู้มา---ไม่ใช่ที่เห็นจริง...ไปว่า

สัทธา------------วิริยะ------------สติ----------สมาธิ-------------ปัญญา
                          |.......................|.....................| 
   |..............................................|.............................................|             

คือ ถ้าสมาธิมากจะขี้เกียจต้องเพิ่มวิริยะความเพียร

......เมื่อผมพยายามตามดูลม...ฟุ้งซ่าน ไปเรื่อยๆ...พยายามรู้สึกตัวว่าเผลอ...แล้วยังไม่ทันสงบปวดชาขาก่อนแล้ว...มาดูความปวดแทน....ไม่ไหวแล้วเลิก...ทุกทีเลยท้อแท้...

ไม่มีทั้งสมาธิและความเพียร...ขอกำลังใจและคำแนะนำครับท่าน

ก่อนอธิบายและให้คำแนะนำ ขอขึ้นด้วยความเข้าใจความเข้าใจในศัพท์บัญญัติเสียก่อน เพราะความเข้าใจในศัพท์บัญญัตินี้ มีความสำคัญไม่แพ้ความเข้าใจในหลักปฏิบัติครับ

คำแรกที่คุณยกมาคือ "วิริยะ" ความเพียร ซึ่งต้องเข้าใจนะครับว่าความเพียร ไม่ใช่ความ อดทน (วิริยะ =/ ขันติ)
ความเพียร เป็นความเพียรเพื่อจะละความชั่ว ประพฤติความดี ความบากบั่น ความไม่ท้อถอย ไม่ยอมแพ้อะไรง่าย ๆ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า perseverance = persistance แปลเป็นภาษาชาวบ้านได้ว่า "ความตื๊อ" แต่เป็นความตื้อในทางทีถูกที่ควรนะครับ....ถ้าสังเกตุเหรียญพระมหาชนกของในหลวงท่าน ด้านหลังท่านจะจารึกคำอยู่ 3 คำ เป็นภาษาบาลีสะกดเด้วยภาษาไทยว่า วิริยะ กับภาษาเทวนาคลี(ภาษาสัณสกฤต-ซึ่งผมอ่านไม่ออก) และภาษาอังกฤษ คือ perseverance คำนี้นั่นแหละครับ....

ขันติ ความอดทนแปลว่าความอดทน คือ ทนลำบาก ทนตรากตรำ ทนเจ็บใจ, ความหนักเอาเบาสู้ เพื่อบรรลุจุดหมายที่ดีงาม
(อ้างอิง...พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

สำหรับคำว่าสมาธิคงไม่ต้องแปลนะครับเพราะเข้าใจกันดีโดยถ้วนทั่วกันทุกคน

ทีนี้มาดูว่า ทำไมครูบาอาจาจารญ์ท่านจึงสอนให้ปรับอินทรีย์คู่นี้ คือ "วิริยะ" กับ "สมาธิ" ให้เสมอกัน ความจริงเรื่องนี้...ก็อีกละครับ...ใคร ๆ ก็รู้...ว่า สมาธิ นั้นเป็นธรรมที่ใกล้กับ โกสัชชะ คือ ความเกียจคร้าน นั่นคือนั่งไปมาก ๆ ชักไม่อยากกระดิกกระเดี้ย ไม่อยากลุกขึ้นเดินจงกรม นั่ง ๆ ไป บางทีก็พาลหลับเอาเสียเฉย ๆ ...มีให้เห็นอยู่ถมไป ท่านจึงไล่ว่า..."หัดไปทำความเพียรเสียบ้าง"...ก็ให้ไปเดินนั่นแหละครับ และการเดินนี้ก็แก้ง่วงแก้ฟุ้งได้มากทีเดียว...แต่ก็บ่แน่ดอกนาย เดินไปหลับไปก็ยังได้ ใครจะทำไม...แต่แน่ที่สุด "การเดินจงกรม" เป็นการแก้ปวดแก้ปวดเมื่อยที่ได้ผลดี

แต่สำหรับคนที่เดินมากจนเกินไปนั้น ท่านก็ว่าเป็นความเพียรที่ไม่พอเหมาะ ในขณะที่เดิน แม้สมาธิจะเกิดได้ แต่ก็เป็นสมาธิที่ไม่มีกำลัง เพราะว่าการเดินเป็นการเจริญสติเสียละมากว่า หากเอาแต่เดินหรือ "วิริยะ" มากเกินไป สมาธิก็จะไม่เจริญ ไม่มีกำลัง...และความฟุ้งซ่านอาจงอกงาม เจริญขึ้นมาได้

ท่านจึงให้เป็นสูตรสำเร็จว่า การเดินกับการนั่งนั้น ควรจะแบ่งเวลาให้ใกล้เคียงกัน เช่นคนละชั่วโมงเป็นต้น

แต่ก็มีบ่อยครั้งที่ครูบาอาจารย์ ท่านจะสอนให้ทนปวดเมื่อยและไม่ให้เปลี่ยนอิริยาบถนั้น ท่านมีวัตถุประสงอยู่ 2- 3 อย่าง คือ
๐ ฝึกขันติ ความอดทน....อดทนต่อความยากลำบาก เพื่อบรรลุจุดหมายที่ดีงาม
๐ เพื่อให้เห็นทุกข์ อย่างน้อยก็ให้เป็นเรื่องของทุกข์กายธรรมดา ๆ ต่อไปจะได้เห็นทุกข์ทางใจที่ละเอียดลงไป ๆ อันเป็นการเห็นธรรมในธรรม
๐ ให้เห็นเวทนาแบบจะ ๆ อันเป็นทุกขเวทนา จากนั้นท่านจะให้ทน...ทนดูมันเกิดขึ้น ทนดูมันตั้งอยู่ ทนจนกระทั่งมันดับไป...ซึ่งใครที่ผ่านบทเรียนนี้มาได้จะรู้ซึ้งว่า มันสาหัสเอาการทีเดียว...

ทีนี้ก็รู้ชัดว่า...ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป นั้นมันเป็นอย่างไร เวทนาที่ว่าเป็นจิตสังขาร มันหน้าตาเป็นอย่างนี้เอง เวทนาปัจจยาตัณหา...เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา..วิภวตัณหา นั้นเป็นอย่างไร เป็นการเห็นตลอดแนว เห็นกายในกาย คือเห็นกระดูกที่มันเจ็บปวดแทบจะตายลงไป...แต่หลวงพ่อท่านบอกว่าไม่เคยเห็นใครปวดพราะนั่งสมาธิจนถึงตายสักคน...เห็นเวทนาในเวทนา ว่าเวทนาที่ลึกเข้าไปนั้น เป็นอย่างไร เห็นธรรมในธรรม คือความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อันเป็นอนัตตลักษณ์ ที่เกิดขึ้นในตัวเรานี้แหละ ที่ท่านบอกว่า ไม่ต้องไปดูที่ไหนไกล

สรุปว่าที่คุณบอกว่า......เมื่อผมพยายามตามดูลม...ฟุ้งซ่าน ไปเรื่อยๆ...พยายามรู้สึกตัวว่าเผลอ...แล้วยังไม่ทันสงบปวดชาขาก่อนแล้ว...มาดูความปวดแทน....ไม่ไหวแล้วเลิก...ทุกทีเลยท้อแท้...ไม่มีทั้งสมาธิและความเพียร...เลยนั้น ไม่ใช่การปรับอินทรีย์ แต่เป็นความพยายามที่จะเจริญสมาธิอันเป็นสมถะ แต่มีนิวรณ์มารบกวน จึงเปลี่ยนมาเป็นการเจริญวิปัสสนาแทน คือหันมาดูความปวด...(อันมิใช่การปรับวิริยะแต่อย่างใด) เพียงแต่ทนปวดไม่ไหว จึงเลิกราไป...

ก็ไม่มีอะไรผิดหรอกครับ ที่อธิบายมาน้ำท่วมทุ่งก็เพียงต้องการให้เกิดความเช้าใจว่าที่คุณได้ทำไปแล้วนั้น เป็นการทำอะไร แล้วได้ประโยชน์อะไรบ้าง.... ซึ่งประโยชน์ก็คือสิ่งที่คุณเอามาเล่านั่นแหละครับ...เป็นประสพการณ์ที่คุณเจอมาจากการปฏิบัติด้วยตัวเอง

ปฏิบัติชอบแล้วครับ เพียงปรับความเข้าใจให้ถูกเท่านั้น

สาธุ...สาธุ...สาธุ

ตอบโดย: โยมเล็ก 19 ม.ค. 49 - 00:26


ผมขอ สาธุ สาธุ สาธุ ในคำอธิบายของคูณโยมเล็กครับ

    และผมขอ  ยิ้ม  ให้กับคุณ วชิระ45 ครับ ผมรู้ว่าคุณ วชิระ45 ไม่หลุดออกนอกกรอบ ทั้งแต่ที่คุณวชิระ45 สนทนากับคุณขันธ์แล้วและครับ
    และจากที่กล่าวว่า "ผมก็รู้ตัวอยู่ไม่ปรุงแต่งมากไปกว่านี้แล้ว(เพราะตอนนี้ก็สุดๆ แล้ว)"
   ก็เป็นตัวชี้ให้เห็นว่าคุณวชิระ45 ไม่เลยกรอบไปกว่านี้อีกแล้ว
     แต่การเกิดปิติในจิตในใจมากเพราะความศรัทธา หรือรู้สึกร้อนวูบๆ วาบๆ ในอารมณ์เมื่อมีเรื่องเกี่ยวกับกรรมฐานหรือที่เกี่ยวกับพุทธภูมิมากระทบ ก็เป็นเรื่องธรรมดาครับ เพราะข่มไว้ได้ ไม่ทำให้จิตปรุงแต่งจนเลยกรอบเขต ถ้าเห็นว่ามากไปก็หยุด เปลี่ยนไปสนใจเรื่องอื่นเสีย

ตอบโดย: Vicha 19 ม.ค. 49 - 08:24


ต่อไปผมขอสนทนากับคุณ ธนัส ครับ

       การที่ผมให้  สมาธิ ต้องคู่กับ สติ   นั้นมีเหตุครับ เพราะเป็นเรื่องของวิปัสสนาครับ

   เพราะ สมาธิ ที่ประกอบกับ สติ  ก็จะมีความตั้งมั่นมีความเป็นหนึ่งเท่าทันเป็นปัจจุบันอยู่ ไตรลักษณ์ (เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หรือเปลี่ยนไป) ก็จะปรากฏให้ปัญญาเห็น จึงเรียกว่า สัมมาสมาธิ
    ดังนั้นถ้ามีสมาธิมาก สติน้อย ปัญญาก็จะไม่เห็นไตรลักษณ์ที่ปรากฏอยู่ ก็กลายเป็นสมถะไปครับ
     อารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน คือเห็นความเป็นไตรลักณ์ของอารมณ์นั้นด้วย จึงจะเป็นวิปัสสนา ถ้ามีสมาธิมากกว่าสติ ก็จะนิ้งและเงียบไปทั้งที่ใจรู้อยู่ ความเป็นไตรลักษณ์ไม่ปรากฏให้เห็นครับ
   
    ไม่ทราบว่าคุณธนัส จะเข้าใจหรือเปล่า เพราะเป็นภาวะธรรมที่ละเอียดไป  มาสนทนาที่เข้าใจง่ายกันดีกว่า เริ่มด้วยการจับคู่ธรรม และคุณโยมเล็กก็อธิบายได้อย่างดีแล้ว ในเรื่องของ สมาธิ ต้องคู่กับความ เพียร ในการปฏิบัติ
  
     ต่อไปผมขอยกพุทธพจน์ที่พอจำได้ดังนี้    "บุคคล ล่วงทุกข์ได้ก็ด้วยความเพียร"
      เป็นอันว่าความเพียร เปรียบเสมือนเป็นยาดำ ในพละทั้งห้า คือพละอะไร? หย่อนไป เมื่อเพิ่มความเพียรเข้าไปก็จะสมบูรณ์และสมดุลย์ขึ้น

      ความจริงคุณโยมเล็ก ได้อธิบายความเพียรได้ดีแล้ว แล้วผมจะยกเรื่องความเพียรให้เห็นอีกมุมมองหนึ่ง โดยยกจากที่พอจำได้จากพุทธพจน์(ต้องขออภัยด้วยเพราะสัญญาความจำนั้นไม่แน่นอนคำอาจจะไม่ตรงกัน แต่ความหมายไม่ผิดเพี้ยน)
      "คถาคตสำเร็จเป็นพุทธเจ้าได้ ไม่ใช่ด้วยความพยายามอันแรงจัด แต่ด้วยความเพียรอันกระทำไม่หยุด"
     
    ผมตีความได้อย่างนี้ เมื่อปี พ.ศ 2523-2524 นานแล้วเหนอะ 20 กว่าปีแล้วดังนี้ พระพุทธเจ้าทรงไม่พยายามจนต้องเกิดทุกข์มากมาย แต่พระองค์ทรงสร้างบารมี หรือในสิ่งที่ควรนั้น เรื่อยๆ ไม่หยุด
     ด้วยบทธรรมนี้ที่ถูกใจ จึงตั้งใจไว้ว่า เราจะรู้ลมหายใจทุกครั้งเมื่อรู้ตัวระลึกได้ ไม่ว่าจะอยู่ในขณะใหนอย่างไร  ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้ และผลจากการกดดันต่างๆ ทางสังคม ทำให้สติที่รู้ชัดของผมอยู่ที่ ปลายโพรงจมูกและริมฝีปาก อยู่ทุกเวลาเมื่อภาวะทางกายอย่างอื่นสงบไม่ปรากฏชัด จนกลายเป็นความเคยชิน   และก็เกิดปัญหาเมื่อผมได้ปฏิบัติ ยุบหนอ - พองหนอ ที่คณะ 5 วัดมหาธาตุท่าพระจันทร์ ในระยะ 3-5 เดือนแรก เพราะผมไม่สามารถดูท้องได้เลย จึงจำเป็นต้องปรับกรรมฐานให้เข้ากันได้ด้วยตัวเอง
 
      ผมบังคับตัวเองไม่ให้ใจลอยได้ทั้งแต่วัยเด็ก ผมบังคับความคิดไม่ไปคิดสิ่งชั่วได้ทั้งแต่วัยมัธยม  ดังนั้นเรื่องความฟุ้งซ้านทั้วๆ ไป ถึงมีก็พอสามารถควบคุมได้ ยกเว้นเรื่องที่หนักๆ จริงๆ แต่ก็น้อยเรื่อง สามารถควบคุมใจให้เพลาลงได้ จนไม่เกิดแสดงพฤติกรรมออกมาทางกายวาจามาก
   
     ต่อไปก็มีทริกอยู่อย่างหนึ่งของผม ไม่ทราบว่าคุณธนัสจะไช้ได้หรือเปล่า? คือ 1.เมื่อผมเพ่งมากไป  2.เมื่อผมยุ่งหรือคิดเรื่อยเปลื่อยคล้ายฟุ้งซ้าน  ผมก็จะตั้งใจไว้ว่า เพียงแต่รู้ว่าหายใจ สติก็จะมารู้ชัดที่ จมูกและปาก  เมื่อรู้ว่าหายใจ ขั้นตอนต่อไปก็จะเป็นไปเอง ก็จะรู้ว่าหายใจเข้าหรือหายใจออก ก็จะรู้ว่าหายใจเข้าหรือออกยาวหรือสั้นตามที่ลมเดินกระทบ แต่ถ้าไม่รู้ที่กระทบก็จะรู้ได้จากอาการหายใจของร่างกาย ว่ายาวหรือสั้น หรือมากหรือน้อย เป็นหลักการที่ไม่สับช้อนอะไรเลย ก็จะได้ว่า
          มี(ดำรงณ์)สติ รู้ว่าหายใจออก หายใจเข้า

  โดยที่ไม่ต้องเพ่งมากนัก ต่อไปก็จะปรากฏชัดเองว่า หายใจออกยาว หายใจเข้ายาว   หรือ
                                                                              หายใจออกสั้น  หายใจเข้าสั้น
 

ตอบโดย: Vicha 19 ม.ค. 49 - 09:42


ขออนุโมทนาบุญทุก ๆ ท่านที่มาให้ความรู้ในกระทู้นี้ด้วยนะคะ

แจนก็เป็นคนหนึ่งที่ปฎิบัติแบบ อานาปนสติ คะ แต่รู้สึกว่าตัวเองไม่ก้าวหน้าเลยคะ และคิดว่าที่ฝึกอยู่ทุกวันนี้คงจะเป็นแบบสมถะคะ เพราะปัญญาไม่เกิดสักที
ก็พยายามฝึกทุกวันก่อนนอนนะคะ ก็จะได้แค่วันละประมาณ 20 นาทีเท่านั้นเองคะ
ไม่ทราบว่าทำไมเหมือนกันคะ พอถึงเวลาก็จะออกจากสมาธิเองคะ ไม่ได้ปวดเมื่อยนะคะ

แต่ก็จะพยายามฝึกต่อไปคะ วันก่อนแจนได้ไปสนทนาธรรมกับพระที่วัดป่าแถวบ้านคะท่านบอกว่าฝึกเองอยู่ที่บ้านก็เป็นแบบนี้แหละ ไม่มีครูบาร์อาจารย์ เขาเรียกว่าสมาธิ หัวตอ
มันยังไงหรือคะ รบกวนผู้รู้ช่วยตอบด้วยนะคะ
 

ตอบโดย: Jan 19 ม.ค. 49 - 11:20


   ตอบคุณ Jan ครับเป็นสมาธิล้วนๆ ครับ หรือเป็นสมถะครับ และเป็นสมาธิที่ดีแล้วครับ    บางครั้งก็ต้องเพิ่มความเพียรโดยเปรี่ยนอริยาบทดูครับ เช่นเดินจงกรม กำหนดอริยาบทย่อยเพื่อให้เกิดสติเจริญขึ้น เสมอกับสมาธิ ก็จะสามารถปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 ได้ครับถ้าเข้าใจหลักกำหนด

 

ตอบโดย: Vicha 19 ม.ค. 49 - 11:37


เทสโกวาท(หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)

1.คนไม่เห็ทุกข์ ภาวนาไม่เป็นหรอก ทุกข์จนยอมสละความตายเมื่อไหร่ จึงจะเห็นธรรมขึ้นมาในตัว ความสละปล่อยวางทั้งหมดนั่นแหละ ยังเหลือแต่ใจอันเดียว นั่นแหละถึงแก่นธรรมแล้ว คือตัวใจ

2.การฝึกหัดจิตคือ
1)ให้รู้จักจิต
2)ฝึกสติตามรู้ รักษาจิตจนเห็นจิตของตนทุกขณะ
3)เมื่อเห็นจิตแล้วควบคุมรักษาให้จิตอยู่ในอำนาจของเรา ครั้นเมื่อคุมจิตอยู่แล้ว พุทโธจะหายไปจะยังเหลือแต่จิตก็เอา ไม่ต้องไปนึกพุทโธอีก

3.มีจิตจึงค่อยมีสติ สติควบคุมจิต เราควบคุมได้อย่างนี้เรียกว่า มันอยู่ในอำนาของเรา เราไม่ได้ไปตามอำนาจของจิต เราก็ใช้จิตได้ล่ะซิ

4.จงพากันหาจิต ดูจิต จิตคือผู้นึกคิดผู้ส่งส่าย อาการเหล่านี้เป็นเครื่องปกปิดกำบังของจิต เราจงพากันปล่อยวางเรื่องเหล่านี้แล้วจะเห็นจิตผู้เป็นกลางของสิ่งทั้งปวง และไม่มีอดีตอนาคต เฉยอยู่ คราวนี้เราจะให้คิดก็ได้ ไม่คิดก็ได้ ให้มันอยู่เฉยๆก็ได้ นั่นแหละเป็นจิตของตนแล้ว รักษามันเอาไว้ให้มั่นคงต่อไป

5.โดยทั่วไปจิตบังคับให้เรากระทำทุกสิ่งทุกอย่าง เราอยู่ในอำนาจจิต เป็นไปตามวิสัยอำนาจของจิต คนปุถุชนมันต้องเป็นอย่างนั้น เมื่อเรากำหนดสติควบคุมจิตได้แล้ว เราจึงไม่อยู่ในอำนาจของจิต แต่จิตอยู่ในอำนาจของเรา

6.คำบริกรรมที่ว่า พุทโธๆนั้นไม่ใช่จิต ผู้นึกคำบริกรรมพุทโธๆนั้นต่างหากคือตัวจิต

7.อนึ่ง เมื่อความโกธรเกิดขึ้น เรากลั้นลมหายใจเสีย ความโกธรนั้นก็จะหายไป แล้วจะเหลือแต่ใจเดิม คือความรู้สึกเฉยๆ อย่าลืม ทำบ่อยๆก็เห็นใจเดิม แล้วความโกธรก็ค่อยๆหายไป

8.พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ความโศกเกิดจากความรัก ความกลัวก็เกิดจากความรัก ถ้าความรักไม่มีเสียแล้ว ความโศกและความกลัวก็จะมีมาแต่ที่ไหน”

9.ครั้นเราจับต้นตอมันได้แล้ว เราเห็นชัดว่ามันออกไปจากตัวกลางนี่แหละ ไม่ได้ออกไปจากที่อื่น ความโลภ ความโกธร ความหลง ทิฏฐิมานะทั้งหลาย ความรักความชังก็เหมือนกันมันเกิดจากตัวกลางนี้ทั้งนั้น ถ้าหากปฏิบัติเข้าถึงตัวกลางได้แล้วก็หมดเรื่อง

10.โรคเกิดจากใจ จิตใจไม่ปรกติ เกิดความหวั่นไหว เกิดควมโลภ เกิดความโกธร เกิดความเกลียด เกิดความรัก ความชัง เรียกว่าโรคของใจ โรคของใจนี่แหละ พระพุทธเจ้าให้พากันรักษาด้วยธรรมโอสถ ปฐมพยาบาลขั้นแรกคือ ปล่อยทิ้งเสียอย่าให้เป็นอารมณ์ อย่าให้คิดถึงเรื่องนั้น ทำใจให้สงบนิ่งอยู่ในที่เดียว หากมันไม่อยู่ก็ให้นึกเอา “พุทโธ” มาไว้เป็นอารมณ์ นี่เรียกปฐมพยาบาล

11.พละ๕เป็นเครื่องทำให้ใจมีพลัง คือศรัทธาพละ ความเชื่อ วิริยะพละ ความเพียร สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ ก็เป็นกำลังของใจแต่ละอย่างๆ ธรรมทั้ง๕นี้ ประกอบกันเข้าแล้วทำให้ใจมีพลังแก่กล้าสามารถที่จะทำให้ลุล่วงมรรคผลนิพพานไปได้ สามารถที่จะละกิเลสบาปกรรมทั้งปวง ถ้าหากมีครบบริบูรณ์แล้ว เชื่อได้เลยว่าเป็นอันสำเร็จประโยชน์ตามที่ต้องการ ที่พูดกันว่า “บารมีไม่มี” “บุญวาสนาน้อย”  ก็คือพละนี่แหละ

12.สิ่งที่ควรทำให้มาก “บุญกุศล” เป็นของควรทำให้มาก ในเมื่อยังมีชีวิตอยู่ก็ทำเสีย

13.ให้ค้นคว้าสิ่งทั้งหมดที่ปรากฏอยู่ที่จิตทั้งสิ่งดีและไม่ดี ให้เห็นเป็นแต่เกิดจากปัจจัย เมื่อปัจจัยนั้นๆดับไปแล้ว สิ่งเหล่านั้นก็ดับไปหมด จะเหลืออยู่แต่ธรรมสิ่งเดียว

14.เอกัคคตารมณ์ หมายถึงจิตปล่อยวางอารมณ์ภายนอกหมด แล้วเข้ามาอยู่เฉพาะอารมณ์เดียว เราหัดสมถะสูงสุดได้เพียงแค่นี้ เมื่อจิตตอนนั้นมีพลังเต็มที่แล้ว มันจะเป็นไปเองของมันต่างหาก ซึ่งเราจะแต่งเอาไม่ได้ เช่นมันจะวางเอง แล้วเข้าไปอยู่ในที่สงบตามภูมินั้นๆของมันโดยอัตโนมัติ

15.ใจเป็นของมีคุณประโยชน์มาก หากเราจับใจไม่ได้ ก็ใช้ใจเราไม่ถูก ฉะนั้นใจจึงบังคับเราไม่ใช่เราบังคับใจ ที่ใจบังคับเรานั้นหมายความว่า ใช้ให้เราโกธรก็ได้ ใช้ให้เรารัก เราชัง เราเกลียดก็ได้ ใช้ให้เราหัวเราะ ร้องไห้ก็ได้ อันนี้เรียกว่าใจใช้เรา ถ้าหากว่าเราควบคุมใจของเราได้แล้ว ไม่ให้มันโกธร ไม่ให้มันโลภ ไม่ให้มันรัก ไม่ให้มันชัง หรือไม่ให้มันหัวเราะร้องไห้ ไม่ให้ทุกข์กลุ้มใจได้ นั่นแลจึงมีอิสระเหนือใจได้ เหตุนั้นใจจึงเป็นของมีค่า

16.เมื่อเราพิจารณาอะไรทั้งหมดให้เราจับหลักคือ”ใจ” ให้ได้ดีเสียก่อน อะไรที่เกิดขึ้นเมื่อมันกระทบอายตนะผัสสะ มันจะต้องเกิดที่ใจ พอมาถึงใจ มันก็อยู่ใน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ พูดง่ายๆเรียกว่าขันธ์๕ เป็นที่ตั้งของความยึดความถืออุปาทาน ที่เกิดทุกข์พราะยึดขันธ์๕ ที่ไม่ทุกข์เพราะไม่ไปยึดขันธ์๕

17.ความนึกคิดไม่ใช่ทุกข์ แต่การไปยึดเอาความนึกคิดต่างหากเป็นเรื่องทุกข์

18.คนเราถ้าไม่เห็นทุกข์ก็ไม่เห็นธรรม เห็นทุกข์ถึงที่สุดทีเดียวแหละจึงจะเห็นธรรม ทุกข์นั้นหละเป็นธรรม ทุกข์เล็กๆน้อยๆก็ปล่อยละเลยกันไปเสีย ไม่เอามากำหนดพิจารณา มันก็ไม่เห็นสักทีล่ะซิ ทุกข์เป็นของควรกำหนดไม่ใช่ของควรละ

19.เมื่อเข้าถึงความสงบได้แล้ว ให้จำหลักวิธีที่ให้เข้าถึงความสงบนั้นให้มั่นคงแล้วปฏิบัติให้มันชำนาญ ทำอยู่อย่างนี้แหละ เมื่อชำนาญแล้วความก้าวหน้าจะเกิดขึ้นไปเอง

20.อย่าแส่ส่ายหาความรู้ในเมื่อมันสงบแล้ว มันจะเกิดความรู้ขึ้นมาเอง  ถ้ามันไม่เกิดก็ให้รักษาความสงบไว้ก่อน จะนานแสนนานก็ช่างมัน ความคิดค้นความรู้โดยปราศจากความสงบแล้วเป็นของปลอม

21.สมาธิภาวนาคือเห็นจิตนั่นเอง เห็นจิตเรียกภาวนาเป็น ถ้าไม่เห็นจิตเสียก่อนภาวนาไม่เป็น

22.ข้อสำคัญอีกนัยหนึ่ง เราพิจารณาอะไรถ้ามันไม่ชัดอย่าไปดิ้นรน คือเราอยากจะให้เห็นอยากจะให้เป็น อยากจะให้ชัด อันนั้นไม่ถูก มันเนื่องจากความสงบเราไม่พอ ถ้าหากมันแน่วแน่อยู่ในอาการอันเดียวอยู่แล้ว การพิจารณามันก็ชัดขึ้นมา พิจารณาเรื่องเดียวก็แล้วกัน อาการอื่นไม่ต้องพิจารณา นี่แหละหลักสำคัญที่เราต้องพยายามจับมันให้ได้

23.การทำสมาธิภาวนาถ้ารีบร้อนนักมักจะไม่ได้ผล เราทำให้สม่ำสมอเป็นกิจวัตร ทำใจเฉยๆอย่าไปรีบร้อนเลย การภาวนาหาหลักจิตหลักใจ คนเรามีจิตใจทุกคน แต่ว่าไม่เห็นจิตใจตน เรียกว่าไม่มีหลัก เห็นจิตเห็นใจตนแล้ว ตั้งสติพิจารณาอยู่ที่ใจของตนตลอดเวลา คิดดี คิดชั่ว หยาบ ละเอียด ก็ให้รู้ตัว มันก็ไม่สามารถที่จะทำชั่วได้ ถ้าเห็นจิตของตนอย่างนั้น เหตุนั้นจึงให้ตั้งสติคือความระลึกให้เอามาไว้ที่คำบริกรรมแทนตัวจิต คือจิตไม่มีตัวไม่มีตนจึงตองให้เอาคำบริกรรมมาตั้งอยู่ จะเป็นพุทโธก็ได้ สัมมาอรหังก็ได้ ยุบหนอพองหนอก็ได้ทั้งนั้น แต่ให้เอาอันเดียว ไม่เอามากอย่าง

24.ไม่ว่ายืนเดินนั่งนอน อิริยาบถใดๆก็เห็นจิตใสแจ๋วอยู่กับพุทโธนั้น เมื่อถึงขนาดนั้นแล้ว ขอให้ประคองจิตไว้ในอารมณ์นั้นนานแสนนานเท่าที่จะนานได้ อยากเพิ่งอยากเห็นนั่นเห็นนี่ หรืออยากเป็นนั่นเป็นนี่ก่อนเลย

25.ทำอย่างไรจึงจะหายกลัว ยอมตายก็หายกลัว

26.เมื่อสติไปควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจของตน ในบังคับของตน จนกระทั่งจะให้คิดก็ได้ ไม่ให้คิดก็ได้ ให้มันอยู่เฉยๆก็ได้ หรือจิตมันจะคิดหยาบหรือละเอียดก็รู้ตัวอยู่ เป็นบุญบาปอะไรก็รู้ตัว อันนั้นแหละเป็นตัวปัญญา แต่ไม่ใช่ปัญญาวิปัสสนา เป็นปัญญาสามัญนี่แหละ

27.หน้าที่ของเรามีเพียงทำความสงบอบรมสมาธิให้ชำนาญทำปัญญาสามัญพื้นๆนี้ให้เกิดก่อน สมาธิ และปัญญา ขั้นละเอียดมันจะเกิดขึ้นเอง นั่นจึงเป็นของแท้แน่นอน

28.ปัญญาวิปัสสนา ต้องมีสมาธิเป็นพื้นฐาน พิจารณาอะไรทั้งหมดมันอยู่ในสมาธิจิตแนวแน่แห่งเดียว
 

ตอบโดย: ปริชญา 19 ม.ค. 49 - 14:23


 

ตอบโดย: หนุ่มน้อย 19 ม.ค. 49 - 14:34


ขอบคุณมากนะคะคุณวิชา แล้วแจนจะลองไปปฎิบัติดูนะคะ

ขออนุโมทนาบุญด้วยคะ

ตอบโดย: Jan 19 ม.ค. 49 - 16:03


ขอแทรกต่อที่ค้างไว้นะครับ
----------------------------------------------------------------------------------------
จากคำชี้แนะของท่านโยมเล็กทำให้ทราบว่า...ผมพอมีความเพียรบ้าง
....ทว่าผมไม่ค่อยใช้ขันติความอดทน
ซึ่งก็เคยใช้มาแล้วรู้สึกว่าไม่ได้ผลในแบบที่เคยเรียนรู้ ...ดังนี้  คือ

ทราบมาว่า เวทนาจะดับ... เราจะแยกออกมาได้ระหว่างความปวดกับจิตว่า
มันคนละส่วน...คนละกองกัน..เห็นด้วยปัญญาไม่ใช่ให้นึกเอาเอง...
(ปฐมฌาณ ???...นามรูปปริเฉทญาณ..???   ไม่ทราบครับ)

...ผมเคยอดทนนั่งขัดสมาธิเพชรให้นานหน่อยโดยไม่ขยับ (มีแอบหย่อนหลังบ้างนิดหน่อย)
...ก็นั่งดูลมหายใจไปพอปวดชา...ทำใจก่อนว่า...อย่าไปอยากหายปวด...อย่าไปปรุงจินตนาการเพิ่ม...อย่าไปกลัวขาเป๋
(ถ้าเป็นตามสำนักสงฆ์...วัดป่า...ยุงเยอะ....ยุงกัดก็อย่าขยับถ้าตั้งใจไว้...ยุงตัวเบ้อเริ่ม...ยากจะทำใจ)

สำหรับผมแล้วความปวดขามันก็หายไปจริงๆ...เพราะมันคงชาจนไม่รู้สึกปวดอะไร...พอทนได้
..ไม่ใช่ฌาณเพราะยังใจลอยฟุ้ง...
..ไม่ใช่ญาณเพราะไม่รู้สึกว่าได้แยกจิตกับเวทนาได้
(ตอนจะลุกขึ้นนี่สิ...เหมือนเข็มรุมแทง....ท่านว่านี่เด็กๆ...แค่สมุนมาร...)   ก็เลยไม่ค่อยใช้ความอดทนเท่าไร
แต่ก็เห็นรู้อย่างที่ท่านโยมเล็กบอกคือ..ความปวด...เกิดได้.....มันก็ดับ...ได้....ยังพอได้อะไรบ้างไม่ปวดเปล่า
...............................................
สำหรับคำแนะนำของท่าน...Vicha ...ป้องกันใจลอยโดยลมหายใจจะนำไปปฏิบัติครับ
เพราะหัดใช้วิธีความรู้สึก..ดูอารมณ์...ดูจิตในปัจจุบัน...ก็...หลุดลอยอยู่...จะพยายามรักษาสติครับ
เรื่องสัมมาสมาธิ...ต้องมีสัมมาสติพอจะเข้าใจครับ...
...เพราะเคยได้อ่านเรื่องพรหมลูกฟัก...
...และเรื่องสมาธิถ้าลึกไปจิตจะแนบกับสมาธิโดยสติไม่เข้าประคองไว้(หรือคั่กลางก็ไม่ทราบได้..)
...ทำให้ไม่เห็น...ความไม่เที่ยง..+ .ทุกข์..+..อนัตตา
แล้วในชีวิตประจำวัน...สติ...ต้องแทรกไปในสัทธาด้วย...ผมว่านะ
(ถ้าผมเข้าใจผิดช่วยเบรคเลยนะครับ)

มีคำถามครับ
  -  ความปวดจะดับได้ด้วยสองวิธีใช่ไหมครับ...คือ....ปฐมฌาณ  /  นามรูปปริเฉทญาณ (สมาธิข่ม/ปัญญารู้เท่าทัน)
  -  เคยได้ยินมาว่า....ความสุขกับความทุกข์มีค่าเท่ากันเหมือนเถาวัลย์พันต้นไม้ผมไม่เข้าใจครับ
  -  ลืมครับ...ลืมว่าจะถามอะไร...มันมีอีกข้อนะ...เอ...ผมนี่???

ขอบคุณครับท่านผู้ชี้แนะทุกท่าน

ตอบโดย: ธนัส 19 ม.ค. 49 - 16:08


ตอบคุณ ธนัส

จากข้อความของคุณ ธนัส "แล้วในชีวิตประจำวัน...สติ...ต้องแทรกไปในสัทธาด้วย...ผมว่านะ
(ถ้าผมเข้าใจผิดช่วยเบรคเลยนะครับ)"

ตอบ ความจริงแล้วในชีวิตประจำวัน ถ้าปฏิบัติธรรมอยู่เป็นปัจจุบัน พละทั้ง 5 ก็ประกอบหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดครับ
 
จากคำถาม  -  ความปวดจะดับได้ด้วยสองวิธีใช่ไหมครับ...คือ....ปฐมฌาณ  /  นามรูปปริเฉทญาณ (สมาธิข่ม/ปัญญารู้เท่าทัน)

ตอบ ครับปฐมฌานดับความปวดพอได้ครับ    ส่วนวิปัสสนาญาณที่สามารถดับความเจ็บปวดได้ชั่วขณะน่าจะที่ สมสนญาณ(ญาณที่ 3) หรือ อุทัพพยญาณ(ญาณ 4) ครับ แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดก็สังขารุเบกขาญาณ(ญาณ 11) ครับ

จากคำถาม -  เคยได้ยินมาว่า....ความสุขกับความทุกข์มีค่าเท่ากันเหมือนเถาวัลย์พันต้นไม้ผมไม่เข้าใจครับ

ตอบ  ถ้าตามพุทธพจน์  "ที่ใดมีสุข ที่นั้นต้องมีทุกข์" ไม่สามารถแยกจากกันได้  พระพุทธองค์ทรงตรัสทำนองว่า "พระองค์ ตอนที่เป็นโพธิสัตว์อยู่ ใช้กำลังที่มีอยู่ทั้งหลาย แยกทุกข์ออกจากสุข เพื่อหวังสุขอย่างเดียว ก็ไม่สามารถทำการแยกได้  แต่เมื่อปล่อยวางความสุขและทุกข์ ความสงบจึงบังเกิด"

ส่วนข้อที่ 3 ผมไม่สามารถเดาได้ว่าคุณจะถามอะไร? ครับ  
 

ตอบโดย: Vicha 19 ม.ค. 49 - 16:31


ขอบพระคุณมากครับ  

ตอบโดย: ธนัส 19 ม.ค. 49 - 17:30


*ก็ตอบตามสมมุตินะครับ ถ้าพูดแต่ปรมัต คงสื่อออกมากันไม่ได้

มติเช่นนี้ ....ผมว่า เป็นทิฏฐุปาทานชนิดหนึ่ง เพราะยึดมั่นถือมั่นอย่างอนุเสติ กับความหมายของคำคำว่า สมมุติ -ปรมัตถ์ ...ตามที่ฟังๆ มาจาก ฯลฯ


แปลว่า แม้นแต่อาจารย์ของคุณวชิระ45 ...เวลาท่านพุดอะไรๆ ด้วยภาษาน้ำนมของท่าน + อ้างอิงพระพุทธวจนะ ...คุณวชิระ45 ถ้ายังมีอวิชชา มีอุปาทาน ...ย่อม ยึดมั่นว่า ...ก็ตอบตามสมมุตินะครับ ถ้าพูดแต่ปรมัต คงสื่อออกมากันไม่ได้

ทีนี้...เวลาคุณวชิระ 45 ประจักษ์สภาวะอะไรก็ตาม แต่ ไม่ใช่สภาวะ อริยสมรรคมีองค์ ๘ ตาม ที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ใน มหาจัตตารีสักกสูตร
...คุณวชิระ จะบอกกับผู้อื่นไหมว่า สิ่งที่คุณวชิระประจักษ์นั้น ...ก็ตอบตามสมมุตินะครับ ถ้าพูดแต่ปรมัต คงสื่อออกมากันไม่ได้

ทีนี้ เวลาคุณวชิระ45 ถึงพร้อมเฉพาะซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ + รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอริยสัจ ๔ หรือปฏิจจสมุปบาท ......คุณวชิระ45 ก็ยังจะยึดถือว่า ...ก็ตอบตามสมมุตินะครับ (เวลาใครถาม) ถ้าพูดแต่ปรมัต คงสื่อออกมากันไม่ได้ .....ใช่ไหมครับ


ทีนี้ ผมถามว่า ...พระพุทธวจนะ ตามที่ปรากฎในพระไตรปิฎกนั้น คุณวชิระ45 ยังยึดมั่นถือมั่นว่า พระพุทธวจนะเหล่านั้น ...ก็ทรงตอบตามสมมุตินะครับ ถ้าพูดแต่ปรมัต คงสื่อออกมากันไม่ได้ ..........หรือไม่ อย่างไร ....เช่นที่ตรัสไว้ว่า "ศาสดาและสาวกย่อมกล่าวตรงกันในเรื่องปฏิจจสมุปบาท"  (...หาไม่พบที่ตรัสไว้ว่า ....ศาสดาและสาวกย่อมมีการกล่าว สมมุติตรงกัน แต่กล่าวปรมัตถ์ไม่ได้ หรือไม่ตรงกัน ฯลฯ)


ยิ่ง เสนอว่า ...ผมก็รู้ตัวอยู่ไม่ปรุงแต่งมากไปกว่านี้แล้ว(เพราะตอนนี้ก็สุดๆ แล้ว)

คุณวชิระ45 ยังไม่รู้อีกหรือว่า .......ไม่ว่าสมุมมติ หรือไม่สมมุติ (คือปรมัตถ์อะไรนั่นแหละ)..........มันก็ฝักฝ่าย ปรุงแต่งทั้งนั้น ...แม้น มรรคมีองค์ ๘ ก็ยังตรัสว่า เป็นสังขาร (ปรุงแต่ง) ที่ประเสรฺฐที่สุด

เอาละ เมื่อกล้ายืนยันว่า ตนเอง (ปรมัตถ์อะไรก็ตาม ที่สมมุติว่าวชิระ45) นั้น
กำลัง =......ผมก็รู้ตัวอยู่ไม่ปรุงแต่งมากไปกว่านี้แล้ว(เพราะตอนนี้ก็สุดๆ แล้ว ...ก็แปลว่า "เป็นผู้อยู่จบพรหมจรรย์ในธรรม วินัยที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ดีแล้ว" ........ใช่ไหมครับ ...และหวังว่าจะไม่ตอบผมว่า ผมเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า หรือ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นะครับ ...ก็แปลว่า เป็น อนุพุทธสาวกของพระพุทธองค์

ดังนั้น เมื่อพุทธบิดาตรัสไว้ว่า ..."ศาสดาและสาวกย่อมกล่าวตรงกันในเรื่องปฏิจจสมุปบาท"

คุณวชิระ45 กรุณา อธิบาย ปฏิจจสมุปบาทรอบสุดท้าย ที่ทำให้คุณวชิระ45 กล่าวยืนยันให้ใครๆที่เข้ามาอ่าน ดังที่เสนอไว้ว่า ....ผมก็รู้ตัวอยู่ไม่ปรุงแต่งมากไปกว่านี้แล้ว(เพราะตอนนี้ก็สุดๆ แล้ว)

เข้าใจที่ถามไหมครับ

ถ้ายังไม่เข้าใจ ถามใหม่ว่า
กรุณาอธิบายว่า ปรมัตถ์คือ วิชระ 45 ...ไม่มีการปรุงแต่ง ๑๑ อาการ ตรงตามที่ตรัสว่า เพราะมีอวิชชา เป็น ปัจจัยจึงมีสังขาร ฯลฯ ....ฯลฯ ความดับไม่เหลือแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้น ย่อมมี ด้วยอาการ อย่างนี้ .......อย่างนี้อย่างไร

ถ้าคุณวชิระ ตอบแบบที่ตอบแล้วว่า ...*ก็ตอบตามสมมุตินะครับ ถ้าพูดแต่ปรมัต คงสื่อออกมากันไม่ได้

ตอบอย่างนี้ แปลว่า ...ที่พระพุทธองค์ตรัสนั้น ก็ทรงตอบตามสมมุติ ใช่ไหมครับ ...เพราะแม้นแต่ พุทธปัญญา ก็ไม่ทรงสามารถ สื่อออกมาได้ ใช่ไหมครับ
 ตอบนะครับ

ทีนี้ คุณวชิระ45 ก็ตอบตามสมมุติ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแห่งปรมัตถ์ที่สมมุติว่าวชิระ45 ผู้ลุถึง จิตพิเศษ ตามที่ยืนยันไว้แก่สาธารณะชนแล้วว่า ...ผมก็รู้ตัวอยู่ไม่ปรุงแต่งมากไปกว่านี้แล้ว(เพราะตอนนี้ก็สุดๆ แล้ว)

ช่วยตอบว่า...อะไรครับ สุดๆ แล้ว (จิต หรือ เจตสิก หรือรูป หรือ ?)

...ผมถามสมมุตินะครับ
...แล้ว สมมุตินั้น ตรงกับ สมมุมติที่คือพระพุทธวจนะพระสูตรไหน ครับ

เชิญตอบครับ เชิญครับ








 

ตอบโดย: นิรนาม41 19 ม.ค. 49 - 20:56


ขอแทรกไปเรื่องอื่นหน่อยนะครับ
........................................................................................

อ้างอิง (Vicha @ 06 ม.ค. 49 - 16:47)
 
(7) ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งสุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งสุขหายใจเข้า


 ผมได้ทราบชัดแล้วจากการปฏิบัติเป็นอย่างไร

        มากล่าวถึง รูป-นาม ที่เห็นที่แจ้งชัดในขณะปฏิบัติธรรม ก็คือ รู้แต่เพียงว่า “ขณะลมหายใจออกหรือเข้าเป็นรูป รู้ว่ามีลมหายใจหรือออกเป็นนาม รู้ว่ากายที่นั่งรูป รู้ว่านั่งเป็นนาม คือรู้จักว่านี้เป็นรูป นี้เป็นนาม ในขณะปฏิบัติ” ซึ่งเป็นการไปรู้พร้อมกับการปฏิบัติที่กำหนดภาวนา รู้โดยที่ไม่ต้องไปนั่งคิดแยกแยะ รู้โดยที่ไม่ต้องคิดว่านี้คือรูป นี้คือนาม ใจละเอียดเอง  การเกิดภาวะการขาดตอนหรือเห็นสันสติ เมื่อกำหนดกรรมฐานก็ปรากฏอยู่เรื่อยๆ


ขออภัยครับ   หากผมเข้าใจ  เรื่อง นามรูปปริจเฉทญาณ  คลาดเคลื่อน จะระวังมากกว่านี้ครับ  
 

ตอบโดย: ธนัส 20 ม.ค. 49 - 09:25


บางกรณี มันเป็นเรื่องของภาษาสมมุติที่กล่าวสภาวะ(ปรมัต)ออกมาไม่ตรงกัน ทำให้เข้าใจกันคลาดเคลื่อน //ส่วนความดับ(ปฏิจ)ที่ว่าก็คงเป็นความรู้ตัวไม่ให้ตัณหาเกิดขึ้นแหละครับ //แต่ผมไม่ปรุงแต่งมากไปกว่านี้อีกแล้ว บ่งบอกถึงระดับความปรุงแต่งที่ยึดมั่นอยู่ มิใช่ไม่ปรุงแต่งอีกแล้ว  และผมก็ไม่ได้บรรลุธรรมใดๆด้วยครับ แต่ถ้าบรรลุธรรมมาจะเรียกอะไรดีละครับ

ตอบโดย: วชิระ45 20 ม.ค. 49 - 18:53


  ต่อไปผมหวังว่า คุณนรินาม 41 กับคุณวชิระ45 คงจะทำความเข้าใจกันแล้วนะครับ ในจุดยืนของตนเอง และของกันและกันนะครับ

   ผมก็ขอมาเริ่มเรื่องที่ผมจะคุยต่อนะครับ

       ต่อไปผมจะแสดงความเห็น ระหว่างอานาปานสติ กับสติปัฏฐาน 4 ตามที่มีในพระไตรปิฏกนะครับ

     พระพุทธเจ้าทรงตรัสทำนองว่า เมื่อผู้ใดปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 อย่างถูกต้องต่อเนื่อง อย่างช้าที่สุด 7 ปี พึงหวังผล คือเป็นพระอรหันต์หรือพระอนาคามี
     พระพุทธเจ้าทรงตรัสทำนองว่า เมื่อผู้ใดปฏิบัติอานาปานสติ อย่างมากอย่างถูกต้อง ทั้งชีวิตก่อนตายหรือจะตาย พึงหวังผล คือเป็นพระอรหันต์หรือพระอนาคามี

      ซึ่งจะเห็นว่าพระพุทธเจ้าทรงกำหนดช่วงกว้างของเวลาปฏิบัติธรรมอย่างถูกต้อง ของอานาปานสติ มากกว่าของสติปัฏฐาน 4 โดยประมาณ (ตรงนี้เป็นการแสดงความคิดเห็นของผมนะครับ)  แต่ไม่ใช่ว่าต้องเป็นอย่างนี้ทุกท่าน เพราะบางท่านปฏิบัติอานาปานสติ เพียงครู่เดียวหรือวันสองวันก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ก็เป็นไปได้น่าจะมี
     
       ดังนั้นถ้าจะกล่าวก็จะได้ว่า สติปัฏฐาน 4 น่าจะมีความละเอียดโดยตัวของกรรมฐานเองมากกว่า อานาปานสติ เพราะสติปัฏฐาน 4 นั้นจะมุ่งตรงต่อการมีสติในฐานทั้ง 4 ที่เป็นปัจจุบันในทันที
       แต่อานาปานสติ นั้นมีสติอยู่กับกาย(กองลมที่กระทบ) จนสติและสมาธิแก่กล้าขึ้นในระดับฌาน(1หรือ2 ... 4) ก่อน สติหรือจิตจึงจะละเอียดขึ้น ยกไปมีสติในฐานที่เหลื่อคือ เวทนา จิต ธรรม เป็นสติปัฏฐาน 4 ได้อย่างละเอียด

       ตรงนี้เองที่มีความแตกต่างกันระหว่าง สติปัฏฐาน 4 โดยไม่ต้องอาศัยสมาธิระดับ ฌาน เพี่ยงแต่อาศัย ขณิกะสมาธิ เป็นฐานเริ่มต้น   ส่วนอานาปานสติ สติอยู่กับกาย(กองลมที่สัมผัสกระทบ) สมาธิก็จะพัฒนาลงสู่ฌานตามลำดับ เมื่อสมาธิบริบูรณ์พร้อมกับสติที่พัฒนาขึ้น ก็ย่อมเห็นจิตที่เป็นหนึ่ง ก็ย่อมมีสติแล้วพิจารณาจิตได้ ก็ย่อมเห็นเวทนาที่เกิดกับจิต ก็ย่อมมีสติแล้วพิจารณาเวทนาได้ ก็ย่อมเห็นธรรม(ธรรมมารมณ์)ที่เกิดกับจิต  ก็ย่อมมีสติแล้วพิจารณาธรรมได้ หรืออาจจะถอยสมาธิลงสู่ ขณิกะ มีสติ ตามฐานทั้ง 4 ได้  (เป็นการแสดงความเห็นนะครับ)

ตอบโดย: Vicha 23 ม.ค. 49 - 11:29


บางกรณี มันเป็นเรื่องของภาษาสมมุติที่กล่าวสภาวะ(ปรมัต)ออกมาไม่ตรงกัน ....

เสนอเช่นนี้
คุณวชิระ45 กำลังจะชี้ว่า ...แม้นแต่พระพุทธองค์ ที่ตรัสสั่งสอนไว้นั้น  ...มันเป็นเรื่องของภาษาสมมุติที่ ทรงกล่าวถึงสภาวะ(ปรมัต)ออกมา...แล้วไม่ตรงกันกับที่สาวกกล่าว ............ทำให้เข้าใจกันคลาดเคลื่อน ..ใช่ไหมครับ

...คุณวชิระ45 ยังจะยืนยันตามสติปัญญาของผู้ที่ได้บอกแล้วว่า ....และผมก็ไม่ได้บรรลุธรรมใดๆด้วยครับ นั้น ว่า ..........."พระพุทธวจนะที่ตรัสไว้นั้นก็ยังคือ สมมุติ ...ไม่ใช่ปรมัตถ์".....ทำให้เข้าใจกันคลาดเคลื่อน

แต่ "ที่ไม่ใช่พระพุทธวจนะนั้น"  (เช่นอะไรบ้าง ผมคงไม่ต้องยกตัวอย่างนะครับ)
จะ...ไม่ ทำ ให้ เข้าใจ คลาดเคลื่อน ฯ
....ใช่หรือไม่ใช่ครับคุณวชิระ45


 

ตอบโดย: นิรนาม41 23 ม.ค. 49 - 21:29


ผมขอคุยเรื่องกรรมฐานต่อนะครับ

          จากความเห็นที่ 59 กองลมที่สัมผัสนั้นแหละคือ กาย หรือ รูป  แต่ผมจะเน้นลงว่า "กาย" เพื่อเข้าสู่สติปัฏฐาน 4 คือ พิจารณากาย ก่อน
          ดังนั้น คำว่า กาย ในสติปัฏฐาน 4 ก็หาใช่ว่าร่างกายทั้งหมดเสียที่เดียวในคราเดียวในเวลาเดียว  แต่ กาย ก็คือในส่วนที่เกิดผัสสะ หรือเกิดสัมผัส หรือเกิดการเคลือนไหวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือยึดดึงระหว่างกันของส่วนร่างกาย หรือเกิดการกดทับของส่วนร่างกาย ฯลฯ

           มาดูสติปัฏฐาน 4 ข้อที่ 1   พิจารณากายในกาย    เมื่อสติอยู่กับกองลมที่สัมผัสสามารถแยกแยะได้อย่างไรระหว่าง คำว่า "กาย" กับ "ในกาย"?  และ พิจารณากายในกาย คำว่า "พิจารณา" คืออะไร?

          คำว่า "กาย" กับ "ในกาย" แยกแยะได้อย่างไร?
         ผมจะอธิบายตามที่ผมเห็นและเข้าใจนะครับ
           "กาย"     ปรากฏขึ้นชัด ก็ตรงส่วนที่บริเวณที่เกิดกองลมสัมผัส ซึ่งก็คือ "รูป" นั้นเอง
           "ในกาย" คือความรู้ชัด ตรงส่วนที่บริเวนที่เกิดกองลมสัมผัสเป็นอย่างไร เช่นลมไหลออกหรือไหลเข้า ยาวหรือสัน แรงหรือเบา ซึ่งก็คือ "นาม" นั้นเอง

         พิจารณากายในกาย คำว่า "พิจารณา" คืออะไร?
          คำว่า "พิจารณา" ไม่ใช่มาคิดแยกแยะว่าเป็นอย่างนั้นว่าเป็นอย่างนี้ ดังที่ผมพิมพ์แยกแยะให้อ่านนะครับ  ดังนั้นคำว่า "พิจารณา" ก็คือมีสติรู้เท่าทันเป็นปัจจุบัน เมื่อมีสติสมาธิเจริญขึ้นปัญญาละเอียดขึ้น ก็จะเห็น "กาย" และ "ในกาย" ก็คือ รูป - นาม ได้และแยกจากกันได้
  
           ดังนั้นเมื่อมีสติ กองลมกระทบ  ก็คือ "กาย"(รูป) บังเกิด  และ "ในกาย"(นาม)ก็บังเกิด รู้ลักษณะของการกระทบนั้น

           กองลมที่กระทบนั้น จะมีบริเวณหรือพื้นที่อย่างไร? ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลและแต่ละครั้ง บางท่านบางครั้งรู้ชัดที่ปลายจมูก บางท่านบางครั้งรู้ชัดตั้งแต่โพรงจมูกจนถึงปลายจมูก บางท่านบางครั้งรู้ชัดที่ปลายจมูกกับริมฝีปากบนระหว่างจมูกกับปาก ฯลฯ

     เมื่อปัญญาพิจาราณา(ไม่ใช่คิดปรุงแต่ง) อานาปานสติ ก็เป็นอันเดียวกับสติปัฏฐาน 4 ข้อที่ 1 พิจารณากายในกาย นี้เอง

      แต่ในการรู้ชัดในบริเวณที่เดียว คือที่กองลมสัมผัสหรือกระทบ ก็จะทำให้เกิดสมาธิเจริญเด่นขึ้นได้ง่ายจนมากไป   ดังนั้นในการปรับอินทรีย์ หรือพละทั้ง 5 (สติ สมาธิ ปัญญา ความเพียร และศรัทธา) จึงต้องมีสติรู้ตัวทั่วพร้อมในอริยาบทอื่น เช่น ยื่น เดินจงกรม และอริยบทย่อย คือมีสติรู้ชัดเท่าทันเป็นปัจจุบันในกายส่วนอื่น ที่ร่างกายเคลื่อนไหว ในการยืนเดินและอริยบทย่อยต่างๆ เพราะนี้ก็คือ การพิจารณากายในกาย เช่นเดียวกันในสติปัฏฐาน 4
      
      แต่ในการปฏิบัตินั้นไม่ใช่ว่า ต้องเป็นไปตามรูปแบบตามที่กล่าวด้านบน เพราะยังมีภาวะต่างๆ เกิดขึ้นกับกายและใจอีกมาก ถ้าเป็นผู้ที่ปฏิบัติใหม่ก็เหมือนกับด้ายยุ้งไปหมด  เอาไว้กล่าวในตอนต่อไป วันนี้เวลาหมดแล้ว

ตอบโดย: Vicha 24 ม.ค. 49 - 16:58


เรื่องภาษานี่ ผมมักจะใช้ความหมายไหลไปตามคู่สนธนาครับ// อ้อขอถามนะครับ การเปลี่ยนแปลงทางจิตครั้งล่าสุดนี้คืออะไรครับ เรียกว่าความคิดกับกายแยกกันชัดเจน กิเลสลดลง มีสติในกายธรรมชาติ ในนี้มีใครเป็นบ้าง เพราะเห็นๆ ก็มีอยู่ในสังคมมากพอสมควร

ตอบโดย: วชิระ45 24 ม.ค. 49 - 20:57


คุณเสนอเองว่า ....ผมไม่ปรุงแต่งมากไปกว่านี้อีกแล้ว บ่งบอกถึงระดับความปรุงแต่งที่ยึดมั่นอยู่ มิใช่ไม่ปรุงแต่งอีกแล้ว  และผมก็ไม่ได้บรรลุธรรมใดๆด้วยครับ

ตกลง ....ผมก็ไม่ได้บรรลุธรรมใดๆด้วยครับ ......ใช่ไหมครับ (ในฐานะอนุพุทธสาวกของพระพุทธองค์ ใช่ไหมครับ)

ที่นี้ ถามอีกว่า ......อ้อขอถามนะครับ การเปลี่ยนแปลงทางจิตครั้งล่าสุดนี้คืออะไรครับ เรียกว่าความคิดกับกายแยกกันชัดเจน กิเลสลดลง มีสติในกายธรรมชาติ

คำตอบ ที่ไม่น่าจะผิดไปจากที่เป็นจริงๆ ก็คือ ...การเปลี่ยนแปลงทางจิตครั้งล่าสุด ตามที่คุณกล่าวนั้น ...ก็ยังทำให้คุณ รู้อยู่ว่า ......ผมก็ไม่ได้บรรลุธรรมใดๆด้วยครับ

แต่คุณก็ยัง น่าจะยังสำคัญมั่นหมาย (ด้วยอำนาจของการไม่ได้บรรลุธรรม ในฐานะอนุพุทธสาวกของพระพุทธองค์) ว่า ตรงกับที่คุณรู้สึกแล้วว่า ...ผมไม่ปรุงแต่งมากไปกว่านี้อีกแล้ว บ่งบอกถึงระดับความปรุงแต่งที่ยึดมั่นอยู่ มิใช่ไม่ปรุงแต่งอีกแล้ว

ตกลง  การเปลี่ยนแปลงทางจิตครั้งล่าสุด ของคุณนั่นเองมั๊ง ที่ทำให้ สำคัญว่า ...ผมไม่ปรุงแต่งมากไปกว่านี้อีกแล้ว บ่งบอกถึงระดับความปรุงแต่งที่ยึดมั่นอยู่ มิใช่ไม่ปรุงแต่งอีกแล้ว  .........แล้วก็หมายมั่นว่า.......แต่ถ้าบรรลุธรรมมาจะเรียกอะไรดีละครับ

ตกลง "การเปลี่ยนแปลงทางจิตครั้งล่าสุด ของคุณนั่น" เป็นปัจจัย ทำให้เกิด ปัญญา ตามที่ตรัสในคำว่า ...ยถาภูตสัมมัปปัญญา ไหมครับ ...

ตอบได้เองใช่ไหมครับ

ตกลงคำถามที่ถามนั่น ก็เพื่อ ยืนยันว่า .คุณบรรลุ- หรือไม่บรรลุ อะไรหรือเปล่าครับ


 

ตอบโดย: นิรนาม41 25 ม.ค. 49 - 12:40


ผมไม่ได้บอกว่าผมเป็นผู้เปลี่ยน และผมคิดว่าผมไม่อยู่ในหมู่อนุพุทธสาวก ที่คุณว่ามาด้วยแหละครับ ด้วยครับ

ตอบโดย: วชิระ45 25 ม.ค. 49 - 20:52


    ผมขอคุยกับคุณ นิรนาม41 กับคุณ วชิระ45 ก่อนนั้นนะครับ

    ทั้งคุณนิรนาม41 และคุณวชิระ45  ยืนอยู่ตรงความเห็นคนละความหมายคนละจุดหรือคนละที่กันเลยครับ แต่ก็คุยกันได้ไม่มีปัญหาอะไร ถ้าไม่เกิดการขัดแย้งกันอยู่รุนแรงหรือชัดเจนจนเกินไป  แต่การจะเข้าใจซึ่งกันและกันก็อาจจะต้องใช้เวลา ผมก็ไม่ทราบว่าจะใช้เวลามากสักแค่ใหน?

     สำหรับคุณนิรนาม41 ผมก็ได้สนทนากันมานานแล้ว แต่กับคุณวชิระ45 พึ่งจะได้สนทนากัน

     ดังนั้นผมขอคุยกับคุณ วชิระ45  ผมได้เจอภาวะที่แปลกประหลาดสำหรับผมไม่ใช่น้อย ทั้งที่ผมไม่ได้ไปปักใจในสิ่งเหล่านั้นมุ่งแต่ละกิเลสเพื่อนิพพานอย่างเดียว เริ่มตั้งแต่ ปี 2526  ทำให้ผมทั้งสงสัย ทั้งยึดมั่นถือมั่นจนหลง ทั้งรังเล ทั้งพยายามเตือนตัวเองไม่ให้หลง และยังเพียรปฏิบัติธรรมมีสติสมาธิและปัญญาควบคุมกายและใจอยู่โดยตลอด  ดังนั้นให้ลองตรองดูว่าภาวะที่แปลกประหลาดนั้นทำให้ผมสับสนและร้อนรนแค่ใหนในบางครั้ง ความแปลกประหลาดนั้นก็ทะยอยออกมาเรื่อยๆ จนถึง ปี 2537 เป็นเวลา 11 ปี ผมจึงวางมันได้ทั้งหมดอย่างสิ้นเชิงไม่ทำให้ผมต้องร้อนรนและทุกข์ร้อนกับฐานะหรือไม่ใช่ฐานะนั้น ก็ด้วยการปฏิบัตธรรมนี้แหละครับ

     ดังนั้นสภาวะที่คุณเป็นอยู่นั้นผมเข้าใจจะเรียกว่าลึกซึ่งเลยก็ว่าได้ แต่ปัญหาของคุณคือ ปริยัติทางเถรวาทคุณก็ไม่แน่นจึงชัดส่ายทางความเชือได้ง่าย  การปฏิบัติคุณก็ยังไม่ถึงที่สุดที่จะพิสุตรทราบด้วยตนเองอย่างชัดแจ้ง แต่คุณดันไปยึดมั่นถือมั่นว่าคุณเป็น โพธิสัตว์แบบนิยตะที่จะมีบารมีเต็มใน 1 หรือ 2 โพธิสัตว์ไปก่อนแล้วเพราะจากการบอกเล่าของผู้อื่นไม่ทราบว่าจริงหรือเท็จ ซึ่งไม่ได้เป็นสิ่งที่เผยออกมาเองจากตัวของคุณเองแบบค่อยเป็นค่อยไป  กับภาวะต่างที่เกิดขึ้น
     คุณวชิระ45 มีศรัทธามาก แต่ก็ยึดติดอยู่กับสิ่งที่วิเศษพิศดารมาก แสวงหาผู้ที่สามารถบอกให้คุณทราบ ตามฐานะที่คุณคาดหวังว่าเป็นอย่างนั้น ด้วยอนุสัยภายในและกิเลสที่ทำให้ขาดปัญญานั้นแหละที่ผลักดันให้เป็นไป  ซึ่งสิ่งนี้ผมก็เคยเป็นมาก่อน แสวงหามาก่อนเพื่อให้จุใจในกิเลสที่หวังที่ปรารถนามากระตุ้น แต่ไม่เคยเต็มอิ่มทั้งๆ มีข้อมูลต่างๆ ไหลมาให้ทราบมากมายและมีผู้ยื่นยันแล้วที่เป็นมนุษย์และไม่ใช่มนุษย์
      ผมก็พยายามเตือนสติตนเองตลอดเช่นเดียวกัน ว่าไม่ควรไปยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวาง แต่ด้วยอำนาจกรรม อำนาจอนุสัย และอำนาจของกิเลสที่มีอยู่ ก็ยังผลักดันให้ดำเนินไปเอง ปัญหาก็คือถ้าผมไม่มีสติปัญญาค่อยเตือนตนเอง ไม่มีสติสัมปัญยะควบคุมกายและใจ ไม่ประสงค์นิพพานเป็นอย่างยิ่งโดยการปฏิบัติธรรมอย่างเต็มที่ตลอด 10 กว่าปี  ผมคงทำอะไรเพี้ยนๆ ไปมากมาย จนถึงขั้นวิปลาสไปแล้วก็ได้

     สิ่งเหล่านี่แหละที่ผมพยายามเตือนผู้ปรารถนาเป็นโพธิสัตว์ คือจงอย่างทึกทักในฐานะต่างๆ ไปก่อน ให้กรรมหรือบารมีค่อยๆ เผยออกมาเอง จากอนุสัยที่มีอยู่ เมื่ออนุสัยที่มีอยู่ปรากฏให้ทราบ ก็ยอมเกิดการปรุงแต่งของใจตามกระแสกิเลส ก็ตรงนี้ที่เกิดการปรุงแต่งจากใจตามกระแสกิเลสนี้แหละก็จงอย่าไปยึดมั่นถือมั่นฐานะอันไดไปเสียก่อน จึงจะไม่ทำให้เกิดวิปลาสไปได้
      จะเป็นฐานะอันใด ไม่ว่าเป็นนิยตะหรือไม่? หรือสร้างบารมีมามากแค่ใหน? จะสำเร็จผลเมื่อใด? บุญและวาสนาบารมีนั้นแหละจะเป็นผู้เผยให้ทราบเองตามเวลาที่เหมาะสม  ไม่จำเป็นต้องไปยึดมั่นถือมั่นปรุงแต่งจนมากมายให้ผิดเพี้ยนวิปลาสไป แสดงพฤติกรรมประกาศโพรงออกมาจนน่าเกียด

      ความจริงตอนแรกผมตั้งใจมาคุยเรื่องการปฏิบัติต่อ แต่เมื่อมีเหตุนี้ขึ้นก่อนผมจึง ขอคุยเรื่องนี้ก่อน คุยเรื่องปฏิบัติเอาไว้ในความเห็นครั้งต่อไปก็แล้วกันนะครับ

   

ตอบโดย: Vicha 26 ม.ค. 49 - 11:29


ผมไม่ได้บอกว่าผมเป็นผู้เปลี่ยน และผมคิดว่าผมไม่อยู่ในหมู่อนุพุทธสาวก ที่คุณว่ามาด้วยแหละครับ ด้วยครับ


ตกลงคุณวชิระ45 กำลังจะบอกใครๆ รวมทั้งผมด้วยใช่ไหมครับว่า
(๑) มีอะไรบางอย่าง ที่ไม่ใช่ "ผมเป็นผู้เปลี่ยน" (ขอเดาว่า จิตพิเศษอะไรนั่น) ...ได้ เปลี่ยนแปลง คุณวชิระ 45 ที่ยอมรับแล้วว่า ...ผมไม่ปรุงแต่งมากไปกว่านี้อีกแล้ว บ่งบอกถึงระดับความปรุงแต่งที่ยึดมั่นอยู่ มิใช่ไม่ปรุงแต่งอีกแล้ว  และผมก็ไม่ได้บรรลุธรรมใดๆด้วยครับ .........ใช่ไหมครับ (น่าจะใช่ ใช่ไหมครับ)

ทีนี้
(๒) การเปลี่ยนแปลง ตามคำที่คุณวชิระ45 เสนอว่า ...ผมไม่ได้บอกว่าผมเป็นผู้เปลี่ยน นั้น..........ทำให้คุณวชิระ ใช้คำคำว่า ...อ้อขอถามนะครับ การเปลี่ยนแปลงทางจิตครั้งล่าสุดนี้คืออะไรครับ เรียกว่าความคิดกับกายแยกกันชัดเจน กิเลสลดลง มีสติในกายธรรมชาติ ....แล้วตามด้วยคำคำว่า ...แต่ถ้าบรรลุธรรมมาจะเรียกอะไรดีละครับ .......คำแบบนี้ ไม่ว่าจะหมายความว่าอย่างไร ก็น่าจะตรงกับ คำคำว่า ...ผมคิดว่าผมไม่อยู่ในหมู่อนุพุทธสาวก .....ใหมครับ (น่าจะใช่ ใช่ไหมครับ)

ทีนี้
(๓) ทำไมจิตพิเศษ หรือตามคำคำว่า ...การเปลี่ยนแปลงทางจิตครั้งล่าสุดนี้คืออะไร นั้น ... ทำให้เกิดคำคำว่า .....ผมคิดว่าผมไม่อยู่ในหมู่อนุพุทธสาวกของพระพุทธองค์ พระองค์นี้........ตกลงคุณวิชิระ45 "คิดว่า" .....หรือครับ

ขอเดาว่า ...คุณวชิระ45 ไม่ได้คิดว่า ตามที่ว่าไว้
...แต่ น่าจะเข้าใจเอาเองว่า "การเปลี่ยนแปลงทางจิตครั้งล่าสุดนี้คืออะไรครับ " นั้น ........เป็นอะไรที่ เลอเลิศยอดยิ่ง ยิ่งกว่า "การที่พระพุทธองค์พระองค์นี้ ทรงตรัสไว้ดีแล้ว เช่นที่ตรัสว่า ใบไม้กำมือเดียว เป็นต้น"

ทีนี้
(๔) ลองพิจารณา ตามหลักฐาน ฯลฯ
เมื่อพุทธพุทธองค์ทรงตรัสรู้อริยสัจ ๔ หรือปฏิจจสมุปบาท ๘ อาการ หรือ ๑๑ อาการ หรือ ๒๓ อาการ นั้นฯ ..ยุคนั้น "มีลัทธิอื่น มีศาสดาอื่นๆอีกมากมาย" .....ใช่ไหมครับ

แล้วพากัน.....แสดง สั่งสอน สิ่งที่ตนประจักษ์ แก่ผู้อื่น ใช่ไหมครับ ....มีผู้สนใจหลักคำกล่าวนั้นๆ ใช่ไหมครับ ...แน่นอน รวมทั้ง คำสั่งสอนของพระพุทธองค์ด้วย ใช่ไหมครับ

(คงใช่ ใช่ไหมครับ)

ตกลง จะให้ผมเข้าใจตามที่คุณวชิระ45 เสนอมาแล้วนั้น ฯลฯ ว่า
 ...การเปลี่ยนแปลงทางจิตครั้งล่าสุดนี้ ของคุณวชิระ 45  นั้น......... "เป็นเรื่องใหม่ เป็นของใหม่ ชนิดที่ แปลและแตกต่างไปจากการที่เจ้าลัทธิ หรือศาสดาอื่นๆ รวมทั้งพระบรมศาสดาพระองค์นี้ ได้บัญญัติไว้ (ตามคำที่คุณวชิระ45 เสนอว่า ...และผมคิดว่าผมไม่อยู่ในหมู่อนุพุทธสาวก ที่คุณว่ามาด้วยแหละครับ ด้วยครับ) ..............ใช่ไหครับ .............

ถ้าใช่ (ตามที่ผมลองเดา ดังข้อความข้างบน)
ผมของ กล่าวว่า ...."การเปลี่ยนแปลงทางจิตครั้งล่าสุดนี้คืออะไรครับ " ตามที่คุณวชิระ45 กล่าวมานั้น .....ไม่ใช่เรื่องใหม่ หรือแปลกพิสดารอะไร? ครับ

แต่ขอเดาว่า
คุณวชิระ45 ...ย่อมไม่เชื่อแน่ๆ ว่า ที่ผมเสนอว่า การเปลี่ยนแปลงทางจิตครั้งล่าสุดนี้คืออะไรนั้น "ไม่ใช่เรื่องใหม่ หรือแปลกพิสดารอะไร?"

ไม่เชื่อก็ไม่เป็นไร เพราะ อะไรๆ ก็เช่นนั้นเอง
คำว่า เช่นนั้นเอง นี้ มีความหมายมากนะครับ

การที่เจ้าชายสิทธัตถะ ถึงพร้อมเฉพาะเพราะโพธิปักขิยธรรม ๓๗ โดยเฉพาะ ตามที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ใน มหาจัตตารีสักกสูตร นั่นแหละคือ อาการของคำคำว่า ถึงพร้อมเฉพาะ เมื่อถึงพร้อมเฉพาะ จึงเป็นปัจจัยให้ รู้พร้อมเฉพาะ ด้วยอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ หรือคืออาสวักขยญาณ

...เช่นนั้นเอง ที่คือ อาการ....ถึงพร้อมเฉพาะ + รู้พร้อมเฉพาะ (ตามที่ผมเสนอฯ) = ...การเปลี่ยนแปลงทางจิตครั้งล่าสุดของพระโพธิสัตว์สิทธัตถะ .....ใช่ไหมครับ?
ถ้าใช่

คุณวชิระ45 ถ้าไม่ประมาท และอะไรก็ตาม ฯลฯ ...ลองพิจารณาเทียบกับที่คุณวชิระ45 เช่นนั่นเอง นะครับ

สำหรับ ชาวพุทธท่านอื่น ที่เข้ามาอ่าน ฯลฯ
ขอให้เข้าใจว่า ที่ผมสนทนากับคุณวชิระ45 นั้น ...ก็เพราะ ผมกำลังรับใช้ "พระสัทธรรมตามที่ตรัสไว้" ตามสติปัญญา ที่ผมได้อาศัยพระพุทธวจนะที่ตรัสไว้ว่า อานาปานสติสมาธิเป็นธรรมอันเอก ฯลฯ
ไม่ได้มีเจตนาอะไรอื่น นอกไปจาก "การรับใช้ พระสัทธรรมตามที่ตรัสไว้" ฯ

หวังว่า คุณวชิระ45 จะเข้าใจตามที่ผมได้กล่าวว่า ไม่ได้มีเจตนาอะไรอื่น นอกไปจาก "การรับใช้ พระสัทธรรมตามที่ตรัสไว้" ฯ

แปลว่า ...ถ้าคุณวชิระ45 ...ไม่ใช่พุทธบริษัทของพระพุทธองค์ พระองค์นี้แล้ว (เพราะคำที่คุณเสนอว่า ...และผมคิดว่าผมไม่อยู่ในหมู่อนุพุทธสาวก ที่คุณว่ามาด้วยแหละครับ ด้วยครับ)

ก็เป็นอันว่า การสนทนากับคุณวชิระ45 สมควรยุติเพียงนี้
ที่แล้วมา ก็ถือว่า เราแลกเปลี่ยนความรู้ ความเห็น ....ตามสติในสมาธิปัญญาสัมปชัญญะที่เราต่างคน ต่างเช่นนั้นเอง ...ในฐานะเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหมือนๆ กัน นะครับ


 

ตอบโดย: นิรนาม41 26 ม.ค. 49 - 12:12


   ผมขอคุยเรื่องกรรมฐานต่อจากความคิดเห็นที่ 61 มีบางท่านสนใจเรื่องการปฏิบัติอยู่ หรือบางท่านสนใจในการให้แยกแยะให้เข้าใจหรือพอทราบเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติ
อ้างอิง
ผมขอคุยเรื่องกรรมฐานต่อนะครับ

          จากความเห็นที่ 59 กองลมที่สัมผัสนั้นแหละคือ กาย หรือ รูป  แต่ผมจะเน้นลงว่า "กาย" เพื่อเข้าสู่สติปัฏฐาน 4 คือ พิจารณากาย ก่อน
          ดังนั้น คำว่า กาย ในสติปัฏฐาน 4 ก็หาใช่ว่าร่างกายทั้งหมดเสียที่เดียวในคราเดียวในเวลาเดียว  แต่ กาย ก็คือในส่วนที่เกิดผัสสะ หรือเกิดสัมผัส หรือเกิดการเคลือนไหวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือยึดดึงระหว่างกันของส่วนร่างกาย หรือเกิดการกดทับของส่วนร่างกาย ฯลฯ

           มาดูสติปัฏฐาน 4 ข้อที่ 1   พิจารณากายในกาย    เมื่อสติอยู่กับกองลมที่สัมผัสสามารถแยกแยะได้อย่างไรระหว่าง คำว่า "กาย" กับ "ในกาย"?  และ พิจารณากายในกาย คำว่า "พิจารณา" คืออะไร?

          คำว่า "กาย" กับ "ในกาย" แยกแยะได้อย่างไร?
         ผมจะอธิบายตามที่ผมเห็นและเข้าใจนะครับ
           "กาย"     ปรากฏขึ้นชัด ก็ตรงส่วนที่บริเวณที่เกิดกองลมสัมผัส ซึ่งก็คือ "รูป" นั้นเอง
           "ในกาย" คือความรู้ชัด ตรงส่วนที่บริเวนที่เกิดกองลมสัมผัสเป็นอย่างไร เช่นลมไหลออกหรือไหลเข้า ยาวหรือสัน แรงหรือเบา ซึ่งก็คือ "นาม" นั้นเอง

         พิจารณากายในกาย คำว่า "พิจารณา" คืออะไร?
          คำว่า "พิจารณา" ไม่ใช่มาคิดแยกแยะว่าเป็นอย่างนั้นว่าเป็นอย่างนี้ ดังที่ผมพิมพ์แยกแยะให้อ่านนะครับ  ดังนั้นคำว่า "พิจารณา" ก็คือมีสติรู้เท่าทันเป็นปัจจุบัน เมื่อมีสติสมาธิเจริญขึ้นปัญญาละเอียดขึ้น ก็จะเห็น "กาย" และ "ในกาย" ก็คือ รูป - นาม ได้และแยกจากกันได้
 
           ดังนั้นเมื่อมีสติ กองลมกระทบ  ก็คือ "กาย"(รูป) บังเกิด  และ "ในกาย"(นาม)ก็บังเกิด รู้ลักษณะของการกระทบนั้น

           กองลมที่กระทบนั้น จะมีบริเวณหรือพื้นที่อย่างไร? ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลและแต่ละครั้ง บางท่านบางครั้งรู้ชัดที่ปลายจมูก บางท่านบางครั้งรู้ชัดตั้งแต่โพรงจมูกจนถึงปลายจมูก บางท่านบางครั้งรู้ชัดที่ปลายจมูกกับริมฝีปากบนระหว่างจมูกกับปาก ฯลฯ

     เมื่อปัญญาพิจาราณา(ไม่ใช่คิดปรุงแต่ง) อานาปานสติ ก็เป็นอันเดียวกับสติปัฏฐาน 4 ข้อที่ 1 พิจารณากายในกาย นี้เอง

      แต่ในการรู้ชัดในบริเวณที่เดียว คือที่กองลมสัมผัสหรือกระทบ ก็จะทำให้เกิดสมาธิเจริญเด่นขึ้นได้ง่ายจนมากไป   ดังนั้นในการปรับอินทรีย์ หรือพละทั้ง 5 (สติ สมาธิ ปัญญา ความเพียร และศรัทธา) จึงต้องมีสติรู้ตัวทั่วพร้อมในอริยาบทอื่น เช่น ยื่น เดินจงกรม และอริยบทย่อย คือมีสติรู้ชัดเท่าทันเป็นปัจจุบันในกายส่วนอื่น ที่ร่างกายเคลื่อนไหว ในการยืนเดินและอริยบทย่อยต่างๆ เพราะนี้ก็คือ การพิจารณากายในกาย เช่นเดียวกันในสติปัฏฐาน 4
     
      แต่ในการปฏิบัตินั้นไม่ใช่ว่า ต้องเป็นไปตามรูปแบบตามที่กล่าวด้านบน เพราะยังมีภาวะต่างๆ เกิดขึ้นกับกายและใจอีกมาก ถ้าเป็นผู้ที่ปฏิบัติใหม่ก็เหมือนกับด้ายยุ้งไปหมด  เอาไว้กล่าวในตอนต่อไป วันนี้เวลาหมดแล้ว


   เป็นว่า การปฏิบัติอานาปานสติ โดยพื้นฐานใน จตุกะ(วัตถุ) ที่ 1 เพียงกำหนดรู้กองลมที่เกิดผัสสะ  กับปฏิบัติกรรมฐานมีสติรู้ตัวทั่วพร้อมในอริยาบทย่อย ก็สามารถเป็นสติปัฏฐาน 4 ในข้อที่ 1 คือ พิจารณากายในกาย แล้ว

    แต่ผมได้ตั้งประเด็นของการปฏิบัติไว้ว่า  ถ้าเป็นผู้ปฏิบัติใหม่หรืออาจจะเก่าแล้วก็ได้ ก็คงแยกแยะได้ยากเหมือนกับด้ายยุ้ง ของภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับกายและใจ และเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ ครับ กว่าจะปราบพยศลงได้บ้างก็ต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง(ความเพียร)

     เรื่องของความเป็นเหมือนด้ายยุ้ง ถ้าผมยกตามธรรมบัญยัติ เช่น เวทนา จิต  ธรรม(ธรรมมารมณ์) หรือนิวรณ์ 5 คงเข้าใจยากกันอยู่ดี ต้องแปลกันหลายชั้น อย่างนั้นผมขอใช้ภาษาธรรมดา ที่ใช้กันทั่วๆ ไปนะครับ หวังว่าผู้ที่รู้เรื่องบัญยัติที่เรียนมาคงอนุโลมให้นะครับ เพราะเป็นเรื่องการปฏิบัติ โดยใช้ภาษาที่ใช้กันอยู่เป็นประจำนะครับ

     มาคุยกันตามภาษาที่ใช้กันเป็นประจำนะครับกับสิ่งที่ทำให้เกิดเหมือนด้ายยุ้งในการปฏิบัติเป็นข้อๆ ได้ดังนี้
        1.ความนึกคิด
        2.อารมณ์
        3.ความรู้สึก
        4.รู้
   ทั้ง 4 อย่างนี้จะผสมปนอยู่ในใจตลอดเวลา ถ้าจะทดลองก็สามารถทดลองตอนนี้ได้เลย โดยทำกาย ใจให้สงบไปสักระยะหนึ่ง ทั้ง 4 ที่ผมกล่าวนั้นก็จะเริ่มวนเวียนบังเกิดขึ้น

   ลองดูนะครับ พอดีผมมีงานเข้ามาให้แก้ปัญหา จึงขอส่งข้อมูลแค่นี้ก่อนนะครับ
 

ตอบโดย: Vicha 27 ม.ค. 49 - 10:23


ผมไม่ถนัดเรื่องอานาฯ แต่ก็ได้ประโยชน์มากครับ มารออ่านด้วยความสนใจ

ตอบโดย: Be no one 27 ม.ค. 49 - 11:09


คุยต่อนะครับ
       เมื่อทำกายใจให้สงบ  1.ความนึกคิดปรุ่งแต่งก็จะโดนกำจัดให้น้อยลง 2. อารมณ์ก็จะเริ่มวางให้สงบลง แต่ 3. ความรู้สึก และ 4.ความรู้ ในความรู้สึก ทั้งรู้กายได้ชัดเจนขึ้น

        ลองพิจารณาก็จะได้ว่า ตัวที่ทำให้เหมือนด้ายยุ้งมีอยู่ 2 ข้อ คือ 1.ความคิดปรุงแต่ง 2. อารมณ์ที่ไหลไปตามความคิดหรือความรู้สึก

        ดังนั้น สิ่งที่ทำให้ขาดสติเผลอสติและสมาธิไม่ตังมั่นได้ง่ายก็คือ ความคิดปรุงแต่งจนเลยเถิด กับอารมณ์ที่ไหลไปคลุกคล้าวยึดมั่นถือมั่นตามความคิดหรือความรู้สึก

         ทั้งความคิดปรุงแต่งจนกับอารมณ์ที่ไหลคลุกคล้าวกัน เป็นตัวเกิด นิวรณ์ 5   มาดูว่าทั้งสองอย่างนี้ทำให้เกิดนิวรณ์ 5 อย่างไร
          ความนึกคิดปรุงแต่ง ก็จะทำให้เกิดวิจิกิจฉา  คือสืบสานความคิดไปเรื่อย ปรุงแต่งความคิดไปเรื่อยสงบความคิดลงได้ยาก จนบางทีฟุ้งกระจาย  บางทีฟุ้งจนเกิดอารมณ์เครียด หรือกระเจิงไปใหนต่อไปไหนก็ไม่รู้
           อารมณ์ที่ไหลไปคลุกคล้าวกับความคิดหรือความรู้สึก ก็จะทำให้เกิดความพยาบาท เมื่อไปคิดปรุงแต่งเรื่องศัตรูหรือผู้ที่ไม่ชอบความรู้สึกมีความขัดเคืองก็ย่อมเกิด
     หรือทำให้เกิดกามฉันทะ ก็ได้เมือไปคิดปรุงแต่งเรื่องที่ชอบแล้วรู้สึกชอบ
     
      ดังนั้นจะเห็นว่า เมื่อยับยั่ง(มีสติ) ความคิดที่ปรุงแตงและอารมณ์ได้ สมาธิ ก็จะเจริญขึ้นทันที เพราะอย่างน้อย วิจิกิจฉา พยาบาท และกามฉันทะ ก็จะลดลงหรือคลายไป
       ก็จะเกิดที่เด่นชัดขึ้นมา 3 อย่าง คือ  1.รู้กายส่วนที่กำหนดหมาย  2. ความรู้สึก 3.รู้ ความรู้สึก รู้กาย ชัด
 
       เมื่อถึงตอนนี้ ก็สามารถแยกแยะภาษาที่ใช้กันอยู่ประจำ เป็น กาย เวทนา จิต และธรรม ได้โดยง่ายแล้ว ดังนี้
            รู้กายส่วนที่กำหนดมาย  เป็น กาย
            ความรู้สึก                     เป็น เวทนา   แต่ถ้าเกิดความรู้สึกปรุงแต่งเป็นชอบหรือไม่ชอบนั้นล่วงเลยเป็นอารมณ์ไปเสียแล้ว ก็ยังจัดเป็นเวทนาอยู่
            รู้ ความรู้สึก หรือกาย     เป็น  จิต หรือใจ

            มีปัญหาคือ ธรรม นี้เป็นอย่างไร?    ธรรมคือภาวะที่เกิดขึ้นทั้งหลาย เมื่อตอบอย่างนี้ ย่อมไม่มีโอกาศเข้าใจกันได้ง่ายแน่   ดังนั้นขอย่อให้สั้นและเข้าใจได้
            ธรรม ก็คือภาวะที่เกิดความนึกคิดหรือความนึกคิดนั้นแหละ ไม่ว่าจะนึกคิดดีหรือไม่ดี (แต่ความจริงแล้ว ธรรม กว้างกว่านี้อีกนะครับ แต่เอาตามที่เข้าใจได้ง่ายก่อนนะครับ)

      

ตอบโดย: Vicha 27 ม.ค. 49 - 12:02


ผมมาขอต่อเพื่อให้จบช่วงส่วนนี้(ติดพักเที่ยง)

       ดังนั้น เมื่อมีสติเท่าทันเป็นปัจจุบันกับสิ่งที่ผมกล่าวนี้คือ
              1. กายส่วนที่ประกฏรู้ชัด
              2. ความนึกคิด
              3. อารมณ์
              4. ความรู้สึก
              5. ความรู้
    ที่ปรากฏ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป หรือสลายไป สลับสับเปลี่ยนกันอยู่อย่างเนื่องๆ  ในสิ่งที่เป็นร่างกายและใจนี้แหละ ก็จะเป็นสติปัฏฐาน 4  ความเป็นจริงของไตรลักษณ์จะปราฏกในภาวะรูปและนาม ที่มีสติเป็นปัจจุบันรู้เท่าทันอยู่ จนคลายความยึดมั่นและถือมั่นไปได้

     แต่ในกระทู้นี้กล่าวถึง อานาปานสติ  ดังนั้นจุดเด่นของการปฏิบัติ คือการมีสติ รู้ภาวะหายใจออก หายใจเข้า เป็นหลัก
      การมีสติรู้ภาวะหายใจออก หายใจเข้า  ไม่ใช้ไปสมมุติลมที่พุ่งออกหรือพุ่งเข้า เพราะตัวลมจริงๆ นั้นเป็นเพียงธาตุลม ที่ไหลเข้าหรือออกเท่านั้น ไม่สามารถเป็นตัวที่เรารู้ได้
      สิ่งที่รู้ได้ว่าหายใจออก หายใจเข้า คือ
         1.ตำแหน่งที่ลมผัสสัมกับโพรงจมูก หรือปลายจมูก หรือพื้นที่เหนือริมฝีปากบน
  หรือ 2. อาการของร่างกายบริเวณทรวงอกหรือบิรเวณช่วงท้อง ที่ปรากฏตามที่หายใจออก หายใจเข้า
        ทั้ง 2 เป็นตำแหน่งที่อยู่ของสติและสมาธิเป็นส่วนมาก เมื่อมีสติสมาธิสมบูรณ์จะเหลือเพียงบริเวณเดียว ดังนั้นสิ่งที่ขัดขว้างสติและสมาธิให้เขวไปด้านอื่น ก็คือ  1.ความนึกคิด  2. อารมณ์  3. ความรู้สึกอย่างอื่นหรือบริเวณร่างกายส่วนอื่นที่เบนความสนใจไป

        ดังนั้นต้องจัดการทั้ง 3 อย่างนี้ให้ถูกต้อง จึงจะสามารถปฏิบัติมีสติรู้หายใจออก หายใจเข้า ได้ดี

        การจัดการกับ ความนึกคิด ก็คือ วางคำนึกคิดต่างๆ เสียก่อน ถ้ายังมีอยู่ก็ให้มาสนใจหรือนึกคิดตามภาวะอาการ หายใจออก หายใจเข้า คือการมีคำบริกรรมภาวนา เช่น พุท - โธ กับภาวะหายใจเข้าหายใจออก  หรือบริกรรมภาวนา เข้า - ออก กับภาวะหายใจเข้าหายใจออก  สำหรับผู้ที่สามารถวางความนึกคิดได้โดยมาก ก็มีสติรู้ภาวะหายใจเข้าหายใจออกก็เพียงพอ
    
        การจัดการกับ อารมณ์  ก็คือ การวางใจให้สงบระงับใจ ผ่อนลมหายใจให้สบายขึ้น อารมณ์ต่างๆ ก็ค่อยๆ สลายไปตามกำลังของรมณ์นั้น ในเมื่อไม่ไปคิดคำนึงปรุ่งแต่งเพิ่มขึ้นกับกับอารมณ์นั้นๆ

       การจัดการกับ ความรู้สึกอย่างอื่นที่ดึงความสนใจ หรือรู้สึกกายส่วนอื่น  มี 2 วิธี คือ
           1.ปล่อยให้ความรู้อย่างอื่นที่รุ่นแรงเบาลง ก็กลับมามีสติรู้หายใจออก หายใจเข้าต่อ
           2. ถ้า เพลีนไปกับความรู้สึกอย่างอื่นมาก หรือความรู้สึกอื่นรุ่นแรง ก็ให้สูดลมหายใจเข้าหายใจออกให้รู้สึกชัดมีสติแล้วปล่อยวาง เพื่อระงับความเพลินนั้น หรืออาการอย่างอื่นที่รุ่นแรงนั้น

      สรุป อานาปานสติขั้นต้น หรือ วัตถุที่ 1 คือให้มีสติมาอยู่กับภาวะหายใจออก หายใจเข้า นั้นเอง
 

ตอบโดย: Vicha 27 ม.ค. 49 - 15:20


ถึงแม้ว่าจะเหมือนกับอนุบาลมาอ่านตำราปริญญาเอก
แต่ก็ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นอีกมากเลยค่ะ (ถึงจะเข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง
ตามประสาเด็กอนุบาลที่เริ่มหัดอ่านนะคะ)
และทำให้เกิดความมุมานะที่จะปฏิบัติให้ต่อเนื่องด้วยค่ะ

ขออนุโมทนากับคุณวิชา และทุกท่านที่มาให้ความรู้ในกระทู้นี้นะคะ
 

ตอบโดย: oceangirl_pu 27 ม.ค. 49 - 15:48


ขอใช้สิทธิ์ถูกพาดพิงหน่อยนะครับ ที่จริงแล้วจิตของมนุษย์ยกระดับพลังงานสูงขึ้นทุกคนยกเว้นตัวผมซึ่งจิตเป็นอย่างนี้ตั้งแต่เกิด(จิตที่มีคุณสมบัติที่เป็นสื่อให้ทุกคนได้รู้สึกถึงได้)ที่บางทีคุณอาจจะไม่รู้จักผมหรืออาจรู้จักก็ได้ซึ่งผมก็คือ คนๆเดียวนั้นนั่นเอง แต่บางคนเพิ่งรู้สึกถึงผมได้ครบทุกคนในปี45 (แต่พระอรหันต์รู้จักผมตั้งแต่เกิด)กล่าวอีกทางก็คือคิดได้ดังผ่านทางสื่อชนิดต่างๆ(เช่นผมดูภาพทีวีและคุณก็รู้สึกถึง)หรือ คุณอาจไม่เคยรู้สึกก็ได้ แต่ผมไม่ได้คิดไปเองหรอก และถึงวันหนึ่งแม้ผมจะเป็นหรือไม่เป็นอะไรก็ตาม ผมก็เฉยๆแต่ผมก็อาจจะตรงไปตรงมาอยู่บ้างนะครับ แต่สักพักก็คงได้รู้จักผมโดยทั่วกระมัง

ตอบโดย: วชิระ45 27 ม.ค. 49 - 20:31


แล้วอนุพุทธกับพุทธสาวกต่างกันไหมครับ (ขออภัยที่เข้ามาแทรกคุณวิชานะแต่ผมตั้งกระทู้เองไม่ได้)

ตอบโดย: วชิระ45 27 ม.ค. 49 - 21:00


ขอโทษเจ้าของกระทู้ด้วยเช่นกัน ฯ

แล้วอนุพุทธกับพุทธสาวกต่างกันไหมครับ .......
(๑) ไม่ต่างกัน
เพราะ ต้องอาศัยการตรัสรู้ของพระพุทธองค์ พระองค์นี้ เหมือนกัน (ไม่ว่ายุคไหน สมัยไหน ตราบที่ ธรรม วินัย ตามที่ตรัสในมหาปรินิพพานสูตร ยังคงอยู่ ...เถรวาทคือ  ผู้ที่สืบรักษาโดยไม่แก้ไข ฯลฯ)


(๒) ต่างกัน
เพราะ แต่ละสาวก .....เมื่อเป็นอยู่โดยชอบ ด้วยธรรมอันเอก (ตามที่ตรัส) คือ อานาปานสติสมาธิ ..แล้ว บรรลุมรรค ผล ตามอาการ ดังที่ตรัสไว้ในมหาจัตตารีสักกสูตรแล้ว ....แม้นจะ ไม่ต่างกันตรง เกิดอาสวักขยญาณ ตรงตามพุทธปัญญา ในฐานะ สาวกผู้รู้อริยสัจ ๔ หรือ ปฏิจจสมุปบาท ฯลฯ ตรงตามที่ตรัสว่า ...ศาสดาและสาวกย่อมมีการกล่าวตรงกัน (เพราะมีอาสวักขยญาณตรงตามพุทธปัญญา) ในเรื่องปฏิจจสมุปบาท...แต่ต่างกัน ในกรณี "สามารถอธิบายพระพุทธวจนะได้ไม่เท่ากัน ในธรรมเรื่องอริยสัจ ๔ หรือ ปฏิจจสมุปบาท นั่นแหละ (ส่วนอภิธรรมปิฎก นั้นไม่อยู่ในรูปพระพุทธวจนะ.จึงยังไม่ต้องกล่าวถึง ฯ)

คุณวชิระ45 ...เมื่อรู้สึกว่า ได้บรรลุถึงความมีจิตพิเศษ (ตามที่กล่าวนั้น) ...แล้ว ถาม ขึ้น ฯลฯ
รวมทั้งถามว่า แล้วอนุพุทธกับพุทธสาวกต่างกันไหมครับ .......

ถ้าถามผม
ผมก็ตอบแล้ว ดัง ความคิดเห็น 66 และความเห็นนี้

ยิ่งคุณเสนอว่า ...คุณ (ถ้าคือนิรนาม41) อาจจะไม่รู้จักผมหรืออาจรู้จักก็ได้ซึ่งผมก็คือ คนๆเดียวนั้นนั่นเอง แต่บางคนเพิ่งรู้สึกถึงผมได้ครบทุกคนในปี45 (แต่พระอรหันต์รู้จักผมตั้งแต่เกิด

โดยเฉพาะ คำว่า "แต่พระอรหันต์รู้จักผมตั้งแต่เกิด" ....ข้อความเช่นนี้ เป็น เรื่องส่วนตนของคุณวชิระ45 ใช่ไหมครับ

แต่พระพุทธองค์ ตรัส กาลามสูตรไว้ เพื่อไม่ใช่รีบเชื่อทันที ด้วยเหตุ ๑๐ ประการนั้น
ดังนั้น ...ผมจึงไม่เชื่อทันทีตามที่คุณวชิระ45 เสนอ ...เพราะ คุณเอง ได้ กล่าวแล้วว่า ......ผมไม่ปรุงแต่งมากไปกว่านี้อีกแล้ว บ่งบอกถึงระดับความปรุงแต่งที่ยึดมั่นอยู่ มิใช่ไม่ปรุงแต่งอีกแล้ว  และผมก็ไม่ได้บรรลุธรรมใดๆด้วยครับ

ตกลง "คุณวชิระ 45 จะอย่างไรแน่" ก็ .....เช่นนั้นเองของสิ่งปรุงแต่งชนิดหนึ่ง ตามที่ได้กล่าวให้ทุกๆ ท่าน ได้อ่านแล้ว ....นะครับ ฯ

คำว่า เช่นนั้นเอง (ตถาตา) นั้น มีความหมายมาก นะครับ
แม้นแต่การอุบัติขึ้นของพระอรหันตสัมมาสัมพุทะเจ้าพระองค์นี้ ก็เช่นนั้นเอง ด้วย

ผม (นิรนาม41) ก็เช่นนั้นเอง เช่นกันครับ
ที่สำคัญ
เช่นนั้นเอง ในฐานะ ผู้ตรัสรู้อริยสัจ ๔ หรือปฏิจจสมุปบาท ตรงตามพุทธปัญญานั้น
ก็ใช่ว่า จะเท่าเทียมกันในการ "เข้าใจพระพุทธวจนะ ที่แปลไทยสำนวนต่างๆ นั่น"

ดังนั้น ถ้าใครจะสำแดงตนว่า บรรลุอะไร ในธรรมวินัย ที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ดีแล้ว

วิธีสอบทานหนึ่ง ตามหลักกาลามสูตร ก็คือ ดูว่า ผู้นั้น สามารถอธิบาย ภาษาสมมุติที่คือพระพุทธวจนะ ที่แปลไทยสำนวนไหนก็ตาม ได้ลึกซึ้งแค่ไหน ....(ไม่ปฏิเสธ ภาษาน้ำนมของผู้นั้นด้วย) ฯ

ขอยุติเพียงแค่นี้นะครับคุณวิชิระ45

ตอบโดย: นิรนาม41 28 ม.ค. 49 - 12:51


ขอบคุณครับคุณนิรนามแอนด์คุณวิชา ผมต้องขอโทษด้วยที่บางครั้งผมพิมพ์โดยไม่คิดอะไรก่อนหรือหลังการพิมพ์ให้รอบคอบ แต่พิมพ์ตามปัจจุบันเป็นหลักบางทีอาจจะตรงไปบ้าง แต่ผมก็ไม่ค่อยสนใจและเก็บอะไรไว้หรอกนะครับ

ตอบโดย: วชิระ45 28 ม.ค. 49 - 19:53


ผมขอวกเข้ามาคุยเรื่องการปฏิบัติต่อนะครับ

       ด้วยตัวผมเองจะติดอยู่การที่ต้องใช้คำภาวนา คือต้องมีคำภาวนาทุกครั้งกำกับ มูลเหตุคือตั้งแต่วัยเด็กเป็นต้นมา ต้องภาวนา พุท - โธ ตามลมหายใจเข้า และหายใจออก เป็นเวลาถึง 10 ปี และเมื่อเข้ามาปฏิบัติแนวทาง ยุบหนอ - พองหนอ ก็ต้องอาศัยกำหนดคำภาวนากับสิ่งที่ปรากฏชัดให้เป็นปัจจุบัน เป็นเวลาถึงปัจจุบันนี้ก็ 20 กว่าปี

     ดังนั้นเมื่อไหรต้องการความสงบ หรือระงับอารมณ์ ก็ต้องอาศัยกำหนดคำภาวนา จึงจะเข้าสู้ความสงบหรือตัดอารมณ์ได้ง่าย เป็นอุปนิสัยที่ฝึกมาจนติด
      เมื่อเกิดภาวะความเศร้าหมองในจิตในอารมณ์ ความทุกข์ความอึดอัดในจิตในอารมณ์ จากสิ่งแวดล้อมต่างๆ น้อมเข้าไปรู้ใจถึงภาวจิตเหล่านั้น ภาวนาว่า "เป็นเช่นนั้นเอง" ๆ ๆ  ไม่นานนักภาวะอย่างนั้นก็จะหายกลายเป็นปกติ

     แต่เมื่อมามีสติรู้การหายใจออก หายใจเข้า ตัดคำภาวนาไป เพราะตัวผมต้องทำให้เห็นก่อนจึงจะเขียนเล่าออกมาได้อย่างชัดเจน ปัญหาก็เกิดขึ้นคือ สมาธิมีมากไม่สมดูลย์ในพละที่เหลือแต่วิปัสสนาญาณนั้นได้วิ่งไปไกล จึงเห็นทุกข์โทษ จึงมีอารมณ์หน่าย อารมณ์เศร้า อารมณ์ไม่ปลอดโปร่ง โดนกดทับไว้ด้วยสมาธิ ค่อยๆ สะสม มาเป็นเวลาหลายวัน โดยไม่ใช้คำภาวนาเพื่อปรับพละ 5 ให้สมดูลย์ เมื่อไม่รู้ตัวจึงเกิดปฏิฆะกับสิ่งที่ไม่พอใจได้ง่าย

      วิปัสสนากรรมฐานนั้น เรื่องพละ 5 จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ และเรื่องรู้สภาวะธรรมที่เป็นอยู่หรือภาวะจิตใจที่เป็นอยู่ก็เป็นเรื่องที่สำคัญ  ไม่เช่นนั้นด้วยเหตุของการเห็นทุกข์โทษในรูปนามของวิปัสสนาญาณก็จะทำให้เกิดญาณค้าง เกิดอารมณ์เบือหน่ายเศร้าทุกข์ไม่ปลอดโปร่ง เมื่อเกิดกระทบกับสิ่งที่ไม่ชอบก็จะมีภาวะขัดเคืองใจได้ง่าย
       
      ที่ผ่านมาเป็นเวลาหลายวันหรือเดือนกว่า เมื่อได้พัฒนาอานาปานสติถึงจุดหนึ่งนั้นจะมีสติสมาธิมีฐานตั้งมั่นและปลอดโปร่ง สามารถผ่านปัญหาต่างๆ ในอดีตที่ปฏิบัติอานาปานสติค้างไว้เมื่อปี่ 2526  ได้
      แต่เมื่อมาดูเพื่อให้เห็นพื้นฐาน เพื่อประกอบการเขียน สมาธิจึงมากไปญาณจึงค้างแต่ก็ไม่ค่อยรู้ตัวเพราะดูปลอดโปรงดีอยู่ จนมีเหตุมากระทบในสิ่งที่ไม่ชอบใจอารมณ์จะเปลี่ยนในทันที่โพรงออกมา เห็นลูกระเบิดอารมณ์ที่ฝั่งอยู่อย่างมิดชิด แต่กว่าจะรู้ตัวอย่างชัดเจนก็โดยโยนิโสมนสิการกับสิ่งที่เกิดขึ้นก็ ณ.วันนี้  ระเบิดอารมณ์ที่ฝั่งอยู่ได้ระเบิดให้เห็นเรื่อยๆ แต่ห่างกัน ช่วงหลังเริ่มถื่ขึ้น จึงรู้ตัวเองว่าผิดปกติแล้ว แข็งไปเสียแล้ว มีอัตตาจัดเสียแล้ว

     ผมพิมพ์เรื่องญาณค้าง ไม่รู้ว่าผู้อ่านท่านใดจะเข้าใจหรือเปล่า?    (ยกเหตุนี้มาเขียนต่อ)

    ผู้ที่เข้าใจเรื่องญาณค้าง ต้องเป็นผู้ที่ฝึกปฏิบัติอย่างน้อยสุดก็ญาณ 3 (สมสนญาณ) เพราะมีทั้งวิปัสสนูกิเลส มีทั้งจิตมยปัญญาที่เฉียบคมสามารถ จินตนาการจนเบื่อหน่าย แล้วเห็นทุกข์เห็นโทษในสังขารทั้งหลายด้วยความคิดจินตมยปัญญา เกิดทุกข์และหน่ายอยู่ในอารมณ์จนอยากหนีจากทุกข์อยากหลุดอยากพ้น อะไรไม่พอใจนิดหน่อยก็จะเกิดปฏิฆะ จนถึงระเบิดออกมา จะเห็นได้ชัดสำหรับผู้ที่ค้างอยู่ญาณที่ 3
    ส่วนญาณสูงก็เป็นปรมัติอารมณ์ล้วน เมือญาณค้างที่ ภยญาณ หรือ นิพพิทาญาณ  ก็ไม่ต้องพูดถึง เป็นภาวะที่เห็นและที่เป็น(เน้นที่เป็นนะครับ)ทุกข์เป็นโทษทั้งสิ้น

    ถ้าเป็นผู้ชำนาณในญาณที่ 1 ถึง 11 ก็ไม่มีอะไรก็สามารถปรับให้ขึ้นหรือลงได้โดยไม่ลำบาก

    แต่สำหรับผู้พึ่งเป็นพึ่งได้สัมผัสญาณนั้น นี้แหละเป็นเรื่องที่สำคัญ ถ้าไม่สำรวจจิตใจให้ดีโดยมีโยนิโสมนสิการกับภาวจิตใจของตนเองให้ดี เพราะบางท่านค้างอยู่แค่ญาณที่ 3 หรือกลับมาค้างอยู่แค่ญาณ 3 เป็นส่วนมาก  เกิดภาวะเกรี่ยวกราดหรือปะทุอารมณ์ได้ง่าย ควบคุมภาวะอารมณ์ไม่ค่อยอยู่ เป็นเพราะภาวะที่สมาธิมาก สติและปัญญาตามไม่ทันกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นโพรงออกไปแล้ว   ยิ่งเมื่อเห็นว่าตนอยู่ในฐานะที่ยิ่งใหญ่ หรือมีฐานะที่ผู้อื่นจะมาว่ากล่าวไม่ได้ ยิ่งลุกลามไปกันใหญ่  เช่นผมเป็นหัวหน้าครอบครัว เมื่อเกิดภาวะนี้ขึ้น ก็น่ากลัวเหมือนกัน ถ้าไม่รู้ตัวหรือโยนิโสมนสิการให้ดีมีโอกาสบ้านพัง
   
     ความเห็นนี้ผมได้เล่าเรื่องญานค้างไปมากเลยครับ ว่าจะขึ้นเรื่อง อานาปานาสติ วัตถุที่ 2 และ 3 ซึ่งผมได้ทดลองปฏิบัติเพื่อดูความระเอียดเพื่อจะได้เขียนได้ และได้พอทำความเข้าใจแล้ว แต่ได้เกิดภาวะญาณค้างมากไป จึงขอเขียนเรื่องญาณค้างก่อน  ดังนั้น อานาปานสติ วัตถุที่ 2 และที่ 3 เอาไว้ในความเห็นหน้านะครับ
      (เน้นย้ำสิ่งที่ผมเล่าและเขียนนั้นเป็นภาวการปฏิบัติที่ผมเห็นและเข้าใจ ไม่ใช่เป็นหลักตายตัว ดังนั้นผู้อื่นอาจปฏิบัติแตกต่างกันได้ทั้งวิธิฝึกและในรายละเอียดนะครับ แต่อยู่ในจุดประสงค์เดียวกันคือ อานาปานสติ)
 

ตอบโดย: Vicha 30 ม.ค. 49 - 16:37


ขอคุยต่อ
     ตอนที่พิมพ์ความเห็นที่แล้ว(ความเห็นที่ 76) ก็คิดว่ามีคนสงสัยอยู่หลายคน เรื่องญาณค้าง แต่เมื่อไม่มีผู้ถามผมก็ขอข้ามไปเลยก็แล้วกัน
      ขึ้นเรื่อง อานาปานสติ จตุกะที่ 2 และ 3 คือ
  เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
   เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น


   อานาปานสติเป็นกรรมฐานที่เยี่ยมและสะดวก  เมื่อเริ่ม จตุกะที่ 1 ถูกต้องแล้ว  คือมีสติรู้หายใจออกหายใจเข้าแล้ว  ก็จากที่กองลมกระทบ หรือจากที่ภาวะร่างกายหายใจออกหรือหายใจเข้า จนสามารถตะกล่อมความคิดแล้ววางความนึกคิดไปให้อยู่กับหายใจออกหายใจเข้าโดยมากได้ และวางอารมณ์ต่างๆ ที่จะรบกวนได้
   จตุกที่ 2 และที่ 3 ก็จะปรากฏให้รู้ชัดขึ้นเอง  ระยะแรกอาจจะไม่ชัดเจนมากนัก แต่เมื่อเพียรปฏิบัติ(ทำอย่างต่อเนื่อง) จตุกะที่ 2 และที่ 3 ย่อมปราฏให้ชัดขึ้นเอง
    
     ดูแล้วเป็นเรื่องที่ง่ายจัง จตุกะที่ 2 และที่ 3  ดังนั้นสิ่งที่ยากจึงอยู่ที่จตุกะที่ 1 ที่จะต้องฝ่าฟันให้มีสติรู้หายใจออกหายใจเข้า จึงมีวิธีการฝึกมากมาย ทั้งมีการนับ ทั้งมีการภาวนา ก็เพื่อให้มีสติรู้หายใจออกหายใจเข้านี้เองเป็นส่วนมาก

      เป็นอันว่าภาคที่ 1 คือ จตุกะที่ 1, 2 ,3  ก็เป็นเหตุเป็นผลกัน  แต่ก็เริ่มมีจุดแยกได้อย่างชัดเจนของการปฏิบัติก็เริ่มจตุกะที่ 4 นี้เอง

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจเข้า

     แต่ในเวลาปฏิบัติจริงๆ แล้ว จตุกะที่ 1, 2, 3, 4  ก็สลับสับเปลื่ยนตามภาวตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติ

     แต่ก็มีปัญหาที่ชวนให้สงสัยในจตุกะที่ 4 คือ เป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจออก เป็นผู้รู้กายทั้งปวงหายใจเข้า
      จะรู้แจ้งกายและหายใจอย่างไร?   จะรู้แบบรู้แจ้งกายพร้อมทั้งรู้การหายใจหรือ? จะรู้แบบรู้แจ้งรายกายก่อนแล้วไปรู้การหายใจที่หลังหรือ? จะรู้ลมหายใจก่อนแล้วมารู้แจ้งกาย?  อย่างใหนถูกกันแน่?
      ตอบตามที่ผมปฏิบัตินั้นเป็นได้ทุกแบบครับ  พอดีเวลาหมดเสียแล้วเลิกงานก่อน เอาไว้ต่อในความเห็นต่อไปนะครับ(ความเห็นนี้สั้นจัง เพราะพึ่งจะเริ่มพิมพ์ก็ตอน 16.15 กว่า และก็มีงานเข้ามาให้ทำ จึงพิมพ์ไปได้ไม่มาเท่าไหร?)

ตอบโดย: Vicha 31 ม.ค. 49 - 17:08


เริ่มคุยต่อ ภาคเช้าก่อนเที่ยงเลยครับ
   จาก
อ้างอิง
      จะรู้แจ้งกายและหายใจอย่างไร?   จะรู้แบบรู้แจ้งกายพร้อมทั้งรู้การหายใจหรือ? จะรู้แบบรู้แจ้งรายกายก่อนแล้วไปรู้การหายใจที่หลังหรือ? จะรู้ลมหายใจก่อนแล้วมารู้แจ้งกาย?  อย่างใหนถูกกันแน่?
      ตอบตามที่ผมปฏิบัตินั้นเป็นได้ทุกแบบครับ 


   ผมก็จะเริ่มตรงที่  รู้ลมหายใจก่อนแล้วมารู้แจ้งกายเป็นอย่างไร?
     ผมขอตอบตามที่พระอาจารย์พนมได้แนะนำผมไว้เมื่อประมาณ 20 ปีมาแล้ว เพราะพระอาจารย์ก็ได้รับคำแนะนำจากพระที่ฝึกอานาปานสติมาโดยตรงว่า

    "เมื่อหายใจเข้า ก็ให้รู้ลมกระทบลงมาแล้วรู้สุดที่อาการของช่วงท้องที่หายใจเข้าข้างในช่วงท้อง เมื่อสุดลมหายใจก็นิ่งอยู่นิดหนึ่ง แล้วก็ให้รู้ทั่วกาย จึงเริ่มรู้หลายใจออก"
    
    ก็คือรู้ทั่วกายช่วงที่สุดหายใจเข้า  ซึ่งผมก็เคยลองทำอย่างนั้นแรกๆ ก็ทำสบายแต่พอหลายๆ ครั้งก็จะอึดอัด  เพราะผมมีสติอยู่ที่บริเวณจมูกและปากอยู่เป็นประจำ ดังนั้นการบังคับให้รู้ลมหายใจเข้าจนลึกถึงช่วงท้อง ก็จะทำให้รู้สึกอึดอัด
    ผมจึงปฏิบัติในวิธีที่ดีที่สุดสำหรับผมคือ รู้ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า ที่บริเวณจมูกหรือโพรงจมูก สุดลมหายใจออกหรือเข้าที่ปลายหรือโพรงจมูก ก็รู้ทั่วกายที่รู้สึกได้ จะไม่ไปบังคับให้รู้ทั้งทั้งร่ายกาย
         เช่นสุดลมหายเข้าหรือออก
          ไปรู้ชัดที่หน้า ก็รู้ชัดที่หน้า
          ไปรู้ชัดที่ท้อง ก็รู้ชัดที่ท้อง
          รู้ชัดช่วงศรีษะและปลายจมูกและช่วงท้อง ก็รู้ชัดกายส่วนนั้น

     แต่ที่ผมได้อ่านในหนังสือที่เขาเขียนการปฏิบัติกัน ว่าสามารถรู้ลมหายใจออกชัดยาวจากช่วงท้องถึงปลายจมูก และรู้ลมหายใจเข้ายาวจากปลายจมูกจนถึงช่วงท้อง ผมนับถือเลยว่าผมทำไม่ได้โดยสม่ำเสมอ ผมทำได้เพียงบางครั้งเท่านั้น  เพราะผมโดยปกติจะรู้ลมหายใจช่วงสั้นๆ อยู่เพียงแค่ปลายจมูกกับโพรงจมูกเท่านั้น และมีนิสัยคือมีสติอยู่ตรงนั้นตลอด คือพอสงบสติและความรู้สึกก็จะอยู่ตรงนั้นเองตลอดโดยอัตโนมัติ (อาจเพราะว่าฝึกมาเป็นเวลานาน10 กว่าเลยกลายเป็นอุปนิสัย)

      ดังนั้นตามที่ผมเล่าข้างบนผมจะรู้แจ้งกาย(ส่วนที่รู้ชัด) ก่อนที่จะหายใจออก  และรู้ลมหายใจเข้าก่อนที่จะรู้แจ้งกาย(ส่วนที่รู้ชัด) เป็นส่วนมาก เป็นการตอบทั้งสองข้อในคราเดียวกัน
      ตรงนี้แหละเป็นพื้นฐานของวิปัสสนาได้ ถ้ามีสติละเอียดรู้เป็นรูปและนาม

      ประสบการณ์ที่ปฏิบัติตรงนี้คือ เมื่อกำหนดอยู่จะมีสติที่ชัดเจน ไปพักหนึ่ง หลังจากนั้นก็เกิด สันสติขาด ให้เห็นอย่างชัดเจน

  และจาก   จะรู้แบบรู้แจ้งกายพร้อมทั้งรู้การหายใจหรือ?    ซึ่งข้อนี้ก็เป็นข้อที่สำคัญ เพราะจะขัดแย้งกับอภิธรรมได้ว่า "ในขณะจิตเดียว จิตจะรู้ได้เพียงอย่างเดียว"

   จะรู้แจ้งกายพร้อมกับทั้งรู้การหายใจได้หรือ?   ผมขอตอบว่าได้ แต่มีเงือนไขอยู่ว่า เมื่อรู้ลมหายใจชัด ก็จะรู้กายส่วนอื่นน้อย เมื่อรู้กายส่วนอื่นชัดก็จะรู้ลมหายใจน้อย ลลับเลื่อมกันอยู่ ถ้ามีสติน้อยก็จะไม่เห็นเลื่อมสลับนั้น
    แต่เมื่อจิตอยู่กับกองลมหลายใจเป็นส่วนมาก จึงรู้ลมหายใจชัดเสียมากกว่า จึงเสมือนรู้กองลมชัดรู้กายส่วนอื่นน้อย  ซึ่งตรงนี้แหละจะนำไปสู่สมาธิระดับ ฌาน

    ประสบการณ์ที่ปฏิบัติตรงนี้คือ เมื่อกำหนดดูกองลมที่ปลายจมูกชัด แต่ก็รู้กายที่ส่วนท้องน้อยๆ อยู่ เสมือนรู้สองอย่างพร้อมกันแต่อันหนึ่งชัดอันหนึ่งเบา เมื่อดูไปจิตก็จะแคบเข้าเอง ให้รู้เพียงสองอย่างบริเวนหนึ่งชัดบริเวณหนึ่งเบา  เมื่อดูต่อไปความรู้สึกทั้งบริเวณทั้ง 2 ก็จะมารวมเป็นจุดเดียวกัน วางการรับรู้ส่วนอื่นทั้งหมดแม้กระทั้งความคิดเสียงและรางกาย ดำรงณ์ความรู้สึกที่กำลังเป็นหนึ่งนั้น ก็จะวูบลงภวังค์ไปช่วงนิดหนึ่ง (เข้าฌาน 1) ถอนออกจากภวงค์ที่วูบ มาอยู่ที่ความรู้สึกที่เป็นหนึ่ง ไม่รับรู้ทางร่างกายแม้กระทังเสียง ใจก็จะรู้สึกว่ากำลังอยู่รวมกับอะไร ที่เพ่งล็อกไว้เสมือนว่าเป็นสิ่งเดียวกันในจุดความรู้สึกนั้น ใจจึงถอยออกหรือเฉียงออกมาเพื่อรู้  ก็เห็นอาการบัญยัตที่เพ่งจากสองส่วน มารวมที่จุดเดียว เหมือนกับเส้นสองเส้น  เส้นหนึ่งเสมอกับที่จิตเห็น อีกเส้นหนึ่งมาจากช่วงข้างล่างแล้วเพ่งมารวมกันที่จุดข้างหน้านี้เอง ตัดเป็นมูมกันอยู่เป็นจุดเดียว
     จึงรู้ว่าจุดนี้และสิ่งคือสิ่งที่จิตบัญยัติขึ้นเพื่อให้เป็นหนึ่ง(เอกคตา) แล้วตัวจิตนั้นก็รวมอยู่กับการบัญยัตินั้น เสมือนเป็นสิ่งเดียวกัน  แต่เมื่อจิตแยกออกมา ก็จะเห็นสิ่งที่เพ่งเป็นบัญญัติเพื่อเป็นหนึ่งกับจิตเองอย่างชัดเจน  แล้วจิตก็ค่อยเลือนไปร่วมกับจุดที่เป็นหนึ่งนั้น สงบหายไป
       
     เป็นประสบการณ์การแยกจิตออกจากการบัญยัติของจิต

   ความเห็นนี้ผมก็ได้ตอบคำถามที่ผมได้ตั้งขึ้นในความเห็นที่แล้วครบแล้วนะครับ

  

ตอบโดย: Vicha 01 ก.พ. 49 - 12:07


     อนุโมทนาครับ  คุณวิชา ที่ได้มาให้ความรู้เรื่องณานได้ค่อนขางละเอียดทีเดียวครับ  นับว่าเป็นแนวทางสำหรับคนที่มาทางนี้
  ช่วงที่ผมยังกำหนดแนวพอง-ยุบอยู่นั้น  ได้หลุดมาดูลมแต่มาดูตรงส่วนที่ท้อง  มีอาการใกล้เคียงกับที่คุณวิชาได้อธิบายไว้  คือตัวรู้มีอาการแคบลงๆ  เหมือนจะรวมลงมาด้วยกัน   แต่ก็ใด้เพียงเท่านั้น  พอผมตามไป( เพ่งตาม)ดูความรู้สึกนั้น   มันกลับหมุนตลบ     อาจเป็นเพราะยังกลัวอยู่จิตจึงถอยออกมาทุกครั้ง  จิตถอยออกมาเอง   อย่างไรก็ตามพอมีโอกาสมันก็จะเริ่มต้นที่จุดนี้เสมอๆ   แต่ถอยออกมาทุกครั้ง
      คุณวิชาครับ  ทำย่างไรจิตจึงรวมลงเป็นหนึ่งได้ครับ ช่วยแนะนำหน่อย
     เมื่อผมไม่ผ่านตรงนี้   บางตรั้งจิตจะลงภวังค์หายไป   แต่ถึงเวลาจิตกลับขึ้นอีกครั้ง  พอมีความรู้สึก  มันพลิกขึ้นสู่วิปัสสนาทันที   แต่ผมผลิกขึ้นที่กายครับ   การผลิกขึ้นมาคือจังหวะที่ถอยออกมานั้น ผมคลายการเพ่งลง หันไปดูกายคือมือที่กำลังเก็บขึ้น  ( บางครั้งเห็นที่ขา ที่กำลังก้าวอยู่  ตอนเดินจงกลม )   ความเป็นมือหายไปทันที่  กลับเห็นอีกมิติหนึ่ง  คือตัวรู้   เพียงอย่างเดียว  ตรงนี้อธิบายได้คือ   ในธรรมชาติจริงๆนั้น  มีทั้งมิติที่เป็นสมมุติ และอีกมิติหนึ่งที่เป็นตัวรู้และรูป   เขาแสดงอาการที่คือ หากมองเห็นเป็นสมมุติที่เป็นท่อนขา ก็จะไม่เห็นตัวรู้สึก (นาม)   คือแยกนามรูป  และบัญญัติออกจากกัน
     หลังจากเข้าไปเห็นตัวรู้แล้ว   เมื่อใดที่นั่งสมาธิอีก   พอจิตสงบลงได้ระดับหนึ่ง  มันจะลงไปที่จุดเก่าครับ   ตรงตัวรู้จะซ้อนรวมลง  และแคบลง   พอมีอาการหมุน   จิตจะถอยออกมาเองอีก    และหันไปดูจิตที่กำลังดูอาการหมุนแทน  ตรงนี้คือถอยจากสิ่งที่เข้าไปดู   หันมาดูจิตผู้รู้แทน   คือมันมาทางสมถะ  พอถึงจุดที่จะลง  มันกลับหันหนีไปดูจิต  โกยอ้าวหนีขึ้นไปทางวิปัสสนาทันที   แบบไม่ต้องคิดเลยหนีแนบอย่างเดียว (จากอาการหมุน)   ดูแล้วมันก็แปลกนะครับ      ที่ถามคุณวิชาก็เพราะอยากหาวิธิทำใจอย่างไรที่จะให้จิตรวมลงไปได้   บางคนบอกให้ทำใจตายเป็นตายลงไปเลย   แต่ก็ทำไม่ได้สักที   พอมันเริ่มจะซ้อนหมุน   มันโกยอ้าวทันที
 

ตอบโดย: chai999 01 ก.พ. 49 - 19:35


คุณ Vicha ครับ ผมอยากให้คุณวิชา ยกตรงจุดไหน ที่เป็นจุดที่เรียกว่า วิปัสนา
ตามที่คุณ Vicha ได้แสดงเอาไว้ครับ และตรงจุดไหนที่เป็นสมถะ  และก็ตรงจุดไหน ที่เปลี่ยนจาก สมถะ ไปเป็นวิปัสนาครับ ใน อานาปานสติ ตามที่คุณ Vicha อธิบายครับ

1.จุดที่เป็นสมถะ คือตอนไหนครับ
2.จุดที่เริ่มเปลี่ยนจากสมถะ เป็นวิปัสนา คือตอนไหนครับ
3.และจุดที่เป็นวิปัสนาล้วน ๆ เลยครับ  คือตอนไหนครับ

ช่วยกรุณาตอบด้วยเถอะครับ

ตอบโดย: jukapun 01 ก.พ. 49 - 19:49


ผมขอตอบคุณ chai999 ก่อนนะครับ

     คุณ chai999 นี้เชี่ยวชาญในทางวิปัสสนาครับ มีสตินำได้ดีครับ  และสามารถนำมาเพ่งแบบบัญยัติได้ด้วย ก็คือสมถะดีๆ นี้เอง  ถ้าจะกล่าวตามที่ผมวิเคราะห์นะครับ กำลังน่าจะถึงหรือเกือบถึงฌาน 1 แล้วครับ ที่แน่ๆ คืออุปจารสมาธิอย่างแก่ๆ แล้วครับ
     และสามารถแยกจิตจากสิ่งที่จิตบัญยัติกับตัวจิตเองได้ ในสมาธิระดับอุปจาระ แล้วไปวิปัสสนาต่อ ก็เป็นสิ่งที่ดีแล้วครับ ไม่น่าจะกลับเพื่อเอาสมาธิแบบสมถะต่อ

     แต่ถ้าต้องการเรียนรู้ ผมก็จะแนะวิธีให้ตามที่ผมรู้นะครับ มี 2.วิธี
       1.วิธีค่อยเป็นค่อยไป คือวางใจให้เป็นกลาง ปล่อยวางอารมณ์ทั้งหลายไม่ไปสนใจ(ไม่บังคับจิตจนเกินไป) แล้วเพ่งที่จุดใดจุดหนึ่งหรือบริเวณใดบริเวณหนึ่ง เมื่อคุณ chai999  รู้ชัดที่ท้อง ก็ต้องเพ่งที่ท้อง เหมือนที่คุณ chai999 ทำมา (ผมคิดว่านะจะได้ก็เพียงเท่าที่คุณ chai999 เล่ามา)
       2.วางใจเป็นกลางเพ่งบังคับให้จิตใจจดจ่ออยู่อย่างเดียว วิธีนี้อาจต้องแลกกับทุกขเวทนาหรือความกดดันที่อาจเกิดขึ้น  ถ้าผ่านได้ก็จะได้ระดับสมาธิที่สูงขึ้น แต่ความสมดูลย์ของพละ 5 จะสั่นคลอนไปอีกสักระยะหนึ่งกว่าจะปรับสมดูลย์ได้อีก พละ 5 ไม่สมดุลย์ คือเกิดความทุกข์ความเปลียนแปลงทางจิตใจได้ง่าย

      ผมเสนอแนะให้คุณ chai999 ได้ 2 ข้อนี้และครับ
 

ตอบโดย: Vicha 02 ก.พ. 49 - 09:59


ผมขอตอบคุณ jukapun ต่อนะครับ
  จาก
อ้างอิง
คุณ Vicha ครับ ผมอยากให้คุณวิชา ยกตรงจุดไหน ที่เป็นจุดที่เรียกว่า วิปัสนา
ตามที่คุณ Vicha ได้แสดงเอาไว้ครับ และตรงจุดไหนที่เป็นสมถะ  และก็ตรงจุดไหน ที่เปลี่ยนจาก สมถะ ไปเป็นวิปัสนาครับ ใน อานาปานสติ ตามที่คุณ Vicha อธิบายครับ

1.จุดที่เป็นสมถะ คือตอนไหนครับ
2.จุดที่เริ่มเปลี่ยนจากสมถะ เป็นวิปัสนา คือตอนไหนครับ
3.และจุดที่เป็นวิปัสนาล้วน ๆ เลยครับ  คือตอนไหนครับ

ช่วยกรุณาตอบด้วยเถอะครับ


  ถ้าจะให้อธิบายทุกขณะว่า ที่ผมอธิบายอานาปานสติว่า จุดใหนเป็นสมถะ และตรงจุดใหนเปลี่ยนเป็นวิปัสสนา อย่างนั้นต้องอธิบายอารมณ์ทุกขณะเลยครับ ก็จะต้องใช้เวลาอธิบายมากและจะเต็มไปด้วยรายละเอียดจนเกินไป  ซึ่งความจริงแล้วผมก็อธิบายแล้วแต่ต้น ซึ่งคุณ jukapun อาจจะยังไม่ได้อ่าน หรืออ่านผ่านๆ ดังนั้นผมขอจับประเด็นขึ้นมาอีกที่หนึ่ง
   (ความจริงแล้วถ้าคุณ jukapun อ่านที่คุณ chai999 ถามเรื่องการเพ่งเป็นบัญยัติ เป็นสมถะ แล้ว มารู้เท่าทันจิต แยกออกจากบัญยัติที่เพ่ง กับจิตที่รู้ แล้วรู้จิตในจิต ก็จะเป็นวิปัสสนาต่อไป)

   ขอโทษที่ เมื่อดูเวลาที่ คุณ chai999 ส่งข้อมูล กับคุณ jukapun ส่งข้อมูล นั้นเวลาใกล้กัน คงยังไม่ได้อ่าน

   ต่อไปผมจะตอบในรายละเอียดโดยเฉพาะ แต่ไม่ใช่ทุกขณะที่เล่านะครับ ซึ่งมีปัญหาอยู่ที่ว่า คุณjukapun จะมีความเข้าใจวิปัสสนาญาณ หรือเรื่องรูป-นาม แค่ใหน และเข้าใจคำว่าจิตบัญยัติขึ้นสร้างขึ้นแค่ใหน
      เริ่มจากวิปัสสนาญาณแรก  นามรูปปริเฉทญาณ  คือรู้รูป-รู้นาม ตามความเป็นจริง แต่ตามภาษาทั่วไปกล่าวว่า แยกรูป-แยกนามได้ ก็จะเป็นวิปัสสนาญาณ
      ตัวอย่างขณะใดที่ ผมมีสติรู้ว่าหายใจออก หายใจเข้า ตรงโพรงปลายจมูก และมีสติมาสัมปัญโยอย่างละเอียด รู้ได้อย่างละเอียด ขณะที่ลมกระทบโพรงจมูกเป็นรูป และความรู้ว่าลมกระทบเป็นนาม แต่นามต้องรู้ละเอียดไปกว่านั้น คือต้องรู้ว่ากระทบนานหรือไม่นาน ชัดหรือไม่ชัด แรงหรือเบา คือความรู้เท่าทันที่เป็นปัจจุบัน ไม่ใช่ไปนึกคิดแยกอยู่นะครับ  ก็จะเป็นวิปัสสนา
     (แต่สำหรับผู้ที่ไม่เคยเป็นมาก่อนหรือไม่รู้ว่าแยกรูปแยกนามเป็นอย่างไร ก็ต้องฝึกให้เจริญสติอย่างต่อเนื่อง และเข้าใจคำว่า รูป กับ นามก่อน  เมื่อพละทั้ง 5 เจริญขึ้น ปัญญาก็จะรู้จักรูป รู้จักนาม ตามสภาพความจริงที่ปรากฏเป็นปัจจุบันๆ นั้น)
     แต่ขณะใดที่ ผมมีสติรู้ว่าหายใจออก หายใจเข้า ตรงโพรงปลายจมูก วางใจเพียงแต่รู้สักแต่รู้ หาได้มีสติปัญญาเห็นถึงความละเอียดสภาพแห่งความเป็นจริง มุ่งสู่ความสงบและความเป็นหนึ่ง ลมที่กระทบโพรงจมูกกับรู้ลมกระทบเหมือนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไม่แยกจากกัน จิตก็จะบัญยัติ ตำแหน่งหรือบริเวณขึ้นในจุดที่เพ่ง ก็จะกลายเป็นสมถะ พัฒนาเป็นอุปจารสมาธิและฌานต่อไป

    ดังนั้นในเวลาที่ผมปฏิบัติและอธิบายตอนนี้ เมื่อใช้อานาปานสติ ก็ใช้ทั้ง สมถะและวิปัสสนาประกอบกันไป ผสมประสานกันไป เป็นเพราะทั้งแต่เด็กผมฝึก พุทธ - โธ หายใจเข้า หายใจออกเป็นเวลา 10 ปี และเป็นสมถะล้วนๆ ตามประสาเด็ก เมื่อมาฝึก ยุบหนอ - พองหนอ ซึ่งเป็นการพัฒนาสติ และปรับความสมดุลย์ของพละ 5 และแยกรูปแยกนามได้แต่ผมก็ยังอาศัยลมหายใจเป็นหลัก ตลอดเวลาเกือบปี สมถะและวิปัสสนาก็ควบคู่กันไป โดยที่ไม่รู้วิธีปฏิบัติอานาปานสติครบทั้ง 16 จตุกะหรือ 16 ขั้นตอน(เพราะไม่รู้จริงๆ ไม่มีใครสอนไม่มีใครบอก) ตามที่ผมเล่าแล้วเรื่องเมื่อปี พ.ศ 2526 แล้วหยุดไป ไม่ใช่ลมหายใจอีกเลย เพื่อให้ครบตามแบบ ยุบหนอ - พองหนอ ติดต่อเป็นเวลาประมาณ 10 กว่า ปี  แต่ในภายหลังได้อ่านในพระสูตรในพระไตรปิฏก ว่าอานาปานสติเมื่อปฏิบัติอย่างสมบูรณ์แล้วก็เป็นสติปัฏฐาน 4 แต่ต้องเป็นไปตาม 16 จตุกะ หรือ 16 ขั้น ตามพุทธพจน์ ผมจึงมั่นใจลองทำดูเพื่อให้ผ่านจุดที่เคยค้างไว้ ดังนั้นวิปัสสนาญานจะเกิดได้ทุกช่วงถ้าผมวางใจไปรู้ความเป็นจริงของรูปและนามที่เป็นปัจจุบันในขณะที่ปฏิบัติ จึงผสมประสานกันอยู่

    ผมก็ไม่ทราบว่าคุณ jukapun  เข้าใจดังที่ผมอธิบายหรือเปล่า  แต่ถ้าคุณ jukapun เข้าใจเรื่องรูป เรื่องนาม ที่ปรากฏในสภาพแห่งความเป็นจริง ในขณะที่เป็นปัจจุบันนั้น ก็จะพอเข้าใจได้ ในเรื่องของวิปัสสนา
     และเข้าใจว่า เมื่อเพ่งให้เป็นหนึ่งอย่างเดียวทุกๆ ขณะ และเห็นความเป็นอันเดียวกันโดยตลอด ไม่รู้รูปและนาม หรือรู้นามในนาม(จิตในจิต) เพื่อเป็นวิปัสสนา ก็เป็นสมถะที่จิตบัญญัติกำหนดหมายเพื่อเป็นหนึ่งของอารมณ์และจิต

    ผมได้จับประเด็นให้คุณ jukapun ทราบการปฏิบัติของผมแล้วนะครับ

      แต่อานาปานาสติ เมื่อปฏิบัติตาม 16 จตุกะ หรือ 16 ขั้น ก็จะสมบูรณ์เป็นสติปัฏฐาน 4 เอง โดยหล่อเลี้ยงด้วยสมถะก่อนในตอนต้นและเป็นสติปัฏฐาน 4 อย่างสมบูรณ์ในตอนจตุกะหลังๆ  อยู่ที่ว่าปัญญาจะแยกรูปแยกนามยกเป็นวิปัสสนาญาณได้หรือเปล่าเท่านั้นครับ แต่ตามหลักของพระสูตรอานาปานสติแล้ว จะทำให้เกิดปัญญาแยกรูปแยกนามได้ด้วยการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องนั้นครับ ถ้าไม่มีอะไรมาทำให้ผิดทางหรือขัดข้อง

ตอบโดย: Vicha 02 ก.พ. 49 - 11:45


     อนุโมทนาครับคุณวิชา    ในคำแนะนำที่จะลงไปทางสมาธิต่อเนื่องไป   แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นประโยชน์จริงก็ตรงประสบการณ์ที่คุณวิชาอธิบายตรงอานาปาณสติจากประสบการณ์จริงมาให้พวกเราได้เข้าใจ   หายากมากครับโดยเฉพาะที่มาทางสายสมถะยนิกะเช่นคุณวิชา    โดยในส่วนตัวของผมนั้นเข้าใจในสิ่งที่คุณวิชาได้อธิบายไว้ทั้งทางสมถะ  และวิปัสสนา   เว้นเฉพาะตรงที่เป็นณานที่ยังไม่เคยเห็น

อ้างอิง
      ประสบการณ์ที่ปฏิบัติตรงนี้คือ เมื่อกำหนดอยู่จะมีสติที่ชัดเจน ไปพักหนึ่ง หลังจากนั้นก็เกิด สันสติขาด ให้เห็นอย่างชัดเจน

    อ่านตรงนี้แล้วขนลุกครับ  (เกิดปิติ)   เพราะช่วงที่ผลิกขึ้นวิปัสสนา กำลัง เห็นตัวรู้อยู่นั้น  ก็เห็นสันตติขาดอย่างที่คุณวิชาอธิบายไว้จริงๆ    หลังจากขาดแล้วจึงเห็นสภาวะข้างในคือสภาวะของนามธรรม   อธิบายง่ายๆคือหลังสันตติขาดแล้ว  จึงเห็นสภาวะที่อยู่ข้างในนั้น  คือตัวรู้นั่นเอง    ผมเองก็ลืมสภาวะตรงนี้เสียสนิทนึกได้อีกทีตอนที่มาอ่านคุณวิชาอธิบายไว้

      คุณวิชาครับ  ช่วงหลังเวลาจะทำสมถะผมค่อยๆย้ายจุดเพ่งจากท้องมาที่จุดกระทบตรงโพรงจมูก   ใหม่ๆจะลำบากหน่อยเพราะมันไปเกาะที่ท้องจนเคย   ระยะหลังก็เริ่มชินแล้ว  เมื่อไม่นานมานี้เองได้เข้ามาอ่านบทความเรื่องอนาปาณสติในลานธรรมนี้แหละไม่รู้ว่าอยู่หน้าไหนแล้ว   ท่านอธิบายถึงให้รู้เย็น  รู้อุ่นตรงจุดกระทบ รู้พร้อมให้ลึกหายลงไปที่จุดกระทบนั้น   ผมเลยลงไปทำดู  มันดิ่งลงไปตรงจุดนั้นจริงๆ   หายลงไปรู้สึกเหมือนเป็นเกลียวคลื่นค่อยๆหมุนลึกลงไป   ผมกำหนดรู้อย่างกลางๆตามลงไป  หูค่อยๆอื่อลงๆ   ตอนนี้มันไม่หมุนตลบแล้ว ได้เพียงเท่านั้น    หากมีเวลาจะค่อยๆฝึกตรงนี้ดู   ในความคิดของผมทางลงตรงนี้น่าจะลงถูกทาง  เพราะมันลงอย่างรวดเร็วอย่างสบายๆ    เหตุที่ยังกลับมาทำสมถะนั้นเพราะจะเอาไว้เป็นความรู้ครับเพราะฐานกำลังของผมเริ่มที่นั่น

     อนุโมทนาและขอบคุณ คุณวิชาอีกครั้งครับ
 

ตอบโดย: chai999 02 ก.พ. 49 - 16:09


- ขอสอบความเข้าใจของผมเองก่อนครับ...
  ที่ว่า...การเพ่ง...เป็นจิตบัญญัติ (ถ้าเรียกว่า สมมติ จะผิดความหมายหรือไม่ครับ?) คือ เราตั้งใจ - กำหนดไว้ - คิดเอง
  เช่นว่า  เพ่งตรงจุดผัสสะ...จุดกระทบของลม และ คอยดึงสติกลับมาไม่ให้หนีไปไหน...จนสงบ...จะเป็นสมถะ

  หากว่า   เราตั้งใจ - กำหนดไว้ - คิดเอง (เหมือนเดิม)
  แต่ถ้าตั้งใจไม่มั่นหลุดจากจุดกระทบอันเป็นที่ตั้งของสติ....ขาดความตั้งใจไป...
  แต่อาจไปเห็นนาม-รูป (วิปัสสนาญาณ) หรือ คิดฟุ้งซ่านไป แล้วแต่บางคน
  เป็นได้ไหมครับ (หรือไม่ได้เพราะอย่างน้อยต้องเป็นขณิกสมาธิ)
   

- อานาปานสติขั้นที่ 1, 2, 3, 4 ถ้าจะเทียบกับ วิตก-วิจาร  (เริ่มเคาะระฆัง-เสียงระฆังกังวาล  / นกกระพือปีก - ร่อนถลาลม)
  เทียบได้อย่างไร

- ขณิก กับ อุปจาระ ต่างกันที่ความนานในการทรงอยู่ได้นาน หรือว่า ระดับความสงบลึกของสมาธิ

- หากหายใจสุดที่ท้องแล้ว  หยุดกลั้นหายใจจะเป็นอุปสรรคในการพัฒนาสมาธิ (น่าจะหมายถึง ฌาณ) ให้สูงขึ้น
  เพราะเป็นการบังคับลมจริงหรือไม่อย่างไร

- บางท่านสามารถกระจายลมปราณไปถึงจุดตันเถียน [( ตั้งชั้ง ) - ต่ำกว่าสะดือประมาณ 2 นิ้ว) ]
  ทั้งระบายลมออก ทางแขน,ขา,รูขุมขน, ทั้งรู้สึกตัวทั่วพร้อม  ทำได้อย่างไร

ถ้าสะดวกช่วยตอบด้วยนะครับ...ขอบคุณครับ

ตอบโดย: ธนัส 02 ก.พ. 49 - 16:36


พอดียังไม่ได้ไปไหน ยังวนอยู่ในลานธรรม จึงขอตอบคุณธนัส จาก
อ้างอิง
- ขอสอบความเข้าใจของผมเองก่อนครับ...
  ที่ว่า...การเพ่ง...เป็นจิตบัญญัติ (ถ้าเรียกว่า สมมติ จะผิดความหมายหรือไม่ครับ?) คือ เราตั้งใจ - กำหนดไว้ - คิดเอง
  เช่นว่า  เพ่งตรงจุดผัสสะ...จุดกระทบของลม และ คอยดึงสติกลับมาไม่ให้หนีไปไหน...จนสงบ...จะเป็นสมถะ

  หากว่า   เราตั้งใจ - กำหนดไว้ - คิดเอง (เหมือนเดิม)
  แต่ถ้าตั้งใจไม่มั่นหลุดจากจุดกระทบอันเป็นที่ตั้งของสติ....ขาดความตั้งใจไป...
  แต่อาจไปเห็นนาม-รูป (วิปัสสนาญาณ) หรือ คิดฟุ้งซ่านไป แล้วแต่บางคน
  เป็นได้ไหมครับ (หรือไม่ได้เพราะอย่างน้อยต้องเป็นขณิกสมาธิ)
 

- อานาปานสติขั้นที่ 1, 2, 3, 4 ถ้าจะเทียบกับ วิตก-วิจาร  (เริ่มเคาะระฆัง-เสียงระฆังกังวาล  / นกกระพือปีก - ร่อนถลาลม)
  เทียบได้อย่างไร

- ขณิก กับ อุปจาระ ต่างกันที่ความนานในการทรงอยู่ได้นาน หรือว่า ระดับความสงบลึกของสมาธิ

- หากหายใจสุดที่ท้องแล้ว  หยุดกลั้นหายใจจะเป็นอุปสรรคในการพัฒนาสมาธิ (น่าจะหมายถึง ฌาณ) ให้สูงขึ้น
  เพราะเป็นการบังคับลมจริงหรือไม่อย่างไร

- บางท่านสามารถกระจายลมปราณไปถึงจุดตันเถียน [( ตั้งชั้ง ) - ต่ำกว่าสะดือประมาณ 2 นิ้ว) ]
  ทั้งระบายลมออก ทางแขน,ขา,รูขุมขน, ทั้งรู้สึกตัวทั่วพร้อม  ทำได้อย่างไร

ถ้าสะดวกช่วยตอบด้วยนะครับ...ขอบคุณครับ


จากคำถาม  ที่ว่า...การเพ่ง...เป็นจิตบัญญัติ (ถ้าเรียกว่า สมมติ จะผิดความหมายหรือไม่ครับ?) คือ เราตั้งใจ - กำหนดไว้ - คิดเอง
  เช่นว่า  เพ่งตรงจุดผัสสะ...จุดกระทบของลม และ คอยดึงสติกลับมาไม่ให้หนีไปไหน...จนสงบ...จะเป็นสมถะ
       
  ตอบ การเพ่ง เป็นจิตบัญญัติ หรือเรียกว่าจิตสมมุติขึ้นก็ได้ครับ  ถ้าเพ่งตรงเพื่อเป็นหนึ่ง จะเป็นสมถะครับ
    แต่ถ้ากำหนดตามบริเวณที่ปรากฏชัด เพื่อรู้เท่าทันเป็นปัจจุบัน ไม่รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ลมกระทบยาวก็รู้ว่ายาว ลมกระทบสั้นก็รู้ว่าสั้น โดยมีสตินำ สมาธิตาม ปัญญาแยกแยะภาวะต่างๆ ที่ปรากฏตามความเป็นจริง ก็จะพัฒนาขึ้นสู่วิปัสสนาญาณได้

จากคำถาม     หากว่า   เราตั้งใจ - กำหนดไว้ - คิดเอง (เหมือนเดิม)
  แต่ถ้าตั้งใจไม่มั่นหลุดจากจุดกระทบอันเป็นที่ตั้งของสติ....ขาดความตั้งใจไป...
  แต่อาจไปเห็นนาม-รูป (วิปัสสนาญาณ) หรือ คิดฟุ้งซ่านไป แล้วแต่บางคน
  เป็นได้ไหมครับ (หรือไม่ได้เพราะอย่างน้อยต้องเป็นขณิกสมาธิ)
  
ตอบ เราตั้งใจ กำหนดไว้  กับ คิดเอง นั้นคนละอย่างกันนะครับ  เช่นกำหนดรู้ที่ฐานใดฐานหนึ่ง บริเวณโพรงปลายจมูก หรือที่ ผนังท้อง หรือที่ได้ยินเสียง ตัวรู้ตัวจ้องก็จะไปตั้งอยู่ตรงบริเวณนั้น ตัวความคิดก็เป็นอีกส่วนหนึ่งไม่เกียวกัน ลองปฏิบัติสังเกตุดูก็จะเห็น
     เมื่อขาดความตั้งใจไปแต่อาจไปเห็นนาม-รูป เป็นไปไม่ได้ใหญ่เลยครับ
    แต่ถ้าลดการเพ่งให้เป็นหนึ่งคลายลงเป็น ขณิกะสมาธิ ก็อาจจะทำให้เห็น นาม-รูป แยกกันได้ตามปัญญานั้นได้ครับ

จากคำถาม  - อานาปานสติขั้นที่ 1, 2, 3, 4 ถ้าจะเทียบกับ วิตก-วิจาร  (เริ่มเคาะระฆัง-เสียงระฆังกังวาล  / นกกระพือปีก - ร่อนถลาลม)
  เทียบได้อย่างไร

ตอบ ไม่เข้าใจคำถามเท่าไร? แต่ผมไม่เทียบอย่างนั้นครับ แล้วแต่ภาวะที่เด่นชัดในขณะปฏิบัติครับ

จากคำถาม - ขณิก กับ อุปจาระ ต่างกันที่ความนานในการทรงอยู่ได้นาน หรือว่า ระดับความสงบลึกของสมาธิ

ตอบ ต่างจากกันตรงที่ ระดับความลึกของสมาธิครับ  เพราะขณิกนั้นสามารถต่อเนื่องทรงอยู่ได้นานก็ได้ ตามการกำหนดกรรมฐาน

จากคำถาม - หากหายใจสุดที่ท้องแล้ว  หยุดกลั้นหายใจจะเป็นอุปสรรคในการพัฒนาสมาธิ (น่าจะหมายถึง ฌาณ) ให้สูงขึ้น
  เพราะเป็นการบังคับลมจริงหรือไม่อย่างไร

ตอบ ตามที่พระอาจารย์บอก ไม่ใช่การกลั้นหายใจ แต่เป็นเป็นช่วงสุดลมหายใจแล้วหยุดรู้กาย  ก็ลองหายใจดูก็ได้ครับ เมื่อหายใจเข้าก็รู้ว่าลมหายใจเข้า แต่พอจะหมดลมหายใจเข้าก็จะไรรับรู้ที่รางกายช่วงท้องชัดเจนและรูปร่างกายลางๆ ก่อนที่จะหายใจออก ถ้ามีสติดีๆ ก็จะเห็นครับ ลองดูก็ได้เลยครับ

จากคำถาม - บางท่านสามารถกระจายลมปราณไปถึงจุดตันเถียน [( ตั้งชั้ง ) - ต่ำกว่าสะดือประมาณ 2 นิ้ว) ]
  ทั้งระบายลมออก ทางแขน,ขา,รูขุมขน, ทั้งรู้สึกตัวทั่วพร้อม  ทำได้อย่างไร

ตอบ ผมไม่เคยทำครับ แต่ถึงอย่างไรตามสภาพแห่งความเป็นจริงแล้ว ไม่ใช่เอาลมที่หายใจเข้าไปแล้วระบายลมออก ทางแขน ขา รูขุมขน เป็นแต่รู้สึกว่า ลมที่อยู่ตามช่องว่างของร่างกายมันเคลือนไปตามตำแหน่งเหล่านั้น ผมคิดตอบได้เพียงแค่นี้

(ต้องรีบกลับบ้านแล้วครับเลิกงาน ไม่รู้ว่าพิมพ์ไปมากหรือเปล่า)

ตอบโดย: Vicha 02 ก.พ. 49 - 17:15


อ่านคำตอบแล้วได้รู้ได้เข้าใจมากขึ้นครับ
............................................................................................
ที่ถาม เรื่อง วิตก - วิจาร เพราะเคยได้อ่านพบว่า
วิตก  คือ การยกจิต  เทียบได้กับ   เริ่มเคาะระฆัง หรือ นกเริ่มกระพือปีก
วิจาร                       เทียบได้กับ   เสียงระฆังที่กังวาล   หรือ นกบินร่อน
(ตรง วิจาร นี้ ผมนึกไม่ออก)
*--- แต่มันไม่สำคัญเท่ากับหลักปฏิบัติที่ท่าน Vicha ได้แนะนำไว้  ---
.............................................................................................
ตรงที่ผมเข้าใจผิดว่า กลั้นหายใจลมนั้น
ที่แท้ เป็นธรรมชาติของจุดเปลี่ยนจากลม - เข้า - เป็นลม - ออก -
นึกภาพออกแล้วว่าเหมือน การโยนก้อนหิน - ขึ้น - บนท้องฟ้าก่อนที่มันจะ - ตก -
มันจะนิ่งเป็นเสี้ยววินาที โดยไม่ได้มีใครไปบังคับมัน
.............................................................................................
+++
อ้างอิง
ตอบ เราตั้งใจ กำหนดไว้  กับ คิดเอง นั้นคนละอย่างกันนะครับ  เช่นกำหนดรู้ที่ฐานใดฐานหนึ่ง บริเวณโพรงปลายจมูก หรือที่ ผนังท้อง หรือที่ได้ยินเสียง ตัวรู้ตัวจ้องก็จะไปตั้งอยู่ตรงบริเวณนั้น ตัวความคิดก็เป็นอีกส่วนหนึ่งไม่เกียวกัน ลองปฏิบัติสังเกตุดูก็จะเห็น
     เมื่อขาดความตั้งใจไปแต่อาจไปเห็นนาม-รูป เป็นไปไม่ได้ใหญ่เลยครับ
    แต่ถ้าลดการเพ่งให้เป็นหนึ่งคลายลงเป็น ขณิกะสมาธิ ก็อาจจะทำให้เห็น นาม-รูป แยกกันได้ตามปัญญานั้นได้ครับ

+++
ตรงนี้เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับผมในการศึกษาต่อไป

ขอบพระคุณครับ

ตอบโดย: ธนัส 03 ก.พ. 49 - 11:11


สวัสดีครับ
  ผมอ่านดูแล้ว ที่คุณ vicha ทำมาตั้งแต่ต้น ไม่มีส่วนไหนที่เป็นสมถะ เลยใช่หรือป่าวครับ
  คุณ vicha ทำวิปัสนาล้วน ๆ ด้วยอานาปานสติ  ตั้งแต่เริ่ม วิปัสนาญาณที่ 1 เลย
  ผมอ่านแล้วผมเข้าใจอย่างนี้ครับ

  คุณ vicha ทำอานาปานสติ ได้ยอดมากเลยน๊ะครับ ที่ไม่มี อาการเคลิบเคลิ้ม ริบหรี่ ๆ
  มีสติมั่นคง ตลอด ไม่มีเพ่งเลยครับ

  ขออนุโมทนาด้วยครับ
  http://larndham.net/index.php?showtopic=14043&st=79

ตอบโดย: jukapun 04 ก.พ. 49 - 10:34


ครับ ในความคิดเห็นที่ 86  ของคุณ ธนัส

    และขอ ให้คุณธนัส เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปนะครับ

ตอบโดย: Vicha 06 ก.พ. 49 - 10:42


สวัสดีครับคุณ jukapun
   วันนี้มีโอกาศได้เข้ามาตอบ คุณ jukapun

จากคำถามหรือข้อสังเกตุของคุณ  jukapun

 ผมอ่านดูแล้ว ที่คุณ vicha ทำมาตั้งแต่ต้น ไม่มีส่วนไหนที่เป็นสมถะ เลยใช่หรือป่าวครับ
  คุณ vicha ทำวิปัสนาล้วน ๆ ด้วยอานาปานสติ  ตั้งแต่เริ่ม วิปัสนาญาณที่ 1 เลย
  ผมอ่านแล้วผมเข้าใจอย่างนี้ครับ

ตอบ ถ้ากล่าวถึงการปฏิบัติตอนนี้ หรือปัจจุบันนี้ก็ถูกต้องครับ ถ้ากล่าวถึงเมื่อตอนปฏิบัติปี 2526 นั้นไม่ถูกต้องครับ เพราะมีการประสมประสานกันอยู่ระหว่าง สมถะและวิปัสสนา ในช่วงที่อาศัยลมหายใจในการภาวนา แรกๆ

และจากข้อความ
  คุณ vicha ทำอานาปานสติ ได้ยอดมากเลยน๊ะครับ ที่ไม่มี อาการเคลิบเคลิ้ม ริบหรี่ ๆ
  มีสติมั่นคง ตลอด ไม่มีเพ่งเลยครับ

ตอบ คงไม่ใช่ดังที่คุณ jukapun กล่าวหรอกครับ ผมก็มีอาการเพ่งอยู่บ้างบางครั้งครับ และมีอาการวูบลงภวังค์ เข้าสมาธิอยู่ครับ และริบหรี่ๆ ที่เหลืออยู่แต่ใจ ไม่รับรู้ร่างกาย ในบางครั้งครับ
    ส่วนสติก็ไม่ได้มั่นคงตลอดเวลา  เพราะการมีครอบครัว และศีลก็ยังด่างยังพล้อยอยู่บ้างครับ
 

ตอบโดย: Vicha 06 ก.พ. 49 - 10:57


อ้างอิง
ตอบ คงไม่ใช่ดังที่คุณ jukapun กล่าวหรอกครับ ผมก็มีอาการเพ่งอยู่บ้างบางครั้งครับ และมีอาการวูบลงภวังค์ เข้าสมาธิอยู่ครับ และริบหรี่ๆ ที่เหลืออยู่แต่ใจ ไม่รับรู้ร่างกาย ในบางครั้งครับ
    ส่วนสติก็ไม่ได้มั่นคงตลอดเวลา  เพราะการมีครอบครัว และศีลก็ยังด่างยังพล้อยอยู่บ้างครับ

อย่างนี้ละมัง ที่เรียกว่ามีสติที่ยังคงมั่นคงอยู่ เพราะมีอาการเพ่ง ก็รู้ว่าเพ่ง วูบลงภวังค์เข้าสมาธิอยู่ ไม่รับรู้ร่างกายในบางครั้ง ก็รู้เช่นอาการที่ปรากฏ

สาวิกาได้รับประโยชน์จากกระทู้นี้มากเลยค่ะ วันนี้ถือโอกาสมารายงานตัวให้ทราบค่ะว่าเป็นผู้ติดตามคนหนึ่งเหมือนกัน


                                          
 

ตอบโดย: สาวิกา 06 ก.พ. 49 - 11:23


   ขอบคุณ คุณสาวิกา ที่ติดตามกระทู้นี้ครับ

     ความจริงกระทู้นี้ผมไม่ประสงค์ให้ไปอย่างรวดเร็ว เพราะถ้าไปอย่างรวดเร็วจะทำให้ผู้มาอ่านไม่สามารถทำความเข้าใจได้อย่างชัดเจน
     ผมก็จะคุยต่อจากความเห็นที่ 77-78 นะครับ ซึ่งจะมาขึ้นสู่จตุกะที่ 5 คือ

  ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก เป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า

       ก็จะมีคำถามขึ้นว่าระงับกายสังขารอย่างไร?

      การระงับการสังขารนั้นที่ผมพอทำความเข้าใจหรือรู้แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ
       1. ระงับกายสังขารที่ผิดปกติ เช่น ฟุ้งซ้าน คิดมาก  หรือเกิดโทสะ ขัดเคือง ซึมๆ เหนือยหน่าย กำหนดกายให้เป็นปกติไม่ได้ง่าย  ตรงนั้ก็ต้องอาศัยการหายใจลึกๆ หนักๆ ออกและเข้า เพื่อระงับกายที่ไม่เป็นปกิตเหล่านั้น ถ้ากล่าวในแง้ที่ลึกไป บางครั้งกายเป็นปกติก่อน แล้วใจเป็นปกติ บ้างคร้งใจเป็นปกติก่อนแล้วกายเป็นปกิต
      2. ระงับการสังขารที่เป็นปกติ ให้สงบนิ่ง เบาโล่ง สบาย  ตรงนี้ก็ต้องอาศัยการหายใจเบาสบายละเอียด ก็จะเริ่มมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ในขณะที่รู้ภาวะหายใจออก หายใจเข้า ตรงส่วนที่ร่างกายรู้กองลมชัดเจน

    คราวนี้มีปัญหาว่า จากจตุกะที่ 1 ถึงที่ 5 นี้ จะเกิดมีวิปัสสนาญาณได้ไหมสำหรับผู้ปฏิบัติใหม่ๆ ?
    
    การจะเกิดวิปัสสนาญาญได้ นั้นต้องมีสติเท่าทันแยกรูปแยกนามได้
         แต่ถ้ามุ่งแต่อารมณ์เป็นหนึ่งสงบอย่างเดียว จนถึงจตุกะที่ 5 ถึงแม้จะมีสติละเอียดขึ้นสามารถเป็นได้เพียงสมถะอย่างเดียว
         แต่ถ้ามีการพัฒณาสติโดยการกำหนดอริยาบทใหญ่และอริยาบทย่อยด้วย  ก็จะมีสตินำสมาธิ ก็อาจจะสามารถแยกรูปแยกนามได้(ผมคงไม่ต้องเน้นอีกทีนะครับว่า แยกรูป-แยกนาม อย่างไรนะครับ เพราะกล่าวไว้มากแล้วในความเห็นเก่า) เป็นกายานุปัสสนา คือสติปัฏฐาน 4 ข้อที 1 กายในกาย

      ขั้นต่อไป สำหรับผู้ที่ระงับกายสังขารได้ หายใจออก หายใจเข้า  ภาวะของสมาธิก็จะบริบูรณ์ขึ้น เป็นหนึ่งขึ้น(เอกคตา)ก็จะเจริญขึ้นสู่ อุปจาระสมาธิ จนถึงอัปปนาสามาธิของฌานที่ 1 ตามแต่กำลัง

     ดังนั้นสมาธิระดับฌานก็จะปรากฏได้ก็ในจตุกะที่ 5  นี้เอง ส่วนวิปัสสนาญาณถ้าเกิดได้ก็เกิดได้ตั้งแต่ จตุกะที่ 2 มาแล้ว

     ขอจบความเห็นเพียงแค่นี้ก่อนนะครับ
 

ตอบโดย: Vicha 07 ก.พ. 49 - 14:25


สวัสดีครับ ถ้าสะดวก ช่วยขยายความอธิบายในข้ออื่นอีกสิครับ
ผมรออ่านอยู่ เพิ่งถึง

...ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจเข้า

ขอสอบความเข้าใจของผมก่อน คือ...แต่ก่อนนึกว่าต้องเพ่งจุดเดียว แต่ท่าน Vicha ว่า...เพ่งจุดที่ชัดมาก-น้อยทั้งสอง
แล้วมันจะมารวมเป็นจุดเดียว (นั่นคือไป ข้อระงับกายสังขาร แล้วใช่ไหมครับ ?)
? ตรงดูอาการพองยุบที่ผนังท้อง คล้ายกับเป็นการ เจริญสติปัฏฐาน ข้อ อิริยาปถบรรพ หรือ/ สัมปชัญญบรรพ (? ไม่แน่ใจ ?)..ไปด้วยหรือเปล่าครับ

ที่ผมกลับไปลองทำก็  - ไม่ได้อยากสงบ (ปลงแล้ว) จะได้สงบ (สงบจาก -ความโลภ ...ฯ)
จุดกระทบจะชัดที่โพรงจมูก   < - > ผนังหน้าท้อง  ;  สักครู่จะชัดที่โพรงจมูกมากกว่า
ทำตามสบายแกว่งไปมาระหว่าง  โพรงจมูก   <-->  ผนังหน้าท้อง
ไม่บังคับลมหายใจ มันเบาลงแต่สักพักต้องสูดลมหายใจยาวยาวสักทีจึงจะสบาย
แล้วความปวด-เมื่อย-เหน็บ ก็ค่อยมา  มาให้ดูทุกขเวทนา  สักพักทนไม่ไหวก็เลิก

ช่วยขยายความต่อตรง

...ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก เป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า

ถึงผมยังทำไม่ได้แต่ก็อยากทราบครับ

ต้องได้สมาธิระดับฌาณก่อนถึงทำได้ใช่ไหมครับ
แล้ว ฌาณ 1 ก็ยังมีลมหายใจอยู่...ในเมื่อกายสังขารในที่นี้ คือ ลมหายใจ
ระงับกายสังขารหายใจเข้า...คือ   ระงับ จริงๆ หรือพยายามทำให้ละเอียดครับ
ถ้าระงับจริงๆ ก็ ฌาณ 4 ใช่ไหมครับ  ถ้าใช่แล้วเราก็ไม่เห็นลมหายใจนะสิ
[ ผมคาดว่า จตุกกะที่ 1 ( ขั้น 1- 4  ) ไปได้ถึงฌาณ 4 ]
แต่พอเข้า  จตุกกะที่ 2 ( ขั้น 5- 8 )  ต้องกลับมาที่ ฌาณ 1
เพราะ ต้องใช้องค์ฌาณ เช่น ปิติ สุข เอกัคคตา เป็นอารมณ์ (ถ้าผิดกรุณาช่วยขัดหน่อยนะครับอย่าปล่อยผมรู้ผิดผิด)

ทราบว่า ท่านทำได้ถึง จตุกกะที่ 4 ( ขั้น 13- 16 ) ข้อ 16 นั้น สละคืน  ...เทียบได้กับการผ่านวิปัสสนาญาณ 16 หรือเปล่าครับ

คือ ถ้าใช้อานาปานสติ เจริญสติปัฏฐานสี่ จะต้องได้ฌาณด้วย  ผมเข้าใจถูกหรือเปล่าครับ
 
บางครั้งผมไปอ่านหนังสือแล้วมาถาม...ฟุ้ง...ถ้านอกประเด็นขออภัยครับ
   

ตอบโดย: ธนัส 07 ก.พ. 49 - 15:04


ขออภัยผม...พืมพ์แล้ว Copy มา Post แต่ท่าน Vicha มา Post  ไว้แล้วไม่ทันดูก่อน

ตอบโดย: ธนัส 07 ก.พ. 49 - 15:12


ตอบคำถามคุณ ธนัส

จากคำถาม
ขอสอบความเข้าใจของผมก่อน คือ...แต่ก่อนนึกว่าต้องเพ่งจุดเดียว แต่ท่าน Vicha ว่า...เพ่งจุดที่ชัดมาก-น้อยทั้งสอง
แล้วมันจะมารวมเป็นจุดเดียว (นั่นคือไป ข้อระงับกายสังขาร แล้วใช่ไหมครับ ?)

ตอบ
ครับ ใช่ครับเป็นการระงับกายสังขาร จะเพ่งจุดเดียวก็ได้ หรือที่ชัดมาก-ชัดน้อยทั้งสองก็ได้  แต่ที่เป็นชัดมาก-ชัดน้อยต้องเป็นผู้ที่เคยผ่านมาแล้วครับ  ดังนั้นผู้ที่ฝึกยังไม่ผ่านฌาณ หรือยังใหม่ควรเป็นบริเวณเดียว(หรือเป็นจุดก็ได้ตามภาวะครับ)

จากคำถาม
? ตรงดูอาการพองยุบที่ผนังท้อง คล้ายกับเป็นการ เจริญสติปัฏฐาน ข้อ อิริยาปถบรรพ หรือ/ สัมปชัญญบรรพ (? ไม่แน่ใจ ?)..ไปด้วยหรือเปล่าครับ

ตอบ
   ครับก็เป็นด้วยครับ

จากข้อความที่ว่า
ที่ผมกลับไปลองทำก็  - ไม่ได้อยากสงบ (ปลงแล้ว) จะได้สงบ (สงบจาก -ความโลภ ...ฯ)
จุดกระทบจะชัดที่โพรงจมูก   < - > ผนังหน้าท้อง  ;  สักครู่จะชัดที่โพรงจมูกมากกว่า
ทำตามสบายแกว่งไปมาระหว่าง  โพรงจมูก   <-->  ผนังหน้าท้อง
ไม่บังคับลมหายใจ มันเบาลงแต่สักพักต้องสูดลมหายใจยาวยาวสักทีจึงจะสบาย
แล้วความปวด-เมื่อย-เหน็บ ก็ค่อยมา  มาให้ดูทุกขเวทนา  สักพักทนไม่ไหวก็เลิก

ตอบแนะนำนะครับ
   ต้องเดินจงกรมบ้างนะครับ กำหนดอริยาบทย่อยบ้างนะครับ เพื่อให้สติเจริญขึ้น ปรับภาวะร่างกายเลือดลมและเส้นต่างๆ ให้เป็นปกติ  และที่สำคัญพละทั้ง 5 ก็จะถูกปรับให้สมดูยล์ขึ้น
   และเมื่อระยะแรกรู้อยู่สองบริเวณที่ผมกล่าว  แต่เมื่อสมาธิดีขึ้นก็จะมารู้ชัดที่บริเวณเดียว ก็เลิกหรือวางการสนใจในบริเวณที่ไม่ชัดนั้นเสีย

จากข้อความที่ว่า
ช่วยขยายความต่อตรง

...ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก เป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า

ตอบตรงที่ให้ช่วยขยายความ
   การระงับกายสังขาร ก็คือการระงับจากภาวะปกติ ให้สงบเบา สว่าง หล่อเลื้ยงด้วยปิติสุขเล็กๆ จึงจะเข้าสู่อุปจารสมาธิ หรือฌานได้

จากข้อความคำถาม
ถึงผมยังทำไม่ได้แต่ก็อยากทราบครับ

ต้องได้สมาธิระดับฌาณก่อนถึงทำได้ใช่ไหมครับ
แล้ว ฌาณ 1 ก็ยังมีลมหายใจอยู่...ในเมื่อกายสังขารในที่นี้ คือ ลมหายใจ
ระงับกายสังขารหายใจเข้า...คือ   ระงับ จริงๆ หรือพยายามทำให้ละเอียดครับ
ถ้าระงับจริงๆ ก็ ฌาณ 4 ใช่ไหมครับ  ถ้าใช่แล้วเราก็ไม่เห็นลมหายใจนะสิ
[ ผมคาดว่า จตุกกะที่ 1 ( ขั้น 1- 4  ) ไปได้ถึงฌาณ 4 ]
แต่พอเข้า  จตุกกะที่ 2 ( ขั้น 5- 8 )  ต้องกลับมาที่ ฌาณ 1
เพราะ ต้องใช้องค์ฌาณ เช่น ปิติ สุข เอกัคคตา เป็นอารมณ์ (ถ้าผิดกรุณาช่วยขัดหน่อยนะครับอย่าปล่อยผมรู้ผิดผิด)
 
ขอตอบตรงนี้เป็นส่วนๆ นะครับ
  ต้องได้สมาธิระดับฌาณก่อนถึงทำได้ใช่ไหมครับ
  ตอบ  ตรงนี้ผมไม่เข้าใจคำถามครับ

  แล้ว ฌาณ 1 ก็ยังมีลมหายใจอยู่...ในเมื่อกายสังขารในที่นี้ คือ ลมหายใจ
  ตอบ เมื่อเข้าอัปปนาสมาธิของ ฌาน 1 ก็ย่อมทิ้งลมหายใจไปแล้วไม่ไปรับรู้แล้วว่าหายใจหรือไม่หายใจ เมื่ออยู่ในองค์ฌาน 1 ก็ย่อมรู้ว่ามีลมหายใจแผ่วเบา เมื่อไปรู้กองลม ถ้าไม่สนใจก็อยู่ในองค์ฌาน 1 นั้น ไม่ไปรับรู้กายหรือก่องลม
  
   ระงับกายสังขารหายใจเข้า...คือ   ระงับ จริงๆ หรือพยายามทำให้ละเอียดครับ
    ตอบ ถ้าการสังขารไม่เป็นปกติ ก็ระงับให้เป็นปกติ  ถ้าการสังขารปกติ ระงับ ให้สงบ หรือน้อมอยู่ในความสงบเบา หรือปีติสุขในความสงบนั้น ความระเอียดจะระเอืยดเองไม่ต้องไปพยายาม แต่รู้น้อมใจและรักษาไว้ ก็จะพัฒนาละเอียดขึ้นครับ

    ถ้าระงับจริงๆ ก็ ฌาณ 4 ใช่ไหมครับ  ถ้าใช่แล้วเราก็ไม่เห็นลมหายใจนะสิ
    ตอบ เข้าใจผิดแล้วครับ ฌาน 4 คือไม่มีลมหายใจปรากฏจริงๆ ไม่ใช่เราไม่เห็นลมหายใจ เพราะเราไม่รับรู้ลมหายใจ แต่ก็ยังหายใจอยู่โดยที่เราไม่รู้เพราะสติไม่ละเอียดสมาธิไม่สมบูรณ์ก็เป็นได้ครับ
 
     [ ผมคาดว่า จตุกกะที่ 1 ( ขั้น 1- 4  ) ไปได้ถึงฌาณ 4 ]
     แต่พอเข้า  จตุกกะที่ 2 ( ขั้น 5- 8 )  ต้องกลับมาที่ ฌาณ 1
เพราะ ต้องใช้องค์ฌาณ เช่น ปิติ สุข เอกัคคตา เป็นอารมณ์ (ถ้าผิดกรุณาช่วยขัดหน่อยนะครับอย่าปล่อยผมรู้ผิดผิด)
    ตอบ ตามที่ผมเข้าใจถ้าเป็นไปตามอานาปานสติจริง คงไม่น่าใช่ ถ้าเป็นอุปจารสมาธิหรือฌาน 1 อาจจะใช่ แล้วทำให้รู้จักระงับกายสังขารได้ดีขึ้น แล้วจะขึ้นสู่ จตุกะที่ 5 ได้ดีขึ้น เพื่อพัฒนาต่อสู่ จตุกถที่ 6  แต่ก็แล้วแต่บางที่อาจจะได้ ฌาน 1- 2- 3 - 4 ตามลำดับ ก็ได้ แล้วค่อยมาต่อจตุกะที่ 6 แต่ลักษณ์อารมณ์ขององค์ฌานคงกระโดดน่าดู สำหรับผนนั้นเมื่อปี 2526 ค่อยเรียงไปตามลำดับ จนงดการปฏิบัติอานาปานสติ

จากคำถามช่วงหลัง
  ทราบว่า ท่านทำได้ถึง จตุกกะที่ 4 ( ขั้น 13- 16 ) ข้อ 16 นั้น สละคืน  ...เทียบได้กับการผ่านวิปัสสนาญาณ 16 หรือเปล่าครับ

ตอบ
  ตามที่ผมเข้าใจในขณะนี้เวลานี้ ปฏิบัติอานาปานสติได้ครับทั้ง 16 จตุกะนั้น ไม่ได้หมายถึงว่า ต้องผ่านวิปัสสนาญาณทั้ง 16 ญาณ นะครับ  แต่มีก็อาจมีผู้ปฏิบัติได้ครบทั้ง 16 จตุกะ แล้วผ่านวิปัสสนาญาณทั้ง 16 ญาณก็มีครับ
    ต่างกันระหว่าง อานาปานสติทั้ง 16 จตุกะ กับ วิปัสสนาญาณ ทั้ง 16 ญาณ นะครับอย่าเอามาปนกันครับ

จากคำถาม
 คือ ถ้าใช้อานาปานสติ เจริญสติปัฏฐานสี่ จะต้องได้ฌาณด้วย  ผมเข้าใจถูกหรือเปล่าครับ

ตอบ
   ก็น่าจะเป็นเช่นนั้นครับ เพราะฐานกำลังสมาธินั้นต่างกันครับ จึงจะเจริญ อานาปานสติครบทั้ง 16 จตุกะ
 

ตอบโดย: Vicha 07 ก.พ. 49 - 16:04


ที่ถาม-ต้องได้สมาธิระดับฌาณก่อนถึงทำได้ใช่ไหมครับ
ผมถามผิดครับ เพราะ ถ้าระงับกายสังขารได้ ก็ - ปฐมฌาณ - ยังมีลมหายใจ แต่ไม่รับรู้ (คงถูกนะครับ)

ขอขอบพระคุณที่ชี้แนะ และให้กำลังใจในเรื่องความเพียร ครับ
 

ตอบโดย: ธนัส 07 ก.พ. 49 - 17:07



                     อุทาน เมฆิยวรรคที่ ๔

                        =========
                          ๑. เมฆิยสูตร
                        =========

      [๘๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
      สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ จาลิกบรรพต ใกล้เมือง
จาลิกา ก็สมัยนั้นแล ท่านพระเมฆิยะเป็นอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาค ครั้งนั้นแล
ท่านพระเมฆิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์ปรารถนาจะเข้าไปบิณฑบาตในชันตุคาม พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกร
เมฆิยะ เธอจงสำคัญเวลาอันควร ณ บัดนี้เถิด ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า ท่านพระ-
เมฆิยะนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังชันตุคามเพื่อบิณฑบาต ครั้นเที่ยวไปใน
ชันตุคามเพื่อบิณฑบาตแล้ว กลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต เข้าไปยังฝั่ง
แม่น้ำกิมิกาฬา ครั้นแล้วเดินพักผ่อนอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ได้เห็นป่ามะม่วงน่า
เลื่อมใส น่ารื่นรมย์ ครั้นแล้วคิดว่า ป่ามะม่วงนี้น่าเลื่อมใส น่ารื่นรมย์จริงหนอ
ป่ามะม่วงนี้สมควรแก่ความเพียรของกุลบุตรผู้มีความต้องการด้วยความเพียรจริงหนอ
ถ้าว่าพระผู้มีพระภาคพึงทรงอนุญาตเราไซร้ เราพึงมาสู่อัมพวันนี้เพื่อบำเพ็ญเพียร
ลำดับนั้นแล ท่านพระเมฆิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม
แล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือ
บาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังชันตุคาม ครั้นเที่ยวไปบิณฑบาตในชันตุคามแล้ว
กลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต เข้าไปยังฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ครั้นแล้วเดิน
พักผ่อนอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ได้เห็นอัมพวันน่าเลื่อมใส น่ารื่นรมย์ จึงได้คิดว่า
อัมพวันนี้น่าเลื่อมใส น่ารื่นรมย์จริงหนอ อัมพวันนี้ สมควรเพื่อความเพียรของ
กุลบุตรผู้มีความต้องการด้วยความเพียรจริงหนอ ถ้าว่าพระผู้มีพระภาคพึงทรง
อนุญาตเราไซร้ เราพึงมาสู่อัมพวันนี้เพื่อบำเพ็ญเพียร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าว่า
พระผู้มีพระภาคจะทรงอนุญาตข้าพระองค์ไซร้ ข้าพระองค์พึงไปสู่อัมพวันเพื่อ
บำเพ็ญเพียร ฯ


      [๘๖] เมื่อท่านพระเมฆิยะกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัส
ว่า ดูกรเมฆิยะ จงรอก่อน เราอยู่แต่ผู้เดียวเธอจงรอยู่จนกว่าภิกษุรูปอื่นจะมา
แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระเมฆิยะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระผู้มีพระภาคไม่มีกิจอะไรๆ ที่พึงทำให้ยิ่ง หรือการสั่งสมอริยมรรคที่
พระองค์ทรงทำแล้วไม่มี แต่ข้าพระองค์ยังมีกิจที่พึงทำให้ยิ่ง ยังมีการสั่งสมอริย-
มรรคที่ทำแล้ว ถ้าว่าพระผู้มีพระภาคจะทรงอนุญาตข้าพระองค์ไซร้ ข้าพระองค์พึง
ไปสู่อัมพวันนั้นเพื่อบำเพ็ญเพียร แม้ครั้งที่ ๒ ... แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า ดูกรเมฆิยะ เราพึงกล่าวอะไรกะเธอผู้กล่าวอยู่ว่า บำเพ็ญเพียร ดูกร
เมฆิยะ เธอจงสำคัญเวลาอันสมควร ณ บัดนี้ ฯ


      [๘๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระเมฆิยะลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มี-
พระภาค กระทำประทักษิณแล้ว เข้าไปยังอัมพวันนั้น ครั้นแล้วได้เที่ยวไปทั่ว
อัมพวัน แล้วนั่งพักกลางวันอยู่ที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง ครั้งนั้น เมื่อท่านพระเมฆิยะ
พักอยู่ในอัมพวันนั้น อกุศลวิตกอันลามก ๓ ประการ คือ กามวิตก พยาบาทวิตก
วิหิงสาวิตก ย่อมฟุ้งซ่านโดยมาก
ครั้งนั้นแล ท่านพระเมฆิยะคิดว่า น่าอัศจรรย์หนอ
ไม่เคยมีมาแล้วหนอ เราออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา แต่กลับถูกอกุศล
วิตกอันลามก ๓ ประการนี้ คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ครอบงำ
แล้ว ครั้งนั้นเป็นเวลาเย็น ท่านพระเมฆิยะออกจากที่เร้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคถึงที่ประทับ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้-
มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เมื่อข้าพระองค์พัก
อยู่ในอัมพวันนั้น อกุศลวิตกอันลามก ๓ ประการ คือ กามวิตก พยาบาทวิตก
วิหิงสาวิตก ย่อมฟุ้งซ่านโดยมาก ข้าพระองค์นั้นคิดว่า น่าอัศจรรย์หนอ ไม่
เคยมีมาแล้วหนอ ก็เราออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา แต่กลับถูกอกุศลวิตก
อันลามก ๓ ประการนี้ คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ครอบงำ
แล้ว ฯ



      [๘๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรเมฆิยะ ธรรม ๕ ประการ ย่อม
เป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุติที่ยังไม่แก่กล้า ๕ ประการเป็นไฉน


     ดูกรเมฆิยะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นธรรม
ประการที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุติที่ยังไม่แก่กล้า ฯ


      อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อม
ด้วยอาจาระแลโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษมีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่
ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เป็นธรรมประการที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่ง
เจโตวิมุติที่ยังไม่แก่กล้า ฯ


      อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่
ลำบาก ซึ่งกถาเครื่องขัดเกลากิเลส เป็นไปเพื่อเป็นที่สบายในการเปิดจิต เพื่อ
เบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อความ
รู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา
อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา ศีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา วิมุตติกถา
วิมุตติญาณทัสสนกถา นี้เป็นธรรมประการที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่ง
เจโตวิมุติที่ยังไม่แก่กล้า ฯ


      อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อ
ความเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระใน
กุศลธรรม นี้เป็นธรรมประการที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุติ
ที่ยังไม่แก่กล้า ฯ


      อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณา
ความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้
เป็นธรรมประการที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุติที่ยังไม่แก่กล้า
ดูกรเมฆิยะ ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุติที่
ยังไม่แก่กล้า ดูกรเมฆิยะ ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังคุณข้อนี้
ได้ คือ ตนจักเป็นผู้มีศีล ... จักสมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุผู้มี
มิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังคุณข้อนี้ได้ คือ ตนจักได้ตามความปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งกถาเครื่องขัดเกลากิเลส ... วิมุตติญาณทัสสนกถา
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังคุณข้อนี้ได้ คือ ตนจักเป็นผู้ปรารภความ
เพียร ... ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวัง
คุณข้อนี้ได้ คือ ตนจักเป็นผู้มีปัญญา ... ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ฯ


      [๘๙] ดูกรเมฆิยะ ก็แลอันภิกษุนั้นตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้แล้ว
พึงเจริญธรรม ๔ ประการให้ยิ่งขึ้นไป คือ

                พึ่งเจริญอสุภะเพื่อละราคะ
                พึงเจริญเมตตาเพื่อละพยาบาท
                พึงเจริญอานาปานสติเพื่อตัดวิตก
                พึงเจริญอนิจจสัญญาเพื่อเพิกถอนอัสมิมานะ

          ดูกรเมฆิยะ อนัตตสัญญาย่อมปรากฏแก่ภิกษุผู้ได้อนิจจ-
สัญญา ผู้ที่ได้อนัตตสัญญาย่อมบรรลุนิพพานอันเป็นที่เพิกถอนเสียได้ซึ่งอัสมิมานะ
ในปัจจุบันเทียว ฯ


      ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทาน
นี้ในเวลานั้นว่า

         วิตกอันเลวทราม วิตกอันสุขุม ตั้งมั่นแล้วทำใจให้เย่อหยิ่ง
         บุคคลผู้มีจิตหมุนไปแล้วไม่ทราบวิตกแห่งใจเหล่านี้ ย่อม
         แล่นไปสู่ภพน้อยและภพใหญ่ ส่วนบุคคลผู้มีความเพียร มี
         สติ ทราบวิตกแห่งใจเหล่านี้แล้ว ย่อมปิดเสีย พระอริย-
         สาวกผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมละได้เด็ดขาดไม่มีส่วนเหลือ ซึ่ง
         วิตกเหล่านี้ที่ตั้งมั่นแล้ว ทำใจให้เย่อหยิ่ง ฯ



                               จบสูตรที่ ๑

             ======================


จุดที่เราสนใจ คือ ข้อที่ว่า

                พึงเจริญอานาปานสติเพื่อตัดวิตก
                             
                พึงเจริญอนิจจสัญญาเพื่อเพิกถอนอัสมิมานะ

          ดูกรเมฆิยะ อนัตตสัญญาย่อมปรากฏแก่ภิกษุผู้ได้อนิจจสัญญา
ผู้ที่ได้อนัตตสัญญาย่อมบรรลุนิพพานอันเป็นที่เพิกถอนเสียได้ซึ่งอัสมิมานะ
ในปัจจุบันเทียว ฯ



           เมื่อดูลม ก็ดูลมอย่างเดียว  ทั้งกลางวัน  กลางคืน  ตรงจุดๆเดียว  อย่าปันใจไปที่อื่น  ดูเข้าไปให้ทะลุถึงอนิจจสัญญา     เมื่อถอนอัสมิมานะแล้วก็เหลือแต่ลมที่เลี้ยงขันธ์เท่านั้น  ไม่มีเรา ไม่มีเขา ในลมนั้น .....

               ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า

               ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจเข้า

               ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจเข้า

               ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า


       ==========================================

                   


  
                             
 

ตอบโดย: คนผ่านทาง 07 ก.พ. 49 - 20:15


ถ้าสะดวกรบกวนช่วย ข ย า ย ความ ให้ผมเข้าใจได้ดีขึ้นอีกหน่อยได้ไหมครับ ...
แบบว่า   HIT TO POINTที่ ... ต้องการจะสื่อ น่ะครับ...ขอบคุณครับ
(แหม...วันนี้ผมใช้   English  ซะด้วย)
  ไม่ธรรมดา ครับ ... ไม่ธรรมดา
........................................................................................................

ตอบโดย: ธนัส 08 ก.พ. 49 - 17:40


ขออนุญาตแลกเปลี่ยนมุมมอง ประสพการณ์ ด้วยครับ...
ตามความเห็น ความเข้าใจโดยส่วนตัว...

กายสังขาร...ลมหายใจเข้าออก
วจีสังขาร...วิตก วิจาร
จิตสังขาร...สัญญา เวทนา

วจีสังขาร ย่อมระงับก่อน กายสังขาร
กายสังขาร ย่อมระงับก่อน จิตสังขาร

เมื่อระงับเสียได้ซึ่งสังขารทั้งสามในที่แห่งใด ทุกข์ย่อมสงบระงับในที่แห่งนั้น...
(สัญญาเวทยิตฯ)


กายสังขารระงับ...นั้นหมายถึง
ลมหายใจไม่เป็นที่น่าสนใจ น่าใส่ใจอีกต่อไป
เมื่อผ่านขั้นนี้ไปได้ อากาสานัญจายะตะนะ จึงเป็นลำดับถัดไป
ในการที่จะนำจิตไปจดจ่อผูกเอาไว้

"กายสังขาร"นั้น มิใช่หมายถึง การกลั้นลมหายใจแต่อย่างใด
ส่วนลมหายใจ จะมีหรือไม่มีนั้น
ไม่เป็นที่ใส่ใจแก่ผู้ภาวนาที่เดินทางมาถึงขั้นนี้แต่อย่างใด
จิตสังขาร จะเริ่มปล่อยวางลมหายใจไปที่ละน้อย ทีละน้อย
จนแทบจะไม่รู้สึกว่าลมหายใจมีอยู่หรือไม่มีอยู่แต่อย่างใด

จิตสังขาร จะไม่ใส่ใจรูปร่างกายที่นั่ง หรืออริยบททางรูปกายแต่ประการใดๆทั้งสิ้น
จิตสังขาร จะไม่ใส่ใจรูปลมหายใจใดๆ ไม่ว่าจะเป็นลมหายใจหยาบหรือว่าละเอียด
นั้นก็หมายความว่า จิตสังขารเริ่มปล่อยวางรูปภพทั้งหลายทั้งมวล

จิตสังขารจึงเริ่มที่จะแสวงหาอรูปภพ
นั้นก็คือเริ่ม จดจ่อใส่ใจ กับอากาสานัญจยะตะนะ เป็นลำดับถัดไป

และเมื่อเริ่มที่จะเบื่อจากอากาสานัญจายะตะนะ
จิตสังขาร ก็จะเริ่มแสวงหา จดจ่อ ใส่ใจกับ วิญญานัญจายะตะนะ เป็นลำดับถัดไป

และเมื่อจิตสังขารเริ่มที่จะเบื่อจากวิญญานัญจายะตะนะ
จิตสังขาร ก็จะเริ่มแสวงหา จดจ่อ ใส่ใจกับ อากิญจัญญายะตะนะ เป็นลำดับถัดไป

และเมื่อจิตสังขารเริ่มที่จะเบื่อจากอากิญจัญญายะตะนะ
จิตสังขาร ก็เริ่มที่จะแสวงหา จดจ่อใส่ใจกับเนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ เป็นลำดับถัดไป

และเมื่อจิตสังขารเริ่มที่จะเบื่อจากเนวะสัญญานาสัญญยะะตะนะ
จิตสังขาร ก็เริ่มที่จะแสวงหา จดจ่อ ใส่ใจ กับตัว"จิตสังขาร"เอง

และเมื่อนั้น "จิตสังขาร ย่อมประหาร จิตสังขาร" ด้วยตัวของมันเอง...

 

ตอบโดย: รู้ที่ไม่มีฉัน 08 ก.พ. 49 - 22:36


ครับ...เมื่อย้อนมาดูตัวผม  ผมควรทำความเพียร  ระงับวจีสังขาร (ยังไม่ค่อยชัดเจน)
และระงับกายสังขาร ก่อน ...แค่นี้ผมก็ว่ายากแล้ว...
..................................................................................................................................................
ตามที่ท่าน...Vicha ...แนะนำ ให้กำหนด
อิริยาบทย่อย...ต้องมียกหนอ...เหยียดหนอ ด้วยหรือเปล่าครับ ไม่ถนัดครับ
เพราะว่า แค่ หายใจเข้า-พุทธ  หายใจออก-โธ  ผมยัง รู้สึกอึดอัด ไม่สะดวก เลยครับ
ดูจุดกระทบจะสะดวกกว่าครับ
..................................................................................................................................................
ถ้าบริกรรม  ...พุธโธพุธโธพุธโธพุธโธพุธโธพุธโธพุธโธพุธโธ...
อย่างเดียวไม่สนลมหายใจ ... เลยพอทำได้และจำเป็นมากสำหรับผม ...ในบางครั้ง
คือ เมื่อผมกลัว เห็นความคิดกลัว จะไปเพิ่มความรู้สึกกลัว ทบทวี อย่างรุนแรง หาที่พึ่งสุดตัว
ต้อง speed  พุธโธ ให้เร็วที่สุด + สวดมนต์เปลี่ยน ความคิด  Block ความกลัว
กรรมเก่า...? ทำให้เข้าใจตามที่หนังสือที่ หลวงปู่ดูลย์ สอนไว้เลย
จำได้ทำนองว่า....บริกรรมแบบว่ามีดาบอยู่ข้างหลังจะฟันเรา...
ใครจำได้ช่วยยกมาให้อ่านอีกทีครับ
.....................................................................................................................................................
ช่วยแนะ...การเดินจงกรม  แบบง่ายหน่อยครับ

ตอบโดย: ธนัส 09 ก.พ. 49 - 13:05


จากคำถามของคุณธนัส
..................................................................................................................................................
ตามที่ท่าน...Vicha ...แนะนำ ให้กำหนด
อิริยาบทย่อย...ต้องมียกหนอ...เหยียดหนอ ด้วยหรือเปล่าครับ ไม่ถนัดครับ
เพราะว่า แค่ หายใจเข้า-พุทธ  หายใจออก-โธ  ผมยัง รู้สึกอึดอัด ไม่สะดวก เลยครับ
ดูจุดกระทบจะสะดวกกว่าครับ
..................................................................................................................................................

ตอบ
  ถ้าไม่ถนัดก็ไม่จำเป็นหรอกครับ ก็เอาตามพระสูตร คือมีสติรู้ทั่วพร้อม ในขณะ นั่ง ยื่น เดิน นอน และในขณะเปลี่ยนอริยาบทย่อย ให้เป็นปัจจุบันนั้นก็พอครับ เพื่อให้เกิดผลการปรับสมดุลย์ระหว่างสติกับสมาธิ และร่างกายเลือดลม ยกเว้นผู้ที่มีพื้นในการกำหนด "หนอ" มาก่อนครับ จะใช่ร่วมกันก็ได้ครับ

  ส่วนการเดินจงกรม ของผู้ฝึกอานาปานสติ ตามที่ได้รู้มา ก็คือมีสติรู้ทั่วพร้อมในการเดิน คือเอามื่อขวากุมมื่อช้ายปล่อยลงสบายๆ ตามองต่ำระยะประมาณ 1.5 เมตร ถึง 2.5 เมตร จากปลายเท้า กะระยะทางในการเดินไปจนสุดปลายทางและเดินกลับที่พอสมควร  การเดินนั้นเป็นการเดินอย่างมีสติไม่รีบเร่ง รู้ลักษณะการย่างการยกของเท้า การสัมผัสของเท้ากับพื้น ที่เป็นปัจจุบัน ถ้าให้ดีขึ้นคือให้รู้ด้วยว่าเท้าใหนที่กำลังย่างเดิน ส่วนการวางจิตนั้นก็ไม่เพ่งจนแข็งกระด้างจนเกินไป หรือเดินแบบไม่สนใจสักๆ แต่เดิน เมื่อถึงปลายทางหยุดเดิน ก็มีสติรู้ทั่วพร้อมในการยื่น ในการหมุนกลับ และยื่นเพื่อจะเดินต่อไป
   ซึ่งเป็นการพัฒนาสติเพื่อหล่อเลี้ยงสมาธิ ให้เจริญเป็นระดับฌานต่อไป ซึ่งสามารถนำไปพิจารณาหรือปฏิบัติจาตุกะที่เหลือได้สะดวกเป็นขั้นต่อไป

 

ตอบโดย: Vicha 09 ก.พ. 49 - 15:07


ที่ผมว่า
แค่ หายใจเข้า-พุทธ  หายใจออก-โธ  ผมยัง รู้สึกอึดอัด ไม่สะดวก เลยครับ
+++
หมายถึง  หายใจเข้า-พุทธ  หายใจออก-โธ พร้อมกับ ดูจุดกระทบของลม  ไปด้วย
จะไม่สะดวกสำหรับผม
+++
     
 

ตอบโดย: ธนัส 10 ก.พ. 49 - 13:29


ถ้าไม่ถนัดในการใช้คำภาวนา พุทธ-โธ ในขณะกำหนดรู้ลมกระทบจะรู้สึกอึดอัด ก็ไม่จำเป็นต้องใช้คำภาวนาก็ได้ครับ ก็เอาตามพระสูตรไปก่อนครับ

    แต่ตรงนี้มีเงือนไขอยู่ว่าคุณธนัส ภาวนาคำว่า พุทธ-โธ ตามลมหายใจเข้าและออกมานานกีปีแล้วโดยไม่สนใจลมที่กระทบเลย  ถ้าภาวนามานานแล้วการที่จะมีสติรู้บริเวณลมกระทบ พร้อมกับภาวนา พุทธ-โธ ไปด้วย อาจจะมีปัญหาพอสมควร อย่างนั้นก็ลองไม่ต้องภาวนา เพียงแต่มีสติรู้บริเวณลมกระทบอย่างเดียวไปก่อน กับการเดินจงกรม และกำหนดอริยาบทย่อยนะครับ

     ที่ต้องเดินจงกรม และกำหนดอริยาบทย่อย เพราะถ้าภาวนา พุทธ-โธ เป็นนิสัย แล้วเปลี่ยนมาเป็นมีสติรู้บริเวณลมกระทบ โดยไม่สามารถใช้คำภาวนาได้ สติและสมาธิจะตั้งอยู่บริเวณที่ลมกระทบได้ไม่นาน จึงต้องฝึกการเจริญสติให้มากขึ้นครับ
     และการกำหนดนั้นไม่ใช่จดจ่อที่ลมกระทบอย่างเดียว เมื่อไม่รู้ลมกระทบหรือเบรอจากบริเวณที่ลมกระทบ ก็ให้มีสติรู้ว่าหายใจเข้าหายใจออกอยู่ ด้วยความสงบเบาและปลอดโปรง เมื่อมีสติละเอียดขึ้นอีกก็จะไปรู้ชัดที่บริเวณลมกระทบจมูกเอง จึงกำหนดตรงบริเวณที่ลมกระทบจมูกนั้น สลับไปมาอย่างนี้ตามภาวะที่เกิดขึ้น  สติและสมาธิก็จะรวมเป็นหนึ่งเอง
    แต่ถ้าเกิดเบรอ ง่วงเกินไป ก็เปลี่ยนอริยาบทเดินจงกรมสลับกันไปครับ

ตอบโดย: Vicha 10 ก.พ. 49 - 15:06


 

ตอบโดย: ธนัส 10 ก.พ. 49 - 15:37


เอาแหละครับวันนี้ผมก็จะคุยต่อจากความเห็นที่ 91 ที่ได้คุยค้างไว้

อ้างอิง
    ผมก็จะคุยต่อจากความเห็นที่ 77-78 นะครับ ซึ่งจะมาขึ้นสู่จตุกะที่ 5 คือ

  ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก เป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า

       ก็จะมีคำถามขึ้นว่าระงับกายสังขารอย่างไร?

      การระงับการสังขารนั้นที่ผมพอทำความเข้าใจหรือรู้แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ
       1. ระงับกายสังขารที่ผิดปกติ เช่น ฟุ้งซ้าน คิดมาก  หรือเกิดโทสะ ขัดเคือง ซึมๆ เหนือยหน่าย กำหนดกายให้เป็นปกติไม่ได้ง่าย  ตรงนั้ก็ต้องอาศัยการหายใจลึกๆ หนักๆ ออกและเข้า เพื่อระงับกายที่ไม่เป็นปกิตเหล่านั้น ถ้ากล่าวในแง้ที่ลึกไป บางครั้งกายเป็นปกติก่อน แล้วใจเป็นปกติ บ้างคร้งใจเป็นปกติก่อนแล้วกายเป็นปกิต
      2. ระงับการสังขารที่เป็นปกติ ให้สงบนิ่ง เบาโล่ง สบาย  ตรงนี้ก็ต้องอาศัยการหายใจเบาสบายละเอียด ก็จะเริ่มมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ในขณะที่รู้ภาวะหายใจออก หายใจเข้า ตรงส่วนที่ร่างกายรู้กองลมชัดเจน

    คราวนี้มีปัญหาว่า จากจตุกะที่ 1 ถึงที่ 5 นี้ จะเกิดมีวิปัสสนาญาณได้ไหมสำหรับผู้ปฏิบัติใหม่ๆ ?
    
    การจะเกิดวิปัสสนาญาญได้ นั้นต้องมีสติเท่าทันแยกรูปแยกนามได้
         แต่ถ้ามุ่งแต่อารมณ์เป็นหนึ่งสงบอย่างเดียว จนถึงจตุกะที่ 5 ถึงแม้จะมีสติละเอียดขึ้นสามารถเป็นได้เพียงสมถะอย่างเดียว
         แต่ถ้ามีการพัฒณาสติโดยการกำหนดอริยาบทใหญ่และอริยาบทย่อยด้วย  ก็จะมีสตินำสมาธิ ก็อาจจะสามารถแยกรูปแยกนามได้(ผมคงไม่ต้องเน้นอีกทีนะครับว่า แยกรูป-แยกนาม อย่างไรนะครับ เพราะกล่าวไว้มากแล้วในความเห็นเก่า) เป็นกายานุปัสสนา คือสติปัฏฐาน 4 ข้อที 1 กายในกาย

      ขั้นต่อไป สำหรับผู้ที่ระงับกายสังขารได้ หายใจออก หายใจเข้า  ภาวะของสมาธิก็จะบริบูรณ์ขึ้น เป็นหนึ่งขึ้น(เอกคตา)ก็จะเจริญขึ้นสู่ อุปจาระสมาธิ จนถึงอัปปนาสามาธิของฌานที่ 1 ตามแต่กำลัง

     ดังนั้นสมาธิระดับฌานก็จะปรากฏได้ก็ในจตุกะที่ 5  นี้เอง ส่วนวิปัสสนาญาณถ้าเกิดได้ก็เกิดได้ตั้งแต่ จตุกะที่ 2 มาแล้ว

     ขอจบความเห็นเพียงแค่นี้ก่อนนะครับ


    ตามที่ผมเข้าใจแล้วในจตุกะที่ 5 นี้แหละครับ ฌานที่ 1 ฌานที่ 2  จะบังเกิด  หรือธรรมเอก ปรากฏขึ้น เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในการปฏิบัติอนาปานสติ เพราะได้รับความอุ่นใจ ได้รับความประหลาดอัศจรรย์ใจในการปฏิบัติ
     ได้รับถึงความเป็นหนึ่งสงบ ได้รับถึงความปิติ ที่หาไม่ได้แล้วในโลกวัตถุทั้งหลาย  เมื่อปฏิบัติถึงตรงนี้จะมีความศรัทธาและเชื่อในพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง

      และในกรณีของผู้ที่ปฏิบัติแยกรูป-แยกนามได้แต่ต้น ในวิปัสสนาญาณ บวกกับในอานาปานสติจตุกะที่ 5 นี้แหละทำให้วิปัสสนาญาณเจริญถึง สมสนญาณ(ญาณที่ 3) อย่างแก่ได้โดยกำลังของสมาธิ (จากประสบการณ์ที่ตนเองได้เป็นมาก่อน)

      ที่นี้มาคุยถึง ผู้ได้ฌาน 1 หรือ 2 จนถึง ฌาน 4 มีความสุขมีความปิติอิ่มเอิบไหม?

      ผมคิดว่า ถ้าได้ฌาน 1 ถึง 4 โดยไม่อิงอาศัยวิปัสสนาญาณ ซึ่งเป็นสมถะล้วนๆ  น่าจะมีความสุขดี เพราะไม่เห็นสภาพแห่งความเป็นจริงที่เป็นทุกข์โทษของรูป-นาม และคงเป็นคนหนักแน่นน่าดูชมต่อพุทธศาสนา แบบยึดมั่นถื่อมั่นแบบเป็นอัตตา ถ้าหลงก็จะหลงแบบไม่รู้ตัวรู้ตน มองไม่เห็นกิเลสตน หรือมองข้ามกิเลสตนไปเสีย
      แต่ถ้าได้ฌาน 1 ถึง 4 และอิงอาศัยด้วยวิปัสสนาญาณ ที่เห็นทุกข์โทษของรูป-นาม ที่ปรากฏไปตามกฏไตรลักษณ์ ก็เปรียบเสมือนคนที่สงบแต่อมทุกข์น่าดู ถึงหลงในระยะแรกถ้าไม่วิปลาสหรือบ้าไปเสียก่อน(คนที่มีพื้นฐานสติปัญญาดี เตือนตนเองบ่อยๆ รู้จักกิเลสตน คงไม่บ้าหรอกครับ) ก็คงจะเตือนตนเองได้ในภายหลังเพราะภาวนามยปัญญาเจริญขึ้น และไม่ยึดมั่นถือมั่นจนเกินไป

      ที่นี้ผู้ที่ได้ ฌาน 1 ถึง 4 และมีวิปัสสนาญาณด้วยจะทำอย่างไร? ให้บรรเทาความทุกข์ต่างๆ ตามวิปัสสนาญาณ และสิ่งแวดล้อมได้ (เอาจากที่เรียนรู้มา)
      1.ต้องคลายความยึดมั่นถือมันในตัวตนจนมีอัตตาสูง  เมื่อยึดมั่นถือมั่นเป็นอัตตาสูงก็ให้มีสติรู้ว่าตนกำลังยึดมั่นมั่น พิจารณาให้เห็นว่า "ทุกสิ่ง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปเป็นธรรมดา"  ยึดเป็นอัตตาตัวตนไม่ได้
      2. เมื่อสิ่งต่างๆ รอบข้างทำให้เราเสมือนยุ้งเหยืยงไปหมดมีความทุกข์เศร้าใจ ก็ให้พิจารณาว่า "เป็นเช่นนั้นเอง"  จนใจนั้นคลายความยึดมั่นในความทุกข์และเศร้าใจ
      3. จัดสรรสิ่งต่างๆ ไว้ให้ดีอย่างเหมาะสม ก็คือรู้จักทำหน้าที่ทั้งหลายให้เหมาะสม เพราะถ้าทำหน้าที่ไม่เหมาะสม จัดสรรไม่ดี ข้อที่ 2 ก็จะตามมารังควานเราอีก

     ข้างบนนั้นคือคุยว่าทำอย่างไร ผู้ได้ฌาน และมีวิปัสสนาญาณ แต่ยังไม่เป็นอริยะที่ละกิเลสได้ จะทำอย่างไรจึงจะมีความสงบสุขตามอัตภาพ

    ต่อไปผมก็จะขึ้นจตุกะที่ 6

    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งปีติหายใจเข้า

     มาพิจารณาจตุกะที่ 6 กัน  การจะรู้แจ้งปิติ ได้อย่างชัดเจนและเต็มกำลัง ก็มีแต่ผู้ได้ ฌาน 1 หรือ ฌาน 2 หรืออุปจารสมาธิ เท่านั้น ที่เมื่อกายรับรู้ปกติแล้วมีปิติให้เห็นอย่างชัดเจนโดยที่ไม่ต้องเข้าสมาธิระดับลึกหรืออยู่ในอุปจารสมาธิ
     ซึ่งทิศทางของอานาปานสติย่อมดำเนินไปตามทางนี้ จะหลบเลี่ยงว่า จตุกะที่ 6 นี้ไม่จำเป็นต้องได้ฌาน 1 หรือ ฌาน 2 ก็ย่อมเลี่ยงได้ยาก

    มาทบทวนองค์ฌานของฌาน 1 และ 2 ดีกว่า เพื่อทำความเข้าไจได้ดีขึ้น
    ฌาน 1 มีองค์ฌาน 5 อย่างคือ
         1.วิตก
         2.วิจารย์
         3.ปิติ
         4.สุข
         5.เอคกตา(ความเป็นหนึ่ง) (อุเบกขา)
    ฌาน 2 มีองค์ฌาน 3 อย่าง(ตัดวิตกวิจารย์ทิ้งไป)คือ
          1.ปิติ
          2.สุข
          3.เอคกตา(อุเบกขา)

  หมายเหตุ แต่สำหรับผู้ที่มีปัญญาช้า จะแบ่ง ฌาน เป็น 5 ระดับ  ฌาน 2 ของผู้มีปัญญาช้าจะมีองค์ 4 อย่าง (ตัดไปเฉพาะวิตกอย่างเดียว)เหลือคือ 1.วิจารย์ 2.ปีติ 3.สุข 4.เอคกตา

      มีบางท่านสงสัยว่า ผู้ที่อยู่ในฌาน 1 หรือ 4 จะต้องนั่งนิ่งอย่างเดียวไม่รับรู้อะไรหรือ?

      ตอบ ผู้อยู่ในฌาน 1 หรือ 4 นั้นมี 2 กรณี คือ
             1.อยู่ใน ระดับอัปปนาสมาธิ คือไม่รับรู้นิ่งอยู่อย่างเดียว
             2.อยู่ในองค์ฌาน คือรับรู้ทุกอย่างแต่เสวายอารมณ์ตามองค์ฌาน หรือรักษาองค์ฌานนั้นไว้ด้วยความเป็นหนึ่ง หรือประคองภาวนาไว้

    เมื่อเป็นดังที่คุยมาด้านบนทั้งหมด ดังนั้นผู้ที่จะปฏิบัติถึง อานาปานสติจตุกะที่ 6 รู้แจ้งปีติหายใจออก รู้แจ้งปิติหายใจเข้า จริงๆ ก็คือผู้ที่อยู่ในองค์ฌาน 1 หรือ 2   ถ้าให้ดีที่สุดคือ ฌานที่ 2 ที่ตัดวิตกวิจารย์ทิ้งไปแล้ว ไม่ต้องประคองด้วยการรักษากำหนดภาวนา หรือรักษาความเป็นหนึ่งด้วยการเพ่งเกินไป


       วันนี้ขอจบการคุยเพียงแค่นี้ก่อนนะครับ

ตอบโดย: Vicha 14 ก.พ. 49 - 14:34


วันนี้ผมจะคุยต่ออีกนิดหนึ่ง จากจตุกะที่ 6 นี้แหละครับ

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งปีติหายใจเข้า

  จะเห็นว่า จากจตุกะที่ 1 ถึง 5 นั้น เน้นพิจารณาส่วนที่เป็น กาย ซึ่งเป็นหนึ่งในสติปัฏฐาน 4 มาตลอด  แต่พอขึ้นจตุกะที่ 6 นี้ เริ่ม เน้นพิจารณา เวทนา คือปิติ   ถ้าเราไม่กล่าวอะไรที่ยุ่มยิ่ม อานาปานสติทั้ง 16 จตุกะ เมื่อปฏิบัติแล้ว ก็จะลงสู่สติปัฏฐาน 4 นี้เอง เพราะจาก จตุกะที่ 1 ถึง 6 ก็ปฏิบัติสติปัฏฐานไป 2 หมวดแล้ว คือ 1.กายในกาย 2. เวทนาในเวทนา

     ดังนั้นตรงนี้ถ้าที่ปฏิบัติมา ตั้งแต่จตุกะที่ 1 ถึง 5 จนได้ ฌาน 1 หรือ 2 หรือ 3 หรือ 4 แล้ว แต่ยังไม่ขึ้นสู่วิปัสสนาญาณเลย ไม่สามารถแยกรูป-แยกนามได้เลย ในจตุกะที่ 6 นี้แหละ ด้วยการปฏิบัตินั้นแหละ จะทำให้แยกรูป(กองลม)-และแยกนาม(ปิติ) ได้อย่างชัดเจนขึ้น

     ซึ่งตรงจตุกะที่ 6 นี้แหละ ที่นักปฏิบัติทั้งหลายกล่าวว่า(ผมเข้าใจเองนะครับ) ยกฌาน(องค์ฌาน)เป็นบาท ขึ้นสู่วิปัสสนากรรมฐาน
 

ตอบโดย: Vicha 15 ก.พ. 49 - 13:54


   จากความเห็นที่ 105  เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่าการปฏิบัติ อานาปานสติ นั้นเริ่ม นำไปสู่ วิปัสสนาญาณอย่างสมบูรณ์ ก็ในจตุกะ ที่ 6 หรือเรียกว่า ยกฌานเป็นบาทขึ้นสู่วิปัสสนากรรมฐาน ขั้นเริ่มต้น
  
    แต่ความจริงแล้วองค์ฌานที่ปรากฏชัดเจน ยังมีองค์ฌานหนึ่งคือ สุข ที่เด่นชัดซึ่งอยู่ในองค์ฌานที่ 3  ผู้ที่ได้ฌาน 3 ย่อมสัมผัสสุข ที่ไม่มีอย่างใดเจือปน และสุขนั้นจะปรากฏให้อาบกายสังขารอยู่เป็นประจำได้โดยง่าย ให้พิจารณาสุขที่ผสมผสานกับกายสังขาร และแยกกันออกได้ ซึ่งจะนำไปสู่อานาปานสติ จตุกะที่ 7

     ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งสุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งสุขหายใจเข้า


   เป็นอันว่า เวทนาในเวทนา ที่เป็นองค์ฌาน เมื่อถึงจตุกะนี้ ก็คือ ปีติ  กับ สุข   และทิศทางการปฏิบัติอานาปานสติที่ผ่านมานั้นต้องได้ ฌาน ก่อนจึงจะขึ้นสู่วิปัสสนา

    แต่บางท่านอาจจะปฏิบัติมานานแล้วก็ยังไม่ได้ฌาน  หรือปฏิบัติได้ฌานมานานแล้วรักษาหรือคงฌานไว้ไม่ได้ จะทำอย่ารไรดี?
    ผมก็จะแนะนำในสิ่งที่ผมพอแนะนำได้ว่า ก็เอากำลังฐานของสมาธิที่มีอยู่ ตามที่ปฏิบัติมานานนั้นแหละ ปฏิบัติตามสติปัฏฐาน 4 ไปเลยที่เดียวก็ได้  ก็คือการกำหนดอริยาบทใหญ่และอริยาบทย่อยมีสติรู้ตัวทั่วพร้อม หรือไปดูจิตเลยก็ได้ ซึ่งก็อยู่ในกรอบของสติปัฏฐาน 4 อยู่ ถ้ามีวาสนาดีหรืออบรมมาดี ก็อาจจะได้ฌาน และได้วิปัสสนาญาณ ก็ได้ (ส่วนนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ)

  ส่งข้อมูลเพี่ยงแค่นี้ก่อนนะครับ พักเที่ยงพอดี
  

ตอบโดย: Vicha 16 ก.พ. 49 - 12:08


   วันนี้ผมจะมาคุยต่อจากความเห็นที่แล้ว  ซึ่งผมจะยกจตุกะที่ 7, 8, 9, 10, 11 มาคุยในความเห็นนี้รวมกัน

  จตุกะที่  7

  ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจเข้า

  ซึ่งก็มีจิตตานุปัสสนา ประกอบอยู่ด้วย  และการรู้จิต จะรู้ได้อย่างไร?
  ในการปฏิบัติอานาปานสติ การรู้กองลมที่หายออกหายใจเข้าทำให้เรารู้จิตได้ดีขึ้น หรือไม่หลงตลิดไปเกินไปกับความโกรธ ตัวอย่างเช่น
       เมื่อเกิดโทสะ กองลมที่ปรากฏย่อมติดขัด หรือเกรงลมหายใจ หรือมีลมเดินไม่ทัวท้อง ก็จะทำให้รู้ว่าจิตกำลังมีโทสะ ทำให้เกิดสติขึ้นมาในการระงับ จิตที่เกิดโทสะนั้น ก็จะขึ้นสู่จตุกะที่ 8

   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจเข้า

   จะเห็นว่าจตุกะที่ 7,8 จะสัมพันธ์กันโดยการปฏิบัติ  คือเมื่อรู้แจ้งจิตสังขาร ก็ต้องรู้ระงับจิตสังขาร ต่อไปจึงเป็นผู้รู้แจ้งจิต หายใจออกหายใจเข้า เข้าสู่จตุกะที่ 9

  ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจ เข้า

    เมื่อ รู้แจ้งจิตสังขาร ระงับจิตสังขาร และรู้แจ้งจิตที่ระงับอยู่  ก็ย่อมดำรงณ์จิตหรือทำจิต ให้บันเทิงร่าเริงในจิต หายใจออก หายใจเข้า ในการปฏิบัติกรรมฐาต่อไป ก็จะเข้าสู่จตุคะที่ 10

   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้บันเทิงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักทำจิตใจให้บันเทิงหายใจเข้า

    เมื่อ รู้จักทำจิตให้ราเริงบันเทิงในจิต ด้วยการระงับจิตสังขาร หรือการรู้แจ้งจิตนั้น ก็ใช่ว่าจิตนั้นจะปราศจาก อุปกิเลส ที่คลุกครุ่น ด้วย โทสะ หรือ ราคะ หรือ โมหะ ที่ได้เกิดขึ้นแล้วทั้งหมด ไปทีเดียวไม่   (ผู้ปฏิบัติกรรมฐานมานาน ก็จะเข้าใจตรงนี้ได้)
    ดังนั้นจึงต้องตั้งจิตให้มั่น แล้วเปลื้องจิตอันคลุกครุ่นนั้นไป  ก็จะเข้าสู่จตุกะที่ 11
   
   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่นหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า

     ดูตามที่ผมพิมพ์คุยมาแล้ว เหมือนสัมพันธ์อย่างง่ายๆ จัง  แต่ที่จริงแล้วเป็นเรื่องที่ยากมากไม่ใช่เล่นๆ เลย  เพราะ บางท่านเมื่อจิตเกิดโทสะ(ราคะ)แล้วก็ไม่รู้ตัว ปล่อยให้โทสะ(ราคะ)รุกรามไปใหญ่โต หรือปล่อยให้สงบหายไปเอง หรือถูกระงับด้วยฐานะอื่นๆ ถ้าโกรธก็กลัวกฏหมาย หรือเป็นญาติกัน  แต่ไม่ได้มีสติรู้จิตสังขาร แล้วระงับจิตสังขาร ด้วยการปฏิบัติ หรืออานาปานสติ  แล้วก็ค่อยมาเริ่มกำหนาอานาปานาสติกันใหม่

       เมื่อถึงตรงนี้ผมจะยกจิตตานุปัสสนามาให้ดูว่า เข้ากับอานาปาสนสติ ได้ดีๆ นี้เอง

                              จิตตานุปัสสนา
          [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า   ภิกษุในธรรม
วินัยนี้

        จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิต   ปราศจากราคะ
        จิตมีโทสะก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากโทสะ
        จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากโมหะ
        จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่
        จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
        จิตเป็น มหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคตจิต
        มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
        จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่  เป็นสมาธิ
        จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุด  พ้น

    ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง พิจารณาเห็น จิตในจิตภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณา  เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่าง หนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย  ระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ  ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ
                    จบจิตตานุปัสสนา

     จะเห็นว่า จตุกะที่ 7, 8, 9, 10, 11 เป็นจิตตานุปัสสนานี้เอง  ซึ่งอาจอาศัยการรู้กองลมให้รู้ภาวะจิตก่อน หรือรู้ภาวะจิตก่อนแล้วก็มารู้กองลมก็ได้

    วันนี้คุยรวดเดียวไปถึง จตุกะที่ 11 และได้จิตตานุปัสสนามาเสริมทำให้มีความสมบูรณ์ขึ้น
 

ตอบโดย: Vicha 17 ก.พ. 49 - 14:59


ท่านครับ

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่นหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า

ตรงนี้แยกเป็น สอง ข้อได้นะครับ

แล้ว เปลื้องจิต เป็นอย่างไรครับ
ติดตามอยู่นะครับ

ตอบโดย: ธนัส 22 ก.พ. 49 - 10:58


  ตอบคุณ ธนัส ก่อนนะครับ ส่วนจตุกะขั้นต่อไป จะคุยพิมพ์ลงที่หลัง เพราะตอนนี้ยุ้งๆ อยู่จึงไม่ได้ไปพิจารณาดูไปด้วย กลัวว่าคุยไปแล้วจะคลาดเคลื่อนมากเกินไป

    ตอบ   ถ้าแยกตามจิต(จิตตานุปัสสนา) ถือว่าเป็น 2 ขั้น
              แต่ถ้าแยกตามลมหายใจออกหรือเข้า ตามพระสูตร ก็จะจัดอยู่ในจตุกะขั้นเดียวกันครับ


   และจากคำถาม "แล้ว เปลื้องจิต เป็นอย่างไรครับ"

    ตอบ   คือ  จิตที่ยังขุ่นมั่วหนึ่ง  จิตที่ยังมีนิวรส์อยู่หนึ่ง จิตที่ยังไม่สงบเบาหนึ่ง จิตที่ไปจ้องจนแกร็งหนึ่ง ก็ต้องเปลื้องออก   ให้อ่อนเบาควรแก่การงาน
        วิธีเปลื้องออก
           1.พิจารณา โดยใช้จิตมยปัญญาปล่อยวาง แล้วกำหนดดูลม จนเปลื้องออกจริง
           2.กำหนดรู้กองลมจนจิตวางหรือเปลื้องออกไปเองแบบสมถะ แต่วิปัสสนาญาณอาจไม่เจริญ
           3.มีสติรู้เท่าทันจิตจนวิปัสนาญาณบังเกิด ปราฏการเกิดดับ เป็นอุทยัพพยญาณ(ญาณ 4) หรืออย่างน้อย สมสนญาญ(ญาณ 3) เห็นการเปลื้องจิตออกจากกันทันที
           4.ผู้ที่ชำนาณแล้ว เมื่อมีสติรู้เท่าทัน ว่าจิตยังมีสิ่งที่ต้องเปลื้องออก ตามฐานะที่เคยมีประสบการณ์ผ่านมาแล้ว จิตก็จะเปลื้องออกเองทันทีตามปัญญาที่ได้รู้มาแล้ว

 

ตอบโดย: Vicha 22 ก.พ. 49 - 11:29




กระทู้นี้ น่าอ่านมากๆ เลยนะหลานเอ้ย

ตอบโดย: ยายกับตา 22 ก.พ. 49 - 13:06


ใช่ครับ น่าสนใจมาก   ... แต่ค่อนข้างยาก ...
เพิ่งมาทราบจากพระสูตร  ในภายหลัง ทำนอง ว่า
อานาปานสติ  เป็นของยาก ละเมียด สุขุม เป็นภูมิของ  พระพุทธเจ้า  พระปัจเจกพุทธเจ้า  พุทธบุตร
เป็น ผู้ที่รู้ตัว ไม่เผลอสติ  มีปัญญา ...  

ตอบโดย: ธนัส 22 ก.พ. 49 - 13:58


    วันนี้ว่าจะมาคุยเรื่องอานาปานสติต่อ แต่ขอคุยเล่าเรื่องทั่วไป ที่เกี่ยวกับเรื่องที่ผมยุ่งๆ อยู่ตอนนี้ตามที่บอกไว้ในความเห็นก่อนหน้านี้

    เรื่องยุ่งๆ ในตอนนี้ ก็คือเรื่องที่จะซื้อที่ดิน 1 ไร่ แต่ยังมีปัญหาหาที่จบไม่ยังไม่ได้ เพราะ
    ช่วงที่ 1. ก็มีปัญหาอยุที่ว่าแฟนบอกว่าซื้อทำไม? ทำประโยชน์อะไรไม่ได้? และไม่เกิดผลตอบแทนในปัจจุบันทั้งที่ยังผ่อนชำระอย่างอื่นอยู่
     ผมจึงตอบแฟนว่า "ผมชอบที่เป็นธรรมชาติ ไปทำไปพัฒณาที่ดินปลูกต้นไม้ ทำที่พักเล็กๆ  มีต้นไม้พอประมาณ ได้พักผ่อนช่วงวันหยุด และอยู่ใกล้บ้านมีนบุรีประมาณ 50 กิโลเมตรเอง"
     แฟนก็ยอมรับ แต่ความจริงแล้วมีสิ่งประสงค์อยู่เบื้องลึก คือการได้ใช้และให้ใช้ในการปฏิบ้ตธรรม แก่บุคคลทั่วไปที่อาจจะบังเกิดขึ้นในอีก ห้าหรือสิบปีข้างหน้า ถ้าเป็นไปได้ เหมือนกรณีที่ผ่านมา

     ซึ่งแฟนไม่ได้มองไกลเหมือนผม  และก็เป็นกรณีเดียวกันเมื่อ 17 ปีมาแล้ว ประมาณปี 2532-2533 ที่ผมพยายามรวบรวมทบทวน การปฏิบัติกรรมฐานและประสบการณ์ทั้งแต่ เริ่มปฏิบัติกรรมฐานเมื่อปี 2526 เป็นต้นมา แฟนก็บอกว่า เขียนไปทำไมเรื่องเก่าๆ ?  ย้ำคิดอยู่ในเรื่องเก่าไปทำไม?  ไม่เห็นมีประโยชน์ได้เงินได้ทองเลย
     ผมตอบแฟนว่า "ก็อยากเขียนเก็บไว้ เผื่อมีประโยนช์ส่งเรื่องสั้นได้เงินก็ได้นะ"
     แต่ความจริงแล้วจุดประสงค์เบื้องลึกของผมไม่ได้อยู่ตรงนั้น แต่อยู่ตรงที่ว่า การปฏิบัติธรรมและอยู่ในศีลธรรมนั้น ทำให้เกิดขันติและอดทนมีสติและสมาธิดำรงณ์ตนอยู่ในสภาวะยากลำบากตามที่กรรมไม่ดีกำลังส่งผลได้  ทั้งที่ช่วงนั้นผมก็ยังไม่ผ่านพ้นกรรมไม่ดีตรงนั้น  ก็เพื่อมีประโยชน์ให้ผู้อื่นได้เรียนรู้ และได้แนวทางเอาไปปรับใช้
     และประมาณ ปี 2536 ผมก็ได้ลองเอาบางส่วนของประสบการณ์ส่งนิตยสาร คนโพ้นโลก ก็ได้เงินค่าเรื่องมาจริงๆ  จนแฟนเขาพูดแชวว่า "ออเนอะ ได้เงินด้วย"
      แต่จริงๆ แล้วจุดประสงค์ของผมต้องการจะทำแจกฟรี แต่ก็ยังหาลู่ทางไม่ได้  หลังจากนั้นผมจึงเลยลงโฆษาณาที่เขาให้โฆษณาฟรีเปิดโทรศัพย์ให้คนโทรเข้ามาสนทนาธรรมที่บ้านประมาณ 3ทุ่มถึง 5 ทุ่ม เมื่อ ปี 2539-42  ก็มีหลายคนเข้ามาสนทนากับผมเหมือนกัน (ตอนนี้ก็มีท่านที่เคยสนทนากันแต่ไม่เคยรู้จักหน้าค่าตากัน ก็เข้ามาสมัครสมาชิกในลานธรรมแล้ว) แต่ก็ไม่เป็นที่สบายใจของแฟนเท่าไหรนัก เพราะสุขภาพผมไม่ค่อยดี งานนี้จึงไม่ค่อยจะ work
       และล้มเลิกไปเมื่อผมได้มาสนทนาในอินเตอรเน็ตเมื่อประมาณปี 2543 แล้วผมก็ได้ทำในสิ่งที่ผมจะทำได้ครบทุกประการ  คือได้
       1.สนทนาธรรม
       2.ได้ขอพื่นที่เวปฟรี ในการเสนอประสบการณ์และแนวคิดทางธรรม เพื่อให้ผู้อื่นได้ศึกษาดูเผื่อมีประโยชน์กับผู้อื่น  ก็มีผู้ที่ได้มาอ่านได้มาสนทนาก็เป็นหลายร้อยท่านภายในเวลาหนึ่งปี ก็คุ่มแล้วกับเวลาที่เสียไป ได้ความสุข ปิติและความอิ่มใจกลับมา
        และเมื่อภายหลังพื้นที่เวบฟรี มีขอบเขตจำกัดในการนำเสนอ จึงจ่ายเล็กๆ น้อยๆ ก็มีผู้ที่ได้มาอ่านได้มาศึกษาดูเป็นจำนวนมากกว่าพันคน หรือประมาณ หมื่น User ต่อปี ก็คุ้มแล้วกับเวลาและเงินเล็กๆ น้อยๆ ที่เสียไป ได้ความสุข ปิติและความอิ่มใจกลับมา

        ไม่ได้ลาภ ไม่ได้ยศ แม้แต่ไม่ได้การสรรเสริญให้ปรากฏในสังคม ก็ไม่ได้คำนึงหรือคิดจะได้ แต่ได้กระทำในสิ่งที่ผู้อื่นได้อ่านได้ศึกษา ได้นำไปพิจารณา เพื่อประโยชน์เขา ก็เป็นประโยชน์เรา ที่ได้ความสุข ปิติและความอิ่มใจ ในการดำรงณ์ชีวิตอย่างไม่แห้งแล้ง
  
        ผมปฏิบัติได้มีประสบการณ์ในวิปัสสนาญาณและฌานต่างๆ   ผมเรียนรู้แม้กระทั้งว่าทำอย่างไร  แนะนำผู้ปฏิบัติถึงช่วงไหน ที่ผู้นั้นจะเกิดศรัทธาในตัวผมอย่างแรงกล้า และผมปฏิบัติตนอย่างไร ที่สามารถทำให้ผู้คนมาศรัทธาผมได้อย่างมากมายและแรงกล้า  แต่ผมก็ละไม่ทำสิ่งนั้นเสีย เพราะมีประโยชน์อะไรในเมื่อพระพุทธศาสนายังสมบูรณ์ด้วยพระธรรมและพระสงฆ์ ที่จะทำให้ผู้คนเพียงศัทธาหรือเชื่อเท่านั้นหรือ?
         เพราะยังมีสิ่งที่เหนือกว่านั้นคือปัญญา  เนื่องจากผู้ที่มีปัญญา ย่อมนำพาตนเองให้พ้นภัยได้ เป็นที่พึงแห่งตนได้ ย่อมตัดสินใจกระทำได้ถูกมีความผิดพลาดน้อยในภาวะต่างๆ ได้
        โอ้โห้ ผมก็พล่ามช่วงที่ 1 เสียยาว
       
      ช่วงที่ 2 ก็มีปัญหากับผู้ร่วมซื้อที่ (น้องสาว) เกิดมีอาการชงักงัน ลังเลยกเลิกการซื้อ เพราะผู้ขายต้องการขายยกแปลง หรือซื้อรวมกันถึง 3 ไร่ ถ้าผมซื้อไร่เดียวเขาไม่ขาย  ผมจึงต้องใช้ทิศทางในการเจรจา จึงเหลือ 2 ไร่ ผมกับน้องสาว(แฟน)คนละไร่  ผู้ขายยอมขาย ทุกอย่างก็ไม่น่าจะมีอะไรผิดพลาด น่าจะจบอย่างแอบปี้  เพราะผมได้เตรียมหลักฐานและเอกสารทุกอย่างพร้อมในการกู้แบ็งเพิ่มนิดหน่อย

      ช่วงที่ 3 ก็คือวันนี้เอง ผมไปแบ้งค์ ยอมไปทำงานสาย พร้อมกับเอารถเข้าศูนย์ด้วย  แต่แบ้งค์บอกผมว่า ผมกู้เพิ่มน้อยเกินไป  ต้องกู้แล้วยอดรวมมากกว่า ห้าแสนขึ้นไปจึงจะอนุมัติได้ อย่างนั้นต้องไปกู้แบบบุคคลธรรมดา ดอกเบีย บวกอีก 8 เปอรเช็นตร์  ผมจึงยุติการประสงค์ซื้อที่ดินเพียงแค่นี้  และวางใจทันที่ โล้งไปเลย เอารถเข้าศูนย์แล้วมานั่งคียส์เล่าเรื่องอยู่แหละครับ  

      อาจจะมีบางท่านคิดว่าผมเล่าอะไรมายาวจังเกี่ยวอะไรกับกระทู้  มันเกียวครับถึงแม้จะไม่มากหนักแบ่งได้ดังนี้
       ในช่วงที่ 1. ผมปล่อยไปตามเหตุการณ์ ไม่ได้อาศัยกรรมฐานเขามาช่วย เพราะใจประสงค์ที่จะได้
       ในช่วงที่ 2. ผมต้องอาศัยกรรมฐานและการดูจิตเข้าช่วย  จนเห็นการเกิดดับ วางการอยากซื้อออกไป  วางใจไว้ก่อนแล้วตอนได้รับโทรศัพย์จากแฟนว่าน้องสาวยกเลิกการซื้อ พอเจอหน้าน้องสาวในตอนเย็น จึงไม่เกิดการขัดใจขุ่นเคือง และเห็นเหตุผลของเขาที่เขาไม่ซื้อ
        ในช่วงที่ 3. ผมได้กำหนดกรรมฐาน ดูจิตจนเกิดภาวะเกิดดับ แล้วพิจาราณาไปว่าจะเป็นของเราก็ต้องเป็นของเรา ถ้าไม่ใช่ก็ต้องปล่อยไป ก่อนออกจากบ้านไปแบ้งค์   เมื่อยื่นเอกสารให้สินเชื้อ และบอกจำนวนเงินกู้ พนักงานก็ไม่คิดอะไร  แต่พอจะเอาเอกสารค้ำประกันเงินกู้เพื่อทำประกัน จึงถามยอดเงินกู้จากผมอีกที ผมก็บอกไป พนักงานพอได้ทราบชัดถึงหนี้เหลือที่ติดแบ้งค์อยู่ไม่กี่หมื่น เมื่อบวกกับยอดเงินทีผมจะกู้ ซึ่งเป็นยอดที่น้อยกว่าที่ทางแบ้งค์กำหนดไว้มากเลย   พนักจึงบอกผมว่ายอดกู้น้อยเท่านี้แบ้งค์ไม่อนุมัติหรอกครับ ผมจึงให้พนักงานหาวิธีอื่นที่จะกู้ได้ ก็คือมีวิธีเดียวคือกู้แบบบุคคลธรรม ซึ่งดอกเบี้ยสูงมาก ผมเลยตัดใจไม่เอาวาง โล่งใจไปเลย

    เป็นอันว่าในวันจันทร์ ผมคงสามารถนำจตุกะที่เหลือ มาเขียนต่อไปได้อีก โดยลองพิจาณาปฏิบัติตรวจสอบดูก่อน  เพราะจตุกะต่อไปจะเป็นเรืองของ ธรรม  หรือ ธรรมานุปัสสนา (พิจารณาธรรมในธรรม)
  
 

ตอบโดย: Vicha 24 ก.พ. 49 - 16:14


ครับ
ผมขอแก้ไข   - ความคิดเห็นที่ 111

หนังสือที่ผมอ่านได้อ้างอิงถึง
พระคัมภีร์เล่มหนึ่ง ( ??? ไม่ทราบว่าใช่ พระสูตรหรือไม่)
และ  คัมภีร์วิสุทธิมรรค ...  อีกทอดนึง ครับ

ตอบโดย: ธนัส 24 ก.พ. 49 - 16:36


วันนี้วันจันทร์ ก็เป็นอันว่าผมได้ตัดสิ้นเด็ดขาดแล้วในการไม่ซื้อที่ เมื่อเย็นวันเสาร์ แต่ผมได้ตัดสินใจกระทำบางอย่างเพื่อธรรมนี้แหละครับ(อยู่ในความคิดเห็นต่อไป)   หลังจากนั้นผมก็ได้ลองปฏิบัติทบทวน จตุกะที่ 12

   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า

    จตุกะที่ 12 นี้ กำลังเข้าสู่การพิจารนาธรรม หรือธรรมในธรรม หรือธรรมมานุปัสสนา ตามที่ผมกล่าวไว้แล้วในความคิดเห็นก่อน

     จึงเกิดปัญหาขึ้นมาว่า จะปฏิบัติอย่างไรคือ
     1. รู้ทั้งกองลมที่กระทบ และความไม่เที่ยงได้อย่างไร?
     2. แล้วแยกแยะพิจารณาได้อย่างไร?

     จะเห็นว่าจากปัญหาที่ผมตั้งไว้ นั้นทำให้เห็นถึงความระเอียดอ่อนของ อานาปานสติ อย่างชัดเจน คือ
     1. รู้ทั้งกองลมที่กระทบ และความไม่เที่ยงได้อย่างไร?
     2. แล้วแยกแยะพิจารณาได้อย่างไร?
      ผมขอชี้แนะเพื่อให้พิจารณาพร้อมกันทั้งสองข้อ(เพราะเกี่ยวเนื่องกันแยกออกกันยาก)ดังนี้  กองลมที่กระทบ หรือที่ปรากฏนั้น ย่อมเป็นไปตามธรรมชาติของร่างกาย ที่ต้องหายใจออกและเข้าอยู่แล้ว เมื่อรับรู้ ก็เป็นการรับรู้  รูปและนาม ถ้าแยกรูป-นามได้ ก็แยกรูป-นามได้ เป็นปกติ แล้วเกิดภาวะสั้นบางยาวบ้าง เบาบ้างแรงบ้าง โล่งบ้างอึดอัดบ้าง ก็เป็นไปตามภาวะที่ปรากฏขึ้น เป็นอันว่า กองลมที่กระทบหรือปรากฏ ย่อมเป็นธรรมชาติอย่างนั้นอยู่แล้ว
       ดังนั้นสำคัญอยู่ตรงที่ พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ในขณะหรือช่วงหายใจออกหายใจเข้า
       ผมขอกล่าวถึง ในขณะก่อน เมื่อกำลังหายใจออกอยู่ ขณะที่ลมกระทบออกอยู่นั้น รูปและนามที่ปรากฏให้รับรู้อยู่นั้น ในขณะที่ลมหายใจออกนั้นก็ไม่เหมือนกันหรือต่างกันหาได้เหมือนกันทั้งหมด ถ้าเป็นผู้ที่มีสติละเอียดและมีปัญญา ก็จะเห็นความไม่เที่ยงในขณะหายใจออกนั้นได้ แต่เป็นภาวะที่ระเอียดอ่อนจริงๆ ครับ เพราะถ้าไม่เป็นไปตามภาวะแห่งความาจริงที่สติระเอียดอ่อนแต่ไปบังคับเพื่อให้ปรากฏเห็นก็จะอึดอัด และเพ่งจนตึงเกินไป
       ต่อไปเรื่องพิจารณาในขณะๆ นั้นผมขอยกไว้ เมื่อยังไม่มีสติระเอียดอ่อน กล่าวคือไปพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในช่วงหายใจออกหรือหายใจเข้า ผมเองก็ใช้แบบนี้ในเบื้องต้น และเมื่อมาลองปฏิบัติ ก็ได้ทดลองแบบนี้
        คือช่วงหายใจออก ก็รู้ว่าหายใจออกและภาวนาว่าไม่เที่ยงถึงภาวะการหายใจออก เมื่อสุดลมหายใจออก ก็เห็นความไม่เที่ยงที่ต้องหายใจเข้า เมื่อหายใจเข้าก็รู้ว่าหายใจเข้าและภาวนาว่าไม่เที่ยงถึงภาวะการหายใจเข้า เมื่อสุดหายใจเข้าก็เห็นความไม่เที่ยงที่ต้องหายใจออก สลับกันไปอยู่อย่างนี้
        
       และจากการที่ผมได้ทดลองทบทวน แต่เนื่องจากพละ 5 ที่มีอยู่นั้นลดน้อยลง และกำลังอ่อน ห่างจากการปฏิบัติด้วยความเพียรมานาน  เมื่อปฏิบัติพิจารานาความไม่เที่ยงหายใจออก  พิจารณาความไม่เที่ยงหายใจเข้า สติสามาธิก็ค่อยละเอียดขึ้นไปสักพักหนึ่ง เหมือนตั้งมั่นดี แต่พอเวลาผ่านไปสักพักหนึ่ง สติต่างๆ ก็เลือนหายไป ลากอยู่ภายใต้ภวังค์อยู่เป็นเวลานาน จึงค่อยรู้สึกตัวขึ้นมาอีก หลุดจากการกำหนดภาวนาและการรับรู้ลมหายใจไปเสียแล้ว  ทำให้ผมสามารถเชื่อมต่อภาวะธรรมที่เคยเกิดขึ้นกับผมในสมัยเริ่มต้นปฏิบัติธรรมดูลมหายใจ ภาวนาว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนในช่วงหายใจออกแล้วหายใจเข้า  แต่ปฏิบัติอย่างอื่นตามแนวยุบหนอ-พองหนอ เมื่อปี 2526 ได้อย่างชัดเจน   เพราะในสมัยนั้นผมเกิดภาวะการวูบหาย หรือวูบดับหายไปเป็นประจำ
  
     เป็นอันว่า จตุกะที่ 12 ผมได้คุยแจกแจง ตามที่ผมพอรู้พอได้เรียนมาให้ทราบแล้วนะครับ

ตอบโดย: Vicha 27 ก.พ. 49 - 14:43


  ในความเห็นนี้ ที่ผมได้บอกแล้วว่าผมได้ตัดสินใจบางอย่างในความเห็นเก่าเพื่อธรรม ผมก็จะเสนอให้ทราบ

   ตลอดเวลา ตั้งแต่ ปี 2539-2542 ที่ผมเปิดให้โทรศัพย์สนทนาธรรมที่บ้าน ก็มีผู้ที่ประสงค์เจอผมสนทนาธรรมกันเห็นหน้า แต่ผมก็ไม่เคยเปิดโอกาสนั้นเลย
   และตลอดเวลา ตั้งแต่ ปี 2543-ปัจจุบัน ก็มีผู้ที่ประสงค์สนทนาธรรมกับอย่างเห็นหน้าตา แต่ภาวะต่างๆ ก็ไม่อำนวย และผมก็ไม่เปิดโอกาสตรงนั้น บวกกับยังมีข้อกังขาที่ยังเชือมต่อไม่ได้ ในสองส่วนคือ อานาปานสติ กับแนวปฏิบัติยุบหนอ-พองหนอ
   
    แต่ในปัจจุบันผมพร้อมแล้ว ทั้งการปฏิบัติแนวยุบหนอ-พองหนอ และ อานาปานสติ  เพราะไม่น่าจะมีตรงส่วนที่ทำให้ผมเกิดข้อกังขาแล้ว ในการที่แนะกรรมฐานเบื้องต้น และแก้ข้อกังขาระหว่างสองแนวนี้ได้ ทั้งในส่วนที่ต่างกันในเรื่องฌานและญาณ และที่เข้ากันได้ที่เป็นไปตามสติปัฏฐาน 4
 
     ดังนั้นผมจึงจะเปิดโอกาส ให้ผู้ที่สนใจสนทนาธรรมที่ประสงค์จะสนทนากับผมแบบเห็นกันอย่างชัดเจน  ได้มีโอกาสมาสนทนากับผมที่บ้านของผมได้ เพราะมีบริเวณพื้นที่ด้านข้าง จัดเป็นที่สนทนาโดยแยกมาต่างหากได้ ก็จะไม่อีดอัดกับกิจกรรมต่างๆของเด็กหรือผู้ที่อยู่ในตัวบ้าน

     ผมได้กำหนด เฉพาะวันอาทิตย์  ช่วงเวลา 14.00 ถึง 17.00  แต่สามารถรับรองได้ครังละ 1 ถึง 5 ท่าน เพราะเก้าอี้จำกัดอยู่เพียงแค่นั้น แต่สถานที่นั้นสามารถรองรับได้ถึง 10 ท่าน ต้องดูทิศทางของจำนวนท่านที่จะมาสนทนากันอีกทีหนึ่งครับ เพราะอาจจะไม่มีใครประสงค์จะมาก็ได้เนื่องจากไกลเกินไป หรือไม่สะดวกในการเดินทาง  เพราะบ้านผมอยู่หมู่บ้านพนาสนธิ์กาเด็นโอม 3 ทางฝั่ง  มีนบุรี-ลาดกระบัง ถนนร่มเกล้า ตรงกันข้ามเยื่องกับปากทางเข้าเคหะร่มเกล้า หรือวัดปากบึง

      เอาไว้ผมจะตั้งกระทู้ในสมาชิกสัมพันธ์ เพื่อยั่งเสียงผู้ประสงค์จะมาสนทนา และความพร้อมในการนัดวันอาทิตย์และเวลาเริ่มที่เหมาะอีกที่นะครับ

 

ตอบโดย: Vicha 27 ก.พ. 49 - 17:00


ปฏิบัติไม่ถึงแต่ติดตามอ่านครับ ขออนุโมทนาในกุศลจิตครับท่าน

ตอบโดย: ธนัส 28 ก.พ. 49 - 09:42


ผมเป็นสมาชิกใหม่ที่ยังไม่ทราบอะไรมากนักขอรบกวนถามเกี่ยวกับ
กายกรรม 3  วจีกรรม 4 มโนกรรม 3 หน่อยครับ ว่ามีอะไรบ้าง

ตอบโดย: udonteva 28 ก.พ. 49 - 11:30


  น่าจะไปถามในห้องอภิธรรมนะครับ เพราะจะได้คำตอบที่ละเอียดกว่า
  ที่ผมค้นได้จากความเห็นคุณปิ่น มีดังนี้ครับ

 กายกรรม 3 , วจีกรรม  4 ,  มโนกรรม  3

กายกรรม  1. เว้นจากการฆ่าสัตว์
                2. เว้นจากการลักทรัพย์
                3. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม

วจีกรรม    1.เว้นจากการพูดเท็จ
                2.เว้นจากพูดส่อเสียด
                3.เว้นจากพูดคำหยาบ
                4.เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ

มโนกรรม  1.เว้นจากการเพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่น
                 2.เว้นจากการคิดร้ายผู้อื่น
                 3.เว้นจากการมีความเห็นผิด ( มิจฉาทิฏฐิ )
 

ตอบโดย: Vicha 28 ก.พ. 49 - 13:20


วันนี้ได้โอกาศมาคุยเรื่อง อานาปานสติ 16 จตุกะ ต่อ  แต่เมื่อผมกลับไปทบทวน จำนวนจตุกะที่คุยผ่านมาแล้ว ก็เห็นว่าผมบอกลำดับจตุกะข้ามไปหรือควบจตุกะใดจตุกะหนึ่งรวมกัน ซึ่งคงเป็น ลำดับที่ 2 กับ 3 จึงทำให้ที่คุยกันในความคิดเห็นก่อนๆ จัดลำดับผิดไป ดังนั้น ผมขอเรียงให้ชัดเจนอีกครังดังนี้

(1)    เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
(2)    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
(3)    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น
(4)    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจเข้า
(5)    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก เป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า
(6)    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งปีติหายใจเข้า
(7)    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งสุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งสุขหายใจเข้า
(8)    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจเข้า
(9)    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจเข้า
(10)   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจ เข้า
(11)   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้บันเทิงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักทำจิตใจให้บันเทิงหายใจเข้า
(12)   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่นหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า
(13)   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า
(14)    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจเข้า
(15)    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจเข้า
(16)    ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก.

    ดังนั้นจตุกะที่จะคุยต่อไป คือลำดับที่ 14

   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจเข้า

     จตุกะที่ 14 เป็นลำดับที่อธิบายยากอยู่เหมือนกัน เพราะจะไปคล้ายกับจตุกะที่ 12 ตรงที่ ยอมสำเหนียกว่า เราจะเปลื้องจิตหายใจเข้า

     ดังนั้นจึงมีปัญหาว่า การคลายกำหนัด กับ  เปลื้องจิต ต่างกันอย่างไร?

     เมื่อดูในจตุกะที่ 12 แล้ว ก็จะได้ว่า จิตตั้งมั่น แล้วจึงเปลื้องจิต ได้  ดังนั้นต้องเป็นภาวะที่เป็นกิเลสที่ไม่เหนียวแน่น ไม่ได้ฝั่งรากลึก เช่นความโกรธขุ่นเคือง เมื่อจิตตั่งมั่นแล้ว ความโกรธความขุ่นเคืองนั้นโดนเปลื้องออกไปจากจิตได้ง่าย หรือความง่วงหาวหาวนอน เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ความง่วงหาวหาวนอนนั้นโดนเปลื้องออกไปจากจิตได้ง่าย และก็เช่นเดียวกับการฟุ้งทางความคิด เมื่อจิตตังมั่นแล้วก็สามารถเปลื้องออกไปได้ง่าย
     แต่กำหนัดน่าจะเป็นสิ่งที่เหนียวแน่นและลึกกว่านั้น  ได้แก่การหลงรักแบบฉันชู้สาว หรือการมีกามตัณหา(อยากมี อยากเป็น อยากได้ อารมณ์ทางเพศ ฯลฯ)  เพราะสิ่งเหล่านี้เมื่อปรากฏขึ้นในจิตแล้ว จิตย่อมตั้งมั่นได้ยาก(ยากจริงๆ เพราะทุกคนต่างก็คงมีประสบการณ์มาแล้ว)  นี้จึงเรียกว่าความกำหนัด จะเปลื้องจิตแบบทิ้งแล้วหายไปทันทีคงทำไม่ได้  ดังนั้นจึงต้องคลายออกไปๆ  จนเข้าสู่ความสงบ   เช่นเดียวกับมิฉฉาทิฏฐิ การกำจัดออกจากใจก็ต้อง ค่อยๆ คลายออกไปด้วยปัญญา จึงจะวางละไปได้

      ดังนั้นในจตุกะที่ 14 นี้ ก็จัดเป็นเรื่องของ ธรรมานุปัสสนา  ก็คือการพิจารณาธรรมารมณ์ ของการเกิดกำหนัดนั้น แล้วค่อยปล่อยวางออกไป หรือคลายออกไป เพราะความกำหนัดนั้นเมื่อเกิดขึ้นหรือปราฏขึ้นแล้วผูกพันธ์แล้ว จะให้เปลื้องออกไปทันทีหรือ ดับออกไปทันทีนั้นทำได้อยาก ยกเว้นผู้ที่ฝึกวางฝึกคลายมาจนชำนาณแล้ว
       ตัวอย่างเช่นเมื่อเกิดนึกถึงคนรักเถวิลหาคนรัก ไม่ว่าเราจะหายใจเข้าหรือออกก็จะมีความคิดถึงเถวิลหาไม่จางคลายได้ง่าย  ถึงแม้รู้ตัวแล้วก็เป็นไปได้ยากที่จะดำรงณ์ให้จิตตั้งมั่นได้ ก็มีวิธีเดียวคือค่อยๆ คลายความคิดความเถวิลหานั้น ดังนี้

        ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจเข้า

    ผู้ที่ปฏิบัติกรรมฐานทั้งหลายย่อมได้ประสบการณ์ทางกามตัณหา(อยากมี อยากเป็น อยากได้ และกามารมณ์ ฯลฯ แม้แต่มิฉฉาทิฏฐิ) มาแล้วทั้งนั้น การจะดับมันในเบื้องต้นก็ต้องใช้วิธิ ค่อยๆ คลาย ค่อยๆ วางออกไป จนเกิดปัญญาขึ้นชำนาญขึ้น

   เป็นอันว่า ยังมีอีก 2 จตุกะ ก็จะครบทั้ง 16 จตุกะแล้วนะครับ

ตอบโดย: Vicha 02 มี.ค. 49 - 15:06


คุณเซียม
    ด้วยความยินดีอย่างยิ่งและขออนุโมทนาบุญที่คุณได้กระทำลง  ระลึกถึงคุณเสมอที่เมื่อสิบปีก่อนคุณได้แนะนำเรื่องสติ ปัจจุบันเกิดความเข้าใจและฝึกต่อได้มากพร้อมทั้งวางการรู้เห็นลงได้จะใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น ที่คุณพิมพ์นั้นเข้าใจ อ่านง่าย ขออนุโมทนาถ้าจะรวบรวมที่พิมพ์เป็นซีดีให้download ได้น่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจ
    ด้วยความเคารพ
    ปิ๋ว

ตอบโดย: wisaimc 02 มี.ค. 49 - 20:41


  สวัสดีครับ คุณปิ๋ว โอ้ ผ่านมา 10 ปีแล้วนะครับที่ได้สนทนากันทางโทรศัพย์

  ได้รับรู้ถึงการพัฒนาของคุณปิ๋ว ก็ยินดีด้วยครับ  ส่วนผมเองก็พัฒนาจากเมื่อ 10 ปีที่แล้วเหมือนกันครับ ในเรื่องของอานาปานสติ ที่สมบูรณ์ขึ้น

   ด้วยความยินดีครับ
 

ตอบโดย: Vicha 03 มี.ค. 49 - 08:41


   ผมขออภัยทุกท่านที่ได้อ่านตั้งแต่ต้น  และขอบคุณ คุณธนัส ที่ส่ง จม.สมาชิก ชี้ให้ผมทราบ ถึงข้อผิดพลาดที่ผมไม่ได้เฉลียวใจ ว่าอาจจะมีการพิมพ์ตกหรือข้ามไปหรือย่อจตุกะ ในเอกธรรมสูตร  ทำให้การนับจำนวนจตุกะ ตามเอกธรรมสูตรนั้นมีปัญหาได้  ผมจึงได้ไปทำการค้นใหม่อีกครัง จากในพระไตรปิฏก อีกส่วนหนึ่ง เพื่อเปรียบเทียบ ดังนี้

                       อานาปานสติภาวนา
          [๑๔๖] ดูกรราหุล เธอจงเจริญอานาปานสติภาวนาเถิด เพราะอานาปานสติที่บุคคล
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผล มีอานิสงส์ใหญ่. ก็อานาปานสติอันบุคคลเจริญอย่างไร
ทำให้มากอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่? ดูกรราหุล ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี
อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติ
หายใจออก มีสติหายใจเข้า. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว
ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว.  เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น
ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียก
ว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจออก ย่อม
สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ย่อม
สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก ย่อม
สำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง
หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียก
ว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจาก
ราคะหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจออก ย่อมสำเหนียก
ว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่
สละคืน หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่สละคืน หายใจเข้า. ดูกรราหุล
อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
ดูกรราหุล เมื่ออานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ลมอัสสาสะ
ปัสสาสะ อันมีในภายหลัง อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติทราบชัดแล้ว ย่อมดับไป หาเป็น
อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติไม่ทราบชัดแล้ว ดับไปไม่ได้ดังนี้.
          พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระราหุลมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.

   ซึ่งจะเห็นว่ามีความแตกต่างกันทันทีในการนับจำนวนจตุกะ เพื่อให้เป็นไปตาม 16 จตุกะ และในการแปลบางจตุกะก็ใช้คำแตกต่างจากเอกธรรมสูตรที่ผมยกมาแสดงทั้งแต่ต้น ดังนี้

                       อานาปานสติภาวนา
          [๑๔๖] ดูกรราหุล เธอจงเจริญอานาปานสติภาวนาเถิด เพราะอานาปานสติที่บุคคล
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผล มีอานิสงส์ใหญ่. ก็อานาปานสติอันบุคคลเจริญอย่างไร
ทำให้มากอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่? ดูกรราหุล ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี
อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
       เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า.
(1) เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว.
(2) เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น.
(3) ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า.
(4) ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจออกย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า.
(5) ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจออกย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจเข้า.
(6) ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจเข้า.
(7) ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจเข้า.
(8) ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจออกย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจเข้า.
(9) ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจออกย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า.
(10) ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจออกย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจเข้า.
(11) ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจออกย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจเข้า.
(12) ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจเข้า.
(13) ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า.
(14) ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณธรรมอันปราศจากราคะหายใจเข้า.
(15) ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจเข้า.
(16) ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่สละคืน หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่สละคืน หายใจเข้า.

     ดูกรราหุลอานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ดูกรราหุล เมื่ออานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ลมอัสสาสะ
ปัสสาสะ อันมีในภายหลัง อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติทราบชัดแล้ว ย่อมดับไป หาเป็น
อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติไม่ทราบชัดแล้ว ดับไปไม่ได้ดังนี้.
          พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระราหุลมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.

   ข้อสังเกตุ ที่ต่างกัน

    จะเห็นว่าในเอกธรรมสูตร ต้องเริ่มนับจตุกะ ที่ 1 ตั้งแต่ มีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า จึงจะนับได้ครับ 16 จตุกะ
    แต่ใน อานาปานสติภาวนา ต้องเริ่มนับจตกะที่ 1 ตั้งแต่  เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว.   ซึ้งต้องเลื่อนลงมา 1 ขั้นจึงจะนับได้ 16 จตุกะพอดี

    และจากจตุกะที่ 14 ก็แปลใช้คำต่างกัน ดังนี้

 ในเอกธรรมสูตร
   ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจเข้า

  ในอานาปานสติภาวนา
     ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณ ธรรมอันปราศจากราคะหายใจเข้า.

    แต่ถึงแม้จะแปลต่างกัน ก็ยังจัดเป็น ธรรมนานุปัสสนา เหมือนเดิม

      และจากสองส่วนนี้ สามารถทำให้ทราบชัดว่า  กำหนัด ก็คือ ราคะ หรือตัณหา นั้นเอง

ตอบโดย: Vicha 03 มี.ค. 49 - 14:20


ขอคุยต่อนะครับ

         ความคลายกำหนัด หรือ ธรรมอันปราศจากราคะ  เป็นหัวข้อธรรมที่สำคัญอย่างมาก

   แต่ผมเองก็ยังมีความกำหนัดอยู่ หรือยังมีราคะอยู่   ดังนั้นผมจะคุยถึงธรรมที่คลายกำหนด  หรือธรรมอันควบคุมราคะ  ที่สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้กับอนาปานสติ จัดเป็นข้อ ๆ ดังนี้

      1.เกิดกามราคะหรือติดมั่นหรือหลงในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ต้องอาศัย อสุภะกรรมฐาน หรือปฏิกูลกรรมฐาน   อสุภะกรรมฐาน(เพ่งซากศพ)สามารถควบคุมหรือคลายกามราคะ  หรือการยึดติดในรูปได้ดี
       ข้อน่าสังเกตุ  อสุภะกรรมฐานปฏิบัติสูงสุดได้กำลังสมาธิแค่ ฌาน 1 เท่านั้น  แต่อานาปานสติมีกำลังสมาธิถึง ฌาน 4(ผู้มีปัญญาไว้) หรือ 5(ผู้มีปัญญาช้า)  ทำไม่ต้องใช่อสุภะกรรมมาช่วยในการควบคุมกามราคะเหล่า ทั้งๆ ที่อานาจ ฌาน สูงกว่า
        ปัญหาไม่ใช่จะอยู่ที่อำนาจฌานสูงกว่าหรือต่ำกว่า อยู่ที่ว่าเมื่อเกิดกามราคะแล้วหรือหลงในรูปแล้ว  จิตจะปรุงแต่งและฟุ้งซ้านอยู่ในเรื่องกามราคะนั้นไม่ย่อมคลาย ต่อให้มีฌานสูงขนาดใหน ก็ไม่สามารถตั้งมั่นได้หรือเจริญขึ้นได้โดยง่าย  ก็ต้องลงมาเพ่งหรือยกอสุภะกรรมฐานนี้แหละ จึงจะพอบรรเทาคลายกำหนัดหรือกามราคะนี้ไปได้

  สรุป 1.ดังนั้นอสุภะกรรมฐาน เป็นธรรมอย่างหนึ่งที่คลาดกำหนัดในเรื่องกามราคะ หรือหลงรูป ได้

        2. อยากได้สิ่งของ(รถ ,บ้าน ,แฟน ฯลฯ) อยากได้ลาภได้ยศ ในสิ่งที่ยังไม่มีหรือมีอยู่แล้วแต่ต้องการที่ดีขึ้น แต่ยังไม่สามารถทำให้มีมาได้ หรือยังไม่เหมาะสมที่จะมีได้  ซึ่งการที่จะใช้อสุภะกรรมฐานนั้นคงใช้ไม่ได้   ก็ต้องใช้ธรรม  คือความไม่ยึดมั่นถือมั่น หรือ อนัตตานั้นเอง เป็นหลัก เห็นความ"เป็นเช่นนั้นเอง" บวกกับความเข้าใจในเหตุและผลของเรื่องกรรม  "สิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี  สิ่งนี้ไม่มีสิ่งนี้จึงไม่มี"  ก็สามารถที่จะคลายหรือวาง ภวตัณหาลงไปได้

  สรุป 2. เมื่อเกิดความอยากได้สิ่งของ ที่ยังไม่สามารถทำให้มีได้ หรือยังไม่เหมาะสมที่จะมี ก็ต้องอาศัยธรรมที่พิจาราณาหรือภาวนาว่า  "เป็นเช่นนั้นเอง" เข้าใจเรื่องกรรมในเหตุและผลเห็น "กรรมเป็นเช่นนั้นเอง"   ในข้อ 2 นี้แม้จะได้ในสิ่งที่อยากได้ ก็ต้องภาวนา เพื่อไม่ให้เกิดการฟูของจิตจนเกินเลย

      3. ผิดหวัง หรือเสียลาภ เสียยศ หรือสูญเสีย ไม่ได้ดังที่ตั้งใจ  ก็ต้องใช้ธรรมเพื่อเตือนสติตนเอง ไม่ให้จิตเศร้าหมองหรือสลดหดหู่จนเกินไป แล้วกลายเป็นอกุศลจิต คิดไปในทางเบียดเบียน   ก็ต้องอาศัยธรรมที่พิจารณาหรือภาวนาว่า "ทุกสิ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปสลายไปเป็นธรรมดา" หรือ "อะไรจะเกิดก็ต้องเกิดไปตามกรรมตามวาระ"  จึงจะคลายความกำหนัด ของวิภวตัณหา ไปได้

     สรุป 3. ผิดหวัง เสียลาภ เสียยศ สูญเสีย หรือไม่ได้ดังใจ ก็ต้องอาศัยธรรมที่พิจารณาหรือภาวนาว่า "ทุกสิ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเป็นธรรมดา" หรือ "อะไรจะเกิดก็เกิดไปตามกรรมตามวาระ"


    ผมจะยกปฏิกูลบรรพ มาแสดงด้วยนะครับ

    [๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้
 แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังเป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของ
 ไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ
 เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ ผังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่
 ไส้ทบ อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา
 มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไถ้มีปาก
 สองข้าง เต็มด้วยธัญชาติต่างชนิดคือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง
 งา ข้าวสาร บุรุษผู้มีนัยน์ตาดีแก้ไถ้นั้นแล้ว พึงเห็นได้ว่า นี้ข้าวสาลี นี้ข้าว
 เปลือก นี้ถั่วเขียว นี้ถั่วเหลือง นี้งา นี้ข้าวสาร ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือน
 กัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนัง
 เป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ ผม ขน
 เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ ผังผืด
 ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้ทบ อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด
 เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ดังพรรณนามา
 ฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภาย
 นอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ
 ความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็น
 ธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของ
 เธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
 เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกร
 ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
                       จบปฏิกูลมนสิการบรรพ

แล้วผมจะยกอสุภสูตร ที่เกี่ยวเนื่องกับ อานาปานสติด้วยนะครับ

          ๖. อสุภสูตร
          [๒๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้พิจารณาเห็นอารมณ์ว่าไม่งามในกายอยู่
จงเข้าไปตั้งอานาปาณสติไว้เฉพาะหน้าในภายใน และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขาร
ทั้งปวงอยู่เถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายพิจารณาเห็นอารมณ์ว่าไม่งามในกายอยู่
ย่อมละราคานุสัยในเพราะความเป็นธาตุงามได้ เมื่อเธอทั้งหลายเข้าไปตั้งอานาปาณสติไว้เฉพาะ
หน้าในภายในธรรมเป็นที่มานอนแห่งวิตกทั้งหลาย (มิจฉาวิตก) ในภายนอก อันเป็นไปในฝักฝ่าย
แห่งความคับแค้น ย่อมไม่มี เมื่อเธอทั้งหลายพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวงอยู่
ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น ฯ
          ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอารมณ์ว่าไม่งามในกาย มีสติเฉพาะในลมหายใจ
          มีความเพียรทุกเมื่อ พิจารณาเห็นซึ่งนิพพานอันเป็นที่ระงับสังขาร
          ทั้งปวง ภิกษุนั้นแล ผู้เห็นโดยชอบพยายามอยู่ ย่อมน้อมไปใน
          นิพพานเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวง ภิกษุนั้นแล ผู้อยู่จบอภิญญา
          สงบระงับล่วงโยคะเสียได้แล้ว ชื่อว่าเป็นมุนี ฯ

           จบสูตรที่ ๖

  การคุยในความคิดเห็นนี้เป็นหลักในการพิจารณาธรรมโดยตรงไม่ใช้แนวปฏิบัติที่เป็นแบบโดยตรงครับ ครับ

ตอบโดย: Vicha 06 มี.ค. 49 - 11:10


ผมทราบมาดังนี้
- กามราคะตัวแก้และทดแทนกันได้   คือ  ฌาณ (ความสุขสงบในฌาณ)  แต่จะได้ฌาณ   ต้องละกามฉันทะ แล้วจะทำอย่างไร มันวนกันอย่างนี้
   ก็เลยต้องใช้ความคิดพิจารณาตามแบบท่านว่าคือ พิจารณา อสุภ  คงมีแพ้บ้างชนะบ้าง  อาหารบางอย่างก็กินไม่ลง  ถ้าผมไปนึกถึง
- ความอยากได้สิ่งใดใดทั้งวัตถุสิ่งของ รูปธรรม นามธรรม ความคาดหวังต่างๆ   ผมก็ว่า
   อะไรที่มันทำให้เรามีความสุขได้มันก็ทำให้เรามีความทุกข์ได้ด้วย
  เหมือนที่ผมเคยถามท่าน เรื่องเถาวัลย์พันต้นไม้  ผมยังคงต้องคอยระวังใจไว้อยู่เรื่อยครับ

ตอบโดย: ธนัส 06 มี.ค. 49 - 13:34


ครับ คุณธนัส

      ธรรมใดที่คลายกำหนัด หรือราคะได้ ธรรมนั้นควรเจริญครับ

      มาดูภาวะของกามราคะ ที่ผมพอวิเคราะห์ได้ ได้ดังนี้

       1.ภาวะใจที่ยังไม่มีกามราคะรบกวน  ก็มีสติสำรวมกาย วาจาใจ มีสมาธิระดับฌาณ ที่จะทำให้กามราคะที่ยังไม่เกิดไม่รุกรามเกิดขึ้น
      2.ภาวะใจที่มีราคะรบกวนแล้ว  ก็มีสติสำรวมกาย วาจา ใจ พิจารณาธรรมอันคลายกำหนัด ก็ได้แก่ ปฏิกูลบรรพ หรืออสุภ  หรือพิจารณาเห็นความเป็นไตรลักณ์  ก็จะทำให้ราคะที่เกิดขึ้นอยู่คลายไปและดับไป
      3.ภาวะใจที่ได้รับตอบสนองในกามราคะแล้ว  ก็มีสติสำรวม กาย วาจา ใจ  เห็นถึงความเป็นไตรลักษณ์ อันยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ไม่เป็นตัวเป็นตนถาวร  ก็จะทำให้อนุสัยของกามราคะที่ตกตะกอนลงไปนั้น ไม่ยึดมั่นถือมั่นในกามราคะจนแสวงหาอย่างขาดศีลธรรม
  

ตอบโดย: Vicha 06 มี.ค. 49 - 14:45


   เป็นอันว่าที่คุยมาในความคิดเห็นก่อนเป็นเรื่องของธรรมล้วนๆ   คือการพิจารณาธรรมทางจินตมยปัญญา  การพิจารณาธรรมทางจินตมยปัญญาย่อมเกิดมีปัญญาด้อยกว่าภาวนามยปัญญา แต่ก็มีความจำเป็นอยู่

   เพราะการพิจารณานั้นย่อมทำให้เกิดการเดินทางสายกลาง  ส่วนภาวนามยปัญญาย่อมทำให้เดินหรือปฏิบัติอยู่ทางสายเอกคือสติปัฏฐาน 4
 
    แม้แต่พระโพธิสัตว์ก่อนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ก็ทรงพิจารณาถึงทางสายกลางก่อน เพราะถ้าตึงเกินไปดังที่พระองค์ทรมาณตนก็หาถึงจุดหมายให้เกิดปัญญาไม่ และหย่อนเกินไปคือบริโภคกามก็หาได้ถึงจุดหายเกิดปัญญาไม่  เหมือนดังพิน 3 สาย ถ้าตึงเกินไปสายพินย่อมขาดได้ เมื่อหย่อนเกินไปย่อมไม่มีเสียงหรือไม่ไพเราะ ต้องพอดีๆ จึงเกิดเสียงดังและไพเราะ
    หลังจากที่พระโพธิสัตว์พิจารณามีปัญญาเห็นทางสายกลาง เมื่อพระโพธิสัตว์ปฏิบัติกรรมฐานพระองค์ก็ทรงตรัสรู้เป็นสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า
   
    ดังนั้นการมีปัญญาเห็นหรือรู้ทางสายกลางนั้นเป็นด่านแรกของ สัมมาทิฏฐิ คือมีปัญญาเห็นถูกเห็นตรง

     และรูปแบบการดำเนินสู่ทางสายกลางของแต่ละท่านก็หาได้เป็นแบบเดียวกันไม่  แล้วแต่ภาวะหรือบารมีที่สร้างสมมาตามกรรมที่กำลังส่งผล
     ดังเช่นพระโพธิสัตว์ กว่าจะดำเนินเข้าสู่ทางสายกลางได้ต้องบำเพ็ญพรตทรมาณตนเองจนแทบสิ้นชีวิต เสียเวลาไปถึง 6 ปี ก็เพราะผลกรรมที่พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นโชติปาละไปตำหนิ พระกัสสปพุทธเจ้า(พระพุทธเจ้าในอดีตองค์ที่พึ่งผ่านมา)  เมื่อมีเพื่อนมาชวนกันไปเข้าเฝ้าพระกัสสปพุทธเจ้าเป็นครั้งแรกทำนองว่า "สมณะพราหมณ์หัวโล้นนั้นหรือจะเป็นพระพุทธเจ้าได้ การได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเป็นเรื่องที่ยาก"    เพื่อนชวน 3 ครั้งก็ปฏิเสธอย่างนี้ไปถึง 3 ครั้ง
     ด้วยผลกรรมนั้นแหละในชาติที่พระโพธิสัตว์จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติปัจจุบันนี้ พระโพธิสัตว์ต้องหลงเดินทางผิดปฏิบัติทรมาณตนเองเจียดตายเป็นเวลาถึง 6 ปี  ทั้งที่พระพุทธเจ้าในอดีตที่ผ่านมาทรงบำเพ็ญเพียรเพียง 7 วันเป็นอย่างน้อย จนถึง 10 เดือนเป็นอย่างมากก็ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

     และก็มีตัวอย่างของพระอรหันต์มหาสาวกหรือพระอเสติ(เอกคทัต)อีกหลายรูป ที่เป็นไปตามกรรมวาสนาบารมีที่ยากลำบากก่อนที่จะมีปัญญาเห็นทางสายกลางก่อนที่จะบรรลุ
      แต่ก็มีหลายรูปที่เห็นทางสายกลางโดยไม่ยากลำบากเลยแล้วก็บรรลุโดยสะดวก

    ในความเห็นนี้ผมคุยเน้นย้ำในเรื่องทางสายกลาง เพราะมีความสำคัญอยู่มากเหมือนกันในการปฏิบัติกรรมฐาน ซึ่งเป็นด่านแรกของสัมมาทิฏฐิ

     แต่อาจจะมีบางท่านที่เข้าใจคลาดเคลื่อนไป อ้างทางสายกลาง มาทำลายความเพียร คือการปฏิบัติอย่างต่อเนี่องโดยตลอดไปก็มี

       ทางสายกลางนำมาเตือนสติเมื่อ
          1.มีความพยายามกล้าจนเบียดเบียนตนจนเกินไป
          2.มีความหย่อนยานจนเกินไปติดความสบายเกินไป
  

ตอบโดย: Vicha 07 มี.ค. 49 - 11:36


ผมชอบฟังเรื่องราวในพุทธประวัติมาก
แบบที่ท่านเล่ามา...เรื่องกรรม ก็มีความซับซ้อน บางทีก็ทำให้น่ากลัว
บางทีก็รู้สึกว่าเราท่านใครใคร ก็เคยทำผิดมากันมาบ้าง... ไม่มากก็น้อย...
เราควรให้อภัยกัน
........................................................................
มีอยู่เรื่องนึงที่ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกสงสาร
คือ  เรื่องของ ท่านมหาวีระ
ท่านเน้นการทรมานตน  เหมือนกับว่าท่านเคยส่งคนไปตู่ว่า พระพุทธองค์
บ้างก็ว่า ไม่ใช่ของความคิดท่าน ภายหลังท่านตรอมใจตาย
หลังจากสนทนากับท่านคฤหบดีท่านหนึ่งที่ได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว
.......................................................................
ประวัติที่จำได้ - จากหนังสือเล่มหนึ่ง
ท่านมหาวีระ (ชื่อเดิม วรรธมานะ)
เดิมทีท่านเป็นเชื้อสายกษัตริย์  พระราชบิดามารดา  ท่านนับถือ ศาสนาพราหมณ์  อดอาหารจนเสียชีวิต
และถือว่าจะได้ไปเกิดที่ดี  ตามความเชื่อที่ผิด  ในการทรมานกายสมัยนั้น
ท่านเสียใจมาก
หลังจากนั้นไม่นาน  ท่านเข้าป่า ตั้งใจ ไม่พูด ค้นหา แนวทางที่ถูกต้อง
มีอยู่ครั้งนึงท่านไปรับจ้างเฝ้า แกะ (?)โดยแลกกับอาหารแล้วแกะหายไป (คิดว่าโดนสัตว์ใหญ่จับไป )
เมื่อเจ้าของ คนที่สั่งให้เฝ้า พบว่าแกะหายไป จึงถาม ท่านไม่สามารถพูดอธิบายได้ (ตามที่ปฏิญาณไว้)
 จึงถูกทุบตีจนเลือดอาบ โดยไม่มีการตอบโต้ (ตามที่ปฏิญาณไว้อีก)  ...
ผู้ทำร้ายนั้นประหลาดใจ  ตกใจ ตามไปขอโทษ ท่านยกโทษให้ แล้วเดินจากไปโดยไม่ได้พูดอะไร...
------------------------------------------------------------------------------------
ผมเองบางเรื่องก็ตึงไปบางเรื่องก็ย่อหย่อน ตึงในเรื่องที่คนอื่นเขาไม่สนใจ
ยกตัวอย่าง
ถือศีลแปด (นานที) ครั้งล่าสุด ตอนเช้า กินกล้วยหอม 2-3 ลูก  แล้วออกจากบ้านไปวัด
นั่ง บนหิน ใต้ต้นไม้ริมบ่อน้ำ ข้างวิหาร  ไปซื้อน้ำเปล่ามา  อยู่สักพัก
แล้วกลับไปรักษาศีล ต่อที่บ้าน  ไม่กล้ากินอะไร
(น้ำหวาน น้ำอัดลม กินหรือเปล่าจำไม่ได้ ) เอาเป็นว่าดื่มน้ำเป็นหลัก
ไม่กล้านั่งเก้าอี้สูง  ไม่กล้าเปิด TV. คอยฟังเสียง ถ้าได้ยินเสียงเพลง  จะต้องรีบอุดหู
ยกที่นอนสูงแค่ 5 นิ้ว ออก นอนเสื่อ นอนนิ่งนิ่ง ประหยัดพลังงาน เดี๋ยวมันจะหิว
ขอให้ฟ้าเปิด...ถึงวันใหม่เร็วเร็ว  กลายเป็นเครียดไปอีก แล้วจะได้อานิสงค์ไหมครับ
พอวันใหม่ผมก็แผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศล  แล้ว ตะลุย กิน กิน กิน
ก็ หย่อนไปเลย ยังถือว่าลูบคลำศีล ไม่ใช่เดินทางสายกลาง  รู้แต่ทำใจไม่ได้...
ขาดปัญญา

ตอบโดย: ธนัส 07 มี.ค. 49 - 16:37


ที่ว่าถือศีลแปดครั้งล่าสุดน่ะ  ประมาณครึ่งปีมาแล้วนะ
ที่ว่า ตอนเช้า กินกล้วยหอม 2-3 ลูก จำได้แค่นั้น
(อาจจะกินบะหมี่สำเร็จรูปและไมโลไปด้วยก็ได้ แต่มื้อกลางวันก่อนเที่ยงจำได้ว่าไม่ได้กินนะ ) แล้วที่นอนก็สูงไม่ถึงสองนิ้วดอกครับ (อันนี้ลืมสังเกตุ)
อ้อ ถ้าจำผิดก็ขออภัยครับ...
ตามมาแก้ นึกแล้วกลัวกลายเป็นมุสา โดยไม่เจตนา...เฮ้อ

ตอบโดย: ธนัส 08 มี.ค. 49 - 09:32


สวัสดีครับ
คุณ vicha ครับ
ลมหายใจจะต้องมีอยู่ตั้งแต่เริ่มต้นปฏิบัติ จนถึงสุดท้ายคือเลิกปฏิบัติ ต้องมีลมหายใจ
ให้รับรู้ตลอด "ใช่หรือป่าวครับ"  ในอานาปานสติครับ

เมื่อใดที่เรารู้สึกว่าไม่มีลมหายใจเลย หรือ ลมหายใจหายไป
เมื่อนั้นไม่ใช่วิธีปฏิบัติ ของอานาปานสติ ใช่หรือป่าวครับ

และการปฏิบัติ อานาปานสติ ถ้าไม่ใช่สถานที่ ที่สงบเงียบ และอากาศถ่ายเทไม่ดี
หรือในที่ที่มีเสียงดัง หรือร้อน หรือรู้สึกอึดอัด สถานที่เหล่านี้ไม่เหมาะกับการปฏิบัติ
อาณาปานสติ ใช่หรือป่าวครับ ถึงทำไปก็ไม่ได้เกิดผลดีใช่หรือป่าวครับ

สถานที่ในการทำอานาปานสติ มีความสำคัญมาก เป็นอันดับแรกเลยใช่หรือป่าวครับ
อยากถามว่า คุณ Vicha ทำอานาปานสติ ในสถานที่ หรือ สภาพแวดล้อมแบบไหนครับ

ขอบคุณครับ

ตอบโดย: jukapun 08 มี.ค. 49 - 11:27


สวัสดีครับคุณ jukapun

จากคำถาม
ลมหายใจจะต้องมีอยู่ตั้งแต่เริ่มต้นปฏิบัติ จนถึงสุดท้ายคือเลิกปฏิบัติ ต้องมีลมหายใจ
ให้รับรู้ตลอด "ใช่หรือป่าวครับ"  ในอานาปานสติครับ

ตอบ  ลมหายใจนั้นมีโดยตลอดตามธรรมชาติ  แต่การรับรู้โดยตลอดหรือไม่อยู่ที่ สติและสมาธิ ครับ

จากคำถาม
เมื่อใดที่เรารู้สึกว่าไม่มีลมหายใจเลย หรือ ลมหายใจหายไป
เมื่อนั้นไม่ใช่วิธีปฏิบัติ ของอานาปานสติ ใช่หรือป่าวครับ

ตอบ ยังเป็นการปฏิบัติอานาปานสติอยู่ครับ แต่อาจเป็นเพราะ 1.สติยังน้อยไป หรือ 2.ตกอยู่ในภวังค์ หรือ 3.เผลอหรือหลับไป หรือ 4.ไปสนใจในอาการอื่นลืมดูลมหายใจ หรือ 5.เข้าสมาธิลึกอยู่ในองค์ฌาน

จากคำถาม
และการปฏิบัติ อานาปานสติ ถ้าไม่ใช่สถานที่ ที่สงบเงียบ และอากาศถ่ายเทไม่ดี
หรือในที่ที่มีเสียงดัง หรือร้อน หรือรู้สึกอึดอัด สถานที่เหล่านี้ไม่เหมาะกับการปฏิบัติ
อาณาปานสติ ใช่หรือป่าวครับ ถึงทำไปก็ไม่ได้เกิดผลดีใช่หรือป่าวครับ

ตอบ ถ้าเป็นที่สัปปายะก็เป็นการดีครับ เพราะเสียงดังย่อมทำให้เข้าปฐมฌานยาก แต่ถ้าหาไม่ได้ก็ไม่จำเป็นต้องหาสถานที่ก็ได้ครับ เพราะเมื่อชำนาญแล้วแม้มีเสียงดังก็ย่อมเข้าสมาธิได้ครับ

จากคำถาม
 สถานที่ในการทำอานาปานสติ มีความสำคัญมาก เป็นอันดับแรกเลยใช่หรือป่าวครับ
อยากถามว่า คุณ Vicha ทำอานาปานสติ ในสถานที่ หรือ สภาพแวดล้อมแบบไหนครับ

ตอบ คงไม่ใช่หรอกครับ การตั้งใจในการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องนั้นแหละเป็นความสำคัญอันดับแรกครับ แต่การได้สถานที่เป็นสัปปายะหรือสภาพแวดล้อมที่สงบ ก็เป็นสิ่งที่ดีครับ
 

ตอบโดย: Vicha 08 มี.ค. 49 - 13:29


  วันนี้ผมจะมาคุยจตุกะที่ 15 ต่อนะครับ
     แต่เมื่อยกข้อมูลมาจากพระไตรปิฏกเหมือนกันแต่อยู่คนละสูตรกัน  ซึ่งการแปลก็ไม่เหมือนกันทุกตัวอักษร ระหว่าง เอกธรรมสูตร กับ อานาปานสติสูตร ผมจึงยกมาให้เห็นคำแปลทั้ง สองสูตร

  จากเอกธรรมสูตร
(15) ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจเข้า

  จากอานาปานสติสูตร
(15) ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจเข้า.

  ต่อไปเป็นการแสดงความคิดเห็น นะครับ (เน้น แสดงความคิดเห็นนะครับ)

  เมื่อกล่าวว่า "เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับ"   ความดับนี้สามารถตีความหมายได้หลายกรณี ดังนี้
     1.เห็นรูปนามดับ  การเห็นรูปนามดับจากกันอย่างชัดเจน ต้องเป็น อุทัพพยญาณ(ญาณ 4)เท่านั้น
     2.เข้าสู่ อัปปนาสมาธิ  การเข้าสู่อัปปนาสมาธิ ก็มีแต่ผู้ได้ ฌาน เท่านั้น
     3. มรรคญาณ ผลญาณ  การเข้ามรรคญาณ ก็ได้แก่ผู้บรรลุมรรคผลนิพพานเท่านั้น
     4. ผลสมาบัติของพระอริยะ    การเข้าผลสมาบัติได้ก็ต้องเป็นพระอริยะแล้วเท่านั้น

  แต่เมื่อกล่าวว่า "จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท" ก็จะเหลือเพียง 2 เท่านั้น ดังนี้
      1.อัปปนาสมาธิ ของผู้ได้ฌาน
      2.ผลสมาบัติของพระอริยะ

   แต่ในเอกธรรมสูตร นั้นกล่าวว่า อานาปานสติ ก็เป็นสติปัฏฐาน 4  ดังนั้นจึง ขอคุยในแบบเอกธรรมสูตรนี้แหละครับ   แต่เมื่อกล่าวถึงจตุกะที่ 15 นี้ คนโดยทั่วๆ ไป หรือ ผู้ปฏิบัติเบื้องต้นอยู่ คงไม่สามารถเข้าใจได้ง่าย หรือรู้ได้ ยกเว้นผู้ที่ผ่าน อุทัพพยญาณ มาก่อน หรือได้ฌานมาก่อน

    เอาแหละครับเมื่อคุยมาถึงจุดนี้แล้ว ก็ต้องคุยกันต่อถึงแม้จะมีคนส่วนน้อยจะรู้ได้ มาดูความแตกต่างของ ความดับที่เป็นอุทัพพยญาณ กับการดับเมื่อเข้าอัปปนาสมาธิของฌาน ดังนี้

     การเห็นการเกิดดับที่เป็นอุทัพพยญาณ นั้นต้องมีฐานจากญาณเบื้องต้นตั้งแต่ แยกรูป-แยกนาม และความเป็นไตรลักษณ์ปรากฏให้เห็นเป็นสภาพความจริงมาเรือยๆ (ย่อ) เมื่อพละทั้ง 5 เจริญขึ้นและสมดุลย์ รูปนามก็จะปรากฏการดับให้เห็นอย่างชัดเจน เรียกว่าเห็นการเกิดดับของรูปและนาม ซึ่งไม่ใช่เป็นเพียงแค่ สันสติ ขาดแบบธรรมดา (รู้สึกว่าคุยแล้วมัน ลึกไปสำหรับคนทั่วๆ ไป)
     การเข้าอัปปนาสมาธิของผู้ได้ฌาน  ก็กำหนดสมถะกรรมฐาน จนอารมณ์เป็นหนึ่งเข้าสู่อุปจาระสมาธิ แล้วเข้าสู่อัปปนาสมาธิ เงียบหรือดับหายไป

    ข้อสังเกตุ ความต่างกัน  อุทัพพยญาณ นั้นเห็นการเกิดดับเป็นปัจจุบันในทันที   แต่ผู้เข้าฌานนั้น อารมณ์ค่อยๆ เป็นหนึ่งอย่างเดียว แล้วค่อยๆ เงียบหรือดับหายไป


    สรุป ตามความคิดเห็น จตุกะที่ 15 นี้ ผู้ที่ผ่านอุทัพพยญาณ หรือผ่านมรรคญาณ หรือได้ฌานแล้วจึงยกมาพิจารณาได้ อย่างตรงและชัดเจน
 

ตอบโดย: Vicha 09 มี.ค. 49 - 11:53


   ติดตามอ่านครับ  เป็นเรื่องยาก... ผมพยายามที่ผมจะนึกคิดตาม
 จากข้อ  2.ผลสมาบัติของพระอริยะ   หมายถึง นิโรธสมาบัติ ได้ด้วยหรือไม่ครับ
เพราะน่าจะดับสนิท ครับ
 

ตอบโดย: ธนัส 10 มี.ค. 49 - 11:59


ตอบ คุณธนัส

   ครับได้ครับ เพราะ นิโรธสมาบัติ ก็คือผลสมาบัติของพระอนาคามีหรือพระอรหันต์ ที่เคยได้สมาบัติ 8 (หรือ อย่างน้อยก็มี ฌาน 4 พร้อมอภิญญา 5 ครับ แต่ยังไม่มั่นใจนะครับ เพราะเคยอ่านผ่านตาว่า พระอรหันต์บางรูป ขณะที่ท่านบรรลุอรหันต์ ก็ได้ฌาน 4 พร้อมอภิญญา 5 ก็มี เรียกว่าได้อภิญญา 6 ครับ  และเข้านิโรธสมาบัติได้
     เช่นเดียวกันผู้ที่ได้ ฌาน 4 ของกสินทั้ง 10 กอง ก็ย่อมทำอภิญญา 5 ได้ และเมื่อผู้นั้นบรรลุเป็นพระอนาคามี พระอนาคามีนั้นย่อมเข้านิโรธสมาบัติได้ ผมก็ยังไม่มั่นใจอยู่เหมือนกันว่า พระอนาคามีหรือพระอรหันต์ที่ได้เพียงฌาน 4 อย่างเดียวแต่ไม่เกิดมีอภิญญา 5  เข้านิโรธสมาบัติได้หรือเปล่า?)

ตอบโดย: Vicha 10 มี.ค. 49 - 13:33


ทีแรกผมก็สนใจ เพียงแค่
การระงับวจีสังขาร กายสังขาร จิตตสังขาร  ที่จะเชื่อมโยงกับ อานาปานสติสมาธิ
ศึกษาไปอ่านไป ก็เลยมาถึง นิโนธสมาบัติ
ซึ่งจะรู้สึกว่าไกลเกินความสามารถของผมออกไปทุกที
ผมควรหันมาทำความเพียรให้ได้พื้นฐานก่อนจะดีกว่า
ขอบคุณมากครับที่กรุณาตอบ  

ตอบโดย: ธนัส 10 มี.ค. 49 - 16:01


วันนี้ผมก็คุยมาถึง จตุกะที่ 16 แล้ว

     แต่ก็อาจจะมีบางท่านสงสัยคำว่า จตุกะ  นี้มาจากไหน?
     คำว่า จตุกะ หรือ วัตถุ หรือ ขั้น นี้ ได้มาจากหนังสือ วิสุทธิมรรค  ที่แบ่ง อานาปานสติ เป็น 16 จตุกะ

     เรามาดู จตุกะที่ 16 คือ

   ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า

   ถ้าเมื่อพิจารณาให้ดี ในสมถกรรมฐานหรือการได้ฌาน ไม่มีคำว่า ความสละคืน  มีแต่ ระงับหรือวาง ไปตามลำดับ

    ดังนั้น จตุกะที่ 16 นี้เป็นวิปัสสนาล้วนๆ  ซึ่งความจริงแล้ว วิปัสสนานั้นปราฏอย่างชัดเจนแล้วทั้งแต่ จตุกะที่ 13  ดังนั้น จตุกะที่ 13 ,14 ,15 , 16 เป็นวิปัสสนาล้วนๆ หรือ ธรรมานุปัสสนา
   
     ต่อไปเป็นความเข้าใจส่วนตัว

     การสละคืนกิเลสได้ ก็มีแต่วิปัสสนาญาณอย่างเดียว ความจริงแล้ววิปัสสนาญาณทั้งแต่ อุทัพพยญาณ (ญาณ ที่ 4 ) นั้นมีการสละคืนอยู่ตลอดเรื่อยมาตามลำดับญาณ  จนถึงสังขารุเบกขาญาณ(ญาณที่ 11) ซึ่งเป็นการสละคืน จนบริสุทธิ์ผุดผ่อง เป็นสุดยอดของโลกียญาณ
    และเมื่อผ่าน อนุโลมญาณ  โคตรภูญาณ และมรรคญาณ  จึงจะเป็นการสลัดคืนที่ไม่กลับมาอีก ในอนุสัยกิเลสบางส่วน บรรลุนิพพาน เป็นพระอริยะบุคคล
  
    ดังนั้น ดังนั้นจะกล่าวว่าผู้ที่ปฏิบัติอานาปานสติ ครบทั้ง 16 จตุกะ(ขั้น) จะกล่าวว่าได้บรรลุมรรคผลนิพพานเลยที่เดียวก็ยังไม่ได้  เพราะความหมายของอานาปานสติ 16 ขั้นนั้นยังไม่สามารถชี้ชัดได้อย่างที่เดียวว่าได้มรรคญาณ
     แต่วิปัสสนาญาณ ทั้ง 16 ญาณ นั้นชี้ชัดให้เห็นได้อย่างชัดเจน


 

ตอบโดย: Vicha 13 มี.ค. 49 - 15:57


เป็นอันว่าผมได้คุยเรื่อง อานาปานสติ มาเรื่อย จนครบ 16 จตุกะ หรือวัตถุ แล้ว  ต่อไปก็จะเป็นการกล่าวเสริม  เพื่อเป็นการเตือนหรือโยนิโสมนัสสิการให้ดี

    ผู้ที่ฝึกอานาปานสติ มามากแล้ว เมื่อยกเข้าสู้วิปัสสนาญาณ อาจจะด้วยวิธี ปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 โดยตรง หรือ ยุบหนอ-พองหนอ ก็ตามแต่  สิ่งที่พึ่งสังวรและเตือนตนไว้คือ การหลงญาณ ในเบื้องต้น
    เพราะภาวะสมนสนญาณ(ญาณที่ 3) กับ ฌาน นั้นมีความใกล้เคียงกันมาก และเวลาเกิดวิปัสสนู ก็จะเกิดอย่างชัดเจนและรุนแรง ด้วยกำลังของสมาธิที่มากกว่าปกติ ซึ่งจะทำให้เกิดหลงในวิปัสสนู(นิติกัน) ว่าเป็นสิ่งวิเศษวิโส หลงตัวตนว่ายิ่งใหญ่ อาจจะก้าวล่วงหลงตนเองว่าเป็น พระอริยะ เมื่อเกิดภาวะความดับปรากฏขึ้นเมื่อสติสมาธิได้รวมตัวกัน
    ซึ่งความดับนั้น เป็นเพียงแค่ สมนสนญาณ(ญาณที่ 3) อย่างแก่เท่านั้น  ยังไม่ใช่เห็นความเกิดดับ ของ อุทัพพยญาณ(ญาณที่ 4) เลย

    เมื่อไหร่ ยังหลงในวิปัสสนูกิเลส(นิติกัน)อยู่ หรือหลงความวิเศษหลงตนว่ายิ่งใหญ่อยู่ ถึงแม้จะเกิดความดับที่เกิดจากความพยายามอย่างแรงกล้า(ไม่ใช่ความเพียรนะครับ เพราะเลยไปจากความเพียรไปเสียแล้ว) เพราะสติและสมาธิรวมตัวกัน ความดับนั้นก็ยังเป็นเพียงแค่ สมนสนญาณ(ญาณที่ 3) อย่างแก่เท่านั้น หาได้เข้าล่วงสู่ อุทัพพยญาณ(ญาณที่ 4) ไม่ต้องกล่าวถึง มรรคญาน (ญาณที่ 14) เลย เพราะยังไกลมากเสียเหลือเกิน

   จนกว่าจะคลายความหลงออกจากใจไปได้ พละ 5 ก็จะเจริญขึ้น ตามการปฏิบติ จนปรากฏ อุทัพพยญาณ(ญาณที่ 4) จึงพอมีปัญญาเห็นความแตกต่างกันได้ไม่เล็กก็น้อย แต่ถ้ากลับมาหลงญาณอีก ก็จะถ่อยกลับไปอยู่ที่ สมสนญาณ(ญาณที่ 3) อีก  ต้องเตือนตนจนคลายความหลงหลายๆ รอบอย่างแม้นมั่นแล้ว  และยังปฏิบัติด้วยความเพียรอยู่ พละ 5 ก็จะเจริญขึ้น ก็จะผ่านไปยังวิปัสสนาญาณเบื้องสูงไปตามลำดับ พร้อมกับคลายความหลงตัวหลงตนลงไปได้

ตอบโดย: Vicha 14 มี.ค. 49 - 11:48


ญาณ เสื่อมได้ เหมือน ฌาณ ไหมครับ

ตอบโดย: ธนัส 15 มี.ค. 49 - 09:36


ตอบ คุณธนัส   ญาณ เสื่อมได้ครับ   แต่ถ้าผู้ที่ผ่านญาณ 16  หรือ มรรคญาณ แล้ว  ก็จะไม่เสื่อมกลับมาแบบวิปัสสนาญาณหยายๆ อีกแล้วครับ  เพราะเป็นอริยบุคคลไปแล้วครับ

     และสำหรับผู้ที่ปฏิบัติได้อยู่ระหว่าง ญาณที่ 1 ถึงญาณ 11 หรือ 12 ยังไปผ่านไปญาณที่ 13 ญาณที่ 14  วิปัสสนาญาณก็ยังสามารถเสือมได้ครับ

ตอบโดย: Vicha 15 มี.ค. 49 - 09:48


ขอบคุณครับ  

ตอบโดย: ธนัส 15 มี.ค. 49 - 10:36


ผมขอคุยต่อนะครับ

        เรื่องการสลัดคืน หรือความสลัดคืน จึงมีแต่ในวิปัสสนาญาณอย่างเดียว ในฌานไม่มีหรือ?

    ตามที่ผมเข้าใจและสังเกตุนั้นใน ฌาน ไม่มี การสลัดคืน  เพราะ ฌาน จะมีแต่การระงับ การวางไปตามลำดับ ไปสู่ฌานเบื้องสูง

     ต่างกับวิปัสสนาญาณ ที่ต้องสลัดทิ้งความเห็นผิดในเบื้องต้น แล้วต่อมาก็เป็นการสลัดทิ้งความหลงตัวตนในความวิเศษวิโสอย่างหยาบ

     มาดู ความเห็นผิดในเบื้องต้น คืออะไร?   ก็คือความไม่เห็นไม่เข้าใจ ถึงความเป็นไตรลักษณ์ที่ปรากฏอยู่ใน รูป-นาม  หรือในฐานทั้ง 4 คือ กาย เวทนา จิต และธรรม
     เมื่อยังสลัดทิ้งความเห็นเป็นตัวตนแบบเหนียวแน่นไม่ได้ หรือความเห็นผิดในเบื้องต้นไม่ได้ วิปัสสนาญาณที่ 1 (นามรูปปริเฉทญาณ) ก็ย่อมไม่บังเกิดขึ้น นี้เป็นด่านแรกของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

     มาดู ความหลงตัวหลงตนในความวิเศษวิโสจนเกินฐาณะ(อย่างหยาบ) เป็นอย่างไร?
     ก็คือเมื่อผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน สลัดความเห็นผิดในเบื้องต้นได้แล้ว แล้วปฏิบัติอย่างถูกต้อง ความเห็นเข้าใจชัดเจนถึงไตรลักษณ์ที่ปรากฏอยู่ในการปฏิบัติก็แจ่มแจ้งขึ้น ถึงวิปัสสนาญาที่ 3 (สมนสนญาณ) วิปัสสนูกิเลสย่อมปรากฏขึ้น ถ้าผู้นั้นหลงตัวหลงตนเป็นใหญ่ถึงความวิเศษวิโส ก็จะต้องติดอยู่ตรงนั้น ไม่สามารถที่จะพัฒนาวิปัสสนาญาณขึ้นไปได้ แม้จะมีความพยายามอย่างไรก็ตาม จนกว่าจะสลัดทิ้งในการหลงตัวหลงตนในความวิเศษวิโสนั้น แม้แต่หลงว่าตนเองเป็นอริยะที่ไม่เป็นจริงก็ตาม
     ถ้ายังไม่สลัดทิ้งด้วยปัญญา อย่าหวังเลยว่าจะผ่านญาณ ที่ 3 นี้ไปได้ แม้จะพยายามอย่างไรก็ตาม ก็จะหลงวนเวียนอยู่ในอารการของวิปัสสนาญาณที่ 3 อยู่อย่างนั้นเสมือนว่าเราบรรลุแล้วเราวิเศษวิโสแล้ว เรายิ่งกว่าผู้ใดแล้ว เหมือนพายเรืออยู่ในอ่าง (เห็นมาก่อน จึงแสดงความเห็นมาอย่างนี้ได้)
      และถึงแม้จะสลัดทิ้งในการหลงตัวหลงตนในความวิเศษวิโสไปได้ จนผ่านวิปัสสนาญาณที่ 4 (อุทัพพยญาณ) จนเข้าสู่ญาณเบื้องสูงแล้ว  แต่ภายหลังเกิดหลงตนในความวิเศษวิโสอีก หลงผิดในความเป็นอริยะเบื้องต้นอีก ที่เกิดยึดมั่นในทิฏฐิตน วิปัสสนาญาณก็จะถอยกลับมาที่ วิปัสสนาญาณที่ 3 วนเวียนอยู่อย่างนั้นไม่สามารถขึ้นมาได้อีก จนกว่าจะสลัดทิ้งความหลงตนในความวิเศษวิโสไปได้อีก วิปัสสนาญาณเบื้องสูงก็จะไต่ขึ้นตามลำดับโดยง่าย เพราะเคยผ่านมาแล้ว
 
   สรุป ดังนั้น  ด่านที่ 1 ของการเริ่มวิปัสสนา คือการเห็นผิด หรือการไม่เห็นความเป็นไตรลักษณ์
                     ด่านที่ 2 เมื่อวิปัสสนาญาณดำเนินขึ้นแล้ว คือการหลงตนในความวิเศษวิโส จนถึงเห็นว่าตนเป็นพระอริยะที่ไม่เป็นจริง  ทำให้วนเวียนอยู่ที่ ญาณที่ 3 เท่านั้น

    หมายเหตุ  ฌาน ถึงแม้จะเห็นผิดอยู่ ถึงแม้จะหลงตนในความวิเศษวิโสอยู่ ก็ยังสามารถดำรงณ์ฌานให้เกิดขึ้นได้  เป็นข้อเปรียบเทียบให้เห็น
 

ตอบโดย: Vicha 16 มี.ค. 49 - 16:17


   ผมขอคุยต่อนะครับ

       ปุถุชนผู้ปรารถนาสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อาจทำให้ไม่สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้โดยง่ายปฏิบัติวิปัสสนาแล้วได้ดำเนินถึงวิปัสสนาญาณเบื้องสูง ก็คือปฏิบัติกรรมฐานอยู่เสมอทรงอารณ์กรรมฐานไว้บ่อยๆ ทั้งๆ ที่รู้ว่ายังไม่สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้โดยง่าย ปฏิบัติไปเพื่อประโยชน์อะไร?  น่าจะท้อแท้หยุดการปฏิบัติไปเสียเลย เพราะจะเห็นทุกข์โทษมากเกินไป ในชีวิต

       การกล่าวด้านบนนั้น มีทั้งส่วนถูกและส่วนผิดอยู่  ดังนี้

   ส่วนถูกที่ให้หยุดการปฏบัติคือ เมื่อปฏิบัติดำเนินวิปัสสนาญาณอยู่แล้วเกิดเห็นทุกข์โทษมากมายติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน ทำให้การดำรงณ์ชีวิตไม่เป็นปกติ ดำรงณ์อยู่ในสังคมลำบาก เป็นผู้ที่แข็งกระด้าง ยึดทิฏฐิเพิ่ม หลงตนจนมากมาย ก็ควรย่อมผ่อนคลายลงบ้าง เพราะพิจารณาเห็นว่าเหมือนหักด้ามพร้าด้วยหัวเข่า  โอกาศที่ด้ามพร้าจะหักนั้นน้อยแต่หัวเข่านั้นเจ็บหรือได้รับบาดเจ็บไปแล้ว

    ส่วนผิดที่ให้หยุดการปฏิบัติคือ เพราะการปฏิบัติแล้ววิปัสสนาเจริญขึ้นและลงอยู่อย่างนั้น ก็ย่อมเห็นทุกข์โทษของรูปนามอย่างมากมาย ทำให้ภาวะจิตผันผวนเพราะเห็นทุกข์อยู่เนื่องๆ แต่ถ้ายังมีสติมากควบคุมการดำรงณ์ชีวิตอย่างเป็นปกติและเกิดสุขได้อยู่ ปัญญาของการวางจิต การควบคุมพฤติกรรมของตน และปัญญาอีกหลายๆ ด้านก็จะเจริญขึ้นอย่างมาก ซึ่งจะไม่แข็งกระด้าง ไม่เห็นผิดยึดทิฏฐิจนเกินไป ไม่หลงตนจนเกินไป แล้วจะเกิดปัญญาขึ้นมาให้ตัดสินใจเองว่าควรจะดำรงณ์อย่างไรถึงจะเหมาะหรือดี

        
        

ตอบโดย: Vicha 17 มี.ค. 49 - 12:06


วันนี้ผมมาคุยต่อนะครับ ไม่ได้คุยในกระทู้นี้ ทั้ง 4 วัน แต่ก็แปลกดีไม่มีใครถามในรายละเอียด หรือยากไป หรือง่ายไป หรือคุยอะไรไม่เห็นรู้เรื่องจับต้นชนปลายไม่ถูก แต่ก็ไม่เป็นไหรเมื่อมีผู้ที่เข้ามาอ่านอยู่ ผมก็คุยไปเรื่อยๆ ก็แล้วกัน

     ผมก็ได้คุยเรื่องหลักอานาปานสติ และวิปัสสนาญาณ มามากพอควร และได้ยกเรื่องทางสายกลาง ที่เป็นธรรมเพื่อปรับในการปฏิบัติให้พอทราบแล้วในความคิดเห็นเก่า
    ออ.. นึกได้อีกเรื่องถ้าท่านผู้ใดสนใจการปฏิบัติแบบ ยุบหนอ- พองหนอ ก็สามารถอ่านได้ในกระทู้นี้นะครับ

    http://larndham.net/index.php?showtopic=13860&st=0#top

  ต่อไปผมจะคุยเรื่องธรรมที่เกื้อหนุน ในการปฏิบัติตามหลักอานาปานสติ  แต่ซึ่งความจริงแล้วก็เกื้อหนุนกับทุกแนวปฏิบัติ และในการดำรงณ์ชีวิตอยู่อย่างถูกต้อง   ซึ่งมีอยู่ 4 อย่างตามที่ผมประมวลจากประสบการณ์ที่นำมาใช้ได้   ....

      ไม่ใช่ อิทธิบาท 4 นะครับ  เพราะอิทธิบาท 4 นั้นเป็นชุดธรรมที่ทำให้ประสบความสำเร็จ

      แต่ 4 อย่างนี้เป็นธรรมที่ทำให้เดินเข้าที่เข้าทางในการปฏิบัติ เมื่อยามจะหลงออกนอกที่นอกทางจนเกินไป  4 อย่างนี้คือ  1.มีสติ  2.เตือนตน 3.โยนิโสมนสิการ 4.กำหนดภาวนา

 เอาแหละผมจะแยกเป็นลำดับในการใช้เมื่อเกิดการหลงไปจากการปฏิบัติดังนี้

       1.มีสติ  เมื่อมีสติก็ทำให้เรารู้ว่า "โอ้ เผลอหลุดจากกรรมฐานไปแล้ว"

       2.เตือนตน  เมื่อมีสติรู้ตัวว่า หลุดจากกรรมฐานไปแล้ว ก็ยำความคิดให้รับรู้ว่า "ไม่ควรปล่อยให้เผลอหลุดไปอย่างนี้เลย"  แต่อย่ามีจิตกล่าวโทษตัวเองจนข่มตัวเองเกินไปจะกลายเป็นเครียด ให้เป็นการเตือนเพื่อรู้จะได้มีสติรู้ตัวไวขึ้นถ้าเกิดหลุดจากกรรมฐานไปอีกในคราวหน้า

       3.โยนิโสมนสิการ   เมื่อเตือนตนแล้วก็ต้องพิจารณา ถึงสภาวะที่เกิดขึ้นแล้วหาวิธีปฏิบัติที่แก้ไข เพื่อวางการปฏิบัติให้ดีขึ้น แล้วหยุดการพิจารณาเพียงแค่นั้น ไม่ให้กลายเป็นเกิดการคิดปรุงแต่งจนเลยเถอด

       4.กำหนดภาวนา  เมื่อโยนิโสมนสิการแล้ว ก็กำหนดภาวนา หรือวางจิตในการกำหนดภาวนาเป็นไปตามหลักปฏิบัติพื้นฐาน ของกรรมฐานนั้นๆ  เช่น อานาปานสติ ก็มีสติดูหรือกำหนดกองลมที่กระทบ ตามที่หายใจออกหรือหายใจเข้า ต่อไป

   ภาวะทั้ง 4 ข้อข้างบนใช้เมื่อหลงหลุดไปจากกรรมฐาน แบบเผลอหลุดไปเลย เช่นเผลอหลับ หรือลืมกรรมฐานไปเลยแล้วไปคิดเรื่องอะไรก็ไม่รู้ ไม่รู้ตัว

   แต่ถ้าไม่ใช่เป็นการเผลอหลุดไปเลย  คือรู้ตัวอยู่ตลอดว่าปฏิบัติกรรมฐาน แต่ฟุ้งคิดไปต่างๆ นาๆ ระงับตนเองได้ยาก  จาก 4 ข้อ ก็ลดเหลือ 3 ข้อเพื่อให้เข้าสู่การปฏิบัติที่ถูกต้อง เหลือ 3 ข้อดังนี้

     1.มีสติ คือสร้างสติเพิ่มขึ้นเมื่อตนเองฟุ้งซ้านไป (ที่ฟุ้งซ้านก็เพราะมีสติและสมาธีน้อยนั้นเอง)

     2.เตือนตน  เช่น ฟุ้งไปทำไม คิดมากไปทำไม ไม่ใช่จะดีขึ้น คิดไปฟุ้งไปก็เท่านั้นเองเสียเวลาเปล่าๆ  พอให้จิตรับรู้ ก็หยุดเตือนตนเพียงแค่นั้น อย่าไปโยนิโสมนสิการหรือพิจารณาเพิ่มเติม เพราะจะกลายเป็นฟุ้งไปอีกเรืองหนึ่ง แล้ววนฟุ้งคิดปรุงแต่งไม่รู้จบอีก เมือตั้งจิตได้ ก็ให้ไปยังข้อที่ 3 ทันที

    3.กำหนดภาวนา  ตามหลักพื้นฐานของกรรมฐานนั้นๆ อย่างถูกต้อง เช่น อานาปานสติ ก็มีสติดูหรือกำหนดกองลมที่กระทบ ตามที่หายใจออกหรือหายใจเข้า ต่อไป

   แต่สำหรับท่านที่ ย้ำคิดย้ำทำมัวแต่เตือนตนอยู่ตลอด จนการปฏิบัติธรรมหาได้ก้าวหน้าขึ้น ก็ให้รู้ตัว เลิกการเตือนตนเองเสีย เพียงแต่ 1.มีสติ แล้ว  2.กำหนดภาวนาตามหลักที่ถูกต้องของกรรมฐานนั้นๆ ก็พอ

     เอาแหละครับวันนี้ผมก็ได้คุยเรื่อง เมื่อเผลอออกนอกทางการปฏิบัติแล้วจะทำอย่างไร แล้วนะครับ

ตอบโดย: Vicha 22 มี.ค. 49 - 10:43


  วันนี้ผมจะมาคุยเล่าเรื่องนะครับ   แต่ผมก็ตั้งหัวเรื่องไว้ก่อนนะครับ

     เมื่อดำรงณ์จิตไว้ถูก และปฏิบัติถูกตามพื้นฐาน ความก้าวหน้าในการปฏิบัติก็จะเจริญไปตามลำดับ
     เมื่อดำรงณ์จิตไว้ผิด แล้วปฏิบัติถูกตามพื้นฐาน ความก้าวหน้าในการปฏิบัติย่อมเจริญแต่ติดๆ ค้างๆ
     เมื่อดำรงณ์จิตไว้ถูก แล้วปฏิบัติผิดตามพื้นฐาน ความก้าวหน้าในการปฏิบัติย่อมไม่เจริญหรือผิดทางไป
     เมื่อำรงณ์จิตไว้ผิด แล้วปฏิบัติผิดตามพื้นฐาน ความก้าวหน้าในการปฏิบัติย่อมไม่ถูกต้องไปยังหลงทาง

     โอ้.. หัวข้อยาวจัง    เอาแหละมาดูประสบการณ์ที่เกิดกับผมแบบสดๆ ร้อนๆ
     เมื่อผมไม่ดำรงณ์จิตไว้ให้ถูก   แต่ปฏิบัติถูกตามพื้นฐาน  แล้วได้เกิดอะไรขึ้นกับผม?  แล้วผมได้รู้ว่าผมได้ทำไม่ถูกต้องได้อย่างไร?    ซึ่งทำให้เกิดการแสดงความคิดเห็นนี้ขึ้นมา

    เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อวาน(22/03/49)  เมื่อพักเที่ยงทานข้าวเสร็จ ประมาณ 12.30 ผมจะนั่งสมาธิแล้วปล่อยให้หลับพักผ่อนไป ถึงประมาณ 13.00 ก็จะเริ่มทำงานต่อ ซึ่งผมจะปฏิบัติอย่างนี้ประจำในวันที่มาทำงานถ้าไม่ติดธุระ เป็นเวลาเกือบ 10 ปี แล้ว และช่วงนี้ผมก็ต้องดูกองลมแบบอานาปานสติ เพื่อจะได้คุยและเล่าเรื่องได้
    แต่ช่วง 4 วันที่ผ่านมาผมหยุดยาว 3 วัน ส่วนวันที่ 4 (21/03) ผมก็นั่งแต่เพื่อพักพ่อนจึงไม่สนใจลม เมื่อวานนี้เองผมตั้งใจ แต่ผมวางใจไม่ถูก ตั้งแต่ต้น คือ  พยายามเอาจิต ไปชิดไปรวมกับกองลมในทันที แล้วพยายามที่จะให้ติดแนบกันไปเป็นหนึ่งเดียว

     ระยะแรกก็เห็นกองลมได้ชัดเจน แต่เวลาผ่านไปก็จะเริ่มเกิดความอึดอัด แต่ก็เอาจิตผูกอยู่กับกองลม อึดอัดจนไม่เห็นหรือรู้สึกกองลม(ที่หายใจออกและเข้า) ทั้งที่รู้สึกร่างกายชัดเจน จนทำให้บางครั้งจิตสร้างมโนภาพขึ้นมาเองเสมือนว่าขึ้นลงๆ คล้ายการหายใจ แล้วเมื่อคลายความอึดอัดไปบ้าง ก็จะรู้ภาวะการหายใจของร่างกายอย่างแท้จริง แต่มโนภาพที่จิตสร้างขึ้นนั้นมีอยู่ ซึ่งเมื่อเทียบกับมโนภาพที่ขึ้นลงๆ คล้ายการหายใจ กับภาวะการหายใจของร่างกายจริงดันไม่ตรงกัน คลาดเคลื่อนกัน จึงไม่สนใจมโนภาพนั้น จิตก็มุ่งจะไปจับติดแน่นกับร่างกายที่รู้ลมหายใจ

     ก็เกิดภาวะความอึดอัดภายในมากขึ้นมโนภาพก็จะคอยปรากฏขึ้นมาอีก แล้วไม่ไปรับรู้ถึงกองลม ตอนนี้ความรู้สึกทางกายน้อยลง ก็รู้ว่าอึดอัดมีสติรู้กองลมไม่ได้แน่  จึงน้อมใจทิ้งการรับรู้กองลม และมโนภาพนั้นไปเสีย มาจับที่ความรู้สึกหรือที่ใจอย่างเดียว เพราะภาวะรับรู้ร่างกายน้อยลงแล้ว จึงคลายความอึดอัดนั้นออกไปได้ มากำหนดรู้ที่ใจ บางครั้งก็หล่อเลี้ยงอารมณ์ที่มีอยู่นั้นด้วยคำภาวนา เช่น " รู้ " หรือ "รู้หนอ" หรือ "เป็นเช่นนั้นเอง" เบาๆ ประคองอารมณ์ประกองจิตไป  จนอารมณ์รับรู้นั้นน้อยลงๆ  จนเบรอเกือบสู่ภวังค์ คือรู้แต่ไม่รู้สึกไปสักพักหนึ่ง ก็ลงภวังค์เหมือนตกลงในอุโมงค์(ภาวะคล้ายอย่างนี้เป็นบ่อยจึงเฉย)  รู้แบบมีสติสมบูรณ์ แต่ไม่รู้ทางร่างกาย(ตา หู จมูก กาย) ปรากฏเส้นแสงพาดขวางคล้ายใยแมงมูม แต่ไม่ได้ถี่แบบใยแมงมูม เมื่อจิตมองไปลึกๆ ของโมนภาพนั้น ก็ยังเป็นอุโมงค์ทอดยาวไปอีก ใจก็จะเพ่งเข้าไปลึกลงไปอีก แต่ก็ห้ามตัวเองว่า อย่างเพ่งไปดีกว่าพักผอนดีกว่า  จึงวางใจกลางๆ ไปสักระยะหนึ่ง มโนภาพก็หายความรู้สึกก็หายเลือนไป เข้าสู่การหลับผักผ่อน

    พักเที่ยงแล้วขอไปพักเที่ยงก่อนนะครับ ค่อยกลับมาคุยเล่าเรื่องต่อ
             

ตอบโดย: Vicha 23 มี.ค. 49 - 12:09


มาคุยต่อจากความคิดเห็นก่อน

    เมื่อผมตื่นมาประมาณ 13.00 น  ผมก็แปลกใจว่าทำไม? กำหนดลมหายใจ แล้วอึดอัดจัง หรือไปจองเพ่งเกินไป?  แต่ผมก็ไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง หลังจากนั้นผมก็ไม่ได้สนใจอะไร ดูเน็ต ทำโน้นทำนี้ไปตามประสา จนเลิกงานจึงกลับบ้าน

    ก่อนเช้ามืดวันนี้(23/03/49) ภรรยาต้องบินไปต่างจังหวัด ต้องออกจากบ้านตั้งแต่ตี 4.30 น เป็นอันว่าเช้านี้ผม ผมไม่ต้องรีบกุรีกุจร เพื่อออกไปทำงานพร้อมกับภรรยา (ผมเข้างานสายได้แต่อย่าน่าเกียด)
     ดังนั้นเวลา 6.30 น ก็นึกขึ้นได้ว่า การกำหนดลมหายใจแล้วอึดอัดมากเป็นเพราะอะไร? จึงลงนั่งสมาธิบนโชฟา กะว่าสัก 7 โมงกว่าๆ ก็จะอาบน้ำแต่งตัวไปทำงาน จึงมีคำถามถามตัวเองว่า เราจะวางใจอย่างไร? เพือกำหนดอานาปานสติได้สะดวก ไม่อึดอัดเหมือนเมื่อวาน

     ก็คิดได้ว่า  เพราะเราเร่งรีบพยายามเอาจิตไปจับกองลมหายใจให้ได้ในทันที่นี้เอง เราตั้งจิตไม่ถูกต้องนี้เอง จึงนึกถึงการฝึกอานาปานสติ เสมือนเอาเชือกวัว ไปผูกไว้กับเสาหลัก แล้วปล่อยเชือกไว้ยาวพอประมาณเพื่อให้วัวนั้นเดินได้ เพื่อไม่ให้วัวดิ้นรนจนเจ็บหรือได้รับบาดเจ็บที่จมูก

     จึงได้ว่า เสาหลักก็คือ การมีสติรู้กองลม หรือมีสติรู้เมื่อหายใจออก มีสติรู้เมื่อหายใจเข้า

     ส่วนวัวนั้นคือ   จิต   ที่ถูกโยงให้รู้ลมหายใจ แต่หาได้ผูกชิดติดกับหลักเสียทีเดียว เพราะจิตนั้นยังปรุงแต่งภาวะต่างๆ อยู่  เหมือนวัวที่เดินรอบเสาหลัก แต่หาได้ไปจากหลักได้

      ดังนั้นเมื่อมีสติรู้ลมหายใจออกหรือเข้าจิตก็ยังชำเลืองไปดูจิตได้  คือมีสติรู้ลมหายใจชัดอาจจะเป็นการรู้กองลมที่กระทบชัด หรือรู้ภาวะร่างกายหายใจเข้าหรือออกชัด แล้วก็ถอยการมีสติรู้ลมชัดแต่ยังพอรู้การหายใจเข้าหรือออกอยู่ แล้วจิตแลบไปหรือชำเลืองไปรู้ใจรู้จิตบ้าง
     หรือบังเกิดไปรู้ความนึกคิดบ้าง ไปรู้ร่างกายบ้าง  ก็หาได้ไปบังคับว่าต้องรู้ชัดลมหายใจอย่างเดียว แต่ก็ไม่ทิ้งไปจากลมหายใจ เหมือนดัง วัวที่ผูกไว้กับหลัก ก็สามารถเดินไปได้ตามที่เชือกอำนวย
     แล้ววางใจเป็นกลาง ปล่อยวางความนึกคิดที่ไปนึกคิดบ้าง ปล่อยวางจิตบ้าง ปล่อยวางที่ไปรู้ร่างกายบ้าง ก็กลับมามีสติรู้ลมหายใจออกหรือเข้า อย่างเบาสบายสลับกันไปตามสภาวะที่บังเกิด

      เมื่อมีความเบาและสบายก็เป็นภาวะเริ่มต้นของสมาธิที่ฝึกแบบอานาปานสติ  เมื่อมีความเบาสบายปิติก็ย่อมปรากฏกับกายที่เบาสบายนั้น สูขก็ย่อมปรากฏกับจิตนั้น
      ภาวะมีสติรู้เมื่อหายใจเข้าหรือหายใจออก และมีการชำเลืองไปเห็นจิตบ้าง ไปเห็นความคิดที่ปราฏกบ้าง ไปรับรู้กายบ้าง เป็นเรื่องธรรมดาเป็นธรรมชาติของจิตที่ยังไม่นิ่งเป็นหนึ่ง
      เมื่อจิตอ่อนจิตควรแก่ความสงบ จิตก็จะรวมรับรู้ที่กองลมแบบเบาๆ อย่างเดียว แล้วค่อยคลายออกไปชำเลืองไปเห็นใจบ้าง เห็นความนึกคิดที่ปรากฏบ้าง รับรู้กายบ้าง แต่ยังมีสติรู้เมื่อหายใจเข้าหรือหายใจออก แต่หาได้ชัดเจนที่เดียวไม่ และเมื่อคลายเมื่อว่างจากการชำเลืองดูอย่างอื่น ก็จะมามีสติรู้เมื่อหายใจเข้าหรือหายใจออกอย่างเดียวอีก สลับกันไปอย่างนี้จนจิตร่วมตัวได้เองตามภาวะของสมาธิ
    
      เมื่อใจอยากออกการปฏิบัติ ก็ออกจากการปฏิบัติ รับรู้ภาวะต่างๆ สมบูรณ์จึงมองไปที่นาฬิกา ว้าว... ปาไปเกือบ 7.30 น แล้ว  นั่งไปเกือบ 1 ชัวโมง  จึงรีบอาบน้ำแต่งตัวออกมาทำงานตามปกติ

    ดังนั้นจากสองความคิดเห็นนี้ ทำให้ทราบชัดว่า การดำรงณ์จิตหรือการวางจิตวางใจไว้อย่างถูกต้องนั้น ก็เป็นสิ่งสำคัญ สำหรับการปฏิบัติธรรม การเรียนรู้ และการดำรงณ์ชีวิต
      ดังนั้นผู้ที่ดำรงณ์จิตหรือวางจิตไม่ถูกต้อง ในการปฏิบัติ หรือการศึกษา ที่ดีแล้ว ก็ย่อมติดๆ ขัดๆ อยู่เป็นธรรมดา จนมีบางท่านบางคนหลงตัวหลงตนไปก็เป็นได้

      วันนี้ก็จบเรื่องคุยเพียงแค่นี้นะครับ
 

 

ตอบโดย: Vicha 23 มี.ค. 49 - 14:27


 
กระทู้ได้ประโยชน์แก่ผมมากครับ
ผมตามcopyเก็บไว้เป็นระยะครับแล้วพริ้นต์ออกมาเย็บใส่ห่วงไว้อ่านครับ

ผมเคยได้ฟังธรรมบรรยายเรื่องจาก จิตวิทยาสู่จิตภาวนา ของท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์
พอได้มาอ่านของคุณวิชชารู้สึกมีความคล้ายกันทำให้ผมต้องค้นหามาอ่านใหม่ ถ้าหาไม่เจอคิดว่าจะถอดเทปไว้
 

ตอบโดย: ปีติ 23 มี.ค. 49 - 18:47


วันนี้ผมก็ได้กลับมาคุยต่อนะครับ

    สวัสดีครับคุณปิติ  เมื่อเข้าคุยในกระทู้ก็ขอทักทายคุณปิติก่อนเลยครับ

    และผมขอย้ำอีกครั้งกับทุกท่านนะครับ เพราะผมเคยแสดงความคิดเห็นเมื่อนานมาแล้ว ตั้งแต่เข้ามาสนทนาในลานธรรมว่า บทความเกี่ยวกับธรรมทั้งหลายที่ผมสนทนา นั้นผมไม่สงวนลิขสิทธิ์เมื่อนำไปเพื่อประโยชน์ในทางธรรม
      แต่ขอให้ท่านคัดสรรและเลือกสรรนะครับ เพราะยังมีส่วนที่คลาดเคลื่อนอยู่ และอาจผิดพลาดอยู่บ้างครับ

    เอาแหละมาคุยต่อเรื่องอานาปานสติต่อ ความจริงแล้วช่วงขณะนี้ผมยังยุ่งเรื่องงานทางโลกอยู่ แต่ก็คุยเพราะมีความคิดเห็นที่จะชี้ให้เห็น หรือผู้ที่ติดตามอ่านอย่างดีก็จะเห็น แนวที่ผมเล่าเรื่องอานาปานสติ ดังนี้

       ทั้งแต่ต้นกระทู้นี้ ผมได้คุยเรื่องการปฏิบัติ อานาปานสติผสมประสานกับสติปัฏฐาน 4 หรือแนวยุบหนอ-พองหนอ(สติปัฏฐาน 4 นั้นมีหลายแนว เช่น การดูจิต  การมีสติรู้ทั่วพร้อมกาย ฯลฯ อยู่ที่การเน้นชัดในฐานใดฐานหนึ่งใน 4 ฐาน 1.กาย 2.เวทนา 3.จิต และ4.ธรรม)  โดยตนเองฉีกแนวออกไป ทั้งแต่เริ่มต้น ปรากฏผลมีวิปัสสนาญาณควบคู่กับฌานทั้งแต่ต้น   แต่ฌานที่ควบคู่กับวิปัสสนาญาณ เป็นฌานที่เกิดเห็นพร้อมกับไตรลักษณ์  ซึ่งเรียกว่า ลักขณูฌาน(อาจจะพิมพ์ผิด) เกิดความหลงไปพักหนึ่ง แต่สามารถรู้ตัวว่าหลง จึงพัฒนาอานาปานสติกับการสร้างสติแบบ ยุบหนอ-พองหนอไปตามลำดับจนเข้าสู่ ทุติยฌาน และภังคญาณ  ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ แล้วก็หยุดไว้เพียงแค่นั้นเมื่อปี 2526 ในความเห็นตอนต้นของกระทู้

    มาในปลายปี  2548 เมื่อผมได้อ่านในพระสูตร เรื่องอานปานสติและอนิสงค์อย่างสมบูรณ์แล้ว ซึ่งปฏิบัติถึงที่สุดแล้วทั้ง 16 จาตุกะ ก็เป็นสติปัฏฐาน 4 นั้นเอง จึงสามารถเชื่อมต่อจากการปฏิบัติเมื่อปี 2526 ให้สมบูรณ์ แบบประสานกับการสร้างสติแบบ ยุบหนอ-พองหนอ

    แต่มาในความคิดเห็นที่ 143 กับ 144  แยกอานาปานสติออกมาเด่นชัดเพียงอย่างเดียว ไม่สร้างสติแบบ ยุบหนอ - พองหนอ ก็ดำเนินไปตามสมาธิอย่างเดียว ตามจาตุกะ ที่ 1, 2, 3, 4 ของอานาปานสติ ดังนั้นสิ่งที่ปรากฏกับผมสามารถกล่าวได้ว่า

     1.อานาปานสติสามารถใช้ร่วมกับสติปัฏฐาน 4 ได้ตั้งแต่เริ่มต้นการปฏิบัติ ที่เจริญขึ้นทั้ง ฌานและญาณ

     2.อานาปานสติสามารถปฏิบัติเป็นสมาธิอย่างเดียวในตอนเริ่มต้น เพื่อให้ได้สมาธิระดับฌาน ในจาตุกะเบื้องต้น ที่ 1, 2, 3, 4 แล้วพัฒนาเป็นวิปัสสนากรรมฐาน เป็นสติปัฏฐาน 4 ในจาตุกะที่สูงขึ้นไป   เรียกว่า สมถะและวิปัสสนา

      ผมจะยกพระสูตรหรือพุทธพจน์ ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า เมื่อปฏิบัติอานาปานสติสมบูรณ์แล้วก็จะถูกต้องเป็นสติปัฏฐาน 4  ดังนี้

                                 กิมิลสูตร
                          การเจริญอานาปานสติสมาธิ
          [๑๓๕๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:
          สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน ใกล้เมืองกิมิลา ณ ที่นั้นแล
พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระกิมิละว่า ดูกรกิมิละ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อัน
ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก? เมื่อพระผู้มี
พระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระกิมิละนิ่งอยู่.
          [๑๓๕๖] แม้ครั้งที่สอง แม้ครั้งที่สาม พระผู้มีพระภาคก็ตรัสถามท่านกิมิละว่า ดูกร
กิมิละ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก? ท่านพระกิมิละก็นิ่งอยู่.
          [๑๓๕๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เป็นกาลสมควรที่พระองค์จะพึงตรัสสมาธิอันสัมปยุตด้วย
อานาปานสติ ข้าแต่พระสุคต เป็นกาลสมควรที่พระองค์จะพึงตรัสสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปาน
สติ ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์
ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ดูกรอานนท์ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว
อย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่
ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า ฯลฯ ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละ
คืนหายใจออก เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า ดูกรอานนท์ สมาธิอันสัมปยุต
ด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์
มาก.
          [๑๓๕๘] ดูกรอานนท์ สมัยใด ภิกษุเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว
หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม
หายใจทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร
หายใจเข้า สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเรากล่าวกายอันหนึ่ง
ในบรรดากายทั้งหลาย ซึ่งได้แก่ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า เพราะฉะนั้นแหละอานนท์
สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
          [๑๓๕๙] ดูกรอานนท์ สมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ
หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็น
ผู้กำหนดรู้สุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุขหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า
เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร
หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับ
จิตสังขารหายใจเข้า สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเรา
กล่าวเวทนาอันหนึ่งในบรรดาเวทนาทั้งหลาย ซึ่งได้แก่การกระทำไว้ในใจให้ดีซึ่งลมหายใจออก
และลมหายใจเข้า เพราะฉะนั้นแหละอานนท์ สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
          [๑๓๖๐] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักกำหนดรู้จิตหายใจ
ออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้บันเทิง
หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิต
มั่นหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่นหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเปลื้องจิต
หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเปลื้องจิตหายใจเข้า สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิต
ในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อ
นั้นเพราะเหตุไร? เพราะเราไม่กล่าวซึ่งการเจริญสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ สำหรับผู้มี
สติหลง ไม่มีสัมปชัญญะ เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตใน
จิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
          [๑๓๖๑] ดูกรอานนท์ สมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความ
เป็นของไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง
หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก ย่อมสำเหนียก
ว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดย
ความดับหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจเข้า ย่อมสำเหนียก
ว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดย
ความสละคืนหายใจเข้า สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัส
นั้นด้วยปัญญา จึงวางเฉยเสียได้ เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นแหละอานนท์ สมัยนั้น ภิกษุย่อม
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกเสียได้.
          [๑๓๖๒] ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนมีกองดินใหญ่อยู่ที่หนทางใหญ่ ๔ แพร่ง ถ้า
เกวียนหรือรถผ่านมาในทิศบูรพา ก็ย่อมกระทบกองดินนั้น ถ้าผ่านมาในทิศปัจฉิม ทิศอุดร ทิศ
ทักษิณ ก็ย่อมกระทบกองดินนั้นเหมือนกัน ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อพิจารณาเห็น
กายในกายอยู่ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ พิจารณาเห็นธรรมใน
ธรรมอยู่ ย่อมจะกำจัดอกุศลธรรมอันลามกนั้นเสียได้.

    
      จากพุทธพจน์ อานาปานสติ นั้นเมื่อสมบูรณ์แล้วเป็น สติปัฏฐาน 4 นี้เอง

 

ตอบโดย: Vicha 28 มี.ค. 49 - 15:47


ผมตามไปอ่านที่ http://www.vichadham.com/
อ่านไปหลายหน้าแล้วน่าสนใจมากครับ

ตอบโดย: ธนัส 29 มี.ค. 49 - 15:36


รบกวนถามหน่อยครับ
ไ่ม่ทราบว่าเราประยุกต์ใช้อานาปานสติในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง
เช่น เวลาเดิน กินข้าว อาบน้ำ แบบนี้กำหนดรู้ลมหายใจไปด้วยหรือเปล่าครับ
หรือไปกำหนดรู้อารมณ์อื่นที่เด่นชัดกว่า หรืออาศัยระลึกรู้ลมหายใจเป็นช่วงๆ


ตอบโดย: ปีติ 30 มี.ค. 49 - 17:17


คุณ ปิติ ถามได้ดีมากครับ ผมจะตอบตามที่ผมได้เคยปฏิบัติมาตั้งแต่เด็กนะครับ

     เมื่อวัยเด็กจนเรียนมหาวิทยาลัยผมรู้เกี่ยวการดูลม หรือ พุทธ-โธ อย่างเดียว ผมจึงดูลมหายใจเป็นหลัก เมื่อระลึกได้ผมก็จะมาดูลมหายใจที่จมูกอย่างเดียว และวันหนึ่งๆ ผมระลึกได้เป็นส่วนมาก เมื่อปฏิบัติติดต่อมาเป็นหลายปี ดังนั้นสติและความรู้สึกของผมจึงไปอยู่ที่จมูกเป็นส่วนมาก เป็นสมถะพื้นฐานล้วนๆ
 
     เมื่อได้เรียนรู้กรรมฐานแบบ ยุบหนอ-พองหนอ เรื่องการมีสติและสร้างสติให้สมบูรณ์ขึ้น ผมจึงมีสติรู้เท่าทันปัจจุบันได้ดีขึ้น แต่มีปัญหาในการนั่งกรรมฐาน สติและความรู้สึกของผมจะอยู่ที่ลมหายใจและจมูกอยู่เป็นส่วนมาก ส่วนน้อยที่จะไปรู้เท่าทันสิ่งอื่นที่กระทบ ผมจึงมีความไม่สบายใจเท่าไหร  เพราะปฏิบัติมีสติที่ ท้องยุบ-ท้องพอง ไม่ได้  จึงมีความกระดากใจเพราะกินอยู่ต่างๆ ก็ฟรี แต่ปฏิบัติตามแนวหลวงพ่อโชดก ไม่ได้  จึงตัดสินใจ ทิ้งคำภาวนา พุทธ-โธ ไปเสียก่อน มากำหนดตามสภาพความจริงของลมที่กระทบหรือรู้สึกลมเคลือนออกและเข้าที่จมูกแทน แล้วใส่คำภาวนา "ไม่เที่ยงเป็นทุกข์" กับลมที่กระทบเข้าหรือรู้สึกเคลื่อนเข้า และภาวนา "ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน" กับลมที่กระทบออกหรือรู้เคลื่อนออก  แล้วกำหนดภาวนาอย่างอื่นที่กระทบหรือบังเกิดเด่นชัด ตามแนว ยุบหนอ-พองหนอ เช่น คิดหนอ รู้หนอ ฟุ้งหนอ ง่วงหนอ และการเดินจงกรม ฯลฯ ทุกประการ และทุกขณะเวลา ไม่ว่างเว้นจนการกำหนดภาวนาเมื่อมีความรู้สึกตัวอยู่
     จึงทำให้ทั้ง ฌานและวิปัสสนาญาณ เจริญขึ้นไปพร้อมๆ กัน และเมื่อสลัดความหลงในวิปัสสนูกิเลสไปได้ ทุติยฌานและปรมัติญาณ (อุทัพพยญาณ ภังคญาณ ภยญาณ) ก็เจริญขึ้นอย่างง่าย

     แต่ภายหลัง ผมได้ทิ้งการกำหนดรู้ตามลมหายใจ เพื่อให้ทุกอย่างในการปฏิบัติเป็นเสกเช่นเดียวกับแบบ ยุบหนอ-พองหนอ โดยใช้ฐาน ได้ยินหนอ ๆ เป็นหลัก เพราะผมกำหนดท้องยุบพองไม่ได้จะไปมีสติและรู้สึกที่จมูกทันที  ผมใช้ ยินหนอๆ เป็นฐานหลัก ตั้งแต่ปี พ.ศ 2526 เป็นต้นมาติดต่อกันเป็นเวลามากกว่า 10 ปี และหลังจากปลาย ปี 2537 การจะกำหนด "ได้ยินหนอ" ลดน้อยลง เพราะเพียงจะกำหนดก็รู้ที่ใจที่ปรากฏก่อนแล้ว  จึงกำหนดภาวนาอยู่ที่ใจเป็นส่วนมาก เป็นความเป็นไปของใจเป็นส่วนมาก เห็นใจที่ไหว เห็นใจที่ปรุงแต่ง เห็นใจที่เปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะ จึงกำหนดภาวนา "รู้หนอ" หรือ "เป็นเช่นนั้นเอง" หรือ "เกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วดับไป" ของใจที่ปรากฏเป็นส่วนมาก แต่การได้ยิน กำหนด "ได้ยินหนอ" และกำหนดอย่างอื่นก็มีอยู่ตามที่ปรากฏชัด เป็นเวลา 10 ปี

   จนถึงปลายปี 2548 เริ่มมาทบทวนอานาปานสติ

    ตอบสรุป   เมื่อประสงค์ปฏิบัติอานาปานสติโดยยกขึ้นให้เป็นสติปัฏฐาน 4 หรือวิปัสสนากรรมฐาน ก็ต้องมีสติให้เท่าทันกับสิ่งที่ปรากฏชัดที่เป็นปัจจุบันในชีวิตประจำวันที่กระทบกายหรือใจ  แต่เมื่อการปราฏชัดนั้นไม่แน่นอน หรือสับสนอยู่ หรือสงบลงแล้ว ก็มีสติอยู่ที่ลมหายใจกระทบหรือเคลื่อนออกเคลื่อนเข้าที่จมูกครับ  ก็จะไม่ว่างเว้นจากการปฏิบัติกรรมฐานเลยเมื่อรู้สึกตัว ซึ่งผมเคยทำมาแล้วยกเว้นเวลาหลับเท่านั้น (แต่ก็หนักเอาการเหมือนกัน วางชีวิตเข้าแรก จึงจะผ่านสมาธิแต่ละระดับมาได้ เป็นการปฏิบัติทางทุกข์แต่ได้สมาธิรวดเร็ว ในช่วงต้นๆ )

  ต่อไปตอบเป็นข้อๆ ที่คุณปิติถาม

ถาม เวลาเดิน กินข้าว อาบน้ำ แบบนี้กำหนดรู้ลมหายใจไปด้วยหรือเปล่าครับ

ตอบ  เวลาเดิน กิริยาเดินเด่นชัด ก็กำหนดการเดินเป็นหลัก  แต่เมื่อเวลาเดินนั้นบางครั้งก็ไปรู้ลมหายใจก็กำหนดที่ลมหายใจเป็นระยะที่รู้ชัดเป็นระยะนะครับ แต่ส่วนมากการรู้ชัดจะอยู่ที่กิริยาเดินมากกว่าครับ ดังนั้นควรกำหนดรู้ตัวทั่วพร้อมที่การเดินเป็นหลักในช่วงที่เดินครับ เมื่อการรู้ชัดอย่างอื่นปรากฏก็ไปกำหนดรู้ชัดอย่างนั้น แล้วก็กลับมารู้ชัดที่เดินต่อ ซึ่งเป็นเช่นเดียวกับการ กิน หรืออาบน้ำ
     แต่เมื่อยามนั่งสงบหรือนั่งสมาธิก็กำหนดรู้ลมหายใจเป็นหลักครับ และก็เช่นเดียวกันเมื่อมีอย่างอื่นมาปรากฏชัดก็กำหนดเท่าทันสิ่งนั้น เมื่อสงบแล้วก็มารู้ที่ลมหายใจเหมือนเดิมครับ

ตอบโดย: Vicha 31 มี.ค. 49 - 09:21


ขอบคุณครับ  
ตัวผมเวลาเดินนี้บางครั้งสามารถรู้ได้ทั้งการก้าวย่างและลมหายใจเข้าออกไปพร้อมกับ แต่สัดท้ายโดยมากจะอยู่ที่เท้าเพราะมันชัดกว่า

มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ผมมีปัญหาเพราะเวลานั่งสมาธิช่วงกลางคืนผมจะภาวนาพุทธ-โธ
ที่นี้ตอนเช้าผมจะตื่นมาเดินจงกรมก็ย้างเท้าขวา/พุทธ - ซ้าย/โธ เช่นกัน

แต่ราวๆ เดือนที่ผ่านมาทุกครั้งที่ผมเดินจงกรมตอนเช้าเวลาภาวนาพุทธโธจิตมันจะไปอยู่กับลมหายใจเข้าออกแทน  ทำให้เหมือนกับว่าจังหวะการเดินนั้นโดนกำกับโดยลมหายใจ การก้าวย่างจึงไม่เป็นธรรมชาติและอึดอัดครับ  

ผมเลยเปลี่ยนคำบริกรรมตอนเดินจงกรมเป็นขวา-ซ้ายแทน หรือไม่ก็ไม่ต้องมีคำบริกรรมไปเลย  ทำให้เดินได้ดีขึ้น  ระหว่างเดินถ้าระลึกรู้ลมหายใจได้บ้างก็รู้ไป ถ้าไม่รู้ก็ไม่เป็นไร

ในช่วงเวลาอื่นระหว่างวันเช่น ถ้านั่งอ่านหรือเขียนหนังสือ ขับรถก็มีสติระลึกรู้ลมหายใจได้เป็นระยะ  แต่เวลากินข้าวจะอยู่ที่อริยาบทใหญ่-ย่อยมากว่า

ยังมีข้อสงสัยปลีกย่อยอีกแล้วโอกาสต่อไปจะเรียนถามใหม่ครับ  
 

ตอบโดย: ปีติ 31 มี.ค. 49 - 13:01


แสดงความเห็นกับคุณปิติ นะครับ

    จริงๆ ครับ ผมเองก็เคยภาวนา พุทธ - โธ แล้วรู้ลมหายใจจนเคยชิน(จะไม่ให้เคยชินได้อย่างไร เพราะกำหนดทั้งแต่เด็กจนเรียนมหาวิทยาลัย)  ดังนั้นไม่ว่าจะภาวนาอะไรก็จะไป รู้ตามลมทุกครั้ง แต่ผมสามารถแยกออกมากำหนดสิ่งที่ปรากฏเด่นชัด ก็เมื่อมาปฏิบัติตามแนว ยุบหนอ-พองหนอ

  ดังนั้นไม่ว่าจะทำอะไร ถ้าจิตน้อมที่จะมารู้ที่ลมหายใจ  ก็เป็นสามาธิที่ดี แต่สติจะด้อยไปเพราะไม่ไปรู้เท่าทันกับสิ่งที่ปรากฏเด่นชัดกับกายหรือใจ จิตก็จะปักลงที่ลมหายใจเป็นหลัก

  แต่การรู้ตัวทั่วพร้อมสิ่งที่ปรากฏชัดกับกายหรือใจ เมื่อสงบแล้วก็กลับมารู้ที่ลมหายใจเป็นฐาน ก็จะมีสติดี และสมาธิที่ดี เหมาะในการเจริญสติปัฏฐาน 4
   
     

ตอบโดย: Vicha 31 มี.ค. 49 - 13:49


อย่างนี้เองแสดงว่า การที่คุณVicha ได้ผ่านการฝึกในแนวพองยุบมาจึงทำให้กำลังของสติมากขึ้นจนสามารถกำหนดรู้อารมณ์อื่น(ที่เด่นชัดกว่า)ได้ด้วยนอกจากลมหายใจอย่างเดียว   ซึ่งก็ช่วยให้สามารถประคองสติให้รู้ได้ตลอดวันได้สะดวกกว่าอย่างนั้นใช่ใหมครับ

อย่างนี้นอกจากศึกษาแต่อานาปานบรรพอย่างเดียว เราก็ควรจะลองฝึกหมวดอื่นไปด้วย เช่นอริยาบทบรรพอย่างนี้เป็นต้นเพื่อให้มีความรู้ตัวทั่วพร้อมในระหว่างวันได้ด้วย เช่นนี้หรือเปล่าครับ  

ตอบโดย: ปีติ 31 มี.ค. 49 - 15:48


   ตอบคุณ ปิติ ใช่ครับ สติเท่าทันกับที่ปรากฏชัดกายหรือใจตามความเป็นจริงครับ จึงจะเป็นสติปัฏฐาน 4 ครับ แล้วปัญญาก็จะบังเกิดเห็นสภาพความเป็นจริงของความเป็นไตรลักณ์

    เมื่อยามสงบก็อาศัยฐานใดฐานหนึ่งตามถนัดที่ฝึกมาเป็นฐานเป็นที่อยู่ของสติและสมาธิหรือใจครับ

ตอบโดย: Vicha 31 มี.ค. 49 - 17:11


       ตามอ่านอยู่ตลอดนะคะ ที่ไม่มีอะไรถามเพราะไม่รู้จะถามอะไร อ่านแล้วก็ทำความเข้าใจตามไป บางครั้งก็สงสัย แต่บางทีความสงสัยมันก็หายไปพอมันหายไปแล้ว ก็เลยไม่รู้จะไปตามคุ้ยมันกลับมาทำไม ยังปฏิบัติอยู่เป็นปกติคะ อาการแปลกๆที่เคยเรียนถาม ก็หายไปแล้วคะ ความเป็นคนช่างสงสัยก็เบาลง รู้เท่าทันอารมณ์ได้ดีขึ้นกว่าแต่ก่อน ทันบ้างไม่ทันบ้าง แต่ก็ยังดีกว่าเมื่อก่อนที่กว่าจะรู้ทันระเบิดลงไปถึงไหนๆแล้ว ต้องกราบขอบพระคุณในคำแนะนำคะ

ตอบโดย: สายศีล 11 เม.ย. 49 - 12:31


สวัสดีครับคุณ Vicha
ผมตามอ่านกระทู้นี้มาตั้งแต่ต้นครับ
ตอนนี้เป็นช่วงที่ผมปฏิบัติธรรมไม่ได้ดีนักครับ
เลยมาหาอ่านธรรม เพื่อเป็นกำลังใจในการปฏิบัติครับ

ขอบคุณสำหรับกระทู้นี้ครับ  

ตอบโดย: Narupon 12 เม.ย. 49 - 09:14


    ผมขอมาแจ้งเรื่องโครงการสนทนาการปฏิบัติธรรมอานาปานาสติปรับให้เข้ากับสติปัฏฐาน 4 ที่ผมจัดเตรียมไว้ต้องงดไปทั้งที่เตรียมที่ไว้พร้อมแล้วก็เพราะอิทธิพลของฝนตก ทำให้ไม่มีที่รองรับการสนทนาในกรณีที่ฝนตกเพราะเป็นที่โล่ง  และฝนก็ตกมาเรือย(บ่อยครั้งตรงกับเสาร์อาทิตย์เสียด้วย รู้เพราะจะมีปัญหาเรื่องการตากผ้าที่ชักในวันหยุดเป็นประจำ)เป็นระยะๆ ตั้งแต่หลังสงการณ์มาแล้ว เป็นเพราะอิทธิพล ฤดูฝนมาไวกว่าปกติ

      แต่ไม่เป็นไรเพราะมีหลายท่านที่พร้อมทำไว้แล้วอย่างจริงจังอย่างท่านพระอาจารย์วิโมก  ผมจึงขอดูๆ ไปก่อน  ครับ

 

ตอบโดย: Vicha 25 พ.ค. 49 - 16:40


ได้รับความรู้มากมายในการฝึกนั่งสมาธิครับ

ขออนุโมทนา คุณ Vicha และทุกท่านที่มาให้ความรู้เป็นธรรมทานนี้ด้วยครับ

ตอบโดย: เคน 26 พ.ค. 49 - 09:34


   วันนี้ผมจะเสริม สนทนาต่อ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ฝึกอานาปานสติไม่มากก็น้อย  และขอแนะนำว่าการสนทนาธรรมกันนี้มีประโยชน์ ถ้ารู้จักเลือกสรรสิ่งที่ยังติดขัดหรือยังไม่เข้าชัดใจมาปฏิบัติให้เห็นแนวทางต่างๆ ได้ชัดเจนขึ้นหรือดีขึ้น เพราะการรู้จักการวางจิตตนเองได้หลายแนวจะเป็นประโยชน์กับตนเอง จะไม่คับแคบอยู่ในทางใดทางหนึ่งโดยเฉพาะ

    มูลเหตุ เมื่อปี 2541- 42 ตอนนั้นมีศีลที่ดี ปักแน่นอยู่กับการภาวนา  และผมจะยก(หรือมนสิการ)คำภาวนาขึ้นเป็นหลัก เมื่อมีอะไรที่กระทบจากภายนอก หรือบังเกิดขึ้นจากภายในใจ  ที่เด่นชัดก็จะมีสติเท่าทันพร้อมทั้งโยนิโสมนสิการภาวะที่ปรากฏนั้นลงสู่ไตรลักษณ์ (เห็นภาวะเกิด ขึ้นตั้งอยู่ ดับไป สลายไป ของภาวะที่ปรากฏนั้นอยู่เนื่อง ) แล้วภาวนาว่า "เป็นเช่นนั้นเอง" พร้อมกับสิ่งที่ปรากฏแล้วดับหรือสลายไป หรือจนคลายสลายไป จนปรากฏเป็น ความว่าง ไม่ปรุงแต่งเหลืออยู่เพียงจิตนิดเดียว ซึ่งเป็นความว่างภายใน ตัดทิ้งไม่รับรู้ภายนอก  แล้วค่อยคลายตัวออกมาเอง

     ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้ ก็ปรากฏความแปลกขึ้นสองครั้งในขณะที่อยู่ในภาวะว่างๆ ไม่ปรุงแต่งเหลืออยู่เพียงนิดเดียว
     ครั้งที่หนึ่ง เมื่อดำรงณ์อยู่ในความว่างเหลือจิตเพียงนิดเดียวนิ่งอยู่ เกิดน้อมนึกถึงเพื่อนที่เพิ่งบวชพระ ว่าจะบวชอยู่ได้ตลอดหรือไม่?  ก็บังเกิดนิมิตขึ้นมาเป็นพระสงฆ์ แต่จิตนั้นหน่วงจับอยู่ที่จีวรพระรูปนั้น แล้วเกิดความรู้ผุดขึ้นมาว่า "พระเพื่อนนั้นรักษาพรหมจรรย์มาตลอด"  หลังจากนั้นจิตก็คลายออกรับรู้ทั่วกายเป็นปกติ  แล้วรู้ด้วยสามัญสำนึกว่า "พระเพื่อนจนบวชไม่สึกแน่นอน ถ้าไม่มีกรรมใดมาตัดรอน"   ปัจจุบันพระเพื่อนก็ยังบวชอยู่
     ครั้งที่สอง ขณะดำรงณ์อยู่ในความว่างเหลือจิตเพียงนิดเดียวนิ่งอยู่ เกิดน้อมนึกถึงชีวิตตนเองเป็นอย่างไรในอนาคต ก็บังเกิดนิมิตขึ้นมา เป็นดวงชีวิตสว่างจ้าอย่างชัดเจน และใจรู้ไปเองว่าหนึ่งดวงเป็น 1 ปี เพราะมีเลขอายุปรากฏให้ทราบด้วย  แล้วก็ดับ แล้วก็เกิดเป็นดวงสว่างจ้าใหม่อีกดวงหนึ่ง เกิดสว่างจ้าแล้วดับอย่างนี้ไปเรื่อยๆ  จนถึงดวงสว่างจ้าที่ 58 ปี พอถึงดวงที่ 59 แสงสว่างจ้านั้นก็จะอ่อนลงไปอย่างมากเกินครึ่ง หลังจากนั้นก็เกิดดับติดต่อไปอีกแต่แสงสว่างนั้นหาได้สว่างขึ้นไม่ แต่ทรงอยู่ แล้วก็ค่อยจางไปประมาณ 10 หรือ 10 กว่าดวงเล็กน้อย แล้วหายไปมารับรู้ทั่วตัว
        
     ที่ผมเล่าเหตุการณ์ด้านบนนั้น เป็นการดำรงณ์ความว่างอยู่ภายใน แต่ระงับไม่สนใจภายนอก เหลือความรู้สึกนิดหน่อย แต่ต่อไปเป็นมูลเหตุที่ทำให้ผมได้รู้การวางในกรรมฐานที่ต่างออกไปจากเดิม เมื่อคืนวันเสารนี้เอง แต่ก็สืบเนื่องมาจากกระทู้ อิทธิบาท 4 ของคนผ่านทาง  จากบทความที่ว่า

                                 วิธีเจริญอิทธบาท    ๔

           [๑๑๓๖]  ในกรุงสาวัตถี.    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า    ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย   เมื่อก่อนแต่ตรัสรู้  ครั้งเราเป็นพระโพธิสัตว์    ยังมิได้ตรัสรู้   ได้มี
ความคิดอย่างนี้ว่า  อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยของการเจริญอิทธิบาท.


           [๑๑๓๗]  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า   ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้  ย่อมเจริญอิทธิบาท  อันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร
ดังนี้ว่า  ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป  ไม่ต้องประคองเกินไป  ไม่หดหู่
ในภายใน     ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก   และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและ
เบื้องหน้าอยู่ว่า     เบื้องหน้าฉันใด     เบื้องหลังก็ฉันนั้น      เบื้องหลังฉันใด
เบื้องหน้าก็ฉันนั้น      เบื้องล่างฉันใด     เบื้องบนก็ฉันนั้น     เบื้องบนฉันใด
เบื้องล่างก็ฉันนั้น      กลางวันฉันใด     กลางคืนก็ฉันนั้น      กลางคืนฉันใด
กลางวันก็ฉันนั้น     เธอมีใจเปิดเผย  ไม่มีอะไรหุ้มห่อ  อบรมจิตให้สว่างอยู่.


   เน้นตรงนี้
      ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป  ไม่ต้องประคองเกินไป  ไม่หดหู่
ในภายใน     ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก


      ทำให้น้อมนึกถึงการปฏิบัติของตนเองว่า บางครั้งและเป็นบ่อย ที่เราเองประคองเกินไป  เหมือนอยู่ในกรอบว่างๆ ที่เล็กลงๆ

       และเมื่อผมได้สนทนาในกระทู้ วิทยาศาสตร์ ...วิพาก ... พุทธศาสตร์ ในธรรมกับชีวิต ผมได้กล่าวถึงเรื่องรูป    เมื่อเอาจิตหรือใจเป็นจุดสังเกตุ ผมต้องพิจารณาเข้าไปด้วยความคิด(จิตมยปัญญา) และน้อมนึกถึงที่ได้อ่านมา ถึงรูปภายใน และรูปภายนอก จนแยกแยะรูปภายนอกและรูปภายในด้วยความคิดออกมา  เมื่อบวกกับ การเจริญอิทธิบาท ในข้อที่ [๑๑๓๗] ส่วนว่า

  เธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและ
เบื้องหน้าอยู่ว่า     เบื้องหน้าฉันใด     เบื้องหลังก็ฉันนั้น      เบื้องหลังฉันใด
เบื้องหน้าก็ฉันนั้น      เบื้องล่างฉันใด     เบื้องบนก็ฉันนั้น     เบื้องบนฉันใด
เบื้องล่างก็ฉันนั้น      กลางวันฉันใด     กลางคืนก็ฉันนั้น      กลางคืนฉันใด
กลางวันก็ฉันนั้น     เธอมีใจเปิดเผย  ไม่มีอะไรหุ้มห่อ  อบรมจิตให้สว่างอยู่

    เมื่อมีโอกาศได้นั้งกรรมฐานประมาณ 3 ทุ่มในวันเสาร์ (เพราะลูกสาวอยากนั่งกรรมฐาน) ผมก็ลองเอาบทธรรมนี้มารองดู โดยอบรมจิตให้เสมอกันทั้งภายในและภายนอก ไม่จำกัดขอบเขต
    ผลก็คือมีขอบเขตน้อยมากระว่างร่างกายกับภายนอก จนเสมือนไม่คำนึงถึงขอบเขตของร่างกาย จึงไม่เกิดภาวะประกองรูปของร่างกายเกินไป มีสติรู้ว่าหายใจเข้าและหายใจออก เป็นสิ่งที่รู้ชัด  จึงไม่มีกรอบรางกายแต่รู้ชัดที่ลมหายใจ  หลังจากนั้นลูกสาวเลิกปฏิบัติเพราะไม่ไหวแล้ว เกือบครึ่งชั่วโมง ผมจึงหยุดไปด้วย

     แต่รุ้งเช้าวันอาทิตย์ ผมต้องไปโรงเรียนลูกชาย เพียงคนเดียว เพราะทางโรงเรียนเขาประชุมผู้ปกครอง เมื่อผมลงทะเบียนเสร็จผมก็แวบไปซื้อชุดกิฬาให้ลูกชาย แล้วหาที่วิเวกทดลองปฏิบัติต่อ ซึ่งเป็นการดีมาก เพราะไม่มีการติดขัดในกรอบร่างกายจนมีตึงจะเครียด ก็คลายไปได้โดยง่าย แต่มีปัญหาอยู่ที่ว่า ที่ผ่านมาผมไม่ปฏิบัติติดต่ออย่างเข้มขนมาอย่างเนื่องๆ  เมื่อสงบว่างมากไปทั้งภายในและภายนอกสติก็จะอ่อนลงจนเผลอหลับได้ง่าย (ตลอดเวลาที่ลองปฏิบัติดู ชั่วโมงกว่าหรือเกือบ 2 ชัวโมง)
 

ตอบโดย: Vicha 29 พ.ค. 49 - 17:09


เอาแหละครับวันนี้ผมจะมาคุยต่อ เพราะเมื่อวานนั้นผมเลิกงานพอดี

    จะเห็นว่าผมเอาเรื่องการเกิดญาณหรือนิมิต หลังจากที่จิตสงบนิ่งแล้วมาคุยในความคิดเห็นก่อนหน้านี้ ดูแล้วเป็นเรื่องที่ไร่สาระไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติ

    ความจริงแล้วไม่เป็นเรื่องที่ไร่สาระนะครับ และเกี่ยวกับการปฏิบัติตรงๆ เสียด้วย  และมีผู้ปฏิบัติจำนวนหนึ่ง ตั้งแต่อดีดกาล จนถึงปัจจุบันนี้ ได้ประสบกันอย่างมากมายกว่าผมเสียอีก(เพราะผมเกิดเพียงบางครั้งเท่านั้นเองและไม่แน่นอน)

    แต่ขอย้ำว่าจะเกิดขึ้นได้จิตต้องมีสมาธิและสติละเอียดก่อน เข้าสู่ความสงบนึ่ง หลังจากนั้นจิตไหวเพราะ ดำริตามอุปาทาน(ของผู้มีกิเลส ถ้าเป็นของพระอรหันต์ ดำริอย่างเดียวมั่ง)เกิดก่อนแล้วญาณเกิดที่หลัง  ซึ่งเป็นภาวะของการปฏิบัติจริง ที่บังเกิดกับบางท่านหรือบางบุคคลที่ปฏิบัติธรรม จะไปปฏิเสธก็ไม่ได้ว่าไม่ต้องมีหรือไม่ควรมีไม่ได้
     
     แต่ก็ถือว่าเป็นเพียงของเล่นถ้าเจตนากระทำ  แต่ถ้าไม่ได้เจตณาแล้วปรากฏให้ทราบหลังจากจิตสงบว่างนิ่งอยู่แล้วน้อมขึ้นมาเอง ก็ถือว่าเป็นภาวะธรรมที่ปรากฏให้รู้เท่านั้น

     การศึกษานั้นต้องศึกษาให้พอรู้ว่าอาจเกิดได้กี่รูปแบบ จึงเป็นการศึกษาที่ควร แต่ไม่ใช่การอยากให้เป็นหรืออยากเป็น หรือไปปฏิเสธหรือไม่เอา ก็จะจบแห่ยึดติดตามความประสงค์ของเราเท่านั้นที่เราไม่รู้อะไรอีกมากและ ไม่เป็นไปตามภาวะจริงๆ ของธรรมชาติที่ปรากฏ


     ต่อไปผมจะคุยเรื่องของเล่นๆ แล้วนะครับ
           จากความคิดเห็นก่อนหน้านี้ เรื่องเพื่อนที่บวชพระยังไมสึก  สิ่งนั้นไม่ได้มีเจตนาก่อนเข้าสมาธิเพื่อจะรู้   แต่เป็นการปฏิบัติธรรมตามปกติ ตัดความนึกคิดไม่มีความรู้สึกภายนอกปรุงแต่งได้ จนวางสงบนิ่งอยู่ หลังจากนั้นก็น้อมนึกถึงเพื่อนที่พึ่งบวชเอง นิมิตและญาณก็ปรากฏให้ทราบว่า "พระเพื่อนรักษาพรหมจรรย์มาตลอด" ก็รู้ว่าพระเพื่อนอยู่ในเพศพระได้ตลอดชีวิตแน่นอน ถ้าไม่มีกรรมมาตัดรอน

         ซึ่งในสภาพความเป็นจริงก็รู้อยู่แล้วว่า เพื่อนตั้งใจจะบวชไม่สึกทั้งที่ไม่เป็นที่ยอมรับของญาติหลายคน เพราะเป็นการบวชครั้งที่ 2 และฝ่าฟันผ่านไปได้และผมก็ไม่ได้รับทราบจากปากของพระเพื่อน   ดังนั้นถ้าคิดอีกแง่หนึ่ง ก็เป็นของตายที่รู้อยู่แล้วว่าพระเพื่อนจะบวชไม่สึก ญาณโตงเตง(สำหรับผู้ปฏิเสธเรื่องนี้)ก็ย่อมหลอกหรือสร้างจิตสำนึกมาตามที่รู้มาแล้วได้ ตามหลักจิตวิทยาในเรืองของจิต   และปัจจุบันพระเพื่อนจึงยังคงบวชเป็นพระอยู่(จะสิบปีแล้ว) เพราะท่านเองก็ประสงค์บวชไม่สึก ซึ่งเห็นๆ อยู่แล้ว

        มาคุยเรื่องเจตนาดูกันบ้างเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นว่าจะเป็นเรื่องของจิตวิทยาเท่านั้นเองหรือเปล่า?  และเรื่องนี้เป็นเรื่องที่พึ่งผ่านไป 1 หรือ 2 ปีมานี้เอง เรื่องมีดังนั้น
      ตอนต้นปีผมได้รับโทรศัพท์จากเพื่อนว่า "เซียม ผมจะบวช ก่อนเข้าพรรษา ประมาณ 6 -7 เดือนข้างหน้า"
       เพื่อนพูดอย่างแม่นมั่นเอาจริงเอาจังและเหมือนแน่นอนแล้ว และผมรู้ว่าถ้าเพือนบวชเขาตั้งความประสงค์ไว้แล้วว่าจะบวชไม่สึกตลอดชีวิต
       ผมจึงถามไปว่า "เอาแล้วพ่อแม่และบ้าน(ส่วนรวมทั้งพีน้องช่วยกัน)จะทำอย่างไร?"
       เพื่อนตอบ  "เครียร์ปัญหาแล้วน้องๆ รับได้ ช่วยกันได้"
       ผมจึงถามต่อไปว่า "พ่อแม่เขายอมหรือ?"
       เพื่อนตอบ "คุยกันแล้วยอม"
       ผมจึงถามต่อไปว่า "แล้วท่านเต็มใจไหม?"
       เพื่อนตอบ "ไม่คอยเต็มใจ"

       ผมฟังโทรศรัพย์แล้ว ใจเพื่อนเราใจไปเกินร้อยแล้ว และผมก็ไม่ทราบว่าเขามีความกดดันทางด้านอี่นหรือเปล่า แต่ทราบว่าเขาอยากจะบวชมานานมากแล้วทั้งแต่ทำกรรมฐาน ซึ่งมากกว่าและเริ่มมาก่อนพระเพือนที่บวชไปแล้ว  แต่ก็เนอะเวลาอีกทั้ง 6-7 เดือน จะได้บวชจริงตามเจตนาหรือเปล่าก็ไม่รู้  จึงเป็นปัญหาค้างคาใจผมอยู่ว่าจะได้บวชจริงหรือไม่จริงว้า...

       ผมจึงตัดสินใจเจตนาเข้าสมาธิดู เข้าสมาธิจนพอสงบพอสมควรแล้วกำหนดถามเป็นคำภาวนาเข้าไปว่า "เพือน(แทนชื่อเพือน) จะได้บวชก่อนเข้าพรรษานี้จริงหรือเปล่า"  ๆ ๆ  จนสงบตัดความนึกคิดและสิ่งที่กำหนดภาวนาถามทิ้งไป ก็จะผลิกออกมาเป็นนิมิต เป็นรถบรรทุกคันใหญ่ วิ่งฝุ่นตลบฝ่านมาทางหน้าผมไม่ยอมหยุดไม่ยอมชลอ ผ่านไปเฉยอย่างไว
     ก็รู้ขึ้นมาว่า "เพื่อนมีฐานะอย่างไร ก็มีฐานะอย่างนั้นตลอดไม่เปลี่ยนแปลงในช่วงที่กำหนด ถ้าตอนนี้เขาเป็นฆารวาส ต่อไปในช่วงที่กำหนดเขาก็ยังเป็นฆารวาสไม่ได้บวช"
      เป็นคำตอบที่เก็บไว้ในใจ  ส่วนภรรยาผมก็ดูด้วยเช่นเดียวกัน แล้วเก็บคำตอบไว้ในใจ ไม่บอกกัน  หลังจากวันนั้นผมก็ได้โทรไปหาเพือน  แล้วบอกเขาว่าได้ดูให้เขาแล้วว่าจะได้บวชหรือไม่ได้บวช แต่คำตอบไม่บอกตอนนี้ จะจดไว้แล้วจะให้ดูอีก 6 -7 เดือนข้างหน้าวันเข้าพรรษา เพื่อนก็ อือๆ

       กาลเวลาผ่านมาหลายเดือนก่อนเข้าพรรษา เพื่อนโทรมาถามคำตอบที่ดูไว้ ว่าเห็นอย่างไรกันแน่ เพื่อพูดในเชิงคะยันคะยอให้บอก ผมก็รู้ได้ทันทีว่าเพื่อนต้องมีปัญหาเรื่องการบวชแน่นอน จึงบอกไปว่า ที่ดูไว้เพื่อนไม่ได้บวช  และเมื่อถามแฟนแล้วแฟนก็บอกว่าเพือนไม่ได้บวช
        หลังจากนั้นเพื่อนก็เปรอยมาว่า "จริงๆ เราคงไม่ได้บวชตามที่ตั้งใจไว้"
      
        จนถึงปัจจุบันนี้เพื่อนคนนั้นก็ยังไม่ได้บวช

        (พักเที่ยงครับ)

ตอบโดย: Vicha 30 พ.ค. 49 - 12:26


แวะมาอ่าน ครับ

ตอบโดย: วชิระ45 01 มิ.ย. 49 - 13:08


    วันนี้ผมก็ได้มีโอกาศมา คุยต่อในกระทู้นี้ เพราะยังไม่ประสงค์ให้กระทู้ตกหายไป โดยไม่สานต่อ เนื่องจากภาระกิจ เนื่องจากการจัดสนทนาการปฏิบัติที่บ้านยังไม่ได้เริ่ม เพราะติดฝนที่ผิดปกติทางภูมิอากาศ

     ในเมื่อเป็นกระทู้เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมก็คุยเรื่องประสบการณ์การณ์ปฏิบัติต่อก็แล้วกัน ซึ่งผู้ที่ติดตามอ่านและปฏิบัติธรรมสามารถยิบยกเอาไปใช่ได้ตามแต่ละกรณีที่พอใกล้เคียงกัน และเลือกสรรได้ทันพอดีกับภาวะของการปฏิบัติที่ปรากฏขึ้นกับตนเอง
     ซึ่งผมจะคุยถึงจุดเริ่มต้นของแต่และการทำกรรมฐานแต่ละอย่างที่ผมเคยปฏิบัติติดต่อกัน ที่กลายเป็นนิสัยที่ภาวะนั้นไหลไปจับหรือเป็นเอง สัมพันธ์กัน หรือทำให้เกิดความยุ่งเหยิง ในการกำหนดปฏิบัติในปัจจุบัน

    ความเคยชินที่ 1 ที่ผมฝึกไม่ให้ตนเองใจลอยเวลาเรียน หรือเกิดภาวะใจเหมื่อลอยเมื่อนั่งเพลินหรือคิดอะไรเพลิน คือให้มีสติอยู่ตลอดเวลานึกได้ตลอดว่าสิ่งที่ทำก่อนหน้านี้ทำอะไรหรือเป็นอย่างไร ตั้งแต่เล็ก(อายุ 10 ปี)
    ความเคยชินที่ 2 ที่ผมเคยปฏิบัติตั้งแต่เด็ก(อายุ 12-13 ปี)  คือนั่งตามแบบพระพุทธรูป(ไม่มีผู้แนะนำสังสอน) โดยไม่ให้คิดอะไร ให้รู้ตัวไปเฉย แต่จะไปรู้ชัดเจนที่หน้า แล้วมีความชาเกิดขึ้น บนใบหน้า เพราะความกดอารมณ์

    ด้วยความเคยชินที่ 1 กับ 2 นี้ ทำให้น้อมเข้าสู่การรู้สึกตัวเองตลอดเมื่อเกิดภาวะอะไรก็ตามแต่ เมื่อเกิดภาวะอะไร ที่รุ่นแรงก็จะกด มั่นไว้ เช่นรู้สึกโกรธมาก ก็จะกดไว้ เสียใจมากก็จะถูกกดไว้  ดีใจมากก็จะถูกกดไว้  เห็นผู้อื่นหรือเพื่อนๆ สนุกที่เกินไปเราก็ไม่สนุกตาม และเมื่อได้รับการกระทบทางจิตใจ เมือนั่งสมาธิตามความเคยชินที่ 2 ก็จะกดอารมณ์ จึงเกิดความชาบนใบหน้ามากขึ้น
      กลายเป็นว่ามีความเคยชินมีสติรู้สึกที่ตัวเองแล้วเกิดภาวะในการกดอารมณ์ตนเอง เพราะส้งคมภายนอกเรื่องฐานะทำให้ต้องกดอารมณ์ตนเองตลอด เป็นร่องอารมณ์จนมีเศษความเคยชินจนถึงปัจจุบันนี้

     ความเคยชินที่ 3 เข้าสู่วัยรุ่น(อายุ 16 ปี) เริ่มดูลมหายใจและภาวนา พุท - โธ  ติดต่อกันจนเรียนจบปริญญาตรี(อายุ 24 ปี) กลายเป็นว่าสติที่ชัดเจนหรือความรู้สึกที่ชัดเจนจะอยู่กับจมูกหรือบริเวณจมูกอยู่ตลอดเวลา  ดังนั้นเมื่อมีเรื่องอะไรกระทบก็ยะน้อมมาอยู่ที่ จมูกบริเวณใบหน้าแล้วค่อยรู้สึกที่ลำตัวหรือที่ตัว กดอารมณ์ที่ไม่พึงประสงค์เอาไว้ไม่ให้ประทุออกมา

      ความเคยชินที่ 4 เข้าปฏิบัติธรรม ยุบหนอ-พองหนอ วัดมหาธาตุท่าพระจันทร์ ตั้งแต่อายุ 24 ปี จนถึง 34 ปี แต่กำหนดดูทองไม่ได้  จึงใช้ ได้ยินหนอหลัก สติก็สามารถ วิงไปทั่วร่างกายและใจที่รู้สึกเมื่ออะไรปรากฏชัด แต่เมื่อสงบแล้วความรู้สึกจะมาอยู่ที่บริเวณหูที่ได้ยิน กำหนด "ยินหนอ" ๆ  เป็นฐานหลัก
    
      ความเคยชินที่ 5 เมื่อศึกษาธรรมของท่านพุทธทาส ที่ท่านเน้นเรื่อง อิทัปปัจจยตา หรือ เป็นเช่นนั้นเอง  และจากพระไตรปิฏก เรื่อง "สักแต่รู้"  "เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปเป็นธรรมดา" จึงเริ่ม นำคำภาวนาเหล่านี้มาภาวนา แทนการกำหนดคำภาวนาแบบเดิมกับสิ่งที่ปรากฏ เพราะไปรู้เท่าทันที่ใจก่อนทันทีมากกว่า และเห็นความเป็นไตรลักษณ์ในภาวะนั้นในทันทีที่ใจเป็นส่วนมาก จึงภาวนาตรงๆ ไปกับภาวะที่เกิดขึ้นนั้นและที่ปัญญาเท่าทันนั้น ว่า "เป็นเช่นนั้นเอง" หรือ "เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป"  เริ่มเมื่ออายุ 34 แต่ยังกำหนดเมื่อได้ยิน ว่า"ยินหนอ" เป็นหลักอยู่ แต่ก็ยังกำหนดภาวะที่เกิดชัดเจนที่รู้ก่อนรู้ที่ใจบ้างเหมือนเดิมแต่น้อยลงมาก จนอายุถึง 44 ปี(เข้ามาคุยในลานธรรมปี พ.ศ 43)

        ความเคยชินทั้ง 5 อย่างนี้แหละ เหมือนเป็นด้ายที่ยุ่งที่พันกันในเวลาผ่อนกรรมฐานจนหมดคือทิ้งกรรมฐานไปเลย แล้วเริ่มต้นไต่ขึ้นไปใหม่ (เป็นเรื่องธรรมดาของฆารวาส ที่ไม่สามารถทรงกรรมฐานได้อย่างตลอดทุกเวลา บางครั้งทิ้งไปทั้งหลายวันหรือเป็นอาทิตย์แล้วมาเริ่มไหม่) ซึ่งปัจจุบันนี้ผมเป็นอย่างนี้แหละครับ

      (พักเที่ยงเดียวค่อยมาคุยกันใหม่ครับ)

ตอบโดย: Vicha 22 มิ.ย. 49 - 12:19


   ความคิดเห็นด้านบนผมไม่ได้อ่านทวน พิมพ์ผิดไปเยอะ(เป็นประจำเลยครับ)
      
      ในเมื่อผมทิ้งกรรมฐานไปหลายวัน เมื่อมาเริ่มใหม่ สิ่งต่างๆ ที่ปรากฏกายกับใจ ก็คงไม่ต่างกับผู้ปฏิบัติใหม่ทั้งหลาย ที่ต่างกันเพียงแต่ผมมีทางที่เคยเดินอยู่ เมื่อปฏิบัติถูกส่วน วิปัสสนาญาณหรือสมาธิ ก็จะพัฒนากลับเข้าทางเดิมอย่างรวดเร็ว

     เมื่อผมทิ้งกรรมฐานไปนานวัน เมื่อเริ่มต้นใหม่ ภาวะความเคยชินเก่าทั้ง 5 ที่กล่าวไว้แล้วปะดังเข้ามาเหมือนด้ายที่พันกัน  ทั้งรู้สึกที่บริเวณใบหน้าแบบชานิดๆ  รู้สึกที่ลมหายใจ รู้สึกในลักษณะร่างกายที่นั่ง รู้สึกในใจที่กำลังรู้ แล้วรู้ที่ได้ยินเสียง เหมือนปะดังรู้พร้อมกันและสับสนเหมือนด้ายที่พันกัน  ซึ่งไม่ต่างกับผู้ที่เริ่มปฏิบัติใหม่

      เป็นอันว่าเรื่องแนวปฏิบัติกรรมฐานนี้ก็เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก เพราะถ้าปฏิบัติแนวใหนติดต่อกันเป็นเวลาถึง  5 หรือ 10 ปี แล้ว จะเปลี่ยนแนวคงลำบาก แล้วจะสร้างปัญหาในการปฏิบัติกรรมฐานในแนวใหม่ที่เริ่มต้นเป็นอย่างมาก เพราะผมเป็นมาก่อนจึงเข้าใจดี เมื่อเปลื่ยนจากดูลมหายใจแบบ พุทธ -โธ ที่ปฏิบัติมาเกือบ 10 มาเป็นแนว ยุบหนอ-พองหนอ เป็นเรื่องที่แสนสาหัสจริงๆ
       ปัญหาในยุคปัจจุบันนี้ คือสำนักกรรมฐานแนวใด ก็ยึดแบบตามแนวนั้นตั้งแต่เบื้องต้น ถ้าไม่เป็นไปตามเบื้องต้นก็จะถือว่าไม่ถูกต้อง ดังนั้นผู้ที่ฝึกกรรมฐานแนวใดแนวหนึ่งมาแล้วจะเปลี่ยนแนวไปอีกสำนักหนึ่ง จึงเป็นเรื่องที่ลำบากมากในการปรับ 1.อารมณ์กรรมฐาน  2.ฐานหลักในการกำหนดภาวนา
       และข้อ 2. ฐานหลักในการกำหนดภาวนานี้แหละที่เปลี่ยนกันได้ยากพอประมาณ ต้องใช้ปรับกันนาน  นี้และคือจุดบอดของการปฏิบัติธรรมในยุคปัจจุบัน
       
     ซึ่งปัจจุบัน ผู้หันเข้ามาปฏิบัติธรรมนั้น เพื่อหวังความสงบสุข วางละกิเลสที่ก่อให้เกิดทุกข์ไปได้บ้าง เป็นเมนหลักและสูงสุดคือมรรคผลนิพพาน  แต่การปฏิบัติละสำนักเหมือนไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้เลย  ตามความจริงแล้วทุกสำนักการปฏิบัติสามารถต่อยอดการปฏิบัติได้เหมือนกันทุกสำนัก ก็คือยกเข้าสู้ สติปัฏฐาน 4 (วิปัสสนา)ได้ทั้งหมดทุกสำนักกรรมฐาน

      ดังเช่น อานาปานสติ เมื่อปฏิบัติอย่างสมบูรณ์ 16 จาตุกะ ก็เข้าสู่ สติปัฏฐาน 4 (วิปัสสนากรรมฐาน)  ยุบหนอ-พองหนอ เมื่อวางสติได้ถูกต้องกับรูปนาม ก็เป็นสติปัฏฐาน 4 เข้าสู่วิปัสสนากรรมฐาน กระสิน 10 หรือสมถะกรรมฐานอย่างอื่น เมื่อวางสติให้ถูกต้องก็ยกเข้าสู่ สติปัฏฐาน 4 เป็นวิปัสสนากรรมฐานได้แทบทั้งหมด

        แต่สำนัก สติปัฏฐาน 4 โดยตรงๆ ที่ไม่ว่าจะปฏิบัติกรรมฐานใดแล้วสามารถปรับเข้าสติปัฏฐาน 4 ที่ไม่ต้องปรับฐานกรรมฐานกันใหม่ให้ยุ่งยากนั้นยังไม่มี

       มาเข้าเรื่องของผมใหม่ เมื่อความเคยชินทั้ง 5 นั้นปะดังเข้ามาผมจะทำอย่างไร? ซึ่งโดยปรกติแล้วผมจะต้องกำหนดก่อนแล้วว่าจะ กำหนดอะไรเป็นหลักก่อนการนั่งหรือปฏิบัติ ก็จะเอาหลักนั้นจนสมาธิดีขึ้นสติดีขี้น แล้วแยกรูปแยกนามได้

       แต่มาในคราวนี้ผมดันไม่ถืออะไรเป็นหลักก่อนการปฏิบัติ ความเคยชินทั้ง 5 อย่างก็ประดังเข้ามาทำอะไรไม่ได้ จึงวางใจแล้วดูเฉยๆ ภาวนาบ้างไม่ภาวนาบ้าง (ใจไม่ได้ปรุงแต่งอะไร) จนวางลงภวังค์ไปเอง ในคืนแรก
        ในคืนที่สอง ก็นั่งปฏิบัติอีกก็เหมือนเดิมอีก จึงวางใจดูเฉยๆ อีก ภาวนาบ้างไม่ภาวนาบ้าง  ก็คิดว่า ก็ดีเหมือนกัน รู้ไปเฉยๆ สงบดี เดียวก็วางลงภวังค์ไปเอง สักพักใหญ่(15-20 นาที) ก็ลงภวังค์ หลังจากนั้นก็เริ่มสับประหก  ก็คิดว่า "อือ ๆ  ถึง เวลานอน"

        ก็รู้อยู่ว่า ใน สองวันที่ผ่านมานั้น "สมาธิหัวตอ" โผล่โด่เด่อยู่  ในคืนที่สาม ก็คิดว่า "จะให้มันโผล่อีกหรือ? แล้วจะทำอย่างไรดี?" นี้เป็นความคิดก่อนที่จะเริ่มนั่งปฏิบัติในคืนที่ 3
        ในคืนที่สาม เมื่อเริ่มนั่ง ความเคยชินทั้ง 5 นั้นก็เข้ามาล็อกตามเดิม ใจก็วางเฉยรู้อยู่ ภาวนาสักแต่รู้ หรือเป็นเช่นนั้นเอง ความเคยชินทั้ง 5 ก็ปรากฏอีก  เดี่วยก็รู้ที่ใบหน้าที่ชา เดี่ยวรู้ที่ลมหายใจแบบฝืดๆ  เดียวรู้ที่ร่างกายที่นั่ง เดียวก็รู้ที่ได้ยินเสียง เดียวก็จะภาวนา "เป็นเช่นนั้นเอง" เดียวเหมือนรู้พร้อมกันทั้งหมด 5 อย่าง จิตเหมือนติดอยู่ในตะก่ายทั้ง 5 นี้โดยตลอด

         ก็เกิดความคิดว่า "เอ่ จะเอาอย่างไรดี?" ก็คิดว่าเอาที่ปรากฏก่อน  ดังนั้นเมื่อรู้บริเวณหน้าก็จะกำหนดบริเวณหน้าเป็นหลัก ก็เกิดชาขยับขึ้นมาบนใบหน้าก็ถอยการกำหนดที่บริเวณหน้า เมื่อหันมารู้ลมหายใจ ความตึงและชาที่บริเวณใบหน้าขยับขึ้นก็ต้องถอยในการกำหนดลมหายใจ เมื่อมากำหนดรู้ที่กายต้องเพ่งมาเพื่อให้รู้ชัด ทำให้บริเวณหน้าชาขยับขึ้น และเริ่มหนักขึ้น ก็กลับมากำหนดรู้ภาวนาที่ใจ "เป็นเช่นนั้นเอง" ๆ  ไปเรื่อยๆ ทุกอย่างคงที่เหมือนเดิมไม่พัฒนาอะไรขึ้น

       สักพักหนึ่งได้ยินเสียงจิ่งหรีดที่หู จึงไปกำหนดที่เสียงนั้น เสียงที่กำหนดนั้นก็ชัดขึ้นๆ รู้ชัดขึ้น สติก็ดีขึ้น สมาธิก็อย่กับบริเวณหูที่ได้ยินเสียง แยกเสียงที่ได้ยิน(รูป) กับใจที่ได้ยินเสียงได้(นาม) วิปัสสนาญาณก็เริ่มปรากฏ เมื่อสติดีขึ้นสมาธิดีขึ้น เมื่อหายใจชัดก็ไปรู้ที่หายใจชัด หรือรู้สึกร่างกายชัดก็ไปรู้ชัดที่ร่างกาย เมื่อรู้ที่ใจ(ความรู้สึก)ก็รู้ชัดที่ใจ ก็ภาวนาว่า"เป็นเป็นเช่นเอง" เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของใจชัด ก็เป็นอันว่าสตินั้นดีขึ้น รู้ชัดภาวะที่ปรากฏนั้นได้ดี โดยตลอด จนหยุดการปฏิบัติ

         ที่คุยนี้ชี้ให้เห็นความสำคัญของสติ ที่แยกรูปแยกนามได้ ถ้ายังไม่ได้ เมื่อไม่คิดปรุงแต่งอะไรจิตก็จะวางลงสู่คามสงบ แล้วตกภวังค์ จนเผลอหลับไป ซึ่งผู้ปฏิบัติส่วนมากจะเป็นกันแบบนี้ ในการฝึกสมาธิหรือสมถะ ก็เป็นที่พักที่สงบดี แต่เป็น "สมาธิหัวตอ"
                            

ตอบโดย: Vicha 22 มิ.ย. 49 - 16:01


ทำไมไม่บรรลุธรรมสะทีละครับ หรือ เห็นเขาว่ากันว่าคุณหวังใน โพธิญาณ เป็นอย่างนั้นจริงๆ

ตอบโดย: วชิระ45 22 มิ.ย. 49 - 16:18


( อ่านดีๆ นะครับผมไม่ได้มีอคติกับที่คุณ วชิระ45 ถามนะครับ)
 
    คุณ วชิระ45 ครับ พอดีกระทู้นี้เป็นการ คุยเรื่องอานาปานสติตามที่รู้และเรียนรู้มา ก็คือการปฏิบัติธรรมที่ปรากฏขึ้นให้ทราบ  ส่วนคุยเรื่องของพุทธภูมิ หรือสัมมาสัมโพธิญาณ คงไม่เกี่ยวกับกระทู้นี้ครับ ไม่เช่นนั้นจะทำให้สับสนและฝั่นเฝือ ถ้าไม่แยกกันด้วยสติปัญญาตามความเหมาะสมครับ
    เช่นเดียวกันถ้าจิตขาดปัญญาในการวางจิตให้เหมาะ ก็จะไม่รู้ว่ากาลใดควรคิดกาลใดไม่ควรคิด และกาลใดจิตฟุ้งซ้านควรระงับ

     การมีปัญญาแยกแยะธรรมได้ ก็เป็นการบรรลุอย่างหนึ่ง
     การมีปัญญาละเสียซึ่งกิเลสอย่างเด็ดขาดได้ ก็เป็นการบรรลุธรรมอีกอย่างหนึ่ง

     เช่นการบรรลุฌาน ก็คือว่าเป็นการบรรลุสมาธิอย่างหนึ่ง(หรือได้ฌาน)

     การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานะได้ถึง ญาณ 11 หรือ 13 หรือ 16  ก็ถือว่าเป็นการบรรลุเหมือนกันตามฐานะของบุคคล  เป็นการบรรลุถึงปัญญาตามขั้นตามฐานะของบุคคล ติดอยู่ที่ว่าละหรือไม่ละกิเลสโดยเด็ดขาดเท่านั้น เพราะใกล้เคียงกันมาก

ตอบโดย: Vicha 22 มิ.ย. 49 - 16:52


จิตไม่ฟุ้ง แต่ปรุง ตลอดครับ เพราะผมเห็นว่าคุณปฏิบัติมานานไม่ท้อเลยหรือ แล้วใช้อะไรหล่อเลี้ยงจิต เผื่อคนที่ปฏิบัติมาน้อยกว่าอย่างผม หรือ ฯ ได้เป็นอุบายบ้างสิครับ สักแต่ว่าอย่างนี้ใช้ได้หรือเปล่าครับ ผมห้า หก ปี ก็ใช้สักแต่ว่า ใจเป็นกลาง ถูกต้องไหวครับกับการจัดการกับอารมณ์ (มันใช้ได้แต่อยากรู้ว่านานแบบ30 ปีอาจต้องขอใช้อุบายธรรมของท่านสักหน่อย) ไม่มีอคติอยู่แล้วแต่อาจท้อสักวัน

ตอบโดย: วชิระ45 22 มิ.ย. 49 - 17:10


ผมเคยไปฟังในเวปคุณแล้ว แต่สั้นนิดเดียว ที่กล่าวว่าตั้งสติชัด ๆ ที่ไหนก็ได้ ก็ไม่ทราบว่ามันสามารถขจัด มานะ ได้ไหมครับถ้า ไม่กำหนดรู้ที่อารมณ์(กำหนดที่ลมหายใจ)หรือ จิต ยังไม่หลุด พ้นก็ขจัดมานะ ไม่ได้ มันโผล่มาตลอดก็กำหนดไปเรื่อย ๆ หรือต้องเปลี่ยนการปฏิบัติ แบบไม่ต้องสนใจอารมณ์ มากแต่ปล่อยไปเลย แล้วมานั่งหลับตาเป็นประจำเพราะความจริงก็ไม่สนใจอารมณ์ทั้งปวงอยู่แล้ว มีแต่ช่างมัน ๆ ผ่านไปแล้ว

ตอบโดย: วชิระ45 22 มิ.ย. 49 - 17:38


ดีครับที่คุณ วชิระ45 ส่งข้อมูล แจกแจงถึงสิ่งที่เป็นข้อสังสัย หรือ เป็นเพราะอะไรจึงเป็นอย่างนี้ ผมก็สามารถแสดงความคิดเห็นในขอบเขตที่ไม่เลยไปจาก เหตุผลทั่วไปที่คนโดยทั่วไปรับได้ครับ

   จากคำถามของคุณ วชิระ45 ที่ว่า
     "เพราะผมเห็นว่าคุณปฏิบัติมานานไม่ท้อเลยหรือ แล้วใช้อะไรหล่อเลี้ยงจิต"
    
   ตอบ  เมื่อกล่าวถึงระยะเวลายาวนาน ก็ต้องมีการพัฒนาในการหล่อเลี้ยงจิต ให้ไม่ท้อ เป็นดังนี้
           1.ในวัยเด็กเล็กที่เป็นเอง ด้วยศรัทธาขึ้นมาเอง เห็นพระสงฆ์จะอยากจะไหว้ อยากตักบาตร์(แต่ไม่เคยได้ตักเพราะที่บ้านไม่มีใครตักร์ยกเว้นในงานประจำปี) เมื่อมีความทุกข์ไม่มีใครช่วยได้เรื่องการศึกษาต่อ ก็ระลึกพระพุทธเจ้า จึงนั่งสมาธิตามพระพุทธรูป โดยไม่มีผู้สอน และไหว้พระสวดมนตร์ทุกคืนอธิษฐานต่อรูปภาพพระพุทธรูปขอให้ได้เรียนต่อ หลังจากไหว้พระสวดมนตร์ก่อนนอนตลอด บางครั้งก็นั่งสมาธิ ต่อมาเมื่อรู้วิธินั่งสมาธิแบบ พุทธ-โธ ก็เริ่มทำสมาธิเป็นประจำมากขึ้น
          ดังนั้นใน วัยเด็กจนถึงจบมัธยมปลาย เกิดจากการศรัทธาขึ้นมาเอง + บวกกับความทุกข์ที่ไม่มีใครช่วย + กับการกระทำอย่างต่อเนื่องแล้วเพิ่มขึ้นตามวัยอย่างเหมาะสม เป็นตัวหล่อเลี้ยงในการปฏิบัติขั้นพื้นฐาน

       2.ในวัยที่เรียนมหาวิทยาลัย ด้วยศัรทธาที่เป็นพื้นบวกกับทุกข์ที่ต้องต่อสู้เพราะความกดดันต่างๆ จึงต้องกำหนดลมหายใจ พุทธ-โธ ทุกครั้งที่รู้ตัว (แต่จะรู้ต้วเป็นส่วนมาก) แล้วสละเวลาอ่านหนั่งสือธรรมในห้องสมุดของมหาวิทยาลัย จาก 8.00 จึนถึง 18.00 ในครึ่งเทอมแรกโดยไม่อ่านหนั่งสือเรียน แทบทุกวันที่ห้องสมุดเปิด และพยายามรักษาศีล 8 อยู่ 1 ปี ทำอย่างนี้จนเรียนจบ ก็ด้วย สุตมยปัญญา และจิตมยปัญญา และการปฏิบัติที่ถี่ขึ้น ก็ทำให้ความศรัทธานั้นฝังรากลึกและเหนียวแน่นขึ้น ตามลำดับ จนปกป้องจิตที่กำลังจะผิดเพียนเพราะความกดดันจากสังคมรอบข้างไม่ให้ผิดเพียนไปมากเกินไป
      3. ก่อนจบมหาวิทยาลัย เหลือภาคฤดูร้อนเป็นวิชาเลือกง่าย 3 วิชา ก็ได้เข้าไปปฏิบัติกรรมฐานที่คณะ 5 วัดมหาธาตุท่าพระจันทร์ แบบยุบหนอ - พองหนอ เมื่อเรียนจบก็ปฏิบัติติดต่อกันไปอีก โดยไม่สนใจเรื่องงาน และเลิกสนใจเรื่องเรียนต่อปริญญาโท เพราะอย่างไรกฏหมายไม่ย่อมอยู่ดี จึงปฏิบัติกรรมฐานอย่างเดียวแล้วบวชก็ต้องสึกเพราะมีพระผู้ใหญ่ที่อคติต่อฐานะทางสังคม แต่ผมก็ยังปฏิบัติกรรมฐานต่ออย่างไม่มีหยุด เพราะหวังละกิเลสที่ก่อให้เกิดทุกข์บรรลุมรรคผลนิพพาน แม้ได้งานทำรายได้เล็กๆ น้อย ก็ปฏิบัติธรรมเป็นหลัก งานเป็นรอง ติดต่อกันเป็นเวลา สิบกว่าปี
       4.ตั้งแต่อายุ 35 ปี จนถึงเดียวนี้ ก็ยังปฏิบัติธรรมสวดมนตร์ไหว้พระและทำบุญอยู่ ปฏิบัติธรรมเพื่อความเป็นปกติสุขของจิตใจ ปล่อยวางความเครียดความยึดมั่นทั้งหลาย เพราะมีปัญญาบังเกิดให้ปล่อยวางได้  เข้าสู่ญาณและความสงบเฉพาะตนได้ตามฐานะ หรือเป็นญาณกีฬาได้ และรู้และเข้าใจว่าคงปฏิบัติธรรมไปตามฐานะและวาระตามควรจนสิ้นอายุขัย
    
    สรุปที่หล่อเลี้ยงให้อยู่ในธรรมได้ตลอดสายคือ   1.ความศรัทธา  2.น้อมนึกถึงบุญผลบุญและผลของการปฏิบัติ 3.ทำบุญและปฏิบัติจนเกิดผล  4.พละ(สติ สมาธิ ปัญญา ศรัทธาและความเพียร)ที่เจริญจนสมบูรณ์ตามฐานะ 5.บรรลุถึงซึ่งปัญญาตามฐานะ
    ทั้ง 5 ข้อนั้นทำให้เกิดการดำรงชีวิตอย่างเป็นปกติสุขทั้งทางกายและใจ และอยู่อย่างสงบๆ ได้

    
   ต่อไป จะตอบเรื่อง มานะทิฏฐิ ที่เป็นของปุถุชนที่มากเกินไปจะลดลงจากใจได้อย่างไร?

   ตามที่ผมพิจารณาไปได้ มีสองประการ
        1. ปฏิบัติตนด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตนทั้งกายและใจอย่างสม่ำเสมอ
        2. ปฏิบัติธรรมจนเกิดปัญญา ถึงญาณ 11หรือญาณ 13 และดำรงวิปัสสนาอยู่เรื่อย ๆ มานะทิฏฐิของปุถุชนนั้นก็จะลดน้อยลง ก็คือมีปัญญาเห็นทุกข์โทษและผลของมานะทิฏฐิ ที่เกิดกับตนเองแล้วค่อยๆ ละวางด้วยปัญญาที่เจริญขึ้น

    ต่อไปจะตอบเรื่อง มานะ ในเรื่องของสังโยชน์  มีแต่พระอรหันต์เท่านั้นที่จะตัดขาดได้

ตอบโดย: Vicha 23 มิ.ย. 49 - 09:51


คุณวิชชาครับ
ผมขอถามหน่อยนะครับ  ถ้าจะปฏิบัติทางเข้าสู่วิปัสสนา โดย ควบคู่ไปกับการนั่งดูลมหายใจ จะไปด้วยกันได้ไหมครับ

ตอบโดย: ธรรมชาติธรรมะ 27 มิ.ย. 49 - 16:45


ตอบ คุณธรรมชาติธรรมะ

     ได้ครับ  ตามพระสูตรของอานาปานสติ ทั้ง 16 จาตุกะ ก็จะเป็นสติปัฏฐาน 4 ดังมีพระพุทธพจน์ตรัสรองรับไว้
    ผมขอยกมาให้อ่านอีกครั้งนะครับ

            เรื่องอานาปานสติสัมปยุตร่วมกับสติปัฏฐาน 4

                         กิมิลสูตร
              การเจริญอานาปานสติสมาธิ
    [๑๓๕๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน ใกล้เมืองกิมิลา ณ ที่นั้นแล
พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระกิมิละว่า ดูกรกิมิละ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อัน
ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก? เมื่อพระผู้มี
พระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระกิมิละนิ่งอยู่.
    [๑๓๕๖] แม้ครั้งที่สอง แม้ครั้งที่สาม พระผู้มีพระภาคก็ตรัสถามท่านกิมิละว่า ดูกร
กิมิละ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก? ท่านพระกิมิละก็นิ่งอยู่.
    [๑๓๕๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เป็นกาลสมควรที่พระองค์จะพึงตรัสสมาธิอันสัมปยุตด้วย
อานาปานสติ ข้าแต่พระสุคต เป็นกาลสมควรที่พระองค์จะพึงตรัสสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปาน
สติ ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์
ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ดูกรอานนท์ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว
อย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่
ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า ฯลฯ ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละ
คืนหายใจออก เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า ดูกรอานนท์ สมาธิอันสัมปยุต
ด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์
มาก.
    [๑๓๕๘] ดูกรอานนท์ สมัยใด ภิกษุเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว
หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม
หายใจทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร
หายใจเข้า สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเรากล่าวกายอันหนึ่ง
ในบรรดากายทั้งหลาย ซึ่งได้แก่ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า เพราะฉะนั้นแหละอานนท์
สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
    [๑๓๕๙] ดูกรอานนท์ สมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ
หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็น
ผู้กำหนดรู้สุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุขหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า
เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร
หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับ
จิตสังขารหายใจเข้า สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเรา
กล่าวเวทนาอันหนึ่งในบรรดาเวทนาทั้งหลาย ซึ่งได้แก่การกระทำไว้ในใจให้ดีซึ่งลมหายใจออก
และลมหายใจเข้า เพราะฉะนั้นแหละอานนท์ สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
    [๑๓๖๐] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักกำหนดรู้จิตหายใจ
ออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้บันเทิง
หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิต
มั่นหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่นหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเปลื้องจิต
หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเปลื้องจิตหายใจเข้า สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิต
ในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อ
นั้นเพราะเหตุไร? เพราะเราไม่กล่าวซึ่งการเจริญสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ สำหรับผู้มี
สติหลง ไม่มีสัมปชัญญะ เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตใน
จิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
    [๑๓๖๑] ดูกรอานนท์ สมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความ
เป็นของไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง
หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก ย่อมสำเหนียก
ว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดย
ความดับหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจเข้า ย่อมสำเหนียก
ว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดย
ความสละคืนหายใจเข้า สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัส
นั้นด้วยปัญญา จึงวางเฉยเสียได้ เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นแหละอานนท์ สมัยนั้น ภิกษุย่อม
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกเสียได้.
   [๑๓๖๒] ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนมีกองดินใหญ่อยู่ที่หนทางใหญ่ ๔ แพร่ง ถ้า
เกวียนหรือรถผ่านมาในทิศบูรพา ก็ย่อมกระทบกองดินนั้น ถ้าผ่านมาในทิศปัจฉิม ทิศอุดร ทิศ
ทักษิณ ก็ย่อมกระทบกองดินนั้นเหมือนกัน ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อพิจารณาเห็น
กายในกายอยู่ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ พิจารณาเห็นธรรมใน
ธรรมอยู่ ย่อมจะกำจัดอกุศลธรรมอันลามกนั้นเสียได้.
     ในกิมิลสูตร พระพุทธเจ้าทรงตรัสยื่นยันแล้วว่า อานาปานสติที่ปฏิบัติอย่างถูกต้อง เมื่อถึงที่สุดแล้วย่อมเป็นสติปัฏฐาน 4


      ต่อไปก็เป็นตอนจบในการคุยเรื่องอานาปานสติตามที่ผมรู้และเรียนรู้มา  ผมก็จะยกอานิสงค์ของอานาปานสติ ตามพระสูตรมาให้ดู อีกทีเพื่อเป็นการยื่นยันว่าอานาปานสติที่ปฏิบัติได้ถูกต้องตาม 16 ขั้นนั้น เป็นยอดของกรรมฐานที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญยิ่งนัก

                           ผลสูตรที่ ๑
         ผลานิสงส์เจริญอานาปานสติ ๒ ประการ
    [๑๓๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
    [๑๓๑๒] ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผล
มาก มีอานิสงส์มาก? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า (พึง
ขยายเนื้อความให้พิสดารตลอดถึง ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหาย
ใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า) ดูกรภิกษุทั้ง
หลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์
มาก.
   [๑๓๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
อย่างนี้ พึงหวังได้ผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คืออรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความ
ถือมั่นอยู่ เป็นพระอนาคามี.
                    จบ สูตรที่ ๔
                     ผลสูตรที่ ๒
          ผลานิสงส์การเจริญอานาปานสติ ๗ ประการ
    [๑๓๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
    [๑๓๑๕] ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผล
มาก มีอานิสงส์มาก? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้ง
กายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า (พึงขยายเนื้อความให้
พิสดารตลอดถึง ย่อมศึกษาว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อม
สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า) ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปาน
สติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
    [๑๓๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้วอย่างนี้ พึงหวังได้ผลานิสงส์ ๗ ประการ ผลานิสงส์ ๗ ประการเป็นไฉน? คือ จะได้ชม
อรหัตผลในปัจจุบันก่อน ๑ ถ้าไม่ได้ชมอรหัตผลในปัจจุบันก่อน จะได้ชมในเวลาใกล้ตาย ๑
ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้ชม ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้ชมไซร้ เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕
สิ้นไป จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑ ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑ ผู้อสังขารปรินิพพายี ๑
ผู้สสังขารปรินิพพายี ๑ ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติ
อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล พึงหวังได้ผลานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้.

    และความจริงแล้วการดูลม(อานาปานสติ) แล้วทำให้เป็นวิปัสสนานั้น มีได้หลายรูปแบบจนมากมาย แต่อยู่ในกรอบของ อานาปานสติ 16 จาตุกะ
 

ตอบโดย: Vicha 27 มิ.ย. 49 - 17:08


เมื่ออ่านแล้วทำให้ผมนึกได้ถึง  ปัญหาที่ผมเคยตอบให้กับน้องคนหนึ่งครับ  เกี่ยวกับอานาปานสติ   เลยลงขออนุญาต เจ้าของกระทู้นำมาลงไว้นะครับ  เพราะเห็นเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน   ว่าอานาปาสติ  นั้นขึ้นอยู่กับการใช้งานว่าเราจะทรงไว้ในฐานะอะไร  ณ ขณะนั้นครับ ....   แล้วแต่ว่า ณ ขณะนั้น จิตเราพลิกเป็นแบบไหนครับ ....

         ขออภัยเจ้าของกระทู้ด้วยครับ ...... ที่นำลงมาแปะไว้ ครับ ....  _/|\_

         =============================

         สาธุในสภาวะที่ คุณ SB2500 ได้เจอนะครับ ....   เมื่อจิตละเอียดขึ้นทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาเรามองเห็นชัดขึ้น ตามระดับของจิตที่ตั้งมั่น   ลมหายใจก็ละเอียดขึ้น    ลองสังเกตุดูนะครับ

       เมื่อจิตเราตั้งมั่นกับลมหายใจ    ผลก็คือจิตไม่หวั่นไหว  ไปกับสิ่งรอบข้าง  หมายถึง    จิตเราไม่ฟุ้งซ่าน , ไม่พยาบาท , ไม่ง่วนนอน ... เป็นต้น     เพราะอะไร    เพราะจิตเราจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง   อยู่ตลอดเวลา   และสิ่งที่จ่อนั้น ไม่ได้ทำให้เราเกิดความรู้สึก ดีใจ เสียใจ อะไรอย่างงี้  ....  ในที่นี้เราเอาลม เป็นตัวตั้ง   และเรา ก็สังเกตุ เห็นว่าใน  ลมนั้น มันไม่ได้มีทุกข์ มีสุข กับเรา   มันมีเข้า มีออก ....  เมื่อมีลมเข้ามันก็เกิด   เมื่อลมมันออกมันก็ดับ .....  เมื่อลมเข้าจนสุดมันก็ดับ   เมื่อลมออกจนสุดมันก็ดับ  แล้วมันก็เข้าใหม่  ออกใหม่ อย่างนี้ไปเรื่อยๆ    นั่นเป็นธรรมชาติสอนจิตเราไปให้เห็นถึงความเกิดดับ    สอนให้เห็นถึงการจางคลาย  และ สอนให้เห็นถึงความสลัดคืน   ... ไม่มีสิ่งใดที่ตั้งอยู่ได้นาน   เมื่อมันเกิดขึ้น  มันก็ค่อยๆจาง   ค่อยๆคลาย  แล้วค่อยๆดับไป  สลัดคืนสู่ธรรมชาติของมัน     ธรรมชาติมันเป็นอยู่อย่างนี้มานานแล้ว .....

         เรามาดูลม  ก็เหมือนมาดูธรรมชาติ  มาดูครูบาอาจารย์ ท่านสอนเรา  สอนให้เราเข้าใจในธรรมชาติที่มีเกิดและดับ  , มีการยก และวาง    แล้วค่อยน้อมเข้ามาใส่ตัว  มีโอปนยิโก(น้อมเข้ามาใส่ตัว)   ลองมาเทียบดูกับตัวเรานี่   ดูจิตของเราวุ่นวายสับสนเนี่ย   ทำไมจิตเราไม่มีการวางเลย  จับอันไหนก็ติดอันนั้น  พอหมดอันนี้ก็ติดอันใหม่   พอจับแล้วไม่วางก็เป็นทุกข์ ....  พอจับเรื่องไม่สบายใจ ก็เป็นทุกข์   ไปกับมัน   .... พอจับ เรื่องสบายใจ  ก็ยินดีไปกับมัน  พอมันไปก็ทุกข์อีกเพราะ ไม่มีอะไร ให้ยึดเกาะ ....  โดยที่เราลืมตัวเราไปแล้วหรือไรว่าจิตของเรานั้น  ประภัสสร  ผ่องใสอยู่แล้ว   มันมีความสงบอยู่แล้ว   แล้วเราไปทุกข์ ไปสุข กับสิ่งที่เห็นรอบข้าง  ที่เข้ามาทางรอยต่อ ตา,หู,จมูก, ลิ้น,กาย ,ใจ  ที่เข้ามากวนใจเราอยู่เรื่อยๆทำไม ?  ....

         เมื่อจิตของเราไม่มีอะไร มากวน  มันก็  สะอาด  สว่าง  สงบ อยู่แล้ว   มันก็สว่างในตัวมันเองอยู่แล้ว  ไม่ต้องไปสงสัยอะไร .... ตัวเรามีหน้าที่ขับเคลื่อนจิต  ให้เข้ากับกระแส ของธรรมชาติ  ให้เข้ากระแสการเกิดดับ  ของธรรมชาติ ที่อยู่รอบตัวเรา    ค่อยๆทำไปเรื่อยๆ   พอเห็นปลายจมูก ปุ๊ป  .... ก็เหมือน กับเราเห็น การยก .... และก็การวาง

           .....  หายใจเข้า มันก็เหมือนกับน้ำมันชนขอบฝั่ง  มันยกขึ้นเองอัตโนมัติ   พอหายใจออก  มันก็วาง  เหมือนน้ำออกจากฝั่ง  เพราะหมดแรงยกตัว

          .....  หายใจเข้า  มันก็ยกขึ้น  เหมือนลมมาชนที่จมูก   .... หายใจออก  มันก็วาง  เหมือนลมวิ่งออกทางเก่า   เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ   ยก แล้ววาง ....  ยก  แล้ววาง ...   แล้วจิตเราก็จะค่อยๆ  ผ่อนคลาย  วางไปเรื่อยๆ  จนหลุดจาก สภาวะที่รัดตัวเรา   แล้วเราจะเห็นเองว่า  ตัวเราเองก็เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ  เป็นเพียงคลื่นเล็กๆคลื่นหนึ่ง    ที่ลอยอยู่ท่ามกลางธรรมชาติความเกิดดับอันยิ่งใหญ่     อันนี้ก็ดับ  อันนั้นก็ดับ    เวทนานั้นก็ดับ  สัญญานั้นก็ดับ   ความโกรธ ที่เกิดขึ้นที่ใจที่ยกขึ้นเมื่อกี้  ก็ดับ  , ความไม่สบายกาย ที่ยกขึ้นเมื่อกี้ ก็ดับ , รูป ที่เข้ามาทางตาเมื่อกี้ ก็ดับ ....  ค่อยๆหลุดจากกระแส ที่อยู่รอบๆตัวเรา  เพราะจิตเราตั้งมั่น  และได้จากครูที่เป็นลมหายใจ ของเราที่สอนความจริงให้กับเรา .....  ค่อยๆหลุดจาก สิ่งที่มาร้อยรัดเรา เพราะ มันไม่ใช่เรา   ไม่มีเราในนั้น   ขันธ์5เป็นเพียง  กระแสที่เกิดดับพร้อมกับเราเท่านั้น ......

                ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรม ....


            =================================

              ขออนุโมทนาในธรรม ที่คุณ vicha  ได้นำมาลงไว้ครับ  

            =================================
 

ตอบโดย: คนผ่านทาง 27 มิ.ย. 49 - 17:29


ผมขออนุโมทนากับคุณ คนผ่านทาง ครับ

      อธิบายธรรมได้ละเอียดดีครับ  เมื่อมีโอปนยิโก(น้อมเข้ามาใส่ตัว) จนเห็นภาวะของใจ(รู้แจ้งใจสติเท่าทันใจ) แล้วสภาพแห่งความเป็นจริงก็ปรากฏขึ้น คือเกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วดับไปของใจ ให้เห็นจริงของการเกิดดับของใจ(ปรากฏจริงๆ)  ก็คือเห็นไตรลักษณ์อย่างชัดแจ้งนั้นเอง วิปัสสนาญาณก็ย่อมปรากฏขึ้น และดำเนินอยู่

      การเห็นการดับ นั้นมี 4 ระดับ  ในความหมายปัจจุบัน ขอให้ท่านทั้งหลายน้อมพิจารณาดูเพื่อความเข้าใจ ถึงแม้บางท่านไม่เห็นจริงมาก่อน แต่สามารถเทียบเคียงได้จากหยาบไปสู่ละเอียดดังนี้

     1.เห็นเมื่ออารมณ์ที่เปลี่ยนไปแล้ว   เป็นการเห็นการดับของคนทั่วไป ซึ่งยังห่างไกลมาก
     2.เห็นเมื่อใจเปลี่ยนแปลงไปอีกอย่างหนึ่งอย่างรวดเร็วหรือเห็นจุดเปลี่ยนของใจ  เป็นการเห็นการดับของคนที่มีสมาธิดีขึ้น ก็ยังห่างไกลอยู่
     3.เห็นเมื่อใจหรืออารมณ์ขาดจากกันแล้วเปลี่ยนเป็นใจหรืออารมณ์ใหม่ในทันที เป็นการเห็นการดับแบบเห็น สันสติขาดจากกัน  ซึ่งเข้ามาอยู่ในข่ายวิปัสสนาญาณเบื้องต้น
     4.เห็นเมื่อใจดับความรู้สึกดับไป แล้วเกิดใจใหม่ความรู้สึกใหม่ เป็นการเห็นการเกิดดับในวิปัสสนาญาณอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นได้ทั้งอุทัพยญาณ หรืออนุโลมญาณต่อโคตรภูญาณ หรือมรรคญาณ

      การเห็นการเกิดดับได้อย่างชัดเจนนั้นต้อง สติสมบูรณ์  สมาธิบริบูรณ์ ปัญญาสมบูรณ์ และพละทั้ง 5 ต้องสมดุลย์ (สติ สมาธิ  ปัญญา ศรัทธา ความเพียร สมบุรณ์และสมดุลย์)

      การเห็นสันสติขาดจากกันก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก  การเห็นการเกิดดับอย่างชัดเจนก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก
      แม้แต่ภาวะสันสติขาดเกิดแล้ว หรือการเกิดดับเกิดขึ้นแล้ว จะรักษาให้ภาวะสันสติขาด หรือการเกิดดับจริงๆ ให้ได้ปรากฏบ่อยๆ เสมอๆ ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งได้มีการเปรียบเทียบการรักษาวิปัสสนาญาณไว้ให้ได้ดังนั้น
      เหมื่อนผู้ปฏิบัติ เอาน้ำใส่ถาดให้เต็ม แล้วยกขึ้นทูลบนศรีษะ จัดให้สมดูลย์ แล้วปล่อยมือออก หลังจากนั้นก็ทำภารกิจต่างๆ โดยถาดนั้นอยู่บนศีรษะอย่างสมดุลย์และน้ำก็ไม่กระฉอกออกเลย
      จึงเป็นเรื่องที่ค่อยข้างยากมาก

      ผมเคยได้ยินการกล่าวเปรียบเทียบตามพุทธพจน์(แต่อาจมีข้อความต่างกัน)มาดังนั้น
            ผู้ที่เกิดมาเพียงวันเดียวได้เห็นการเกิดดับของรูปนาม ยังประเสริฐกว่าผู้ที่เกิดมาจนมีอายุ 100 ปีที่ไม่ได้เห็นการเกิดดับของรูปนาม

ตอบโดย: Vicha 28 มิ.ย. 49 - 09:42


*-* เข้าใจยากจังเลยครับ ไม่มีชัด ๆ ง่าย ๆ แต่ครอบคลุม เหมือน E=MC^2 บ้างหรอครับ *-*

ปล.พึ่งเริ่มศึกษาครับ *-*

ตอบโดย: Alongkorn 28 มิ.ย. 49 - 11:22


  มีครับคุณ Alongkorn  สรุปสั้นและง่าย มีให้พิจารณา 3 แบบ

 1.ละเว้นบาปทั้งมวล ทำแต่ความดี รักษาใจให้สะอาดและผ่องใส

 หรือ 2. ปฏิบัติอยู่ใน ศีล สมาธิ และปัญญา

 หรือ 3. ปัญญารู้แจ้งชัด อริยสัจ 4 ได้แก่  1.ทุกข์  2.สมทัย  3.นิโรจน์  4.มรรค

   แปล ข้อ 3 ให้เห็นได้ง่ายได้ดังนี้
       ปัญญารู้แจ้งชัด  1.ทุกข์  2.เหตุแห่งทุกข์  3.ความดับทุกข์  4.วิธีดับทุกข์

   ซึ่งจะง่ายกว่า สูตร  E=mc^2
 

ตอบโดย: Vicha 28 มิ.ย. 49 - 12:00


ขออนุโมทนาครับ    

ตอบโดย: ธรรมชาติธรรมะ 28 มิ.ย. 49 - 17:13

* อีก 2 ปีต่อมาผมได้สนทนาเพิ่มลงในรายละเอียด สามารถอ่านต่อได้ในลิงค์ที่ลานธรรมเสวนา นี้ * ( http://larndham.net/index.php?showtopic=30320 ) ** ถ้าเข้าไปแล้วโหลดช้าหรือมีปัญหา ก็ให้เข้าอ่านในลิงค์นี้ ( สนทนาอานาปานสติตอนที่ 2 ) **